You are on page 1of 13

เครื่องดำนา จะมาเพิ่มพื้นที่การทำนาดำ ได้หรือไม่

วิวัฒนาการของเครื่องดำนา  

ประเทศญี่ปุ่นมีการเพาะปลูกข้าวมายาวนานกว่า 2,000 ปี ปั จจุบันการดำนา


ของชาวนาญี่ปุ่นใช้เครื่องดำนาประมาณร้อยละ 96 ปั กดำด้วยแรงงานคน
ประมาณร้อยละ 3 ซึ่งเป็ นการปั กดำเพื่อการอนุรักษ์ไว้ในแหล่งท่องเที่ยว ส่วน
ที่เหลืออีกประมาณ 0.5 ทำนาหว่าน ซึ่งตรงข้ามกับเมืองไทยที่นาหว่านเพิ่ม
ขึน
้ นาดำกลับลดลงเรื่อยๆ ดังนัน
้ การเพาะปลูกข้าวเกือบทัง้ หมดจึงใช้เครื่อง
ดำนา ประเทศญี่ปุ่นได้ค้นคิดประดิษฐ์และพัฒนาเครื่องดำนามากว่า 100 ปี
และได้มีการจดสิทธิบัตรเครื่องดำนาเป็ นครัง้ แรก ในปี พ.ศ. 2441 แต่เครื่อง
ดำนาในขณะนัน
้ ไม่ได้รับความนิยมจากชาวนา จนกระทั่ง พ.ศ. 2503 เครื่อง
ดำนาได้รับการปรับแต่งแก้ไขจุดบกพร่องต่างๆ และผลิตออกสูต
่ ลาด ต่อมา ปี
พ.ศ. 2508 เครื่องดำนาใช้กับกล้าล้างราก ยี่ห้อชิบูร่า-อาร์พี 2 (Sibura-RP
2) โดยมีหลักการทำงานเลียนแบบการปั กดำของคน แต่การปั กดำไม่ค่อย
แน่นอนเท่าไร ปี ถัดมา พ.ศ. 2509 เครื่องดำนาใช้กับกล้าแผ่นหรือกล้าดิน
ยี่ห้อ Kanriu -1 ใช้คนลากปั กดำได้แถวเดียว เครื่องดำนาแบบนั่งขับหรือรถ
ดำนาผลิตออกสู่ตลาดในปี พ.ศ. 2520 จากนัน
้ ได้มีการผลิตเครื่องดำนาออก
มาหลายรุ่น ประเทศเกาหลีเป็ นอีกประเทศหนึ่งที่ผลิตเครื่องดำนาออกมา
จำหน่าย

ประเภทของเครื่องดำนา
การแบ่งประเภทของเครื่องดำนามีการแบ่งออกได้หลายประเภทหลายวิธีการ แต่
โดยทัว่ ไปแบ่งออกเป็ น 3 ประเภท

1. เครื่องดำนาใช้แรงคน (Manual rice transplanter) เครื่องดำนาใช้แรง


คน อาศัยแรงงานจากคนโดยตรง ทำให้กลไกเกิดการปั กดำด้วยการเข็นเดินหน้า
และเดินถอยหลัง เครื่องดำนาประเภทนีแ
้ ยกออกตามชนิดของต้นกล้าที่ใช้กับ
เครื่องได้ดงั นี ้

1.1 เครื่องดำนาใช้แรงคนชนิดใช้กับต้นกล้าล้างราก ต้นกล้าที่จะใช้กับเครื่องชนิด


นีจ
้ ะถูกถอนออกจากแปลงเพาะกล้า เมื่ออายุได้ 20-25 วัน แล้วนำมาล้างรากเอา
ดินที่ติดอยู่กับรากออกให้หมด ก่อนนำไปจัดวางในถาดกล้าอย่างเป็ นระเบียบ ปั ก
ดำได้ครัง้ ละ 4-6 แถว การสูญเสียต้นกล้าระหว่างการปั กดำเกิดขึน
้ ประมาณ ร้อย
ละ 11-34 ผูใ้ ช้ต้องเดินถอยหลังเพื่อลากตัวเครื่องไปและทำการปั ก ความสามารถ
ในการทำงานของเครื่องได้ประมาณวันละ 3 ไร่ (8 ชั่วโมง 2 คน ผลัดกัน) มีใช้ใน
ประเทศไทยระยะหนึ่ง

1.2 เครื่องดำนาใช้แรงคนชนิดใช้กับต้นกล้าเป็ นแผ่น ลักษณะของเครื่องคล้ายกับ


ชนิดแรก แตกต่างกันที่ต้นกล้าที่นำมาใช้กับเครื่อง การเพาะกล้ามีขน
ั ้ ตอนการ
เพาะที่พิถีพิถันมากกว่า โดยจะต้องเพาะกล้าให้เป็ นแผ่นพอดีกับช่องถาดใส่ต้น
กล้าของเครื่อง ปั กดำได้ครัง้ ละ 4-8 แถว ผู้ใช้ต้องเดินถอยหลังเช่นเดียวกัน ความ
สามารถในการทำงานได้วน
ั ละ 2.5-3 ไร่ เป็ นเครื่องที่ได้รับการพัฒนาจาก
สถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ (IRRI) และได้มีการปรับปรุงแก้ไขในประเทศ
ญี่ปุ่น และไต้หวัน ได้มีการนำมาใช้กันตามศูนย์วิจัยข้าวต่างๆ ในประเทศไทย
หลายปี มาแล้ว แต่ไม่เป็ นที่นย
ิ มใช้ในที่สุด

2. เครื่องดำนาใช้เครื่องยนต์แบบเดินตาม (Walking type rice


transplanter) ได้แก่

2.1 เครื่องดำนาใช้เครื่องยนต์ชนิดใช้กับต้นกล้าเป็ นแถบยาว เครื่องดำนาชนิดนี ้


ต้นกล้าจะถูกเพาะในกระบะที่แบ่งเป็ นช่องๆ เพื่อให้ต้นกล้าที่ออกมาเป็ นแถว
เล็กๆ แล้วนำออกจากกระบะมาใส่ในถาด แล้วถูกอุปกรณ์ป้อนต้นกล้าพาเข้าไป
ยังอุปกรณ์ปักดำ แถวต้นกล้าจะถูกเฉือนเป็ นท่อนก่อนการปั กดำ ขนาดของท่อน
กล้า 10-15 มิลลิเมตร ปั กดำได้ครัง้ ละ 2 แถว เครื่องดำนาชนิดนีช
้ ่วยลดการสูญ
เสียของต้นกล้าระหว่างการปั กดำได้มาก ประมาณร้อยละ 1.1-1.5 และมีราคาถูก
ถึงแม้จะมีข้อดีที่มีการสูญเสียต้นกล้าในการปั กดำน้อยและมีราคาถูก แต่ก็ไม่เป็ น
ที่นิยมใช้กัน เนื่องจากมีขน
ั ้ ตอนและใช้แรงงานในการเพาะกล้ายุง่ ยาก

2.2 เครื่องดำนาใช้เครื่องยนต์ชนิดใช้กับกล้าล้างราก เครื่องดำนาชนิดนีเ้ ป็ น


เครื่องดำนาเริ่มแรกที่มีการประดิษฐ์ขน
ึ ้ เพื่อจะมาทำหน้าที่ปักดำแทนคน โดยติด
ตัง้ อุปกรณ์ปักดำประกอบเข้ากับรถไถเดินตามหรือเครื่องพรวนดินแบบเดินตาม
ใช้เครื่องยนต์ดเี ซลเป็ นต้นกำลัง ทำให้เครื่องมีน้ำหนักมาก การถอยหลังเป็ นไป
ด้วยความล่าช้า การเลีย
้ วกลับหัวงานลำบาก เพราะใช้วงเลีย
้ วกว้าง แต่มีข้อได้
เปรียบที่ขน
ั ้ ตอนในการเตรียมกล้าไม่ยุ่งยาก เนื่องจากใช้กล้าชนิดเดียวกันกับที่
เพาะไว้สำหรับการทำนาดำทั่วไป

2.3 เครื่องดำนาใช้เครื่องยนต์ชนิดใช้กับกล้าแท่งหรือกล้าหลุม เครื่องดำนาชนิดนี ้


ยังคงมีการใช้กันอยู่ทางตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่น แต่ก็มีอยู่เป็ นจำนวนน้อย
กล้าแท่งหรือกล้าหลุมที่จะใช้ต้องเป็ นกล้าแก่ (Mature seedling) กล้าที่มีอายุ
มากรากจะขดกันเป็ นก้อนรูปแท่งสี่เหลีย
่ มตามรูปทรงของหลุมในกระบะเพาะ
ทำให้ส่วนของรากมีน้ำหนักมาก จึงเหมาะกับพื้นที่นาที่เป็ นดินทราย ที่กล้าทั่วไป
หรือกล้าแผ่นไม่สามารถตัง้ ต้นให้ตรงได้ กล้ามักจะเอนหรือล้มนอนราบ แต่กล้า
แท่งจะทรงตัวให้ตงั ้ ตรงได้ดีในดินทรายหรือดินเป็ นเลนอ่อนมาก เนื่องจากแท่งดิน
กับกระจุกรากจะเป็ นฐานยึดติดให้อย่างดี แต่กล้าแท่งก็มีขน
ั ้ ตอนในการเพาะกล้า
ที่ยุ่งยากกว่าและมีปัญหาในการจัดซื้อหากระบะเพาะ ซึง่ ไม่ค่อยมีจำหน่ายทัว่ ไป

2.4 เครื่องดำนาใช้เครื่องยนต์ชนิดใช้กับกล้าแผ่น เครื่องดำนาประเภทนีม


้ ีขนาด
ค่อนข้างเล็ก ใช้เครื่องยนต์ก๊าซโซลีน 4 จังหวะ 1-2.5 แรงม้า เป็ นต้นกำลัง
ประกอบด้วยล้อเหล็กหุ้มยาง 2 ล้อ ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อน ให้ความสะดวก
คล่องตัวในการทำงาน ผู้ใช้จะเดินตามเครื่อง การควบคุมการเลีย
้ วบังคับด้วยการ
บีบคลัตช์ข้างที่ต้องการเลีย
้ วที่มือจับ ปั กดำได้ครัง้ ละ 2-6 แถว สามารถปรับระยะ
ห่างระหว่างต้นได้แน่นอน มีระบบไฮดรอลิกเข้ามาช่วยในการยกตัวเครื่องให้สูง
ขึน
้ ขณะเลีย
้ วกลับหัวงานและระหว่างการเดินทาง เครื่องดำนาใช้เครื่องยนต์แบบ
เดินตามแบ่งออกได้ตามชนิดของต้นกล้าทีใ่ ช้ดังนี ้ เครื่องดำนาที่ใช้กับต้นกล้าล้าง
ราก เครื่องดำนาที่ใช้กับต้นกล้าเป็ นแผ่น เครื่องดำนาที่ใช้กับต้นกล้าเป็ นแถวยาว
และเครื่องดำนาที่ใช้กับต้นกล้าเป็ นหลุม แต่เครื่องดำนาที่ใช้กับต้นกล้าเป็ นแผ่น
ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง และได้มีการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพทำงานสูง
ขึน
้ หลายๆ ด้าน ส่วนเครื่องดำนาอีก 3 ชนิด ดังกล่าว ไม่ได้รับความนิยม และบาง
ชนิดได้เลิกการผลิตไปแล้ว นอกจากนี ้ สถาบันการใช้เครื่องจักรกลเกษตร
(Agricultural Mechanization Institute : AMI) ประเทศเกาหลีใต้ได้ดัดแปลง
เอารถไถเดินตามใช้เครื่องยนต์ดีเซลประกอบเข้ากับเครื่องดำนาใช้กับต้นกล้าเป็ น
แผ่น ปั กดำได้ครัง้ ละ 4 แถว แต่ได้รับความนิยม เพราะมีน้ำหนักมาก การถอย
หลังล้าช้า การเลีย
้ วกลับหัวงานใช้วงเลีย
้ วกว้าง ทำงานได้ 6-8 ไร่ ต่อวัน

3. รถดำนา หรือเครื่องดำนาใช้เครื่องยนต์แบบนัง่ ขับ (Riding type rice


transplanter) เครื่องดำนาประเภทนีม
้ ีขนาดใหญ่ก็จริง แต่มีความคล่องตัวใน
การทำงานที่ดี มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง สามารถปั กดำได้ครัง้ ละ 4-8 แถว
ปั กดำได้ตงั ้ แต่ 8 ไร่ ต่อวัน มีทงั ้ แบบ 3 ล้อ และ 4 ล้อ เครื่องดำนาประเภทนีท
้ ี่ใช้
กันอยู่มี 2 ชนิด คือ

3.1 เครื่องดำนาใช้เครื่องยนต์แบบนั่งขับชนิดใช้กับต้นกล้าล้างราก เป็ นเครื่อง


จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มี 3 ล้อ โดยมีล้อหน้าเป็ นล้อขับเคลื่อน ใช้
เครื่องยนต์ดีเซล ขนาด 3 แรงม้า และเครื่องยนต์ก๊าซโซลีน 3-5 แรงม้า เป็ นต้น
กำลัง ปั กดำได้ครัง้ ละ 8 แถว แต่มีข้อจำกัดของระยะปั กดำต้นกล้าที่สามารถปรับ
การปั กดำได้เพียง 2 ระยะ ความสามารถในการทำงาน ประมาณ 10 ไร่ ต่อวัน มี
การสูญเสียของต้นกล้าระหว่างการปั กดำประมาณ ร้อยละ 3 โดยใช้คนในการ
ทำงานกับเครื่องนี ้ 2-3 คน คนแรกนัง่ ขับด้านหน้า ทำหน้าที่เป็ นผู้ขับควบคุม
เครื่อง ส่วนอีกคนหรือ 2 คน นั่งหันหลังอยู่ขา้ งซ้ายและข้างขวาของคนขับ ทำ
หน้าที่คอยใส่ต้นกล้าในถาดใส่ต้นกล้าของเครื่อง จัดเป็ นเครื่องที่มีน้ำหนักมาก
ทำให้การเลีย
้ วกลับหัวงานและการเดินทางไม่ค่อยคล่องตัว ในการเดินทางจะต้อง
เปลี่ยนเป็ นล้อยาง ทำให้เสียเวลาในการถอดประกอบล้อ ทำงานได้ 15-20 ไร่ ต่อ
วัน

3.2 เครื่องดำนาใช้เครื่องยนต์แบบนั่งขับชนิดใช้กับต้นกล้าเป็ นแผ่น จัดได้วา่ เป็ น


เครื่องดำนาที่ได้รับความนิยมใช้กันทั่วไป ส่วนใหญ่เป็ นเครื่องจากประเทศญี่ปุ่น
และมีส่วนน้อยที่เป็ นของประเทศเกาหลีใต้ ได้มีการนำเอาระบบอิเล็กทรอนิกส์
เข้ามาใช้ในการควบคุมการทำงานหลายด้าน บางรุ่นติดตัง้ อุปกรณ์ใส่ปุ๋ยทำงาน
ร่วมด้วยระหว่างการปั กดำ ปั กดำได้ครัง้ ละ 4-5 แถว การสตาร์ตติดเครื่องยนต์
ด้วยระบบไฟฟ้ า การบังคับเลีย
้ วใช้ระบบไฮดรอลิกเข้ามาช่วย ทำให้การเลีย
้ วเร็ว
ขึน
้ ได้วงเลีย
้ วที่แคบและเบาแรงแก่ผู้ใช้

3.3 เครื่องดำนาใช้เครื่องยนต์ชนิดใช้กับต้นกล้าเป็ นแผ่นแบบอัตโนมัติ เป็ นแบบ


นัง่ ขับแต่คนไม่ได้ขับ โดยได้นำเอาเทคโนโลยีระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก
GPS และระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาควบคุมในการทำงาน เครื่องจึงสามารถทำงาน
ได้เองโดยไม่ต้องมีคนขับ คนมีหน้าที่คอยใส่แผ่นกล้าเท่านัน

การทำนาด้วยเครื่องดำนา
การทำนาด้วยเครื่องดำนาต้องพิถีพิถันกว่าการดำนาตามปกติ เริ่มจากการไถ
เตรียมดินให้ละเอียดไม่มีเศษหญ้าเศษวัชพืชหลงเหลือ ปรับทำเทือกให้เรียบ
สม่ำเสมอกันทั่วพื้นที่ ไม่มีแอ่งมีหลุม หลังจากใส่ใจกับการเตรียมดินแล้ว ยังต้อง
ใส่ใจกับการเพาะกล้า เริ่มจากการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ เปอร์เซ็นต์การ
งอกสูง ไม่มีเมล็ดลีบ ด้วยการแช่ในน้ำเกลือเข็มข้น สังเกตเมื่อใส่ลงไปไข่จะลอย
ปริ่มน้ำ หรือใช้เกลือ 1.4 กิโลกรัม ต่อน้ำ 10 ลิตร ก็จะได้เมล็ดที่สมบูรณ์ นำ
เมล็ดใส่ถุงแช่น้ำทิง้ ไว้ 2-3 คืน (ชาวนาไทยแช่เพียง 1 คืน) จากนัน
้ เอาเมล็ดขึน
้ มา
โรยลงในกระบะเพาะ ขนาดของกระบะกว้าง 28 เซนติเมตร ยาว 58 เซนติเมตร
และสูง 3 เซนติเมตร เป็ นขนาดมาตรฐาน จุดินได้ 4.3 ลิตร เป็ นกระบะเพาะกล้า
โดยเฉพาะ ร่อนดินผ่านตะแกรงละเอียด ขนาด 4-5 ช่อง ต่อตารางมิลลิเมตร ใส่
กระบะให้สูง ประมาณ 2.5 เซนติเมตร ปาดให้เรียบเสมอกันก่อนโรยเมล็ด และ
โรยขีเ้ ถ้าแกลบกลบหน้า นำกระบะเก็บไว้ที่ร่ม 2 คืน เมล็ดจะงอกออกมา
ประมาณ 1 เซนติเมตร จึงเอาออกไปไว้ในแปลงนาที่เตรียมไว้ รดน้ำให้โชกคลุม
ด้วยซาแรนทิง้ ไว้ 2 วัน ค่อยเปิ ดเอาซาแรนออก ปล่อยน้ำเข้าให้ท่วมกระบะ
ปล่อยไว้ 10 วัน จึงปล่อยน้ำเข้าสูงได้ แต่ในญี่ปุน
่ ประสบปั ญหาในการเพาะกล้า
เนื่องจากเป็ นเมืองหนาวจึงต้องเอากระบะเพาะเข้าตู้อบก่อนจะนำออกแดด รอ
จนต้นกล้าอายุได้ 20-30 วัน จึงนำไปปั กดำ นาที่จะปั กดำต้องขังน้ำทิง้ ไว้ในแปลง
จนน้ำในแปลงตกตะกอนใสเสียก่อน จึงใช้เครื่องดำนาได้ ความลึกของน้ำในแปลง
ปั กดำไม่ควรเกิน 5 เซนติเมตร ทัง้ นีเ้ พื่อจะได้มองเห็นแนวจากเครื่องกาแถว
ทำให้เครื่องแล่นได้เป็ นแนวตรงมีระยะห่างระหว่างแถวที่เท่ากันตลอด ใส่แผ่น
กล้าในถาดป้ อนแผ่นกล้า ความยุ่งยากน่าเบื่อหน่ายจึงอยู่ที่การเพาะกล้า ที่ชาวนา
ไม่ค่อยชอบและไม่มีเวลาให้ แต่ก็ได้หาทางแก้จะมีการตัง้ โรงงานผลิตกล้าขึน
้ มา
โดยเฉพาะเหมือนกับประเทศญี่ปุ่น ชาวนาไม่ต้องผลิตกล้าเอง ไปซื้อกล้าได้จาก
โรงงานผลิตกล้าหรือที่สหกรณ์ ถ้าเป็ นรถดำนาในการปฏิบัติชาวนาไทยจะประจำ
อยู่ที่รถ 3 คน คนแรกเป็ นคนขับ อีก 2 คน อยู่ทางซ้ายทางขวาทำหน้าทีใ่ ส่แผ่น
กล้าที่ม้วนเก็บไว้บนรถลงในถาดลำเลียงแผ่นกล้า รถดำนา 1 คัน เท่ากับคน 70-
80 คน

เครื่องดำนา จะสวนกระแส

กับการทำนาหว่าน

ชาวนาในอำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี ได้หันมาทำนาหว่านเพิ่มก็


เพราะใช้ตน
้ ทุนต่ำกว่าการนาดำ รวมทัง้ ขัน
้ ตอนการทำนาดำมีความยุง่ ยาก
มากกว่า ถึงแม้จะให้ผลผลิตที่มากกว่า แต่คนในชุมชนส่วนใหญ่เลือกที่จะทำนา
หว่านมากกว่า การใช้แรงงานคนปั กดำมีข้อดีคือ ต้นกล้าที่ปลูกจะมีความเป็ น
ระเบียบและดูแลง่ายกว่า ในขณะที่นาหว่านส่วนใหญ่เมื่อหว่านแล้วต้องกลับมา
หว่านซ้ำอีก เนื่องจากบางที่หว่านแล้วไม่มีต้นกล้างอกขึน
้ มา ภาระหนักของนาดำ
คือเรื่องของการถอนกล้าที่ต้องอาศัยแรงมือ และในปั จจุบันหาแรงงานที่จะมา
รับจ้างทำยาก ทำให้คนในชุมชนแห่งนีเ้ กิดแนวความคิดในการช่วยผ่อนแรงการ
ถอนต้นกล้า ด้วยการนำตาข่ายที่มีความถี่มากๆ มาใช้ หลังจากที่ชาวนาได้ไถ
เตรียมดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะนำตาข่ายมาปูทั่วทัง้ แปลงนาที่ตอ
้ งการหว่าน
เมล็ดข้าวเปลือก โดยรากของข้าวเปลือกจะชอนไชผ่านรูตาข่าย และจะเจริญ
เติบโตทะลุรูของตาข่ายขึน
้ มา เมื่อต้องการถอนต้นกล้าชาวนาก็สามารถดึงตาข่าย
ขึน
้ เพื่อมัดเอาจำนวนต้นกล้าตามที่ต้องการได้ วิธีนเี ้ ป็ นวิธีที่สามารถช่วยผ่อนแรง
ได้มากกว่าวิธอ
ี ่น
ื ๆ แต่ต้นทุนในการซื้อตาข่ายสูงตามมา

เช่นเดียวกับที่จังหวัดอุบลราชธานี ปั จจุบันวิถีการทำนาของชาวนาได้เปลี่ยนไป
จากเดิมที่เคยทำนาดำก็หน
ั มาทำนาหว่านเพิ่มขึน
้ ส่วนหนึง่ เนื่องมาจากต้นทุนใน
การทำนาดำสูงกว่านาหว่านมาก ค่าแรงงานในการทำนาดำหายาก และค่าแรงสูง
ประมาณ 150-200 บาท ต่อวัน ถึงแม้การทำนาหว่านอาจให้ผลผลิตได้ไม่เต็มที่
แต่ก็สามารถประครองต้นทุนของการทำนาได้

การทำนาในประเทศไทย แบ่งวิธีการปลูกเป็ น 3 วิธี คือ การทำนาหยอด การทำ


นาดำ และการทำนาหว่าน ส่วนจะใช้วิธีการไหนนัน
้ ขึน
้ อยู่กับสภาพพื้นที่นา ชนิด
พันธุ์ข้าวที่จะปลูก

การทำนาหยอด เป็ นวิธีที่ใช้สำหรับการปลูกข้าวนาปี ในฤดูกาลที่อาศัยน้ำฝน ใน


ภูมิประเทศที่ไม่มีน้ำเพียงพอสำหรับการตกกล้าและปั กดำ โดยการหยอดเมล็ด
พันธุ์ข้าวไว้ในหลุม หลุมละ 3-5 เมล็ด แล้วกลบเมล็ดทิง้ ไว้ รอให้ฝนตกเพื่อการ
เจริญเติบโตต่อไป

การทำนาหยอด หยอดเมล็ดข้าวแห้ง ลงไปในดินเป็ นหลุมๆ หรือโรยเป็ นแถว


แล้วกลบฝั งเมล็ดข้าว เมื่อฝนตกลงมาดินมีความชื้นพอเหมาะ เมล็ดก็จะงอก
เป็ นต้น นิยมทำในพื้นที่ข้าวไร่ หรือนาในเขตที่มีการกระจายของฝนไม่แน่นอน
การทำนาหยอดทำตามสภาพพื้นที่ ดังนี ้
นาหยอดในสภาพข้าวไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่มักเป็ นที่ลาดชัน เช่น ที่เชิงเขา เป็ นต้น
ปริมาณน้ำฝนไม่แน่นอน สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่สามารถเตรียมดินได้ จึงจำเป็ น
ต้องหยอดข้าวเป็ นหลุม

นาหยอดในสภาพที่ราบสูง เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ส่วน


ใหญ่เป็ นที่ราบเชิงเขาหรือหุบเขา การหยอดอาจหยอดเป็ นหลุมหรือใช้เครื่องมือ
หยอด หรือโรยเป็ นแถวแล้วคราดกลบ นาหยอดในสภาพนีใ้ ห้ผลผลิตสูงกว่านา
หยอดในสภาพไร่มาก

นาหยอดในสภาพข้าวนาปี การทำนาหยอดนัน
้ ทราบกันดีวา่ ทำกันในภาคอีสาน
กับพื้นที่แห้ง แต่เหตุการณ์ปัจจุบันได้เปลี่ยนไป การทำนาหยอดได้เพิ่มจำนวน
มากขึน
้ เรื่อยๆ ในนาพื้นที่ภาคเหนือ ชาวนาในภาคเหนือบางจังหวัด เช่น ที่
จังหวัดลำปาง ชาวนาได้หน
ั มาทำนาหยอดทำกันในสภาพดินเปี ยกหลังจากทำ
เทือกแล้วปล่อยให้แห้งหมาดๆ ใช้ลูกกลิง้ มีปุ่มโดยรอบ เมื่อลากไปจะทำให้เกิด
เป็ นหลุมเล็กๆ พอที่จะหยอดเมล็ดข้าวลงไปได้ 3-6 เมล็ด การที่เกษตรกรหันมา
ทำนาหยอดในลักษณะเช่นนีก
้ ็เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนคนดำนาและค่าจ้าง
ดำนาที่แพง ในการทำนาปี

การทำนาดำ เหมาะสำหรับบริเวณที่มีฝนตก หรือมีน้ำท่วม และพื้นดินเก็บกักน้ำ


ได้ดี เตรียมดินด้วยการไถและคราดให้พ้น
ื นาเป็ นโคลนตม นำต้นกล้าที่ตกกล้าไว้
ในแปลงกล้ามาปั กดำ ในระยะห่างที่เหมาะสม
การทำนาหว่าน ส่วนใหญ่เป็ นวิธป
ี ฏิบัติสำหรับปลูกข้าวขึน
้ น้ำ แต่อาจจะใช้กับ
การปลูกข้าวไร่หรือข้าวนาสวนก็ได้ การทำนาหว่านเพิ่มพื้นที่มากขึน
้ ในภาคกลาง
และจะเพิ่มขึน
้ เรื่อยๆ ปั จจุบันมีการทำนาดำไม่เกิน 10% การทำนาหว่านขยาย
ตัวอย่างรวดเร็วเมื่อต้องประสบกับปั ญหาการขาดแคลนแรงงานในการดำนาและ
ค่าจ้างดำนาที่สูง ต้นทุนในการทำนาหว่าน ประมาณไร่ละ 500-600 บาท ขึน
้ อยู่
กับราคาเมล็ดพันธุ์ โดยมีค่าจ้างหว่าน ไร่ละ 70 บาท บางคนสามารถหว่านได้ถึง
วันละ 10 ไร่ ได้ค่าจ้างหว่านไปเกือบพันบาท

ธุรกิจการทำนาดำได้รับการตอบรับด้วยดีจากชาวนาในพื้นที่ภาคกลางตอนบน
แถบจังหวัดสิงห์บุรี ชัยนาท กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร กระบวนการเริ่มตัง้ แต่
การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ การเพาะกล้ากระบะในโรงเพาะ เพื่อขายต้นกล้าให้
เกษตรกรที่มีเครื่องดำนาหรือรับจ้างปั กดำนาด้วยเครื่องดำนา ชาวนาที่นน
ั ้ ให้
เหตุผลว่า ข้าวนาดำมีการเจริญเติบโตที่ดีกว่า เมล็ดข้าวมีความสมบูรณ์สูง อัตรา
การใช้ปุย
๋ น้อยกว่านาหว่าน นาหว่านใช้ปุย
๋ 50 กิโลกรัม ต่อไร่ นาดำใช้ปุ๋ย 20
กิโลกรัม ต่อไร่ แต่ธุรกิจการทำนาดำต้องอาศัยเครื่องดำนาเป็ นต้นกำลังสำคัญใน
การปั กดำ เครื่องดำนายังเป็ นที่ตอ
้ งการอยู่ แต่ราคาที่สูงมาก ทำให้เกษตรกรที่มี
รายได้น้อยตัดสินใจไม่ถูก ระหว่างการซื้อเครื่องดำนากับการจ้างเหมาเครื่องดำนา
มาปั กดำแทนการทำนาหว่าน ฤดูทำนาเจ้าเครื่องดำนามีคิวจองจ้างให้ดำนายาว
เหยียดตลอดเดือน

การเสนอตัวเข้ามาของการให้บริการรับจ้างดำนาด้วยเครื่องดำนากลายเป็ น
ประเด็นร้อนท้าทายการตัดสินใจของชาวนนาว่าจะเอาอย่างไร ค่าจ้างดำนาด้วย
เครื่องดำนาพร้อมกับต้นกล้า ตกไร่ละ 1,200 บาท ทัง้ นี ้ ราคาจะเปลี่ยนไปตาม
พันธุ์ข้าวที่ตอ
้ งการดำ เฉลีย
่ แล้วต้องเสียค่าจ้างในการปั กดำกล้า ประมาณ 3,775
บาท ส่วนค่าใช้จ่ายเมื่อใช้เครื่องดำนา ประมาณ 3,165 บาท ต่อไร่ การใช้เครื่อง
ดำนาจะเสียค่าใช้จ่ายถูกกว่าประมาณ 600 บาท วันนีเ้ ครื่องดำนาคูโบต้าได้กลาย
เป็ นพีใ่ หญ่แห่งท้องทุ่งนาไทย เครื่องดำนาคูโบต้ามีแบบนั่งขับและแบบเดินตาม
แบบนั่งขับถือได้เป็ นยีห
่ ้อแรกที่มีในประเทศไทย เครื่องดำนาคูโบต้าทุ่มทุนจำนวน
มากในการโหมประชาสัมพันธ์ให้ชาวนาหันมาใช้เครื่องดำนาหรือทำนาด้วยเครื่อง
ดำนา โดยให้การฝึ กอบรมชาวนาที่จะซื้อเครื่องให้เข้าใจเป็ นอย่างดี การสั่งซื้อ
เครื่องดำนาจะได้รับเครื่องต่อเมื่อกล้าในกระบะเพาะอายุได้ 20-30 วันแล้ว
เพราะเมื่อรับเครื่องไปก็พร้อมที่จะดำนาได้เลย ไม่ใช่ซ้อ
ื ไปเก็บหรือสัง่ สมบารมี

วิกฤตของวิถีชีวิตชาวนาไทยส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่มีวันเรียก
กลับมาได้งา
่ ย วัฒนธรรมในการทำนาได้เปลี่ยนไป ควายที่เคยไถนาเคียงคู่
ชาวนากลับไม่ได้ไถนา ควายไถนาไม่กลายเป็ นควาย ไม่ได้ทำหน้าที่ไถนา แต่
สิ่งที่นา
่ อายก็คือ ชาวนาปั กดำนากันไม่เป็ น แล้วจะบอกลูกบอกหลานกัน
อย่างไร ถ้าพวกเขาถามว่า "การปั กดำนา ทำกันอย่างไงครับ/คะ" ทัง้ นี ้ ก็
เพราะนาหว่านได้เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการทำนาของชาวนา
ไทยไปแล้ว และอีกมุมหนึ่งเมื่อแนวโน้มการใช้เครื่องดำนาที่ได้รับการตอบรับ
แล้วจากชาวนาบางส่วน มันจะถึงจุดเปลี่ยนให้ชาวนาส่วนใหญ่หันกลับมาทำ
นาดำกันอีกได้หรือไม่? เครื่องดำนาคูโบต้าคงต้องรอฟั งคำตอบในโอกาสต่อไป
 
โดย นัย บำรุงเวช
หนังสือเทคโนโลยีชาวบ้าน ฉบับวันที่ 1 พฤศจิกายน 255

You might also like