You are on page 1of 12

ร่ ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ มัทรี

มหาชาติ เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อน
จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คนไทยรู้จักและคุ้ยเคยกับมหาชาติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังที่ ปรากฏใน
หลักฐานในจารึกนครชุม และในสมัยอยุธยาก็ได้มีการแต่งและสวดมหาชาติคำหลวงในวันธรรมสวนะ ส่วนการ
เทศน์มหาชาติเป็นประเพณีที่สำคัญในทุกท้องถิ่นและมีความเชื่อกันว่า การฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียวจะ
ได้รับอานิสงส์มาก
ผู้แต่ง เจ้าพระยาพระคลัง(หน)
ลักษณะการแต่ง ความเรียงร้อยแก้ว ร่ายยาว กลบท กลอนพื้นบ้าน
ความย่อ
กล่าวถึงพระนางมัทรีเข้าป่าหาผลไม้ แล้วเจอเหตุการณ์มหัศจรรย์ต่าง ๆ จึงเดินทางกลับอาศรม ก็เกิดพายุใหญ่ มืด
ครึ้มไปทั่วบริเวณ อีกทั้งยังมีสิงห์สาราสัตว์ร้าย มาขวางทางไว้ เมื่อมาถึงอาศรมได้ทราบความ ทำให้พระองค์เสีย
พระทัยมาก จนสลบไป หลังจากฟื้นคืนสติกลับมา พระนางก็อนุโมทนากับพระเวสสันดรด้วย
เนื้อเรื่อง
รุ่งเช้าพระนางมัทรี เข้าป่าหาผลไม้ "เกิดเหตุแปลกประหลาดมหัศจรรย์ ผลไม้เผือกมันช่างหายากที่สุด ไม่
ว่าจะเป็นมะม่วงมัน ลูกจันทน์ ลิ้นจี่ น้อยหน่า สาลี่ ละมุด พุทรา ไม่มีให้เก็บเหมือนดังกับวันก่อน นางรีบย้อนกลับ
เคหา ก็เกิดพายุใหญ่ จนมืดครึ้มไปทั่วทั้งป่า ท้องฟ้าสีแดงปานเลือดละเลง ทั้งแปดทิศปรากฎมืดมนไปหมดอย่างไม่
เคยมี พระนางทรงห่วงหน้าพะวงหลัง เกรงจะมีภัยแต่พระเวสสันดรา กัณหาและชาลี
พระนางมัทรีรีบยกหาบใส่บ่ารีบเดินทาง พอถึงช่องแคบระหว่างเขาคีรี เป็นตรอกน้อยรอยวิถีทางที่เฉพาะ
จะต้องเสด็จผ่าน ก็พบกับสองเสือสามสัตว์มานอนสกัดหน้า เทวดาสามองค์แปลงร่างเป็นราชสีห์ เสือเหลือง เสือ
โคร่งสกัดทางนางไว้เพื่อมิให้พระนางมัทรีติดตามกัณหา ชาลีได้ทัน แต่ถึงกระนั้น เมื่อยามทุกข์เข้าบีบคั้น ความรัก
ลูก ความห่วงพระภัสดา พระนางจึงก้มกราบวิงวอน ขอหนทางต่อพญาสัตว์ทั้งสาม เมื่อได้หนทางแล้ว พระนางก็
รีบเสด็จกลับอาศรม เมื่อมาถึงอาศรม ไม่พบกัณหา ชาลี พระนางก็ร้องเรียกหาว่า
"ชาลี กัณหา แม่มาถึงแล้ว เหตุไฉนไยพระลูกแก้ว จึงไม่มารับเล่าหลากแก่ใจ แต่ก่อนร่อนชะไรสิพร้อมเพรียง เจ้า
เคยวิ่งระรี่เรียงเคียงแข่งกันมารับพระมารดา เคยแย้มสรวลสำรวจร่า ระรื่นเริงรีบรับเอาขอคาน แล้วก็พากัน
กราบกรานพระชนนี พ่อชาลี ก็จะรับเอาผลไม้ แม่กัณหาก็จะอ้อนวอนไหว้จะเสวยนม ผทมเหนือพระเพลาพลาง
เจ้าเคยฉอเลาะแม่ต่าง ๆ ตามประสาทารกเจริญใจฯ"
บัดนี้ลูกรักทั้งคู่ไปไหนเสีย จึงมิมารับแม่เล่า ครั้นเข้าไปถามพระเวสสันดรก็ถูกตัดพ้อต่อว่าต่าง ๆ จนพระ
นางมัทรีถึงวิสัญญีภ าพสลบลง พระเวสสันดรทรงปฐมพยาบาลจนพระนางมัทรีฟื้น แล้วจึงแจ้งความจริ งว่า
พระองค์ได้ทรงยกลูกรักชายหญิงทั้งสอง มอบให้แก่ชูชกไปแล้วตั้งแต่เมื่อวาน พระนางก็อนุโมทนาซึ่งทานนั้นด้วย

ตัวละคร
๑. พระเวสสันดร
พระเวสสันดร เป็นตัวละครที่มีบทบาทสำคัญอยู่ในวรรณคดีเรื่องร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก มีชื่อเรียก
ต่างๆกัน เช่น หน่อพระชินศรีโมลีโลก สมเด็จพระบรมนราพิสุทธิ์พุทธางกูร พระบรมราชพุทธพงศ์ หน่อพระชิน
ศรี สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ บรมนราธิบดินทร์ปิ่นสกลอาณาจักรจอมพิภพสีพี สมเด็จพระบาทบรมบพิตรพิชิต
โมลี หน่อพระพิชิตมาร สมเด็จพระวิสุทธิพงศ์ภูวนาถ สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์บุรุษรัตนพิเศษเพสสันดร สมเด็จ
พระปุริโสดมบรมโพธิสัตว์ สมเด็จพระมหาวิสุทธิสมมุติเทพพงศ์สมเด็จพระบรมหน่อนรารัตน์ภิเษก สมเด็จพระ
บรมปิ่นเกล้าเจ้าธรณีธรรมมิกธิเบศ พระราชฤาษีสีวีวรนเรศเวสสันดร บพิตรพุทธพงศ์ทิชากร สมเด็จบรมบาท
บพิตรพิชิตพิชัยเฉลิมชาวเชตุดรราชธานี องค์สมเด็จพระชินวงศ์วรราช พระบรมราชฤาษี พระมหาบุรุษราชชาติ
อาชาไนยเชื้อชินวงศ์ สมเด็จพระราชสมภาร สมเด็จพระมิ่งโมลีโลกุตมาภิเษกเอกอัครมกุฎวิสุทธิสรรเพชญพงศ์
สมเด็จพระบรมหน่อสรรเพชญ สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ศรีวิสุทธิเทพวงศ์ พระบรมหน่อสรรเพชญโพธิพงศ์
สมเด็จบรมขัตติยาธิบดินทร์อสัมภินวงศ์เวสสันดรมหาราช เป็นต้น
พระเวสสันดรเป็นพระโอรสของพระเจ้ากรุงสั ญชัยและพระนางผุสดีแห่งเมืองสีพีมีอุปนิสัยและพฤติกรรม
ที่สำคัญคือ การบริจาคทานพระราชกุมารเวสสันดรทรงบริจาคทานตั้งแต่ เกิด ครั้นพระชนมายุ ได้ ๔-๕ ชันษาทรง
ปลดปิ่นทองคำและเครื่องประดับเงินทองแก้วเพชรให้แก่นางสนมกำนัลทั่วทุกคนถึง ๙ ครั้งเพื่อมุ่งหวังพระ
โพธิญาณในภายภาคหน้า ครั้นเจริญชันษาได้ ๘ ปีก็ทรงตั้งจิตอธิษฐานว่าจะบริจาคเลือดเนื้อและดวงหทัยเพื่อมุ่ง
พระโพธิญาณในกาลข้างหน้าอย่างแน่วแน่
เมื่อมีพระชนมายุ ๑๖ พรรษาก็แตกฉานในศิลปวิทยา ๑๘ แขนงได้เสวยราชสมบัติและอภิเษกกับพระมัทรีตระกูล
มาตุลราชวงศ์มีพระราชโอรสและพระราชธิดาคือพระชาลีกุมารและพระกัณหากุมารีพระองค์ยินดีในการให้ทาน
ได้ตั้งโรงทานถึง ๖ แห่งในพระนครและเสด็จออกทอดพระเนตรการให้ทานอยู่เป็นเนืองนิจ ครั้งหนึ่งทูตของกลิง
คราษฎร์มาทูลขอช้างปัจจัยนาเคนทร์ช้างเผือกคู่บารมี ซึ่งเป็นช้างมงคลถ้าไปอยู่ที่ใด ที่นั่นฝนจะตกต้องตามฤดูกาล
พระองค์ก็ทรงบริจาคให้ ชาวเมืองสีพีพากันโกรธเคืองต่างมาชุมนุมกันที่หน้าพระลานร้องทุกข์ต่อพระเจ้ากรุงสั ญชัย
ว่า พระเวสสันดรยกพระยาคชสารคู่บ้านคู่เมืองให้คนอื่นผิดราชประเพณี เกรงว่าต่อไปภายหน้าอาจยกเมืองให้คน
อื่นก็ได้ขอให้เนรเทศพระเวสสันดรออกไปเสียจากเมือง พระเจ้ากรุงสัญชัยมิรู้จะทำประการใดจึงต้องยอมทำตามคำ
เรียกร้องของประชาชน ก่อนที่พระเวสสันดรพระนางมัทรี พระชาลี และพระกัณหาจะเดินทาง ก็ได้บริจาคสัตตสด
กมหาทาน คือการให้ทานช้าง ม้า โคนม รถม้า นารี ทาส ทาสี รวม ๗ สิ่ง สิ่งละ ๗๐๐ แล้วทรงรถเทียมม้าเสด็จ
ออกนอกเมือง ระหว่างทางมีพราหมณ์มาดักรอขอราชรถ พระเวสสันดรก็บริจาคให้แล้วทุกพระองค์ก็เสด็จโดย
พระบาทเดินทางมุ่งเข้าป่าจนกระทั่งถึงสระบัวใหญ่เชิงเขาวงกตซึ่งเทวดาเนรมิตไว้แล้วผนวชเป็นฤาษีบำเพ็ญภาวนา
อยู่ที่นั่น เมื่อพระเวสสันดรบำเพ็ญพรตอยู่ที่เขาวงกตชูชกได้เดินทางไปขอสองกุมารไปเป็นทาสี พระเวสสันดรก็ทรง
บริจาคให้ พระอินทร์แปลงเป็นพราหมณ์ไปทูลขอพระมัทรีก็ทรงบริจาคให้ซึ่งนอกจากจะทรงบริจาคทานที่แสดง
ถึงการเสียสละอันเป็นพฤติกรรมสำคัญในเรื่องแล้ว พระองค์ยังมีความเมตตา มีความมานะอดทนต่อความ
ยากลำบากต่า งๆในที่ ส ุด พระเจ้า กรุ งสั ญชัย พระนางผุ ส ดี พ ระชาลีแ ละพระกัณ หาก็ เสด็ จยกกองทั พมารับ
พระเวสสันดรและพระมัทรีกลับไปครอบครองบ้านเมืองดังเดิม การที่พระเวสสันดรบำเพ็ญบารมีโดยการบริจาค
ทานอยู่เป็นนิจแสดงถึงความเป็นผู้มีจิตใจดีงาม มีความเมตตากรุณาและการอดทนอดกลั้นอารมณ์โกรธได้ซึ่งส่งผล
ดีต่อตนเองคือทำให้ไม่ว้าวุ่นใจแต่ถึงอย่างไรพระองค์ก็ยังคงมีความปรารถนาเหมือนกับบุคคลทั่วไปเช่นกัน

๒. พระนางมัทรี
พระนางมัทรี เป็นตัวละครประกอบอยู่ในวรรณคดีเรื่องร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกมีชื่อเรียกต่างๆกัน
เช่น พระสุณิสาศรีสะใภ้ นางแก้วกัลยาณี พระยอดเยาวอนงค์องค์อัคเรศราชนารี องค์สมเด็จพระชนนีศรีสุนทรราช
สุณิสา พระยุพยงเยาวดี เป็นต้น
พระนางมัทรี เป็นพระราชธิดาแห่งกษัตริย์มัทราช อภิเษกสมรสกับพระเวสสันดร มีพระโอรสชื่อพระชา
ลีและมีพระธิดาชื่อพระกัณหาพระนางตามเสด็จพระเวสสันดรไปยังเขาวงกต แม้จะถูกพระเจ้ากรุงสญชัยทัดทาน
แต่ด้วยความจงรักภักดีต่อพระสวามีพระนางก็ไม่ทรงยินยอม เมื่อพระนางมัทรีตามเสด็จไปเขาวงกต พระนางได้
ปฏิบัติต่อพระสวามีและสองกุมาร คือลุกขึ้นแต่เช้า กวาดพื้นบริเวณอาศรม ตั้งน้ำดื่ม จัดน้ำสรงพระพักตร์จัด
สถานที่ให้เป็นระเบียบและเข้าป่าหาผลไม้ทุกวัน พระนางได้ปรนนิบัติรับใช้และทำตามหน้าที่อย่างไม่ขาดตก
บกพร่อง
พระนางมัทรีเป็นแบบฉบับของนางในวรรณคดีที่เพียบพร้อมไปด้วยคุณสมบัติต่างๆทั้งการเป็นแม่ที่
ประเสริฐของลูก และการเป็นภรรยาที่ดีของสามี คือมีความอ่อนน้อม นอบน้อม และอดทนเป็นภรรยาแม่แบบผู้มี
ลักษณะเป็นกัลยาณมิตรของสามีสนับสนุนเป้าหมายชีวิตอันประเสริฐที่พระสวามีได้ตั้งไว้ เป็นแบ บอย่างของ
ภรรยาตามทัศนะของคนตะวันออก เช่น ปฏิบัติดูแลเรื่องข้าวปลาอาหาร และมีคุณธรรมสำคัญคือ ซื่อตรง จงรัก
และหนักแน่นต่อสามี
พระนางมีความนับถือเชื่อฟัง และจงรักภักดี เมื่อพระเวสสันดรกล่าวเชิงบริภาษพระนาง พระนางก็ทูลชี้แจง
แม้พระเวสสันดรแกล้งบริภาษเชิงหึง พระนางมัทรีก็โต้ตอบด้วยถ้อยคำนิ่มนวล กล่าวชี้แจงความบริสุทธิ์และทูล
ขอประทานโทษต่อสามี แสดงถึงความมีวัฒนธรรมและจริยวัตรอันงดงามของนางกษัตริย์ มิได้ใช้ถ้อยคำรุนแรงผิด
กุลสตรีและผิดธรรมเนียมแบบอย่างของภรรยาที่ดี แม้เมื่อพระเวสสันดรประทานสองกุมารแก่ชูชกเป็นบุตรทาน
พระนางมัทรีก็พลอยอนุโมทนาด้วยแสดงถึงความดีงามของพระนาง ที่ทรงมีน้ำพระทัยศรัทธาในการบริจาคทาน
เช่นเดียวกับพระเวสสันดร เมื่อพระอินทร์แปลงเป็นพราหมณ์มาทูลขอพระมัทรีต่อพระเวสสันดร และพระ
เวสสันดรพระราชทานให้ พระนางก็อยู่ในพระอาการปกติเพราะทรงเชื่อพระทัยว่าพระเวสสันดรทรงเป็นปราชญ์ผู้
ยิ่งใหญ่ทรงยอมตามพระราชอัธยาศัยและที่สุดพระอินทร์ก็ทรงคืนพระนางต่อพระเวสสันดรดังเดิม เมื่อกองทัพของ
พระเจ้ากรุงสญชัยไปถึงสระมุจลินท์ พระเวสสันดรคาดว่าเป็นกองทัพของศัตรูจะตามมาทำร้าย แต่พระมัทรีทรง
สังเกตทราบว่าเป็นกองทัพของพระเจ้ากรุงสญชัยและทูลให้พระเวสสันดรทราบ พระนางมัทรีรักและเลี้ยงดูลูกด้วย
ความทะนุถนอมดูแลเอาใจใส่และให้ความอบอุ่นแก่ลูกเมื่อพระนางมัทรีพลัดพรากจากสองกุมารก็เที่ยวค้นหาพระ
ลูกรักแต่ไม่พานพบได้แสดงถึงความรักของแม่ที่มีต่อลูก
พระนางมัทรีกลับชาติมาเกิดคือพระนางยโสธราพิมพา พระมารดาพระราหุล
๓. พระชาลี
พระชาลีเป็นตัวละครประกอบอยู่ในวรรณคดีเรื่องร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกมีชื่อเรียกต่างๆ เช่น พ่อ
สายใจ พ่อหน่อน้อยภาคิไนยนาถ เป็น ต้น พระชาลีเป็นพระราชโอรสของพระเวสสันดรกับพระนางมัทรีเป็นพระ
เชษฐาของพระกัณหา พระนัดดาของพระเจ้ากรุงสญชัยและพระนางผุ สดีเมื่อเวลาประสูติพระประยูรญาติได้ทรง
นำตาข่ายทองมารองรับ จึงได้รับพระราชทานนามว่า ชาลี แปลว่าผู้มีตาข่าย เมื่อพระเวสสันดรทรงถูกเนรเทศ
ออกจากเมือง พระกัณหาและพระชาลีได้โดยเสด็จด้วยขณะที่ชูชกไปทูลขอพระกุมารทั้งสอง ชูชกได้ขู่พระกุมาร
ตั้งแต่แรกเห็น พระกุมารทั้งสองจึงเกรงกลัวชูชกมาก ครั้นทรงทราบว่าพระบิดาประทานพระองค์ให้แก่ชูชกจึงหนี
ไปซ่อนองค์ในสระบัวเมื่อพระบิดาตรัสเรียกพระชาลีก็ขึ้นจากสระโดยคิดว่าจักให้พระบิดาเรียกถึงสองครั้งมิบังควร
พระเวสสันดรทรงกำหนดค่าของพระชาลีเท่ากับพันตำลึ งทองและทรงหลั่งน้ำยกพระกุมารให้แก่ชูชก ชูชกนำพระ
กุมารทั้งสองออกจากเขาวงกต รอนแรมมาได้ประมาณ ๖๐ โยชน์ ครั้นตกกลางคืนก็เอาเถาวัลย์ผูกพระกุมารไว้
ส่วนชูชกขึ้นไปนอนบนคาคบไม้ตลอดทางเทวดาก็ช่วยบำรุงรักษามิให้มีอันตรายมาแผ้วพานและดลใจให้ชูชก
เดินทางไปทางกรุงสีพี ได้เข้าเฝ้าพระเจ้ากรุง สญชัยเมื่อชูชกกราบทูลว่าพระเวสสันดรทรงประทานพระโอรสและ
พระธิดาให้หมู่อำมาตย์ก็พากันติเตียนพระเวสสันดรว่าน้ำพระทัยดีเกินไปเมื่อประทับในเมืองก็พระราชทานช้างแก้ว
ครั้นประทับ ณ เขาวงกตก็ประทานโอรสธิดาอีก พระชาลีแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพระบิดา ทรงแก้ข้อกล่าวหา
ของเหล่าอำมาตย์ที่ดูหมิ่นพระเวสสันดรในการบริจาคทานพระราชกุมารทั้งสอง พระชาลีทรงมีความอ่อนน้อมถ่อม
ตนและมีคารมคมคาย เมื่อพระเจ้ากรุงสญชัยตรัสเรียกให้มาประทับร่วมพระอาสน์ พระชาลีกราบทูลว่าเป็นข้าของ
ชูชกมิบังอาจไปใกล้ชิดได้ด้วยเกรงว่าพระองค์จะมัวหมอง
พระเจ้ากรุงสั ญชัยเมื่อได้ยินคำตัดพ้อของพระชาลีจึงทรงไถ่ถอนให้พ้นจากการเป็นทาสและยังพระราชทาน
ปราสาท ๗ ชั้น ให้แก่ชูชกอีกด้วยและรับสั่งให้จัดพิธีสมโภชรับขวัญพระกุมารทั้งสอง
เมื่อพระเจ้ากรุงสญชัยตรัสถามถึงพระเวสสันดรและพระมัทรีพระชาลีก็กราบทูลถึงความทุกข์ที่ทั้งสอง
พระองค์ทรงได้รับและตัดพ้อพระอัยกาว่าพระโอรสพระองค์ยังไม่ทรงรักจะมารักพระนัดดาได้อย่างไร พระเจ้า
กรุงสญชัยจึงตรัสขอโทษพระชาลีและทรงยอมรับว่าเป็นความผิดของพระองค์เองที่ทรงเชื่อผู้อื่นขับไล่พระเวสสันดร
ไปและรับสั่งให้พระชาลีไปทูลเชิญเสด็จกลับพระนคร พระชาลีกราบทูลว่าพระองค์ยังเป็นพระกุมารคำกล่าวจะไม่
มีน้ำหนัก พระเวสสันดรอาจจะไม่ทรงเชื่อและไม่เสด็จกลับพระนคร พระเจ้ากรุงสญชัยจึงเสด็จไปรับพระเวสสันดร
ยังเขาวงกตโดยมีพระชาลีทรงช้างปัจจัยนาคที่พรามหณ์เมืองกลิงคราษฎร์นำมาถวายคืน พระชาลีทรงมีสถานะเป็น
พระโอรสของพระเวสสันดร ทรงมีความกตัญญูเป็นเลิศ ทรงยอมเป็นบุตรทานให้พระบิดาทรงบริจาคแก่ช ูชก
เพื่อให้พระบิดาได้สำเร็จพระโพธิญาณค้นพบทางหลุดพ้นจากสังสารวัฏ และเมื่ออำมาตย์กล่าวดูแคลนพระบิดา ก็
ทรงแก้ต่างแทนพระบิดาให้อำมาตย์เหล่านั้นได้เห็นกระจ่างถึงความจริงในตัวพระบิดาแสดงให้เห็นถึงความกตัญญู
รู้คุณบุพการีของพระชาลีที่ไม่ยอมให้ใครมาดูหมิ่นบิดามารดาของตนในทางที่ไม่เป็นจริงเป็นผู้ที่สามารถประพฤติ
ตนได้เหมาะสมในสถานการณ์ต่างๆ รู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่ และรู้จักกาล รู้ว่าเวลาไหนควรปฏิบัติตนอย่างไร เป็นต้น
พระชาลีกลับชาติมาเป็นพระราหุล เป็นสามเณรรูปแรกของพุทธศาสนาเมื่อบวชเป็นภิกษุแล้วบำเพ็ญเพียรจน
สำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิ กษุทั้งหลายในทางผู้ใคร่ในการศึกษาท่าน
นิพพานก่อนพระพุทธองค์ ก่อนพระสารีบุตร ก่อนพระโมคคัลลานะ ดับขันธปรินิพพานที่บัณทุกัมพลศิลาอาสน์
ณดาวดึงส์เทวโลก

๔. พระกัณหา
พระกัณหา หรือ กัณหาชินา เป็นตัวละครประกอบอยู่ในวรรณคดีเรื่องร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกเป็น
พระธิดาของพระเวสสันดรและพระนางมัทรี เป็นพระนัดดาของพระเจ้ากรุงสญชัยและพระนางผุสดี และเป็นพระ
กนิษฐาของพระชาลี พระกัณหาเป็นผู้หนึ่งที่ทำให้พระเวสสันดรได้บำเพ็ญบุตรทานบารมีซึ่งเป็นทานอันยิ่งใหญ่ที่
มนุษย์ทั้งหลายไม่สามารถทำได้ นอกจากมหาบุรุษผู้ทรงหวังพระโพธิญาณเท่านั้นดังที่พระเวสสันดรทรงตรัสว่า
“พระลูกเอ๋ย เจ้าไม่รู้หรือพระบิตุรงค์บรรจงรักพระโพธิญาณ หวังจะยังสัตว์ให้ข้ามห้วงมหรรณพภพสงสารให้ถึง
ฟากเป็นเยี่ยงอย่างยอดยากที่จะข้ามได้”
พระกัณหาเป็นผู้ที่มีความกตัญญูเชื่อฟังคำสั่งสอนและมีความเฉลียวฉลาด ได้ติดตามพระเวสสันดรและพระมัทรีไป
ยังเขาวงกต เมื่อถูกยกให้แก่ชูชกก็หาทางหลบหนี เช่น
“สองเจ้าก็วิ่งวนถึงมงคลสระศรี สองกุมารกุมารีทรงผ้าคากรองเข้าให้มั่นคง แล้วเสียรอยถอยหลังลงสู่สระศรี เอา
วารีมาบังองค์ เอาใบบุษบงมาบังพระเกศ หวังจะซ่อนพระบิตุเรศกับพราหมณ์ด้วยความกลัว อยู่ในสระบัว นั้น
แล”
และเมื่อพระเวสสันดรตรัสเรียกโดยกล่าวว่า
“…ไยเจ้าไม่องอาจยอมย่อท้อทิ้งพระบิดา ให้พราหมณ์มันจ้วงจาบหยาบช้าเจ้าเห็นชอบอยู่แล้วหรือหนา
พ่อสายใจ…”
ทั้งสองกุมารก็ขนึ้ จากสระมาแต่โดยดี
พระกัณหาเป็นผู้ว่าง่ายถึงคนคนนั้นจะดีหรือไม่ดีต่อตนก็ตามก็ยังเชื่อฟังคำสั่งโดยไม่ขัดขืน และยังมีน้ำใจ
คอยช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ เป็นผู้ที่เข้าใจในเจตนาของพระเวสสันดรที่เสียสละเพื่อประโยชน์ของชนหมู่มากแม้การ
เสียสละนั้นจะทำให้ตนเองลำบากก็พร้อมที่จะเข้าใจเหตุผลความจำเป็นที่ตนต้องเสียสละพระนางกัณหากลับชาติ
มาเป็นพระอุบลวรรณาเถรี ชำนาญในการแสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้รับตำแหน่งในทางเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณี
ทั้งหลาย ในฝ่ายผู้มีฤทธิ์และเป็นอัครสาวิกาฝ่ายซ้าย
๕. ท้าวสักกเทวราช (พระอินทร์)
ท้าวสักกเทวราช เป็นตัวละครประกอบอยู่ในวรรณคดีเรื่องร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก
เป็นพระราชสวามีของพระนางผุสดีขณะสถิตอยู่ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีนามเรียกต่างๆเช่น โกสีย์ อมรินทร์
ศักรินทร์ วัชรินทร์ เทวราช จอมสิเนรุราช ตรีเนตร เทวราชสุราธิบดี พัชรินทรเทวราช มัฆวาน สมเด็จบรมสุรา
ฤทธิ์ เทวราชสุราธิบดี เพชรปาณี ทิพยจักษุเทเวศร์ ท้าวพันตา สหัสจักษุเทเวศร์ สหัสนัยน์ สหัสเนตร สหัสภา
นุมาศ สุชัมบดี เป็นต้น
ท้าวสักกเทวราชหรือพระอินทร์เป็นตัวละครที่เ ป็นตัวเชื่อมเหตุการณ์ต่างๆภายในเรื่องมหาเวสสันดร
ชาดกให้เนื้อหามีความต่อเนื่องกัน คอยช่วยแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี และยังเป็นผู้ดลบันดาลให้
ตัวละครต่างๆได้มาพบกันด้วย
บทบาทของท้าวสักกเทวราชมีอยู่ในเรื่องเวสสันดรชาดกเกือบทุกกัณฑ์ ตั้งแต่
กัณฑ์ทศพร พระนางผุสดีจะจุติจากสวรรค์ได้ขอประทานพร ๑๐ ประการ
กัณฑ์หิมพานต์ทรงรำพึงถึงพระพรที่ประสาทให้แก่พระนางผุสดีว่า พระพรทั้งเก้าก็ได้สำเร็จยังแต่พระลูกแก้วที่พระ
นางปรารถนา พระองค์ก็เห็นควรจะประสิทธิ์ให้
กัณฑ์วนประเวศน์ ทรงสั่งให้พระเวสสุกรรมเทพบุตรมานิมิตบรรณศาลา ๒หลัง ที่จงกรม ๒ หลังกับที่พักกลางวัน
และกลางคืนพร้อมด้วยเครื่องบรรพชิตบริขารทุกประการ
กัณฑ์มัทรี ทรงสั่งให้เทวดาจำแลงเป็นสัตว์ร้าย ๓ ชนิดนอนขวางทางพระนางมัทรีไม่ให้เสด็จตามไปทันสองกุมาร
กัณฑ์สักกบรรพ นิรมิตองค์เป็นพราหมณ์เข้าไปทูลขอพระมัทรีเพื่อว่าเมื่อประทานให้แล้ว
จะถวายคืนให้พระนางได้อยู่ปฏิบัติรับใช้ต่อไป
กัณฑ์ฉกษัตริย์ หกกษัตริย์ทรงกันแสงจนสลบไปทรงบันดาลให้ฝนโบกขรพรรษตกลงมา หกกษัตริย์ต่างก็ฟื้นคืน
สมปฤดี
พระอินทร์เป็นเทพที่มีจิตใจดีมีความเมตตากรุณา เปี่ยมไปด้วยคุณธรรมชอบช่วยเหลือคนดีมีคุณธรรมที่กำลังตก
ทุกข์ได้ยาก และทรงเป็นผู้มองการณ์ไกล ทรงเล็งเห็นว่าพระเวสสันดรมีจิตปรารถนาพระโพธิญาณในอนาคตกาล
จึงทรงคอยช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้พระเวสสันดรทรงสมปรารถนาอยู่เสมอ
ตัวอย่างของความมีจิตใจดีมีเมตตากรุณาเช่นในกัณฑ์ทศพรและกัณฑ์หิมพานต์ ทรงเมตตาประทานพร ๑๐
ประการให้ตามที่พระนางผุสดีขอและยังพรนั้นให้สำเร็จตามที่พระนางปรารถนา ส่วนในกัณฑ์ฉกษัตริย์ก็ทรง
บันดาลฝนโบกขรพรรษให้ตกลงมาประพรมให้กษัตริย์ทั้งหกฟื้นคืนสมปฤดี
ความเป็นเทพที่คอยปกป้องคุ้มครองคอยช่วยเหลือบุคคลที่ทำแต่ความดีที่เดือดร้อนในโลกมนุษย์ เช่นในกัณฑ์วน
ประเวศน์ได้ช่วยเหลือพระเวสสันดร พระนางมัทรี พระกัณหาและพระชาลีในระหว่างเดินทางไปยังเขาวงกตและ
เมื่อเสด็จถึงเขาวงกตก็พบพระอาศรมที่ได้ให้พระวิศนุกรรมมาเนรมิตไว้ให้
ความเป็นเทพที่มีความคิดละเอียดรอบคอบเช่นสั่งให้เทวดาจำแลงเป็นสัตว์ร้าย ๓ ชนิด คือราชสีห์ เสือเหลือง และ
เสือโคร่งนอนขวางทางพระนางมัทรีเพื่อไม่ให้พระนางตามไปขัดขวางการบริจาคปุตตทานของพระเวสสันดรได้ใน
กัณฑ์มัทรี และในกัณฑ์สักกบรรพพระองค์ก็ทรงเกรงว่าจะมีผู้อื่นมาขอพระนางมัทรีจึงแปลงองค์เป็นพราหมณ์มา
ทูลขอพระนางเสียก่อน เมื่อพระเวสสันดรประทานให้ พระอินทร์ทรงอนุโมทนาแล้วก็ถวายคืนพร้อมทั้งแสดงองค์
ให้ปรากฏและพระราชทานพร๘ ประการแก่พระเวสสันดรด้วย รวมความว่าพระอินทร์คอยช่วยเหลือพระเวสสันดร
ตลอดเรื่องเช่น ไม่ให้พระเวสสันดรวิบัติ ไม่ให้พระเวสสันดรขัดข้อง ไม่ให้พระเวสสันดรต้องกังวล ให้พระเวสสันดร
บรรลุผลดังปรารถนา
ท้าวสักกเทวราชกลับชาติมาเกิดเป็นพระอนุรุทรเถระเป็นผู้ไม่รู้จักคำว่า ไม่มี และไม่ได้บวชด้วยศรัทธาแต่บวช
เพราะเกรงใจเมื่อสำเร็จเป็นพระอรหัต์แล้วได้รับยกย่องว่าเป็นเอตคั คคะทางผู้มีทิพยจักษุญาณเป็นปฐมเหตุ
ประเพณีทอดผ้าบังสุกุล หรือทอดผ้าป่า นิพพาน ณ ภายใต้ร่มกอไผ่ในหมู่บ้านเวฬุวะ แคว้นวัชชี
๖. พระนางผุสดี
พระนางผุสดี เป็นตัวละครอยู่ในวรรณคดีเรื่องร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก เดิมเป็นพระราชธิดาของ
พระเจ้าพันธุมราชชื่อสุธัมมา ต่อมาได้บังเกิดเป็นอัครมเหสีของสมเด็จพระอมรินทราธิราชชื่อผุสดี เมื่อจุติจาก
สวรรค์ได้ถือกำเนิดเป็นพระราชธิดาของพระเจ้ามัททราช ครั้นเจริญวัยก็ได้อภิเษกเป็นอัครมเหสีของพระเจ้า
กรุงสญชัยและเป็นพระมารดาของพระเวสสันดร
พระนางผุสดีธิดากษัตริย์มัททราช มเหสีของพระเจ้ากรุงสญชัยแห่งกรุงสีพีราษฎร์และพระมารดาของ
พระเวสสันดรนั้น เมื่อเสวยพระชาติเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าพันธุมราชแห่งพันธุมดีนครทรงได้รับพระราชทาน
แก่นจันทน์แดงจากพระราชบิดาจึงได้นำไปบดใส่ผอบทองและถวายแด่พระวิปัสสิสัมมาสัมพุท ธเจ้าพร้อ มทั้ง
อธิษฐานว่าขอให้ได้เป็นพุทธมารดาในอนาคต ด้วยกุศลผลบุญนี้ทำให้พระนางได้ไปบังเกิดบนสวรรค์ เป็นพระมเหสี
ของพระอินทร์ ครั้นเมื่อถึงกำหนดจะจุติจากสวรรค์ก็ได้รับพระราชทานพร ๑๐ ประการจากพระอินทร์ด้วย
พระนางผุสดีมีอุปนิสัยรักสวยรักงามเช่ นในพรที่ขอจากพระอินทร์ส ่วนมากก็จะยึดติดกับรู ปกาย
ภายนอก เช่น ขอให้ดวงเนตรทั้งสองมีสีดำประดุจดวงตาลูกเนื้อทราย ขอให้มีพระขนงเขียวดุจสร้อยคอนกยูง ขอ
อย่าให้มีพระครรภ์ปรากฏนูนดังสตรีสามัญ ขออย่าให้พระถันทั้งคู่ดำในเวลาทรงครรภ์และเมื่อประสูติแล้วขออย่า
ให้หย่อนยาน ขอให้เส้นพระเกศเป็นมันดุจสีปีกแมลงค่อมทอง และขอให้พระฉวีละเอียดดุจดังทองคำธรรมชาติ
ส่วนในข้อที่แสดงว่าพระนางเป็นผู้มีความเมตตากรุณาก็คือ ได้ขอพระราชทานพรให้ทรงมีอำนาจปลดปล่อยนักโทษ
ประหารชีวิตให้พ้นโทษและในข้อที่แสดงความยึดมั่นในตำแหน่งฐานะก็คือขอให้ ได้ประทับในปราสาทพระเจ้าสีวี
ราช
พระนางผุสดีในฐานะพระราชมารดาทรงเป็นแม่ที่รักลูก ห่วงใยลูก เมื่อลูกมีปัญหาก็รีบหาทางช่วยแก้ไข
แต่ในฐานะของผู้ป กครองประเทศก็จ ะออกเดินทางไปเยี่ยมเยือนประชาชนดูแลทุกข์ส ุขของประชาชน และ
ประทานเงินทองให้แก่ราษฎรส่วนในฐานะของพระอัครมเหสีก็สามารถเป็นที่ปรึกษาของพระเจ้ากรุงสญชัยได้เป็น
อย่างดี
พระนางผุสดีกลับชาติมาเกิดเป็นพระนางสิริมหามายา
๗. พระเจ้ากรุงสัญชัย
พระเจ้ากรุงสญชัย เป็นตัวละครอยู่ในวรรณคดีเรื่องร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกมีชื่อเรี ยกต่างๆกันเช่น
สมเด็จพระบรมกษัตริย์ พระปิ่นเกล้ามกุฎพิภพสีพี สมเด็จพระอัยกาธิบดีศรีสมมุติเทพวงศ์ เป็นต้น
พระเจ้ากรุงสญชัย เป็นพระราชาแห่งกรุงสีพีราษฎร์พระราชบิดาของพระเวสสันดร เมื่อพระโอรสมี
พระชนมายุสมควรจะสืบราชสมบัติแล้วก็ทรงสละราชสมบัติให้ทรงปกครองต่อไปพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่เห็นแก่
ประโยชน์ของบ้านเมืองมากกว่าประโยชน์ส่วนพระองค์เอง ทรงเนรเทศพระเวสสันดรออกจากเมืองพร้อมด้วยพระ
นางมัทรี พระชาลี และพระกัณหาเมื่อชาวเมืองมาร้องทุกข์ว่าพระโอรสทรงกระทำผิดแม้พระมเหสีจะทูลขอร้อง
ประการใดก็มิได้คืนคำทั้งที่ทรงอาลัยรักในพระโอรสแต่ก็ทรงหักพระทัยได้เพื่อประโยชน์สุขของบ้านเมืองและยังได้
ทรงไถ่ตัวพระชาลีและพระกัณหาคืนจากชูชกด้วย
พระเจ้ากรุงสญชัยแม้จะเป็นพระมหากษัตริย์ แต่เมื่อทรงทราบว่าพระองค์เป็นผู้ผิดก็หาได้ทรงมีทิฐิไม่
ทรงขอโทษพระชาลีซึ่งเป็นพระนัดดา
ตอนรับพระเวสสันดรกลับเข้าเมืองก็ได้ตรัสขอโทษพระเวสสันดร
พระเจ้ากรุงสญชัยกลับชาติมาเป็นพระเจ้าสุทโทธนะ
๘. ชูชก
ชูช ก เป็น ตัว ละครประกอบอยู่ในวรรณคดีเรื่องร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกเป็นผู้เกิดในตระกู ล
พราหมณ์โภวาทิกชาติซึ่งเป็นพราหมณ์พวกที่ถือตนว่ามีกำเนิดสูงกว่าผู้อื่นมักใช้คำว่า “โภ”แปลว่า “ผู้เจริญ” เป็น
คำร้องเรียก
แม้ชูชกจะเกิดในตระกูลพราหมณ์ที่ถือตนว่ามีกำเนิดสูงกว่าผู้อื่นแต่ชูชกก็ยากจนเข็ญใจยิ่ง ต้องเที่ยว
ขอทานเขาเลี้ย งชี พ ชูช กมีบ ้านอยู่ในหมู่บ ้านทุนนวิฐ ติด กั บเมื องกลิง คราษฎร์ มีรูปร่างหน้าตาน่า เกลี ย ด
ประกอบด้วยบุรุษโทษ ๑๘ประการ
ลักษณะนิสัยของชูชก
๑. มีความตระหนี่เหนียวแน่น ขอทานได้มากเท่าไรก็เก็บไว้ไม่ยอมนำไปใช้จ่ายจนได้ถึง ๑๐๐ กษาปณ์
๒. มีความโลภ เที่ยวขอทานจนมีเงินมากมายก็ยังไม่ยอมหยุดเพื่อนำเงินมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตน
ยังคงขอเรื่อยไป
๓. รักและหลงเมีย ยอมให้นางทุกอย่าง เช่น “ทีนี้งานการเจ้าอย่าได้ทำ ทั้งหุงต้มตักตำตามใจเจ้าเถิด
นะแม่ ขอแต่ว่ามานั่งให้พี่นี้แลๆพอให้ชื่นใจ พี่ก็จะรับร่ำกระทำไปไม่ละเลย”
แม้รู้ว่าการเดินทางไปเฝ้าพระเวสสันดรนั้นแสนยากลำบากเพียงใด
๔. เป็นคนฉลาด มีเล่ห์เหลี่ยมมาก ฉลาดทั้งในด้านการพูดและกลอุบาย
- ฉลาดในการพูด เช่น ก่อนที่จะทูลขอสองกุมารได้ยกแม่น้ำทั้งห้าขึ้นมาเปรียบกับน้ำพระทัยของพระ
เวสสันดร เป็นการหว่านล้อมเสียก่อนแล้วจึงทูลขอว่า “เสมือนหนึ่งน้ำพระทัยทูลกระหม่อมแก้ว อันยาจกมาถึง
แล้วไม่เลือกหน้า ตามแต่จะปรารถนาทุกยวดยานกาญจนอลงกตรถรัตน อัศวสรรพสารพัดพิพิธโภไคย จนกระทั่ง
ถึงภายในปัญจมหาบริจาค อันเป็นยอดยากยิ่งไม่ท้อถอย ด้วยพระองค์หมายมั่นพระสร้อยสรรเพชฌดาญาณ
พระคุณเจ้าเอ่ย ข้าพระราชสมภารนี้เป็นคนจนทุพพลภาพสุดเข็ญ จะหาเช้าได้กินเย็นก็ทั้งยาก ครั้งนี้อุตส่าห์บ่าย
บากบุกป่าฝ่าดงพนัสแสนกันดาร หวังจะรับพระราชทานพระชาลีกัณหาไปเป็นทาสทาสี ขอพระองค์ทรงยกยอด
ปิยบุตรทานบารมีแก่ข้าธชีนี้เถิด”

- ฉลาดในกลอุบาย คือเมื่อพบเจตบุตรถูกเจตบุตรขู่จะฆ่าก็แกล้งบอกว่าตนเป็นทูตจากพระเจ้ากรุงสญ
ชัย ถือพระราชสารไปยังพระเวสสันดร โดยอ้างกล่ องใส่อาหารว่าเป็นกล่องใส่พระราชสาร เจตบุตรจึงเข้า
ช่วยเหลือ
“เข้าประคับประคองแต่ค่อยค่อยพยุพยุงถุงย่าม ได้ยินเสียงกรุกรักก็ทักถามว่าอะไรนั่นเจ้าข้า ตาแกก็
กลับกลักพริกกลักงาว่าใส่สาส์นตราพระราชสีห์ เจตบุตรก็ยินดียกขึ้นทูนหัว เฒ่าก็ร้องสำทับว่ารับแต่ค่อยค่อยของ
มันหนักกลักนี้มิใช่ชั่วอย่าเหวี่ยงวางลงให้ราบ เจตบุตรก็ปูผ้าลงกราบกราบนึกว่าจริง”
๕. มีความละเอียดรอบคอบ เมื่อจะจากนางอมิตตดาไป ได้หาฟืน ตักน้ำ และซ่อมบ้านให้เรียบร้อย
ทั้งยังสั่งสอนนางให้ระวังตัวเกรงจะถูกคนพาลมารังแก
๖. มีความยึดมั่นในพิธีทางไสยศาสตร์ เช่น
“เฒ่าก็ยังอมิตตดาดรุเณศ ให้นั่งนิ่งในทักษิณประเทศสืบสายสำเนียน แล้วกระทำประทักษิณวนเวียน
วงได้สามรอบ ตามฉบับระบอบไสยศาสตร์เพท ว่าทั้งผู้อยู่ก็จะไม่มีภัยทั้งผู้ไปก็จะไม่มีเหตุ หากจ ะให้เจริญสุข
สวัสดิ์วิเศษทั้งสองข้าง”
ชูชกเป็นตัวอย่างของคนที่ติดอยู่ในกาม ต้องมาตกระกำลำบากในยามชราเข้าลักษณะว่า “วัวแก่กิน
หญ้าอ่อน” ในตำราหิโตปเทศกล่าวว่า “ความรู้เป็นพิษเพราะเหตุไม่ใช้ ปราสาทเป็นพิษเพราะคนเข็ญใจ อาหาร
เป็นพิษเพราะไฟธาตุไม่ย่อย เมียสาวเป็นพิษเพราะผัวแก่” ชูชกแสดงให้เห็นว่าเป็นจริงทุกประการ เช่น ปราสาท
เป็นพิษเพราะคนเข็ญใจเพราะชูชกอยู่บนประสาทได้ไม่ถึงเจ็ดวันก็ตาย อาหารเป็นพิษเพราะไฟธาตุไม่ย่อยชูชกกิน
อาหารจนเกินขนาดทำให้อาหารไม่ย่อยจึงตาย เมียสาวเป็นพิษเพราะผัวแก่ชูชกได้ความลำบากก็เพราะนางอมิตดา
ใช้
ชูชกกลับชาติมาเป็นพระเทวทัตสุดท้ ายถูกแผ่ นดินสูบ

You might also like