You are on page 1of 218

ความเป็น ครู

:แนวคิด ทฤษฎี สู่กลยุทธ์การพัฒนา

รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์


สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ความเป็นครู
:แนวคิด ทฤษฎี สู่กลยุทธ์การพัฒนา

รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์

คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
2565
ความเป็นครู: แนวคิด ทฤษฎี สู่กลยุทธ์การพัฒนา
Self-Actualization for Teachers: Concepts, Theories
to Developmental Strategies
ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์
ค.บ. เกียรตินยิ มอันดับ 1 (วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย วิชาโทภาษาอังกฤษ)
ศษ.บ. (การวัดและประเมินผลการศึกษา)
กศ.ม. (การวัดผลการศึกษา)
ศษ.ด. (การบริหารการศึกษา)

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสานักหอสมุดแห่งชาติ
วาโร เพ็งสวัสดิ์.
ความเป็นครู: แนวคิด ทฤษฎี สู่กลยุทธ์การพัฒนา. สกลนคร: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสกลนคร, 2565. จานวน 204 หน้า.
1. การศึกษา 2. ความเป็นครู
370.72

ราคา 200 บาท


ISBN --------

ครั้งทีพ
่ ิมพ์ 1 จานวน 100 เล่ม มิถุนายน พ.ศ. 2565
สงวนลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ ห้ามคัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ท้าซ้า จัดพิมพ์หรือกระท้าอื่นใด
โดยวิธีการใด ๆ ในรูปแบบใด ๆ ไม่วา่ ส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือเล่มนี เพื่อเผยแพร่ในสื่อทุกประเภท
หรือเพื่อวัตถุประสงค์ใด ๆ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากผู้เขียนเท่านัน

จัดพิมพ์โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์

ผู้จัดจาหน่าย รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์


สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร อาเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47000
คำนำ

หนังสือ เรื่อง “ควำมเป็นครู: แนวคิด ทฤษฎี สู่กลยุทธ์กำรพัฒนำ” เล่มนี้ ใช้ประกอบ


การเรียนการสอนรายวิชาความเป็นครู (Self-Actualization for Teachers) ซึ่งเป็นรายวิชาชีพครู
ในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) การเรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ได้อาศัยแนวคิด ทฤษฎี และ
ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา โดยมุ่งเน้นให้ผู้ศึกษามี
ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นครูและสามารถนาองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ เนื้อหาใน
หนั งสือ แบ่ งออกเป็ น 9 บท ประกอบด้ วยความส าคั ญ ของวิชาชีพ ครู มาตรฐานวิชาชีพ ครู
คุณลักษณะของครูที่ดี การพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู การเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพครู
การจัดการความรูว้ ิชาชีพครู ธรรมาภิบาลในสถานศึกษา คุณธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
ครู และกลยุทธ์การพัฒนาความเป็นครู
ผูเ้ ขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้ จะอานวยประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน
และให้ความรู้กับผู้ที่สนใจทั่วไป หากท่านที่นาหนังสือเล่มนี้ไปใช้แล้วพบข้อบกพร่องกรุณาแจ้งให้
ผู้เขียนทราบด้วย เพื่อที่จะนาไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป และขอขอบคุณในความอนุเคราะห์นั้น
ล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้
ขอขอบพระคุณครู-อาจารย์ทุกท่านที่ถ่ายทอดองค์ความรู้และเป็นต้นแบบ “ควำมเป็น
ครูด”ี ให้กับผูเ้ ขียน
คุณค่าจากหนังสือเล่มนี้ ขอมอบเป็นเครื่องบูชาแด่ครูคนแรกของผู้เขียนคือคุณพ่อเรียง
และคุณแม่ละออ เพ็งสวัสดิ์ บิดา มารดา ผู้ซึ่งให้พื้นฐานการศึกษาและให้ชีวิตที่ดีตั้งแต่ต้นจน
บัดนี้

รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์


มิถุนายน 2565
(2)

“กว่าที่จะประสบความสาเร็จ
และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์แก่คนทั่วไป
ไม่ใช่เรื่องที่จะได้มาโดยบังเอิญ
แต่หากต้องอาศัยความเพียรพยายาม
ความอดทน และไม่ยอ่ ท้อต่ออุปสรรค”
วาโร เพ็งสวัสดิ์
สิงหาคม 2548
สารบัญ

เรื่อง หน้า

คานา ………………….…………………………………..……………………………….………. (1)


สารบัญ ……………………………………………………….……………..……………………… (3)
สารบัญตาราง ……………………………………………………….………….………………… (7)
สารบัญภาพ ………………………………………………….……………….…………………… (9)

บทที่ 1 ความสาคัญของวิชาชีพครู .................................................……….….. 1


ความหมายของวิชาชีพ …………………….……….…………………………………………….……. 1
ความหมายของครู .................................................……………….……………………. 2
ลักษณะของวิชาชีพครู ................................................………………………………… 3
ความสาคัญของวิชาชีพครู ......................................................................... 8
หน้าที่และความรับผิดชอบของครู .........................................……………..…….. 9
บทบาทของครูในศตวรรษที่ 21 ……………………………………………………………………. 18
สรุปท้ายบท …………………………………..……………..…………….…….………………………….. 21
แบบฝึกหัดท้ายบท …..…………………………………………………………..……………………….. 22

บทที่ 2 มาตรฐานวิชาชีพครู ....................................................................... 25


ที่มาของมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา …….………………………………………………… 25
ความหมายของมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา ………….…………………..………….. 26
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา ………....…….……….…………………….……………………. 27
แนวทางการพัฒนาครูตามมาตรฐานวิชาชีพ ................................................ 35
สรุปท้ายบท ………………………………..…………………………………………………….…………… 41
แบบฝึกหัดท้ายบท ………………………..……………………………………..……………………….. 41

บทที่ 3 คุณลักษณะของครูท่ดี ี ..............................................……..……….….. 43


อุดมการณ์ครู ............................................................................................ 43
ความหมายคุณลักษณะของครูที่ดี .............................................................. 45
(4)

เรื่อง หน้า

คุณลักษณะของครูที่ดีตามคาสอนในพระพุทธศาสนา ..................……….……. 45
คุณลักษณะของครูที่ดีตามแนวคิดของนักการศึกษาและหน่วยงาน ............… 48
คุณลักษณะของครูที่ดีจากผลการวิจัย ............................................…………… 53
การสังเคราะห์คุณลักษณะของครูที่ดี .......................................................... 57
ขอบข่ายเนื้อหาการพัฒนาคุณลักษณะของครู .............................................. 61
กระบวนการพัฒนาคุณลักษณะของครู ........................................................ 62
วิธีการประเมินผลการพัฒนาคุณลักษณะของครู .......................................... 64
สรุปท้ายบท ……….……………………………………………………….…….………………………….. 65
แบบฝึกหัดท้ายบท ………………………..……………………………………..……………………….. 66

บทที่ 4 การพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู ................................................. 67


ความหมายของจิตวิญญาณ ……………………………………………..……………..…………… 67
จิตวิญญาณในการทางาน …………..…………….……………………..……………..…………… 68
ความหมายของจิตวิญญาณความเป็นครู ….……………………..……………..…………… 70
องค์ประกอบของจิตวิญญาณความเป็นครู ….……………………..…………..…………… 71
ปัจจัยที่มอี ิทธิพลต่อจิตวิญญาณความเป็นครู .............................................. 77
วิธีการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู ……..……………………..……………..…………… 79
สรุปท้ายบท ………………………………..…………………………………………………….…………… 85
แบบฝึกหัดท้ายบท ………………………..……………………………………..……………………….. 85

บทที่ 5 การเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพครู …..……………………………………....... 87


ความหมายของสมรรถนะ …….……………………….………….………………………….……… 87
องค์ประกอบของสมรรถนะ …….……………………..…………………………………..……….. 88
ประเภทของสมรรถนะ …….………………………..……….…………………….……………………. 89
สมรรถนะวิชาชีพครู .………………………………….…….…….……………….……………………. 91
ประโยชน์ของสมรรถนะ ....................………..…….…….……………….……………………. 104
การประเมินสมรรถนะบุคคล …..…………………………..…….…….……………………………. 105
การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครู ....………………………….………….…….…...………………. 106
(5)

เรื่อง หน้า

สรุปท้ายบท ………………………………..…………………………………………………….…………… 110


แบบฝึกหัดท้ายบท ………………………..……………………………………..……………………….. 111

บทที่ 6 การจัดการความรู้วิชาชีพครู ………….…………………………………........... 113


ความหมายของความรู้ ………….……………………….………….………………………….……… 113
ประเภทของความรู้ ………….……..………………………………………………………..………….. 114
ระดับของความรู้ ………….………….………………………………………………………..………….. 116
วงจรเกลียวความรู้ …………………………………….……….…………………….……………………. 117
ความหมายของการจัดการความรู้ ................................................................... 120
กระบวนการจัดการความรู้ ................................................................................ 121
สภาพของการจัดการความรู้ในสถานศึกษา ....................................................... 124
รูปแบบการจัดการความรู้ในสถานศึกษา ........................................................... 126
ประโยชน์ของการจัดการความรู้ ......................................................................... 128
ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการจัดการความรู้ .......................................................... 129
สรุปท้ายบท ………………………………..…………………………………………………….…………… 130
แบบฝึกหัดท้ายบท ………………………..……………………………………..……………………….. 131

บทที่ 7 ธรรมาภิบาลในสถานศึกษา …..…………………………………………........... 133


ความหมายของธรรมาภิบาล ….………………………………….………………………….……… 133
ความเป็นมาของธรรมาภิบาล ………….……………………………………………..………….. 134
องค์ประกอบของธรรมาภิบาล ................................................................... 135
การเสริมสร้างธรรมาภิบาล …….…………………………………..………….……………………. 140
ธรรมาภิบาลในสถานศึกษา …………………….……….…….……………….……………………. 141
ยุทธศาสตร์สู่ความสาเร็จในการนาธรรมาภิบาลมาใช้ในสถานศึกษา ........... 143
งานวิจัยเกี่ยวกับธรรมาภิบาลและการประยุกต์ใช้ ........................................ 144
สรุปท้ายบท ………………………………..…………………………………………………….…………… 146
แบบฝึกหัดท้ายบท ………………………..……………………………………..……………………….. 146
(6)

เรื่อง หน้า

บทที่ 8 คุณธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู ……..…….…………………....... 149


ความหมายของคุณธรรม ……….……….….………….………….………………………….……… 149
ความสาคัญของคุณธรรมสาหรับผูป้ ระกอบวิชาชีพครู ................................. 150
คุณธรรมสาหรับครู ..................................................................................... 151
แนวทางการส่งเสริมคุณธรรมสาหรับครู ...................................................... 156
ความหมายของจรรยาบรรณ ………….….………….………….………………………….……… 157
ความสาคัญของจรรยาบรรณ ……………………...………….………………………….……… 158
แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ …………..…………………….……… 158
การลงโทษผูท้ าผิดจรรยาบรรณ .................................................................. 162
กรณีศกึ ษาการลงโทษผูก้ ระทาผิดจรรยาบรรณ ........................................... 164
สรุปท้ายบท ………………………………..…………………………………………………….…………… 169
แบบฝึกหัดท้ายบท ………………………..……………………………………..……………………….. 170

บทที่ 9 กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นครู …..……………………………………........... 173


ความหมายของกลยุทธ์ ........….………………………………….………………………….……… 173
ความสาคัญของกลยุทธ์ ……………..…….……………………………………………..………….. 174
กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ .................................................................... 175
องค์ประกอบของกลยุทธ์ ……………………………….…………………………………..…………. 182
เกณฑ์การพิจารณาการจัดทากลยุทธ์ที่ดี …….…………………………………..…………. 183
กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นครู ………..…………….……….…….……………….……………. 184
สรุปท้ายบท ………………………………..…………………………………………………….…………… 186
แบบฝึกหัดท้ายบท ………………………..……………………………………..……………………….. 187

บรรณานุกรม ….……………………………………………...………………………………….. 189

ประวัติผู้เขียน ........................................................................................... 203


(7)

สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้า

1.1 การสังเคราะห์ลักษณะของวิชาชีพครู ................................................................. 4


3.1 การสังเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะของครูที่ดี ............................................. 57
4.1 สรุปลักษณะสาคัญของจิตวิญญาณความเป็นครูที่ปรากฏในนิยาม ..................... 71
4.2 การสังเคราะห์องค์ประกอบของจิตวิญญาณความเป็นครู .................................. 74
5.1 การสังเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะวิชาชีพครู ................................................ 100
7.1 การสังเคราะห์องค์ประกอบของธรรมาภิบาล ..................................................... 138
9.1 สถานการณ์ 4 แบบในการวิเคราะห์กลยุทธ์ ....................................................... 180
(8)

“ความชราไม่ได้ขึน้ อยู่กับตัวเลขของอายุ
แต่ขึน้ อยู่กับความคิด จิตใจ และสุขภาพของแต่ละคน
คนบางคนเกิดมาก็แก่แล้ว
และบางคนไม่เคยแก่”
ไทรอน เอ็ดวาร์ดส์
(9)

สารบัญภาพ

ภาพที่ หน้า

1.1 ลักษณะของวิชาชีพครู ......................................................................................... 6


1.2 หน้าที่และความรับผิดชอบของครู ........................................................................ 16
2.1 องค์ประกอบของมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา ................................................. 35
3.1 องค์ประกอบคุณลักษณะของครูที่ดี ..................................................................... 60
3.2 กระบวนการพัฒนาคุณลักษณะของครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ............................. 64
4.1 องค์ประกอบของจิตวิญญาณความเป็นครู ......................................................... 77
4.2 วิธีการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู ................................................................ 85
5.1 โมเดลภูเขาน้าแข็ง ............................................................................................... 89
6.1 ประเภทของความรู้ ……………………………………………………………….....………………….….…… 115
6.2 วงจรเกลียวความรู้ของ Grundstein …………………………………….....………………….………… 119
7.1 องค์ประกอบของธรรมาภิบาลในสถานศึกษา ....................................................... 140
7.2 ภาพรวมการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล ................... 142
9.1 McKinsey’s 7S framework ……………………………………………………………………………………. 177
9.2 รูปแบบการสร้างกลยุทธ์ด้วยการวิเคราะห์ TOWS Matrix …….……………………………… 180
9.3 กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ ………………………………………….….……………………………… 182
(10)

“It is hard to fail,


but it is worse never to have tried to succeed.
In this life we get nothing save by effort.”
Theodore Roosevelt

“การล้มเหลวทาให้เจ็บปวด
แต่มันจะยิ่งเลวร้ายกว่าการไม่เคยพยายามทาอะไรให้สาเร็จเลย
ในชีวติ นีเ้ ราไม่มีทางได้อะไรมาโดยปราศจากความอุสาหะ”
ธีออดอร์ โรสท์เวลท์ (1858-1919)
บทที่ 1
ความสาคัญของวิชาชีพครู
วิชาชีพครูมีความสาคัญอย่างมาก เพราะครูเป็นผู้ปลูกฝังความรู้ ความคิดและคุณธรรม
และพัฒนาเยาวชนให้มีความเจริญในทุก ๆ ด้าน ยิ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้ า
มากย่อมต้องอาศัยครูที่มีความรู้ ความสามารถในการที่จะพัฒนาเยาวชนให้มีความเจริญงอก
งาม รู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในด้านต่าง ๆ เพื่อให้มีความรู้ความสามารถและเป็น
กาลังสาคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมืองต่อไป
สาหรับในบทนี้จะได้นาเสนอเนื้อหาตามลาดับ ดังนี้ ความหมายของวิชาชีพ ความหมาย
ของครู ลักษณะของวิชาชีพครู ความสาคัญของวิชาชีพครู หน้าที่และความรับผิดชอบของครู และ
บทบาทของครูในศตวรรษที่ 21

ความหมายของวิชาชีพ

คาว่า “วิชาชีพ” (profession) ได้มผี ใู้ ห้ความหมายในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้


วิจิตร ศรีสะอ้าน (2541: 30) ได้ให้ความหมายว่า วิชาชีพหมายถึงอาชีพที่ให้บริการแก่
ผู้อื่น โดยที่บริการนั้นต้องใช้วิชาการระดับสูง ผู้ที่จะให้บริการได้จาเป็นต้องได้รับการศึกษาอบรม
มากพอ มีมาตรฐานในการประกอบอาชีพและมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพนั้น ให้เป็นไป
ตามมาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของธีรศักดิ์ อัครบวร (2543: 148) ได้ให้ความหมาย
ว่า วิชาชีพหมายถึงอาชีพที่ผู้ประกอบการต้องมีความรู้ความชานาญที่ฝึกฝนโดยเฉพาะ ซึ่งมี
ข้อกาหนดคุณลักษณะบางประการที่ทาให้วิชาชีพต่างจากอาชีพทั่วไป ราชบัณฑิตยสถาน (2546:
1073) ได้ให้ความหมายว่า วิชาชีพหมายถึงวิชาที่จะนาไปใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น วิชาแพทย์
วิชาช่างไม้ วิชาช่างยนต์ สันติ บุญภิรมย์ (2557: 2) ได้ให้ความหมายว่า วิชาชีพ หมายถึง การ
ประกอบอาชีพที่ต้องอาศัยความรู้ ความชานาญ เป็นการเฉพาะที่ไม่ซ้ากับวิชาชีพอื่น และมี
มาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ เพื่อการให้บริการแก่สาธารณะ
2 ความสาคัญของวิชาชีพครู

พระราชบัญ ญั ติส ภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พุท ธศัก ราช 2556 ได้ก าหนด


ความหมายของวิชาชีพในขอบเขตวิชาชีพทางการศึกษา โดยได้กาหนดความหมายว่า วิชาชีพ
หมายถึง วิชาชีพทางการศึกษาที่ทาหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการ
เรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ รวมทั้งการรับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาในสถานศึกษา
ปฐมวัย ขั้นพื้ นฐาน และอุด มศึก ษาที่ ต่ากว่าปริญ ญาทั้งของรัฐ และเอกชน และการบริหาร
การศึ ก ษานอกสถานศึ ก ษาในระดั บ เขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา ตลอดจนการสนั บ สนุน การศึ ก ษา
ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการ
บริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ
จากความหมายที่กล่าวมา จะเห็นว่าวิชาชีพมีลักษณะสาคัญอย่างน้อย 4 ประการ ได้แก่
1) เป็นอาชีพ 2) มีการให้บริการแก่ผู้อื่น 3) ผู้ให้บริการต้องมีความรู้ ความชานาญ และ 4) มี
มาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ ซึ่งในทัศนะของผู้เขียน “วิชาชีพ” หมายถึง อาชีพที่ให้บริการ
แก่ผู้อื่น ที่ผู้ประกอบการต้องมีความรู้ ความสามารถที่ต้องได้รับการฝึกฝนโดยเฉพาะ มีมาตรฐาน
ในการประกอบอาชีพและมีการควบคุมการประกอบอาชีพนั้นให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ

ความหมายของครู

ค าว่า “ครู” มีรากศั พ ท์ มาจากภาษาบาลี ว่า “ครู–คุ รุ” หรือจากภาษาสันสกฤตว่า


“คุ รุ” ในความหมายที่เป็ นค านาม แปลว่า ผู้สั่งสอนศิษ ย์ หรือผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษ ย์
(ราชบัณฑิตยสถาน. 2546: 225) นอกจากนี้ พุทธทาสภิกขุ (2529: 92) ได้กล่าวว่า ครูเป็นผู้
เปิดประตูทางวิญญาณและนาวิญญาณไปสู่คุณธรรมชั้นสูง เป็นเรื่องทางจิตใจโดยเฉพาะ ครู
เป็นผู้ควรเคารพหรือมีความหนักแน่นที่เป็นหนี้อยู่เหนือศีรษะ เป็นเจ้าหนี้อยู่เหนือศีรษะคนทุก
คน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้ให้ความหมายว่า ครู หมายถึง
บุคลากรวิชาชีพซึ่งทาหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอน และการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน
ด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของปริยาภรณ์
ตั้งคุณานันต์ (2561: 5) ได้กล่าวว่า ครู หมายถึง ผู้ทาหน้าที่อบรม สั่งสอน ถ่ายทอดความรู้
ให้แก่ศิษย์อย่างหนักแน่นด้วยวิธีการที่หลากหลาย ไม่ปิดบัง ไม่ลาเอี ยง โดยมุ่งส่งเสริมนาศิษย์
ให้ไปสู่ทิศทางที่ดี
จากความหมายที่ กล่ าวมา จะเห็ นว่าครูมี ลั ก ษณะที่ ส าคั ญ 3 ประการ ได้ แก่ 1) เป็ น
บุคลากรวิชาชีพ 2) ทาหน้าที่ทางด้านการอบรม สั่งสอน ถ่ายทอด และส่งเสริมการเรียนรู้ของ
ผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ และ 3) ทาการสอนในสถานศึกษา ในทัศนะของผู้เขียน “ครู” หมายถึง
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 3

บุคลากรวิชาชีพที่ ท าหน้าที่ทางด้านการอบรม สั่ งสอน ถ่ายทอด และส่ งเสริมการเรียนรู้ของ


ผูเ้ รียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษา

ลักษณะของวิชาชีพครู

อาชีพครูเป็นอาชีพชั้นสูงหรือเป็นวิชาชีพ (profession) สาขาหนึ่ง ที่มีลักษณะเช่นเดียว


กับวิชาชีพอื่น ๆ ซึ่งมีนักการศึกษาได้กล่าวถึงลักษณะของวิชาชีพ ดังนี้
Gutek (1981: 382-384) ได้กล่าวว่าการสอนมีฐานะเป็นวิชาชีพ (teaching as a profession)
สาขาหนึ่งในสังคม โดยมีเกณฑ์คุณลักษณะของวิชาชีพ ดังนี้ 1) วิชาชีพเป็นกิจกรรมทางปัญญา
และวิชาความรู้เฉพาะด้าน 2) วิชาชีพเป็นกิจการที่จาเป็นเฉพาะสาขาที่สังคมต้องการและบริการ
แก่สังคม 3) การประกอบการของวิชาชีพนั้นอยู่บนพื้นฐานทางทฤษฎี ทางวิทยาการของศาสตร์
แต่ละสาขา 4) การเข้าสู่วิชาชีพนัน้ ต้องเตรียมตัวในการศึกษาวิชาชีพนัน้ ๆ ในวิทยาลัยหรือ
มหาวิทยาลัยในระยะเวลาที่มากพอสมควร 5) วิชาชีพแต่ละสาขาจะกาหนดมาตรฐานแห่งวิชาชีพ
6) ผูป้ ระกอบวิชาชีพมีเอกสิทธิ์และเสรีภาพทางวิชาชีพ และ 7) สมาชิกแห่งวิชาชีพต่าง ๆ มีการ
จัดตัง้ องค์กรวิชาชีพที่เป็นอิสระในการควบคุมจรรยาบรรณ
อุทุมพร จามรมาน (2537: 2) ได้กล่าวว่ากิจกรรมการประกอบวิชาชีพจะมีลักษณะ ดังนี้
1) กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับปัญญา 2) กิจกรรมที่อาศัยความรู้เฉพาะสิ่ง 3) กิจกรรมที่ต้องมีการ
เตรียมตัวล่วงหน้า 4) กิจกรรมที่ต้องการความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง 5) กิจกรรมที่ต้อง
ใช้เวลาเต็มเวลาและมีการเป็นสมาชิกที่ถาวร 6) กิจกรรมที่มีมาตรฐาน 7) กิจกรรมที่บริการผู้อ่ืน
และ 8) กิจกรรมที่มีองค์กร สถาบันรองรับอย่างชัดเจนและเข้มแข็ง
วิจิตร ศรีสะอ้าน (2541: 47-51) ได้กล่าวว่า วิชาชีพครูมีลักษณะเช่นเดียวกับวิชาชีพ
อื่น ๆ ดังนี้ 1) มีบริการที่ให้แก่สังคมที่มีลักษณะเฉพาะ เจาะจง และจาเป็นที่สังคมจาต้องมีบริการ
ดังกล่าว 2) การใช้วิธีก ารแห่งปัญ ญาในการให้บ ริการ 3) ได้รับการศึกษาอบรมให้มีความรู้
กว้างขวางลึกซึ้ง โดยใช้ระยะเวลายาวนานพอสมควร 4) มีความเป็นอิสระและมีเสรีภาพทาง
วิชาการในการให้บริการตามมาตรฐานของวิชาชีพ 5) มีจรรยาบรรณวิชาชีพ และ 6) มีสถาบัน
วิชาชีพเป็นแหล่งกลางในการควบคุมมาตรฐานและส่งเสริมความก้าวหน้าของวิชาชีพ
ยนต์ ชุ่มจิต (2553: 30-32) ได้กล่าวว่า วิชาชีพครูมีลักษณะ ดังนี้ 1) การยอมรับเป็น
อาชีพได้ตลอดชีวิต 2) บริการสังคม 3) ใช้วิธีการทางปัญญา 4) มีจรรยาบรรณ 5) มีอิสระใน
การตัดสินใจตามสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพ หรือความเป็นอิสระของผู้ประกอบวิชาชีพ
4 ความสาคัญของวิชาชีพครู

6) ใช้ระยะเวลาในการศึกษาอบรมยาวนาน 7) มีการฝึกอบรมประจาการอย่างต่อเนื่อง และ 8) มี


องค์กรพิทักษ์ประโยชน์
ธานี เกสทอง (2560: 184-188) ได้กล่าวว่า วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง โดยมีเหตุผลที่
นามาสนับสนุน ดังนี้ 1) มีการศึกษาอบรมเป็นระยะเวลานาน 2) มีเสรีภาพในการใช้วิชาชีพตาม
มาตรฐานของวิชาชีพ และ 3) มีสถาบันวิชาชีพ
ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์ (2561: 109) ได้กล่าวว่า การพิจารณาว่าอาชีพใดเป็นวิชาชีพ
นั้น จะต้องเป็นไปตามเกณฑ์ ดังนี้ 1) การให้บริการที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงและจาเป็นแก่สังคม
2) การใช้วิธีการแห่งปัญญาในการให้บริการ 3) การได้รับการอบรมระยะเวลานานเพื่อให้มีความรู้
กว้างขวางลึกซึ้ง 4) การมีเสรีภาพในการใช้วิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพ 5) การมีจรรยาบรรณ
และ 6) การมีสถาบันวิชาชีพ
จากที่กล่าวมา ผูเ้ ขียนได้นามาสังเคราะห์ลักษณะของวิชาชีพครู ดังนี้

ตารางที่ 1.1 การสังเคราะห์ลักษณะของวิชาชีพครู


6) ปริยาภรณ์ ตัง้ คุณานันต์ (2561)

ชื่อนักการศึกษา
2) อุทุมพร จามรมาน (2537)

3) วิจติ ร ศรีสะอ้าน (2541)

5) ธานี เกสทอง (2560)

องค์ประกอบที่คัดสรร
4) ยนต์ ชุ่มจิต (2553)
1) Gutek (1981)

ลักษณะวิชาชีพครู
ความถี่

ร้อยละ

1. การใช้วิธีการแห่งปัญญาในการให้บริการ  5 83.33 √
-วิชาชีพเป็นกิจกรรมทางปัญญาและวิชาความรู้เฉพาะด้าน  
-กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับปัญญา 
-การใช้วิธีการแห่งปัญญาในการให้บริการ 
-ใช้วธิ กี ารทางปัญญา 
-การใช้วธิ กี ารแห่งปัญญาในการให้บริการ 
2. การบริการให้แก่สังคม 5 83.33 √
-วิชาชีพเป็นกิจการที่จาเป็นเฉพาะสาขาที่สังคมต้องการและบริการแก่สังคม 
-กิจกรรมที่บริการผู้อื่น 
-มีบริการที่ให้แก่สังคมที่มีลักษณะเฉพาะ เจาะจง และจาเป็นที่สังคม 
จาต้องมีบริการดังกล่าว
-บริการสังคม 
-การให้บริการที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงและจาเป็นแก่สังคม 
3. การใช้ระยะเวลาในการศึกษาอบรมยาวนาน 6 100 √
-การเข้าสู่วชิ าชีพนั้นต้องเตรียมตัวในการศึกษาวิชาชีพนั้น ๆ ในวิทยาลัย 
หรือมหาวิทยาลัยในระยะเวลาที่มากพอสมควร
-กิจกรรมที่ต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้า 
-ได้รับการศึกษาอบรมให้มีความรู้กว้างขวางลึกซึ้ง โดยใช้ระยะเวลา 
ยาวนานพอสมควร
-ใช้ระยะเวลาในการศึกษาอบรมยาวนาน 
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 5

6) ปริยาภรณ์ ตัง้ คุณานันต์ (2561)


ชื่อนักการศึกษา

2) อุทุมพร จามรมาน (2537)

3) วิจติ ร ศรีสะอ้าน (2541)

5) ธานี เกสทอง (2560)

องค์ประกอบที่คัดสรร
4) ยนต์ ชุ่มจิต (2553)
1) Gutek (1981)
ลักษณะวิชาชีพครู

ความถี่

ร้อยละ
-มีการศึกษาอบรมเป็นระยะเวลานาน 
-การได้รับการอบรมระยะเวลานานเพื่อให้มีความรู้กว้างขวางลึกซึ้ง 
4. การมีเสรีภาพในการใช้วิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพ 6 100 √
-ผู้ประกอบวิชาชีพมีเอกสิทธิ์และเสรีภาพทางวิชาชีพ 
-กิจกรรมที่มีมาตรฐาน 
-มีความเป็นอิสระและมีเสรีภาพทางวิชาการในการให้บริการตาม 
มาตรฐานของวิชาชีพ
-มีอิสระในการตัดสินใจตามสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพ 
หรือความเป็นอิสระของผู้ประกอบวิชาชีพ
-การมีเสรีภาพในการใช้วชิ าชีพตามมาตรฐานวิชาชีพ  
5. การมีจรรยาบรรณวิชาชีพ 3 50 √
-มีจรรยาบรรณวิชาชีพ 
-มีจรรยาบรรณ 
-การมีจรรยาบรรณ 
6. การฝึกอบรมประจาอย่างต่อเนื่อง 2 33.33
-กิจกรรมที่ต้องการความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง 
-มีการฝึกอบรมประจาการอย่างต่อเนื่อง 
7. การมีองค์กรวิชาชีพเป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์จรรโลงมาตรฐาน 6 100 √
-สมาชิกแห่งวิชาชีพต่าง ๆ มีการจัดตั้งองค์กรวิชาชีพที่เป็นอิสระ 
ในการควบคุมจรรยาบรรณ
-กิจกรรมที่มีองค์กร สถาบันรองรับอย่างชัดเจนและเข้มแข็ง 
-มีสถาบันวิชาชีพเป็นแหล่งกลางในการควบคุมมาตรฐานและ 
ส่งเสริมความก้าวหน้าของวิชาชีพ
-มีองค์กรพิทักษ์ประโยชน์ 
-การมีสถาบันวิชาชีพ  
8. อยู่บนพื้นฐานทางทฤษฎี ทางวิทยาการของศาสตร์แต่ละสาขา 2 33.33
-การประกอบการของวิชาชีพนั้นอยู่บนพื้นฐานทางทฤษฎี 
ทางวิทยาการของศาสตร์แต่ละสาขา
-กิจกรรมที่อาศัยความรู้เฉพาะสิ่ง 
9. วิชาชีพแต่ละสาขาจะกาหนดมาตรฐานแห่งวิชาชีพ  1 16.67
10. กิจกรรมที่ต้องใช้เวลาเต็มเวลาและมีการเป็นสมาชิกที่ถาวร  1 16.67
11. การยอมรับเป็นอาชีพได้ตลอดชีวิต  1 16.67
รวม 7 8 6 8 3 6

จากตารางที่ 1.1 ผู้เขียนได้จัดกลุ่ม โดยนาแนวคิดลักษณะของวิชาชีพที่คล้ายคลึงกันไว้ใน


กลุ่มเดียวกัน โดยกาหนดกลุ่มที่มีความถี่สูงหรือคิดเป็นร้อยละ 50 ขึน้ ไปเป็นองค์ประกอบลักษณะ
ของวิชาชีพครู พบว่าลักษณะของวิชาชีพครูมี 6 ประการ ดังนี้ 1) การใช้วิธีการแห่งปัญญาในการ
ให้บริการ 2) การบริการให้แก่สังคม 3) การใช้ระยะเวลาในการศึกษาอบรมยาวนาน 4) การมี
เสรีภาพในการใช้วชิ าชีพตามมาตรฐานวิชาชีพ 5) การมีจรรยาบรรณวิชาชีพ และ 6) การมีองค์กร
6 ความสาคัญของวิชาชีพครู

วิชาชีพเป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์จรรโลงมาตรฐานของวิชาชีพ
ลักษณะของวิชาชีพครูที่กล่าวมา สามารถสรุปเป็นแผนภาพได้ ดังนี้
การใช้วิธีการแห่งปัญญาในการให้บริการ

การบริการให้แก่สงั คม

การใช้ระยะเวลาในการศึกษาอบรมยาวนาน
ลักษณะของ
วิชาชีพครู การมีเสรีภาพในการใช้วิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพ

การมีจรรยาบรรณวิชาชีพ

การมีองค์กรวิชาชีพเป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์จรรโลง
มาตรฐาน
ของวิชาชีพ

ภาพที่ 1.1 ลักษณะของวิชาชีพครู

ลักษณะของวิชาชีพครูแต่ละลักษณะมีรายละเอียด ดังนี้
1. วิชาชีพครูใช้วิธีการแห่งปัญญาในการให้บริการ (intellectual techniques) วิชาชีพครู
ต้องใช้วิธีการแห่งปัญญาเป็นอย่างยิ่ง เพราะการสอนเป็นการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์
ค่านิยมไปสู่เยาวชน ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ ความคิด หลักการและทฤษฎีในการให้บริการ จึง
จะเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในตัวผู้เรียนไปในแนวทางที่ปรารถนา เป็นทั้งศาสตร์และ
ศิลป์ที่ต้องอาศัยการวินิจฉัย ไตร่ตรอง ด้วยวิธีการแห่งปัญญา จึงจะสามารถให้บริการได้ตาม
จุดมุง่ หมายของการศึกษา
2. วิชาชีพ ครูมีการบริการให้แก่สังคม (social service) เป็นการให้บริการที่มีลักษณะ
เฉพาะเจาะจง และจาเป็นที่สังคมจาต้องมีบริการดังกล่าว การสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถ
ดารงตนอยู่ในสังคมได้อย่างดี มีความสุขและเป็นผู้ใหญ่ที่ดีของสังคม เป็นกิจกรรมสาคัญที่ทุก
สังคมถือเป็นรากฐานของความเจริญ วิชาชีพครูถือว่าเป็นวิชาชีพหลักที่เป็นแหล่งกาเนิดของ
วิชาชีพอื่น เพราะถ้าปราศจากการบริการจากวิชาชีพครูแล้ว การพัฒนาคนเพื่อให้เป็น สมาชิก
ของวิชาชีพอื่น ๆ ย่อมจะกระทาไม่ได้
3. วิชาชีพครูจะใช้ระยะเวลาในการศึกษาอบรมยาวนาน (long period of training)
วิชาชีพครูตอ้ งการผู้ประกอบวิชาชีพเป็นผูท้ ี่มคี วามรู้ ความชานาญมากเป็นพิเศษ ซึ่งจาเป็นต้อง
ได้รับการศึกษาอบรมให้มีความรู้ ความชานาญในเนื้อหาวิชาที่จะสอนอย่างลึกซึ้ง มีความรู้กว้าง
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 7

ที่จะเข้าใจตนเอง ผู้อื่นและสังคม รู้หลักการและวิธีสอน รวมทั้งสามารถประยุกต์ความรู้ไปสู่


การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ระยะเวลาที่จะศึกษาเพื่อเตรียมตัวเป็นครูจึงจะต้อง
ยาวนานพอสมควร โดยปกติจะต้องใช้เวลาฝึกอบรมหรื อเตรียมการอย่างน้อยเป็นเวลา 4 ปี
หลังจากเรียนจบชัน้ มัธยมศึกษาตอนปลาย
4. สมาชิ ก ของวิ ช าชี พ ครู จ ะต้ อ งมี เสรี ภ าพในการใช้ วิ ช าชี พ ตามมาตรฐานวิ ช าชี พ
(professional autonomy) งานวิชาชีพนั้น ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องมีอิสระในการวินิจฉัย หรือ
ดาเนินงานในหน้าที่ของตน กล่าวคือ กระบวนการเรียนการสอนนั้นแม้จะมีการกาหนดหลักสูตร
ไว้เป็นมาตรฐานกลาง แต่ครูยังคงมีบทบาทสาคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน
จึงถือได้ว่าวิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่สมาชิกมีความเป็นอิสระและมีเสรีภาพทางวิชาการใน
การให้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพ
5. วิชาชีพครูมีจรรยาบรรณวิชาชีพ (professional ethics) จรรยาบรรณเป็นแนวทางของ
การปฏิบัติวิชาชีพที่ให้สมาชิกได้ยึดถือปฏิบัติ เพื่อก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองทั้งด้านส่วนตัวของ
ผูป้ ระกอบวิชาชีพ และความเจริญก้าวหน้าของวิชาชีพนั้น ๆ ผู้ที่ละเมิดจรรยาบรรณจะต้องได้รับ
การลงโทษ ในกรณีร้ายแรงอาจถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้
6. วิชาชีพครูมีองค์กรวิชาชีพเป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์จรรโลงมาตรฐานของ
วิชาชีพ (professional institution) การมีองค์กรวิชาชีพเพื่อคอยควบคุมดูแลและพิทักษ์ประโยชน์
ให้แก่สมาชิกในองค์กรวิชาชีพของตน องค์กรวิชาชีพมี 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) เป็นองค์กรควบคุม
และพัฒนามาตรฐานและการปฏิบัติวิชาชีพ และ 2) เป็นสมาคมวิชาชีพ เพื่อเป็นแหล่งส่งเสริม
ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก เสริมสร้างความแข็งแกร่งและความก้าวหน้าของวิชาชีพ สาหรับ
องค์กรวิชาชีพครู คือ “คุรุสภา”
สรุ ป ได้ ว่ า วิ ช าชี พ ครู เป็ น วิ ช าชี พ ชั้ น สู ง เพราะมี ลั ก ษณะตามเกณฑ์ วิ ช าชี พ ซึ่ ง
ประกอบด้วยการใช้วิธี ก ารแห่งปัญ ญาในการให้บ ริก าร การบริก ารให้แก่สังคมที่มีลัก ษณะ
เฉพาะเจาะจงและจาเป็นที่สังคมต้องมีการบริการดังกล่าว การใช้ระยะเวลาในการศึกษาอบรม
ยาวนาน การมีเสรีภาพในการใช้วิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพ การมีจรรยาบรรณวิชาชีพ และ
การมีองค์กรวิชาชีพเป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์จรรโลงมาตรฐานวิชาชีพ
8 ความสาคัญของวิชาชีพครู

ความสาคัญของวิชาชีพครู

วิชาชีพครูมีบทบาทสาคัญต่อสังคมและประเทศ โดยเป็นเครื่องมือสาคัญในการพัฒนา
คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการแข่งขัน
ในนานาประเทศ ความส าคั ญ ของวิชาชีพครูจะเห็นได้ จากพระราโชวาทของสมเด็ จพระบรม
โอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ที่กล่าวถึงความสาคัญ ของครูในพิธีพระราชทานปริญ ญา
บัตรแก่ผู้สาเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยครู เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2523 ตอนหนึ่งว่า
“...หน้าที่ของครูนั้นเป็นหน้าที่ที่มีความสาคัญ เพราะเป็นการปลูกฝังความรู้ ความคิด
และจิตใจแก่เยาวชน เพื่อที่จะเติบโตขึ้นเป็นพลเมืองที่ดี และมีประสิทธิภาพของประเทศชาติใน
กาลข้างหน้า ผู้เป็นครูจึงจัดได้ว่าเป็นผู้มีบทบาทสาคัญในการสร้างสรรค์ บันดาลอนาคตของ
ชาติบ้านเมือง...”
พระบรมราโชวาทของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่พระราชทาน
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สาเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยครู เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม
2526 ตอนหนึ่งว่า
“...อาชีพครูถือว่าสาคัญ ยิ่ง เพราะครูมีบทบาทสาคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญ
มั่นคง และก่อนที่จะพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญได้นั้น จะต้องพัฒนาคนซึ่งได้แก่เยาวชนของชาติ
เสียก่อน เพื่อให้เยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณค่าสมบูรณ์ทุกด้าน จึงสามารถสร้างความเจริญ
ให้แก่ชาติตอ่ ไปได้...”
จักรพรรดิ วะทา (2556: 20-21) ได้กล่าวว่าวิชาชีพมีบทบาทต่อสังคมและประเทศ ดังนี้
1) การสร้างพลเมืองที่ดีของประเทศ เป็นการเตรียมสมาชิกใหม่ของสังคม โดยการให้การศึกษา
พื้นฐานที่ทาให้ประชาชนของประเทศเป็นพลเมืองที่ดี 2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเป็น
การพัฒนากาลังคน เพื่อสนองตอบการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของประเทศ ทั้งนี้ วิชาชีพครูมีส่วน
สาคัญในการจัดการพัฒนา นับตั้งแต่กาลังคนระดับแรงงาน ระดับช่างฝีมือ และระดับวิชาชีพ
และ 3) การสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาติ โดยวิชาชีพครูจะทาหน้าที่เป็นเครื่องมือ
ถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมของชาติจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง เป็นการรักษาความ
เป็นชาติของประเทศไว้นั่นเอง
พิมพ์พรรณ เทพสุเมธานนท์ (2556: 3) ได้กล่าวถึงความสาคัญของครูว่า ครูเป็นบุคคล
สาคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาศิษย์ให้ไปในทิศทางที่ถูกต้อง เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ศิษย์ เพื่อไป
สร้างสรรค์ครอบครัวและสังคมให้มคี วามเจริญก้าวหน้า
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 9

ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์ (2561: 27) ได้กล่าวว่า ครูเป็นองค์ประกอบสาคัญในการชี้นา


ดาเนินการ สร้างสรรค์ แก้ปัญหา และพัฒนาการศึกษาในทุกระดับอย่างกล้าหาญและชาญฉลาด
เพื่อสร้างคนดี คนเก่งไปพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้มีความเจริญก้าวหน้า
โดยสรุป วิชาชีพ ครู มีค วามสาคัญ ยิ่ง โดยเฉพาะการปลู ก ฝังความรู้ ความคิ ด และ
คุณธรรมแก่เยาวชน เพื่อที่จะเติบโตเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ อีกทั้งยังสืบทอดวัฒนธรรม
ประเพณีอันดีงาม ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม

หน้าที่และความรับผิดชอบของครู

ความหมายของหน้าที่และความรับผิดชอบของครู
ได้มผี ใู้ ห้ความหมายหน้าที่และความรับผิดชอบของครู ดังนี้
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (ราชบัณฑิตยสถาน. 2546: 1247) ได้
ให้ความหมายของคาว่า “หน้าที่”ซึ่งเป็นคานาม หมายถึง กิจที่จะต้องทาด้วยความรับผิดชอบ
ส่วนคาว่า “ความรับผิดชอบ” ซึ่งเป็นคากริยา หมายถึง ยอมรับผลทั้งที่ดีและไม่ดีในกิจการที่
ตนได้ทาลงไปหรือที่อยู่ในความดูแลของตน ดังนั้น หน้าที่และความรับผิดชอบ หมายถึง กิจที่
ต้องทาด้วยความรับผิดชอบและยอมรับผลที่ตนได้ทาลงไป
ธีรศักดิ์ อัครบวร (2543: 31) ได้กล่าวว่า หน้าที่ และความรับผิดชอบของครู หมายถึง
กิจที่ครูต้องกระทาให้ได้ผลดีโดยสม่าเสมอ การกระทาของครูเพื่อให้เกิดผลดีได้นั้นต้องอาศัย
พืน้ ฐานของกฎระเบียบ แบบธรรมเนียม จริยธรรม จรรยาบรรณและคุณธรรมเป็นปัจจัยสาคัญ
ด้วย ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของยนต์ ชุ่มจิต (2553: 75) ได้กล่าวว่า หน้าที่และความรับผิดชอบ
ของครู หมายถึง กิจที่ผู้เป็นครูจาเป็นต้องกระทาให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ซึ่งอาจเป็นความจาเป็น
โดยอาศัยหลักศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม กฎหมาย หรือด้วยความสานึกในความถูกต้อง
เหมาะสมก็ได้
ในทัศนะของผู้เขียน หน้าที่และความรับผิดชอบของครู หมายถึง กิจที่ครูจะต้องทาด้วย
ความรับผิดชอบ และยอมรับผลที่เกิดขึ้นทั้งทางที่ดีและไม่ดี ในกิจที่ตนได้ท าลงไป หรืออยู่ใน
ความดูแลของตน
10 ความสาคัญของวิชาชีพครู

หน้าที่และความรับผิดชอบของครู
ได้มผี กู้ ล่าวถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของครู ดังนี้
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) (1985 อ้างถึงใน พระครูโกวิทสุตาภรณ์ (สมดี โกวิโท).
2560: 132-133) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของครูไว้ว่าครูมีหน้าที่ 2 ประการ ดังนี้
1) การถ่ายทอดความรู้ ศิลปวิทยา ครูควรเป็นผู้เชี่ยวชาญที่จะต้องสั่งสอนวิชาการ
ต่าง ๆ ให้ผเู้ รียนนาไปใช้ในการประกอบอาชีพ ดาเนินชีวติ เพื่อพึ่งตนเองได้ และทาประโยชน์แก่
สังคม ดังนัน้ หน้าที่ของครูจะต้องถ่ายทอดศิลปวิทยาให้ผเู้ รียน ดังนี้
1.1) ฝึกฝนแนะนาให้เป็นคนดี
1.2) สอนให้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง
1.3) สอนศิลปวิทยาให้อย่างไม่ปิดบัง
2) การชีแ้ นะให้ผู้เรียนมีปัญญาและคุณธรรม เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นมนุษย์
ที่สมบูรณ์ ซึ่งหน้าที่นี้เรียกว่า เป็น “กัลยาณมิตร” ดังนั้น ครูผู้เป็นกัลยาณมิตรจึงต้องทาหน้าที่
ชีแ้ นะแนวทางในการดาเนินชีวิตที่ถูกต้องและชักนาให้ผู้เรียนฝึกฝนพัฒนาตน เพื่อให้เป็นมนุษย์
ทีส่ มบูรณ์ดว้ ยตนเอง หน้าที่ของครูในข้อนี้จะให้ความอนุเคราะห์ผเู้ รียน 2 ประการ ดังนี้
2.1) ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง
2.2) ทาการป้องกันในทิศทั้งปวง
ยนต์ ชุ่มจิต (2553: 86-90) ได้กล่าวถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของครูไว้ ดังนี้
1) สอนศิลปวิทยาการต่าง ๆ ให้แก่ศิษย์ บุคคลใดก็ตามที่เข้ามาประกอบวิชาชีพครู
จะต้องมีหน้ าที่สั่งสอนศิล ปวิทยาการให้แก่ศิษ ย์เป็นประการสาคัญ หากไม่ได้กาหนดหน้าที่
ดังกล่าวแล้วความเป็นครูย่อมไม่บังเกิดขึ้นกับตนเอง การอบรมสั่งสอนศิษย์นั้น นอกจากจะสั่ง
สอนวิชาความรูแ้ ล้ว จะต้องแนะนาวิธีการคิดแก้ไขปัญหาหรือให้ศษิ ย์เป็นคนคิดเป็นด้วย
2) ฝึกอบรมคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่ดีงามให้แก่ศิษย์ การฝึกอบรมคุณธรรม
จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงามให้แก่ศิษย์ เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของครูทุกคนต้องกระทา
ควบคู่กับการสอนศิลปวิทยาการต่าง ๆ ครูอาจารย์ทุกคนต้องถือว่าเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบ
ของตนโดยตรง จะละทิ้งหรือปล่อ ยปละละเลยมิได้ หากครูอาจารย์มุ่งสอนแต่ความรู้โดยมิได้
ฝึกอบรมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงามให้แก่ศิษย์ เท่ากับสอนให้ศิษย์มีแต่ความรู้แต่
ขาดคุ ณ ธรรม บุ ค คลที่ มี ค วามรู้แ ต่ขาดคุ ณ ธรรมย่ อ มไม่ เป็ น ที่ ป รารถนาของสั งคม ในทาง
ตรงกันข้ามกลับจะเป็นอันตรายต่อสังคมมากกว่า หากครูอาจารย์คนใดปล่อยให้ศษิ ย์ของตนมี
สภาพเช่นนั้น ก็เท่ากับครูอาจารย์ผู้นนั้ มีส่วนร่วมในการทาลายสังคมด้วย
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 11

3) การปกครองดูแลความทุกข์ของศิษย์ เด็กนักเรียนเมื่ออยู่ที่บ้านย่อมได้รับการ
ดูแลเอาใจใส่ในความทุกข์สุขจากมารดาบิดาหรือผู้ปกครอง เมื่อมาอยู่ที่โรงเรียนจึงเป็นหน้าที่
ของครูอาจารย์ทุกคนที่จะต้องดูแลเอาใจใส่ความทุกข์สุขของศิษย์ให้ทั่วถึงเช่นเดียวกับที่ศิษย์
อยู่ที่บ้าน วิธีก ารดูแลทุกข์สุ ขของศิษย์เมื่ออยู่ที่โรงเรียน ซึ่งครูอาจารย์สามารถกระท าได้ มี
วิธีการดังต่อไปนี้
3.1) ดูแลห้ามปรามตักเตือน หรือลงโทษนักเรียนที่มีนิสัยก้าวร้าวต่อเพื่อน เพื่อ
มิให้ทาความเดือนร้อนราคาญแก่เพื่อนนักเรียนด้วยกัน
3.2) ดูแลเรื่องอาหารการกิน น้าดื่ม น้าใช้ สาหรับนักเรียนให้สะอาดถูกสุขอนามัย
อยู่เสมอ
3.3) ยามเมื่อนักเรียนป่วยไข้หรือได้รับอุบัติเหตุ ครูอาจารย์ตอ้ งรีบพยาบาล
รักษา ซึ่งถ้าหากอาการเจ็บป่วยของนักเรียนมีมาก ต้องรีบแจ้งผู้ปกครองโดยด่วน
3.4) ช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลนเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม หรือไม่มีอาหารกลางวัน
รับประทาน ตลอดจนนักเรียนที่ขัดสนในอุปกรณ์การเขียน เป็นต้น
3.5) จัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อให้นักเรียนได้พักผ่อนหย่อนใจ หรือเสริมสร้าง
สติปัญญาตามความเหมาะสม
3.6) สอดส่องดูแล ห้ามปราม ตักเตือน หรือลงโทษนักเรียนที่มีนิสัยชอบขโมย
ของเพื่อน
4) การประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ การประเมินผลความเจริญก้าวหน้า
ของศิษย์ ถือว่าเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบที่สาคัญ ของครูอีก ประการหนึ่ง ทั้งนี้เพราะถ้า
หากปราศจากการประเมินผลแล้วก็จะไม่สามารถทราบได้ว่าศิษย์ของตนมีความเจริญก้าวหน้า
หรือมีการพัฒนาขึ้นกว่าเดิมหรือไม่เพียงใด ดังนั้นจึงถือว่าการประเมินผลความเจริญก้าวหน้า
ของศิษย์เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของครูทุกคนซึ่งจะต้องกระทาเป็น ระยะๆ ตลอดเวลาที่
มีการเรียนการสอน
5) แนะแนวการศึกษาและอาชีพแก่นักเรียน เนื่องจากนักเรียนแต่ละคนจะมีความ
แตกต่างกัน ทั้งทางด้านสติปัญญา ความสามารถ ความถนัดและบุคลิกภาพ เมื่อเป็นเช่นนี้ หาก
ครูช่วยให้นักเรียนได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาการ หรือวิชาชีพที่ตรงกับความสามารถหรือความถนัดของ
นักเรียนแล้ว ก็จะช่วยทาให้นักเรียนเกิดความเจริญงอกงามอย่างเต็มที่และประสบความสาเร็จ
ในชีวิตค่อนข้างสูง หน้าที่ของครูอาจารย์ในด้านนี้ คือ การแนะแนวทางการศึกษาและอาชีพแก่
นักเรียนให้เหมาะสมกับระดับสติปัญญา ความสามารถ ความถนัดและบุคลิกภาพของตนเอง
12 ความสาคัญของวิชาชีพครู

6) จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเจริญงอกงามของศิษย์ กิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัด
ให้แก่นักเรียนสามารถจาแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ 1) กิจกรรมการเรียนการสอน
ตามหลักสูตร เป็นกิจกรรมที่จัดให้นักเรียนได้เรียนรูใ้ นวิชาการต่าง ๆ ซึ่งอาจจะจัดในห้องเรียน
หรือนอกห้องเรียนก็ได้ และ 2) กิจกรรมเสริมหลักสูตร เป็นกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียน
ตามหลักสูตรในวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เป็นกิจกรรมที่มีส่วนสนับสนุนความเจริญงอกงาม
ของนักเรียนในหลาย ๆ ด้าน เช่น กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด รักษาดินแดน การแข่งขัน
กีฬาภายใน และการอยู่ค่ายพักแรม เป็นต้น
7) ปฏิบัติงานในหน้าที่และงานที่ได้รับมอบหมายให้สาเร็จเรียบร้อยและมีคุณภาพ
งานในหน้าที่ หมายถึง งานที่ครูต้องกระทาเป็นประจาควบคู่กับงานสอน เช่น งานตรวจสมุด
แบบฝึกหัดของนักเรียน ทาบัญชีเรียกชื่อ สมุดประจาชั้น สมุดประจาตัวนักเรียน และระเบียบ
นักเรียน เป็นต้น ส่วนงานที่ได้รับมอบหมาย หมายถึง งานใด ๆ ก็ได้ที่ผู้บริหารมอบหมายให้
กระทา เมื่อได้รับมอบหมายแล้วต้องถือว่าเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบ ซึ่งต้องกระทางานนั้น
ให้สาเร็จอย่างมีคุณภาพทุกครั้ง
8) ดูแลสอดส่องป้องกันภัยพิบัติมใิ ห้บังเกิดแก่ทรัพย์สนิ ของโรงเรียน ทรัพย์สนิ ของ
โรงเรียน คือ ทรัพย์สนิ ของทางราชการหรือของส่วนรวมซึ่งได้มาจากภาษีอากรของประชาชน
ทั้งประเทศ ครูที่ทาการสอนอยู่ในโรงเรียนใดก็เปรียบเสมือนเจ้าของโรงเรียนนั้น ดังนั้นจึงเป็น
หน้าที่และความรับผิดชอบของครูในโรงเรียนนั้น ๆ ทุกคนที่จะต้องช่วยกันรักษาทรัพย์สินทุกอย่าง
ของโรงเรียนให้อยู่เป็นปกติเช่นเดียวกับทรัพย์สินของตนเอง
9) สร้างเสริมสมรรถภาพทางวิชาการให้แก่ตนเองอย่างสม่าเสมอ หน้าที่ของครูใน
ด้านนี้ถือว่าเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบต่อตนเองด้วย กล่าวคือ ครูทุกคนต้องราลึกอยู่เสมอว่า
วิชาชีพครูเป็นงานที่ต้องใช้ความรู้เป็นเครื่องมือสาหรับสอนคน หากเครื่องมือเก่าหรือล้าสมัยและ
ไร้คุณภาพ ผลผลิตคือความเจริญงอกงามของศิษย์ก็จะด้อยคุณภาพด้วย แม้ว่าครูทุกคนจะศึกษา
เล่าเรียนจนสาเร็จปริญญาจากสถาบันอุดมศึกษาใด ๆ ก็ตาม ก็หาเป็นการเพียงพอไม่ แต่จะต้อง
ศึกษาค้นคว้าพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพราะความรู้ที่ได้จากการศึกษาเล่าเรียนมานั้น บางสิ่ง
บางอย่างอาจจะนามาใช้ในสถานการณ์จริงไม่ได้ เพราะล้าสมัยหรือไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลง
ทางเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
10) รักษาวินัยและประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์และบุคคลทั่วไป หน้าที่
และความรับผิดชอบของครูในด้านนี้ ถึงแม้จะไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนโดยตรง แต่ก็มี
ผลต่อการสั่ งสอนอบรมศิษ ย์ในทางอ้อม ทั้งนี้เพราะถ้าหากครูคนใดเป็นผู้มีพฤติก รรมหรือ
ความประพฤติเสื่อมเสีย ไม่เป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของศิษย์และประชาชนทั่วไปแล้ว การจะสั่งสอน
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 13

อบรมสิ่งใด ๆ แก่ศิษย์ก็เกือบจะไร้ประโยชน์ ศิษย์ขาดความเชื่อถือ ไม่เคารพยาเกรง นอกจากนี้


การที่ครูประพฤติไม่เหมาะสมด้วยพฤติกรรมใด ๆ ก็ตาม ย่อมทาให้ชื่อเสียงเกียรติคุณของตน
และสถาบันวิ ชาชีพ ครูต้องพลอยเสื่อมเสียไปด้วย ดังนั้นการรักษาวินัยและประพฤติตนเป็น
แบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์และประชาชนทั่วไป จึงเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของครูทุกคนต้อง
ตระหนักอยู่เสมอ
วิไล ตั้งจิตสมคิด (2554: 140) ได้กล่าวถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของครู ได้แก่ การ
ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ
โดยคานึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน มุ่งมั่นพัฒนาผูเ้ รียนให้เต็มตามศักยภาพ พัฒนาแผนการสอน
ให้ส ามารถปฏิบัติได้เกิ ดผลจริง พั ฒ นาสื่อการเรียนการสอนให้มีป ระสิท ธิภาพอยู่เสมอ จัด
กิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผเู้ รียน รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของ
ผูเ้ รียนได้อย่างมีระบบ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผเู้ รียน ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่าง
สร้างสรรค์ ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์ แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
และสร้างโอกาสให้ผเู้ รียนได้เรียนรูท้ ุกสถานการณ์
สานักงานคณะกรรมการข้าราชครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) (2564) ได้กาหนด
มาตรฐานตาแหน่ง และมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ประเภท
ผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา โดยกาหนดหน้าที่ และความรับผิดชอบ และลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ดังนี้
1) ตาแหน่งครูผู้ช่วย มีหน้าที่และความรับผิดชอบหลักในการจัดการเรียนรู้ ส่งเสริม
และสนับสนุนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน เตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม พัฒนา
ตนเองและวิชาชีพ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
การปฏิบัติงานของครูผู้ช่วย ต้องมีการบูรณาการงานทั้ง 3 ด้าน ให้เชื่อมโยงและ
สอดคล้องกัน ดังนี้
1.1) ด้านการจัดการเรียนรู้
1.1.1) นาผลการวิเคราะห์หลักสูตร มาจัดทารายวิชาและหน่วยการเรียนรู้
ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร ให้ผู้เรียนได้
พัฒนาสมรรถนะและการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ
1.1.2) ปฏิบัติการสอนโดยออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็น
ส าคั ญ ให้ผู้เรีย นมีค วามรู้ ทั ก ษะ คุ ณ ลัก ษณะประจาวิชา คุณ ลัก ษณะอันพึ งประสงค์ และ
สมรรถนะที่สาคัญตามหลักสูตร
14 ความสาคัญของวิชาชีพครู

1.1.3) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ อานวยความสะดวกในการเรียนรู้ และส่งเสริม


ผูเ้ รียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ เรียนรู้และทางานร่วมกัน
1.1.4) เลือกและใช้ส่อื เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกิจกรรม
การเรียนรูใ้ ห้ผู้เรียนมีทักษะการคิด
1.1.5) วัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เหมาะสม และ
สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
1.1.6) จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผูเ้ รียนให้เกิดกระบวนการคิด
ทักษะชีวติ ทักษะการทางาน ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและ
เทคโนโลยี
1.1.7) อบรมบ่มนิสัยให้ผเู้ รียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึง
ประสงค์ และค่านิยมความเป็นไทยที่ดงี าม
1.2) ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
1.2.1) จัดทาข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา เพื่อใช้ในการส่งเสริม
สนับสนุนการเรียนรูแ้ ละพัฒนาคุณภาพผูเ้ รียน
1.2.2) ดาเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน โดยใช้ข้อมูลสารสนเทศ
เกี่ยวกับผู้เรียนรายบุคคล และประสานความร่วมมือกับผูม้ ีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหา
ผูเ้ รียน
1.2.3) ร่วมปฏิบัติงานทางวิชาการและงานอื่น ๆ ของสถานศึกษาเพื่อยกระดับ
คุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
1.2.4) ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองหรือผู้เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันพัฒนา
ผูเ้ รียน
1.3) ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
1.3.1) พั ฒ นาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่ อให้มีความรู้ ความ
สามารถ ทักษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้
เทคโนโลยีดิจทิ ัลเพื่อการศึกษา สมรรถนะทางวิชาชีพครู ความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาและวิธีการสอน
1.3.2) มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการจัดการ
เรียนรู้
1.3.3) นาความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
มาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ และการพัฒนาคุณภาพผูเ้ รียน
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 15

2) ตาแหน่งครู มีหน้าที่และความรับผิดชอบหลักในการจัดการเรียนรู้ ส่งเสริมและ


สนับสนุนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งพัฒนาตนเองและวิชาชีพ และปฏิบัติงาน
อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
การปฏิบัติงานของครู ต้องมีการบูรณาการงานทั้ง 3 ด้าน ให้เชื่อมโยงและ
สอดคล้องกัน ดังนี้
2.1) ด้านการจัดการเรียนรู้
2.1.1) สร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร โดยจัดทารายวิชาและหน่วยการเรียนรู้
ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร ให้ผู้เรียนได้
พัฒนาสมรรถนะและการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ
2.1.2) ปฏิบัติการสอนโดยออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็น
สาคัญ ให้ผเู้ รียนมีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะประจาวิชา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และ
สมรรถนะที่สาคัญตามหลักสูตร
2.1.3) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ อานวยความสะดวกในการเรียนรู้ และส่งเสริม
ผูเ้ รียน ได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ เรียนรู้และทางานร่วมกัน
2.1.4) สร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ ที่
สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดและสามารถสร้างนวัตกรรมได้
2.1.5) วัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เหมาะสม และ
สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
2.1.6) ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ และหรือวิจัย เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนา
การเรียนรูท้ ี่สง่ ผลต่อคุณภาพผูเ้ รียน
2.1.7) จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดกระบวนการคิด
ทักษะชีวิต ทักษะการทางาน ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และ
เทคโนโลยี
2.1.8) อบรมบ่มนิสัยให้ผเู้ รียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึง
ประสงค์ และค่านิยมความเป็นไทยที่ดงี าม
2.2) ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
2.2.1) จัดทาข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา เพื่อใช้ในการส่งเสริม
สนับสนุนการเรียนรูแ้ ละพัฒนาคุณภาพผูเ้ รียน
16 ความสาคัญของวิชาชีพครู

2.2.2) ดาเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน โดยใช้ข้อมูลสารสนเทศ


เกี่ยวกับผู้เรียนรายบุคคล และประสานความร่วมมือกับผูม้ ีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหา
ผูเ้ รียน
2.2.3) ร่วมปฏิบัติงานทางวิชาการ และงานอื่น ๆ ของสถานศึกษา เพื่อ
ยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
2.2.4) ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย และหรือสถาน
ประกอบการ เพื่อร่วมกันพัฒนาผูเ้ รียน
2.3) ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
2.3.1) พั ฒ นาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรู้ ความ
สามารถ ทักษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้
เทคโนโลยีดิจทิ ัลเพื่อการศึกษา สมรรถนะทางวิชาชีพครู ความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาและวิธีการสอน
2.3.2) มีสว่ นร่วม และเป็นผู้นาในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อ
พัฒนาการจัดการเรียนรู้
2.3.3) น าความรู้ ความสามารถ ทั ก ษะที่ ได้ จ ากการพั ฒ นาตนเองและ
วิชาชีพมาใช้ในการพั ฒ นาการจัด การเรีย นรู้ การพัฒ นาคุณ ภาพผู้เรีย น รวมถึงการพั ฒ นา
นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้

ในทัศนะของผูเ้ ขียน หน้าที่และความรับผิดชอบของครู สามารถสรุปเป็นแผนภาพได้ ดังนี้

6. ปฏิบัติงานในหน้าที่และงาน 1. จัดการเรียนรู้
ที่ได้รับมอบหมายให้สาเร็จ

หน้าที่และ 2. ฝึกอบรมคุณธรรม จริยธรรม


5. พัฒนาชุมชนและสังคม
ความรับผิดชอบของครู และค่านิยมที่ดีให้แก่ผู้เรียน

4. เสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาการ 3. รักษาวินัยและประพฤติตนให้เป็น
ให้แก่ตนเองอย่างสม่าเสมอ แบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียนและบุคคลทั่วไป

ภาพที่ 1.2 หน้าที่และความรับผิดชอบของครู


รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 17

จากภาพที่ 1.2 อธิบายรายละเอียดหน้าที่และความรับผิดชอบของครูในแต่ละด้าน ดังนี้


1) จัดการเรียนรู้ ครูจะต้องทาหน้าที่ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยจัดเนือ้ หาสาระ
และกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน โดยคานึงถึงความแตกต่าง
ระหว่างบุคคล จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติเพื่อให้ผเู้ รียน
คิด เป็น ทาเป็น และเกิด การใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง จัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรีย น
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ รวมทั้งประเมินผู้เรียน โดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน
ความประพฤติ การสั งเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม และการทดสอบควบคู่ กั บ
กระบวนการเรียนการสอน
2) ฝึกอบรมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีให้แก่ผู้เรียน การปลูกฝังคุณธรรม
จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ควรกระทาควบคู่กับการจัดกระบวน
การเรียนรู้ ครูทุกคนจะต้องถือว่าเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของตนโดยตรงในการอบรมสั่ง
สอนเพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดี เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ซึ่งจะส่งผลให้
สังคมมีความสงบสุข
3) รักษาวินัยและประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียนและบุคคลทั่วไป
การรักษาวินัยและประพฤติตนที่เหมาะสมของครู จะทาให้ผู้เรียนและบุคคลทั่วไปมีความศรัทธา
เลื่อมใส อีกทั้งยังส่งผลดีต่อชื่อเสียงเกียรติคุณของตน วิชาชีพ และสถาบันอีกด้วย ดังนั้น จึงเป็น
หน้าที่ของครูทุกคนที่จะต้องรักษาวินัยและประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี
4) เสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาการให้แก่ตนเองอย่างสม่าเสมอ วิชาชีพครูเป็นงาน
ที่ต้องใช้ความรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความเจริญงอกงาม ดังนั้น ครูจึงจาเป็น
ต้องศึกษา ค้นคว้า และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ทั้งนี้เนื่องจากความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาเล่า
เรียนตอนอยู่ มหาวิทยาลัยนั้น บางสิ่งบางอย่างอาจไม่สามารถนามาใช้ในสถานการณ์ จริงได้
หรือบางอย่างอาจจะไม่เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากความล้าสมัย หรือไม่ทันกับ
การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
5) พัฒนาชุมชนและสังคม ครูนอกจากจะประพฤติตนเป็นแบบอย่างและชักนาให้ผู้อื่น
ปฏิบัติตามแล้ว ยังจะต้องส่งเสริมการดาเนินชีวิตตามวิถีประชาธิปไตยแก่ชุมชน มีส่วนร่วมใน
กิจกรรมด้านต่าง ๆ ของท้องถิ่น เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ร่วมพัฒนา
ชุมชนทุก ๆ ด้าน ช่วยให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้ใหม่ ๆ ในการดาเนินชีวิตแก่สมาชิกทุกคนใน
ชุมชน รวมทั้งประพฤติตนเป็นผู้นาในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมและศิลปวัฒนธรรมของชุมชน
6) ปฏิบัติงานในหน้าที่และงานที่ได้รับมอบหมายให้สาเร็จ งานในหน้าที่นอกจากจะ
เป็นงานด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้แล้ว ยังมีงานที่เป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะ
18 ความสาคัญของวิชาชีพครู

ที่พึงประสงค์ รวมทั้งงานที่ปรึกษานักเรียนและธุรการในชั้นเรียน ส่วนงานที่ได้รับมอบหมาย


หมายถึง งานใด ๆ ที่ผู้บริหารมอบหมายให้กระทา เช่น งานสนับสนุนวิชาการ หรือโครงการ
ต่าง ๆ เมื่อได้รับมอบหมายแล้วจะต้องถือว่าเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะต้องทางานนั้น
ให้สาเร็จอย่างมีคุณภาพ
สรุปได้ว่า ครูต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดการเรียนรู้ การส่งเสริมการ
เรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน ปฏิบัติงานวิชาการของสถานศึกษา พัฒนาตนเองและวิชาชีพ ประสาน
ความร่ ว มมื อ กั บ ผู้ ป กครอง ชุม ชน หรื อ สถานประกอบการเพื่ อ พั ฒ นาผู้ เรีย น และบริก าร
วิชาการแก่สังคม

บทบาทของครูในศตวรรษที่ 21

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ควรมีลักษณะการเรียนแบบรอบรู้ หรือการเรียนให้รู้จริง


(master learning) ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ช่วยเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน เพิ่มความ
ร่วมมือระหว่างนักเรียน เพิ่มความมั่นใจในตนเองและช่วยให้โอกาสแก่ผู้เรี ยนได้ปรับปรุงแก้ไข
ตนเองในการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดังนั้น ผู้สอนจึงมีบทบาทสาคัญ ซึ่ง
สอดคล้องกับแนวคิดของนักการศึกษา ดังนี้
ปราณี อ่อนศรี (2558: 11-12) ได้กล่าวถึงบทบาทผูส้ อนต่อทักษะการเรียนรูใ้ นศตวรรษ
ที่ 21 ดังนี้
1) ผูส้ อนกาหนดวัตถุประสงค์อย่างละเอียดในการเรียนรู้เนื้อหาสาระ มีการจัดกลุ่ม
วัตถุประสงค์ และต้องบ่งบอกถึงสิ่งสาคัญที่ผู้เรียนจะต้องกระทาให้ได้ เพื่อแสดงว่าตนได้เกิด
การเรียนรู้จริงในสาระนั้น ๆ วัตถุประสงค์ดังกล่าวต้องจัดเรียงจากสิ่งที่เป็นพื้นฐานไปสู่สิ่งที่
ซับซ้อน หรือเรียงจากง่ายไปหายาก
2) ผู้สอนมีการวางแผนการเรียนรู้สาหรับผู้เรียนแต่ละคน ให้สามารถตอบสนองความ
ถนัดที่แตกต่างกันของผู้เรียน ซึ่งอาจใช้สื่อการเรียนรู้ วิธีสอน หรือเวลาที่แตกต่างกันเพื่อช่วยให้
ผูเ้ รียนบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเรียนที่กาหนด
3) ผูส้ อนแจ้งให้ผเู้ รียนเข้าใจจุดมุ่งหมาย วิธีการเรียน ระเบียบกติกา ข้อตกลงต่าง ๆ
ในการทางานให้ชัดเจน
4) ผู้เรียนมีการดาเนินการเรียนรู้ตามแผนการเรียนที่ผู้สอนจัดให้ มีการประเมินการ
เรียนตามวัตถุประสงค์แต่ละข้อ โดยผู้สอนคอยดูแลและให้คาปรึกษาเป็นรายบุคคล
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 19

5) หากผูเ้ รียนบรรลุวัตถุประสงค์หนึ่งที่กาหนดไว้แล้ว จึงจะมีการดาเนินการเรียนรู้


ตามวัตถุประสงค์ตอ่ ไป
6) หากผู้เรียนไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้ ผู้สอนต้องมีการวินิจฉัย
ปัญหาและความต้องการของผู้เรียน และจัดโปรแกรมการสอนซ่อมเสริมในส่วนที่ยังไม่บรรลุ
นั้น แล้วจึงประเมินผลอีกครั้งหนึ่ง หากสามารถทาได้จึงให้เรียนรู้ในวัตถุประสงค์ตอ่ ไป
7) ผู้เรียนดาเนินการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตามวัตถุประสงค์ที่กาหนด จนบรรลุครบ
ทุกวัตถุประสงค์ ซึ่งผู้เรียนอาจใช้เวลามากน้อยต่างกันตามความถนัดและความต้องการของ
ผูเ้ รียนแต่ละคน
8) ผู้สอนมีการติดตามความก้าวหน้าในการเรียนรูต้ ามวัตถุประสงค์ของผู้เรียน และ
เก็บข้อมูลการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล และมีการใช้ข้อมูลในการวางแผนการเรียนรู้ให้แก่
ผูเ้ รียนต่อไป
Flamand (n.d. อ้างถึงใน วิโรจน์ สารรัตนะ. 2556: 32-33) ได้กล่าวถึงบทบาทของครู
ในศตวรรษที่ 21 โดยครูมีบทบาทที่สาคัญ 5 ประการ ดังนี้
1) ให้ความสาคัญกับเทคโนโลยี (emphasis on technology) เนื่องจากการสอนใน
ศตวรรษที่ 21 ต้องเข้าใจถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ครูตอ้ งสอนนักเรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์
การวิจัยทางอินเตอร์เน็ต การเปิดโลกกว้างเพื่อแสวงหาข้อมูลมาพัฒนาวิธีการสอน
2) ยึดเป้าหมายเดิมโดยใช้ทรัพยากรใหม่ ๆ (traditional goals with new resources)
เป้าหมายทางการศึกษายังคงเป็นเรื่องเดิม ยังเป็นเรื่องการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นนักคิดเชิงวิพากย์
นักเรียนรูต้ ลอดชีวิต ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นตัวช่วยอานวย
ความสะดวกต่อกระบวนการเรียนรู้
3) ให้ความสาคัญกับเทคนิคการเรียนรู้ (emphasis on techniques) ครูในศตวรรษที่ 21
จะต้องเป็นนักวิจัยที่เด่น ล้าหน้าในเรื่องวิธีการเรียนรู้ของนักเรียน การนาผลการวิจัยสู่หอ้ งเรียน
เข้าใจความแตกต่างระหว่างรูปแบบการเรียนรู้แบบต่าง ๆ และสามารถกาหนดรูปแบบการเรียนรู้
ทีเ่ หมาะสมกับนักเรียนของตนเองได้
4) เป็นพี่เลี้ยง (as mentors) ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน โดยเฉพาะในสังคม
ปัจจุบันที่มีปัญหาต่าง ๆ มากมาย ทั้งความรุนแรง ยาเสพติด และอันตรายอื่น ๆ ครูในศตวรรษ
ที่ 21 นอกจากมีหน้าที่การสอนแล้ว ยังจะต้องเป็นพี่เลี้ยงแนะแนวทางชีวิตให้กับนักเรียนในด้าน
ต่าง ๆ ด้วย
5) เน้นการกระทา (emphasis on action) ครูในศตวรรษที่ 21 ต้องเผชิญ กับความ
ท้าทายจากความเป็นโลกาภิวัตน์ ครูจะต้องเตรียมนักเรียนเพื่อเข้าสู่โลกที่เป็นจริง ให้พวกเขา
20 ความสาคัญของวิชาชีพครู

ตระหนักถึงพลังที่ สามารถจะสร้างสิ่งใหม่ ๆ ให้กับโลก ครูจะไม่ท าหน้าที่เพียงการถ่ายทอด


ความรู้ แต่จะต้องสร้างจิตสานึกความเป็นพลเมืองของโลก และกระตุ้นให้พวกเขามีส่วนร่วม
อย่างแข็งขัน
วิจารณ์ พานิช (2556: 53) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของครูในศตวรรษที่ 21 ดังนี้
1) ไมตั้งตนเป็น “ผูรู” แตเปน “ผูเรียนรู” เรียนพรอมกับศิษย กลาสารภาพว่าไม่รู้
เพื่อยุให้ศษิ ย์คน
2) เรีย นรู้พ ร้อมกั บ เพื่ อนครู เรีย นรู้จากการปฏิ บัติ การท าหน้ าที่ “ครูฝึก ” การ
ออกแบบการเรียนรู้
3) สร้างความรู้ข้ึนใช้เอง เพือ่ ทาหน้าที่ “คุณอานวย” และแลกเปลี่ยนเรียนรูก้ ับ
เพื่อนครูและเผยแพร่เป็นผลงานวิชาการ
4) เรียนรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโลก เรื่องการเรียนรูใ้ นศตวรรษที่ 21
5) เป็นนักรุกออกไปใช้ทรัพยากรการเรียนรู้ในชุมชน ในสถานประกอบการ และในโลก
6) จัดให้ศิษย์เรียนรู้จากชีวิตจริง เรียนรู้จากการปฏิบัติ เรียนรู้จากความซับซ้อนและ
ไม่ชัดเจน
7) ส่งเสริมให้ศษิ ย์สร้างความรูข้ นึ้ ใช้เอง
8) ส่งเสริมให้ศิษย์เรียนรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโลก
9) เป็นตัวอย่างและเสวนากับศิษย์เรื่องความดี คุณธรรม จริยธรรม เชื่อมโยงกับ
เหตุการณ์จริง ชีวติ จริง
พัชราภา ตันติชูเวช (2560: 184-187) ได้กล่าวถึงบทบาทของครูในศตวรรษที่ 21 มี 4
ประการ ดังนี้
1) การเป็นผูน้ าการเปลี่ยนแปลง (change agent) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัว
ผูเ้ รียนให้สอดคล้องกับโลกในศตวรรษที่ 21 โดยบทบาทครูในการเป็นผู้นาการเปลี่ยนแปลงมี 5
ประการ ได้แก่ 1) การเป็นผู้นาในการเปลี่ยนอัตลักษณ์ โดยเปลี่ยนเป็นคนไทยที่เป็นส่วนหนึ่งของ
พลเมืองโลก มีจติ สานึกสาธารณะต่อส่วนรวมและเป็นส่วนหนึ่งในระบอบประชาธิปไตย 2) การ
เป็นผู้นาในการเปลี่ยนจุดเน้น จากเน้นการสร้างคนเพื่อป้อนการเติบโตทางเศรษฐกิจไปสู่การ
การสร้างการเติบโตเพื่อรองรับการสร้างและปลดปล่อยศักยภาพของคนในสังคม เพื่อตอบโจทย์
สังคมองค์ความรูแ้ ละพัฒนาคนให้มีความสามารถในการผลิตนวัตกรรม 3) การเป็นผูน้ าในการ
เปลี่ยนกระบวนทัศน์จากการเอาชนะธรรมชาติมาเป็นการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ ตระหนักถึง
ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 4) การเป็นผูน้ าในการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม
โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้และทางานร่วมกับคนอื่นในลักษณะเกื้อกูลแบ่งปัน รวมถึงการปรับตัวและ
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 21

การอยู่ร่วมกันในสังคมผู้สูงอายุ และ 5) การเป็นผู้นาในการสร้างคนรุ่นใหม่ให้มีความภูมิใจใน


ความเป็นชาติ เข้าใจในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาติไทย มีจิตสานึกและตระหนักใน
คุณค่าของความเป็นไทย
2) การเป็นผู้อานวยความสะดวก (coach) ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้อานวยความ
สะดวกและการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่มคี วามแตกต่างกัน ในแต่ละระดับชั้นของผู้เรียน
เช่น ในระดับปฐมวัยครูควรมีอารมณ์ที่มั่นคง มีความคิดเชิงบวก อดทน และรับผิดชอบ สามารถ
สื่อสารกับผูเ้ รียนได้ อานวยความสะดวกให้ผเู้ รียนเกิดการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพ เข้าใจความคิด
วัฒนธรรม ประเพณีที่แตกต่างโดยไม่ลืมความเป็นไทย สามารถใช้ชีวติ อย่างเป็นสุขและพอเพียงได้
3) การใช้ mobile-learning เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการจัดการเรียนการสอน การนา
สื่อเทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการเรียนการสอน ตั้งแต่ขั้นตอนการเรียนรู้จนถึงขั้นตอน
การประเมินผลการเรียนรู้ โดยสื่อการเรียนการสอนที่ใกล้ตัวผู้เรียน นั่นคือโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือ
mobile-learning ครูควรมีบทบาทในการเป็นเพื่อนร่วมการเรียนรู้ โดยเรียนรูไ้ ปพร้อมกับผูเ้ รียน
เพราะการเรียนรู้ในโลกปัจจุบันผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองผ่านโซเชียลมีเดีย (social media)
โดยครูควรมีบทบาทในการให้ขอ้ แนะนาในการเสพและรูเ้ ท่าทันสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
4) การปรับตัวของครูให้ทันสมัยต่อโลกในศตวรรษที่ 21 ครูต้องปรับตัวเองให้ทันสมัย
ต่อโลกและผูเ้ รียนที่เปลี่ยนไปในศตวรรษที่ 21 ทั้งในด้านของความรู้ที่ไปใช้ในการสอน ครูต้องรู้
กว้าง รู้จริงในศาสตร์ต่าง ๆ ทั้งในศาสตร์ของความรู้วิชาการและศาสตร์การดารงชีวิตอยู่ในโลก
ศตวรรษที่ 21 รวมถึงวิธีการสอนที่ทันสมัยและเหมาะสมกับผูเ้ รียน เพื่อกระตุ้นการคิดวิเคราะห์
การคิดสร้างสรรค์ และการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
โดยสรุป บทบาทของครูในศตวรรษที่ 21 นั้น ครูจะต้องจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียน
เกิ ดความอยากเรีย นรู้ เน้นการเรียนรู้จากการปฏิบั ติจริงและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกั น
รวมทั้งการออกแบบและจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับผู้เรียน เป็นไปตามวัตถุป ระสงค์การ
เรียนรู้

สรุปท้ายบท

วิชาชีพหมายถึงอาชีพที่ผู้ประกอบการต้องมีความรู้ ความสามารถที่ต้องได้รับการฝึกฝน
โดยเฉพาะ มีมาตรฐานในการประกอบอาชีพและมีการควบคุมการประกอบอาชีพนั้นให้เป็นไปตาม
มาตรฐานวิชาชีพ วิชาชีพครูมีลักษณะสาคัญ 6 ประการ ได้แก่ การใช้วิธีการแห่งปัญญาในการ
ให้บริการ การบริการที่ให้แก่สังคมที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง ใช้ระยะเวลาในการศึกษาอบรม
22 ความสาคัญของวิชาชีพครู

ยาวนาน สมาชิกของวิชาชีพมีเสรีภาพในการใช้วิชาชีพตามมาตรฐาน มีจรรยาบรรณวิชาชีพ และ


มีองค์กรวิชาชีพเป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์จรรโลงมาตรฐานของวิชาชีพ
วิชาชีพครูมีความสาคัญเพราะเป็นอาชีพที่สร้างพลเมืองดีให้กับประเทศ พัฒนาทรัพยากร
มนุษย์และสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาติ ส่วนครูหมายถึงบุคลากรวิชาชีพที่ ทา
หน้าที่ด้านการอบรมสั่งสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษา
โดยครูมีหน้าที่และความรับผิดชอบหลายประการ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้
เพื่อพัฒนาผู้เรียน ปฏิบัติงานวิชาชีพของสถานศึกษา พัฒนาตนและวิชาชีพ ประสานความร่วมมือ
กับผู้ปกครอง ชุมชน หรือสถานประกอบการ เพื่อพัฒนาผู้เรียนและการบริการวิชาการแก่สังคม
นอกจากนี้ วิชาชีพครูยังมีหน้าที่ในการปลูกฝังความรู้ ความคิด จิตใจและคุณธรรมแก่เยาวชน
เพื่อที่จะเติบโตเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติอีกด้วย
บทบาทของครูในศตวรรษที่ 21 นั้นมีหลายประการ ได้แก่ การเป็นผู้นาการเปลี่ยนแปลง
เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในตัวศิษย์และครู การให้ความสาคัญกับเทคโนโลยี การพัฒนา
ผู้เรียนให้เป็นนักคิดเชิงวิพากย์ เป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม การให้ความ
สาคัญกับวิธีการจัดการเรียนรู้ การเป็นพี่เลี้ยงทั้งในและนอกห้องเรียน เน้น ให้ศิษย์เรียนรู้จาก
ชีวิตจริง เรียนรู้จากการปฏิบัติ การเป็นแบบอย่างให้กับศิษย์ในเรื่องความดี คุณธรรม จริยธรรม
โดยเชื่อมโยงกับเหตุการณ์จริงและชีวติ จริง

แบบฝึกหัดท้ายบท

จงตอบคาถามหรือทากิจกรรมต่อไปนี้
1. จงให้ความหมายของครู วิชาชีพ และวิชาชีพครู
2. วิชาชีพครูมลี ักษณะที่สาคัญอย่างไรบ้าง และมีลักษณะที่ตา่ งจากวิชาชีพอื่นอย่างไร
3. จงอธิบายให้เข้าใจว่าเพราะเหตุใดอาชีพครูจงึ เป็น “วิชาชีพชั้นสูง”
4. ถ้าหากไม่มอี าชีพครู นักศึกษาคิดว่าจะส่งผลเสียต่อสังคมอย่างไรบ้าง
5. จงอภิปรายถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของครู
6. จงอธิบายในเชิงเปรียบเทียบว่า ครูที่สอนในระดับชั้นอนุบาล ประถมศึกษา และ
มัธยมศึกษา จะมีหน้าที่และความรับผิดชอบเหมือนกันและต่างกันอย่างไรบ้าง
7. ขอให้นักศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับ “บทบาทของครูในศตวรรษที่
21” แล้วมาวิเคราะห์ว่าครูควรมีบทบาทอย่างไรบ้าง
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 23

8. ให้นักศึกษาสัมภาษณ์ครูที่มีประสบการณ์สอนไม่น้อยกว่า 10 ปี และมีผลงานดีเด่น
โดยสัมภาษณ์เกี่ยวกับหน้าที่ ความรับผิดชอบ และบทบาทของครูในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับ
ผูเ้ รียน
9. จากผลการสัมภาษณ์ในข้อ 8 ให้นักศึกษาทาการวิเคราะห์ และวางแผนการพัฒนา
ตนเอง เพื่อให้มีสมรรถนะตามหน้าที่ ความรับผิดชอบ และบทบาทของครูในการส่งเสริมการเรียนรู้
ให้กับผูเ้ รียน
10. ให้นักศึกษาดาเนินการศึกษาค้นคว้างานวิจัยเกี่ยวกับ “หน้าที่และความรับผิดชอบ
ของครู” แล้วสรุปเนื้อหาในประเด็น ต่อไปนี้
10.1 จุดมุ่งหมายของการวิจัย
10.2 กรอบความคิดการวิจัย
10.3 ขั้นตอนหรือกระบวนการวิจัย พร้อมสรุปเป็นแผนภาพ
10.4 สรุปผลการวิจัยโดยสังเขป
จากนั้นให้นักศึกษานาเสนอแนวทางการนาผลการวิจัยที่ศึกษาไปใช้ประโยชน์
24 ความสาคัญของวิชาชีพครู
บทที่ 2
มาตรฐานวิชาชีพครู
มาตรฐานวิชาชีพเป็นข้อกาหนดแนวทางปฏิบัติสาหรับให้ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติ เพื่อให้
เกิดความมั่นใจในวิชาชีพของผู้ปฏิบัติและให้การปฏิบัติงานมีคุณภาพสูงสุด ทาให้ผู้รับบริการ
และสาธารณชนมีความมั่นใจในการบริการดังกล่าว
ส าหรับ ในบทนี้ จะได้นาเสนอเนื้อหาตามลาดับ ดั งนี้ ที่มาของมาตรฐานวิชาชีพ ทาง
การศึกษา ความหมายของมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา และ
แนวทางการพัฒนาครูตามมาตรฐานวิชาชีพ

ที่มาของมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา

มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามีแหล่งที่มา ดังนี้
1. พระราชบัญ ญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้บัญ ญัติไว้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
มาตรฐานวิชาชีพครู ดังนี้
มาตรา 53 ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา มี
ฐานะเป็นองค์กรอิสระภายใต้การบริหารของสภาวิชาชีพ ในกากับ ของกระทรวงศึกษาธิการ มี
อานาจหน้าที่กาหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กากับดูแล
การปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพครู ผู้บริหาร
สถานศึกษา และผูบ้ ริหารการศึกษา
ให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของ
รัฐและเอกชนต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามที่กฎหมายกาหนด
2. พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ได้บัญญัติไว้ในส่วน
ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานวิชาชีพครู ดังนี้
มาตรา 48 ผูซ้ ึ่งได้รับใบอนุญาตต้องประพฤติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของ
26 มาตรฐานวิชาชีพครู

วิชาชีพตามที่กาหนดในข้อบังคับของคุรุสภา
มาตรา 49 ให้มีข้อบังคับว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพประกอบด้วย
(1) มาตรฐานความรู้และประสบการณ์
(2) มาตรฐานการปฏิบัติงาน
(3) มาตรฐานการปฏิบัติตน
3. ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556 และฉบับที่ 4 พ.ศ. 2562
คณะกรรมการคุรุสภาได้ออกข้อบังคับคุรุสภาเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพ จานวน 2
ฉบับ ได้แก่ ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556 และข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วย
มาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 ซึ่งได้กาหนดรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพทาง
การศึกษา ประกอบด้วยมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงานและ
มาตรฐานการปฏิบัติตน
โดยสรุป มาตรฐานวิชาชีพ ทางการศึกษาจะมีที่มาอยู่ 3 แหล่ง ดังนี้ พระราชบัญ ญั ติ
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546
และข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556 และฉบับที่ 4 พ.ศ. 2562

ความหมายของมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา

มาตรฐานการศึกษา หมายถึง ข้อกาหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์


และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียง
สาหรับการส่งเสริมและกากับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผลและการประกันคุณภาพทาง
การศึกษา (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542)
วิชาชีพ หมายถึง วิชาชีพทางการศึกษาที่ทาหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและ
การส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ รวมทั้งการรับผิดชอบการบริหารสถานศึกษา
ในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ากว่าปริญญา ทั้งของรัฐและเอกชน และ
การบริหารการศึ ก ษานอกสถานศึก ษาในระดับ เขตพื้นที่ ก ารศึก ษา ตลอดจนการสนับ สนุ น
การศึกษา ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศและ
การบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ (ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ
พ.ศ. 2556)
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา หมายถึง ข้อกาหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ และคุณภาพ
ที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพ ทางการศึกษา ซึ่งผู้ป ระกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้อง
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 27

ประพฤติปฏิบัติตาม ประกอบด้วยมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการ


ปฏิบัติงานและมาตรฐานการปฏิบัติตน (ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556)

มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา

มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา ประกอบด้วยมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
มาตรฐานการปฏิบัติงาน และมาตรฐานการปฏิบัติตน (ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ
พ.ศ. 2556; ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่องสาระความรู้ สมรรถนะและประสบการณ์
วิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์
ตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556; ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐาน
วิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562; ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่องรายละเอียดของมาตรฐาน
ความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ครูตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4)
พ.ศ. 2562) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
มาตรฐานความรู้และประสบการณ์ วิชาชีพ หมายถึง ข้อกาหนดเกี่ยวกับ ความรู้
และประสบการณ์ ในการจัดการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษา ซึ่งผู้ต้องการประกอบวิชาชีพ
ทางการศึกษาต้องมีเพียงพอที่สามารถนาไปใช้ในการประกอบวิชาชีพได้ ผูป้ ระกอบวิชาชีพครู
ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ากว่าปริญญาตรีทางการศึกษาหรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
โดยมีมาตรฐานความรูแ้ ละประสบการณ์วิชาชีพ ดังต่อไปนี้
1.1 มาตรฐานความรู้ มีดังต่อไปนี้

มาตรฐานความรู้ สาระความรู้ สมรรถนะ


1. การเปลี่ยนแปลง 1) การเปลี่ยนแปลงบริบทของโลกและ 1) รอบรู้บริบทการเปลี่ยนแปลงของ
บริบทของโลก สังคม สังคม ทัง้ ภายในและภายนอกประเทศ
สังคม และแนวคิด 2) แนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่สง่ ผลกระทบต่อการศึกษา
ของปรัชญา 2) ประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจพอเพียง พอเพียงในการจัดการเรียนรู้ให้กับ
ผู้เรียนได้
2. จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาเพื่อการวิเคราะห์ และพัฒนา 1) เข้าใจธรรมชาติของผู้เรียน
จิตวิทยาการศึกษา ผู้เรียนตามศักยภาพครอบคลุม 2) ช่วยเหลือและสนับสนุนการเรียนรู้
และจิตวิทยาให้ 1) จิตวิทยาพัฒนาการ ของผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพได้
28 มาตรฐานวิชาชีพครู

มาตรฐานความรู้ สาระความรู้ สมรรถนะ


คาปรึกษาในการ 2) จิตวิทยาการศึกษา
วิเคราะห์ และพัฒนา 3) จิตวิทยาให้คาปรึกษา
ผู้เรียนตามศักยภาพ
3. เนื้อหาวิชาที่สอน 1) เนื้อหาวิชาเอก 1) รอบรู้ในเนื้อหาของสาขาวิชาเอกที่
หลักสูตร ศาสตร์ 2) หลักสูตร สอน และบูรณาการองค์ความรู้ใน
การสอน และ 3) ศาสตร์การสอน วิชาเอกสาหรับการเรียนการสอนได้
เทคโนโลยีดิจิทัลใน 4) เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ 2) วิเคราะห์ จัดทา ใช้ ประเมิน และ
การจัดการเรียนรู้ พัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาได้
3) จัดทาแผนการเรียนรู้ และนา
แผนการเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัตใิ ห้เกิดผล
จริงได้อย่างเหมาะสมกับผู้เรียน
4) บริหารจัดการชัน้ เรียนให้ผู้เรียนเกิด
การเรียนรู้ได้
5) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการ
สื่อสารได้
6) แสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
ให้แก่ผู้เรียนได้
7) ประยุกต์ใช้ หรือพัฒนาสื่อ และ
นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียนได้
4. การวัด ประเมินผล 1) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 1) วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของ
การเรียนรู้ และ 2) การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนา ผู้เรียน และนาผลการประเมินไปใช้ใน
การวิจัยเพื่อแก้ปัญหา ผู้เรียน การพัฒนาผู้เรียนได้
และพัฒนาผู้เรียน 2) เลือกใช้ผลการวิจัยไปใช้ในการ
จัดการเรียนรู้ได้
3) ทาวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
และพัฒนาผู้เรียนได้
5. การใช้ภาษาไทย 1) การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ใช้ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และ
ภาษาอังกฤษเพื่อ 2) การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร การเขียนภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
การสื่อสาร และการ 3) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อ เพื่อการสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง
ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การศึกษา ในการเรียนการสอน หรือที่เกี่ยวข้อง
เพื่อการศึกษา กับวิชาชีพครู และการใช้เทคโนโลยี
ดิจิทัลเพื่อการศึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 29

มาตรฐานความรู้ สาระความรู้ สมรรถนะ


6. การออกแบบ การประกันคุณภาพการศึกษา จัดการคุณภาพ พัฒนา และประเมิน
และการดาเนินการ คุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้
เกี่ยวกับงานประกัน
คุณภาพการศึกษา

1.2 มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ
ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญ ญาทางการศึกษา
เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากาหนด ดังนี้
1) การฝึกประสบการณ์วิชาชีพระหว่างเรียน
2) การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ
สาระการฝึก ประสบการณ์ วิชาชีพ ระหว่างเรีย น และการปฏิบัติก ารสอนใน
สถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ และสมรรถนะ ประกอบด้วย

มาตรฐาน สาระการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สมรรถนะ


ประสบการณ์
วิชาชีพ
1. การปฏิบัตติ าม สาระการฝึกประสบการณ์วชิ าชีพ และ 1) การปฏิบัตหิ น้าทีค่ รู
มาตรฐานการ การปฏิบัตกิ ารสอนในสถานศึกษา 1.1) มุง่ มั่นพัฒนาผู้เรียนด้วย
ปฏิบัตงิ านของผู้ 1) การปฏิบัตหิ น้าที่ครู จิตวิญญาณความเป็นครู
ประกอบวิชาชีพครู 2) การจัดการเรียนรู้ 1.2) ส่งเสริมการเรียน เอาใจใส่ และ
3) ความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน ยอมรับความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละ
บุคคล
1.3) สร้างแรงบันดาลใจผู้เรียน
ให้เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ และผู้สร้างนวัตกรรม
1.4) พัฒนาตนเองให้มคี วามรอบรู้
ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรม
จริยธรรม และเป็นพลเมืองดี

2) การจัดการเรียนรู้
2.1) การมีส่วนร่วมในการพัฒนาและ
ส่งเสริมหลักสูตรสถานศึกษา
30 มาตรฐานวิชาชีพครู

มาตรฐาน สาระการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สมรรถนะ


ประสบการณ์
วิชาชีพ
2.2) การจัดทาแผนการสอนและ
จัดการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนา
ผู้เรียนตามความถนัด และความสนใจ
ให้มีปัญญารูค้ ิด มีความเป็นนวัตกร
และมีความสุขในการเรียน
2.3) ดูแล ช่วยเหลือ พัฒนา และ
รายงานผลการพัฒนาผู้เรียนเป็น
รายบุคคลอย่างเป็นระบบ
2.4) วิจัย สร้างนวัตกรรม และ
ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์
ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
2.5) ทางานเป็นทีมอย่างสร้างสรรค์
และร่วมกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพ
2.6) สื่อ และการวัดการประเมินผล
การเรียนรู้
2.7) การบูรณาการความรู้และ
ศาสตร์การสอน
2.8) การจัดกิจกรรมเพื่อสร้าง
บรรยากาศการเรียนรู้

3) ความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและ
ชุมชน
3.1) ร่วมมือกับผู้ปกครองในการ
พัฒนา และแก้ปัญหาผู้เรียนให้มี
คุณลักษณะที่พึงประสงค์
3.2) สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับ
ผู้ปกครองและชุมชนเพื่อสนับสนุนการ
เรียนรู้ที่มีคุณภาพของผู้เรียน
3.3) ศึกษา เข้าถึงบริบทของชุมชน
และสามารถอยู่ร่วมกันบนพืน้ ฐาน
ความแตกต่างทางวัฒนธรรม
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 31

มาตรฐาน สาระการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สมรรถนะ


ประสบการณ์
วิชาชีพ
3.4) ส่งเสริม อนุรักษ์วัฒนธรรมและ
ภูมปิ ัญญาท้องถิ่น
2. การปฏิบัตติ น จรรยาบรรณของวิชาชีพครูตาม ประพฤติปฏิบัตติ นตามจรรยาบรรณ
ตามจรรยาบรรณ ข้อบังคับคุรุสภา ของวิชาชีพครู
ของวิชาชีพครู

2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน
มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายถึง ข้อกาหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะหรือการแสดง
พฤติกรรมการปฏิบัติงานและการพัฒนางาน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องปฏิบัติตาม
เพื่อให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษา รวมทั้งต้องฝึกฝน
ให้มีทั ก ษะหรือความชานาญสู งขึ้นอย่างต่ อเนื่อง ผู้ป ระกอบวิชาชีพ ครูต้องมีมาตรฐานการ
ปฏิบัติงาน ดังนี้
1) ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ
เป็นการศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาตนเอง การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และ
การเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการที่องค์การหรือหน่วยงานหรือสมาคมจัดขึ้น เช่น การประชุม
การอบรม การสัมมนา และการประชุมเชิงปฏิบัติการ เป็นต้ น ทั้งนี้ ต้องมีผลงานหรือรายงานที่
ปรากฏชัดเจน
2) ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคานึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผเู้ รียน
เป็นการเลือกอย่างชาญฉลาดด้วยความรักและหวังดีต่อผู้เรียน ดังนั้น ในการ
เลือกกิจกรรมการเรียนรู้และกิจกรรมอื่น ๆ ครูตอ้ งคานึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดแก่ผเู้ รียนเป็นหลัก
3) มุ่งมั่นพัฒนาผูเ้ รียนให้เติบโตตามศักยภาพ
เป็นการใช้ความพยายามอย่างเต็มความสามารถของครูที่จะให้ผู้เรียนเกิดการ
เรียนรู้ให้มากที่สุด ตามความถนัดความสนใจ ความต้องการ โดยวิเคราะห์ วินิจฉัยปัญหาความ
ต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนที่จะให้ได้ผลดีกว่าเดิม รวมทั้งการส่งเสริม
พัฒนาการด้านต่าง ๆ ตามศักยภาพของผูเ้ รียนแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
4) พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้จริงในชั้นเรียน
เป็ น การเลื อ กใช้ ปรั บ ปรุ ง หรื อ สร้ างแผนการสอน บั น ทึ ก การสอน หรื อ
เตรียมการสอนในลักษณะอื่น ๆ ที่สามารถนาไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนบรรลุ
32 มาตรฐานวิชาชีพครู

วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
5) พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มปี ระสิทธิภาพอยู่เสมอ
เป็นการประดิษฐ์ คิดค้น ผลิต เลือกใช้ ปรับ ปรุงเครื่องมือ อุป กรณ์ เอกสาร
สิ่งพิมพ์ เทคนิควิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ผเู้ รียนบรรลุจุดประสงค์ของการเรียนรู้
6) จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์โดยเน้น
ผลถาวรที่เกิดแก่ผเู้ รียน
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนประสบผลสาเร็จในการแสวงหา
ความรูต้ ามสภาพความแตกต่างของบุคคล ด้วยการปฏิบัติจริง และสรุปความรู้ทั้งหลายได้ด้วย
ตนเอง ก่อให้เกิดค่านิยมและนิสัยในการปฏิบัติจนเป็นบุคลิกภาพถาวรติดตัวผู้เรียนตลอดไป
7) รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
เป็นการรายงานผลการพัฒนาผู้เรียนที่เกิดจากการปฏิบัติการเรียนรู้ให้ครอบคลุม
สาเหตุ ปัจจัย และการดาเนินงานที่เกี่ยวข้อง โดยครูนาเสนอรายงานการปฏิบัติในรายละเอียด
ดังนี้ 1) ปัญหาความต้องการของผู้เรียนที่ต้องได้รับการพัฒนา และเป้าหมายของการพัฒ นา
ผู้เรียน 2) เทคนิค วิธีการ หรือนวัตกรรมการเรียนการสอนที่นามาใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพ
ของผู้เรียนและขั้นตอนวิ ธีการ หรือนวัตกรรมนั้น ๆ 3) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ตามวิธีการที่กาหนดที่เกิดแก่ผู้เรียน และ 4) ข้อเสนอแนะแนวทางใหม่ ๆ ในการปรับปรุงและ
พัฒนาผู้เรียนให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
8) ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดแี ก่ผู้เรียน
เป็นการแสดงออก การประพฤติและปฏิบัติในด้านบุคลิกภาพทั่วไป การแต่งกาย
กิริยา วาจาและจริยธรรมที่เหมาะสมกับความเป็นครูอย่างสม่าเสมอ ที่ทาให้ผู้เรียนเลื่อมใส
ศรัทธา และถือเป็นแบบอย่าง
9) ร่วมมือกับผู้อ่นื ในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
เป็นการตระหนักถึงความสาคัญ รับฟังความคิดเห็น ยอมรับในความรู้ ความ
สามารถ ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ของเพื่อนร่วมงานด้วยความเต็มใจ เพื่อให้
บรรลุเป้าหมายของสถานศึกษา และร่วมรับผลที่เกิดขึ้นจากการกระทานัน้
10) ร่วมมือกับผูอ้ ื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
เป็นการตระหนักถึงความสาคัญ รับฟังความคิดเห็นยอมรับในความรู้ ความ
สามารถของบุคคลอื่นในชุมชน และร่วมมือปฏิบัติงานเพื่อพัฒนางานของสถานศึกษาให้ชุมชน
และสถานศึกษามีการยอมรับซึ่งกันและกัน และปฏิบัติงานร่วมกันด้วยความเต็มใจ
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 33

11) แสวงหาและใช้ขอ้ มูลข่าวสารในการพัฒนา


เป็นการค้นหา สังเกต จดจา และรวบรวมข้อมูลข่าวสารตามสถานการณ์ของ
สังคมทุกด้าน โดยเฉพาะสารสนเทศเกี่ยวกับวิชาชีพครู สามารถวิเคราะห์วิจารณ์อย่างมีเหตุผล
และใช้ขอ้ มูลประกอบการแก้ปัญหา พัฒนาตนเอง พัฒนางาน และพัฒนาสังคมได้อย่างเหมาะสม
12) สร้างโอกาสให้ผเู้ รียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
เป็นการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้โดยการนาเอาปัญหาหรือความจาเป็นในการ
พัฒนาต่าง ๆ ที่เกิดขึน้ ในการเรียนและการจัดกิจกรรมอื่น ๆ ในโรงเรียนมากาหนดเป็นกิจกรรม
การเรียนรู้เพื่อนาไปสู่การพัฒนาของผู้เรียนที่ถาวร เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาของครูอีกแบบ
หนึ่งที่จะนาเอาวิกฤตต่าง ๆ มาเป็นโอกาสในการพัฒนา ครูจาเป็นต้องมองมุมต่างๆ ของปัญหา
แล้วผันมุมของปัญหาไปในทางการพัฒนา กาหนดเป็นกิจกรรมในการพัฒนาผู้เรียน ครูจึงต้อง
เป็นผู้มองมุมบวกในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ กล้าที่จะเผชิญปัญหาต่าง ๆ มีสติในการแก้ปัญหา
มิได้ตอบสนองปัญหาต่าง ๆ ด้วยอารมณ์ หรือแง่มุมแบบตรงตัว ครูสามารถมองหักมุมในทุก ๆ
โอกาส มองเห็นแนวทางที่นาสู่ผลก้าวหน้าของผูเ้ รียน

3. มาตรฐานการปฏิบัติตน
มาตรฐานการปฏิบัติตน หมายถึง จรรยาบรรณของวิชาชีพที่กาหนดขึ้นเป็นแบบแผน
ในการประพฤติตน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องปฏิบัติตาม เพื่อรักษาและส่งเสริม
เกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่
ผูร้ ับบริการและสังคมอันจะนามาซึ่งเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ
ผูป้ ระกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องมีมาตรฐานการปฏิบัติตนตามข้อบังคับคุรุสภา
ว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ ดังนี้
จรรยาบรรณต่อตนเอง
1) ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ
บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่
เสมอ

จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
2) ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อ
วิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดขี ององค์กรวิชาชีพ
34 มาตรฐานวิชาชีพครู

จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
3) ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม
ให้กาลังใจแก่ศษิ ย์ และผูร้ ับบริการตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
4) ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และ
นิสั ย ที่ถู ก ต้องดีงามแก่ ศิษ ย์และผู้รับ บริก ารตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วย
ความบริสุทธิ์ใจ
5) ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
6) ผู้ ป ระกอบวิช าชีพ ทางการศึ ก ษาต้อ งไม่ ก ระท าตนเป็ น ปฏิ ปัก ษ์ ต่ อความ
เจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ
7) ผู้ประกอบวิชาชีพ ทางการศึกษาต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอ
ภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตาแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ

จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
8) ผู้ป ระกอบวิชาชีพ ทางการศึ ก ษาพึ งช่วยเหลือเกื้ อกู ล ซึ่งกั น และกั น อย่าง
สร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

จรรยาบรรณต่อสังคม
9) ผู้ ป ระกอบวิช าชี พ ทางการศึ ก ษาพึ ง ประพฤติ ป ฏิ บั ติ ต นเป็ น ผู้ น าในการ
อนุรักษ์และพั ฒ นาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒ นธรรม ภูมิปัญ ญา สิ่งแวดล้อม รักษา
ผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข
จากที่กล่าวมา มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาประกอบด้วยมาตรฐานความรูแ้ ละ
ประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน และมาตรฐานการปฏิบัติตน ซึ่งสามารถสรุปเป็น
แผนภาพได้ ดังนี้
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 35

องค์ประกอบของ
มาตรฐานวิชาชีพ
ทางการศึกษา

1. มาตรฐานความรู้ 2. มาตรฐาน 3. มาตรฐาน


และประสบการณ์ การปฏิบัติงาน การปฏิบัติตน
วิชาชีพ

ภาพที่ 2.1 องค์ประกอบของมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา

แนวทางการพัฒนาครูตามมาตรฐานวิชาชีพ

ครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนจะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามที่คุรุสภากาหนด เพื่อ
เป็นครูที่มีคุณภาพและสามารถพัฒนาผูเ้ รียนให้มีศักยภาพ เป็นไปตามเป้าหมายของการปฏิรูป
การศึกษาอย่างแท้จริง จากผลการวิจัยการปฏิบั ติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู พบว่ามี
สภาพการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครู โดยรวมและรายมาตรฐานอยู่ในระดับมาก (พิมพร
แคล้วคลาด และกัญญรัชการย์ นิลวรรณ. 2560: 1717; นิสา แหละหีมและสุนทรี วรรณไพเราะ.
2561: 1036) และระดับมากที่สุด (กมลชาติ อุ่นยศและสุภาภรณ์ ตั้งดาเนินสวัสดิ์. 2561: 167)
สาหรับการพัฒนาครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ พบว่ามีประเด็นการพัฒนาและแนวทาง
การพัฒนาครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ ดังนี้ (ทัศนีย์ ภัทรพงศ์บัณฑิต. 2554: 447-449;
ศิริวรรณ จันทะจรและธานี เกสทอง. 2558: 1408-1410; พิมพร แคล้วคลาด และกัญญรัชการย์
นิลวรรณ. 2560: 1719-1721)
มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ

ประเด็นการพัฒนา แนวทางพัฒนาครู
1. การเป็นสมาชิกขององค์การ -ควรส่งเสริมให้เป็นสมาชิกขององค์กรวิชาชีพครู นอกเหนือจากที่
วิชาชีพครู ทางราชการจัดตัง้
2. การเข้าร่วมประชุม อบรม -จัดประชุมเชิงปฏิบัตกิ าร โดยเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ดา้ น
สัมมนาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู หลักสูตรและการใช้หลักสูตร
-ส่งเสริมให้ครูเข้าร่วมประชุม สัมมนา กิจกรรมทางวิชาการ
36 มาตรฐานวิชาชีพครู

ประเด็นการพัฒนา แนวทางพัฒนาครู
ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกอย่างสม่าเสมอ
3. การนาผลงานทางวิชาการออก -ควรจัดทาและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ เข้าร่วมจัดกิจกรรม
เผยแพร่ ทางวิชาการที่องค์กรหรือหน่วยงานหรือสมาคมจัดขึน้
4. เมื่อมีการประชุม อบรม สัมมนา -ควรมีการจัดทารายงานอย่างเป็นระบบในการประชุม อบรม
แล้วไม่มรี ายงานผลอย่างเป็นระบบ สัมมนา โดยมีรายละเอียดประกอบการรายงาน

มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคานึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผเู้ รียน

ประเด็นการพัฒนา แนวทางพัฒนาครู
1. การจัดกิจกรรมการเรียนการ -จัดโครงการคุณธรรม จริยธรรมในสถานศึกษา เข้าค่ายคุณธรรม
สอนที่สร้างคุณธรรมให้เกิดกับ ที่วัดในชุมชน
ผู้เรียน -ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการความรู้กับ
คุณธรรมให้เกิดแก่ผู้เรียน
2. การฝึกทักษะในการจัดกิจกรรม -ควรจัดกิจกรรมเสริมความรู้ โดยคานึงถึงผลทีจ่ ะเกิดกับผู้เรียน
ที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถ -ควรจัดกิจกรรมทุกอย่างที่มีความสัมพันธ์ในการพัฒนา
ของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ความสามารถของผู้เรียน
-ส่งเสริมให้ครูให้ความสาคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ ทาให้นกั เรียนได้มสี ่วนร่วมในการเรียนการ
สอนมากขึ้น
3. การจัดกิจกรรมการปฏิบัตงิ าน -ควรจัดให้มีการแข่งขันกีฬาสีภายใน ประกวดด้านวิชาการต่าง ๆ
ต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กับการ เช่น วาดรูประบายสี แต่งกลอน
พัฒนาการของผู้เรียน

มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผูเ้ รียนให้เติบโตตามศักยภาพ

ประเด็นการพัฒนา แนวทางพัฒนาครู
1. การสอนซ่อมเสริมนักเรียนที่มี -ฝึกให้ครูมีจิตสาธารณ สอนซ่อมเสริมนักเรียนที่มีปัญหานอกเวลา
ปัญหา ข้อจากัดทางการเรียน เรียน
2. การพัฒนาการสอนอย่าง -ผู้บริหารโรงเรียนควรจัดครูให้ตรงตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่จบมา
สม่าเสมอ โดยการแสวงหา -สร้างนวัตกรรมหรือสื่อการเรียนรู้ใหม่ ๆ มีการอบรมออนไลน์
นวัตกรรมการเรียนรู้ เพื่อเพิ่มพูน
ทักษะการสอนและให้ความสาคัญ
แก่ผู้เรียน
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 37

ประเด็นการพัฒนา แนวทางพัฒนาครู
3. การปรับเปลี่ยนวิธีการสอนตาม -ตระหนักถึงความสาคัญทางด้านการค้นหาศักยภาพของผู้เรียน -
ความสามารถของผู้เรียนเป็น -ใช้เทคนิควิธีการสอนที่เหมาะสมและพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่
รายบุคคล หลากหลาย
-จัดการเรียนการสอนนักเรียนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล
ให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาทางด้านการเรียนรู้

มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้จริงในชั้นเรียน

ประเด็นการพัฒนา แนวทางพัฒนาครู
1. การจัดทาแผนการสอนโดย -จัดทาหลักสูตรท้องถิ่น เชิญวิทยากรในชุมชนที่มีความเชี่ยวชาญ
คานึงถึงสภาพของโรงเรียนและ มาให้ความรู้แก่ผู้เรียน
ชุมชน
2. การจัดทาแผนการสอน -สร้าง พัฒนา หรือปรับปรุงแผนการสอนให้ สอดคล้องกับ
ที่สอดคล้องกับความสามารถของ ความสามารถของผู้เรียน
ผู้เรียน -จัดทาแผนการสอนที่เน้นกิจกรรมการปฏิบัตติ ามกระบวนการ
แสวงหาความรู้และการสร้างความรู้
3. การจัดทาแผนการสอนที่เน้น -การพัฒนาแผนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนปฏิบัตไิ ด้จริง ค้นหา
กิจกรรมการปฏิบัติ ตาม คาตอบด้วยตนเอง
กระบวนการแสวงหาความรู้และ -ควร ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูได้รับการอบรมการจัดทาแผนการ
การสร้างความรู้ จัดการเรียนรู้ที่ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และมีการส่งแผนการจัดการ
เรียนรู้ให้คณะกรรมการตรวจสอบ เพือ่ นาไปใช้กับนักเรียนได้อย่าง
ถูกต้อง

มาตรฐานที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มปี ระสิทธิภาพอยู่เสมอ

ประเด็นการพัฒนา แนวทางพัฒนาครู
1. การใช้ส่อื การเรียนการสอนให้ -จัดซือ้ สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย เหมาะสมกับความสามารถ
เหมาะสมกับความสามารถของ ของผู้เรียน
ผู้เรียน -อบรมการผลิตสื่อการเรียนการสอนตามความเหมาะสมในชั้นเรียน
ที่รับผิดชอบ ให้เหมาะสมกับกิจกรรมและวัตถุประสงค์
-ศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในกระบวนการเรียนการสอน
โดยอาจประชุมวางแผนการจัดอบรม สัมมนา ศึกษาดูงานทางด้าน
เทคโนโลยีทางการศึกษา มีการกากับ ติดตามการพัฒนาด้าน
38 มาตรฐานวิชาชีพครู

ประเด็นการพัฒนา แนวทางพัฒนาครู
เทคโนโลยีของครู
2. การเผยแพร่ส่อื การเรียน -จัดอบรมการประดิษฐ์ สื่อการเรียนการสอน ให้สามารถบูรณาการ
การสอนที่ใช้ได้ผลดีให้กับเพื่อนครู ได้หลายวิชา
ด้วยกัน
3. การผลิตสื่อการเรียนการสอน -มุง่ เน้นให้ครูใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเป็นสื่อการเรียนการสอน
โดยใช้วัสดุท้องถิ่น -อบรมสัมมนาการผลิตสื่อการเรียนการสอนโดยใช้วัสดุท้องถิ่น

มาตรฐานที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์


โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน

ประเด็นการพัฒนา แนวทางพัฒนาครู
1. การแนะนาผู้เรียนให้ลงมือ -เน้นกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบและมีเหตุผล
ทางานตามกระบวนการสร้าง -การแนะนาผู้เรียนให้ลงมือทางานตามกระบวนการสร้างความคิด
ความคิดรวบยอด รวบยอด
2. การจัดกิจกรรมการเรียนการ -จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเลือกและปฏิบัตไิ ด้ตามศักยภาพ
สอนที่ให้นักเรียนมีการประเมิน -จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียนมีการประเมินตนเอง
ตนเองและปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ แล้วนาผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาตนเอง
3. การจัดกิจกรรมการเรียนการ -มุง่ เน้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ตามสภาพความแตกต่างของบุคคล
สอนโดยให้นักเรียนเลือกปฏิบัติ -จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยให้นักเรียนเลือกปฏิบัตติ าม
ตามความแตกต่างของบุคคล ความสามารถและความแตกต่างของบุคคล

มาตรฐานที่ 7 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผูเ้ รียนได้อย่างมีระบบ

ประเด็นการพัฒนา แนวทางพัฒนาครู
1. การรายงานผลการใช้เทคนิค -ให้ครูผู้สอนจัดทารายงานผลพัฒนาการของนักเรียนทั้งเป็น
วิธีการ หรือนวัตกรรมที่แสดงถึง รายบุคคล และรายกลุ่มอย่างสม่าเสมอ เป็นระบบ ระเบียบ และ
พัฒนาการของผู้เรียนเป็น เป็นปัจจุบัน
รายบุคคล หรือรายกลุ่ม
2. การศึกษา เสนอแนะแนวทาง -จัดทาเกณฑ์เฉพาะสาหรับการประเมินผลการเรียนของแต่ละกลุ่ม
ในการพัฒนาผู้เรียน จาแนกเป็น อย่างเหมาะสม และใช้ประโยชน์ของการประเมินผลเป็นพืน้ ฐาน ใน
รายบุคคล การปรับปรุงการเรียนการสอน เพื่อสนองต่อความแตกต่างระหว่าง
บุคคล
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 39

ประเด็นการพัฒนา แนวทางพัฒนาครู
3. การเสนอแนะในการพัฒนา -จัดประชุม อบรม สัมมนาอย่างเข้มเกี่ยวกับการพัฒนาผู้เรียน
ผู้เรียนสอดคล้องกับการพัฒนา จาแนกเป็นรายบุคคล
แต่ละระดับ

มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผเู้ รียน

ประเด็นการพัฒนา แนวทางพัฒนาครู
1. การให้คาแนะนาแก้ไขข้อบกพร่อง -ควรมีนโยบายหรือข้อกาหนดให้ครูในการยกย่องให้กาลังใจผู้เรียน
และการให้กาลังใจ ยกย่องชมเชย ที่มีความประพฤติดี
เมื่อนักเรียนประพฤติดี
2. การแต่งกายสุภาพเรียบร้อย -มีการประชุมชีแ้ จงให้ครูเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับระเบียบการแต่งกาย
เหมาะสมกับกาลเทศะ ที่ถูกต้องและเหมาะสม
3. การมีนาใจโอบอ้
้ อมอารี -สร้างความตระหนักในเรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพครูให้มากขึน้
มีเมตตากรุณาต่อผู้เรียน

มาตรฐานที่ 9 ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์

ประเด็นการพัฒนา แนวทางพัฒนาครู
1. การปฏิบัตงิ านอย่างมีเป้าหมาย -นาแนวทางการปฏิบัตงิ านมาสร้างสรรค์งาน เพื่อประโยชน์
และยึดประโยชน์ของส่วนรวม ส่วนรวม
เป็นหลัก
2. การร่วมมือปฏิบัตกิ ิจกรรม -มีการประชุมชีแ้ จงเรื่องการทางานร่วมกัน การทางานเป็นทีม
ต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายด้วย มีความสามัคคี มีนาใจและความจริ
้ งใจต่อกัน
ความเต็มใจ

มาตรฐานที่ 10 ร่วมมือกับผู้อ่นื ในชุมชนอย่างสร้างสรรค์

ประเด็นการพัฒนา แนวทางพัฒนาครู
1. การปฏิบัตงิ านของตนและกลุม่ -ฝึกการทางานเป็นทีม ยอมรับความรู้ ความสารถในทีมของตน
แล้วมีการปรับปรุงพัฒนางาน และร่วมกันพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
2. การยอมรับความรู้ -เปิดโอกาสให้ ชุมชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียน
ความสามารถของบุคคลในชุมชน การสอนแก่โรงเรียน
40 มาตรฐานวิชาชีพครู

ประเด็นการพัฒนา แนวทางพัฒนาครู
3. การเป็นผู้นาในการริเริ่มกิจกรรม -ควรให้ครูและผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน
ที่เป็นประโยชน์ตอ่ ชุมชนและสังคม เพื่อฝึกจิตสาธารณะและภาวะผูน้ าให้แก่ครูและผู้เรียน

มาตรฐานที่ 11 แสวงหาและใช้ขอ้ มูลข่าวสารในการพัฒนา

ประเด็นการพัฒนา แนวทางพัฒนาครู
1. การวิเคราะห์ขอ้ มูลข่าวสาร -ครูต้องแสวงหาข้อมูลข่าวสารที่จาเป็นในการดารงชีวิตประจาวัน
นามาใช้ในกิจกรรมการเรียน มาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อก้าวทันเหตุการณ์ปัจจุบัน
การสอน
2. การจัดทาระบบข้อมูลข่าวสาร -ควรจัดให้ครูจัดทาระบบข่าวสารที่เกี่ยวกับการศึกษา เทคนิค
ให้สามารถนามาใช้พัฒนาการเรียน การสอน นวัตกรรมทีท่ ันสมัย
การสอน -จัดทาวิจัยในชัน้ เรียน เพื่อเป็นข้อมูลเบือ้ งต้นในการพัฒนาการเรียน
การสอน

มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสให้แก่ผู้เรียนได้เรียนรูใ้ นทุกสถานการณ์

ประเด็นการพัฒนา แนวทางพัฒนาครู
1. การนาปัญหามาสร้างกิจกรรม -จัดการเรียนรู้ โดยมุ่งให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นคว้าด้วยตนเอง
การเรียนรู้ โดยให้ผู้เรียนรู้จักการ ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน นิสัยความกระตือรือร้น ใฝ่รู้ และใฝ่เรียน
แก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง
2. การจัดกิจกรรมทัศนศึกษา -ครูควรส่งเสริมการเรียนรู้ให้เกิดแก่ผู้เรียนทุกสถานการณ์ ทุกเวลา
ให้ผู้เรียนได้รับความรู้และ และทุกสถานที่ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อยู่เสมอ
ประสบการณ์ในการแก้ปัญหา
3. การจัดกิจกรรมการเรียนการ -ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ โดยกาหนดวัตถุประสงค์ของ
สอนที่ให้นักเรียนได้สร้างแนว การเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ในการพัฒนาและป้องกัน
ทางการพัฒนางาน เพื่อป้องกัน ปัญหาต่าง ๆ
ปัญหา

โดยสรุป การพัฒนาครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูสามารถทาได้หลายวิธี เช่น การ


เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมสัมมนาอย่างสม่าเสมอ การร่วมมือปฏิบัติกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย
การศึกษาดูงาน การจัดทาและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ เป็นต้น ทั้งนี้จะต้องพัฒนาครูให้มี
แรงบันดาลใจที่จะความมุง่ มั่น เสียสละ และมีจิตสาธารณะในการพัฒนาผูเ้ รียนเป็นสาคัญ
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 41

สรุปท้ายบท

วิชาชีพเป็นอาชีพที่ผู้ประกอบการต้องมีความรู้ ความสามารถ ที่ต้องได้รับการฝึกฝน


โดยเฉพาะ มีมาตรฐานในการประกอบอาชีพ และมีการควบคุมการประกอบอาชีพนั้นให้เป็นไป
ตามมาตรฐานวิชาชีพ มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา หมายถึง ข้อกาหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ
และคุณภาพที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ต้องประพฤติปฏิบัติตาม มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาประกอบด้วยมาตรฐาน 3 ด้าน ได้แก่
มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน และมาตรฐานการปฏิบัติตน
การพั ฒ นาครูตามเกณฑ์ มาตรฐานวิชาชีพครู อาจดาเนินการได้หลายลักษณะ อาทิ
การเข้าร่วมกิจกรรม การอบรมสัมมนา การลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย การศึกษาดู
งาน การจัดทาและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

แบบฝึกหัดท้ายบท

จงตอบคาถามหรือทากิจกรรมต่อไปนี้
1. จงให้ความหมายของ “มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา”
2. มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามีองค์ประกอบกี่มาตรฐาน อะไรบ้าง และจงให้
ความหมายของแต่ละมาตรฐาน
3. จงอธิบายความแตกต่างเรื่องคุณภาพการปฏิบัติงานระหว่างครูที่มีวิทยฐานะกับครู
ทีไ่ ม่มีวทิ ยฐานะ
4. วิธีการพัฒนาครูเพื่อให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ สามารถดาเนินการ
อย่างไรได้บ้าง
5. ให้นักศึกษาเขียนโครงการพัฒนาครู เพื่อให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู
มาคนละ 1 โครงการ
6. ให้นักศึกษาประเมินตนเองว่า “มี” หรือ “ไม่มี” คุณลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐาน
วิชาชีพครูด้านการปฏิบัติงาน ถ้าหากคุณลักษณะใดที่ไม่มี ขอให้นักศึกษานาเสนอแนวทางการ
พัฒนาตนเอง เพื่อให้มคี ุณลักษณะดังกล่าว
42 มาตรฐานวิชาชีพครู
บทที่ 3
คุณลักษณะของครูที่ดี

การศึกษาจะมีความเจริญงอกงามมากน้อยเพียงใด ขึน้ อยู่กับ “ครู” เป็นสาคัญ เพราะ


ครูเป็นองค์ประกอบหลักในการขับเคลื่อนการศึกษาให้มีคุณภาพ อาชีพครูจงึ เป็นอาชีพที่ชว่ ย
สร้างสรรค์จรรโลงสังคมให้ไปในทิศทางที่พึงปรารถนา ดังนั้น ผูป้ ระกอบวิชาชีพครูจึงต้องมีความรู้
ความสามารถ ทักษะในการจัดการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม และ
ความประพฤติที่ถูกต้องดีงามทั้งกาย วาจา และจิตใจ
สาหรับ ในบทนี้จะได้นาเสนอเนื้อหาตามลาดับ ดังนี้ อุดมการณ์ ครู ความหมายของ
คุณลักษณะของครูที่ดี คุณลักษณะของครูที่ดีตามคาสอนในพระพุทธศาสนา คุณลักษณะของ
ครูที่ดีตามแนวคิดของนักการศึกษาและหน่วยงาน คุณลักษณะของครูที่ดีจากผลการวิจัย การ
สังเคราะห์คุณลักษณะของครูที่ดี ขอบข่ายเนื้อหาการพัฒนาคุณลักษณะของครู กระบวนการ
พัฒนาคุณลักษณะของครู และวิธีการประเมินผลการพัฒนาคุณลักษณะของครู

อุดมการณ์ครู

ในการปฏิบัติหน้าที่ครูนั้น ครูจาเป็นต้องมีหลักยึดเพื่อนาตนไปสู่สิ่งที่สูงสุด หรือเป็น


อุด มคติ ข องอาชีพ นั่ น คื อ การมี อุ ด มการณ์ ค รู ราชบั ณ ฑิ ตยสถาน (2554: ออนไลน์ ) ได้ ให้
ความหมายของ “อุดมการณ์ ” (ideology) เป็นคานาม หมายถึง หลักการที่วางระเบียบไว้เป็น
แนวปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กาหนดไว้ ส่วน “ครู” (teacher) เป็นคานาม หมายถึง ผูส้ ั่งสอน
ศิษย์ ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กาหนด ดังนั้น อุดมการณ์ครู (teacher
ideology) หมายถึง หลักการที่วางระเบียบไว้เป็นแนวปฏิบัติของผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษ ย์
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กาหนดไว้
44 คุณลักษณะของครูที่ดี

การที่ครูจะปฏิบัติหน้าที่ครูได้อย่างเต็มศักดิ์ศรีและเต็มความภาคภูมิได้นั้น ครูจาเป็นต้อง
มีหลักยึดไว้ประจาใจทุกขณะที่ประกอบภารกิจของครู ซึ่งสานักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ (2552: 113-117) ได้กาหนดอุดมการณ์ครูไว้ 5 ประการ ดังนี้
1. เต็มรู้ คือ มีความรูบ้ ริบูรณ์
อาชีพครูเป็นอาชีพที่ต้องถ่ายทอด อธิบายให้ความรู้แก่คน ดังนั้น ครูทุกคนจะต้อง
เป็นผู้ที่ทาให้ตนเองนั้นสมบูรณ์ หรือเต็มไปด้วยความรู้ ซึ่งในตัวครูควรประกอบด้วยความรู้ 3
ประการ ดังนี้
1.1 ความรู้ด้านวิชาการและวิชาชีพ ครูควรเสาะแสวงหาความรู้และนาประสบการณ์
ใหม่ ๆ มาถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้เกิดความรูท้ ี่ทันสมัย
1.2 ความรู้เรื่องโลก ครูควรมีความรู้และประสบการณ์ชีวิตอย่างเพียงพอ เพื่อให้
สามารถอธิบาย บอกเล่า ถ่ายทอดทั ศนคติ ความเชื่อ วัฒนธรรมอันดีงามของชาติ ของสังคม
ไปสู่ศษิ ย์ ครูควรเข้าใจชีวิตอย่างเพียงพอที่จะให้คาแนะนา คาสั่งสอน เพื่อให้ศิษย์ได้ดาเนินชีวิต
ที่ดใี นอนาคต
1.3 ความรู้เรื่องธรรมะ ครูควรมีสิ่งยึดเหนี่ยวในจิตใจ เพื่อที่จะอบรมสั่งสอนให้ศิษย์
มีความคิดที่ดี มีความประพฤติดี ครูควรมีความรู้ด้านธรรมะ สามารถหยิบยกเรื่องธรรมะมา
เป็นอุทาหรณ์สาหรับสั่งสอนศิษย์ได้ เมื่อศิษย์เข้าใจและนาไปปฏิบัติก็ย่อมทาให้ศิษย์ประสบ
ความสาเร็จในการศึกษา นอกจากนี้ ครูยังได้ประโยชน์จากการศึกษาธรรมะ ทาให้ครูไม่หวั่นไหว
ต่อกิเลศ อันทาให้จติ ของครูตอ้ งเป็นทุกข์เศร้าหมอง
2. เต็มใจ คือ ความมีใจเป็นครู
คนจะเป็นครูที่มีอุดมการณ์ จาเป็นต้องสร้างใจให้เป็นใจที่เต็มบริบูรณ์ด้วยการมีใจ
เป็นครู การทาใจให้เต็มบริบูรณ์จะต้องถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบ ดังนี้
2.1 รักอาชีพ ครูต้องมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ เห็นว่าอาชีพครูมีประโยชน์ มีเกียรติ มี
กุศล ได้บุญ ได้ความภูมใิ จ และพอใจที่จะสอนอยู่เสมอ พยายามหาวิธีสอนที่ดเี พื่อศิษย์
2.2 รักศิษย์ มีใจคิดให้ศิษย์พ้นจากสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา ครูต้องมีใจอยากให้ทุกคน
มีความสุข พยายามชี้แนะหนทางสู่ความสาเร็จและความสุขให้แก่ศิษย์ มีการยินดีหรือมีมุทิตาจิต
เมื่อเห็นศิษย์ประสบความก้าวหน้าในชีวติ
3. เต็มเวลา คือ การรับผิดชอบ การทุ่มเทเพื่อการสอน
ครูที่มอี ุดมการณ์ จะต้องใช้ชีวติ อย่างเต็มเวลาทั้ง 3 ส่วน ดังนี้
3.1 งานสอน ครูต้องใช้เวลาในการเตรียมการสอนอย่างเต็มที่ วางแผนการสอน
ค้นคว้าหาวิธีการที่จะสอนศิษย์ในรูปแบบต่าง ๆ
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 45

3.2 งานครู ครูจะต้องให้เวลาแก่งานด้านต่าง ๆ เช่น งานธุรการ งานบริหาร บริการ


และงานที่จะทาให้สถานศึกษาก้าวหน้า
3.3 งานนักศึกษา ครูจะต้องให้เวลา ให้การอบรม แนะนาสอนศิษย์ เมื่อศิษย์ต้องการ
คาแนะนาหรือต้องการความช่วยเหลือ ไม่ว่าในเวลาทางานหรือนอกเวลาทางาน
4. เต็มคน คือ การพัฒนาตนเองให้มคี วามเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ด้วยที่ครูเป็นแม่พิมพ์ที่สังคมความหวังสูงและมีอิทธิพลต่อผูเ้ รียนมาก ครูจงึ จาเป็น
จะต้องมีความบริบูรณ์ในความเป็นมนุษย์ ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ครูจึงควรสารวม
กาย วาจา ใจ ให้มคี วามมั่นคง เป็นแบบอย่างที่ดีงามในการแสดงออกทั้งในและนอกห้องเรียน
5. เต็มพลัง คือ การทุ่มเทพลังสติปัญญาและความสามารถเพื่อการสอน
ครูจะต้องใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ ทุ่มเทเพื่อการสอน เพื่อวิชาการ เพื่อศิษย์
ครูต้องอุทิศตนอย่างเต็มที่ ทางานอย่างไม่คิดออมแรงเพื่อผลงานที่สมบูรณ์ นั้นคือ การปั้นศิษย์
ให้มคี วามรู้ ความประพฤติงดงาม เป็นที่พึงประสงค์ของสังคม
ครูยึดหลักครอบทั้ง 5 ประการนี้ ย่อมเป็นครูที่มีคุณธรรม ที่พร้อมจะเป็นผู้ชที้ างแห่ง
ปัญญา ชีท้ างแห่งชีวติ และชีท้ างแห่งสังคมในอนาคตได้เป็นอย่างดี

ความหมายคุณลักษณะของครูที่ดี

คาว่า “คุณลักษณะ” เป็นคานาม หมายถึง เครื่องหมาย หรือสิ่งที่ชใี้ ห้เห็นความดี หรือ


ลักษณะประจา ส่วน “ครู” ในความหมายที่เป็นคานาม หมายถึง ผู้สั่งสอนศิษย์ หรือผู้ถ่ายทอด
ความรู้ให้แก่ศิษย์ (ราชบัณฑิตยสถาน. 2546: ออนไลน์) ดังนั้น คุณลักษณะของครูที่ดี จึงหมายถึง
เครื่องหมายหรือสิ่งที่ชีใ้ ห้เห็นความดี หรือลักษณะประจาตัวของบุคคลที่เป็นครูหรือผู้ ถ่ายทอด
ความรูใ้ ห้แก่ศิษย์

คุณลักษณะของครูท่ดี ีตามคาสอนในพระพุทธศาสนา

หากพิจารณาคาสอนตามหลักพระพุทธศาสนา ครูในฐานะกัลยาณมิตรของศิษย์ กล่าวคือ


เป็นมิตรแท้ หรือมิตรดี เป็นที่พึ่งของศิษย์ได้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยหลักธรรม 7 ประการ หรือ
ทีเ่ รียกว่า “กัลยาณมิตรธรรม 7” (วิไล ตัง้ จิตสมคิด. 2554: 156-159; สันติ บุญภิรมย์. 2557:
51-54) มีสาระ ดังนี้
46 คุณลักษณะของครูที่ดี

1. ปิโย หมายถึง น่ารัก กล่าวคือครูต้องทาตัวให้เป็นที่รักของศิษย์และบุคคลทั่วไป เมื่อ


เห็นครูแล้วมีความรู้สึกสบายใจ อยากจะพูดคุยหรือปรึกษาหารือด้วย การที่ครูจะเป็นที่รักแก่
ศิษย์ควรตั้งตนอยู่ในพรหมวิหาร 4 ดังนี้
1.1 เมตตา หมายถึง ความรักใคร่ ปรารถนาดีต่อศิษย์ อยากให้ศษิ ย์มีความสุข และ
เจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านวิชาการและการดาเนินชีวติ
1.2 กรุณา หมายถึง ความสงสาร เอ็นดูศิษย์ อยากช่วยเหลือให้พ้นจากความทุกข์
และใส่ใจในอันที่จะปลดเปลือ้ ง บาบัดทุกข์ยากเดือดร้อนของศิษย์
1.3 มุทิตา หมายถึง ความชื่นชมยินดีเมื่อศิษย์ได้ดี และยกย่องเชิดชูให้ปรากฏ เป็น
การให้กาลังใจและช่วยให้เกิดความภูมิใจในตนเอง
1.4 อุเบกขา หมายถึง การวางตัวเป็นกลาง จิตใจที่ตั้งอยู่ในความยุติธรรม ไม่ลาเอียง
และไม่มอี คติ
2. คุรุ หมายถึง น่าเคารพ กล่าวคือครูต้องประพฤติให้เหมาะสมแก่ฐานะของตนในความ
เป็นครู กระทาตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งพฤติกรรมทางกายและทางวาจา จิตใจสงบ
เยือกเย็น มีเหตุผล ซึ่งทาให้เป็นที่น่าเคารพ ศรัทธา เลื่อมใสของศิษย์ สาหรับหลักคุณธรรมที่จะ
ช่วยให้ครูมีคุณลักษณะน่าเคารพและน่าศรัทธาเลื่อมใสของศิษย์ จะใช้หลักธรรม “พละ 5” ซึ่ง
มี 5 ประการ ดังนี้
2.1 ศรัทธาพละ หมายถึง มีความเชื่อในทางที่ดี เช่น เชื่อว่าทาดีได้ดี ทาชั่วได้ชั่ว เมื่อ
ความเชื่ออันเกิดจากความศรัทธาเกิดขึ้นในจิตใจแล้ว จะก่อให้เกิดพลังในการต่อต้านฝ่ายอธรรม
หรือฝ่ายอกุศลมูล
2.2 วิริยะพละ หมายถึง ความเพียรในทางที่ดี กล่าวคือมีความเพียรในการกระทา
แต่ความดี เว้นจากการกระทาความชั่วทั้งปวง ก่อให้เกิดพลังขึ้นในจิตใจที่จะทาความดีอย่าง
ต่อเนื่อง ก่อให้เกิดความเจริญงอกงานขึน้ ในชีวิตและเจริญยิ่ง ๆ ขึน้ ไป
2.3 สติพละ หมายถึง ความระลึกได้ กล่าวคือมีความรู้สึกตัวในการกระทา การพูด
การคิดให้รอบคอบ ไม่กระทาในทางที่ชั่วทั้งปวง
2.4 สมาธิพละ หมายถึง ความแน่วแน่ กล่าวคือมีจิตใจมั่นคงในสิ่งที่เป็นบุญกุศล
ไม่ตกอยู่ในอานาจของฝ่ายต่า ไม่ให้จติ ใจฟุ้งซ่าน
2.5 ปัญญาพละ หมายถึง ความรอบรู้ กล่าวคือมีความรู้ มีศักยภาพในการทาลาย
โมหะ ความโง่เขลาและความงมงาย รู้วา่ อะไรดีและชั่ว อะไรควรทาและไม่ควรทา
3. ภาวนีโย หมายถึง น่ายกย่อง กล่าวคือการเป็นผูท้ ี่ได้รับยกย่องว่าเป็นผูม้ ีความประพฤติ
ดีงาม เป็นแบบอย่างที่ดี ควรเคารพ เช่น การแต่งกายเรียบร้อยเหมาะสมกับโอกาสต่าง ๆ กริยา
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 47

ท่าทางสง่าผ่าเผย ส่วนในด้านความรูค้ วามสามารถในทางวิชาการ เป็นบุคคลที่มคี วามรูแ้ ละภูมิ


ปัญญาอย่างแท้จริง เข้ารับการฝึกอบรมและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ
เฉพาะด้าน ส่งเสริมให้มีศักยภาพในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบของตน
4. วัตตา หมายถึง รู้จักพูด กล่าวคือการพูดหรือการสั่งสอนให้ผู้อื่นได้เข้าใจใช้ภาษาที่
ง่าย เหมาะสมกับวัยของผู้ฟัง การพูดที่ส่งเสริมก่อให้เกิดพฤติกรรมไปในทางบวกเป็นประโยชน์
ต่อตนเองและผู้อื่น เพื่อให้สามารถนาไปปฏิบัติได้ การพูดที่เป็นลักษณะของการสอนในทาง
พระพุทธศาสนาเรียกว่า “วัตตา 4” (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). 2558: 134) ดังนี้
4.1 สันทัสสนา หมายถึง สอนให้เข้าใจอย่างชัดเจน เห็นจริงอย่างที่ต้องการ ซึ่งจะต้อง
ดาเนินตามลาดับ ดังนี้ สอนจากสิ่งที่ง่ายไปยาก สอนจากสิ่งที่เป็นรูปธรรมไปหาสิ่งที่เป็นนามธรรม
สอนจากสิ่งคุ้นเคยไปหาการใช้เหตุผล
4.2 สมาทปนา หมายถึง สอนด้วยการกระตุ้นเร้าความสนใจให้ศิษย์ได้ติดตามบทเรียน
อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เกิดความกระตือรือร้นที่จะประพฤติปฏิบัติตามที่ครูสอน
4.3 สมุตเตชนา หมายถึง สอนให้ศิษย์เกิดความมั่นใจในตนเองให้เกิดขึน้ ด้วยความ
กล้าในการคิด การพูด การกระทา และการรับผิดชอบ พร้อมมีความมานะพยายามว่าต้องเรียน
เพื่อก่อให้เกิดความรู้ ความจา ซึ่งเป็นพื้นฐานในการกระทากิจการที่จะนาไปสู่ความมั่นใจ ความ
กล้าต่าง ๆ ทั้งปวง
4.4 สัมปหังสนา หมายถึง การสอนให้ศิษย์เกิดความเพลิดเพลิน โดยการใช้เทคนิค
ใหม่ ๆ มาใช้ในการเรียนการสอนให้ศิษย์สนใจ มีความสุขสนุกกับการเรียน
5. วจนักขโม หมายถึง อดทนต่อถ้อยคา กล่าวคือครูต้องมีความอดทนต่อถ้อยคาและ
อดทนต่อกิริยาวาจาอันก้าวร้าวรุนแรง ครูต้องรับฟังได้ในการใช้คาพูดของศิษย์ที่ตั้งคาถาม
ถามครูในเรื่องต่าง ๆ คาปรึกษาหารือของศิษย์ในลักษณะของการซักถาม การให้ข้อเสนอแนะ
ยอมรับฟังและอดทนต่อคาวิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่อ่อนไหว ครูจะต้องระลึกอยู่เสมอว่าผู้เรียน
แต่ละคนมีสติปัญญา ความสามารถแตกต่างกัน รวมทั้งมาจากสภาพแวดล้อมต่างกันด้วย
6. คัมภีรัญจกถัง กัตตา หมายถึง แถลงเรื่องได้อย่างลึกล้า กล่าวคือความสามารถของ
ครูในการสั่งสอนให้ศิษย์มีความรู้ ความเข้าใจเนื้อหาสาระได้อย่างล้าลึก สามารถขยายข้อความที่
ยากให้ง่ายแก่การเข้าใจ เพราะวิชาต่าง ๆ ที่ครูนามาสอนล้วนเป็นเรื่องที่ผู้เรียนไม่เคยเรียนมา
ก่อน ครูจะต้องมีวธิ ีที่ทาให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องยาก ๆ ได้ง่าย โดยมีวิธีการ ดังนี้
6.1 ชี้ให้เห็นหัวข้อสาคัญ ๆ หรือโครงสร้างของวิชานั้น เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความคิด
รวบยอดก่อนที่จะอธิบายในรายละเอียดต่อไป
48 คุณลักษณะของครูที่ดี

6.2 แสดงเหตุผลในวิชานั้น กล่าวคืออธิบายจากเหตุไปสู่ผล อธิบายจากผลไปสู่


สาเหตุ ยกตัวอย่างประกอบ หรือเปรียบเทียบกับเนือ้ หาของวิชาอื่น ๆ ที่ใกล้เคียง
6.3 สรุปเนื้อหาสาระให้ศิษย์ดูเป็นตัวอย่าง เพื่อให้ศิษย์สามารถสรุปเนื้อหาที่ เรียน
มาได้โดยเฉพาะใจความสาคัญ และการสรุปต้องนาไปสู่การปฏิบัติได้ ตลอดจนชี้ให้เห็น คุณค่า
ในเชิงปฏิบัติ ผูเ้ รียนจะเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้นถ้าสิ่งนั้นเป็นสิ่งใกล้ตัวและสามารถนามาปฏิบัติได้
7. โนจัฏฐาเน นิโยชเย หมายถึง ไม่ชักจูงไปในหนทางเสื่อมเสีย กล่าวคือครูต้องไม่แนะนา
ชักชวน ชักจูงศิษย์ไปในทางเสื่อมเสีย วิธีการแนะนาศิษย์ไปในทางที่ถูกที่ควรมี 3 ประการ (วิไล
ตั้งจิตสมคิด. 2554: 158-159) ดังนี้
7.1 นิคคหวิธี หมายถึง ใช้วิธีขู่กาหลาบ เป็นวิธีเตือนให้ศิษย์รู้สึกตัว และละความชั่ว
กล่าวคือเมื่อเห็นศิษย์ประพฤติไปในทางที่ไม่ถูกต้อง ครูต้องว่ากล่าวตักเตือนหรือลงโทษ ไม่ควร
ปล่อยปละละเลยให้มีการกระทาซ้า ๆ จนกลายเป็นนิสัย สาหรับการลงโทษจะต้องพิจารณาให้
เหมาะสม เพื่อให้เกิดความสานึกผิดหรือหลาบจา ไม่ใช่เป็นการซ้าเติมหรือทาจนเกินกว่าเหตุ
7.2 ปัคคหวิธี หมายถึง การใช้วิธีการยกย่อง ชมเชย เป็นการให้กาลังใจแก่ศิษย์ที่
ประพฤติดี ประพฤติชอบ เมื่อใดเห็นศิษย์ทาความดีครูจะต้องยกย่องชมเชย เพื่อให้ศษิ ย์มีกาลังใจ
ที่จะทาความดีจนกลายเป็นนิสัยที่ดีงามติดตัว การยกย่องชมเชยควรกระทาทั้งต่อหน้าและลับหลัง
เพื่อแสดงให้เห็นว่าครูมีความจริงใจ
7.3 ทิฏฐานคตวิธี หมายถึง การใช้วิธีกระทาตนให้เป็นแบบอย่าง กล่าวคือครูต้องการ
ให้ศิษย์ประพฤติปฏิบัติอย่างไร ครูก็ต้องปฏิบัติตนเช่นนั้นให้ศิษย์ได้เห็นเป็นตัวอย่าง ดังสุภาษิต
ที่กล่าวว่า “ตัวอย่างที่ดีมีค่ามากกว่าคาสอน”
สรุป ได้ ว่า คุ ณ ลั ก ษณะของครูที่ดี ต้องมีกั ล ยาณมิ ตรธรรม 7 ซึ่งเป็น คุณ ลั ก ษณะ 7
ประการ ประกอบด้วย การกระทาตนให้เป็นที่รักแก่ศิษย์และบุคคลทั่วไป การเป็นบุคคลที่มี
ความหนักแน่นมั่นคง การเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผูท้ ี่มีความประพฤติดีงาม การรู้จักพูด
ตักเตือนสั่งสอนศิษย์ การเป็นผูท้ ี่มีความอดทนต่อถ้อยคาและกริยาวาจา ความสามารถในการ
อธิบายเรื่องยาก ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย และการไม่ชักจูงศิษย์ไปในทางที่เสื่อมเสีย

คุณลักษณะของครูท่ดี ีตามแนวคิดของนักการศึกษาและหน่วยงาน

นักการศึกษาที่ได้กล่าวถึงคุณลักษณะของครูที่ดี มีดังนี้
วิจติ ร ศรีสอ้าน (2541: 48) กล่าวว่าครูทีด่ ตี ามวัฒนธรรมไทย จะต้องมีลักษณะ “3 สุ”
ดังนี้
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 49

1) สุวิชาโน หมายถึง เป็นผู้มีความรูด้ ี


2) สุสาสโน หมายถึง เป็นผู้สอนดี รู้จักชีแ้ จง ชักจูง ปลุกใจ ให้เกิดความเพลิดเพลิน
ในการเรียน
3) สุปฏิปันโน หมายถึง เป็นผู้มคี วามประพฤติปฏิบัติตนดี เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์
และบุคคลทั่วไป
ธีรศักดิ์ อัครบวร (2543: 56–57) กล่าวว่าลักษณะของครูที่ดที ี่พึงประสงค์ มีดังนี้
1) ภูมิรู้ ลักษณะของครูที่ดีในด้านนี้ ได้แก่ คุณสมบัติส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับความรู้
ความสามารถทางด้านวิชาการที่จะสอน ตลอดจนการเป็นผู้ที่มีสติปัญญาดี เฉลียวฉลาด มีความ
เชื่อมั่นในตนเอง มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ นอกจากนี้จะต้องสอนดีและ
ปกครองดี สามารถอธิบายได้รวบรัดชัดเจน สอนสนุก ทาเรื่องยากให้ง่ายได้และควบคุมชั้นเรียน
ให้อยู่ในระเบียบวินัยได้
2) ภูมิธรรม ลักษณะของครูที่ดีในด้านนี้ ได้แก่ การประพฤติดี เว้นจากอบายมุขทั้ง
ปวง กระท าแต่ สิ่งที่ดี ที่ สุ จริต ทั้ งกาย วาจาและใจ นอกจากนี้ ครูต้ องมีจรรยาบรรณ และ
คุณธรรมสูง
3) ภูมิฐาน ลักษณะของครูที่ดีในด้านนี้ ได้แก่ บุคลิกภาพดี รูปร่างท่าทางดี แต่งกาย
สะอาดเรียบร้อย พูดจาไพเราะนุ่มนวล น้าเสียงชัดเจน มีลักษณะเป็นผู้นา นอกจากนี้ครูยังต้อง
เป็นผู้ที่มมี นุษยสัมพันธ์ดี มีอัธยาศัยไมตรีกับบุคคลทุกเพศทุกวัยทุกชนชั้น
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) (2552: 117-118) ได้กาหนด
คุณลักษณะของครูที่ดีไว้ใน “คู่มอื การปฏิบัติงานข้าราชการ” ดังนี้
1) ความมีระเบียบวินัย หมายถึง ความประพฤติทั้งทางกาย วาจาและใจ ที่แสดงถึง
ความเคารพในกฎหมาย ระเบียบประเพณีของสังคม และความประพฤติที่สอดคล้องกับอุดมคติ
หรือความหวังของตนเอง โดยให้ยึดส่วนรวมสาคัญกว่าส่วนตัว
2) ความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม หมายถึง การประพฤติที่ไม่ทาให้ผู้อื่น
เดือดร้อน ไม่เอาเปรียบ หรือคดโกงผูอ้ ื่นหรือส่วนรวม ให้ยึดถือหลักเหตุผล ระเบียบ แบบแผน
และกฎหมายของสังคมเป็นเกณฑ์
3) ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่ทา
ให้เสียเวลา ชีวติ และปฏิบัติกิจอันควรกระทาให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม
4) ความสานึกในหน้าที่และการงานต่าง ๆ รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและ
ประเทศชาติ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคม และไม่ก่อความเสียหายให้
เกิดขึ้นแก่สังคม
50 คุณลักษณะของครูที่ดี

5) ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์ และตัดสินอย่างมีเหตุผล หมายถึง ความ


ประพฤติในลักษณะสร้างสรรค์และปรับปรุง มีเหตุมีผลในการทาหน้าที่การงาน
6) ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน
ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง ความประพฤติที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือในการ
อยู่ร่วมกัน โดยยึดผลประโยชน์ของสังคมให้มากที่สุด
7) ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หมายถึง ความมั่นคง
และจิตใจ รู้จักบารุงรักษากายและจิตใจให้สมบูรณ์ มีอารมณ์แจ่มใส มีธรรมะอยู่ในจิตใจอย่าง
มั่นคง
8) ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีอุดมคติเป็นที่พึ่ง ไม่ไหว้วานหรือขอความ
ช่วยเหลือจากผู้อน่ื โดยไม่จาเป็น
9) ความภาคภูมิใจและการรู้จักทานุบารุงศิลปะ วัฒนธรรม และทรัพยากรของชาติ
หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมแบบไทย ๆ มีความรักและหวงแหน
วัฒนธรรมของตนเองและทรัพยากรของชาติ
10) ความเสียสละและเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคี
หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกถึงความแบ่งปัน เกื้อกูลผูอ้ ื่นในเรื่องของเวลา กาลังกาย
และกาลังทรัพย์
วิไล ตั้งจิตสมคิด (2554: 161-162) กล่าวว่าลักษณะของครูไทยที่พึงประสงค์มี 3 ประการ
ดังนี้
1) มีความรูด้ ี ครูต้องมีความรูค้ วามสามารถทางด้านวิชาการที่จะสอน ตลอดจนเป็น
ผูท้ ี่มีสติปัญญาดี เฉลียวฉลาด เชื่อมั่นในตนเอง มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ
และที่สาคัญอีกประการหนึ่งคือการสอนดีและปกครองดี สามารถอธิบายได้รวบรัดชัดเจน สอน
สนุก ทาเรื่องยากให้งา่ ยได้ และสามารถควบคุมชัน้ เรียนให้อยู่ในระเบียบวินัยได้
2) มีบุคลิกภาพดี ลักษณะของครูที่ดีในด้านนี้ ได้แก่ รูปร่างท่าทางดี แต่งกายสะอาด
เรียบร้อย พูดจาไพเราะนุ่มนวล น้าเสียงชัดเจน มีลักษณะเป็นผู้นาและมีมนุษยสัมพันธ์ดี
3. มีคุณธรรมจริยธรรม ครูต้องมีความประพฤติ เว้นจากอบายมุขทั้งปวง กระทาแต่
สิ่งที่ดี ที่สุจริต ทั้งกาย วาจาและใจ ต้องมีคุณธรรม จริยธรรมประจาใจ
Whitaker (2012 อ้างถึงใน วิโรจน์ สารรัตนะ. 2557: 82) ได้กล่าวว่า “ครูที่ดสี อน ครูที่
ยิ่งใหญ่สร้างแรงบันดาลใจ (good teachers teach, great teachers inspire)” และได้ให้ทัศนะต่อ
การเป็นครูที่ยิ่งใหญ่ว่ามีลักษณะ ดังนี้
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 51

1) สอนคนอื่นให้ประสบความสาเร็จด้วยตนเอง (teaching others to find success


themselves) ไม่มุ่งแต่การสอน แต่มุ่งการเป็นพี่เลี้ยง เพื่อให้ผู้เรียนรับรู้ถึงความสามารถที่จะ
เป็นอะไรได้มากกว่าที่พวกเขาเคยคิดเคยเชื่อ
2) มีทักษะการสอน (have teaching skills) ที่ครูที่ยิ่งใหญ่มงุ่ ปฏิบัติ ได้แก่
2.1) นาสิ่งที่ดที ี่สุดของคนอื่นออกมา (bringing out the best in people) ด้วย
ปฏิสัมพันธ์ในเชิงบวก การจูงใจ และการสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อให้ผู้เรียนแสดงความสามารถ
ออกมาอย่างเต็มที่
2.2) สร้างแรงบันดาลใจในความไว้วางใจ (inspiring trust) เป็นองค์ประกอบสาคัญ
สาหรับการเรียนรู้ การได้รับความใส่ใจและการอุทิศตน
2.3) ทางานเป็นส่วนหนึ่งของทีม (working as part of team) ใช้เทคนิคที่ให้ทุกคน
มีความรู้สึกเรียนรู้ด้วยกัน มีส่วนในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศ หลีกเลี่ยงเทคนิค การสั่ง
หรือให้ปฏิบัติตามโดยขาดการมีส่วนร่วม
2.4) เป็นแบบอย่างที่ดี (being a good role model) ผู้เรียนต้องการมองวิธีการ
ในการจัดการกับสถานการณ์ที่ถูกต้องจากครูมากกว่าการได้ยินเสียงครูพูดว่าทาอย่างไร
3) รู้ถึงความแตกต่าง (know the difference) ระหว่างการจัดการกับภาวะผูน้ า
ตัดสินใจได้ว่าเมื่อไรควรแสดงบทบาทเป็นครูหรือผู้นา เมื่อไรควรเป็นเช่นผู้จัดการหรือผู้ปกครอง
เมื่อไรควรใช้ทักษะการสอนหรือการนา เมื่อไรควรใช้ทักษะการจัดการ
คุรุสภาได้กาหนดคุณลักษณะของครูที่ดี โดยออกข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณ
ของวิชาชีพ พ.ศ. 2556 ดังนี้
1) ครูต้องมีวนิ ัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทัน
ต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
2) ครูต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดขี อง
องค์กรวิชาชีพ
3) ครูตอ้ งรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กาลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ
ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
4) ครูต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัย ที่ถูกต้องดีงามแก่ศษิ ย์และ
ผูร้ ับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
5) ครูต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
6) ครูตอ้ งไม่กระทาตนเป็นปฏิปักษ์ตอ่ ความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์
และสังคมของศิษย์และผูร้ ับบริการ
52 คุณลักษณะของครูที่ดี

7) ครูต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับ
ผลประโยชน์จากการใช้ตาแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
8) ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม
สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
9) ครูพึงประพฤติป ฏิบัติตนเป็นผู้นาในการอนุรัก ษ์และพัฒ นาเศรษฐกิจ สังคม
ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นใน
การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
รัญจวน อินทรกาแหง (2557: 12–14) ได้กล่าวถึงคุณสมบัติของผู้เป็นครูไว้ ดังนี้
1) มีความเมตตากรุณาอย่างแท้จริง กล่าวคือมีความเมตตากรุณาโดยไม่หวังผล
ตอบแทน ไม่คิดทวงคืนจากศิษย์ กระทาอย่างไม่ขาดตอนและไม่ลดละ ทาเพราะรู้ว่าเป็นสิ่งที่
ถูกต้อง ควรทา
2) มีความเป็นกัลยาณมิตรต่อศิษย์ตลอดชีวิต ไม่ว่าศิษย์จะเติบโตเป็นผูใ้ หญ่ หรือมี
ตาแหน่งหน้าที่อย่างใด ครูยัง คงห่วงใยติดตามด้วยความหวังดี ถ้าได้ทราบว่าลูกศิษย์ไปตกอยู่
ในอันตรายหรือตกอยู่ในความเขลา ครูซึ่งเป็นกัลยาณมิตรของศิษย์จะให้คาแนะนา ตักเตือน
ว่ากล่าว เพื่อให้ศษิ ย์ได้ดี มีความเจริญก้าวหน้า
3) มีความซื่อตรงต่ออุดมคติของความเป็นครู ครูต้องมีเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ในการ
มุ่งสร้างสังคม สร้างชาติบ้านเมืองด้วยการสร้างเด็กให้เป็นพลเมืองดี ผลพลอยได้ก็คือการสร้าง
โลกให้น่าอยู่
4) อดทนและเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว ผู้เป็นครูไม่สามารถปฏิเสธการร่วมรับผิดชอบ
ในความเสื่อมและความเจริญของสังคมที่เกี่ยวข้องได้ ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าสภาวะของ
สังคมที่เป็นปัจจุบันไม่ใช่ผลิตผลของการศึกษา ครูยังต้องเป็นผูเ้ สียสละเห็นแก่ธรรมะและความ
ถูกต้องของสังคม
5) เป็นเสมือนประภาคารหรือดวงประทีปของศิษย์ ครูเป็นผู้พัฒนาจิตของศิษย์ให้มี
สติปัญญาอันถูกต้องเป็นสัมมาทิฏฐิ ในทางธรรมเปรียบความสาคัญของสัมมาทิฏฐิว่าจะช่วย
ไม่ให้ชีวิตนั้นหลงทาง จะรู้ว่าอะไรคือความถูกต้อง แม้มีปัญหาอุปสรรคเกิดขึ้นก็แก้ไขได้ด้วย
สติปัญญา
ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์ (2558: 303–308) ได้กล่าวถึงลักษณะของครูมอื อาชีพไว้ ดังนี้
1) มีความรู้ดี องค์ประกอบด้านความรู้ ได้แก่ ความรู้ในส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระใน
ศาสตร์หรือวิชาที่ตนเองสอน และความพื้นฐานในกลุ่มสาขาวิชาเฉพาะ ได้แก่ ความรูด้ ้านภาษา
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 53

คณิตศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เป็นต้น และความรูใ้ นส่วนที่เป็นศาสตร์การสอนเป็นสิ่งสาคัญที่


จะช่วยให้ครูสามารถถ่ายทอดเนือ้ หาความรูไ้ ด้อย่างดี
2) มีค วามสามารถในการปฏิบัติการสอน องค์ป ระกอบด้านการปฏิบัติการสอน
ได้แก่ ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เช่น การ
วางแผนการจัดการเรียนการสอน วิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบการสอน กิจกรรมและเทคนิค
การสอน แหล่งการเรียนรู้และสื่อการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผล และการพัฒนา
กระบวนการจัดการเรียนรู้
3) มีคุณธรรม จริยธรรม ความเป็นครู มีความสามารถในการพัฒนาตนและบุคคล
อื่นให้เป็นคนที่มีจิตใจดี การมีจิตใจดีเป็นเกณฑ์หลักที่ใช้ในการตัดสินการเป็นคนดีทั้งทางวิชาชีพ
และทางสังคม ครูทุกคนจึงต้องเป็นผู้นาทางจิตใจ ซึ่งประกอบด้วยการมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู
มีเจตคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานวิชาชีพครู มีเจตคติที่ดีต่อศิลปวัฒนธรรมไทย มีความเป็นผู้นา และ
มีคุณธรรมจริยธรรม
4) มีมนุษยสัมพันธ์ดี สามารถทางานร่วมกับผู้อื่นได้ดี สามารถสร้างมนุษยสัมพันธ์
กับบุคลากรภายในสถานศึกษาทั้งเพื่อนครู นักเรียน ผู้บริหาร และยังสามารถสร้างความสัมพันธ์
ที่ดกี ับบุคคลภายนอกด้วย ได้แก่ ผูป้ กครองและคนในชุมชน
สรุปได้ว่า คุณลักษณะของครูที่ดีตามแนวคิดของนักการศึกษา ประกอบด้วยคุณลักษณะ
ที่สาคัญ ได้แก่ การมีความรู้ดี โดยมีความรู้ทั้งศาสตร์ที่เป็นเนื้อหาและศาสตร์ทางการศึกษา
การมีบุคลิกภาพดี และการมีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู

คุณลักษณะของครูที่ดีจากผลการวิจัย

มีผู้วจิ ัยเกี่ยวกับคุณลักษณะของครูที่ดี มีดังนี้


เฉลียว บุรีภักดี และคณะ (2520: 363-465 อ้างถึงใน ยนต์ ชุ่มจิต. 2553: 138–139)
ได้ศึกษาวิจัยคุ ณลักษณะของครูที่ดี โดยรวบรวมข้อมูลจากนักเรียน ผู้ปกครอง ครูอาจารย์
ผู้บริหาร พระภิกษุ และผู้ทรงคุณวุฒิ จานวนทั้งสิ้น 7,762 คน พบว่าคุณลักษณะของครูที่ดี
เรียงลาดับความสาคัญ ดังนี้ 1) ความประพฤติเรียบร้อย 2) ความรู้ดี 3) บุคลิก ลักษณะและ
การแต่งกายดี 4) สอนดี 5) ตรงเวลา 6) มีความยุติธรรม 7) หาความรู้อยู่เสมอ 8) ร่าเริงแจ่มใส
9) ซื่อสัตย์ และ 10) เสียสละ
มยุรี เศวตนัย (2542: 70-71) ได้ทาวิจัยเรื่องคุณ ลักษณะของครูที่ดีตามแนวคิดของ
นักเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนประถมศึกษา จานวน
54 คุณลักษณะของครูที่ดี

500 คน ผลการวิจัยพบว่าคุณลักษณะของครูที่ดีมี ดังนี้ 1) ด้านบุคลิกภาพ ประกอบด้วยครู


ควรรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีความรู้ดี แต่งกายสะอาด สุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส มีอารมณ์ดี 2) ด้าน
วิชาชีพครู ประกอบด้วยครูควรวางตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี สอนดี สอนให้นักเรียนแก้ปัญหาได้
มีประชาธิปไตย 3) ด้านคุณธรรม จริยธรรม ประกอบด้วยครูควรเป็นผู้ให้คาปรึกษา ให้ความ
ยุติธรรม ให้อภัย เห็นคุณค่าของศิษย์ มีความซื่อสัตย์สุจริต และเมตตากรุณาแก่ศิษย์ทุกคน
Susan Thompson, John G. Greer and Bonnie B. Greer (2004: 1–11) ได้วิจัยคุณลักษณะ
ความเป็นครูที่ดี พบว่า 1) มีความยุติธรรม 2) มีทัศนคติที่ดี 3) มีความพร้อมในการสอน 4) มี
ความเข้าใจเห็นอกเห็นใจผู้เรียน 5) มีอารมณ์ขัน 6) มีความคิดสร้างสรรค์ 7) มีความรับผิดชอบ
8) มีความเมตตารู้จักให้อภัยนักเรียน 9) เคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 10) มีความ
คาดหวังสูง 11) เข้าใจถึงความแตกต่างของผูเ้ รียน 12) มีความรูส้ ึกร่วมเป็นเจ้าของ
ธัญญาภรณ์ สมบูรณ์ (2548: 90) ได้ทาการวิจัยเรื่องคุณลักษณะของครูที่ดีตามความคิด
เห็นของนักเรียนโรงเรียนเอกชน ระดับประถมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3
ผลการวิจัยพบว่านักเรียนให้ความสาคัญเกี่ยวกับคุณลักษณะของครูที่ดีด้านคุณธรรมจริยธรรม
มากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านวิชาชีพและด้านบุคลิกภาพ ตามลาดับ ในด้านคุณธรรมจริยธรรม
นักเรียนให้ความสาคัญเรื่องความรับผิดชอบต่อหน้าที่การสอน ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์
สุจริตและตั้งใจสอนนักเรียน ด้านวิชาชีพนักเรียนให้ความสาคัญเรื่องมีความ สามารถอธิบาย
บทเรียนให้นักเรียนเข้าใจได้ง่าย วางตนเป็นแบบอย่างที่ดี และนักเรียนสามารถสอบถามข้อสงสัย
เกี่ยวกับการเรียนได้ตลอดเวลา และด้านบุคลิกภาพ นักเรียนให้ความสาคัญเรื่องบุคลิก การ
แต่งกายดี สะอาด เรียบร้อย เหมาะสมกาลเทศะ ใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง และมีหน้าตา
ยิ้มแย้มแจ่มใส
อุไรวรรณ จันทรสวัสดิ์ (2552: 81-82) ได้ทาวิจัยเรื่องคุณลักษณะของครูผู้สอนที่ดีตาม
ความคิดเห็นของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาพาณิชยกรรม ผลการวิจัยพบว่า
คุณลักษณะของครูที่ตรงกับความคิดเห็นของนักเรียนมากที่สุดคือด้านการให้บริการด้วยความ
จริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตาแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
รองลงมาคือด้านการประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา ใจ ด้านการไม่กระทาตน
เป็นปรปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์ ด้านความรัก
ความเมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ให้กาลังใจ และด้านการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัย
ที่ถูกต้องดีงาม
ดวงพร ดุษฎี บรรจง เจริญสุข และวันชัย ธรรมสัจกร (2559: 44) ได้ทาการวิจัยเรื่อง
คุณลักษณะของครูสอนดีในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะของครูสอน
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 55

ดีมี 30 ลักษณะ จาแนกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มคุณลักษณะมีความรู้ดี ประกอบด้วย เป็นบุคคล


แห่งการเรียนรู้ พัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง ศึกษาหลักสูตรอย่างกระจ่าง มีทักษะในการใช้ไอซีที
การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ มีผลงานเชิงประจักษ์ ใช้หลักจิตวิทยาในการจัดการเรียนรู้ และมี
ภาวะผูน้ าครู 2) กลุ่มคุณลักษณะการสอนดี ประกอบด้วย เป็นผู้ประสานและอานวยความสะดวก
วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล จัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหา ใช้วิธีสอนอย่างหลากหลาย
สื่อสารได้อย่างแคล่วคล่องชัดเจน ติดตามพฤติกรรมผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง สร้างบรรยากาศให้เอื้อ
ต่อการเรียนรู้ ยึดหลักประชาธิปไตย ยึดแนวทางการประเมินตามสภาพจริง จัดการเรียนรู้ที่เน้น
ผูเ้ รียนเป็นสาคัญ ทาวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ไขพัฒนา และทางานเป็นทีม และ 3) กลุ่มคุณลักษณะ
การปฏิบัติตนดี ประกอบด้วย มีจิตวิญญาณความเป็นครู การเป็นครู ได้ตลอดเวลา มีคุณธรรม
จริยธรรมและจรรยาบรรณครู นาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดาเนินชีวิต ให้
การช่วยเหลือเพื่อนครู ให้กาลังใจผู้เรียน วางตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีวินัยต่อตนเอง มีส่วนร่วม
ในการอนุรักษ์ส่งิ แวดล้อม และเป็นบุคคลที่ตรงต่อเวลา
เรืองวิทย์ นนทภา (2559: 149) ได้ทาการวิจัยเรื่องคุณลักษณะของครูที่ผู้เรียนประทับใจ:
ต้นแบบครูดี ผลการวิจัยพบว่าคุณลักษณะของครูมัธยมศึกษาที่ผู้เรียนประทับใจ ประกอบด้วย
5 ด้าน ได้แก่ 1) คุณลักษณะส่วนตน ประกอบด้วย (1) แต่งกายเรียบร้อย สวยงามสมวัย สะอาด
ดูภูมิฐาน กระฉับกระเฉง (2) พูดเสียงดัง ไพเราะ สุภาพเรียบร้อย เป็นกันเอง อัธยาศัยดี ทักทาย
นักเรียนทุกคน (3) ดุ เจ้าระเบียบ แต่ใจดี ตรงไปตรงมา มีความจริงใจ และ (5) ดูแลเอาใจใส่
นักเรียน ติดตามนักเรียนที่มีปัญหาการเรียน การดาเนินชีวิต เป็นที่ปรึกษาและให้ความช่วยเหลือ
ด้วยความเต็มใจ 2) ด้านการสอน ประกอบด้วย (1) สอนสนุก มีอารมณ์ขัน มีมุขตลก มีความสุข
เมื่อได้เรียนกับครู เรียนแล้วไม่เครียด (2) สนับสนุนผลักดันให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม
หลายอย่าง (3) สามารถสอนสิ่งยากให้เข้าใจง่าย ทาให้นักเรียนอยากติดตามแล้วเรียนมากยิ่งขึ้น
(4) นาประสบการณ์ ความรู้ใหม่ ๆ ประยุกต์ใช้ในการสอนได้หลากหลาย และ (5) สอนซ่อมเสริม
ให้นักเรียนที่ต้องการความรู้เพิ่มขึ้น และช่วยติวนักเรียนที่ได้เกรด 0 ให้ผ่าน 3) ด้านวิชาการ
ประกอบด้วย (1) มีความรู้ในสิ่งที่สอนอย่างแตกฉาน นักเรียนสงสัยเรื่องใดสามารถอธิบายได้
อย่างไม่ติดขัด (2) ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ และ (3) มีความสามารถพิเศษเฉพาะทาง
ได้แก่ ดนตรี กีฬา 4) ด้านจรรยาบรรณ ประกอบด้วย (1) เคร่งครัดเกี่ยวกับระเบียบวินัย (2) เน้น
การมีมารยาท การประหยัด (3) ตรงต่อเวลา ยุติธรรม เสียสละ ซื่อสัตย์ (4) มีความรับผิดชอบ
ต่อหน้าที่ (5) มีความเมตตาต่อศิษย์อย่างเท่าเทียมกัน และ (6) เคารพในสิทธิส่วนบุคคลของ
นักเรียน ไม่พูดเหน็บแนบศิษย์ เมื่อศิษย์ทาผิดจะตาหนิโดยใช้เหตุผลและแสดงออกถึงความรัก
ความปรารถนาดี และ 5) ด้านมนุษยสัมพันธ์ ประกอบด้วย (1) มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนครู
56 คุณลักษณะของครูที่ดี

และนักเรียน (2) มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง (3) ไปเยี่ยมบ้านพบผู้ปกครอง และ (4) ช่วย


แนะแนวการเข้าศึกษาต่อ แนะนาการเรียนให้ประสบความสาเร็จ ช่วยหาที่เรียนต่อให้กับนักเรียน
หลังจบการศึกษา
กฤษฎิ์ ยืนสุข (2560: 224-225) ได้ทาการวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาลักษณะความ
เป็นครูที่ดีของท้องถิ่น โดยกระบวนการ Six Sigma ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะความเป็นครู
ดีของท้องถิ่นมี 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านความรู้ คือ มีความรู้ที่แตกฉานในวิชาที่ตนเองสอน
ตลอดจนวิชาในแขนงต่าง ๆ ที่เกี่ยวพันธ์ มีการเชื่อมโยงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของแต่ละวิชา มี
การเตรียมความพร้อมทั้งความรู้ สื่อการสอนและวิธีการสอน 2) ด้านความสามารถในการสอน
คือต้องมีการเตรียมการสอน มีวิธีการสอนและอธิบายหลากหลาย อาทิ มีสื่อการสอน กิจกรรม
กลุ่ม การทดลอง การออกไปสัมผัสกับสถานที่จริง ตลอดจนครูจะต้องมีความเป็นกันเอง เพื่อที่จะ
ให้การถ่ายทอดความรูเ้ ป็นไปในทางที่ดี และ 3) ด้านคุณธรรมจริยธรรม คือ มีความอดทน ขยัน
หมั่นเพียร มีความเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มี
ความเป็นระเบียบและตรงเวลา เรียบง่าย สนุกสนาน ตลอดจนมีอุดมการณ์และจรรยาความ
เป็นครู
ชนกพร จานวน (2560: 157) ได้ทาการวิจัยเรื่องคุณลักษณะของครูผู้สอนนักเรียนที่มี
ความต้องการพิเศษเรียนร่วมกับนักเรียนปกติระดับประถมศึกษา ผลการวิจัย พบว่าคุณลักษณะ
ของครูผู้สอนมี 5 องค์ประกอบ ค่าน้าหนักขององค์ประกอบทั้ง 5 องค์ประกอบมีค่าเป็นบวก
เรียงลาดับ ดังนี้ 1) องค์ประกอบด้านการจัดการเรียนการสอน 2) องค์ประกอบด้านความรู้ความ
สามารถ 3) องค์ประกอบด้านความสาเร็จของการเรียนร่วม 4) องค์ประกอบด้านบุคลิกภาพ
และอารมณ์ และ 5) องค์ประกอบด้านคุณธรรมจริยธรรม ตามลาดับ
สุนันท์ สีพาย (2562: 252-253) ได้ศึกษาคุณลักษณะของครูที่ดีในศตวรรษที่ 21 ใน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าคุณลักษณะของครูที่ดีในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 11 มาตรฐาน
ได้แก่ 1) รายงานผลการพัฒนาผู้เรียนและการพัฒนาสื่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีระบบ 2) ร่วมมือ
กับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน 3) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผล
จริง 4) ปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคานึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ 5) ปฏิบัติ
ตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน 6) ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่
เสมอ 7) แสวงหาและใช้ข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาวิชาชีพครู 8) ค่านิยมที่ดีงาม 9) ปฏิบัติ
กิจกรรมต่าง ๆ โดยคานึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียน 10) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนา
ผูเ้ รียน และ 11) การพัฒนาตนเองเกี่ยวกับวิชาชีพครู
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 57

จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า คุณ ลักษณะของครูที่ดีมี 5 องค์ป ระกอบหลัก ได้แก่ ด้าน


คุณลักษณะส่วนตน ด้านการสอน ด้านวิชาการ ด้านจรรยาบรรณ และด้านมนุษยสัมพันธ์

การสังเคราะห์คุณลักษณะของครูที่ดี

จากแนวคิดคุณ ลักษณะของครูที่ดีตามแนวคิดของนักการศึกษาและหน่วยงาน จาก


ผลการวิจัย ผูเ้ ขียนนาแนวคิดดังกล่าวมาสังเคราะห์คุณลักษณะของครูที่ดี ปรากฏผล ดังนี้

ตารางที่ 3.1 การสังเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะของครูที่ดี

12) ดวงพร ดุษฎีและคณะ (2559)


10) รัญจวน อินทรกาแหง (2557)
7) อุไรวรรณ จันทรสวัสดิ์ (2552)
5) ธัญญาภรณ์ สมบูรณ์ (2548)

11) ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์ (2558)

13) เรืองวิทย์ นนทภา (2559)


ชื่อนักการศึกษา
4) ธีรศักดิ์ อัครบวร (2543)

8) วิไล ตั้งจิตสมคิด (2554)

15) ชนกพร จานวน (2560)


1) เฉลียว บุรีภักดี (2520)

3) วิจติ ร ศรีสอ้าน (2541)

16) สุนันท์ สีพาย (2562)


14) กฤษฎิ์ ยืนสุข (2560)
2) มยุรี เศวตนัย (2542)

9) Whitaker (2012)
6) สพฐ. (2552)

องค์ประกอบ

ความถี่
1. ด้านความรู้   17
-ความรู้ดี       
-ภูมิรู้   
-หาความรู้อยู่เสมอ 
-มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์
  
และตัดสินอย่างมีเหตุผล
-สอนคนอื่นให้ประสบความ

สาเร็จด้วยตนเอง
-วิชาการ 
-ความรู้ความสามารถ   
-ความสาเร็จของการเรียนร่วม   
-การส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้
  
ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงาม
-ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการ
เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่   
เสมอ
-แสวงหาและใช้ข้อมูล
  
สารสนเทศในการพัฒนาวิชาชีพครู
2. ด้านคุณธรรม จริยธรรม   37
-มีคุณธรรม จริยธรรม     
-รับผิดชอบต่อหน้าที่ 
-ภูมิธรรม 
-มีความยุติธรรม   
-ให้อภัย 
58 คุณลักษณะของครูที่ดี

12) ดวงพร ดุษฎีและคณะ (2559)


10) รัญจวน อินทรกาแหง (2557)
7) อุไรวรรณ จันทรสวัสดิ์ (2552)
5) ธัญญาภรณ์ สมบูรณ์ (2548)

11) ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์ (2558)

13) เรืองวิทย์ นนทภา (2559)


ชื่อนักการศึกษา

4) ธีรศักดิ์ อัครบวร (2543)

8) วิไล ตั้งจิตสมคิด (2554)

15) ชนกพร จานวน (2560)


1) เฉลียว บุรีภักดี (2520)

3) วิจติ ร ศรีสอ้าน (2541)

16) สุนันท์ สีพาย (2562)


14) กฤษฎิ์ ยืนสุข (2560)
2) มยุรี เศวตนัย (2542)

9) Whitaker (2012)
6) สพฐ. (2552)
องค์ประกอบ

ความถี่
-ซื่อสัตย์สุจริต   
-เมตตากรุณา  
-ความรัก ความเมตตา เอาใจใส่

ช่วยเหลือ ให้กาลังใจ
-เสียสละ  
-อดทน 
-ความมีระเบียบวินัย 
-ตรงต่อเวลา 
-มีความเป็นกัลยาณมิตรต่อศิษย์ 
-มีความซื่อตรงต่ออุดมคติ

ความเป็นครู
-ขยัน ประหยัดและยึดมั่น

ในสัมมาอาชีพ
-ความสานึกในหน้าที่และ

การงานต่าง ๆ
-มีความสามารถ

ในการพึ่งพาตนเอง
-ภาคภูมิใจและรู้จัก

ทานุศิลปวัฒนธรรม
-เป็นผู้ให้คาปรึกษา 
-เป็นดวงประทีปของศิษย์ 
-ความเสียสละและเมตตาอารี 
-จรรยาบรรณ 
-การไม่กระทาตนเป็นปรปักษ์ต่อ
ความเจริญทางกาย สติปัญญา 
จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์
-การให้บริการด้วยความจริงใจ
 
และเสมอภาค
-ค่านิยมที่ดีงาม 
-การพัฒนาตนเองเกี่ยวกับ

วิชาชีพครู
3. ความสามารถในการจัด 14
การเรียนรู้
-มีความสามารถ
 
ในการปฏิบัติการสอน
-สอนดี    
-วิชาชีพ 
-การจัดการเรียนการสอน 
-มีทักษะการสอน   
-การสอน   
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 59

12) ดวงพร ดุษฎีและคณะ (2559)


10) รัญจวน อินทรกาแหง (2557)
7) อุไรวรรณ จันทรสวัสดิ์ (2552)
5) ธัญญาภรณ์ สมบูรณ์ (2548)

11) ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์ (2558)

13) เรืองวิทย์ นนทภา (2559)


ชื่อนักการศึกษา

4) ธีรศักดิ์ อัครบวร (2543)

8) วิไล ตั้งจิตสมคิด (2554)

15) ชนกพร จานวน (2560)


1) เฉลียว บุรีภักดี (2520)

3) วิจติ ร ศรีสอ้าน (2541)

16) สุนันท์ สีพาย (2562)


14) กฤษฎิ์ ยืนสุข (2560)
2) มยุรี เศวตนัย (2542)

9) Whitaker (2012)
6) สพฐ. (2552)
องค์ประกอบ

ความถี่
-รายงานผลการพัฒนาผู้เรียน
และการพัฒนาสื่อการจัดการ   
เรียนรู้อย่างมีระบบ
-พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ให้
  
สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
-ปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดย
คานึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียนให้   
เต็มตามศักยภาพ
-การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่
  
การพัฒนาผู้เรียน
4. ด้านบุคลิกภาพ 23
-มีมนุษยสัมพันธ์  
-แต่งกายสะอาด 
-เป็นแบบอย่างที่ดี 
-การประพฤติตนเป็นแบบอย่าง

ที่ดี ทัง้ ทางกาย วาจา ใจ
-ภูมิฐาน 
-มีบุคลิกภาพดี   
-บุคลิก ลักษณะ และ

การแต่งกายดี
-ร่าเริงแจ่มใส  
-อารมณ์ดี 
-มีประชาธิปไตย 
-กระตือรือร้นในการปกครอง

ระบอบประชาธิปไตย
-มีพลานามัยสมบูรณ์ 
-ความประพฤติเรียบร้อย  
-ปฏิบัติตนดี 
-รู้ถึงความแตกต่างระหว่าง

การจัดการกับภาวะผูน้ า
-คุณลักษณะส่วนตน 
-ร่วมมือกับผูอ้ ื่นอย่าง
สร้างสรรค์ในชุมชน 

-ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่

ผูเ้ รียน

จากตารางที่ 3.1 การสังเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะของครูที่ดี สามารถจาแนกออก


ได้ 4 องค์ประกอบ โดยองค์ประกอบที่มีความถี่สูงสุด ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม รองลงมา
60 คุณลักษณะของครูที่ดี

ได้แก่ ด้านบุคลิกภาพ ด้านความรู้ และด้านความสามารถในการจัดการเรียนรู้ ตามลาดับ ซึ่ง


แต่ละด้านมีรายละเอียด ดังนี้
1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม เป็นผูท้ ี่มีความสามารถในการพัฒนาตนและบุคคลอื่นให้
เป็นคนที่ มีจิตใจดี มีเจตคติที่ดีต่อศิลปวัฒนธรรมไทย มีความเป็นผู้นา มีความซื่อสัตย์สุจริต
ยุติธรรม เสียสละ มีระเบียบวินัย ตรงเวลา ขยัน ประหยัดและมีคุณธรรมจริยธรรม
2) ด้านบุคลิกภาพ เป็นผู้ที่สามารถทางานร่วมกับผูอ้ ื่นได้ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีทั้งกับ
เพื่อนครู นักเรียน ผูบ้ ริหาร ผูป้ กครองและคนในชุมชน มีบุคลิกลักษณะดี แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
พูดจาไพเราะ ร่าเริงแจ่มใส มีพลานามัยสมบูรณ์ วางตนได้อย่างเหมาะสม ถูกกาลเทศะ ตลอดจน
มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู
3) ด้านความรู้ เป็นผู้ที่มีความรู้ในส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระในศาสตร์วิชาที่ จะสอน และ
ความรู้ในศาสตร์การสอน ซึ่งเป็นสิ่งสาคัญในการถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ รวมทั้งมีความคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์และหาความรูอ้ ยู่เสมอ
4) ด้านความสามารถในการจัดการเรียนรู้ เป็นผู้ที่มีความสามารถในการจัดการเรียน
การสอนและการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เช่น มีการเตรียมการสอน มีวิธีการจัด กิจกรรม
การเรียนรูท้ ี่หลากหลาย มีการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้ และการวัดผลและ
ประเมินผลการเรียนรู้
องค์ประกอบคุณลักษณะของครูที่ดีที่กล่าวมา สามารถสรุปเป็นแผนภาพได้ ดังนี้

คุณธรรม จริยธรรม

บุคลิกภาพ
คุณลักษณะของครูที่ดี
ความรู้

ความสามารถในการจัดการเรียนรู้

ภาพที่ 3.1 องค์ประกอบคุณลักษณะของครูที่ดี


รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 61

ขอบข่ายเนื้อหาการพัฒนาคุณลักษณะของครู

การพัฒนาคุณลักษณะของครูควรให้ครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน (เกษม วัฒนชัย. 2549:


175-177; พระพรหมคุ ณาภรณ์ (ป.อ.ปยุ ตฺโต. 2553: 11-15; กิตติชัย สุธาสิโนบล. 2560: 85)
ดังนี้
1. การพัฒนาคุณลักษณะของครูด้านการแสวงหาความรูท้ างวิชาการ ดังนี้
1.1 การอ่าน ครูจะต้องพัฒนาการอ่านทางวิชาการ ทั้งด้านเทคนิคการอ่านและ
ขอบข่ายของการอ่าน
1.2 การประชุมสัมมนาทางวิชาการ ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งของการพัฒนาความรู้ โดย
มีกิจกรรมการสัมมนาหลายลักษณะ เช่น การบรรยายพิเศษ การเสนอบทความทางวิชาการ
การประชุมปฏิบัติการ
1.3 การศึกษาอบรมโดยระบบทางใกล้และระบบทางไกล
2. การพัฒนาคุณลักษณะของครูด้านการเปลี่ยนแปลง เป็นการพัฒนาทักษะในการ
ปฏิบัติตามขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ การรับรู้ การพัฒนาความเข้าใจ การยอมรับ
และการมีส่วนร่วม
3. การพัฒนาคุณลักษณะของครูด้านการสร้างเครือข่าย การพัฒนาด้านนี้มีความจาเป็น
เนื่องจากองค์กรหลักทางการศึกษาได้ปรับเปลี่ยนการพัฒนาครูจากการพัฒนาโดยศูนย์รวมที่
พัฒนาทั่วทั้งประเทศ มาเป็นการกระจายการพัฒนาไปตามภูมิภาค โดยการประสานความร่วมมือ
ระหว่างหน่วยงานและผูท้ ี่เกี่ยวข้อง
4. การพัฒนาคุณลักษณะของครูด้านการพัฒนาตนเองอย่างรอบด้านตามแนวอริยมรรค
ซึ่งเป็นวิธีดาเนินชีวิตที่ประเสริฐ เป็นแนวทางการพัฒนาจิตเพื่อดับความอยากซึ่งทาให้เกิดทุกข์
การพั ฒ นารอบด้าน 8 ประการ ได้แก่ ความเห็นชอบ ดาริชอบ วาจาชอบ การกระท าชอบ
อาชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ และจิตมั่นชอบ
5. การพัฒนาคุณลักษณะของครูด้านการยึดมั่นในหลักธรรม หลักธรรมสาคัญสาหรับ
ครู ได้แก่ หลักธรรมในการครองตน ครองคน ครองงาน โดยมีสาระสาคัญ ดังนี้
5.1 การครองตน มีฆราวาสธรรม 4 เป็นหลักการครองชีวิตของคฤหัสถ์ ประกอบด้วย
1) สัจจะ หมายถึง ความจริง 2) ทะมะ หมายถึง การฝึกใจตนเอง 3) ขันติ หมายถึง ความอดทน
ทางานด้วยความขยันหมั่นเพียร และ 4) จาคะ หมายถึง การเป็นคนใจกว้าง
5.2 การครองคน มีสังคหวัตถุธรรม 4 เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจคน หรือเป็นเครื่อง
ประสานความสามัค คีในหมู่คน ประกอบด้วย 1) ทาน หมายถึง การให้ในหลายรูปแบบ เช่น
62 คุณลักษณะของครูที่ดี

การปลอบใจ การให้สิ่งของ และการให้ความรู้ 2) ปิยวาจา หมายถึง วาจาที่ทาให้คนรัก เช่น


วาจาสุภาพ วาจาที่ทาให้เกิดไมตรีและสามัคคี และวาจาที่มีเหตุมีผลเป็นประโยชน์ 3) อัตถจริยา
หมายถึง การประพฤติหรือการกระทาที่เป็นประโยชน์ เช่น การขวนขวายช่วยเหลือกิจการ รวมทั้ง
การปรับปรุงแก้ไข ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม 4) สมานัตตตา หมายถึง การทาตนเสมอต้ น
เสมอปลาย การปฏิบัติต่อคนเท่าเทียมกัน ในกฎเกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน การร่วมทุกข์ร่วมสุข
ร่วมแก้ไข การวางตนให้เหมาะสมแก่ฐานะ เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อม
5.3 การครองงาน มีอิทธิบาท 4 เป็นเครื่องมือนาไปสู่ความสาเร็จตามความมุ่งหมาย
ประกอบด้วย 1) ฉันทะ หมายถึง ความพอใจในงาน รักที่จะทางาน 2) วิริยะ หมายถึง ความเพียร
ทุ่มเท ขยัน ทางานอย่างต่อเนื่อง อดทน จนงานสาเร็จ 3) จิตตะ หมายถึง ความคิดมุ่งมั่น ตั้งใจ
ทาด้วยความมุ่งมั่น ไม่ปล่อยจิตให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอย และ 4) วิมังสา หมายถึง การไตร่ตรองตั้งแต่
การวางแผน ตรวจสอบ หมั่นใช้ปัญญาใคร่ครวญ ทดลอง แก้ไขปรับปรุง และวัดผลจนงานสาเร็จ

ในทัศนะของผูเ้ ขียน การพัฒนาคุณลักษณะของครู ควรพัฒนาให้ครอบคลุมคุณลักษณะ


ของครูที่ดีทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านบุคลิกภาพ ด้านความรู้ และ
ด้านความสามารถในการจัดการเรียนรู้

กระบวนการพัฒนาคุณลักษณะของครู

กระบวนการพัฒนาคุณลักษณะของครูเป็นกระบวนการดาเนินงานเพื่อให้ครูได้พัฒนา
และเพิ่มพูนความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะ เพื่อให้สามารถจัดการเรียนรู้และปลูกฝัง
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการ
พัฒนาคุณลักษณะของครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน สามารถดาเนินการได้ ดังนี้
1. ขั้นการวางแผนพัฒนา เป็นการเตรียมการก่อนดาเนินการพัฒนาคุณลักษณะของครู
โดยการประชุมครูในสถานศึกษาที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เพื่อร่วมกันการวางแผนในการจัดกิจกรรม
การพัฒนาด้วยการตรวจสอบประเมินคุณลักษณะของครูตามสภาพที่เป็นอยู่ และสภาพที่ต้องการ
ในการพัฒนาต่อจากนั้น ผูใ้ ห้การพัฒนาและผูร้ ับการพัฒนาร่วมกันวางแผนจัดกิจกรรมการพัฒนา
ซึ่งประกอบด้วยผูบ้ ริหารสถานศึกษา ผูเ้ ข้ารับการพัฒนา และผูใ้ ห้การพัฒนาทาข้อตกลงร่วมกัน
2. ขั้นการพัฒนา เป็นการสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึง้ เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการ
พัฒนาที่เกี่ยวข้องหรือส่งผลต่อภารงานที่รับผิดชอบ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีความสาคัญในกระบวน
การพัฒนา ผู้เข้ารับการพัฒนาจะต้องให้ความร่วมมือในการทากิจกรรมต่าง ๆ อย่างเต็มที่ ส่วน
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 63

ผูพ้ ัฒนาจะต้องกระตุ้นให้ผเู้ ข้ารับการพัฒนาร่วมมือในการทากิจกรรม และมีการซักถามเรื่อง


ต่าง ๆ เกี่ยวกับงานหรือสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อเชื่อมโยงผลการทางานที่ผ่านมากับงานที่จะต้อง
ทาต่อไปในอนาคต กิจกรรมหลักในขั้นตอนการพัฒนา ได้แก่
-จัดประชุมเชิงปฏิบัติการด้วยรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลายโดยเน้นการฝึกปฏิบัติ
-ฝึกปฏิบัติดว้ ยการทางานในลักษณะของการวางแผน และกิจกรรม
-การนาผลจากการปฏิบัติไปใช้ในห้องเรียน
-ผูร้ ับการพัฒนาปฏิบัติงานภายใต้คาชีแ้ นะของผู้ให้การพัฒนา
-ผู้ให้การพั ฒนาจะเป็นที่ปรึกษาและให้คาแนะนา เมื่อผู้เข้ารับการพัฒนาปฏิบัติ
หน้าที่รับผิดชอบเสร็จสิ้นแล้ว จะต้องสรุปงานที่ทาเพื่อตรวจสอบความรู้ ความเข้าใจในการ
ปฏิบัติงานแต่ละขัน้ ตอน
3. ขั้นการตรวจสอบ เป็นการสังเกตการปฏิบัติงานและการให้ข้อมูลป้อนกลับหลังจาก
ที่ผู้ให้การพัฒนาให้คาชี้แนะการทางาน ผู้เข้ารับการพัฒนาจะได้รับมอบหมายให้ทากิจกรรมหรือ
ให้ทางาน และจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการทางาน ส่วนผู้ให้การพัฒนาจะทาหน้าที่ตรวจสอบ
ความถูกต้องในการทางานของผู้เข้ารับการพัฒนา โดยผู้ให้การพัฒนาจะไม่ให้ข้อมูลป้อนกลับ
ใด ๆ จนกว่าการทางานนั้นจะสิน้ สุดลง สาหรับกิจกรรมในขั้นตอนการตรวจสอบ ได้แก่
-การบันทึกการสังเกตการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม รวมทั้งปัญหาและอุปสรรค
-การสังเกตการเข้าร่วมกิจกรรมและการจัดกิจกรรมพัฒนาผูเ้ รียน
-การพบกลุ่ม เพื่อร่วมวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ และร่วมสนทนาตามกิจกรรมการ
พัฒนา
-การให้คาปรึกษา เพื่อปรับปรุงการจัดกิจกรรม
-รายงานผลความก้าวหน้าของการพัฒนา
-การประเมินการจัดกิจกรรมพัฒนาเป็นระยะ ๆ เพื่อการปรับปรุงและพัฒนา
4. ขั้นการสะท้อนคิด เป็นการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสะท้อนผลการปฏิบัติงาน
ตามที่ได้รบั การพัฒนา ดังนี้
-การนาเสนอผลงานของผู้เข้ารับการพัฒนาเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะหรือการสะท้อนคิด
-การสรุปผลการพัฒนาในรูปแบบการสะท้อนคิด
-ผูบ้ ริหารสถานศึกษา ผูใ้ ห้การพัฒนา และผูร้ ับการพัฒนาร่วมกันสรุปผลการพัฒนา
5. ขั้นการปรับปรุง เป็นขั้นตอนของการดาเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์
ผลการประเมิน เพื่อการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยการมีส่วนร่วมของผูเ้ กี่ยวข้องในการ
64 คุณลักษณะของครูที่ดี

วิเคราะห์และสรุปข้อบกพร่องของแต่ละครั้งในการจัดกิจกรรม ซึ่งขัน้ ตอนการปรับปรุงนี้อาจจะ


ทาควบคู่ไปกับทุก ๆ ขัน้ ตอนของกิจกรรมการพัฒนา
จากกระบวนการที่กล่าวมา สามารถเขียนเป็นภาพประกอบ ได้ดังนี้

1. การวางแผนพัฒนา

5. การปรับปรุง 2. การพัฒนา
กระบวนการพัฒนาคุณลักษณะ
ของครู โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

4. การสะท้อนคิด 3. การตรวจสอบ

ภาพที่ 3.2 กระบวนการพัฒนาคุณลักษณะของครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

วิธีการประเมินผลการพัฒนาคุณลักษณะของครู

วิธีการประเมินผลการพัฒนาคุณลักษณะของครูอาจดาเนินการได้ ดังนี้ (สมพงษ์


เกษมสิน. 2553: 486-488)
1. การวัดผลก่อน-หลังการพัฒนา จะดาเนินการวัดผลก่อนการพัฒนา (pretest) กับ
การวัดผลหลังการพัฒนา (posttest) แล้วนามาเปรียบเทียบกัน ซึ่งจะทาให้ทราบความแตกต่าง
ของผลการพัฒนาว่าเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใด
2. การจัดตั้งมาตรฐานในการทางาน เพื่อเป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบว่าหลังจากได้รับ
การพัฒนาแล้วจะมีทักษะในการทางานสูงขึน้ หรือไม่ เมื่อบุคคลได้รับการพัฒนาแล้วนาผลการ
ทางานไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานในการทางานที่ตั้งไว้ จะทาให้ทราบว่าผลการพัฒนาเพิ่มขึ้น
หรือไม่
3. การสังเกตจากการทางานที่กาหนดเป็นมาตรฐาน วิธีนี้จะกาหนดลักษณะของงานที่
จะสังเกตเป็นมาตรฐานขึ้น แล้วให้คะแนนในการทางานไว้ หรืออาจสังเกตจากปริมาณผลผลิต
ก็ได้ จากนั้นจึงนาเอาผลที่ได้จากการสังเกตไปกาหนดเป็นมาตรฐาน เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ
กับงานที่มีลักษณะเหมือนหรือใกล้เคียงกัน
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 65

ในทัศนะของผูเ้ ขียน การติดตามและประเมินผลการพัฒนาคุณลักษณะของครู สามารถ


ดาเนินการได้ โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1) การประเมินผลในระหว่างการพัฒนา 2) การ
ประเมินผลหลังการเสร็จสิน้ กระบวนการพัฒนา และ 3) การติดตามและประเมินผลหลังจาก
บุคคลนั้นได้เสร็จสิ้นจากการไปปฏิบัติงานในระยะหนึ่ง เพื่อจะได้ทราบว่าผูน้ ั้นได้นาผลการพัฒนา
ไปใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง

สรุปท้ายบท

คุณลักษณะของครู หมายถึง เครื่องหมายหรือสิ่งที่ชี้ให้เห็นความดีหรือลักษณะประจาตัว


ของบุคคลที่เป็นครู หรือผู้ที่จะมาประกอบวิชาชีพครู คุณลักษณะของครูที่ดีมี 4 ประการ ดังนี้
1) มีคุณธรรม จริยธรรม ครูต้องมีความประพฤติดี เว้นจากอบายมุขทั้งปวง มีจรรยาบรรณและ
คุณ ธรรมสู ง 2) มีบุคลิกภาพที่ดี ครูจะต้องมี บุคลิก ลัก ษณะที่ดี มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู มี
ความรัก และศรัท ธาในวิชาชีพ ครู 3) มีความรู้ดี ครูต้องมีความรู้ในส่วนที่เป็น เนื้อหาสาระใน
ศาสตร์วิชาที่จะสอน และความรู้ในศาสตร์ทางการสอน ซึ่งความรู้ในศาสตร์ทางการสอนเป็นสิ่ง
สาคัญที่จะช่วยให้ครูสามารถถ่ายทอดเนื้อความรู้ได้เป็นอย่างดี และ 4) มีความสามารถในการ
จัดการเรียนรู้ ครูจะต้องมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนและพัฒนากระบวนการ
เรียนรู้
การพัฒนาคุณลักษณะของครู ควรพัฒนาให้ครอบคลุม ด้านการแสวงหาความรู้ทาง
วิชาการ การเปลี่ยนแปลง การสร้างเครือข่าย การพัฒนาตนเองอย่างรอบด้านตามแนวอริยมรรค
และการยึดมั่นในหลักธรรม กระบวนการพัฒนาคุณลักษณะของครู อาจดาเนินการ 4 ขั้นตอน
ได้แก่ ขั้นเตรียมการวางแผนพัฒ นา ขั้นการพัฒนา ขั้นตรวจสอบ ขั้นสะท้อนคิด และขั้นการ
ปรับปรุง สาหรับวิธีการประเมินผลการพัฒนาคุณลักษณะของครูมี 4 วิธี ประกอบด้วยการวัดผล
ก่อน-หลัง การจัดตั้งมาตรฐานในการทางาน การสังเกตจากการทางานที่กาหนดเป็นมาตรฐาน
และการกาหนดมาตรฐานในการทางานโดยการสังเกต
66 คุณลักษณะของครูที่ดี

แบบฝึกหัดท้ายบท

จงตอบคาถามหรือทากิจกรรมต่อไปนี้
1. จงอธิบายคุณลักษณะของครูที่มี “อุดมการณ์ครู”
2. คุณลักษณะของครูที่ดีตามคาสอนในพระพุทธศาสนา นักศึกษาคิดว่าคุณลักษณะ
ด้านใดมีความสาคัญที่สุด เพราะเหตุใด
3. คุณลักษณะของครูที่ดีในบริบทของสังคมไทยปัจจุบันควรมีลักษณะอย่างไร เพราะ
เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
4. คุณลักษณะของครูที่ดีมคี วามสาคัญอย่างไรบ้าง
5. ขอให้นักศึกษาไปสัมภาษณ์คุณครูที่มีผลงานดีเด่น ผู้บริหารโรงเรียน และผูป้ กครอง
นักเรียนเกี่ยวกับคุณลักษณะของครูที่ดีที่สอดคล้องกับสภาพสังคมไทยปัจจุบัน
6. ขอให้นักศึกษานาข่าวจากหนังสือพิมพ์หรือสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับคุณลักษณะของครูที่
ไม่ดี โดยให้นักศึกษาทาการวิเคราะห์ถึงปัญหาดังกล่าว ผลกระทบที่เกิดผล พร้อมเสนอแนวทาง
แก้ปัญหานั้น
7. คุณลักษณะของครูที่ดีในศตวรรษที่ 21 ควรมีลักษณะอย่างไรบ้าง ที่มสี ่วนสาคัญต่อ
การส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรูข้ องผู้เรียน
8. ศึกษาแนวคิดคุณลักษณะของครูที่ดีแนวคิดใดแนวคิดหนึ่ง หรืออาจจะบูรณาการ
หลาย ๆ แนวคิด เพื่อใช้เป็นกรอบในการสร้างแบบวัดคุณลักษณะของครูที่ดี จากนั้นจึงนาไป
เก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งอาจจะเป็นนักศึกษาครูชั้นปีสุดท้าย หรือครูประจาการ
จานวนไม่น้อยกว่า 30 คน เสร็จแล้วทาการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล อภิปรายผลการศึกษา และ
เสนอแนะแนวทางการนาผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์
9. จากผลการศึกษาคุณลักษณะของครูที่ดี (ในข้อ 8) ให้นักศึกษาทาการเปรียบเทียบ
คุณลักษณะที่ได้จากการสารวจกับคุณลักษณะของตนเองว่า “มี” และ “ไม่มี” ในประเด็นใดบ้าง
แล้วทาการวางแผนพัฒนาตนเอง เพื่อให้เกิดคุณลักษณะดังกล่าว
10. ศึกษาแนวคิดกระบวนการพัฒนาคุณลักษณะของครูจากหลาย ๆ แนวคิด แล้วสรุปว่า
มีกี่ขนั้ ตอน อะไรบ้าง และแต่ละขั้นตอนควรมีกิจกรรมอะไรบ้าง
บทที่ 4
การพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู
การพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู เป็นการสร้างความตระหนักและเห็นคุณค่าของ
การเป็นครู ศรัทธาและยึดมั่นในอุดมการณ์แห่งวิชาชีพ เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่าง
ครูกับศิษย์ ความสามารถเชื่อมโยงวิชาการสู่ทักษะชีวิต เพื่อบ่มเพาะความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ของผู้เรียน
สาหรับในบทนีจ้ ะได้นาเสนอเนือ้ หาตามลาดับ ดังนี้ ความหมายของจิตวิญญาณ
จิตวิญญาณในการทางาน ความหมายของจิตวิญญาณความเป็นครู องค์ประกอบของจิตวิญญาณ
ความเป็นครู ปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตวิญญาณความเป็นครู และวิธีการพัฒนาจิตวิญญาณความ
เป็นครู

ความหมายของจิตวิญญาณ

คาว่า “จิตวิญญาณ” (spirituality) มาจากคาว่า “จิต” หมายถึง ใจ สิ่งที่มีหน้าที่รู้คิด


และนึก ส่วนคาว่า “วิญญาณ” หมายถึง สิ่งที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในกายเมื่อมีชีวิต เมื่อตายจะออก
จากกายล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่ หรือความรับรู้ (ราชบัณฑิตยสถาน. 2546: 312, 1074) ดังนั้น
จิตวิญญาณ จึงหมายถึงความรับรู้เกี่ยวกับใจ หรือการรู้สึกนึกคิด นอกจากนี้ ประเวศ วะสี (2546:
8-9) ได้ให้ความหมาย จิตวิญญาณ หมายถึง จิตขั้นสูงคือจิตที่ลดความ เห็นแก่ตัว จิตที่เห็น
แก่ผู้อื่น จิตที่เข้าถึงสิ่ งที่สูงสุดคือนิพพาน หรือพระผู้เป็นเจ้า Snyder and Lopez (2007) ได้ให้
ความหมาย จิตวิญญาณ หมายถึง การหาหนทางที่นาไปสู่การเป็นที่ยอมรับและภาคภูมิใจใน
ตนเอง วัลนิกา ฉลากบาง (2559: 124) ได้ให้ความหมาย จิตวิญญาณ หมายถึง โครงสร้างหนึ่ง
ของมนุษย์ที่ผสมผสานมิติร่างกายและมิติสังคมเข้าด้วยกัน เป็นสิ่งที่ให้ความหมายแก่ชีวิต และ
ช่วยกาหนดแนวทาง การปฏิบัติ ซึ่งมีผลต่อความสุขและความสาเร็จในชีวิตหรือวิชาชีพ ส่วน
ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์ (2561: 84) ได้ให้ความหมาย จิตวิญญาณ หมายถึง ความรู้สึก หรือ
68 การพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู

ความเชื่อที่ลึกซึ่งเกี่ยวกับแก่นแท้ของการดาเนินชีวิตของมนุษย์ โดยลดความเห็นแก่ตัวและเห็น
แก่ผอู้ ื่นมาขึน้ อันจะนาไปสู่การเป็นที่ยอมรับ ความสุขและความภาคภูมใิ จในตนเอง
ในทัศนะของผู้เขียน จิตวิญญาณ หมายถึง ความรับรู้เกี่ยวกับใจ หรือการรู้สึกนึกคิด
เพื่อหาหนทางที่นาไปสู่การเป็นที่ยอมรับและความภาคภูมิใจในตนเอง

จิตวิญญาณในการทางาน

ปัจจัยที่สนับสนุนให้องค์การไปสู่ความสาเร็จได้คือบุคลากรที่มสี มรรถนะสูง โดยปัจจัย


ที่สนับสนุนบุคลากรให้มีสมรรถนะสูงคือสุขภาวะทางจิตวิญญาณ หากองค์การใดให้ความสาคัญ
กับจิตวิญญาณในสถานที่ทางานจะช่วยให้บุคลกรได้มีการพัฒนาตนเอง ซึ่งทาให้เพิ่มศักยภาพ
ในการทางาน อีกทั้งจิตวิญญาณในสถานที่ทางานจะเป็นปัจจัยสาคัญในการสร้างความไว้วางใจ
ระหว่างองค์การกับบุคลากร ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิผลขององค์การ (รัตติกรณ์ จงวิศาลและ
นาชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล. 2560: 169-170)
จากแนวคิดข้างต้นจะเห็นว่าบุคคลจะประสบความสาเร็จได้นั้นจะต้องมี “จิตวิญญาณ
ในการทางาน” ซึ่งมีผู้ให้ความหมายไว้ ดังนี้
Marques (2006: 884-895) ให้ ค วามหมาย จิ ต วิ ญ ญาณในการท างาน หมายถึ ง
ประสบการณ์ที่มีความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างกระบวนการทางาน ซึ่งเริ่มต้นจากความน่าเชื่อถือ
การสัมพันธ์พึ่งพาระหว่างกัน และการเป็นมิตรระหว่าบุคคล ซึ่งก่อให้เกิดความรู้สึกที่ลึกซึ้งจาก
ข้างในจิตใจที่มีความหมายต่อการทางานในองค์การส่งผลให้เกิดแรงจูงใจและผลการปฏิบัติงาน
ขององค์การที่ดีเยี่ยม ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์ (2561: 85) ที่ให้
ความหมาย จิตวิญญาณในการทางาน หมายถึง การรับรู้ของบุคคลที่มีต่อการทางานในด้าน
คุณค่าและความหมายของงานที่ทา และความสัมพันธ์พึ่งพา เกื้อหนุน เป็นมิตรระหว่างบุคคลใน
สถานที่ทางาน
จากความหมายดังกล่าวมา สรุปได้ว่า จิตวิญญาณในการทางาน หมายถึง การตระหนัก
และรับรู้ถึงคุณค่าภายในจิตใจของบุคคลที่มีการหล่อเลี้ยงและได้รับการหล่อหลอมผ่านการ
ทางานที่มีคุณค่าและมีความหมาย และความสัมพันธ์ พึ่งพา เกื้อหนุน เป็นมิตรระหว่างบุคคล
ในสถานที่ทางาน
การอธิบายจิตวิญญาณในการทางาน สามารถอธิบายให้ชัดเจนด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ
ของจิตวิญญาณในการทางาน ดังนี้ (มณฑล สรไกรกิติกูลและสุนันทา เสียงไทย. 2556: 133-
135; นิวัตต์ น้อยมณีและกัญภร เอี่ยมพญา. 2560: 33-35)
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 69

1) ชีวติ ด้านใน หรือชีวติ จิตใจ (inner life) เป็นการอธิบายเพื่อให้เกิดการตระหนักถึง


การรับรู้และการยอมรับถึงการมีชีวิตอีกด้านหนึ่ง หรือชีวิตที่อยู่ภายในจิตใจที่ไม่สามารถมองเห็น
ด้วยตา ดังนั้น ชีวิตด้านใน หรือชีวิตจิตใจจึงเป็นการรับรู้ทางจิตใจถึงการมีอยู่ของอีกบุคคลใน
ตัวมนุษย์ ชีวิตด้านใน หรือชีวิตจิตใจเป็นองค์ประกอบแก่นกลางของมิติทางจิตวิญญาณในการ
ทางาน การมีความหวัง การตระหนักถึงคุณค่าที่ตนเองยึดถื อ การเข้าถึงศักยภาพที่มีอยู่ภายใน
ของมนุ ษ ย์ ความรู้ สึ ก ถึ งคุ ณ ค่ าที่ ตนเองยึ ดถื อ การเข้ าถึ งศั กยภาพที่ มี อยู่ ภายในของมนุ ษ ย์
ความรู้สึกถึงความสุข ความสมบูรณ์ เหล่านี้ล้วนมีจุดกาเนินจาการที่ตระหนักและรู้ถึงการมีอยู่
ของชีวติ ด้านใน หรือชีวติ จิตใจ
2) งานที่มีคุณค่าและความหมาย (meaningful work) การตระหนักและรู้สึกถึงคุณค่า
และความสาคัญของการทางาน การหลอมรวมคุณค่าส่วนตัวเข้ากับคุณค่าหรือผลที่ได้รับจาก
การทางานทาให้เกิดความรู้สึกถึงความสาคัญ ความสุขที่ได้รับจากการทางานเป็นการค้นหา
ความหมายอย่างลึกซึ้งถึงคุณค่าและเป้าหมายของชีวิตที่สัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับการทางาน
ทั้งนี้เมื่อตระหนักถึงคุณค่าและความหมายของการทางานเหล่านี้จะมีผลย้อนกลับมาเสริมแรง
ทาให้รู้สึกถึงความหมายของการมีชีวิตอยู่และคุณค่าในตนเอง ดังนั้น องค์การมีบทบาทสาคัญ
ที่จะทาให้พนักงานในองค์การมีความตระหนักและรู้สกึ ถึงคุณค่าและความหมายของการทางาน
3) สานึกแห่งความเป็นชุมชน (sence of community) การมีอยู่ของชุมชนในองค์การ
เป็นปัจจัยเอื้อที่หล่อเลี้ยงให้สามารถค้นพบและเข้าถึงจิตวิญ ญาณที่ได้รับจากการทางานได้
ดังนั้น สานึกร่วมแห่งความเป็นชุมชนจึงเป็นความสัมพันธ์ที่เกาะเกี่ย วเชื่อมต่อกันอย่างลึกซึ้ง
ของคนในสถานที่ทางาน เป็นความรู้สกึ ถึงการสนับสนุนช่วยเหลือ การมีอสิ ระในการแสดงออก
การเป็นห่วงและอยากดูแลอย่างแท้จริง เป็นสิ่งที่ทาให้เกิดการเชื่อมโยงถึงคุณค่าและความหมาย
ร่วมกันในหมู่สมาชิกของชุมชน
4) การหลอมรวมชีวิตเข้ากับการทางาน (self-work integration) เนื่องจากมิติด้าน
จิตวิญญาณเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสถานที่ทางานหรือองค์การ ดังนั้น จึงต้องมีการหลอมรวมคุณค่า
ของชีวิตเข้ากับการทางานในองค์การ ซึ่งจะทาให้จิตวิญญาณในระดับบุคคลเข้ามาเป็นคุณค่า
ของการท างานในระดับองค์การที่จะไปตอบสนองต่อภารกิ จและวิสัยทัศน์ การที่พนักงานมี
ความสุขและมีชีวิตชีวาในการทางานเปรียบเสมือนการนาตัวตนทั้งชีวิตและจิตวิญญาณทั้งหมด
มาทางาน
โดยสรุป องค์ประกอบของจิตวิญญาณในการทางานมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ชีวิต
ด้านใน หรือชีวิตจิตใจ งานที่มีคุณ ค่าและมีความหมาย สานึก แห่งความเป็นชุมชน และการ
หลอมรวมชีวติ เข้ากับการทางาน
70 การพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู

ความหมายของจิตวิญญาณความเป็นครู
สาหรับ “จิตวิญญาณความเป็นครู” (teacher spirituality) จากการศึกษาพบว่ามีการใช้
คาที่แตกต่างกันไป ได้แก่ จิตวิญ ญาณความเป็นครู จิตวิญ ญาณครู วิญ ญาณครู วิญ ญาณ
ความเป็นครู ในที่น้ีใช้คาว่า จิตวิญญาณความเป็นครู ซึ่งมีผใู้ ห้ความหมาย ดังนี้
สุมน อมรวิวัฒน์ (2535) ให้ความหมาย จิตวิญญาณความเป็นครู หมายถึง การเป็น
กัลยาณมิตร การเป็นผู้นาทางปัญญาและวิญญาณ การมีความเป็นมนุษย์ และดารงค้าจุนความ
เป็นไทย และมีศาสตร์และศิลป์ในการสอน ดารง ประเสริฐกุล (2542: 51) ให้ความหมาย จิต
วิญญาณความเป็นครู หมายถึง ความเชื่อ ความรู้สึกตัว เพื่อกระตุ้นจิตสานึกของครูให้กระทา
ในสิ่งที่ดีงามตามบทบาทหน้าที่ และเกียรติแห่งวิชาชีพครู ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง และปิยวรรณ
วิเศษสุวรรณภูมิ (2553: 31) ให้ความหมาย จิตวิญญาณความเป็นครู หมายถึง คุณลักษณะ
ของบุคคลในการมีจิตใจที่ปฏิบัติตนเพื่อนาไปสู่การเป็นที่ยอมรับและภาคภูมิใจในการถ่ายทอด
ความรู้ให้แก่บุคคลอื่น ดุษฎี โยเหลาและคณะ (2553) ให้ความหมาย จิตวิญญาณความเป็นครู
หมายถึง ลักษณะและภาวะทางจิตที่บุ คคลเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงการมีอุดมการณ์ ในการทางาน
ของครู เข้าถึงและเข้าใจผู้อื่น ศรัทธาต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือในความจริงที่เหนือธรรมชาติ เข้าถึง
คุณค่าของจิตใจมากกว่าวัตถุ ธรรมนันทิกา แจ้งสว่าง (2554: 8) ให้ความหมาย จิตวิญญาณ
ความเป็นครู หมายถึง คุณลักษณะทางจิตและพฤติกรรมการทางานที่สะท้อนถึงการเป็ นครูที่ดี
ส่วนวัลนิกา ฉลากบาง (2559: 124) ให้ความหมาย จิตวิญญาณความเป็นครู หมายถึง จิตสานึก
ตามกรอบคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งทาให้เกิดการใฝ่รู้ ค้นหา สร้างสรรค์ ถ่ายทอด ปลูกฝัง และ
เป็นแบบอย่างที่ดีทั้งของศิษย์ เพื่อนร่วมงาน และคนในสังคม
จากนิยามข้างต้น จะเห็นว่าจิตวิญญาณความเป็นครูประกอบด้วยคุณลักษณะทางจิต
และพฤติกรรมการทางานที่สะท้องถึงการเป็นครูที่ดี ซึ่งจากคานิยามของนักวิชาการดังกล่าวจะ
ปรากฏลักษณะสาคัญที่บ่งชีถ้ ึงการมีจิตวิญญาณความเป็นครู ดังนี้
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 71

ตารางที่ 4.1 สรุปลักษณะสาคัญของจิตวิญญาณความเป็นครูที่ปรากฏในนิยาม

คุณลักษณะทางจิต พฤติกรรม
-การมีจติ ใจที่ปฏิบัติตนเพื่อเป็นที่ยอมรับ -การเป็นแบบอย่างที่ดี
และภาคภูมิใจในการถ่ายทอดความรู้ -การใฝ่รู้ ค้นหา สร้างสรรค์
-การมีความเป็นมนุษย์ -การถ่ายทอด ปลูกฝัง
-การเข้าใจอย่างลึกซึง้ ถึงการมีอุดมการณ์ใน -การเป็นกัลยาณมิตร
การทางานของครู -การเป็นผู้นาทางปัญญา และวิญญาณ
-การศรัทธาต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด
-การเข้าถึงคุณค่าของจิตใจ
-จิตสานึกตามกรอบคุณธรรมจริยธรรม

จากข้อมูลที่กล่าวมา สะท้อนให้เห็นว่าจิตวิญญาณความเป็นครูที่ปรากฏเป็นคุณลักษณะ
ทางจิต จะมีความเกี่ยวข้องกับความคิดที่ มีอิทธิพลต่อวิชาชีพครูที่เด่นชัด ได้แก่ การมีจิตใจที่
ปฏิบัติตนเพื่อเป็นที่ยอมรับและภาคภูมิใจในการถ่ายทอดความรู้ การเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงการ
มีอุดมการณ์ในการทางานของครู การศรัท ธาในวิชาชีพ การมีจิตสานึกตามกรอบคุณ ธรรม
จริยธรรม ในขณะที่จิตวิญญาณความเป็นครูที่ป รากฏเป็นพฤติกรรม ได้แก่ การเป็นแบบอย่าง
ที่ดี การใฝ่รู้ ค้นหา สร้างสรรค์ ถ่ายทอด ปลูกฝัง การเป็นกัลยาณมิตร และความเป็นผู้นาทาง
ปัญญาและจิตวิญญาณ
ในทั ศนะของผู้ เขียน จิ ตวิญ ญาณความเป็ นครู หมายถึง ลักษณะและสภาวะทางจิตที่
บุคคลเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงอุดมการณ์ในการเป็นครู ซึ่งทาให้เกิดการใฝ่รู้ สร้างสรรค์ ถ่ายทอด
ปลูกฝัง และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ เพื่อนร่วมงาน และสังคม

องค์ประกอบของจิตวิญญาณความเป็นครู

มีนักการศึกษาได้ศึกษาองค์ประกอบของจิตวิญญาณความเป็นครู ดังนี้
กิตินันท์ โนสุและเสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (2557: 60-61) ได้ศึกษาองค์ประกอบและ
ตัวบ่งชี้จิตวิญ ญาณความเป็นครู สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัด
ภาคเหนือตอนบน พบว่าจิตวิญญาณความเป็นครูประกอบด้วย 10 องค์ประกอบ ได้แก่ การพัฒนา
ตนเอง ความมีเหตุผลในการปฏิบัติงาน ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การปฏิบัติตามจรรยาบรรณ
72 การพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู

วิชาชีพ ความวิริยะอุตสาหะ ความมีเมตตากรุณา ความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ ความดี ความรัก


ศรัทธาในวิชาชีพ และการปฏิบัติการสอน
สุพิชญา โคทวี (2558: 51-52) ได้สังเคราะห์องค์ประกอบของจิตวิญญาณความเป็นครู
พบว่ามี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ความเสียสละ ความรักศรัทธาในวิชาชีพครู การเป็นแบบอย่างที่
ดีแก่ศิษย์ ความรักเมตตาศิษย์ และความรับผิดชอบ
วัลนิกา ฉลากบาง (2559: 125) ได้กล่าวว่า จิตวิญญาณความเป็นครู มี 5 องค์ประกอบ
ดังนี้ คุณลักษณะส่วนตัวและการมีคุณธรรมจริยธรรม การตระหนักรู้และปฏิบัติตนบนวิถีความ
เป็นครู รัก และศรัทธาในวิชาชีพ ครู ความเชียวชาญในการสอน และการพัฒนาตนเองอย่าง
ต่อเนื่อง
อรอุมา เจริญสุข (2559: 190) ได้วิจัยตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการวัด
จิตวิญญาณความเป็นครูของนิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ. 5 ปี) พบว่าจิตวิญญาณ
ความเป็นครู มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ความรักและ
ปรารถนาดีต่อศิษย์ เป็นผู้ร่วมงานอย่างสร้างสรรค์ ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ การอุทิศตน
ต่อองค์กร ความมุง่ มั่นในการพัฒนาผูเ้ รียน และความมุง่ มั่นพัฒนาตนเองเพื่อวิชาชีพ
กัตติกา ภูหานามและสมพงษ์ พันธุรัตน์ (2560: 254) ได้พัฒนาแบบวัดและเกณฑ์
จิต วิญ ญาณความเป็ น ครูของนั ก ศึ ก ษาคณะศึ ก ษาศาสตร์และครุศ าสตร์ โดยได้ วิ เคราะห์
องค์ป ระกอบเชิงยืนยันจิตวิญ ญาณความเป็นครูมี 4 องค์ป ระกอบ ได้แก่ ความรักในอาชีพ
ความรักและเมตตาลูกศิษย์ ความประพฤติดี และความรูด้ ี
จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์ (2560: 1743) ได้ศึกษาองค์ประกอบจิตวิญญาณความเป็นครูโดย
ได้ทาการทบทวนวรรณกรรม พบว่าจิตวิญญาณความเป็นครูมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรัก
และศรัทธาในวิชาชีพครู เป็นแบบอย่างที่ดีต่อศิษย์ คุณธรรมจริยธรรมครู การเป็นบุคคลแห่ง
การเรียนรู้ และการปฏิบัติตนตามหน้าที่ครู
ปิยะวัฒน์ กรมระรวย และคณะ (2560: 844) ได้วิจัยโมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อ
จิตวิญญาณความเป็นครู โดยได้ศึกษาองค์ประกอบของจิตวิญญาณความเป็นครู พบว่ามี 9
องค์ประกอบ ได้แก่ ความศรัทธาในวิชาชีพ ความรับผิดชอบ ความเสียสละ ความอดทน การรู้
บทบาทหน้าที่ ความมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ ความรักและเมตตาช่วยเหลือต่อศิษย์ ความเข้าใจเคารพ
เห็นคุณค่าในตนเองและผู้อ่นื และการเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม
สจีวรรณ ทรรพวสุ (2560: 4) ได้สร้างกลยุทธ์การพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู เพื่อ
ส่งเสริมความเป็นครูวิชาชีพของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ โดยศึกษาจิตวิญญาณความเป็นครู 6
องค์ประกอบ ได้แก่ ความศรัทธาในตนเองและวิชาชีพครู ความเชื่อมั่นในการพัฒนาศักยภาพ
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 73

ของผู้เรียน ความเป็นกัลยาณมิตรในวิถีแห่งความเป็นครู ปฏิบัติตนและงานในหน้าที่ครู เป็น


บุคคลแห่งการเรียนรู้ และความร่วมมือกับผูอ้ ื่นในสถานศึกษาและชุมชนอย่างสร้างสรรค์
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2560) ได้สรุปลักษณะของครูที่มีจติ
วิญญาณความเป็นครูจะต้องมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ความเอือ้ อาทร ความมีมนุษยสัมพันธ์
ความรับผิดชอบ การวางตนเหมาะสม และทัศนคติที่ดีต่ออาชีพครู
อมรรัตน์ แก่นสาร และคณะ (2560: 11-12) ได้วิจัยเรื่องการพัฒนาตัวบ่งชีจ้ ิตวิญญาณ
ความเป็นครู ของครูสังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าจิตวิญญาณความ
เป็นครูประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ ความผูกพันระหว่างครูกับศิษย์ ความรักและศรัทธา
ในวิชาชีพ การมีจิตวิทยาในการสอน การเป็นแบบอย่างที่ดี การมีคุณธรรมและจริยธรรม การ
ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และมีความเป็นกัลยาณมิตร
ทัศนา ประสานตรี (2561: 156-163) ได้สังเคราะห์องค์ประกอบจิตวิญญาณความเป็นครู
จากแนวคิดของนักวิชาการ พบว่า มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรักความเมตตา ความรับผิดชอบ
หรือการปฏิบัติตามหน้าที่ ความรักศรัทธาในวิชาชีพครู คุณธรรมจริยธรรม ความเสียสละและ
ความอดทน การมีนุษยสัมพันธ์ และการเป็นแบบอย่างที่ดตี ่อศิษย์
พิมุกข์พัฒน์ จิรัชธรรมโชติ (2561: 59) ได้ศึกษาจิตวิญญาณความเป็นครูผู้สอนเด็กที่มี
ความบกพร่องทางการเรียนรู้ พบว่าองค์ประกอบจิตวิญญาณความเป็นครูมี 4 องค์ประกอบ
ได้แก่ การปฏิบัติตนตามหน้าที่ ความเชื่อมั่นในศักยภาพมนุษย์ ความเสียสละในงานครู และการ
ปฏิบัติตอ่ ศิษย์โดยเสมอภาค
ดวงใจ ชนะสิทธิ์ และพงศ์เทพ จิระโร (2562: 297) ได้วิเคราะห์องค์ประกอบจิตวิญญาณ
ความเป็นครูของนัก ศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิท ยาลัยราชภัฏภูมิภาคตะวันตก พบว่าองค์
ประกอบของจิตวิญญาณความเป็นครูมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ รักการสอนมีความสุขในการสอน
รักและศรัทธาในวิชาชีพครู เสียสละจิตอาสา เป็นแบบอย่างที่ดีต่อศิษย์ ช่วยเหลือ เอื้ออาทร
เมตตาต่อศิษย์ และรอบรู้ความเป็นครู
พินโย พรมเมืองและคณะ (2562) ได้สังเคราะห์งานวิจัยด้านจิตวิญญาณความเป็นครู
พบว่า จิตวิญญาณความเป็นครูมีองค์ประกอบ 8 องค์ประกอบ ได้แก่ คุณธรรมจริยธรรม รักและ
ศรัทธาในวิชาชีพ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ มีจิตวิญญาณในการสอน
พัฒนาตนเอง มีตัวแบบทางจิตวิญาณความเป็นครู และมีความสุขกับการทางาน
จากที่กล่าวมาสามารถสังเคราะห์องค์ประกอบของจิตวิญญาณความเป็นครูได้ ดังนี้
74 การพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู

ตารางที่ 4.2 การสังเคราะห์องค์ประกอบของจิตวิญญาณความเป็นครู

9) สานักงานคณะกรรมการการศึกษา แห่งชาติ (2560)


ชื่อนักการศึกษา

1) กิตินันท์ โนสุและเสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (2557)

5) กัตติกา ภูหานามและสมพงษ์ พันธุรัตน์ (2560)

13) ดวงใจ ชนะสิทธิ์และพงศ์เทพ จิระโร (2562)


7) ปิยะวัฒน์ กรมระรวย และคณะ (2560)

10) อมรรัตน์ แก่นสาร และคณะ (2560)

12) พิมุกข์พัฒน์ จิรัชธรรมโชติ (2561)

14) พินโย พรมเมืองและคณะ (2562)


6) จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์ (2560)

8) สจีวรรณ ทรรพวสุ (2560)

11) ทัศนา ประสานตร๊ (2561)


3) วัลนิกา ฉลากบาง (2559)
4) อรอุมา เจริญสุข (2559)
องค์ประกอบ 2) สุพชิ ญา โคทวี (2558)

องค์ประกอบที่คัดสรร
ความถี่

ร้อยละ
1. การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง  4 28.57
-การพัฒนาตนเอง   
-การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง  
-ความมุ่งมั่นพัฒนาตนเองเพื่อวิชาชีพ  
2. ความมีเหตุผลในการปฏิบัตงิ าน 2 14.29
-ความมีเหตุผลในการปฏิบตั ิงาน 
-ปฏิบัติตนและงานในหน้าที่ครู 
3. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  1 1.14
4. ความวิริยะอุตสาหะ 2 14.29
-ความวิริยะอุตสาหะ 
-ความมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ 
5. ความมีเมตตากรุณา 6 42.86 
-ความรักและความเมตตา 
-ความมีเมตตากรุณา 
-ความรักและปรารถนาดีต่อศิษย์ 
-ความรักและเมตตาช่วยเหลือต่อศิษย์ 
-ความรักความเมตตา 
-ช่วยเหลือ เอือ้ อาทร เมตตาต่อศิษย์ 
6. ความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ  1 7.14
7. ความดี  1 7.14
8. ความรักและศรัทธาในวิชาชีพครู 13 92.86 
-ความรักในอาชีพ 
-ความรักศรัทธาในวิชาชีพครู  
-ความรักและศรัทธาในวิชาชีพครู      
-ความศรัทธาในวิชาชีพ  
-ทัศนคติท่ดี ตี ่ออาชีพครู 
-ความศรัธาในตนเองและวิชาชีพครู 
9. ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ 3 21.43
-การปฏิบตั ิการสอน 
-ความเชี่ยวชาญในการสอน 
-ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 
10. ความมีมนุษยสัมพันธ์ 4 28.57
-การมีมนุษย์สัมพันธ์ทดี่ ีและมีความเป็นกัลยาณมิตร 
-ความมีมนุษยสัมพันธ์   
11. การเป็นแบบอย่างทีด่ ี 11 78.57 
-การเป็นแบบอย่างทีด่ ี  
-ปฏิบัติตนอยูบ่ นวิถีแห่งความเป็นครู
-การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ 
-การตระหนักรูแ้ ละปฏิบัตติ นบนวิถีความเป็นครู 
-การเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม 
-การวางตนเหมาะสม 
-ความเป็นกัลยาณมิตรในวิถีแห่งความเป็นครู 
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 75

9) สานักงานคณะกรรมการการศึกษา แห่งชาติ (2560)


ชื่อนักการศึกษา

1) กิตินันท์ โนสุและเสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (2557)

5) กัตติกา ภูหานามและสมพงษ์ พันธุรัตน์ (2560)

13) ดวงใจ ชนะสิทธิ์และพงศ์เทพ จิระโร (2562)


7) ปิยะวัฒน์ กรมระรวย และคณะ (2560)

10) อมรรัตน์ แก่นสาร และคณะ (2560)

12) พิมุกข์พัฒน์ จิรัชธรรมโชติ (2561)

14) พินโย พรมเมืองและคณะ (2562)


6) จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์ (2560)

8) สจีวรรณ ทรรพวสุ (2560)

11) ทัศนา ประสานตร๊ (2561)


3) วัลนิกา ฉลากบาง (2559)
4) อรอุมา เจริญสุข (2559)
2) สุพชิ ญา โคทวี (2558)
องค์ประกอบ

องค์ประกอบที่คัดสรร
ความถี่

ร้อยละ
-ความประพฤติดี 
-การเป็นแบบอย่างทีด่ ีต่อศิษย์   
12. การมีจิตวิทยาในการสอน 2 14.29
-การมีจิตวิทยาในการสอน 
-มีจิตวิญญาณในการสอน 
13. การมีคณ ุ ธรรมและจริยธรรม 5 35.71
-การมีคุณธรรมและจริยธรรม    
-คุณลักษณะส่วนตัวและการมีคุณธรรมจริยธรรม 
14. ความผูกพันระหว่างครูกับศิษย์  1 7.14
15. การรู้บทบาทหน้าที่  1 7.14
16. ความเสียสละ 6 42.88 
-ความเสียสละ  
-การอุทิศตนต่อองค์กร 
-ความเสียสละในงานครู  
-เสียสละ จิตอาสา 
17. ความอดทน  1 7.14
18. ความเอือ้ อาทร  1 7.14
19. ความรับผิดชอบ 9 64.29 
-ความรับผิดชอบ   
-การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่   
-ความมุ่งมั่นในการพัฒนาผู้เรียน 
-ความรับผิดชอบหรือการปฏิบัติตามหน้าที่ 
-การปฏิบัติตนตามหน้าที่ครู 
20. เป็นผู้ร่วมงานอย่างสร้างสรรค์  1 7.14
21. ความเข้าใจเคารพเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น  1 7.14
22. มีตัวแบบทางจิตวิญญาณความเป็นครู  1 7.14
23. มีความสุขกับการทางาน 2 14.29
-มีความสุขกับการทางาน 
-รักการสอน มีความสุขในการสอน 
24. ความเชื่อมั่นในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน 2 14.29
-ความเชื่อมั่นในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน 
-ความเชื่อในศักยภาพมนุษย์ 
25. เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้   2 14.29
26. ความร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษา 1 7.14

และชุมชนอย่างสร้างสรรค์
27. ความรักและเมตตาลูกศิษย์  1 7.14
28. ความรู้ดี  1 7.14
29. การปฏิบัตติ ่อศิษย์โดยเสมอภาค  1 7.14
30. รอบรู้ความเป็นครู  1 7.14
รวม 10 5 5 7 4 5 9 6 5 7 7 4 6 8

จากตารางที่ 4.2 ผู้เขียนได้จัดองค์ประกอบที่มีแนวคิดคล้ายกันไว้ ในกลุ่มเดียวกัน โดย


กาหนดองค์ประกอบที่มีความถี่สูงหรือคิดเป็นร้อยละ 40 ขึ้นไปเป็นองค์ประกอบจิตวิญญาณความ
76 การพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู

เป็นครู ซึ่งพบว่าองค์ประกอบของจิตวิญญาณความเป็นครูมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความรัก


และศรัทธาในวิชาชีพครู 2) การเป็นแบบอย่างที่ดี 3) ความรับผิดชอบ 4) ความมีเมตตากรุณา
และ 5) ความเสียสละ โดยแต่ละองค์ประกอบมีความหมาย ดังนี้
1) ความรักและศรัทธาในวิชาชีพครู หมายถึง การมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพครู มีใจรัก
พึงพอใจ ความเชื่อถือและเลื่อมใสในวิชาชีพ ครู มีความมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่
ว่าจะมาจากศิษย์หรือเพื่อนครู รักความก้าวหน้า และมีความตั้งใจในการพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น
อยู่เสมอ
2) การเป็นแบบอย่างที่ดี หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ระมัดระวัง
ในการกระทาและการพูดของตนอยู่เสมอ ไม่พูดจาก้าวร้าว หยาบคาย ไม่โกรธง่าย กระทาตน
ให้ส อดคล้องกั บ วัฒ นธรรมประเพณี ที่ดีงาม มีกิริยามารยาท และแต่งกายสุภาพเรียบร้อย
เหมาะสมกับกาลเทศะ เพื่อเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนของศิษย์
3) ความรับผิดชอบ หมายถึง ภาระหรือพันธะผูกพันในการจะปฏิบัติหน้าที่การงาน ซึ่ง
แสดงออกโดยความสนใจ เอาใจใส่ ตั้งใจจริงที่จะปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความเพียร
พยายาม อดทนต่ออุปสรรคใด ๆ ที่ขัดข้อง มีการวางแผนงานอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อให้บรรลุ
ตามเป้าหมายที่กาหนด และยอมรับผลการกระทาด้วยความเต็มใจ
4) ความมีเมตตากรุณา หมายถึง การให้ความรู้สึกที่เป็นมิตร เป็นที่พึ่งพาและไว้วางใจ
มีความปรารถนาที่จะให้ศิษย์มีความสุขและเจริญก้าวหน้าทั้งด้านวิชาการและการดาเนินชีวิต
อยากช่วยเหลือให้พ้นจากความทุกข์ ความไม่รู้ แนะนา ให้กาลังใจแก่ศิษย์ มีใจเป็นกลาง ปฏิบัติตน
ต่อศิษย์โดยเท่าเทียมกัน มีจติ ใจโอบอ้อมอารี ให้ความรักและความเมตตาต่อศิษย์ทุกคน
5) ความเสียสละ หมายถึง การสละความสุข ความสะดวกสบาย อุทิศตนทั้งกาลังกาย
กาลังใจและเวลา ตัง้ ใจอบรม สั่งสอน จัดและส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่ศิษย์ด้วยความเต็มใจ โดย
ไม่หวังสิ่งตอบแทนเพื่อประโยชน์ของศิษย์
องค์ประกอบของจิตวิญญาณความเป็นครูที่กล่าวมา สามารถสรุปเป็นแผนภาพได้ ดังนี้
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 77

ความรักและศรัทธาในวิชาชีพครู

การเป็นแบบอย่างที่ดี

จิตวิญญาณความเป็นครู ความรับผิดชอบ

ความมีเมตตากรุณา

ความเสียสละ

ภาพที่ 4.1 องค์ประกอบของจิตวิญญาณความเป็นครู

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจิตวิญญาณความเป็นครู

ปัจจัยที่สง่ ผลต่อจิตวิญญาณความเป็นครูมีหลายปัจจัย ดังนี้


1. ประสบการณ์ในการทางาน ประสบการณ์ในการทางานเป็นปัจจัยที่มอี ิทธิพลต่อ
พฤติกรรมการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การ เนื่องจากระยะเวลาของบุคคลที่ปฏิบัติงาน
มานาน จะมีความเหนื่อยหน่ายน้อยกว่าคนที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานน้อย ทั้งนี้เพราะวัยวุฒิ
และประสบการณ์ที่มากขึ้นจะทาให้บุคคลมองการณ์ไกล สุขุม รอบคอบ และมุ่งมั่นในการปฏิบัติ
หน้าที่
2. ความตัง้ ใจในการประกอบวิชาชีพครู ความตั้งใจในการประกอบวิชาชีพครูเป็นความ
มุ่งมั่น หรือมีจุดมุ่งหมายในการประกอบอาชีพครู ซึ่งมี ผลการวิจัยพบว่าระดับความตั้งใจที่จะ
ประกอบวิชาชีพครูมีความสัมพั นธ์กับ จิตวิญ ญาณครู (ณั ฏฐภรณ์ หลาวทองและปิยะวรรณ
วิเศษสุวรรณภูมิ. 2553: 46)
3. เจตคติต่อวิชาชีพครู เจตคติต่อวิชาชีพครูเป็น ความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ หรือความ
ศรัทธาของบุคคลที่มีต่อวิชาชีพครู โดยครูที่มีพฤติกรรมการทางานสูงมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู
มากกว่าครูที่มีพฤติกรรมการทางานปกติ ครูที่ศรัทธาในวิชาชีพครูจะมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู
ซึ่งครูที่มีจิตวิญญาณความเป็นครูจะมีเจตคติ ที่ดีต่อวิชาชีพครู ดังนั้น เจตคติต่อวิชาชีพครูจึง
ส่งผลต่อจิตวิญญาณความเป็นครู
78 การพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู

4. แรงจูงใจในการทางาน แรงจูงใจในการปฏิบัติงานเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดความพึง
พอใจในการปฏิบัติงาน เพื่อตอบสนองความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจ แรงจูงใจในการ
ปฏิบัติงานจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ครูกระทาพฤติกรรมต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน ถ้าครูได้รับ
การกระตุน่ ในการปฏิบัติงานจะทาให้ครูปฏิบัติงานด้วยความมุ่งมั่น และเต็มกาลังความสามารถ
ซึ่งทาให้เกิดความรักและศรัทธาในวิชาชีพครู ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของจิตวิญญาณความเป็น
ครูนั่นเอง
5. ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์เป็นการปฏิบัติตน
เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ได้แก่ การที่ครูปฏิบัติต่อศิษย์โดยการช่วยเหลือ การดูแลเอา
ใจใส่ การอบรมสั่งสอน การให้คาปรึกษาและแนะแนวทางในสิ่งที่เป็นประโยชน์ แล้วนักเรียนเชื่อฟัง
นาไปปฏิบัติ จะเป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขการพัฒนาความเป็นครูผู้มีจิตวิญ ญาณครู ทั้งนี้เพราะ
ความผูกพันระหว่างครูกับนักเรียนที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะเป็นพลวัตรที่เคลื่อนไปพร้อมกับการ
ปฏิบัติงานในฐานะครูที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนไปเรื่อย ยิ่งปริมาณการติดต่อสัมพันธ์เพิ่ม
มากขึ้นก็ยิ่งจะส่งผลถึงการประเมินค่าทางอารมณ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น ทาให้เกิดแรง
สนับสนุนทางจิตใจต่อการดารงอยู่ในบทบาทของครู และส่งผลต่อการเป็นครูที่มีจิตวิญญาณครู
6. ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับผูบ้ ริหาร ปัจจัยความสัมพันธ์ระหว่างครูกับผูบ้ ริหารเป็น
สิ่งสาคัญที่ส่งผลต่อจิตวิญญาณความเป็นครู เพราะผู้บริหารมีบทบาทในการสนับสนุนให้ครู
สามารถจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าหากครูมีความศรัทธาและเชื่อมั่น
ในตัวผู้บริหารแล้วจะทาให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความราบรื่น เกิดความร่วมมือร่วมใจใน
การปฏิบัติงาน เกิดการทางานเป็นทีม ผู้บริหารจะให้การสนับสนุนส่งเสริมการปฏิบัติงานของครู
ทาให้ครูเกิดขวัญและกาลังใจในการปฏิบัติงาน ซึ่งส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
สูงตามไปด้วย
7. ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับเพื่อนร่วมงาน ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับเพื่อนร่วมงาน
เป็นการปฏิบัติตนของครู เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี ต่อกัน เช่น การให้ความร่วมมือในการ
ทางานร่วมกั น การยอมรับฟั งความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ดีต่อกัน การเห็นอกเห็นใจกั น
การแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทางานร่วมกัน ซึ่งสิ่งเหล่านีจ้ ะส่งผลให้เกิดบรรยากาศที่ดีใน
การทางาน จะจูงใจให้ครูปฏิบัติงานด้วยความทุ่มเท อันจะส่งผลต่อจิตวิญญาณความเป็นครู
จากที่กล่าวมา สรุปได้ว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตวิญญาณความเป็นครูมีหลายปัจจัย ได้แก่
ประสบการณ์ในการทางาน ความตั้งใจในการประกอบวิชาชีพครู เจตคติต่อวิชาชีพครู แรงจูงใจ
ในการทางาน ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ และความสัมพันธ์ระหว่างครูกับผูบ้ ริหาร
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 79

วิธีการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู

จิตวิญ ญาณความเป็นครูต้องได้รับการกระตุ้น ปลูกฝังให้เกิดความตระหนัก รักและ


ศรัทธาในวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความเป็นครูมากกว่าเพียงผู้สอน ซึ่งจะเป็นผู้สร้าง
แรงบันดาลใจ นาพาคนสู่ความเป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์ สาหรับวิธีการพัฒนาจิตวิญญาณความ
เป็นครู เพื่อให้ผปู้ ระกอบวิชาชีพครูเป็นครูที่สมบูรณ์สามารถทาได้หลายวิธี ในที่น้ีจะได้นาเสนอ
5 วิธี ดังนี้
1. การพัฒนาโดยใช้กิจกรรมการฝึกอบรม
การฝึกอบรม (training) หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เพื่อ
สร้าง หรือเพิ่มพูนความรู้ (knowledge) ทักษะ (skill) ความสามารถ (ability) และเจตคติ (attitude)
ของบุคลากร อันจะช่วยปรับปรุงให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น (Goldstein. 1993 อ้างถึง
ใน ชูชัย สมิทธิไกร. 2556: 5) นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างความตระหนัก ขัดเกลานิสัย เพื่อให้เกิด
คุณลักษณะที่ดงี าม
ประเภทของวิธีการฝึกอบรม
วิธีการฝึกอบรมความสามารถจาแนกได้หลายประเภท ซึ่งแนวทางของเครือวัลย์
ลิ่มอภิชาติ (2531: อ้างถึงใน ชูชัย สมิทธิไกร. 2556: 173) ได้จาแนกวิธีการฝึกอบรมเป็น 4
ประเภท ดังนี้
1) วิธีการที่มีวิทยากรเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เช่น การบรรยาย การอภิปรายเป็น
คณะ
2) วิธีการที่มีผู้รับการอบรมเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เช่น การระดมสมอง การศึกษา
การสาธิต
3) วิธีการที่เน้นพัฒนาการเรียนรู้เป็นรายบุคคล เช่น การสอนงาน การใช้คอมพิวเตอร์
ช่วยสอน การสอนโดยใช้โปรแกรมการเรียน
4) วิธีการที่ใช้โสตทัศนูปกรณ์เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เช่น การสอนโดยใช้ภาพยนตร์
การสอนโดยใช้สไลด์/เทป

2. การพัฒนาโดยใช้เพลง
เพลง หมายถึง ถ้อยคาที่นักประพันธ์เรียงร้อย หรือเรียบเรียงขึ้น ซึ่งประกอบด้วย
เนื้อร้อง ทานอง จังหวะ ทาให้เกิดความไพเราะ สร้างความเพลิดเพลินให้แก่ผู้ฟัง มีคุณค่าด้าน
วรรณศิลป์ทั้งด้านการเลือกสรรคาที่ใช้ในการแต่ง การเรียบเรียงประโยค และการใช้โวหาร
80 การพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู

เพลงนั้นอาจให้ข้อคิดแก่ผู้ฟังในการดาเนินชีวิตด้วยสาเนียงขับร้อง ทานอง ดนตรี (Wikipedia.


2560)
เพลงเป็นสื่อที่ดแี ละมีประสิทธิภาพ ช่วยทาให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนการสอน
เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เรียนรู้อย่างมีความสุข ได้รับความรู้อย่างครอบคลุมด้วยเนื้อหา
สาระของเพลง คนที่ชอบร้องเพลงและจาเนื้อเพลงได้มากย่อมสามารถนาความรู้และประสบการณ์
ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวันได้ คติสอนใจและแง่คิดที่แฝงอยู่ในบทเพลง ประกอบกับ
ท่วงทานอง และจังหวะของเพลงจะช่วยกล่อมเกลาจิตใจ และอารมณ์ของเด็กให้เอนเอียงไป
ในทางฝ่ายดี ทาให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ
การนาเพลงมาเป็นกิจกรรมพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู จะช่วยให้เกิดประโยชน์
ดังนี้
1) ช่วยทาให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในสาระและข้อคิดที่นาเสนอของบทเพลง
2) ช่วยให้เกิดความซาบซึง้ ในอรรถรสของภาษา และเนื้อหาของบทเพลง
3) ช่วยพัฒนาทักษะทางภาษาให้ดีข้ึน โดยเฉพาะทักษะการฟังและการอ่าน
4) ช่วยให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ผ่อนคลายความเหนื่อย เมื่อยล้า และ
ความเครียดในการปฏิบัติงาน
5) ช่วยเสริมสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
ในการจัดกิจกรรมโดยใช้เพลงนั้น เมื่อเพลงจบผูด้ าเนินกิจกรรมอาจสนทนาเบา ๆ
เพื่อจุดประกายความคิด หรือกระตุ้นความตระหนักในบทบาทหน้าที่ก็ได้ จากนั้น จึงให้สมาชิก
แต่ละคนแสดงความรู้สึก หรือแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่ได้จากบทเพลงดังกล่าว หรืออาจ
เป็นการสร้างข้อตกลง แนวคิด แนวทางร่วมกันจากบทเพลงก็ได้ หลังจากนั้นให้นาเสนอต่อที่
ประชุม ผู้ดาเนินกิจกรรมร่วมสรุปความคิดและเน้นย้าการนาไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ในงาน
อาชีพ

ตัวอย่างเพลงที่ควรนาไปใช้จัดกิจกรรม
เพลงที่ควรนาไปใช้จัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู ได้แก่ เพลง
แม่พิมพ์ของชาติ (สุเทพ โชคสกุล) เพลงครูกระดาษทราย (คาร้อง: โรจน์ชนา วโรภาษ ทานอง/
เรียบเรียง: รามจิตติ หงสกุล) เพลงพระคุณที่สาม (สุเทพ โชคสกุล) เพลงเทียนส่องฟ้า (นาวาเอก
ทองย้อย แสงสินชัย) เป็นต้น
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 81

เพลง แม่พิมพ์ของชาติ
คาร้อง-ทานอง: สุเทพ โชคสกุล
ขับร้องโดย: วงจันทร์ ไพโรจน์

แสงเรือง ๆ ที่สอ่ งประเทืองอยูท่ ั่วเมืองไทย


คือแม่พมิ พ์อันน้อยใหญ่ โอ้ครูไทยในแดนแหลมทอง
เหนื่อยยากอย่างไร ไม่เคยบ่นไปให้ใครเขามอง
ครูนนั้ ยังลาพอง ในเกียรติของตนเสมอมา
ที่ทางานช่างสุดกันดารในป่าดงไพร
ถึงจะไกลก็เหมือนใกล้ เร่งรุดไปให้ทันเวลา
กลับบ้านไม่ทันบางวันต้องไปอาศัยหลวงตา
ครอบครัวคอยท่า ไม่รู้ว่าไปอยู่ไหน
ถึงโรงเรียนก็เจียนจะสายจวนได้เวลา
เห็นศิษย์รออยูพ่ ร้อมหน้า ต้องรีบมาทาการสอน
ไม่มเี วลาที่จะได้มาหยุดพอพักผ่อน
โรงเรียนในดงป่าดอน ให้โหยอ่อนสะท้อนอุรา
ชื่อของครูฟังดูก็รู้ชวนชื่นใจ งานที่ทาก็ยิ่งใหญ่
สร้างชาติไทยให้วัฒนา
ฐานะของครูใคร ๆ ก็รวู้ า่ ด้อยหนักหนา
ยังสู้ทนอุตส่าห์สั่งสอนศิษย์มาเป็นหลายปี
นี่แหละครูที่ให้ความรู้อยูร่ อบเมืองไทย
หวังสิ่งเดียวคือขอให้เด็กของไทยในผืนธานี
ได้มีความรู้เพื่อช่วยเชิดชูไทยให้ผ่องศรี
ครูก็ภูมใิ จที่สมความเหนื่อยยากตรากตรามา

เพลง เทียนส่องฟ้า
คาร้อง: นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย
ขับร้องโดย: ดนุพล แก้วกาญจน์

เทียนที่เรืองแสงส่อง คือแสงทองส่องทาง
เปล่งประกาย ยอมละลายให้สว่าง คนหลงทาง เห็นทางที่แสวง
ดินเอ๋ย ดินไร้คา่ ใครหนอ มาเปลี่ยนแปลง
ปั้นเป็นดาว สีทองส่องแสง คือน้าแรง ของครูทุกเขตคาม
โอ เหนื่อยมาแสนนาน งานสิหนักช่างสมนาม
82 การพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู

เบิกดวงดาวพราวนภา แต้มดวงตา เติมฟ้างาม


ยามเมื่อเทียนสีทอง งามส่องฟ้า
วอนสายลมพลิ้วผ่าน วานถามดาวเด่นนภา
เป็นห่วงคนปั้นดาว หรือเปล่าหนา เพียงสัญญา จะรักดี ก็สุขใจ
โอ เหนื่อยมาแสนนาน งานสิหนักช่างสมนาม
เบิกดวงดาวพราวนภา แต้มดวงตา เติมฟ้างาม
ยามเมื่อเทียนสีทอง งามส่องฟ้า
วอนสายลมพลิ้วผ่าน วานถามดาวเด่นนภา
เป็นห่วงคนปั้นดาว หรือเปล่าหนา เพียงสัญญา จะรักดี ก็สุขใจ
เพียงสัญญา จะรักดี ก็สุขเอย

3. การพัฒนาโดยใช้คาประพันธ์
คาประพันธ์ หมายถึง ถ้อยคาที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์
โดยมีกาหนดข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความครึกครื้น และมีความไพเราะแตกต่างไปจากถ้อยคา
ธรรมดา มีสัมผัสคล้องจองกัน ซึ่งแต่งเป็นกาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ และร่าย การนาคาประพันธ์
ประเภทต่าง ๆ ที่มีเนื้อหาส่งเสริม ปลูกฝัง กระตุ้น ปลุกเร้าอาชีพครูให้ผู้ประกอบวิชาชีพครูศึกษา
จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูได้อกี ประการหนึ่ง
การนาค าประพันธ์มาใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาจิตวิญ ญาณความเป็นครู
อาจดาเนินการได้หลายลักษณะ ดังนี้
1) ใช้เป็นบทเกริ่นนา หรือบทสรุปในกิจกรรมวันสาคัญ ๆ เช่น วันครู วันไหว้ครู
วันประชุม อบรม สัมมนา วันปิดภาคเรียน
2) ใช้เป็นเนื้อหาประกอบการแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ หาข้อสรุป แนวคิด
แนวทางการปฏิบัติ การแก้ปัญหา
3) ใช้เป็นเพลงประกวด แข่งขัน การร้องเพลงในโอกาสต่าง ๆ
4) ใช้เป็นสื่อกระตุ้นเตือนจิตสานึก เช่น จัดทาเป็นแผนภู มิเพลง หรือใส่กรอบติดไว้
ในห้องพักครู หรือห้องประชุม
5) ใช้เป็นเพลงประกอบการแสดงจินตลีลาเนื่องในวันสาคัญต่าง ๆ เช่น วันครู
วันเกษียณอายุราชการ
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 83

ตัวอย่างคาประพันธ์

ใครคือครู
ผู้ประพันธ์: เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

ใครคือครูครูคอื ใครในวันนี้ ใช่อยูท่ ี่ปริญญามหาศาล


ใช่อยู่ที่เรียกว่าครูอาจารย์ ใช่อยู่นานสอนนานในโรงเรียน
ครูคอื ผู้ชนี้ าทางความคิด ให้รู้ถูกรูผ้ ิดคิดอ่านเขียน
ให้รู้ทุกข์รู้ยากรู้พากเพียร ให้รู้เปลี่ยนแปลงสูร้ ู้สร้างงาน
ครูคอื ผู้ยกระดับวิญญาณมนุษย์ ให้สูงสุดกว่าสัตว์เดรัจฉาน
ครูคอื ผู้สั่งสมอุดมการณ์ มีดวงมาลย์เพื่อมวลชนใช่ตนเอง
ครูจึงเป็นนักสร้างผู้ใหญ่ยิ่ง สร้างคนจริงสร้างคนกล้าสร้างคนเก่ง
สร้างคนให้เป็นตัวของตัวเอง ขอมอบเพลงนีม้ าบูชาครู

4. การพัฒนาโดยใช้คาขวัญ
คาขวัญ หมายถึง ถ้อยคา ข้อความ คาคล้องจอง หรือบทกลอนสั้น ๆ เพื่อให้จาได้
ง่าย โดยอาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1) ถ้อยคาหรือข้อความที่แต่งขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจ แสดงอุดมคติ หรือเป้าหมาย
ของกลุ่ม หรือองค์กรนั้น ๆ เช่น คาขวัญวันเด็ก คาขวัญวันครู คาขวัญประจาโรงเรียน
2) ถ้อยคาหรือข้อความที่แต่งขึน้ มาเพื่อบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ คุณสมบัติ ความโดด
เด่น เช่น คาขวัญประจาจังหวัด ทั้งนี้อาจใช้คาคม หรือพุทธพจน์มาเป็นคาขวัญก็ได้ (Wikipedia.
2560)
คาขวัญ มีประโยชน์หลายประการ ได้แก่ ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ ของหน่วยงาน
หรือ กิ จกรรมต่ าง ๆ ให้ ข้ อ คิ ด เตื อ นสติ ในการท างาน รณรงค์ กิ จ กรรมต่ าง ๆ เพื่ อ ให้ ค นได้
ตระหนักถึงกิจกรรมนั้น และช่วยประชาสัมพันธ์งาน หรือกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยถ้อยคาสัน้ ๆ

ตัวอย่างคาขวัญ

คาขวัญวันครู พ.ศ. 2559


“อนาคตก้าวไกล ด้วยครูดี มีคุณภาพ”
84 การพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู

คาขวัญวันครู พ.ศ. 2560


“ชาติพัฒนา ด้วยครูดี มีคุณภาพ ศิษย์ซาบซึ้งในพระคุณครู”
คาขวัญวันครู พ.ศ. 2561
"ศิษย์ดี ก็ด้วยครูดี มีศรัทธา"
คาขวัญวันครู พ.ศ. 2562
“ครูดี ศิษย์ดี มีพัฒนา ก้าวหน้า สูเ่ ทคโนโลยี”
คาขวัญวันครู พ.ศ. 2563
“ครูไทย รักศิษย์ คิดพัฒนา”
คาขวัญวันครู พ.ศ. 2564
“ครูวิถีใหม่ ใส่ใจดิจิทัล สร้างสรรค์ คุณธรรม ประจาชาติ”

5. การมีตัวแบบด้านจิตวิญญาณความเป็นครู การที่บุคคลเป็นตัวแบบในการทางาน
ที่ดี หรือการมีบุคคลต้นแบบแสดงพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงการมีจิตวิญญาณความเป็นครู หรือการ
มีป ระสบการณ์ ที่ เกี่ ย วข้ องสั ม พั น ธ์ กั บ บุ ค คลต้น แบบในลั ก ษณะต่าง ๆ เช่น การช่วยเหลื อ
นักเรียน การขยันอดทนมุ่งมั่นสู่เป้าหมายชีวิต การแสดงออกของบุคคลต้นแบบที่ปฏิบัติต่อ
ตนเอง หรือมีโอกาสใกล้ชิดและได้รับการดูแลจากบุคคลต้นแบบ ย่อมทาให้เกิดการสังเกต การ
เก็บจา และซึมซับความเชื่อนั้นเป็นของตนเอง ขณะเดียวกันทาให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะพัฒนา
จิตวิญญาณความเป็นครู หรือทาตามพฤติกรรมของตัวแบบของตน

จากที่กล่าวมา สรุปได้ว่าวิธีการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูสามารถทาได้หลายวิธี
เช่น การพัฒนาโดยใช้กิจกรรมการฝึกอบรม การพัฒนาโดยใช้เพลง การพัฒนาโดยใช้คาประพันธ์
การพัฒนาโดยใช้คาขวัญ และการมีตัวแบบด้านจิตวิญญาณความเป็นครู
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 85

การพัฒนาโดยใช้กิจกรรมการฝึกอบรม

วิธีการพัฒนา การพัฒนาโดยใช้เพลง
จิตวิญญาณความเป็นครู การพัฒนาโดยใช้คาประพันธ์

การพัฒนาโดยใช้คาขวัญ

การมีตัวแบบด้านจิตวิญญาณความเป็นครู

ภาพที่ 4.2 วิธีการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู

สรุปท้ายบท

จิตวิญญาณความเป็นครู หมายถึง ลักษณะและสภาวะทางจิตที่บุคคลเข้าใจอย่างลึกซึ้ง


ถึงอุดมการณ์ในการเป็นครู ทาให้เกิดการใฝ่รู้ สร้างสรรค์ ถ่ายทอด ปลูกฝังและเป็นแบบอย่างที่ดี
แก่ศิษย์ เพื่อนร่วมงานและสังคม จิตวิญญาณความเป็นครูมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรักและ
ศรัทธาในวิชาชีพครู การเป็นแบบอย่างที่ดี ความรับผิดชอบ ความมีเมตตากรุณา และความ
เสียสละ สาหรับวิธีการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูอาจทาได้หลายวิธี เช่น การใช้กิจกรรม
การฝึกอบรม การใช้เพลง การใช้คาประพันธ์ การใช้คาขวัญ และการมีตัวแบบด้านจิตวิญญาณ
ความเป็นครู

แบบฝึกหัดท้ายบท

จงตอบคาถามหรือทากิจกรรมต่อไปนี้
1. จงให้ความหมายของ “จิตวิญญาณ” และ “จิตวิญญาณความเป็นครู”
2. จิตวิญญาณความเป็นครูควรมีองค์ประกอบอะไรบ้าง จงอธิบายรายละเอียดของ
แต่ละองค์ประกอบ
3. จงหาบทเพลง คาประพันธ์ และคาขวัญที่เกี่ยวกับครูอย่างละ 2 รายการ พร้อม
อธิบายแนวคิด หรือข้อเตือนใจที่ได้จากบทประพันธ์นนั้ ๆ
86 การพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู

4. จงเขียนโครงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู มา 1 โครงการ
5. จงแต่งเพลง หรือคาประพันธ์ หรือคาขวัญเกี่ยวกับ “ครูผมู้ ีจติ วิญญาณความเป็นครู”
6. ให้นักศึกษาคิดวิธีการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู อย่างน้อย 3 วิธี (ที่นอกเหนือ
จากเนื้อหาในบทนี้) ว่าควรดาเนินการอย่างไรได้บ้าง พร้อมอธิบายรายละเอียดของแต่ละวิธี
7. ให้นักศึกษาสัมภาษณ์ครูที่ได้รับรางวัล “ครูผสู้ อนดีเด่น” ของคุรุสภา หรือหน่วยงาน
ต้นสังกัด โดยสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะหรือองค์ประกอบของครูที่มีจิตวิญญาณ
ความเป็นครู และวิธีการพัฒนาเพื่อให้ครูมจี ติ วิญญาณความเป็นครูตามองค์ประกอบดังกล่าว
8. จากผลการสัมภาษณ์ครูผู้สอนดีเด่น (ในข้อ 7) ให้นักศึกษาเปรียบเทียบคุณลักษณะ
หรือองค์ป ระกอบของจิตวิญ ญาณความเป็นครู ที่ได้จากการสัมภาษณ์ กั บ คุณ ลัก ษณะหรือ
องค์ประกอบจิตวิญญาณความเป็นครูของตนเองว่า “มี” และ “ไม่มี” ในประเด็นใดบ้าง แล้วให้
จัดทาแผนพัฒนาตนเอง เพื่อให้เกิดคุณลักษณะหรือองค์ประกอบดังกล่าว
บทที่ 5
การเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพครู
บุคลิกลักษณะที่ซ่อนอยู่ภายในปัจเจกบุคคล ซึ่งสามารถผลักดันให้ปัจเจกบุคคลนั้น
สร้ า งผลการปฏิ บั ติ ง านที่ ดี ห รื อ ตามเกณฑ์ ที่ ก าหนดในงานที่ ต นรั บ ผิ ด ชอบ และเป็ น สิ่ ง ที่
ประกอบขึน้ มาจากความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และแรงจูงใจ
สาหรับในบทนีจ้ ะได้นาเสนอเนือ้ หาตามลาดับ ดังนี้ ความหมายของสมรรถนะ
องค์ประกอบของสมรรถนะ ประเภทของสมรรถนะ สมรรถนะวิชาชีพครู ประโยชน์ของสมรรถนะ
การประเมินสมรรถนะบุคคล และการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครู

ความหมายของสมรรถนะ

คาว่า “สมรรถนะ” (competency) มีคาที่มคี วามหมายใกล้เคียงอยู่หลายคา ได้แก่ ขีด


ความสามารถ สมรรถนะภาพ ความสามารถ โดยในที่น้จี ะใช้คาว่า “สมรรถนะ” ซึ่งเป็นคาที่
นักวิชาการและหน่วยงานต่าง ๆ ใช้อย่างแพร่หลาย โดยมีความหมาย ดังนี้
McClelland (1973: 1) ได้ให้ความหมายสมรรถนะ หมายถึง บุคลิกลักษณะที่ซ่อนอยู่
ภายในปัจเจกบุคคล ซึ่งสามารถผลักดันให้ปัจเจกบุคคลนั้นสร้างผลการปฏิบัติงานที่ดี หรือตาม
เกณฑ์ที่กาหนดในงานที่ตนรับผิดชอบ และเป็นสิ่งที่ประกอบขึ้นมาจากความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และ
แรงจูงใจ Spencer and Spencer (1993: 9) ได้ให้ความหมายสมรรถนะ หมายถึง ลักษณะที่เป็น
รากฐานของบุคคลหนึ่ง ๆ ซึ่งมีความเชื่อมโยงเชิงเหตุและผลกับการปฏิบัติงานที่เหนือกว่า และ
สามารถอ้างอิงกับเกณฑ์มาตรฐานในงานหนึ่งหรือสถานการณ์หนึ่ง ๆ ได้ สานักงานคณะกรรมการ
ข้าราชการพลเรือน (2548: 5) ได้ให้ความหมายสมรรถนะ หมายถึง คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม
ที่เป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณลักษณะอื่น ๆ ที่ทาให้บุคคลสามารถสร้าง
ผลงานได้โดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมงานอื่น ๆ ในองค์กร ดนัย เทียนพุฒ (2550: 20) ได้ให้ความหมาย
สมรรถนะ หมายถึง การบูรณาการความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และคุณลักษณะส่วนบุคคล จนทาให้
88 การเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพครู

ผลงานนั้นมีคุณค่าสูงสุดหรือมีประสิทธิภาพ ส่วนสานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2562: 11)


ได้ให้ความหมายสมรรถนะ หมายถึงพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความสามารถของบุคคลในการนา
ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะเฉพาะของตนมาประยุกต์ใช้ในงาน หรือในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
จนประสบความสาเร็จ
ในทัศนะของผู้เขียน สมรรถนะ หมายถึง คุณ ลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็นผลมาจาก
ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะอื่น ๆ ที่ทาให้บุคคลสามารถสร้างผลงานในความรับผิดชอบได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
สาหรับความหมายของ “สมรรถนะวิชาชีพครู” จะมีความหมายในลักษณะเดียวกันกับ
สมรรถนะ ซึ่งหมายถึง คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ
ต่าง ๆ ที่ทาให้ครูสามารถปฏิบัติงานวิชาชีพบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ

องค์ประกอบของสมรรถนะ

McClelland (1973: 75) ได้กล่าวว่า สมรรถนะมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่


1) ความรู้ (knowledge) หมายถึง ความรูเ้ ฉพาะด้านของบุคคล เช่น ความรู้ด้าน
ภาษาอังกฤษ ความรูด้ ้านการบริหารการศึกษา
2) ทักษะ (skill) หมายถึง สิ่งที่บุคคลกระทาได้ดี และฝึกปฏิบัติจนชานาญ เช่น
ทักษะการอ่าน
3) ทัศนคติ ค่านิยม และความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนเอง (self-concept)
เช่น คนที่มคี วามเชื่อมั่นในตนเอง (self-confident) จะเชื่อว่าตนเองสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้
4) บุคลิกประจาตัวบุคคล (trait) เป็นสิ่งที่อธิบายถึงบุคคลผูน้ ั้น เช่น เป็นคนที่
น่าเชื่อถือ ไว้วางใจ มีคุณลักษณะเป็นผู้นา
5) แรงจูงใจหรือแรงขับภายใน (motive) ทาให้บุคคลแสดงพฤติกรรมที่มุ่งไปสู่สิ่งที่
เป็นเป้าหมาย เช่น บุคคลที่มุ่งผลสาเร็จ (achievement orientation) จะพยายามทางานให้สาเร็จ
ตามเป้าหมาย และปรับปรุงวิธีการทางานของตนเองตลอดเวลา
องค์ประกอบทั้ง 5 ประการ ที่รวมกันเป็นคุณลักษณะเฉพาะของบุคคล และก่อให้เกิด
สมรรถนะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ซ่อนอยู่ภายใน จะเห็นได้เฉพาะพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นได้เท่านั้น Spencer
and Spencer (1993) ได้เปรียบเทียบคุณลักษณะดังกล่าวไว้ในโมเดลน้าแข็ง (iceberg model)
และอธิบายว่าคุณลักษณะของบุคคลแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) ส่วนที่สามารถมองเห็นได้ ได้แก่
ความรู้ และทักษะ ซึ่งสามารถพัฒนาได้ไม่ยากนัก ด้วยการศึกษาค้นคว้า ทาให้เกิดความรู้ และ
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 89

การฝึกฝนปฏิบัติทาให้เกิดทักษะ และ 2) ส่วนที่ซ่อนอยู่ภายใน ซึ่งสังเกตได้ยาก ได้แก่ ทัศนคติ


ค่านิยม ความเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนเอง บุคลิกลักษณะประจาตัวบุคคล แรงจูงใจ ซึ่ง
เป็นสิ่งที่พัฒนาได้ยาก ดังภาพประกอบ

ภาพที่ 5.1 โมเดลภูเขาน้าแข็ง


ที่มา: Spencer and Spencer. 1993

สรุปได้ว่า สมรรถนะมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความรู้ (knowledge) 2) ทักษะ (skill)


3) ทัศนคติ ค่านิยม และความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนเอง (self-concept) 4) บุคลิก
ประจาตัวบุคคล (trait) และ 5) แรงจูงใจหรือแรงขับภายใน (motive)

ประเภทของสมรรถนะ

นักวิชาการหลายท่านได้แบ่งประเภทของสมรรถนะไว้ ดังนี้
ณรงค์วิทย์ แสนทอง (2547: 10-11) ได้แบ่งสมรรถนะออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1) สมรรถนะหลัก (core competency) หมายถึง บุคลิกลักษณะของคนที่สะท้อนให้
เห็นถึงความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ความเชื่อและอุปนิสัยของคนในองค์การโดยรวม ที่จะช่วยสนับสนุน
ให้องค์การบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ได้
2) สมรรถนะประจาสายงาน (job competency) หมายถึง บุคลิกลักษณะของคน ที่
สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ความเชื่อ และอุปนิสัยที่จะช่วยส่งเสริมให้คน ๆ นั้น
สามารถสร้างผลงานในการปฏิบัติงานตาแหน่งนัน้ ๆ ได้สูงกว่ามาตรฐาน
90 การเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพครู

3) สมรรถนะส่วนบุคคล (personal competency) หมายถึง บุคลิกลักษณะของคนที่


สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทัก ษะ ทัศนคติ ความเชื่อ และอุป นิสัยที่ทาให้บุคคลนั้น ๆ มีความ
สามารถในการทาสิ่ งหนึ่งสิ่งใดได้โดดเด่นกว่าคนทั่วไป ซึ่งเรามักจะเรียกว่า “ความสามารถ
พิเศษส่วนบุคคล”
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์ (2547) ได้ระบุว่าสมรรถนะเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกของคน ที่
สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ (knowledge) ทักษะ (skill) และคุณลักษณะเฉพาะ (personal attributes)
ในพฤติกรรมที่แตกต่างกัน โดยได้แบ่งสมรรถนะออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้
1) สมรรถนะหลัก (core competency) หมายถึง ความสามารถหลัก ซึ่งสะท้อนให้
เห็นถึงพฤติกรรมของคนที่จะสนับ สนุนให้องค์การสามารถบรรลุเป้าหมาย และภารกิจตาม
วิสัยทัศน์ที่กาหนด และหมายถึงลักษณะพฤติกรรมของคนที่ สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ
และคุณลักษณะเฉพาะของคนในทุกระดับ และทุกกลุ่มงานที่องค์การต้องการให้มี
2) สมรรถนะในการบริหารจัดการ (managerial competency) หมายถึง ความสามารถ
ในการจัดการ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงทักษะในการบริหารจัดการงานต่าง ๆ และหมายถึง ความ
สามารถที่มไี ด้ทั้งในระดับผูบ้ ริหารและระดับพนักงาน โดยจะแตกต่างกันตามบทบาทและหน้าที่
ความรับผิดชอบ (role-based)
3) สมรรถนะประจาสายงาน (functional competency) หมายถึง ความสามารถใน
งาน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะเฉพาะของงานต่าง ๆ (job-based) อาจ
เรียกว่า functional competency ว่าเป็น job competency หรือ technical competency
4) สมรรถนะส่วนบุคคล (individual competency) หมายถึง ความสามารถเฉพาะ
บุคคล ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะเฉพาะของบุคคลที่เกิดขึ้นจริงตาม
หน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
ธารงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์ (2548: 14) แบ่งสมรรถนะออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1) สมรรถนะหลัก หมายถึง คุณลักษณะพื้นฐาน หรือคุณสมบัติร่วมของทุกคนใน
องค์กรที่จะต้องมี ซึ่งแต่ละองค์การจะแตกต่างกัน
2) สมรรถนะที่ไม่ใช่ส มรรถนะหลัก ประกอบด้วยสมรรถนะ 3 กลุ่ มย่อย ได้ แก่
กลุ่มย่อยแรกเป็นสมรรถนะบุคคล ได้แก่ personal/ individual competency กลุ่มย่อยที่สองเป็น
สมรรถนะที่เกี่ ยวกั บ งาน ได้แก่ functional/ job/ professional/ technical competency และกลุ่ม
ย่อยที่สามเป็นสมรรถนะที่ใช้สาหรับงานของผู้ที่ทาหน้าที่ในสายงานบริหาร ได้แก่ leadership/
managerial competency
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 91

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ (2548: 12) ได้จัดกลุ่มสมรรถนะออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ core


competency ที่เป็นสมรรถนะหลักขององค์กร และ job competency ที่เป็นสมรรถนะในงานของ
บุคคล
จากที่กล่าวมา สรุปได้ว่า สมรรถนะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สมรรถนะหลัก
และสมรรถนะประจาสายงาน

สมรรถนะวิชาชีพครู

นักวิชาการและหน่วยงานทางการศึกษาได้กาหนดองค์ประกอบสมรรถนะวิชาชีพครู ดังนี้
พงษ์ศักดิ์ ด้วงพา (2558: 912-913) ได้ทาการวิจัยสมรรถนะวิชาชีพครูโรงเรียนเอกชน
ในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 1 พบว่าสมรรถนะวิชาชีพครูในสมรรถนะหลัก
มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) จิตวิทยาสาหรับครู 2) ความเป็นครู 3) การพัฒนาตนเอง 4) การมุ่ง
ผลสัมฤทธิ์ 5) การทางานเป็นทีม 6) การบริการที่ดี และ 7) วินัย คุณธรรมและจรรยาบรรณ
วิชาชีพ ส่วนสมรรถนะวิชาชีพครูในสมรรถนะประจาสายงานมี 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ภาวะผู้นา
ครู 2) การพัฒนาหลักสูตร 3) การสร้างความร่วมมือกับชุมชน 4) วิเคราะห์สังเคราะห์และการ
วิจัยทางการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน 5) การวัดและการประเมินผลการศึกษา 6) ภาษา เทคโนโลยี
สาหรับครูและนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา 7) ความรู้ในเนื้อหาวิชา 8) การ
พัฒนาผู้เรียนที่เน้นผูเ้ รียนเป็นสาคัญ และ 9) การจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการชั้นเรียน
ฉัตรชัย หวังมีจงมีและองอาจ นัยพัฒน์ (2560: 53-60) ได้ทาการวิจัยสมรรถนะของ
ครูไทยในศตวรรษที่ 21 พบว่าสมรรถนะของครูมี 7 สมรรถนะ ได้แก่ 1) การจัดการเรียนการสอน
โดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง 2) การวัดประเมินผลเพื่อการพัฒนาและคานึงถึงความแตกต่าง
หลากหลายระหว่างบุค คล 3) คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีและการรู้เท่าทันสื่อ 4) คุณ ธรรม
จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ 5) การทางานเป็นทีมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
6) การข้ามวัฒนธรรม และ 7) การเป็นผู้อานวยความสะดวกและแนะแนวทาง
ภิญญาพัชญ์ กาวินคา (2560: 26-27) ได้ทาวิจัยพัฒนาสมรรถนะครูผสู้ อนในโรงเรียน
ขนาดเล็กในเขตพื้นที่ตาบลเวียงชัย พบว่าสมรรถนะที่เหมาะสมกับครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดเล็ก
ประกอบด้วย 14 สมรรถนะ ได้แก่ 1) ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระในรายวิชาและเนื้อหาสาระใน
รายวิชาที่เกี่ยวข้อง 2) ทักษะการใช้ภาษาและการสื่อสาร 3) ทักษะการใช้สื่อ นวัตกรรม และ
เทคโนโลยีสารสนเทศ 4) ทักษะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ 5) ทักษะการพัฒนา
หลักสูตร 6) ทักษะการบริหารจัดการชั้นเรียน 7) ทักษะการพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียน 8) ทักษะ
92 การเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพครู

การวัดและการประเมินผล 9) ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิจัยการศึกษา 10) ทักษะ


การทางานร่วมกับผู้อื่น 11) คุณลักษณะความเป็นผูม้ ีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
12) ทักษะการบริหารจัดการและการพัฒนาตนเอง 13) ทักษะการปรับตัว และ 14) คุณลักษณะ
ความเป็นผู้มีจิตวิทยาสาหรับครู
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2560: 2-15) ได้พัฒนาสมรรถนะและ
ตัวบ่งชี้ของครูไทย โดยแบ่งสมรรถนะออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) สมรรถนะหลัก ประกอบด้วย
5 สมรรถนะ ได้แก่ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน การบริการที่ดี การพัฒนาตนเอง การ
ทางานเป็นทีม และจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู และ 2) สมรรถนะประจาสายงาน
ประกอบด้วย 6 สมรรถนะ ได้แก่ การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาผูเ้ รียน
การบริหารจัดการชั้นเรียน การวิเคราะห์ สังเคราะห์และการวิจัยเพื่อพัฒนาผูเ้ รียน ภาวะผู้นาครู
และการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ โดยแต่ละสมรรถนะ
มีรายละเอียด ดังนี้
1) สมรรถนะหลัก (core competency) ประกอบด้วย 5 สมรรถนะ ดังนี้
สมรรถนะที่ 1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน (working achievement
motivation) หมายถึ ง ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้มีคุ ณ ภาพ ถู ก ต้อง ครบถ้วน
สมบูรณ์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยมีการวางแผน กาหนดเป้าหมาย ติดตามประเมินผล
การปฏิบัติงาน และปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพและผลงานอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยตัวบ่งชี้
และรายการพฤติกรรม ดังนี้
ตัวบ่งชี้ รายการพฤติกรรม
1.1 ความสามารถในการวางแผน การ 1. วิเคราะห์ภารกิจงานเพื่อวางแผนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
กาหนดเป้าหมาย การวิเคราะห์สังเคราะห์ 2. กาหนดเป้าหมายในการปฏิบัติงานทุกภาคเรียน
ภารกิจงาน 3. กาหนดแผนการปฏิบัตงิ านและการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอน
1.2 ความมุง่ มั่นในการปฏิบัตหิ น้าที่ให้มี 1. ใฝ่เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้
คุณภาพ ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ 2. ริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้
3. แสวงหาความรูท้ ี่เกี่ยวกับวิชาชีพใหม่ ๆ เพื่อการพัฒนาตนเอง
1.3 ความสามารถในการติดตาม 1. ประเมินผลการปฏิบัตงิ านของตนเอง
ประเมินผลการปฏิบัตงิ าน
1.4 ความสามารถในการพัฒนาการ 1. ใช้ผลการประเมินการปฏิบัตงิ านมาปรับปรุง/พัฒนาการทางานให้ดียิ่งขึน้
ปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ อย่างต่อเนื่อง 2. พัฒนาการปฏิบัตงิ านเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง
เพื่อให้งานประสบความสาเร็จ และชุมชน
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 93

สมรรถนะที่ 2 การบริการที่ดี (service mind) หมายถึง ความตั้งใจและความเต็ม


ใจในการให้บริการและการปรับปรุงระบบบริการให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนอง
ความต้องการของผูร้ ับบริการ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้และรายการพฤติกรรม ดังนี้
ตัวบ่งชี้ รายการพฤติกรรม
2.1 ความตัง้ ใจและเต็มใจในการให้บริการ 1. ทากิจกรรมต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมเมื่อมีโอกาส
2. เต็มใจ ภาคภูมิใจ และมีความสุขในการให้บริหารแก่ผู้รับบริการ
2.2 การปรับปรุงระบบบริการให้มี 1. ศึกษาความต้องการของผู้รับบริการและนาข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุง
ประสิทธิภาพ 2. ปรับปรุงและพัฒนาระบบการให้บริการให้มีประสิทธิภาพ

สมรรถนะที่ 3 การพัฒนาตนเอง (self development) หมายถึง การศึกษาค้นคว้า


หาความรู้ ติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ใหม่ ๆ ทางวิชาชีพ มีการสร้างองค์ความรู้
และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนางาน ประกอบด้วยตัวบ่งชี้และรายการพฤติกรรม
ดังนี้

ตัวบ่งชี้ รายการพฤติกรรม
3.1 การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ติดตาม 1. ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ มุ่งมัน่ และแสวงหาโอกาสพัฒนาตนเองด้วยวิธีการที่
องค์ความรูใ้ หม่ ๆ ทางวิชาการและวิชาชีพ หลากหลาย เช่น การเข้าประชุม /สัมมนา การศึกษาดูงาน การค้นคว้าด้วย
ตนเอง
3.2 การสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม 1. รวบรวม สังเคราะห์ข้อมูล ความรู้ จัดเป็นหมวดหมู่ และปรับปรุงให้ทันสมัย
ในการพัฒนาองค์กรและวิชาชีพ 2. สร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมเพือ่ พัฒนาการจัดการเรียนรู้ องค์กรและ
วิชาชีพ
3.3 การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้าง 1. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่นเพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนางาน
เครือข่าย 2. ให้คาปรึกษา แนะนา นิเทศ และถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาชีพ
แก่ผู้อื่น
3. มีการขยายผลโดยสร้างเครือข่ายการเรียนรู้

สมรรถนะที่ 4 การทางานเป็นทีม (team work) หมายถึง การให้ความร่วมมือ


ช่วยเหลือ สนับสนุน เสริมแรง ให้กาลังใจแก่เพื่อนร่วมงาน การปรับตัวเข้ากับผูอ้ ื่น หรือทีมงาน
แสดงบทบาทของการเป็นผู้นา หรือผูต้ ามได้อย่างเหมาะสมในการทางานร่วมกับผู้อื่น เพื่อสร้าง
และดารงสัมพันธภาพของสมาชิก ตลอดจนเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาให้บรรลุผลสาเร็จตาม
เป้าหมาย ประกอบด้วยตัวบ่งชี้และรายการพฤติกรรม ดังนี้
94 การเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพครู

ตัวบ่งชี้ รายการพฤติกรรม
4.1 การให้ความร่วมมือช่วยเหลือและ 1. สร้างสัมพันธภาพที่ดีในการทางานร่วมกับผูอ้ ่นื
สนับสนุนเพื่อร่วมงาน 2. ทางานร่วมกับผู้อื่นตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
3. ช่วยเหลือ สนับสนุน เพื่อนร่วมงานเพื่อสู่เป้าหมาย ความสาเร็จร่วมกัน
4.2 การเสริมแรงให้กาลังใจเพื่อนร่วมงาน 1. ให้เกียรติ ยกย่องชมเชย ให้กาลังใจแก่เพื่อนร่วมงานในโอกาสที่เหมาะสม
4.3 การปรับตัวเข้ากับกลุ่มคนหรือ 1. มีทักษะในการทางานร่วมกับบุคคล/กลุ่มบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้ง
สถานการณ์ที่หลากหลาย ภายในและภายนอกสถานศึกษา และในสถานการณ์ตา่ ง ๆ
4.4 การแสดงบทบาทผู้นาหรือผู้ตาม 1. แสดงบทบาทผูน้ าหรือผู้ตามในการทางานร่วมกับผูอ้ ่นื ได้อย่างเหมาะสม
ตามโอกาส
4.5 การเข้าไปมีส่วนร่วมกับผูอ้ ่นื ในการ 1. แลกเปลี่ยน/รับฟังความคิดเห็นและประสบการณ์ภายในทีมงาน
พัฒนาการจัดการศึกษาให้บรรลุผลสาเร็จ 2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้/รับฟังความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างเครือข่ายและ
ตามเป้าหมาย ทีมงาน
3. ร่วมกับเพื่อนร่วมงานในการสร้างวัฒนธรรมการทางานเป็นทีมให้เกิดขึน้
ในสถานศึกษา

สมรรถนะที่ 5 จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู (teacher’s ethics and


integrity) หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนถูกต้องตามหลักคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ
วิชาชีพครู เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียนและสังคม เพื่อสร้างความศรัทธาในวิชาชีพครู ประกอบด้วย
ตัวบ่งชีแ้ ละรายการพฤติกรรม ดังนี้
ตัวบ่งชี้ รายการพฤติกรรม
5.1 ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ 1. สนับสนุนและเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพ
2. เสียสละ อุทิศตนเพื่อประโยชน์ต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร
วิชาชีพ
3. ยกย่อง ชื่นชมบุคคลที่ประสบความสาเร็จในวิชาชีพ
4. ยึดมั่นในอุดมการณ์ของวิชาชีพ ปกป้องเกียรติและศักดิ์ศรีของวิชาชีพ
5.2 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ 1. ซื่อสัตย์ต่อตนเอง ตรงต่อเวลา วางแผนการใช้จ่าย และใช้ทรัพยากรอย่าง
ประหยัด
2. ปฏิบัติตนตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวัฒนธรรมที่ดีขององค์กร
3. ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ และมุ่งมั่นพัฒนา
การประกอบวิชาชีพให้ก้าวหน้า
4. ยอมรับผลอันเกิดจากการปฏิบัตหิ น้าที่ของตนเอง และหาแนวทางแก้ไข
ปัญหา อุปสรรค
5.3 การดารงชีวติ ที่เหมาะสม 1. ปฏิบัติตน/ดาเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้เหมาะสม
กับสถานะของตน
2. รักษาสิทธิประโยชน์ของตนเอง และไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
3. เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือ และไม่เบียดเบียนผู้อื่น
5.4 การประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี 1. ปฏิบัติตนได้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่และสถานการณ์
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 95

ตัวบ่งชี้ รายการพฤติกรรม
2. มีความเป็นกัลยาณมิตรต่อผู้เรียน เพื่อนร่วมงาน และผูร้ ับบริการ
3. ปฏิบัติตนตามหลักการครองตน ครองคน ครองงานเพื่อให้การปฏิบัติงาน
บรรลุผลสาเร็จ
4. เป็นแบบอย่างที่ดีในการส่งเสริมผูอ้ ่นื ให้ปฏิบัติตนตามหลักจริยธรรม
จรรยาบรรณวิชาชีพครู และพัฒนาจนเป็นที่ยอมรับ

2) สมรรถนะประจาสายงาน (functional competency) ประกอบด้วย 6 สมรรถนะ ดังนี้


สมรรถนะที่ 1 การบริห ารหลั ก สู ต รและการจัด การเรีย นรู้ (curriculum and
learning management) หมายถึง ความสามารถในการสร้างและพัฒนาหลักสูตร การออกแบบ
การเรียนรู้อย่างสอดคล้องและเป็นระบบ จัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ ใช้และพัฒนา
สื่อนวัตกรรมเทคโนโลยี และการวัดประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
และเกิดประสิทธิผลสูงสุด ประกอบด้วยตัวบ่งชี้และรายการพฤติกรรม ดังนี้
ตัวบ่งชี้ รายการพฤติกรรม
1.1 การสร้างและพัฒนาหลักสูตร 1. สร้าง/พัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง
และท้องถิ่น
2. ประเมินการใช้หลักสูตรและนาผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตร
1.2 ความรู้ความสามารถในการออกแบบ 1. กาหนดผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เน้นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประยุกต์
การเรียนรู้ ริเริ่มเหมาะสมกับสาระการเรียนรู้ ความแตกต่างและธรรมชาติของผู้เรียนเป็น
รายบุคคล
2. ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลายเหมาะสมสอดคล้องกับวัย
และความต้องการของผู้เรียน และชุมชน
3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบการเรียนรู้ การจัดกิจกรรม
และการประเมินผลการเรียนรู้
4. จัดทาแผนการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดยบูรณาการอย่างสอดคล้อง
เชื่อมโยงกัน
5. มีการนาผลการออกแบบการเรียนรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ และปรับใช้
ตามสถานการณ์อย่างเหมาะสมและเกิดผลกับผูเ้ รียนตามที่คาดหวัง
6. ประเมินผลการออกแบบการเรียนรู้เพื่อนาไปใช้ปรับปรุง/พัฒนา
1.3 การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ 1. จัดทาฐานข้อมูลเพื่ออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
2. ใช้รูปแบบ/เทคนิควิธีการสอนอย่างหลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มตาม
ศักยภาพ
3. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ปลูกฝัง/ส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์และ
สมรรถนะของผู้เรียน
4. ใช้หลักจิตวิทยาในการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข
และพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
5.ใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปญ
ั ญาท้องถิ่นในชุมชนในการจัดการเรียนรู้
96 การเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพครู

ตัวบ่งชี้ รายการพฤติกรรม
6. พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนกับผูป้ กครอง และชุมชน
1.4 การใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรม 1. ใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้อย่างหลากหลาย
เทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ เหมาะสมกับเนือ้ หาและกิจกรรมการเรียนรู้
2. สืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้
3. ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อ/นวัตกรรมที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้
1.5 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 1. ออกแบบวิธีการวัดและประเมินผลอย่างหลากหลาย เหมาะสมกับเนือ้ หา
กิจกรรมการเรียนรู้ และผูเ้ รียน
2. สร้างและนาเครื่องมือวัดและประเมินผลไปใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม
3. วัดและประเมินผลผูเ้ รียนตามสภาพจริง
4. นาผลการประเมินการเรียนรู้มาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้

สมรรถนะที่ 2 การพัฒนาผู้เรียน (student development) หมายถึง ความสามารถ


ในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม การพัฒนาทักษะชีวิต สุขภาพกายและสุขภาพจิต ความเป็น
ประชาธิปไตย ความภูมใิ จในความเป็นไทย การจัดระบบดูแลช่วยเหลือผูเ้ รียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน
ให้มคี ุณภาพ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้และรายการพฤติกรรม ดังนี้

ตัวบ่งชี้ รายการพฤติกรรม
2.1 การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับ 1. สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมแก่ผู้เรียนในการจัด การเรียนรู้ในชั้นเรียน
ผู้เรียน 2. จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการ
วางแผนกิจกรรม
3. จัดทาโครงการ/กิจกรรมที่สง่ เสริมคุณธรรมจริยธรรมให้แก่ผู้เรียน
2.2 การพัฒนาทักษะชีวติ และสุขภาพ 1. จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผูเ้ รียนด้านการดูแลตนเอง มีทกั ษะในการเรียนรู้
สุขภาพจิตผู้เรียน การทางาน การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง
2.3 การปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตย 1. สอดแทรกความเป็นประชาธิปไตย ความภูมิใจในความเป็นไทย ให้แก่
ความภูมิใจในความเป็นไทยให้แก่ผู้เรียน ผู้เรียน
2. จัดทาโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ความภูมิใจใน
ความเป็นไทย
2.4 การจัดระบบดูแลนักเรียน 1. ให้ผู้เรียน คณะครูผู้สอน และผูป้ กครองมีส่วนร่วมในดูแลช่วยเหลือ
นักเรียนรายบุคคล
2. นาข้อมูลนักเรียนไปใช้ช่วยเหลือ/พัฒนาผูเ้ รียนทั้งด้านการเรียนรู้และปรับ
พฤติกรรมเป็นรายบุคคล
3. จัดกิจกรรมเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหา และส่งเสริมพัฒนาผูเ้ รียนให้แก่
นักเรียนอย่างทั่วถึง
4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมกับค่านิยมที่ดงี าม
5. ดูแล ช่วยเหลือ ผู้เรียนทุกคนอย่างทั่วถึง ทันการณ์
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 97

สมรรถนะที่ 3 การบริหารจัดการชั้นเรียน (classroom management) หมายถึง


การจัดบรรยากาศการเรียนรู้ การจัดทาข้อมูลสารสนเทศและเอกสารประจาชั้นเรียน / ประจา
วิชา การกากับดูแลชั้นเรียน / รายวิชา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุข และความปลอดภัย
ของผู้เรียน ประกอบด้วยตัวบ่งชี้และรายการพฤติกรรม ดังนี้
ตัวบ่งชี้ รายการพฤติกรรม
3.1 การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ 1. จัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน และภายนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ความสุขและความปลอดภัยของผู้เรียน 2. ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับผูเ้ รียน และผูเ้ รียนกับผูเ้ รียน
3. ตรวจสอบสิ่งอานวยความสะดวกในห้องเรียนให้พร้อมใช้และปลอดภัยอยู่เสมอ
3.2 การจัดทาข้อมูลสารสนเทศและเอกสาร 1. จัดทาข้อมูลสารสนเทศของนักเรียนเป็นรายบุคคล และเอกสารประจา
ประจาชั้นเรียน / ประจาวิชา ชั้นเรียนอย่างถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน
2. นาข้อมูลสารสนเทศไปใช้ในการพัฒนาผูเ้ รียนได้เต็มตามศักยภาพ
3.3 กากับดูแลชั้นเรียนรายชั้น / รายวิชา 1. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกาหนดกฎ กติกา ข้อตกลงในชัน้ เรียน
2. แก้ปัญหา/พัฒนานักเรียนด้านระเบียบวินัย โดยการสร้างวินัยเชิงบวกใน
ชั้นเรียน
3. ประเมินการกากับดูแลชั้นเรียน และนาผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุง
และพัฒนา

สมรรถนะที่ 4 การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน


(analysis & synthesis & classroom research) หมายถึ ง ความสามารถในการท าความเข้าใจ
แยกประเด็นเป็นส่วนย่อย รวบรวมประมวลหาข้อสรุปอย่างเป็นระบบและนาไปใช้ในการวิจัย
เพื่อพั ฒนาผู้เรียน รวมทั้งสามารถวิเคราะห์องค์กรหรืองานในภาพรวมและดาเนินการแก้ไข
ปัญหาเพื่อพัฒนางานอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้และรายการพฤติกรรม ดังนี้

ตัวบ่งชี้ รายการพฤติกรรม
4.1 การวิเคราะห์รายการพฤติกรรม 1. สารวจปัญหาเกี่ยวกับนักเรียนที่เกิดขึน้ ในชั้นเรียนเพื่อวางแผนการวิจัย
เพื่อพัฒนาผูเ้ รียน
2. วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาเกี่ยวกับนักเรียนที่เกิดขึน้ ในชั้นเรียนเพื่อกาหนด
ทางเลือกในการแก้ไขปัญหาระบุสภาพปัจจุบัน
3. มีการวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย อุปสรรคและโอกาสความสาเร็จของการวิจัย
เพื่อแก้ไขปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ในชั้นเรียน
4.2 การสังเคราะห์รายการพฤติกรรม 1. รวบรวม จาแนกและจัดกลุ่มของสภาพปัญหาของผู้เรียน แนวคิดทฤษฎี
และวิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อสะดวกต่อการนาไปใช้
2. มีการประมวลผลหรือสรุปข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไข
ปัญหาในชั้นเรียนโดยใช้ข้อมูลรอบด้าน
4.3 การวิจัยเพื่อพัฒนาผูเ้ รียน 1. จัดทาแผนการวิจัย และดาเนินกระบวนการวิจัย อย่างเป็นระบบตามแผน
98 การเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพครู

ตัวบ่งชี้ รายการพฤติกรรม
ดาเนินการวิจัยที่กาหนดไว้
2. ตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของผลการวิจัยอย่างเป็นระบบ
3. มีการนาผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในกรณีศกึ ษาอื่น ๆ ที่มีบริบทของปัญหา
ที่คล้ายคลึงกัน

สมรรถนะที่ 5 ภาวะผู้นาครู (teacher leadership) หมายถึง คุณลักษณะและ


พฤติกรรมของครูที่แสดงถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ส่วนบุคคล และการแลกเปลี่ยนเรียนรูซ้ ึ่งกัน
และกัน ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน โดยปราศจากการใช้อทิ ธิพลของผู้บริหารสถานศึกษา
ก่อให้เกิดพลังแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้
และรายการพฤติกรรม ดังนี้

ตัวบ่งชี้ รายการพฤติกรรม
5.1 วุฒิภาวะความเป็นผู้ใหญ่ที่เหมาะสม 1. พิจารณาทบทวน ประเมินตนเองเกี่ยวกับพฤติกรรมทีแ่ สดงออกต่อผู้เรียน
กับความเป็นครู และผูอ้ ่นื และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม
2. เห็นคุณค่า ให้ความสาคัญในความคิดเห็นหรือผลงาน และให้เกียรติแก่ผู้อ่นื
3. กระตุ้นจูงใจ ปรับเปลี่ยนความคิดและการกระทาของผู้อื่นให้มคี วามผูกพัน
และมุง่ มั่นต่อเป้าหมายในการทางานร่วมกัน
5.2 การสนทนาอย่างสร้างสรรค์ 1. มีปฏิสมั พันธ์ในการสนทนา มีบทบาท และมีส่วนร่วมในการสนทนาอย่าง
สร้างสรรค์กับผู้อื่น โดยมุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้ของผู้เรียนและการพัฒนาวิชาชีพ
2. มีทักษะการฟัง การพูดและการตั้งคาถาม เปิดใจกว้าง ยืดหยุ่น ยอมรับ
ทัศนะที่หลากหลายของผู้อื่น เพื่อเป็นแนวทางใหม่ ๆ ในการปฏิบัติงาน
3. สืบเสาะข้อมูล ความรูท้ างวิชาชีพใหม่ ๆ ทีส่ ร้างความท้าทายในการสนทนา
อย่างสร้างสรรค์กับผู้อื่น
5.3 การเป็นบุคคลแห่งการเปลี่ยนแปลง 1. ให้ความสนใจต่อสถานการณ์ตา่ ง ๆ ที่เป็นปัจจุบัน โดยมีการวางแผนอย่างมี
วิสัยทัศน์ ซึ่งเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ เป้าหมายและพันธกิจของโรงเรียนร่วมกับ
ผู้อื่น
2. ริเริ่มการปฏิบัติที่นาไปสู่การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนานวัตกรรม
3. กระตุ้นผู้อ่นื ให้มีการเรียนรู้และความร่วมมือใน
วงกว้างเพื่อพัฒนาผูเ้ รียน สถานศึกษา และวิชาชีพ
4. ปฏิบัติงานร่วมกับผูอ้ ่นื ภายใต้ระบบ/ขั้นตอนที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมได้
5.4 การปฏิบัติงานอย่างไตร่ตรอง 1. พิจารณาไตร่ตรองความสอดคล้องระหว่างการเรียนรู้ของนักเรียน และการ
จัดการเรียนรู้
2. สนับสนุนความคิดริเริ่มซึง่ เกิดจากการพิจารณาไตร่ตรองของเพื่อนร่วมงาน
และมีส่วนร่วมในการพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ
3. ใช้เทคนิควิธีการหลากหลายในการตรวจสอบ ประเมินการปฏิบัติงานของ
ตนเองและผลการดาเนินงานสถานศึกษา
5.5 การมุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน 1. กาหนดเป้าหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ที่ท้าทายความสามารถของ
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 99

ตัวบ่งชี้ รายการพฤติกรรม
ตนเองตามสภาพจริง และปฏิบัติให้บรรลุผลสาเร็จได้
2. ให้ข้อมูลและข้อคิดเห็นรอบด้านของผู้เรียนต่อผู้ปกครองและผูเ้ รียนอย่างเป็น
ระบบ
3. ยอมรับข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับความคาดหวังด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน
จากผู้ปกครอง
4. ปรับเปลี่ยนบทบาทและการปฏิบัตงิ านของตนเองให้เอือ้ ต่อการพัฒนา
ผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน
5. ตรวจสอบข้อมูลการประเมินผูเ้ รียนอย่างรอบด้าน รวมไปถึงผลการวิจยั
หรือองค์ความรูต้ ่าง ๆ และนาไปใช้ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ผู้เรียนอย่างเป็น
ระบบ

สมรรถนะที่ 6 การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัด
การเรีย นรู้ (relationship & collaborative-building for learning management) หมายถึ ง การ
ประสานความร่วมมือ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างเครือข่ายกับผู้ปกครอง ชุมชนและองค์กร
อื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อสนั บสนุนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้และ
รายการพฤติกรรม ดังนี้
ตัวบ่งชี้ รายการพฤติกรรม
6.1 การสร้างความสัมพันธ์และความ 1. กาหนดแนวทางในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และความร่วมมือกับชุมชน
ร่วมมือกับชุมชนเพื่อจัดการเรียนรู้ 2. ประสานให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของสถานศึกษา
3. ให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน
4. จัดกิจกรรมที่เสริมสร้าง ความสัมพันธ์และความร่วมมือกับผูป้ กครอง
ชุมชน และองค์กรอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อการจัดการเรียนรู้
6.2 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ 1. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างครู ผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กร
เพื่อการจัดการเรียนรู้ อื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้

กนิน แลวงค์นิลและชญาพิมพ์ อุสาโห (2561: 406-407) ได้พัฒนากรอบแนวคิดสมรรถนะ


ของครูใหม่ สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 ผลการวิจัยพบว่ากรอบแนวคิด
สมรรถนะครูใหม่ประกอบด้วย 5 สมรรถนะ คือ 1) การจัดการเรียนรู้ 2) การพัฒนาผูเ้ รียน
3) การพัฒนาทางวิชาการ 4) การพัฒนาสถานศึกษา และ 5) ความสัมพันธ์กับชุมชน
อภิภา ปรัชญพฤทธิ์ (2561: 101-114) ได้พัฒนารูปแบบการผลิตครูเพื่อรองรับการศึกษา
ยุค 4.0 โดยได้ศึกษาสมรรถนะวิชาชีพครู พบว่ามีจานวน 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความเป็น
ครูและจรรยาบรรณวิชาชีพ 2) การพัฒนาหลักสูตร 3) ความรู้ลึกในเนื้อหาวิชาและวิธีวิทยา
100 การเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพครู

การสอน 4) การประเมินผลและการวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา 5) การพัฒนาผู้เรียน และ 6) การ


จัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้
วาสนา ตาลทอง (2562: 49) ได้วจิ ัยพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษ
ที่ 21 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 พบว่าองค์ประกอบ
สมรรถนะครูมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การพัฒนาหลักสูตร 2) การพัฒนาผูเ้ รียน 3) การวัด
และประเมินผลการศึกษา 4) นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา 5) การจัดการ
เรียนรู้และ 6) การพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
อุบล พวงมาลา บุญเรียง ขจรศิลป์และธนีนาฏ ณ สุนทร (2562: 386-387) ได้วิจัยพัฒนา
สมรรถนะ ตัวบ่งชี้ เกณฑ์การประเมินและแบบประเมิน สาหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผลการวิจัยพบว่าสมรรถนะวิชาชีพครู ประกอบด้วย 7 สมรรถนะ ได้แก่ 1) ความรูใ้ นเนือ้ หา
2) ความรู้ทางวิชาชีพครู 3) การจัดการเรียนรู้ 4) การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร
5) การคิด 6) การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน และ 7) คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ
ในวิชาชีพครู
จากแนวคิดและผลการวิจัยเกี่ยวกับสมรรถนะวิชาชีพครูที่กล่าวมา ผูเ้ ขียนนามาสังเคราะห์
องค์ประกอบสมรรถนะวิชาชีพครูได้ ดังนี้

ตารางที่ 5.1 การสังเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะวิชาชีพครู


4) สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พื้นฐาน (2560)
2) ฉัตรชัย หวังมีจงมีและองอาจ นัยพัฒน์ (2560)

8) อุบล พวงมาลา บุญเรียง ขจรศิลป์และธนีนาฏ


5) กนิน แลวงค์นลิ และชญาพิมพ์ อุสาโห (2561)

ชื่อนักการศึกษา
3) ภิญญาพัชญ์ กาวินคา (2560)

6) อภิภา ปรัชญพฤทธิ์ (2561)


1) พงษ์ศกั ดิ์ ด้วงพา (2558)

7) วาสนา ตาลทอง (2562)

องค์ประกอบที่คัดสรร
ณ สุนทร (2562)

องค์ประกอบ
ความถี่

ร้อยละ

1) คุณลักษณะความเป็นผู้มีจิตวิทยาสาหรับครู  2 25
-จิตวิทยาสาหรับครู  
-คุณลักษณะความเป็นผู้มีจติ วิทยาสาหรับครู  
2) คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ  7 87.50 
-ความเป็นครู  
-วินัย คุณธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ  
-คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ  
-คุณลักษณะความเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ  
-จริยธรรมและจรรยาบรรวิชาชีพครู  
-ความเป็นครูและจรรยาบรรณวิชาชีพ  
3) การพัฒนาตนเอง  4 50.00
-การพัฒนาตนเอง   
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 101

4) สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พื้นฐาน (2560)


2) ฉัตรชัย หวังมีจงมีและองอาจ นัยพัฒน์ (2560)

8) อุบล พวงมาลา บุญเรียง ขจรศิลป์และธนีนาฏ


5) กนิน แลวงค์นลิ และชญาพิมพ์ อุสาโห (2561)
ชื่อนักการศึกษา

3) ภิญญาพัชญ์ กาวินคา (2560)

6) อภิภา ปรัชญพฤทธิ์ (2561)


1) พงษ์ศกั ดิ์ ด้วงพา (2558)

7) วาสนา ตาลทอง (2562)

องค์ประกอบที่คัดสรร
ณ สุนทร (2562)
องค์ประกอบ

ความถี่

ร้อยละ
-ทักษะการบริหารจัดการและการพัฒนาตนเอง  
-การพัฒนาตนเองและวิชาชีพ  
4) การมุ่งผลสัมฤทธิ์   1 12.50
5) การทางานเป็นทีม  4 50.00
-การทางานเป็นทีม   
-การทางานเป็นทีมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 
-ทักษะการทางานร่วมกับผู้อื่น  
6) การบริการทีด่ ี  3 37.50
-การบริการทีด่ ี   
-การเป็นผู้อานวยความสะดวกและแนะแนวทาง 
7) ภาวะผู้นาครู    2 25.00
8) การพัฒนาหลักสูตร  5 62.50 
-การพัฒนาหลักสูตร    
-ทักษะการพัฒนาหลักสูตร  
-การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้  
9) การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน  4 50.00
-การสร้างความร่วมมือกับชุมชน  
-การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพือ่ การจัดการเรียนรู้  
-ความสัมพันธ์กับชุมชน  
-การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน  
10) การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยทางการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน  4 50.00
-การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยทางการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน   
-ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิจัยการศึกษา  
-การคิด  
11) การวัดและประเมินผลทางการศึกษา  5 62.50 
-การวัดและประเมินผลทางการศึกษา   
-การวัดประเมินผลเพื่อการพัฒนาและคานึงถึงความแตกต่าง

หลากหลายระหว่างบุคคล
-ทักษะการวัดและการประเมินผล  
-การประเมินผลและการวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา  
12) นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา  5 62.50 
-ภาษา เทคโนโลยีสาหรับครู และนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
ทางการศึกษา
-คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีและการรูเ้ ท่าทันสื่อ 
-ทักษะการใช้สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศ  
-นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา  
-การสื่อสารและเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร  
13) ความรู้ในเนือ้ หาวิชา  5 62.50 
-ความรู้ในเนือ้ หาวิชา   
-ความรู้เกี่ยวกับเนือ้ หาสาระในรายวิชาและเนือ้ หาสาระในรายวิชา
 
ที่เกี่ยวข้อง
-การพัฒนาทางวิชาการ  
-ความรู้ลึกในเนือ้ หาวิชาและวิธีวิทยาการสอน  
14) การพัฒนาผู้เรียน  6 75.00 
-การพัฒนาผู้เรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ  
-ทักษะการพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียน  
-การพัฒนาผู้เรียน     
15) การจัดการเรียนรู้  5 62.50 
102 การเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพครู

4) สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พื้นฐาน (2560)


2) ฉัตรชัย หวังมีจงมีและองอาจ นัยพัฒน์ (2560)

8) อุบล พวงมาลา บุญเรียง ขจรศิลป์และธนีนาฏ


5) กนิน แลวงค์นลิ และชญาพิมพ์ อุสาโห (2561)
ชื่อนักการศึกษา

3) ภิญญาพัชญ์ กาวินคา (2560)

6) อภิภา ปรัชญพฤทธิ์ (2561)


1) พงษ์ศกั ดิ์ ด้วงพา (2558)

7) วาสนา ตาลทอง (2562)

องค์ประกอบที่คัดสรร
ณ สุนทร (2562)
องค์ประกอบ

ความถี่

ร้อยละ
-การจัดการเรียนการสอนโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง 
-ทักษะการจัดการเรียนรูท้ ี่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ  
-การจัดการเรียนรู้    
16) การบริหารจัดการชั้นเรียน  5 62.50 
-การจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการชั้นเรียน  
-ทักษะการบริหารจัดการชั้นเรียน  
-การบริหารจัดการชั้นเรียน  
17) การข้ามวัฒนธรรม  1 12.50
18) ทักษะการใช้ภาษาและการสื่อสาร   1 12.50
19) ทักษะการปรับตัว   1 12.50
20) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบตั ิงาน   1 12.50
21) การพัฒนาสถานศึกษา   1 12.50
22) ความรู้ทางวิชาชีพครู   1 12.50
23) การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้   1 12.50
รวม 7 7 14 11 5 6 6 7

จากตารางที่ 5.1 ผู้เขียนได้จัดองค์ประกอบที่มีแนวคิดคล้ายกันไว้ในกลุ่มเดียวกัน โดย


กาหนดองค์ประกอบที่มีความถี่สูง หรือร้อยละ 60 ขึ้นไปเป็นองค์ประกอบสมรรถนะวิชาชีพครู
ซึ่งพบว่าองค์ประกอบของสมรรถนะวิชาชีพครูมี 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) คุณธรรม จริยธรรม
และจรรยาบรรณวิชาชีพ 2) การพัฒนาผู้เรียน 3) การพัฒนาหลักสูตร 4) การวัดและประเมินผล
ทางการศึกษา 5) นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา 6) ความรู้ในเนื้อหาวิชา
7) การจัดการเรียนรู้ และ 8) การบริหารจัดการชั้นเรียน โดยแต่ละองค์ประกอบมีความหมาย
ดังนี้
1) คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนถูกต้อง
ตามกฎ กติกาของสังคม เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียนและสังคม ทั้งทางการย วาจา และจิตใจ
ดารงชีวิตอย่างเหมาะสม มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ยึดมั่นในอุดมการณ์ของความเป็นครู ปกป้อง
เกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของวิชาชีพครู เสียสละ อุทิศตนเพื่อประโยชน์ของวิชาชีพ มีความรับผิดชอบ
ในวิชาชีพ ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่และยอมรับผลของการปฏิบัติหน้าที่ของตน
2) การพัฒนาผู้เรียน หมายถึง ความสามารถในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม การ
พัฒนาทักษะชีวิต สุขภาพกายและสุขภาพจิต การปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตย และการปลูกฝัง
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 103

ความภูมิใจในความเป็นไทย การจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน และเสนอแนะให้คาปรึกษาแก่


ผูเ้ รียนที่มปี ัญหา
3) การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง ความสามารถในการดาเนินการสร้างและพัฒนา
หลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่น การนาหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่นไป
ใช้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ และการนาผลการประเมินการจัดการเรียนรู้มาใช้ในการปรับปรุงและ
พัฒนาหลักสูตร
4) การวัดและประเมินผลทางการศึกษา หมายถึง ความสามารถในการประเมินการเรียนรู้
ตามสภาพจริง การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ การนาผลการประเมิน ไปใช้
ปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้
5) นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา หมายถึง ความสามารถในการ
เลือกใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ การออกแบบ การสร้างและ
การหาประสิทธิภาพนวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้
6) ความรู้ในเนื้อหาวิชา หมายถึง ความรู้ความสามารถในการนาสาระ ข้อมูล แนวคิด
และหลักการที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระวิชาการในหลักสูตรที่ต้องการจะถ่ายทอดไปยังผูเ้ รียน
7) การจัดการเรียนรู้ หมายถึง ความสามารถในการออกแบบและจัดทาแผนการจัดการ
เรียนรู้อย่างเป็นระบบ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติจริง เพื่อให้ผู้เรียนคิดเป็น ทาเป็น
และแก้ปัญหาได้ จัดกิจกรรมการเรียนโดยให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความสามารถและความสนใจ
ส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะของผู้เรียน ใช้หลักจิตวิทยาในการจัดการเรียนรู้
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขและพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ และมีการใช้แหล่ง
เรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้
8) การบริหารจัดการชั้นเรียน หมายถึง การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ การจัดทา
ข้อมูลสารสนเทศและเอกสารประจาชั้นเรียนหรือเอกสารประจาวิชา กาหนดกฎ กติกาและ
ข้อตกลงในชั้นเรียน กากับดูแลชั้นเรียนให้ผู้เรียนปฏิบัติตามกฎ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมี
ความสุขและให้ผเู้ รียนมีความปลอดภัย
104 การเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพครู

ประโยชน์ของสมรรถนะ

สมรรถนะที่กาหนดขึ้นสามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้ (อาภรณ์ ภู่วทิ ยพันธุ์. 2555:


48-54)
1. การสรรหาคัดเลือกพนักงาน สมรรถนะที่กาหนดขึน้ สามารถนามาใช้ในการสรรหา
คัดเลือกบุคลากร ทั้งจากภายในหรือภายนอกองค์การ โดยมีจุดมุง่ หมายเพื่อหาคนที่เหมาะสม
กับองค์การ และเหมาะสมกับลักษณะงานที่รับผิดชอบ
2. การจัดทาแผนฝึกอบรมระยะสั้น สมรรถนะที่กาหนดขึน้ สามารถนามาใช้กาหนดหัวข้อ
หรือหลักสูตรอบรมได้ โดยเฉพาะสมรรถนะวิชาชีพ (professional competency) เนื่องจากเป็น
สมรรถนะเฉพาะด้านของแต่ละงาน และเมื่อกาหนดหลักสูตรฝึกอบรมให้เหมาะสมกับสมรรถนะ
แต่ละข้อแล้วจึงจัดฝึกอบรมตามสมรรถนะที่กาหนดขึน้
3. การจัด ท าแผนฝึก อบรมระยะยาว การก าหนดหลัก สูตรฝึก อบรมจากสมรรถนะ
นอกจากจะนามาใช้จัดทาเป็นแผนฝึกอบรมระยะสั้นแล้ว ยังสามารถนามาจัดหลักสูตรฝึกอบรม
ระยะยาวได้ทั้งหมด โดยเรียงลาดับตามความสาคัญของสมรรถนะ
4. การจัดทาแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล แผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล (individual
development plan) เป็นแผนงานที่กาหนดขึ้นจากผลการประเมินความสามารถของบุคลากร
โดยนาสมรรถนะที่เป็นความสามารถที่คาดหวังที่กาหนดขึ้นของตาแหน่งงาน มาใช้เป็นเกณฑ์
ในการประเมินความสามารถของบุคลากรในปัจจุบัน
5. การประเมินผลการปฏิบัติงาน ในองค์การส่วนใหญ่จะนาตัวชีว้ ัดผลงาน (key
performance indicators) มาใช้เป็นแนวทางในการประเมินผลงานของบุคลากร โดยในบางองค์การ
จะให้บุคลากรกาหนดเป้าหมายการทางานของตนเองว่าในแต่ละปีจะทางานอะไรบ้างและงาน
นั้นจะประสบความสาเร็จมากน้อยแค่ไหน หรือเรียกว่าการบริหารผลงานโดยกาหนดเป้าหมาย
(management by objectives)
6. การออกแบบเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ (career path) เป็นการออกแบบผังความ
ก้าวหน้าในตาแหน่งงานที่เป็นการเลื่อนตาแหน่งงานและการโอนย้ายบุคลากร โดยใช้สมรรถนะ
เป็นเกณฑ์กาหนด ให้บุคลากรรับรู้ตาแหน่งที่สูงขึ้นนั้นต้องมีสมรรถนะในเรื่องใดบ้าง เพื่อให้
บุคลากรเตรียมความพร้อมและวางแผนความก้าวหน้าในสายอาชีพของตนเอง
7. การบริหารคนเก่ง / คนดี และผู้สืบทอดตาแหน่ง บุคลากรที่มีความสามารถและผล
การปฏิบัติงานที่ดี เป็นบุคลากรที่องค์การต้องการให้ทางานในองค์การให้นานที่สุด ดังนั้น การ
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 105

ใช้สมรรถนะคัดเลือกบุคลากรเข้าทางาน โดยอาจกาหนดสมรรถนะที่โ ดดเด่นหรือพิเศษ เพื่อ


เตรียมบุคลากรกลุ่มนีเ้ ป็นผู้สบื ทอดตาแหน่งงานต่อไป
สรุปได้ว่า สมรรถนะสามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้หลายประการ ได้แก่ ใช้ในการสรรหา
คัดเลือกพนักงาน การจัดทาแผนฝึกอบรมระยะสั้นและระยะยาว การจัดทาแผนพัฒนาบุคลากร
รายบุคคล การประเมินผลการปฏิบัติงาน การออกแบบเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ และ
การบริหารคนเก่ง / คนดี และผู้สบื ทอดตาแหน่ง

การประเมินสมรรถนะบุคคล

การประเมินสมรรถนะ มีความแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ของการประเมิน เช่น การ


ประเมินผลงานประจาปี การประเมินเพื่อการสรรหาบุคลากร การประเมินเพื่อการพัฒนาบุคลากร
การประเมินสมรรถนะมีประโยชน์ในการช่วยให้ทราบว่าสมรรถนะใดที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงาน
สามารถปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานหรือสูงกว่ามาตรฐานที่กาหนด และมีประโยชน์ในการพัฒนา
ความสามารถของผู้ปฏิบัติงานเอง และต่อองค์ก ารในการวางแผนพัฒนาความสามารถของ
บุคลากร
วิธีการประเมินสมรรถนะบุคคลมี ดังนี้
1. Tests of Performance เป็นการทดสอบที่ออกแบบมาเพื่อวัดความสามารถของ
บุคคล ภายใต้เงื่อนไขของการทดสอบ ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถสมองโดยทั่วไป (general
mental ability) แบบทดสอบที่วัดความสามารถเฉพาะ และแบบทดสอบที่วัดทักษะ หรือความ
สามารถทางด้านร่างกาย
2. behavior observations เป็นการทดสอบที่เกี่ยวข้องกับการสังเกตพฤติกรรมของ
ทางาน การสัมภาษณ์ก็อาจจัดผู้รับการทดสอบในบางสถานการณ์ เช่น การสังเกตพฤติกรรม
การเข้าสังคม พฤติกรรมการอยู่ในกลุ่มนี้ดว้ ย
3. self reports เป็นการทดสอบที่ให้ผู้ตอบรายงานเกี่ยวกับตนเอง เช่น ความรู้สึก
ทัศนคติ ความเชื่อ ความสนใจ แบบทดสอบบุคลิกภาพ แบบสอบถาม แบบสารวจความคิดเห็น
ต่าง ๆ การตอบคาถามประเภทนี้ อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับความรู้สึกที่แท้จริงของผู้ตอบก็ได้
การทดสอบบางอย่าง เช่น การสัมภาษณ์อาจเป็นการผสมกันระหว่าง behavior observations
และ self reports เพราะการถามคาถามในการสัมภาษณ์อาจเกี่ยวข้องกับความรู้สึก ความคิด
และทัศนคติของผู้ถูกสัมภาษณ์ และในขณะเดียวกันผู้สัมภาษณ์ก็สังเกตพฤติกรรมของผู้ถูก
สัมภาษณ์ดว้ ย
106 การเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพครู

จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า การประเมินสมรรถนะบุคคลทาได้หลายวิธี ได้แก่ การทดสอบ


การสังเกตพฤติกรรม และการรายงานเกี่ยวกับตนเอง

การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครู

การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครู สามารถดาเนินการได้หลายรูปแบบ สาหรับแนวคิดที่


สามารถนามาใช้ในการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครู มีดังนี้ 1) การจัดทาแผนพัฒนาสมรรถนะ
และ 2) วิธีการพัฒนาสมรรถนะ โดยแต่ละเรื่องมีรายละเอียด ดังนี้
1. การจัดทาแผนพัฒนาสมรรถนะ
Brooks et al. (2005 อ้างถึงใน นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย. 2555: 36-37) ได้นาเสนอ
รูปแบบการจัดทาแผนพัฒนาตนเอง (individual development plan: ID Plan) แผนพัฒนาตนเองนี้
มุ่งพัฒนาความชานาญที่เป็นสมรรถนะเป้าหมายของบุคคล การจัดทาแผนพัฒนาตนเองนี้มี
วิธีดาเนินการ ดังนี้
1.1 การรวบรวมข้อมูลสะท้อนกลับ (gather feedback) อันดับแรกต้องมีการประเมิน
สมรรถนะปัจจุบันของตนเอง เพื่อจะได้กาหนดสิ่งที่ต้องการจะพัฒนาให้เกิดขึ้น ด้วยการประเมิน
ตนเองหรือประเมินจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหาร เพื่อน กลุ่มลูกค้า โดยการใช้เครื่องมือ
ในการประเมิน เพื่อให้เห็นช่องว่าง (gaps) ระหว่างสมรรถนะปัจจุบันกับสมรรถนะที่ต้องการให้
เกิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลจากการสะท้อนกลับจากลูกค้า เพื่อจัดเป็นสารสนเทศที่มีคุณค่า ที่
เราจะนาไปพัฒนาตามความต้องการ และเพื่อให้มั่นใจได้ว่ามีข้อมูลเพียงพอ ที่จะทาแผนพัฒนา
ตนเอง จึงมีความจาเป็นที่จะต้องรับฟังข้อมูลรอบด้าน
1.2 การเลือกสมรรถนะ (select competencies) เริ่มต้นต้องเลือกสมรรถนะที่ตอ้ งการ
เพียง 1-2 สมรรถนะที่เป็นประโยชน์ ไม่มีความจาเป็นที่จะต้องเลือกทุกสมรรถนะ สมรรถนะที่
เลือกต้องมีความสาคัญและมีความจาเป็นในการฝึกอบรมและพัฒนา ยกตัวอย่างสมรรถนะที่
ต้องการจะพัฒนา เช่น การขาดแรงจูงใจ ทรัพยากรหรือโอกาสต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าสมรรถนะ
นั้น ๆ จะส่งผลกระทบต่อขอบเขตการทางาน
1.3 เลือกกิ จกรรม (select activities) การเลือกกิจกรรมปฏิบัติเพื่อก าหนดลงใน
แผนพั ฒ นาตนเอง เช่น การเรีย นรู้งาน (on the job training) เข้ารับการฝึก อบรม (classroom
training) การเรียนรู้ด้วยตนเอง (self manage learning) การพัฒนาในแต่ละกิจกรรมอาจจะกาหนด
ขึน้ ตามระดับสมรรถนะขององค์การ และเป็นกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะช่วยให้บุคลากร
บรรลุระดับสมรรถนะที่ต้องการได้ กิจกรรรมที่เลือกควรเหมาะกับรูปแบบการเรียนรู้ของตนเอง
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 107

บางคนอาจจะเรียนรู้ได้ดีจากการสังเกต การอ่าน การลงมือทา หรือการมีส่วนร่วมผสมผสาน


กันไป ประเด็นสาคัญคือให้เลือกวิธีที่ดแี ละเหมาะกับงานมากที่สุด
1.4 การจัดทาแผนพัฒนาตนเอง (development the plan) แผนพัฒนาตนเองควรจะ
ใช้ระยะการพัฒนา 1 ปี ซึ่งต้องสัมพันธ์กับ กระบวนการรายงานผลงานประจาปี ในแผนควร
ประกอบไปด้วยสมรรถนะเฉพาะ (specific competencies) ระดับสมรรถนะที่ต้องการ (desire
competency levels) กิจกรรมการพัฒนา (development actives) กรอบเวลา (timeframes)
1.5 การนาแผนไปใช้ (implement the plan) เพื่อให้มั่นใจว่าจะเกิดการพัฒนาอย่าง
แท้ จริง ผู้ บ ริหาร ควรร่ว มกั น ก าหนดความก้ าวหน้ าของการพั ฒ นากั บ จุ ดประสงค์ ที่ ตั้งไว้
กุ ญ แจที่ จะน าไปสู่ การพั ฒนาให้ ประสบผลส าเร็จประกอบด้ วยการหมั่ นตรวจสอบผล มี การ
กาหนดเป้าหมาย ระบุผรู้ ่วมเรียนรู้ พัฒนาอย่างต่อเนื่องและเต็มใจที่จะเสี่ยง
1.6 การประเมิ น ผล (assess level) หลั งจากการน าแผนพั ฒ นาตนเองไปใช้แ ล้ ว
ผู้บริหารก็ควรจะได้มีส่วนร่วมในการติดตาม ประเมินผล เพื่อดูว่าสมรรถนะเป้าหมายที่ได้รับ
การพัฒนาเกิดประโยชน์ทั้งต่อบุคลากรและองค์การอย่างไร
สรุปได้ว่า กระบวนการจัดทาแผนพัฒนาสมรรถนะประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่
การรวบรวมข้อมูลสะท้อนกลั บ การเลือกสมรรถนะ การเลือกกิจกรรม การจัดทาแผนพัฒนา
ตนเอง การนาแผนไปใช้ และการประเมินผล

2. วิธีการพัฒนาสมรรถนะครู
วิธีการพัฒนาสมรรถนะครู อาจทาได้หลายรูปแบบตามความเชื่อของแต่ละบุคคล
ในองค์การ ที่ยึด ถือรากฐานของปรัชญาหรือทฤษฎีใด นอกจากนี้ ยั งขึ้นอยู่กับ ลักษณะของ
สถานศึกษา วัฒนธรรม และการเมืองของแต่ละองค์การ เงื่อนไขเหล่านี้ล้วนมีอิทธิพลต่อวิธีการ
พัฒนาสมรรถนะครูทั้งสิ้น
วิธีการพัฒนาสมรรถนะครูที่สาคัญมี ดังนี้
2.1 การเรีย นรู้ด้ ว ยตนเอง (self-directed learning) การเรีย นรู้ด้วยตนเองเป็น
กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนริเริ่มการเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ความต้องการ ความถนัด
อย่างมีเป้าหมาย รู้จักแสวงหาแหล่งทรัพยากรของการเรียนรู้ เลือกวิธีการเรียนรู้ ตลอดจนการ
ประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเอง โดยจะดาเนินการด้วยตนเองหรือ จะร่วมมือ
กับผู้อื่นก็ได้ การเรียนรู้ด้วยตนเองมีกระบวรการเรียนรู้ ดังนี้ 1) การประเมินความต้องการของ
ตนเอง 2) การกาหนดจุดมุ่งหมาย 3) การกาหนดสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ 4) การจัดการในการเรียน
5) การเลือกวิธีการเรียนและสื่อการเรียนการสอน อุปกรณ์การสอน เทคนิคการสอน ทรัพยากร
108 การเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพครู

การเรียนรู้ที่ต้องใช้ 6) การกาหนดวิธีการควบคุมสิ่งแวดล้อมในการเรี ยนรู้ ทั้งสิ่งแวดล้อมทาง


กายภาพและทางด้านอารมณ์ และ 7) การกาหนดวิธีการตรวจสอบตนเอง โดยกาหนดวิธีการ
รายงานและการสะท้อนตนเอง
2.2 การสอนงาน (coaching) การสอนงานเป็นกระบวนการทางานร่วมกันระหว่าง
ผูฝ้ ึกสอนงานกับผู้ฝึกปฏิบัติงาน โดยผู้ฝึกสอนงานมักจะกระทาการฝึกสอนงานโดยการตั้งคาถาม
และเป็นเพื่อนชวนคิด พยายามให้ผู้ปฏิบัติงานเป็นผู้แก้ปัญหาต่าง ๆ ด้ว ยความคิด ความถนัด
และความสามารถของตนเอง ทักษะการสอนงาน (coaching skill) ที่สาคัญที่ผู้ฝึกสอนงานใช้ใน
การดึงศักยภาพและประสิทธิภาพจากผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ 1) ทักษะการตั้งคาถาม การถามทาให้
เกิดกระบวนการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ และค้นหาคาตอบ การถามจึงเป็นการกระตุ้นความคิด
เมื่อผู้ปฏิบัติงานถูกถามจะต้องพยายามคิดและหาวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง 2) ทักษะการฟัง
การฟังเป็นทักษะการสื่อสารพื้นฐานที่ผู้ฝึกสอนงานควรให้ความสาคัญ เนื่องจากจะช่วยลดช่องว่าง
ในการติดต่อสื่อสาร และการประสานกันระหว่างผู้ฝึกสอนงานกับผู้ปฏิบัติงานก่อให้เกิ ดความ
เข้าใจตรงกัน การฟังแบบการสอนงานนี้จะมุ่งเน้นการฟังให้ถึงความรู้สึก ความเชื่อ ความคิดและ
จับประเด็นปัญ หา รวมทั้งวิธีการแก้ไขจากตัวผู้ปฏิบัติงานเอง และ 3) ทักษะการสร้างความ
สัมพั นธ์ การสร้างความสั มพั นธ์เป็นกระบวนการที่จะท าให้ผู้ฝึก สอนงานและผู้ปฏิบัติงานมี
ปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน เป็นการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเชื่อว่า
ตนเองมีศักยภาพและความพร้อมที่จะเปิดใจให้ความเห็น สามารถแสดงออกถึงความรู้สึกของ
ตนได้อย่างอิสระ และให้ความร่วมมือกับผูฝ้ กึ สอนงาน
2.3 ระบบพี่เลี้ยง (mentoring) ระบบพี่เลี้ยงเป็นการสอนงานโดยให้ผทู้ ี่มคี วามรู้
ความเชี่ยวชาญ สามารถให้คาปรึกษาและแนะนาช่วยเหลือผูป้ ฏิบัติงาน โดยมุ่งเน้นไปที่การบอก
วิธีการปฏิบัติงานที่เหมาะสม ตลอดจนขั้นตอนและแนวทางการแก้ปัญหา โดยใช้ประสบการณ์
ความรู้ ความสามารถของผู้ฝึกสอนงาน ถ่ายทอดไปยังผู้ปฏิบัติงาน ให้ปฏิบัติตามที่ผู้ฝกึ สอนงาน
ต้องการ ทักษะการฝึกสอนงานโดยระบบพี่เลี้ยง (mentoring skill) ที่สาคัญ ได้แก่ ผู้ฝึกสอนงาน
กาหนดขั้นตอนและวิธีการให้ผปู้ ฏิบัติงาน ระบุปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาให้ผปู้ ฏิบัติงาน กาหนด
ระยะเวลา ข้อเสนอแนะและแก้ไขสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานพึงกระทา ประโยชน์ของการพัฒนาด้วยระบบพี่
เลี้ยงคือสามารถสร้างกลุ่มที่มคี วามสามารถ มีศักยภาพสูงได้รวดเร็ว จูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานที่มี
ผลการปฏิบัติงานดีและมีศักยภาพในการทางานสูงให้คงอยู่กับหน่วยงาน กระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงาน
สร้างผลงานมากขึ้น สร้างบรรยากาศของการนาเสนองานใหม่ ๆ หรือมีความคิดนอกกรอบมากขึ้น
อีกทั้งยังเป็นการสร้างระบบการสื่อสารแบบสองทาง (two way communication) อีกด้วย
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 109

2.4 การให้คาปรึกษา (counseling) การให้คาปรึกษาเป็นรูปแบบการพัฒนา


สมรรถนะรูปแบบหนึ่ง ที่อาศัยความสัมพันธ์และการสื่อสารระหว่างผู้ให้คาปรึกษากับผูร้ ับการ
ปรึกษา เพื่อให้ผู้รับการปรึกษาเกิดความเข้าใจตนเอง เข้าใจปัญหา ได้ความรู้และทางเลือกใน
การแก้ปัญหานั้นอย่างเพียงพอ มีสภาพอารมณ์และจิตใจพร้อมที่จะคิดและตัดสินใจด้วยตนเอง
หลักการสาคัญของการให้คาปรึกษาจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่าผู้รับคาปรึกษาต้องการที่จะ
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตน ผู้ให้คาปรึกษาต้องได้รับการฝึกฝนเพื่อความชานาญมาอย่างดี
การให้คาปรึกษาต้องยึดหลักความแตกต่างระหว่างบุคคล จรรยาบรรณ และบรรยากาศที่ปกปิด
หรือความเป็นส่วนตัว เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงสาหรับช่วยเหลือหรือรักษาผลประโยชน์ของ
ผูร้ ับคาปรึกษาเป็นสาคัญ การให้คาปรึกษาจะเกิดขึ้นต่อเมื่อสัมพันธภาพระหว่างผู้ให้คาปรึกษา
และผูร้ ับคาปรึกษามีระดับมากพอที่ผู้รับคาปรึกษาเต็มใจที่จะเปิดเผยความรู้สกึ ที่แท้จริงของตน
2.5 การฝึกอบรม (training) การฝึกอบรมเป็นกระบวนการพัฒนาและปรับปรุง
การทางานของบุคคลและองค์การ โดยการส่งเสริมให้เกิดความรู้ ทักษะ และเจตคติ ซึ่งจะช่วย
ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้สาเร็จลุล่วงไปได้ การฝึกอบรมมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรมีความรู้
สามารถปฏิบัติงานและมีเจตคติที่ดีต่อการทางาน และเกิดความรักในองค์การ กระบวนการ
ฝึกอบรมประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาความต้องการ 2) การกาหนดวัตถุประสงค์
การฝึกอบรม 3) การกาหนดขอบข่ายของหลักสูตรฝึกอบรม 4) การกาหนดวิธีการฝึกอบรม
5) การดาเนินการฝึกอบรม 6) การประเมินผลการฝึกอบรม และ 7) การติดตามผลการฝึกอบรม
2.6 การนิเทศ (supervision) การนิเทศเป็นกิจกรรมที่ดาเนินการกับผูเ้ ข้ารับการ
พัฒนา เพื่อช่วยเหลือ อานวยการ ดูแลให้สามารถปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมายที่กาหนด โดยการ
ประชุม สัมมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความรู้และมีแนวคิดในการปรับปรุงแก้ไข สร้างสรรค์
ผลงาน การนิเทศจะดาเนินการระหว่างการพัฒนาและก่อนการสิ้นสุดพัฒนา หลักการนิเทศมี
4 ประการ ได้แก่ 1) การนิเทศจะต้องมีความถูกต้องตามหลักวิชา ควรเป็นไปตามวัตถุประสงค์
และนโยบายที่กาหนด 2) การนิเทศควรเป็นวิทยาศาสตร์ มีระบบ มีการปรับปรุง การประเมินผล
การนิเทศจะต้องมาจากการรวบรวมข้อมูลและสรุปผลอย่างมีประสิ ทธิภาพ 3) การนิเทศควร
เป็นประชาธิปไตย เคารพในความแตกต่างระหว่างบุคคล เน้นความร่วมมือในการดาเนินงาน และ
4) การนิเทศควรจะเป็นการสร้างสรรค์ เป็นการแสวงหาความสามารถพิเศษของบุคคล แล้ว
เปิดโอกาสให้ได้แสดงออกและพัฒนาความสามารถเหล่านั้น
2.7 การศึกษาดูงาน (studying visit) การศึกษาดูงานเป็นการให้บุคลากรได้มโี อกาส
ไปเยี่ยมชมหน่วยงานและวิธีปฏิบัติงานในหน่วยงานอื่น วัตถุประสงค์สาคัญเพื่อให้ผู้ได้รับการ
พัฒนาเกิดการเรียนรู้ เข้าใจในเทคนิคและวิธีการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่ตนไปดูงานด้วยตนเอง
110 การเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพครู

และยังมีโอกาสสอบถามหรือแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ และข้อคิดเห็นอันอาจนามาใช้
ปรับปรุงการทางานในหน่วยงานของตน ร่วมทั้งก่อให้เกิดประโยชน์ในการประสานงานระหว่าง
หน่วยงานของตนกับหน่วงงานที่ไปเยี่ยมชมต่อไปในอนาคตอีกด้วย การศึกษาดูงานจึงเป็นการ
เพิ่มพูนความรูแ้ ละประสบการณ์ให้กับบุคลากร โดยมีแนวคิดที่จะให้บุคลากรได้มโี อกาสพบเห็น
ได้รับฟัง และมีประสบการณ์โดยตรงกับสิ่งที่ตอ้ งการศึกษา จะทาให้เกิดความสนใจ เข้าใจและ
ตระหนักในประเด็นที่ตอ้ งการมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่บุคลากรผูไ้ ปดู
งานด้วย
2.8 การเข้าร่วมกิจกรรมวิชาการ การเข้าร่วมกิจกรรมวิชาการเป็นการเข้าร่วม
กิจกรรมวิชาการที่หลากหลาย สอดคล้องกับความสนใจและการปฏิบัติงานในหน้าที่ เช่น การ
สัมมนาวิชาการ กิจกรรมของสมาคมวิชาชีพหรือวิชาการ การเผยแพร่และเสนอผลงานวิชาการ
การส่งเสริมวินัยและพัฒนาคุณธรรม
สรุปได้ว่า วิธีการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูมีหลากหลายรูปแบบ เช่น การเรียนรู้ด้วย
ตนเอง การสอนงาน ระบบพี่เลี้ยง การให้คาปรึกษา การฝึกอบรม การนิเทศ การศึกษาดูงาน
การเข้าร่วมกิจกรรมวิชาการ ดังนั้น ในการพัฒนาสมรรถนะใดจะต้องเลือกวิธีการที่สอดคล้อง
และเหมาะสมกับสมรรถนะเหล่านั้น

สรุปท้ายบท

สมรรถนะ หมายถึง คุ ณ ลัก ษณะเชิงพฤติก รรมที่เป็นผลมาจากความรู้ ทัก ษะ และ


คุณลักษณะอื่น ๆ ที่ทาให้บุคคลสามารถสร้างผลงานในความรับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สมรรถนะมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความรู้ (knowledge) 2) ทักษะ (skill) 3) ทัศนคติ ค่านิยม
และความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนเอง (self-concept) 4) บุคลิกประจาตัวบุคคล (trait)
และ 5) แรงจูงใจหรือแรงขับภายใน (motive) สาหรับการจาแนกสมรรถนะนั้นสามารถจาแนก
ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) สมรรถนะหลัก (core competency) หมายถึง คุณ ลัก ษณะเชิง
พฤติกรรมที่ทุกคนในองค์การต้องมี เพื่อให้การปฏิบัติงานประสบความสาเร็จ บรรลุตามเป้าหมาย
และวิสั ยทัศน์องค์การ และ 2) สมรรถนะประจาสายงาน (functional competency) หมายถึ ง
คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมของบุคคล ที่สามารถสร้างผลงานจากการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
สมรรถนะสามารถนาไปใช้ประโยชน์ไ ด้หลายประการ ได้แก่ ใช้ในการสรรหาคัดเลือก
พนักงาน การจัดทาแผนฝึกอบรมระยะสั้นและระยะยาว การจัดทาแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 111

การประเมินผลการปฏิบัติงาน การออกแบบเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ และการบริหารคน


เก่ง / คนดี และผู้สืบทอดตาแหน่ง ส่วนการประเมินสมรรถนะบุคคลทาได้ หลายวิธี ได้แก่ การ
ทดสอบ การสังเกตพฤติกรรม และการรายงานเกี่ยวกับตนเอง
กระบวนการจัดทาแผนพัฒนาสมรรถนะประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ การรวบรวม
ข้อมูลสะท้อนกลับ การเลือกสมรรถนะ การเลือกกิจกรรม การจัดทาแผนพัฒนาตนเอง การนา
แผนไปใช้ และการประเมินผล ส่วนวิธีการพัฒนาสมรรถนะมีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ การ
เรียนรูด้ ้วยตนเอง การสอนงาน ระบบพี่เลี้ยง การให้คาปรึกษา การฝึกอบรม การนิเทศ การศึกษา
ดูงาน และการเข้าร่วมกิจกรรมวิชาการ ดังนัน้ ในการพัฒนาสมรรถนะใดจะต้องเลือกวิธีการที่
สอดคล้องและเหมาะสมกับสมรรถนะเหล่านั้น

แบบฝึกหัดท้ายบท

จงตอบคาถามหรือทากิจกรรมต่อไปนี้
1. จงให้ความหมายของ “สมรรถนะ” และ “สมรรถนะวิชาชีพครู”
2. สมรรถนะมีกี่องค์ประกอบ อะไรบ้าง จงอธิบายรายละเอียดแต่ละองค์ประกอบ
3. สมรรถนะวิชาชีพครูมกี ี่ประเภท จงอธิบายรายละเอียดแต่ละประเภท
4. สมรรถนะมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
5. วิธีการประเมินสมรรถนะวิชาชีพครูทาอย่างไรได้บ้าง
6. ท่านคิดว่าสมรรถนะวิชาชีพครูมีความจาเป็นต่อการปฏิบัติงานหรือไม่ อย่างไร
7. จงอธิบายขั้นตอนการจัดทาแผนพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครู
8. วิธีการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูมวี ิธีใดบ้าง
9. ให้นักศึกษาสัมภาษณ์ครูที่ได้รับรางวัล “ครูผสู้ อนดีเด่น” ของคุรุสภาหรือหน่วยงาน
ต้นสังกัด โดยสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ขอ้ มูลเกี่ยวกับองค์ประกอบของสมรรถนะวิชาชีพครู และวิธีการ
พัฒนาเพื่อให้ครูมีสมรรถนะตามองค์ประกอบดังกล่าว
10. จากผลการสัมภาษณ์ครูผู้สอนดีเด่น (ในข้อ 9) ให้นักศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะ
วิชาชีพครูที่ได้จากการสัมภาษณ์กับสมรรถนะวิชาชีพครูของนักศึกษาว่า “มี” และ “ไม่มี” ใน
องค์ประกอบใดบ้าง แล้วให้จัดทาแผนพัฒนาตนเอง เพื่อให้เกิดสมรรถนะวิชาชีพครูดังกล่าว
112 การเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพครู
บทที่ 6
การจัดการความรู้วิชาชีพครู
การจัดการความรู้วิชาชีพครูมีความสาคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นกระบวนการของการใช้
ความรู้อย่างเหมาะสมและเป็นระบบ โดยประกอบด้วยการแสวงหาความรู้ การเก็บรวบรวมความรู้
การสร้างความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ และการนาความรูไ้ ปใช้
สาหรับในบทนีจ้ ะได้นาเสนอเนื้อหาตามลาดับ ดังนี้ ความหมายของความรู้ ประเภทของ
ความรู้ ระดับของความรู้ วงจรเกลียวความรู้ ความหมายของการจัดการความรู้ กระบวนการ
จัดการความรู้ สภาพของการจัดการความรูใ้ นสถานศึกษา รูปแบบการจัดการความรูใ้ น
สถานศึกษา ประโยชน์ของการจัดการความรู้ และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการจัดการความรู้

ความหมายของความรู้

ได้มผี ใู้ ห้ความหมายของความรู้ (knowledge) ดังนี้


ราชบัณฑิตยสถาน (2564: ออนไลน์) ได้ให้ความหมายของความรู้ออกเป็น 2 ประการ
ได้แก่ 1) ความรู้ หมายถึง สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์
รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ และ 2) ความรู้ หมายถึง ความเข้าใจหรือสารสนเทศ
ที่ได้รับมาจากประสบการณ์ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ Clark and Clege (1998: 43) ได้กล่าวว่า
ความรู้เป็นผลที่ได้จากภูมิปัญญาและการเรียนรู้ที่มีอยู่ ในตัวคนและพนักงานในองค์การทั้งหมด
และเป็นองค์ประกอบที่สาคัญที่สุดสาหรับองค์การที่ต้องการความสาเร็จ และสร้างสิ่งที่เหนือกว่า
องค์การอื่น หรือองค์การที่เป็นคู่แข่ง Little, Quintas and Ray (2002: 42) ได้กล่าวว่า ความรู้
เป็นพลวัตร (dynamic) ซึ่งเกิ ดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างบุคคล หรือบุคคลกั บ
องค์การ หรือองค์การกับองค์การ โดยการแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึกในคน และความรู้เปิดเผยใน
รูปแบบต่าง ๆ ภายใต้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและเพียงพอกับการพัฒนาองค์การทั้งในมิติของ
การสร้างความรู้ การเก็บความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ และการนาความรู้ไปใช้ ส่วนวีระพจน์
114 การจัดการความรู้วชิ าชีพครู

กิมาคม (2549: 22) ได้ให้ความหมายของความรู้ออกเป็น 2 ประการ ได้แก่ 1) ความรู้ หมายถึง


เนื้อหาข้อมูลที่ประกอบด้วยข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ทฤษฎี หลักการและรูปแบบ หรือกรอบ
ความคิดอื่นๆ หรือข้อมูลอื่น และ 2) ความรู้ หมายถึง การที่บุคคลได้กล่าวอ้างถึงข้อมูล หรือ
ข้อเท็จจริงที่เกิดจากการกระทาของมนุษย์ หรือเกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ โดยนามา
พูดถึงด้วยความเชื่อถือ หรือความศรัทธา
ในทัศนะของผู้เขียน ความรู้ หมายถึง สารสนเทศที่ผ่านการสั่งสมจากการศึกษาเล่า
เรียน การค้นความหรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติ ทักษะ ความเข้าใจ หรือ
สารสนเทศที่ได้รับ มาจากประสบการณ์ สิ่งที่ได้รับ มาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิดหรือการ
ปฏิบัติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้อธิบายสิ่งต่างๆที่พบเห็นได้อย่างมีเหตุผล โดยอาศัยข้อมูล ทักษะ และ
ประสบการณ์ที่มอี ยู่เป็นส่วนสนับสนุนการตัดสินใจ

ประเภทของความรู้

การแบ่งประเภทความรู้มองได้หลายมิติ ทั้งนีข้ ึ้นอยู่กับวิธีการที่ใช้ในการจาแนก ผูร้ ู้หลาย


ท่านได้แบ่งประเภทของความรูไ้ ว้อย่างหลากหลาย ดังนี้
Nickols (2000: 12-21) ได้แบ่งประเภทความรู้ออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1) ความรู้โดยนัย หรือความรู้ที่มองเห็นไม่ชัดเจน (tacit knowledge) เป็นความรู้ที่
เกิดขึ้นภายใน อาจเกิดจากประสบการณ์ หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคล ทั้งนี้การสื่อสาร
ออกมาเป็นคาพูด หรือตัวหนังสือทาได้ยาก เช่น ทักษะการทางาน กระบวนการในการแก้ไข
ปัญ หาเฉพาะหน้า เป็นต้น โดยที่ความรู้โดยนัยหรือความรู้ที่มองเห็นไม่ชัดมีประมาณร้อยละ
80 ของความรู้ในองค์กร จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายสาหรับผู้บริหารที่จะดึงความรู้ส่วนที่อยู่ภายในของ
แต่ละคนออกมาให้ในรูปของความรู้ที่ชัดแจง (explicit knowledge) และเป็นประโยชน์ต่อองค์กร
ให้มากที่สุด
2) ความรูท้ ี่ชัดแจ้ง หรือความรูท้ ี่เป็นทางการ (explicit knowledge) เป็นความรู้ที่
สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคาพูด หรือลายลักษณ์อักษรตามสื่อต่าง ๆ ได้ เช่น คู่มือการทางาน
ของพนักงานใหม่ หนังสือสัญญา MOU ระหว่างบริษัท ข้อมูลจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
ธีระ รุญเจริญ (2557: 235-236) ได้แบ่งประเภทของความรูอ้ อกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1) ความรูเ้ ด่นชัด (explicit knowledge) เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสารหรือ
วิชาการ อยู่ในตาราคู่มอื ปฏิบัติงาน โดยเน้นไปที่การเข้าถึงแหล่งความรู้ ตรวจสอบ และตีความ
ได้และอาจเกิดความรูใ้ หม่ สรุป อ้างอิงต่อไป
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 115

2) ความรู้ซ่อนเร้น (tacit knowledge) เป็นความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวตน เป็นประสบการณ์


ที่สั่งสมมายาวนาน เป็นภูมิปัญญา ความรู้ประเภทนี้เน้นไปที่การจัดเวทีเพื่อให้การแบ่งปันความรู้
ที่อยู่ในตัวผูป้ ฏิบัติ ทาให้เกิดการเรียนรู้รว่ มกัน อันจะนาไปสู่ความรู้ใหม่ตอ่ ไป
สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2560: 31) ได้แบ่งประเภทของความรูอ้ อกเป็น
2 ประเภท ดังนี้
1) ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (tacit knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์
หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทาความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไ ม่สามารถ
ถ่ายทอดออกมาเป็นคาพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทางาน งานฝีมือ
หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
2) ความรู้ที่ชัดแจ้ง (explicit knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้
โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มอื ต่าง ๆ บางครั้งเรียกว่าเป็น
ความรูแ้ บบรูปธรรม
ประเภทของความรูท้ ี่กล่าวมาสามารถเขียนเป็นภาพประกอบได้ ดังนี้

ประเภทของความรู้

1. ความรู้ที่ฝังลึกในตัวคน (tacit knowledge) 2. ความรู้ที่ชดั แจ้ง (explicit knowledge)


เป็นความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ เป็นความรู้ที่สามารถถ่ายทอดออกมา
ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคาพูด หรือ เป็นคาพูด หรือลายลักษณ์อักษรตามสื่อ
ลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะการ ต่าง ๆ ได้ เช่น คู่มือต่าง ๆ หนังสือ ข้อมูล
ทางาน งานฝีมอื ความคิดเชิงวิเคราะห์ จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ภาพที่ 6.1 ประเภทของความรู้

จากภาพที่ 6.1 สามารถอธิบายได้วา่ ความรู้แบ่งออกได้ 2 ประเภท ได้แก่


1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (tacit knowledge) หรือความรู้ซ่อนเร้น เป็นความรู้ที่แฝงอยู่ใน
ตัวบุคคล อันเกิดจากประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน เป็นความรู้ ยากต่อการถ่ายทอดออกมา
เป็นคาพูด หรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย ความรู้ชนิดนี้จาแนกออกเป็นชนิดย่อย ๆ ได้ 5 ชนิด
ดังนี้
116 การจัดการความรู้วชิ าชีพครู

1.1 ความรู้ฝังอยู่ภายใน (artifact) ความรู้ชนิดนี้อาจอยู่ในตัวคน หรือในธรรมชาติ


ต้องมีการถ่ายทอดหรือมีการศึกษาวิเคราะห์ วิจัย จึงจะได้มาซึ่งความรูช้ นิดนี้
2.2 ความรู้ที่เป็นทักษะ (skills) หมายถึง ความรู้ที่เกิดจากการฝึกฝน หรือการปฏิบัติ
กิจกรรมต่าง ๆ จนเกิดความชานาญ
2.3 ความรู้ที่เกิดจากสามัญ สานึก (heuristics) อาจเป็นกฎธรรมชาติ หรือการใช้
หลักการของสัญ ชาตญาณทั่ว ๆ ไป เช่น ความหิว ความกลัว โดยไม่ต้องอาศัยความรู้สึกซึ้ง
มากนัก
2.4 ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ (experience) เป็นสิ่งที่ผ่านมาในการดารงชีวิต
อาจจะเกิดโดยตรงหรือโดยอ้อม ซึ่งเกิดจากการได้กระทาหรือปฏิบัติ
2.5 ความรู้ที่เกิ ด โดยธรรมชาติ (natural talent) หรืออาจใช้คาว่าพรสวรรค์ก็ ได้
เพราะแต่ละคนมีไม่เหมือนกัน เป็นความสามารถพิเศษมาตั้งแต่กาเนิด เช่น ความสามารถด้าน
ดนตรี การร้องเพลง ศิลปะ ซึ่งมีลักษณะโดดเด่นกว่าบุคคลทั่วไปและถ่ายทอดแก่บุคคลอื่นได้ยาก
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (explicit knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถถ่ายทอดได้โดยผ่านวิธี
ต่าง ๆ เช่น บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มอื ต่าง ๆ

ระดับของความรู้

มีนักวิชาการได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับระดับของความรู้ ดังนี้
Collison and Parcell (2004: 23-24) ได้เสนอแนวคิดในการแบ่งระดับความรู้ออกเป็น
4 ระดับ ดังนี้
ระดับที่ 1 รู้ว่าคืออะไร (know-what) เป็นความรู้เชิงทฤษฎีล้วน ๆ เปรียบเสมือน
ความรู้ผู้จบปริญญามาใหม่ ๆ เมื่อนาเอาความรู้เหล่านี้ไปใช้งานก็ได้ผลบ้าง ไม่ได้ ผลบ้าง หรือ
เป็นลักษณะความรู้ในเชิงการรับรู้ ผู้ปฏิบัติงานจะปฏิบัติงานตามข้อมูลที่มีอยู่ ซึ่งต้องใช้เวลาใน
การรวบรวมความรูแ้ ละการตัดสินใจในงานที่ปฏิบัติ
ระดับที่ 2 รู้วิธีการ (know-how) หรือกลวิธี เป็นความรู้ที่มีทั้งเชิงทฤษฎีและเชิงบริบท
เปรียบเสมือนความรู้ของผู้จบปริญญาและมีประสบการณ์การทางานระยะหนึ่ง เช่น 2-3 ปี จะมี
ความรู้ในลักษณะที่รู้จักปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมหรือบริบท หรือเป็นความสามารถในการนา
ความรูไ้ ปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติ มีเทคนิค และวิธีการทางานที่เหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติ
ระดับที่ 3 รู้เหตุผล (know-why) เป็นความรู้ในระดับที่อธิบายเหตุได้ว่าทาไมความรู้
นั้น ๆ จึงใช้ได้ผลในบริบทหนึ่ง แต่ใช้ไม่ได้ผลในอีกบริบทหนึ่ง หรือเป็นความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเชิง
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 117

เหตุผลที่สลับซับซ้อน ความรู้ระดับนีผ้ ปู้ ฏิบัติงานสามารถพัฒนาได้บนพืน้ ฐานของประสบการณ์


ในการแก้ปัญหาและการอภิปรายเกี่ยวกับประสบการณ์ร่วมกับผู้อื่น และมีกลยุทธ์ในการทางาน
ของตน สามารถหยั่งรู้และมีการเอาใจใส่ในบริบทของงานและองค์การอย่างเป็นภาพรวมทั้งหมด
มีเทคนิคและวิธีการทางานที่เหมาะสมในการพัฒนา
ระดับที่ 4 ใส่ใจกับเหตุผล (care-why) เป็นความรู้ในระดับคุณค่าความเชื่อซึ่งจะ
เป็นแรงขับมาจากภายในจิตใจให้ต้องกระทาสิ่งนั้น ๆ เมื่อเผชิญสถานการณ์ หรือเป็นความรู้ใน
ลักษณะสร้างสรรค์ที่มาจากตัวเอง บุคคลที่มีความรู้ในระดับนี้จะมีเจตจานง แรงจูงใจ และการ
ปรับตัวเพื่อความสาเร็จ
Quinn (n.d. อ้างถึงใน พรธิดา วิเชียรปัญญา. 2549: 24) ได้แบ่งระดับของความรู้ออกเป็น
4 ระดับ ดังนี้
ระดับที่ 1 รู้วา่ คืออะไร (know-what) เป็นความรู้ในเชิงรับรู้
ระดับที่ 2 รู้วธิ ีการ (know-how) เป็นความสามารถในการนาความรูไ้ ปประยุกต์ใช้
ในการปฏิบัติ
ระดับที่ 3 รู้เหตุผล (know-why) เป็นความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเชิงเหตุผลที่สลับซับซ้อน
อันอยู่ภายใต้เหตุการณ์และสถานการณ์ต่างๆ ความรู้ในระดับนี้สามารถพัฒนาได้บนพื้นฐาน
ของประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหา และการอภิปรายเกี่ยวกับประสบการณ์ร่วมกับผูอ้ ื่น
ระดับที่ 4 ใส่ใจกับเหตุผล (care-why) เป็นความรู้ในลักษณะการสร้างสรรค์ที่มา
จากตัวเอง บุคคลที่มคี วามรูใ้ นระดับนี้มีเจตจานง แรงจูงใจ และการปรับตัวเพื่อความสาเร็จ
จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า ระดับของความรู้สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ ได้แก่ รู้ว่า
คืออะไร รู้วิธีการ รู้เหตุผล และใส่ใจกับเหตุผล องค์การใดที่มีบุคลากรมีความรู้ในระดับที่ 3 (รู้
เหตุผล) และระดับที่ 4 (ใส่ใจกับเหตุผล) องค์ก ารนั้นจะประสบกับความสาเร็จเป็นอย่างมาก
เพราะเป็นความรู้ประเภทฝังลึกในตัวบุคคล ซึ่งจะมีการนาความรู้ดังกล่าวออกมาแลกเปลี่ยน
และใช้ในการพัฒนาตนเอง เพื่อนร่วมงานและองค์การ

วงจรเกลียวความรู้

การจะทาให้ความรู้เฉพาะบุคคลเกิดการถ่ายทอดไปยังกลุ่มองค์การ หน่วยงานและใน
ระดับนานาชาติ ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนานั้น ก็คือรูปแบบของเกลียวความรู้หรือ
ปฏิสัมพันธ์ของความรู้ (SECI) มี 4 ส่วน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สาคัญอย่างหนึ่งในการยกระดับความรู้
118 การจัดการความรู้วชิ าชีพครู

และนาความรู้ไปใช้ประโยชน์ โดยเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องเป็นวงจร ซึ่งจะเป็นการอธิบาย


การถ่ายทอดความรูแ้ ละการเปลี่ยนรูปแบบของความรู้ทั้ง 2 ประเภท เกิดเป็นความรู้ใหม่ ดังนี้
(Takeuchi and Nonaka. 2001: 147-156)
1. เริ่มจาก Socialization (S) เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความรู้
คือ การจัดให้คนมามีปฏิสัมพันธ์ (socialize) กันในรูปแบบต่าง ๆ ทาให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้
ฝังลึกในคน (tacit knowledge) หรือประสบการณ์ เช่น ทักษะ แนวคิดเพื่อให้เกิดกระบวนการคิด
และให้มที ักษะใหม่ ๆ เกิดขึ้น
2. Externalization (E) เป็นกระบวนการสื่อ หรือเปลี่ยนความรู้จากประสบการณ์ในการ
ทางาน ให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถถ่ายทอดให้เข้าใจได้ง่าย รวมทั้งสามารถเก็บเป็นความรู้ของ
องค์การได้ เช่น เปลี่ยนความรู้ออกมาเป็นคาพูด ภาษาเขียน รูปภาพ แผนผัง ฟังก์ชั่นหรือสมการ
เท่ากับการเปลี่ยนความรู้ฝังลึกในคนให้เป็นความรู้เปิด หรือความรู้ที่เข้ารหัส (codified knowledge)
ซึ่งเป็นความรู้ที่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้โดยง่าย โดยอาจผ่านวิธีการด้านเทคโนโลยีสื่อสาร
และสารสนเทศ
3. Combination (C) เป็นกระบวนการรวม หรือผนวกรวมความรู้เปิดในแขนงต่าง ๆ เข้า
ด้วยกัน เพื่อให้ได้ความรูเ้ ปิดเผยที่กว้างขวางและลึกซึง้ ขึ้น ก่อให้เกิดการสร้างความรู้ใหม่
4. Internalization (I) เป็นกระบวนการสุดท้ายในวงจร SECI ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้
จากการเปลี่ยนความรู้ให้อยู่ในรูปของเอกสาร ทักษะ หรือความสามารถของบุคคลหรือองค์การ
เป็นการ “จารึก” ความรู้เปิดเผยให้เป็นความรู้ที่ฝังลึกในสมองคน หรือฝังเข้าไปในผลิตภัณฑ์
หรือกระบวนการท างาน ซึ่งผลิตภัณ ฑ์ หรือกระบวนการนี้จะไปสัมพั นธ์กั บ ลูก ค้า หรือผู้ใช้
ผลิตภัณ ฑ์ และเกิ ด “ข้อมู ล ” ความพึ งพอใจ หรือประสบการณ์ ในการใช้ผลิตภัณ ฑ์ หรือใช้
กระบวนการท างานนั้ น เป็ น ข้ อ มู ล ใหม่ หรื อ เพิ่ ม เติ ม เข้ ามาในกระบวนการจั ด การความรู้
ยกระดับเกลียวความรู้ หรือปฏิสัมพันธ์ของความรู้ขนึ้ ไปอีก วงจร SECI นี้ จะดาเนินการต่อเนื่อง
เรื่อยไปไม่มสี ิน้ สุด ดังภาพประกอบ 7.2
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 119

ภาพที่ 6.2 วงจรเกลียวความรูข้ อง Grundstein


ที่มา: Grundstein. 2001: 266

จากภาพที่ 6.2 สามารถอธิบายในอีกลักษณะหนึ่งของการเปลี่ยนรูปของความรู้


(knowledge conversion) ในวงจรเกลียวความรู้ (SECI) โดยในแต่ละขั้นตอนจะต้องมีผนู้ าที่สง่ เสริม
การจัดการความรู้ มีเทคโนโลยีที่เหมาะสม มีโครงสร้างองค์การที่เป็นแนวราบที่เอือ้ ต่อการจัดการ
ความรู้ รวมทั้งต้องมีบุคลากรที่มคี วามรู้ ความสามารถและทักษะที่เพียงพอที่จะทาให้การจัดการ
ความรูป้ ระสบความสาเร็จโดยวงจรเกลียวความรู้นมี้ ีลักษณะเป็นพลวัตร ดังนี้
จาก tacit knowledge ไปยัง tacit knowledge เรียกว่าสังคมประกิต (socialization)
เป็นการถ่ายโอนความรู้จากผูร้ ู้ต้นแบบซึ่งเกิดขึ้นเฉพาะตนไปยังบุคคลอื่น ผ่านกระบวนการสังเกต
(observation) การเลียนแบบ (imitation) และการฝึกปฏิบัติ (practice) ซึ่งผู้รู้ต้นแบบไม่สามารถ
อธิบ ายทัก ษะของตนได้อย่างกระจ่างชัด ดังนั้น การเปลี่ย นรูป ของความรู้ตามกระบวนการ
socialization จึงไม่สามารถเข้าถึงระดับองค์ความรูใ้ นการพัฒนาองค์การได้
จาก tacit knowledge ไปยัง explicit knowledge เรียกว่า การเปลี่ยนรูปความรู้สู่
ภายนอก (Externalization) เป็นความพยายามในการเชื่อมต่อ tacit knowledge ไปสู่ explicit
knowledge โดยการสร้างความรู้ให้เป็นรูป ร่าง จากอุป มา-อุป ไมย (metaphors - analogies)
การสร้างมโนทัศ (concepts) ทฤษฎี (hypotheses) และแบบจาลองความรู้ (models)
จาก explicit knowledge ไปยัง explicit knowledge เรีย กว่า การรวบรวมความรู้
(combination) เป็นการแลกเปลี่ยนและรวบรวมความรู้ที่กระจ่างชัด (explicit knowledge) โดย
ใช้สื่อต่าง ๆ เข้ามาช่วย เช่น เอกสาร การพบปะพูดคุย การสนทนาทางโทรศัพท์ การสื่อสาร
120 การจัดการความรู้วชิ าชีพครู

ผ่านระบบเครือข่าย ซึ่งจะท าให้เกิด explicit knowledge ขึ้นมาใหม่ ความรู้ตามกระบวนการ


combination จึงมีความจาเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาองค์การ
จาก explicit knowledge ไปยัง tacit knowledge เรีย กว่า การเปลี่ย นแปลงรูป สู่
ความรู้ภ ายใน (internalization) เป็ นการเปลี่ ยนรูป ความรู้ที่ ด าเนินไปทีละเล็ กที ละน้ อย โดย
อาศัยประสบการณ์ จาก Socialization Externalization และ Combination ซึ่งจะตกผลึกเป็นทักษะ
ภายในของแต่ละคน อันเป็นฐานในการเปลี่ยนรูปโดยการ Socialization อีกครั้งหนึ่ง

ความหมายของการจัดการความรู้

มีผู้ให้ความหมายของการจัดการความรู้ (knowledge management: KM) ดังนี้


Sallis and Jones (2002: 22-29) ได้กล่าวว่า การจัดการความรู้เป็นกระบวนการของ
การใช้ความรู้อย่างเหมาะสมและเป็นระบบซึ่งประกอบด้วยการแสวงหาความรู้ การเก็บรวบรวม
ความรู้ การสร้างความรู้ และการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างครูกับนักเรียน ระหว่างทีมงาน และ
การนาความรู้ไปใช้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของสานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
(ก.พ.ร.) และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (2548: 4) ได้ให้ความหมายของการจัดการความรู้
หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์การ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสาร
มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์การสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้
รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด
ธีระ รุญเจริญ (2557: 235) กล่าวว่า การจัดการความรู้คือเครื่องมือเพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมาย
3 ประการไปพร้อม ๆ กัน ได้แก่ การบรรลุเป้าหมายของงาน การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน
และการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ บุญดี บุญญากิจ และณัชมน
พรกาญจนานันท์ (2550: 6) กล่าวว่า การจัดการความรู้หมายถึง กระบวนการนาความรู้ที่มีอยู่
หรือได้เรียนรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ โดยผ่านกระบวนการต่าง ๆ เช่น การสร้าง
รวบรวม แลกเปลี่ยน และใช้ความรู้ สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2560: 31) ได้ให้
ความหมายการจัดการความรู้ หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัด
กระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึง
ความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่ างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้
องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด
ในทัศนะของผู้เขียน การจัดการความรู้ หมายถึง กระบวนการรวบรวม จัดระบบ เผยแพร่
ถ่ายโอนและเปลี่ยนความรู้ที่เป็นประโยชน์ ให้สามารถนาไปประยุก ต์ใช้ในการปฏิบัติงานใน
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 121

สถานการณ์ต่าง ๆ ได้ทันเวลา ซึ่งก่อให้เกิดการแข่งขันและแพร่กระจายไหลเวียนทั่วทั้งองค์การ


ส่งผลให้การปฏิบัติงานประสบผลสาเร็จ

กระบวนการจัดการความรู้

มีนักวิชาการนาเสนอกระบวนการจัดการความรู้ ดังนี้
กองบรรณาธิการ วารสารหมออนามัย (2546: 13) ได้เสนอกิจกรรมในการจัดการความรู้
ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย 5 ขั้นตอน ดังนี้
1) การกาหนดความรู้ (define) สิ่งแรกที่เราต้องกระทา คือ การร่วมกันตั้งคาถาม
ว่า อะไรคือความรู้ที่สาคัญและจาเป็นกับองค์การ ความรู้ที่ต้องใช้ในการดาเนินกิจกรรม หรือ
การประกอบ การจะทาให้การกาหนดความรู้ที่จาเป็นต้องจัดหา หรือสร้างขึ้นมาใช้ในองค์การ
ขั้นตอนนี้เป็นการนาเอาความมุ่งมั่น วิสัยทัศน์ พันธะกิจ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ และนโยบาย
ขององค์การเป็นตัวกาหนดความรู้ที่ตอ้ งการใช้
2) การสร้างความรู้ (create) เป็นการสร้างกระบวนการ และขั้นตอนในการทางาน
ภายในองค์การ และนาความรู้ ข้อสนเทศ หรือข้อมู ล จากภายนอก มาสังเคราะห์ เป็นความรู้
สาหรับใช้ในการทางานที่สอดคล้องกับบริบทขององค์การ โดยเฉพาะการสร้างความรู้ด้วยการ
วิจัยในการปฏิบัติงาน เพื่อพัฒนาและยกระดับการให้บริการแก่ประชาชน
3) การเสาะหาและยึดกุมความรู้ (capture) จากความเชื่อที่ว่า ความรู้มีอยู่ทั่วไปทั้ง
ภายในและภายนอกองค์การ ในสังคม ในโลก องค์การจะต้องพัฒนาขีดความสามารถในการ
เสาะแสวงหาความรู้และยึดกุมความรู้ที่กระจัดกระจายและแฝงอยู่ตามที่ต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์
และดาเนินการดังกล่าวอยู่อย่างสม่าเสมอ จนเกิดทักษะความชานาญ รวมทั้งพัฒนาวิธีการ
ใหม่ ๆ เพื่อการเสาะหาและยึดจับกุมความรู้จากประสบการณ์เดิม
4) การเปลี่ยนความรู้ (sharing) เป็นขั้นตอนที่สาคัญที่สุด และเป็นขั้นตอนที่ทาได้
ยากที่สุด ในองค์การบางประเภทที่สมาชิกองค์การมีพฤติกรรมปกปิดความรู้ เก็บงาไว้คนเดียว
เพื่อเอาไว้ใช้แสดงความเหนือคนอื่น เพื่อประโยชน์ในการแข่งขัน เลื่อนตาแหน่งหน้าที่การงาน
กระบวนการจัดการความรู้จะต้องสร้างเงื่อนไขและกติกา ที่ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนแบ่งปัน
ความรู้ และไม่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผมู้ ีพฤติกรรมกักตุนความรู้
5) การใช้ความรู้ (use) ถ้าไม่มีขั้นตอนของการประยุกต์ใช้ความรู้ การจัดการความรู้
จะไม่บังคับเกิดผลใด ๆ เป็นการลงทุนที่สูญเปล่า การประยุกต์ใช้ความรู้ทาให้เกิดผลจากการใช้
ความรู้นั้น ทั้งเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ พัฒนากระบวนการทางาน และพัฒนาศักยภาพ
122 การจัดการความรู้วชิ าชีพครู

ของสมาชิกในองค์การ เป็นเรื่องสาคัญยิ่งและมีผลในเชิงป้อนกลับต่อกระบวนการจัดการความรู้
ทุก ๆ ขั้นตอน
McKeen and Smith (2003: 51-58) เสนอว่าการจัดการความรู้ประกอบกระบวนการ
5 ขั้นตอน ดังนี้
1) การกาหนดความรู้ที่ต้องการ ต้องอาศัยพนักงานที่มีความรู้ ความสามารถ และ
ความคิดใหม่ๆเพื่อให้เกิดความรูใ้ หม่ที่จะสนับสนุนความสาเร็จขององค์การได้
2) การเข้าถึงความรู้ องค์การต้องรู้ว่าจะเข้าถึงความรู้ได้อย่างไร ซึ่งอาจได้จากผู้รู้
หรือเครือข่ายต่าง ๆ
3) การยึดกุมความรู้ ส่วนมากได้จากความรูท้ ี่ฝังลึกในตัวคน
4) การสร้างความรู้ เป็นกระบวนการที่สาคัญที่จะทาให้เกิดความสาเร็จ เพราะได้
จากการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างคน ระหว่างกลุ่ม หรือระหว่างองค์การ
5) การใช้ความรู้ เพื่อประโยชน์ของพนักงานและองค์การ โดยองค์การจะต้องสร้าง
วัฒนธรรมการใฝ่รู้ให้เกิดกับพนักงานภายใต้ศาสตร์แห่งการจัดการความรู้
วิจารณ์ พานิช (2547: 7) ได้กล่าวว่า กิจกรรมการจัดความรู้มี 6 ประการ ดังนี้
1) กาหนดความรู้ที่ตอ้ งการใช้ (define) เป็นการนาวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และ
วัตถุประสงค์ขององค์การมากาหนดความรู้ที่ตอ้ งการใช้ และเพื่อให้การจัดการความรูม้ ีจุดเน้น
ไม่สะเปะสะปะ
2) การเสาะหาและยึดกุมความรู้ (capture) เป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการ
เสาะหาและยึดความรู้ ที่อยู่กระจัดกระจายหรือแฝงอยู่ตามที่ต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ดาเนินการ
อย่างสม่าเสมอ จนเกิดเป็นทักษะและความชานาญในการเสาะหา และยึดกุมแหล่งความรู้ที่จะ
เสาะหาอาจจะมาจากภายนอกหรือผูท้ ี่ทางานอยู่ด้วยกันในองค์การก็ได้
3) การสร้างความรู้ (create) ในมุมมองเดิมนั้นความรู้ต้องสร้างโดยผู้รู้ แต่มุมมองใหม่
ความรู้เกิดขึ้นทุกจุดของการทางาน โดยทุกคนที่ทางาน เป็นความรู้ที่ฝังอยู่ในสมอง อาจพูดออกมา
ไม่ได้ การสร้างความรู้อาจทาได้ทั้งก่อนลงมือทา ระหว่างทางาน และสรุปประมวลประสบการณ์
หลังจากการทางาน ในการสร้างความรูไ้ ม่จาเป็นต้องสร้างขึน้ ใหม่ทั้งหมด อาจจะเริ่มจาก 10-
20% ก็ได้
4) การลั่นกรอง (distil) ความรู้บางอย่างเป็นสิ่งไม่เหมาะสมกับบริบท หรือสภาพ-
แวดล้อม จึงจาเป็นต้องมีการกลั่นกรอง เพื่อให้นาความรูท้ ี่เหมาะสมมาใช้
5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (share) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นสิ่งสาคัญที่สุด เพราะ
แต่ละคนมีมุมมองของความรู้ไม่เหมือนกัน ต้องมาแลกเปลี่ยนกัน มิฉะนั้นจะเก็บอยู่ภายในตัว
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 123

ไม่มีการยกระดับ ถ้าขาดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้ที่มีอยู่จะเก่า ล้าสมัยอย่างรวดเร็ว ไม่


งอกงาม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นสิ่งที่ยากที่สุด คนไม่ยากแลกเปลี่ยนเพราะกลัวขาดทุน กลัว
เสียเปรียบ ดังนั้น จะต้องสร้างเงื่อนไขและกติกาที่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยน การแบ่งปันให้เกิด
ประโยชน์แก่ผมู้ ีพฤติกรรมกักตุนหรือปกปิดความรู้
6) การประยุกต์ใช้ความรู้ (use) ทาให้เกิดผลจากการใช้ความรู้ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์
และบริการ พัฒนากระบวนการทางาน และพัฒนาสมาชิกองค์การ การใช้ความรู้ต้องเน้นที่การ
นาความรู้ไปใช้ในการทางานให้มาก ไม่ควรเริ่มด้วยการจัดการความรู้มาใส่ไว้ในคอมพิวเตอร์
ซึ่งไม่เกิดประโยชน์และไม่คุ้มค่า
สานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
(2548) เสนอรูปแบบการจัดการความรูเ้ ชิงกระบวนการไว้ 7 ประการคือ
1) การบ่งชี้ความรู้ (knowledge identification) เป็นการพิจารณาว่าวิสัยทัศน์/ พันธกิจ/
เป้าหมาย คืออะไร เป้าหมายเราจาเป็นต้องรูอ้ ะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด
อยู่ที่ใคร
2) การสร้างและแสวงหาความรู้ (knowledge creation and acquisition) เช่น การสร้าง
ความรูใ้ หม่ การแสวงหาความรูจ้ ากภายนอก รักษาความรูเ้ ก่า กาจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
3) การจัด ความรู้ให้เป็นระบบ (knowledge organization) เช่น การวางโครงสร้าง
ความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสาหรับการเก็บความรูอ้ ย่างเป็นระบบในอนาคต
4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (knowledge codification and refinement) เช่น
ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
5) การเข้าถึงความรู้ (knowledge access) เป็นการทาให้ผใู้ ช้ความรู้นั้นเข้าถึงความรู้ที่
ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ Web Board บอร์ดประชาสัมพันธ์
เป็นต้น
6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (knowledge sharing) ทาได้หลายวิธีการ กรณี ที่
เป็นความรู้ชัดแจ้ง (explicit knowledge) อาจจัดทาเป็นรูปเอกสาร ฐานความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ
หรือกรณีเป็นความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (tacit knowledge) อาจจัดทาเป็นระบบทีมข้า มสายงาน
กิจกรรมกลุ่มคุณ ภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน
การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นต้น
7) การเรียนรู้ (learning) ควรทาให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น เกิดระบบ
การเรียนรูจ้ ากการสร้างองค์ความรู้ การนาความรู้ไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่
และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง
124 การจัดการความรู้วชิ าชีพครู

สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2560: 31) ได้กาหนดขั้นตอนการดาเนินงาน


การจัดการความรู้ออกเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้
1) การกาหนดความรู้หลักที่จาเป็น หรือสาคัญต่องาน หรือกิจกรรมของกลุ่ม หรือ
องค์กร
2) การเสาะหาความรูท้ ี่ตอ้ งการ
3) การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วนให้เหมะสมต่อการใช้งานของตน
4) การประยุกต์ใช้ความรูใ้ นกิจการงานของตน
5) การนาประสบการณ์จากการทางาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยน
เรียนรู้ และสกัดขุมความรู้ออกมาบันทึกไว้
6) การจดบันทึกขุมความรู้และแก่นความรู้สาหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุง ให้เป็นชุด
ความรูท้ ี่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
โดยการดาเนินการ 6 ขั้นตอนนี้บูรณาการเป็นเนื้อเดียวกัน ความรู้ที่เกี่ยวข้องเป็น
ทั้งความรู้ที่ชัดแจ้งอยู่ในรูปของตัวหนังสือหรือรหัสอย่างอื่นที่เข้าใจได้ทั่วไป (explicit knowledge)
และความรู้ฝังลึกอยู่ในสมอง (tacit knowledge) ที่อยู่ในคน ทั้งที่อยู่ ในใจ (ความเชื่อ ค่านิยม)
อยู่ในสมอง (เหตุผล) อยู่ในมือและส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย (ทักษะในการปฏิบัติ) การจัดการ
ความรูเ้ ป็นกิจกรรมที่คนจานวนหนึ่งทาร่วมกัน ไม่ใช่กิจกรรมที่ทาโดยบุคคลเพียงคนเดียว
จากที่กล่าวมา สรุปได้ว่ากระบวนการจัดการความรู้มี 7 ขั้นตอน ได้แก่ การบ่งชีค้ วามรู้
การสร้างและแสวงหาความรู้ การจัด การความรู้ให้ เป็นระบบ การประมวลและกลั่ นกรอง
ความรู้ การเข้าถึงความรู้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการเรียนรู้

สภาพของการจัดการความรู้ในสถานศึกษา

สภาพการจัดการความรู้ของครูในสถานศึกษา (พวงพรรณ แสงนาโก. 2559: 71-75;


อุดมรัตน์ จรัสศรี. 2560: 246-248) เป็นดังนี้
1. ด้านการค้นหาความรู้ ครูมีการค้นหาความรู้อยู่ในระดับมาก เนื่องจากองค์กรให้ความ
สาคัญกับองค์ความรู้ทางการเรียนการสอน มีการค้นหาและประเมินองค์กรอยู่เสมอเกี่ยวกับ
ความรู้ทางด้านการเรียนการสอน มีการค้นหาหน่วยงานอื่นที่มีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน
ทีใ่ ช้องค์ความรู้ทางการเรียนการสอน เพื่อนามาพัฒนาการเรียนการสอน
2. ด้านการสร้างและแสวงหาความรู้ ครูมีการสร้างและแสวงหาความรู้อยู่ในระดับมาก
เนื่องจากองค์กรมีการจัดสรรงบประมาณสาหรับบุคลากรเพื่อการศึกษา การสร้างและแสวงหา
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 125

ความรู้โดยการใช้สื่อ สิ่งพิมพ์ บทความทางวิชาการให้กับบุคลากร โดยการฝึกอบรมและสัมมนา


จัดโครงการสร้างสรรค์ความรู้แก่บุคลากรและจัดผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกให้มาเป็นวิทยากร
เพื่อสร้างความรู้ในการปฏิบัติงาน
3. ด้านการจัดความรูใ้ ห้เป็นระบบ ครูมีการจัดความรูใ้ ห้เป็นระบบอยู่ในระดับมาก
เนื่องจากมีการจัดประชุมวิชาการ การสัมมนาหรือการฝึกอบรม องค์กรมีการสรุปและจัด ทา
เป็นเอกสารไว้อย่างเป็นระบบ สนับสนุนให้บุคลากรบันทึกวิธีปฏิบัติงานในการทางานแต่ละครั้ง
มีการรวบรวมความรู้ที่จาเป็นต่อการทางาน เพื่อให้บุคลากรทุกคนสามารถเข้าไปเรียนรู้ได้ง่าย
และมีการจัดทาฐานข้อมูล ทาเนียบความเชี่ยวชาญของบุคคล เพื่อความสะดวกและรวดเร็วใน
การใช้ความรู้
4. ด้านการประมวลและกลั่นกรองความรู้ ครูมีการประมวลและกลั่นกรองความรู้อยู่ใน
ระดับมาก เนื่องจากองค์กรสร้างเกณฑ์ประเมินที่ครอบคลุม สามารถวัดได้ทั้งทางร่างกาย อารมณ์
และสติปัญญา เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับการประเมินผลจากการประเมินผลด้วยตนเอง การ
ประเมินผลจากเพื่อนและการประเมินผลจากผู้ ป กครอง มีก ารปรับ ปรุงและพั ฒ นาความรู้
องค์การมีการจัดตั้งทีมผู้เชี่ยวชาญหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบในการคัดกรองและรวบรวมความรู้
ทางการเรียนการสอน
5. ด้านการเข้าถึงความรู้ ครูมีการเข้าถึงความรู้อยู่ในระดับมาก เนื่องจากองค์กรมีการ
แจ้งให้ทราบเกี่ยวกับความรู้ ข่าวสารต่าง ๆ อย่างสม่าเสมอ เปิดโอกาสให้บุคลากรได้รับการฝึก
อบรมอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน มีเครื่องมือในการเข้าถึงความรู้ที่ทันสมัยและสะดวกรวดเร็ว
6. ด้านการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ครูมีการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้อยู่ในระดับมาก
เนื่องจากมีเว็บไซต์ที่บุคลากรสามารถเข้าถึงและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างเครือข่ายการ
แลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันภายในโรงเรียน มีการแบ่งปันและถ่ายทอดความรู้โดยการสอนงานจาก
หัวหน้างาน ผูเ้ ชี่ยวชาญและเพื่อนร่วมงาน
7. ด้านการเรียนรู้ ครูมีการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก เนื่องจากองค์กรสนับสนุนให้บุคลากร
นาความรู้ที่มีมาใช้พัฒนางานและสร้างสรรค์นวัตกรรมในการปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานของ
องค์การ และมีการนาความรูท้ ี่มไี ปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
โดยสรุป สภาพการจัดการความรู้ของครูอยู่ในระดับมากทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ ด้านการค้นหา
ความรู้ ด้านการสร้างและแสวงหาความรู้ ด้านการจัดความรูใ้ ห้เป็นระบบ ด้านการประมวลและ
กลั่นกรองความรู้ ด้านการเข้าถึงความรู้ ด้านการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และด้านการเรียนรู้
126 การจัดการความรู้วชิ าชีพครู

รูปแบบการจัดการความรู้ในสถานศึกษา

ได้มผี ทู้ าวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการความรูใ้ นสถานศึกษา ดังนี้


กริช โสภาพ (2552: 160-120) ได้ทาการวิจัยการนาเสนอรูปแบบการจัดการความรู้ใน
สถานศึกษา พบว่า รูปแบบการจัดการความรู้มี 7 ขั้นตอน โดยแต่ละขั้นตอนมีกิจกรรมที่จะต้อง
ดาเนินการ ดังนี้
1) การบ่งชี้ความรู้ ดาเนินการโดยกาหนดหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายเกี่ยวกับ
การจัดการความรู้ สารวจความรู้ที่จาเป็นโดยการกาหนดทิศทาง เป้าหมายการจัด การความรู้
ร่วมกัน สารวจความรู้ที่มใี นโรงเรียน สารวจความรูว้ ่าอยู่ในรูปแบบใด และสารวจความรู้ที่มอี ยู่
ในตัวบุคคล
2) การสร้างและแสวงหาความรู้ ดาเนินการโดยการประชุม การส่งบุคลากรเข้ารับ
การอบรม ศึกษาดูงาน การพบปะสนทนา การทางานวิจัย การค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ต การ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคลากรหน่วยงานอื่น การเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่หน่วยงานต่าง ๆ จัดขึน้
3) การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ ดาเนินการโดยกาหนดโครงการแผนงานในการ
เก็บรักษาความรู้เป็นระบบอย่างชัดเจน การจัดให้มีหอ้ งต่าง ๆ เพื่อเก็บรวบรวมผลงานและแสดง
ผลงาน กาหนดปฏิทินการปฏิบัติงานและส่งเอกสารการปฏิบัติงาน การจัดทาคู่มือการปฏิบัติงาน
การเก็บข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างเป็นสัดส่วนและมีการควบคุมอย่างเป็นระบบ จัดทา
ทะเบียนควบคุมเอกสาร การจัดพื้นที่การใช้ห้องต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์ เช่น จัดเป็นมุมอ่านหนังสือ
4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ ดาเนินการโดยการปรับรูปแบบเอกสารให้เป็น
มาตรฐานโดยใช้วธิ ีเทียบเคียงกับโรงเรียนอื่นและระดมความคิดเห็น จัดทาขึน้ มาใหม่ให้เป็นแบบ
เดียวกัน รวมทั้งมีการปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์และเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
5) การเข้าถึงความรู้ ดาเนินการโดยการใช้วิธีการสอบถามข้อมูลจากฝ่ายวิชาการ
ที่เป็นคนเก็บทะเบียนข้อมูล การค้นหาเองจากห้องนิทรรศการ ห้องวิชาการ ห้องสื่อการเรียนรู้
การสอบถามจากผู้รโู้ ดยตรง และการค้นหาจากคอมพิวเตอร์
6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดาเนินการโดยการใช้วิธีการประชุม การจัดอบรม
สัมมนา การนาเสนอผลงาน การแลกเปลี่ยนเผยแพร่ผลงาน การจัดนิทรรศการ การพบปะพูดคุย
การเข้าร่วมกิจกรรมกับองค์กรอื่น ๆ และการนิเทศห้องเรียน
7) การเรียนรู้ ดาเนินการโดยการกาหนดปฏิทินในการปฏิบัติงาน การจัดทาคู่มือครู
และนักเรียน การให้บุคลากรทุกคนมีแผนการพัฒนาตนเอง มีเอกสารที่เป็นมาตรฐานเพื่อใช้
เป็นแบบในการบันทึกความรู้ การรายงานผลการปฏิบัติงาน การจัดให้มีการใช้เทคโนโลยีด้าน
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 127

คอมพิวเตอร์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ กาหนดให้มีการสรุปและรายงานการทากิจกรรม
ทุกครั้ง
นภสร ใจอิ่นคา คานึง ทองเกตุและพรภวิษย์ มนตร์วัชรินทร์ (2557: 100-103) ได้ทา
การวิจัยการจัดการความรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอาเภอ ใน
เขตภาคเหนือตอนบน พบว่า การจัดการความรูม้ ี 7 ขั้นตอน โดยแต่ละขั้นตอนมีกิจกรรม ดังนี้
1) การบ่งชี้ความรู้ ดาเนินการให้สถานศึกษามีความตระหนักว่าความสาเร็จเกิดจาก
บุคลากรมีความรู้ ความสามารถและมุ่งมั่นต่อความสาเร็จในการทางาน มีการสารวจองค์ความรู้
ของงานแต่ละด้านเพิ่มเติมจากเอกสารคู่มือการปฏิบัติงานหรือบุคลากร มีการวิเคราะห์ ทบทวน
ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจที่ปรับเปลี่ยนตามนโยบาย
2) การสร้างและแสวงหาความรู้ ดาเนินการส่งเสริมให้บุคลากรเข้าร่วมอบรมสัมมนา
ต่าง ๆ สถานศึกษามุ่งมั่นที่จะพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา และให้อานาจในการตัดสินใจ
เกี่ยวกับการเรียนรู้และการปฏิบัติงาของตนเอง กระตุ้นและจูงใจให้ทุกคนมีความกระตือรือร้น
ที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
3) การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ ดาเนินการโดยสถานศึกษาจัดเก็บความรู้แยกตาม
ภารกิจ หน้าที่ บทบาทความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลที่ได้รับมอบหมาย มีการสร้ างกระบวน
การเรียนรู้ขององค์ก ารอย่างมีก ลยุ ท ธ์ ตั้งแต่การวางแผนดาเนินการจนถึงการประเมินโดย
ผู้บริหารเป็นผู้กากับดูแลเกื้อหนุน สถานศึกษามีการกาหนดนโยบายในการจัดเก็บองค์ความรู้
เพื่อใช้ในการทางานและการเรียนรูท้ ี่ชัดเจน
4) การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ ดาเนินการโดยสถานศึกษามีการวิเคราะห์
ประเมินความพึงพอใจ เพื่อนามาพัฒนาระบบการจัดการความรู้ การประมวลความรู้ให้ตรงกับ
ความต้องการขององค์การ และมีการตรวจสอบวิเคราะห์ความรู้เพื่อให้ได้ความรูท้ ี่เป็นประโยชน์
5) การเข้าถึงความรู้ ดาเนินการโดยให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนสามารถ
เข้าถึงข้อมูลที่ตนต้องการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการฝึกอบรมโดย
ใช้เนื้อหาจากองค์ความรู้ที่มีอยู่ภายในองค์การ จัดทาเว็บไซด์การจัดการความรู้ที่บุคลากรสามารถ
ใช้งานได้ง่าย และจัดทาเว็บบอร์ดเผยแพร่ความรู้ให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา
6) การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ ดาเนินการโดยผูบ้ ริหารสถานศึกษาส่งเสริม
และให้การสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากร มีมุมความรู้ให้บุคลากรเข้าถึงและ
ใช้ความรูอ้ ย่างสะดวก ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนตระหนักถึงความจาเป็นในการเก็บ
รักษาความรูแ้ ละการแบ่งปันความรู้ให้กับผู้อ่นื
128 การจัดการความรู้วชิ าชีพครู

7) การเรียนรู้ ดาเนินการโดยครูและบุคลากรทางการศึกษารับฟังความคิดเห็นของ
ผูเ้ รียนเพื่อที่จะได้เรียนรู้ รวมไปถึงการปรับปรุงพัฒนากระบวนการทางาน ใช้กระบวนการเรียนรู้
เชิงปฏิบัติโดยการพิจารณาไตร่ตรองเกี่ยวกับปัญหาหรือสถานการณ์อย่างรอบคอบและนาความรู้
ใหม่ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ต่อไป บุคลากรมีการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ เกิดประสบการณ์
ตรงและการทางานร่วมกันเป็นทีมเพื่อเรียนรู้และแก้ไขปัญหาร่วมกัน
จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า รูปแบบการจัดการความรูใ้ นสถานศึกษามี 7 ขั้นตอน ประกอบ
ด้วยการบ่งชีค้ วามรู้ การสร้างและแสวงหาความรู้ การจัดการความรูใ้ ห้เป็นระบบ การประมวล
และกลั่นกรองความรู้ การเข้าถึงความรู้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการเรียนรู้

ประโยชน์ของการจัดการความรู้

การจัดการความรู้ เป็นสิ่งจาเป็นและมีประโยชน์มาก เพราะการจัดการความรู้ทาให้ได้มา


ซึ่งความรู้และนาความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ กระบวนการจัดการความรู้จึงได้รับการพัฒนาให้มี
ขั้นตอนหรือเทคนิควิธีที่ดี เพื่อให้มั่นใจได้ว่ าสามารถดาเนินการจัดการความรู้ เพื่อแก้ปัญหา
ต่าง ๆ ได้สาเร็จ การจัดการความรู้มีประโยชน์ (นันทรัตน์ เจริญกุล. 2552-2553: 15; ไพโรจน์
ชลารักษ์. 2552: 62) ดังนี้
1. ช่วยลดขั้นตอนในการทางาน ทั้งนี้เนื่องจากเมื่อมีปัญหาผู้ปฏิบัติงานจะหาแนวทาง หรือ
วิธีการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว โดยสามารถใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาข้อมูล
เกี่ยวกับการจัดการความรู้ในเรื่องนั้น ๆ และแนวทางการแก้ปัญหาที่เคยดาเนินการสาเร็จมาแล้ว
ที่ได้มีการรวบรวมเก็บไว้บนฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ด้วยวิธีการดังกล่าวผู้ปฏิบัติสามารถ
เข้าถึงแหล่งความรูใ้ นเรื่องที่ตนประสบปัญหาโดยตรง จึงเป็นการลดขั้นตอนและประหยัดเวลา
2. ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้ปฏิบัติเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบที่มีลักษณะ
ที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน ผู้ปฏิบัติงานอาจนาข้อคิดที่ได้จากการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและ
กัน หรือนาความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลที่ได้รับการถ่ายทอดจากผู้เชี่ยวชาญ หรือผูท้ ี่มีประสบการณ์
มากกว่ามาต่อยอด และนามาใช้ในการจัดการกับปัญหาที่เผชิญอยู่ หรือใช้ในการพัฒนาการ
ปฏิบัติงานให้มปี ระสิทธิภาพยิ่งขึน้
3. ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานแสวงหาความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ได้มีช่องทางในการเข้าถึงความรู้ที่
ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาตนเองโดยการศึกษาตลอด
ชีวติ อันจะนาไปสู่การพัฒนาองค์การและสังคมอย่างยั่งยืน
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 129

4. ช่วยให้แนวทางการปฏิบัติงานที่เหมาะสม เพราะการจัดการความรู้ทาให้ผู้ปฏิบัติได้
เรียนรู้ข้อผิดพลาดของคนอื่น ๆ จากบทเรียนในอดีตที่มีการถ่ายทอดต่อ ๆ กันมา โดยผู้ปฏิบัติงาน
ไม่จาเป็นต้องเสียเวลาทางานด้วยการลองผิดลองถูก
5. ทาให้เกิดแหล่งเรียนรู้ในองค์การ บุคลากรและผูเ้ กี่ยวข้องสามารถเข้าถึงความรู้และ
นาความรู้ที่ต้องการออกมาใช้ได้ และอาจมีการเผยแพร่ให้หน่วยงานอื่น ๆ ได้รับรู้และได้ศึกษา
ค้นคว้าต่อไป
6. ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา การจัดการความรู้ทาให้องค์การสามารถรักษา
ความเชี่ยวชาญ ความชานาญและความรู้ที่อาจสูญหายไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของบุคลากร
เช่น การเกษียณอายุทางาน การลาออกจากงาน หรือการเสียชีวติ
7. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความอยู่รอด การจัดการความรู้จะช่วยลดปัญหาใน
การบริหารจัดการ การได้ขยายผลทางความคิดทาให้องค์การเกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน
8. เป็นการลงทุนทางทรัพยากรบุคคล ได้พัฒนาบุคลากรซึ่งเป็นกลไกสาคัญต่อการทา
ให้องค์การดารงอยู่ได้ เกิดการเรียนรู้ตลอดเวลา เปลี่ยนวัฒนธรรมอานาจในแนวดิ่งไปสู่วัฒนธรรม
ความรูใ้ นแนวราบ ทุกคนมีสิทธิ์เรียนรู้อย่างเท่าเทียมกัน
9. ส่งผลให้เกิดความยืดหยุ่น ไม่ยึดติด ทาให้บุคลากรมีความกล้าที่จะเข้าถึงและนา
ความรูไ้ ปใช้ในการตัดสินใจดาเนินการต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
10. ก่อให้เกิดวัฒนธรรมการทางานในองค์การ ซึ่งเปลี่ยนจากเดิมมาสู่การมีวินัยในตนเอง
มีการศึกษา ค้นคว้า เรียนรู้ตลอดชีวิต ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น มีพลังในการสร้างสรรค์
มีความขยัน อดทน มีจิตสานึกของการเป็นผูใ้ ห้ และมีจิตใจเป็นประชาธิปไตย
โดยสรุป การจัดการความรู้มีประโยชน์ในการลดขั้นตอนในการทางาน ช่วยให้เกิดการ
แลกเปลี่ยนความรู้ ช่วยให้ผู้ป ฏิบัติงานเข้าถึงแหล่งความรู้ที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้
แนวทางในการปฏิบัติงานที่เหมาะสม ทาให้เกิดแหล่งเรียนรู้ในองค์การ ป้องกันการสูญหายของ
องค์ความรู้ และก่อให้เกิดวัฒนธรรมการทางานที่ดีในองค์การ ซึ่งจะทาให้กระบวนการทางาน
ที่มปี ระสิทธิภาพ เพิ่มคุณภาพของผลผลิต และเพิ่มศักยภาพขององค์การ

ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการจัดการความรู้

จากการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรทางการศึกษาด้วย
การจัดการความรู้ โดยสานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2552: 141-145) สรุปได้ว่า ปัจจัย
ที่เป็นอุปสรรคในการจัดการความรู้มี ดังนี้
130 การจัดการความรู้วชิ าชีพครู

1. ขาดการสนับสนุนจากผูบ้ ริหาร เนื่องจากผู้บริหารไม่เห็นความสาคัญของการจัดการ


ความรู้ ไม่เข้าใจเรื่องการจัดการความรู้ เนื่องจากไม่ได้เข้าร่วมอบรมและไม่ได้ศกึ ษาค้นคว้าเรื่อง
ดังกล่าว และไม่มกี ารสานต่อนโยบายการจัดการความรูเ้ มื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร
2. วัฒนธรรมองค์การที่ไม่เอื้อต่อการจัดการความรู้ ได้แก่ บุคลากรในองค์การไม่เต็มใจ
ที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ ไม่เชื่อว่าความรู้ฝังลึกในตัวบุคคลสามารถนามาใช้แก้ปัญหาได้ และไม่
สามารถสกัดองค์ความรูท้ ี่มีอยู่ในองค์การออกมาได้
3. ขาดการบริหารจัดการบุคคลที่เป็นระบบ เนื่องจากยังมีสถานศึกษาจานวนมากที่มี
อุปสรรคเรื่องการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันกับผู้บริหาร ซึ่งทาหน้าที่ให้การสนับสนุน
บุคลากรที่เป็นแกนนา และบุคลากรผูป้ ฏิบัติงาน
4. มีข้อบกพร่องและขาดความพร้อมด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นผล
สืบเนื่องมาจากการย้ายหรือเปลี่ยนตาแหน่ง การถอดตัวบุคคลที่ทาหน้าที่เป็นแกนนาในการ
จัดการความรู้โดยที่ไม่ได้มีการส่งต่อหรือถ่ายทอดความรู้ ข้อจากัดทางภูมิศาสตร์ของสถานศึกษา
หลายแห่งที่ไม่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้อย่างสม่าเสมอ ทาให้การเข้าถึงความรู้และแลกเปลี่ยน
เรียนรู้มีความยากลาบาก
5. ขาดการวางแผนการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการความรู้ที่เป็นระบบ และขาดการ
ติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องและสม่าเสมอ
ดังนั้น การนานโยบายการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติ เพื่อให้องค์การหรือสถานศึกษา
เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ให้สาเร็จนั้น ผู้เขียนคิดว่ากุญแจสาคัญ คือ ความร่วมแรงร่วมใจและ
การประสานพลังระหว่างผู้บริหาร ซึ่งมีบทบาทในการริเริ่มการดาเนินงานสนับสนุนและกระตุ้น
บุคลากรทุกคนในการดาเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ และเป็นแกนนาในการจัดการความรู้ที่
ทาหน้าที่เชื่อมโยงประสานและผลักดันการนานโยบายการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติ ครูและ
ผู้เรียนมีบทบาทในการค้นคว้า แบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และบุคลากรสายสนับสนุนมีหน้าที่คอย
ให้บริการและอานวยความสะดวกในการดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ

สรุปท้ายบท

ความรู้ หมายถึง สารสนเทศที่ผ่านการสั่งสมจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือ


ประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติ ทักษะ ความเข้าใจ หรือสารสนเทศที่ได้รับมา
จากประสบการณ์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิดหรือการปฏิบัติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้
อธิบายสิ่งต่าง ๆ ที่พบเห็นได้อย่างมีเหตุผล โดยอาศัยข้อมูล ทักษะ และประสบการณ์ที่มอี ยู่
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 131

เป็นส่วนสนับสนุนการตัดสินใจ ความรู้แบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้ 1) ความรูท้ ี่ฝังอยู่ในตัวคน


(tacit knowledge) เป็นความรูท้ ี่แฝงอยู่ในตัวบุคคล อันเกิดจากประสบการณ์ที่สั่งสมมา
ยาวนาน เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคาพูด หรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย
และ 2) ความรู้ที่ชัดแจ้ง (explicit knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถถ่ายทอดได้โดยผ่านวิธีต่าง ๆ
เช่น บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มอื ต่าง ๆ
การจัดการความรู้เป็นกระบวนการรวบรวม จัดระบบ เผยแพร่ ถ่ายโอนและเปลี่ยน
ความรู้ที่เป็นประโยชน์ ให้สามารถนาไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ทัน
เวลา ซึ่งก่อให้เกิดการแข่งขัน และแพร่กระจายไหลเวียนทั่วทั้งองค์การ ส่งผลให้การปฏิบัติงาน
ประสบผลสาเร็จ กระบวนการจัดการความรู้มี 7 ขั้นตอน ได้แก่ การบ่งชี้ความรู้ การสร้างและ
แสวงหาความรู้ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ การประมวลและกลั่นกรองความรู้ การเข้าถึงความรู้
การแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการเรียนรู้

แบบฝึกหัดท้ายบท

จงตอบคาถามหรือทากิจกรรมต่อไปนี้
1. จงให้ความหมายของ “ความรู”้
2. ความรูส้ ามารถจาแนกออกเป็นกี่ประเภท จงอธิบายแนวคิดแต่ละประเภท
3. จงให้ความหมายของ “การจัดการความรู”้
4. จงอธิบาย “วงจรเกลียวความรู้”
5. กระบวนการจัดการความรู้มีกี่ขนั้ ตอน อะไรบ้าง จงอธิบายรายละเอียดแต่ละขั้นตอน
6. เพราะเหตุใดองค์การหรือหน่วยงานจึงต้องมีการจัดการความรู้ และถ้าองค์การหรือ
หน่วยงานไม่มีการจัดการความรูแ้ ล้วจะส่งผลเสียอย่างไรบ้าง
7. ให้นักศึกษาสัมภาษณ์ผบู้ ริหารโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีการจัดการ
ความรูท้ ี่ดี ดังนี้
7.1 โรงเรียนมีการจัดการความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพครูในเรื่องใดบ้าง
7.2 กระบวนการจัดการความรู้ที่ดาเนินการมีกี่ขนั้ ตอน อะไรบ้าง และแต่ละขั้นตอน
มีกิจกรรมอะไรบ้าง
7.3 ผลที่เกิดจากการจัดการความรู้เป็นอย่างไรบ้าง
7.4 ปัญหาหรืออุปสรรคในการจัดการเรียนรู้มีอะไรบ้าง แล้วมีวธิ ีการแก้ปัญหา
อย่างไร
132 การจัดการความรู้วชิ าชีพครู

8. ให้นักศึกษาทาการสัมภาษณ์ครูผู้สอนในโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพืน้ ฐานที่ดาเนิน
การจัดการความรู้เกี่ยวกับรายวิชาที่สอน เพื่อให้ได้สารสนเทศถึงกระบวนการจัดการความรู้ และ
ผลทีเ่ กิดจากการจัดการความรู้
9. ให้นักศึกษาทาการศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับ “การจัดการความรู้วิชาชีพครู” แล้วสรุป
องค์ความรูข้ องงานวิจัยดังกล่าวเกี่ยวกับขั้นตอนการวิจัย และผลการวิจัย พร้อมทั้งนาเสนอแนว
ทางการนาผลการวิจัยที่ศึกษาไปใช้ประโยชน์
บทที่ 7
ธรรมาภิบาลในสถานศึกษา
คำว่ำ “good governance” ได้เริ่มใช้ในรัฐธรรมนูญ แห่งรำชอำณำจักรไทย และหลัง
วิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2540 ทั้งนี้เนื่องจำกในหนังสือแสดงเจตจำนงกู้เงินจำนวน 17.2 พันล้ำน
ดอลล่ำร์จำกกองทุนกำรเงินระหว่ำงประเทศ หรื อ IMF โดยรัฐบำลไทยให้คำมั่นว่ำจะต้องสร้ำง
“good governance” ขึ้นในกำรบริหำรจัดกำรภำครัฐ ซึ่งแสดงโดยพฤตินัยทั้งรัฐบำลไทยและ
กองทุนกำรเงินระหว่ำงประเทศว่ำวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเป็นผลส่วนหนึ่งมำจำกกำรบริหำร
จัดกำรที่ไม่ดีหรือไม่มธี รรมำภิบำล
สำหรับในบทนี้จะได้นำเสนอเนื้อหำตำมลำดับ ดังนี้ ควำมหมำยของธรรมำภิบำล ควำม
เป็นมำของธรรมำภิบำล องค์ประกอบของธรรมำภิบำล กำรเสริมสร้ำงธรรมำภิบำล ธรรมำภิบำล
ในสถำนศึกษำ ยุทธศำสตร์สู่ควำมสำเร็จในกำรนำธรรมำภิบำลมำใช้ในสถำนศึกษำ และงำนวิจัย
เกี่ยวกับธรรมำภิบำลและกำรประยุกต์ใช้

ความหมายของธรรมาภิบาล

คำว่ำ “good governance” นั้น ได้นำมำแปลเป็นคำศัพท์ในภำษำไทยหลำยคำ ได้แก่


ธรรมำภิบำล กำรปกครองที่ดี ธรรมรัฐ กำรบริหำรกิจกำรบ้ำนเมืองและสังคมที่ดี ในที่นี้จะใช้
คำว่ำ “ธรรมาภิบาล”
ระเบียบสำนักนำยกรัฐมนตรีว่ำด้วยกำรสร้ำงระบบกำรบริหำรกิจกำรบ้ำนเมืองและสังคม
ที่ดี พ.ศ. 2542 (2542: 26) ได้ระบุควำมหมำยของธรรมำภิบำลว่ำเป็นแนวทำงสำคัญในกำรจัด
ระเบียบสังคมทั้งภำครัฐ ภำคธุรกิจเอกชน และภำคประชำชน ครอบคลุมฝ่ำยรำชกำรและฝ่ำย
ธุรกิจ สำมำรถอยู่ร่วมกันอย่ำงมีควำมสุข มีควำมรู้รักสำมัคคี และร่วมกันเป็นพลังก่อให้เกิด
กำรพัฒนำอย่ำงยั่งยืน และเป็นส่วนเสริมควำมเข้มแข็ง หรือสร้ำงภูมิคุ้มกันแก่ประเทศ เพื่อบรรเทำ
ป้องกัน หรือแก้ไขเยียวยำภำวะวิกฤติภัยอันตรำยที่อำจจะมีในอนำคต เพรำะสังคมจะรู้สึกถึง
134 ธรรมำภิบำลในสถำนศึกษำ

ควำมยุติธรรม ควำมโปร่งใสและกำรมีส่วนร่วม อันเป็นคุณลักษณะสำคัญของศักดิ์ศรีควำมเป็น


มนุษย์ และกำรปกครองแบบประชำธิปไตยอันมีพระมหำกษัตริย์ ทรงเป็นประมุข สอดคล้องกับ
ควำมเป็นไทย รัฐธรรมนูญ และกระแสโลกยุคปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของสำนักงำน
คณะกรรมกำรข้ำรำชกำรพลเรือน (2544 : 3) ได้ให้ควำมหมำยธรรมำภิบำล หมำยถึง กติกำ
หรือกฎเกณฑ์กำรบริหำรกำรปกครองที่ดี เหมำะสม และเป็นธรรมที่ใช้ในกำรธำรงรักษำสังคม
บ้ำนเมืองและสังคม อันหมำยถึงกำรจัดบริหำรทรัพยำกรและสังคมที่ดีในทุก ๆ ด้ำนและทุก
ระดับ รวมถึงกำรจัดระบบองค์กรและกลไกของคณะรัฐมนตรี ส่วนรำชกำร องค์กำรของรัฐและ
รัฐบำลที่ไม่ใช่ส่วนรำชกำร กำรบริหำรส่วนภูมิภำคและท้องถิ่น องค์กำรที่ไม่ใช่รัฐบำล องค์กรของ
เอกชน ชมรมและสมำคมเพื่อกิจกรรมต่ำง ๆ นิติบุคคล เอกชนและภำคประชำสังคม สำนักงำน
คณะกรรมกำรกำรอุดมศึกษำ (2560: 36) ได้ให้ควำมหมำยหลักธรรมำภิบำล ว่ำหมำยถึง กำร
ปกครอง กำรบริหำร กำรจัดกำร กำรควบคุม ดูแลกิจกำรต่ำง ๆ ให้ เป็นไปในครรลองธรรม
นอกจำกนี้ ยังหมำยถึงกำรบริหำรจัดกำรที่ดี ซึ่งสำมำรถนำไปใช้ได้ทั้งภำครัฐและเอกชน ธรรมที่
ใช้ในกำรบริหำรงำนนี้มีควำมหมำยอย่ำงกว้ำงขวำง กล่ำวคือหำได้มีควำมหมำยเพียงหลักธรรม
ทำงศำสนำเท่ำนั้น แต่รวมถึงศีลธรรม คุณธรรมจริยธรรม และควำมถูกต้อง ชอบธรรมทั้งปวง
ซึ่งวิญ ญู ชนพึงมีและพึงประพฤติป ฏิบัติ อำทิ ควำมโปร่งใสตรวจสอบได้ กำรปรำศจำกกำร
แทรกแซงจำกองค์กำรภำยนอก
ในทัศนะของผูเ้ ขียน ธรรมำภิบำล หมำยถึง แนวทำงกำรบริหำรงำนที่ดขี ององค์กำร
เพื่อให้องค์กำรสำมำรถบริหำรงำนได้อย่ำงมีประสิทธิภำพ มีควำมยุติธรรม มีกระบวนกำรทำง
กฎหมำยที่อสิ ระ มีเสถียรภำพ มีโครงสร้ำง และกระบวนกำรบริหำรที่มีประสิทธิภำพ โปร่งใส
และสำมำรถตรวจสอบได้ อันนำไปสู่กำรพัฒนำประเทศที่ยั่งยืน

ความเป็นมาของธรรมาภิบาล

หลักธรรมำภิบำลได้มกี ำรเผยแพร่มำสู่สังคมไทยในช่วง พ.ศ.2539 – 2540 โดยองค์กร


พัฒนำทั้งในและต่ำงประเทศ รวมทั้งนักวิชำกำรและนักคิดที่มีควำมตระหนักถึงควำมจำเป็น
และควำมสำคัญในกำรบริหำรจัดกำรที่ดี เพื่อสนับสนุนกำรพัฒนำที่ยั่งยืน
ควำมสนใจของรัฐบำลไทยได้เกิดขึ้นหลังจำกมีปัญหำวิกฤติเศรษฐกิจและกำรเงินในปี
พ.ศ. 2540 รัฐบำลที่เข้ำมำบริหำรประเทศโดยนำยกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย จึงต้องหันมำสนใจ
ประเด็นอย่ำงจริงจัง รัฐบำลได้มีหนังสือลงวันที่ 15 ธันวำคม 2540 รอควำมร่วมมือจำกมูลนิธิ
สถำบันวิจัยเพื่อกำรพัฒนำประเทศ (TDRI) ให้ดำเนินกำรค้นคว้ำวิจัย เพื่อเสนอแนะแนวทำงที่
รองศำสตรำจำรย์ ดร.วำโร เพ็งสวัสดิ์ 135

เหมำะสมทั้งในระยะสั้นและระยะยำวในกำรแก้ปัญ หำวิกฤตเศรษฐกิจ คณะทำงำนของสถำบัน


TDRI ได้ทำเอกสำรเสนอต่อนำยกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 เมษำยน 2542 ซึ่งนำยกรัฐมนตรีได้
ขอให้สำนักงำนคณะกรรมกำรข้ำรำชกำรพลเรือน (ก.พ.) จัดทำเรื่องนี้เป็นวำระแห่งชำติเสนอ
ต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งได้มีมติเมื่อ 11 พฤษภำคม 2542 ให้เร่งสร้ำงธรรมำภิบำลในหน่วยงำนของ
รัฐ เพื่อเป็นแกนนำในกำรพัฒนำและส่งเสริมธรรมำภิบำลในสังคมไทย โดยให้จัดทำเป็นระเบียบ
สำนักนำยกรัฐมนตรี เพื่อให้หน่วยงำนของรัฐนำไปปฏิบัติและไม่ถูกยกเลิกเมื่อเปลี่ยนรัฐบำล
ต่อมำเมื่อวันที่ 22 มิถุนำยน 2542 คณะรัฐมนตรีได้ให้ควำมเห็นชอบร่ำงระเบียบดังกล่ำว
และได้ประกำศในรำชกิจจำนุเบกษำ ฉบับประกำศทั่วไป เล่ม 116 ตอนที่ 633 วันที่ 10 สิงหำคม
2542 และสำนักเลขำธิกำรคณะรัฐมนตรีได้แจ้งเวียนระเบียบนี้ให้ กับหน่วยงำนของรัฐทุกแห่ง
ทรำบและถือปฏิบัติตำมหนังสือ สำนักเลขำธิกำรคณะรัฐมนตรี สลค.ที่ 0204ว/ว130 ลงวันที่
16 สิงหำคม 2542 จำกนั้น เมื่อวันที่ 9 ตุลำคม 2546 ได้มีพระรำชกฤษฎีกำว่ำด้วยหลักเกณฑ์
และวิธีกำรบริหำรกิจกำรบ้ำนเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 (มำตรำ 6) บัญญัติไว้ว่ำกำรบริหำรกิจกำร
บ้ำนเมืองที่ดี ได้แก่ กำรบริหำรรำชกำรเพื่อบรรลุเป้ำหมำย ดังนี้ 1) เพื่อประโยชน์สุขของประชำชน
2) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภำรกิจของรัฐ 3) มีประสิทธิภำพและเกิดควำมคุ้มค่ำในเชิงภำรกิจของรัฐ
4) ไม่มีขั้นตอนกำรปฏิบัติงำนเกินควำมจำเป็น 5) มีกำรปรับปรุงภำรกิจของส่วนรำชกำรให้ทัน
ต่อสถำนกำรณ์ 6) ประชำชนได้รับกำรอำนวยควำมสะดวกและได้รับกำรตอบสนองตำมควำม
ต้องกำร และ 7) มีกำรประเมินผลกำรปฏิบัติรำชกำรอย่ำงสม่ำเสมอ

องค์ประกอบของธรรมาภิบาล

ได้มหี น่วยงำนและนักวิชำกำรจำแนกองค์ประกอบของธรรมำภิบำล ดังนี้


ระเบียบสำนักนำยกรัฐมนตรีว่ำด้วยกำรสร้ำงระบบบริหำรกิจกำรบ้ำนเมืองและสังคมที่ดี
พ.ศ. 2542 (2542: 26-27) มุ่งเน้นให้หน่วยงำนของรัฐดำเนินงำนตำมภำระหน้ำที่ โดยยึดหลักกำร
พื้นฐำน 6 ประกำร ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักควำมโปร่งใส หลักควำมมีส่วนร่วม
หลักควำมรับผิด และหลักควำมคุ้มค่ำ โดยแต่ละด้ำนมีรำยละเอียด ดังนี้
1) หลักนิติธรรม (rule of law) หมำยถึง กำรตรำกฎหมำยที่ถูกต้อง เป็นธรรม กำร
บังคับให้เป็นไปตำมกฎหมำย กำรกำหนดกฎ กติกำ และกำรปฏิบัติตำมกฎ กติกำที่ตกลงกันไว้
อย่ำงเคร่งครัด โดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภำพ ควำมยุติธรรมของสมำชิก
136 ธรรมำภิบำลในสถำนศึกษำ

สำหรับในระดับองค์กร หลักนิติธรรม หมำยถึง กติกำที่ใช้ในกำรบริหำร งำน


ภำยใน เช่น กำรมำทำงำนหรือกำรเข้ำประชุมให้ตรงเวลำ กำรให้บริกำรประชำชนอย่ำงเสมอ
ภำคกัน รวมถึงข้อตกลงในกำรสับเปลี่ยนหน้ำที่ภำยในองค์กร
2) หลักคุณธรรม (ethic) หมำยถึง กำรยึดมั่นในควำมถูกต้องดีงำม กำรส่งเสริม
สนับสนุนให้ประชำชนพัฒนำตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนไทยมีควำมซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน
มีระเบียบวินัย ประกอบอำชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจำชำติ
สำหรับในระดับองค์กร หลักคุณธรรม หมำยถึง เจ้ำหน้ำที่ของรัฐจะต้องปฏิบัติ
งำนให้มีประสิทธิภำพ ให้ควำมยุติธรรมแก่ประชำชนอย่ำงเท่ำเทียมกัน รวมทั้งจัดระบบงำนที่
ตอบสนองควำมต้องกำรของประชำชน และปฏิบัติตำมข้อบังคับของคณะกรรมกำรข้ำรำชกำร
พลเรือนว่ำด้วยจรรยำบรรณของข้ำรำชกำรพลเรือน พ.ศ. 2537 คือมีจรรยำบรรณต่อตนเอง
ต่อหน่วยงำน ต่อผู้รว่ มงำน และต่อประชำชนและสังคม
3) หลักควำมโปร่งใส (transparency) หมำยถึง กำรสร้ำงควำมไว้วำงใจซึ่งกันและ
กันของคนในชำติ โดยปรับปรุงแก้ไขกำรทำงำนขององค์กรทุกวงกำรให้มีควำมโปร่งใส
สำหรับในระดับองค์กร หลักควำมโปร่งใส หมำยถึง ประชำชนรู้ขั้นตอนที่จะติดต่อ
งำนและสำมำรถตรวจสอบกำรทำงำนได้ ระเบียบสำนักนำยกรัฐมนตรีว่ำด้วยกำรปฏิบัติกำรเพื่อ
ประชำชนของหน่วยงำนของรัฐ พ.ศ. 2532 กำหนดให้หน่วยงำนของรัฐกำหนดขั้นตอนและระยะ
เวลำกำรปฏิบัติกำรเพื่อประชำชน และภำยในองค์กรจะต้องมีควำมโปร่งใสในกำรตัดสินใจใน
กำรบริหำรงำน เงิน คน มีกำรสื่อสำรที่ดีภำยในด้วย เช่น มีกำรกระจำยข่ำวรำยวันหรือรำย
สัปดำห์ เพื่อให้สมำชิกในองค์กรได้ทรำบควำมเคลื่อนไหวขององค์กร
4) หลักควำมมีส่วนร่วม (public participation) หมำยถึง กำรเปิดโอกำสให้ประชำชน
มีส่วนร่วมรับรู้ และเสนอควำมคิดเห็นในกำรตัดสินใจปัญหำสำคัญของประเทศ ไม่ว่ำ จะเป็น
กำรแจ้งควำมเห็น กำรไต่สวนสำธำรณะ กำรประชำพิจำรณ์ กำรแสดงประชำมติ หรืออื่น ๆ
สำหรับในระดับองค์กร หลักกำรมี ส่วนร่วม หมำยถึง กำรวำงระบบกำรควำม
คิดเห็นและกำรรับเรื่องรำวร้องทุกข์ที่จะให้ประชำชนเข้ำมำมีส่วนร่วม และขณะเดียวกันภำยใน
องค์กรจะต้องสนับสนุนกำรมีส่วนร่วมในกำรบริหำรภำยในด้วย
5) หลักควำมรับผิดชอบ (accountability) หมำยถึง กำรตระหนักในสิทธิหน้ำที่ ควำม
สำนึกในควำมรับผิดชอบต่อสังคม กำรใส่ใจปัญหำสำธำรณะของบ้ำนเมือง และกำรกระตือรือร้น
ในกำรแก้ปัญหำ ตลอดจนกำรเคำรพในกำรคิดเห็นที่แตกต่ำง และควำมกล้ำที่จะยอมรับผลดี
และผลเสียจำกกำรกระทำของตน
สำหรับในระดับองค์กร หลักควำมรับผิดชอบ หมำยถึง กำรวำงระบบกำรรับฟัง
รองศำสตรำจำรย์ ดร.วำโร เพ็งสวัสดิ์ 137

ควำมคิดเห็นและกำรรับเรื่องรำวร้องทุกข์ที่จะให้ประชำชนเข้ำมำมีส่วนร่วม และขณะเดียวกัน
ภำยในองค์กรจะต้องสนับสนุนกำรมีส่วนร่วมในกำรบริหำรภำยในด้วย
6) หลักควำมคุ้มค่ำ (value for money) หมำยถึง กำรบริหำรจัดกำรและใช้ทรัพยำกร
ที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้คนไทยมีควำมประหยัด ใช้ของ
อย่ำงคุ้มค่ำ สร้ำงสรรค์สินค้ำและบริกำรที่มีคุณภำพ สำมำรถแข่งขันได้ในเวทีโลก และรักษำ
พัฒนำทรัพยำกรธรรมชำติให้สมบูรณ์ยั่งยืน
สำหรับในระดับองค์กร หลักควำมคุ้มค่ำ หมำยถึง ผู้บริหำรจัดทบทวนงำนใน
ควำมรับผิดชอบทั้งหมด เพื่อถ่ำยโอนงำนให้ธุรกิจเอกชนหรือประชำชนทำได้มีประสิทธิภำพสูง
กว่ำออกไป เลือกนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มำใช้และพัฒนำควำมสำมำรถของเจ้ำหน้ำที่ของรัฐ
อย่ำงเป็นระบบและต่อเนื่อง
กรองทอง เขียนทอง (2555: 225) ได้วิเครำะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันกำรบริหำรจัดกำร
บ้ำนเมืองที่ดีของผู้บริหำรสถำนศึกษำขั้นพื้นฐำน ผลกำรวิจัยพบว่ำมี 8 องค์ประกอบ ได้แก่ หลัก
ควำมรับผิดชอบ หลักบริหำรจัดกำรควำมรู้ หลักควำมคุ้มค่ำ หลักควำมโปร่งใส หลักนิติธรรม
หลักคุณธรรม หลักกำรมีส่วนร่วม และหลักเทคโนโลยีสำรสนเทศ
วีระยุทธ พรพจน์ธนมำศ (2557: 85) ได้สังเครำะห์องค์ประกอบของธรรมำภิบำลใน
โรงเรียน ผลกำรวิจัยพบว่ำควรมี 8 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักกำร
มีส่วนร่วม หลักควำมโปร่งใส หลักควำมรับผิดชอบ หลักควำมคุ้มค่ำ หลักควำมมั่นคง และหลัก
เป้ำหมำยสอดคล้องต่อสังคม
ทัศนียำ วงศ์มำศ สัญญำ เคณำภูมิ และภักดี โพธิ์สิงห์ (2558: 143) ได้ศึกษำองค์ประกอบ
ของกำรศึกษำธรรมำภิบำลที่แท้จริงเพื่อกำรบริหำรจัดกำร พบว่ำมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ หลัก
คุณธรรม หลักนิติธรรม หลักควำมรับผิดชอบ หลักควำมคุ้มค่ำ หลักกำรมีส่วนร่วม และหลัก
ควำมโปร่งใส
สำนักงำนคณะกรรมกำรกำรอุดมศึกษำ (2560: 36-37) ได้กำหนดหลักธรรมำภิบำล
ที่เหมำะสมจะนำมำปรับใช้ในภำครัฐมี 10 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักประสิทธิผล หลักประสิทธิภำพ
หลักกำรตอบสนอง หลักภำระรับผิดชอบ หลักควำมโปร่งใส หลักกำรมีส่วนร่วม หลักกำรกระจำย
อำนำจ หลักนิตธิ รรม หลักควำมเสมอภำค และหลักมุ่งเน้นฉันทำมติ
ชรินรัตน์ แพงดี ชัยยงค์ พรหมวงศ์และนิตยำ ศรีมกุฏพันธุ์ (2562: 48) ได้พัฒนำระบบ
กำรบริหำรสถำนศึกษำด้วยหลักธรรมำภิบำลสำหรับผู้บริหำรสถำนศึกษำ ผลกำรวิจัยพบว่ำ
ประกอบด้วยหลักกำร 10 ประกำร ได้แก่ หลักประสิทธิภำพ หลักประสิทธิผล หลักกำรตอบสนอง
หลัก ภำระรับผิด ชอบ/สำมำรถตรวจสอบได้ หลักเปิดเผย/โปร่งใส หลักนิติธรรม หลัก ควำม
138 ธรรมำภิบำลในสถำนศึกษำ

เสมอภำค หลักกำรมีส่วนร่วม/กำรพยำยำมแสวงหำฉันทำมติ หลักกำรกระจำยอำนำจ และหลัก


คุณธรรม/ จริยธรรม
วิไลลักษณ์ อำนำจดี และศศิรดำ แพงไทย (2562: 4111) ได้ศึกษำองค์ประกอบของหลัก
ธรรมำภิบำลในกำรบริหำร พบว่ำองค์ประกอบของธรรมำภิบำลมี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ ควำม
รับผิดชอบ ควำมโปร่งใส นิตธิ รรม ควำมคุ้มค่ำ ประสิทธิภำพ กำรมีสว่ นร่วม และคุณธรรม
จำกที่กล่ำวมำสำมำรถสังเครำะห์องค์ประกอบของธรรมำภิบำลได้ ดังนี้

ตารางที่ 7.1 กำรสังเครำะห์องค์ประกอบของธรรมำภิบำล

6) ชรินรัตน์ แพงดี ชัยยงค์ พรหมวงศ์และ


1) ระเบียบสำนักนำยกรัฐมนตรี (2542)

4) ทัศนียำ วำศ์มำศ สัญญำ เคณำภูมิ


3) วีระยุทธ พรพจน์ธนมำศ (2557)

ชื่อนักการศึกษา
2) กรองทอง เขียนทอง (2555)

นิตยำ ศรีมกุฏพันธุ์ (2562)


และภักดี โพธิ์สิงห์ (2558)
5) สำนักงำนคณะกรรมกำร

7) วิไลลักษณ์ อำนำจดีและ
ศศิรดำ แพงไทย (2562)
กำรอุดมศึกษำ (2560)

องค์ประกอบที่คัดสรร
ควำมถี่

ร้อยละ
องค์ประกอบ
1. หลักนิติธรรม        7 100 
2. หลักคุณธรรม        7 100 
3. หลักควำมโปร่งใส        7 100 
4. หลักกำรมีส่วนร่วม        7 100 
5. หลักควำมรับผิดชอบ        7 100 
6. หลักควำมคุ้มค่ำ      5 71.43 
7. หลักควำมมั่นคง  1 14.29
8. หลักเป้ำหมำยสอดคล้อง 1 14.29

ต่อสังคม
9. หลักประสิทธิผล   2 28.57
10. หลักประสิทธิภำพ    3 42.86
11. หลักกำรตอบสนอง   2 28.57
12. หลักกำรกระจำยอำนำจ   2 28.57
13. หลักควำมเสมอภำค   2 28.57
14. หลักมุ่งเน้นฉันทำมติ  1 14.29
15. หลักบริหำรจัดกำรควำมรู้  1 14.29
16. หลักเทคโนโลยีสำรสนเทศ  1 14.29
รวม 6 8 8 6 10 10 7
รองศำสตรำจำรย์ ดร.วำโร เพ็งสวัสดิ์ 139

จำกตำรำงที่ 7.1 ผู้เขียนได้กำหนดองค์ประกอบที่มีควำมถี่สูง หรือคิดเป็นร้อยละ 50


ขึ้นไปเป็นองค์ประกอบของธรรมำภิบำลในสถำนศึกษำ ซึ่งพบว่ำมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลัก
นิติธรรม 2) หลักคุณธรรม 3) หลักควำมโปร่งใส 4) หลักกำรมีส่วนร่วม 5) หลักควำมรับผิดชอบ
และ 6) หลักควำมคุ้มค่ำ โดยแต่ละองค์ประกอบมีควำมหมำย ดังนี้
1) หลักนิติธรรม (rule of law) หมำยถึง กำรใช้อำนำจของกฎหมำย กฎระเบียบ
ข้อบังคับในกำรบริหำรรำชกำรด้วยควำมเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคำนึงถึงสิทธิเสรีภำพ
ของผู้มสี ่วนได้ส่วนเสีย
2) หลักคุณธรรม (rule of morality) หมำยถึง กำรยึดมั่นในควำมถูกต้องดีงำม รณรงค์
ให้บุคลำกรยึดถือหลักกำรนี้ในกำรปฏิบัติหน้ำที่ให้เป็นตัวอย่ำงแก่สังคม ส่งเสริมสนับสนุนให้
บุคลำกรพัฒนำตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้มคี วำมซื่อสัตย์ ขยัน อดทน และมีระเบียบวินัย
3) หลักความโปร่งใส (transparency) หมำยถึง กระบวนกำรเปิดเผยอย่ำงตรงไปตรงมำ
ชีแ้ จงได้เมื่อมีข้อสงสัย และสำมำรถเข้ำถึงข้อมูลข่ำวสำรอันไม่ต้องห้ำมตำมกฎหมำยได้อย่ำงเสรี
โดยประชำชนสำมำรถรู้ทุกขั้นตอนในกำรดำเนินกิจกรรมหรือกระบวนกำรต่ำง ๆ และสำมำรถ
ตรวจสอบได้
4) หลักการมีส่วนร่วม (participation) หมำยถึง กระบวนกำรที่ข้ำรำชกำร ประชำชน
และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มมีโอกำสได้เข้ำร่วมในกำรรับรู้ เรียนรู้ ทำควำมเข้ำใจ ร่วมแสดง
ทัศนะ ร่วมเสนอปัญหำหรือ ประเด็นที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิดแนวทำง ร่วมกำรแก้ไขปัญหำ
ร่วมในกระบวนกำรตัดสินใจ และร่วมกระบวนกำรพัฒนำในฐำนะหุน้ ส่วนกำรพัฒนำ
5) หลักความรับผิดชอบ (accountability) หมำยถึง กำรแสดงควำมรับผิดชอบในกำร
ปฏิบัติ หน้ำที่และผลงำนต่อเป้ำหมำยที่กำหนดไว้ โดยควำมรับผิดชอบนั้นควรอยู่ในระดับที่สนอง
ต่อควำมคำดหวังของสำธำรณะ รวมทั้งกำรแสดงถึงควำมสำนึกในกำรรับผิดชอบต่อปัญ หำ
สำธำรณะ
6) หลักความคุ้มค่า (utility) หมำยถึง กำรบริหำรจัดกำรและใช้ทรัพยำกรที่มีจำกัด
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม มีกำรรณรงค์ให้บุคลำกรมีกำรประหยัดใช้ของอย่ำงคุ้มค่ำ
สร้ำงสรรค์สินค้ำและบริกำรที่มคี ุณภำพ และรักษำ พัฒนำทรัพยำกรธรรมชำติให้สมบูรณ์
องค์ประกอบของธรรมำภิบำลในสถำนศึกษำที่กล่ำวมำ สำมำรถสรุปเป็นแผนภำพได้
ดังนี้
140 ธรรมำภิบำลในสถำนศึกษำ

หลักนิตธิ รรม

หลักคุณธรรม

หลักควำมโปร่งใส
ธรรมำภิบำลในสถำนศึกษำ
หลักกำรมีส่วนร่วม

หลักควำมรับผิดชอบ

หลักควำมคุ้มค่ำ

ภาพที่ 7.1 องค์ประกอบของธรรมำภิบำลในสถำนศึกษำ

จำกที่กล่ำวมำ สรุปได้ว่ำองค์ประกอบของธรรมำภิบำลมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ หลัก


นิติธรรม หลักคุณธรรม หลักควำมโปร่งใส หลักกำรมีส่วนร่วม หลักควำมรับผิดชอบ และหลัก
ควำมคุ้มค่ำ

การเสริมสร้างธรรมาภิบาล

วิธีกำรในกำรเสริมสร้ำงธรรมำภิบำล มีดังนี้
1. กำรมีส่วนร่วม เป็นกำรมีส่วนร่วมของประชำชนและเจ้ำหน้ำที่ของรัฐ ในกำรบริหำรงำน
เพื่อให้เกิดควำมคิดริเริ่มและพลังกำรทำงำนที่สอดประสำนกัน เพื่อบรรลุเป้ำหมำยในกำรให้
บริกำรประชำชน
2. ควำมยั่งยืน มีกำรบริหำรงำนที่อยู่บนหลักกำรของควำมสมดุลทั้งในเมืองและชนบท
ระบบนิเวศและทรัพยำกรธรรมชำติ
3. ประชำชนมีควำมรูส้ ึกว่ำเป็นสิ่งที่ชอบธรรม และให้กำรยอมรับกำรดำเนินงำนของ
หน่วยงำน สอดคล้องกับควำมต้องกำรของประชำชน
4. มีควำมโปร่งใส ข้อมูลต่ำง ๆ ต้องตรงกับข้อเท็จจริงของกำรดำเนินกำร และสำมำรถ
ตรวจสอบได้ มีกำรดำเนินกำรที่เปิดเผย ชัดเจน และเป็นไปตำมที่กำหนดไว้
5. ส่งเสริมควำมเป็นธรรมและกำรเสมอภำค มีกำรกระจำยกำรพัฒนำอย่ำงทั่วถึงเท่ำ
เทียมกัน ไม่มกี ำรเลือกปฏิบัติ และมีระบบรับเรื่องรำวร้องทุกข์ที่ชัดเจน
รองศำสตรำจำรย์ ดร.วำโร เพ็งสวัสดิ์ 141

6. มีควำมสำมำรถที่จะพัฒนำทรัพยำกร และวิธีบริหำรกิจกำรบ้ำนเมืองและสังคมที่ดี
เจ้ำหน้ำที่ของทุกหน่วยงำนจะต้องได้รับกำรพัฒนำควำมรู้และทักษะ เพื่อให้สำมำรถนำไปใช้กับ
กำรทำงำนได้และมีขนั้ ตอนกำรทำงำนที่ชัดเจน เพื่อให้ทุกหน่วยงำนยึดถือเป็นแนวปฏิบัติรว่ มกัน
7. ส่งเสริมควำมเสมอภำคทำงเพศ เปิดโอกำสให้สตรีทั้งในเมืองและชนบทเข้ำมำมีสว่ น
ร่วมในกำรพัฒนำชุมชนและสังคมในทุก ๆ ด้ำน
8. กำรอดทน อดกลั้นและกำรยอมรับทัศนะที่หลำกหลำย รวมทั้งต้องยุติข้อขัดแย้งด้วย
เหตุผล หำจุดร่วมที่ทุกฝ่ำยยอมรับกันได้
9. กำรดำเนินกำรตำมหลักนิติธรรม พัฒนำ ปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมำยให้มีควำม
ทันสมัย
10. ควำมรับผิดชอบ เจ้ำหน้ำที่ต้องมีควำมรับผิดชอบต่อประชำชน ควำมพึงพอใจของ
ประชำชนต่อกำรปฏิบัติงำนจะเป็นตัวชี้วัดสำคัญในกำรประเมินควำมสำเร็จของหน่วยงำนและ
เจ้ำหน้ำที่
11. กำรเป็นผู้กำกับดูแลแทนกำรควบคุม โอนงำนบำงอย่ำงให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ซึ่งใกล้ชิดกับประชำชนมำกที่สุด หรืองำนบำงอย่ำงต้องแปรรูปให้เอกชนดำเนินกำรแทน
โดยสรุป วิธีกำรเสริมสร้ำงธรรมำภิ บำลสำมำรถทำได้โดยกำรส่งเสริมกำรมีส่วนร่วม
ของประชำชนและเจ้ำหน้ำที่ของรัฐในกำรดำเนินงำน เพื่อให้ประชำชนรูส้ ึกว่ำเป็นสิ่งที่ชอบธรรม
และยอมรับในกำรดำเนินงำน ข้อมูลต่ำง ๆ ตรงกับข้อเท็จจริงของกำรดำเนินกำรและสำมำรถ
ตรวจสอบได้ ส่งเสริมควำมเป็นธรรมและควำมเสมอภำค ส่งเสริมควำมเสมอภำคทำงเพศ และ
ดำเนินกำรตำมหลักนิตธิ รรม

ธรรมาภิบาลในสถานศึกษา

กระทรวงศึกษำธิกำร (2546: 30-31) ได้กำหนดแนวทำงส่งเสริมกำรบริหำรสถำนศึกษำ


ขั้นพื้นฐำนที่เป็นนิติบุคคลว่ำ นอกจำกกำรบริหำรและจัดกำรศึกษำตำมอำนำจหน้ำที่เพื่อพัฒนำ
คุณภำพของผู้เรียนแล้ว รั ฐบำลได้มีกำรปฏิรูประบบรำชกำร เพื่อบริกำรประชำชนให้มีควำม
พึงพอใจในกำรบริกำรภำครัฐมำกขึ้น กำรบริหำรจัดกำรของสถำนศึกษำซึ่งมีหน้ำที่ให้บริก ำร
กำรศึกษำแก่ประชำชนและเป็นสถำนศึกษำของรัฐ จึงต้องนำหลักกำรว่ำด้วยกำรบริหำรกิจกำร
บ้ำนเมืองและสังคมที่ดี ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่ำ “ธรรมาภิบาล” มำบูรณำกำรในกำรบริหำร
และจัดกำรศึกษำ เพื่อเสริมสร้ำงควำมเข้มแข็งให้กับโรงเรียน หลักกำรดังกล่ำวประกอบด้วย
142 ธรรมำภิบำลในสถำนศึกษำ

หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักควำมโปร่งใส หลักกำรมีส่วนร่วม หลักควำมรับผิดชอบ และ


หลักควำมคุ้มค่ำ
หลั ก ธรรมำภิบ ำลอำจบูรณำกำรเข้ำกั บ กำรดำเนินงำนด้ำนต่ำง ๆ ของสถำนศึก ษำ
ได้แก่ กำรดำเนินงำนด้ำนงำนบริหำรวิชำกำร ด้ำนงำนบริหำรงบประมำณ ด้ำนงำนบริหำรงำน
บุคคล และด้ำนงำนบริหำรทั้งไป โดยมีเป้ำหมำยในกำรจัดกำรศึกษำคือทำให้ผู้เรียนเป็นคนดี
คนเก่ง และมีควำมสุข ซึ่งแสดงเป็นแผนภำพได้ ดังนี้

ภาพที่ 7.2 ภำพรวมกำรจัดกำรศึกษำของสถำนศึกษำขั้นพืน้ ฐำนที่เป็นนิติบุคคล


ที่มา: กระทรวงศึกษำธิกำร. 2546: 31

กำรบริ ห ำรสถำนศึ ก ษำขั้ น พื้ น ฐำนในกำรบริ ห ำรจั ด กำรตำมอ ำนำจหน้ ำ ที่ ข อง


คณะกรรมกำรและสถำนศึกษำขั้นพื้นฐำน นอกจำกจะต้องดำเนินงำนตำมหลักกำร และแนว
ปฏิรูปกำรศึกษำแล้ว ยังต้องยึดหลักกำรตำมหลักธรรมำภิบำล 6 ประกำร ดังนี้
1) หลักนิติธรรม ใช้กฎหมำยเป็นเครื่องมือในกำรปฏิบัติงำนอย่ำงเป็นธรรมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
ทุกฝ่ำย โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นต่อนักเรียนและประชำชนเป็นสำคัญ
2) หลักคุณธรรม ยึดมั่นในควำมถูกต้องดีงำมในกำรปฏิบัติหน้ำที่ เป็นตัวอย่ำงแก่สังคม
มีควำมซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัยและประกอบอำชีพสุจริต
รองศำสตรำจำรย์ ดร.วำโร เพ็งสวัสดิ์ 143

3) หลักควำมโปร่งใส กำรทำงำนทุกขั้นตอนต้องยึดหลักควำมโปร่งใสเพื่อสร้ำงควำมไว้
วำงใจซึ่งกันและกัน มีกำรปรับปรุงกลไกกำรทำงำนร่วมกัน ให้สำมำรถตรวจสอบ เปิดเผยข้อมูล
ข่ำวสำรที่เป็นประโยชน์ สร้ำงโอกำสให้ประชำชนเข้ำถึงข้อมูลข่ำวสำรได้สะดวก
4) หลักกำรมีส่วนร่วม มีกำรเปิดโอกำสให้ประชำชนและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ำยเข้ำมำ และ
เสนอควำมคิดเห็นในกำรตัดสินใจในปัญหำสำคัญของกำรบริหำรและจัดกำรศึกษำ
5) หลักควำมรับผิดชอบ มีควำมตระหนักในสิทธิหน้ำที่ของตนเองและผู้อื่น สำนึกและ
ควำมรับผิดชอบในกำรตัดสินใจที่ส่งผลต่อกำรพัฒนำคุณภำพกำรศึกษำของสถำนศึกษำ ใส่ใจและ
กระตือรือร้นในกำรแก้ปัญหำที่เกี่ยวข้อง เคำรพในควำมคิดเห็นที่แตกต่ำงและมีควำมกล้ำหำญ
ที่จะยอมรับผลจำกกำรกระทำของตนเองตำมบทบำทหน้ำที่ของสถำนศึกษำ และคณะกรรมกำร
สถำนศึกษำขั้นพื้นฐำน
6) หลักควำมคุ้มค่ำ มีกำรบริหำรจัดกำรและใช้ทรัพยำกรอย่ำงประหยัดและเกิดประโยชน์
สูงสุดต่อกำรพัฒนำคุณภำพกำรศึกษำของเยำวชน และประชำชนที่สถำนศึกษำรับผิดชอบ

ยุทธศาสตร์สู่ความสาเร็จในการนาธรรมาภิบาลมาใช้ในสถานศึกษา

กำรใช้ธรรมำภิบำลในกำรบริหำรสถำนศึกษำ จำเป็นต้องอำศัยผูบ้ ริหำรที่มีภำวะผู้นำที่


เหมำะสม และมีแนวทำงกำรบริหำรสอดคล้องกับหลักกำรบริหำรจัดกำรสถำนศึกษำนิติบุคล
กำรบริหำรจะต้องเป็นรูปแบบใหม่ เพรำะประสิทธิภำพกำรดำเนินงำนของสถำนศึกษำขึน้ อยู่กับ
ผู้อำนวยกำรสถำนศึกษำ ดังนั้น ผู้บริหำรสถำนศึกษำควรมีคุณสมบัติที่เหมำะสมหลำยอย่ำง
(ธีระ รุญ เจริญ . 2550: 34) ได้แก่ มีคุณวุฒิด้ำนกำรบริหำรกำรศึกษำ มีใบอนุญ ำตประกอบ
วิชำชีพ ผ่ำนกำรอบรมในหลักสูตรที่องค์กรวิชำชีพรับรอง มีมำตรฐำนวิชำชีพ และมีคุณธรรมและ
จรรยำบรรณวิชำชีพ
ในเรื่องนี้ ปัญญำ แก้วกียูร และสุภัทร พันธ์พัฒนกุล (2546 อ้ำงถึงใน ธีระ รุญเจริญ.
2550: 34-35) ได้เสนอยุทธศำสตร์สู่ควำมสำเร็จของโรงเรียน ดังนี้
1) สถำนศึกษำพัฒนำวิสัยทัศน์ พันธกิจ ภำรกิจ เป้ำหมำย และวิธีดำเนินกำรอย่ำง
ชัดเจน
2) สถำนศึกษำมีทีมงำนที่มีคุณภำพ หลำกหลำย โดยผูบ้ ริหำรที่มีภำวะผู้นำสูง กำกับ
ดูแลให้ทุกฝ่ำยมีส่วนร่วมในกำรตัดสินใน
3) พัฒนำบุคลำกรในสถำนศึกษำเป็นมืออำชีพ ทั้งด้ำนมำตรฐำนวิชำชีพ คุณธรรม
จริยธรรม มีควำมสำมำรถและทักษะทั้งด้ำนหน้ำที่และกระบวนกำรพัฒนำตนเองให้ทันสมัย
144 ธรรมำภิบำลในสถำนศึกษำ

4) พัฒนำข่ำวสำรข้อมูลในสถำนศึกษำ มีกลไกในกำรจัดระบบข้อมูลข่ำวสำร มีระบบ


สำรสนเทศที่ทันสมัย สื่อสำรได้หลำยทำง รวมทั้งประชำสัมพันธ์ เผยแพร่ขำ่ วสำร
5) ให้เกียรติและยกย่องครูเพื่อสร้ำงแรงจูงใจ
6) มีกำรประชำสัมพันธ์ที่ดี
โดยสรุป ผู้บริหำรมีควำมสำคัญอย่ำงมำกต่อควำมสำเร็จในกำรนำธรรมำภิบำลมำใช้
ในสถำนศึกษำ ผู้บริหำรจะต้องมีภำวะผู้นำและแนวทำงกำรบริหำรจัดกำรสถำนศึกษำที่เหมำะสม
มีทีมงำนที่มีคุณภำพ รวมทั้งมีกำรประชำสัมพันธ์ที่ดี

งานวิจัยเกี่ยวกับธรรมาภิบาลและการประยุกต์ใช้

กำรวิจัยเกี่ยวกับกำรใช้หลักธรรมำภิบำลในสถำนศึกษำ ดังนี้
1) กำรศึกษำกำรบริหำรงำนโดยใช้หลักธรรมภิบำล เช่น งำนวิจัยของธเนตร มีรัตน์ (2552)
วิจัยเรื่องกำรใช้หลักธรรมำภิบำลในกำรบริหำรโรงเรียนมัธยมศึกษำ ผลกำรวิจัยพบว่ำกำรใช้
หลักธรรมำภิบำลในกำรบริหำรโรงเรียนมัธยมศึกษำตำมควำมคิดเห็นของผู้บริหำรและครูอยู่ใน
ระดับมำก ทั้งโดยรวมและรำยด้ำน ส่งเสริม มีพร้อม (2552) ได้ศึกษำกำรบริหำรงำนตำมหลัก
ธรรมำภิบำลของผู้บริหำรสถำนศึกษำขั้นพื้นฐำน ผลกำรวิจัยพบว่ำกำรบริหำรงำนตำมหลัก
ธรรมำภิบำลของผู้บริหำรส่วนใหญ่บริหำรงำนตำมหลักธรรมำภิบำล โดยยึดหลักกำรมีส่วนร่วม
และรองลงมำ ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักควำมรับผิดชอบ หลักควำมคุ้มค่ำ และ
หลักควำมโปร่งใส นอกจำกนี้ยังพบอีกว่ำ ผู้บริหำร ครูและประธำนคณะกรรมกำรสถำนศึกษำ
ขั้นพื้นฐำนมีควำมคิดเห็นต่อกำรบริหำรงำนตำมหลักธรรมำภิบำลของผู้บริหำรโดยรวมอยู่ในระดับ
มำก เมื่อพิจำรณำเป็นรำยด้ำนพบว่ำอยู่ในระดับมำกทุกด้ำ น เรียงลำดับจำกมำกไปน้อย ดังนี้
หลักควำมโปร่งใส หลักกำรมีส่วนร่วม หลักควำมรับผิดชอบ หลักคุณธรรม หลักควำมคุ้มค่ำ
และหลักนิติธรรม ตำมลำดับ ชัยรัตน์ แพงดี ชัยยงค์ พรหมวงศ์และนิตยำ ศรีมกุฏพันธุ์ (2562)
ได้ทำกำรวิจัยพัฒนำระบบกำรบริหำรจัดกำรสถำนศึกษำด้วยหลักธรรมำภิบำลพบว่ำกำรใช้หลัก
ธรรมำภิบำลของผู้บริหำรสถำนศึกษำโดยรวมอยู่ในระดับมำก โดยหลักที่ใช้ในกำรบริหำรมำก
ที่สุด ได้แก่ หลักภำระรับผิดชอบ/สำมำรถตรวจสอบได้ รองลงมำ ได้แก่ หลักคุณธรรม/จริยธรรม
และหลักควำมเสมอภำค
2) กำรศึกษำควำมสัมพันธ์ระหว่ำงกำรบริหำรโดยใช้หลักธรรมำภิบำลกับตัวแปรอื่น ๆ
ที่พิจำรณำแล้วเห็นว่ำมีควำมสัมพันธ์กับธรรมำภิบำล ตัวแปรที่ใช้ศึกษำ อำทิ ประสิทธิผลกำร
บริหำรสถำนศึกษำ ควำมพึงพอใจที่มตี ่อกำรบริหำรงำน ควำมผูกพันต่อสถำนศึกษำ ภำวะผูน้ ำ
รองศำสตรำจำรย์ ดร.วำโร เพ็งสวัสดิ์ 145

กำรเปลี่ยนแปลง เช่น ชำญชัย พิงขุนทด (2552) ได้ศึกษำควำมสัมพันธ์ระหว่ำงกำรบริหำรงำน


ตำมหลักธรรมำภิบำลกับควำมพึงพอใจที่มีต่อกำรบริหำรงำนของสถำนศึกษำ ผลกำรวิจัยพบว่ำ
มีควำมสัมพันธ์กันทำงบวก มีชัย โสกันทัต (2552) ได้ศึกษำควำมสัมพันธ์ระหว่ำงกำรใช้หลัก
ธรรมำภิบำลของผูบ้ ริหำรกับควำมผูกพันต่อสถำนศึกษำของครู ผลกำรวิจัยพบว่ำมีควำมสัมพันธ์
ทำงบวก กนกพร ชัยทิมประทุม (2553) ได้ศกึ ษำควำมสัมพันธ์ระหว่ำงกำรดำเนินงำนตำมหลัก
ธรรมำภิบำลกับประสิทธิผลกำรบริหำรงบประมำณของสถำนศึกษำ ผลกำรวิจัยพบว่ำมีควำม
สัมพันธ์กันทำงบวก สุวชัย ศรีบุญ เรือง (2554) ได้ศึกษำควำมสัมพันธ์ ระหว่ำงภำวะผู้นำกำร
เปลี่ยนแปลงกับกำรบริหำรสถำนศึกษำตำมหลักธรรมำภิบำล ผลกำรวิจัยพบว่ำมีควำมสัมพันธ์
กันทำงบวกในระดับมำก และสุภำ เจียมพุกและประเสริฐ อินทร์รักษ์ (2555) ได้ศึกษำควำม
สัมพันธ์ระหว่ำงแรงจูงใจของครูกับกำรบริหำรตำมหลักธรรมำภิบำลของผู้บริหำรโรงเรียน ผลกำร
วิจัยพบว่ำมีควำมสัมพันธ์กัน
โดยสรุป กำรวิจัยเกี่ยวกับธรรมำภิบำล ผลกำรวิจัยมักจะพบว่ำองค์ประกอบของหลัก
ธรรมำภิบำลทีน่ ำมำใช้ในกำรศึกษำ จะยึดตำมระเบียบสำนักนำยกรัฐมนตรีว่ำด้วยกำรสร้ำง
ระบบบริหำรกิจกำรบ้ำนเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 ซึ่งมี 6 ด้ำน ประกอบด้วยหลักนิตธิ รรม
คุณธรรม ควำมโปร่งใส ควำมมีส่วนร่วม ควำมรับผิดชอบ และควำมคุ้มค่ำ กำรศึกษำกำรใช้
หลักธรรมำภิบำลในกำรบริหำรสถำนศึกษำพบว่ำอยู่ในระดับมำกทุกด้ำน ส่วนกำรศึกษำควำม
สัมพันธ์ระหว่ำงกำรบริหำรสถำนศึกษำโดยใช้หลักธรรมำภิบำลกับตัวแปรต่ำง ๆ ผลกำรวิจัย
มักจะพบว่ำมีควำมสัมพันธ์กัน

แนวทางการประยุกต์ใช้
จำกผลกำรวิจัยเกี่ยวกับธรรมำภิบำล สำมำรถนำไปประยุกต์ใช้ ดังนี้
1) ผูบริหำรโรงเรียนควรดูแลกำรปฏิบัติงำนของครูอย่ำงใกล้ชิด และจะต้องอำนวยควำม
สะดวกในกำรปฏิบัติงำนของครู ใหกำลังใจอยูเสมอ พยำยำมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกำรจัดกิจกรรม
ต่ำง ๆ ของโรงเรียน เพื่อใหชุมชนเห็นควำมสำคัญและยอมรับในวิชำชีพครู มอบหมำยงำนใหกับ
ครูโดยคำนึงถึงควำมเหมำะสมทั้งในดำนควำมรู ควำมสำมำรถ ควำมถนัด และควำมพึงพอใจ
ของครู เปิดโอกำสให้ครูใช้ควำมสำมำรถอย่ำงอิสระและมีส่วนร่วมรับผิดชอบกับผลงำนที่เกิดขึ้น
ดวยควำมภำคภูมใิ จ
2) ผบู ริหำรโรงเรียนควรพยำยำมสรำงแรงจูงใจให้เกิดขึ้นกับครูมำกที่สุด เพรำะครูเป็น
บุคลำกรสำคัญในกำรจัดกำรเรียนรู้ให้กับนักเรียน ตองใหควำมสำคัญกับกำรเสริมสรำงแรงจูงใจ
โดยอำจจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับกำรเพิ่มประสิทธิภำพผูบริหำรโรงเรียนและครู รวมทั้งกำรอบรม
146 ธรรมำภิบำลในสถำนศึกษำ

คุณธรรม จริยธรรม เพื่อสร้ำงจิตสำนึกและควำมตระหนักถึงหนำที่กำรงำนและบุคคล เพื่อนำไปสู่


กำรพัฒนำโรงเรียนอย่ำงมีประสิทธิผล
3) ผูบ้ ริหำรโรงเรียนควรยกย่อง ชมเชยและให้รำงวัล รวมทั้งรับฟงควำมคิดเห็นของครู
สำหรับกำรประเมินผลกำรปฏิบัติงำนของครูจะต้องมีควำมยุติธรรมและโปร่งใส ซึ่งจะจูงใจใน
กำรปฏิบัติงำนของครู

สรุปท้ายบท

ธรรมำภิบำล หมำยถึง แนวทำงกำรบริหำรงำนของรัฐ เพื่อให้รัฐสำมำรถบริหำรงำนได้


อย่ำงมีประสิทธิภำพ ประสิทธิผล มีกระบวนกำรทำงกฎหมำยที่อิสระ มีเสถียรภำพ มีโครงสร้ำง
และกระบวนกำรบริหำรที่ดี มีควำมโปร่งใสและตรวจสอบได้ อันนำไปสู่กำรพัฒนำประเทศที่ยั่งยืน
ระเบียบสำนักนำยกรัฐมนตรีว่ำด้วยกำรสร้ำงระบบกำรบริหำรกิจกำรบ้ำนเมืองและสังคมที่ดี
พ.ศ. 2542 มุ่งเน้นให้หน่วยงำนของรัฐดำเนินงำนตำมภำระหน้ำที่ โดยยึดหลักกำรพื้นฐำน 6
ประกำร ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักควำมโปร่งใส หลั กกำรมีส่วนร่วม หลักควำม
รับผิดชอบ และหลักควำมคุ้มค่ำ
กำรวิจัยเกี่ยวกับธรรมำภิบำลมักจะศึกษำในลักษณะสภำพกำรใช้หลักธรรมำภิบำลใน
กำรบริหำรสถำนศึกษำ และศึกษำในลักษณะควำมสัมพันธ์ระหว่ำงกำรบริหำรสถำนศึกษำโดย
ใช้หลักธรรมำภิบำลกับตัวแปรที่สนใจ เช่น ประสิทธิผลกำรบริหำรสถำนศึกษำ ควำมพึงพอใจที่มี
ต่อกำรบริหำรงำน ภำวะผู้นำกำรเปลี่ยนแปลง ควำมผูกพันต่อสถำนศึกษำ เป็นต้น ซึ่งผลกำรวิจัย
มักจะพบว่ำกำรบริหำรงำนโดยใช้หลักธรรมำภิบำลส่วนใหญ่อยู่ในระดับมำกและมีควำมสัมพันธ์
กับตัวแปรต่ำง ๆ ที่ศึกษำ

แบบฝึกหัดท้ายบท

จงตอบคำถำมหรือทำกิจกรรมต่อไปนี้
1. จงให้ควำมหมำยของ “ธรรมำภิบำล”
2. จงอธิบำยควำมเป็นมำของหลักธรรมำภิบำล
3. องค์ประกอบของธรรมำภิบำลมีอะไรบ้ำง จงอธิบำยรำยละเอียดแต่ละองค์ประกอบ
4. เหตุใดกำรดำเนินงำนของสถำนศึกษำต้องยึดหลักธรรมภิบำล
5. มีควำมจำเป็นอย่ำงไรที่จะต้องนำหลักธรรมำภิบำลมำใช้ในสถำนศึกษำ
รองศำสตรำจำรย์ ดร.วำโร เพ็งสวัสดิ์ 147

6. ถ้ำสถำนศึกษำไม่มธี รรมำภิบำลแล้วจะมีผลเสียอย่ำงไร
7. กำรเสริมสร้ำงธรรมำภิบำลในสถำนศึกษำต้องดำเนินกำรอย่ำงไรบ้ำง
8. จงนำเสนอกลยุทธ์หรือวิธีกำรในกำรนำธรรมำภิบำลมำใช้ในสถำนศึกษำให้ประสบ
ผลสำเร็จ
9. กระทรวงศึกษำธิกำรได้กำหนดแนวทำงส่งเสริมกำรบริหำรสถำนศึกษำขั้นพืน้ ฐำน
โดยให้สถำนศึกษำนำหลักธรรมำภิบำลมำบูรณำกำรในกำรบริหำรจัดกำรศึกษำ เพื่อเสริมสร้ำง
ควำมเข้มแข็งให้กับสถำนศึกษำ ท่ำนคิดว่ำหลักกำรข้อใดมีควำมจำเป็นเร่งด่วนสำหรับสถำนศึกษำ
จงอธิบำยพร้อมทั้งให้เหตุผล
10. ศึกษำงำนวิจัยเกี่ยวกับ “ธรรมำภิบำลในสถำนศึกษำ” แล้วให้นำเสนอแนวทำงกำร
นำผลกำรวิจัยที่ศึกษำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์
148 ธรรมำภิบำลในสถำนศึกษำ
บทที่ 8
คุณธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู
คุณธรรมกับความเป็นครูเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ คุณธรรมสาหรับครูจึง
ได้นาหลักธรรมที่สาคัญของพุทธศาสนามาอธิบายเพื่อนาไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม ส่วน
จรรยาบรรณ หมายถึง ความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพต่า ง ๆ ได้ร่วมกันกาหนดขึ้นไว้เป็น
แนวทางประพฤติปฏิบัติ เพื่อร่วมกันรักษาชื่อเสียง เกียรติคุณของวิชาชีพนั้น ๆ ให้เจริญรุ่งเรือง
กาหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อเป็นหลักฐานในการติดตามและอ้างอิงได้
ส าหรั บ ในบทนี้ จ ะได้ น าเสนอเนื้ อ หาตามล าดั บ ดั ง นี้ ความหมายของคุ ณ ธรรม
ความส าคั ญ ของคุณธรรมส าหรับผู้ ประกอบวิชาชีพครู หลักคุณธรรมสาหรับครู แนวทางการ
ส่งเสริมคุณธรรมสาหรับครู ความหมายของจรรยาบรรณ ความสาคัญของจรรยาบรรณ แบบ
แผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ การลงโทษผู้ทาผิดจรรยาบรรณ และกรณีศึกษา
การลงโทษผูท้ าผิดจรรยาบรรณ

ความหมายของคุณธรรม

คาว่า “คุณธรรม” (virtue) มีหน่วยงาน นักวิชาการ และนักการศึกษาได้ให้ความหมาย


ไว้ ดังนี้
ยนต์ ชุ่มจิต (2550: 157) ให้ความหมาย คุณธรรม หมายถึง ธรรมชาติของความดี
ลักษณะของความดีหรือสภาพของความดีที่มอี ยู่ในตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
สานักงานคณะกรรมการการศึ กษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ (2552: 130) ให้
ความหมาย คุณธรรม หมายถึง สภาพคุณงามความดี ความประพฤติที่ดี การทาให้เกิดคุณงาม
ความดี อุปนิสัยอันดีงาม ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่อยู่ภายในจิตใจของบุคคล
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (ราชบัณฑิตยสถาน. 2560: ออนไลน์)
ให้ความหมาย คุณธรรม หมายถึง สภาพคุณงามความดี
150 คุณธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู

ปริยาภรณ์ ตั้งคณานันต์ (2561: 64) ให้ความหมาย คุณธรรม หมายถึง สภาพนิสัยหรือ


พฤติกรรมของบุคคลที่แสดงถึงความดีงามและรู้สึกผิดชอบชั่วดี ที่มีอยู่ในจิตใจของแต่ละคน และ
ยึดถือปฏิบัติจนเป็นนิสัย เป็นที่ยอมรับของสังคม
โดยสรุป คุณธรรม หมายถึง สภาพนิสัยหรือพฤติกรรมของบุคคลที่ดีงาม ถูกต้อง ซึ่งมีอยู่
ภายในจิตใจของบุคคล ทาให้บุคคลนั้นพร้อมที่จะกระทาสิ่งต่าง ๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อตนเอง
โดยไม่เบียดเบียนผู้อ่นื หรือกระทาสิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อ่นื

ความสาคญขของคุณธรรมสาหรญบููปรระออบวิชาชีพครู

คุณธรรมเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงามที่อยู่ภายในจิตใจ คุณธรรมจะช่วยให้ครูเป็นผู้ที่มคี วาม


ประพฤติดงี าม มีการวางตัวที่เหมาะสมกับกาลเทศะ เป็นที่เคารพและน่าเชื่อถือของศิษย์และ
บุคคลทั่วไป ซึ่งความสาคัญของคุณธรรมต่อผูป้ ระกอบวิชาชีพครูมี ดังนี้
1. คุณธรรมช่วยหล่อหลอมให้ครูเป็นคนที่มคี วามพอดี มัธยัสถ์ และมีความกล้าหาญ
2. คุณธรรมช่วยหล่อหลอมให้ครูเป็นคนดี เพราะมีคุณสมบัติที่ดจี ากการปฏิบัติตาม
คุณธรรมต่าง ๆ
3. คุณธรรมช่วยให้ครูรู้จักใช้เหตุผลและปัญญา จะทาทุกอย่างด้วยเหตุผล ปฏิบัติดี
ปฏิบัติชอบ และเป็นเครื่องนาทางให้ทาในสิ่งที่ถูกต้อง
4. คุณธรรมช่วยให้ครูเป็นคนกล้าหาญ ความกล้าหาญเป็นคุณธรรมที่สาคัญ มากใน
การดารงชีวิตส่วนบุคคล คนที่มีคุณธรรมจะกล้าทาสิ่งที่ควรทาและไม่กล้าทาในสิ่งที่ไม่สมควร
ความกล้าจะช่วยให้มนุษย์ยืนหยัดที่จะทาในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม
5. คุณธรรมช่วยให้ครูเป็นคนที่มีความยุติธรรม ความยุติธรรมเป็นคุณธรรมส่วนบุคคล
ที่มาจากลักษณะภายในจิตใจ ประกอบด้วยเหตุผล อารมณ์ และความปรารถนา
6. คุณธรรมช่วยให้ครูสามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะนาเอา
คุณธรรมมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งทาให้ศษิ ย์เป็นคนดี มีคุณธรรมด้วย
7. คุณธรรมของครูมีผลต่อสภาพความเป็นอยู่ของบุคคลในสังคม จากการเป็นพลเมือง
ดีมีคุณธรรมจะทาให้สังคมมีความสงบสุข เพราะทุกคนมีคุณธรรมควบคู่ไปกับความรู้ ทาให้ไม่
เบียดเบียนกัน
โดยสรุป คุณธรรมเป็นคุณงามความดีของบุคคลที่กระทาหรือสานึกในจิตใจ คุณธรรมควร
เป็นสิ่งที่ปลูกฝัง สร้างสมให้เกิดขึน้ และดารงไว้ให้มีอยู่ในตัวบุคคล ซึ่ง จะมีความสาคัญและเป็น
ประโยชน์ตอ่ บุคคลที่ประกอบวิชาชีพครูเป็นอย่างมาก
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 151

คุณธรรมสาหรญบครู

คุณธรรมสาหรับครูเป็นสิ่งที่สาคัญที่ครูควรมีส่ิงยึดเหนี่ยวทางจิตใจ และมีหลักคุณธรรม
ทางศาสนาที่ตนนับถือมาเป็นหลักปฏิบัติ มีดังนี้
1. คุณธรรมพื้นฐาน
คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ที่ควรปลูกฝังให้กับเยาวชน เพื่อให้เป็นคนดี มีความรู้
และอยู่ดีมีสุข มีดั งนี้ (สานัก งานคณะกรรมการการศึก ษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
2552: 133-135)
1.1 ขยัน หมายถึง ความตั้งใจเพียรพยายาม ทาหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่อง สม่าเสมอ
อดทน ความขยันต้องปฏิบัติควบคู่กับการใช้สติปัญญาแก้ปัญหาจนเกิดผลสาเร็จ ผู้ที่มคี วามขยัน
คือผู้ที่ตงั้ ใจทาอย่างจริงจังต่อเนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควร เป็นคนสู้งานมีความพยายาม ไม่ท้อถอย
กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทา ตั้งใจทาอย่างจริงจัง
1.2 ประหยัด หมายถึง การรูจ้ ักเก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของแต่พอควร
พอประมาณ ให้เกิดประโยชน์คมุ้ ค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ ผูท้ ี่มคี วามประหยัดคือผู้ที่ดาเนินชีวิต
ความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนซือ้ เก็บออม ถนอมใช้
ทรัพย์สิน สิ่งของอย่างคุ้มค่า รูจ้ ักทาบัญชีรายรับ รายจ่าย รายออมของตนเองอยู่เสมอ
1.3 ซื่อสัตย์ หมายถึง ประพฤติตรง ไม่เอนเอียง ไม่มเี ล่หเ์ หลี่ยม มีความจริงใจ
ปลอดจากความรู้สึกลาเอียงหรืออคติ ผูท้ ี่มีความซื่อสัตย์คือผูท้ ี่มีความประพฤติตรงทั้งต่อหน้าที่
ต่อวิชาชีพ ตรงต่อเวลา ไม่ใช้เล่ห์กล คดโกง ทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองและ
ปฏิบัติอย่างเต็มที่ถูกต้อง
1.4 มีวินัย หมายถึง การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับและข้อปฏิบัติ ซึ่งมีทั้ง
วินัยในตนเองและวินัยต่อสังคม ผูท้ ี่มีวินัยคือผูท้ ี่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎ ระเบียบของสถานศึกษา
สถาบัน องค์กร สังคมและประเทศ โดยที่ตนเองยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ
1.5 สุภาพ หมายถึง เรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อม มีกิรยิ ามารยาทที่ดงี าม มี
สัมมาคารวะ ผูท้ ี่มคี วามสุภาพคือผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ ไม่ก้าวร้าว
รุนแรง วางอานาจข่มผูอ้ ื่นทั้งโดยวาจาและท่าทาง แต่ในเวลาเดียวกันยังคงมีความมั่นใจในตนเอง
เป็นผู้ที่มมี ารยาท วางตนเหมาะสมตามวัฒนธรรมไทย
1.6 สะอาด หมายถึง ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม ความ
ผ่องใสเป็นที่เจริญตา ทาให้เกิดความสบายใจแก่ผพู้ บเห็น ผู้ที่มีความสะอาดคือผูร้ ักษาร่างกาย
ที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อมถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัว มีความแจ่มใสอยู่เสมอ
152 คุณธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู

1.7 สามัคคี หมายถึง ความพร้อมเพรียงกัน ความกลมเกลียวกัน ความปรองดอง


กัน ร่วมใจกันปฏิบัติ งานให้บ รรลุผลตามที่ต้องการ เกิดงานอย่างสร้างสรรค์ ปราศจากการ
ทะเลาะวิวาท ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นการยอมรับความมีเหตุผล ยอมรับความแตกต่าง
หลากหลายทางความคิด ความหลากหลายในเรื่องเชื้อชาติ ความกลมเกลียวกันในลักษณะ
เช่นนี้เรียกอีกอย่างว่าความสมานฉันท์ ผู้ที่มีความสามัคคีคือผูท้ ี่เปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็น
ของผู้ อื่ น รู้ บ ทบาทของตนทั้ ง ในฐานะผู้ น าและผู้ ต ามที่ ดี มี ค วามมุ่ ง มั่ น ต่ อ การรวมพลั ง
ช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน เพื่อให้การงานสาเร็จลุล่วง แก้ปัญ หาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มี
เหตุ ผล ยอมรับ ความแตกต่ างหลากหลายทางวัฒ นธรรม ความคิ ด ความเชื่อ พร้อ มที่ จ ะ
ปรับตัวเพื่ออยู่รว่ มกันอย่างสันติ
1.8 มีน้าใจ หมายถึง ความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเองหรือเรื่องของตัวเอง แต่
เห็นอกเห็นใจ เห็นคุ ณ ค่าในเพื่อนมนุษ ย์ มีความเอื้ออาทร เอาใจใส่ ให้ความสนใจในความ
ต้องการ ความจาเป็น ความทุกข์สุขของผู้อ่ืนและพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเกือ้ กูลกันและกัน
ผู้ที่มีน้าใจคือผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อท า
ประโยชน์ แ ก่ ผู้ อื่ น เข้ า ใจ เห็ น ใจผู้ ที่ มี ค วามเดื อ ดร้ อ น อาสาช่ ว ยเหลื อ สั ง คมด้ ว ยแรงกาย
สติปัญญา ลงมือปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหา หรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึน้ ในชุมชน

2. คุณธรรมสาหรญบครูเพื่อเพิ่มรระสิทธิภาพในอารทางาน
การทางานเพื่อให้มปี ระสิทธิภาพของงานมากยิ่งขึ้น ครูต้องมีหลักธรรมเพื่อเป็นสิ่ง
ยึดเหนี่ยวในการทางาน ดังนี้
2.1 อิทธิบาท 4
อิทธิบาท หมายถึง การดาเนินไปสู่ความสาเร็จ ซึ่งประกอบด้วยองค์ธรรม 4
ประการ ดังนี้
2.1.1 ฉันทะ หมายถึง ความพึงพอใจ ความต้องการที่จะทา ใฝ่ใจรักจะทาสิ่ง
นั้นอยู่เสมอ และปรารถนาทาให้ได้ผลดียิ่ง ๆ ขึน้ ไป
2.1.2 วิริยะ หมายถึง ความเพียร ขยันหมั่นเพียรประกอบสิ่งนั้น ๆ ด้วยความ
พยายาม เข็มแข็งอดทน
2.1.3 จิตตะ หมายถึง ความคิดตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทา และทาสิ่งนั้นด้วยความคิด
เอาจิตฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านจากสิ่งที่ตอ้ งรับผิดชอบ
2.1.4 วิมั งสา หมายถึ ง ความไตร่ต รอง หมั่ น ใช้ ปั ญ ญาพิ จ ารณาใคร่ค รวญ
ตรวจตราหาเหตุผล และมีการวางแผน ปรับปรุงงานอยู่เสมอ
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 153

ผู้ประกอบวิชาชีพครู ควรใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการดาเนินชีวิตการทางานใน


หน้าที่ครู เป็นครูด้วยใจรักในอาชีพครู มีความเพียรพยายาม เอาใจใส่ นึกคิดตรึกตรองด้วย
ปัญญาเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงงานอยู่เสมอ จะนามาซึ่งผลสาเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ครู
2.2 พละธรรม 5
พละธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นกาลัง กล่าวคือองค์ธรรมนี้ช่วยในการทาหน้าที่
ให้ประสบความสาเร็จ ประกอบด้วยองค์ธรรม 5 ประการ ดังนี้
2.2.1 ศรัทธาพละ หมายถึง ความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา เชื่อในทางที่ชอบ
เชื่อในสิ่งที่ค วรเชื่อ ซึ่งความเชื่อเหล่านี้เมื่ อเกิดขึ้นในใจของบุคคลแล้ว จะเป็นพลังให้ท าแต่
ความดี ละเว้นความชั่ว
2.2.2 วิรยิ ะพละ หมายถึง ความพากเพียรพยายามในการทาอะไรก็ตาม ถ้าทา
บ่อย ๆ ทาติดต่อกัน บากบั่นอย่างสม่าเสมอย่อมทาให้เกิดพลัง นามาซึ่งความสาเร็จในการ
ทางาน
2.2.3 สติพละ หมายถึง ความระลึกได้ กล่าวคือมีความระลึก ความรู้สึกตัวใน
การกระท า การพู ด การคิ ด โดยความมี ส ติจ ะเป็ น ก าลัง เป็ น พลั งในการท างานให้ ป ระสบ
ความสาเร็จ
2.2.4 สมาธิพละ หมายถึง ความมุ่งมั่นหรือความตั้งใจ เป็นองค์ธรรมที่ทาให้
จิตตั้งมั่น มีพลัง มีความหนักแน่น มั่นคงในสิ่งที่เป็นกุศล พลังสมาธินจี้ ะเป็นกาลังในการต่อต้าน
ความฟุ้งซ่าน มิให้เกิดขึ้นภายในจิตใจของตนเอง ทาให้มคี วามมุง่ มั่นที่จะทางานให้สาเร็จ
2.2.5 ปัญญาพละ หมายถึง ความรอบรู้ ความเข้าใจสภาพธรรม ความรอบรู้
นอกจากจะเป็นความรอบรู้ทางวิชาการแล้ว ก็ควรมีความรอบรู้ความดี ชั่ว ซึ่งความรอบรู้นี้จะ
เกิดจากการสั่งสม การอบรมจนเกิดปัญญา ก่อให้เกิดพลัง ความสงบและความสุข
การปฏิบัติหน้าที่ครูให้ประสบความสาเร็จได้ผลดี ครูต้องศรัทธาในอาชีพครู
โดยมีความเชื่อว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่ดี มีประโยชน์แก่สังคม สร้างคนให้เป็นคนดี มีความเพียร
ที่จะแสวงหาความรู้และอบรมสั่งสอนศิษย์ให้มีความรู้และคุณธรรม มีสติที่จะทางานด้วยความ
ตั้งใจ มีสมาธิคือความมุ่งมั่น ตั้งใจในการจัดการเรียนรู้ และมีปัญญาคือความฉลาด รอบรู้ใน
วิชาการและวิชาชีพ ว่าจะจัดการเรียนรู้อย่างไรให้ส่งผลดีกับศิษย์
154 คุณธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู

3. คุณธรรมสาหรญบครูเพื่อความสุข ความเจริขของตนและส่วนรวม
หลักธรรมที่ครูต้องปฏิบัติเพื่อความเจริญส่วนตัวและส่วนรวม มีดังนี้
3.1 พรหมวิหาร 4
พรหมวิหาร หมายถึง ธรรมของพรหม เป็นธรรมอันประเสริฐของผูท้ ี่ทาหน้าที่
เป็นที่พึงของผู้อื่น หรือผู้เป็นผู้ใหญ่ ซึ่งครูจะต้องมีธรรมประจาใจในหลักธรรมนี้ เพื่อเป็นหลัก
ประพฤติปฏิบัติตนที่ดีงาน ได้แก่
3.1.1 เมตตา หมายถึง ความรักใคร่ ปรารถนาดีที่อยากให้ศิษย์มีความสุข มีจติ ใจ
ที่ดงี าม
3.1.2 ความกรุณา หมายถึง ความสงสาร เอ็นดูศิษย์ พึงช่วยเหลือให้ศิษย์พ้นจาก
ความทุกข์และความไม่รู้
3.1.3 มุทิตา หมายถึง ความชื่นชม ยินดีเมื่อศิษย์ได้ดี และยกย่องเชิดชูให้ปรากฏ
อันเป็นการให้กาลังใจและช่วยให้เกิดความภาคภูมใิ จในตนเอง
3.1.4 อุเบกขา หมายถึง การวางตัว วางใจเป็นกลาง ดารงอยู่ในธรรมที่พิจารณา
เห็นด้วยปัญญา ไม่เอนเอียงด้วยความรักหรือความชัง พร้อมที่จะวินจิ ฉัยและปฏิบัติตามธรรม
3.2 สังคหวัตถุ 4
สังคหวัตถุ หมายถึง ธรรมที่ยึดเหนี่ยวน้าใจคนหรือธรรมที่ช่วยให้มีมนุษยสัมพันธ์
ที่ดตี ่อกัน ซึ่งถ้าครูประพฤติปฏิบัติเป็นประจาจะทาให้ครูมีเสน่ห์ เป็นที่รักของศิษย์ ประกอบด้วย
3.2.1 ทาน หมายถึง การให้ ครูจะต้องให้คาแนะนา สั่งสอน ให้ความรู้และความ
เข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ให้ความรักความห่วงใย รวมถึงการให้อภัยแก่ผู้อ่นื
3.2.2 ปิย วาจา หมายถึ ง การพู ดจาด้วยน้ าใจหวังใจ พูด ด้วยถ้ อยค าสุภ าพ
น้าเสียงนุ่มนวล พูดชี้แจงในสิ่งที่เป็นประโยชน์ มุ่งให้เป็นประโยชน์และเกิดผลดี ทาให้เกิดความ
เชื่อถือและเคารพนับถือ
3.2.3. อัตถจริยา หมายถึง การประพฤติอันเป็นประโยชน์ การขวนขวายช่วยเหลือ
กิจการสาธารณประโยชน์ การมีนาใจช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ตลอดจนช่วยแก้ไข
ปรับปรุง ส่งเสริมในทางจริยธรรมแก่ผู้อ่นื
3.2.4 สมานัตตตา หมายถึง การปฏิบัติตนเสมอต้นเสมอปลาย ทาตัวเป็นกันเอง
กับผู้อื่น ผูกมิตรกับผู้อื่น ร่วมเผชิญและแก้ปัญหาเพื่อประโยชน์สุขแก่ส่วนร่วม ตลอดจนการ
วางตัวให้เหมาะสมแก่ฐานะ ภาวะ บุคคล เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อม
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 155

4. คุณธรรมสาหรญบครูเพื่อหลีอเลี่ยงหรือละเวปน
สิ่งที่ครูควรละเว้นและหลีกเลี่ยง เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของครูมีประสิทธิภาพและ
ทาให้นา่ เคารพนับถือแก่ศษิ ย์ ครูควรยืดหลักธรรม ดังนี้
4.1 อคติ 4
อคติ หมายถึง ความลาเอียง หรือความประพฤติที่คลาดเคลื่อนจากธรรม ผูเ้ ป็น
ครูควรจะปราศจากอคติ 4 ประการ ได้แก่
4.1.1 ฉันทาคติ (สาเอียงเพราะรัก) หมายถึง การช่วยเหลือหรือเข้าข้างคนที่รัก
ทาให้เสียความเที่ยงธรรม
4.1.2 โทสาคติ (ลาเอียงเพราะชัง) หมายถึง การกลั่นแกลังให้โทษคนที่เราไม่
ชอบ หรือเกลียดชัง
4.1.3 โมหาคติ (ลาเอียงเพราะหลงหรือเขลา) หมายถึง การช่วยเหลือหรือให้
โทษคนอื่นเพราะความโง่เขลา ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเกิดขึ้นเพราะผลประโยชน์ หรือคนที่
เราเกลียดชังอย่างขาดสติ ทาให้เสียความยุติธรรม
4.1.4 ภยาคติ (ลาเอียงเพราะขลาดกลัว) หมายถึง เกรงกลัวอิทธิพลอานาจ
วาสนาฐานะของบุคคลที่เหนือกว่า โดยทาการช่วยเหลือเพราะกลัวสิ่งดังกล่าว ทาให้เสียความ
ยุติธรรม
4.2 อบายมุข 6
อบายมุข หมายถึง ทางแห่งความเสื่อมหรือทางแห่งความหายนะ มี 6 ประการ
ผูเ้ ป็นครูควรหลีกเลี่ยงทุกประการ ได้แก่
4.2.1 ติดสุราและของมีนเมา มีโทษ 6 อย่าง ได้แก่ 1) ความเสื่อมทรัพย์อันผู้ด่ืม
พึงเห็นได้เอง 2) ก่อการทะเลาะวิวาท 3) เป็นบ่อเกิดแห่งโรค 4) เป็นเหตุเสื่อมเสียชื่อเสียง 5) เป็น
เหตุไม่รู้จักละอาย และ 6) เป็นเหตุทอนกาลังสติปัญญา
4.2.2 ติดเที่ยวกลางคืน มีโทษ 6 อย่าง ได้แก่ 1) ได้ชื่อว่าไม่รักษาตัว 2) ได้ชื่อว่า
ไม่รักษาลูกเมีย 3) ได้ชื่อว่าไม่รักษาทรัพย์สมบัติ 4) เป็นที่ระแวงสงสัย 5) เป็นเป้าให้เขาใส่ความ
หรือข่าวลือ และ 6) เป็นที่มาของเรื่องเดือดร้อนต่าง ๆ
4.2.3 ติดเที่ยวดูการละเล่น ทาให้การงานเสื่อมเสีย เพราะใจกังวลคอยคิดจอง
และเสียเวลาเมื่อไปดูสิ่งนั้น 6 ประการ ได้แก่ 1) ราที่ไหนไปที่นั่น 2) ขับร้องที่ไหนไปที่นั่น 3) ดีดสี
ตีเป่าที่ไหนไปที่นั่น 4) เสภาที่ไหนไปที่นั่น 5) เพลงที่ไหนไปที่นั่น และ 6) เถิดเทิดที่ไหนไปที่นั่น
156 คุณธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู

4.2.4 ติดการพนัน มีโทษ 6 ประการ ได้แก่ 1) เมื่อชนะย่อมก่อเวร 2) เมื่อแพ้ย่อม


เสียดายทรัพย์ที่เสียไป 3) ทรัพย์ย่อมฉิบหาย 4) ไม่มีใครเชื่อถือถ้อยคา 5) เป็นที่หมิ่นประมาท
ของเพื่อนฝูง และ 6) ไม่มใี ครประสงค์จะแต่งงานด้วย
4.2.5 คบคนชั่วเป็นมิตร มีโทษตามบุคคลที่ตนคบ 6 ประการ ได้แก่ 1) นาให้เป็น
นักเลงการพนัน 2) นาให้เป็นนักเลงผู้หญิง 3) นาให้เป็นนักเลงเหล้า 4) นาให้เป็นคนลวงผู้อื่นด้วย
ของปลอม 5) นาให้เป็นคนโกงเขาซึ่งหน้า และ 6) นาให้เป็นคนหัวไม้
4.2.6 เกียจคร้านการทางาน โดยเหตุต่าง ๆ เป็นข้ออ้าง เพื่อไม่ต้องทาการงาน
ทาให้เสียประโยชน์ ทรัพย์สมบัติที่มอี ยู่ก็หมดสิ้นไป มี 6 ประการ ดังนี้ 1) มักอ้างว่า หนาวนัก
แล้วไม่ทางาน 2) มักอ้างว่า ร้อนนัก แล้วไม่ทางาน 3) มักอ้างว่า เย็นแล้ว แล้วไม่ทางาน 4) มัก
อ้างว่า ยังเช้าอยู่ แล้วไม่ทางาน 5) มักอ้างว่า หิว กระหายน้า แล้วไม่ทางาน และ 6) มักอ้างว่า
อิ่มนัก แล้วไม่ทางาน

แนวทางอารส่งเสริมคุณธรรมสาหรญบครู

สังคมคาดหวังให้ครูเป็นผู้ประพฤติดี ประพฤติชอบ และมีคุณธรรม ดังนั้น จึงมีความ


จาเป็นจะต้องหาวิธีการส่งเสริมคุณธรรมให้กับครู ซึ่งแนวทางในการส่งเสริมคุณธรรมของครู
มีดังนี้ (วิไล ตั้งจิตสมคิด. 2554: 167)
1. การเลียนแบบจากตัวแบบที่ดี เพื่อโน้มน้าวให้ครูมีความกระตือรือร้นที่จะปฏิบัติงาน
2. การรวมพลังกลุ่ม กลุ่มครูที่มแี นวคิดและวางแผนปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ด้วยดี
จะมี อิ ท ธิ พ ลต่ อ ครู ค นอื่ น สามารถน ากลุ่ ม ชั ก น าให้ ค รู อื่ น ๆ ประพฤติ ต าม เช่ น กลุ่ ม หนึ่ ง
วางแผนกันประหยัดเพื่อเก็บเงินสาหรับอนาคตและเพื่อพัฒนาตนเองหรือลดความฟุ่มเฟือยต่าง
ๆ เพื่ อ ประหยั ด ทรั พ ย์ สิ น ส่ ว นตั ว ทรั พ ย์ สิ น ของทางราชการและสาธารณสมบั ติ เช่ น ตั้ ง
โครงการประหยัดน้า ประหยัดไฟ โครงการซ่อมบารุงเครื่องมือเครื่องใช้ภายในหน่วยงานด้วย
ตนเอง เป็นต้น
3. การเพิ่มสมรรถภาพทางจิต ด้วยวิธี
3.1 ฝึกการควบคุมอารมณ์ของตนเอง ให้มีความยับยั้งชั่งใจที่จะไม่แสดงปฏิกิริยา
ตอบสนองในทางลบ แต่ให้ใช้วิธีไตร่ตรอง ศึกษาสาเหตุที่แท้จริงของพฤติกรรมนัน้ ๆ เสียก่อน
3.2 พยายามเอาชนะอุปสรรคด้วยการสร้างคามั่นสัญญา และบันทึกผลการปฏิบัติ
ของตนเองไว้ วิธีนอี้ าจให้เพื่อนครูหรือผูใ้ กล้ชิดเป็นผู้ประเมินความก้าวหน้าให้
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 157

3.3 การฝึก สมาธิ เพื่ อให้ มีจิ ตใจที่ ส งบไม่ฟุ้ งซ่ าน ด้ วยวิธีนี้ จะช่ วยให้ ค รูมีค วาม
แจ่ม ใสในอารมณ์ สามารถที่ จะเพิ่ ม สมรรถภาพทางจิ ตให้ กั บ ตนเองได้เป็น อย่างดี ในเวลา
เดียวกันจะช่วยให้ครูตระหนักและมองเห็นคุณค่าของสมาธิ มีเหตุผลที่จะประพฤติปฏิบัติสมาธิ
อย่างต่อเนื่องตลอดไปจนกลายเป็นกิจนิสัยที่ดี
โดยสรุป แนวทางการส่งเสริมคุณธรรมสาหรับครูสามารถดาเนินการได้หลายวิธี ได้แก่
การเลียนแบบจากตัวแบบที่ดี การรวมพลังกลุ่ม การเพิ่มสมรรถภาพทางจิตโดยการฝึกควบคุม
อารมณ์ของตนเอง การพยายามเอาชนะอุปสรรคด้วยการสร้างคาสัญญาและบันทึกผลการ
ปฏิบัติของตน และการฝึกสมาธิ

ความหมายของจรรยาบรรณ

ได้มผี ใู้ ห้ความหมายของจรรยาบรรณ (code of conduct) ไว้ ดังนี้


ปราชญา กล้าผจัญ (2544: 313) ได้กล่าวว่า จรรยาบรรณ หมายถึง สิ่งที่ได้บันทึกไว้เป็น
ลายลักษณ์อักษร คาสั่งที่ควรประพฤติในแวดวงวิชาชีพต่าง ๆ อันเป็นกฎเกณฑ์ กติกาให้ละเว้น
ในบางสิ่งและให้ประพฤติในบางสิ่ง เพื่อจะได้อยู่ในแวดวงวิชาชีพนั้นได้อย่างเป็นสุข สอดคล้องกับ
แนวคิดของผกา สัตยธรรม (2544: 43) ที่ได้กล่าวว่า จรรยาบรรณ หมายถึง ความประพฤติที่
ผู้ประกอบวิชาชีพต่าง ๆ ได้กาหนดหลักปฏิบัติขึ้น เพื่อรักษาชื่อเสียง เกียรติคุณของวิชาชีพนั้น ๆ
โดยบัญ ญั ติหรือเขียนไว้เป็นลายลัก ษณ์ อัก ษร ราชบัณ ฑิตยสถาน (2546: 289) ได้กล่าวว่า
จรรยาบรรณ หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกาหนด
ขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์
อักษรหรือไม่ก็ได้ นอกจากนี้ คุรุสภาได้ออกข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556
โดยได้กาหนดว่าจรรยาบรรณของวิชาชีพ หมายถึง มาตรฐานการปฏิบัติตนที่กาหนดขึ้น เป็น
แบบแผนในการประพฤติตน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องปฏิบัติตาม เพื่อรักษาและ
ส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียง และฐานะของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธา
แก่ผรู้ ับการบริการและสังคม อันจะนามาซึ่งเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ
ในทัศนะของผูเ้ ขียน จรรยาบรรณวิชาชีพ หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบ
อาชีพการงานแต่ละอย่างกาหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียงและฐานะของ
สมาชิก
158 คุณธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู

ความสาคญขของจรรยาบรรณ

เนื่องจากจรรยาบรรณเป็นข้อกาหนดความประพฤติของสมาชิกในแต่ละวิชาชีพ ดังนั้น
จรรยาบรรณจึงมีความสาคัญ ดังนี้ (พิชัย ไชยสงคราม. 2542: 126)
1. ช่วยควบคุมมาตรฐาน รับประกันคุณภาพและปริมาณที่ถูกต้องในการประกอบวิชาชีพ
ตามลักษณะของงานแต่ละประเภทของวิชาชีพ
2. ช่วยควบคุมจริยธรรมของผู้ประกอบอาชีพ ผู้ผลิต และผู้ค้า เช่น มีความซื่อสัตย์
สุจริต ยุติธรรม
3. ช่วยส่งเสริมมาตรฐานคุณภาพและปริมาณที่ดี มีคุณค่า และเผยแพร่ให้รู้จัก เป็นที่นยิ ม
เชื่อถือได้
4. ช่วยส่งเสริมจริยธรรมของผูป้ ระกอบอาชีพและผู้ผลิต เช่น ให้มีเมตตา หิริโอตตัปปะ
5. ช่วยลดปัญหาอาชญากรรม ลดปัญหาคดโกง ฉ้อฉล เอารัดเอาเปรียบ ความเห็นแก่ได้
เห็นแต่ประโยชน์สว่ นตน
6. ช่วยให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นในภาพพจน์ที่ดีของผูม้ ีจริยธรรม เช่น การเสียสละ การเห็น
ประโยชน์สว่ นรวมมากกว่าส่วนตัว
7. ช่วยทาหน้าที่พิทักษ์รักษาสิทธิตามกฎหมาย สาหรับผู้ประกอบวิชาชีพ ให้เป็นไป
อย่างถูกต้องและยุติธรรม
สรุปได้วา่ จรรยาบรรณมีความสาคัญ เนื่องจากช่วยควบคุมมาตรฐาน ทาให้บุคคลใน
วิชาชีพมีความประพฤติที่ดี มีระเบียบวินัย ก่อให้เกิดประโยชน์ตอ่ วิชาชีพ ผูป้ ระกอบวิชาชีพ และ
ผูร้ ับบริการ และรวมถึงภาพพจน์แห่งวิชาชีพ

แบบแูนพฤติอรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ

แบบแผนพฤติ กรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ หมายถึ ง ประมวลพฤติ กรรมที่ เป็ น


ตัว อย่ างของการประพฤติ ที่ ก าหนดขึ้น ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ ซึ่ งผู้ ป ระกอบวิชาชี พ
ทางการศึกษาคือ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ ต้องหรือพึง
ประพฤติปฏิบัติตาม ประกอบด้วยพฤติกรรมที่พึงประสงค์ที่กาหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพทาง
การศึกษาต้องหรือพึงปฏิบัติตาม และพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่กาหนดให้ผู้ประกอบวิชาชี พ
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 159

ทางการศึกษาต้องหรือพึงละเว้น (ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณ
ของวิชาชีพ พ.ศ. 2550)
แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพครู มีดังนี้
1. จรรยาบรรณต่อตนเอง
ครูต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อ
การพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ โดยต้องประพฤติและละเว้น
การประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้

พฤติอรรมทีพ
่ ึงรระสงค์ พฤติอรรมทีไ่ ม่พึงรระสงค์
(๑) 1. ประพฤติตนเหมาะสมกับสถานภาพและเป็นแบบอย่(า๑ง) 1. เกี่ยวข้องกับอบายมุขหรือสิ่งเสพติดจนขาดสติหรือ
(๒) ที่ดี (๒) กิริยาไม่สุภาพเป็นที่น่ารังเกียจในสังคม
(๓) 2. ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดใี นการดาเนินชีวิตตาม(๓) 2. ประพฤติผดิ ทางชู้สาวหรือมีพฤติกรรมล่วงละเมิด
(๔) ประเพณี และวัฒนธรรมไทย (๔) ทางเพศ
(๕) 3. ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สาเร็จ (๕) 3. ขาดความรับผิดชอบ ความกระตือรือร้น ความเอา
(๖) อย่างมีคุณภาพ ตามเป้าหมายที่กาหนด (๖) ใจใส่ จนเกิดความเสียหายในการปฏิบัติงานตาม
(๗) 4. ศึกษา หาความรู้ วางแผนพัฒนาตนเอง พัฒนางาน(๗) หน้าที่
(๘) และสะสมผลงานอย่างสม่าเสมอ (๘) 4. ไม่รับรูห้ รือไม่แสวงหาความรูใ้ หม่ ๆ ในการจัดการ
(๙) 5. ค้นคว้า แสวงหา และนาเทคนิคด้านวิชาชีพที่พัฒนา (๙) เรียนรู้ และปฏิบัติหน้าที่
และก้าวหน้าเป็นที่ยอมรับมาใช้แก่ศิษย์และ 5. ขัดขวางการพัฒนาองค์การจนเกิดผลเสียหาย
ผู้รับบริการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่พึงประสงค์

2. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
ครูต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีของ
องค์กรวิชาชีพ โดยต้องประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่าง
ต่อไปนี้

พฤติอรรมทีพ
่ ึงรระสงค์ พฤติอรรมทีไ่ ม่พึงรระสงค์
(๑) 1. แสดงความชื่นชมและศรัทธาในคุณค่าของวิชาชีพ 1. ไม่แสดงความภาคภูมิใจในการประกอบวิชาชีพ
(๒) 2. รักษาชื่อเสียงและปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ 2. ดูหมิ่น เหยียดหยาม ให้รา้ ยผู้รว่ มประกอบวิชาชีพ
(๓) 3. ยกย่องและเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานในวิชาชีพให้ ศาสตร์ในวิชาชีพ หรือองค์กรวิชาชีพ
(๔) สาธารณชนรับรู้ 3. ประกอบการงานอื่นที่ไม่เหมาะสมกับการเป็น
(๕) 4. อุทิศตนเพื่อความก้าวหน้าของวิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
(๖) 5. ปฏิบัติหน้าที่ดว้ ยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริตตาม 4. ไม่ซ่อื สัตย์สุจริต ไม่รับผิดชอบ หรือไม่ปฏิบัติตามกฎ
(๗) กฎ ระเบียบ และแบบแผนของทางราชการ ระเบียบ หรือแบบแผนของทางราชการจนก่อให้เกิด
160 คุณธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู

พฤติอรรมทีพ
่ ึงรระสงค์ พฤติอรรมทีไ่ ม่พึงรระสงค์
(๘) 6. เลือกใช้หลักวิชาที่ถูกต้อง สร้างสรรค์เทคนิค วิธกี าร ความเสียหาย
(๙) ใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาวิชาชีพ 5. คัดลอกหรือนาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
7. ใช้องค์ความรูห้ ลากหลายในการปฏิบัติหน้าที่ และ 6. ใช้หลักวิชาการที่ไม่ถูกต้องในการปฏิบัติวิชาชีพ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกในองค์การ ส่งผลให้ศิษย์หรือผู้รับบริการเกิดความเสียหาย
8. เข้าร่วมกิจกรรมของวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพอย่าง 7. ให้ความรู้ทางวิชาการ วิชาชีพ หรืออาศัยองค์กร
สร้างสรรค์ วิชาชีพแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเอง หรือผู้อื่น
โดยมิชอบ

3. จรรยาบรรณต่อููปรญบบริอาร
ครูต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กาลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการตาม
บทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า ครูต้องส่งเสริมให้เกิดการเรีย นรู้ ทักษะ และนิสัย ที่ถูกต้องดีงาม
แก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ ครูต้อง
ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจาและจิตใจ ครูต้องไม่กระทาตนเป็นปฏิปักษ์
ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ และครู
ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการ
ใช้ตาแหน่งหน้าที่โดยมิชอบโดยต้องปฏิบัติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดัง
ตัวอย่างต่อไปนี้
พฤติอรรมทีพ
่ ึงรระสงค์ พฤติอรรมทีไ่ ม่พึงรระสงค์
(๑) 1. ให้คาปรึกษาหรือช่วยเหลือศิษย์และผู้รับบริการด้วย(๑) 1. ลงโทษศิษย์อย่างไม่เหมาะสม
(๒) ความเมตตากรุณาอย่างเต็มกาลังความสามารถ (๒) 2. ไม่ใส่ใจหรือไม่รับรู้ปัญหาของศิษย์หรือผู้รับบริการ
(๓) และเสมอภาค (๓) จนเกิดผลเสียหายต่อศิษย์หรือผู้รับบริการ
(๔) 2. สนับสนุนการดาเนินงานเพื่อปกป้องสิทธิเด็ก (๔) 3. ดูหมิ่นเหยียดหยามศิษย์หรือผู้รับบริการ
(๕) เยาวชน และผู้ดอ้ ยโอกาส (๕) 4. เปิดเผยความลับของศิษย์หรือผู้รับบริการ เป็นผล
(๖) 3. ตั้งใจ เสียสละ และอุทิศตนในการปฏิบัติหน้าที่ (๖) ให้ได้รับความอับอายหรือเสื่อมเสียชื่อเสียง
(๗) เพื่อให้ศิษย์และผู้รับบริการได้การพัฒนาตามความ(๗) 5. จูงใจ โน้มน้าว ยุยงส่งเสริมให้ศิษย์หรือผู้รับบริการ
(๘) สามารถ ความถนัดและความสนใจของแต่ละบุคคล(๘) ปฏิบัติขัดต่อศีลธรรมหรือกฎระเบียบ
(๙) 4. ส่งเสริมให้ศิษย์และผู้รับบริการสามารถแสวงหา (๙) 6. ชักชวน ใช้ จ้าง วานศิษย์หรือผู้รับบริการให้จัดซื้อ
ความรู้ได้ดว้ ยตนเองจากสื่ออุปกรณ์ และแหล่ง จัดหาสิ่งเสพติด หรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับอบายมุข
เรียนรูอ้ ย่างหลากหลาย 7. เรียกร้องผลตอบแทนจากศิษย์ หรือผู้รับบริการ
5. ให้ศิษย์และผู้รับบริการ มีสว่ นร่วมวางแผนการ ในงานตามหน้าที่ที่ต้องให้บริการ
เรียนรู้ และเลือกวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมกับตนเอง
6. เสริมสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ศิษย์และผู้รับบริการ
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 161

พฤติอรรมทีพ
่ ึงรระสงค์ พฤติอรรมทีไ่ ม่พึงรระสงค์
ด้วยการรับฟังความคิดเห็น ยกย่อง ชมเชย และให้
กาลังใจอย่างกัลยาณมิตร

4. จรรยาบรรณต่อููปร่วมรระออบวิชาชีพ
ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม
สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ โดยพึงประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
พฤติอรรมทีพ
่ ึงรระสงค์ พฤติอรรมทีไ่ ม่พึงรระสงค์
(๑) 1. เสียสละ เอือ้ อาทร และให้ความช่วยเหลือผู้ร่วม (๑) 1. ปิดบังข้อมูลข่าวสารในการปฏิบัติงาน จนทาให้เกิด
(๒) ประกอบวิชาชีพ (๒) ความเสียหายต่องานหรือผู้รว่ มประกอบวิชาชีพ
(๓) 2. มีความรัก ความสามัคคี และร่วมใจกันผนึกกาลัง (๓) 2. ปฏิเสธความรับผิดชอบ โดยตาหนิ ให้ร้ายผู้อื่นใน
(๔) ในการพัฒนาการศึกษา (๔) ความบกพร่องที่เกิดขึน้
(๕) 3. สร้างกลุม่ อิทธิพลภายในองค์กรหรือกลั่นแกล้ง
(๖) ผู้รว่ มประกอบวิชาชีพให้เกิดความเสียหาย
(๗) 4. เจตนาให้ข้อมูลเท็จทาให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเกิด
(๘) ความเสียหายต่อผู้รว่ มประกอบวิชาชีพ
(๙) 5. วิพากษ์ วิจารณ์ผู้ร่วมประกอบวิชาชีพในเรื่องที่
ก่อให้เกิดความเสียหายหรือแตกความสามัคคี

5. จรรยาบรรณต่อสญงคม
ครู พึ ง ประพฤติ ป ฏิ บั ติ ต นเป็ น ผู้ น าในการอนุ รั ก ษ์ แ ละพั ฒ นาเศรษฐกิ จ สั ง คม
ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นใน
การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุ ข โดยพึงประพฤติและ
ละเว้นการปฏิบัติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
พฤติอรรมทีพ
่ ึงรระสงค์ พฤติอรรมทีไ่ ม่พึงรระสงค์
(๑) 1. ยึดมั่น สนับสนุน และส่งเสริมการปกครองระบอบ(๑) 1. ไม่ให้ความร่วมมือหรือสนับสนุนกิจกรรมของชุมชน
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่จัดเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาทั้งทางตรงหรือทางอ้อม
(๒) 2. นาภูมปิ ัญญาท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรมมาเป็น (๒) 2. ไม่แสดงความเป็นผู้นาในการอนุรักษ์หรือพัฒนา
ปัจจัยในการจัดการศึกษาให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา
3. จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ศิษย์เกิดการเรียนรูแ้ ละ หรือสิ่งแวดล้อม
สามารถดาเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง (๓) 3. ไม่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดใี นการอนุรักษ์หรือ
(๓) 4. เป็นผู้นาในการวางแผนและดาเนินการเพื่ออนุรักษ์ พัฒนาสิ่งแวดล้อม
162 คุณธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู

พฤติอรรมทีพ
่ ึงรระสงค์ พฤติอรรมทีไ่ ม่พึงรระสงค์
สิ่งแวดล้อมพัฒนาเศรษฐกิจ ภูมปิ ัญญาท้องถิ่น และ (๔) 4. ปฏิบัติตนเป็นปฏิปักษ์ต่อวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชน
ศิลปวัฒนธรรม หรือสังคม

อารลงโทษููปทาูิดจรรยาบรรณ

ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 กาหนดโทษผู้ทา


ผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ ดังนี้
มาตรา 51 บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชี พ
ของผู้ได้รับใบอนุญาต มีสทิ ธิกล่าวหาผูไ้ ด้รับใบอนุญาตผู้นนั้ โดยทาเรื่องยื่นต่อคุรุสภา
กรรมการคุรุสภา กรรมการมาตรฐานวิชาชีพหรือบุคคลอื่นมีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบ
วิชาชีพว่าผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ โดยแจ้งเรื่องต่อคุรุสภา
สิทธิการกล่าวหา หรือสิทธิการกล่าวโทษสิ้นสุดลงเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ได้รับ
ความเสียหายหรือผู้กล่าวโทษรู้เรื่องการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพดังกล่าว และรู้ตัว
ผูก้ ระทาผิด
การถอนเรื่องการกล่าวหาหรือการกล่าวโทษที่ได้ยื่นไว้แล้ว นั้นไม่เป็นเหตุให้ระงับ
การดาเนินการตามพระราชบัญญัติน้ี
มาตรา 52 เมือ่ คุรุสภาได้รับเรื่องดังกล่าวหรือการกล่าวโทษตามมาตรา 51 ให้เลขาธิการ
คุรุสภาเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพโดยไม่ชักช้า
มาตรา 53 ให้ประธานกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาหรือข้อ
กล่าวโทษ พร้อมทั้งส่งสาเนาเรื่องที่กล่าวหาหรือกล่าวโทษให้ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งถูกกล่าวหา
หรือกล่าวโทษล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนเริ่มพิจารณา
ผูถ้ ูกกล่าวหาหรือถูกกล่าวโทษมีสทิ ธิทาคาชีแ้ จงหรือนาพยานหลักฐานใด ๆ ส่งให้
คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ หรืออนุกรรมการ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจาก
ประธานกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ หรือภายในเวลาที่คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพกาหนด
มาตรา 54 คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีอานาจวินิจฉัยชีข้ าดอย่างใดอย่างหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(1) ยกข้อกล่าวหา
(2) ตักเตือน
(3) ภาคทัณฑ์
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 163

(4) พักใช้ใบอนุญาต มีกาหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 5 ปี


(5) เพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา 55 ผู้ใดรับใบอนุญาตซึ่งคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัยชีข้ าดตามมาตรา
54 (2) (3) (4) หรือ (5) อาจอุทธรณ์คาวินิจฉัยต่อคณะกรรมการคุรุสภาภายในสามสิบวันนับแต่
วันได้รับแจ้งคาวินจิ ฉัย
การอุทธรณ์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในข้อบังคับคุรุสภา
คาวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการคุรุสภาให้ทาเป็นคาสั่งคุรุสภา พร้อมด้วยเหตุผล
ของการวินิจฉัยชีข้ าด
มาตรา 56 ห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตซึ่งอยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตผู้ใดประกอบ
วิชาชีพควบคุมหรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้ าใจว่าตนมีสิทธิหรือพร้อมจะประกอบวิชาชีพ
ควบคุมนับแต่วันที่ทราบคาสั่งพักใช้ใบอนุญาตนัน้
ผู้ใดฝ่าฝืนตามมาตรา 56 นี้ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินหก
หมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
มาตรา 57 ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งถูกสั่งเพิกถอนจะยื่นขออีกไม่ได้ จนกว่าจะพ้นห้าปีนับ
แต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอน

อรณีศอึ ษาอารลงโทษููปอระทาูิดจรรยาบรรณ

กรณีตัวอย่างคาวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ กรณีผู้ประกอบวิชาชีพ
ทางการศึกษาประพฤติผดิ จรรยาบรรณของวิชาชีพ ดังนี้ (สานักงานเลขาธิการคุรุสภา. 2563:
ออนไลน์)
เรื่องที่ 1 อรณีความูิดเอี่ยวอญบทรญพย์
ขปอเท็จจริง: นาง ฉ เป็นครูอัตราจ้างของโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง เป็นผู้ได้รับใบอนุญาต
ประกอบวิชาชีพครู มีพฤติกรรมเรียกเก็บเงินค่าถ่ายรูปหมูข่ องนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่กาลังจะจบการศึกษา คนละ 300 บาท เพื่อนาไปชาระให้กับร้านถ่ายรูป
แต่ นาง ฉ ได้นาเงินดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว โดยไม่ชาระเงินบางส่วนให้แก่ร้านถ่ายรูป
เป็นเหตุให้นักเรียนไม่ได้รับรูปถ่าย

อารรระพฤติูิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ
164 คุณธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู

เป็นการประพฤติผิดจรรยาบรรณต่อตนเอง ตามข้อ 7 และจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ


ข้อ 13 แห่งข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556

คาวินิจฉญยคณะอรรมอารมาตรฐานวิชาชีพ
คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีคาวินิจฉัยชี้ขาด ให้พักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ครูเป็นเวลา 5 ปี ตามมาตรา 54 (4) แห่งพระราชบัญ ญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึ กษา
พ.ศ. 2546

เรื่องที่ 2 อรณีความูิดเอี่ยวอญบอารล่วงละเมิดทางเพศต่อนญอเรียนหขิง
ขปอเท็จจริง: นาย ส เป็นผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ตาแหน่งผู้อานวยการ
โรงเรียน เป็นผู้ได้รับ ใบอนุญ าตประกอบวิชาชีพครูและใบอนุญ าตประกอบวิ ชาชีพผู้บริหาร
สถานศึกษา มีพฤติกรรมล่วงละมิดทางเพศ โดยกระทาอนาจารต่อนักเรียนหญิง อายุไม่เกิน 15
ปี ซึ่งเป็นศิษย์อยู่ในความดูแล จานวน 3 คน ดังนี้
-นักเรียนหญิงคนที่ 1 ขณะที่เรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้ไปฝึกซ้อม
เต้นแอโรบิคกับภรรยาของ นาย ส ที่บ้ านของนาย ส และถูกนาย ส กระชากตัว ให้ไปนั่งบนตัก
พร้อมกับหอมแก้มและจูบปาก ซึ่งนักเรียนหญิงไม่สามารถขัดขืนได้ เนื่องจากสู้แรงไม่ไหว
-นักเรียนหญิงคนที่ 2 ขณะที่เรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้ไปโชว์เต้น
แอโรบิคที่โรงเรียนอื่น เมื่อเต้นเสร็จได้ลงจากเวทีและรับประทานอาหารบริเวณข้างเวที ต่อมา
ได้ไปเก็บขยะ ขณะที่กาลังเก็ บขยะอยู่นั้น นาย ส เดินเข้ามาทางด้านหลังและได้เอามือจับก้ น
ซึ่งนักเรียนหญิงหันหลังกลับไปมอง นาย ส แต่ นาย ส กลับทาเหมือนไม่มอี ะไรเกิดขึ้น
-นักเรียนหญิงคนที่ 3 ขณะที่เรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้ไปฝึกซ้อม
เต้นแอโรบิคที่บ้านของ นาย ส จากนั้น นาย ส ได้เรียกให้เข้าไปพบที่หอ้ งทางานโดยอยู่กับนักเรียน
หญิงเพียงลาพังสองคน นาย ส ได้จับกัน จับท้อง และชวนให้นักเรียนหญิงมานอนที่บ้าน

อารรระพฤติูิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ
เป็นการประพฤติผดิ จรรยาบรรณต่อตนเอง ตามข้อ 7 จรรยาบรรณต่อวิ ชาชีพ ตามข้อ
8 และจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ตามข้อ 12 แห่งข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณของ
วิชาชีพ พ.ศ. 2556

คาวินิจฉญยคณะอรรมอารมาตรฐานวิชาชีพ
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 165

คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีคาวินิจฉัยขาด ให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ทุกประเภท ตามมาตรา 54 (5) แห่งพระราชบั ญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.
2546

เรื่องที่ 3 อรณีความูิดเอี่ยวอญบอารล่วงละเมิดทางเพศต่อนญอเรียนหขิง
ขปอเท็จจริง: นาย ป เป็นข้าราชการครู เป็นผู้ได้รับ ใบอนุญ าตประกอบวิชาชีพครู มี
พฤติกรรมล่วงละมิดทางเพศโดยกระทาอนจารต่อนักเรียนหญิง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็น
ศิษย์อยู่ในความดูแล จานวน 13 ราย เป็นการกระทาต่างกรรมต่างวาระ
เหตุเกิดที่ห้องเรียนวิชาสังคมศึกษา ซึ่งเป็นห้องเรียนที่ นาย ป สอนนักเรียนเป็นประจา
พฤติกรรมของ นาย ป คือ จะเรียกนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มาหาที่ห้องเรียนดังกล่าว
ครั้งละ 1-2 คน โดย นาย ป จะกระทานาจารนักเรียนหญิงด้วยพฤติกรมที่ต่างกันไป เช่น พูด
เกี่ยวกับเรื่องทางเพศ เปิดคลิปวิดีโอลามกอนาจรให้นักเรียนหญิงดู และกระทาอนาจารนักเรียน
หญิง ด้วยการใช้มือจับหน้าอก จับอวัยวะเพศ บังคับให้นักเรียนหญิงนวดขาและให้ลูบจับอวัยวะ
เพศของ นาย ป โดยนาย ป ได้พูดจาข่มขู่นักเรียนไม่ให้ไปบอกเรื่องดังกล่ าวกับผูอ้ ื่น ต่อมาศาล
มีคาพิพากษาจาคุก นาย ป ในทุกกระทงความผิด เป็นเวลา 32 ปี และคดีถึงที่สุด

อารรระพฤติูิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ
เป็นการประพฤติผดิ จรรยาบรรณต่อตนเอง ตามข้อ 7 จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ตามข้อ
8 และจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ตามข้อ 12 แห่งข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณของ
วิชาชีพ พ.ศ. 2556

คาวินิจฉญยคณะอรรมอารมาตรฐานวิชาชีพ
คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีคาวินิจฉัยชีข้ าด ให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ครู ตามมาตรา 54 (5) แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546

เรื่องที่ 4 อรณีความูิดเอี่ยวอญบอารล่วงละเมิดทางเพศต่อนญอเรียนชาย
166 คุณธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู

ขปอเท็จจริง: นาย ป เป็นข้าราชการครู เป็นผูไ้ ด้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู มี


พฤติกรรมล่วงละมิดทางเพศ โดยกระทาอนาจารต่อนักเรียนชาย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จานวน
2 คน ซึ่งเป็นศิษย์อยู่ในความดูแล
นักเรียนชายคนที่ 1 ถูก นาย ป กระทาอนาจาร จานวน 5 ครั้ง เหตุเกิดที่บ้านพักครูของ
นาย ป 4 ครั้ง และเกิดที่ห้องพักครู 1 ครั้ง โดย นาย ป จะเรียกนักเรียนชายไปหาที่บ้านพักครู
และห้องพักครู และให้นักเรียนชาย นวดขาและให้จับอวัยวะเพศ โดยใช้มือสาเร็จความใคร่ให้กับ
นาย ป
นักเรียนชาย คนที่ 2 ถูกนาย ป กระทาอนาจาร จานวน 1 ครั้ง ที่ห้องนอนภายในบ้านพัก
ครูของนาย ป ซึ่งนาย ป ได้ให้นักเรียนชายนวดขาและให้จับอวัยวะเพศ โดยใช้มือสาเร็จความใคร่
ให้กับ นาย ป

อารรระพฤติูิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ
เป็นการประพฤติผดิ จรรยาบรรณต่อตนเอง ตามข้อ 7 จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ตามข้อ
8 และจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ตามข้อ 12 แห่ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ
พ.ศ. 2556

คาวินิจฉญยคณะอรรมอารมาตรฐานวิชาชีพ
คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีคาวินิจฉัยชีข้ าด ให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบ
วิชาชีพครู ตามมาตรา 54 (5) แห่พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546

เรื่องที่ 5 อรณีความูิดเอี่ยวอญบอารล่วงละเมิดทางเพศต่อนญอเรียนหขิง
ขปอเท็จจริง: นาย ล เป็นผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ตาแหน่งรองผู้อานวยการ
โรงเรียน เป็นผู้ได้รับใบอนุญ าตประกอบวิช าชีพครู และใบอนุญ าตประกอบวิชาชีพผู้บริหาร
สถานศึกษา มีพฤติกรรมลักษณะเชิงชู้สาวทางแอพพลิเคชั่นไลน์ (line) กับนักเรียนหญิง ชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นศิษย์อยู่ในความดูแล โดยโน้มน้าวให้นักเรียนหญิงส่งภาพลามกอนาจาร
(ภาพเปลือยหน้าอก) มาให้ นาย ล ดู และได้สนทนาด้วย ข้อความว่า "คิดถึงนะ" "อยากเห็นนม
อิๆๆ" นักเรียนหญิงจึงได้ส่งภาพอื่นในลักษณะใกล้เคียงกันให้ดูแทน การกระทาของ นาย ล เป็น
การกระทาอันเป็นการหมิ่นเหม่ต่อการที่นักเรียนอาจถูกล่อลวง หรือชักจูงไปในทางที่ไม่เหมาะสม
นาย ล ไม่มีวินัยในตนเอง เนื่องจากไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ การกระทาดังกล่าวเป็น
การล่วงละเมิดทางเพศด้วยวาจาต่อนักเรียนและเป็นศิษย์ในความดูแล
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 167

อารรระพฤติูิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ
เป็นการประพฤติผิดจรรยาบรรณต่อตนเอง ตามข้อ 7 จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ตามข้อ
8 และจรรยาบรรณต่อผูร้ ับบริการ ตามข้อ 12 แห่งข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณของ
วิชาชีพ พ.ศ. 2556

คาวินิจฉญยคณะอรรมอารมาตรฐานวิชาชีพ
คณะกรมการมาตรฐานวิชาชีพมีคาวินิจฉัยชีข้ าด ให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ทุกประเภท ตามมาตรา 54 (5) แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.
2546

เรื่องที่ 6 อรณีความูิดเอี่ยวอญบความสญมพญนธ์ฉญนชูปสาว
ขปอเท็จจริง: นางสาว ก เป็นครูผดู้ ูแลเด็ก เป็นผูไ้ ด้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู มี
พฤติกรรมความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับ นาย ส ซึ่งเป็นชายที่มี นาง อ เป็นภรรยาโดยชอบด้วย
กฎหมายอยู่แล้ว ซึ่งนางสาว ก คบหากับ นาย ส อย่างเปิดเผยและไปไหนมาไหนด้วยกันสองต่อ
สอง เป็นเหตุให้ครอบครัวของ นาง อ ได้รับความเสียหาย ประกอบกับ นาง อ ฟ้องร้องเรียกค่า
เสียหายทางแพ่งในกรณีที่ นางสาว ก เป็นชู้กับ นาย ส และต่อมาได้มกี ารทาสัญญาประนีประนอม
ยอมความกันระหว่าง นางสาว ก กับ นาง อ เพื่อชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่เกิดจากการเป็นชู้กัน
ในภายหลัง

อารรระพฤติูิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ
เป็นการประพฤติผิดจรรยาบรรณต่อตนเอง ตามข้อ 7 และจรรยาบรรณต่อวิชาชีพตาม
ข้อ 8 แห่งข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556

คาวินิจฉญยคณะอรรมอารมาตรฐานวิชาชีพ
168 คุณธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู

คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีคาวินิจฉัยขี้ขาด ให้พักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ครูเป็นเวลา 2 ปี ตามมาตรา 54 (4) แห่ งพระราชบัญญั ติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ. 2546

เรื่องที่ 7 อรณีความูิดเอี่ยวอญบอารเสพสุรา
ขปอเท็จจริง: นาย ท เป็นผู้บริหารถานศึกษา ตาแหน่งผูอ้ านวยการโรงเรียน เป็นผู้ได้รับ
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา มีพฤติกรม
ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ภายในบริเวณโรงเรียนอันเป็นสถานที่ราชการและสถานศึกษา ซึ่ง
ปรากฏมีภาพและคลิปวิดีโอในขณะกาลังถือและดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งมีพฤติกรรม
พูดจาหยาบคายกับผูใ้ ต้บังคับบัญชาเป็นประจา

อารรระพฤติูิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ
เป็นการประพฤติผิดจรรยาบรรณต่อตนเอง ตามข้อ 7 และจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ตาม
ข้อ 8 แห่งข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556

คาวินิจฉญยคณะอรรมอารมาตรฐานวิชาชีพ
คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีคาวินิจฉัยชีข้ าด ให้พักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ทุกประเภทเป็นเวลา 6 เดือน ตามมาตร 54 (4) แห่พระราชบัญ ญัติสภาครูและบุคลากรทาง
การศึกษา พ.ศ. 2546

เรื่องที่ 8 อรณีความูิดเอี่ยวอญบอรอระทาความูิดคอมพิวเตอร์
ขปอเท็จจริง: นาย ส เป็ นข้าราชการครู เป็นผู้ได้รับ ใบอนุญ าตประกอบวิชาชีพครู มี
พฤติก รรมการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยนาคลิปวิดีโอขณะที่ตนเองกาลังมี
เพศสัมพันธ์กับชายอื่นที่มีลักษณะอันลามกอนาจาร เผยแพร่เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชน
ทั่วไปอาจเข้าถึงได้ อันเป็นความผิดตาม มาตรา 14 (4) แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทา
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 255O
ศาลชั้นต้นได้มีคาพิพากษาจาคุก 6 เดือน ปรับ 25,000 บาท โทษจาคุกให้รอการ
ลงโทษไว้มกี าหนด 2 ปี

อารรระพฤติูิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 169

เป็นการประพฤติผิดจรรยาบรรณต่อตนเอง ตามข้อ 7 แห่ง ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วย


จรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556

คาวินิจฉญยคณะอรรมอารมาตรฐานวิชาชีพ
คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีคาวินิจฉัยชีข้ าด ให้พักใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
เป็นเวลา 1 ปี ตามมาตรา 54 (4) แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.
2546

เรื่องที่ 9 อรณีความูิดเอี่ยวอญบอารล่วงละเมิดทางเพศต่อบุคคลอื่น
ขปอเท็จจริง: นาย พ เป็นข้ าราชการครู เป็นผู้ได้รับใบอนุญ าตประกอบวิชาชีพครู มี
พฤติกรรมเผยแพร่ภาพอนาจารของ นางสาว ม ซึ่งเป็นอดีตภรรยา ด้วยการโพสต์รูปภาพอนาจาร
(ภาพเปลือย) ของนางสาว ม ลงในสื่อสังคมออนไลน์เฟสบุ๊ค (facebook) กระทาไปเพื่อเป็นการ
ข่มขู่และประจาน ทาให้นางสาว ม ได้รับความอับอายและเสื่อมเสียชื่ อเสียง ซึ่งเป็นความผิด
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ตามมาตรา
14 (1) (4) ศาลมีคาพิพากษาจาคุก นาย พ 1 ปี ปรับ 10,000 บาท โทษจาคุกให้รอการลงโทษไว้
มีกาหนด 2 ปี

อารรระพฤติูิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ
เป็นการประพฤติผิดจรรยาบรรณต่อตนเอง ตามข้อ 7 จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ตามข้อ
8 แห่งข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556

คาวินิจฉญยคณะอรรมอารมาตรฐานวิชาชีพ
คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีคาวินจิ ฉัยชีข้ าด ให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบ
วิชาชีพครู ตามมาตรา 5 (5) แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546

สรุรทปายบท
170 คุณธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู

คุณธรรม หมายถึง สภาพนิสัยหรือพฤติกรรมของบุคคลที่ดีงาม ถูกต้อง ซึ่งมีอยู่ ภายใน


จิตใจของบุคคล ทาให้บุคคลนั้นพร้อมที่จะกระทาสิ่งต่าง ๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อตนเอง โดยไม่
เบียดเบียนผู้อื่น หรือกระทาสิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น บุคคลทั่วไป คุณธรรมมี
ความสาคัญต่อผู้ประกอบวิชาชีพครูมี ได้แก่ ช่วยหล่อหลอมให้ครูเป็นคนที่มคี วามพอดี มัธยัสถ์
ช่วยหล่อหลอมให้ครูเป็นคนดี ช่วยให้ครูรู้จักใช้เหตุผลและปัญญา ช่วยให้ครูเป็นคนกล้าหาญ
ช่วยให้ครูเป็นคนทีม่ ีความยุติธรรม สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จรรยาบรรณวิชาชีพ หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละ
อย่างกาหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก จรรยาบรรณ
มีความสาคัญ ช่วยควบคุมมาตรฐาน ทาให้บุคคลมีความประพฤติที่ดี มีระเบียบวินัย มีน้าใจเอื้อ
อาทร ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทาให้เกิดเจตคติที่ดี มีความรับผิดชอบต่อสังคม ต่อส่วนรวม
สังคมมีระเบียบวินัย สงบเรียบร้อย น่าอยู่ น่าทางาน
แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ เป็นประมวลพฤติกรรมที่เป็นตัวอย่าง
ของการประพฤติที่กาหนดขึ้นตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ ซึ่งผูป้ ระกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ได้แก่ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ พึงประพฤติปฏิบัติตาม
ประกอบด้วยพฤติกรรมที่ พึงประสงค์ที่กาหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพทาง การศึกษาต้องหรือพึง
ปฏิบัติตาม และพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่กาหนดให้ผปู้ ระกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องหรือ
พึงละเว้น
ผู้ได้รับใบอนุญาตผู้ใดกระทาผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
มีอานาจวินิจฉัยชี้ขาด ดังนี้ (1) ยกข้อกล่าวหา (2) ตักเตือน (3) ภาคทัณฑ์ (4) พักใช้ใบอนุญาต
มีกาหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 5 ปี และ (5) เพิกถอนใบอนุญาต

แบบฝึอหญดทปายบท

จงตอบคาถามหรือทากิจกรรมต่อไปนี้
1. จงให้เหตุผลว่าเพราะเหตุใด “คุณธรรม” จึงมีความสาคัญสาหรับผูป้ ระกอบวิชาชีพครู
2. คุณธรรมสาหรับครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทางาน ควรมีหลักคุณธรรมใดบ้าง
จงให้เหตุผล พร้อมรายละเอียด
3. ขอให้เสนอแนวทางในการพัฒนาหรือเสริมสร้างคุณธรรมสาหรับครู อย่างน้อย 3
แนวทาง
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 171

4. จงให้ความหมายของ “จรรยาบรรณ”
5. จงให้ความหมายของ “จรรยาบรรณของวิชาชีพครู”
6. จรรยาบรรณมีความสาคัญอย่างไร
7. เหตุใดอาชีพครูจงึ ต้องมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ
8. ศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับ “จรรยาบรรณของวิชาชีพครู ” แล้วสรุปเนื้อหาในประเด็น
ต่อไปนี้
8.1 ชื่อเรื่องวิจัย ชื่อผู้วจิ ัย สถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานของผูว้ ิจัย
8.2 จุดมุง่ หมายของการวิจัย
8.3 กรอบความคิดการวิจัย
8.4 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
8.5 เครื่องมือและการหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
8.6 ขั้นตอนหรือกระบวนการวิจัย พร้อมสรุปเป็นแผนภาพ
8.7 สรุปผลการวิจัย
8.8 ให้ท่านนาเสนอแนวทางการนาผลการวิจัยที่ศึกษาไปใช้ประโยชน์
9. ผูร้ ับใบอนุญาตที่ทาผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพอาจได้รับโทษกีป่ ระการ อะไรบ้าง
172 คุณธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู
บทที่ 9
กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นครู
การพัฒนาครูให้มีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน กล่าวคือให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะ
ในการให้การศึกษาและพัฒนาศักยภาพศิษย์ เอาใจใส่ดูแลศิษย์เป็นอย่างดี มีจิตวิญญาณของ
ความเป็นครู และปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ หรือที่เรียกว่าพัฒนาให้มีความเป็นครูมือ
อาชีพ เป็นสิ่งที่มีความสาคัญเป็นอย่างมาก เพราะครูมีบทบาทสาคัญในการพัฒนาและปลูกฝัง
คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ความรู้ และทักษะให้แก่เยาวชนและสังคม
สาหรับในบทนี้ จะได้นาเสนอเนื้อหาตามลาดับ ดังนี้ ความหมายของกลยุทธ์ ความสาคัญ
ของกลยุทธ์ กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ องค์ประกอบของกลยุทธ์ เกณฑ์การพิจารณาการ
จัดทากลยุทธ์ที่ดี และกลยุทธ์การพัฒนาความเป็นครู

ความหมายของกลยุทธ์

นักวิชาการได้ให้ความหมายของกลยุทธ์ (strategy) ดังนี้


พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ (2552: 17) กล่าวว่า กลยุทธ์ หมายถึง แนวทางเชิงรุกในการ
บรรลุเป้าหมาย ซึ่งในหนึ่งกลยุทธ์นั้นประกอบไปด้วยหลายวิธีการเชิงรุก ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด
ของเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2553: 1) กล่าวว่า กลยุทธ์ หมายถึง วิธีการหรือแผนการที่คิด
ขึ้นอย่างรอบคอบ มีลักษณะเป็นขั้นตอน มีความยืดหยุ่น พลิกแพลงได้ตามสถานการณ์มุ่งหมาย
เพื่อเอาชนะคู่แข่งขันหรือเพื่อหลบหลีกอุปสรรคต่าง ๆ จนสามารถบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ธีระ
รุญเจริญ และวาสนา ศรีไพโรจน์ (2557: 70) กล่าวว่า กลยุทธ์ หมายถึง เครื่องมือและพื้นฐาน
ในการวางแผน แนวทาง วิธีการ รูปแบบการตัดสินใจ หรือแผนปฏิบัติการที่ผู้บริหาร และเป้าหมาย
ที่วางไว้ในอนาคต พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 (2556: 73) ให้ความหมาย
ว่า กลยุทธ์ หมายถึง การรบที่มีเล่ห์เหลี่ยม วิธีการที่ต้องใช้อุบายต่าง ๆ เล่ห์เหลี่ยมในการต่อสู้
Rothaermel (2013: 9) กล่ าวว่า กลยุ ท ธ์ หมายถึง แนวทาง หรือ วิธี ก ารในการปฏิบั ติห น้าที่
174 กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นครู

ประกอบด้วยการดาเนินเชิงแข่งขัน เพื่อสามารถนาไปดาเนินงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ
สุ ด ใจ วั น อุ ด มเดชาชั ย (2556: 10) กล่ าวว่า กลยุ ท ธ์ หมายถึ ง แผนการหรือ วิธี ก ารในการ
ดาเนินงานขององค์การที่ทาให้องค์การบรรลุเป้าหมายด้วยความแตกต่างที่เป็นเอกลักษณ์ต่าง
จากคู่แข่งขัน
ในทัศนะของผูเ้ ขียน กลยุทธ์ หมายถึง แผนการ หรือวิธีการดาเนินงานเชิงรุกที่ทาให้
องค์การบรรลุความสาเร็จตามวัตถุประสงค์

ความสาคัญของกลยุทธ์

กลยุทธ์มีความสาคัญหลายประการ ดังนี้
1. ช่วยให้องค์การมีทิศทางในการดาเนินงานที่ชัดเจน เห็นแนวทางที่องค์การจะต้องปฏิบัติ
เพื่อให้องค์การมีความแข็งแกร่ง ประสบความสาเร็จ โดยใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์สภาพ
แวดล้อมตามกระบวนการวิเคราะห์สถานการณ์ (situation analysis) อันเป็นกระบวนการเพื่อ
แสวงหาของกลยุทธ์
2. ช่วยสร้างความสอดคล้องของการดาเนินงานภายในองค์การ ทาให้หน่วยงานของ
องค์การมุ่งไปสู่วัตถุประสงค์เดียวกัน
3. เปิดโอกาสให้ผบู้ ริหารในระดับต่าง ๆ มีส่วนช่วยในการบริหาร เห็นโอกาสใหม่ ๆ
และข้อจากัดที่อาจจะเกิดขึ้น ทาให้ได้พัฒนาความคิด และช่วยลดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
ที่อาจเกิดขึ้นได้
4. ช่วยให้องค์การคาดการณ์ปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตจากการเปลี่ยนแปลง
ทั้งภายในภายนอกองค์การ
5. สร้างความพร้อมให้แก่องค์การ เนื่องจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและการกาหนด
กลยุทธ์ชว่ ยให้ผบู้ ริหารและสมาชิกในองค์การเกิดความเข้าใจในภาพรวมของการดาเนินงานใน
องค์การ ตลอดจนปัจจัยที่ส่งผลต่อการดาเนินงานขององค์การ
6. ช่วยให้เกิดความตระหนักในความไม่แน่นอนของอนาคตที่อาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด
ขึน้ ได้ เหตุการณ์ที่เกิดขึน้ อาจเป็นโอกาส หรืออุปสรรคต่อเป้าหมายในการดาเนินงานขององค์การ
สรุปได้วา่ กลยุทธ์มีความสาคัญในการกาหนดทิศทางขององค์การ ตลอดจนช่วยสร้าง
ความสอดคล้องของการดาเนินงานภายในองค์การ ซึ่งส่งผลให้การดาเนินงานขององค์การ
ประสบความสาเร็จ
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 175

กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์

กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ (the strategic management process) เป็นกระบวนการ


ที่มีลั กษณะต่อเนื่องและมีการทบทวนตลอดเวลา โดยมีจุ ดมุ่งหมายเพื่อให้องค์การโดยรวม
สามารถดารงอยู่ได้อย่างสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ซึ่งมีนักการศึกษาได้กล่าวถึงกระบวนการ
จัดการเชิงกลยุทธ์ ดังนี้
Wheelen and Hunger (2012: 63) กล่าวว่ากระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ประกอบด้วย
4 ขั้นตอน ได้แก่ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม การกาหนดกลยุทธ์ การกาหนดกลยุทธ์ และการ
ควบคุมและประเมินกลยุทธ์
วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์ (2556: 18) กล่าวว่า กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ประกอบ
ด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม การจัดวางทิศทางขององค์การ การกาหนด
กลยุทธ์ การปฏิบัติตามยุทธ์ และการควบคุมเชิงกลยุทธ์
อุทัย ปริญญาสุทธินันท์ (2559: 142-144) กล่าวว่า การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นกระบวน
การที่มีความต่อเนื่อง ทาให้องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องต้องมีการจัดลาดับก่อนหลัง เพื่อให้งา่ ยต่อ
การนาไปปฏิบัติ ซึ่งมีขั้นตอนสาคัญ 4 ขั้นตอน ประกอบด้วยการตรวจสอบสภาพแวดล้อม การ
กาหนดกลยุทธ์ การนากลยุทธ์ไปปฏิบัติ และการควบคุมและการประเมินกลยุทธ์
ในทัศนะของผู้เขียน กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การ
วิเคราะห์สภาพแวดล้อม (environmental scanning) 2) การกาหนดทิศทางขององค์การ (establishing
organizational direction) 3) การกาหนดกลยุทธ์ (strategy formulation) 4) การนากลยุทธ์ไปปฏิบัติ
(strategy implementation) และ 5) การควบคุมและประเมิน กลยุทธ์ (strategy evaluation and
control) โดยแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียด ดังนี้
1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (environmental scanning) เป็นการพิจารณาจุดแข็ง
จุดอ่อนภายในองค์การ และโอกาส ภาวะคุกคามจากภายนอกองค์การ ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพล
ต่อการบรรลุความสาเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์การ วิธีการที่นิยมนามาใช้ในการวิเคราะห์
สภาพแวดล้อมขององค์การ ได้แก่ การวิเคราะห์ SWOT (SWOT analysis) ซึ่งมีรายละเอียดของ
การวิเคราะห์ ดังนี้
1.1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์การ (internal environmental
scanning) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์การ ซึ่งจะเป็นเครื่องบ่งชี้ข้อได้เปรียบหรือจุดแข็ง
และข้อเสียเปรียบหรือจุดอ่อนขององค์การ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนขององค์การ
โดยเน้นปัจจัยที่มีผลต่อความสาเร็จในการดาเนินงานขององค์การ โดยจุดแข็ง (strength: S)
176 กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นครู

หมายถึง ความสามารถและสถานการณ์ภายในองค์การที่ทาให้องค์การเหนือกว่าองค์การอื่น
ทาให้ได้เปรียบในการแข่งขัน องค์การนามาใช้ประโยชน์ในการทางานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
หรือหมายถึงการดาเนินงานภายในที่องค์การทาได้ดี ในขณะที่จุดอ่อน (weakness: W) หมายถึง
สถานการณ์ภายในองค์การที่เป็นอุปสรรคต่อการดาเนินงานขององค์การ และด้อยความสามารถ
องค์การไม่สามารถนามาใช้ประโยชน์ในการทางานเพื่อ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึงการ
ดาเนินงานภายในที่องค์การทาได้ไม่ดี
ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์การอาจใช้กรอบแนวคิด 7S ของ
McKinsey (McKinsey seven “S” framework) โดยวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน 7 ประเด็น ซึ่ง
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มที่เป็นรูปธรรม (hard elements) ประกอบด้วยกลยุทธ์ (strategy)
โครงสร้าง (structure) และระบบ (systems) 2) กลุ่มที่เป็นรูปธรรมน้อยกว่า (soft elements)
ประกอบด้วยทักษะ (skill) ค่านิยมร่วม (shared values) บุคลากร (staff) และรูปแบบการบริหาร
จัดการ (style) โดยทั้ง 7S มีรายละเอียด ดังนี้
1) strategy (กลยุทธ์ขององค์การ) เป็นการวางแผนเพื่อตอบสนองการ
เปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมจะช่วยให้องค์การกาหนดและพัฒนาข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน
ขึ้นมา และเป็นแนวทางให้บุคลากรภายในองค์การทราบว่าจะใช้ความพยายามไปในทิศทางใด
จึงจะประสบความสาเร็จ
2) structure (โครงสร้างองค์การ) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง
อานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมถึงการควบคุม การรวมอานาจ และการกระจายอานาจของ
ผู้บริหาร การกาหนดหน้าที่ของงานโดยมีการรับบุคลากรให้เข้ามาทางานร่วมกันในฝ่ายต่าง ๆ
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตงั้ ไว้
3) systems (ระบบในการดาเนินงานขององค์การ) เป็นกระบวนการ
และลาดับขั้นตอนของการปฏิบัติงานทุกอย่างที่ต่อเนื่อง สอดคล้องประสานกันทุกระดับเพื่อให้
บรรลุตามเป้าหมายที่ตงั้ ไว้
4) skills (ทักษะ) เป็นทักษะความสามารถ หรือสมรรถนะขององค์การ
5) shared values (ค่านิยมร่วมของบุคลากร) เป็ นค่านิยมร่วม หรือสิ่ง
ที่บุคลากรส่วนใหญ่ในองค์การเห็นว่าเป็นสิ่งดี พึงปฏิบัติจนกลายเป็นวัฒนธรรมในการทางาน
เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
6) staff (บุคลกร) การคัดเลือกบุคลากรที่มีความรูค้ วามสามารถ การ
พัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง จานวนเพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการ และมีบุคลากรที่
จะตอบสนองการเติบโตขององค์การในอนาคต
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 177

7) style (รูปแบบการบริหารจัดการ) การจัดการของผูบ้ ริหารที่มรี ูปแบบ


วิธีที่เหมาะสมกับลักษณะขององค์การ เช่น การสั่งการ การควบคุม การจูงใจ ที่สะท้อนถึง
วัฒนธรรมองค์การ ภาวะผู้นาของผูบ้ ริหารมีบทบาทที่สาคัญต่อความสาเร็จหรือความล้มเหลว
ขององค์การ
โดยทุกส่วนจะมีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกัน ดังแสดงในภาพประกอบ

ภาพที่ 9.1: McKinsey’s 7s framework


ที่มา: Hayes, 2014:137

1.2 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ (external environmental


scanning) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยที่อยู่ ภายนอก แต่มีความเกี่ยวข้องกั บการดาเนินงานของ
องค์การ ซึ่งเป็นปัจจัยที่บ่งชีโ้ อกาสและภาวะคุกคามในการดาเนินงานขององค์การ โดยโอกาส
(opportunities: 0) หมายถึง ปัจจัยและสถานการณ์ภายนอกองค์การที่เอื้ออานวยให้การทางาน
ขององค์การบรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึงสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การที่เป็นประโยชน์
ต่อการทางานขององค์การ ในขณะที่ภาวะคุกคาม (threats: T) หมายถึง ปัจจัยและสถานการณ์
ภายนอกองค์ก ารที่ขัดขวางการท างานขององค์ก าร ไม่ให้บ รรลุวัตถุป ระสงค์ หรือหมายถึง
สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การที่เป็นปัญหาต่อการดาเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การอาจใช้วธิ ี PEST (PEST analysis)
มาใช้ในการวิเคราะห์ โดยมีประเด็น 4 ประเด็น ในการพิจารณาข้อที่เป็นโอกาส (opportunities)
และภาวะคุกคาม (threats) มาประกอบการจัดทากลยุทธ์ ดังนี้
178 กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นครู

1) politics (P) วิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมือง นโยบายต่าง ๆ การ


บริหารประเทศ กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง การเคลื่อนไหวทางการเมือง แผนพัฒ นา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายการบริหารราชการ เป็นต้น
2) economic (E) วิเคราะห์จากสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ นโยบาย
เศรษฐกิจระหว่างประเทศ เช่น นโยบายเปิดเสรีทางการค้า ข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ
อัตราการว่างงาน ค่าครองชีพ งบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล เป็นต้น
3) social (S) วิเคราะห์จากปัจจัยและสภาพสังคมที่เกี่ยวข้องกับการ
ดาเนินงานขององค์การ เช่น โครงสร้างประเทศ วิถีชีวิตหรือแบบแผนการดาเนินชีวิต คุณภาพชีวิต
ปัญหาสุขภาพ สิ่งแวดล้อมและสังคม ค่านิยมและวัฒนธรรมของสังคม เป็นต้น
4) technology (T) วิเคราะห์จากความก้าวหน้าของวิทยาการและ
เทคโนโลยี เช่น ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบโทรคมนาคมสื่อสาร แนวโน้ม
ราคาหรือต้นทุนของเทคโนโลยี และความแพร่หลายของเทคโนโลยี
2. การก าหนดทิศทางขององค์การ (establishing organizational direction) เมื่อ
วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์การแล้ว จะดาเนินการวิเคราะห์เพื่อกาหนด
ทิศทางขององค์การเพื่อวางแผนกลยุทธ์ ซึ่งเป็นการกาหนดจุดหมายปลายทางที่องค์การจะ
เดินไปให้ถึ ง ประกอบด้วยการก าหนดวิสัยทัศน์ (vision) พันธกิจ (mission) และเป้าประสงค์
(goals) ขององค์การ
3. การกาหนดกลยุทธ์ (strategy formulation) เป็นกระบวนการออกแบบและเลือก
กลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อนาไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ ในขั้นตอนนี้จะนาข้อมูล ความรู้
ต่าง ๆ ที่ได้จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์การ มาจัดทาเป็นกลยุทธ์
โดยการวิเคราะห์ทางเลือกขององค์การด้วยวิธี TOWS matrix analysis เพื่อการกาหนดกลยุทธ์
และแนวทางในการพัฒนาองค์การ โดยนาข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT
analysis) มาจัดให้เป็นรูปแบบความสัมพันธ์ matrix ซึ่งประกอบด้วยทางเลือกกลยุทธ์ 4 ทางเลือก
ดังนี้
1) จุดแข็ง–โอกาส (SO strategy) เป็นสถานการณ์ที่พึงปรารถนาที่สุด เนื่องจาก
องค์การมีจุดแข็งภายใน ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมค่อนข้างที่จะให้โอกาสแก่
องค์การ ดังนัน้ ผูบ้ ริหารขององค์การควรกาหนดกลยุทธ์เชิงรุก (aggressive strategy) หรือดึง
เอาจุดแข็งที่มอี ยู่มาเสริมสร้างและปรับใช้ และฉกฉวยโอกาสที่เอื้ออานวยมาใช้ประโยชน์อย่าง
เต็มที่
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 179

2) จุดอ่อน–ภาวะคุกคาม (WT strategy) เป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด เนื่องจาก


องค์การกาลังเผชิญอยู่กับภาวะคุกคามจากภายนอก และองค์การมีปัญหาภายในอยู่หลายประการ
ดังนั้น ทางเลือกที่ดีที่สุดส าหรับผู้บริหารองค์การคือกลยุทธ์ เชิงรับ หรือป้องกันตัว (defensive
strategy) เพื่อพยายามลดหรือหลบหลีกภัยต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ตลอดจนหามาตรการที่
จะทาให้องค์การเกิดความสูญเสียน้อยที่สุด รวมทั้งมีการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ภายใน
องค์การด้วย
3) จุดอ่อน–โอกาส (WO strategy) เป็นสถานการณ์ที่องค์การมีโอกาสหรือมี
ข้อได้เปรียบจากการแข่งขันอยู่หลายประการ แต่องค์การมีปัญหาหรือมีจุดอ่อนภายในที่เป็น
อุปสรรคในการดาเนินงาน ดังนั้น ทางออกสาหรับผู้บริหารขององค์การ คือ การกาหนดกลยุทธ์
การพลิกตัว (turnaround-oriented strategy) เพื่อขจัดหรือแก้ไขจุดอ่อนต่าง ๆ ให้พร้อมสาหรับ
โอกาสที่เอื้ออานวย
4) จุดแข็ง-ภาวะคุกคาม (ST strategy) เป็นสถานการณ์ที่เกิดจากสภาพแวดล้อม
ภายนอกองค์การไม่เอือ้ ต่อการดาเนินงาน แต่ตัวองค์การเองมีข้อได้เปรียบที่เป็นจุดแข็งหลาย
ประการ ดังนัน้ ผูบ้ ริหารขององค์การควรเลือกกลยุทธ์การแตกตัว หรือกระจายกิจการ
(diversification strategy) เพือ่ ใช้ประโยชน์จากจุดแข็งที่มีอยู่ในการสร้างโอกาสระยะยาว
จากรายละเอียดที่กล่าวมา สามารถสรุปเป็นภาพประกอบได้ ดังนี้
180 กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นครู

ปัจจัยภายใน จุดแข็ง (Strength) จุดอ่อน (Weakness)


1. 1.
2. 2.
ปัจจัยภายนอก 3. 3.
โอกาส (Opportunity) (1) (3)
1. SO strategy WO strategy
2. ใช้จุดแข็งร่วมกับโอกาส ใช้โอกาสลดจุดอ่อน
3. “กลยุทธ์เชิงรุก” “กลยุทธ์การพลิกตัว”

ภาวะคุกคาม (Threat) (4) (2)


1. ST strategy WT strategy
2. ใช้จุดแข็งรับมือภาวะคุกคาม แก้ไขจุดอ่อนและเลี่ยงภาวะคุกคาม
3. “กลยุทธ์การแตกตัว “กลยุทธ์เชิงรับ หรือป้องกันตัว”
หรือกระจายกิจการ”

ภาพที่ 9.2: รูปแบบการสร้างกลยุทธ์ด้วยการวิเคราะห์ TOWS Matrix

นาข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ตามภาพที่ 9.2 มากาหนดจุดลงในแกน TOWS Matrix


เพื่อพิจารณาสถานการณ์ 4 แบบ ปรากฏดังนี้

ตารางที่ 9.1 สถานการณ์ 4 แบบในการวิเคราะห์กลยุทธ์

สถานการณ์ (situations) ตาแหน่ง (positions)


1) SO Strategies เป็นสถานการณ์ โอกาส (O)

ที่มคี วามได้เปรียบ เนื่องจากองค์การมี


จุดแข็งและโอกาสจากภายนอก ดังนัน้ จุดแข็ง (S) จุดอ่อน (W)

ผูบ้ ริหารควรกาหนดกลยุทธ์เชิงรุก
ถือเป็นสถานการณ์ “ดาวรุ่ง” (star) ภาวะคุกคาม (T)

สถานการณ์ “ดาวรุ่ง” (star)


รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 181

สถานการณ์ (situations) ตาแหน่ง (positions)


2) WT Strategies เป็น โอกาส (O)

สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด เนื่องจาก
องค์การกาลังเผชิญกับภัยคุกคาม และ จุดแข็ง (S) จุดอ่อน (W)

ภายในองค์การมีจุดอ่อนหรือมีปัญหา
หลายประการ ดังนั้น ผูบ้ ริหารควรกาหนด ภาวะคุกคาม (T)

กลยุทธ์เชิงรับหรือป้องกันตัว
สถานการณ์ “สุนัข” (dogs)
ถือเป็นสถานการณ์ “สุนัข” (dogs)
3) WO Strategies เป็น โอกาส (O)

สถานการณ์ที่องค์การมีโอกาสหลาย
?
ประการ แต่ภายในองค์การมีปัญหาหรือ จุดแข็ง (S) จุดอ่อน (W)

จุดอ่อนที่เป็นอุปสรรค์ในการดาเนินงาน
ดังนัน้ ผูบ้ ริหารควรกาหนดกลยุทธ์การ ภาวะคุกคาม (T)

พลิกตัว ถือเป็นสถานการณ์ “กล่องร้อน


สถานการณ์ “กล่องร้อนทางการเมือง” (political
ทางการเมือง” (political hot box)
hot box)
4) ST Strategies เป็นสถานการณ์ โอกาส (O)

ที่สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การไม่เอือ้
ต่อการทางาน แต่ภายในองค์การมีข้อ จุดแข็ง (S) จุดอ่อน (W)

ได้เปรียบหรือจุดแข็งหลายประการ ดังนัน้
ผูบ้ ริหารควรกาหนดกลยุทธ์การแตกตัว ภาวะคุกคาม (T)

หรือกระจายกิจการ ถือเป็นสถานการณ์
เป็นสถานการณ์ “แม่วัวให้นม” (cash cows)
“แม่วัวให้นม” (cash cows)

4. การน ากลยุ ทธ์ไปปฏิ บั ติ (strategy implementation) เป็นการนากลยุท ธ์


ไปสู่การปฏิบัติ โดยคานึงถึงโครงสร้างขององค์การและวัฒนธรรมขององค์การ เพื่อนาไปสู่ความ
สาเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การดาเนินการตามกลยุทธ์อย่างเป็นรูปธรรมโดยทั่วไปจะประกอบ
ด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) การจัดสรรทรัพยากร (resources allocation) 2) การปรับโครงสร้าง
องค์การ (organization restructure) 3) การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในส่วนของระบบและการพัฒนา
182 กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นครู

ทรัพยากรมนุ ษย์ (organization change and human resource development) และ4) การกระจาย
กลยุทธ์ (strategic development)
5. การควบคุม และประเมินกลยุทธ์ (strategy evaluation and control) เป็น
กระบวนการซึ่งผู้บริหารได้ติดตามกิจกรรมและผู้ปฏิบัติงานขององค์การอย่างสม่าเสมอ เพื่อ
ประเมินว่ากิจกรรมนั้น ๆ ได้รับ การปฏิบัติอย่างมีประสิท ธิภาพและประสิทธิผลหรือไม่ เพื่อ
ประโยชน์ในการแก้ไขและปรับปรุงผลการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในองค์การ การควบคุม
กลยุทธ์ประกอบด้วยกระบวนการ ดังนี้ 1) การกาหนดวัตถุประสงค์และสิ่งที่ต้องการทาการ
ควบคุม 2) การกาหนดเกณฑ์และมาตรฐาน 3) การวัดผลการปฏิบัติงาน 4) การเปรียบเทียบ
ผลการปฏิบัติงานกับมาตรฐาน และ 5) การปรับปรุงแก้ไข
กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่กล่าวมา สามารถสรุปเป็นภาพประกอบได้ ดังนี้

การวิเคราะห์ การกาหนด การกาหนด การนากลยุทธ์ การควบคุมและ


สภาพแวดล้อม ทิศทางของ กลยุทธ์ ไปปฏิบัติ ประเมินกลยุทธ์
องค์การ

ข้อมูลย้อนกลับ

ภาพที่ 9.3: กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์

โดยสรุป กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ เป็นกระบวนการที่มีลักษณะต่อเนื่อง


ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การิเคราะห์สภาพแวดล้อม การกาหนดทิศทางขององค์การ
การกาหนดกลยุทธ์ การนากลยุทธ์ไปปฏิบัติ และการควบคุมกลยุทธ์

องค์ประกอบของกลยุทธ์

กลยุทธ์มีองค์ประกอบที่สาคัญอยู่ 6 ประการ ดังนี้


1. วิสัยทัศน์ (vision) หมายถึง ภาพความสาเร็จในอนาคตขององค์การที่ผบู้ ริหาร
และบุคลากรทุกคนร่วมกันวาดฝันหรือจินตนาการขึ้น โดยมีพ้ืนฐานอยู่บนความจริงในปัจจุบัน
ซึ่งเป็นการกาหนดทิศทางของภารกิจให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กาหนด
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 183

2. พันธกิจ (mission) หมายถึง การกาหนดขอบเขตของงานหรือบทบาทหน้าที่ที่


องค์การต้องดาเนินการ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กาหนดไว้ ซึ่งมีที่มาจากอานาจหน้าที่ตามที่
กฎหมายบัญญัติไว้ หรือวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์การนัน้ ๆ
3. ประเด็นยุทธศาสตร์ (strategic issue) หมายถึง สิ่งที่เป็นประเด็นสาคัญที่ต้อง
คานึงถึง และได้รับการพัฒนาเพื่อนาไปสู่วิสัยทัศน์
4. เป้าประสงค์ (goals) หมายถึง การกาหนดสิ่งที่ตอ้ งการจะบรรลุในแต่ละประเด็น
ยุทธศาสตร์ แสดงเป้าหมายความสาเร็จที่มงุ่ มั่นให้เกิดขึ้น เพื่อแสดงว่าได้บรรลุวิสัยทัศน์ที่ตงั้ ไว้
หรือเป็นการนาประเด็นยุทธศาสตร์แต่ละด้านมากาหนดจุดมุง่ หมายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
5. วัตถุประสงค์ (objective) หมายถึง การกาหนดวัตถุประสงค์ขององค์การ สิ่งที่
ต้องการจะทาให้สาเร็จและเวลาที่ต้องการบรรลุ การกาหนดในรูปของปริมาณหรือตัวเลข
เพื่อให้วัดผลได้ชัดเจน
6. กลยุทธ์ (strategy) หมายถึง วิธีการหรือแนวทางในการดาเนินงานที่ทาให้
องค์การประสบความสาเร็จ
7. โครงการ/กิจกรรม (project) หมายถึง กิจกรรมหรือกลุ่มกิจกรรมที่หน่วยงาน
กาหนดขึ้นมาดาเนินการ เพื่อให้บรรลุในแต่ละกลยุทธ์ทกี่ าหนดไว้

เกณฑ์การพิจารณาการจัดทากลยุทธ์ท่ดี ี

เกณฑ์การพิจารณาการจัดทากลยุทธ์ที่ดสี าหรับองค์การมี ดังนี้


1. มีความเป็นไปได้ สามารถนาไปใช้ได้ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ และมีโอกาสประสบ
ความสาเร็จสูง
2. มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพขององค์การ กล่าวคือ มีความสอดคล้อง
กับสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ ได้แก่ จุดเด่นและจุดด้อยขององค์การ นอกจากนั้น ยังต้อง
สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายนอกสถานศึกษา ได้แก่ โอกาสและอุปสรรคในการดาเนินงาน
3. มีความได้เปรียบในการแข่งขัน หรือเป็นกลยุทธ์ที่ทาให้องค์การมีประสิทธิภาพใน
การให้บริการ ทาให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ
4. ทาให้องค์การมีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม ทาให้สถานศึกษาดาเนินงานได้บรรลุ
เป้าหมายที่กาหนดไว้ โดยใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด
5. ได้รับการยอมรับ กลยุทธ์ที่ดจี ะต้องได้รับการยอมรับจากผู้มีสว่ นได้ส่วนเสีย
(stakeholder) ซึ่งจะทาให้การบริหารมีประสิทธิภาพ
184 กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นครู

โดยสรุป เกณฑ์การพิจารณาการจัดทากลยุทธ์ที่ดนี ั้น ควรคานึงถึงความเป็นไปได้ มีความ


เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพขององค์การ มีความได้เปรียบในการแข่งขัน ทาให้องค์การมี
ประสิทธิภาพสูง และเป็นกลยุทธ์ที่ได้รับการยอมรับ

กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นครู

กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นครู หมายถึง วิธีการและแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการ


พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน เสริมสร้างศักยภาพครูที่สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทและการ
เปลี่ยนแปลงทางสังคม เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้ กลยุทธ์ในการพัฒนาความ
เป็นครูนั้น สามารถดาเนินการได้ ดังนี้
1. กลยุทธ์การพัฒนาครูที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษาตามกรอบสมรรถนะหลักของ
ครู 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน พบว่ากลยุทธ์ที่ใช้ในการ
พัฒนาคือ กลยุทธ์สะท้อนการพัฒนาวิชาชีพครูจากผลการปฏิบัติงาน เนื่องจากประเมิน นิเทศ
ติดตามผลการพัฒนาวิชาชีพครูจะทาให้ได้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อนามาใช้ในการวางแผนพัฒนา หรือ
ให้การช่วยเหลือสนับสนุน เพื่อให้การปฏิบัติงานของครูสาเร็จ บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
2) ด้านการบริการที่ดี พบว่ากลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนาครูคือกลยุทธ์พัฒนาคุณภาพการให้บริการ
ของครู และสร้างสายสัมพันธ์อันดีต่อเครือข่ายผู้ปกครอง ชุมชน และสังคม เนื่องจากครูมีหน้าที่
ในการให้บริการต่อนักเรียน ผูป้ กครอง และชุมชน นอกเหนือจากการทาหน้าที่ในด้านการสอน
3) ด้านการพัฒนาตนเอง พบว่ากลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนาครู คือ กลยุทธ์ส่งเสริม สนับสนุนให้
ครูพัฒนาตนเองสู่ความเป็นมืออาชีพ ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านสังคม
เทคโนโลยี เศรษฐกิจ และอื่น ๆ ดังนั้น ครูจะต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพื่อจะได้นาความรู้
ความสามารถมาใช้ในการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 4) ด้านการทางานเป็นทีม
พบว่ากลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนาครู คือ กลยุทธ์สร้างวัฒนธรรมองค์การให้มีการแลกเปลี่ยน
เรียนรู้และเกิดการพัฒนากระบวนการทางานของครู การทางานเป็นทีมเข้ามามีบทบาทสาคัญ
ในการขับเคลื่อนการดาเนินงานและได้รับการยอมรับให้เป็นรูปแบบการทางานที่ถือว่าก่อให้เกิด
ประโยชน์แก่บุคคลและองค์การมากที่สุด 5) ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู พบว่า
กลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนาครูคือ กลยุทธ์ปลูกฝังจิตสานึกการเป็นครูที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม
และจรรยาบรรณวิชาชีพครู เป็นด้านที่มีความสาคัญมากสาหรับผู้ที่เป็นครู ผู้ประกอบวิชาชีพครู
ต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เหมาะสมและเป็นที่เคารพแก่ผู้เรียน (ยุทธศาสตร์ เพียรไธสง สุชาติ
บางวิเศษ และสุรเชต น้อยฤทธิ์. 2559: 149-151)
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 185

2. กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถภาพของครูในยุคโลกาภิวั ตน์ ประกอบด้วย กลยุทธ์ที่ 1


การมุ่งพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีทักษะที่เหมาะสมในยุคโลกาภิวัตน์ จานวน 5
กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมดาเนินการจัดการเรียนรู้ 2) กิจกรรมการเพิ่มศัก ยภาพในการใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศ 3) กิจกรรมการเพิ่มศักยภาพในด้านภาษา 4) กิจกรรมการเพิ่มศักยภาพ
การเจรจาต่อรอง และ 5) กิจกรรมการเพิ่มทักษะจิตอาสา กลยุทธ์ที่ 2 การกาหนดแนวทางใน
การจัดระบบครูและบุคลากรทางการศึกษา จานวน 1 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมการพัฒนาและ
ปรับปรุงแนวทางการจัดระบบครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ชัดเจน สอดคล้องกับปัจจุบัน
และกลยุทธ์ที่ 3 กิจกรรมเพิ่มสมรรถภาพด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะและเจตคติ จานวน
3 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมเพิ่มศักยภาพด้านความรู้ 2) กิจกรรมการเพิ่มศักยภาพด้านทักษะ
และ 3) กิจกรรมการเพิ่มศักยภาพด้านคุณลักษณะและเจตคติ (ชูสิน วรเดช และวีระวัฒน์
อุทัยรัตน์. 2559: 83)
3. กลยุทธ์การนิเทศเพื่อพัฒนาครูมืออาชีพ ประกอบด้วย ประเด็นกลยุทธ์ที่ 1 การ
ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้บริหารและครูให้มีสมรรถนะในการนิเทศการศึกษา เพื่อพัฒนาครู
มืออาชีพ มี 3 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) เพิ่มศักยภาพศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารและครูในการนิเทศให้เอื้อ
ต่อการพัฒนาครูมืออาชีพอย่างทั่วถึง รอบด้านด้วยวิธีที่หลากหลาย 2) พัฒนาศักยภาพครูมือ
อาชีพโดยสร้างสื่อ นวัตกรรมที่ตอบสนองการจัดการเรียนรู้ตามตัวชี้วัด 3) ส่งเสริมสนับสนุน
ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารและครูเผยแพร่ผลงาน/สื่อ นวัตกรรม เพื่อนิเทศการศึกษาผ่านระบบ
เทคโนโลยีที่เอื้อต่อการพัฒนาตนเองสู่ความเป็นครูมืออาชีพ ประเด็นกลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนา
กระบวนการนิเทศการศึกษาแนวใหม่ เพื่อพัฒนาครูมืออาชีพ มี 4 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) พัฒนาระบบ
ข้อมูลพืน้ ฐานของสถานศึกษา เพื่อวางแผนนิเทศครูสู่มืออาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ 2) ส่งเสริม
การใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการนิเทศการศึกษาแนวใหม่ที่ทันสมัย 3) ส่งเสริมการดาเนิน
การนิเทศครูสู่มืออาชีพด้วยระบบเครือข่ายการนิเทศทุกระดับ 4) ส่งเสริมการใช้กระบวนการ
วิจัยเป็นฐานในการบริหารจัดการกระบวนการนิเทศครูสู่มอื อาชีพทั้งระบบ และประเด็นกลยุทธ์
ที่ 3 ส่งเสริมและพัฒนาระบบการติดตามและประเมินผลการนิเทศศึกษาเพื่อพัฒนาสู่ครูมืออาชีพ
มี 1 กลยุทธ์ ได้แก่ ส่งเสริมระบบการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการพัฒนาครูสู่มืออาชีพอย่าง
ต่อเนื่อง (ไพรินทร์ เหมบุตร สมชัย วงษ์นายะ และทวนทอง เชาวกีรติพงศ์. 2556: 26-27)
ในทัศนะของผู้เขียน กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นครูนั้น สามารถดาเนินการได้โดยยึด
องค์ประกอบของคุณลักษณะความเป็นครูที่ดีเป็นหลักในการพัฒนา ซึ่งผู้เขียนได้สังเคราะห์พบว่า
คุณลักษณะของครูที่ดีมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2) ด้านบุคลิกภาพ
3) ด้านความรู้ และ 4) ด้านความสามารถในการจัดการเรียนรู้ (รายละเอียดคุณลักษณะของครู
186 กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นครู

ที่ดี ปรากฏในบทที่ 2) จากนั้น อาศัยกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นแนวทางในการดาเนินการ


ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม เพื่อพิจารณาจุดแข็ง จุดอ่อนของ
ครูในสถานศึกษา และโอกาสและภาวะคุกคามจากปัจจัยภายนอกองค์การ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์
SWOT (SWOT analysis) 2) กาหนดทิศทางการพัฒนาความเป็นครูของครูในสถานศึกษา 3) กาหนด
กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นครู 4) การนากลยุทธ์ไปปฏิบัติ และ 5) การควบคุมกลยุทธ์

สรุปท้ายบท

กลยุทธ์ หมายถึง แผนการ หรือวิธีการดาเนินงานเชิงรุกที่ทาให้องค์การบรรลุความสาเร็จ


ตามวัตถุประสงค์ กลยุทธ์มีความสาคัญในการช่วยให้องค์การมีทิศทางในการดาเนินงานที่ชัดเจน
ช่วยสร้างความสอดคล้องของการดาเนินงานภายในองค์การ เปิดโอกาสให้ผบู้ ริหารในระดับ
ต่าง ๆ มีส่วนช่วยในการบริหาร ช่วยให้องค์การคาดการณ์และตระหนักถึงปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะ
เกิดขึ้นในอนาคต อันจะเป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายในการดาเนินงานขององค์การ โดยกลยุทธ์ที่ดี
จะต้องมีความเป็นไปได้ มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพขององค์การ มีความได้เปรียบ
ในการแข่งขัน ทาให้องค์การมีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม และได้รับการยอมรับจากผู้มีสว่ นได้
ส่วนเสีย ซึ่งกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์มี 5 ขั้นตอน ประกอบด้วยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
การกาหนดทิศทางขององค์การ การกาหนดกลยุทธ์ การนากลยุทธ์ไปปฏิบัติ และการควบคุม
กลยุทธ์
กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นครูเป็นวิธีการและแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนา
ส่งเสริม สนับสนุน เสริมสร้างศักยภาพครูที่สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทและการเปลี่ยนแปลง
ทางสังคม เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้ เช่น กลยุทธ์การพัฒนาครูที่มีประสิทธิผล
ของสถานศึกษาตามกรอบสมรรถนะของครู กลยุทธ์การนิเทศเพื่อพัฒนาครูมืออาชีพ กลยุทธ์
การพัฒนาสมรรถภาพของครูในยุคโลกาภิวั ตน์ เป็นต้น นอกจากนี้ กลยุทธ์การพัฒนาความ
เป็นครูสามารถดาเนินการได้โดยยึดองค์ประกอบของความเป็นครูที่ดีซึ่งมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่
องค์ประกอบด้านคุณธรรม ด้านบุคลิกภาพ ด้านความรู้ และด้านความสามารถในการจัดการ
เรียนรู้
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 187

แบบฝึกหัดท้ายบท

จงตอบคาถามหรือทากิจกรรมต่อไปนี้
1. จงให้ความหมายของ “กลยุทธ์”
2. กลยุทธ์ที่ดคี วรมีลักษณะอย่างไรบ้าง
3. จงอธิบายขั้นตอนของกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ พร้อมระบุกิจกรรมที่ต้อง
ดาเนินการในแต่ละขั้นตอน
4. จงอธิบายกระบวนการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (environmental scanning)
5. ขอให้นักศึกษาวิเคราะห์ตนเองด้านการเรียน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ SWOT (SWOT
analysis) หลังจากนั้นจึงสร้างกลยุทธ์การพัฒนา
188 กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นครู
บรรณานุกรม

กนกพร ชัยทิมประทุม. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างการดาเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลกับ


ประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดงานเขตพืน้ ที่การศึกษา
สระแก้วเขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
กนิน แลวงค์นิลและชญาพิมพ์ อุสาโห. (2561). “การพัฒนากรอบแนวคิดสมรรถนะของครูใหม่
สังกัดสานักงานเขตพืน้ ที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2,” วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทาง
การศึกษา. 13(1), 400-409. https://www.edu.chula.ac.th/ojed
กมลชาติ อุน่ ยศและสุภาภรณ์ ตั้งดาเนินสวัสดิ์. (2561, มกราคม-เมษายน). “การปฏิบัติตาม
เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพด้านการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร,” วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. 14(1), 161-175.
กรองทอง เขียนทอง. (2555). การพัฒนาตัวบ่งชีก้ ารบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดขี องผู้บริหาร
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา
การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มอื การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล.
กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กริชเพชร โสภาพ. (2552). การนาเสนอรูปแบบการจัดการความรู้ในสถานศึกษา: กรณีศกึ ษา
โรงเรียนบ้านหนองยางห้วยสะแบก อาเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
กฤษฎิ์ ยืนสุข. (2560). แนวทางการพัฒนาลักษณะความเป็นครูที่ดีของท้องถิ่น โดยกระบวนการ
Six Sigma. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการ
การศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
กองบรรณาธิการ. (2546). “การจัดการความรู้…..สูส่ ุขภาวะ,” วารสารหมออนามัย. 12(6),
7-20.
กัตติกา ภูหานามและสมพงษ์ พันธุรัตน์. (2560, กรกฎาคม). การพัฒนาแบบวัดและเกณฑ์
จิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์และครุศาสตร์. รายงาน
การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 17 บูรณาการงานวิจัยสู่การพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน
ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 21 กรกฎาคา 2560. 248-258.
190 บรรณานุกรม

กิตติชัย สุธาสิโนบล. (2560). จิตสานึกและจรรยาบรรณวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ: คอมเมอร์เชียล


เวิลด์ มีเดีย.
กิตินันท์ โนสุและเสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2557, มกราคม-มิถุนายน). “องค์ประกอบและ
ตัวบ่งชีจ้ ติ วิญญาณความเป็นครู สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ในจังหวัดภาคเหนือตอนบน,” วารสารการวิจัยกาสะลองคา. 8(1), 53-65.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). การคิดเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.
เกษม วัฒนชัย. (2549). การเรียนรู้ที่แท้และพอเพียง. พิมพ์ครัง้ ที่ 5. กรุงเทพฯ: มติชน.
ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556. (2556, 4 ตุลาคม).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 130 ง. หน้า 72-74.
ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2550. (2550,
7 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนพิเศษ 51 ง. หน้า 37-56.
ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2562, 20 มีนาคม).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 68 ง. หน้า 18-20.
ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. (2556, 4 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา.
เล่ม 130 ตอนพิเศษ 130 ง. หน้า 65-71.
จักรพรรดิ วะทา. (2556). “บรรณาธิการหลักวิชาชีพทางการศึกษา,” ใน หลักวิชาชีพทาง
การศึกษา. จักรพรรดิ วะทา (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ: พี เอ ลีฟวิ่ง. หน้า 15-24.
จันทรัศม์ ภูตอิ ริยวัฒน์. (2560, กันยายน-ธันวาคม). “ภาวะผูน้ าการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร
สถานศึกษากับแรงจูงใจในการทางานของครูที่ส่งผลต่อจิตวิญญาณความเป็นครู
โรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพืน้ ที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2,”
Veridian E-Journal, Silpakorn University. 10(3), 1738-1757.
ฉัตรชัย หวังมีจงหวังและองอาจ นัยพัฒน์. (2560, กรกฎาคม-ธันวาคม). “สมรรถนะของครูไทย
ในศตวรรษที่ 21: ปรับการเรียน เปลี่ยนสมรรถนะ,” วารสาร HR Intelligence. 12(2),
47-63.
ชนกพร จานวน. (2560). การศึกษาคุณลักษณะของครูผสู้ อนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ
ที่เรียนร่วมกับนักเรียนปกติ ระดับประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชรินรัตน์ แพงดี ชัยยงค์ พรหมวงศ์และนิตยา ศรีมกุฏพันธุ์. (2562, มกราคม-มีนาคม).
“การพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาด้วยหลักธรรมาภิบาล สาหรับผู้บริหาร
สถานศึกษา สานักงานเขตพืน้ ที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42,” วารสารศึกษาศาสตร์
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 191

มหาวิทยาลัยนเรศวร. 21(1), 48-59.


ชาญชัย พิงขุนทด. (2552). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล
ในสถานศึกษากับความพึงพอใจที่มตี ่อการบริหารงานสถานศึกษา สังกัดสานักงาน
เขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 1-7 ตามทัศนะของครู. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2556). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. พิมพ์ครัง้ ที่ 8. กรุงเทพฯ:
สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชูสิน วรเดช และวีระวัฒน์ อุทัยรัตน์. (2559, มกราคม-เมษายน). “กลยุทธ์การพัฒนา
สมรรถภาพของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุคโลกาภิวัฒน์,” วารสารวิชาการ
มหาวิทยาลัยอีสเทิรน์ เอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 6(1), 78-86.
ณรงวิทย์ แสนทอง. (2547). มารู้จัก Competency กันเถอะ. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เช็นเตอร์.
ณัฏฐกรณ์ หลาวทอง และปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ. (2553, มกราคม-เมษายน). “การ
พัฒนาแบบวัดจิตวิญญาณความเป็นครู,” วารสารวิธีวิทยาการวิจัย. 23(1), 25-54.
ดนัย เทียนพุฒ. (2550). ความสามารถในทรรศนะ ดร.ดนัย เทียนพุฒ. กรุงเทพฯ: เอ.อาร์
อินฟอร์เมชั่น แอน พับลิเคชั่น.
ดวงใจ ชนะสิทธิ์และพงศ์เทพ จิระโร. (2562, มกราคม-มิถุนายน). “ปัจจัยเชิงสาเหตุของ
การส่งเสริมจิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏภูมิภาคตะวันตก,” วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วจิ ัย. 11(1), 290-309.
ดวงพร ดุษฎี บรรจง เจริญสุข และวันชัย ธรรมสัจกร. (2559, กันยายน-ธันวาคม).
“คุณลักษณะของครูสอนดีในสถานศึกษาขั้นพืน้ ฐาน,” วารสารศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 27(3), 43-57.
ดารง ประเสริฐกุล. (2542). ความเป็นครู. พิษณุโลก: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏ
พิบูลสงคราม.
ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2558). ครูมอื อาชีพ. สารานุกรมการศึกษาร่วมสมัย เฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ
2 เมษายน 2558. 303-308.
ทัศนา ประสานตรี. (2561, กันยายน-ธันวาคม). “การปลูกฝังจิตวิญญาณความเป็นครู,”
วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 10(29),
153-165.
192 บรรณานุกรม

ทัศนีย์ ภัทรพงศ์บัณฑิต. (2554, ธันวาคม). แนวทางการพัฒนาครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ


ครู กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนแม่เปิน สานักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 2.
รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8 เรื่องตามรอยพระยุคลบาท
เกษตรศาสตร์กาแพงแสน ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกาแพงแสน.
8-9 ธันวาคม 2554. 444-451.
ทัศนียา วงศ์มาศ สัญญา เคณาภูมิ และภักดี โพธิ์สิงห์. (2558, กรกฎาคม-ตุลาคม).
“องค์ประกอบของการศึกษาธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารจัดการ,” วารสารธรรมทรรศน์.
15(2), 133-151.
ธเนตร มีรัตน์. (2552). การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด
สานักงานเขตพืน้ ที่การศึกษาหนองคาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ธรรมนันทิกา แจ้งสว่าง. (2554). ประสบการณ์ของการเป็นครูผมู้ ีจิตวิญญาณความเป็นครู:
การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธัญญาภรณ์ สมบูรณ์. (2548). คุณลักษณะของครูที่ดีตามความคิดของนักเรียนโรงเรียน
เอกชนระดับประถมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3. วิทยานิพนธ์
ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ
ธนบุรี.
ธานี เกสทอง. (2560). การเชื่อมโยงครุศกึ ษากับวิชาชีพครู. ใน ครุศึกษากับการพัฒนาวิชาชีพ
ครู. ไพฑูรย์ สินลารัตน์และนักรบ หมีแ้ สน. 175-189. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธารงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์. (2548). เริ่มต้นอย่างไร เมื่อจะนา Competency มาใช้ในองค์การ.
กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
ธีรศักดิ์ อัครบวร. (2543). ความเป็นครู. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ก. ผลพิมพ์ (1996).
ธีระ รุญเจริญ และวาสนา ศรีไพโรจน์. (2557). กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นบุคคลแห่ง
การเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
ธีระ รุญเจริญ. (2550, มกราคม-มีนาคม). “ประสิทธิภาพการนาธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหาร
จัดการศึกษาในโรงเรียน,” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 30(1), 32-35.
. (2557). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา
(ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครัง้ ที่ 9. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 193

นภสร ใจอิ่นคา คานึง ทองเกตุและพรภวิษย์ มนตร์วัชรินทร์. (2557, กรกฎาคม-กันยายน).


“การจัดการความรูข้ องศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอาเภอ
ในเขตภาคเหนือตอนบน,” วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา
มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 8(3), 96-104.
นันทรัตน์ เจริญกุล. (2552-2553, ตุลาคม-มกราคม). “การจัดการความรู้,” วารสาร
ศึกษาศาสตร์. 21(1), 13-18.
นิวัตต์ น้อยมณีและกัญภร เอี่ยมพญา. (2560). จิตวิญญาณครู. พิมพ์ครัง้ ที่ 2. นนทบุรี:
21 เซ็นจูร่.ี
นิสดารก์ เวชยานนท์. (2553). Competency-Based Approach. พิมพ์ครัง้ ที่ 4. กรุงเทพฯ:
เดอะ กราฟิโก วิสเต็มส์.
นิสา แหละหีมและสุนทรี วรรณไพเราะ. (2561, กรกฎาคม). การปฏิบัติงานตามเกณฑ์
มาตรฐานวิชาชีพครู สังกัดสานักงานเขตพืน้ ที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล. รายงาน
การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 9 เรื่องพลวัตการศึกษายุคเศรษฐกิจและสังคม
ดิจทิ ัล ณ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. 20-21 กรกฎาคม 2561. 1036-1047.
นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย. (2555). การพัฒนาโมเดลบูรณาการระหว่างการพัฒนาสมรรถนะ
วิชาชีพครูกับการนิเทศอย่างมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณทิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญดี บุญญากิจ และญัชมน พรกาญจนานันท์. (2550). ตรวจประเมินความรู้….สู่การปฏิบัติ.
กรุงเทพฯ: จริวัฒน์เอ็กซ์เพลส.
ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่องรายละเอียดของมาตรฐานความรู้และประสบการณ์
วิชาชีพครูตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562.
(2563, 7 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 109 ง. หน้า 10-14.
ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่องสาระความรู้ สมรรถนะและประสบการณ์วชิ าชีพของ
ผูป้ ระกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูบ้ ริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์
ตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. (2556, 12 พฤศจิกายน).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 156 ง. หน้า 43-54.
ประเวศ วะสี. (2546). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบพุทธ. กรุงเทพ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
ปราชญา กล้าผจัญ. (2544). คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: เยลโล่
การพิมพ์.
194 บรรณานุกรม

ปราณี อ่อนศรี. (2558, กันยายน-ธันวาคม). “บทบาทผูส้ อนต่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษ


ที่ 21,” วารสารพยาบาลทหารบก. 16(3), 8-13.
ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2561). ความเป็นครูมอื อาชีพ. กรุงเทพฯ: มีน เซอร์วสิ ซัพพลาย.
ปิยะวัฒน์ กรมระรวย และคณะ. (2560, กันยายน-ธันวาคม). “โมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยที่สง่ ผล
ต่อจิตวิญญาณความเป็นครู,” Veridian E-Journal, Silpakorn University. 10(3), 836-
851.
ผกา สัทธรรม. (2544). คุณธรรมของครู. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พลอยเพลท.
พงษ์ศักดิ์ ด้วงพา. (2558, กันยายน-ธันวาคม). “สมรรถนะวิชาชีพครูโรงเรียนเอกชนในสังกัด
สานักงานเขตพืน้ ที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 1,” Veridian E-Journal, Silpakorn University.
8(3), 905-918.
พรธิดา วิเชียรปัญญา. (2547). การจัดการความรู้: พืน้ ฐานและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ:
เอ็กซเปอร์เน็ต.
พระครูโกวิทสุตาภรณ์ (สมดี โกวิโท). (2560). “บทบาทของครูในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับ
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู,” วารสารสันติศกึ ษาปริทรรศน์ มจร. 5(ฉบับพิเศษ), 126-139.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2553). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 78. กรุงเทพฯ:
พิมพ์สวย.
. (2558). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 30. กรุงเทพฯ:
มูลนิธิธรรมทานกุศลจิต.
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. (2546,
9 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 100 ก.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา.
เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก. หน้า 1-23.
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พุทธศักราช 2546. (2546, 11 มิถุนายน).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 52 ก. หน้า 1-30.
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2552). การบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อโลกใบเล็ก. กรุงเทพฯ:
พริกหวานกราฟฟิคพิมพ์ดี.
พวงพรรณ แสงนาโก. (2559). การจัดการความรู้ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
อาเภอเขาสมิง สานักงานเขตพืน้ ที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญา
การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 195

พัชราภา ตันติชูเวช. (2560). “บทบาทครูในศตวรรษที่ 21,” ใน ความเป็นครูและการพัฒนา


ครูมืออาชีพ. ไพฑูรย์ สินลารัตน์และนักรบ หมี้แสน (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ:
สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 175-189.
พิชัย ไชยสงคราม. (2542). ความเป็นครู. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
พินโย พรมเมืองและคณะ. (2562, มกราคม). รายงานสังเคราะห์งานวิจัยด้านจิตวิญญาณ
ความเป็นครูระหว่างปี 2551-2561. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6
เรื่องทักษะแห่งอนาคต: ความท้าทายของการศึกษาไทย ณ คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. 12-13 มกราคม 2562. 1-8.
พิมพ์พรรณ เทพสุเมธานนท์. (2556). ความเป็นครู. พิมพ์ครัง้ ที่ 2. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์
มหาวิทยาลัยรามคาแหง.
พิมพร แคล้วคลาด และกัญญรัชการย์ นิลวรรณ. (2560, มีนาคม). แนวทางการพัฒนาครูตาม
เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ สังกัดสานักงานเขตพืน้ ที่การศึกษาประถมศึกษา ระนอง.
รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8 เรื่อง Research 4.0 Innovation and
Development SSRU’s 80th Anniversary ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
16 มีนาคน 2560. 1712-1723.
พิมุกข์พัฒน์ จิรัชธรรมโชติ. (2561). จิตวิญาณความเป็นครูผู้สอนเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้.
วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พุทธทาสภิกขุ. (2529). ฟ้าสางระหว่าง 50 ปี ที่สวนโมกข์ (ตอน 1). กรุงเทพฯ: การพิมพ์พระนคร.
ไพรินทร์ เหมบุตร สมชัย วงษ์นายะ และทวนทอง เชาวกีรติพงศ์. (2556, ตุลาคม-ธันวาคม).
“กลยุทธ์การนิเทศเพื่อพัฒนาครูมืออาชีพในเครือข่ายการนิเทศที่ 18,” วารสาร
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 15(4),22-32.
ไพโรจน์ ชลารักษ์. (2552). การจัดการความรู้: สังกัปทางทฤษฎี. นครปฐม: เพชรเกษม
พริน้ ติง้ กรุ๊ป.
ภิญญาพัชญ์ กาวินคา. (2560, กรกฎาคม-ธันวาคม). “การพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนใน
โรงเรียนขนาดเล็กในเขตพืน้ ที่ตาบลเวียงชัย,” วารสารการวิจัยกาสะลองคา
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 11(3), 19-34.
มณฑล สรไกรกิติกูลและสุนันทา เสียงไทย. (2556, มกราคม-มิถุนายน). “มิติจิตวิญญาณใน
การทางาน (Workplace Spirituality): ความท้าทายในการบริหารทรัพยากรมนุษย์,”
วารสาร มฉก. วิชาการ. 16(32), 129-140.
196 บรรณานุกรม

มยุรี เศวตนัย. (2542). คุณลักษณะของครูที่ดีตามแนวคิดของนักเรียนประถมศึกษา สังกัด


กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มลิวัลย์ สมศักดิ์ และคณะ. (2561, กรกฎาคม-ธันวาคม). “องค์ประกอบและตัวชีว้ ัดจิตวิญญาณ
ความเป็นครูของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ,” วารสารเทคโนโลยี
ภาคใต้. 11(1), 51-58.
มีชัย โสกันทัต. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้หลักธรรมาภิบาลของผูบ้ ริหารสถานศึกษา
กับความผูกพันต่อสถานศึกษาของข้าราชการครู สังกัดสานักงานเขตพืน้ ที่การศึกษา
เลย เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
ยนต์ ชุ่มจิต. (2553). ความเป็นครู. พิมพ์ครัง้ ที่ 5. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ยุทธศาสตร์ เพียรไธสง สุชาติ ยางวิเศษ และสุรเชต น้อยฤทธิ์. (2559, มกราคม-มีนาคม).
“กลยุทธ์การพัฒนาครูที่มปี ระสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วน
จังหวัดนครราชสีมา,” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 10(1), 142-153.
รวงทอง ถาพันธ์. (2557). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินผลการเรียนรู้
สาหรับครูประถมศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา
ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีวา่ ด้วยการสร้างระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี
พ.ศ. 2542. (2542, 10 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 63 ง. หน้า 24-31.
รัญจวน อินทรกาแหง. (2557). ครูคือผู้สร้างโลก. กรุงเทพฯ: คิว พริ้นท์ แมเนจเม้นท์.
รัตติกรณ์ จงวิศาลและนาชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล. (2560, กรกฎาคม). “บทบาทของจิตวิญญาณ
ในการทางานในการส่งเสริมความยึดมั่นและผูกพันของพนักงาน,”
วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 23(2), 167-185.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้น 24
พฤษภาคม 2564, จาก https://dictionary.orst.go.th/lookup_domain.php
. (2539). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. พิมพ์ครัง้ ที่ 6. กรุงเทพฯ:
อักษรเจริญทัศน์.
. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ:
นามมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 197

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ:


ศิริวัฒนาอินเตอร์พริน้ .
เรืองวิทย์ นนทภา. (2559, เมษายน-มิถุนายน). “คุณลักษณะของครูที่ผู้เรียนประทับใจ:
ต้นแบบของครูดี,” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 10(2), 142-153.
ลักษณา ศิรวิ รรณ. (2561). “การสังเคราะห์ความรูด้ ้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ในภาครัฐ,”
วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. 58(2), 46-77.
วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์. (2556). การวางแผนและประเมินโครงการแบบมุ่งเน้นผลงานใน
ภาครัฐ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์.
วัลนิภา ฉลากบาง. (2559, พฤษภาคม-สิงหาคม). “จิตวิญญาณความเป็นครู: คุณลักษณะ
สาคัญของครูมอื อาชีพ,” วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 6(2), 123-128.
วาสนา ตาลทอง. (2562, มกราคม-มิถุนายน). “รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษ
ที2่ 1 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3,” วารสารวิชาการ
ศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. 6(1), 44-58.
วิจารณ์ พานิช. (2547). ความรูย้ ุคใหม่อยู่ในตัวคนมากกว่าตารา สานปฏิรูปการศึกษา
การจัดการความรู้กับการบริหารราชการแนวทางใหม่. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัย
วลัยลักษณ์.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ส. เจริญการพิมพ์.
วิจติ ร ศรีสอ้าน. (2541). วิชาชีพศึกษาศาสตร์. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา.
(หน่วยที่ 2, หน้า 29-59). นนทบุรี: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษ
ที่ 21. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.
. (2557). ภาวะผูน้ า: ทฤษฎีและนานาทัศนะร่วมสมัยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.
วิไล ตั้งจิตสมคิด. (2554). ความเป็นครู. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
วิไลลักษณ์ อานาจดี และศศิรดา แพงไทย. (2562, ตุลาคม). “กลยุทธ์การบริหารโดยใช้
หลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพืน้ ที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต 20,” วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6(8), 4106-4118.
วีระพจน์ กิมาคม. (2549). การจัดการความรู้. พัทลุง: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ. (2557, มกราคม-มิถุนายน). “องค์ประกอบของธรรมาภิบาล
ในโรงเรียน,” วารสารนักบริหาร. 34(1), 80-88.
198 บรรณานุกรม

ศิริวรรณ จันทะจรและธานี เกสทอง. (2558, กรกฎาคา). แนวทางการพัฒนาครูตามมาตรฐาน


วิชาชีพในกลุ่มโรงเรียนปางมะค่า สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
กาแพงเพชร เขต 2. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครัง้ ที่ 15 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
23 กรกฎาคม 2558. 1401-1411.
ส่งเสริม มีพร้อม. (2552). การศึกษาการบริหารงามตามหลักธรรมาภิบาลของผูบ้ ริหาร
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1. วิทยานิพนธ์
ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ
สุรินทร์.
สจีวรรณ ทรรพวสุ. (2560, มกราคม-เมษายน). “กลยุทธ์การพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู
เพื่อส่งเสริมความเป็นครูวิชาชีพของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
สวนสุนันทา,” วารสารราชพฤกษ์. 15(1), 1-10.
สมพงษ์ เกษมสิน. (2553). การบริหารงานบุคคลแผนใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:
ไทยวัฒนาพานิช.
สันติ บุญภิรมย์. (2557). ความเป็นครู. กรุงเทพฯ: ทริปเพิล้ เอ็ดคูเคชั่น.
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพืน้ ฐาน. (2552). คู่มอื การปฏิบัติงานข้าราชการครู.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
. (2560). คู่มอื การประเมินสมรรถนะครู สานักงานคณะการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.
2553. สืบค้น 11 พฤษภาคม 2560, จาก http://www.tmk.ac.th/teacher/capacity.pdf
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2560, เมษายน). คุณลักษณะครูรุ่นใหม่กับ
การปฏิรูปหลักสูตรผลิตครูในศตวรรษ 21. สืบค้น 12 เมษายน 2560,
จาก http://educ105.wordpress.com
สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). คู่มอื การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. พิมพ์ครัง้ ที่ 3. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2555, 8 พฤศจิกายน).
การปรับปรุงมาตรฐานตาแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.
หนังสือที่ ศธ 0206.4/ว 28.
. (2557, 10 พฤศจิกายน). การปรับปรุงมาตรฐานตาแหน่งของข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษา. หนังสือที่ ศธ 0206.4/ว 15.
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 199

สานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2560, 5 กรกฎาคม).


หลักเกณฑ์และวิธีการให้ขา้ ราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตาแหน่งครู
มีวทิ ยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ. หนังสือที่ ศธ 0206.3/ว 21.
. (2564, 26 มกราคม). มาตรฐานตาแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษา. หนังสือที่ ศธ 0206.4/ว 3.
สานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2544). คู่มอื การสร้างระบบบริหารกิจการ
บ้านเมืองและสังคมที่ดีตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีวา่ ด้วยการสร้างระบบบริหาร
กิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สานักงานคณะกรรมการ
ข้าราชการพลเรือน.
. (2548). การปรับใช้สมรรถนะในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เอกสารการสัมมนา
เรื่องสมรรถนะของข้าราชการ 31 มกราคม 2548. สืบค้น 2 มกราคม 2555,
จาก www.ocsc.go.th/ocsccms/competency.pdf
สานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
(2548). คู่มอื การจัดทาแผนการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
สานักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2563). กรณีตัวอย่างคาวินิจฉัยชีข้ าดของคณะกรรมการมาตรฐาน
วิชาชีพ กรณีผปู้ ระกอบวิชาชีพทางการศึกษาประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ.
สืบค้น 8 มิถุนายน 2564, จาก https://www.ksp.or.th/ksp2018/2020/09/22453/
สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รายงานการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่ม
ประสิทธิภาพขององค์กรทางการศึกษาด้วยการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
และทาปกเจริญผล.
. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. นนทบุรี:
เซ็นจูร่.ี
สานักนายกรัฐมนตรี. (2542). ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบการบริหาร
กิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2548). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ดว้ ย Competency.
กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้น.
สุดใจ วันอุดมเดชาชัย. (2556). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: สามลดา.
สุนันท์ สีพาย. (2562, เมษายน-มิถุนายน). “การศึกษาคุณลักษณะของครูที่ดีในศตวรรษ
ที่ 21 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
13(2), 246-263.
200 บรรณานุกรม

สุพิชญา โคทวี. (2558). รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริม


จิตวิญญาณความเป็นครู โดยใช้แนวคิดจิตปัญญาศึกษา สาหรับนักศึกษาครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
สุภา เจียมพุกและประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2555, มกราคม-มิถุนายน). “แรงจูงใจของครูกับ
การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผูบ้ ริหารโรงเรียน สังกัดสานักงานเขตพืน้ ที่
การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1,” วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย
ศิลปากร. 2(2), 217-224.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2535). สมบัติทิพย์ของการศึกษาไทย. พิมพ์ครัง้ ที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวชัย ศรีบุญเรือง. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผูน้ าการเปลี่ยนแปลงกับการบริหาร
สถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล สังกัดสานักงานเขตพืน้ ที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต 33. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
องค์การค้าของคุรุสภา. (2531). พจนานุกรมนักเรียน ฉบับเพิ่มคาศัพท์ปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้ง
ที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
อภิภา ปรัชญาพฤทธิ์. (2561). รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการผลิตครูเพื่อรองรับ
การศึกษายุค 4.0. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อมรรัตน์ แก่นสารและคณะ. (2560, มกราคม-เมษายน). “การพัฒนาตัวบ่งชี้จติ วิญญาณ
ความเป็นครู สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพืน้ ฐาน,” วารสารมหาวิทยาลัย
นครพนม. 7(1), 7-15.
อรอุมา เจริญสุข. (2559, พฤษภาคม–สิงหาคม). “การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของ
โมเดลการวัดจิตวิญญาณความเป็นครูของนิสติ หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.
5 ปี) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ: การวิเคราะห์กลุ่มพหุ,” วารสารวิธีวทิ ยา
การวิจัย. 29(2), 189-208.
อาภรณ์ ภู่วทิ ยพันธุ์. (2547). ศัพท์สมรรถนะ (Competency Dictionary). กรุงเทพฯ: เอช อาร์
เซ็นเตอร์.
. (2555). การจัดทาเส้นทางการฝึกอบรมระยะยาวบนพืน้ ฐานขีดความสามารถ.
กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
อุดมรัตน์ จรัสศรี. (2560, กันยายน-ธันวาคม). “การศึกษาสภาพการจัดการความรูข้ องครู
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคาแหง,” วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 11(3), 236-251.
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ 201

อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. (2559, ธันวาคม). “การวิเคราะห์ SWOT: แสงไฟส่องนาทางสู่


การจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ชุมชนทาได้,” วารสารเทคโนโลยีสุรนารี. 10(2), 137-157.
อุทุมพร จามรมาน. (2537). การวิจัยของครู. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
อุบล พวงมาลา บุญเรียง ขจรศิลป์และธนีนาฏ ณ สุนทร. (2562, กรกฎาคม-ธันวาคม).
“การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครู ตัวบ่งชี้ เกณฑ์การประเมิน และแบบประเมิน สาหรับ
นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่,” วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วจิ ัย. 11(2), 376-394.
อุไรวรรณ จันทรสวัสดิ์. (2552). คุณลักษณะของครูผสู้ อนที่ดีตามความคิดเห็นของนักเรียน
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาพาณิชยกรรม โรงเรียนมิตรพลพณิชยการ
เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
Clarke, Thomas and Clege, Stewart. (1998). Changes Paradigms: The Transformation of
Management Knowledge for 21st Century. London: Harper Collins Business.
Collison, Chris and Parcell, Geoff. (2004). Learning to Fly: Practical Knowledge Management
from some of the World’s Leading Learning Organization. 2nd ed. West Sussex:
Capstone.
Grundstein, Michel. (2001). “From Capitalizing on Company Knowledge to Knowledge
Management,” In Knowledge Management: Classic and Contemporary Works.
Morey, Daryl; et al. pp 261 – 287. London: The MIT Press.
Gutek, Gerald L. (1981). Education and School in America. New Jersey: Prentice-Hall.
Hayes, John. (2014). The Theory and Practice of Change Management. London: Palgrave
Macmillan.
Little, Stephen, Quintas, Paul and Ray, Tim. (2002). Managing Knowledge: an Essential
Reader. London: Sage Publications.
Marques, J. F. (2006). “The Spiritual Work: An Examination of the Ripple Effect that
Enhances Quality of life in and Outsite the Work Environment,” Journal of
Management Development. 25(9), 884-895.
McClelland, David. (1973, January). “Testing for Competence Rather Than for Intelligence,”
American Psychologist. 28(1), 1-14.
202 บรรณานุกรม

McKeen, J. D. and Smith, H. A. (2003). Making It Happy: Critical Issues in IT Management.


Ontario: Wiley.
Rothaermel, F.T. (2013). Strategic Management: Concepts and Cases. New York: McGraw-Hill.
Sallis, E., & Jones, G. (2002). Knowledge Management in Education: Enhancing Learning &
Education. London: Kogan Page.
Snyder, C. R. and Lopez, S. T. (2007). Positive Psychology: The Scientific and Practical
Exploration of Human Strengths. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.
Spencer, Lyle M. and Spencer, signe M. (1993). Competency at Work: Models for Superior
Performance. New York: John wiley & Sons.
Takeuchi, Hirotaka; & Nonaka, Ikujiro. (2001). “Classic Work: Theory of Organizational
Knowledge Creation,” In Knowledge Management: Classic and Contemporary
Works. Morey, Daryl; et al. pp 139-182. London: The MIT Press.
Wheelen, Thomas L. and Hunger, J. David. (2012). Strategic Management and Business
Policy: toward global sustainability. 13th ed. Upper Saddle River, N.J.: Prentice-Hall.
Wikipedia. (2560). เพลง. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน, จาก https://th.m.wikipedia.org/wiki/เพลง.
ประวัตผิ ู้เขียน

ชือ รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็ งสว ัสดิ์
สถานทีเ่ กิด อำเภอท่ำชนะ จังหวัดสุรำษฎร์ธำนี
ทีอ
่ ยูป
่ จ
ั จุบ ัน ตำบลธำตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000

ประว ัติการศึกษา
ปริญญำตรี ครุศำสตรบัณฑิต (เกียรตินย
ิ มอันดับ 1) (ค.บ.)
สำขำวิชำกำรศึกษำปฐมวัย วิชำโทภำษำอังกฤษ
(นักศึกษำโครงกำรคุรทุ ำยำท รุน
่ ที่ 2 ของสำนักงำนคณะกรรมกำรกำรประถมศึกษำแห่งชำติ
กระทรวงศึกษำธิกำร) วิทยำลัยครูเพชรบุร ี จ. เพชรบุร ี
ปริญญำตรี ศึกษำศำสตรบัณฑิต (ศษ.บ.) สำขำวิชำกำรวัดผลและประเมินผลกำรศึกษำ มสธ
ปริญญำโท กำรศึกษำมหำบัณฑิต (กศ.ม.) สำขำวิชำกำรวัดผลกำรศึกษำ มหำวิทยำลัยมหำสำรคำม
ปริญญำเอก ศึกษำศำสตรดุษฎีบณั ฑิต (ศษ.ด.) สำขำวิชำกำรบริหำรกำรศึกษำ มหำวิทยำลัยขอนแก่น

ประสบการณ์สอน
พ.ศ. 2535-2537 อำจำรย์ 1 โรงเรียนบ ้ำนหนองประดู อ. เลำขวัญ จ. กำญจนบุร ี (สปจ. กำญจนบุร)ี
พ.ศ. 2537-ปั จจุบน
ั อำจำรย์คณะครุศำสตร์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏสกลนคร

ประสบการณ์บริหารหน่วยงาน
พ.ศ. 2540-2542 หัวหน ้ำฝ่ ำยทะเบียนนักศึกษำ สำนักส่งเสริมวิชำกำร มหำวิทยำลัยรำชภัฏสกลนคร
พ.ศ. 2541-2544 ประธำนโปรแกรมวิชำกำรวัดผลกำรศึกษำ คณะครุศำสตร์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏสกลนคร
พ.ศ. 2542-2546 รองคณบดีคณะครุศำสตร์ (ฝ่ ำยฝึ กประสบกำรณ์วช ิ ำชีพครู) มหำวิทยำลัยรำชภัฏสกลนคร
พ.ศ. 2547-2553 ผู ้ช่วยอธิกำรบดี (ฝ่ ำยประกันคุณภำพกำรศึกษำ) มหำวิทยำลัยรำชภัฏสกลนคร
พ.ศ. 2552–ปั จจุบนั ประธำนสำขำวิชำกำรบริหำรและพัฒนำกำรศึกษำ คณะครุศำสตร์
พ.ศ. 2553-2557 คณบดีคณะครุศำสตร์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏสกลนคร (คำสัง่ สภำมหำวิทยำลัยรำชภัฏสกลนคร
ที่ 2/2553 วันที่ 30 เมษำยน 2553) (วำระที่ 1)
พ.ศ. 2557-2561 คณบดีคณะครุศำสตร์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏสกลนคร (คำสัง่ สภำมหำวิทยำลัยรำชภัฏสกลนคร
ที่ 2/2557 วันที่ 25 เมษำยน 2557) (วำระที่ 2)
ั รองอธิกำรบดีฝ่ำยวิชำกำร มหำวิทยำลัยรำชภัฏสกลนคร (คำสัง่ สภำมหำวิทยำลัยรำชภัฏสกลนคร
พ.ศ. 2564-ปั จจุบน
ที่ 26/2564 วันที่ 31 สิงหำคม 2564)

ประสบการณ์บริหารหล ักสูตร
พ.ศ. 2552-ปั จจุบน
ั กรรมกำรบริหำรหลักสูตรปรัชญำดุษฎีบณั ฑิต (ปร.ด.) สำขำวิชำกำรบริหำรและพัฒนำกำรศึกษำ
คณะครุศำสตร์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏสกลนคร
พ.ศ. 2555–ปั จจุบนั ประธำนหลักสูตรครุศำสตรมหำบัณฑิต (ค.ม.) สำขำวิชำกำรบริหำรและพัฒนำกำรศึกษำ
พ.ศ. 2556–ปั จจุบน ั ประธำนหลักสูตรประกำศนียบัตรบัณฑิต สำขำวิชำชีพครู (ป. บัณฑิตสำขำวิชำชีพครู)

ประสบการณ์การเป็นผูท ้ รงคุณวุฒ/ิ การได้ร ับการยอมร ับจากส ังคม


พ.ศ. 2553 ศิษย์เก่ำดีเด่น (ประจำปี 2553) คณะศึกษำศำสตร์ มหำวิทยำลัยมหำสำรคำม
พ.ศ. 2556 รองประธำนมูลนิธค ิ รูสกลนครเฉลิมพระเกียรติ 2542 (ใบสำคัญแสดงกำรจดทะเบียนแต่งตัง้
กรรมกำรมูลนิธ ิ วันที่ 18 ตุลำคม 2556)
พ.ศ. 2557 กรรมกำรคุรส ุ ภำ (รำชกิจจำนุเบกษำ เล่ม 131 ตอนพิเศษ 254 ง 16 ธันวำคม 2557)
พ.ศ. 2557-ปั จจุบนั ประธำน/กรรมกำรประเมินคุณภำพกำรศึกษำภำยใน ระดับคณะและสถำบันของ สกอ.
พ.ศ. 2557-ปั จจุบน ั ประธำนกรรมกำรประเมินข ้ำรำชกำรครูและบุคลำกรทำงกำรศึกษำ เพือ ่ ประเมินผลงำนทีเ่ กิดจำกกำรปฏิบต
ั ิ
หน ้ำทีแ
่ ละผลงำนทำงวิชำกำร (ด ้ำนที่ 3) เพือ ่ เลือ
่ นเป็ นวิทยฐำนะชำนำญกำรพิเศษ (คศ. 3) สำขำวิชำ
กำรศึกษำปฐมวัย สำขำวิชำกำรบริหำรกำรศึกษำ และสำขำวิชำกำรนิเทศกำรศึกษำ ของสำนักงำน
เขตพืน้ ทีก
่ ำรศึกษำประถมศึกษำ
พ.ศ. 2558-ปั จจุบน ั ประธำน/กรรมกำรประเมินคุณภำพกำรศึกษำภำยใน ระดับหลักสูตรของ สกอ.
พ.ศ. 2558 อนุกรรมกำรวิจัยและพัฒนำกำรประกอบวิชำชีพ (คำสัง่ คณะกรรมกำรคุรส ุ ภำที่ 5/2558 วันที่ 12 มีนำคม 2558)
พ.ศ. 2559 คณะทำงำนศึกษำแนวทำงและควำมเหมำะสมของข ้อเสนอเชิงนโยบำยมำตรฐำนวิชำชีพครู และ
ใบอนุญำตประกอบวิชำชีพครู ของคณะกรรมำธิกำรกำรศึกษำและกำรกีฬำ สภำนิตบ ิ ญ
ั ญัตแ
ิ ห่งชำติ
(คำสัง่ สำนักงำนเลขำธิกำรคุรส ุ ภำ ที่ 123/2559 วันที่ 16 กันยำยน 2559)
พ.ศ. 2560 อนุกรรมกำรพัฒนำระบบมำตรฐำนวิชำชีพครู คุรส ุ ภำ (คำสัง่ คณะกรรมกำรคุรส ุ ภำที่ 3/2560 วันที่ 22 พฤษภำคม
2560)
พ.ศ. 2560-2562 กรรมกำรสภำวิชำกำร (ผู ้ทรงคุณวุฒ)ิ มหำวิทยำลัยรำชภัฏเลย (คำสัง่ สภำมหำวิทยำลัยรำชภัฏเลย
ที่ 017/2560 วันที่ 6 สิงหำคม 2560)
พ.ศ. 2562-2564 กรรมกำรสภำวิชำกำร (ผู ้ทรงคุณวุฒ)ิ มหำวิทยำลัยรำชภัฏเลย (คำสัง่ สภำมหำวิทยำลัยรำชภัฏเลย
ที่ 010/2562 วันที่ 1 กันยำยน 2562)
พ.ศ. 2560-2562 กรรมกำรประจำคณะครุศำสตร์ (ผู ้ทรงคุณวุฒ)ิ มหำวิทยำลัยนครพนม (คำสัง่ มหำวิทยำลัยนครพนม
ที่ 3129/2560 วันที่ 6 ธันวำคม 2560)
พ.ศ. 2561-2563 กรรมกำรสภำวิชำกำร (ตัวแทนอำจำรย์ประจำคณะ) มหำวิทยำลัยรำชภัฏสกลนคร (คำสัง่ สภำมหำวิทยำลัย
รำชภัฏสกลนคร ที่ 4/2561 วันที่ 29 มิถน ุ ำยน 2561)
พ.ศ. 2563-2565 กรรมกำรสภำวิชำกำร (ตัวแทนอำจำรย์ประจำคณะ) มหำวิทยำลัยรำชภัฏสกลนคร (คำสัง่ สภำมหำวิทยำลัย
รำชภัฏสกลนคร ที่ 17/2563 วันที่ 27 พฤศจิกำยน 2563)
204 รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์

ตาแหน่งวิชาการ รองศำสตรำจำรย์ สำขำวิชำกำรศึกษำ (อนุสำขำวิชำกำรบริหำรกำรศึกษำ)

ผลงานทางวิชาการ ประเภทตารา/หน ังสือ


1) กำรวิจัยทำงกำรศึกษำปฐมวัย. (2544, 2559). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สวุ รี ย ิ ำสำส์น. (300 หน ้ำ).
2) หลักกำรวัดและประเมินผลกำรศึกษำ. (2544, 2546). สกลนคร: คณะครุศำสตร์ สถำบันรำชภัฏสกลนคร. (336 หน ้ำ).
3) กำรวิจัยในชัน ้ เรียน. (2546, 2557). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สวุ รี ยิ ำสำส์น. (200 หน ้ำ).
4) กำรวิจัยเพือ ่ พัฒนำกำรเรียนรู.้ (2546). สกลนคร: คณะครุศำสตร์ สถำบันรำชภัฏสกลนคร. (318 หน ้ำ).
5) วิธวี ท
ิ ยำกำรวิจัย. (2551). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สวุ รี ยิ ำสำส์น. (488 หน ้ำ).
6) สถิตป ิ ระยุกต์สำหรับกำรวิจัยทำงสังคมศำสตร์. (2553). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สวุ รี ย ิ ำสำส์น. (428 หน ้ำ).
7) กำรเขียนรำยงำนกำรพัฒนำผลงำนทำงวิชำกำร: นวัตกรรมทำงกำรศึกษำ. (2551, 2554). สกลนคร:
โรงพิมพ์สมศักดิก ์ ำรพิมพ์. (126 หน ้ำ).
8) กำรศึกษำผลงำนวิจัยเกีย ่ วกับกำรศึกษำปฐมวัย. (2555). สกลนคร: คณะครุศำสตร์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏสกลนคร. (393 หน ้ำ).
9) ควำมเป็ นครูและจรรยำบรรณวิชำชีพ. (2560, 2561). สกลนคร: คณะครุศำสตร์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏสกลนคร. (138 หน ้ำ).
10) ควำมเป็ นครูในศตวรรษที่ 21. (2562). สกลนคร: โรงพิมพ์สมศักดิก ์ ำรพิมพ์. (158 หน ้ำ).

ผลงานทางวิชาการ ประเภทวิจ ัย/บทความ


1) รำยงำนกำรวิจัยเรือ ่ ง คุณลักษณะ และบทบำทของอำจำรย์ทป ี่ รึกษำในสถำบันรำชภัฏ. (2546).
คณะครุศำสตร์ สถำบันรำชภัฏสกลนคร. (66 หน ้ำ).
2) รำยงำนกำรวิจัยเรือ ่ ง ปั จจัยทำงกำรบริหำรบำงประกำรทีม ่ อ
ี ท
ิ ธิพลต่อควำมเป็ นองค์กำรแห่งกำรเรียนรู ้ของโรงเรียนขนำดเล็ก
ในประเทศไทย. (2549). คณะครุศำสตร์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏสกลนคร. (93 หน ้ำ).
3) “กำรวิจัยเชิงเปรียบเทียบสำเหตุ,” SNRU Journal of Science and Technology. (2553, กรกฎำคม-ธันวำคม). 2(2); 35-45.
(11 หน ้ำ).
4) “แนวทำงกำรศึกษำภำวะผู ้นำ,” SNRU Journal of Science and Technology. (2554, มกรำคม-มิถน ุ ำยน). 3(5); 27-40.
(14 หน ้ำ).
5) “กำรวิจัยทำงกำรบริหำรกำรศึกษำ,” SNRU Journal of Science and Technology. (2554, กรกฎำคม-ธันวำคม). 3(6); 63-
71. (9 หน ้ำ).
่ วกับกำรใช ้พลังอำนำจของผู ้บริหำร,” SNRU Journal of Science and Technology. (2555, มกรำคม-มิถน
6) “กำรวิจัยเกีย ุ ำยน).
4(7); 1-10. (10 หน ้ำ).
7) รำยงำนกำรวิจัยเรือ ่ ง กำรพัฒนำภำวะผู ้นำทำงวิชำกำรของผู ้บริหำรทีส ่ ง่ ผลต่อประสิทธิผลกำรบริหำรงำนวิชำกำรโรงเรียนใน
กลุม
่ จังหวัดสนุก. (2560). คณะครุศำสตร์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏสกลนคร. (119 หน ้ำ).
8) “กำรพัฒนำชุดฝึ กอบรมด ้วยตนเองเพือ ่ เสริมสร ้ำงสมรรถภำพกำรวิจัยในชันเรี ้ ยนของครู สังกัดสำนักงำน
เขตพืน ่ ำรศึกษำประถมศึกษำในจังหวัดสกลนคร,” วำรสำรมนุษยศำสตร์และสังคมศำสตร์ มหำวิทยำลัยมหำสำรคำม. (2559,
้ ทีก
กันยำยน-ตุลำคม). 35(5); 53-61. (9 หน ้ำ).
9) “ภำวะผู ้นำทำงวิชำกำรของผู ้บริหำรทีส ่ ง่ ผลต่อประสิทธิผลกำรบริหำรงำนวิชำกำรโรงเรียนในกลุม ่ จังหวัดสนุก,” วำรสำรบริหำร
กำรศึกษำบัวบัณฑิต. (2561, กรกฎำคม-กันยำยน). 18(3); 93-101. (9 หน ้ำ).
10) “กำรวิเครำะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันภำวะผู ้นำทำงวิชำกำรของผู ้บริหำรโรงเรียนในกลุม ่ จังหวัดสนุก,” วำรสำรวิทยำลัย
บัณฑิตเอเซีย. (2562, กรกฎำคม-ธันวำคม). 9(2); 144-150. (7 หน ้ำ).

ผลงานทางวิชาการ ระด ับผูช ่ ยศาสตราจารย์ (ผศ.)


้ ว
1) เอกสำรประกอบกำรสอน รำยวิชำกำรประเมินผลกำรเรียน. (2543). สกลนคร: คณะครุศำสตร์
สถำบันรำชภัฏสกลนคร. (230 หน ้ำ).
2) รำยงำนกำรวิจัยเรือ
่ ง กำรศึกษำปั จจัยบำงประกำรทีส ั พันธ์กบ
่ ม ั กำรฝึ กประสบกำรณ์วช
ิ ำชีพครู. (2543). สกลนคร:
คณะครุศำสตร์ สถำบันรำชภัฏสกลนคร. (166 หน ้ำ).

ผลงานทางวิชาการ ระด ับรองศาสตราจารย์ (รศ.)


1) เอกสำรคำสอน รำยวิชำวิธวี ทิ ยำกำรวิจัยทำงกำรศึกษำ. (2557). สกลนคร: คณะครุศำสตร์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏสกลนคร.
(446 หน ้ำ).
2) กำรวิจัยทำงกำรบริหำรกำรศึกษำ. (2557). สกลนคร: โรงพิมพ์สมศักดิก ์ ำรพิมพ์. (235 หน ้ำ).
3) รำยงำนกำรวิจัยเรือ ่ เสริมสร ้ำงสมรรถภำพกำรวิจัยในชัน้ เรียนของครู สังกัดสำนักงำน
่ ง กำรพัฒนำชุดฝึ กอบรมด ้วยตนเองเพือ
เขตพืน
้ ทีก
่ ำรศึกษำประถมศึกษำในจังหวัดสกลนคร. (2558). สกลนคร: คณะครุศำสตร์ มหำวิทยำลัยรำชภัฏสกลนคร. (435 หน ้ำ).
ความเป็ นครู: แนวคิด ทฤษฎี สูก่ ลยุทธ์การพัฒนา
เนื้ อหาสอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา ประกอบด้วย
ความสาคัญของวิชาชีพครู
มาตรฐานวิชาชีพครู
คุณลักษณะของครูท่ดี ี
การพัฒนาจิตวิญญาณความเป็ นครู
การเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพครู
การจัดการความรูว้ ชิ าชีพครู
ธรรมาภิบาลในสถานศึกษา
คุณธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู
กลยุทธ์การพัฒนาความเป็ นครู

เหมาะสาหรับครู อาจารย์ นักศึกษา และผูท้ ่สี นใจพัฒนาความเป็ นครู

รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์


สาขาวิ ชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา
คณะครุศาสตร์ มหาวิ ทยาลัยราชภัฏสกลนคร
E-mail: khai_p@hotmail.com

You might also like