You are on page 1of 37

บทที่ 4

การเขียนบทวิ จารณ์

การเขียนบทวิจารณ์เป็ นวัฒนธรรมรูปแบบหนึ่งในการสร้างเสพวรรณกรรม เป็ นกิจกรรมที่มี


ธรรมชาติพน้ื ฐานผูกติดอยู่กบั การเสพศิลปะและสุนทรียอารมณ์ทเ่ี กิดจากการสัมผัสความงาม เรามักใคร่
รูค้ วามเห็นของคนอื่นเกี่ยวกับปฏิกริ ยิ าทางอารมณ์ว่าตรงกันหรือแตกต่างกับเราอย่างไร ขณะเดียวกันก็
ปรารถนาจะแสดงความเห็นของตนด้วยเช่นกัน ในแง่หนึ่งการวิจารณ์ จึงเป็ นการสารวจปฏิกิรยิ าทาง
ความคิดและอารมณ์ของตัวเองในขณะสัมผัสกับตัวงานแล้วอธิบายออกมาในรูปของงานเขียน ดังนัน้ ผู้
เริม่ ฝึกเขียนบทวิจารณ์อาจฝึกเขียนตามขัน้ ตอนต่าง ๆ โดยเริม่ ต้นทีจ่ ุดนี้

1. การเตรียมข้อมูลและการกาหนดประเด็น

1.1 การสารวจปฏิ กิริยาทางความคิ ดและอารมณ์ของตัวเองในขณะสัมผัสกับตัวงาน

ขณะอ่านตัวบทรวมทัง้ เมื่ออ่านตัวบทจบลง ผูว้ จิ ารณ์ต้องรูจ้ กั สังเกตปฏิกริ ยิ าทางความคิดและ


อารมณ์ของตัวเอง การสังเกตปฏิกริ ยิ าทางความคิดก็คอื การตอบคาถามว่าเราคิดอะไรเมื่ออ่านเนื้อเรื่อง
แต่ละช่วงตอน รวมทัง้ เมื่อ อ่านเรื่อ งจบลง เช่น อะไรคือ สิ่งที่ต ัวบทนาเสนอ อะไรคือปั ญ หา อะไรคือ
มูลเหตุ อะไรคือทางออก ทัง้ นี้กไ็ ม่จาเป็ นว่าจะต้องตอบให้ได้ว่า อะไรคือปฏิกริ ยิ าของตัวบททีเ่ กิดขึน้ กับ
เราในทุกช่วงตอนของเรื่อง ผูว้ จิ ารณ์อาจเริม่ ต้นด้วยประเด็นปฏิกริ ยิ าทางความคิดทีโ่ ดดเด่นกว่าประเด็น
อื่น ๆ ก็ได้ ส่ว นปฏิกิริยาทางอารมณ์ ห มายถึงความรู้ส ึก ที่เกิด ขึ้น สืบ เนื่ อ งจากการอ่ าน เช่ น ความ
โศกเศร้ากับหายนะของตัวละคร การร่วมยินดีกบั ความสาเร็จของตัวเอก ความเกลียดชังทีอ่ าจจะมีต่อตัว
ละครบางตัว เป็ นต้น
การรู้จกั สังเกตปฏิกริ ยิ าของผู้วจิ ารณ์ท่เี กิดขึ้นสืบเนื่องจากการอ่านตัวบท นับเป็ นส่วนสาคัญ
ส่วนหนึ่งที่จะช่วยนาทางผู้อ่านไปสู่การเขียนบทวิจารณ์ ทัง้ นี้เพราะการที่ตวั บทสื่อให้ผอู้ ่านคิดและรูส้ กึ
ไปในทางใดล้วนมีผลต่อการสร้างความหมาย ในบางกรณีก็อาจได้ประเด็นการวิจารณ์จากส่วนนี้ เช่น
ประเด็นการวิจารณ์อาจจะมาจากประเด็นที่ผู้วจิ ารณ์รสู้ ึ กว่าตัวบทสร้างแรงกระทบต่อตัวเองเป็ นพิเศษ
หรือความคลางแคลงใจต่อองค์ประกอบบางส่วน เป็ นต้น

1.2 การวิ เคราะห์ความหมายของตัวบท

การวิเคราะห์ความหมายของตัวบทในขัน้ ตอนนี้ คือการอธิบายกับตัวเองคร่าว ๆ หรือเป็ นภาพ


ร่างว่าอะไรคือ แก่นเรื่อ งหรือเป็ น ประเด็นที่ต ัวบทต้องการนาเสนอ ในทางปฏิบัติขนั ้ ตอนนี้มกั เกินขึ้น
พร้อม ๆ กันหรือไล่เรียงกันมาจากขัน้ ตอนที่ 1 ทัง้ นี้เป็ นเพราะการที่เราคิดหรือรู้สกึ อะไรบางอย่างนัน้
ส่วนหนึ่งเป็ นเพราะการชักจูงหรือแรงกระทบของตัวบท ในขัน้ ตอนนี้ผวู้ จิ ารณ์อาจใช้ความรูเ้ กี่ยวกับการ
125

วิเคราะห์ค วามหมายจากองค์ป ระกอบของตัว บท เช่ น การวิเคราะห์ช่ือ เรื่อ ง ความขัด แย้งและการ


คลี่คลาย ฯลฯ เข้าพิจารณาร่วมด้ว ยก็ได้ อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ความหมายในขัน้ ตอนนี้ก็เพียงแต่
การเตรียมข้อมูลในเบือ้ งต้นสาหรับผูว้ จิ ารณ์ ยังไม่ใช่การเขียนวิเคราะห์อย่างจริงจัง

1.3 การกาหนดประเด็นการวิ จารณ์และแนวคิ ดเชิ งทฤษฎี

การก าหนดประเด็นการวิจารณ์ และแนวคิดเชิงทฤษฎี หรือแนวการวิจารณ์ มกั เกิดขึ้นอย่าง


สืบเนื่องหรือพร้อมกัน ตัวอย่างเช่น เมื่อผูอ้ ่านเห็นว่าตัวบทมีเนื้อหาทางความคิดและวิธที างศิลปะทีโ่ ดด
เด่น หรือเป็ นวรรณกรรมทีม่ คี ุณค่าทางความคิด แนวการวิจารณ์กอ็ าจจะเป็ นนววิจารณ์ หรือหากสังเกต
พบว่าตัวบทค่อนข้างมีความเชื่อมโยงกับบริบททางสังคมก็อาจเลือกใช้การวิจารณ์เชิงสังคม หากสังเกต
พบว่าพฤติกรรมของตัวละครสามารถอธิบายได้ดว้ ยแนวคิดทางจิตวิทยาก็อาจจะเลือกใช้การวิจารณ์แนว
จิตวิทยา
การเลือกใช้แนวคิดเชิง ทฤษฎี ผู้วจิ ารณ์อาจเลือกใช้แนวคิดหลาย ๆ แนวผสมผสานกัน ก็ได้
ส่วนประเด็นการวิจารณ์ ผูว้ จิ ารณ์กอ็ าจเลือกได้ทงั ้ การวิจารณ์วรรณกรรมทัง้ เรื่อง หรืออาจจะเลือกพูดถึง
เพียงประเด็นใดประเด็นหนึ่ง เช่น พฤติกรรมของตัวละคร สุนทรียะของเรื่อง แบบเรื่อง ประเด็นทาง
สังคม เป็ นต้น
2. ขัน้ ตอนการเขียนบทวิ จารณ์

เมื่อได้ประเด็นในการเขียนและแนวการวิจารณ์ แล้ว ในขัน้ ของการลงมือเขียนผู้วจิ ารณ์ อาจ


เริม่ ต้นด้วยการวางโครงร่าง ในทีน่ ้ีจะยกตัวอย่างขัน้ ตอนการเขียนบทวิจารณ์เรื่องสัน้ “โลกใบเล็กของซัล
มาน”

โลกใบเล็กของซัลมาน

กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ (2547 : 337-350)

ข้าพเจ้าไม่ได้รู้จกั ซัลมานโดยตรง เป็ นการยากมากที่จะเข้าถึงตัวชายชาวประมงผู้น้ี ไม่ใช่


เพราะด้วยร่างกายสูงใหญ่น่าเกรงขาม แต่ดว้ ยแววตาเกรีย้ วกราดไม่เป็ นมิตรกับใคร และวาจาสามหาวที่
เขาพร้อมจะพ่นใส่ตลอดเวลา ไม่เลือกว่าใครคนนัน้ จะเป็ นใคร- - นัน่ แหละทีท่ าให้ซลั มานถูกจากัดอยู่ใน
โลกใบเล็กซึง่ ใกล้พงั ทลายของตน...
ข้าพเจ้าละลายเวลาช่วงหน้าร้อนทีผ่ ่านมาให้สูญเปล่าไปบนชายหาดทัง้ ทางภาคใต้ฝัง่ อ่าวไทย
และทะเลอันดามัน ในช่วงหน้าร้อนซึง่ จิตใจอยากเขียนหนังสือเยียบเย็นเป็ นน้าแข็งเช่นนี้ ไม่มอี ะไรดีกว่า
ปล่อยให้
126

ตัวเองท่องเทีย่ วไปเรื่อยเปื่ อย ข้าพเจ้าไม่ได้ตงั ้ ความหวังไว้ว่าจะกลับไปหาธรรมชาติของทะเล ไม่ได้หวัง


ถึงความสวยงามเช่นนัน้ ข้าพเจ้าจึงไม่รสู้ กึ ผิดหวังเมื่อได้ไปพบเห็นท้องทะเลซึ่งมีความหมายเพียงห้วง
น้าเค็มทีเ่ ผอิญผุดขึน้ ในเมืองอันแออัดไปด้วยผูค้ น
(ข้าพเจ้าเป็ นนักเขียน จาเป็ นอย่างยิง่ ทีจ่ ะต้องมองโลกอย่างเข้าใจ ข้าพเจ้าพบว่าในเมื่อธุรกิจ
ซื้อขายที่ดนิ ชายทะเลเข้มข้นถึงขนาดเลือดท่วมหาดทราย นัน่ ก็หมายถึงว่าไม่มสี งิ่ ใดต้องคานึงถึงอีก
ข้าพเจ้าย่อมเลิก
หวังถึงความสวยงามใด ๆ จากหาดชายฝัง่ ทะเลซึ่งเป็ นเรื่องเหลวไหล สิง่ ทีข่ า้ พเจ้าควรทาก็คอื ร่วมสนุก
ไปกับบาร์เหล้าหรือดิสโกเธคบนหาดทรายทีน่ กั ธุรกิจชายทะเลสรรคิดมาบาเรอ เช่นเดียวกับเมื่อเดินทาง
ไปกับเรือทัวร์ทะเลของบริษทั ใหญ่ ๆ ข้าพเจ้าก็พลอยสนุกสนานไปกับย่านสีลมทีย่ กมาอยู่บนเรือ จิตใจ
ไม่เรียกร้องทีจ่ ะดาลงไปดูปะการังใต้ทะเลอีก ข้าพเจ้าพยายามทาใจให้คล้อยตามว่า ทุกสิง่ อันสนุกสนาน
และควรค่ าสาหรับการท่องเที่ยว ได้รบั การจัดสรรคไว้บนเรือ โดยหัวคิดโปร่งใสของนักธุรกิจบริก าร
เหล่านัน้ แล้ว ด้วยการลงทุนแข่งขันสูงทัง้ มูลค่าและชีวติ และนัน่ เป็ นเหตุผลเพียงพอทีจ่ ะทาให้ขา้ พเจ้าไม่
ตกอกตกใจ เมื่อรูว้ ่าเรือเหล่านัน้ ได้ทง้ิ สมอลงทาลายป่ าปะการังโดยไม่เห็นความสาคัญใด ๆ)
คืนวันหนึ่ง ข้าพเจ้ามาถึงกระบี่และเข้าที่พ ักในโรงแรมอันดามัน อินน์ บนหาดเล็ก ๆ ทาง
ตะวันตกของตัวเมืองราวหกกิโลเมตร ข้าพเจ้านึกติดใจตัวโรงแรมนี้จากภาพในนิตยสารท่องเที่ยว ซึ่ง
แทนที่จะขยายไปกับชายหาดเหมือนโรงแรมชายทะเลอื่น ๆ อาคารหกชัน้ กลับสร้างเป็ นรูปจันทร์เสี้ยว
ปลายทัง้ สองเกี่ยวติดหาดทรายขาวสะอาด ในโรงแรมมีธุรกิจบริการพร้อมมูล ทัง้ บาร์เหล้า เธค มินิเธีย
เตอร์ ศูนย์สุขภาพ และสระว่ายน้ าขนาดใหญ่บนระเบียงดาดฟ้ า ด้านหน้าโรงแรมซึ่งล้อมไว้ดว้ ยอาคาร
รอบสามด้านเป็ นลานกว้าง ปูกระเบื้องโมเสก มีสระว่ายน้ าขนาดใหญ่มากอยู่อกี สระหนึ่ง ซึ่งหากคนสัก
ร้อยลงไปใช้พร้อมกันก็ยงั ไม่รูส้ กึ ตะขิดตะขวงใด ๆ ใกล้ขอบสระมีบาร์เปิ ดขายเครืองดื่มทุกชนิด ข้าพเจ้า
อดนึกชมเจ้าของโรงแรมไม่ได้ทค่ี ดิ ใช้ประโยชน์อย่างคุม้ ค่าจากบริเวณว่างตรงนี้ แทนที่จะสูญเสียไปกับ
สวนหย่อมหรือลานจอดรถเหมือนโรงแรมอื่น ๆ
แต่เลยจากลานกว้างนัน่ ออกไปข้างหน้า แทนทีจ่ ะเป็ นหาดทรายกลับกลายเป็ นกระท่อมไม้ สับ
ปะรังเคหลังหนึ่งในดงมะพร้าว คันส่ ่ วนโรงแรมไว้ด้วยพุ่มรัว้ เตี้ย ๆ หาดของโรงแรมจึง มีแต่เฉพาะด้าน
ปี กทัง้ สองข้าง แวบแรกที่มองออกจากโรงแรม ข้าพเจ้าเกิความรู้สกึ ขัดแย้งอย่างบอกไม่ถูก ข้าพเจ้า
อยากเห็นหาดทรายทีค่ ่อย ๆ ลาดลงไปในน้าทะเลมากกว่าจะมีอะไรมาขวางสายตาอยู่อย่างนี้ แต่ครัน้ ถึง
ตอนเช้าเมื่อได้เห็นสายหมอกบาง ๆ คลุมดงมะพร้าว เห็นควันไฟสีขาวชาแรกลอยกรุ่นขึ้นมาเหนือ
หลังคากระท่อม เห็นเรือหาปลาแบบชาวบ้านลาหนึ่งปล่อ ยให้คลื่นเล็ก ๆ ซัดหยอกอยู่หน้ ากระท่อ ม
ข้าพเจ้าก็อดนึกชมเชยความคิดของเจ้าของโรงแรมไม่ได้อกี ข้าพเจ้าเชื่อว่าแขกทุกคนคงรู้สกึ ยินดีต่อ
ทิวทัศน์อนั สวยงามประหนึ่งภาพวาดดังกล่าวเมื่อได้มองออกไปจากโรงแรมในยามเช้าเช่นนี้ ข้าพเจ้า
เห็นแขกที่มาพักหลายคนโผล่หน้าออกมาถ่ายภาพเก็บไว้ดุจเดียวกับข้าพเจ้า จริง ๆ แล้วข้าพเจ้าเคย
เห็น ภาพนี้ ม าก่ อ นในเอกสารแนะน าของโรงแรม แต่ เผลอคิด ไปว่ า นัน่ เป็ น ภาพหมู่ บ้ านชาวประมง
ใกล้เคียงทีใ่ ดทีห่ นึ่ง ไม่นึกว่าเจ้าของโรงแรมจะหัวใสจัดมาโชว์ไว้ตรงหน้าแบบนี้
127

แต่ต่อมาข้าพเจ้าก็ได้รวู้ ่า นัน่ หาใช่อวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดของโรงแรมไม่ ทว่านัน่ แหละคือโลก


ใบเล็กของซัลมาน... โลกอันปวดร้าวและน่าหัวเราะเยาะในขณะเดียวกัน

ก่อนรูจ้ กั กับโลกของซัลมานเล็กน้อย ข้าพเจ้าได้ลงไปเดินเล่นแถวนัน้ และนึกแปลกใจทีเ่ ห็นเรือกอและ


ใหม่เอีย่ มสีสนั แสบตาลาหนึ่งเกยหาดอยู่ห่างจากกระท่อมราวสีส่ บิ ก้าว ขณะอีกลาเป็ นเรือประมงเล็กจอด
ลอยผูกไว้กบั หลักในทะเลหน้ากระท่อม ข้าพเจ้าไม่เคยรูม้ าก่อนว่าชาวประมงแถบนี้ใช้เรือกอและออกหา
ปลาด้วย เคยเห็นแต่ทางสงขลา ปั ตตานี ยะลา หรือไม่กน็ ราธิวาส
หญิงวัยต่ากว่าสามสิบขอร้องข้าพเจ้าให้ช่วยถ่ายรูปให้ ดว้ ยกล้องของหล่อน หล่อนโปสท่าข้าง
เรือ กอและเหมือนเป็ นนางแบบมืออาชีพ ข้าพเจ้าเชื่อว่ารูปจะออกมาสวยแน่ นอน ด้วยเรือนร่างได้
สัดส่วนและหน้าตาดูดขี องหล่อนกับสีสนั ร้อนแรงของเรือ แม้ฝีมอื ถ่ายรูปของข้าพเจ้าจะแสนธรรมดาก็
ตาม
ข้าพเจ้ารูส้ กึ เพลิดเพลินอยู่หน่ อย ๆ ที่ได้ช่วยเหลือใครเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นนี้ และข้าพเจ้าก็ไม่
คิดอะไรมากไปกว่าช่วยถ่ายรูปให้ เมื่อรูว้ ่าสามีของนางยังนอนขีเ้ กียจอยู่บนโรงแรม เราเจอเด็กชายหญิง
หน้าตาน่ าเอ็นดูคู่หนึ่ง ข้าพเจ้าได้รู้ในเวลาต่อมาว่าเป็ นลูกของซัลมาน ทัง้ คู่หน้าคม ผิวเข้ม ดวงตาดา
ขลับใสแป๋ วและสวยมาก คุณผูห้ ญิงซึ่งข้าพเจ้าเพิง่ รูจ้ กั เข้าไปทักทาย เด็กทัง้ คู่ไม่ต่นื เต้นอะไร ข้าพเจ้าไม่
แปลกใจ เด็กชาวประมงในทุกที่ท่ขี า้ พเจ้าเจอมาล้วนคุ้นเคยกับนักท่องเที่ยวเสียยิง่ กว่าผ้าห่มนอนของ
ตน แต่พอถึงตอนคุณผูห้ ญิงขอถ่ายรูปด้วย ทัง้ คู่กลับฉายแววตระหนกในสีหน้า หันมองไปทางกระท่อม
อย่างวิตกกังวล
หล่อนหัวเราะและยัดแบงก์ใส่มอื เด็กหญิงอย่างรูป้ ระเพณี ข้าพเจ้าขึน้ ฟี ล์มเตรียมถ่าย แต่กต็ อ้ ง
แปลกใจเมื่อเด็กหญิงพยายามคืนเงินกลับ จนคุณผูห้ ญิงต้องบอกเหมือนบังคับให้รบั ไว้นนั ่ แหละ ทัง้ คู่จงึ
หันไปมองกระท่อมอีกแว่บหนึ่งราวนัดกันไว้ ก่อนจะยอมมายืนเบียดทัง้ สองข้างของนายจ้าง
หนูน้อยทัง้ สองหน้าตาไม่ดเี อาเสียเลย แม้จะมองผ่านเลนส์กล้องข้าพเจ้าจาต้องบอกให้ยม้ิ แต่
ก็ได้รบั เพียงรอยยิ้มแกน ๆ เหมือนกับว่าทัง้ คู่กลัวกล้องถ่ายรูปนักหนา ไม่ น่าเป็ นไปได้ เพราะไม่มใี คร
ร้องไห้หรือวิง่ หนีอย่างเด็กทีก่ ลัวกล้องเป็ นกัน
แล้วข้าพเจ้าก็ได้รวู้ ่าเด็กทัง้ คู่กลัวมันจริง ๆ เมื่อมีชายคนหนึ่งเดินตรงมาจากดงมะพร้าว เพียง
แรกเห็น เด็กทัง้ คู่ก็ตกอยู่ในอาการหวาดกลัวจนตื่นตระหนก ข้าพเจ้าคิดว่าทัง้ คู่เตรียมออกวิง่ แต่ด้วย
ความหวาดกลัวเกินไปเท้าจึงตรึงอยู่กบั ที่ เมื่อชายคนนัน้ เข้ามาใกล้ เนื้อตัวทัง้ คู่ยงิ่ สันเทาอย่
่ างน่ากลัว
นัน่ คือครัง้ แรกที่ขา้ พเจ้าเผชิญหน้ากับซัลมาน ชายผู้น้ีมโี ครงร่างใหญ่ นุ่ งเพียงกางเกงชาวเล
ตัวเดียว ท่อนบนปล่อยผิวคล้าเกรียมแดดไว้กบั ขนหน้าอกรุงรัง ในรูปหน้าเรียวยาวคมเข้มนัน้ ประดับ
ด้วยดวงตาดาขลับแลเห็นกองไฟเริงโรจน์อยู่ภายใน บอกถึงความมาดร้ายจนข้าพเจ้าต้องหลบ ทว่าใน
แวบนัน้ ข้าพเจ้ายังทันเห็นความขื่นแค้ นที่เกาะกินดวงตาคู่นัน้ อยู่เหมือนเชื้อไข้ เช่นเดียวกับร่างกาย
ใหญ่โตทีม่ อี าจซ่อนริว้ รอยของโรคบางอย่างไว้ได้
“เอามานี่” เขาตะคอกเสียงดุดนั ลูกสาวของเขายื่นมือแบแบงก์ให้อย่างขลาด ๆ ข้าพเจ้ารู้สกึ
ร้อนรุ่มขึน้ มาอย่างฉับพลัน เห็นคุณผูห้ ญิงก็อยู่ในอาการฮึดฮัดไม่ผดิ กัน
128

ซัลมานคว้าแบงก์ขน้ึ มาขยา และโดยข้าพเจ้าไม่คาดคิด เข้าขว้างก้อนแบงก์นนใส่ ั ่ หน้าข้าพเจ้า


ข้าพเจ้าสันเทิ
่ ม้ เหมือนโดนถ่มน้าลายรด แต่ก่อนจะทันแสดงกิรยิ าใดโต้ตอบ ซัลมานก็ตะคอกตามมา
“กูขอซือ้ ฟิ ลม์ ข้างในด้วยเงินโสโครกนัน...”

“นี่มนั อะไรกัน... จะมากไปแล้วนะ” คุณผู้หญิงเจ้าของกล้องแหวขึ้นอย่างไม่เกรงกลัว แต่ซลั
มานก็ทาให้หล่อนต้องกลัวจนได้ เมื่อเขาสาวเท้าเข้าไปหาพร้อมใบหน้าถมึงทึง
ข้าพเจ้าตะลึงจนตัวชา เมื่อเรียกสติคนื มาข้าพเจ้าพยายามสรุปสถานการณ์ ทงั ้ หมดในเวลา
จากัด และ
โดยไม่โต้ตอบด้วยคาพูดใด ข้าพเจ้าปลดฟิ ล์มให้เขาไป คุณผู้หญิงโกรธเป็ น ฟื นเป็ นไฟ เปล่งคาขู่ว่าจะ
ฟ้ องเจ้าของโรงแรมเรื่องที่ถูกคุกคามนี้ และโดยไม่พูดอะไรอีก เขาบิ ดหูลูกทัส้ องลากขนาบข้างตัวเอง
กลับกระท่อม เด็กน้อยไม่รอ้ งให้ได้ยนิ เสียงสักแอะ
ข้าพเจ้าเดาเรื่องทัง้ หมดไม่ได้เลย ต้องมีใครสักคนหนึ่งให้ความกระจ่างในเรื่องนี้ได้ ซัลมานเข้า
มาเป็ นสุดยอดความปรารถนาของคนที่ขา้ พเจ้าอยากรู้จกั แม้จะด้วยความเกลียดชังและขยะแขยงต่อ
พฤติกรรมทีแ่ สดงออกมาให้เห็นเบือ้ งหน้าก็ตาม
คนหนึ่งซึ่งช่วยให้ขา้ พเจ้าพอรูจ้ กั โลกใบเล็กของซัลมานคือเด็กหนุ่ มบาร์เทนเดอร์ท่ชี ่อื แหลม เขาเคยมี
ทีด่ นิ ติดเขตรัว้ กับซัลมาน (ส่วนที่ปูด้วยกระเบื้องโมเสกบัดนี้) ครอบครัวเขาก็เช่นเดียวกับครอบครัวอื่น
ๆ ที่ต าลุ ก พองเมื่อ นายหน้ าค้าที่ดิน เสนอราคาแสนงามให้ แหลมเล่ าว่ า ทัน ทีท่ีผ ืน ดิน หลุ ด จากมือ
ครอบครัวเขาก็ถงึ กาลกระจัดพลัดพราย แต่ ละคนต่างกาส่วนแบ่งของตน แยกย้ายกันไปตามครรลอง
ของตัวเอง เขาได้มาสองล้าน ทว่าชัวระยะเวลาแค่
่ ปีเศษเขาก็ผลาญมันเสียเกลี้ยง “ผมเป็ นไทยพุทธ นาย
ก็ร.ู้ .. ศาสนาของเราเปิ ดทางให้อบายมุขเล่นงานได้ไม่จากัด” ข้าพเจ้ายังจาเสียงหัวเราะอย่างจริงใจแต่ฟัง
ดูเหมือนเย้ยหยันของเขาได้ดี เมื่อเขาเล่ าถึงวิธี การผลาญเงินสองล้านให้หมดไปในเวลารวดเร็ว
เช่นนัน้
(ถึงบัดนี้ขา้ พเจ้าไม่มคี วามแปลกใจใด ๆ เหลืออยู่เลย ต่อการได้ยนิ ว่าชาวประมงแต่ละคนซึ่ง
ขายที่ของตนไปผลาญเงินกันเก่งมาก ข้าพเจ้าคิดว่าเป็ นเรื่องธรรมดา คนไม่เคยมีเงินมากกว่าจานวน
ร้อยติดบ้าน ครัน้ เกิดมีเงินล้นหลามจนทับอก เป็ นไปได้งา่ ยเหลือเกินทีจ่ ะคานวณค่าของมันผิดพลาด คน
จนซึ่งเผอิญมีเงินไม่ฉลาดในการใช้มนั เท่า กับพวกเศรษฐีหรอก ข้าพเจ้าเคยได้ยนิ มาว่า บางคนเอาเงิน
ไปซื้อสวนยางพาราหรือไม่ก็สวนปาล์ม บ้างก็อุตริไปลงทุนสัมปทานเส้นทางเดินรถโดยสาร ทัง้ ๆ ที่
ตัวเองผูกพันกับการหาปลาหากุ้งมาแต่หวั เท่ากาปั ้น และความไม่ชานาญต่ออาชีพใหม่กผ็ ลาญเงินทอง
ไปอย่างรวดเร็วน่าใจหาย หลายคนจังงังกับความร่ารวยของตนและเดินหลงไปในเส้นทางอบายมุข มีอกี
หลายคนทีถ่ ูกญาติพน่ี ้องหลอกต้มจนหมดตัว ข้าพเจ้าเคยเศร้าใจมากเมื่อได้ยนิ มาว่าตายายคู่หนึ่งขายที่
ตรงปลายแหลมหน้าเกาะพีพไี ด้ถงึ ยีส่ บิ ล้าน แต่ช่วงเวลาสองปี ท่ขี น้ึ มามีชวี ติ บนฝั ง่ แกใช้มนั หมดไปถึง
สิบแปดล้าน เล่าต่อกันว่าบางทีแกเหมารถทัวร์โดยสารเป็ นสิบคันเพื่อไปทอดกฐินถึงเชียงใหม่ สาเหตุ
ใหญ่ ท่ีแ กท าเงิน หายไปอย่างน่ าเศร้าใจก็ด้ว ยมีเจ้าอาวาสรูป หนึ่ งซึ่งแกไม่ ได้รู้จกั มัก คุ้น มาก่ อ น ได้
คะยัน้ คะยอให้แกสร้างโบสถ์ให้กบั วัด คราวนัน้ ทัง้ คู่สญู เงินไปร่วมหกล้าน)
129

จากคาบอกเล่าของแหลม ข้าพเจ้ายิง่ แปลกใจเมื่อทราบว่าเดิมทีซลั มานเป็ นคนดีทน่ี าคบหา รัก


ลูกรักเมียเสียยิง่ กว่าใคร ๆ หมด ตอนลูกสาวเกิดเขาซื้อแพะมาฉลองถึงครึง่ โหล ครัน้ ถึงคราวลูกชายคน
ต่อมา ชาวประมงในละแวกนี้ต่างก็อมิ่ เอมกับแพะถึงสิบสองตัว
“มันเป็ นคนโง่ มันถึงเป็ นแบบนี้... มันโง่ทส่ี ุดในศตวรรษนี้เลยละนาย” แหลมหัวเราะแห้งแล้ง
ก่อนอันดามัน อินน์จะเข้ามายึดครองเวิ้งอ่าวเล็ก ๆ สวยงามนี้ไว้ แหลมระลึกถึงคืนวันเก่า ๆ
เหล่านัน้ ให้ขา้ พเจ้าฟั งว่า หาดทรายตรงนี้สวยกว่าทีเ่ ห็นอยู่หลายเท่านัก มีนักธุรกิจเข้ามาทาบังกะโลอยู่
สองสามเจ้า ไม่นานก็ต้องล้มเลิกไป ความจริงหาดนี้อยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองนัก น่าจะมีนกั ท่องเทีย่ วแห่กนั
มาเยอะ แต่ ด้ ว ยถนนที่ ไ ม่ ส ะดวก ประกอบกับ หมู่ บ้ า นชาวประมงปลู ก กระจายเต็ ม เวิ้ง อ่ า วจน
นักท่องเทีย่ วไม่มสี ดั ส่วนเป็ นของตัวเองเพียงพอ-ทัง้ สองอย่างนี่แหละทีป่ ิ ดกัน้ นักท่องเทีย่ วไว้
เมื่อ สี่ปี ก่ อ นนี่ เองที่อ ัน ดามัน อิน น์ ได้เข้ามาส ารวจหาดนี้ เพื่อ เตรีย มสร้างโรงแรมส าหรับ
นั ก ท่ อ งเที่ย วซึ่ ง เริ่ม ล้น จากเกาะพีพ ี แหลมบอกกับ ข้า พเจ้า ว่ า นายหน้ า ซื้ อ ที่ ดิน เข้า มาได้ จ ัง หวะ
เหมาะเจาะ ขณะชาวประมงกาลังสูญสิ้นความหวังในห้วงน้ าเบื้องหน้า เปรี้ยวหวานมันเค็มซึ่งพวกเขา
เคยตักตวงใส่เรือเกือบเหลือแต่ความว่างเปล่า พวกนายหน้าเลยทางานอย่างสะดวกดาย
“มันก็ยกึ ยักบ้างแหละนาย” แหลมหัวเราะเบา ๆ ขณะผสมเครื่องดื่มให้แขก “เรื่องไรใครจะโง่
ก็ทุกคนต่างก็รกู้ นั อยู่น่ี ว่ายังไงเสียพวกโรงแรมมันต้องการทีจ่ นได้ ยึกยักให้ราคาสูงมาหน่อย อย่างว่า...
ก็ยงั มีไอ้พวกปอดแหก กลัวเขาจะไม่เอาจริง เลยรีบขายไปไร่ละสีซ่ ้าห้าล้าน อย่างของผมนัน่ พ่อแกดึง
ขึน้ มาได้ถงึ แปดล้าน ไร่กบั อีกหน่ อยหนึ่ง เฮอะ...ว่าไปแล้วที่ของบังมานนัน่ ไม่ถงึ ไร่เสียด้วยซ้า แต่ตอน
หลังราคาขึน้ ไปถึงสิบล้านมันยังไม่ยอมขาย...”
“ตอนนี้ไม่ปาเข้าไปร่วมยีส่ บิ ล้านแล้วหรือ...”
แหลมหันมามองจ้องด้วยสายตาเหมือนตาหนิทข่ี า้ พเจ้าทาตาโต เขายักไหล่พลางพูด “นายลอง
ไปติดต่อดูส ิ อาจมีเรื่องสนุก ๆ เกิดขึน้ ก็ได้”
ข้าพเจ้าไม่สนใจเสียงหัวเราะของแหลมตอนนัน้ แต่ต่อมาเมื่อได้ทาความรู้จกั กับโลกของซัล
มานมากขึน้ ข้าพเจ้าก็เชื่อว่าไม่มใี ครอยากค้ากาไรกับทีด่ นิ ผืนงามนันหรอก ่
ข้าพเจ้าได้รมู้ าอีกอย่างว่าพ่อของซัลมานนัน้ หัวดือ้ มาก ดื้อจน บางครัง้ ดูเหมือนคนขีโ้ กง นัน่ อาจพอเป็ น
เหตุผลที่บอกถึงความหัวดื้อที่ซลั มานมีอยู่กไ็ ด้ แหลมเล่าว่าคราวหนึ่งเรือแกถูกเฉี่ยวจมลงขณะเข้าร่อง
น้ าใหญ่ แกเรียกค่าเสียหายเท่ากับเรือใหม่เอี่ยมหนึ่งลา พร้อ มตีราคาปลาและค่าทาขวัญ ตัวเองเสร็จ
สรรพ ทัง้ ๆ ที่เรือมีทางงมขึ้นมาได้เช่นนัน้ แหละ แต่แกก็อ้างว่านัน่ เป็ นความเชื่ อของแก เรือซึ่งประสบ
คราวเคราะห์เข้าครัง้ หนึ่งมีอนั ต้องเป็ นไปในครัง้ ต่อ ๆ มาจนได้ คู่กรณีไม่ยอมเล่นด้วย แต่เมื่อถูกลูกซอง
จ่อหัวเข้าก็ยากจะยืนกราน
“บังมานชอบอ้างอยู่เสมอ...” แหลมเล่าต่อ “โดยเฉพาะกับพวกนายหน้าว่าป๊ ะมันสังนั ่ กสังหนา

‘เราคนทะเล ได้มผี นื ดินให้ตนี เหยียบ นับเป็ นความกรุณาสูงสุดของพระเจ้า ’ นี่... บังมานชอบอ้างคานี้
นายว่ามันฉลาดมัยล่ ๊ ะ... ทัง้ ป๊ ะทัง้ พระเจ้าของมันช่วยกันดึงราคาทีด่ นิ ขึน้ ไปถึ งสิบล้าน แต่สุดท้ายมันก็โง่
นันแหละ
่ มันยังบอกเขาอยู่นนั ่ ว่าวิญญาณป๊ ะมันไม่ยอม ก็ป๊ะมันตายไปก่อนพวกโรงแรมเข้ามาตัง้ สองปี
130

แกจะไปรูไ้ ด้ไงจริงมัย... ๊ ถ้าอยากรูน้ ะนาย ลองไปดูหลุมศพหลังกระท่อมมันสิ นายอาจได้ยนิ เสียงป๊ ะของ


มันร้องไห้ทม่ี มีลูกชายโง่ไม่ผดิ เต่าทะเล--”
“เขาอาจมีเหตุผล”
“เหตุผลอะไรอีกเล่านาย” แหลมสวนขึน้ ทันควัน “มันโง่น่ะไม่ว่า บังมานมันคงคิดว่ายึกยักไปอีก
หน่อย ราคาจะได้สูงขึน้ ก็นายลองหันไปดูส ิ ทีข่ องมันอยู่กลางหาดเป๊ ะ งามออกปานนัน้ ยังไง ๆ พวก
โรงแรมต้องสูร้ าคาอยู่แล้ว แต่ปรากฏว่า...เฮอะ...” เขาตามด้วยเสียงหัวเราะประหลาด ๆ ฟั งเหมือนเสียง
สะอึก
“ขอเบียร์อกี ขวดเถอะ” ข้าพเจ้าว่า
ยิง่ ฟั งข้าพเจ้ายิง่ ฉงน ครึ่งหนึ่งข้าพเจ้าเชื่อตามที่แหลมว่า แต่อกี ครึ่งเกิดสังหรณ์ใจแปลก ๆ
แหลมเล่าให้ฟังต่อเป็ นฉาก ๆ ว่า หลังจากพวกนายหน้ากว้านซื้อทีด่ นิ จนหมดทัง้ เวิง้ อ่าวแล้ว ยังคาราคา
ซังอยู่แต่ทข่ี อง ซัลมาน จาเพาะว่าทีต่ รงนัน้ มีผลอย่างมากต่อโครงสร้างของโรงแรมเสียด้วย ข้าพเจ้าเอง
ยังนึกกลัวเหตุการณ์ซ่งึ ไม่ได้เกิดขึ้นเหมือนที่คนทัง้ หลายกลัวในตอนนัน้ ต่างคาดกันว่าซัลมานคงโดน
เก็บเพื่อให้ปัญหายุติ แต่โชคเป็ นของซัลมาน ด้วยเจ้าของโรงแรมเป็ นผูม้ อี ทิ ธิพล และจาเพาะว่าอิทธิพล
ที่ว่านัน้ เกี่ยวพัน แน่ นแฟ้ นกับ สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรคนหนึ่งของจังหวัด พวกเขาคงฉุ กคิด ได้ว่า
หากซัลมานกลายเป็ นศพไป นัน่ เท่ากับเปิ ดจุดอ่อนให้คู่แข่งขันของท่านผู้แทนโจมตี ได้ ดังนัน้ จึงเริม่
เปลีย่ นโครงสร้างของโรงแรมเสียใหม่ให้เป็ นรูปโค้งครึง่ วงกลมล้อมโลกของซัลมานไว้ ข้าพเจ้านึกนิยมใน
ความคิดนี้ นอกจากเป็ นวิธีแ ก้ปัญ หาที่ดีแล้ว ยังได้ต ัวโรงแรมซึ่งดูส วยแปลกตา ซ้าทัศ นียภาพหน้ า
โรงแรมที่ “ได้เปล่า” และโดยไม่มใี ครคาดคิดมาก่อนก็ทรงเสน่หอ์ ย่างไม่มใี ดเทียบ
ทุก อย่างช่างเข้าข้างเจ้าของโรงแรมเหมือ นมีใครแกล้ง รัฐอนุ มตั ิเงินตัดถนนเข้ามาทัน ทีท่ี
โรงแรมเริม่ เทเสา ธุรกิจบริการชวนกันมาบานสะพรังตลอดแนวฝั ่ ง่ ด้านนี้ หมู่บา้ นชาวประมงถูกถอนราก
ถอนโคนหมดสิ้นในช่วงระยะเวลาแค่ปีเดียว กลายเป็ นสิง่ หายากให้ นักท่องเที่ยวผู้นิยมธรรมชาติใฝ่ หา
บัดนี้ หกกิโลเมตรจากตัวเมือง ตามถนนเลีย บชายฝั ง่ ข้าพเจ้าเห็นแต่บงั กะโล รีสอร์ท บาร์เหล้า แหลม
บอกว่าสิบกิโลเมตรจากนี่ไปทางตะวันตกก็ไม่ต่างอันใดกัน ถึงตอนนี้ขา้ พเจ้าไม่แปลกใจเลยทีใ่ นเอกสาร
แนะนาของโรงแรม หรือในนิต ยสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยวคราวใดมีภาพของโรงแรมอันดามัน อินน์
ปรากฏ ก็ต้อ งมีส ัก ภาพหนึ่ งถ่ ายจากมุม ซึ่งคล้ายต้อ งการบอกคนอ่านว่า เพียงคุ ณ มาพักที่น่ี คุ ณ ก็
สามารถเห็นบ้านชาวประมงอันเงียบสงบน่าอยู่ โดยทีค่ ุณไม่จาเป็ นต้องกระดิกตัวออกจากห้องเลย...
ข้าพเจ้าไม่อ ยากเชื่อ แต่ข้าพเจ้ ารู้ว่าที่แหลมพูดนัน้ เป็ นความจริง เขาบอกว่าครึ่งหนึ่ งของ
นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะชาวต่างประเทศที่เลือกอันดามัน อินน์ ก็เพราะประทับใจเมื่อเห็นภาพโลกใบ
เล็กของซัลมาน...
บางเรื่องราวของซัลมานซึง่ แหลมเล่าสูข่ า้ พเจ้าฟั ง นาความรูส้ กึ ปวดร้าวมาให้อย่างไม่น่าจะเป็ น (ข้าพเจ้า
มักรับฟั งเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยการพยายามทาความเข้าใจ แต่ช่วยไม่ได้ หากบางครัง้ ข้าพเจ้าตกอยู่ใน
ความอ่อนไหวจนเกิดความรูส้ กึ เห็นใจขึน้ )
131

หลังลงพุ่มไม้เตี้ย ๆ เป็ นรัว้ แบ่งโลกใบเล็กของซัลมานออกจากโลกใบใหญ่อย่างชัดเจนแล้ว


ตามคาบอกเล่าของแหลม ชีวติ ของซัลมานก็ยงิ่ ตกต่าลง เขาเริม่ เปลี่ยนไปเป็ นคนละคน จากใจดีเยือก
เย็นกลายเป็ นคน
หงุดหงิดง่ายและไร้เหตุผล ดวงตาซึง่ เคยสงบอ่อนโยนก็กลายเป็ นขุ่นเคืองเกรีย้ วกราด โลกใบเล็กของซัล
มานซึ่งงดงามในภาพหรือจากสายตาที่มองผ่านไป ข้าพเจ้า เริม่ มองเห็นว่าแท้แล้วคือนรกอันร้อนเร่าซึ่ง
กาลังหลอมไหม้คนสีค่ นทีอ่ ยู่ขา้ งใน
แหลมเล่าว่าซัลมานออกทะเลต่อมาอีกสองปี สาหรับปูปลาที่หากินเพียงในครอบครัว เขาคง
พออยู่ไปได้ แต่เหตุท่ที าให้ซลั มานเลิกออกทะเลโดยเด็ดขาดก็เพราะว่า ทุกเช้าเมื่อเขากลับจากทะเล
นักท่องเทีย่ วชอบไปรอถ่ายรูปเขา โดยเฉพาะตอนเขาดับเครื่องแล้วหันมาจ้าพายเรือขึน้ เกยหาด ซัลมาน
ตัง้ ตัวเป็ นปฏิปักษ์ก ับทุก คน ยิง่ เฉพาะพวกไปจากโรงแรมแล้ว เขาแทบจะเคี้ยวกลืนเลยทีเดียว เขา
หงุดหงิดกับพวกถ่ายรูป และถูกจับไปนอนห้องขังอยู่บ่อย ๆ เนื่องจากไปทาร้ายร่างกายพวกนัน้ เข้า จน
ทีส่ ุดความหงุดหงิดนันเองที่ ท่ าให้เข้าจามเรือทิง้
“อ้าว...แล้วเรือสองลานัน...”่
“นายจะเอาเบียร์อีก ขวดไหม” พร้อ มค าถาม บาร์เทนเดอร์หนุ่ มเลื่อ นขวดเบียร์มาวางหน้ า
ข้าพเจ้า “ไอ้สองลาทีเ่ ห็นนัน่ เรือของโรงแรมทัง้ เพ... นายลองไปดูส ิ ไอ้ลาทีอ่ ยู่หน้ากระท่อมน่ะตะไคร่จบั
เสียเขียวอือ๋ เขาเอาไปผูกลอยไว้เฉย ๆ ดูสวยงามตาเท่านัน้ แหละ อย่างว่า... เกิดถ่ายรูปไปแล้วไม่มเี รือ
สักลา มันก็กะไรอยู่ จริงมัย... ๊ อย่างอีกลานัน่ ก็เหมือนกัน เพราะฝรังไปเห็
่ นเรือกอและสีสวย ๆ เลยถาม
ถึงอยู่เรื่อย นันสั
่ งท ่ าจากปั ตตานีโน่น เพิง่ ได้มาสักเดือนนี่แหละ” เขาหันไปจัดเครื่องดื่มให้ลูกค้าทีเ่ ข้ามา
ใหม่ ก่อนวกกลับมาหาข้าพเจ้าอีก “บังมานมันเคยยัวะจะจามเรือทีล่ อยอยู่หน้ากระท่อมมันเสียให้ได้ แต่
อย่างว่า... เรือนันลอยอยู
่ ่ในทะเล ไม่ใช่เขตทีม่ นั จะใหญ่ได้อกี มันเคยโดนจับเรื่องนี้ตงั ้ สองครัง้ แน่ะ”
ถึงอย่างไรแล้วซัลมานก็โดนตารวจจับอยู่เรื่อย โดยมากแล้วเกิดจากเขาไปชกปากนักท่องเทีย่ ว
ทีจ่ า้ งลูกชายหญิงของเขาถ่ายรูปด้วย ข้าพเจ้าเผลอลูปปากเมื่อนักขึน้ มาว่าตัวเองช่ างโชคดีเสียกระไรที่
ไม่ทาให้ ซัลมานโดนจับอีกในเช้าวันนัน้
คิดดูอกี ทีก็เป็ นเรื่องน่ าขันทีน่ ักท่องเที่ยวชวนกันไปยืนมองโลกของซัลมานเหมือนเป็ นอาหาร
น่าลิ้มลอง แต่ดว้ ยการกระทาซึ่งไม่มคี นผิดเช่นนี้แหละทีก่ ่อความพินาศแก่โลกของซัลมาน อย่างน้อยเรา
ก็เห็นอยู่ว่าการทีช่ าวประมงเช่นซัลมานไม่ได้ออกทะเลอีก นับเป็ นเรื่องร้ายแรงพอชวนให้ฉงนนอยู่แล้ว
แต่การทีต่ ่อมาซัลมานเกิดเปลี่ยนใจบอกขายทีด่ นิ ของตนไปนัน้ ยิง่ ทาให้ขา้ พเจ้าเชื่อว่าโลกของซัลมาน
ถูกรุกรานอย่างหนัก
จากคนทีย่ นื ยันอย่างเด็ดเดีย่ ว คนทีเ่ งินสิบล้านไม่สามารถละลายใจให้อ่อนตามได้อย่างซัลมาน
ไม่ว่าเขาจะแข็งขืนเพราะความรักในผืนแผ่นดิน วิญญาณพ่ อ ศรัทธาต่อองค์อลั เลาะห์ หรือเพราะวิธกี าร
ทางธุรกิจก็แล้วแต่ ถึงวันนี้จติ ใจอันแข็งแกร่งนัน้ ก็อ่อนยวบลงอย่างราบคาบ หลังฟั งเรื่องราวจากแหลม
จบลง ข้าพเจ้าพยายามคิดสรุป ข้าพเจ้ามองเห็นผูร้ ุกรานซัลมานแต่มองไม่เห็นว่าใครกระทาผิดกฎหมาย
ข้าพเจ้ายังเห็นอีกแง่หนึ่งว่าซัลมานไม่ได้สูญเสียเฉพาะเงินสิบล้าน ไม่ได้สูญเสียเฉพาะที่ดนิ ของตน แต่
132

เขากาลังสูญเสียครอบครัว เขาถูกบีบให้ยอมรับความพ่ายแพ้และนามาซึ่งการสูญเสียตัวเอง และนัน่ เอง


ทีท่ าให้เขาสูญเสียความเป็ นพ่อทีด่ ขี องลูก สูญเสียความเป็ นผัวทีด่ ขี องเมีย
“ยีส่ บิ บาทก็ไม่มใี ครซือ้ หรอกนาย...”
ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับแหลม แต่ชกั ไม่ชอบเสียงหัวเราะที่ไม่ รู้จกั เวล่าเวลาของเขาขึ้นมาตงิด ๆ
เขาเล่าให้ฟั งต่อ มาว่าหลังจากซัล มานบอกขายที่ของตนไปไม่นาน นายหน้ าค้าที่ดินคนหนึ่งก็เข้ามา
ติดต่อ และตกลงกันได้ในวงเงินแปดล้านบาท แต่หลังจากนัน้ นายหน้าก็พาหน้าหลบไปไม่ยอมโผล่หน้า
มาให้เห็นอีก
แหลมแจกแจงให้เห็นว่า จริง ๆ แล้วหากใครกล้าลงทุนในที่ของซัลมาน มีแต่กาไรเหนาะ ๆ
อย่างน้อยก็ร่วมสีห่ า้ ล้านบาท ในช่วงเวลาไม่ทนั ข้ามสองเดือนด้วยซ้า เขาออกความคิดให้ ฟังว่า หากเขา
ซื้อ ที่ดินตรงนัน้ มาเขาจะสร้างอาคารสูง ๆ ขึ้นบังทิว ทัศน์ ท างทะเลของโรงแรมไว้ เพียงแค่ น้ีเจ้าของ
โรงแรมก็ต้องแจ้นมาพูดจาทางธุรกิจด้วย คราวนี้เขาจะหักกาไรเอาทัง้ จากที่ ดนิ และสิง่ ก่อสร้างนัน่ เลย
ทีเดียว
แต่ ก็ไม่ มีใครกล้า... เหมือ นกับ ที่น ายหน้ าคนนัน้ วิ่งกลับ ไม่ ย อมเหลีย วหลัง แหลมบอกว่ า
อิทธิพลของเจ้าของโรงแรมทีม่ มี าแต่เดิมและเติบโตขึน้ นัน้ ไม่มใี ครหาญกล้าเข้าไปแตะเนื้อข้างจมูกของ
เขาหรอก แม้กลุ่มคู่แข่งขันของท่านผูแ้ ทน (ซึ่งแน่นแฟ้ นกับเจ้าของโรงแรม) จะยังมิได้สลายไป ทว่าก็ไม่
อาจยื่นมือเข้ามายุ่มย่ามในงานนี้ได้ เมื่อรู้กนั ทัวว่่ าหุ้นส้วนของอันดามัน อินน์ เป็ นนายทหารใหญ่แห่ง
กองทัพทีอ่ านาจบานสพรังอยู ่ ่ในปั จจุบนั ซัลมานจึงมีแต่จะถูกปล่อยให้ตายไปอย่างเงียบ ๆ อย่างช้าใจ
“นายเห็นหรือยังล่ะ... ว่ามันโง่ทส่ี ุดในศตวรรษ” เขาหัวเราะคล้ายกับกาลังเล่าเรื่องตลก
แหลมบอกอีกว่ายังมีอกี คนหนึ่งทีก่ ล้าเสนอราคาให้ซลั มาน ซึ่งข้าพเจ้าดูแล้วช่างเป็ นราคาทีต่ ่า
จนน่าใจหาย คนคนนัน้ ใช่อ่นื ไกล หากแต่คอื เจ้าของโรงแรมนันเอง ่ ถึงตอนนี้เขาไม่มคี วามจาเป็ นใด ๆ ที่
ต้องได้ท่ดี ินผืนนัน้ มาไว้ในครอบครองอีกแล้ว เขาเพียงเสนอเงินให้เปล่ากับซัลมานเดือนละสี่พนั บาท
ให้ซลั มานอออกเรือตามปกติ เขาไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับปลาซึ่งซัลมานจะหามาได้สกั ตัว เพียงแต่เขาอยาก
เห็นซัล มานเป็ นชาวประมง จริง ๆ นัน่ รวมไปถึงว่า ซัล มานจะต้อ งไม่ห งุด หงิดเมื่อ นัก ท่อ งเที่ยวขอ
ถ่ายรูปด้วย หรือหากเขาฉลาดพอ ยอมให้นกั ท่องเทีย่ วนังเรื ่ อเล่นบ้าง เขาก็อาจได้โบนัสพิเศษก้อนงาม
“บางทีแกอาจได้ทิปจากพวกขอถ่ายรูปนัน่ นะ เถ้าแก่พูดให้มนั เห็นแบบนัน้ แหละ...” แหลม
เลียนเสียงเจ้าของโรงแรมขณะเล่า “อย่างแกให้พวกนัน้ นัง่ เรือเล่น ใครจะใจจืดใจดาไม่ออกค่าน้ ามันให้
แก ยังมีค่าทิปอีกเล่า...” “ไม่ทนั เถ้าแก่จะว่าอะไรต่อ มันจวกโครมเข้าปากครึ่งจมูกครึ่ง แถมยังโง่ ถ่ม
น้าลายรดหน้าเถ้าแก่เสียอีกแน่ะ”
ข้าพเจ้านึกไม่ออกว่าหากตัวเองตกอยู่ในภาวะเช่นนัน้ บ้าง จะเลือกเอาอย่างไหน บางทีซลั มาน
ก็แข็งเกินไป ทัง้ ๆ ที่ไม่ได้ช่ว ยให้อ ะไรดีข้นึ ข้าพเจ้าพอเข้าใจและนึกสงสารเมียของเขา หล่อ นเป็ น
ผูห้ ญิงจะทนต่อหน่วยตาดา ๆ บอกแววหิวโหยของลูกได้อย่างไร ซัลมานไม่ได้ออกทะเลอีก และเขารู้ดี
ว่าเงินใช้จ่ายในครอบครัวทุกวันนัน้ ได้มาจากไหน นัน่ เองที่เป็ นเหตุให้หล่อ นโดนทุบตีอยู่เป็ นประจา
บางครัง้ ก็พาลมาถึงลูก
เขาว่าหล่อนไม่รกั ศักดิ ์ศรี...
133

เปล่าหรอก... นะซาอี-เมียของเขาทรุดโทรมและผิวหยาบเกินกว่าจะเดินเหินเข้าห้องโน้นออก
ห้องนี้ในอันดามัน อินน์ได้ แต่หล่อนได้เงินอย่างลับ ๆ จากเจ้าของโรงแรมเดือนละสองพันบาท แลกกับ
ข้อเสนอ เล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นว่าให้หล่อนหูงต้มด้วยไม้ฟืนในตอนเช้ามืด เพือ่ ให้ควันไฟลอยกรุ่นเหนือ
หลังคากระท่อม
ดูสวยงามตา หรือไม่ก็ให้นุ่งผ้าปาเต๊ ะแต่งตัวแบบชาวเล บางครัง้ หากปลอดตาซัลมาน เป็ นไรไปหาก
หล่อนยอมให้นักท่องเที่ยวถ่ายรูปได้บา้ ง โดยเฉพาะอย่างหลังนี่เองทีท่ าให้หล่อนพอมีรายได้พเิ ศษ ซื้อ
ขนมให้ลูกได้กนิ บ้าง แต่กเ็ สีย่ งกับการโดนทุบตีอย่างมาก
“เอาเบียร์อกี นะนาย”
“ขอรีเจนซีหน่อยดีกว่า”
บาร์เทนเดอร์หนุ่ มยิ้มให้เหมือนแปลกใจ ข้าพเจ้ารู้สกึ วันนี้อากาศอบอ้าวผิดปกติ ถึงกระนัน้
เสียงร้องหนัก ๆ ของร็อคเกอร์หนุ่ มอย่างแจ็คสัน บราวน์ กบั เพลง ‘เวิรล์ ด์ อิน โมชัน’ จากอีกฟากของ
บาร์ยงั แผดมาให้ได้ยนิ
ข้าพเจ้ามองผ่ านชุด ว่ายน้ ายัว้ เยี้ย ทัง้ ในสระและขอบสระ ตรงไปยังพุ่ม รัว้ เตี้ย ๆ ข้างหน้ า
เพ่งมองเด็กชายหญิงซึ่งกาลังเกาะพุ่มไม้จ้องมองความเคลื่อ นไหวในลานหน้าโรงแรมอยู่ แต่เพียงครู่
เดียวที่ขา้ พเจ้าเห็นผู้หญิงคนหนึ่งก็วงิ่ กระหืดกระหอบมาจากกระท่อม ลากเด็กทัง้ สองกลับไปอย่างลน
ลาน
“มันคิดว่าตัวเองฉลาด” บาร์เทนเดอร์ค่สู นทนาเลื่อนแก้วให้ขา้ พเจ้า “แต่ในทีส่ ุดเห็นไหมว่าเป็ น
อย่างไร... นายอาจยิม้ เยาะผม ใช่...ผมขายทีไ่ ปแล้วผมอาจโง่ทผ่ี ลาญเงินจนหมด ต้องกลับมาเป็ นลูกจ้าง
ของทีน่ ่ีอกี แต่เห็นมัยว่
๊ าอย่างน้อยผมก็มกี นิ มีความสุขดี สนุกดีดว้ ย ผมยังได้แต่งชุดสวย ๆ อย่างนี้ แต่
บังมานมันมีอะไรบ้างล่ะ... เฮอะ มันก็รู้อยู่เต็มอกว่ามันพลาด ศักดิ ์ศรีท่มี นั ใช้ด่าเมียน่ ะกินไม่ได้หรอก
มันก็ลูกจ้างโรงแรมเหมือนกันล่ะว้า
“โลกมันต่างกันเหลือเกินนะ...” ข้าพเจ้าพึมพาหลังถอนแก้วออกจากปาก สายตายังจับอยู่ทโ่ี ลก
ใบเล็กของซัลมาน
“นายว่าไรนะ”
“เปล่า” ข้าพเจ้าหันกลับมายิม้ ให้เขา “แกดูเก๋มากกับไอ้ชุดทักซิโดนัน”

เขายิ้มรับขณะก้มลงสารวจตัวเอง ข้าพเจ้าไม่บอกเขาหรอกว่าเมื่อครู่นัน้ ข้าพเจ้าได้คดิ ไปถึง
โลกใบเล็กของซัลมาน และโลกใบใหญ่ทน่ี งดื ั ่ ่มเหล้าอยู่น้วี ่าอย่างไรบ้าง
แทนทีจ่ ะข้ามไปเกาะพีพตี ามกาหนดเดิมในเช้าวันรุ่งขึน้ ข้าพเจ้าใช้เวลาอยู่ทอ่ี นั ดามัน อินน์อกี
วันหนึ่ง ตลอดทัง้ วันข้าพเจ้าได้แต่เลียบ ๆ เคียง ๆ โลกใบเล็กของซัลมาน บ้างก็นอนบนหาดทรายจ้องดู
ความเคลื่อนไหว ในโลกใบนัน้ เหมือนไม่มอี ะไรทา
(สมองข้าพเจ้าทางานหนักขณะเฝ้ ามองโลกของซัลมาน คิดถึงแต่แต่ขอ้ เสนอแนะของเพือ่ นคน
หนึ่งที่บอกว่า ในห้วงเวลาห้าสิบปี ต่อไปข้างหน้านี้ เนื้อหาวรรณกรรมจะต้องหันมาให้ความสาคัญ กับ
เรื่องอนุ รกั ษ์ธรรมชาติ เพราะนี่เป็ นกระแสซึ่งได้รบั การป่ าวร้อ งและขานรับอึงอลไปทัวโลก ่ และนี่ค ือ
โอกาสที่ขา้ พเจ้าควรรีบฉกฉวย ข้าพเจ้าได้ครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลาในช่วงหกเดือนมานี้ว่าจะหยิบแง่มมุม
134

ไหนมาเขียนเป็ นนวนิยายสักเรื่อง เมื่อมาเจอโลกใบเล็กของซัลมานเข้า ข้าพเจ้าคล้ายจะได้กลิน่ อาหาร


ในจานทีค่ ดิ ถึงมานาน แต่กเ็ ป็ นเพียงกลิน่ ...
ด้วยข้าพเจ้าไม่แน่ชดั ในสาเหตุท่ที าให้ซลั มานหวงแหนผืนดินของตนยิง่ กว่าอะไรหมด-- เพราะพ่อ องค์
พระ อัลเลาะห์ หรือเพราะความโง่เขลาทางธุรกิจ... ข้าพเจ้ามองเห็นเพียงบางสิง่ บางอย่างที่รุกราน
โลกใบเล็กใบนี้
แม้จะเป็ นการรุก รานอย่างเหี้ยมเกรียมและเลือ ดเย็น แต่มนั ก็เป็ นได้เพียงซับพล็อ ตในนวนิยายหาก
ข้าพเจ้าคิดจะเขียน ข้าพเจ้าลองให้ซัลมานเป็ นนักอนุ รกั ษ์ธรรมชาติค นหนึ่ง ทว่าหลังจากเรียบเรียง
เรื่องราวในความคิดดูแล้ว มันก็เป็ นเพียงการทดลองอันโง่เขลา... ข้าพเจ้าพยายามมองโลกใบเล็กของซัล
มานด้วยความเข้าใจ ใช้ทงั ้ สายตาและความคิดเข้าไปวนเวียนอยู่ในโลกใบนี้ แต่กไ็ ม่มพี ลังมากมายพอจะ
เก็บเกีย่ วสิง่ ใดออกมาได้)
ช่วงเวลาหน้ าร้อ นของข้าพเจ้าได้หมดลง บัดนี้ ข้าพเจ้าได้แต่พ ลิกดูภ าพในเอกสารแนะน า
โรงแรม อันดามัน อินน์ โลกใบเล็กของซัลมานยังดูสวยงามทรงเสน่ ห์อยู่เสมอ แต่ข้าพเจ้าก็ไม่ลืมจะ
หยิบอีกภาพหนึ่งมาเทียบด้วยทุกครัง้ ภาพนัน้ เกิดจากฝีมอื ตากล้องธรรมดา ๆ ของข้าพเจ้าเอง แต่มนั ก็
มากมายเกินพอทีจ่ ะเก็บความรูส้ กึ ของภาพไว้
ข้าพเจ้ายินดีจ่ายไปห้าร้อยบาท สาหรับของที่ระลึกจากอันดามัน อินน์และโลกใบเล็กของซัล
มาน ซึ่งเป็ นเพียงภาพผู้หญิงคนหนึ่งกับลูกสองคนของหล่อน ในรอยยิ้มที่ฝืดฝื นและแห้งแล้งเสียเต็ม
ประดา

2.1 การสารวจข้อมูลในเบือ้ งต้น


เมื่อ อ่านเรื่อ งสัน้ เรื่อ งนี้ จบลงจะพบว่าเรื่อ งสัน้ เรื่อ งนี้ ค วามโดดเด่น ในแง่ก ารเสนอปั ญ หาที่
ซับซ้อนและไม่ได้ให้คาตอบทีแ่ น่นอน หรือกล่าวในอีกแง่หนึ่งคือเป็ นวรรณกรรมทีม่ คี ุณค่าทางปั ญญา ใน
แง่ท่ีพยายามกระตุ้นให้ผู้อ่านคิดค้นหาคาตอบด้วยตัวเองมากกว่าจะกาหนดคาตอบสาเร็จรูปไว้แต่ต้น
เรื่องสัน้ เรื่องนี้จึงอาจจะเหมาะกับการวิจารณ์ แนวนววิจารณ์ อย่างไรก็ต ามในอีกทางหนึ่งก็เห็ นได้ว่า
เนื้อหาของเรื่องนัน้ เป็ นประเด็นทางสังคม เช่น การวิพากษ์วจิ ารณ์ทุนนิยม การกดขีท่ างชนชัน้ การกดขี่
ทางเพศ อานาจทางการเมือง เป็ นต้น ดังนัน้ ผู้วจิ ารณ์ ก็อาจใช้การวิจารณ์ แนวมาร์กซิสม์เป็ นแนวคิด
ประกอบอีกส่วนหนึ่ง

2.2 การวางโครงร่าง

การวางโครงร่างในการเขียนในแง่หนึ่งก็คอื การวางแผนในการอธิบายประเด็นหลัก หรือในอีก


แง่หนึ่งคือการพิจารณาว่าเราจะอธิบายประเด็นหลักอย่างไรหรือด้วยประเด็นย่อยประเด็นใดบ้าง เช่นใน
การวิจารณ์ “โลกใบเล็กของซัลมาน” ข้างต้น หากประเด็นเป้ าหมายของผูว้ จิ ารณ์คอื การอธิบายถึงคุณค่า
ทางปั ญ ญาของ ตัวบทในแง่การเสนอปั ญ หาที่ซับซ้อน ก็ต้องพิจารณาว่าเพื่อจะแสดงให้เห็นจริงใน
ประเด็นนี้ ผูว้ จิ ารณ์จะพูดถึงประเด็นย่อย ๆ อะไรบ้าง อาทิ เมื่อผูว้ จิ ารณ์มุ่งจะกล่าวถึงการแสดงแนวคิด
135

เกี่ยวกับปั ญหาของตัวบท ก็อาจวางโครงร่างส่วนเนื้อหาว่ากล่าวถึงมู ลเหตุของปั ญหาในประเด็นใดบ้าง


ส่วนองค์ประกอบอื่นอาทิส่วนนาและส่วนสรุปอาจใช้หลักการทัวไปในการเขี
่ ยนบทวิจารณ์ เช่นการเขียน
ส่วนนาจะต้องประกอบด้วยการให้ขอ้ มูลในเบื้องต้นและจุดเด่นของตัวบท ส่วนการเขียนส่วนสรุปอาจใช้
วิธกี ารประเมินค่าในภาพรวม เป็ นต้น ดังนัน้ โครงร่างสาหรับการวิจารณ์เรื่องสัน้ เรื่องนี้จงึ อาจเขียนได้
ดังนี้

2.2.1 ส่วนนา
1. ข้อมูลเบือ้ งต้นเกีย่ วกับ “โลกใบเล็กของซัลมาน”
2. ข้อมูลเกีย่ วกับเนื้อเรื่อง
3. จุดเด่นของเรื่อง

2.2.2 ส่วนเนื้ อหา


1. ซัลมานกับทีม่ าของพฤติกรรม
2. มูลเหตุของปั ญหา
3. การบริโภคเชิงคุณค่า
4. ผูเ้ ล่าเรื่องและกระบวนการสร้างงานประพันธ์

2.2.3 ส่วนสรุป
1. คุณค่าทางความคิด
2. คุณค่าทางศิลปะ

2.3 การเขียนบทวิ จารณ์

2.3.1 ส่วนนา

2.3.1.1 ข้อมูลเบือ้ งต้นเกี่ยวกับ “โลกใบเล็กของซัลมาน”


เรื่องสัน้ เรื่อง “โลกใบเล็กของซัลมาน” เป็ นงานประพันธ์ของกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ตีพมิ พ์รวม
เล่มในรวมเรื่องสัน้ ชุด สะพานขาด เมื่อปี พ.ศ. 2534 เรื่องสัน้ เรื่องนี้แม้จะเป็ นผลงานในช่วงต้น ๆ ของ
กนกพงศ์แต่กน็ บั เป็ นผลงานโดดเด่นทีส่ ร้างชื่อ ดังเห็นได้ว่าส่วนใหญ่เมื่อกล่าวถึงประวัตแิ ละผลงานของ
กนกพงศ์ เรื่องสัน้ เรื่อ งนี้มกั ถูก กล่ าวถึงเสมอ ในฐานะเรื่องสัน้ รางวัลช่อ การะเกดหนึ่งในสองเรื่องคือ
“สะพานขาด” ซึ่งได้รบั รางวัลเมื่อปี พ.ศ. 2532 และ “โลกใบเล็กของซัลมาน” ได้รบั รางวัลเมื่อปี พ.ศ. 2533
ตามลาดับ (สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์, 2547 : 336)
136

2.3.1.2 ข้อมูลเกี่ยวกับเนื้ อเรื่อง


“โลกใบเล็กของซัลมาน” เล่าถึงเรื่องราวของชาวประมงคนหนึ่งทีช่ ่อื ซัลมานและครอบครัวของ
เขา โดยเล่าผ่าน “ข้าพเจ้า” ตัวละครผู้เล่าเรื่อง ซึ่งเป็ นนักเขียน ปั ญ หาสาคัญ ของซัลมานก่อตัวขึ้นใน
บริบทการขยายตัวของธุรกิจบริการการท่องเที่ยว เมื่อที่ดินแถบหมู่บ้านริมชายทะเลถูกกว้านซื้อจาก
นายทุนเพื่อสร้างโรงแรมและบ้านพักตากอากาศ ชาวบ้านคนอื่นต่างค่อยทยอยขายที่ทางไปจนหมด
เหลือแต่บา้ นของซัลมานเพียงแห่งเดียว เหตุการณ์ผกผันเกิดขึน้ ในช่วงต่อมาเมื่อโรงแรมอันดามัน อินน์
ถูกสร้างขึ้น แต่การณ์ กลับกลายเป็ นว่าแทนที่จะเป็ นอุปสรรคทางธุรกิจ กระท่อมในดงมะพร้าวของซัล
มานซึ่งอยู่ในพื้นที่ด้านหน้าของโรงแรมได้กลายเป็ นจุดสนใจของนักท่องเที่ยว แขกส่วนใหญ่ของอันดา
มัน อินน์เลือกมาพักทีน่ ่ีเพราะต้องการจะสัมผัสกับบ้านและครอบครัวของซัลมานในฐานะตัวแทนของวิถี
ชีวติ ชาวประมงพื้นบ้าน มาถึงตอนนี้ทางโรงแรมก็ไม่จาเป็ นต้องซื้อที่ของซัลมานอีก ที่ซ่งึ เคยมีราคาสูง
ถึงสิบล้านจึงกลับกลายเป็ นไม่มรี าคา
ครอบครัว ของซัล มานจึงเหมือ นกับ ประสบกับ ภาวะของปั ญ หาที่ไร้ท างออก หน าซ้ายิ่งทวี
ความบีบคัน้ ขึน้ ตามลาดับในช่วงต่อมาเมื่อซัลมานไม่สามารถออกหาปลาเหมือนอย่างเดิมได้ เพราะมัก
หงุดหงิดกับนักท่องเที่ยวที่มกั มาขอถ่ายรูปยามเขาพายเรือ ขึ้นฝั ง่ หลังกลับจากหาปลา และบางครัง้ ก็
ลุกลามกลายเป็ นความโมโหถึงขัน้ ทาร้ายนักท่องเที่ยวจนถูกจับเข้าห้องขังหลายครัง้ รายได้ทางเดียวทีม่ ี
อยู่คอื การทีภ่ รรยาของเขารับเงินลับ ๆ จากทางโรงแรมที่ขอให้จดั ฉากวิถชี วี ติ ชาวประมงพื้นบ้าน อาทิ
ให้หุงหาอาหารด้วยไม้ฟืนในตอนเช้ามืดเพื่อนักท่องเทีย่ วจะได้เห็นฉากทีส่ วยงามขณะควั นไฟลอยกรุ่น
ขึ้นเหนือกระท่อ ม ให้เธอนุ่ งผ้าปาเต๊ะแต่งตัวแบบชาวเล รวมทัง้ อาจยอมให้นักท่องเที่ยวถ่ ายรูปยาม
ปลอดจากสายตาของซัลมาน ความบีบคัน้ ส่งผลให้ซลั มานแปรเปลีย่ นไปอย่างกับเป็ นอีกคน ซัลมานตัง้
ตนเป็ นปฏิปักษ์กบั โรงแรม เขากลายเป็ นคนโมโหร้าย ทุบตีลูกเมีย และอาละวาดทุกครัง้ ทีม่ นี กั ท่องเทีย่ ว
มาขอถ่ายรูปบ้านของเขาและคนในครอบครัว

2.3.1.3 จุดเด่นของเรื่อง
เรื่องสัน้ เรื่องนี้ความโดดเด่นในแง่การเสนอปั ญหาทีซ่ บั ซ้อนและไม่ได้ให้คาตอบทีแ่ น่นอน หรือ
กล่าวในอีกแง่หนึ่งคือเป็ นวรรณกรรมทีพ่ ยายามกระตุ้นให้ผอู้ ่านคิดค้นหาคาตอบด้วยตัวเองมากกว่าจะ
กาหนดคาตอบสาเร็จรูปไว้แต่ตน้
2.3.2 ส่วนเนื้ อหา

2.3.2.1 ซัลมานกับที่มาของพฤติ กรรม


ในประเด็นสาเหตุของการไม่ยอมขายทีข่ องซัลมานผูอ้ ่านจะได้รบั ทราบข้อมูลผ่านผูเ้ ล่าเรื่องซึ่ง
ได้รบั ข้อมูลจากคาบอกเล่าของตัวละครอื่นอีกต่อหนึ่ง ว่าทีซ่ ลั มานไม่ยอมขายทีน่ นั ้ อาจเป็ นไปทัง้ เหตุผล
ทางธุรกิจทีเ่ ขาต้องการดึงราคาให้สงู ขึน้ หรือไม่กอ็ าจเป็ นเพราะความรักในผืนแผ่นดินเกิด
137

อย่างไรก็ตามตัวบทดูเหมือนจะให้ขอ้ มูลอื่น ๆ แก่ผอู้ ่านในระดับหนึ่งทีพ่ อจะเห็นได้ว่าพยายาม


จะ ชักจูงผูอ้ ่านให้มคี วามโน้มเอียงทีจ่ ะเชื่อว่า ซัลมานไม่ขายทีเ่ พราะความรักในผืนแผ่นดินเกิดตามคา
สอนของพ่อ ทัง้ นี้กเ็ พราะว่าหากพิจารณาในแง่การสร้างความงามแก่ตวั ละคร ตามแนวคิดทีว่ ่า ความงาม
ของตัวละครนัน้ มีความเชื่อมโยงอยู่กบั ความหมาย หรือกล่าวโดยสรุปคือตัวละครทีต่ วั บทสร้างให้มคี วาม
งดงามหรือน่าประทับใจคือตัวละครทีต่ วั บทสร้างให้มคี วามชอบธรรม และความหมายทีอ่ ยู่ทต่ี วั ละครตัว
นัน้ คือความถูกต้อง ในประเด็นนี้เห็นได้ว่าตัวบทสร้างซัลมานให้เป็ นตัวละครที่มคี วามงาม หรือสร้างให้
เป็ นตัวละครที่ผอู้ ่านมีความรูส้ กึ ในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ ดังเห็นได้ว่าภาษาที่ตวั บทใช้ในการบรรยาย
ถึงซัลมานล้วนเป็ นคาทีม่ ศี กั ดิ ์คาสูงก่อให้เกิดจินตภาพทีง่ ดงามและสร้างความรูส้ กึ เชิงบวก ดังเช่นในเนื้อ
เรื่องตอนหนึ่งบรรยายถึงใบหน้าและแววตาของ ซัลมานผ่านมุมมองของผูเ้ ล่าเรื่องว่า “ใบหน้าเรียวยาว
คมเข้มนัน้ ประดับด้วยดวงตาดาขลับแลเห็นกองไฟเริงโรจน์ อยู่ภายใน” (กนกพงศ์ สงสมพันธ์, 2547 :
340) ในเบื้องต้นเห็นได้ว่า ผูแ้ ต่งสร้างซัลมานให้เป็ นคนทีไ่ ม่ได้มหี น้าตาอัปลักษณ์ ในแง่การเลือกใช้คา
ก็เลือกเฟ้ นคาทีเ่ น้นความงาม ดังเช่นเมื่อบรรยายถึงดวงตาแทนทีจ่ ะใช้คาพืน้ ๆ ทัวไปว่ ่ าเขามีดวงตาดา
ขลับ ก็เลือกใช้คาว่า “ประดับ” ซึ่งโดยนัยยะแล้วสิง่ ที่จะเป็ นเครื่องประดับสิง่ อื่นได้ก็ต้องมีความหมาย
เช่นเดียวกับเครื่องประดับทัวไปที ่ เ่ รารูจ้ กั เช่น สร้อยคอ ต่างหู แหวน เป็ นต้น นัน่ คือเป็ นสิง่ ทีม่ คี ่าและมี
ความงดงาม เมื่อบรรยายถึงความทุกข์หรือความโกรธที่ปรากฏออกมาทางสายตา แทนทีจ่ ะเลือกใช้คา
ว่า ดวงตาดุดนั ด้วยความโกรธเกลียดหรือดวงตาเขาลุกโพลงด้วยไฟของความโกรธแค้น ก็เลือกใช้คาว่ า
“แลเห็นกองไฟเริงโรจน์อยู่ภายใน” ซึ่งเห็นได้ว่าแม้จะบรรยายถึงความโกรธและความทุกข์กเ็ ลือกใช้คาที่
มีศกั ดิ ์คาสูง มีความประสานของเสียงและความหมายก่อให้เกิดความงามคล้ายถ้อยคาในบทกวี กล่าวคือ
คาว่า “เริงโรจน์ ” นัน้ มีเสียง /r/ ซึ่งเป็ นเสียงรัวให้ความรู้สกึ ในทางเคลื่อนไหวแล้ว ยังสอดรับกันอย่างดี
กับความหมายของคาทีน่ ่าจะแปลว่ากองไฟนัน้ สว่างสุกใสและแสดงอาการเคลื่อนไหวราวกับมีความสุข
(แต่ยงิ่ แสดงความทุกข์และความโกรธของบุคคล) นอกจากนี้การประดิษฐ์คาเช่นนี้กม็ กั ไม่ใช้ในบริบทของ
การสือ่ สารทัวไปนอกจากในที
่ ซ่ ง่ึ ต้องการให้เกิดความงามทางภาษามากเป็ นพิเศษ
การบรรยายถึงซัลมานมีลกั ษณะตรงกันข้ามกับตัวละครอีกตัวก็คอื แหลม บาร์เทนเดอร์ของ
โรงแรมซึ่งเป็ นผูใ้ ห้ขอ้ มูลเกี่ยวกับซัลมานแก่ผเู้ ล่าเรื่อง และเป็ นตัวละครคู่ตรงกันข้ามกับซัลมาน เพราะ
ครอบครัวของแหลมขายทีด่ นิ จนหมด และเมื่อเขาผลาญเงินจนไม่มอี ะไรเหลือ ก็หวนกลับมาเป็ นลูกจ้าง
ของโรงแรมอย่างไร้ศกั ดิ ์ศรี (กนกพงศ์ สงสมพันธ์, 2547 : 349) ความรูส้ กึ ของผูอ้ ่านทีม่ ตี ่อตัวละครตัวนี้
จะเป็ นไปในทางลบ ทัง้ นี้ เพราะถู ก ก ากับ โดยความรู้ส ึกในทางลบของผู้เล่ าเรื่อ ง ดังเช่นในตอนหนึ่ ง
บรรยายถึงแหลมว่ า “แหลมหัว เราะแห้ง แล้ง ” (กนกพงศ์ สงสมพัน ธ์ , 2547 : 342) แหลมหัว เราะ
ประหลาดคล้ายเสียงสะอึก (กนกพงศ์ สงสมพันธ์, 2547 : 344) แหลมหัวเราะไม่รจู้ กั เวลา (กนก
พงศ์ สงสมพันธ์, 2547 : 347) และมีน้ าเสียงดูถูกในบางกรณี เช่นในตอนหนึ่งเมื่อแหลมอวดว่าเขายัง
ดีกว่าซัลมานทีแ่ ม้เขาขายทีด่ นิ และผลาญเงินจนหมด แต่สุดท้ายเมื่อหวนกลับมาเป็ นรูปจ้างของโรงแรม
เขาก็ยงั มีกนิ มีความสุข และยังได้แต่งชุดสวย ๆ ขณะทีผ่ ู้แข็งขืนอย่างซัลมานไม่เหลืออะไรเลย เมื่อตัว
ละครผูเ้ ล่าเรื่องนึกเปรียบเทียบแล้วพึมพาว่า “โลกมันต่างกันเหลือเกินนะ” แหลมถามซ้าเพราะไม่ได้ยนิ
เขาจึงกล่าวกับแหลมว่าเปล่าหรอกไม่มอี ะไร พร้อมชมว่า “แกดูเก๋มากกับไอ้ชุดทักซิโดนัน่ ” (กนกพงศ์
138

สงสมพันธ์, 2547 : 349) ดังนัน้ ข้อมูลเกีย่ วกับซัลมานทีเ่ ล่าผ่านแหลมว่า ซัลมานขายทีเ่ พราะเหตุผลทาง


ธุรกิจจึงมีน้ าหนักของความน่ าเชื่อถือลดลง ในทางกลับกันผู้อ่านก็มแี นวโน้มจะเชื่อในทางตรงกันข้าม
มากกว่าว่าซัลมานไม่ยอมขายทีเ่ พราะความหวงแหนในผืนแผ่นดินเกิด
ส่วนการทุบตีลูกเมียตัวบทแสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมนี้เป็ นผลมาจากการตกอยู่ในภาวะของ
ความขัดแย้งอย่างไม่มที างเลือก และแรงบีบคัน้ ของอานาจทีเ่ ขาเองไม่อาจต่อสูด้ ้นิ รนขัดขืน มากกว่าจะ
มาจากนิสยั สันดาน ดังเห็นได้ว่าแม้แต่แหลมซึ่งแสดงท่าทีว่าไม่ได้ชอบหน้าซัลมานนักก็ให้การรับรองใน
ข้อนี้ ว่าเดิมทีนัน้ “ซัลมานเป็ นคนดีท่ีน่าคบหา” และ “รักลูกรักเมียเสียยิง่ กว่าใคร” (กนกพงศ์ สงสม
พันธ์, 2547 : 342)

2.3.2.2 มูลเหตุของปัญหา
เมื่อมูลเหตุ ของปั ญหาไม่ได้มที ่มี าจากผู้ถูกกระทา ก็เท่ากับว่าตัวบทได้ช ักชวนให้ผู้อ่านมอง
ปั ญหาไปทีอ่ ่นื โดยเฉพาะกลุ่มผูก้ ระทา หากตัง้ คาถามว่าใครคือผูก้ ระทาหรือเป็ นผูร้ ุกรานโลกของซันมาน
จาเลยที่หนึ่งก็ย่อมจะเป็ น ผู้ดาเนินการทางธุรกิจอย่างเจ้าของโรงแรม จาเลยที่สองคือ นักการเมืองซึ่ง
ร่วมมือกับเจ้าของโรงแรมในการกาจัดคู่แข่งทางธุรกิจ ซึ่งมีส่วนอย่างสาคัญในการกักขังซัลมานไว้กบั
ปั ญหาในตอนทีเ่ ขาเปลีย่ นใจยอมแก้ปัญหาด้วยการขายที่ ส่วนจาเลยทีส่ ามก็คอื บรรดานักท่องเทีย่ วผูช้ ่นื
ชมโลกของซัลมาน รวมความแล้ว เห็นได้ว่าปั ญ หาของซัลมานมีท่ีมาจากสามส่วนคือ ระบบทุนนิยม
อิทธิพลทางการเมือง และการบริโภคเชิงคุณค่า

2.3.2.3 การบริ โภคเชิ งคุณค่า


ในจานวนมูลเหตุทงั ้ สามด้านข้างต้นนัน้ มูลเหตุประการสุดท้ายนั ้นดูจะเป็ นประเด็นที่เป็ นจุด
วิพ ากษ์ของเรื่อง ความน่ ากลัวของระบบทุนนิยมอาจจะไม่ได้อยู่ท่กี ารแสวงหากาไรและการแสวงหา
ผลประโยชน์ ร่วมกับการเมืองซึ่งเป็ นประเด็นทีเ่ ห็นได้ชดั เจนเท่านัน้ สิง่ ทีน่ ่ากลัวทีส่ ุด ก็คอื ความสามารถ
ในการแปรการเสพการบริโภคให้กลายเป็ นเรื่องของคุณค่า หรือขายความสานึกเรื่องคุณค่าอย่างปลอม

ตัวบทเน้นประเด็นนี้หลายครัง้ ธุรกิจการท่องเที่ยวริมทะเลตามที่ปรากฏในเรื่องล้วนสร้างจุด
ขายด้วยการตอบสนองต่อความชื่มชมในคุณค่าและความสวยงามของธรรมชาติแก่นักท่องเทีย่ ว แต่ตวั
บทก็ได้แสดงให้เห็นว่า การตอบสนองความต้องการเหล่านี้เป็ นเพียงการขายความสานึกในเรื่องคุณค่า
และเป็ นกิจกรรม การบริโภคอย่างหนึ่งไม่ต่างจากการบริการอื่น ๆของธุรกิจท่องเที่ยว ดังความที่
บรรยายถึงความคิดของผูเ้ ล่าเรื่องว่า

(ข้าพเจ้าเป็ นนักเขียน จาเป็ นอย่างยิง่ ทีจ่ ะต้องมองโลกอย่างเข้าใจ ข้าพเจ้าพบว่าในเมื่อ


ธุรกิจซื้อขายที่ดนิ ชายทะเลเข้มข้นถึงขนาดเลือดท่วมหาดทราย นัน่ ก็หมายถึงว่าไม่มสี งิ่ ใด
ต้องคานึงถึงอีก ข้าพเจ้าย่อมเลิกหวังถึงความสวยงามใด ๆ จากชายฝั ง่ ทะเลซึ่งเป็ นเรื่อง
เหลวไหล สิง่ ที่ข้าพเจ้าควรทาก็คอื ร่วมสนุ กไปกับบาร์เหล้าดิสโกเธคบนหาดทรายที่นัก
139

ธุรกิจชายทะเลคิดสรรมาบาเรอ เช่นเดียวกับเมื่อเดินทางไปกับเรือทัวร์ทะเลของบริษทั ใหญ่


ๆ ข้าพเจ้าก็พลอยสนุกสนานไปกับย่านถนนสีลมทีย่ กมาอยู่บนเรือ จิตใจไม่เรียกร้องทีจ่ ะดา
ลงไปดูปะการังใต้ทะเลอีก ข้าพเจ้าพยายามทาใจให้คล้อยตามว่า ทุกสิง่ อันสนุ กสนานและ
ควรค่าสาหรับการท่องเที่ยว ได้รบั การจัดสรรไว้บนเรือโดยหัวคิดโปร่งใสของนักธุรกิจ
บริการเหล่านัน้ แล้ว ด้วยการลงทุนแข่งขันกันที่สูงทัง้ มูล ค่าและชีวติ และนัน่ เป็ นเหตุผ ล
เพียงพอที่ทาให้ขา้ พเจ้าไม่ตกอกตกใจ เมื่อรูว้ ่าเรือลานี้ได้ท้งิ สมอลงทาลายป่ าปะการังโดย
ไม่เห็นความสาคัญใด ๆ) (กนกพงศ์ สงสมพันธ์, 2547 : 337-338)

อัน ดามัน อิน ท์ก็ไม่ ต่ างกัน ดังความที่บ รรยายว่า “ในโรงแรมมีธุ รกิจบริก ารพร้อ มมูล ทัง้
บาร์เหล้า เธค มินิเธียร์เตอร์ ศูนย์สุขภาพ และสระว่ายน้ าขนาดใหญ่บนระเบียงดาดฟ้ า” (กนกพงศ์ สง
สมพัน ธ์ , 2547 : 337-338) ดังนั น้ บ้านและครอบครัว ของซัล มานก็ค ือ สิ่งที่ถู ก ขายเพื่อ การบริโภค
เช่นเดียวกับบริการอื่น ๆ ของโรงแรม ต่างกันแต่น่ีคอื การบริโภคเชิงสัญญะและการบริโภคเชิงคุณค่า
นักท่องเที่ยวผู้ช่นื ชมกับภาพวิถชี ีวติ ของซัลมานมีฐานคิดเรื่องคุณค่าอยู่เบื้องหลัง วิถีชีวติ พื้นบ้านคือ
ความตรงข้ามกับ วิถีชีว ิต สมัยใหม่ท่ ามกลางความเจริญ ของวัต ถุ วิถีชีว ิต พื้นบ้านจึงมีค วามหมายที่
ตรงกันข้ามกับ “วัตถุ” ก็คอื มีความหมายในแง่ “จิตใจ” กล่าวคือยิง่ มีความเจริญทางวัตถุน้อยลงเท่าใดก็มี
ความหมายด้านจิตใจมากขึ้นเท่านัน้ นักท่องเที่ยวเสพความรู้สกึ ในแง่น้ี คือเสพความรู้สกึ ว่าตัวเองมี
คุณค่าทางจิตใจทัง้ นี้เพราะโดยตรรกะ การทีเ่ ราชื่นชมหรือสนับสนุ นสิง่ ใดก็ย่อมจะมีความหมายโดยนัย
ยะว่ามีสงิ่ นัน้ ผูช้ ่นื ชมและสนับสนุนเรื่องคุณค่าก็คอื ผูม้ คี ุณค่า อย่างไรก็ตามตัวบทก็แสดงให้เห็นว่านี่เป็ น
เพียง “การเสพ” ทางความหมายหรือ สัญ ญะ พวกเขาใฝ่ หาสิ่งนี้ขณะที่ต ัวเองพักอยู่โรงแรมหรู ดังที่
กล่าวถึงจุดขายของอันดามัน อินน์ ว่า เพียงแต่มาพักทีน่ ่ี “นักท่องเทีย่ วผูน้ ิยมธรรมชาติ” ก็ “สามารถเห็น
บ้านของชาวประมงอันเงียบสงบน่าอยู่” โดยทีพ่ วกเขา “ไม่จาเป็ นต้องกระดิกตัวออกจากห้องเลย” (กนก
พงศ์ สงสมพันธ์, 2547 : 345-344) ผูป้ ระกอบการเข้าใจวิถกี ารบริโภคเช่นนี้ดแี ละเตรียมไว้บริการอย่าง
พร้อมสรรพ โลกของซัลมานคือโลกจริงแต่วถิ ขี องการบริโภคเช่นนี้กไ็ ม่ได้ต้องการสิง่ ทีเ่ ป็ นความจริงจริง
ๆ หากแต่คอื การตอบสนองความต้องการทางสัญญะที่มคี วามเป็ นจริงหนุนหลัง โลกของซัลมานจึงต้อง
เป็ นโลกของความเป็ นจริงทีถ่ ูกแต่งเติมบางส่วน อาทิกรณีของเรือกอและทีท่ างโรงแรมสังท ่ าจากปั ตตานี
แล้วนามาผูกไว้ขา้ งกระท่อมเพือ่ ความสวยงามและเอาใจฝรังนั ่ กท่องเทีย่ วทีม่ กั ถามหา รวมทัง้ การว่าจ้าง
ให้ นะซาอีเมียของซัลมานหุงหาอาหารด้วยไม้ฟืน เพื่อให้มคี วันไฟลอยกรุ่นขึน้ มาจากกระท่อมอย่าง
สวยงามในตอนเช้ามืด และให้เธอนุ่ งผ้าปาเต๊ะแบบชาวเลเพื่ อตอบสนองความต้องการชื่นชมวิถีชีวติ
พื้นบ้านของนักท่องเที่ยวซึ่งไม่เพียงแต่ต้องเป็ นวิถชี ีวติ พื้นบ้านจริง ๆ เท่านัน้ แต่ต้องเป็ นวิถีพ้นื บ้าน
ตามความคาดหวังทีต่ รงกับสัญญะในมโนคติของพวกเขาอีกด้วย (กนกพงศ์ สงสมพันธ์, 2547 : 346)
ในประเด็นนี้ตวั บทตัง้ คาถามเชิงวิพากษ์กบั ทุกคน นับแต่นักท่องเทีย่ วซึ่งชื่นชมต่อโลกของซัล
มาน รวมทัง้ “ข้าพเจ้า” ผูเ้ ล่าเรื่องทีแ่ ม้จะแสดงความเห็นอกเห็นใจซัลมานอยู่ในที ดังในเนื้อเรื่องบางตอน
ที่กล่าวถึงบรรดานักท่องเที่ยวและผู้เล่าเรื่องเกี่ยวกับปฏิกิรยิ าที่พวกเขามีต่อซัลมานโดยใช้ถ้อยคาชุด
140

เดียวกัน อาทิ “คิดดูอีกทีก็เป็ นเรื่องน่ าขันที่นักท่องเที่ยวพากันไปยืนมองโลกของซัลมานเหมือนเป็ น


อาหารน่าลิม้ ลอง” (กนกพงศ์ สงสมพันธ์, 2547 : 346) และบรรยายถึงผูเ้ ล่าเรื่องไว้ในตอนท้ายเรื่องว่า

(สมองข้าพเจ้าทางานหนักขณะเฝ้ ามองโลกของซัลมาน คิดถึงแต่ขอ้ เสนอแนะของเพือ่ น


คนหนึ่งที่บอกว่า ในห้วงเวลาต่อไปห้าสิบปี ต่อไปข้างหน้านี้ เนื้อหาของวรรณกรรมจะต้อง
หันมาให้ความสาคัญกับเรื่องอนุรกั ษ์ธรรมชาติ เพราะนี่เป็ นกระแสซึง่ ได้รบั การป่ าวร้องและ
ขานรับอึงอลไปทัว่ โลก และนี่ค ือ โอกาสที่ข้าพเจ้าควรรีบฉกฉวย ข้าพเจ้าได้ ค รุ่น คิดอยู่
ตลอดเวลาในช่วงหกเดือนมานี้ว่าจะหยิบยกแง่มุมไหนมาเขียนเป็ นนวนิยายสักเรื่อง เมื่อมา
เจอโลกใบเล็กของซัลมานเข้า ข้าพเจ้าคล้ายจะได้กลิ่นอาหารในจานที่คดิ ถึงมานาน แต่ก็
เป็ นเพียงกลิน่ ... ด้วยข้าพเจ้าไม่ แน่ ชดั ในสาเหตุท่ที าให้ซลั มานหวงแหนแผ่นดินยิง่ กว่า
อะไรหมด-เพราะพ่อ เพราะพระอัล เลาะห์ หรือ เพราะความโง่เขลาทางธุรกิจ... ข้าพเจ้า
มองเห็นเพียงบางสิง่ บางอย่างที่รุกรานโลกใบเล็กใบนี้ แม้จะเป็ นการรุกรานอย่างเหี้ยม
เกรียมและเลือ ดเย็น แต่มนั ก็เป็ นได้เพียงซับ พล็อตในนวนิยายหากข้าพเจ้าคิดจะเขียน
ข้าพเจ้าลองให้ซลั มานเป็ นนักอนุ รกั ษ์ธรรมชาติคนหนึ่ง ทว่าหลัง เรียบเรียงเรื่องราวใน
ความคิดดูแล้ว มันก็เป็ นเพียงความคิดอันโง่เขลา... ข้าพเจ้าพยายามมองโลกใบเล็กของซัล
มานด้วยความเข้าใจ ใช้ทงั ้ สายตาและความคิดเข้าไปวนเวียนอยู่ในโลกใบนี้ แต่กไ็ ม่มพี ลัง
มากมายพอทีจ่ ะเก็บเกีย่ วสิง่ ใดออกมาได้) (กนกพงศ์ สงสมพันธ์, 2547 : 349-350)

ในที่น้ีการเลือกบรรยายปฏิกริ ยิ าทางความคิดของนักท่องเทีย่ วและผูเ้ ล่าเรื่องทีม่ ตี ่อโลกของซัลมานโดย


ใช้ถ้อยคาเดียวกันคือ คาว่า “อาหาร” ไม่ว่าจะเป็ นความตัง้ ใจของผู้แต่งหรือไม่ก็ตาม ก็ล้วนสื่อความถึง
แนวคิด เบื้อ งหลัง ในการมองโลกของซัล มานที่ไ ม่ แ ตกต่ า งกัน ระหว่ า งนั ก ท่ อ งเที่ย วกับ ผู้ เล่ า เรื่อ ง
พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวและการสร้างงานประพันธ์ของผู้เล่าเรื่องล้วนถูกกากับด้วย
แนวคิดแบบบริโภคนิยม ทัง้ นี้เพราะอาหารย่อมไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากวัตถุเพือ่ การบริโภค

2.3.2.4 ผู้เล่าเรื่องและกระบวนการสร้างงานประพันธ์
พร้อมกับสือ่ ความคิดในประเด็นข้างต้นความในตอนท้ายนี้ยงั เตือนผูอ้ ่านเกี่ยวกับกระบวนการ
ใน การสร้างงานประพันธ์ว่าไม่ใช่ “การสะท้อนความจริง” อย่างตรงไปตรงมา นักประพันธ์อาจหยิบยก
เอาปรากฏการณ์ท่พี บเห็นในสังคมมาเป็ นประเด็นหรือวัสดุของเรื่อง แล้วเสริมเติมแต่งกับจิน ตนาการ
(เช่นตอนหนึ่งที่บอกว่าผูเ้ ล่าเรื่องพยายามแต่งให้เรื่องราวของซัลมานเป็ นซับพล็อตในนวนิยาย และจะ
ทดลองให้ซลั มานเป็ นนักอนุ รกั ษ์แต่ก็ดูไม่เข้าที) นอกจากนี้ในประเด็นนี้เมื่อย้อนกลับไปดูประเด็นการ
ดาเนินการทางธุรกิจของเจ้าของโรงแรมทีก่ ล่าวถึงก่อนหน้านี้ในแง่ “การเสริมแต่งความจริง” ก็ไม่ต่างกัน
การสร้างงานประพันธ์ไม่ได้เสนอความจริงทีเ่ ป็ นจริงล้วน ๆ แต่เช่นเดียวกับเจ้าของโรงแรม นักประพันธ์
ต้องเสนอความจริงตามความคาดหวังที่ตรงกับสัญญะในมโนคติของนักอ่าน ดังในตอนต้นของความใน
เรื่องทีย่ กมา ผูเ้ ล่าเรื่องสนใจเรื่องราวของซัลมานซึ่งเป็ นปั ญหาทีเ่ ชื่อมโยงกันอยู่กบั การทาลายธรรมชาติ
141

ก็เพราะคาพูดของเพื่อนทีว่ ่า ในช่วงเวลาต่อจากนี้ไปนี่จะเป็ นกระแสของวรรณกรรมที่ “ได้รบั การป่ าวร้อง


และขานรับอึงอลไปทัวโลก” ่ ทีเ่ ขา “ควรรีบฉกฉวย” (กนกพงศ์ สงสมพันธ์, 2547 : 349-350)
มาถึงตรงนี้หากย้อนทวนตรรกะของตัวบทในประเด็นว่าใครบ้างทีเ่ ป็ นผูร้ ุกรานโลกของซัลมาน
ในกิจกรรมการบริโภคดังกล่ าวนี้ เห็น ได้ว่ าตัว บทไม่ ได้ต ัง้ ค าถามกับ ตัว ละครภายในตัว บทเท่ านั น้
หากแต่ เ ลยมาตัง้ ค าถามกับ ผู้ อ่ า นที่ อ ยู่ น อกตัว บทอีก ด้ ว ย ทัง้ นี้ เ พราะหากบุ ค คลกลุ่ ม แรกที่ ถู ก
วิพากษ์วจิ ารณ์คอื ผู้ประกอบการอย่างเจ้าของโรงแรมกับนักท่องเที่ยว ต่อมาเมื่อตัวบทหันมาตัง้ คาถาม
กับนักเขียนในฐานะผูส้ ร้างงานประพันธ์ คู่ขนานของโครงสร้างนี้กย็ ่อมจะเป็ นใครอื่นไม่ได้นอกจากผูอ้ ่าน
ซึง่ อยู่นอกตัวบท ผูอ้ ่านคงอดไม่ได้ทต่ี อ้ งหันมาตรวจสอบตัวเองว่าความนิยมชมชอบเสพวรรณกรรมแห่ง
ความทุกข์ยากของผู้เสียเปรียบในสังคมอย่าง “โลกใบเล็กของซัลมาน” หรือกิจกรรมอื่นใดก็แล้วแต่ท่มี ี
ภาพลักษณ์เชิงคุณค่าดังกล่าวนี้ เป็ นเพราะความสานึกในคุณค่าหรือทีแ่ ท้แล้วเป็ นเพียง “การบริโภคเชิง
คุ ณ ค่ า” ที่อ นุ ญ าตให้เราเสพความรู้ส ึก มีคุ ณ ค่ าในตัว เอง แต่ ได้กลายเป็ นอีกคนหนึ่ งที่ได้รุกรานโลก
ของซัลมานโดยไม่รตู้ วั ภายใต้ฉลากของคุณค่าไปด้วยหรือไม่

2.3.3 ส่วนสรุป

2.3.3.1 คุณค่าทางความคิ ด
“โลกใบเล็กของซัลมาน”กล่าวได้ว่าเป็ นวรรณกรรมที่มที งั ้ คุณค่าทางความคิดและคุณค่าทาง
ศิลปะ แนวคิดสาคัญของเรื่องคือแสดงถึงความซับซ้อนของปั ญหาความอยุตธิ รรรมในโลกยุคไร้พรมแดน
ทีป่ ั จเจก-บุคคลผูย้ ดึ มันคุ
่ ณค่าในโลกเก่าต้องเผชิญกับการถูกกระทาอย่างไม่อาจต่อสูด้ น้ิ รน และได้แสดง
ว่าความน่ ากลัวของระบบทุนนิยมอยู่ท่กี ารใช้อานาจรัฐแสวงหาผลประโยชน์อย่างชอบธรรม ตลอดจน
ความสามารถใน การสร้างภาพลวงตาในธุรกิจการบริโภคเชิงคุณค่า บุคคลผู้ถูกกระทาจึงตกเป็ น
เหยื่อภายใต้การกระทาทีถ่ ูกต้องตามกฏหมาย ซ้าผูม้ สี ่วนร่วมกระทาต่อเขาก็ไม่จาเป็ นต้องเป็ นผูม้ จี ติ ใจ
โหดเหี้ยม หากแต่เป็ นใครก็ได้ท่ีขาด การตรวจสอบตัวเอง ทางออกจึงจาต้ องอยู่ท่ีการตัง้ สติเพื่อ
แยกแยะระหว่างความสานึกเรื่องคุณค่าที่จริงแท้กบั สิง่ ที่เป็ นเพียงการบริโภคเชิงคุณค่าอันเป็ นมายาคติ
แห่งการขายทีส่ าคัญของระบบทุนนิยม

2.3.3.2 คุณค่าทางศิ ลปะ


ในแง่ของวิธกี ารประพันธ์ นอกจากจะใช้วธิ กี ารทางศิลปะที่สามารถกระตุ้นการใคร่ครวญของ
ผูอ้ ่านมากกว่าจะยัดเยียดคาตอบสาเร็จรูปอย่างตายตัวแล้ว จุดเด่นอีกประการหนึ่งของเรื่องก็เป็ นดังที่
นัก วิจารณ์ ท่ านหนึ่ งกล่ าวไว้ เรื่อ งสัน้ เรื่อ งนี้ “ใช้เทคนิ ค การเขียนแบบเรื่อ งเล่ าที่เล่ าเรื่อ งของตัว เอง
(Metafiction)” ซึ่งมีส่วนสาคัญที่เอื้อให้ผปู้ ระพันธ์สามารถเสนอความคิดในมิตทิ ่ซี บั ซ้อนและย้อนแย้งใน
ตัวงานมากกว่าจะเสนอความคิดผูกขาดของผูป้ ระพันธ์ตามวิธกี ารเล่าเรื่องแบบประเพณีนิยมทีก่ ระทากัน
มา (นฤมิตร สอดสุข, 2547 : 353) ด้วยเหตุน้ีวธิ กี ารเล่าเรื่องแบบนี้จงึ เป็ นที่นิยมของงานประพันธ์แนว
142

หลังสมัยใหม่ และอาจคาดหมายได้ว่านับจากนี้ ไปศิล ปะแนวนี้ก็จะเป็ นวิธีการในกระแสนิยมของวง


วรรณกรรมที่ “ได้รบั การป่ าวร้องและขานรับ อึงอล” นับเนื่องไป อีกหลายทศวรรษ

2.4 การแก้ไขขัดเกลาให้เป็ นบทวิ จารณ์ที่สมบูรณ์

หลังจากมีบทวิจารณ์ ฉบับร่าง ผู้วจิ ารณ์ ก็จะสามารถพิจารณาบทวิจารณ์ทงั ้ หมดในภาพรวม


และแก้ไขข้อบกพร่องบางประการเพื่อให้บทวิจารณ์สมบูรณ์มากยิง่ ขึน้ รวมทัง้ เพิม่ เติมรายละเอียดบาง
อย่างเช่น การตัง้ ชื่อบทวิจารณ์ (ในกรณีท่ผี ู้วจิ ารณ์ ถนัดจะตัง้ ชื่อบทวิจารณ์หลังมีบทวิจารณ์ฉบับร่าง)
การเพิม่ ชื่อตอนย่อย ๆ ในกรณีทบ่ี ทวิจารณ์มขี นาดยาว และการเขียนรายการอ้างอิงเป็ นต้น ดังตัวอย่าง

โลกใบเล็กของซัลมาน : การบริ โภคเชิ งคุณค่าในระบบทุนนิ ยม

เรื่องสัน้ เรื่อง “โลกใบเล็กของซัลมาน” เป็ นงานประพันธ์ของกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ตีพมิ พ์รวม


เล่มในรวมเรื่องสัน้ ชุด สะพานขาด เมื่อปี พ.ศ. 2534 เรื่องสัน้ เรื่องนี้แม้จะเป็ นผลงานในช่วงต้น ๆ ของ
กนกพงศ์แต่กน็ บั เป็ นผลงานโดดเด่นทีส่ ร้างชื่อ ดังเห็นได้ว่าส่วนใหญ่เมื่อกล่าวถึงประวัตแิ ละผลงานของ
กนกพงศ์ เรื่องสัน้ เรื่อ งนี้มกั ถูก กล่ าวถึงเสมอ ในฐานะเรื่องสัน้ รางวัลช่อการะเกดหนึ่งในสองเรื่องคือ
“สะพานขาด” ซึ่งได้รบั รางวัลเมื่อปี พ.ศ. 2532 และ “โลกใบเล็กของซัลมาน” ได้รบั รางวัลเมื่อปี พ.ศ. 2533
ตามลาดับ (สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์, 2547 : 336)
“โลกใบเล็กของซัลมาน” เล่าถึงเรื่องราวของชาวประมงคนหนึ่งทีช่ ่อื ซัลมานและครอบครัวของ
เขา โดยเล่าผ่าน “ข้าพเจ้า” ตัวละครผู้เล่าเรื่อง ซึ่งเป็ นนักเขียน ปั ญ หาสาคัญ ของซัลมานก่อตัวขึ้นใน
บริบท การขยายตัวของธุรกิจบริการการท่องเที่ยว เมื่อที่ดินแถบหมู่บ้านริม ทะเลถูกกว้านซื้อจาก
นายทุ นเพื่อสร้างโรงแรมและบ้านพักตากอากาศ ชาวบ้านคนอื่นต่างค่อยทยอยขายที่ ทางไปจนหมด
เหลือแต่ทข่ี องซัลมานเพียงแห่งเดียว เหตุการณ์ผกผันเกิดขึน้ ในช่วงต่อมาเมื่อโรงแรมอันดามัน อินน์ถูก
สร้างขึน้ แต่การณ์กลับกลายเป็ นว่าแทนที่จะเป็ นอุปสรรคทางธุรกิจ กระท่อมในดงมะพร้าวของซัลมาน
ซึ่งอยู่ในพื้นที่ด้านหน้าของโรงแรมได้กลายเป็ นจุดสนใจของนักท่องเที่ยว แขกส่วนใหญ่ของอันดามัน
อินน์เลือกมาพักทีน่ ่ีเพราะต้องการจะสัมผัสกับบ้านและครอบครัวของซัลมานในฐานะตัวแทนของวิถชี วี ติ
ชาวประมงพืน้ บ้าน มาถึงตอนนี้ทางโรงแรมก็ไม่จาเป็ นต้องซื้อทีข่ องซัลมานอีก ทีซ่ ่งึ เคยมีราคาสูงถึงสิบ
ล้านจึงกลับกลายเป็ นไม่มรี าคา
ครอบครัว ของซัล มานจึงเหมือ นกับ ประสบกับ ภาวะของปั ญ หาที่ไร้ท างออก หน าซ้ายิ่งทวี
ความบีบคัน้ ขึน้ ตามลาดับในช่วงต่อมาเมื่อซัลมานไม่สามารถออกหาปลาเหมือนอย่างเดิมได้ เพราะมัก
หงุดหงิดกับนักท่องเที่ยวที่มกั มาขอถ่ายรูปยามเขาพายเรือ ขึ้นฝั ง่ หลังกลับจากหาปลา และบางครัง้ ก็
ลุกลามกลายเป็ นความโมโหถึงขัน้ ทาร้ายนักท่องเทีย่ วจนถูกจับเข้าห้องขังหลายครัง้ รายได้ทางเดียวที่
มีอยู่คอื การทีภ่ รรยาของเขารับเงินลับ ๆ จากทางโรงแรมทีข่ อให้จดั ฉากวิถชี วี ติ ชาวประมงพืน้ บ้าน อาทิ
ให้หุงหาอาหารด้วยไม้ฟืนในตอนเช้ามืด เพื่อนักท่องเทีย่ วจะได้เห็นฉากทีส่ วยงามขณะควันไฟลอยกรุ่น
ขึ้นเหนือกระท่อ ม ให้เธอนุ่ งผ้าปาเต๊ะแต่งตัวแบบชาวเล รวมทัง้ อาจยอมให้นักท่องเที่ยวถ่ ายรูปยาม
ปลอดจากสายตาของซัลมาน ความบีบคัน้ ส่งผลให้ซลั มานแปรเปลีย่ นไปอย่างกับเป็ นอีกคน ซัลมานตัง้
143

ตนเป็ นปฏิปักษ์กบั โรงแรม เขากลายเป็ นคนโมโหร้าย ทุบตีลูกเมีย และอาละวาดทุกครัง้ ที่มนี กั ท่องเทีย่ ว


มาขอถ่ายรูปกระท่อมของเขาและคนในครอบครัว

พฤติ กรรมตัวละครและกลวิ ธีในการสื่อความหมาย

จุดเด่นของเรื่องสัน้ เรื่องนี้คอื การเสนอปั ญหาทีซ่ บั ซ้อนและไม่ได้ให้คาตอบทีแ่ น่นอน หรือกล่าว


ในอีกแง่หนึ่งคือเป็ นวรรณกรรมทีพ่ ยายามกระตุน้ ให้ผอู้ ่านคิดค้นหาคาตอบด้วยตัวเองมากกว่าจะกาหนด
คาตอบสาเร็จรูปไว้แต่ตน้ ดังในกรณีสาเหตุของการไม่ยอมขายทีข่ องซัลมาน ผูอ้ ่านจะได้รบั ทราบข้อมูล
ผ่านผูเ้ ล่าเรื่องซึ่งได้รบั ข้อมูลจากคาบอกเล่าของตัวละครอื่นอีกต่อหนึ่ง ว่าทีซ่ ลั มานไม่ยอมขายทีน่ นั ้ อาจ
เป็ นไปทัง้ เหตุผลทางธุรกิจที่เขาต้องการดึงราคาให้สูงขึน้ หรือไม่กอ็ าจเป็ นเพราะความรักในผืนแผ่นดิน
เกิด
อย่างไรก็ตามตัวบทดูเหมือนจะให้ขอ้ มูลแก่ผอู้ ่านในระดับหนึ่งทีพ่ อจะเห็นได้ว่าพยายามจะชัก
จูงผูอ้ ่านให้มคี วามโน้มเอียงทีจ่ ะเชื่อว่าซัลมานไม่ขายทีเ่ พราะความรักในผืนแผ่นดินเกิดตามคาสอนของ
พ่อ ทัง้ นี้กเ็ พราะว่าหากพิจารณาในแง่การสร้างความงามแก่ตวั ละคร ตามแนวคิดทีว่ ่า ความงามของตัว
ละครนัน้ มีความเชื่อมโยงอยู่กบั ความหมาย หรือกล่าวโดยสรุปคือตัวละครทีต่ วั บทสร้างให้มคี วามงดงาม
หรือน่าประทับใจคือ ตัวละครทีต่ วั บทสร้างให้มคี วามชอบธรรม และความหมายทีอ่ ยู่ท่ีตวั ละครตัวนัน้ คือ
ความถูกต้อง ในประเด็นนี้เห็นได้ว่าตัวบทสร้างซัลมานให้เป็ นตัวละครทีม่ คี วามงาม หรือสร้างให้เป็ นตัว
ละครที่ผู้อ่านมีความรู้สกึ ใน เชิงบวกมากกว่าเชิงลบ ดังเห็นได้ว่า ภาษาที่ต ัวบทใช้ในการบรรยาย
ถึงซัลมานล้วนเป็ นคาทีม่ ศี กั ดิ ์คาสูงก่อให้เกิดจินตภาพทีง่ ดงามและสร้างความรูส้ กึ เชิงบวก ดังเช่นในเนื้อ
เรื่องตอนหนึ่งบรรยายถึงใบหน้าและ แววตาของซัลมานผ่านมุมมองของผูเ้ ล่าเรื่องว่า “ใบหน้าเรียวยาว
คมเข้มนัน้ ประดับด้วยดวงตาดาขลับแลเห็นกองไฟเริงโรจน์อยู่ภายใน” (กนกพงศ์ สงสมพันธ์, 2547 :
340) ในเบื้องต้นเห็นได้ว่าผูแ้ ต่งสร้างซัลมานให้เป็ นคนทีไ่ ม่ได้มหี น้าตาอัปลักษณ์ ในแง่การเลือกใช้คาก็
เลือกเฟ้ นคาที่เน้นความงาม ดังเช่นเมื่อบรรยายถึงดวงตาแทนที่จะใช้คาพื้น ๆ ทัวไปว่ ่ าเขามีดวงตาดา
ขลับ ก็เลือกใช้คาว่า “ประดับ” ซึ่งโดยนัยยะแล้วสิง่ ที่จะเป็ นเครื่องประดับสิง่ อื่นได้ก็ต้องมีความหมาย
เช่นเดียวกับเครื่องประดับทัวไปที ่ เ่ รารูจ้ กั เช่น สร้อยคอ ต่างหู แหวน เป็ นต้น นัน่ คือเป็ นสิง่ ทีม่ คี ่าและมี
ความงดงาม เมื่อบรรยายถึงความทุกข์หรือความโกรธที่ปรากฏออกมาทางสายตา แทนทีจ่ ะเลือกใช้ คา
ว่าดวงตาดุดนั ด้วยความโกรธเกลียดหรือดวงตาเขาลุกโพลงด้วยไฟของความโกรธแค้น ก็เลือกใช้คาว่า
“แลเห็นกองไฟเริงโรจน์อยู่ภายใน” ซึ่งเห็นได้ว่าแม้จะบรรยายถึงความโกรธและความทุกข์กเ็ ลือกใช้คาที่
มีศ ัก ดิค์ าสูง มีค วามประสานของเสีย งและความหมายก่ อ ให้เกิด ความงามคล้ายถ้อ ยค าใน บทกวี
กล่าวคือคาว่า “เริงโรจน์” นัน้ มีเสียง /r/ ซึ่งเป็ นเสียงรัวให้ความรูส้ กึ ในทางเคลื่อนไหวแล้ว ยังสอดรับกัน
อย่างดีกบั ความหมายของคาที่น่าจะแปลว่ากองไฟนัน้ สว่างสุกใสและแสดงอาการเคลื่อนไหวราวกับมี
ความสุข (แต่ยงิ่ แสดงความทุกข์และความโกรธของบุคคล) นอกจากนี้การประดิษฐ์คาเช่นนี้กม็ กั ไม่ใช้ใน
บริบทของการสือ่ สารทัวไปนอกจากในที
่ ซ่ ง่ึ ต้องการให้เกิดความงามทางภาษามากเป็ นพิเศษ
การบรรยายถึงซัลมานมีลกั ษณะตรงกันข้ามกับตัวละครอีกตัวก็คอื แหลม บาร์เทนเดอร์ของ
โรงแรมซึ่งเป็ นผูใ้ ห้ขอ้ มูลเกี่ยวกับซัลมานแก่ผเู้ ล่าเรื่อง และเป็ นตัวละครคู่ตรงกันข้ามกับซัลมาน เพราะ
144

ครอบครัวของแหลมขายทีด่ นิ จนหมด และเมื่อเขาผลาญเงินจนไม่มอี ะไรเหลือ ก็หวนกลับมาเป็ นลูกจ้าง


ของโรงแรมอย่างไร้ศกั ดิ ์ศรี (กนกพงศ์ สงสมพันธ์, 2547 : 349) ความรูส้ กึ ของผูอ้ ่านทีม่ ตี ่อตัวละครตัวนี้
จะเป็ นไปในทางลบ ทัง้ นี้ เ พราะถู ก ก ากับ โดยความรู้ส ึกในทางลบของผู้เล่ าเรื่อ ง ดังเช่นในตอนหนึ่ ง
บรรยายถึงแหลมว่ า “แหลมหัว เราะแห้ง แล้ง ” (กนกพงศ์ สงสมพัน ธ์ , 2547 : 342) แหลมหัว เราะ
ประหลาดคล้ายเสียงสะอึก (กนกพงศ์ สงสมพันธ์, 2547 : 344) แหลมหัวเราะไม่รจู้ กั เวลา (กนกพงศ์ สง
สมพันธ์, 2547 : 347) และมีน้ าเสียงดูถูกในบางกรณี เช่นในตอนหนึ่งเมื่อแหลมอวดว่าเขายังดีกว่าซัล
มานทีแ่ ม้เขาขายทีด่ นิ และผลาญเงินจนหมด แต่สุดท้ายเมื่อหวนกลับมาเป็ นรูปจ้างของโรงแรม เขาก็ยงั มี
กิน มีความสุข และยังได้แต่งชุดสวย ๆ ขณะทีผ่ แู้ ข็งขืนอย่างซัลมานไม่เหลืออะไรเลย เมื่อตัวละครผูเ้ ล่า
เรื่องนึกเปรียบเทียบแล้วพึมพ าว่า “โลกมันต่างกันเหลือเกินนะ” แหลมถามซ้าเพราะไม่ได้ยนิ เขาจึง
กล่าวกับแหลมว่าเปล่าหรอกไม่มอี ะไร พร้อมชมว่า “แกดูเก๋มากกับไอ้ชุดทักซิโดนัน่ ” (กนกพงศ์ สงสม
พันธ์, 2547 : 349) ดังนัน้ ข้อมูลเกีย่ วกับซัลมานทีเ่ ล่าผ่านแหลมว่า ซัลมานขายทีเ่ พราะเหตุผลทางธุรกิจ
จึงมีน้ าหนักของความน่าเชื่อถือลดลง ในทางกลับกันผูอ้ ่านก็มแี นวโน้มจะเชื่อในทางตรงกันข้ามมากกว่า
ว่าซัลมานไม่ยอมขายทีเ่ พราะความหวงแหนในผืนแผ่นดินเกิด
ส่วนการทุบตีลูกเมียตัวบทแสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมนี้เป็ นผลมาจากการตกอยู่ในภาวะของ
ความขัดแย้งอย่างไม่มที างเลือกและแรงบีบคัน้ ของอานาจที่เขาเองไม่อาจต่อสูด้ ้นิ รนขัดขืน มากกว่าจะ
มาจากนิสยั สันดาน ดังเห็นได้ว่าแม้แต่แหลมซึ่งแสดงท่าทีว่าไม่ได้ชอบหน้าซัลมานนักก็ให้การรับรองใน
ข้อนี้ ว่าเดิมทีนัน้ “ซัลมานเป็ นคนดีท่นี ่ าคบหา” และ “รักลูกรักเมียเสียยิง่ กว่าใคร” (กนกพงศ์ สงสม
พันธ์, 2547 : 342)

มูลเหตุของปัญหา

เมื่อมูลเหตุของปั ญหาไม่ได้มที ่มี าจากผู้ถูกกระทา ก็เท่ากับว่าตัวบทได้ชกั ชวนให้ผู้อ่านมอง


ปั ญหาไปทีอ่ ่นื โดยเฉพาะกลุ่มผูก้ ระทา หากตัง้ คาถามว่าใครคือผู้กระทาหรือเป็ นผูร้ ุกรานโลกของซัล มาน
จาเลยที่หนึ่งก็ย่อมจะเป็ นผู้ดาเนินการทางธุรกิจอย่างเจ้าของโรงแรม จาเลยที่สองก็คอื นักการเมืองซึ่ง
ร่วมมือกับเจ้าของโรงแรมในการกาจัดคู่แข่งทางธุรกิจซึ่งมีส่วนอย่างสาคัญในการกักขังซัลมานไว้กบั
ปั ญหาในตอนทีเ่ ขาเปลีย่ นใจยอมแก้ปัญหาด้วยการขายที่ ส่วนจาเลยทีส่ ามก็คอื บรรดานักท่องเทีย่ วผูช้ ่นื
ชมโลกของซัลมาน รวมความแล้ว เห็นได้ว่าปั ญ หาของซัลมานมีท่ีมาจากสามส่วนคือ ระบบทุนนิยม
อิทธิพลทางการเมือง และการบริโภคเชิงคุณค่า

สัญญะและการบริ โภคเชิ งคุณค่า

ในจานวนมูลเหตุทงั ้ สามด้านข้างต้นนัน้ มูลเหตุประการสุดท้ายนัน้ ดูจะเป็ นประเด็นที่เป็ นจุด


วิพ ากษ์ของเรื่อง ความน่ ากลัว ของระบบทุนนิยมอาจจะไม่ได้อยู่ท่ีการแสวงหากาไรและการร่วมกับ
การเมืองแสวงหาผลประโยชน์ซง่ึ เป็ นประเด็นทีเ่ ห็นได้ชดั เจนเท่านัน้ สิง่ ทีน่ ่ากลัวทีส่ ุด ก็คอื ความสามารถ
ในการแปรการเสพ การบริโภคให้กลายเป็ นเรื่อ งของคุ ณ ค่ า หรือ ขายความสานึกเรื่อ งคุณ ค่ าอย่าง
ปลอม ๆ
145

ตัวบทเน้นประเด็นนี้หลายครัง้ ธุรกิจการท่องเที่ยวริมทะเลตามที่ปรากฏในเรื่องล้วนสร้างจุด
ขายด้วยการตอบสนองต่อความชื่มชมในคุณค่าและความสวยงามของธรรมชาติ แก่นักท่องเทีย่ ว แต่ตวั
บทก็ได้แสดงให้เห็นว่าการตอบสนองความต้องการเหล่านี้เป็ นเพียงการขายความสานึกในเรื่องคุณค่า
และเป็ นกิจกรรม การบริโภคอย่างหนึ่งไม่ต่างจากการบริการอื่น ๆ ของธุรกิจท่องเที่ยว ดังความที่
บรรยายถึงความคิดของผูเ้ ล่าเรื่องว่า

(ข้าพเจ้าเป็ นนักเขียน จาเป็ นอย่างยิง่ ทีจ่ ะต้องมองโลกอย่างเข้าใจ ข้าพเจ้าพบว่าในเมื่อ


ธุรกิจซื้อขายทีด่ นิ ชายทะเลเข้มข้นถึงขนาดเลือดท่วมหาดทราย นัน่ ก็หมายถึงว่าไม่มสี งิ่ ใด
ต้องคานึงถึงอีก ข้าพเจ้าย่อมเลิกหวังถึงความสวยงามใด ๆ จากชายฝั ง่ ทะเลซึ่งเป็ นเรื่อง
เหลวไหล สิง่ ที่ข้าพเจ้าควรทาก็คอื ร่วมสนุ กไปกับบาร์เหล้าดิสโกเธคบนหาดทรายที่นัก
ธุรกิจชายทะเลคิดสรรมาบาเรอ เช่นเดียวกับเมื่อเดินทางไปกับเรือทัวร์ทะเลของบริษทั ใหญ่
ๆ ข้าพเจ้าก็พลอยสนุกสนานไปกับย่านถนนสีลมทีย่ กมาอยู่บนเรือ จิตใจไม่เรียกร้องทีจ่ ะดา
ลงไปดูปะการังใต้ทะเลอีก ข้าพเจ้า พยายามทาใจให้คล้อยตามว่า ทุกสิง่ อันสนุ กสนานและ
ควรค่ าส าหรับ การท่อ งเที่ยว ได้รบั การจัดสรรไว้บนเรือ โดยหัวคิดโปร่งใสของนักธุ รกิจ
บริการเหล่านัน้ แล้ว ด้วยการลงทุนแข่งขันกันที่สูงทัง้ มูล ค่าและชีวติ และนัน่ เป็ นเหตุผ ล
เพียงพอที่ทาให้ขา้ พเจ้าไม่ตกอกตกใจ เมื่อรูว้ ่าเรือลานี้ได้ท้งิ สมอลงทาลายป่ าปะการังโดย
ไม่เห็นความสาคัญใด ๆ) (กนกพงศ์ สงสมพันธ์, 2547 : 337-338)

อัน ดามัน อิน ท์ก็ไม่ ต่ างกัน ดังความที่บ รรยายว่า “ในโรงแรมมีธุ รกิจบริก ารพร้อ มมูล ทัง้
บาร์เหล้า เธค มินิเธียร์เตอร์ ศูนย์สุขภาพ และสระว่ายน้ าขนาดใหญ่บนระเบียงดาดฟ้ า” (กนกพงศ์ สง
สมพัน ธ์ , 2547 : 337-338) ดังนั น้ บ้านและครอบครัว ของซัล มานก็ค ือ สิ่งที่ถู ก ขายเพื่อ การบริโภค
เช่นเดียวกับบริการอื่น ๆ ของโรงแรม ต่างกันแต่น่ีคอื การบริโภคเชิงสัญญะและการบริโภคเชิงคุณค่า
นักท่องเที่ยวผู้ช่นื ชมกับภาพวิถชี ีวติ ของซัลมานมีฐานคิดเรื่องคุณค่าอยู่เบื้องหลัง วิถีชีวติ พื้นบ้านคือ
ความตรงข้ามกับ วิถีชีว ิต สมัยใหม่ท่ ามกลางความเจริญ ของวัต ถุ วิถีชีว ิต พื้นบ้านจึงมีค วามหมายที่
ตรงกันข้ามกับ “วัตถุ” ก็คอื มีความหมายในแง่ “จิตใจ” กล่าวคือยิง่ มีความเจริญทางวัตถุน้อยลงเท่า ใดก็มี
ความหมายด้านจิตใจมากขึ้นเท่านัน้ นักท่องเที่ยวเสพความรู้สกึ ในแง่น้ี คือเสพความรู้สกึ ว่า ตัวเองมี
คุณค่าทางจิตใจทัง้ นี้เพราะโดยตรรกะ การทีเ่ ราชื่นชมหรือสนับสนุ นสิ่งใดก็ย่อมจะมีความหมายโดยนัย
ยะว่ามีสงิ่ นัน้ ผูช้ ่นื ชมและสนับสนุนเรื่องคุณค่าก็คอื ผูม้ คี ุณค่ า อย่างไรก็ตามตัวบทก็แสดงให้เห็นว่านี่เป็ น
เพียง “การเสพ” ทางความหมายหรือ สัญ ญะ พวกเขาใฝ่ หาสิ่งนี้ขณะที่ต ัวเองพักอยู่โรงแรมหรู ดังที่
กล่าวถึงจุดขายของอันดามัน อินน์ว่า เพียงแต่มาพักทีน่ ่ี “นักท่องเทีย่ ว ผูน้ ิยมธรรมชาติ” ก็ “สามารถ
เห็นบ้านของชาวประมงอันเงียบสงบน่ าอยู่” โดยที่พวกเขา “ไม่จาเป็ นต้องกระดิกตัวออกจากห้องเลย”
(กนกพงศ์ สงสมพันธ์, 2547 : 345-344) ผูป้ ระกอบการเข้าใจวิถกี ารบริโภคเช่นนี้ดแี ละเตรียมไว้บริการ
อย่างพร้อมสรรพ โลกของซัลมานคือโลกจริงแต่วถิ ขี องการบริโภคเช่นนี้ก็ไม่ได้ต้องการสิง่ ที่เป็ นความ
จริงจริง ๆ หากแต่ต้อ งการการตอบสนองความต้อ งการทางสัญ ญะที่มีค วามเป็ น จริงหนุ นหลัง โลก
146

ของซัล มานจึงต้อ งเป็ น โลกของความเป็ น จริง ที่ถู ก แต่งเติมบางส่วน อาทิก รณี ของเรือ กอและที่ท าง
โรงแรมสังท่ าจากปั ตตานีแล้วนามาผูกไว้ขา้ งกระท่อมเพือ่ ความสวยงามและเอาใจฝรังนั ่ กท่องเทีย่ วทีม่ กั
ถามหา รวมทัง้ การว่าจ้างให้นะซาอีเมียของซัลมานหุงหาอาหารด้วยไม้ ฟืน เพื่อให้มคี วันไฟลอยกรุ่น
ขึน้ มาจากกระท่อมอย่างสวยงามในตอนเช้ามืด และให้เธอนุ่ งผ้าปาเต๊ะแบบชาวเลเพื่อตอบสนองความ
ต้องการชื่นชมวิถชี วี ติ พืน้ บ้านของนักท่องเทีย่ วซึ่งไม่เพียงแต่ต้องเป็ นวิถชี วี ติ พืน้ บ้านจริง ๆ เท่านัน้ แต่
ต้องเป็ นวิถพี ้นื บ้านตามความคาดหวังที่ตรงกับสัญญะในมโนคติของพวกเขาอีกด้วย (กนกพงศ์ สงสม
พันธ์, 2547 : 346)
ในประเด็นนี้ตวั บทตัง้ คาถามเชิงวิพากษ์กบั ทุกคน นับแต่นักท่องเทีย่ วซึ่งชื่นชมต่อโลกของซัล
มาน รวมทัง้ “ข้าพเจ้า” ผูเ้ ล่าเรื่องทีแ่ ม้จะแสดงความเห็นอกเห็นใจซัลมานอยู่ในที ดังในเนื้อเรื่องบางตอน
ที่กล่าวถึงบรรดานักท่องเที่ยวและผู้เล่าเรื่องเกี่ยวกับ ปฏิกิรยิ าที่พวกเขามีต่อซัลมานโดยใช้ถ้อยคาชุด
เดียวกัน อาทิ “คิดดูอีกทีก็เป็ นเรื่องน่ าขันที่นักท่องเที่ยวพากันไปยืนมองโลกของซัลมานเหมือนเป็ น
อาหารน่าลิม้ ลอง” (กนกพงศ์ สงสมพันธ์, 2547 : 346) และบรรยายถึงผูเ้ ล่าเรื่องไว้ในตอนท้ายเรื่องว่า

(สมองข้าพเจ้าทางานหนักขณะเฝ้ ามองโลกของซัลมาน คิดถึงแต่ขอ้ เสนอแนะของเพื่อน


คนหนึ่งที่บอกว่า ในห้วงเวลาต่อไปห้าสิบปี ต่อไปข้างหน้านี้ เนื้อหาของวรรณกรรมจะต้อง
หันมาให้ความสาคัญกับเรื่องอนุรกั ษ์ธรรมชาติ เพราะนี่เป็ นกระแสซึง่ ได้รบั การป่ าวร้องและ
ขานรับอึงอลไปทัว่ โลก และนี่ค ือ โอกาสที่ข้าพเจ้าควรรีบฉกฉวย ข้าพเจ้าได้ค รุ่น คิดอยู่
ตลอดเวลาในช่วงหกเดือนมานี้ว่าจะหยิบยกแง่มุมไหนมาเขียนเป็ นนวนิยายสักเรื่อง เมื่อมา
เจอโลกใบเล็กของซัลมานเข้า ข้าพเจ้าคล้ายจะได้กลิ่นอาหารในจานที่คดิ ถึงมานาน แต่ก็
เป็ นเพียงกลิ่น... ด้วยข้าพเจ้าไม่แน่ ชดั ในสาเหตุท่ีทาให้ซลั มานหวงแหนแผ่ นดินยิ่งกว่า
อะไรหมด-เพราะพ่อ เพราะพระอัล เลาะห์ หรือ เพราะความโง่เขลาทางธุรกิจ... ข้าพเจ้า
มองเห็นเพีย งบางสิง่ บางอย่างที่รุกรานโลกใบเล็กใบนี้ แม้จะเป็ นการรุกรานอย่างเหี้ยม
เกรียมและเลือ ดเย็น แต่มนั ก็เป็ นได้เพียงซับ พล็อตในนวนิยายหากข้าพเจ้าคิดจะเขียน
ข้าพเจ้าลองให้ซลั มานเป็ นนักอนุ รกั ษ์ธรรมชาติคนหนึ่ง ทว่าหลัง เรียบเรียงเรื่องราวใน
ความคิดดูแล้ว มันก็เป็ นเพียงความคิดอันโง่เขลา... ข้าพเจ้าพยายามมองโลกใบเล็กของซัล
มานด้วยความเข้าใจ ใช้ทงั ้ สายตาและความคิดเข้าไปวนเวียนอยู่ในโลกใบนี้ แต่กไ็ ม่มพี ลัง
มากมายพอทีจ่ ะเก็บเกีย่ วสิง่ ใดออกมาได้) (กนกพงศ์ สงสมพันธ์, 2547 : 349-350)

ในที่น้ีการเลือกบรรยายปฏิกริ ยิ าทางความคิดของนักท่องเทีย่ วและผูเ้ ล่าเรื่องทีม่ ตี ่อโลกของซัลมานโดย


ใช้ถ้อยคาเดียวกันคือคาว่า “อาหาร” ไม่ว่าจะเป็ นความตัง้ ใจของผู้แต่งหรือไม่ก็ตาม ก็ล้วนสื่อความถึง
แนวคิด เบื้อ งหลัง ในการมองโลกของซัล มานที่ไ ม่ แ ตกต่ า งกัน ระหว่ า งนั ก ท่ อ งเที่ย วกับ ผู้ เล่ า เรื่อ ง
พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวและการสร้างงานประพันธ์ของผู้เล่าเรื่องล้วนถูกกากับด้วย
แนวคิดแบบบริโภคนิยม ทัง้ นี้เพราะอาหารย่อมไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากวัตถุเพือ่ การบริโภค

ผู้รกุ รานนอกตัวบท
147

พร้อมกับสือ่ ความคิดในประเด็นข้างต้นความในตอนท้ายนี้ยงั เตือนผูอ้ ่านเกี่ยวกับกระบวนการ


ใน การสร้างงานประพันธ์ว่าไม่ใช่ “การสะท้อนความจริง” อย่างตรงไปตรงมา นัก ประพันธ์อาจหยิบยก
เอาปรากฏการณ์ ท่พี บเห็นในสังคมมาเป็ นประเด็นหรือวัสดุของเรื่อง แล้วเสริมเติมแต่งกับจินตนาการ
(เช่นตอนหนึ่งที่บอกว่าผูเ้ ล่าเรื่องพยายามแต่งให้เรื่องราวของซัลมานเป็ นซับพล็อตในนวนิยาย และจะ
ทดลองให้ซลั มานเป็ นนักอนุ รกั ษ์แต่ก็ดูไม่เข้าที) นอกจากนี้ ในประเด็นนี้เมื่อย้อนกลับไปดูประเด็นการ
ดาเนินการทางธุรกิจของเจ้าของโรงแรมทีก่ ล่าวถึงก่อนหน้านี้ในแง่ “การเสริมแต่งความจริง” ก็ไม่ต่างกัน
การสร้างงานประพันธ์ไม่ได้เสนอความจริงทีเ่ ป็ นจริงล้วน ๆ แต่เช่นเดียวกับเจ้าของโรงแรมนักประพันธ์
ต้องเสนอความจริงตามความคาดหวังที่ตรงกับสัญญะในมโนคติของนักอ่าน ดังในตอนต้นของความใน
เรื่องทีย่ กมา ผูเ้ ล่าเรื่องสนใจเรื่องราวของซัลมานซึ่งเป็ นปั ญหาทีเ่ ชื่อมโยงกันอยู่กบั การทาลายธรรมชาติ
ก็เพราะคาพูดของเพื่อนทีว่ ่า ในช่วงเวลาต่อจากนี้ไปนี่จะเป็ นกระแสของวรรณกรรมที่ “ได้รบั การป่ าวร้อง
และขานรับอึงอลไปทัวโลก” ่ ทีเ่ ขา “ควรรีบฉกฉวย” (กนกพงศ์ สงสมพันธ์, 2547 : 349-350)
มาถึงตรงนี้หากย้อนทวนตรรกะของตัวบทในประเด็นว่าใครบ้างทีเ่ ป็ นผูร้ ุกรานโลกของซัลมาน
ในกิจกรรมการบริโภคดังกล่ าวนี้ เห็น ได้ว่ าตัว บทไม่ ได้ต ัง้ ค าถามกับ ตัว ละครภายในตัว บทเท่ านั น้
หากแต่ เ ลยมาตัง้ ค าถามกับ ผู้ อ่ า นที่ อ ยู่ น อกตัว บทอีก ด้ ว ย ทัง้ นี้ เ พราะหากบุ ค คลกลุ่ ม แรกที่ ถู ก
วิพากษ์วจิ ารณ์คอื ผู้ประกอบการอย่างเจ้าของโรงแรมกับนักท่องเที่ยว ต่อมาเมื่อตัวบทหันมาตัง้ คาถาม
กับนักเขียนในฐานะผูส้ ร้างงานประพันธ์ คู่ขนานของโครงสร้างนี้กย็ ่อมจะเป็ นใครอื่นไม่ได้นอกจากผูอ้ ่าน
ซึง่ อยู่นอกตัวบท ผูอ้ ่านคงอดไม่ได้ทต่ี อ้ งหันมาตรวจสอบตัวเองว่าความนิยมชมชอบเสพวรรณกรรมแห่ง
ความทุกข์ยากของผู้เสียเปรียบในสังคมอย่าง “โลกใบเล็กของซัลมาน” หรือกิจกรรมอื่นใดก็แล้วแต่ท่มี ี
ภาพลักษณ์เชิงคุณค่าดังกล่าวนี้ เป็ นเพราะความสานึกในคุณค่าหรือทีแ่ ท้แล้วเป็ นเพียง “การบริโภคเชิง
คุ ณ ค่ า” ที่อ นุ ญ าตให้เราเสพความรู้ส ึก มีคุ ณ ค่ าในตัว เอง แต่ ได้กลายเป็ น อีกคนหนึ่งที่ได้รุกรานโลก
ของซัลมานโดยไม่รตู้ วั ภายใต้ฉลากของคุณค่าไปด้วยหรือไม่

สรุป

“โลกใบเล็กของซัล มาน” กล่าวได้ว่าเป็ นวรรณกรรมที่มที งั ้ คุณค่าทางความคิดและคุณค่าทาง


ศิลปะ แนวคิดสาคัญของเรื่องคือแสดงถึงความซับซ้อนของปั ญหาความอยุตธิ รรรมในโลกยุคไร้พรมแดน
ทีป่ ั จเจก-บุคคลผูย้ ดึ มันคุ
่ ณค่าในโลกเก่าต้องเผชิญกับการถูกกระทาอย่างไม่อาจต่อสูด้ น้ิ รน และได้แสดง
ว่าความน่ ากลัวของระบบทุนนิยมอยู่ท่กี ารใช้อานาจรัฐ แสวงหาผลประโยชน์อย่างชอบธรรม ตลอดจน
ความสามารถใน การสร้างภาพลวงตาในธุรกิจการบริโภคเชิงคุณค่า บุคคลผู้ถูกกระทาจึงตกเป็ น
เหยื่อภายใต้การกระทาทีถ่ ูกต้องตามกฏหมาย ซ้าผูม้ สี ่วนร่วมกระทาต่อเขาก็ไม่จาเป็ นต้องเป็ นผูม้ จี ติ ใจ
โหดเหี้ยม หากแต่ เป็ น ใครก็ไ ด้ท่ีขาด การตรวจสอบตัว เอง ทางออกจึงจาต้อ งอยู่ท่ีก ารตัง้ สติเพื่อ
แยกแยะระหว่างความสานึกเรื่องคุณค่าที่จริงแท้กบั สิง่ ที่เป็ นเพียงการบริโภคเชิงคุณค่าอันเป็ นมายาคติ
แห่งการขายทีส่ าคัญของระบบทุนนิยม
ในแง่ของวิธกี ารประพันธ์ นอกจากจะใช้วธิ กี ารทางศิลปะที่สามารถกระตุ้นการใคร่ครวญของ
ผูอ้ ่านมากกว่าจะยัดเยียดคาตอบสาเร็จรูปอย่างตายตัว แล้ว จุดเด่นอีกประการหนึ่งของเรื่องก็เป็ นดังที่
148

นัก วิจารณ์ ท่ านหนึ่งกล่ าวไว้ เรื่อ งสัน้ เรื่อ งนี้ “ใช้เทคนิ ค การเขียนแบบเรื่อ งเล่ าที่เล่ าเรื่อ งของตัว เอง
(Metafiction)” ซึ่งมีส่วนสาคัญทีเ่ อื้อให้ผปู้ ระพันธ์สามารถเสนอความคิดในมิตทิ ซ่ี บั ซ้อนและย้อนแย้งใน
ตัวงานมากกว่าจะเสนอความคิดผูกขาดของผูป้ ระพันธ์ตามวิธกี ารเล่าเรื่องแบบประเพณี นิยมทีก่ ระทากัน
มา (นฤมิตร สอดสุข, 2547 : 353) ด้วยเหตุน้ีวธิ กี ารเล่าเรื่องแบบนี้จงึ เป็ นที่นิ ยมของงานประพันธ์แนว
หลังสมัยใหม่ และอาจคาดหมายได้ว่านับจากนี้ ไปศิล ปะแนวนี้ก็จะเป็ นวิธีการในกระแสนิยมของวง
วรรณกรรมที่ “ได้รบั การป่ าวร้องและขานรับ อึงอล” นับเนื่องไป อีกหลายทศวรรษ

รายการอ้างอิ ง
กนกพงศ์ สงสมพันธ์. 2547. “โลกใบเล็ก ของซัล มาน” ใน มองข้ ามบ่ านั กเขี ย น : เรื่อ งสัน้ ไทยใน
ทัศนะนักวิ จารณ์. กรุงเทพฯ : ชมนาด.
นฤมิตร สอดสุข. 2547. “ ‘โลกใบเล็กของซัลมาน’ มองจากมุมหลังมาร์กซ์ หลังสมัยใหม่ และอณาธิปไตย
ใหม่ ” ใน มองข้ามบ่านักเขียน : เรื่องสัน้ ไทยในทัศนะนักวิ จารณ์. กรุงเทพฯ : ชมนาด.
สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ (บรรณาธิการ). 2547. “ประวัตผิ เู้ ขียน กนกพงศ์ สงสมพันธ์” ใน มองข้ามบ่า
นักเขียน : เรื่องสัน้ ไทยในทัศนะนักวิ จารณ์. กรุงเทพฯ : ชมนาด.

2.5 ตัวอย่างบทวิ จารณ์กวีนิพนธ์


วิ จารณ์กวีนิพนธ์ “บ้านเก่า” ของโชคชัย บัณฑิ ต’
ความนา
ความคึกคักของกิจกรรมการวิจารณ์ ซึ่งมักเกิดขึน้ ในช่วงหลังประกาศผลรางวัลซีไรต์ คงจะถือ
ว่าเป็ นปรากฏการณ์ ปรกติอย่างหนึ่งไปแล้วสาหรับแวดวงวรรณกรรมบ้านเรา ยิ่งปี ใดที่นักวิจารณ์ มี
ความเห็นขัดแย้งกันอย่างรุนแรง ทัง้ ระหว่างความเห็นของนักวิจารณ์ ด้วยกัน และต่อ ความเห็น ของ
คณะกรรมการผู้ตดั สิน ปี นัน้ ก็จะยิง่ คึกคักมากเป็ นพิเศษ ดังนัน้ หากปี ใดไม่ค่อยจะมีความขัดแย้งอย่าง
ที่ว่านี้ บรรยากาศของการวิจารณ์ก็ออกจะเงียบ ๆ เหงา ๆ จนกลายเป็ นเรื่องผิดคาด ผิดแปลก จนถึง
ผิดปรกติไป น่ าสังเกตว่าหากมีบรรยากาศเงียบ ๆ เหงา ๆ อย่างทีว่ ่านี้ ก็มกั จะเป็ นรอบปี ของกวีนิพนธ์
ปรากฏการณ์ น้ีแสดงให้เห็นว่ากวีนิพนธ์เป็ นที่สนใจของนักอ่านน้อยกว่ากิจกรรมประเภทอื่น แต่ก็คง
กล่าวไม่ได้ว่าเป็ นเพราะกวีขาดความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงาน ทัง้ นี้เพราะบทกวีดีมีพลังทาง
ศิล ปะก็มีอ อกมาไม่ ข าดสาย การที่ก วีนิ พ นธ์ก ลายเป็ น ที่ส นใจน้ อ ยลงในแง่ห นึ่ ง อาจเป็ น เพราะ ใน
ท่ามกลางสังคมที่ทวีค วามซับซ้อ นมากขึ้นทุกที วรรณกรรมประเภทอื่นสามารถสนองตอบต่อความ
ต้องการของคนในยุคสมัยได้มากกว่าก็อาจเป็ นได้
149

หลัง ประกาศผลในปี พ.ศ. 2544 ซึ่ง บ้ า นเก่ า ของโชคชัย บัณ ฑิต ’ ได้รบั รางวัล ก็ต กใน
บรรยากาศที่ว่านี้ จนนักวิจารณ์ หลายคนอดบ่นอุบอิบไม่ได้ อย่างวาณิช จรุงกิจอนันต์ (2544 : 71) ก็
ออกมาบอกว่า “เงียบกริบเอาเลยนะ ไม่ได้ยนิ เสียงสะท้อนเสียงก้องเสียงเถียงเสียงไม่เห็นด้วย หรือเสียง
สรรญเสริญชื่นชมอะไรเอาเลย” น่าสังเกตว่าในปี ทโ่ี ชคชัยได้รบั รางวัลนี้ไม่เพียงแต่นักวิจารณ์ไม่ค่อยจะมี
ความเห็นขัดแย้งกันอย่างรุนแรงเหมือนปี อ่นื ๆ ดูเหมือนว่าบทวิจารณ์หลาย ๆ บทจะมีความเห็นในแนว
ทีค่ ล้ายคลึงกันอีกต่างหาก ประเด็นหนึ่งทีพ่ ูดถึงกันมากจนดูเหมือนว่า เป็ นจุดเด่นของโชคชัย บัณฑิต’ใน
รวมบทกวีชุดนี้ทน่ี ักวิจารณ์ต่างเห็นพ้องต้องกันเลยทีเดียว ก็คอื ประเด็นเรื่องการหยิบยกเอาเรื่องเล็ก ๆ
หรือเรื่องธรรมกาสามัญมาเขียน อย่าง “มือเปรต น้องมือผี” (2544 : 630) ก็บอกว่า “โชคชัยเลือกเรื่อง
เล็ก ๆ เรื่องที่เป็ นบริบทแห่งศรัทธาขัน้ พื้นฐานมาเขียน” วาณิช จรุงกิจอนันต์ (2544 : 71) บอกว่า “ผม
ชอบที่เขาหยิบเรื่องเล็ก ๆ มาเขียนถึงในแง่มุมเล็ก ๆ เขียนแบบคนเล็ก ๆ ด้วยความคิดเล็ก ๆ” สัจภูมิ
ละออ (2546 : 210) ก็บอกว่า “ต้องยอมรับว่า เขาสามารถหาแง่มุม เล็ก ๆ น้อย ๆ มาเขียนได้อย่าง
น่ ารัก น่ าชื่นชม” ในคาประกาศของคณะกรรมการตัดสินเองก็กล่าวไว้ว่า “บ้านเก่าสื่อความคิดของกวี
โดยเรียงร้อยประสบการณ์และสิง่ ธรรมดาสามัญรอบตัวซึง่ คนทัวไปอาจมองข้ ่ าม...” (โชคชัย บัณฑิต ’ คา
ประกาศของคณะกรรมการตัดสินรางวัลซีไรต์ ประจาปี 2554)
การประเมินค่าในลักษณะนี้ น่ าจะมีฐานคิดร่วมกันประการหนึ่งก็ค ือ การให้ความสาคัญ กับ
ความ ลุ่มลึกทางความคิดของกวี เพราะมีความลึกทางความคิดกวีจงึ สามารถนาแง่มุมทีม่ อี ยู่ในเรื่องเล็ก
ๆ หรือเรื่องธรรมดาสามัญซึง่ คนทัวไปอาจมองข้
่ ามมาเป็ นเนื้อหาของบทกวี คนทีม่ คี วามคิดลึกซึง้ เท่านัน้
จึงจะเป็ นกวีได้ แต่อย่างไรก็ตามการอธิบายคุณสมบัตขิ องกวีอย่างนี้กค็ งเป็ นขัน้ หยาบ ๆ เท่านัน้ เพราะ
โดยทัว่ ไปก็มีค นที่มีคุ ณ สมบัติน้ี อีก มากมายที่เขาไม่ ได้เป็ น กวี ความเป็ น กวีอ าจต้ อ งประกอบด้ว ย
คุณสมบัตอิ ่นื อีก อย่างความละเอียดอ่อนของผัสสะ กวีมกั รู้สกึ มีความไหวสะเทือนทางอารมณ์สูงในสิง่ ที่
คนอื่น อาจไม่ รู้ส ึก นอกจากนี้ ค งต้ อ งมีอุ ป นิ ส ัย ที่ช อบครุ่ น คิด ตรึก ตรอง และประการส าคัญ ต้ อ งมี
ความสามารถในการแสดงออกด้วยวิธกี ารทีม่ ศี ลิ ปะ เมื่อใดมีครบทัง้ 4 อย่างนี้จงึ เรียกได้ว่าเป็ นกวี ส่วน
จะเป็ น กวีเล็ก กวีน้ อ ย กวีธ รรมดาหรือ มหากวี ก็ค งต้อ งเป็ น เรื่อ งหนึ่ งต่ าง เป็ น เรื่อ งของระดับ ของ
คุณสมบัตทิ ว่ี ่านี้
เรื่องธรรมดาสามัญในมุมมองและญาณทัศน์ ของกวี
ผลงานรวมบทกวี บ้านเก่า ของโชคชัย บัณฑิต’ แสดงให้เห็นว่าเขามีคุณสมบัตขิ องความเป็ น
กวีอย่างทีว่ ่านี้ มีบทกวีหลายชิ้นทีเ่ ขาหยิบยกเอาเรื่องธรรมดาสามัญหรือจะเรียกว่าเรื่องเล็ก ๆ ก็ได้มา
เป็ น เนื้ อ หาของบทกวี ความคิดความรู้ส ึกของเขาเมื่อ สัม ผัส กับสิ่งที่เราเห็นว่าธรรมดาสามัญ ก็กลับ
กลายเป็ นเรื่องไม่สามัญที่มีหลากหลายแง่มุมให้คดิ ให้รสู้ กึ ไป และเขาแสดงด้วยวิธกี ารที่มศี ลิ ปะกระตุ้น
ให้เรารูส้ กึ ตามไปด้วย อย่างกรณี “ปี กไม้ - ลายแทง” ซึง่ เป็ นบทกวีทโ่ี ดดเด่นทีส่ ุดชิน้ หนึ่งในรวมเล่มชุดนี้
บทกวีน้ีได้รบั รางวัล ชมเชยจากสมาคมภาษาและหนังสือ แห่ งประเทศไทยเมื่อ ปี พ.ศ. 2541 (สัจภู มิ
ละออ, 2546 : 212) โดยทัวไปก็่ คงจะมีคนบางส่วนทีร่ สู้ กึ ได้ถงึ ความงามของลายวงปี ของต้นไม้ แต่นนั ่ ก็
เป็ นเพียงความงามของรูปลักษณ์ภายนอก และบางทีเอาแค่ความรูปลักษณ์ของลวดลายภายนอกนี้เราก็
150

อธิบายไม่ได้แล้วว่าทาไมจึงงาม แต่โชคชัยเขามองลึกลงไปว่าลายวงปี น้ีเป็ นลายแทง ถ้าบอกว่าเป็ นลาย


แทงก็หมายถึงว่า มันเป็ นสัญลักษณ์หรือเป็ นเครื่องหมายทีน่ าไปสู่การค้นพบสิง่ มีค่าบางอย่าง ตรงนี้คง
ต้องบอกว่าโชคชัยใช้ภาษาได้ดมี ากในการสรรคามาตัง้ ชื่อบทกวีเพื่อเชื่อมโยงกับเนื้อหา ลายวงปี เป็ น
ลายแทงที่นาไปสู่คุณ ค่าของอะไร ก็คงต้องบอกว่าเป็ นคุณค่าของความงามของความเติบโตแห่งชีวติ
หรือถ้าเป็ นมนุษย์กบ็ อกว่าเป็ นคุณค่าแห่งประสบการณ์ชวี ติ ก็ได้ เป็ นลายแทงทีบ่ ่งบอกถึงร่องรอยความ
เติบโตแห่งชีวติ ของต้นไม้ กว่าจะเติบโตเป็ นไม้ใหญ่ให้ร่มเงา ต้องผ่านอะไรมามากมายมายหลายอย่าง
แตกต่างกันไปในแต่ละปี บางปี วงปี ห่างก็แสดงว่าปี นนั ้ มันโตขึน้ มากก็อาจเป็ นช่วงทีน่ ้าดินดีอุดมสมบูรณ์
ปี ใดพบความแห้งแล้งวงปี กแ็ คบลง ตรงนัน้ ตรงนี้อาจเป็ นปุ่มเป็ นปมเว้า ๆ แหว่ง ๆ ก็อาจเป็ นพิษภัยของ
ไฟป่ าหรือด้วงแมลง ดังในบทกวีมวี ่า

วงปี ถห่ี ่างแตกต่างรุ่น น้าดินสมดุลลายหมุนประดิษฐ์


ถ่างช่องพร่องวัยมิให้ชดิ บางปี ถต่ี ดิ อาจพิษแล้ง
ปุ่มปมกลมโตด้วงโซเจาะ บางปี เปลือกเลาะเพราะไฟแต่ง
จิตรกรรมธรรมชาติสามารถแสดง เข้าคู่ขดั แย้งเขียนแต่งลาย
(โชคชัย บัณฑิต’, 2544 : 35)

ไม่ว่าชีวติ คนหรือต้นไม้อาจต้องประสบทัง้ ความงดงามและความอัปลักษณ์ เพราะธรรมชาติของชีวติ เป็ น


อย่างนัน้ ความอัปลักษณ์ของชีวติ อาจไม่ใช่สงิ่ ทีใ่ คร ๆ ปรารถนา แต่เมื่อเป็ นสิง่ ทีม่ อี ยู่ประจาชีวติ ของทุก
ๆ ชีวติ หากจะเติบโตขึน้ ก็ต้องผ่านไปให้ได้ และทุกครัง้ ทีผ่ ่านไปนัน่ แสดงว่าชีวติ ได้เพิม่ ความแข็งแกร่ง
ขึน้ อีกระดับหนึ่งแล้ว การผ่านประสบการณ์กว่าจะเติบโตนัน่ คือค่าของชีวติ ไม่ต่างกันเลยระหว่างคนกับ
ต้นไม้ แต่โชคชัยก็ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่นนั ้ ในตอนจบของบทกวีเขาไม่ลมื บอกเราว่า ลายวงปี ทเ่ี ห็นอยู่
นัน้ เป็ น “ลายประประดิษ ฐ์ประดับโต๊ะ” ดังบทกวีมีว่า “บัดนี้วงปี ส้นิ ชีว ิต ทิ้งลายประดิษ ฐ์ประดับโต๊ะ”
(โชคชัย บัณฑิต’, 2544 : 35) ตรงนี้เป็ นการจบที่กระตุ้นการครุ่นคิดในหลายแง่มุมทีเดียว ในแง่หนึ่งเรา
ต้องคิดว่า ความงดงามของลายไม้ไม่มีทางที่จะสาแดงตัวออกมาเองได้หากไม่พบกั บการจัดการของ
มนุ ษย์ ไม้ท่ผี ุพงั หรือหักโค่นเองตามธรรมชาติมองไม่เห็นลายไม้ ยกเว้นแต่ว่าเราไปตัดไปผ่าหรือเลื่อย
ออกมาเป็ น แผ่ น ๆ ความงามของลายไม้ม ัน ซ่ อ นลึก อยู่ในเนื้ อ ไม้ แต่ ม นุ ษ ย์ก็ช่างสรรหาวิธีก ารเอา
ประโยชน์จากสิง่ ที่ซ่อนลึกอยู่ในธรรมชาติเช่นนี้มาเป็ นประโยชน์แ ก่ตน และในเมื่อต้นไม้แม้ตายไปก็ท้งิ
ร่องรอยความเติบโตแห่งชีวติ ไว้ประดับโต๊ะ ผูอ้ ่านก็คงอดคิดถามตัวเองไม่ได้ว่าก่อนจะละโลกนี้ไปพอจะ
มีคุณค่าแห่งชีวติ อะไรทีเ่ ป็ นประโยชน์แก่โลกบ้างหรือยัง
ยิง่ บทกวี “ห้องน้ าแห่งหนึ่ง” ยิง่ เห็นชัด บทกวีน้ีอาจไม่ได้สร้างความประทับ ใจเท่าอีกหลาย ๆ
บท แต่กค็ งจะเป็ นตัวอย่างทีด่ ใี นแง่ความลึกคิดของกวี แม้แต่ประตูหอ้ งน้ าก็มอี ะไรให้ครุ่นคิด บทกวีแบ่ง
ออกเป็ น 3 ช่วงคือ “ประตูบาธติค” “ประตูเปิ ด” และ “ก้องสะท้อน” ผู้แต่งเริม่ ต้นที่ประตูของห้องน้ า ดัง
บทกวีมวี ่า
151

งามหรูประตูปะติดปะต่อ ทนหนอต่อน้าพริบพร่ากระฉอก
เปี ยกชืน้ ดื่นดวงละร่วงจากก๊อก กระเซ็นเป็ นดอกมิได้ชอกเนื้อ
ประตูบาธติคเทคนิคเฉพาะ ต้านชืน้ ไชเจาะราเกาะเยื่อ
ห้องน้าน้านองใช่ทอ้ งเรือ บาธติกต่างเอือ้ กว่าเนื้อไม้
(โชคชัย บัณฑิต’, 2544 : 75)

ประตูหอ้ งน้ าเป็ นประตูบาธคิคทาจากวัสดุสงั เคราะห์ทต่ี ้านทานความชื้นสูง ดังนัน้ มันจึงเหมาะกับห้องน้ า


มากกว่าประตูไม้ โดยทัวไปเมื
่ ่อพบเห็นประดิษฐกรรมของมนุ ษย์ในลักษณะดังกล่าวนี้ เรามักคิดไปถึง
ความสามารถ ความฉลาดปราดเปรื่องของมนุษย์ ทีส่ ามารถใช้เทคโนโลยีผลิตอะไรต่อมิอะไรสนองความ
ต้องการได้ไม่จบสิ้น จนดูเหมือนว่าในห้วงจักรวาลนี้ไม่มอี ะไรเกินความสามารถของมนุ ษย์ จนบางทีก็
เลยเถิดคิดไปว่ามนุ ษย์น่ีเองคือเจ้าจักรวาลผู้ยงิ่ ใหญ่เหนือสรรพสิง่ แม้แต่ธรรมชาติ การสร้างสรรค์ของ
ธรรมชาติแม้น่าอัศจรรย์แต่ก็มขี ดี จากัด มนุ ษย์น่ีเองที่สามารถทาลายขีดจากัดเหล่านัน้ ลงได้ ดังกรณี
ประตูบาธติคทีเ่ หนือกว่าประตูไม้น่ีเป็ นตัวอย่าง แต่กวีชวนให้เราคิดไปอีกทางหนึ่งว่า ความก้าวหน้าของ
ประดิษ ฐกรรมแม้จะช่วยให้เราพบความสะดวกสบาย แต่ขณะเดียวกันเราก็ต้องสูญ เสียบางอย่างไป
ประการสาคัญ คือยิง่ เรามีประดิษฐกรรมที่ล้าหน้า ไปมากเท่าใด เราก็ยงิ่ มีชวี ติ ที่ห่างไกลจากธรรมชาติ
มากไปเท่านัน้ ซึ่งก็เป็ นเรื่องเดียวกับความยิง่ ห่างไกลกับสัจธรรมของชีวติ โดยเฉพาะการเกิดขึน้ ตัง้ อยู่
ดับไปของสรรพสิง่ ดังทีก่ วีกล่าวว่า

ย้อนคิดจากคาเพลาก่อน หลังคาผุกร่อนถอนทาใหม่
รับรูฤ้ ดูกาลผันผ่านไป ทัง้ รูน้ ้าใจเพือ่ นร่วมบาง
สัจจะประจาธรรมชาติ ย้าเตือนเกลื่อนกลาดไม่ขาดว่าง
มีเช้ามีค่าไม่อาพราง ใบพฤกษ์แผ่ววางสังสารวัฏ
(โชคชัย บัณฑิต’, 2544 : 75)

ตรงนี้เขาพูดถึงการเปลีย่ นหลังคา หลังคาจากหรือตับหญ้าคาซึ่งเป็ นวัสดุธรรมชาติ ต้องผุกร่อนไปตาม


กาลเวลา อาจทาให้เราได้ตระหนักคิด หรืออย่างน้อยก็ใกล้ชดิ กับความเปลีย่ นแปลงเสื่อมสลาย ซึ่งเป็ น
สิง่ มีอยู่ค่โู ลกและชีวติ แต่ในโลกของวัสดุสงั เคราะห์เราได้สูญ เสียสิง่ นี้ไปแล้ว เราอาจจะไม่หยุดคิดอยู่แค่
นี้กไ็ ด้ มีตวั อย่างที่เห็นได้ชดั ๆ ในลักษณะเดียวกันนี้กค็ อื ในยุคที่ผลิตภัณฑ์หรือศัลยกรรมเสริมความ
งามได้พฒ ั นารุดหน้าไปมาก อย่างชนิดทีเ่ รียกว่าใคร ๆ ก็สวยได้หากมีเงินนี่เอง มีคนจานวนไม่น้อยอาจ
เป็ นทุกข์เป็ นร้อนจนไม่เป็ นอันกินอันนอน เมื่อเจอผมหงอกหรือริว้ รอยแห่งวัยบนใบหน้าเข้าสักแห่ง อันนี้
ก็เป็ นเรื่องเดียวกัน คือเป็ นเรื่องของเทคโนโลยีทท่ี าให้คนแปลกแยกกับสัจธรรมของชีวติ
คุณค่าของวิ ถีดงั ้ เดิ มและปัญหาของยุคสมัย
152

ในฐานะที่รวมบทกวีเล่มนี้ถู กประทับตราให้เป็ นกวีนิพนธ์รางวัลซี ไรต์ หรือในอีกแง่หนึ่งถู ก


ประทับตราให้เป็ นวรรณกรรมสร้างสรรค์ แน่ นอนว่าความคาดหวังของผู้อ่านที่มตี ่อ บ้านเก่า ย่อมต่าง
จากหนังสือประเภทรวมกลอนรักหวาน ๆ เป็ นแน่ ความคาดหวังอย่างหนึ่งที่ดูจะผูกติดกับรางวัลซีไรต์
มาตลอดก็คอื การมีเนื้อหาที่สะท้อนปั ญหาหรือชี้ทางออกแก่สงั คม ดังที่ตรีศลิ ป์ บุญขจร (2547 : 647)
ได้กล่าวประเมินค่ า บ้านเก่ า ไว้ตอนหนึ่งว่า “ผลงานเรื่องนี้นาเสนอปั ญ หาร่วมสมัยของมนุ ษย์ในยุค
โลกาภิวตั น์ทม่ี ลี กั ษณะสากล” มีคุณค่าในระดับของการเป็ นกระจกเงาทีส่ ง่ สะท้อนปั ญหาสังคม
แม้ว่าภารกิจต่อปั ญหาสังคมจะไม่ใช่ภารกิจของกวีโดยตรง แต่ในฐานะทีช่ วี ติ มนุษย์ดารงอยู่ใน
สังคม ปั ญ หาของมนุ ษ ย์แ ละปั ญ หาสังคมในที่สุ ดก็เป็ น เรื่อ งเดีย วกัน ก็ค งไม่ มีก วีค นใดที่มุ่งจะแปล
ความหมายของชีวติ โดยไม่ใส่ใจปั ญหาสังคม ในแง่หนึ่งการสร้างเสพวรรณกรรมเองก็นับเป็ นกิจกรรม
ทางสัง คมที่ไ ม่ ไ ด้ ต ัด ขาดจากกิจ กรรมอื่น ดัง นั ้น การประเมิน ค่ า วรรณก รรมหากจะใช้ว ิธีก ารทาง
สุนทรียศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียว โดยปฏิเสธที่จะข้องแวะกับสังคมศาสตร์อ ย่างสินเชิงก็ค งจะไม่ได้
อย่างไรก็ตามกวีซ่งึ ทางานศิลปะก็อาจจะประสงค์เพียงแค่ทาหน้าทีเ่ ป็ นผูร้ ะบายความกดดันทางอารมณ์
อันเนื่องมาจากการทับถมปั ญหาของคนร่วมยุคก็อาจเป็ นได้ ใน บ้านเก่า ดูเหมือนโชคชัยพยายามจะทา
หน้าทีน่ ้ี และเขาก็ทาได้ดี
ปั ญหาของมนุษย์ในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมดูจะเป็ นจุดกระทบใจ
เป็ นพิเศษสาหรับกวีผนู้ ้ี หนุ่มสาวของยุคสมัยไม่ได้ท้งิ ถิน่ ฐานบ้านเกิดเพราะความแห้งแล้งลาเค็ญอย่าง
ในอดีตอีกแล้ว แต่เป็ นเรื่องของความพ่ายแพ้ต่อระบบทุนนิยมและบริโภคนิยม ดังในบทกวี “บ้านเก่า”
ซึง่ เป็ นชื่อเดียวกับกวีนิพนธ์บอกเราว่า

เกษตรกรรมแสนลาเค็ญ ขายแรงเล่นเล่นเห็นเงินตรา
ตาแหน่งแห่งทีม่ มี ากเหลือ โรงงานซ้าเอือ้ ทัง้ เสือ้ ผ้า
งานใหญ่แฟลตใหม่คล่องไปมา เพือ่ นบ้านทิง้ ป่ ามุ่งหางาน
(โชคชัย บัณฑิต’, 2544 : 115)

ปั ญหาแบบนี้ดูจะหนักหน่วงรุนแรงกว่าการทิง้ ถิน่ ฐานบ้านเกิดเพราะความแห้งแล้งทุรกันดารมากนัก อัน


นัน้ เป็ นปั ญหาของความอยู่รอดซึ่งไม่ได้นาไปสู่ความตกต่าทางจิตวิญญาณ เป็ นปั ญหาเรื่องปากท้องซึ่ง
รัฐบาลท่านก็พยายามแก้ปัญหากันมาทุกยุคสมัย แต่การตกเป็ นทาสของวัตถุในสังคมยุคบริโภคดูจะเป็ น
ปั ญหาทีร่ ฐั ท่านก็คงจะอับจน จะให้รณรงค์ไม่ให้คนตกเป็ นทาสของวัตถุอย่างรณรงค์ปลอดลูกน้ายุงลายก็
คงไม่ได้ผล กวีจงึ ต้องทาหน้าที่ของการระบายความกดดันทางอารมณ์ไปพร้อมกับการชี้ให้เห็นพิษภัย
ของปั ญหา ซึ่งก็ย่อมจะเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการชี้ทางออก ทัง้ นี้เพราะเมื่อกวีช้ปี ั ญหาผู้รบั ก็คงจะคิดได้
เองว่า การปลดเปลื้องพันธนาการจากการตกเป็ นทาสของวัตถุดว้ ยความตระหนักในภัยของมันนัน่ ก็คอื
จุดตัง้ ต้นของการชี้ทางออกในตัวของมันเอง เมื่อกวีเขาชี้ถึงปั ญ หา ผู้รบั ก็คงจะคิดได้เองว่า การปลด
เปลื้องพันธนาการจากการตกเป็ นทาสของวัตถุดว้ ยความตระหนักในภัยของมันนัน่ คือทางออก โดยไม่
จาเป็ นต้องรอให้กวีเขาระบุออกมาใก้ชดั เป็ นข้อ ๆ อย่างโจ่งแจ้ง
153

บทกวี “บ้านเก่า” ไม่เพียงแต่ช้ใี ห้เห็นถึงภัยของความบีบคัน้ ทางเศรษฐกิจ เมื่อนาชีวติ เข้าสู่


ระบบเงินผันเงินผ่อนเพราะการตกเป็ นทาสของวัตถุเท่านัน้ แต่ช้ใี ห้เห็นว่าวิถชี วี ติ แบบนัน้ จะนาเราไปสู่
ความตกต่าทางจิตวิญญาณ ก็ในเมื่อ “ลืมทัง้ โคตรเหง้าทิ้งเหล่ากอ” เพราะถูกครอบงาด้วย “มนต์ เมือง
โอฬาร” จนถึงขัน้ “วันหนึ่งบ้านเก่าจะเอาขาย ปู่ย่าตายายกลายขยะ” (โชคชัย บัณฑิต ’, 2544 : 115) ก็
คงไม่มีอะไรเหลือ หลังจากที่กวีชวนให้เราสานึกต่อคุณค่าของวิถีชีวติ แบบเก่า และชี้ให้เห็นถึง ความ
อัปลักษณ์ของวิถชี วี ติ แบบใหม่มาเป็ นระยะนับแต่ต้นในบทกวีหลาย ๆ บทอย่าง “ดินน้ าลมไฟ : ความ
เป็ นไปในชีวติ ” “นครเมฆา” “ห้องน้ าแห่งหนึ่ง” ฯลฯ เมื่อมาถึง “บ้านเก่า” กวีบทเกือบจะสุดท้ายนี่ ก็คงจะ
เป็ นเหมือนการชักชวนเราให้กลับบ้านเก่ากันสักครัง้ คือหมายความว่าหลังจากกวีสร้างความรูส้ กึ โหยหา
วิถชี วี ติ แบบอดีตจนได้ทแ่ี ล้ว บทกวีสุดท้ายนี้กวีกจ็ ะชักชวนเรากลับบ้าน หากเรายังไม่อ่านตัวบทเห็นชื่อ
บทว่า “บ้านเก่ า” ก็อาจจะคิดไปว่า เนื้อ หาของกวีบ ทสุ ดท้ายคงจะเป็ นไปในลักษณะที่ว่า ตัว ละครผู้
หลงใหลในมนต์เมืองเกิดความเบื่อหน่ ายเพราะพบแต่ความโสมม และสานึกได้ว่า บ้านนอกที่จากมานัน่
คือวิถชี วี ติ ทีง่ ดงาม แล้วจึงตัดสินใจจะกลับบ้านอะไรอย่างนี้ แต่ก็เปล่า กวีจะชวนเรากลับบ้านอย่างสง่า
งามเพราะความสานึกต่อคุณค่าของวิถชี วี ติ ในอดีตสักครัง้ ก็ไม่ได้ กลายเป็ นว่ากวีชวนเรากลับบ้านพร้อม
กับตัวละครทีห่ นีหนี้อย่างหัวซุกหัวซุน บทกวีแบบนี้อาจไม่ได้สร้างความประทับใจได้อย่างบทกวีทเ่ี ราคิด
แต่อย่างไรก็ตาม กวีอาจไม่ต้องการให้อารมณ์แห่งความประทับใจมากลบความตระหนักภัยของปั ญหาก็
อาจเป็ นได้
หลัง “บ้านเก่า” มีบทกวีอกี บทหนึ่งคือ “ชานเรือน” บทกวีบทนี้คงเป็ นบทกวีทแ่ี ต่งขึน้ ใหม่เพื่อ
การรวมเล่มครัง้ นี้โดยเฉพาะ เนื่องจากไม่ได้ระบุว่าเคยตีพมิ พ์ทไ่ี หนมาก่อนเหมือนบทอื่น และคงเป็ นบท
กวีท่แี ต่งขึ้นใหม่โดยตัง้ ใจจะให้เชื่อมโยงกับ “บ้านเก่า” ในบริบทเดียวกัน คือ “ฉัน” ตัวละครในบทกวี
กลับบ้านมาก็พบกับ “บ้านเก่าใกล้รา้ งเสาครางสัน่ กระดานเรือนร้องลันนอกชานถล่
่ ม” ในขณะที่ “ชาญ
เรือ นล้มกลิ้งแลยิ่งเศร้า หลังคาเปิ ดค้างเมฆบาเบา กระดานบ้านเก่าพาดเสาเอียง (โชคชัย บัณ ฑิต ’,
2544 : 116 - 117) ตอนท้ายของ “ชานเรือน” นับเป็ นจุดทีน่ ่าสนใจ บทกวีกล่าวว่า

กลางซากเรือนเก่าไม้เสาเซ
ต้องเสน่หส์ เี ขียวเรียวหญ้านัน้
ยังข้าวกราวกระจายยุง้ พ่ายพลัด
กล้าระบัดบางใบมิได้หวัน่
สูดลมหายใจไยตืน้ ตัน
เพียงหันมองฟ้ าชื่นตานัก (โชคชัย บัณฑิต’, 2544 : 117)

ทาไมต้องจบอย่างนี้ ทาไมต้องเสน่หส์ เี ขียวของเรียวหญ้า แล้วไยต้องตื้นตัน คงไม่ได้เป็ นเพราะกวีเพียง


ประสงค์จะสร้างบรรยากาศที่แช่มชื่นขึน้ มาบ้าง หลังมีแต่บรรยากาศทีม่ ดื ๆ มัว ๆ ในบททีแ่ ล้ว หากต้น
กล้าในที่น้ี เป็ น สัญ ลัก ษณ์ ข องทัง้ 2 อย่ างคือ วิถีชีว ิต ดัง้ เดิม และธรรมชาติ ในฐานะที่ต้น กล้าในที่น้ี
เจริญเติบโตขึน้ มาเอง กวีอาจบอกเราก็ได้ว่า ความสืบต่อของชีวติ อันมีอยู่ในธรรมชาตินนั ้ เป็ นความ
154

แข็งแกร่งที่ไม่มวี นั พ่ายแพ้ ความแข็งแกร่งแห่งชีวติ คือพลังที่จะต่อสูก้ บั ปั ญหา ทุก ๆ ปั ญหาย่อมมี


ทางออก และการยืนหยัดทีจ่ ะสูด้ ว้ ยความแข็งแกร่งนัน่ คือค่าและความงามแห่งชีวติ ดังนัน้ กวีจงึ กล่าวว่า
“กล้าระบัดบางใบมิได้หวัน่ สูดลมหายใจไยตื้นตัน เพียงหันมองฟ้ าชื่นตานัก ” ในอีกแง่หนึ่งกวีอาจจะ
อยากบอกเราก็ได้ว่า ในทีส่ ุดแล้วความผูกพันต่อวิถชี วี ติ ดัง้ เดิมซึ่งใกล้ชดิ กับธรรมชาติของคนชนบทอาจ
ไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่มนั ถูกบดบังไปชัวคราวในกระแสแรงกล้
่ าของสังคมยุคบริโภค ไม่ได้ถูกทาลาย
ไปอย่างสิ้นเชิง ตรงนี้กวีพยายามจะให้ความหวังแก่เราว่า ในยุคที่เราถูกครอบงาด้วยแนวคิดแบบวัตถุ
นิยมและบริโภคนิยมเช่นนี้ ความดีงามหรืคุณค่าภายในจิตใจของมนุษ ย์กไ็ ม่ได้ถูกทาลายไปอย่างสิน้ เชิง
ยังมีเนื้อแท้แห่งความเป็ นมนุ ษย์ท่ซี ่อนอยู่ภายในนัน่ เอง แต่เรื่องของทางออกว่าเราจะจัดการกับตัวเอง
อย่างไรเพื่อกู้คุณค่าดัง้ เดิมเหล่น้ีกลับคืนมา แม้ไม่อาจย้อนกลับไปสู่วถิ ชี ีวติ แบบเดิมได้ อันนี้ก็คงเป็ น
เรื่องของแต่ละคน
บทกวีหลายบทใน บ้านเก่า ดูเหมือนจะมุ่งกระตุ้นความสานึกต่อปั ญหาของชาวชนบท ที่ถูก
ครอบงาด้วยวัฒนธรรมบริโภคนิยมและวิถชี วี ติ ทีถ่ ูกรุกรานด้วยเทคโนโลยี ดังในบทกวีหลายบท เช่นใน
“ดิน น้ า ลม ไฟ : ความเป็ นไปในชีวติ ” เป็ นต้น แต่คงจะกล่าวไม่ได้ว่าปั ญหาแบบนี้ไม่ได้มผี ลกระทบใด
ๆ ต่อชาวเมือง ดังที่ ตรีศลิ ป์ บุญขจร (2547 : 637) กล่าวไว้ ปั ญหาแบบนี้เป็ นปั ญหาในยุคโลกาภิวตั น์
เป็ นปั ญหาร่วมของคนในสังคม ในโลกของวัตถุนิยมความสับสนระหว่างศรัทธากับวัตถุอย่างในบทกวี
“ในนามของความเชื่อ” การนาพระพุทธรูปเศียรหักนางกวักแขนหลุดไปทิ้งวัด เพราะคิ ดว่าได้กลายเป็ น
สิง่ อัปมงคล เนื่องจากเอาศรัทธาไปผูกโยงกับวัตถุนนั ้ เป็ นพฤติกรรมทีพ่ บได้ทวไปทั ั ่ ง้ ในเมืองและชนบท
นอกจากนี้บทกวีบางบทอย่าง “มิตรภาพในตรอกซอกซอย” ทีก่ ล่าวถึงการรุกรานทางเศรษฐกิจจากธุรกิจ
เครือข่ายอย่างห้างสรรพสินค้าและมินิมาร์ทของบรรดาร้านโชห่วย หรือบทกวีอย่าง “นครเมฆา” ก็ดูจะ
เป็ นปั ญหาของคนเมืองเองเสียด้วยซ้า แม้ว่าคนทีห่ ลงอยู่กบั ความสุขแบบบริโภคดังว่าเป็ นเทพวิมานกัน
อยู่ในห้าง กับที่ “แอร์อดั ยัดโลกันตร์” กันอยู่บนท้องถนนนัน้ ก็คงจะมีคนชนบทรวมอยู่ดว้ ยก็ตาม
สหบทและการสืบสานวรรณศิ ลป์
ในแง่ของวิธกี ารทางศิลปะ ผู้เขียนเห็นด้วยกับที่ตรีศลิ ป์ บุญขจร (2547 : 637) กล่าวไว้ในแง่
ของ “สหบท” ซึ่งหมายถึง “ความสัมพันธ์ระหว่างตัวบทปั จจุบนั กับ ตัวบทในอดีต” โดยเฉพาะในแง่ “การ
นาตานานและวรรณคดี รวมทัง้ ความเชื่อโบราณมาผสมผสานกับการนาเสนอเรื่องราวสมัยใหม่” (ตรีศลิ ป์
บุญขจร, 2547 : 639) ความจริงวิธกี ารเช่นนี้ไม่ใช่ของใหม่เสียทีเดียวนัก ตรีศลิ ป์ เองก็กล่าวว่า “ลักษณะ
การนา ‘เรื่องเก่ า’ มา ‘เล่ าใหม่ ’ เช่นนี้ ‘กวีการเมือง’ หรือ จิต ร ภูมศิ ักดิ ์ เคยใช้มาแล้วตัง้ แต่ราวพ.ศ.
2537” (ตรีศลิ ป์ บุญขจร, 2547 : 639) นอกจากดังทีต่ รีศลิ ป์ กล่าวไว้น้ีก็มกี วีอ่นื อีกหลายคนที่ “เล่น” กับ
วิธกี ารเช่นนี้ เช่น แรคา ประโดยคา ในกวีนิพนธ์ “ในเวลา” ก็เคยนาลีลาและแบบฉันทลักษณ์ของฉันท์
ดุษฎีสงั เวยกล่อมช้างมาสร้างสรรค์ใหม่ในบท “ดุษณีสงั เวย” โดยเลียนโครงสร้างของบทกล่อมช้าง 5 ลา
คือ ขอพร ลาไพร ชมเมือ ง สอนช้าง อาภรณ์ ช้าง มาแบ่งเป็ นบทกวี 5 ตอน คือ ขอพร ลาทุ กขถวิล
ปลอบตน สอนตน อาภรณ์ ตน (ธเนศ เวศร์ภาดา, 2547 : 62) คมทวน คันธนู ก็เคยนาร่ายนาใน “ลิลติ
โองการแช่งน้ า” มาสร้างเลียนแบบในบทกวี “รุ้งกินเมือง” เป็ นต้น (ธเนศ เวศร์ภาดา, 2547 : 92) ใน
155

กรณีของโชคชัยวิธกี ารดังกล่าวนี้เขาก็ทาได้ดี เช่นในบทกวี “ในมหานคร” ซึ่งกล่าวถึงช้างทีค่ วาญนามา


ทามาหากินในเมืองหลวง บทกวีบทนี้ผแู้ ต่งใช้ลลี าของบทกล่อมช้างเข้ามาแทรกในช่วงกลาง ดังบทกวีมี
ว่า

… อ้าพ่ออย่าเศร้าอย่าเนาโศก เถื่อนแถวแนวโตรกผาโบกปิ ด
พืน้ ดงพงชัฏพนัสชิด เวียงไชยไพจิตรภิตตา
มากภัยในพฤกษ์ห่อนนึกถึง พ่อพึงพอใจในพฤกษา
ดงร้อนดอนรุ่ม-ฝนชุ่มฟ้ า ใครจักเกีย่ วหญ้าเยีย่ งธานี...
(โชคชัย บัณฑิต’, 2544 : 63)

การนาบทกล่อมช้างมาใช้เลียนแบบตรงนี้ นอกจากจะสร้างความไพเราะกระตุ้นอารมณ์ โศก ชวนให้


เวทนาต่อช้างแล้ว ยังทให้บทกวีบทนี้มคี วามหมายหลายนัยไปทันที เพราะในแง่หนึ่งเราย่อมคิดไปถึง
บริบทกล่อมช้างของอดีต ช้างถูกพรากจากไพรมาอยู่เมืองก็เพื่อจะเป็ นช้างทรงสาหรับกษัตริย์ ช้างอาจ
ไม่รบั รูถ้ งึ ฐานะทีย่ งิ่ ใหญ่และสูงส่งของมัน แต่คนทีไ่ ด้ฟังบทกล่อมก็คงจะรับรูไ้ ด้ แต่ในบริบทของปั จจุบนั
ช้างต้องจากถิน่ อาศัยจากป่ ามาสู่เมือง ก็เพียงเพือ่ จะไหว้วานกราบกรานโค้งคานับให้ผคู้ นช่วยซื้ออาหาร
ซึ่งก็ไม่แน่ ใจเหมือนกันว่า จะเพียงเพื่อ เลี้ยงพวกมันหรือ เป็ นวิธีการหาเงินของควาญ แต่ไม่ว่าจะเป็ น
อย่างไหนมันก็เป็ นภาพที่ต้อยต่ าหมดสง่าราศี ซึ่งตัดกับภาพช้างในบริบทเก่าอย่างสิ้นเชิง การใช้บท
กล่ อ มช้างแทรกนอกจากจะก่ อ ความเห็น ใจต่ อ ช้ า งเหล่ า นี้ แ ล้ว ในอีก แง่ห นึ่ งก็ก ระตุ้ น ความคิด อีก
เหมือนกัน แม้แต่ชา้ งก็ไม่ได้รอดพ้นไปจากผลกระทบของกระแสทุนนิยม จากช้างสัตว์ใหญ่ทส่ี ง่างามเคย
ชักลากซุงอยู่ในป่ า ต้องกลายมาเป็ นช้างขอทานไป ในบทกวีบทนี้ผู้แต่งเองพยายามซ่อนตัวอย่างเงียบ
กริบ เขาไม่ได้อ อกมาวิพ ากษ์ว ิจารณ์ อ ย่างโจ่งแจ้งว่า ควาญช้างนาพวกมันมาทรมานเพื่อ หาเงินเข้า
กระเป๋ าหรือไม่ ทัง้ นี้อาจเป็ นเพราะว่าปั ญหาในลักษณะนี้บางทีกเ็ ป็ นเรื่องที่มองต่างมุมกันได้เหมือนกัน
ควาญช้างก็อาจจะบอกว่าบ้านนอกไม่มงี านชักลากอีกแล้ว จะเอาอะไรให้ชา้ งกินก็ต้องพามันเข้าเมือง แต่
อีกแง่หนึ่งพฤติกรรมของควาญช้างบางกลุ่มก็แสดงออกไปในแง่ของการทรมานสัตว์ แต่อย่างไรก็ตามใน
ทัศนะของผูแ้ ต่กค็ งจะเป็ นอย่างหลังมากกว่า เพราะท้ายบทกวีเขากล่าวว่า

อดนอนร่อนเร่เดรัจฉาน ฝืนสัญชาตญาณการพักผ่อน
ดึกแล้วยังคานับไม่หลับนอน ในมหานครทัง้ ร้อนและรถ
(โชคชัย บัณฑิต’, 2544 : 63)

สือ่ ให้คดิ ว่าพวกมันถูกทาทารุณเกินกว่าเพือ่ ความอยู่รอดเข้าไปแล้ว


อย่างไรก็ต ามวิธีก ารของโชคชัยในลักษณะดังกล่ าวนี้ หากเทียบกับกวีอ่นื แล้ ว เขาก็มีจุด ที่
แตกต่างอยู่เหมือ นกัน สหบทของเขาไม่ได้มีแต่เฉพาะวรรณคดีเก่าเท่านัน้ บางครัง้ เขาก็ใช้เรื่องเล่ า
ประเภทอื่น เช่นใน “วังแม่ลูกอ่อน” ซึ่งโชคชัยก็ทาได้ดไี ม่แพ้บทกวี “ในมหานคร” ที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว
156

บทกวีน้ีใช้กลอนสุภาพแต่ประกอบด้วยโคลง 1 บท คล้าย ๆ กับกาพย์ห่อโคลง แต่ในทีน่ ้เี ป็ นกลอน อาจ


เรียกว่าเป็ นกลอนห่อโคลงก็ได้ (ธเนศ เวศร์ภาดา, 2547 : 70) เนื้อหาในโคลงนาของ “วังแม่ลูกอ่อน” มี
ว่า

ข้ามวังวางลูกไว้ เวียนคอย แม่เนอ


คืนฝัง่ รับเจ้ากลอย ผูพ้ ่ี
บัดยลเหยีย่ วไหวหว็อย มือแม่ ไล่โบก
ลูกเชื่อหรือแม่ช้ี อย่าช้า จมชล
(โชคชัย บัณฑิต’, 2544 : 87)

เนื้อเรื่องเช่นที่ว่านี้เคยเป็ นเนื้อร้องของเพลงลูกทุ่งมาก่อน เป็ นเพลงในทานองเพลงแหล่ของพรภิรย์


หรือจะเป็ นเพลงของนัก ร้องผู้น้ีเองก็ไม่แน่ ใจนัก แต่ตวั บทดัง้ เดิมจริง ๆ นัน้ เป็ นเรื่องเล่าในพุทธศาสนา
เป็ นประวัตขิ องนางภิกษุณีรปู หนึ่ง ก่อนจะมาเฝ้ าพระพุทธเจ้าเธอเป็ นคนสติวปิ ลาส เนื่องจากความเศร้า
โศกเสียใจที่ต้องสูญเสียลูก ๆ และสามีไปในเวลาไล่เลี่ยกัน หลังจากสามีเสียชีวติ ไปไม่นาน นางก็หอบ
หิว้ ลูก ๆ ทัง้ สองคนจะกลับไปอาศัยอยู่กบั พ่อแม่ ระหว่างทางต้องข้ามแม่น้ าใหญ่แห่งหนึ่ง ดังเนื้อเรื่องใน
โคลง นางต้องพาลูกข้มน้าไปทีละคน อุม้ คนเล็กไปไว้อกี ฝัง่ จะกลับมารับคนโต มาถึงกลางแม่น้า เหยีย่ ว
ก็มาคาบลูกคนเล็กไป ลูกคนโตเห็นแม่ โบกมือไล่เหยี่ยว นึกว่าแม่กวักมือเรียกก็ลงน้ าไปหาแม่ เลยจม
หายไปอีกคน ใครที่เคยฟั งเพลงหรือเคยฟั งพระท่านเทศน์ ก็คงจะรูว้ ่าเป็ นเรื่องน่าเวทนาแค่ไหนสาหรับ
หญิงผูเ้ ป็ นแม่ผนู้ ้ี ในบทกวี “วังแม่ลูกอ่อน” ตรงส่วนทีเ่ ป็ นกลอน กวีสร้างเรื่องใหม่ให้เป็ นแม่ลูกอ่อนซึ่งมี
ลูกเป็ นออทิสติคกาลังข้ามถนน บังเอิญ รองเท้าของลูกหล่น จะข้ามไปต่อลูกก็ด้นิ จะวางเด็กไว้ท่เี กาะ
กลางถนนเพือ่ ไปเก็บรองเท้าก็กลัวลูกจะตามไป เลยยืนละล้าละลังอยู่บนเกาะกลางถนนนัน่ เอง ดังบทกวี
มีว่า

จะข้ามไปต่อลูกก็ดน้ิ น้าตาตกรินชุ่มดินสลด
จะปล่อยลูกรอก็เกรงพยศ เก้กงั ปรากฏแทบหมดทาง
เหมือนแว่ววังแม่ลูกอ่อนเล่า ข้ามยุคลูกเขาอาจเอาอย่าง
ยิง่ พยศรถราไม่กล้าวาง เกาะกลางถนนทุรนร้อง
(โชคชัย บัณฑิต’, 2544 : 87)

แต่โชคดีทม่ี หี ญิงสาวคนหนึ่งช่วยเก็บให้ เหตุการณ์แบบวังแม่ลูกอ่อนจึงไม่เกิดขึน้ ในตอนท้ายผูแ้ ต่งจบ


บทกวีโดยกล่าวถึงหญิงสาวผู้ช่วยเหลือว่า “สายตาหนึ่งคู่ใจฟูเบา เกือบเล่าวังแม่ลูกอ่อนซ้า” (โชคชัย
บัณฑิต’, 2544 : 87) เป็ นการจบที่ใช้ได้ทีเดียว ทาให้ต้องคิดว่าเพราะอะไรถึงไม่ต้องเล่าซ้า ก็เพราะมี
น้ าใจให้กนั แค่น้ าใจเล็กน้อยที่ยบั ยัง้ เรื่องโศกอันใหญ่หลวงไม่ให้เกิดกับหญิงผูเ้ ป็ นแม่ผนู้ ้ี ตรงนี้เป็ นอีก
บทหนึ่ งที่เราได้เห็น การเลือ กประกอบวัส ดุ ท่ีมีพ ลังทางวรรณศิล ป์ แค่ เอาเรื่อ ง “วังแม่ ลู ก อ่ อ นมเล่ า
157

ประกอบเรื่องใหม่ ก็กลายเป็ นเรื่องทีม่ พี ลังกระตุน้ อารมณ์และความคิดขึน้ มา หากบทกวีบทนี้มแี ต่ตอนที่


เป็ นบทกลอนไม่มเี รื่องเล่าเก่า มีแต่การบรรยายของกวีต่อเหตุการณ์น้ี เราก็อาจคิดไปไม่ถงึ ว่าว่าแค่เรื่อง
หยิบรองเท้าให้กนั มันจะกลายเป็ นเรื่องสาคัญไปได้อย่างไร แต่แน่นอนว่าการใช้วธิ กี ารแบบนี้ คนทีไ่ ม่เคย
ได้ยนิ เรื่องเล่าเก่ามาก่อน อาจไม่ได้รบั แรงกระตุ้นทางอารมณ์เท่ากับคนที่เคยฟั งเพลงหรือฟั งพระท่าน
เทศน์มาก่อน แต่จุดนี้กค็ งต้องถือว่าเป็ นปั ญหาของผูร้ บั แล้วไม่ใช่ปัญหาของผูส้ ร้าง

ข้อบกพร่องทางภาษาและการลดทอนความสง่างาม
บทกวีหลายบทใน บ้านเก่า แสดงให้เห็นว่าโชคชัยเขามีความเป็ นกวี แต่เมื่อเทียบกับกวีรุ่นพี่
หลายคนอย่าง ไพวรินทร์ หรือ ศักดิ ์สิริ เขาดูจะยังมีจุดอ่อนอยู่บางด้าน โดยเฉพาะในแง่การใช้ภาษา นัก
วิจารณ์หลาย ๆ คนแม้คณะกรรมการตัดสินรางวัลเองดูเหมือนจะเห็นพ้องต้องกันในแง่น้ี และผู้เขียนก็
เห็นด้วยในแง่น้ี จุดอ่อนของโชคชัยในงานชิ้นนี้คอื การใช้ภาษาที่ขาดความประสานระหว่างรูปแบบกับ
เนื้อหา เช่น ใน “มิตรภาพแห่งตรอกซอกซอย”

ร้านขายของชาประจาตรอก ทุกซอกตรอกซอยเหมือนน้อยค่า
สะดวกซือ้ คือร้านศูนย์การค้า ฉกขาประจาของชาเรา
(โชคชัย บัณฑิต’, 2544 : 49)

ความในตอนท้าย “ของชาเรา” เข้าใจว่าหมายถึง ร้านสะดวกซื้อได้แย่งลูกค้าประจาของร้านชาของเราไป


แต่พอใช้ “ของชาเรา” ในอีกแง่หนึ่งก็ชวนให้คดิ ถึงคาว่า “ชาเรา” ในบริบททางเพศ
ในบทกวี “ใจขุนโจร” ซึง่ กล่าวถึงความเข้าใจผิดของตัวละครทีค่ ดิ ไปว่า สองหนุ่มผูแ้ ต่งตัวคล้าย
พวกนักดนตรีเพือ่ ชีวติ บนรถเมล์เป็ นพวกโจร มีความตอนหนึ่งว่า

ข่าวโทรทัศน์ฉายชัดยุค อุกอาจปราดปล้นบนรถเมล์
ใจดีสเู้ สือ...คิดเผื่อไว้ อาจใช่พวกเพือ่ ชีวติ เท่
(โชคชัย บัณฑิต’, 2544 : 61)

วรรคสุดท้ายนี่กไ็ ม่โอ่อ่าเช่นกัน เข้าใจความหมาย แต่พออ่านอย่างเป็ นภาษาของบทกวีมนั ไม่งาม วรรค


นี้อ่านได้อย่างเดียว “อาจใช่ -พวกเพื่อ -ชีวติ เท่” จะอ่านว่า “อาจใช่พวก-เพื่อชีวติ เท่” ก็คงไม่ได้จงั หวะ
“เพื่อชีวติ ” คานี้ไม่ว่าร้อยแก้วหรือกวีนิพนธ์ ถ้าอ่านแยกกันยังไงก็คงไม่เพราะ ดูเหมือนกับว่าคนเขียน
เขียนอย่างร้อยแก้ว แต่จะให้อ่านแบบบทกวี จึงไปกันไม่ได้ โชคชัยอาจจะบอกว่า เขาอยากเป็ นนายของ
ภาษา “กรอบคาไม่นาพา สัมผัสค่าสมาธิ” (โชคชัย บัณฑิต’, 2544 : คานา) แต่การเป็ นนายของภาษา
ไม่ ได้ห มายความว่า ไม่ต้อ งสนใจภาษาในกรอบฉัน ทลักษณ์ ซึ่งต้อ งสร้างจังหวะที่ส ละสลวย จะใช้
อย่างไรก็ได้ตามใจฉัน ก็คงไม่ใช่อย่างนัน้
158

อีกตัวอย่างในบทกวี “พิธกี าล” ซึ่งกล่าวถึงกิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมประเพณี ไทยแบบเปลือก


ๆ ทีจ่ ดั กันตามห้างสรรพสินค้า

ยกพืน้ รื่นรมย์ชมลาตัด ทัง้ จัดหัตถกรรมนามากล่าว


ขนมไทย ชีวติ ไทย ได้ยนื ยาว หนุ่มสาวสรงน้างามพิธี
ผูเ้ ฒ่าผูแ้ ก่แผ่กุศล มงคลพระพุทธรูปปรี่
(โชคชัย บัณฑิต’, 2544 : 101)

เข้าใจอยู่ว่า “ปรี”่ ในวรรคสุดท้ายเขาหมายถึงน้าทีส่ รงองค์พระ แต่พอเอา “ปรี”่ ไปวางไว้หลังองค์พระก็ดู


จะกลายเป็ นเรื่องตลก อะไรคือพระพุทธรูปปรี่ ปรีไ่ ปไหน เพียงแค่น้ีความตลกขบขันกับการใช้ภาษาของ
ผูแ้ ต่ง ซึง่ ไม่สอดรับกับเนื้อหาทีช่ วนให้ครุ่นคิด ก็ลดทอนความสง่างามของบทกวีลงไปอีกครัง้ หนึ่งแล้ว
บทสรุป
รวมบทกวี บ้านเก่า ของโชคชัย บัณฑิต ’ อาจไม่ใช่งานที่สมบูรณ์แบบในทุก ๆ ด้าน แต่งาน
หลาย ๆ ชิ้นก็แสดงให้เห็นถึงความลุ่มลึกทางความคิด และวิธกี ารแสดงออกอย่างมีพลังทางศิลปะ ซึ่ง
บ่งชี้ความเป็ นกวีของเขา ประเด็นทีว่ ่าเป็ นเรื่องเล็ก ๆ เป็ นเรื่องสามัญ เมื่อผ่านสายตาแห่งความเป็ นกวี
ของเขา ก็ไม่ ได้เป็ น เรื่อ งเล็ก เรื่อ งธรรมดาสามัญ อีก แล้ว ปี ก ไม้ก็ก ลายเป็ น ลายแทงที่ช วนให้ค้น หา
ความหมายและคุณค่าของชีวติ ไป ประตูหอ้ งน้ าก็ชวนให้คดิ ไปถึงความแปลกแยกจากสัจธรรมของชีวติ
แม้กระทังการหยิ
่ บรองเท้าให้กนั ก็กลายเป็ นเรื่องสาคัญไป ทัง้ หมดนี้เป็ นเรื่องสาคัญของชีวติ เมื่อผ่าน
สายตา ความคิด และ วิธกี ารแสดงออกของกวี เรื่องเล็ก ก็ล้วนกลายเป็ นเรื่องใหญ่ ท่ไี ม่ธรรมดาสามัญ
หลังอ่านบทกวีเหล่านี้หากเราจะมองปี กไม้ ประตูห้องน้ า และการหยิบรองเท้าให้กนั ไม่เหมือนเดิมอีก
ต่อไป ก็คงจะกล่าวอย่างอื่นไปไม่ได้ นอกจากจะบอกว่า นี่เป็ นผลมาจากการที่เราได้สมั ผัสกับงานของกวี
ทีไ่ ม่ใช่แค่งานทางอักษรศาสตร์
ข้อบกพร่องทีไ่ ด้กล่าวถึงไปแล้วนัน้ เป็ นเพียงบางบท บางชิ้น บางตอน ในการอ่านอย่างปกติท่ี
ยังไม่ถงึ ขัน้ ลงมือวิจารณ์ เราอาจจะทาเป็ นมองข้ามข้อบกพร่องเหล่านี้ไปบ้างก็ได้ เพือ่ จะได้ช่นื ชมกับบท
กวีท่สี มบูรณ์พร้อมได้เต็มที่ แต่ในแง่การประเมินค่าระดับความเป็ นกวีของเขา ก็คงเป็ นเรื่องทีจ่ ะทาเป็ น
มองไม่เห็นเสียได้ไม่สนิทใจ อย่างที่มอื เปรต น้องมือผี (254 : 629) กล่าวไว้ เขาอาจจะยังไม่ถึงระดับ
ของกวีเอก มหากวี หรือ บิ๊กเนม แม้เมื่อเทียบกับกวีซไี รต์คนอื่น ๆ อย่าง ศักดิ ์สิริ หรือ ไพวรินทร์ โชค
ชัยก็คงไม่ใช่อนั ดับหนึ่ง และคงยังไม่ใช่อนั ดับสอง แต่ก็อย่างว่า รองนางสาวไทยอันดับสอง ก็ไม่ได้จะ
แปลว่าขีเ้ หร่ โชคชัยก็คงอยู่ราว ๆ นี้เมื่อเทียบกับอีกสองคนข้างต้น
อ่าน บ้านเก่ า จบลง อาจจะรู้สกึ ว่าโลกกาลังขยับเข้าใกล้ค วามร้อ นที่ร้อยองศาเข้าไปทุกที
ความเปลี่ยนแปลงของสังคมมนุ ษย์ไม่ใช่ความเปลี่ยนแปลงที่อภิวตั น์ไปสู่ความน่ าอยู่แต่อย่างใด ก็คง
ไม่ใช่ใครอื่นที่ขบั เคลื่อนสังคมไปสู่ทศิ ทางเช่นนี้ เราอาจตัง้ คาถามที่มคี าตอบอยู่แล้วว่า “มนุ สโสสิ” แต่
อย่างไรก็ตามแม้กวีจะชวนให้เราคิดไปในทางนี้ งานของเขาก็ยงั แสดงว่า เขายังศรัทธาต่อมนุษย์ เขายัง
159

เชื่อว่าความดีงามในจิตใจของมนุ ษย์นัน้ ยังมีอยู่ เขายังเชื่อว่าโลกเปลี่ยนแปลงได้ เพราะถ้าเขาไม่เชื่อ


เช่นนัน้ บทกวีอย่าง “วังแม่ลูกอ่อน” ก็คงไม่จาเป็ นต้องมี และกวีนิพนธ์เล่มนี้กค็ งไม่จาเป็ นต้องเขียนกัน
ขึน้ มา

รายการอ้างอิ ง
โชคชัย บัณฑิต’ (นามปากกา). 2544. บ้านเก่า. พิมพ์ครัง้ ที่ 2 . กรุงเทพฯ : รูปจันทร์.
ตรีศลิ ป์ บุญขจร. 2547. “‘บ้านเก่า’ ของโชคชัย บัณฑิต’ : สานึกกวีไทยในกระแสโลกาภิวตั น์”, ใน 25 ปี
ซี ไรต์ รวมบทวิ จารณ์ คดั สรร. กรุงเทพฯ : สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย ใน
พระบรมราชูปถัมภ์.
ธเนศ เวศร์ภาดา. 2547. “ขนบวรรณศิลป์ ในกวีนิพนธ์ซไี รต์ไทย”, ใน 25 ปี ซี ไรต์ รวมบทวิ จารณ์ คดั
สรร. กรุงเทพฯ : สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.
มือเปรต น้องมือผี(นามปากกา). 2547. “โชคชัย บัณฑิต’ กับ ‘บ้านเก่า’ ชัยชนะของ ‘ผูย้ งิ่ เล็ก’ บนความ
พอดี”, ใน 25 ปี ซี ไรต์ รวมบทวิ จารณ์ คดั สรร. กรุงเทพฯ : สมาคมภาษาและหนังสือแห่ง
ประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.
วาณิช จรุงกิจอนันต์. 2544. “บทกวี”, ใน มติ ชนสุดสัปดาห์ . (24 กันยายน) 17.
สัจภูมิ ละออ. 2546. 25 ปี ซีไรต์. กรุงเทพฯ : สยามอินเตอร์บุ๊คส์.

3. สรุปท้ายบท
ขัน้ ตอนแรกของการเขียนบทวิจารณ์ตอ้ งเริม่ ต้นจากการอ่านและการสารวจปฏิกริ ยิ าของตัวเอง
เมื่อ สัมผัสกับตัว งาน ว่าเรามีความคิดความรู้สกึ อะไรเกิดขึ้นบ้าง ทัง้ นี้เพื่อ จะได้เป็ นเครื่อ งนาทางใน
เบื้องต้น ขัน้ ตอนต่อมาคือการวิเคราะห์ความหมายของตัวบท ว่าตัวบทสื่อความหมายในแง่ใดหรือบอก
อะไรกับผูอ้ ่าน ต่อจากนัน้ ผูว้ จิ ารณ์จะต้องกาหนดประเด็นในการวิจารณ์ ว่าจะกล่าวถึงตัวบทในแง่มุมใด
รวมทัง้ แนวเชิงทฤษฎีท่ใี ช้ในการวิจารณ์ ในขัน้ การเขียนบทวิจารณ์ผู้เขียนอาจเริม่ ต้นด้วยการวางโครง
ร่าง ซึ่งประกอบด้วยส่วน หลัก ๆ สามส่วนคือ ส่วนนา ส่วนเนื้อหา ส่วนสรุป พร้อมทัง้ กาหนดประเด็น
สาคัญในแต่ละส่วน ส่วนนาควรให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับตัวบท เนื้อเรื่อง และจุดเด่นที่น่าสนใจ ส่วน
เนื้อหาก็อาจแตกประเด็นและเรียบเรียงเพื่อสนับสนุนความเห็นที่ตงั ้ ไว้ว่าจะอภิปรายถึงในตอนต้น และ
ควรอ้างอิงตัวบทบ้างตามความจาเป็ น ในส่วนของสรุปสาหรับผูฝ้ ึ กวิจารณ์อาจสรุปด้วยความเห็นในเชิง
ประเมิน ค่ า หลังจากนัน้ ขัน้ ตอนสุ ด ท้ายก็ค ือ การขัด เกลาให้เป็ น บทวิจารณ์ ท่ีส มบู รณ์ และลงข้อ มูล
เกีย่ วกับรายการอ้างอิง
160

3. แบบฝึ กหัด

ให้นักศึกษาเลือกวรรณกรรมที่สนใจเพื่อเขียนบทวิ จารณ์ โดยมีข้อกาหนดในการเขียนบท


วิ จารณ์ดงั ต่อไปนี้
1. มีช่อื บทวิจารณ์ ทีม่ ศี ลิ ปะในการตัง้ ชื่อและสามารถสือ่ แนวคิดของการวิจารณ์
2. มีองค์ประกอบของบทความครบทัง้ 3 ส่วนคือ ส่วนนา ส่วนเนื้อหา และส่วนสรุป
3. ส่วนนาควรประกอบด้วยข้อมูลต่อไปนี้คอื การให้ขอ้ มูลทัวไปเกี ่ ย่ วกับตัวบท ข้อมูลเกีย่ วกับเนื้อเรื่อง
สัน้ ๆ ว่าเป็ นเรื่องทีเ่ ล่าเกี่ยวกับอะไร
4. ส่วนเนื้อหาควรมีสองส่วนคือ การอธิบายถึงความหมายของตัวบท ว่าอะไรสือ่ ความหมายว่าอย่างไร
และจากองค์ประกอบใดของเรื่อง (ควรยกตัวอย่างตามสมควร)
5. ส่วนสรุป อาจสรุปด้วยวิธกี ารประเมินคุณค่าในภาพรวม
6. มีการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรมตามหลักการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรมทีถ่ ูกต้อง

You might also like