You are on page 1of 410

คูม่ อิื ครู รายวิชาพืน้ ฐาน

วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีท่ี


เล่ม ๑
ตามมาตรฐานการเรียนรูแ้ ละตัวชีว้ ดั
กลุม่ สาระการเรียนรูว้ ทิ ยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

คูมือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร
ชั้นประถมศึกษาปที่ ๕ เลม ๑
กลุมสาระการเรียนรูวิทยาศาสตร

ตามมาตรฐานการเรียนรูและตัวชี้วัด กลุมสาระการเรียนรูวิทยาศาสตร
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

จัดทําโดย
สถาบันสงเสริมการสอนวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี
กระทรวงศึกษาธิการ
คําชี้แจง
สถาบันสงเสริมการสอนวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี (สสวท.) ไดจัดทําตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู
แกนกลาง กลุมสาระการเรียนรูวิทยาศาสตร (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยมีจุดเนนเพื่อตองการพัฒนาผูเรียนใหมีความรูความสามารถที่ทัดเทียมกับ
นานาชาติ ไดเรียนรูวิทยาศาสตรที่เชื่อมโยงความรูกับกระบวนการในการสืบเสาะหาความรูและการแกปญหาที่
หลากหลาย มีการทํากิจกรรมดวยการลงมือปฏิบัติเพื่อใหผูเรียนไดใชทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรและ
ทัก ษะแห ง ศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่ งในป ก ารศึ ก ษา ๒๕๖๑ เป น ตน ไปนี้ โรงเรี ย นจะต อ งใชห ลั กสู ตรกลุม สาระ
การเรียนรูวิทยาศาสตร (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) สสวท. จึงไดจัดทําหนังสือเรียนที่เปนไปตามมาตรฐาน
การเรียนรูและตัวชี้วัดของหลักสูตรเพื่อใหโรงเรียนไดใชสําหรับจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน
คูมือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร ชั้นประถมศึกษาปที่ ๕ เลม ๑ กลุมสาระการเรียนรูวิทยาศาสตร
เลมนี้ สสวท. ไดพัฒนาขึ้น เพื่อนําไปใชประกอบหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร ชั้นประถมศึกษา
ปที่ ๕ เลม ๑ โดยภายในคูมือครูประกอบดวยผังมโนทัศน ตัวชี้วัด ขอแนะนําการใชคูมือครู ตารางแสดงความ
สอดคลองระหวางเนื้อหาและกิจกรรมในหนังสือเรียนกับมาตรฐานการเรียนรูและตัวชี้วัด กลุมสาระการเรียนรู
วิทยาศาสตร (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
ตลอดจนแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรูที่มุงเนนการพัฒนาทักษะรอบดาน ทั้งการอาน การสํารวจตรวจสอบ
การฝกปฏิบัติ การปฏิบัติการทดลอง การสืบคนขอมูล และการอภิปราย โดยมีเปาหมายใหนักเรียนพัฒนาทั้ง
ดานความรู ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร ทักษะแหงศตวรรษที่ ๒๑ จิตวิทยาศาสตร กระบวนการ
สื บ เสาะหาความรู ทั ก ษะการคิ ด การอ า น การสื่ อ สาร การแก ป ญ หา ตลอดจนการนํ า ความรู ไ ปใช ใ น
ชีวิตประจําวันอยางมีคุณธรรมและคานิยมที่เหมาะสม สามารถดํารงชีวิตอยูในสังคมแหงการเปลี่ยนแปลงใน
ศตวรรษที่ ๒๑ อยางมีความสุข ในการจัดทําคูมือครูร ายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร ชั้นประถมศึกษาปที่ ๕
เลม ๑ กลุ มสาระการเรี ย นรูวิ ทยาศาสตร เ ลมนี้ ไดรับ ความรวมมืออยางดียิ่งจากคณาจารย ผูทรงคุณวุฒิ
นักวิชาการ และครูผูสอน จากสถาบันการศึกษาตาง ๆ จึงขอขอบคุณไว ณ ที่นี้
สสวท. หวั ง เป น อย า งยิ่ ง วา คู มื อครู ร ายวิช าพื้น ฐานวิ ทยาศาสตร ชั้ น ประถมศึก ษาป ที่ ๕ เล ม ๑
กลุมสาระการเรียนรูวิทยาศาสตรเลมนี้ จะเปน ประโยชนแกครูและผูเกี่ยวของทุกฝาย ที่จะชวยใหการจัด
การศึกษาดานวิทยาศาสตรมีประสิทธิภ าพและประสิทธิผล หากมีขอเสนอแนะใดที่จะทําใหคูมือครูเ ลมนี้
สมบูรณยิ่งขึ้น โปรดแจง สสวท. ทราบดวย จักขอบคุณยิ่ง

(ศาสตราจารยชูกิจ ลิมปจํานงค)
ผูอํานวยการสถาบันสงเสริมการสอนวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี
กระทรวงศึกษาธิการ
สารบัญ
หน้า
คาชี้แจง
เป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ......................................................................................... ก
คุณภาพของผู้เรียนวิทยาศาสตร์ เมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6......................................................................... ข
ทักษะที่สำคัญในกำรเรียนรู้วิทยำศำสตร์ .......................................................................................................... ง
ผังมโนทัศน์ (concept map) รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 1............................... ซ
ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง วิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 ............................................................................ ฌ
ข้อแนะนาการใช้คู่มือครู ................................................................................................................................... ฎ
การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษา ............................................................................ น
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ............................................................. น
การจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ................................................................. ป
และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ............................................................................................. ฝ
ตารางแสดงความสอดคล้องระหว่างเนื้อหาและกิจกรรม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 1........................... ภ
กับตัวชี้วัดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
รายการวัสดุอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 ....................................................................................................ร
หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว 1
ภาพรวมการจัดการเรียนรู้ประจาหน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว ................................................... 1
บทที่ 1 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ .......................................................................................... 3
บทนี้เริ่มต้นอย่างไร ..................................................................................................................................... 6
เรื่องที่ 1 เส้นทางของขยะจากมือเรา ......................................................................................................... 13
กิจกรรมที่ 1 จัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูลและสร้างแบบจาลองได้อย่างไร........................ 18
กิจกรรมท้ายบทที่ 1 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ......................................................................... 36
แนวคาตอบในแบบฝึกหัดท้ายบท 38
บรรณานุกรมหน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว 44
สารบัญ
หน้า
หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 45
ภาพรวมการจัดการเรียนรู้ประจาหน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 45
บทที่ 1 แรงลัพธ์และแรงเสียดทาน 47
บทนี้เริ่มต้นอย่างไร 50
เรื่องที่ 1 แรงลัพธ์ 56
กิจกรรมที่ 1 หาแรงลัพธ์ที่กระทาต่อวัตถุได้อย่างไร 60
เรื่องที่ 2 แรงเสียดทาน 79
กิจกรรมที่ 2 แรงเสียดทานมีผลต่อวัตถุอย่างไร 83
กิจกรรมท้ายบทที่ 1 แรงลัพธ์และแรงเสียดทาน 100
แนวคาตอบในแบบฝึกหัดท้ายบท 102
บทที่ 2 เสียง 105
บทนี้เริ่มต้นอย่างไร 108
เรื่องที่ 1 เสียงกับการได้ยิน 112
กิจกรรมที่ 1.1 เสียงเคลื่อนที่ได้อย่างไร 116
กิจกรรมที่ 1.2 เสียงสูง เสียงต่า เกิดได้อย่างไร 133
กิจกรรมที่ 1.3 เสียงดัง เสียงค่อย ขึ้นอยู่กับอะไร 151
กิจกรรมที่ 1.4 มลพิษทางเสียงเป็นอย่างไร 168
กิจกรรมท้ายบทที่ 2 เสียง 180
แนวคาตอบในแบบฝึกหัดท้ายบท 182
บรรณานุกรมหน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 184
สารบัญ
หน้า
หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 185
ภาพรวมการจัดการเรียนรู้ประจาหน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 185
บทที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ 187
บทนี้เริ่มต้นอย่างไร 190
เรื่องที่ 1 การเปลี่ยนสถานะ 196
กิจกรรมที่ 1.1 น้าแข็งมีการเปลี่ยนแปลงสถานะอย่างไร 200
กิจกรรมที่ 1.2 น้าผลไม้เป็นเกล็ดน้าแข็งได้อย่างไร 215
กิจกรรมที่ 1.3 พิมเสนมีการเปลี่ยนสถานะอย่างไร 230
เรื่องที่ 2 การละลาย 246
กิจกรรมที่ 2 การละลายเป็นอย่างไร 250
กิจกรรมท้ายบทที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ 265
แนวคาตอบในแบบฝึกหัดท้ายบท 267
บทที่ 2 การเปลี่ยนแปลงทางเคมี 272
บทนี้เริ่มต้นอย่างไร 275
เรื่องที่ 1 การเปลี่ยนทางเคมี 279
กิจกรรมที่ 1.1 การเปลี่ยนแปลงทางเคมีคืออะไร 283
กิจกรรมที่ 1.2 รู้ได้อย่างไรว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี 294
กิจกรรมท้ายบทที่ 2 การเปลี่ยนแปลงทางเคมี 313
แนวคาตอบในแบบฝึกหัดท้ายบท 315
บทที่ 3 การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้ 319
บทนี้เริ่มต้นอย่างไร 322
เรื่องที่ 1 การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้ 326
กิจกรรมที่ 1 ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้เป็นอย่างไร 330
กิจกรรมท้ายบทที่ 3 การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้ 346
แนวคาตอบในแบบฝึกหัดท้ายบท 348
สารบัญ
หน้า
บรรณานุกรมหน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 352
แนวคาตอบในแบบทดสอบท้ายเล่ม 353
บรรณานุกรม 364
คณะทางาน 366
ก คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1

เป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์เป็ นเรื่องของการเรียนรู้เกี่ยวกับ ธรรมชาติ โดยมนุ ษย์ใช้กระบวนการสั งเกต ส ารวจ


ตรวจสอบ และการทดลองเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติแล้ วนาผลที่ได้มาจัดระบบหลักการ แนวคิด
และทฤษฎี ดังนั้นการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์จึงมุ่งเน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้และค้นพบด้วยตนเองมากที่สุด
นั่นคือให้เกิดการเรียนรู้ทั้งกระบวนการและองค์ความรู้
การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในสถานศึกษามีเป้าหมายสาคัญ ดังนี้
1. เพื่อให้เข้าใจแนวคิด หลักการ ทฤษฎี กฎและความรูพ้ ื้นฐานของวิทยาศาสตร์
2. เพื่อให้เข้าใจขอบเขตธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ และข้อจากัดของวิทยาศาสตร์
3. เพื่อให้มีทักษะที่สาคัญในการสืบเสาะหาความรู้และพัฒนาเทคโนโลยี
4. เพื่อให้ตระหนักถึงการมีผลกระทบซึ่งกันและกันระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มวลมนุษย์ และ
สิ่งแวดล้อม
5. เพื่อนาความรู้ แนวคิดและทักษะต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อ
สังคมและการดารงชีวิต
6. เพื่อพัฒนากระบวนการคิดและจินตนาการ ความสามารถในการแก้ปัญหาและการจัดการ ทั กษะใน
การสื่อสาร และความสามารถในการประเมินและตัดสินใจ
7. เพื่ อ ให้ เป็ น ผู้ ที่ มี จิ ต วิ ท ยาศาสตร์ มี คุ ณ ธรรม จริ ย ธรรม และค่ า นิ ย มในการใช้ วิ ท ยาศาสตร์ แ ละ
เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 ข

คุณภาพของนักเรียนวิทยาศาสตร์ เมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

นักเรียนที่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมีความรู้ ความคิด ทักษะกระบวนการ และจิตวิทยาศาสตร์


ดังนี้
1. เข้าใจโครงสร้าง ลักษณะเฉพาะและการปรับ ตัวของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตใน
แหล่งที่อยู่ การทาหน้าที่ของส่วนต่าง ๆ ของพืช และการทางานของระบบย่อยอาหารของมนุษย์
2. เข้ าใจสมบั ติแ ละการจ าแนกกลุ่ ม ของวั ส ดุ สถานะและการเปลี่ ย นสถานะของสสาร การละลาย
การเปลี่ยนแปลงทางเคมี การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้ และการแยกสารอย่างง่าย
3. เข้าใจลักษณะของแรงโน้มถ่วงของโลก แรงลัพธ์ แรงเสียดทาน แรงไฟฟ้าและผลของแรงต่างๆ ผลที่
เกิดจากแรงกระทาต่อวัตถุ วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย ปรากฏการณ์เบื้องต้นของเสียง และแสง
4. เข้าใจปรากฏการณ์การขึ้นและตก รวมถึงการเปลี่ยนแปลงรูปร่างปรากฏของดวงจันทร์ องค์ประกอบ
ของระบบสุริยะ คาบการโคจรของดาวเคราะห์ ความแตกต่างของดาวเคราะห์และดาวฤกษ์ การขึ้น
และตกของกลุ่มดาวฤกษ์ การใช้แผนที่ดาว การเกิดอุปราคา พัฒนาการและประโยชน์ของเทคโนโลยี
อวกาศ
5. เข้าใจลักษณะของแหล่งน้า วัฏจักรน้า กระบวนการเกิดเมฆ หมอก น้าค้าง น้าค้างแข็ง หยาดน้าฟ้า
กระบวนการเกิดหิน วัฏจักรหิน การใช้ประโยชน์หินและแร่ การเกิดซากดึกดาบรรพ์ การเกิดลมบก
ลมทะเล มรสุม ลักษณะและผลกระทบของภัยธรรมชาติ ธรณีพิบัติภัย การเกิดและผลกระทบของ
ปรากฏการณ์เรือนกระจก
6. ค้นหาข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพและประเมินความน่าเชื่อถือ ตัดสินใจเลือกข้อมูลใช้เหตุผลเชิงตรรกะ
ในการแก้ปัญหา ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการทางานร่วมกัน เข้าใจสิทธิและหน้าที่
ของตน เคารพสิทธิของผู้อื่น
7. ตั้งคาถามหรือกาหนดปัญหาเกี่ยวกับสิ่งที่จะเรียนรู้ตามที่กาหนดให้หรือตามความสนใจ คาดคะเน
ค าตอบหลายแนวทาง สร้างสมมติ ฐ านที่ ส อดคล้ อ งกั บ ค าถามหรื อ ปั ญ หาที่ จ ะส ารวจตรวจสอบ
วางแผนและสารวจตรวจสอบโดยใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม ในการ
เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
8. วิเคราะห์ ข้อมูล ลงความเห็ น และสรุป ความสั มพั นธ์ของข้อมูล ที่มาจากการส ารวจตรวจสอบใน
รูป แบบที่เหมาะสม เพื่อสื่อสารความรู้จากผลการส ารวจตรวจสอบได้อย่างมีเหตุผลและหลั กฐาน
อ้างอิง
9. แสดงถึงความสนใจ มุ่งมั่น ในสิ่งที่จะเรียนรู้ มีความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษาตามความ
สนใจของตนเอง แสดงความคิดเห็นของตนเอง ยอมรับในข้อมูลที่มีหลักฐานอ้างอิง และรับฟังความ
คิดเห็นผู้อื่น
10. แสดงความรับผิดชอบด้ วยการทางานที่ได้รับมอบหมายอย่างมุ่งมั่น รอบคอบ ประหยัด ซื่อสัตย์ จน
งานลุล่วงเป็นผลสาเร็จ และทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


ค คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1

11. ตระหนักในคุณค่าของความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ใช้ความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์


ในการดารงชีวิต แสดงความชื่นชม ยกย่อง และเคารพสิทธิในผลงานของผู้คิดค้นและศึกษาหาความรู้
เพิ่มเติม ทาโครงงานหรือชิ้นงานตามที่กาหนดให้หรือตามความสนใจ
12. แสดงถึงความซาบซึ้ง ห่วงใย แสดงพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมอย่างรู้คุณค่า

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 ง

ทักษะที่สาคัญในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ทักษะสาคัญที่ครูครูจาเป็นต้องพัฒนาให้เกิดขึ้นกับ นักเรียนเมื่อมีการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เช่น ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science Process Skills)
การเรี ย นรู้ ท างวิ ท ยาศาสตร์ จ าเป็ น ต้ อ งใช้ ทั ก ษะกระบวนการทางวิ ท ยาศาสตร์ เพื่ อ น าไปสู่
การสืบเสาะค้นหาผ่านการสังเกต ทดลอง สร้างแบบจาลอง และวิธีการอื่นๆ เพื่อนาข้อมูล สารสนเทศและ
หลักฐานเชิงประจักษ์มาสร้างคาอธิบายเกี่ยวกับแนวคิดหรือองค์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย
ทักษะการสังเกต (Observing) เป็นความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ
หลายอย่างสารวจวัตถุหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในธรรมชาติหรือจากการทดลอง โดยไม่ลงความคิดเห็นของ
ผู้สังเกต ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การดู การฟังเสียง การดมกลิ่น การชิมรส และการสัมผัส
ทักษะการวัด (Measuring) เป็นความสามารถในการเลือกใช้เครื่องมือในการวัด ปริมาณต่าง ๆ
ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงความสามารถในการหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ จากเครื่องมือที่เลือกใช้ ออกมาเป็น
ตัวเลขได้ถูกต้องและรวดเร็ว พร้อมระบุหน่วยของการวัดได้อย่างถูกต้อง
ทั ก ษะการลงความเห็ น จากข้ อ มู ล (Inferring) เป็ น ความสามารถในการคาดการณ์ อ ย่ างมี
หลักการเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ โดยใช้ข้อมูล (Data) หรือสารสนเทศ (Information) ที่เคย
เก็บรวบรวมไว้ในอดีต
ทักษะการจาแนกประเภท (Classifying) เป็นความสามารถในการแยกแยะ จัดพวกหรือจัดกลุ่ม
สิ่งต่าง ๆ ที่สนใจ เช่น วัตถุ สิ่งมีชีวิต ดาว และเทหะวัตถุต่าง ๆ หรือปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษาออกเป็น
หมวดหมู่ นอกจากนี้ยังหมายถึงความสามารถในการเลือกและระบุ เกณฑ์หรือลักษณะร่วมลักษณะใดลักษณะ
หนึ่งของสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการจาแนก
ทักษะการหาความสัมพันธ์ ของสเปซกับเวลา (Relationship of Space and Time) สเปซ
คือ พื้นที่ที่วัตถุครอบครอง ในที่นี้อาจเป็นตาแหน่ง รูปร่า ง รูปทรงของวัตถุ สิ่งเหล่านี้อาจมีความสัมพันธ์กัน
ดังนี้
การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเปซ เป็นความสามารถในการหาความเกี่ยวข้อง
(Relationship between Space and Space) สั ม พั น ธ์ กั น ระห ว่ า งพื้ น ที่ ที่ วั ต ถุ ต่ า งๆ
ครอบครอง

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


จ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1

การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับเวลา เป็นความสามารถในการหาความเกี่ยวข้อง
(Relationship between Space and Time) สัมพันธ์กันระหว่างพื้นที่ที่วัตถุครอบครอง
เมื่อเวลาผ่านไป
ทักษะการใช้จานวน (Using Number) เป็นความสามารถในการใช้ความรู้สึก เชิงจานวน และ
การคานวณเพื่อบรรยายหรือระบุรายละเอียดเชิงปริมาณของสิ่งที่สังเกตหรือทดลอง
ทักษะการจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing and Communicating Data)
เป็นความสามารถในการนาผลการสังเกต การวัด การทดลอง จากแหล่งต่าง ๆ มาจัดกระทาให้อยู่ในรูปแบบที่
มีความหมายหรือมีความสัมพันธ์กันมากขึ้น จนง่ายต่อการทาความเข้าใจหรือเห็นแบบรูปของข้อมูล นอกจากนี้
ยังรวมถึงความสามารถในการนาข้อมูลมาจัดทาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตาราง แผนภูมิ แผนภาพ วงจร กราฟ
สมการ การเขียนบรรยาย เพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลมากขึ้น
ทักษะการพยากรณ์ (Predicting) เป็นความสามารถในบอกผลลัพธ์ของปรากฏการณ์ สถานการณ์
การสั งเกต การทดลองที่ ได้ จากการสั งเกตแบบรูป ของหลั ก ฐาน (Pattern of Evidence) การพยากรณ์ ที่
แม่นยาจึงเป็นผลมาจากการสังเกตที่รอบคอบ การวัดที่ถูกต้อง การบันทึก และการจัดกระทากับข้อมูลอย่าง
เหมาะสม
ทักษะการตั้งสมมติฐาน (Formulating Hypotheses) เป็นความสามารถในการคิดหาคาตอบ
ล่วงหน้าก่อนดาเนิน การทดลอง โดยอาศัยการสั งเกต ความรู้ ประสบการณ์ เดิมเป็นพื้นฐานคาตอบที่คิด
ล่วงหน้าที่ยังไม่รู้มาก่อน หรือยังไม่เป็นหลักการ กฎ หรือ ทฤษฎีมาก่อน การตั้งสมมติฐานหรือคาตอบที่คิดไว้
ล่วงหน้ามักกล่าวไว้เป็นข้อความที่บอกความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม ซึ่งอาจเป็นไปตามที่
คาดการณ์ไว้หรือไม่ก็ได้
ทักษะการกาหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operationally) เป็นความสามารถในการ
กาหนดความหมายและขอบเขตของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในสมมติฐานของการทดลอง หรือที่เกี่ยวข้องกับการทดลอง
ให้เข้าใจตรงกัน และสามารถสังเกตหรือวัดได้
ทั กษะการกาหนดและควบคุ ม ตั วแปร (Controlling Variables) เป็ น ความสามารถในการ
กาหนดตัวแปรต่าง ๆ ทั้งตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุม ให้คงที่ ให้สอดคล้องกับ สมมติฐาน
ของการทดลอง รวมถึงความสามารถในการระบุและควบคุมตัวแปรอื่น ๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้น ซึ่งอาจ
ส่ งผลต่อผลการทดลอง หากไม่ควบคุ มให้ เหมือนกัน หรือ เท่ากัน ตัว แปรที่เกี่ ยวข้องกั บ การทดลอง ได้แ ก่
ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุมให้คงที่ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทดลอง ดังนี้
ตัวแปรต้น (Independent Variable) หมายถึง สิ่งที่เป็นต้นเหตุทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จึงต้อง
จัดสถานการณ์ให้มีสิ่งนี้แตกต่างกัน
ตัวแปรตาม (Dependent Variable) หมายถึง สิ่งที่เป็นผลจากการจั ดสถานการณ์บ างอย่างให้
แตกต่างกัน และเราต้องสังเกต วัด หรือติดตามดู

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 ฉ
ตัวแปรที่ต้องควบคุมให้คงที่ (Controlled Variable) หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อการจัด
สถานการณ์ จึงต้องจัดสิ่งเหล่านี้ให้เหมือนกันหรือเท่ากัน เพื่อให้มั่นใจว่าผลจากการจัดสถานการณ์เกิดจากตัว
แปรต้นเท่านั้น
ทักษะการทดลอง (Experimenting) การทดลองประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ การออกแบบการ
ทดลอง การปฏิบัติการทดลอง และการบันทึกผลการทดลอง ทักษะการทดลองจึงเป็น ความสามารถในการ
ออกแบบและวางแผนการทดลองได้อย่างรอบคอบ และสอดคล้องกับคาถามการทดลองและสมมติฐาน รวมถึง
ความสามารถในการดาเนินการทดลองได้ตามแผน และความสามารถในการบันทึกผลการทดลองได้ละเอียด
ครบถ้วน และเที่ยงตรง
ทั ก ษะการตี ค วามหมายข้ อ มู ล และลงข้ อ สรุ ป (Interpreting and Making Conclusion)
ความสามารถ ในการแปลความหมาย หรือ การบรรยาย ลั ก ษณะและสมบั ติ ข องข้ อ มู ล ที่ มี อ ยู่ ตลอดจน
ความสามารถในการสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมด
ทักษะการสร้างแบบจาลอง (Formulating Models) ความสามารถในการสร้างและใช้สิ่งที่ทา
ขึ้ น มาเพื่ อ เลี ย นแบบหรื อ อธิ บ ายปรากฏการณ์ ที่ ศึ ก ษาหรื อ สนใจ เช่ น กราฟ สมการ แผนภู มิ รูป ภาพ
ภาพเคลื่อนไหว รวมถึงความสามารถในการนาเสนอข้อมูล แนวคิด ความคิดรวบยอดเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจในรูป
ของแบบจาลองแบบต่าง ๆ

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills)


ราชบัณฑิตยสถานได้ระบุทักษะที่จาเป็นแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งสอดคล้องกับสมรรถนะที่ควรมีในพลเมือง
ยุคใหม่รวม 7 ด้าน (สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ , 2558; ราชบัณฑิตยสถาน, 2557)
ในระดับประถมศึกษาจะเน้นให้ครูครูส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะ ดังต่อไปนี้
การคิด อย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) หมายถึง การคิดโดยใช้เหตุผลที่ห ลากหลาย
เหมาะสมกับสถานการณ์ มีการคิดอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์ ประเมินหลักฐานและข้อคิดเห็นด้วยมุมมองที่
หลากหลาย สั งเคราะห์ แปลความหมาย และจัดท าข้อสรุป สะท้ อนความคิด อย่างมี วิจ ารณญาณโดยใช้
ประสบการณ์และกระบวนการเรียนรู้
การแก้ปั ญ หา (Problem Solving) หมายถึ ง ความสามารถในการแก้ปั ญ หาที่ ไม่ คุ้น เคย หรือ
ปัญหาใหม่ โดยอาจใช้ความรู้ ทักษะ วิธีการและประสบการณ์ที่เคยรู้มาแล้ว หรือการสืบเสาะหาความรู้ วิธีการ
ใหม่มาใช้แก้ปัญหาก็ได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงการซักถามเพื่อทาความเข้าใจมุมมองที่แตกต่าง หลากหลาย
เพื่อให้ได้วิธีแก้ปัญหาที่ดียิ่งขึ้น
การสื่อสาร (Communications) หมายถึง ความสามารถในการสื่อสารได้อย่างชัดเจน เชื่อมโยง
เรี ย บเรี ย งความคิ ด เเละมุ ม มองต่ าง ๆ แล้ ว สื่ อ สารโดยการใช้ ค าพู ด หรือ การเขี ย น เพื่ อ ให้ ผู้ อื่ น เข้ าใจได้

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


ช คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1

หลากหลายรู ป แบบและวั ต ถุ ป ระสงค์ น อกจากนี้ ยั งรวมไปถึ งการฟั ง อย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพเพื่ อ ให้ เข้ า ใจ
ความหมายของผู้ส่งสาร
ความร่ วมมื อ (Collaboration) หมายถึ ง ความสามารถในการท างานร่ วมกั บ คนกลุ่ มต่ าง ๆ ที่
หลากหลายอย่างมีป ระสิ ทธิภ าพและให้ เกียรติ มีความยืดหยุ่นและยินดีที่จะประนีป ระนอม เพื่อให้ บ รรลุ
เป้าหมายการทางาน พร้อมทั้งยอมรับและแสดงความรับผิดชอบต่องานที่ทาร่วมกัน และเห็นคุณค่าของผลงาน
ที่พัฒนาขึ้นจากสมาชิกแต่ละคนในทีม
การสร้างสรรค์ (Creativity) หมายถึง การใช้เทคนิคที่หลากหลายในการสร้างสรรค์แนวคิด เช่น
การระดมพลั ง สมอง รวมถึ ง ความสามารถในการพั ฒ นาต่ อ ยอดแนวคิ ด เดิ ม หรื อ ได้ แ นวคิ ด ใหม่ และ
ความสามารถในการกลั่นกรอง ทบทวน วิเคราะห์ และประเมินแนวคิด เพื่อปรับปรุงให้ได้แนวคิดที่จะส่งผลให้
ความพยายามอย่างสร้างสรรค์นี้เป็นไปได้มากที่สุด
การใช้ เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่ อสาร (Information and Communication Technology
(ICT)) หมายถึง ความสามารถในการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเป็นเครื่องมือสืบค้น จัด
กระท า ประเมิ น และสื่ อ สารข้ อ มู ล ความรู้ ต ลอดจนรู้เท่ าทั น สื่ อ โดยการใช้ สื่ อ ต่ าง ๆ ได้ อ ย่ างเหมาะสมมี
ประสิทธิภาพ

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 ซ

ผังมโนทัศน์ (concept map)


รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 1

เนื้อหาการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 1
ประกอบด้วย

หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลง


หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน
รอบตัว ของสาร
ได้แก่ ได้แก่ ได้แก่
เส้นทางของขยะ การเปลี่ยนสถานะ
แรงลัพธ์
จากมือเรา

แรงเสียดทาน การละลาย

เสียงกับการได้ยิน การเปลี่ยนแปลงทางเคมี

การเปลี่ยนแปลงที่ผัน
กลับได้และผันกลับไม่ได้

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


ฌ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1

ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง วิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1

ตัวชี้วัดชั้นปี สาระการเรียนรู้แกนกลาง
ว 2.1 ป.5/1  การเปลี่ ยนสถานะของสสารเป็ น การเปลี่ ยนแปลงทาง
อธิบายการเปลี่ยนสถานะของสสาร เมื่อทาให้ กายภาพ เมื่อเพิ่มความร้อนให้กับสสารถึงระดับหนึ่งจะ
สสารร้อนขึ้ นหรือเย็นลง โดยใช้ หลั กฐานเชิ ง ทาให้ สสารที่ เป็น ของแข็งเปลี่ย นสถานะเป็น ของเหลว
ประจักษ์ เรีย กว่ า การหลอมเหลวและเมื่ อเพิ่ ม ความร้อนต่ อ ไป
จนถึงอีกระดับหนึ่งของเหลวจะเปลี่ยนเป็นแก๊ส เรียกว่า
การกลายเป็ นไอ แต่ เมื่อลดความร้อนลงถึงระดั บ หนึ่ ง
แก๊ ส จะเปลี่ ย นสถานะเป็ น ของเหลว เรี ย กว่ า การ
ควบแน่น และถ้าลดความร้อนต่อไปอีกจนถึงระดับหนึ่ง
ของเหลวจะเปลี่ ย นสถานะเป็ น ของแข็ง เรีย กว่ า การ
แข็ ง ตั ว สสารบางชนิ ด สามารถเปลี่ ย นสถานะจาก
ของแข็งเป็นแก๊สโดยไม่ผ่านการเป็นของเหลว เรียกว่า
การระเหิด ส่วนแก๊สบางชนิดสามารถเปลี่ยนสถานะเป็น
ของแข็งโดยไม่ผ่านการเป็นของเหลว เรียกว่า การระเหิด
กลับ
ว 2.1 ป.5/2  เมื่อใส่สารลงในน้าแล้วสารนั้นรวมเป็นเนื้อเดียวกันกับน้า
อธิ บ ายการละลายของสารในน้ า โดยใช้ ทั่วทุกส่วน แสดงว่าสารเกิดการละลาย เรียกสารผสมที่
หลักฐานเชิงประจักษ์ ได้ว่าสารละลาย
ว 2.1 ป.5/3  เมื่ อ ผสมสาร 2 ชนิ ด ขึ้ น ไปแล้ ว มี ส ารใหม่ เกิ ด ขึ้ น ซึ่ ง มี
วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสารเมื่อเกิดการ สมบั ติต่ างจากสารเดิ ม หรือเมื่ อสารชนิ ด เดี ย วเกิด การ
เปลี่ ย นแปลงทางเคมี โดยใช้ ห ลั ก ฐานเชิ ง เปลี่ ยนแปลงแล้ วมี สารใหม่ เกิดขึ้น การเปลี่ย นแปลงนี้
ประจักษ์ เรียกว่า การเปลี่ยนแปลงทางเคมี ซึ่งสังเกตได้จากมี สี
หรือกลิ่นต่างจากสารเดิม หรือมีฟองแก๊ส หรือมีตะกอน
เกิดขึ้นหรือมีการเพิม่ ขึ้นหรือลดลงของอุณหภูมิ
ว 2.1 ป.5/4  เมื่อสารเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้ว สารสามารถเปลี่ยนกลับ
วิเคราะห์และระบุการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ เป็นสารเดิมได้ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ เช่น การ
และการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับไม่ได้ หลอมเหลว การกลายเป็นไอการละลาย แต่สารบางอย่าง
เกิ ด การเปลี่ ย นแปลงแล้ วไม่ ส ามารถเปลี่ ย นกลั บ เป็ น
สารเดิมได้ เป็ นการเปลี่ยนแปลงที่ ผันกลับไม่ได้ เช่น การ
เผาไหม้ การเกิดสนิม
ว 2.2 ป.5/1  แรงลัพธ์เป็นผลรวมของแรงที่กระทาต่อวัตถุ โดยแรงลัพธ์
อธิบายวิธีการหาแรงลัพธ์ของแรงหลายแรงใน ของแรง 2 แรงที่ ก ระท าต่ อ วั ต ถุ เดี ย วกั น จะมี ข นาด
แนว เท่ากับผลรวมของแรงทั้งสองเมื่อแรงทั้งสองอยู่ในแนว

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 ญ
ตัวชี้วัดชั้นปี สาระการเรียนรู้แกนกลาง
เดียวกันที่กระทาต่อวัตถุในกรณีที่วัตถุอยู่นิ่ง เดี ย วกั น และมี ทิ ศ ทางเดี ย วกั น แต่ จ ะมี ข นาดเท่ า กั บ
จากหลักฐานเชิงประจักษ์ ผลต่างของแรงทั้งสองเมื่อแรงทั้งสองอยู่ในแนวเดียวกัน
ว 2.2 ป.5/2 แต่มีทิศทางตรงข้ามกัน สาหรับวัตถุที่อยู่นิ่งแรงลัพธ์ที่
เขียนแผนภาพแสดงแรงที่กระทาต่อวัตถุที่อยู่ กระทาต่อวัตถุมีค่าเป็นศูนย์
ในแนวเดียวกันและแรงลัพธ์ที่กระทาต่อวัตถุ  การเขียนแผนภาพของแรงที่กระทาต่อวัตถุสามารถเขียน
ว 2.2 ป.5/3 ได้โดยใช้ลูกศร โดยหัวลูกศรแสดงทิศทางของแรง และ
ใช้เครื่องชั่งสปริงในการวัดแรงที่กระทาต่อวัตถุ ความยาวของลูกศรแสดงขนาดของแรงที่กระทาต่อวัตถุ
ว 2.2 ป.5/4  แรงเสียดทานเป็ นแรงที่ เกิดขึ้นระหว่างผิ วสั มผั สของวัตถุ
ระ บุ ผ ล ข อ งแ รงเสี ย ด ท าน ที่ มี ต่ อ ก าร เพื่อต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุนั้น โดยถ้าออกแรงกระท า
เปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุจากหลักฐาน ต่อวัตถุที่ อยู่ นิ่ งบนพื้ นผิวหนึ่ งให้ เคลื่อนที่ แรงเสียดทาน
เชิงประจักษ์ จากพื้ นผิ วนั้ นก็จะต้านการเคลื่ อนที่ ของวัตถุ แต่ ถ้าวั ตถุ
ว 2.2 ป.5/5 กาลังเคลื่อนที่แรงเสียดทานก็จะทาให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่ช้า
เขียนแผนภาพแสดงแรงเสียดทานและแรง ลงหรือหยุดนิ่ง
ที่อยู่ในแนวเดียวกันที่กระทาต่อวัตถุ
ว 2.3 ป.5/1  การได้ ยิ นเสี ยงต้ องอาศั ยตั วกลาง โดยอาจเป็ นของแข็ ง
อธิ บ ายการได้ ยิ น เสี ย งผ่ า นตั ว กลางจาก ของเหลว หรืออากาศ เสียงจะส่งผ่านตัวกลางมายังหู
หลักฐานเชิงประจักษ์
ว 2.3 ป.5/2  เสียงที่ได้ยินมีระดับสูงต่าของเสียงต่างกันขึ้นกับความถี่ของ
ระบุตัวแปร ทดลอง และอธิบายลักษณะและ การสั่นของแหล่งกาเนิดเสียง โดยเมื่อแหล่งกาเนิดเสียงสั่น
การเกิดเสียงสูง เสียงต่า ด้วยความถี่ต่าจะเกิดเสียงต่าแต่ถ้าสั่นด้วยความถี่สูงจะเกิด
ว 2.3 ป.5/3 เสียงสูง ส่วนเสียงดังค่อยที่ได้ยินขึ้นกับพลังงานการสั่นของ
ออกแบบการทดลองและอธิบายลักษณะและ แหล่ งก าเนิ ด เสี ย ง โดยเมื่ อแหล่ งก าเนิ ด เสี ย งสั่ น ด้ ว ย
การเกิดเสียงดัง เสียงค่อย พลังงานมากจะเกิดเสียงดัง แต่ถ้าแหล่งกาเนิดเสียงสั่นด้วย
ว 2.3 ป.5/4 พลังงานน้อยจะเกิดเสียงค่อย
วัดระดับเสียงโดยใช้เครื่องมือวัดระดับเสียง  เสี ย งดั ง มาก ๆ เป็ น อั น ตรายต่ อ การได้ ยิ น และเสี ย งที่
ว 2.3 ป.5/5 ก่อให้เกิดความราคาญเป็นมลพิษทางเสียงเดซิเบลเป็น
ตระหนักในคุณค่าของความรู้เรื่องระดับเสียง หน่วยที่บอกถึงความดังของเสียง
โดยเสนอแนะแนวทางในการหลีกเลี่ยงและลด
มลพิษทางเสียง

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


ฎ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1

ข้อแนะนาการใช้คู่มือครู
คู่มือครูเล่มนี้จัดทาขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางการจัดกิจกรรมสาหรับครู ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้นักเรียน
จะได้ฝึกทักษะจากการทากิจกรรมต่าง ๆ ทั้งการสังเกต การสารวจ การทดลอง การสืบค้นข้อมูล การอภิปราย
การทางานร่วมกัน ซึ่งเป็นการฝึกให้นักเรียนช่างสังเกต รู้จักตั้งคาถาม รู้จักคิดหาเหตุผล เพื่อตอบปัญหาต่าง ๆ
ได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้และค้นพบด้วยตนเองมากที่สุด ดังนั้นในการจัดการ
เรียนรู้ครูจึงเป็นผู้ช่วยเหลือ ส่งเสริม และสนับสนุนนักเรียนให้รู้จักสืบเสาะหาความรู้ จากสื่อและแหล่งการ
เรียนรู้ต่าง ๆ และเพิ่มเติมข้อมูลที่ถูกต้องแก่นักเรียน เพื่อให้ นักเรียนมีทักษะจากการศึกษาหาความรู้ด้วย
ตนเอง
เพื่อให้เกิดประโยชน์จากคู่มือครูเล่มนี้มากที่สุด ครูควรทาความเข้าใจในรายละเอียดของแต่ละหัวข้อ
และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้
1. สาระการเรียนรู้แกนกลาง
สาระการเรียนรู้แกนกลางเป็นสาระการเรียนรู้เฉพาะกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ปรากฏใน
มาตรฐานการเรี ยนรู้ และตั วชี้ วั ด ฯ (ฉบั บปรับ ปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลั กสู ตรแกนกลางการศึ กษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กระทรวงศึกษาธิการ ได้กาหนดไว้เฉพาะส่วนที่จาเป็นสาหรับเป็นพื้นฐาน
เกี่ยวข้องกับชีวิตประจาวัน และเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น โดยสอดคล้องกับสาระและ
ความสามารถ ความถนัดและความสนใจของนักเรียน ในทุกกิจกรรมจะมีสาระสาคัญ ซึ่งเป็นเนื้อหาสาระ
ที่ปรากฏอยู่ตามสาระการเรียนรู้โดยสถานศึกษาสามารถพัฒนาเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม
สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตาม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้เพิ่มสาระเทคโนโลยี ซึ่งประกอบด้วยการ
ออกแบบและเทคโนโลยี และวิ ทยาการค านวณ ทั้ งนี้ เพื่ อเอื้ อต่ อการจั ดการเรี ยนรู้ บู รณาการสาระ
ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี กับกระบวนการเชิงวิศวกรรม ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา
2. ภาพรวมการจัดการเรียนรูป้ ระจาหน่วย
ภาพรวมการจัดการเรียนรู้ประจาหน่วยมีไว้เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาสาระกับมาตรฐานการเรียนรู้และ
ตัวชี้วัดที่จะได้เรียนในแต่ละกิจกรรมของหน่วยนั้น ๆ และเป็นแนวทางให้ครู ครูนาไปปรับปรุงและ
เพิ่มเติมตามความเหมาะสม
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
แต่ละหน่วยการเรียนรู้นักเรียนจะได้ทากิจกรรมอย่างหลากหลาย ในแต่ละส่วนของหนังสือเรียนทั้ง
ส่วนนาบท นาเรื่อง และกิจกรรมมีจุดประสงค์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดชั้นปีเพื่อให้ นักเรียนเกิด
การเรียนรู้ โดยยึดหลักให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ สืบเสาะหาความรู้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการแก้ปัญหา การสื่อสาร และความสามารถในการตัดสินใจ การนาความรู้ไปใช้ในชีวิตและ
ในสถานการณ์ใหม่ มีทักษะในการใช้เทคโนโลยี มีเจตคติ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม
สามารถอยู่ในสังคมไทยได้อย่างมีความสุข

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 ฏ
4. บทนี้มีอะไร
ส่วนที่บอกรายละเอียดในบทนั้น ๆ ซึ่งประกอบด้วยชื่อเรื่อง คาสาคัญ และชื่อกิจกรรม เพื่อครูจะ
ได้ทราบองค์ประกอบโดยรวมของแต่ละบท
5. สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
ส่วนที่บอกรายละเอียดสื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ที่ต้องใช้สาหรับการเรียนในบท เรื่อง และ
กิจกรรมนั้น ๆ โดยสื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ประกอบด้วยหน้าหนังสือเรียนและแบบบันทึกกิจกรรม
และอาจมีโปรแกรมประยุกต์ เว็บไซต์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนูปกรณ์ หรือตัวอย่างวีดิทัศน์ปฏิบัติการ
ทางวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจในการสอนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สาหรับครู
6. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ทักษะที่นักเรียนจะได้ฝึกปฏิบัติในแต่ละกิจกรรม โดยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็น
ทักษะที่ นักวิทยาศาสตร์นามาใช้ในกระบวนการต่าง ๆ ในการสื บ เสาะหาความรู้ ส่ วนทักษะแห่ ง
ศตวรรษที่ 21 เป็นทักษะที่ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของนักเรียนในด้านต่าง ๆ
เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


ฐ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1

วีดิทัศน์ตัวอย่างการปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สาหรับครูเพื่อฝึกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ มีดังนี้
รายการวีดิทัศน์ตัวอย่างการ ทักษะกระบวนการทาง
Short link QR code
ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์
วีดิทัศน์ การสังเกตและการลง การสังเกตและการลง http://ipst.me/8115
ความเห็นจากข้อมูล ความเห็นจากข้อมูล
ทาได้อย่างไร
วีดิทัศน์ การวัดทาได้อย่างไร การวัด http://ipst.me/8116

วีดิทัศน์ การใช้ตัวเลข การใช้จานวน http://ipst.me/8117


ทาได้อย่างไร

วีดิทัศน์ การจาแนกประเภท การจาแนกประเภท http://ipst.me/8118


ทาได้อย่างไร

วีดิทัศน์ การหาความสัมพันธ์ การหาความสัมพันธ์ http://ipst.me/8119


ระหว่างสเปซกับสเปซ ระหว่างสเปซกับสเปซ
ทาได้อย่างไร
วีดิทัศน์ การหาความสัมพันธ์ การหาความสัมพันธ์ http://ipst.me/8120
ระหว่างสเปซกับเวลา ระหว่างสเปซกับเวลา
ทาได้อย่างไร

วีดิทัศน์ การจัดกระทาและสื่อ การจัดกระทาและสื่อ http://ipst.me/8121


ความหมายข้อมูล ความหมายข้อมูล
ทาได้อย่างไร

วีดิทัศน์ การพยากรณ์ การพยากรณ์ http://ipst.me/8122


ทาได้อย่างไร

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 ฑ
รายการวีดิทัศน์ตัวอย่างการ ทักษะกระบวนการทาง
Short link QR code
ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์
วีดิทัศน์ ทาการทดลองได้ การทดลอง http://ipst.me/8123
อย่างไร

วีดิทัศน์ การตั้งสมมติฐานทาได้ การตั้งสมมติฐาน http://ipst.me/8124


อย่างไร

วีดิทัศน์ การกาหนดและ การกาหนดและควบคุม http://ipst.me/8125


ควบคุมตัวแปรและ ตัวแปรและ
การกาหนดนิยามเชิง การกาหนดนิยามเชิง
ปฏิบัติการทาได้ ปฏิบัติการ
อย่างไร
วีดิทัศน์ การตีความหมาย การตีความหมายข้อมูลและ http://ipst.me/8126
ข้อมูลและลงข้อสรุป ลงข้อสรุป
ทาได้อย่างไร
วีดิทัศน์ การสร้างแบบจาลอง การสร้างแบบจาลอง http://ipst.me/8127
ทาได้อย่างไร

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


ฒ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1

7. แนวคิดคลาดเคลื่อน
ความเชื่ อ ความรู้ หรือ ความเข้ า ใจที่ ผิ ด หรื อ คลาดเคลื่ อ นซึ่ ง เกิ ด ขึ้ น กั บ นั ก เรี ย น เนื่ อ งจาก
ประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่รับมาผิดหรือนาความรู้ที่ได้รับมาสรุป ตามความเข้าใจของตนเองผิด แล้ว
ไม่สามารถอธิบายความเข้าใจนั้นได้ ดังนั้นเมื่อเรียนจบบทนี้แล้วครูควรแก้ไขแนวคิดคลาดเคลื่อนของ
นักเรียนให้เป็นแนวคิดที่ถูกต้อง
8. บทนี้เริ่มต้นอย่างไร
แนวทางสาหรับครูในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักคิดด้วยตนเอง
รู้จักค้นคว้าหาเหตุผล ครูควรกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในบทเรียนนั้น ๆ โดยและให้นักเรียน
ตอบคาถามสารวจความรู้ก่อนเรียน จากนั้นครูสังเกตการตอบคาถามของนักเรียนและยังไม่เฉลย
คาตอบที่ถูกต้อง เพื่อให้นักเรียนไปหาคาตอบจากเรื่องและกิจกรรมต่าง ๆ ในบทนั้น
9. เวลาที่ใช้
การเสนอแนะเวลาที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนว่าควรใช้ประมาณกี่ชั่วโมง เพื่อช่วยให้ครูครูได้
จั ด ท าแผนการจั ด การเรี ย นรู้ ได้ อ ย่ า งเหมาะสม อย่ า งไรก็ ต ามครู อ าจปรั บ เปลี่ ย น เวลาได้ ต าม
สถานการณ์และความสามารถของนักเรียน
10. วัสดุอุปกรณ์
รายการวัสดุอุปกรณ์ทั้งหมดทั้งหมดสาหรับการจัดกิจกรรม โดยอาจมีทั้งวัสดุสิ้นเปลือง อุปกรณ์
สาเร็จรูป อุปกรณ์พื้นฐาน หรืออื่น ๆ
11. การเตรียมตัวล่วงหน้าสาหรับครู เพื่อจัดการเรียนรู้ในครั้งถัดไป
การเตรียมตัว ล่ วงหน้าส าหรับ การจัดการเรียนรู้ในครั้งถัดไป เพื่อครูจะได้เตรียมสื่อ อุป กรณ์
เครื่องมือต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในกิจกรรมให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดีและมีจานวนเพียงพอกับนักเรียน โดย
อาจมีบางกิจกรรมต้องทาล่วงหน้าหลายวัน เช่น การเตรียมถุงปริศนาและข้าวโพดคั่วหรือสิ่งที่กินได้
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา มีกระบวนการคิดที่เป็นรูปธรรม ครูจึงควรจัดการเรียนการ
สอนที่ มุ่ งเน้ นให้ นั กเรียนได้ ป ฏิ บั ติห รือท าการทดลองด้ว ยตนเอง ซึ่งเป็น วิธีห นึ่ งที่นั กเรียนจะได้ มี
ประสบการณ์ตรง ดังนั้นครูครูจึงต้องเตรียมตัวเองในเรื่องต่อไปนี้
11.1 บทบาทของครู ครูจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ชี้นาหรือผู้ถ่ายทอดความรู้เป็นผู้
ช่วยเหลือ โดยส่งเสริมและสนับสนุนนักเรียนในการแสวงหาความรู้จากสื่อและแหล่งการ
เรียนรู้ต่าง ๆ และให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่นักเรียน เพื่อ ให้นักเรียนได้นาข้อมูลเหล่านั้นไปใช้
สร้างสรรค์ความรู้ของตนเอง
11.2 การเตรีย มตั ว ของครูแ ละนั ก เรีย น ครู ค วรเตรีย มนั ก เรี ย นให้ มี ค วามพร้ อ มในการท า
กิจกรรมต่าง ๆ แต่บางครั้งนักเรียนไม่เข้าใจและอาจจะทากิจกรรมไม่ถูกต้อง ดังนั้นครูจึง
ต้องเตรียมตัวเอง โดยทาความเข้าใจในเรื่องต่อไปนี้

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 ณ
การสืบค้นข้อมูลหรือการค้นคว้า ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น สอบถามจากผู้รู้ในท้องถิ่น
ดูจากรูปภาพแผนภูมิ อ่านหนังสือหรือเอกสารเท่าที่หาได้ นั่นคือการให้นักเรียนเป็นผู้หา
ความรู้และพบความรู้หรือข้อมูลด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการเรียนรู้ด้วยวิธีแสวงหาความรู้
การนาเสนอ มีห ลายวิธี เช่น ให้ นักเรียนหรือตัวแทนกลุ่มออกมาเล่าเรื่องที่ได้รับ
มอบหมายให้ไปสารวจ สังเกต หรือทดลองหรืออาจให้เขียนเป็นคาหรือเป็นประโยคลงใน
แบบบันทึกกิจกรรมหรือสมุดอื่นตามความเหมาะสม นอกจากนี้อาจให้วาดรูป หรือตัด
ข้อความจากหนังสือพิมพ์ แล้วนามาติดไว้ในห้อง เป็นต้น
การสารวจ ทดลอง สืบค้นข้อมูล สร้างแบบจาลองหรืออื่น ๆ เพื่อสร้างองค์ความรู้
เป็นสิ่งสาคัญยิ่งต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ครู ครูสามารถให้นักเรียนทากิจกรรมได้ทั้งใน
ห้องเรียน นอกห้องเรียนหรือที่บ้าน โดยไม่จาเป็นต้องใช้อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ราคาแพง
อาจใช้อุปกรณ์ที่ดัดแปลงจากสิ่งของเหลือใช้ หรือใช้วัสดุธรรมชาติ ข้อสาคัญ คือ ครู ครู
ต้องให้นักเรียนทราบว่า ทาไมจึงต้องทากิจกรรมนั้น และจะต้องทาอะไร อย่างไร ผลจาก
การทากิจกรรมจะสรุป ผลอย่างไร ซึ่งจะทาให้ นักเรียนได้ความรู้ ความคิด และทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์พร้อมกับเกิดค่านิยม คุณธรรม เจตคติทางวิทยาศาสตร์ด้วย
12. แนวการจัดการเรียนรู้
แนวทางสาหรับครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักคิดด้วย
ตนเอง รู้จักค้นคว้าหาเหตุผลและสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการนาเอาวิธีการต่าง ๆ ของกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ไปใช้ วิธีการจัดการเรียนรู้ที่ สสวท. เห็นว่าเหมาะสมที่จะนานักเรียนไปสู่เป้าหมายที่กาหนด
ไว้ก็คือ วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งมีองค์ประกอบที่สาคัญ คือ การมองเห็นปัญหา การสารวจ
ตรวจสอบ และอภิปรายซักถามระหว่างครูกับนักเรียนเพื่อนาไปสู่ข้อมูลสรุป
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
นอกจากครูจะจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามคู่มือครูนี้ ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามความ
เหมาะสมเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย โดยจะคานึงถึงเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
12.1 นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ ครูควรให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการ
เรียนรู้ตลอดเวลาด้วยการกระตุ้นให้นักเรียนลงมือทากิจกรรมและอภิปรายผล โดยครูอาจ
ใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น การใช้คาถาม การเสริม แรงมาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อให้การเรียน
การสอนน่าสนใจและมีชีวิตชีวา
12.2 การใช้คาถาม เพื่อนานักเรี ยนเข้าสู่บทเรียนและลงข้อสรุป โดยไม่ใช้เวลานานเกินไป ทั้งนี้
ครูต้องวางแผนการใช้คาถามอย่างมีป ระสิ ทธิภ าพ โดยเลือกใช้คาถามที่มีความยากง่าย
พอเหมาะกับความสามารถของนักเรียน
12.3 การสารวจตรวจสอบซ้า เป็นสิ่ งจาเป็นเพื่อให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ดังนั้นในการจัดการเรียนรู้
ครูควรเน้นย้าให้นักเรียนได้สารวจตรวจสอบซ้าเพื่อนาไปสู่ข้อสรุปที่ถูกต้องและเชื่อถือได้

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


ด คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1

13. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
ข้อเสนอแนะส าหรับ ครูที่ อาจเป็ น ประโยชน์ ในการจัดการเรีย นรู้ เช่ น ตัว อย่างวัส ดุ อุป กรณ์
ที่เหมาะสมหรือใช้แทน ข้อควรระวัง วิธีการใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมและปลอดภัย วิธีการทากิจกรรม
เพื่อลดข้อผิดพลาด ตัวอย่างตาราง และเสนอแหล่งเรียนรู้เพื่อการค้นคว้าเพิ่มเติม
14. ความรู้เพิ่มเติมสาหรับครู
ความรู้เพิ่ มเติ ม ในเนื้ อหาที่ ส อนซึ่ งจะมีรายละเอีย ดที่ ลึ กขึ้ น เพื่ อ เพิ่ ม ความรู้และความมั่ น ใจ
ในเรื่องที่จะสอนและแนะนานักเรียนที่มีความสามารถสูง แต่ครูต้องไม่นาไปสอนนักเรียนในชั้นเรียน
เพราะไม่เหมาะสมกับวัยและระดับชั้น
15. อย่าลืมนะ
ส่วนที่เตือนไม่ให้ครูเฉลยคาตอบที่ถูกต้อง ก่อนที่จะได้รับฟังความคิดและเหตุผลของนักเรี ยน
เพื่อให้นักเรียนได้คิดด้วยตนเองและครูจะได้ทราบว่านักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นอย่างไร
บ้าง โดยครูควรให้คาแนะนาเพื่อให้นักเรียนหาคาตอบได้ด้วยตนเอง นอกจากนั้นครูควรให้ความสนใจ
ต่อคาถามของนักเรียนทุกคนด้วย
16. แนวการประเมินการเรียนรู้
การประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนที่ได้จากการอภิปรายในชั้นเรียน คาตอบของนักเรียนระหว่าง
การจัดการเรียนรู้และในแบบบันทึกกิจกรรม รวมทั้งการฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่ได้จากการทากิจกรรมของนักเรียน
17. กิจกรรมท้ายบท
ส่วนที่ให้นักเรียนได้สรุปความรู้ ความเข้าใจ ในบทเรียน และได้ตรวจสอบความรู้ในเนื้อหาที่
เรียนมาทั้งบท หรืออาจต่อยอดความรู้ในเรือ่ งนัน้ ๆ

ข้อแนะนาเพิ่มเติม
1. การสอนอ่าน
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของคาว่า “อ่าน” หมายถึง ว่าตาม
ตัวหนังสือ ถ้าออกเสียงด้วย เรียกว่า อ่านออกเสียง ถ้าไม่ต้องออกเสียง เรียกว่า อ่านในใจ หรืออีกความหมาย
ของคาว่า “อ่าน” หมายถึง สังเกตหรือพิจารณาดูเพื่อให้เข้าใจ เช่น อ่านสีหน้า อ่านริมฝีปาก อ่านใจ ตีความ
เช่น อ่านรหัส อ่านลายแทง
ปีพุทธศักราช 2541 กรมวิชาการ ได้กล่าวถึงความสาคัญของการอ่านไว้ว่า การอ่านเป็นทักษะที่สาคัญ
จาเป็นต้องเน้นและฝึกฝนให้แก่นักเรียนเป็นอย่างมาก เนื่องจากการอ่านเป็นกระบวนการสาคัญที่ทาให้ผู้อ่าน
สร้างความหมายหรือพัฒนาการวิเคราะห์ ตีความในระหว่างอ่าน ผู้อ่านจะต้องรู้หัวเรื่อ ง รู้จุดประสงค์การอ่าน
มี ค วามรู้ ท างภาษาใกล้ เคี ย งกั บ ภาษาที่ ใ ช้ ในหนั ง สื อ ที่ อ่ า นและจ าเป็ น ต้ อ งใช้ ป ระสบการณ์ เดิ ม ที่ เป็ น
ประสบการณ์พื้นฐานของผู้ อ่าน ทาความเข้าใจเรื่องที่อ่าน ทั้งนี้นักเรียนแต่ล ะคนอาจมีทักษะในการอ่านที่

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 ต
แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง เช่ น ประสบการณ์เดิมของนักเรียน ความสามารถด้านภาษา
หรือความสนใจเรื่องที่อ่าน ครูควรสังเกตนักเรียนว่านักเรียนแต่ละคนมีความสามารถในการอ่านอยู่ในระดับใด
ซึ่งครูจะต้องพิจารณาทั้งหลักการอ่าน และความเข้าใจในการอ่านของนักเรียน
การรู้เรื่องการอ่าน (Reading literacy) หมายถึง การเข้าใจข้อมูล เนื้อหาสาระของสิ่งที่อ่าน การใช้
ประเมินและสะท้อนมุมมองของตนเองเกี่ยวกับสิ่งที่อ่านอย่างตั้งใจเพื่อบรรลุเป้าหมายส่วนตัวของตนเองหรือ
เพื่อพัฒนาความรู้และศักยภาพของตนเองและนาความรู้และศักยภาพนั้นมาใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน
สังคม (PISA, 2018)

กรอบการประเมินผลนักเรียนเพื่อให้มีสมรรถนะการอ่านในศตวรรษที่ 21 ตามแนวทางของ PISA สามารถ


สรุปได้ดังแผนภาพด้านล่าง

จากกรอบการประเมินดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การรู้เรื่องการอ่านเป็นสมรรถนะที่สาคัญที่ครูควรส่งเสริมให้
นักเรียนมีความสามารถให้ครอบคลุม ตั้งแต่การค้นหาข้อมูลในสิ่งที่อ่าน เข้าใจเนื้อหาสาระที่อ่านไปจนถึง
ประเมินค่าเนื้อหาสาระที่อ่านได้ การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์จาเป็นต้องอาศัยการอ่านเพื่อหาข้อมูล
ทาความเข้าใจเนื้อหาสาระของสิ่งที่อ่าน รวมทั้งประเมินสิ่งที่อ่านและนาเสนอมุมมองของตนเองเกี่ยวกับสิ่งที่
อ่าน นักเรียนควรได้รับส่งเสริมการอ่านดังต่อไปนี้

1. นักเรียนควรได้รับการฝึกการอ่านข้อความแบบต่อเนื่องจาแนกข้อความแบบต่าง ๆ กัน เช่น การบอก


การพรรณนา การโต้แย้ง รวมไปถึงการอ่านข้อเขียนที่ไม่ใช่ข้อความต่อเนื่อง ได้แก่ การอ่านรายการ
ตาราง แบบฟอร์ม กราฟ และแผนผัง เป็นต้น ซึ่งข้อความเหล่านี้เป็นสิ่งที่นักเรียนได้พบเห็นใน
โรงเรียน และจะต้องใช้ในชีวิตจริงเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งในคู่มือครูเล่มนี้ต่อไปจะใช้คาแทนข้อความทั้งที่
เป็นข้อความแบบต่อเนื่องและข้อความที่ไม่ใช่ข้อความต่อเนื่องว่าสิ่งที่อ่าน (Text)

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


ถ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1

2. นักเรียนควรได้รับการฝึกฝนให้มีความสามารถในการประเมินสิ่งที่อ่านว่ามีความเหมาะสมสอดคล้อง
กับลักษณะของข้อเขียนมากน้อยเพียงใด เช่น ใช้นวนิยาย จดหมาย หรือชีวะประวัติเพื่อประโยชน์
ส่วนตัว ใช้เอกสารราชการหรือประกาศแจ้งความเพื่อสาธารณประโยชน์ ใช้รายงานหรือคู่มือต่างๆ
เพื่อการทางานอาชีพ ใช้ตาราหรือหนังสือเรียน เพื่อการศึกษา เป็นต้น
3. นักเรียนควรได้รับการฝึกฝนให้มีสมรรถนะการอ่านเพื่อเรียนรู้ ในด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้
3.1 ความสามารถที่จะค้นหาเนื้อหาสาระของสิ่งที่อ่าน (Retrieving information)
3.2 ความสามารถที่จะเข้าใจเนื้อหาสาระของสิ่งที่อ่าน (Forming a broad understanding)
3.3 ความสามารถในการแปลความของสิ่งที่อ่าน (Interpretation)
3.4 ความสามารถในการประเมินและสามารถสะท้อนความคิดเห็นหรือโต้แย้งจากมุมมองของตน
เกี่ยวกับเนื่อหาสาระของสิ่งที่อ่าน (Reflection and evaluation the content of a text)
3.5 ความสามารถในการประเมินและสามารถสะท้อนความคิดเห็นหรือโต้แย้งจากมุมมองของตน
เกี่ยวกับรูปแบบของสิ่งที่อ่าน (Reflection and evaluation the form of a text)

ทั้งนี้ สสวท. ขอเสนอแนะวิธีการสอนแบบต่าง ๆ เพื่อเป็นการฝึกทักษะการอ่านของนักเรียน ดังนี้

 เทคนิคการสอนแบบ DR-TA (The Directed Reading-Thinking Activity)


การสอนอ่านที่มุ่งเน้นให้นักเรียนได้ฝึกกระบวนการคิด กลั่นกรองและตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากการอ่าน
ด้วยตนเอง โดยให้นักเรียนคาดคะเนเนื้อหาหรือคาตอบล่วงหน้าจากประสบการณ์ เดิมของนักเรียน โดยมี
ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ดังนี้
1. ครูจัดแบ่งเนื้อเรื่องที่จะอ่านออกเป็นส่วนย่อย และวางแผนการสอนอ่านของเนื้อเรื่องทั้งหมด
2. นาเข้าสู่บทเรียนโดยชักชวนให้นักเรียนคิดว่านักเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่านบ้าง
3. ครูให้นักเรียนสังเกตรูปภาพ หัวข้อ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่จะเรียน
4. ครูตั้งคาถามให้นักเรียนคาดคะเนเนื้อหาของเรื่องที่กาลังจะอ่าน ซึ่งอาจให้นักเรียนคิดว่าจะได้เรียน
เกี่ยวกับอะไร โดยครูพยายามกระตุ้นให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นหรือคาดคะเนเนื้อหา
5. ครูอาจให้ นั กเรียนเขียนสิ่ งที่ตนเองคาดคะเนไว้ โดยจะท าเป็น รายคนหรือเป็น คู่ก็ได้ หรือครูน า
อภิปรายแล้วเขียนแนวคิดของนักเรียนแต่ละคนไว้บนกระดาน
6. นักเรียนอ่านเนื้อ เรื่อง จากนั้นประเมินหรือตรวจสอบ และอภิป รายว่าการคาดคะเนของตนเอง
ตรงกับ เนื้อเรื่องที่อ่านหรือไม่ ถ้านักเรียนประเมินว่าเรื่องที่อ่านมีเนื้อหาตรงกับ ที่คาดคะเนไว้ให้
นักเรียนแสดงข้อความที่สนับสนุนการคาดคะเนของตนเองจากเนื้อเรื่อง
7. ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน โดยครูวิเคราะห์ว่านักเรียนแต่ละคนสามารถใช้การคาดคะเนด้วย
ตนเองอย่างไรบ้าง
8. ทาซ้าขั้นตอนเดิมในการอ่านเนื้อเรื่องส่วนอื่น ๆ เมื่อจบทั้งเรื่องแล้ว ครูปิดเรื่องโดยการทบทวน
เนื้อหาและอภิปรายถึงวิธีการคาดคะเนของนักเรียนที่ควรใช้สาหรับการอ่านเรื่องอื่น ๆ

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 ท
 เทคนิคการสอนแบบ KWL (Know – Want – Learning)
การสอนอ่านที่มุ่งเน้นให้นักเรียนได้เชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่อย่างเป็นรูปธรรม
และเป็นระบบ โดยผ่านตาราง 3 ช่อง คือ K-W-L (นักเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน นักเรียนต้องการรู้
อะไรเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากเรื่องที่อ่าน) โดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน
ดังนี้
1. นาเข้าสู่บทเรียนด้วยการกระตุ้นความสนใจของนักเรียน โดยการใช้คาถาม การนาด้วยรูปภาพหรือ
วีดิทัศน์ที่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่เรื่องที่จะอ่าน
2. ครูทาตารางแสดง K-W-L และอธิบายขั้นตอนการทากิจกรรมโดยใช้เทคนิค K-W-L ว่ามีขั้นตอน
ดังนี้
ขั้นที่ 1 กิจกรรมก่อนการอ่าน เรียกว่า ขั้น K มาจาก know (What we know) เป็นขั้นตอนที่ให้
นักเรียนระดมสมองแสดงความคิด เห็นเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน แล้วบันทึกสิ่งที่ตนเองรู้ลงใน
ตารางช่อง K ขั้นตอนนี้ช่วยให้นักเรียนรู้ว่าตนเองรู้อะไรแล้วต้องอ่านอะไร โดยครูพยายาม
ตั้งคาถามกระตุ้นให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น
ขั้นที่ 2 กิ จกรรมระหว่างการอ่ าน เรียกว่ า ขั้ น W มาจาก want (What we want to know) เป็ น
ขั้นตอนที่ให้นักเรียนตั้งคาถามเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการรู้เกี่ยวกับเรื่องที่กาลังจะอ่าน โดยครูและ
นักเรียนร่วมกันกาหนดคาถาม แล้วบันทึกสิ่งที่ตอ้ งการรู้ลงในตารางช่อง W
ขั้นที่ 3 กิ จ กรรมหลั ง การอ่ า น เรี ย กว่ า ขั้ น L มาจาก learn (What we have learned) เป็ น
ขั้นตอนที่สารวจว่าตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการอ่าน โดยหลังจากอ่านเนื้อเรื่อง นักเรียน
หาข้อความมาตอบคาถามที่กาหนดไว้ในตารางช่อง W จากนั้นนาข้อมูลที่ได้จากการอ่านมา
จัดลาดับความสาคัญของข้อมูลและสรุปเนื้อหาสาคัญลงในตารางช่อง L
3. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหา โดยการอภิปรายหรือตรวจสอบคาตอบในตาราง K-W-L
4. ครูและนักเรียนอาจร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการใช้ตาราง K-W-L มาช่วยในการเรียนการสอนการอ่าน
 เทคนิคการสอนแบบ QAR (Question-answer relationship)
การสอนอ่านที่มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความเข้าใจในการจัดหมวดหมู่ของคาถามและตั้งคาถาม เพื่อให้ได้มา
ซึ่งแนวทางในการหาคาตอบ ซึ่งนักเรียนจะได้พิจารณาจากข้อมูลในเนื้อเรื่องที่จะเรียนและประสบการณ์เดิม
ของนักเรียน โดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ดังนี้
1. ครูจัดทาชุดคาถามตามแบบ QAR จากเรื่องที่นักเรียนควรรู้หรือเรื่องใกล้ตัวนักเรียน เพื่อช่วยให้นักเรียน
เข้าใจถึงการจัดหมวดหมู่ของคาถามตามแบบ QAR และควรเชื่อมโยงกับเรื่องที่จะอ่านต่อไป
2. ครูแนะนาและอธิบายการสอนแบบ QAR โดยครูควรชี้แจงนักเรียนเกี่ยวกับการอ่านและการตั้งคาถาม
ตามหมวดหมู่ ได้แก่ คาถามที่ตอบโดยใช้เนื้อหาจากเรื่องที่อ่าน คาถามที่ต้องคิดและค้นคว้า คาถามที่
ไม่มีคาตอบโดยตรง ซึ่งจะต้องใช้ความรู้เดิมและสิ่งที่ผู้เขียนเขียนไว้
3. นักเรียนอ่านเนื้อเรื่อง ตั้งคาถามและตอบคาถามตามหมวดหมู่ และร่วมกันอภิปรายเพื่อสรุปคาตอบ
4. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการใช้เทคนิคนี้ด้วยตนเองได้อย่างไร

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


ธ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1

5. ครูและนักเรียนอาจร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการใช้ตาราง K-W-L มาช่วยในการเรียนการสอนการอ่าน


2. การใช้งานสื่อ QR CODE
QR CODE เป็ นรหั ส หรือภาษาที่ต้ องใช้โปรแกรมอ่านหรือสแกนข้อมูล ออกมา ซึ่งต้องใช้งานผ่ าน
โทรศัพท์เคลื่อนที่หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ติดตั้งกล้องไว้ แล้วอ่าน QR Code ผ่านโปรแกรมต่าง ๆ เช่น
LINE (สาหรับ โทรศัพท์เคลื่อนที่) Code Two QR Code Reader (สาหรับ คอมพิวเตอร์) Camera (สาหรับ
ผลิตภัณฑ์ของ Apple Inc.)
ขั้นตอนการใช้งาน
1. เปิดโปรแกรมสาหรับอ่าน QR Code
2. เลื่อนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ แท็บเล็ต เพื่อส่องรูป QR Code ได้ทั้งรูป
3. เปิดไฟล์หรือลิงก์ที่ขึ้นมาหลังจากโปรแกรมได้อ่าน QR CODE
**หมายเหตุ อุปกรณ์ที่ใช้อ่าน QR CODE ต้องเปิด Internet ไว้เพื่อดึงข้อมูล
3. การใช้งานโปรแกรมประยุกต์ความจริงเสริม (ภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ)
โปรแกรมประยุกต์ความจริงเสริม (Augmented reality) เป็นโปรแกรมที่ สร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อเสริม
ช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาสาระของบทเรียนอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น สาหรับระดับประถมศึกษาปีที่ 5 จะ
ใช้งานผ่านโปรแกรมประยุกต์ “วิทย์ ป.5” ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ทาง Play Store หรือ Apps Store
**หมายเหตุ เนื่องจากโปรแกรมมีขนาดไฟล์ที่ใหญ่ประมาณ 150 เมกะไบต์ หากพื้นที่จัดเก็บไม่เพียงพออาจ
ต้องลบข้อมูลบางอย่างออกก่อนติดตั้งโปรแกรม
ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรม
1. เข้าไปที่ Play Store ( ) หรือ Apps Store ( )
2. ค้นหาคาว่า “AR วิทย์ ป.5”
3. กดเข้าไปที่โปรแกรมประยุกต์ที่ สสวท. พัฒนา
4. กด “ติดตัง้ ” และรอจนติดตั้งเรียบร้อย
5. เข้าสู่ โปรแกรมจะปรากฏหน้าแรก จากนั้นกด “วิธีการใช้งาน” เพื่อศึกษาการใช้งานโปรแกรม
เบื้องต้นด้วยตนเอง
6. หลั งจากศึกษาวิธีการใช้งานด้ว ยตนเองแล้ ว กด “สแกน AR”
และเปิดหนังสือเรียนหน้าที่มีสัญลักษณ์ AR
7. ส่องรูปที่อยู่บริเวณสัญลักษณ์ AR โดยมีระยะห่างประมาณ 10
เซนติเมตร และเลือกดูภาพในมุมมองต่าง ๆ ตามความสนใจ

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 น

การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษา

นั ก เรีย นในระดั บ ประถมศึก ษาตอนต้น (ป.1 - ป.3) ตามธรรมชาติ แ ล้ ว มี ค วามอยากรู้อ ยากเห็ น


เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัว และเรียนรู้ได้ดีที่สุดด้วยการค้นพบ จากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองโดยอาศัยประสาท
สัมผัสทั้งห้า ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาตอนต้น จึงควรให้โอกาสนักเรียนมีส่วนร่วม
ในการลงมือปฏิบัติ การสารวจตรวจสอบ การค้นพบ การตั้งคาถามเพื่อนาไปสู่การอภิปราย การแลกเปลี่ยนผล
การทดลองด้วยคาพูด หรือภาพวาด การอภิปรายเพื่อสรุปผลร่วมกัน สาหรับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา
ตอนปลาย (ป.4-ป.6) มี พั ฒ นาการทางสติปั ญญาจากขั้ นการคิดแบบรูปธรรมไปสู่ ขั้นการคิ ดแบบนามธรรม
มีความสนใจในสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และสนใจว่าสิ่งต่าง ๆ ถูกประกอบเข้าด้วยกันอย่างไร และทางานอย่างไร
นักเรียนในช่วงวัยนี้ต้องการโอกาสที่จะมีส่วนร่วมในการทากิจกรรมกลุ่มโดยการทางานแบบร่วมมือ ดังนั้นจึง
ควรส่งเสริมให้นักเรียนทาโครงงานวิทยาศาสตร์ร่วมกันซึ่งจะเป็นการสร้างความสามัคคี และประสานสัมพันธ์
ระหว่างนักเรียนในระดับนี้ด้วย

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ หมายถึงวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้เพื่อศึกษาสิ่งต่าง ๆ รอบตัวอย่าง
เป็ นระบบ และเสนอค าอธิบายเกี่ ยวกั บสิ่ งที่ ศึ กษาด้ วยข้ อมู ลที่ ได้ จากการท างานทางวิทยาศาสตร์ มี วิ ธีการอยู่
หลากหลาย เช่น การสารวจ การสืบค้น การทดลอง การสร้างแบบจาลอง
นักเรียนทุกระดับชั้นควรได้รับโอกาสในการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาความสามารถในการ
คิดและแสดงออกด้วยวิธีการที่เชื่อมโยงกับการสืบเสาะหาความรู้ซึ่งรวมทั้งการตั้งคาถาม การวางแผนและดาเนินการ
สืบเสาะหาความรู้ การใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการรวบรวมข้อมูล การคิดอย่างมีวิจารณญาณและมี
เหตุผลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพยานหลักฐานและการอธิบาย การสร้างและวิเคราะห์คาอธิบายที่หลากหลาย
และการสื่อสารข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นการสืบเสาะหาความรู้ ควรมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบมีความต่อเนื่องกัน
จากที่เน้นครูเป็นสาคัญไปจนถึงเน้นนักเรียนเป็นสาคัญ โดยแบ่งได้ดังนี้
• การสื บเสาะหาความรู้แบบครูเป็นผู้ กาหนดแนวทาง (Structured inquiry) ครูเป็นผู้ ตั้งคาถามและบอก
วิธีการให้นักเรียนค้นหาคาตอบ ครูชี้แนะนักเรียนทุกขั้นตอนโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
• การสืบเสาะหาความรู้แบบทั้งครูและนักเรียนเป็นผู้กาหนดแนวทาง (Guided inquiry) ครูเป็นผู้ตั้งคาถาม
และจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการสารวจตรวจสอบให้กับนักเรียน นักเรียนจะเป็นผู้ออกแบบการทดลอง
ด้วยตัวเอง
• การสืบเสาะหาความรู้แบบนักเรียนเป็นผู้กาหนดแนวทาง (Open inquiry) นักเรียนทากิจกรรมตามที่ครู
กาหนด นักเรียนพัฒนาวิธี ดาเนินการสารวจ ตรวจสอบจากคาถามที่ครูตั้งขึ้น นักเรียนตั้งคาถามในหัวข้อที่
ครูเลือก พร้อมทั้งออกแบบการสารวจตรวจสอบด้วยตนเอง

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


บ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1

การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในห้องเรียน
เราสามารถจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในห้องเรียนโดยจัดโอกาสให้ นักเรียนได้สืบเสาะหาความรู้ ทาง
วิทยาศาสตร์ตามที่หลักสูตรกาหนด ด้วยกระบวนการแบบเดียวกันกับที่ นักวิทยาศาสตร์ สืบเสาะ แต่อาจมี
รูปแบบที่หลากหลายตามบริบทและความพร้อมของครูและนักเรียน เช่น การสืบเสาะหาความรู้แบบปลายเปิด
(Open inquiry) ที่ นัก เรียนเป็ นผู้ ควบคุม การสื บ เสาะหาความรู้ข องตนเองตั้งแต่การสร้างประเด็นค าถาม
การสารวจตรวจสอบ (Investigation) และอธิบายสิ่งที่ศึกษาโดยใช้ข้อมูล (Data) หรือหลักฐาน (Evidence)
ที่ได้จากการสารวจตรวจสอบ การประเมินและเชื่อมโยงความรู้ที่เกี่ยวข้องหรือคาอธิบ ายอื่นเพื่อปรับปรุง
คาอธิบายของตนและนาเสนอต่อผู้อื่น นอกจากนี้ ครูอาจใช้การสืบเสาะหาความรู้ที่ตนเองเป็นผู้กาหนดแนว
ในการทากิจกรรม (Structured inquiry) โดยครูสามารถแนะนานักเรียนได้ตามความเหมาะสม
การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ครูสามารถออกแบบการสอนให้มีลักษณะ
สาคัญของการสืบเสาะ ดังนี้

ภาพ วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในห้องเรียน

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 ป

การจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์
และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ เป็นลักษณะเฉพาะตัวของวิทยาศาสตร์ที่มีความแตกต่างจากศาสตร์อื่น ๆ
เป็ น ค่ า นิ ย ม ข้ อ สรุ ป แนวคิ ด หรื อ ค าอธิ บ ายที่ บ อกว่ า วิ ท ยาศาสตร์ คื อ อะไร มี ก ารท างานอย่ า งไร
นักวิทยาศาสตร์คือใคร ทางานอย่างไร และงานด้านวิทยาศาสตร์มีความสั มพันธ์อย่างไรกับ สังคม ค่านิยม
ข้อสรุป แนวคิด หรือคาอธิบายเหล่านี้จะผสมกลมกลืนอยู่ในตัววิทยาศาสตร์ ความรู้ท างวิทยาศาสตร์ และการ
พัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษาตอนต้น ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติ
ของวิทยาศาสตร์และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขึ้นอยู่กับระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียนและ
ประสบการณ์ที่ครูจัดให้แก่นักเรียน ความสามารถในการสังเกตและการสื่อความหมายของนักเรียนในระดับนี้
ค่อย ๆ พัฒนาขึ้น ครูควรอานวยความสะดวกในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และแนวคิด
ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน นักเรียนในระดับนี้เริ่มที่จะเข้าใจว่าวิทยาศาสตร์คืออะไร วิทยาศาสตร์ทางาน
อย่างไร และนักวิทยาศาสตร์ทางานกันอย่างไรโดยผ่านการทากิจกรรมในห้องเรียน จากเรื่องราวเกี่ยวกับ
นักวิทยาศาสตร์ และจากการอภิปรายในห้องเรียน
นักเรียนในระดับประถมศึกษาตอนปลายซึ่งกาลังพัฒนาฐานความรู้โดยใช้การสังเกตมากขึ้น สามารถ
นาความรู้มาใช้เพื่อก่อให้เกิดความคาดหวังเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว โอกาสการเรียนรู้สาหรับนักเรียนในระดับนี้
ควรเน้นไปที่ทักษะการตั้งคาถามเชิงวิทยาศาสตร์ การสร้างคาอธิบายที่มีเหตุผลโดยอาศัยพยานหลักฐานที่
ปรากฏ และการสื่อความหมายเกี่ยวกับความคิดและการสารวจตรวจสอบของตนเองและของนักเรียนคนอื่นๆ
นอกจากนี้ เรื่อ งราวทางประวั ติ ศ าสตร์ส ามารถเพิ่ ม ความตระหนั ก ถึ งความหลากหลายของคนในชุ ม ชน
วิท ยาศาสตร์ นั กเรียนในระดั บ นี้ ควรมีส่ ว นร่วมในกิ จกรรมที่ช่ วยให้ เขาคิ ด อย่า งมี วิจารณญาณเกี่ ยวกั บ
พยานหลักฐานและความสัมพันธ์ระหว่างพยานหลักฐานกับการอธิบาย

การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนแต่ละระดับชั้นมีพัฒนาการเป็นลาดับดังนี้

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สามารถ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สามารถ


• ตั้งคาถาม บรรยายคาถาม เขียนเกี่ยวกับคาถาม • ออกแบบและดาเนินการสารวจตรวจสอบเพื่อ
• บั นทึ กข้ อ มู ลจากประสบการณ์ ส ารวจ ตอบคาถามที่ได้ตั้งไว้
ตรวจสอบชั้นเรียน • สื่อความหมายความคิดของเขาจากสิ่งที่
• อภิปรายแลกเปลี่ยนหลักฐานและความคิด สังเกต
• เรียนรู้ว่าทุกคนสามาเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้ • อ่านและการอภิปรายเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับ
วิทยาศาสตร์

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


ผ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สามารถ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สามารถ


• ตั้งคาถามที่สามารถตอบได้โดยการใช้ • ทาการทดลองอย่างง่าย ๆ
ฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์และการสังเกต • ให้เหตุผลเกี่ยวกับการสังเกต การสื่อ

• ทางานในกลุ่มแบบร่วมมือเพื่อสารวจ ความหมาย
ตรวจสอบ • ลงมือปฏิบัติการทดลองและการอภิปราย
• ค้นหาแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้และบูรณาการ
• ค้นหาข้อมูลและการสื่อความหมายคาตอบ
ข้อมูลเหล่านั้นกับการสังเกตของตนเอง
• สร้างคาบรรยายและคาอธิบายจากสิ่งที่
• ศึกษาประวัติการทางานของนักวิทยาศาสตร์
สังเกต
• นาเสนอประวัติการทางานของ
นักวิทยาศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สามารถ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถ


• สารวจตรอบสอบ • สารวจตรอบสอบที่เน้นการใช้ทักษะทาง
• ตั้งคาถามทางวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์
• ตีความหมายข้อมูลและคิดอย่างมี • รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การมองหาแบบ
วิจารณญาณโดยมีหลักฐานสนับสนุน แผนของข้อมูล การสื่อความหมายและการ
คาอธิบาย แลกเปลี่ยนเรียนรู้
• เข้าใจธรรมชาติวิทยาศาสตร์จากประวัติการ • เข้าใจความแตกต่างระหว่างวิทยาศาสตร์
ทางานของนักวิทยาศาสตร์ที่มีความมานะ และเทคโนโลยี
อุตสาหะ • เข้าใจการทางานทางวิทยาศาสตร์ผ่าน
ประวัติศาสตร์ของนักวิทยาศาสตร์ทุกเพศ
ที่มีหลายเชื้อชาติ วัฒนธรรม

สามารถอ่ านข้อมูล เพิ่ ม เติมเกี่ ยวกั บ การจัดการเรียนการสอนที่เน้น การสื บ เสาะหาความรู้ท าง


วิทยาศาสตร์และการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
จากคู่มือการใช้หลักสูตร

http://ipst.me/8922

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 ฝ

การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

แนวคิดสาคัญของการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และ


ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 ที่เน้นนักเรียนเป็นสาคัญ คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิด
โอกาสให้นักเรียนคิดและลงมือปฏิบัติด้วยกระบวนการที่หลากหลาย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง
เต็มตามศักยภาพ การวัดและประเมินผลจึงมีความสาคัญและจาเป็นอย่างยิ่งต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ใน
ห้องเรียน เพราะสามารถทาให้ครูประเมินระดับพัฒนาการการเรียนรู้ของนักเรียนได้
กิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนมีห ลากหลาย เช่น กิจกรรมสารวจภาคสนาม กิจกรรมการสารวจ
ตรวจสอบ การทดลอง กิจกรรมศึกษาค้นคว้า กิจกรรมศึกษาปัญหาพิเศษ หรือโครงงานวิทยาศาสตร์ อย่างไร
ก็ตามในการทากิจกรรมเหล่านี้ต้องคานึงว่านักเรี ยนแต่ละคนมีศักยภาพแตกต่างกัน นักเรียนจึงอาจทางาน
ชิ้นเดียวกันได้สาเร็จในเวลาที่แตกต่างกัน และผลงานที่ได้ก็อาจแตกต่างกันด้วย เมื่อนักเรียนทากิจกรรมเหล่านี้
แล้ ว ก็ ต้ อ งเก็บ รวบรวมผลงาน เช่ น รายงาน ชิ้ น งาน บั น ทึ ก และรวมถึงทั ก ษะปฏิ บั ติ ต่ าง ๆ เจตคติ ท าง
วิทยาศาสตร์ เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ความรัก ความซาบซึ้ง กิจกรรมที่นักเรียนได้ทาและผลงานเหล่านี้ต้องใช้
วิธีประเมินที่มีความเหมาะสมและแตกต่างกันเพื่อช่วยให้สามารถประเมินความรู้ความสามารถและความรู้สึก
นึกคิดที่แท้จริงของนักเรียนได้ การวัดผลและประเมินผลจะมีประสิทธิภาพก็ต่ อเมื่อมีการประเมินหลายๆ ด้าน
หลากหลายวิธี ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับชีวิตจริง และต้องประเมินอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้ข้อมูลที่
มากพอที่จะสะท้อนความสามารถที่แท้จริงของนักเรียนได้

จุดมุ่งหมายหลักของการวัดผลและประเมินผล
1. เพื่อค้นหาและวินิจฉัยว่านักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาวิทยาศาสตร์ มีทักษะความชานาญใน
การส ารวจตรวจสอบทางวิท ยาศาสตร์ รวมถึงมี เจตคติท างวิท ยาศาสตร์อย่างไรและในระดับ ใด เพื่ อเป็ น
แนวทางให้ครูสามารถวางแผนการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนได้
อย่างเต็มศักยภาพ
2. เพื่อใช้เป็นข้อมูลย้อนกลับสาหรับนักเรียนว่ามีการเรียนรู้อย่างไร
3. เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการสรุปผลการเรียน และเปรียบเทียบระดับพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของนักเรียน
แต่ละคน
การประเมินการเรียนรู้ของนักเรียน มี 3 แบบ คือ การประเมินเพื่อค้นหาและวินิจฉัย การประเมิน
เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน และการประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียนการสอน
การประเมินเพื่อค้นหาและวินิจฉัย เป็นการประเมินเพื่อบ่งชี้ก่อนการเรียนการสอนว่า นักเรียนมีพื้น
ฐานความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ เจตคติ และแนวคิดที่คลาดเคลื่อนอะไรบ้าง การประเมินแบบนี้สามารถบ่งชี้
ได้ว่านักเรียนคนใดต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษในเรื่องที่ขาดหายไป หรือเป็นการประเมินเพื่อพัฒ นา
ทักษะที่จาเป็นก่อนที่จะเรียนเรื่องต่อไป การประเมินแบบนี้ยังช่ว ยบ่ งชี้ทักษะหรือแนวคิดที่มีอยู่แล้ วของ
นักเรียนอีกด้วย การประเมินเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน เป็นการประเมินในระหว่างช่วงที่มีการเรียนการสอน การ

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


พ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1

ประเมินแบบนี้จะช่วยบ่งชี้ระดับที่นักเรียนกาลังเรียนอยู่ในเรื่องที่ได้สอนไปแล้ว หรือบ่งชี้ความรู้ของนักเรียนตาม
จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ได้วางแผนไว้ เป็นการประเมินที่ให้ ข้อมูลย้อนกลับกับนักเรียนและกับครูว่าเป็นไปตาม
แผนการที่วางไว้หรือไม่ ข้อมูลที่ได้จากการประเมินแบบนี้ไม่ใช่เพื่อเป้าประสงค์ในการให้ระดับคะแนน แต่เพื่อช่วยครู
ในการปรับปรุงการสอน และเพื่อวางแผนประสบการณ์ต่างๆ ที่จะให้กับนักเรียนต่อไป
การประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียนการสอน เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้ว ส่วนมากเป็น “การ
สอบ” เพื่ อให้ ระดับคะแนนแก่นั กเรียน หรือเพื่ อให้ ต าแหน่ งความสามารถของนั กเรียน หรือเพื่ อเป็ นการบ่ งชี้
ความก้าวหน้าในการเรียน การประเมินแบบนี้ถือว่ามีความสาคัญในความคิดของผู้ปกครองนักเรียน ครู ผู้บริหาร
อาจารย์แนะแนว ฯลฯ แต่ก็ไม่ใช่เป็นการประเมินภาพรวมทั้งหมดของความสามารถของนักเรียน ครูต้องระมัดระวัง
เมื่อประเมินผลรวมเพื่อตัดสินผลการเรียนของนักเรียน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุล ความยุติธรรม และเกิดความตรง
การตัดสินผลการเรียนของนักเรียนมักจะมีการเปรียบเทียบกับสิ่งอ้างอิง ส่วนมากการประเมินมักจะ
อ้างอิงกลุ่ม (Norm reference) คือเป็นการเปรียบเทียบความสามารถของนักเรียนโดยเปรียบเทียบกับกลุ่มหรือ
คะแนนของนักเรียนคนอื่นๆ การประเมินแบบกลุ่มนี้จะมี “ผู้ชนะ” และ “ผู้แพ้” อย่างไรก็ตามการประเมินแบบ
อิงกลุ่มนี้จะมีนักเรียนครึ่งหนึ่งที่อยู่ต่ากว่าระดับคะแนนเฉลี่ยของกลุ่ม นอกจากนี้ยังมีการประเมินแบบอิงเกณฑ์
(Criterion reference) ซึ่งเป็ นการเปรียบเที ยบความสามารถของนักเรียนกับเกณฑ์ ที่ตั้งเอาไว้โดยไม่ คานึ งถึ ง
คะแนนของนักเรียนคนอื่นๆ ฉะนั้นจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอนจะต้องชัดเจนและมีเกณฑ์ที่บอกให้ทราบว่า
ความสามารถระดับใดจึงจะเรียกว่าบรรลุถึงระดับ “รอบรู้” โดยที่นักเรียนแต่ละคน หรือชั้นเรียนแต่ละชั้น หรือ
โรงเรียนแต่ละโรงจะได้รับการตัดสินว่าประสบผลสาเร็จก็ต่อเมื่อ นักเรียนแต่ละคน หรือชั้นเรียนแต่ละชั้น หรือ
โรงเรียนแต่ละโรงได้สาธิตผลสาเร็จ หรือสาธิตความรอบรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้หรือตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ข้อมูล
ที่ใช้ส าหรับการประเมินเพื่อวินิจฉัย หรือเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน หรือเพื่อตัดสินผลการเรียนการสอน
สามารถใช้การประเมินแบบอิงกลุ่มหรืออิงเกณฑ์ เท่าที่ผ่านมาการประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียนการสอนจะใช้
การประเมินแบบอิงกลุ่ม

แนวทางการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การเรียนรู้จะบรรลุตามเป้าหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่วางไว้ ควรมีแนวทางดังต่อไปนี้
1. วัดและประเมินผลทั้งความรู้ความคิด ความสามารถ ทักษะกระบวนการ เจตคติ คุณธรรม จริยธรรม
ค่านิยมด้านวิทยาศาสตร์ รวมทั้งโอกาสในการเรียนรู้ของนักเรียน
2. วิธีการวัดและประเมินผลต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ที่กาหนดไว้
3. เก็บข้อมูลจากการวัดและประเมินผลอย่างตรงไปตรงมา และต้องประเมินผลภายใต้ข้อมูลที่มีอยู่
4. ผลของการวั ด และประเมิ น ผลการเรี ย นรู้ ข องนั ก เรี ย นต้ อ งน าไปสู่ ก ารแปลผลและลงข้ อ สรุ ป ที่
สมเหตุสมผล
5. การวัดและประเมินผลต้องมีความเที่ยงตรงและเป็นธรรม ทั้งในด้านของวิธีการวัดและโอกาสของการประเมิน

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 ฟ
วิธีการและแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวัดผลและประเมินผล
เพื่อให้การวัดผลและประเมินผลได้สะท้อนความสามารถที่แท้จริงของนักเรียน ผลการประเมินอาจ
ได้มาจากแหล่งข้อมูลและวิธีการต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. สังเกตการแสดงออกเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
2. ชิ้นงาน ผลงาน รายงาน
3. การสัมภาษณ์ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
4. บันทึกของนักเรียน
5. การประชุมปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างนักเรียนและครู
6. การวัดและประเมินผลภาคปฏิบัติ
7. การวัดและประเมินผลด้านความสามารถ
8. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มผลงาน

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


ภ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1

ตารางแสดงความสอดคล้องระหว่างเนื้อหาและกิจกรรม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 1


กับตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
เวลา
หน่วยการเรียนรู้ ชื่อกิจกรรม ตัวชี้วัด
(ชั่วโมง)
หน่วยที่ 1 การ บทที่ 1 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 1 -
เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เรื่องที่ 1 เส้นทางของขยะจากมือเรา 1
รอบตัว กิจกรรมที่ 1 จัดกระทาและสื่อความหมาย 3
ข้อมูล และสร้างแบบจาลองได้อย่างไร
กิจกรรมท้ายบทที่ 1 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 0.5
หน่วยที่ 2แรงและ บทที่ 1 แรงลัพธ์และแรงเสียดทาน 0.5 • อธิบายวิธีการหาแรงลัพธ์ของ
พลังงาน เรื่องที่ 1 แรงลัพธ์ 0.5 แรงหลายแรงในแนวเดียวกันที่
กิจกรรมที่ 1 หาแรงลัพธ์ที่กระทาต่อวัตถุได้ 3 กระทาต่อวัตถุในกรณีที่วัตถุอยู่
อย่างไร นิ่งจากหลักฐานเชิงประจักษ์
เรื่องที่ 2 แรงเสียดทาน 0.5 • เขียนแผนภาพแสดงแรงที่
กิจกรรมที่ 2 แรงเสียดทานมีผลต่อวัตถุ 2.5 กระทาต่อวัตถุที่อยู่ในแนว
อย่างไร เดียวกันและแรงลัพธ์ที่กระทา
กิจกรรมท้ายบทที่ 1 แรงลัพธ์และแรงเสียดทาน 0.5 ต่อวัตถุ
• ใช้เครื่องชั่งสปริงในการวัดแรงที่
กระทาต่อวัตถุ
• ระบุผลของแรงเสียดทานที่มีต่อ
การเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่
ของวัตถุจากหลักฐานเชิง
ประจักษ์
• เขียนแผนภาพแสดงแรงเสียด
ทานและแรงที่อยู่ในแนว
เดียวกันที่กระทาต่อวัตถุ
• อธิบายการได้ยินเสียงผ่าน
ตัวกลางจากหลักฐานเชิง
ประจักษ์
• ระบุตัวแปร ทดลอง และอธิบาย
ลักษณะและการเกิดเสียงสูง

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 ม
เวลา
หน่วยการเรียนรู้ ชื่อกิจกรรม ตัวชี้วัด
(ชั่วโมง)
เสียงต่า
• ออกแบบการทดลองและอธิบาย
ลักษณะและการเกิดเสียงดัง
เสียงค่อย
• วัดระดับเสียงโดยใช้เครื่องมือวัด
ระดับเสียง
• ตระหนักในคุณค่าของความรู้
เรื่องระดับเสียงโดยเสนอแนะ
แนวทางในการหลีกเลี่ยงและลด
มลพิษทางเสียง
บทที่ 2 เสียง 1 • อธิบายการได้ยินเสียงผ่าน
เรื่องที่ 1 เสียงกับการได้ยิน 1 ตัวกลางจากหลักฐานเชิง
กิจกรรมที่ 1.1 เสียงเคลื่อนที่ได้อย่างไร 2 ประจักษ์
กิจกรรมที่ 1.2 เสียงสูง เสียงต่าเกิดได้อย่างไร 2 • ระบุตัวแปร ทดลอง และอธิบาย
กิจกรรมที่ 1.3 เสียงดัง เสียงค่อย ขึ้นอยู่กับ 2 ลักษณะการเกิดเสียงสูง เสียงต่า
อะไร • ออกแบบการทดลองและอธิบาย
กิจกรรมที่ 1.4 มลพิษทางเสียงเป็นอย่างไร 2 ลักษณะการเกิดเสียงดัง เสียง
กิจกรรมท้ายบทที่ 2 เสียง 1 ค่อย
• วัดระดับเสียงโดยใช้เครื่องมือวัด
ระดับเสียง
• ตระหนักในคุณค่าของความรู้
เรื่องระดับเสียงโดยเสนอแนะ
แนวทางในการหลีกเลี่ยงและลด
มลพิษทางเสียง
หน่วยที่ 3 การ บทที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ 0.5 • อธิบายการเปลี่ยนสถานะของ
เปลี่ยนแปลงของสาร เรื่องที่ 1 การเปลี่ยนสถานะ 0.5 สสาร เมื่อทาให้สสารร้อนขึ้น
กิจกรรมที่ 1.1 น้าแข็งมีการเปลี่ยนสถานะ 1 หรือเย็นลง โดยใช้หลักฐานเชิง
อย่างไร ประจักษ์
กิจกรรมที่ 1.2 น้าผลไม้เป็นเกล็ดน้าแข็งได้ 1 • อธิบายการละลายของสารในน้า
อย่างไร โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


ย คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1

เวลา
หน่วยการเรียนรู้ ชื่อกิจกรรม ตัวชี้วัด
(ชั่วโมง)
กิจกรรมที่ 1.3 พิมเสนมีการเปลี่ยนสถานะ 1
อย่างไร
เรื่องที่ 2 การละลาย 1
กิจกรรมที่ 2 การละลายเป็นอย่างไร 1
กิจกรรมท้ายบทที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ 1

บทที่ 2 การเปลี่ยนแปลงทางเคมี 1 • วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของ


เรื่องที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางเคมี 1 สารเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทาง
กิจกรรมที่ 1.1 การเปลี่ยนแปลงทางเคมีคือ 1 เคมี โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
อะไร
กิจกรรมที่ 1.2 รู้ได้อย่างไรว่าเกิดการ 1
เปลี่ยนแปลงทางเคมี
กิจกรรมท้ายบทที่ 2 การเปลี่ยนแปลงทางเคมี 1
บทที่ 3 การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้ 1 • วิเคราะห์และระบุการ
เรื่องที่ 1 การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้ 1 เปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และ
กิจกรรมที่ 1 ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้เป็น 1 การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับไม่ได้
อย่างไร
กิจกรรมท้ายบทที่ 3 การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และผัน 1
กลับไม่ได้
รวมจานวนชั่วโมง 40

หมายเหตุ: กิจกรรม เวลาที่ใช้ และสิ่งที่ต้องเตรียมล่วงหน้านั้น ครูสามารถปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมได้ตามความ


เหมาะสมของสภาพท้องถิ่น

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 ร

รายการวัสดุอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1

ลาดับที่ รายการ จานวน/กลุม่ จานวน/ห้อง จานวน/คน


หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว
1 กระดาษปรู๊ฟ 1 แผ่น
2 ดินสอสี 1 กล่อง
3 ไม้บรรทัด 1 อัน
4 ดินสอ 1 แท่ง
5 ตลับเมตรหรือไม้เมตร 1 อัน
6 ลูกปัด 1 ุถุง
7 เชือกไหมพรม 1 ม้วน
8 น้ามันหอมระเหย เช่น เมนทอล 1 ขวด
หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน
1 เครื่องชั่งสปริง 3 อัน
2 ถุงทราย 500 กรัม 1 ถุง
3 เชือกฟอกขาว 1 ม้วน
4 กระดาษแข็งขนาด A4 1 แผ่น
5 กรรไกร 1 เล่ม
6 ถุงพลาสติกมีหูหิ้ว 1 ใบ
7 ไม้บรรทัด 1 อัน
8 ส้อมเสียงพร้อมไม้เคาะ 1 ชุด
9 ภาชนะใส่น้า 1 ใบ
10 น้าสี 1 ถัง
11 เส้นเอ็น 1 ม้วน
12 เข็มหมุด 1 อัน
13 ลวดเสียบกระดาษ 2 อัน
14 แก้วพลาสติก 2 ใบ
15 สายวัด 1 เส้น
16 ไม้บรรทัดพลาสติกแข็ง 1 อัน

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


ล คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1

ลาดับที่ รายการ จานวน/กลุม่ จานวน/ห้อง จานวน/คน


17 ขวดแก้ว 2 ใบ
18 ไม้เคาะ 1 อัน
19 เมล็ดถั่วเขียว 10 เมล็ด
20 กล่องกระดาษ 1 ใบ
21 วิทยุ 1 เครื่อง
22 เครื่องวัดระดับเสียงหรือแอพพลิเคชั่นวัดระดับเสียง 1 เครื่อง
23 กระดาษโปสเตอร์ 1 แผ่น
24 ปากกาเคมีคละสี 1 ชุด
หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร
1 น้าแข็งก้อนเล็ก ๆ 1 กิโลกรัม
2 ถุงพลาสติกใส 1 ถุง
3 ยางรัดของ 1 เส้น
4 กระป๋องทรายสาหรับดับไฟ 1 กระป๋อง
5 ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์ 1 ชุด
6 ไม้ขีดไฟ 1 กลัก
7 ขวดรูปกรวย ขนาด 250 ml 1 ขวด
8 น้าผลไม้ 1 ขวด/กระป๋อง
9 เกลือแกง 15 กรัม
10 อ่างพลาสติก 1 ใบ
11 แก้วพลาสติกใส 12 ใบ
12 ช้อนโลหะ ุ1 คัน
13 บีกเกอร์ ขนาด 250 ml 5 ใบ
14 ช้อนตักสารเบอร์ 2 5 คัน
15 พิมเสน 10 กรัม
16 แป้งมัน 5 กรัม
17 น้ามันพืช 5 ml
18 น้าตาลทราย 10 กรัม
19 เอทิลแอลกอฮอล์ 5 ml

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 ว
ลาดับที่ รายการ จานวน/กลุม่ จานวน/ห้อง จานวน/คน
20 จานหลุมโลหะ 1 อัน
21 ช้อนพลาสติก 3 คัน
22 น้าปูนใส 10 ml
23 แอมโมเนียมคลอไรด์ 10 กรัม
24 สารละลายผงฟู 10 ml
25 น้าส้มสายชู 10 ml
26 ผงฟู 10 กรัม
27 ปูนขาว 10 กรัม
28 บีกเกอร์ ขนาด 125 ml 3 ใบ
29 ขวดแก้วปากแคบ 1 ขวด
30 แท่งแก้วคน 3 อัน
31 กระบอกตวง ขนาด 100 ml 2 อัน
32 พาราฟิน 10 กรัม
33 กระดาษ 1 แผ่น
34 ถ้วยกระเบื้องทนไฟ 1 ถ้วย
35 ปากคีบ 1 อัน
36 แบบพิมพ์ 2 อัน

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


1 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว

หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว


ภาพรวมการจัดการเรียนรู้ประจาหน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว

บท เรื่อง กิจกรรม ลาดับการจัดการเรียนรู้ ตัวชี้วัด


บทที่ 1 ทักษะ เรื่องที่ 1 เส้นทาง กิจกรรมที่ 1 จัด • ก า ร เรี ย น รู้ สิ่ งต่ า ง ๆ -
กระบวนการทาง ของขยะจากมือ กระทาและสื่อ รอบตั ว อาจต้ อ งอาศั ย
วิทยาศาสตร์ เรา ความหมายข้อมูลและ ทั ก ษะกระบวนการทาง
สร้างแบบจาลองได้ วิทยาศาสตร์
อย่างไร • การจั ด กระท าและสื่ อ
ความหมายข้ อ มู ล เป็ น
ทั ก ษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์อย่างหนึ่งซึ่ง
เป็ น การน าข้ อ มู ล มาจั ด
กระทาให้อยู่ในรูปแบบที่
ชัดเจน เข้าใจง่าย
• การสร้างแบบจาลองเป็น
การสร้างบางสิ่งบางอย่าง
ขึ้นมาเป็นตัวแทนของสิ่ง
ต่าง ๆ โดยมีจุดประสงค์
เพื่ อ สื่ อ ส าร บ รรย าย
อธิบาย หรือพยากรณ์ สิ่ง
นั้น ๆ

ร่วมคิด ร่วมทา

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว 2

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


3 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว

บทที่ 1 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
จุดประสงค์การเรียนรู้ประจาบท
เมื่อเรียนจบบทนี้ นักเรียนสามารถ
1. อธิบายและใช้ทักษะการจัดกระทาและสื่อความหมาย
ข้อมูล
2. อธิ บ ายและใช้ ทั ก ษะการสร้ า งแบบจ าลองในการ
นาเสนอแนวคิดต่าง ๆ
3. ใช้การพยากรณ์ในการคาดการณ์สิ่งต่าง ๆ
เวลา 5.5 ชั่วโมง
แนวคิดสาคัญ
การจั ด กระท าและสื่ อ ความหมายข้ อ มู ล การสร้ า ง
แบบจาลองและ การพยากรณ์ เป็นทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถนามาใช้ในการสืบเสาะหาความรู้
ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อตอบคาถามที่อยากรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ บทนี้มีอะไร
เรื่องที่ 1 เส้นทางของขยะจากมือเรา
สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ กิจกรรมที่ 1 จัดกระทาและสื่ อความหมายข้อมูล และ
1. หนังสือเรียน ป. 5 เล่ม 1 หน้า 1-23 สร้างแบบจาลองได้อย่างไร
2. แบบบันทึกกิจกรรม ป. 5 เล่ม 1 หน้า 1-21

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว 4

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
กิจกรรมที่
รหัส ทักษะ
1
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
S1 การสังเกต
S2 การวัด
S3 การใช้จานวน
S4 การจาแนกประเภท
S5 การหาความสัมพันธ์ระหว่าง
 สเปซกับสเปซ
 สเปซกับเวลา
S6 การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล 
S7 การพยากรณ์ 
S8 การลงความเห็นจากข้อมูล 
S9 การตั้งสมมติฐาน
S10 การกาหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
S11 การกาหนดและควบคุมตัวแปร
S12 การทดลอง
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป 
S14 การสร้างแบบจาลอง 
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
C1 การสร้างสรรค์
C2 การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
C3 การแก้ปัญหา
C4 การสื่อสาร 
C5 ความร่วมมือ 
C6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

หมายเหตุ: รหัสทักษะที่ปรากฏนี้ ใช้เฉพาะหนังสือคู่มือครูเล่มนี้

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


5 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว

แนวคิดคลาดเคลื่อน
แนวคิดคลาดเคลื่อนที่อาจพบและแนวคิดที่ถูกต้องในบทที่ 1 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีดังต่อไปนี้

แนวคิดคลาดเคลื่อน แนวคิดที่ถูกต้อง
แบบจาลองที่สร้างขึ้นต้องเหมือนของจริงมากที่สุด แบบจาลองไม่จาเป็นต้องเหมือนของจริงมากที่สุด เนื่องจาก
(ลฎาภา และลือชา, 2560) แบบจาลองเป็นการเลือกเป้าหมายบางอย่างจากของจริงนั้น ๆ
มาสื่อสารหรืออธิบายเท่านั้น ดังนั้นลักษณะบางอย่างของของจริง
ก็ไม่ได้แสดงให้เห็นในแบบจาลองที่สร้างขึ้น (ลฎาภา และลือชา,
2560)

แบบจาลองต้องเป็นวัตถุหรือสิ่งของที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น แบบจาลองไม่จาเป็นต้องเป็นวัตถุสิ่งของที่เป็นรูปธรรม เช่น


(ภรทิพย์, ชาตรี และพจนารถ, 2557) รูปปั้น แผนภาพ แบบจาลองอาจเป็นนามธรรม เช่น คาพูด สูตร
หรือสมการต่าง ๆ ก็ได้ (ภรทิพย์, ชาตรี และพจนารถ, 2557)

ถ้าครูพบว่ามีแนวคิดคลาดเคลื่อนใดที่ยังไม่ได้แก้ไขจากการทากิจกรรมการเรียนรู้ ครูควรจัดการเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อแก้ไข
แนวคิดที่คลาดเคลื่อนให้ถูกต้อง

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว 6

บทนี้เริ่มต้นอย่างไร (1 ชัว่ โมง)


ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
1. ครูทบทวนความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับทักษะการจาแนกประเภท การใช้
จานวนและตรวจสอบความรู้เดิมเกี่ยวกับทักษะการจัดกระทาและ ครูให้ความรู้เกี่ยวกับร้อยละ โดยใช้ตาราง
สื่อความหมายข้อมูลโดยใช้สถานการณ์ต่อไปนี้ แต่ละวัน เราทาให้ ร้อยในการอธิคบรูายรั บ ฟั ง เห ตุ ผ ล ข อ ง
เกิ ด ขยะมู ล ฝอยมากมาย เช่ น เศษอาหาร ถุ งพลาสติ ก ขวดน้ า
นักเรียนเป็นสาคัญ ครูยังไม่เฉลย
แบตเตอรี หลอดไฟ ขยะแบ่งตามประเภทของขยะได้ 4 ประเภท
ค าตอบใด ๆ แต่ ชั ก ชวนให้ ห า
ได้แก่ ขยะย่อยสลายได้ ขยะรีไซเคิล ขยะทั่วไป และขยะอันตราย
ค าตอบที่ ถู ก ต้ อ งจากกิ จ กรรม
หรือขยะพิษ ขยะแต่ละประเภทมีปริมาณแตกต่างกันคือ ขยะย่อย
ต่าง ๆ ในบทเรียนนี้
สลายได้มีร้อยละ 46 ขยะรีไซเคิลมีร้อยละ 42 ขยะทั่วไปมีร้อยละ
9 และขยะอันตรายหรือขยะพิษมีร้อยละ 3 จากนั้นครูตรวจสอบ
ความเข้ าใจเกี่ ยวกั บ ทั ก ษะกระบวนการทางวิท ยาศาสตร์โดยใช้ ถ้ า ขยะทั้ ง 4 ประเภท ได้ แ ก่ ขยะย่ อ ย
คาถามดังนี้ สลายได้ ขยะรีไซเคิล ขยะทั่ ว ไป และขยะ
1.1 จากข้อมูลข้างต้น ขยะจาแนกได้กี่ประเภท อะไรบ้าง ใช้อะไร อันตราย มีปริมาณรวมกันทั้งหมด 100 ส่วน
เป็นเกณฑ์ในการจาแนก (ขยะจาแนกได้ 4 ประเภท ได้แก่ ขยะ จะเป็นขยะย่อยสลายได้ 46 ส่วน จาก 100
ย่อยสลายได้ ขยะรีไซเคิล ขยะทั่วไป และขยะอันตรายหรือขยะ ส่ ว น หรื อ คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 46 ของปริ ม าณ
พิษ โดยใช้ประเภทของขยะเป็นเกณฑ์) ขยะทั้งหมด เป็นขยะรีไซเคิล 42 ส่วน จาก
1.2 ขยะทั่ ว ไปมี ป ริม าณน้ อ ยกว่าขยะย่ อยสลายได้ ร้อ ยละเท่ าใด 100 ส่ ว น หรื อ คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 42 ของ
(ร้อยละ 37) ปริมาณขยะทั้งหมด เป็นขยะทั่วไป 9 ส่วน
1.3นักเรียนคิดว่าจากข้อมูลนี้ นักเรียนสามารถนามาจัดกระทาได้ จาก 100 ส่ ว น หรือ คิ ดเป็ น ร้อ ยละ 9 ของ
อย่างไรเพื่อให้เข้าใจได้ถูกต้องและรวดเร็วขึ้น (นักเรียนตอบตาม ปริ ม าณขยะทั้ ง หมด เป็ น ขยะอั น ตราย 3
ความเข้าใจ) ส่ วน จาก 100 ส่ วน หรือคิดเป็ นร้อ ยละ 3
2. ครู ท บทวนความรู้ เกี่ ย วกั บ การพยากรณ์ แ ละตรวจสอบความรู้ ของปริมาณขยะทั้งหมด
เกี่ยวกับการสร้างแบบจาลอง โดยใช้คาถามในการอภิปรายดังนี้
2.1 การพยากรณ์ ห มายถึงอะไร (นักเรียนตอบตามความเข้าใจซึ่ง ถ้าในตาราง 1 ช่อง แทน ขยะ 1 ส่วน
ควรตอบได้ว่าการพยากรณ์ เป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ที่จะ จะแสดงปริมาณขยะแต่ละประเภทได้ดังนี้
ขยะย่อยสลายได้
เกิดขึ้นโดยอาศัยประสบการณ์หรือข้อมูลที่รวบรวมไว้)
2.2 นักเรียนรู้จักแบบจาลองหรือไม่ แบบจาลองมีลักษณะอย่างไร
บ้าง เหตุใดจึงคิดว่าสิ่ งนั้นเป็นแบบจาลอง (นักเรียนตอบตาม
ขยะรีไซเคิล
ความเข้าใจ)
2.3 อะไรบ้างที่เป็นแบบจาลอง ยกตัวอย่าง (นักเรียนตอบตามความ
เข้าใจ)
ขยะอันตราย ขยะทั่วไป

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


7 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว

2.4 แบบจาลองสร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ ใด (นักเรียนตอบตาม


ความเข้าใจ)
3. ครูชักชวนนักเรียนศึกษาเรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดย
นั ก เรี ย นอ่ า นชื่ อ หน่ ว ย และอ่ า นค าถามส าคั ญ ประจ าหน่ ว ยใน
หนังสือเรียนดังนี้ “ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทาให้เรียนรู้
สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างไร” นักเรียนตอบคาถามตามความเข้าใจโดยครูยัง
ไม่ ต้ อ งเฉลยค าตอบ แต่ จ ะให้ นั ก เรี ย นย้ อ นกลั บ มาตอบอี ก ครั้ ง
หลังจากเรียนจบหน่วยนี้แล้ว
4. นั ก เรี ย นอ่ า น ชื่ อ บท และจุ ด ประสงค์ ก ารเรี ย นรู้ ป ระจ าบท ใน
หนั งสื อ เรีย นหน้ า 1 จากนั้ น ครู ต รวจสอบความเข้ าใจด้ ว ยค าถาม
ต่อไปนี้
4.1 บทนี้ นั ก เรี ย นจะได้ เรี ย นเรื่อ งอะไร (ทั ก ษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์)
4.2 จากจุดประสงค์การเรียนรู้เมื่อเรียนจบบทนี้ นักเรียนสามารถ
ทาอะไรได้บ้าง (สามารถอธิบายและใช้ทักษะการจัดกระทาและ
สื่อความหมายข้อมูล ทักษะการสร้างแบบจาลองในการนาเสนอ
แนวคิดทางวิทยาศาสตร์และทักษะการพยากรณ์เพื่อคาดการณ์
สิ่งต่าง ๆ)
5. นั ก เรี ย นอ่ า นชื่ อ บทและแนวคิ ด ส าคั ญ ในหนั ง สื อ เรี ย นหน้ า 2
จากนั้นครูใช้คาถามว่า จากการอ่านแนวคิดสาคัญ นักเรียนคิดว่าจะ
ได้เรียนเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง (ในบทนี้จะได้เรียนเรื่องทักษะการจัด
กระทาและสื่อความหมายข้อมูล การสร้างแบบจาลองและทักษะการ
พยากรณ์)
6. ครูชักชวนให้นักเรียนสังเกตรูป และอ่านเนื้อเรื่องในหนังสือเรียนหน้า
3 โดยครูเลือกใช้วิธีการฝึกอ่านตามความเหมาะสมกับความสามารถ
ของนั กเรียน แล้ วตรวจสอบความเข้าใจในการอ่าน โดยใช้ คาถาม
ดังต่อไปนี้
6.1 จากรูปเป็นการนาเสนอข้อมูลเกี่ยวกับอะไร (เกี่ยวกับประเภท
ของขยะ)
6.2 ขยะแบ่ งได้ กี่ ป ระเภทอะไรบ้ าง (4 ประเภท ได้ แ ก่ ขยะย่ อ ย
สลายได้ ขยะรีไซเคิล ขยะทั่วไป และขยะอันตรายหรือขยะพิษ)

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว 8

6.3 ขยะประเภทใดมีปริมาณมากที่สุด รู้ได้อย่างไร (ขยะย่อยสลาย การเตรียมตัวล่วงหน้าสาหรับครู


ได้ มี ป ริ ม าณร้ อ ยละ 46 ซึ่ งมี ป ริ ม าณมากที่ สุ ด เมื่ อ เที ย บกั บ
ปริมาณขยะประเภทอื่น ๆ)
เพื่อจัดการเรียนรู้ในครัง้ ถัดไป
6.4 รู ป นี้ เป็ น การจั ด กระท าข้ อ มู ล ในรู ป แบบใด (รู ป แบบอิ น โฟ ในครั้งถัดไป นักเรียนจะได้เรียน
กราฟิก) เรื่องที่ 1 เส้นทางของขยะจากมือเรา โดย
6.5 การจัด กระท าข้ อมู ล มี รูป แบบอะไรบ้ าง ยกตั ว อย่ าง (การจั ด ครู เตรี ย มสื่ อ การสอน เช่ น ภาพอิ น โฟ
กระท าข้ อ มู ล มี ห ลายรู ป แบบ เช่ น ตาราง กราฟ แผนภู มิ
กราฟิกหรือวีดิทัศน์เกี่ยวกับ เส้นทางขยะ
แบบจาลอง)
จากมื อ เราเพื่ อ ให้ นั ก เรี ย นได้ เ รี ย นรู้
6.6 การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูลมีประโยชน์อย่างไร (เพื่อ
สื่อความหมายให้คนอื่นเข้าใจถูกต้องและรวดเร็ว) ประกอบเนื้อหาในเรื่องที่อ่าน โดยครูอาจ
6.7 นักเรียนเคยจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูลในรูปแบบใดบ้าง ใ ช้ ค า ค้ น ใ น www.google.com ว่ า
(นักเรียนตอบตามความเข้าใจ) infographic ขยะ
7. ครู ชั ก ชวนนั ก เรี ย นตอบค าถามเกี่ ย วกั บ ทั ก ษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ในสารวจความรู้ก่อนเรียน
8. นักเรียนทาสารวจความรู้ก่อนเรียน ในแบบบันทึกกิจกรรม หน้า 2-5
โดยให้ นั กเรียนอ่านคาถามแต่ล ะข้อ ครูตรวจสอบความเข้าใจของ
นักเรียน จนแน่ใจว่านักเรียนสามารถทาได้ด้วยตนเอง จึงให้นักเรียน
ตอบคาถาม โดยคาตอบของนักเรียนแต่ละคนอาจแตกต่างกันและ
คาตอบอาจถูกหรือผิดก็ได้
9. ครูสั งเกตการตอบคาถามของนักเรียนเพื่อ ตรวจสอบว่านักเรียนมี
แนวคิดเกี่ยวกับ ทักษะการจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล การ
พยากรณ์และการสร้างแบบจาลองอย่างไรบ้าง โดยอาจสุ่มนักเรียน 2
– 3 คน นาเสนอคาตอบของตนเองซึ่งครูยังไม่ต้องเฉลยคาตอบ แต่จะ
ให้นักเรียนย้อนกลับมาตรวจสอบอีกครั้งหลังเรียนจบบทนี้แล้ว ทั้งนี้
ครูอาจบันทึกแนวคิดคลาดเคลื่อนหรือ แนวคิดที่น่าสนใจของนักเรียน
แล้วนามาออกแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ไขแนวคิดคลาดเคลื่อนให้
ถูกต้อง และต่อยอดแนวคิดที่น่าสนใจของนักเรียน

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


9 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว

แนวคาตอบในแบบบันทึกกิจกรรม
การสารวจความรู้ก่อนเรียน นักเรียนอาจตอบคาถามถูกหรือผิดก็ได้ขึ้นอยู่กับความรู้เดิมของนักเรียน
แต่เมื่อเรียนจบบทเรียนแล้ว ให้นักเรียนกลับมาตรวจสอบคาตอบอีกครั้งและแก้ไขให้ถูกต้อง ดังตัวอย่าง

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว 10

แผนภูมิแท่งแสดงความแตกต่างของพืชแต่ละชนิดได้ชัดเจน เข้าใจได้รวดเร็ว โดย


สังเกตจากความสูงของแผนภูมิแต่ละแท่งแล้วเปรียบเทียบจานวนพืชแต่ละชนิดที่
แตกต่างกัน

คาตอบขึ้นอยู่กับนักเรียน เช่น มีชั้นวางผลไม้ 2 ชั้นแต่ละชั้นมี 3 ช่อง ชั้นบนวางผลไม้ในช่อง


จากซ้ายไปขวาคือส้ม แตงโมและลไใย ตามลาดับ ส่วนชั้นล่าง วางผลไม้ในช่องจากซ้ายไปขวา
คือ ฝรั่ง กล้วยและแอปเปิล ตามลาดับ

คาตอบของนักเรียนอาจแตกต่างกันแต่ควรบรรยายตาแหน่งของผลไม้แต่ละชนิดได้ถูกต้องและ
ครบถ้วน

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


11 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว 12

เป็นการสร้างและใช้แบบจาลองเพราะการวาดแผนที่ทาขึ้นเพื่อใช้แทนของจริงคือ
แผนผังโรงเรียนแล้วใช้แผนที่นี้แสดงแผนผังโรงเรียน

ไม่เป็นการสร้างและใช้แบบจาลองเพราะป้ายบอกทางไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทน
ของสิ่งใดๆ

เป็นการสร้างและใช้แบบจาลองเพราะการปั้นดินน้ามันเป็นแมงมุมมดเป็นการสร้างวัตถุ
เพื่อเป็นตัวแทนของจริงคือแมงมุมมดแล้วนามาใช้อธิบายลักษณะแมงมุมมดนั้น

เป็นการสร้างและใช้แบบจาลองเพราะภาพแสดงการเปลี่ยนสถานะของน้าเป็นภาพ
ตัวแทนของจริงคือการเปลี่ยนสถานะของน้า

เป็นการสร้างและใช้แบบจาลองเพราะการสร้างภาพเคลื่อนไหว 3 มิติเป็นการสร้างวัตถุ
เพื่อเป็นตัวแทนการหมุนเวียนของเลือด

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


13 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว

เรื่องที่ 1 เส้นทางของขยะจากมือเรา
ในเรื่องนี้ นัก เรียนจะได้เรีย นรู้ เกี่ ยวกับ การจัด กระท า
และสื่ อ ความหมายข้ อ มู ล การพยากรณ์ และการสร้ า ง
แบบจาลอง
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. จัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณขยะ
2. ใช้ข้อมูลที่จัดกระทาแล้วมาพยากรณ์ปริมาณขยะ
3. สร้างแบบจาลองอนุภาคและการเคลื่อนที่ของสารที่มีกลิ่น
ในขยะ
เวลา 4 ชั่วโมง
วัสดุ อุปกรณ์สาหรับทากิจกรรม
กระดาษปรู๊ฟ ไม้ บ รรทั ด ดิน สอสี ลู กปั ด เชือกไหมพรม
น้ามันหอมระเหย ไม้เมตรหรือตลับเมตร
สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
1. หนังสือเรียน ป.5 เล่ม 1 หน้า 7-16
2. แบบบันทึกกิจกรรม ป.5 เล่ม 1 หน้า 6-14
3. บัตรภาพขยะ ถังขยะ รถเก็บขยะ โรงแยกขยะ

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว 14

แนวการจัดการเรียนรู้ (60 นาที)


ขั้นตรวจสอบความรู้ (10 นาที)
1. ครูนาอภิปรายเกี่ยวกับขยะและการจัดการขยะในชุมชนของนักเรียนโดย
ใช้คาถามว่า ขยะในครัวเรือนของนักเรียนมีอะไรบ้าง นักเรียนทาอย่างไร
กับ ขยะเหล่านั้น (นักเรียนตอบตามความเข้าใจ เช่น ขยะในครัวเรือน ในการตรวจสอบความรู้ ครู
ได้แก่เศษอาหาร ถุงพลาสติก เราสามารถนาไปฝังกลบหรือนาไปทิ้งในถัง เพียงรับฟังเหตุผลของนักเรียนและ
ขยะ) ยังไม่เฉลยคาตอบใด ๆ แต่ชักชวน
2. ครูนาบัตรภาพได้แก่ ขยะ ถังขยะ รถเก็บขยะ โรงแยกขยะ มาให้นักเรียน ให้นักเรียนไปหาคาตอบด้วยตนเอง
สังเกต และนาอภิปรายโดยใช้คาถามว่านักเรียนคิดว่าบัตรภาพทั้งสี่ใบคือ จากการอ่านเนื้อเรื่อง
อะไรและแสดงถึงอะไรได้บ้าง (นักเรียนตอบตามความเข้าใจ ซึ่งควรจะ
ตอบได้ว่า คือขยะ ถังขยะ รถเก็บ ขยะ และโรงแยกขยะ และแสดงถึง
กระบวนการกาจัดขยะ)
3. ครูเชื่อมโยงความรู้เดิมของนักเรียนจากบัตรภาพทั้งสี่ สู่ การเรียนเรื่อง
เส้ น ทางของขยะจากมือเรา การจั ดการขยะของชุม ชนต่าง ๆ ซึ่ง มี วิธี
แตกต่างกันไป ถ้าเราจะนาเสนอข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการจัดการขยะของแต่
ละชุมชนเราจะมีวิธีการอย่างไรเพื่อนาเสนอให้ คนอื่นเข้าใจได้ถูกต้อง
และรวดเร็ว เราจะได้เรียนรู้กันต่อไป
ขั้นฝึกทักษะจากการอ่าน (40 นาที)

4. นั ก เรีย นอ่ า นชื่ อ เรื่ อ ง และคิ ด ก่ อ นอ่ า น ในหนั งสื อ เรีย นหน้ า 7 แล้ ว
ร่วมกันอภิปรายในกลุ่มเพื่อหาแนวคาตอบตามความเข้าใจของกลุ่ม ครู
บันทึกคาตอบของนักเรียนบนกระดานเพื่อใช้เปรียบเทียบคาตอบหลัง
การอ่านเรื่อง
5. นั ก เรี ย นอ่ า นค าใน ค าส าคั ญ ทั้ งภาษาไทยและภาษาอั งกฤษ (หาก
นั ก เรีย นอ่ านไม่ ได้ ครู ค วรสอนอ่ านให้ ถู ก ต้ อ ง) จากนั้ น ครูชั ก ชวนให้
นักเรียนอธิบายความหมายของคาสาคัญจากเนื้อเรื่อง
6. นักเรียนอ่านเนื้อเรื่องในหนังสือเรียนหน้า 7-8 โดยครูฝึกทักษะการอ่าน หากนั ก เรี ย นไม่ ส ามารถตอบ
ตามวิธีการอ่านที่เหมาะสมกับ ความสามารถของนักเรียน เช่น การฝึ ก ค าถามหรื อ อภิ ป รายได้ ต ามแนว
อ่านในใจ อ่านจับใจความสาคัญ ครูใช้คาถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ คาตอบ ครูควรให้ เวลานักเรียนคิด
จากการอ่าน โดยใช้คาถามดังนี้ อย่างเหมาะสม รอคอยอย่างอดทน
ย่อหน้าที่ 1 และรับฟังแนวความคิดของนักเรียน
6.1 จากเรื่อ งที่ อ่าน พอเพี ยงอยากรู้อ ะไร (พอเพี ยงอยากรู้ว่า เหตุ ใด
ถังขยะจึงมีสีแตกต่างกัน)

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


15 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว

6.2 พอเพียงใช้วิธีการใดเพื่อหาคาตอบ (สืบค้นข้อมูล)


6.3 ขยะส่วนใหญ่นาไปทาอะไร (ทาปุ๋ยหมัก)
6.4 ขยะประเภทใดที่นาไปฝังกลบ (ขยะที่นามาทาปุ๋ยหมักไม่ได้และขยะ
ที่นากลับมาใช้ใหม่ไม่ได้)
ย่อหน้าที่ 2
6.5 การพยากรณ์ คื ออะไร (การคาดการณ์ เหตุก ารณ์ ที่ จ ะเกิด ขึ้ น โดย
อาศัยข้อมูลที่รวบรวมไว้อาจได้จากการสังเกตหรือการวัดหรืออื่น ๆ)
ย่อหน้าที่ 3
6.6 การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล คืออะไร (การนาข้อมูลมา
เรียบเรียง หรือนาเสนอให้เข้าใจง่ายขึ้น)
6.7 รูป แบบของการจั ด กระท าและสื่ อ ความหมายข้ อ มู ล มี อ ะไรบ้ า ง
ยกตัวอย่าง (ตาราง แผนภูมิ กราฟ แบบจาลอง อินโฟกราฟิก)
ย่อหน้าที่ 4
6.8 แบบจาลองคืออะไร (สิ่งที่เราสร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของจริงต่าง ๆ)
6.9 แบบจาลองมีลักษณะอย่างไรบ้าง ยกตัวอย่าง (แบบจาลองมีหลาย
ลักษณะ เช่น แบบจาลองสองมิติ เช่น แผนภาพ แบบจาลองสามมิติ
เช่น รูปปั้น สื่อเคลื่อนไหวเสมือนจริง โปรแกรมคอมพิวเตอร์)
ครู ใ ห้ ค วามรู้ เ พิ่ ม เติ ม ว่ า ถ้ า แบบจ าลองที่ ส ร้ า งขึ้ น เป็ น 3 มิ ติ
แบบจาลองนั้นมีขนาดใหญ่กว่าหรือเล็กกว่าของจริงหรือมีขนาดเท่า
ของจริงก็ได้ เช่น แบบจาลองลูกโลก เป็นแบบจาลองที่เล็กกว่า โลก
แบบจาลองร่างกายมนุษย์มีขนาดเท่ากับมนุษย์ แบบจาลองแมงมุม
มีขนาดใหญ่กว่าแมงมุม

ขั้นสรุปจากการอ่าน (10 นาที)

7. ครู แ ละนั ก เรี ย นร่ ว มกั น สรุ ป เรื่ อ งที่ อ่ า นซึ่ ง ควรสรุ ป ได้ ว่ า ขยะแต่ ล ะ
ประเภทจะนาไปกาจัดด้วยวิธีแตกต่างกัน ข้อมูลต่าง ๆ สามารถนามาจัด นั ก เรี ย นอาจไม่ ส ามารถตอบ
กระท าและสื่ อความหมายในรูป แบบที่ เข้าใจได้ ง่ายขึ้น ซึ่ งเป็ น การจั ด คาถามหรืออภิปรายได้ตามแนวคาตอบ
กระทาและสื่อความหมายข้อมูล การคาดการณ์สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดย
ค รู ค วรให้ เวล านั กเรี ย น คิ ด อ ย่ า ง
อาศัยข้อมูลที่รวบรวมไว้เป็นการพยากรณ์ และการสร้างบางสิ่งบางอย่าง
ขึ้นมาเพื่อเป็นตัวแทนของสิ่งนั้น ๆ เป็น การสร้างแบบจาลอง ทั้งการจัด เหมาะสม รอคอยอย่างอดทน และรับ
กระทาและสื่อความหมายข้อมูล การพยากรณ์และการสร้างแบบจาลอง ฟังแนวความคิดของนักเรียน

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว 16

ล้ ว นเป็ น ทั ก ษะกระบวนการทางวิ ท ยาศาสตร์ ซึ่ ง สามารถน ามาใช้


ประโยชน์ได้
8. นักเรียนตอบคาถามจากเรื่องที่อ่านใน รู้หรือยัง ในแบบบันทึกกิจกรรม
หน้า 6
9. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อเปรียบเทียบคาตอบของนักเรียนใน
รู้หรือยังกับคาตอบที่เคยตอบในคิดก่อนอ่าน ซึ่งครูบันทึกไว้บนกระดาน
10. ครูชักชวนนักเรียนลองตอบคาถามท้ายเรื่องที่อ่านโดยครูบันทึกคาตอบ
ของนักเรียนบนกระดานโดยยังไม่เฉลยคาตอบแต่ชักชวนให้นักเรียนหา
คาตอบจากการทากิจกรรม

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


17 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว

แนวคาตอบในแบบบันทึกกิจกรรม

การพยากรณ์ทาได้โดยการนาข้อมูลที่รวบรวมได้จากการสังเกต การวัดหรือ
อื่น ๆ มาคาดการณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น

การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูลคือการนาข้อมูลที่รวบรวมไว้มา
นาเสนอในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ชัดเจน ทาให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูล
มากขึ้น

แบบจาลอง สองมิติ แบบจาลองสามมิติ แผนภาพ สื่อเคลื่อนไหวเสมือนจริง


โปรแกรมคอมพิวเตอร์

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว 18

กิจกรรมที่ 1 จัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูลและสร้างแบบจาลอง
ได้อย่างไร
กิ จ กรรมนี้ นั ก เรี ย นจะได้ อ ธิ บ ายและใช้ ทั ก ษะ
การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล การพยากรณ์และ
การสร้างแบบจาลองเกี่ยวกับปริมาณขยะและการเคลื่อนที่
ของกลิ่นของสารในขยะ
เวลา 3 ชั่วโมง
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. จัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณขยะ
2. พยากรณ์เกี่ยวกับปริมาณขยะ
3. สร้างแบบจาลองเพื่ออธิบายการเคลื่อนที่ของกลิ่นขยะ
วัสดุ อุปกรณ์สาหรับทากิจกรรม
สิ่งที่ครูต้องเตรียม/กลุ่ม
1. กระดาษปรู๊ฟ 1 แผ่น ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
2. ลูกปัดคละสี 1 ถุง C4 การสื่อสาร
3. เชือกไหมพรม 1 ม้วน C5 ความร่วมมือ
4. น้ามันหอมระเหย 1 ขวด สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
5. ไม้เมตรหรือตลับเมตร 1 อัน 1. หนังสือเรียน ป.5 เล่ม 1 หน้า 9-13
สิ่งที่นักเรียนต้องเตรียม/กลุ่ม 2. แบบบันทึกกิจกรรม ป.5 เล่ม 1 หน้า 7-14
1. ดินสอสี 1 กล่อง 3. วีดิทัศน์ตัวอย่างการปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สาหรับครูเรื่อง
2. ไม้บรรทัด 1 อัน การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูลทาได้อย่างไร
3. ดินสอ 1 แท่ง http://ipst.me/8121
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 4. วีดิทัศน์ตัวอย่างการปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สาหรับครู
S6 การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล เรื่องการพยากรณ์ทาได้อย่างไร http://ipst.me/8122
S7 การพยากรณ์ 5. วีดิทัศน์ตัวอย่างการปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สาหรับครูเรื่อง
S8 การลงความเห็นจากข้อมูล การสร้างแบบจาลองทาได้อย่างไร http://ipst.me/8127
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
S14 การสร้างแบบจาลอง

http://ipst.me/8121 http://ipst.me/8122 http://ipst.me/8127

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


19 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูตรวจสอบความรู้เดิมของนักเรียนเกี่ยวกับการสร้างแบบจาลองโดยค้นหา
ข่าวเกี่ยวกับมลพิษของกลิ่นขยะจากพื้นที่ฝังกลบขยะที่ส่งกลิ่นรบกวนคนที่
อาศั ย ใกล้ เ คี ย งกั บ พื้ น ที่ ฝั ง กลบ เช่ น หั วข้ อ ข่ า วใน ห นั งสื อ พิ ม พ์
https://www.thaipost.net/main/detail/5054 และสรุปให้นักเรียนฟัง
ครูต รวจสอบความเข้าใจของนั กเรียนโดยใช้แนวค าถามในการอภิ ป ราย ในการตรวจสอบความรู้ ครู
ดังต่อไปนี้ เพียงรับฟังเหตุผลของนักเรียนเป็น
1.1 กลิ่นขยะมาจากที่ใด (นักเรียนตอบตามความเข้าใจซึ่งควรตอบได้ว่า สาคัญ และยังไม่เฉลยคาตอบใด ๆ
มาจากพื้นที่ฝังกลบ) ให้ กับ นักเรียน แต่ ชักชวนนักเรียน
1.2 กลิ่นขยะส่งผลกระทบต่อคนในพื้นที่ อย่างไร (นักเรียนตอบตามความ ไปหาคาตอบที่ถูกต้องจากกิจกรรม
เข้าใจ ชึ่งควรตอบได้ว่า ส่งผลกระทบคือมีกลิ่นเหม็นรบกวน) ต่าง ๆ ในบทเรียนนี้
1.3 ถ้ากลิ่นขยะเป็นอนุภาคของสารที่ปะปนอยู่ในขยะซึ่งมีขนาดเล็กมาก ๆ
นั ก เรี ย นจะแสดงลั ก ษณะของอนุ ภ าคของสารที่ ให้ ก ลิ่ น ได้ อ ย่ า งไร
(นักเรียนตอบตามความเข้าใจ)
1.4 นักเรียนจะแสดงลักษณะการเคลื่อนที่ของอนุภ าคของสารที่ให้ กลิ่ น
ออกจากพื้นที่ฝังกลบไปยังบ้านของคนที่อาศัยอยู่รอบๆ พื้นที่ฝังกลบได้
อย่างไร (นักเรียนตอบตามความเข้าใจ)
2. นักเรียนอ่านชื่อกิจกรรม และ ทาเป็น คิด เป็น และร่วมกันอภิป รายเพื่อ
ตรวจสอบความเข้าใจเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการทากิจกรรม โดยใช้คาถาม
ดังนี้
2.1 กิ จ กรรมนี้ นั ก เรี ย นจะได้ เรี ย นเกี่ ย วกั บ เรื่ อ งอะไร (จั ด กระท าและ
สื่อความหมายข้อมูลและสร้างแบบจาลอง)
2.2 นักเรียนจะได้เรียนรู้ทักษะอะไรบ้างในกิจกรรมนี้ (การจัดกระทาและ
สื่อความหมายข้อมูล การพยากรณ์และการสร้างแบบจาลอง)
2.3 เมื่ อ เรี ย นแล้ ว นั ก เรี ย นจะท าอะไรได้ (สามารถจั ด กระท าและ
สื่อความหมายข้อมูลเกี่ยวกับ ปริมาณขยะ พยากรณ์ปริมาณขยะและ
สร้างแบบจาลองเพื่อบรรยายการเคลื่อนที่ของกลิ่นขยะ)
3. นักเรียนอ่านสิ่งที่ต้องใช้ในการทากิจกรรม จากนั้นครูนาวัสดุอุปกรณ์มา
แสดงให้นักเรียนดูทีละอย่าง
4. นักเรียนอ่าน ทาอย่างไร ตอนที่ 1 แล้วร่วมกันอภิปรายเพื่อสรุปลาดับ
ขั้นตอนการทากิจกรรมตามความเข้าใจ โดยครูใช้คาถามดังต่อไปนี้

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว 20

4.1 ข้อมูลจากการอ่านเป็นข้อมูล เกี่ยวกับเรื่องอะไร (ปริมาณขยะในแต่ละ


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ
ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 จนถึงปี พ.ศ. 2560 )
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ทีน่ ักเรียนจะได้
4.2 จากข้อมูล ปริมาณของขยะมีหน่วยเป็นอะไร (ตัน)
ฝึกจากการทากิจกรรม
4.3 ปริ ม าณขยะใน ปี พ.ศ. 2551 มี ป ริ ม าณเท่ า ใด (ปี พ.ศ. 2551 มี
ปริมาณขยะ 23,900,000 ตัน (ยี่สิบสามล้านเก้าแสนตัน)) S6 การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
4.4 จากข้อมูลที่อ่านนักเรียนได้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลใดกับข้อมูล จากการน าข้ อ มู ล มาจั ด กระท าเป็ น
ใด (ปริมาณขยะกับปีที่รวบรวมได้) ตารางและแผนภูมิ
4.5 หลังจากอ่านข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณขยะมูลฝอยในประเทศไทยแล้ว เรา S7 ก ารพ ย าก รณ์ จ าก ก ารน าข้ อ มู ล ที่
สามารถนาข้อมูลไปทาอะไรต่อไป (นาข้อมูลมาจัดให้อยู่ในตารางและ รวบรวมได้มาพยากรณ์ปริมาณขยะที่จะ
แผนภูมิแท่ง) เกิดขึ้น
4.6 การน าข้ อ มู ล มาจั ด ในตาราง นั ก เรี ย นจะจั ด ให้ ป ริ ม าณขยะกั บ ปี ที่
รวบรวมได้มาจัดวางในตารางอย่างไร (นักเรียนตอบตามความเข้าใจ) S8 การลงความเห็ น จากข้ อ มู ล จากทิ ศ
4.7 การนาข้อมูลมาจัดทาเป็นแผนภูมิแท่ง นักเรียนจะจัดให้ปริมาณขยะ ทางการเคลื่อนที่ของอนุภาคของสารที่มี
กั บ ปี ที่ ร วบรวมได้ อ ยู่ ในแกนใดกั บ แกนใด(นั ก เรีย นตอบตามความ กลิ่น
เข้าใจ) S14 การสร้ างแบบจ าลองอนุ ภ าคและการ
ครูอาจเสนอแนะนักเรียนเกี่ยวกับการสร้างตาราง ปีที่จัดเก็บ เคลื่อนที่ของอนุภาคของสารที่เป็นกลิ่น
ขยะจัดเป็นตัวแปรต้น ส่วนปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในแต่ละปีเป็นตัวแปร ขยะ
ตาม ดังนั้น ตารางควรจะมี 2 สดมภ์ สดมภ์ด้านซ้ายเป็นปีที่จัดเก็ บ C4 การสื่อสารจากการบรรยายแบบจาลอง
ขยะ สดมภ์ด้านขวาเป็นปริมาณขยะที่จัดเก็บได้ จานวนแถวในตาราง อนุ ภ าคและการเคลื่ อ นที่ ข องอนุ ภ าค
จะเท่ากับจานวนปีที่จัดเก็บขยะ ส่วนการสร้างแผนภูมิ แกนตั้งควรเป็น ของสารที่เป็นกลิ่นขยะ
ปริมาณขยะที่จัดเก็บในแต่ละปี แกนนอนเป็นปี พ.ศ. ที่จัดเก็บขยะ
C5 ความร่ว มมือจากการทางานร่ว มกันใน
4.8 หลังจากทาตารางและแผนภูมิเรียบร้อยแล้ว นักเรียนต้องทาอย่างไร
กลุ่ม
ต่อไป (อภิปรายเพื่อเปรียบเทียบว่าการนาเสนอข้อมูลในรูปแบบตาราง
และแผนภูมิ รูปแบบใดเข้าใจง่าย ชัดเจนในเวลาอันรวดเร็ว)
4.9 นัก เรียนจะต้อ งท าอย่างไรในล าดับ ต่ อไป (อภิ ป รายว่าปริม าณขยะ
ตั้งแต่ปี 2551 -2560 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร)
4.10 นั ก เรี ย นต้ อ งพยากรณ์ เกี่ ย วกั บ อะไรบ้ า ง (เกี่ ย วกั บ ปริ ม าณขยะใน
ปี พ.ศ. 2548 และ ปี พ.ศ. 2563)
5. เมื่อนักเรียนเข้าใจวิธีการทากิจกรรมในทาอย่างไร ตอนที่ 1 แล้วให้นักเรียน
บันทึกจุดประสงค์การทากิจกรรมตอนที่ 1 .ในแบบบันทึกหน้า 7 และให้
วิเคราะห์ว่ากิจกรรมตอนที่ 1 ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์หรือไม่ อย่างไร
6. เมื่อนักเรียนเข้าใจวิธีการทากิจกรรมในทาอย่างไรแล้ว ให้นักเรียนเริ่มปฏิบัติ
กิจกรรมตามขั้นตอน

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


21 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว

7. หลังจากทากิจกรรมแล้ว ครูนาอภิปรายผลการทากิจกรรม โดยใช้คาถาม


ดังนี้
7.1 จากข้อมูลปริมาณขยะในประเทศไทยปี พ.ศ. 2551-2560 นักเรียนนา
ข้อมูลมาจัดให้อยู่ในรูปแบบใดบ้าง (ตารางและแผนภูมิแท่ง)
7.2 จากตารางแสดงข้อมูลอะไรบ้าง (ปี พ.ศ. ที่จัดเก็บขยะ ปริมาณขยะแต่
ละปี มีหน่วยเป็นตัน และแหล่งที่มาของข้อมูล)
7.3 จากแผนภูมิแสดงข้อมูลอะไรบ้าง (แกนตั้งแสดงปริมาณขยะ มีหน่วย
เป็นตัน แกนนอนแสดง ปี พ.ศ.ที่จัดเก็บขยะ แหล่งที่มาของข้อมูล)
7.4 สิ่ งที่แตกต่างกัน ของข้อมูล ในตารางและแผนภู มิคืออะไร (ข้อมูล ใน
ตารางแสดงปริมาณขยะเป็ นตั ว เลข ส่ ว นข้อมู ล ในแผนภู มิจ ะแสดง
ปริมาณขยะโดยใช้ความสูงของแท่งแผนภูมิ)
7.5 ข้อมูลจากตารางหรือแผนภูมิช่วยให้เราเปรียบเทียบปริมาณขยะในแต่ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
ละปีได้รวดเร็วกว่า (แผนภูมิ)
7.6 การจั ดกระท าและสื่ อความหมายข้อ มูล มีป ระโยชน์ อย่ างไร (ท าให้ 1. ครูอาจใช้กลิ่นของสารอื่น
เข้าใจข้อมูลได้ชัดเจนและรวดเร็วขึ้น) แทนน้ามันหอมระเหย
7.7 ข้อมูล ที่ยังไม่ผ่ านการจัดกระท าแตกต่างจากข้อมูล ที่จัดกระทาแล้ ว
2. ค รู อ าจ ม อ บ ห ม าย ให้
อย่างไร (ข้อมู ลที่จัดกระทาแล้วเข้าใจได้ง่ายและรวดเร็วมากกว่าและ
นักเรียนทากิจกรรม ร่วมคิด ร่วม
สะดวกในการพยากรณ์แนวโน้มปริมาณขยะในปีต่อไป)
ทาหลังจากจบ กิจกรรม ตอนที่ 1
7.8 จากข้อมูลในแผนภูมิแท่ง แนวโน้มปริมาณขยะเป็นอย่างไร (ปริมาณ
ขยะจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น)
7.9 จากข้อมูล ปริมาณขยะ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2560 สามารถ
พยากรณ์ ป ริมาณขยะ ในปี พ.ศ. 2561 ได้ห รือไม่ อย่างไร (ปริมาณ
ขยะในปี 2561 น่าจะมีปริมาณเท่ากับ 277 แสนตัน)
7.10 นักเรียนมีวิธีช่วยลดปริมาณขยะของตนเองได้อย่างไร (นักเรียนตอบ
ตามความเข้าใจของตนเอง)
8. ครูเชื่อมโยงข้อมูลที่ได้จากการทากิจกรรมช่วงนี้ไปสู่เรื่องการสร้างแบบจาลอง
9. นั กเรียนอ่าน ทาอย่า งไร ตอนที่ 2 แล้ ว ร่ว มกัน อภิป รายเพื่ อสรุป ล าดั บ
ขั้นตอนในการทากิจกรรม โดยครูใช้คาถามนาอภิปรายดังนี้
9.1 จากการอ่านสถานการณ์ นักเรียนได้ข้อมูลอะไรบ้าง (ในพื้นที่มีบ้าน 4 ห าก นั ก เรี ย น ไม่ ส าม ารถ ต อ บ
หลัง คือ ก ข ค และ ง ตั้งอยู่รอบๆ พื้นที่ฝังกลบขยะ บ้าน ก ข และ ค าถามห รื อ อภิ ป รายได้ ต ามแน ว
ง อยู่ห่างจากพื้นที่ฝังกลบ 100 เมตร ส่วนบ้าน ค อยู่ห่างจากพื้นที่ฝัง ค าตอบ ครู ค วรให้ เวลานั ก เรี ย นคิ ด
กลบ 200 เมตร และสารที่ มีกลิ่ นจากขยะเคลื่ อนที่มาถึง บ้านแต่ล ะ อย่ า งเหมาะสม รอคอยอย่ า งอดทน
หลัง) และรับฟังแนวความคิดของนักเรียน

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว 22

9.2 นักเรียนต้องทาอย่างไรต่อไป (สร้างแบบจาลองเพื่อแสดงการเคลื่อนที่


ของอนุภาคของสารที่มีกลิ่นในขยะจากพื้นที่ฝังกลบขยะมายังบ้านแต่
ละหลังโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ครูกาหนดหรือสร้างเอง)
9.3 นั ก เรี ย นคิ ด ว่ า จะสร้ า งแบบจ าลองในรู ป แบบใด และต้ อ งใช้ วั ส ดุ
อุปกรณ์อะไรบ้าง (นักเรียนตอบได้ตามความเข้าใจ)
9.4 นักเรียนคิดว่าจะใช้อะไรแทนอนุภาคของสารที่มีกลิ่น และใช้อะไรแทน
ทิศทางการเคลื่อนที่ของอนุภาคของสารที่มีกลิ่น (นักเรียนตอบได้ตาม
ความเข้าใจ)
9.5 เมื่ อ สร้า งแบบจ าลองที่ ได้ จ ากการวิ เคราะห์ ข้ อ มู ล แล้ ว นั ก เรีย นท า
อย่างไรต่อไป (สังเกตกลิ่นน้ามันหอมระเหยเมื่อยืน ในตาแหน่งต่าง ๆ
โดยเปรียบเหมือนเป็นตาแหน่งของบ้านแต่ละหลัง และนาข้อมูล จาก
การสังเกตมาปรับปรุงแบบจาลอง และนาเสนอ)
10.เมื่อนักเรียนเข้าใจวิธีการทากิจกรรมในทาอย่างไรแล้ว ครูแจกวัสดุอุปกรณ์
และให้นกั เรียนปฏิบัติตามขั้นตอน โดยครูเสนอแนะว่า ในแบบจาลองควร
ระบุสัญลักษณ์และความหมายของสัญลักษณ์นั้น ๆ เช่น อนุภาคของสารที่มี
กลิ่นแทนด้วยอะไร อนุภาคของสารอื่น ๆ แทนด้วยอะไร การเคลื่อนที่ของ
อนุภาคของสารที่มีกลิ่นแทนด้วยอะไร
11.หลังจากทากิจกรรมแล้ว นักเรียนแต่ละกลุ่มนาเสนอผลการทากิจกรรม
จากนั้นครูนาอภิปรายโดยใช้คาถามดังนี้
11.1 แบบจาลองเพื่อบรรยายการเคลื่อนที่ของอนุภาคของสารที่มีกลิ่นมีกี่
รูปแบบ อะไรบ้าง (นักเรียนตอบตามที่สร้าง เช่น ภาพวาด แบบจาลอง
สามมิติ)
11.2 สิ่งใดใช้เป็นตัวแทนอนุภาคของสารที่มีกลิ่น และสิ่งใดใช้เป็นตัวแทน
การเคลื่อนที่ของอนุภาค (นักเรียนตอบตามสิ่งที่ได้สร้างขึ้น เช่น ใช้จุด
แทนอนุภาคของสารที่มีกลิ่นแต่ละอนุภาค หรือใช้ลูกปัดแทนอนุภาค
ของสารที่มีกลิ่น ลูกศรแทน ทิศทางการเคลื่อนที่)
11.3 แบบจาลองแสดงการเคลื่ อนที่ ของอนุ ภ าคของสารที่ มี กลิ่ น อย่างไร
(อนุภาคของสารที่มีกลิ่นเริ่มจากพื้นที่ฝังกลบและเคลื่อนที่ไปในอากาศ
ทุกทิศทางจนถึงบ้านแต่ละหลัง ทาให้คนในบ้านแต่ละหลังได้รับกลิ่น)
12.ครูและนัก เรียนร่ว มกั น อภิ ป รายและลงข้ อสรุป ว่า การจัดกระท าและสื่ อ
ความหมายข้อมูลเป็นการนาข้อมูลมานาเสนอในรูปแบบที่เข้าใจง่ายขึ้นและ
เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูล การพยากรณ์เป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ที่ จะ
เกิดขึ้นโดยอาศัยข้อมูลที่รวบรวมไว้ การสร้างแบบจาลองเป็นการสร้างสิ่งใด

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


23 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว

สิ่ ง หนึ่ ง ขึ้ น มาเพื่ อ เป็ น ตั ว แทน ของจริ ง ซึ่ ง อาจเป็ น วั ต ถุ เหตุ ก ารณ์
กระบวนการหรือระบบและใช้แบบจาลองนั้นเพื่อ สื่อสาร บรรยาย อธิบาย
หรือพยากรณ์สิ่งเหล่านั้น (S13)
ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่าการสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาเพื่อเป็นตัวแทนของจริง
นั้นทาได้หลายรูปแบบอาจเป็นวัตถุสิ่งของที่เป็นนามธรรม เช่น แผนภาพ
รูป ปั้ น หรือ อาจไม่ ได้ เป็ น วั ต ถุ สิ่ งของหรือ มี ลั ก ษณะเป็ น นามธรรม เช่ น
คาพูด สมการ โปรแกรมคอมพิวเตอร์
13.นั ก เรีย นตอบค าถามใน ฉั น รู้ อ ะไร โดยครู อ าจใช้ ค าถามเพิ่ ม เติ ม ในการ
อภิปรายเพื่อให้ได้แนวคาตอบที่ถูกต้อง
14. นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในกิจกรรมนี้ จากนั้นนักเรียนอ่าน สิ่งที่ได้เรียนรู้
และเปรียบเทียบกับข้อสรุปของตนเอง
15.ครูกระตุ้นให้นักเรียนฝึกตั้งคาถามเกี่ยวกับเรื่องที่สงสัยหรืออยากรู้เพิ่มเติม
ใน อยากรู้อีกว่า จากนั้นครูอาจสุ่มนักเรียน 2 -3 คน นาเสนอคาถามของ
ตนเองหน้ าชั้ น เรี ย น และให้ นั ก เรีย นร่ว มกั น อภิ ป รายเกี่ ย วกั บ ค าถามที่
นาเสนอ
16. ครู น าอภิ ป รายเพื่ อให้ นั ก เรียนทบทวนว่าได้ ฝึ ก ทั ก ษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 อะไรบ้างและในขั้นตอนใดแล้ว
บันทึกลงในแบบบันทึกกิจกรรมหน้า 14
17.นักเรียนร่ว มกัน อ่าน รู้ อะไรในเรื่ องนี้ ในหนั งสื อเรียนหน้า 15-16 ครูน า
อภิ ป รายเพื่ อ น าไปสู่ ข้ อ สรุป เกี่ ย วกั บ สิ่ งที่ ได้ เรีย นรู้ ในเรื่อ งนี้ จากนั้ น ครู
กระตุ้นให้ นักเรียนตอบคาถามในช่วงท้ายของเนื้อเรื่องซึ่งเป็นคาถามเพื่อ
เชื่ อ มโยงไปสู่ ก ารเรี ย นเนื้ อ หาในบทถั ด ไป ดั งนี้ การจั ด กระท าและสื่ อ
ความหมายข้อมูลและการสร้างแบบจาลองสามารถนาไปใช้อธิบายแนวคิด
เกี่ยวกับแรงและพลังงานได้หรือไม่ นักเรียนตอบตามความเข้าใจของตนเอง
ซึ่งจะหาคาตอบได้จากการเรียนในบทต่อไป
18. ครูชักชวนนักเรียนอ่าน รักษ์โลก แล้วร่วมกันอภิปรายสรุปแนวคิดที่ได้จาก
การอ่าน

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว 24

แนวคาตอบในแบบบันทึกกิจกรรม

1. จัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณขยะในแต่ละปี
2. พยากรณ์เกี่ยวกับปริมาณขยะ

ปริมาณขยะมูลฝอยปี พ.ศ. 2551-2560

สานักงานสิ่งแวดล้อมภาคและสานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


25 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว

แผนภูมิ ปริมาณขยะในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2551 - 2560

ปริมาณขยะ (แสนตัน)

ปี พ.ศ.

สานักงานสิ่งแวดล้อมภาคและสานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว 26

แสดงปริมาณขยะเป็นตัวเลข ดูแนวโน้มของ
และเห็นความสัมพันธ์ของ
ข้อมูลระหว่างปีและปริมาณ ข้อมูลได้ไม่ชัดเจน
ขยะในแต่ละปี
แสดงปริมาณขยะในแต่ละปีที่
หาความแตกต่างของ
แตกต่างกันโดยใช้ความสูงของแท่ง
ปริมาณขยะในแต่ละปี
แผนภูมิทาให้เปรียบเทียบปริมาณขยะ
เป็นตัวเลขได้ไม่ชัดเจน
ในแต่ละปีได้ง่ายกว่าและมองเห็น
แนวโน้มปริมาณขยะได้ชัดเจนและ
รวดเร็ว แผนภูมิแท่ง
มีข้อดี ดังนี้ แสดงปริมาณขยะในแต่ละปีที่แตกต่างกันโดยใช้ความสูงของแท่ง แผนภูมิแสดง
การเปรียบเทียบปริมาณขยะในแต่ละปีซึ่งมองเห็นได้ง่ายกว่าและมองเห็นแนวโน้มปริมาณ
ขยะได้ชัดเจนและรวดเร็ว

ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยภายในระยะเวลา 10 ปี แนวโน้มคือมี
ปริมาณสูงขึ้นเรื่อยๆ

ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2548 น่าจะมีปริมาณน้อยกว่า


ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2551

ปริมาณขยะมูลฝอยที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2563 น่าจะมีปริมาณมากกว่า


ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2560

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


27 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว

สร้างแบบจาลองเพื่อบรรยายการเคลื่อนที่ของอนุภาคของสารที่มีกลิ่นในขยะ

คาตอบขึ้นอยู่กับนักเรียน

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว 28

คาตอบขึ้นอยู่กับนักเรียน

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


29 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว

นามาจัดกระทาให้อยู่ในรูปแบบตารางและแผนภูมิ

เป็นการนาเสนอข้อมูลที่ไม่ได้จัดให้เป็นระบบหรือข้อมูลที่ยังไม่เห็นความสัมพันธ์กัน
นามาจัดให้เป็นระบบหรือให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ซึ่งจะทาให้เข้าใจได้ง่าย
ชัดเจนในเวลารวดเร็ว

สามารถนาข้อมูลขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2551-2560 มาพยากรณ์ปริมาณขยะที่


จะเกิดขึ้นในปีต่อไปโดยวิเคราะห์จากข้อมูลเดิม

เราสามารถนาข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2551-2560


ซึ่งมีหน่วยงานรวบรวมไว้ มาจัดกระทาให้อยู่ในรูปแบบตารางและแผนภูมิแท่ง จะพบว่า
ทั้งในรูปแบบตารางและแผนภูมิแท่งทาให้เข้าใจข้อมูลได้ง่ายขึ้น เมื่อเปรียบเทียบ
ระหว่างตารางและแผนภูมิแท่ง พบว่า แผนภูมิแท่งจะทาให้เข้าใจข้อมูลได้ง่าย และเห็น
แนวโน้มของปริมาณขยะได้ชัดเจนกว่าจัดในรูปแบบตาราง จากข้อมูลปริมาณขยะในแต่
ละปีสามารถพยากรณ์ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2563 ได้โดย
วิเคราะห์จากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2551- 2560

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว 30

คาตอบขึ้นอยู่กับแบบจาลองของนักเรียน เช่น วาดภาพ สร้างโมเดลสามมิติ

คาตอบขึ้นอยู่กับแบบจาลองของนักเรียน เช่น ในภาพวาดมีอนุภาคของสารที่มีกลิ่น


แสดงด้วยจุดเล็ก ๆ อยู่รอบๆ พื้นที่ฝังกลบ และมีจุดเล็กๆ กระจายออกไปจนถึงตัวบ้าน

คาตอบขึ้นอยู่กับแบบจาลองของนักเรียน เช่น มี เพราะแบบจาลองยังไม่มีสิ่งที่


แสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของอนุภาค จึงได้เพิ่มสิ่งที่แสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของ
อนุภาคของสารที่มีกลิ่นโดยใช้ลูกศร

แบบจาลองการเคลื่อนที่ของกลิ่นขยะ สามารถสร้างได้หลายรูปแบบ เช่น วาดภาพ


โมเดลสามมิติ โดยอาจใช้จุดหรือลูกปัดเป็นตัวแทนอนุภาคของสารที่มีกลิ่น ส่วนทิศ
ทางการเคลื่อนที่ของกลิ่นอาจแทนด้วยลูกศรหรือเส้นเพื่อบอกทิศทาง

การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูลเป็นการนาข้อมูลมาแสดงในรูปแบบที่เข้าใจง่าย
ขึ้นและเห็นความสัมพันธ์ของข้อมูล การพยากรณ์เป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ที่จะ
เกิดขึ้นโดยอาศัยข้อมูลที่รวบรวมไว้ การสร้างแบบจาลองเป็นการสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ขึ้นมาเป็นตัวแทนของจริงเพื่อบรรยายหรืออธิบายลักษณะของสิ่งนั้น

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


31 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว

คาถามของนักเรียนที่ตั้งตามความอยากรู้ของตนเอง




 

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว 32

แนวการประเมินการเรียนรู้
การประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนทาได้ ดังนี้
1. ประเมินความรู้เดิมจากการอภิปรายในชั้นเรียน
2. ประเมินการเรียนรู้จากคาตอบของนักเรียนระหว่างการจัดการเรียนรู้และจากแบบบันทึกกิจกรรม
3. ประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จากการทากิจกรรมของนักเรียน

การประเมินจากการทากิจกรรมที่ 1 จัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูลและ
สร้างแบบจาลองได้อย่างไร
ระดับคะแนน
3 คะแนน หมายถึง ดี 2 คะแนน หมายถึง พอใช้ 1 คะแนน หมายถึง ควรปรับปรุง

รหัส สิ่งที่ประเมิน ระดับคะแนน


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
S6 การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
S7 การพยากรณ์
S8 การลงความเห็นจากข้อมูล
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
S14 การสร้างแบบจาลอง
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
C4 การสื่อสาร
C5 ความร่วมมือ
รวมคะแนน

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


33 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว

ตาราง แสดงการวิเคราะห์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามระดับความสามารถของนักเรียน
โดยอาจใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี้
ทักษะกระบวนการทาง ระดับความสามารถ
รายการประเมิน
วิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
S6 การจัดกระทาและสื่อ การน าข้ อ มู ล ปริ ม าณ สามารถน าข้อมู ล ปริมาณ สามารถนาข้อมูลปริมาณ สามารถนาข้อมูลปริมาณ
ความหมายข้อมูล ขยะในแต่ ล ะปี ม าจั ด ข ย ะ ใน แ ต่ ล ะ ปี ม า จั ด ข ย ะ ใน แ ต่ ล ะ ปี ม าจั ด ข ย ะ ใน แ ต่ ล ะ ปี ม าจั ด
กระทาและนาเสนอใน กระท าและน าเสนอใน กระท าและน าเสนอใน กระท าและน าเสนอใน
รูปแบบตารางและแผนภูมิ รู ป แ บ บ ต า ร า ง แ ล ะ รู ป แ บ บ ต า ร า ง แ ล ะ
รู ป แบ บ ตารางและ
แท่ ง ได้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ งและ แผนภู มิ แ ท่ ง ได้ ถู ก ต้ อ ง แผนภู มิ แ ท่ ง ได้ ถู ก ต้ อ ง
แผนภูมิแท่ง
ครบถ้วนด้วยตนเอง และครบถ้ ว นจาก การ บางส่วน แม้ว่าจะได้รับคา
ชี้แนะของครูหรือผู้อื่น ชี้แนะจากครูหรือผู้อื่น
S7 การพยากรณ์ การคาดการณ์ปริมาณ สามารถคาดการณ์ปริมาณ ส า ม า ร ถ ค า ด ก า ร ณ์ ส า ม า ร ถ ค า ด ก า ร ณ์
ขยะที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น โดย ขยะที่จะเกิดขึ้นโดยอาศัย ปริ ม าณขยะที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น ปริ ม าณขยะที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น
อ า ศั ย ข้ อ มู ล ก า ร ข้ อ มู ล การเปลี่ ย นแปลง โด ย อ า ศั ย ข้ อ มู ล ก า ร ได้แต่ไม่สามารถบอกเหตุ
เป ลี่ ย น แ ป ล ง ข อ ง ของปริ ม าณขยะในช่ ว ง เปลี่ยนแปลงของปริมาณ ผลได้ แ ม้ ว่ า จะได้ รั บ ค า
ปริ ม าณ ขยะในช่ ว ง ระยะเวล าห นึ่ งได้ ด้ วย ขยะในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ชี้แนะจากครูหรือผู้อื่น
ระยะเวลาหนึ่ง ตนเอง ได้ จ ากการชี้ แ นะของครู
หรือผู้อื่น
S8 การลงความเห็ น จาก การลงความเห็ น จาก สามารถลงความเห็ น จาก สามารถลงความเห็ นจาก สามารถลงความเห็นจาก
ข้อมูล ข้ อ มู ล เกี่ ย ว กั บ ทิ ศ ข้อมูลได้ด้วยตนเองว่ากลิ่น ข้อมูล ได้ว่า กลิ่ นเคลื่ อนที่ ข้ อ มู ล ได้ แ ต่ ไม่ ชั ด เจนว่ า
ทางการเคลื่ อ นที่ ข อง เคลื่ อ น ที่ ออ กจากขวด ออกจากขวดน้ ามั น หอม กลิ่ น เคลื่ อ นที่ อ อกจาก
กลิ่นน้ามันหอมระเหย น้ ามั น หอมระเหยได้ ทุ ก ระเหยได้ ทุ ก ทิ ศ ทางจาก ขวดน้ ามัน หอมระเหยได้
ทิศทาง การชี้แนะของครูหรือผู้อื่น แม้ ว่ า จะได้ รั บ ค าชี้ แ นะ
จากครูหรือผู้อื่น
S13 การตี ค วามหมาย ก า ร ตี ค ว า ม ห ม า ย สามารถตีความหมาย สามารถตี ค วามห มาย สามารถตี ค วามห มาย
ข้อมูลและลงข้อสรุป ข้ อ มู ล และลงข้ อ สรุ ป ข้อมูล และลงข้อสรุปได้ ข้ อ มู ล และลงข้ อ สรุป ได้ ข้ อ มู ล ได้ บ้ า ง แ ล ะ ล ง
ได้ ว่ า การจั ด กระท า ด้วยตนเองว่าการจัด ว่าการจั ด กระท าและสื่ อ ข้อสรุปได้ไม่ชัดเจนว่าการ
และสื่ อ ความหมาย ความหมายข้อมูลเป็นการ จั ด ก ร ะ ท า แ ล ะ สื่ อ
กระทาและสื่อความหมาย
ข้ อ มู ล เป็ น ก า ร น า น าข้ อ มู ล มาน าเสนอใน ความหมายข้อมูลเป็นการ
ข้อมูลเป็นการนาข้อมูลมา
ข้ อ มู ล มาน าเสนอใน รู ป แบบที่ เ ข้ า ใจง่ า ยขึ้ น น าข้ อ มู ล มาน าเสนอใน
รูปแบบที่เข้าใจง่ายขึ้น นาเสนอในรูปแบบที่เข้าใจ และเห็นความสัมพันธ์ของ รู ป แบบที่ เ ข้ า ใจง่ า ยขึ้ น
และเห็นความสัมพันธ์ ง่ายขึ้นและเห็น ข้อมู ล การพยากรณ์ เป็ น และเห็นความสัมพันธ์ของ

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว 34

ทักษะกระบวนการทาง ระดับความสามารถ
รายการประเมิน
วิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
ข อ ง ข้ อ มู ล ก า ร ความสัมพันธ์ของข้อมูล การคาดการณ์ เหตุการณ์ ข้อมูล การพยากรณ์ เป็ น
พ ย า ก ร ณ์ เป็ น ก า ร การพยากรณ์เป็นการ ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยข้อมูลที่ การคาดการณ์ เหตุการณ์
คาดการณ์เหตุการณ์ที่ คาดการณ์เหตุการณ์ที่ รว บ รวม ไว้ ก ารส ร้ า ง ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยข้อมูลที่
เกิดขึ้นโดยอาศัยข้อมูล แบบจาลองเป็นการสร้าง รวบ รว ม ไว้ ก ารส ร้ า ง
เกิดขึ้นโดยอาศัยข้อมูลที่
ที่รวบรวมไว้ การสร้าง สิ่ ง ใดสิ่ ง หนึ่ ง ขึ้ น มาเพื่ อ แบบจาลองเป็นการสร้าง
รวบรวมไว้ การสร้าง
แบบจ าลองเป็ น การ เป็ น ตั ว แทนของของจริ ง สิ่ ง ใดสิ่ ง หนึ่ ง ขึ้ น มาเพื่ อ
ส ร้ า งสิ่ งใด สิ่ งห นึ่ ง แบบจาลองเป็นการสร้าง เพื่ อ บรรยายหรือ อธิบ าย เป็ น ตั ว แทนของของจริ ง
ขึ้นมาเพื่อเป็นตัวแทน สิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาเพื่อเป็น ลั ก ษณะของสิ่ ง นั้ น ทั้ ง นี้ เพื่ อบรรยายหรือ อธิบ าย
ข อ ง ข อ ง จ ริ ง เพื่ อ ตัวแทนของของจริงเพื่อ โดยอาศั ย การชี้ แ นะจาก ลั ก ษณะของสิ่ งนั้ น แม้ ว่ า
บ ร ร ย า ย อ ธิ บ า ย บรรยายหรืออธิบาย ครูหรือผู้อื่น จะได้ รับ ค าชี้ แ นะจากครู
ลักษณะของสิ่งนั้น ลักษณะของสิ่งนั้น หรือผู้อื่น

S14 การสร้างแบบจาลอง การสร้า งแบบจ าลอง สามารถสร้างแบบจาลอง สามารถสร้างแบบจาลอง สามารถสร้างแบบจาลอง


และระบุ สิ่ ง ที่ ใ ช้ แ ทน แ ล ะ ร ะ บุ สิ่ ง ที่ ใช้ แ ท น แ ล ะ ร ะ บุ สิ่ งที่ ใช้ แ ท น ได้แต่ไม่สมบูรณ์ และระบุ
อนุ ภ าคของสารที่ มี อนุ ภ าคของสารที่ มี ก ลิ่ น อนุ ภ าคของสารที่ มี ก ลิ่ น สิ่ ง ที่ ใช้ แ ทนอนุ ภ าคของ
กลิ่ น และทิ ศ ทางการ และทิ ศ ทางการเคลื่ อ นที่ และทิศ ทางการเคลื่ อนที่ ส า ร ที่ มี ก ลิ่ น แ ล ะ ทิ ศ
เคลื่ อ นที่ ข องอนุ ภ าค ของอนุภาคในแบบจาลอง ของอนุภาคในแบบจาลอง ท างก ารเค ลื่ อ น ที่ ข อ ง
ในแบบจาลองที่ ส ร้าง ที่สร้างขึ้นได้ด้วยตนเอง ที่ ส ร้ า งขึ้ น ได้ โ ดยอาศั ย อนุ ภ าคในแบบจ าลองที่
ขึ้น การชี้ แ นะจาก ครู ห รื อ สร้างขึ้นได้บ้างแม้ว่าจะได้
ผู้อื่น รั บ ค าชี้ แ นะจากครู ห รื อ
ผู้อื่น

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


35 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว

ตาราง แสดงการวิเคราะห์ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ตามระดับความสามารถของนักเรียน


โดยอาจใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี้

ทักษะแห่ง ระดับความสามารถ
รายการประเมิน
ศตวรรษที่ 21 ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
C4 การสื่อสาร การนาเสนอข้อมูลจาก น าเส น อ ข้ อ มู ล จ าก ก าร น า เส น อ ข้ อ มู ล จ า ก ก า ร สามารถน าเสนอข้ อ มู ล
การอภิ ป รายเกี่ ยวกั บ อภิ ป รายเกี่ ย วกั บ การจั ด อภิ ป รายเกี่ ย วกั บ การจั ด บ า ง ส่ ว น จ า ก ก า ร
การจัดกระทาและสื่ อ กระท าและสื่ อ ความหมาย กระท าและสื่ อ ความหมาย อภิปรายเกี่ยวกับการจัด
ความหมายข้อมูล การ ข้อมูล การพยากรณ์และการ ข้อมูล การพยากรณ์ และการ ก ร ะ ท า แ ล ะ สื่ อ
พ ย า ก ร ณ์ แ ล ะ ก า ร สร้ า งแบบจ าลองให้ ผู้ อื่ น สร้ า งแบ บ จ าลองให้ ผู้ อื่ น ความหมายข้ อ มู ล การ
สร้างแบบจาลอง เข้าใจได้อย่างถูกต้อง ได้ด้วย เข้ า ใจได้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ ง จาก พยากรณ์ แ ละการสร้าง
ตนเอง การชี้แนะของครูหรือผู้อื่น แ บ บ จ า ล อ ง ให้ ผู้ อื่ น
เข้ า ใจทั้ ง นี้ แ ม้ ว่ า จะได้
รับ คาชี้แนะจากครูห รือ
ผู้อื่น
C5 ความร่วมมือ การท างาน ร่ ว ม กั บ สามารถทางานร่วมกับผู้อื่น สามารถท างานร่ว มกั บ ผู้ อื่ น สามารถท างานร่ว มกั บ
ผู้อื่นในการสังเกต การ ในการสั งเกต การน าเสนอ ในการสั ง เกต การน าเสนอ ผู้ อื่ น ได้ บ้ า งแต่ ไม่ แ สดง
น าเส น อ แ ล ะ ก า ร และการแสดงความคิดเห็ น และการแสดงความคิดเห็นใน ความคิ ด เห็ น แม้ ว่ า จะ
แสดงความคิด เห็ น ใน ในการจั ด กระท าและสื่ อ ก า ร จั ด ก ร ะ ท า แ ล ะ สื่ อ ได้รับการกระตุ้น จากครู
การจัดกระทาและสื่ อ ความห มายข้ อ มู ล การ ค ว า ม ห ม า ย ข้ อ มู ล ก า ร หรือผู้อื่น
ความหมายข้อมูล การ พ ยาก รณ์ แ ล ะก ารส ร้ า ง พ ย าก รณ์ แ ล ะ ก ารส ร้ าง
พ ย า ก ร ณ์ แ ล ะ ก า ร แบบจ าลองรวมทั้ งยอมรั บ แบบจ าลอง รวมทั้ งยอมรั บ
ส ร้ า ง แ บ บ จ า ล อ ง ความคิดเห็ นของผู้อื่น ตั้งแต่ ความคิ ด เห็ น ของผู้ อื่ น บาง
รวมทั้ ง ยอมรั บ ความ เริ่มต้นจนสาเร็จ ช่วงเวลาที่ทากิจกรรม
คิดเห็นของผู้อื่น

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว 36

กิจกรรมท้ายบทที่ 1 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (0.5 ชั่วโมง)


1. นักเรียนวาดรูปหรือเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากบทนี้ตามความเข้าใจของ
ตนเอง ในแบบบันทึกกิจกรรม หน้า 15
2. นักเรียนตรวจสอบการสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ของตนเองโดยเปรียบเทียบกับ ผัง
มโนทัศน์ในหัวข้อ รู้อะไรในบทนี้ ในหนังสือเรียน หน้า 17
3. นักเรียนกลับไปตรวจสอบคาตอบของตนเองในสารวจความรู้ก่อนเรียน
ในแบบบันทึกกิจกรรม หน้า 2-5 อีกครั้ง ถ้าคาตอบของนักเรียนไม่ถูกต้อง
ให้ขีดเส้นทับข้อความเหล่านั้น แล้วแก้ไขให้ถูกต้อง หรืออาจแก้ไขคาตอบ
ด้วยปากกาที่มีสีต่างจากเดิม นอกจากนี้ครูอาจนาคาถามในรูปนาบทใน
หนังสือเรียน หน้า 2 มาร่วมกันอภิปรายคาตอบอีกครั้ง
4. นักเรียนทา แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
โดยครูสุ่มนักเรียน 2-3 คนนาเสนอคาตอบหน้าชั้นเรียน ถ้าคาตอบยัง ไม่
ถูกต้องครูควรนาอภิป รายหรือให้ ส ถานการณ์ เพิ่มเติมเพื่อแก้ไขแนวคิด
คลาดเคลื่อนให้ถูกต้อง
5. นักเรียนร่วมกันทากิจกรรม ร่วมคิดร่วมทา โดยให้นักเรียนเก็บข้อมูลชนิด
และปริมาณขยะในโรงเรียนจากนั้นนาเสนอข้อมูลในรูปแบบที่ทาให้คนอื่น
เข้ าใจถู ก ต้ อ งและรวดเร็ว และร่ว มกั น หาวิ ธีแ ยกขยะและอุ ป กรณ์ ที่ ใช้
จัดเก็บขยะแต่ละชนิด ครูอาจให้นักเรียนสารวจข้อมูลล่วงหน้าแล้วนาเสนอ
6. นักเรียนอ่านและอภิปรายเนื้ อเรื่องในหัวข้อวิทย์ใกล้ตัว ในหนังสือเรียน
หน้า 22 โดยครูกระตุ้นให้นักเรียนเห็นความสาคัญของความรู้จากสิ่งที่ได้
เรียนรู้ในหน่วยนี้ ว่าสามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง ดังนี้ การฝึก
ทักษะการจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูลมีประโยชน์อย่างไร (สามารถ
นามาใช้ในการเตรีย มตั ว เพื่ อ นาเสนอเรื่อ งราวทางด้ านวิท ยาศาสตร์ใน
ประเด็นที่คนกาลังสนใจให้เข้าใจได้ชัด เจนและรวดเร็ว เช่น การนาเสนอ
ข้อมูลภายใน 3 นาที)
7. นักเรียนร่วมกันตอบคาถามสาคัญ ประจาหน่วยในหนังสือเรียนอีกครั้ง ถ้า
คาตอบยังไม่ถูกต้อง ให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันเพื่อให้ได้คาตอบที่ถูกต้อง
ตามแนวคาตอบดังนี้
7.1 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทาให้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างไร
(ทั ก ษะกระบวนการทางวิท ยาศาสตร์น ามาใช้ ในการเก็บ รวบรวม
ข้อมูล การสร้างคาอธิบายและการนาเสนอสิ่งที่ค้นพบ) ถ้าคาตอบยัง
ไม่ถูกต้อง ให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันเพื่อให้ได้คาตอบที่ถูกต้อง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯
37 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว

สรุปผลการเรียนรู้ของตนเอง

รูปหรือข้อความสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากบทนี้ตามความเข้าใจของนักเรียน

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว 38

แนวคาตอบในแบบฝึกหัดท้ายบท

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯
39 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว

เลือกในรูปแบบตาราง ในรูปที่ 1 เพราะทาให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูล


ได้ชัดเจนและเห็นสัดส่วนของแก๊สในอากาศได้ถูกต้องชัดเจน กว่ารูปแบบ
อื่น ๆ

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว 40

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯
41 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว

แบบจาลองเหมือนของจริงในเรื่องเกี่ยวกับจานวนดาวเคราะห์ ตาแหน่งดาวเคราะห์
ดวงอาทิตย์ และแถบดาวเคราะห์น้อย

ไม่เหมือนในด้านระยะห่างระหว่างดาวเคราะห์แต่ละดวงกับดวงอาทิตย์
ขนาดของดาวต่าง ๆ ไม่มีดวงจันทร์ของดาวเสาร์ รูปทรง และสีดาวเคราะห์
ไม่เหมือนจริง

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว 42

ปรับปรุงโดยทาระยะห่างระหว่างดาวเคราะห์แต่ละดวงกับดวงอาทิตย์ให้มีสัดส่วน
เหมือนจริง ทาขนาดของดาวต่าง ๆ ให้มีสัดส่วนถูกต้องมากขึ้น เพิ่มดวงจันทร์
ของดาวเสาร์ ทารูปทรงและสีของดาวเคราะห์ให้เหมือนหรือใกล้เคียงของจริง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯
43 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | บรรณานุกรม หน่วยที่ 1 44

บรรณานุกรม (หน่วยที่ 1)
ลฎาภา ลดาชาติ และ ลือชา ลดาชาติ. (2560). มุมมองและความเข้าใจเกี่ยวกับแบบจาลองทางวิทยาศาสตร์ของครูวิทยาศาสตร์ .
วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(3), 149-162.
ภรทิพย์ สุภัทรชัยวงศ์ ชาตรี ฝ่ายคาตา และ พจนารถ สุ วรรณรุจิ . (2557). ความเข้าใจธรรมชาติของแบบจาลองทางวิทยาศาสตร์
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 25, 39-51.
Krajcik, J. & Merritt, J. (2012). Engaging students in scientific practices: What does constructing and revising models
look like in the science classroom? Understanding a framework for K−12 science education. Science
and Children, 49(3), 10-13.

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


45 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน
ภาพรวมการจัดการเรียนรู้ประจาหน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

บท เรื่อง กิจกรรม ลาดับการจัดการเรียนรู้ ตัวชี้วัด


บทที่ 1 แรงลัพธ์ เรื่องที่ 1 แรงลัพธ์ กิจกรรมที่ 1 • เมื่อมีแรงหลาย ๆ แรง ว 2.2
และแรงเสียดทาน หาแรงลัพธ์ที่ กระทาต่อวัตถุในแนว ป.5/1 อธิบายวิธีการหาแรงลัพธ์
กระทาต่อวัตถุได้ เดียวกัน สามารถหาแรง ของแรงหลายแรงในแนวเดียวกัน
อย่างไร ลัพธ์ที่กระทาต่อวัตถุโดย ที่กระทาต่อวัตถุในกรณีที่วัตถุอยู่
พิจารณาจากทิศทางของ
นิ่งจากหลักฐานเชิงประจักษ์
แรงนั้น ๆ
ป.5/2 เขียนแผนภาพแสดงแรงที่
• เมื่อแรงลัพธ์ที่กระทาต่อ
วัตถุที่อยู่นิ่งมีค่าเป็นศูนย์ กระทาต่อวัตถุที่อยู่ในแนวเดียวกัน
วัตถุจะอยู่นิ่งต่อไป และแรงลัพธ์ที่กระทาต่อวัตถุ
ป.5/3 ใช้เครื่องชั่งสปริงในการวัด
แรงที่กระทาต่อวัตถุ

เรื่องที่ 2 แรงเสียด กิจกรรมที่ 2 • เมื่อออกแรงกระทาต่อวัตถุ ป.5/4 ระบุผลของแรงเสียดทาน


ทาน แรงเสียดทานมี ที่อยู่บนพื้นผิวสัมผัสเพื่อให้ ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงการ
ผลต่อวัตถุอย่างไร เคลื่อนทีจ่ ะมีแรงต้านการ เคลื่อนที่ของวัตถุจากหลักฐานเชิง
เคลื่อนที่หรือ แรงเสียดทาน ประจักษ์
ซึ่งมีทิศทางตรงกันข้ามกับ
ทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ ป.5/5 เขียนแผนภาพแสดงแรง
• แรงเสียดทานมีผลทาให้ เสียดทานและแรงที่อยู่ในแนว
วัตถุที่กาลังเคลื่อนที่ เดียวกันที่กระทาต่อวัตถุ
เปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่
เป็นช้าลงจนหยุดนิ่ง
ร่วมคิด ร่วมทา

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 46

บท เรื่อง กิจกรรม ลาดับการจัดการเรียนรู้ ตัวชี้วัด


บทที่ 2 เรื่ อ งที่ 1 เสี ย งกั บ กิจกรรมที่ 1.1 เสียง • เสียงเคลื่อนที่ได้ต้องอาศัย ว 2.3
เสียง การได้ยิน เคลื่อนที่ไปได้อย่างไร ตัวกลาง
• เสียงสูงเสียงต่าขึ้นอยู่กับ ป.5/1 อธิ บ ายการได้ ยิ น
กิจกรรมที่ 1.2 เสียงสูง ความถีใ่ นการสั่นของ เสี ย งผ่ าน ตั ว ก ล า งจ า ก
เสียงต่า เกิดได้อย่างไร แหล่งกาเนิดเสียง หลักฐานเชิงประจักษ์
• เสียงดัง เสียงค่อยขึ้นอยู่ ป.5/2 ระบุตัวแปร ทดลอง
กิจกรรมที่ 1.3 เสียงดัง
กับพลังงานการสั่นของ และอธิ บ ายลั ก ษณะและ
เสียงค่อย ขึ้นอยู่กับอะไร แหล่งกาเนิดเสียง และ การเกิดเสียงสูง เสียงต่า
กิจกรรมที่ 1.4 มลพิษทาง ระยะห่างระหว่างผู้ฟัง
ป.5/3 ออกแบบการทดลอง
กับแหล่งกาเนิดเสียง
เสียงเป็นอย่างไร และอธิ บ ายลั ก ษณะและ
• เสียงที่ดังมาก ๆ และเสียง
ที่ก่อให้เกิดความราคาญ การเกิดเสียงดัง เสียงค่อย
เรียกว่า มลพิษทางเสียง ป.5/4 วัดระดับเสียงโดยใช้
• ถ้าต้องอยู่ในบริเวณที่มี เครื่องมือวัดระดับเสียง
เสียงดัง ควรสวมเครื่อง ป.5/5 ตระหนั ก ในคุ ณ ค่ า
ป้องกันหู หรือควร
ของความรู้เรื่องระดับ เสียง
หลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณ
โดยเสนอแนะแนวทางใน
นั้น
การหลีกเลี่ยงและลดมลพิษ
ทางเสียง

ร่วมคิด ร่วมทา

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี⎯


47 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

บทที่ 1 แรงลัพธ์และแรงเสียดทาน
จุดประสงค์การเรียนรู้ประจาบท
เมื่อเรียนจบบทนี้ นักเรียนสามารถ
1. อธิบายการหาแรงลัพธ์ของแรงหลายแรงในแนว
เดียวกันที่กระทาต่อวัตถุในกรณีที่วัตถุอยู่นิ่ง
2. อธิบายและเขียนแผนภาพแสดงขนาดและ
ทิศทางของแรงที่กระทาต่อวัตถุในแนวเดียวกัน
3. วัดขนาดของแรงที่กระทาต่อวัตถุโดยใช้เครื่องชั่ง
สปริง
4. อธิบายแรงเสียดทานที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง
การเคลื่อนที่ของวัตถุ

เวลา 7.5 ชั่วโมง


แนวคิดสาคัญ
เมื่ อ มี แ รงหลายแรงมากระท าต่ อ วั ต ถุ ห นึ่ ง ๆ
ผลรวมของแรงเหล่านั้น คือ แรงลัพธ์ที่กระทาต่อวัตถุ
การหาแรงลัพธ์ต้องพิจารณาทั้งขนาดและทิศทางของ
แรงทั้งหมดที่กระทาต่อวัตถุนั้น ถ้าแรงลัพธ์ที่กระทาต่อ
วัตถุที่อยู่นิ่งมีค่าเป็นศูนย์ วัตถุก็จะอยู่นิ่งต่อไป ถ้ามีแรง บทนี้มีอะไร
มากระทาต่อวัตถุเพื่อให้วัตถุเคลื่อนที่ โดยวัตถุนั้นสัมผัส เรื่องที่ 1 แรงลัพธ์
กับผิวสัมผัสของวัตถุอื่น จะเกิดแรงเสียดทานต้านการ กิจกรรมที่ 1 หาแรงลัพธ์ที่กระทาต่อวัตถุได้อย่างไร
เคลื่อนที่ของวั ตถุในบริเวณผิวสัมผัสของวัตถุ นั้น และ
เรื่องที่ 2 แรงเสียดทาน
สาหรับ วัตถุที่กาลั งเคลื่อนที่ ก็จะมีแรงเสียดทานต้าน
กิจกรรมที่ 2 แรงเสียดทานมีผลต่อวัตถุอย่างไร
การเคลื่อนที่ของวัตถุเช่นกัน
สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
1. หนังสือเรียน ป.5 เล่ม 1 หน้า 24-45
2. แบบบันทึกกิจกรรม ป.5 เล่ม 1 หน้า 23-47

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 48

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
กิจกรรมที่
รหัส ทักษะ
1 2
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
S1 การสังเกต  
S2 การวัด  
S3 การใช้จานวน 
S4 การจาแนกประเภท
S5 การหาความสัมพันธ์ระหว่าง
 สเปซกับสเปซ
 สเปซกับเวลา
S6 การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
S7 การพยากรณ์
S8 การลงความเห็นจากข้อมูล 
S9 การตั้งสมมติฐาน
S10 การกาหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
S11 การกาหนดและควบคุมตัวแปร
S12 การทดลอง
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป  
S14 การสร้างแบบจาลอง  
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
C1 การสร้างสรรค์
C2 การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
C3 การแก้ปัญหา
C4 การสื่อสาร  
C5 ความร่วมมือ  
C6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

หมายเหตุ: รหัสทักษะที่ปรากฏนี้ ใช้เฉพาะหนังสือคู่มือครูเล่มนี้

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี⎯


49 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

แนวคิดคลาดเคลื่อน
แนวคิดคลาดเคลื่อนที่อาจพบและแนวคิดที่ถูกต้องในบทที่ 1 แรงลัพธ์และแรงเสียดทาน มีดังต่อไปนี้

แนวคิดคลาดเคลื่อน แนวคิดที่ถูกต้อง
ถ้าวัตถุเคลื่อนที่แสดงว่าต้องมีแรงมากระทาต่อวัตถุนั้น หรือ เมื่อแรงลัพธ์ที่กระทาต่อวัตถุเท่ากับศูนย์ วัตถุจะรักษาสภาพการ
เมื่อวัตถุไม่เคลื่อนที่แสดงว่าไม่มีแรงมากระทาต่อวัตถุนั้น เคลื่อนที่ กล่าวคือวัตถุจะอยู่นิ่งหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว
(ขจรศักดิ์ และเพ็ญจันทร์, 2550) ดังนั้นในกรณีวัตถุอยู่นิ่ง ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีแรงใด ๆ มา
กระทาต่อวัตถุเสมอไป อาจจะมีแรงหลายแรงมากระทา แต่
แรงลัพธ์เป็นศูนย์ก็เป็นได้ (ขจรศักดิ์ และเพ็ญจันทร์, 2550)
เมื่อมีแรงกระทาต่อวัตถุ แล้ววัตถุยังคงอยู่นิ่ง แรงเสียดทานที่ เมื่อมีแรงกระทาต่อวัตถุ แล้ววัตถุยังคงอยู่นิ่ง แรงเสียดทานที่
กระทาต่อวัตถุนั้นยังคงมีค่าเป็นศูนย์ (Chee, C.,1996) กระทาต่อวัตถุจะมีค่าเท่ากับแรงที่กระทาต่อวัตถุ แต่มีทิศทาง
ตรงกันข้าม (Chee, C.,1996)
เมื่อออกแรงกระทาลังไม้ แล้วลังไม้ยังคงอยู่นิ่ง เพราะออก เมื่อออกแรงกระทาต่อวัตถุที่อยู่บนพื้น แล้ววัตถุยังคงอยู่นิ่ง
แรงกระทาต่อลังไม้น้อยกว่าแรงเสียดทาน (ขจรศักดิ์ และ แรงลัพธ์ที่กระทาต่อวัตถุจึงเป็นศูนย์ ดังนั้นแรงเสียดทานจะต้องมี
คณะ, 2549) ขนาดเท่ากับแรงที่กระทา (ขจรศักดิ์ และ คณะ, 2549)
ถ้าครูพบว่ามีแนวคิดคลาดเคลื่อนใดที่ยังไม่ได้แก้ไขจากการทากิจกรรมการเรียนรู้ ครูควรจัดการเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อแก้ไข
ต่อไปได้

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 50

บทนี้เริ่มต้นอย่างไร (0.5 ชั่วโมง)


1. ครูทบทวนความรู้พื้นฐานของนักเรียนเกี่ยวกับแรงที่นักเรียนรู้จักและ
ได้เรียนรู้กันมาแล้ว โดยการถามคาถามประกอบการสาธิตด้วยอุปกรณ์
หน้าชั้นเรียน โดยอาจใช้คาถามดังนี้ ในการทบทวนความรู้พื้นฐาน ครูควรให้
1.1 จากที่ เคยเรี ยนมา นั ก เรีย นรู้จั ก แรงอะไรบ้ าง (แรงในการดึ ง เวลานั ก เรีย นคิ ด อย่ างเหมาะสม รอคอย
แรงในการผลัก แรงดึงดูดหรือแรงโน้มถ่วงของโลก) อย่ า งอดทน นั ก เรี ย นต้ อ งตอบค าถาม
1.2 แรงมี ผ ลต่ อ การเคลื่ อ นที่ ข องวั ต ถุ อ ย่ า งไร (แรงท าให้ วั ต ถุ เหล่านี้ได้ถูกต้อง หากตอบไม่ได้หรือลืมครู
เปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ เช่น แรงโน้มถ่วงของโลกทาให้วัตถุ
ต้องให้ความรู้ที่ถูกต้องทันที
ต่าง ๆ ตกลงสู่พื้น)
1.3 ถ้าต้องการวัดขนาดของแรง นักเรียนจะใช้อุปกรณ์ใดในการวัด
(ใช้เครื่องชั่งสปริงวัดขนาดของแรง)
ถ้านักเรียนตอบไม่ถูกต้อง ครูควรทบทวน เพื่อให้นักเรียนตอบได้
ถูกต้อง
2. ครูตรวจสอบความรู้เดิมของนักเรียนเกี่ยวกับแรงลัพธ์และแรงเสียดทาน
โดยอาจใช้คาถามดังนี้
2.1 มีแรงกระทาต่อวัตถุหนึ่ง ๆ มากกว่า 1 แรงได้ห รือไม่ อย่างไร
(นักเรียนตอบตามความเข้าใจ เช่น ได้ นักเรียน 2 คนช่วยกันยก
ของ การเล่นชักเย่อ เป็นต้น)
2.2 ถ้ามีแรงหลาย ๆ แรงมากระทาต่อวัตถุ เราจะหาผลรวมของแรง
เหล่านั้นได้อย่างไร (นักเรียนตอบตามความเข้าใจ เช่น นาแรง
ทั้งหมดมารวมกัน)
นักเรียนตอบคาถามตามความเข้าใจของตนเองโดยครูยังไม่ต้อง
เฉลยคาตอบที่ถูกต้อง
3. ครูชักชวนให้นักเรียนศึกษาเรื่องแรงลัพธ์และแรงเสียดทาน โดยให้อ่าน
ชื่อหน่วย และอ่านค าถามสาคัญ ประจาหน่วย ที่ 2 ในหนังสือเรียน
หน้า 24 คือ แรงและพลังงานเกี่ยวข้องกับชีวิตประจาวันของเราอย่างไร
นักเรียนตอบคาถาม โดยครูยังไม่ต้องเฉลยคาตอบ แต่จะให้ นักเรียน
ย้อนกลับมาตอบอีกครั้งหลังจากเรียนจบหน่วยนี้แล้ว
4. นักเรียนอ่านชื่อบท และจุดประสงค์การเรียนรู้ประจาบท ในหนังสือ
เรีย นหน้ า 25 จากนั้ น ครู ต รวจสอบความเข้ าใจของนั ก เรี ย นโดยใช้
คาถามดังนี้

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี⎯


51 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

4.1 บทนี้นักเรียนจะได้เรียนเรื่องอะไร (แรงลัพธ์และแรงเสียดทาน)


4.2 จากจุดประสงค์การเรียนรู้ เมื่อเรียนจบบทนี้นักเรียนจะสามารถทา
อะไรได้บ้าง (อธิบายการหาแรงลัพธ์ของแรงหลายแรงในแนว
เดียวกันที่กระทาต่อวัตถุในกรณีที่วัตถุอยู่นิ่ง อธิบายการเขียน
แผนภาพแสดงขนาดและทิศทางของแรงที่กระทาต่อวัตถุในแนว
เดียวกัน วัดขนาดของแรงที่กระทาต่อวัตถุโดยใช้เครื่องชั่งสปริง
อธิบายแรงเสียดทานที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของ
วัตถุ)
5. นักเรียนอ่านชื่อบท และแนวคิดสาคัญ ในหนังสือเรียนหน้า 26 จากนั้น
ครูซักถามว่า จากการอ่านแนวคิดสาคัญ นักเรียนคิดว่าจะได้เรียน
เกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง (ในเรื่องนี้จะได้เรียนเรื่องแรงลัพธ์ที่กระทาต่อ
วัตถุ การหาแรงลัพธ์ และแรงเสียดทาน)
6. ครูชักชวนให้นักเรียนสังเกตรูป และอ่านเนื้อเรื่องในหน้า 26 โดยครูฝึก
ทักษะการอ่านตามวิธีการอ่านที่เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียน
จากนั้นครูตรวจสอบความเข้าใจในการอ่าน โดยใช้คาถามดังต่อไปนี้
6.1 การเล่ น กี ฬ ามี ผ ลต่ อ ร่ างกายอย่ างไร (ท าให้ ร่า งกายแข็ งแรงมี
สุขภาพดี)
6.2 การเล่นชักเย่อมีกติกาอย่างไร (การเล่นชักเย่อประกอบด้วยผู้เล่น
2 ฝ่าย จานวนผู้เล่นฝ่ายละเท่า ๆ กัน จับเชือกคนละด้าน มีเส้น
แบ่งเขตแดนอยู่ตรงกลาง ที่จุดกึ่งกลางของเชือกมีผ้าผูกไว้ เมื่อ
เริ่มเล่น ต่างฝ่ายต่างออกแรงเพื่อดึงเชือกให้ผ้าที่จุดกึ่งกลางเชือก
เคลื่อนที่ไปยังเขตแดนของฝ่ายตน จึงจะตัดสินว่าชนะ)
6.3 ถ้ า ดึ งเชื อ ก แล้ ว ผ้ าที่ ผู ก จุ ด กึ่ งกลางเชื อ กอยู่ นิ่ ง นั ก เรีย นคิ ด ว่ า
ผลรวมของแรงทั้ งหมดที่ ก ระท าต่ อ เชื อ กขณะนั้ น เป็ น อย่ า งไร
(นักเรียนตอบตามความเข้าใจ)
6.4 การเล่นชักเย่อมีแรงใดมาเกี่ยวข้องบ้าง (นักเรียนตอบตามความ ค รู รั บ ฟั ง เห ตุ ผ ล ข อ ง
เข้าใจ) นั ก เรี ย นเป็ น ส าคั ญ ครู ยั ง ไม่
7. ครูชักชวนนักเรียนตอบคาถามเกี่ยวกับแรงลัพธ์และแรงเสี ยดทานใน เฉลยคาตอบใด ๆ แต่ชักชวนให้
สารวจความรู้ก่อนเรียน หาคาตอบที่ถูกต้องจากกิจกรรม
8. นักเรียนทาสารวจความรู้ก่อนเรียน ในแบบบันทึกกิจกรรมหน้า 24-26 ต่าง ๆ ในบทเรียนนี้
โดยนักเรียนอ่านคาถามแต่ละข้อ ครูตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 52

จนแน่ใจว่านักเรียนสามารถทาได้ด้วยตนเอง จึงให้นักเรียนตอบคาถาม การเตรียมตัวล่วงหน้าสาหรับครู


โดยคาตอบของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน และคาตอบอาจถูกหรือผิดก็ได้
เพื่อจัดการเรียนรู้ในครั้งถัดไป
9. ครูสังเกตการตอบคาถามของนักเรียนเพื่อตรวจสอบว่านักเรียนมีแนวคิด
เกี่ยวกับเรื่องแรงลัพธ์และแรงเสียดทานอย่างไร หรืออาจสุ่มให้นักเรียน ในครั้ ง ถั ด ไป นั ก เรี ย นจะได้ เรี ย น
2 – 3 คน นาเสนอคาตอบของตนเอง โดยครูยังไม่ต้องเฉลยคาตอบ แต่ เรื่ อ งที่ 1 แรงลั พ ธ์ ครู ค วรเตรี ย มรู ป ภาพ
จะให้นักเรียนย้อนกลับมาตรวจสอบอีกครั้งหลัง จากเรียนจบบทนี้แล้ว หรือสื่อวีดิทัศน์จากอินเทอร์เน็ตเพื่อกระตุ้น
ทั้ ง นี้ ค รู อ าจบั น ทึ ก แนวคิ ด คลาดเคลื่ อ นหรื อ แนวคิ ด ที่ น่ า สนใจของ ความสนใจของนั ก เรี ย นเกี่ ย วกั บ กิ จ กรรม
นั ก เรี ย น แล้ ว น ามาออกแบบการจั ด การเรี ย นรู้ เพื่ อ แก้ ไขแนวคิ ด
ต่ าง ๆ ที่ มี ก ารออกแรงหลาย ๆ แรง เช่ น
คลาดเคลื่อนให้ถูกต้อง และต่อยอดแนวคิดที่น่าสนใจของนักเรียนต่อไป
การแข่งเรือยาว หรือการเล่นชักเย่อ

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี⎯


53 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

แนวคาตอบในแบบบันทึกกิจกรรม
การสารวจความรู้ก่อนเรียน นักเรียนอาจตอบคาถามถูกหรือผิดก็ได้ขึ้นอยู่กับความรู้เดิมของนักเรียน
แต่เมื่อเรียนจบบทเรียนแล้ว ให้นักเรียนกลับมาตรวจสอบคาตอบอีกครั้งและแก้ไขให้ถูกต้อง ดังตัวอย่าง

0 นิวตัน

4 นิวตัน ก
ค 2 นิวตัน
2 นิวตัน

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 54

8 นิวตัน
ไปทางซ้ายมือ

8 นิวตัน 8 นิวตัน
จ ง

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี⎯


55 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

ที่ใช้ดึงหนังสือ แรงเสียดทาน

แรงเสียดทานเป็นแรงที่ต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ เกิดระหว่างผิวสัมผัส
ของวัตถุในทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางที่ต้องการให้วัตถุเคลื่อนที่
ทาให้หนังสือแยกออกจากกันได้ยากเมื่อออกแรงดึง

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 56

เรื่องที่ 1 แรงลัพธ์
ในเรื่ อ งนี้ นั ก เรี ย นจะได้ เ รี ย นรู้ เ กี่ ย วกั บ การหา
แรงลั พ ธ์ที่ ก ระท าต่ อ วัต ถุ เมื่ อ แรงที่ ก ระท าอยู่ ในแนว
เดียวกัน ซึ่งอาจมีทิศทางเดียวกันหรือทิศทางตรงกัน
ข้าม และเรียนรู้เกี่ยวกับแรงลัพธ์ที่กระทาต่อวัตถุเมื่อ
วัตถุอยู่นิ่ง รวมทั้งการเขียนแผนภาพแสดงแรงที่กระทา
ต่อวัตถุ

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. วัดขนาดของแรง อธิบายการหาแรงลัพธ์ที่กระทาต่อ
วัตถุ
2. เขียนแผนภาพแสดงแรงที่กระทาต่อวัตถุ

เวลา 3.5 ชั่วโมง

วัสดุ อุปกรณ์สาหรับทากิจกรรม
เครื่องชั่งสปริง ถุงพลาสติกมีหูหิ้ว ไม้บรรทัด ถุงทราย
เชือก กระดาษแข็ง กรรไกร วัตถุอื่น ๆ เช่น ก้อนหิ น
ถ่านไฟฉาย

สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
1. หนังสือเรียน ป.5 เล่ม 1 หน้า 28-36
2. แบบบันทึกกิจกรรม ป.5 เล่ม 1 หน้า 27-35

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี⎯


57 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

แนวการจัดการเรียนรู้ (30 นาที)


ขั้นตรวจสอบความรู้ (5 นาที)

1. ครูตรวจสอบความรู้เดิมของนักเรียนโดยชักชวนนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับ
กิ จ กรรมที่ ต้ อ งอาศั ย แรงหลาย ๆ แรงมากระท าต่ อ วั ต ถุ เพื่ อ ให้ วั ต ถุ
เคลื่อนที่ได้ (นักเรียนตอบตามความเข้าใจของตนเอง) ใน ก ารตรวจสอบ ความ รู้
ครูรับฟังความคิดเห็นของนักเรียนและกระตุ้น ให้นักเรียนอธิบ าย ครูรับ ฟั งเหตุผ ลของนั กเรียนเป็ น
ความเข้าใจของตัว เองให้ มากที่สุ ด จากนั้นครูเชื่อมโยงความรู้เดิมของ สาคัญ ครูยังไม่เฉลยคาตอบใด ๆ
นักเรียนเพื่อเข้าสู่เรื่องที่ 1 แรงลัพธ์ โดยใช้คาถามว่าการรวมแรงหลาย ๆ แต่ชักชวนให้ ห าคาตอบที่ถูกต้อ ง
แรงที่กระทาต่อวัตถุในกิจกรรมต่าง ๆ ทาได้อย่างไร จากกิจกรรมต่าง ๆ ในบทเรียนนี้

ขั้นฝึกทักษะจากการอ่าน (20 นาที)

2. นักเรียนอ่านชื่อเรื่อง และคาถามในคิดก่อนอ่าน ในหนังสือเรียนหน้า


28 แล้ วร่วมกันอภิป รายในกลุ่มเพื่อหาแนวคาตอบ ครูบันทึกคาตอบ
ของนักเรียนบนกระดานเพื่อใช้เปรียบเทียบคาตอบภายหลังการอ่าน
เรื่อง
3. นักเรียนอ่านคาสาคัญ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ถ้านักเรียนยัง
อ่านไม่ได้ ครูควรสอนการอ่านคาให้ถูกต้อง
4. นักเรียนอ่านเนื้อเรื่องในหนังสือเรียนหน้า 28-29 โดยครูฝึกทักษะการ
อ่านตามวิธีการอ่านที่เหมาะสมกับ ความสามารถของนักเรียน ครูใช้
คาถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจจากการอ่าน โดยใช้คาถามดังนี้
4.1 กิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจาวันที่ต้องออกแรงกระท าต่อ
วั ต ถุ เป็ น ก ารอ อ ก แ รงใน ลั ก ษ ณ ะ ใด ย ก ตั ว อ ย่ าง
(การแปรงฟันเป็นทั้งการดึงและการผลัก การยกกระเป๋าขึ้น
จากโต๊ะเป็นการดึง)
4.2 เราสามารถเขี ย นแผนภาพแสดงแรงที่ ก ระท าต่ อ วั ต ถุ ไ ด้
อย่างไร (ใช้ ลู กศร โดยหั ว ลู กศรแสดงทิ ศ ทางของแรงที่ ม า หากนั ก เรี ย นอาจตอบค าถาม
กระท าต่ อ วั ต ถุ ความยาวของลู ก ศรแสดงขนาดของแรง หรืออภิปรายไม่ได้ตามแนวคาตอบ
นั้น ๆ) ครู ค วรให้ เวลานั ก เรี ย นคิ ด อย่ า ง
4.3 ถ้ า เราออกแรงกระท าต่ อ วั ต ถุ ม ากหรื อ น้ อ ยแตกต่ า งกั น เหมาะสม รอคอยอย่างอดทน และ
แผนภาพแสดงแรงจะแตกต่างกันอย่างไร (ถ้าขนาดของแรง รับฟังแนวความคิดของนักเรียน

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 58

มาก ลูกศรจะมีความยาวมาก ถ้าขนาดของแรงน้อยลูกศรจะ


สั้น)
4.4 ถ้ า เราดึ ง และผลั ก ประตู ลู ก ศรแสดงแรงจะแตกต่ า งกั น
อย่างไร (ถ้าเราดึงประตู หัวลูกศรแสดงแรงจะชี้เข้าหาตัวเรา
ถ้าเราผลักประตู หัวลูกศรแสดงแรงจะชี้ออกจากตัวเรา)
4.5 กิจกรรมใดบ้างที่ต้องอาศัยแรงจากหลายคน (การยกวัตถุที่มี
น้าหนักมาก การเข็นรถยนต์ให้เคลื่อนที่)
4.6 แรงลัพธ์คืออะไร (ผลรวมของแรงหลายแรงที่กระทาต่อวัตถุ
ซึ่งมีผลต่อการเคลื่อนที่ของวัตถุ)

ขั้นสรุปจากการอ่าน (5 นาที)

5. นักเรียนร่วมกันสรุป เรื่องที่อ่าน ซึ่งควรสรุป ได้ ว่า กิจกรรมต่าง ๆ ใน การเตรียมตัวล่วงหน้าสาหรับครู


ชีวิตประจาวันของเราต้องมีการออกแรงกระทาต่อวัตถุ โดยตัวเราเป็นผู้
เพื่อจัดการเรียนรู้ในครัง้ ถัดไป
ออกแรงเพี ย งคนเดี ย ว หรื อ อาศั ย แรงจากหลาย ๆ คนกระท า
การเขียนแผนภาพแสดงแรงใช้ลูกศรโดยความยาวของลูกศรแทนขนาด ในครั้ ง ถั ด ไป นั ก เรี ย นจะได้ ท า
ของแรงและหัวลูกศรแทนทิศทางของแรงที่กระทาต่อวัตถุ แรงลัพธ์เป็น
กิจกรรมที่ 1 หาแรงลัพธ์ที่กระทาต่อวัตถุ
ผลรวมของแรงหลายแรงที่กระทาต่อวัตถุ
ได้ อ ย่ า งไร ครู ค วรตรวจสอบว่ า เครื่ อ ง
6. นักเรียนตอบคาถามใน รู้หรือยัง ในแบบบันทึกกิจกรรม หน้า 27
7. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายเพื่อเปรียบเทียบคาตอบของนักเรียนใน ชั่งสปริงอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่
รู้หรือยังกับคาตอบที่เคยตอบในคิดก่อนอ่าน ขีดสเกลเริ่ มต้ น ชี้ที่ เลขศูนย์ห รือไม่ ถ้ามี
8. ครูชักชวนให้นักเรียนตอบคาถามท้ายเรื่องที่อ่าน คือ แรงลัพธ์ที่กระทา ปั ญ หาเกี่ ย วกั บ เครื่ อ งชั่ ง สปริ ง ครู ต้ อ ง
ต่อวัตถุหาได้อย่างไร ดาเนินการแก้ไขก่อนที่จะให้นั กเรียนทา
ครูบันทึกคาตอบของนักเรียนไว้บนกระดาน โดยยังไม่เฉลยคาตอบ กิจกรรมต่อไป
แต่ชักชวนให้นักเรียนไปหาคาตอบร่วมกันในกิจกรรม

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี⎯


59 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

แนวคาตอบในแบบบันทึกกิจกรรม

ผลรวมของแรงหลายแรงที่กระทาต่อวัตถุ

เขียนแผนภาพแสดงแรงที่กระทาต่อวัตถุโดยใช้ลูกศร กาหนดให้หัวลูกศร
แสดงทิศทางของแรงที่มากระทา และความยาวของลูกศรแสดงขนาดของ
แรงนั้น ๆ

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 60

กิจกรรมที่ 1 หาแรงลัพธ์ทกี่ ระทาต่อวัตถุได้อย่างไร


กิจกรรมนี้นักเรียนจะได้วัดขนาดของแรงที่กระทา
ต่อวัตถุโดยใช้เครื่องชั่งสปริง อธิบายการหาแรงลัพธ์ของ
แรงที่กระทาต่ อวัตถุในทิศทางเดียวกันและตรงกันข้าม
และอธิบ ายขนาดและทิศทางของแรงลั พ ธ์ที่กระทาต่อ
วัตถุที่อยู่นิ่ง รวมทั้งเขียนแผนภาพแสดงแรงที่กระทาต่อ
วัตถุ
เวลา 3 ชั่วโมง
จุดประสงค์การเรียนรู้
วั ด ขนาดของแรง อธิ บ ายการหาแรงลั พ ธ์ ที่
กระทาต่อวัตถุ และเขียนแผนภาพแสดงแรงที่กระทา
ต่อวัตถุ
วัสดุ อุปกรณ์สาหรับทากิจกรรม
สิ่งที่ครูต้องเตรียม/กลุ่ม
1. เครื่องชั่งสปริง 3 อัน
2. ถุงทราย 1 ถุง
3. ถุงพลาสติกมีหูหิ้ว 1 ใบ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
4. เชือกยาวประมาณ 8 เซนติเมตร 1 เส้น C4 การสื่อสาร
5. กระดาษแข็งขนาด A4 1 แผ่น C5 ความร่วมมือ
6. กรรไกร 1 เล่ม
7. ไม้บรรทัด 1 อัน สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
8. วัตถุอื่น ๆ เช่น ก้อนหิน 1 ก้อน 1. หนังสือเรียน ป.5 เล่ม 1 หน้า 30-35
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 2. แบบบันทึกกิจกรรม ป.5 เล่ม 1 หน้า 28-35
S1 การสังเกต 3. วีดิทัศน์ตัวอย่างการปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สาหรับครู
S2 การวัด เรื่อง หาแรงลัพธ์ที่กระทาต่อวัตถุได้อย่างไร
S3 การใช้จานวน http://ipst.me/9477
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
S14 การสร้างแบบจาลอง

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี⎯


61 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูนาเข้าสู่กิจกรรมโดยสาธิตการหิ้วถุงที่มสี ิ่งของอยู่ด้านในด้วยการรวบหู
หิ้วเข้าด้วยกัน จากนั้นครูถามนักเรียนดังนี้
1.1 ขณะที่ครูหิ้ วถุง มีแรงอะไรกระทาต่อถุงบ้าง และแรงที่กระทามี
ทิศ ทางใดบ้ าง (นั กเรียนตอบตามความเข้าใจ เช่น น้ าหนั กของ หากนักเรียนอาจตอบคาถาม
สิ่งของมีทิศทางลง และแรงที่ครูหิ้วถุงมีทิศทางขึ้น) หรื อ อภิ ป รายไม่ ไ ด้ ต ามแน ว
1.2 เหตุใดสิ่งของในถุงหิ้วจึงมีน้าหนัก และน้าหนักมีทิศทางลง (เพราะ คาตอบ ครูควรให้ เวลานักเรียน
สิ่งของในถุงหิ้วมีมวล จึงมีแรงโน้มถ่วงของโลกกระทาต่อวัตถุใน คิดอย่างเหมาะสม รอคอยอย่าง
แนวดิ่งในทิศทางลงสู่พื้นโลก) อดทน และรั บ ฟั งแนวความคิ ด
1.3 ถ้าครูหิ้วถุงไว้นิ่ง ๆ แรงที่ครูใช้ หิ้วถุง จะมีค่าเป็นอย่างไรเมื่อเทียบ ของนักเรียน
กับน้าหนักของถุง (นักเรียนตอบตามความเข้าใจ)
1.4 ถ้าครูให้ตัวแทนนักเรียนหนึ่งคนมาช่วยหิ้วถุงอีกข้างหนึ่ง แล้วครูดึง
หูหิ้วข้างที่เหลือ เมื่อเปรีย บเทียบแรงที่นักเรียนกับครูใช้หิ้วถุงคน
ละหนึ่งข้างกับแรงที่ครูหิ้วถุงคนเดียวจะเป็นอย่างไร (นักเรียนตอบ
ตามความเข้าใจ)
ครูบั น ทึ ก ค าตอบของนั ก เรีย นไว้ และชี้ แ จงว่ านั ก เรี ย นจะได้ ห า
คาตอบจากการทากิจกรรมต่อไป
2. นักเรียนอ่านชื่อกิจกรรม และทาเป็นคิดเป็น ในหนังสือเรียนหน้า
30 จากนั้นร่วมกันอภิปรายเพื่อตรวจสอบความเข้าใจจุดประสงค์ใน
การทากิจกรรม โดยใช้คาถามดังนี้
2.1 กิจกรรมนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องอะไร
(การหาแรงลัพธ์ที่กระทาต่อวัตถุ)
2.2 นักเรียนจะได้เรียนรู้เรื่องนี้ด้วยวิธีใด (วัดขนาดของแรง)
2.3 เมื่อเรียนแล้วนักเรียนจะทาอะไรได้ (อธิบายการหาแรงลัพธ์ที่กระทา
ต่อวัตถุและเขียนแผนภาพแสดงแรงที่กระทาต่อวัตถุ)
3. นักเรียนบันทึกจุดประสงค์ลงในแบบบันทึกกิจกรรม หน้า 28 และ อ่านสิ่งที่
ต้องใช้ในการทากิจกรรม ครูอาจตรวจสอบว่านักเรียนรู้จักวัสดุและอุปกรณ์
ที่ใช้ในการทากิ จกรรมหรือไม่ ถ้านั กเรียนไม่ รู้จักวัส ดุ อุป กรณ์ บ างอย่าง
ครูควรนามาแสดงให้ดู หรือถ้านักเรียนไม่รู้วิธีการใช้เครื่องชั่งสปริง ครูควร
แนะนาและสาธิตวิธีการใช้ที่ถูกต้อง
4. นักเรียนอ่านท าอย่า งไร โดยครูใช้วิธีการฝึ กอ่านตามความเหมาะสมกับ
ความสามารถในการอ่านของนักเรียน ในกิจกรรมมีวิธีทาทั้งหมด 3 ตอน

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 62

ครู อ าจให้ นั ก เรี ย นอ่ า นท าอย่ า งไรเฉพาะตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 ก่ อ น


จากนั้ น ร่ว มกั น อภิ ป รายเพื่ อ สรุป ขั้ น ตอนการท ากิ จ กรรม โดยใช้ ค าถาม
ต่อไปนี้
ตอนที่ 1
4.1 ขั้นแรกของการทากิจกรรม นักเรียนต้องทาอะไร (บรรจุถุงทรายลงใน
ถุ ง หู หิ้ ว พลาสติ ก แล้ ว ใช้ เครื่ อ งชั่ ง สปริ ง 2 อั น เกี่ ย วที่ หู หิ้ ว ของ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ
ถุงพลาสติกข้างละอัน ดึงเครื่องชั่งสปริงในแนวดิ่งโดยให้ เครื่องชั่ง ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ทีน่ ักเรียนจะได้
สปริงทั้งสองอันอยู่นิ่ง) ฝึกจากการทากิจกรรม
4.2 นักเรียนต้องสังเกตและบันทึกผลอะไร (สังเกตและบันทึกขนาดของแรง
ที่เครื่องชั่งสปริงแต่ละอันกระทาต่อถุงทราย) S1 การสังเกตการเคลื่อนที่ของถุงทราย
4.3 หลังจากวัดขนาดของแรงที่เครื่องชั่งสปริงแต่ละอันกระทาต่อถุงทราย แผ่นกระดาษ เชือก และ วัตถุอื่น ๆ
แล้ว นักเรียนต้องทาอะไรต่อ (ทากิจกรรมซ้า แต่ใช้เครื่องชั่งสปริง S2 การวัดขนาดของแรงจากเครื่องชั่ง
1 อัน เกี่ยวที่หูหิ้วทั้งสองข้างของถุงพลาสติก วัดขนาดของแรงที่อ่าน สปริง
ได้) S3 การหาผลรวมของแรงที่อ่านได้จาก
กิจกรรมตอนที่ 1 ครูควรกาชับให้นักเรียนแขวนหูถุงหิ้วแต่ละข้างไว้
เครื่องชั่งสปริง
กับเครื่องชั่งสปริงโดยต้องถือเครื่องชั่งสปริงแต่ละอันในแนวดิ่ง ให้ขนาน
S14 เขียนแผนภาพแสดงแรงที่กระต่อถุง
กัน และต้องอ่านค่าแรงจากเครื่องชั่งสปริงในขณะที่ถุงทรายอยู่นิ่งเสมอ
ทราย เชือกและกระดาษแข็ง
ตอนที่ 2 C4 การสื่อสารด้วยการนาเสนอผลการ
ทากิจกรรมด้วยการพูดและการ
4.4 กิจกรรมตอนที่ 2 นัก เรียนต้องท าอะไรกับ เชือกที่ ได้รับ (ผู กปลาย
เขียนแผนภาพแสดงแรง
เชือกทั้งสองข้างเข้าด้วยกัน ให้ เป็น วง แล้ วใช้เครื่องชั่งสปริง 2 อั น
C5 ความร่วมมือในการใช้เครื่องชั่ง
เกี่ยวกับเชือกในทิศทางตรงข้ามกัน)
สปริงวัดขนาดของแรงและการ
4.5 สิ่งที่นักเรียนต้องคาดคะเนคืออะไร (ถ้าออกแรงดึงเครื่องชั่งสปริงใน
สังเกตการเคลื่อนที่ของวัตถุ
ทิศทางตรงกันข้าม โดยเชือกยังคงอยู่นิ่ง ขนาดของแรงที่อ่านได้จาก
เครื่องชั่งสปริงแต่ละอัน เมื่อนามาเปรียบเทียบกันจะเป็นอย่างไร)
4.6 หลังจากทากิจกรรมเพื่อตรวจสอบการคาดคะเนแล้ว นักเรียนต้องทา
อะไร (เขียนแผนภาพแสดงทิศทางและขนาดของแรงที่เครื่องชั่งสปริง
ทั้งสองดึงเชือกให้อยู่นิ่ง โดยใช้ผลจากการทากิจกรรมครั้งใดครั้งหนึ่ง)
5. เมื่อนักเรียนเข้าใจวิธีการทากิจกรรมในทาอย่างไร ตอนที่ 1 และ ตอนที่
2 แล้ว ครูแจกวัสดุอุปกรณ์ และให้นักเรียนเริ่มปฏิบัติกิจกรรมตาม
ขั้นตอน
6.หลังจากทากิจกรรมแล้ว ครูนาอภิปรายผลการทากิจกรรม โดยใช้คาถามดังนี้

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี⎯


63 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

ตอนที่ 1
6.1 เครื่องชั่งสปริงใช้ทาอะไรในกิจกรรมนี้ (วัด ค่าของแรงที่ ใช้ในการดึง
ถุงพลาสติกที่มถี ุงทรายบรรจุอยู่)
6.2 หน่วยของแรงคืออะไร (นิวตัน)
6.3 เมื่ อ ใช้ เครื่ องชั่ งสปริง 2 อั น เกี่ ย วที่ หู หิ้ ว ของถุ ง พลาสติ ก ข้ างละอั น
มี แ รงใดกระท าต่ อ ถุ ง ทรายที่ อ ยู่ ในถุ ง พลาสติ ก บ้ า ง และมี ทิ ศ ทาง
อย่ า งไร (ครู อ าจวาดภาพถุ ง ทรายที่ แ ขวนไว้ กั บ เครื่ อ งชั่ ง สปริ ง บน
กระดาน แล้วให้นักเรียนบอกทิศทางของแรงที่กระทาต่อถุงทราย)
6.4 ค่าของแรงที่อ่านได้จากเครื่องชั่งสปริง แต่ละอันเป็นอย่างไร (ค่ าของ
น ้ำหนักของ
แรงที่อ่านได้จากเครื่องชั่งสปริง แต่ละอันขึ้นอยู่กับผลการทากิจกรรม
ถุงทรำย
ของนักเรียน)
6.5 เมื่อใช้เครื่องชั่งสปริง 1 อันเกี่ยวที่หูหิ้วของถุงพลาสติก มีแรงใดกระทา
ต่ อ ถุ งทรายที่ อ ยู่ ในถุ งพลาสติ ก บ้ า ง และมี ทิ ศ ทางใด (น้ าหนั ก ของ
ถุ ง ทรายมี ทิ ศ ทางลง และมี แ รงดึ ง จากเครื่ อ งชั่ ง สปริ ง ที่ ก ระท ากั บ
ถุงทรายมีทิศทางขึ้น – ครูอาจวาดภาพถุงทรายที่แขวนไว้กับเครื่องชั่ง
สปริงบนกระดาน แล้วให้นักเรียนบอกทิศทางของแรงที่ก ระทาต่อถุง
ทราย)
6.6 ขนาดของแรงที่อ่านได้เมื่อเกี่ยวถุงทรายกับเครื่องชั่งสปริง 1 อัน เป็น
เท่าใด (ขนาดของแรงที่อ่านได้มีค่าประมาณ 5 นิวตัน)
6.7 ทิศทางของแรงที่กระทาต่อหูหิ้ว ของถุงพลาสติกแต่ละข้าง เหมือนกัน
หรือไม่ อย่างไร (เหมือนกัน โดยอยู่ในทิศทางขึ้น)
น ้ำหนักของ
6.8 ผลรวมของแรงที่อ่านได้จากเครื่องชั่งสปริง 2 อัน เทียบกับค่าของแรงที่
ถุงทรำย
อ่านได้จากเครื่องชั่งสปริง 1 อันเป็นอย่างไร (มีค่าเท่ากัน)
6.9 แรงลัพธ์ของแรงที่เครื่องชั่งสปริงทั้งสองกระทาต่อถุงทรายในทิศทาง
เดียวกันหาได้อย่างไร (แรงลัพธ์หาได้จากการนาค่าของแรงที่อ่านได้
จากเครื่องชั่งสปริงแต่ละอันมารวมกัน)
6.10 เมื่ อ เปลี่ ย นจากถุ ง ทรายเป็ น วั ต ถุ อื่ น ๆ ได้ ผ ลเช่ น เดี ย วกั น หรื อ ไม่
อย่ า งไร (เมื่ อ เปลี่ ย นจากถุ ง ทรายเป็ น วั ต ถุ อื่ น ก็ ได้ ผ ลเช่ น กั น โดย
แรงลัพธ์ของแรงที่อ่านได้จากเครื่องชั่งสปริง 2 อัน จะเท่ากับค่าของ
แรงที่อ่านได้จากเครื่องชั่งสปริง 1 อัน)
6.11 กิจกรรมตอนที่ 1 สรุปวิธีการหาแรงลัพธ์ได้อย่างไร (เมื่อมีแรง 2 แรง
อยู่ในแนวเดียวกันและอยู่ในทิศทางเดียวกันจะหาแรงลัพธ์ของแรงที่
กระทาต่อวัตถุได้โดยการนาค่าของแรงมารวมกัน)

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 64

ตอนที่ 2
6.12 เมื่อใช้เครื่องชั่งสปริง 2 อัน ดึงเชือกที่ผู กเป็นวงในทิศทางตรงกัน
ข้าม แล้ ว เชือกยังคงอยู่นิ่ง แรงที่อ่านได้จากเครื่องชั่ งสปริงแต่ล ะ
อันมีค่าเท่ากันหรือไม่ (แรงที่อ่านได้จากเครื่องชั่งสปริงแต่ละอันมีค่า
เท่ากัน)
6.13 แรงที่ใช้ดึงเชือกอยู่ในแนวเดียวกันหรือไม่ (อยู่ในแนวเดียวกัน คือ
แนวนอนหรือแนวระดับเหมือนกัน)
6.14 แรงที่ใช้ดึงเชือกอยู่ในทิศทางใด (อยู่ในทิศทางตรงกันข้าม)
6.15 แรงลัพธ์ของแรงทั้งสองหาได้อย่างไร (นาขนาดของแรงแต่ละแรงมา
ลบหรือหักล้างกัน)
6.16 แรงลัพธ์ของแรงทั้งสองเป็นเท่าใด (เท่ากับศูนย์)
6.17 เขียนแผนภาพแสดงแรงที่ใช้ดึงเชือกได้อย่างไร (ใช้ลูกศรที่มีความ
ยาวเท่ากันแทนแรงที่กระทาต่อเชือกขนาดเท่ากัน แต่อยู่ในทิศทาง
ตรงกันข้าม)
7. นั ก เรีย นอ่ านท าอย่ า งไร ตอนที่ 3 แล้ ว ร่ ว มกั น อภิ ป รายเพื่ อ สรุ ป ล าดั บ
ขั้นตอนตามความเข้าใจ โดยครูใช้คาถามดังต่อไปนี้
7.1 นักเรียนต้องทาอะไรกับ กระดาษแข็ง (เจาะรู 3 รู บนกระดาษ โดย
เจาะรูที่ 1 และ 2 อยู่ด้านเดียวกัน และเจาะรูที่ 3 ที่ด้านตรงกันข้าม
โดยรูที่ 3 อยู่ในแนวกึ่งกลางของ 2 รูแรก จากนั้นร้อยเชือกแล้วผูก
เป็นวงเข้ากับแต่ละรูสาหรับเกี่ยวกับเครื่องชั่งสปริง)
7.2 นักเรียนต้องทาอย่างไรกับเครื่องชั่งสปริงและกระดาษแข็งที่เตรียมไว้
(เกี่ยวเครื่องชั่งสปริงเข้ากับเชือกแต่ละรู แล้วออกแรงดึงให้ขนานกัน
ในแนวราบ โดยให้ กระดาษแข็งอยู่นิ่ ง จากนั้น อ่านค่าของแรงจาก
เครื่องชั่งสปริงแต่ละอัน)
7.3 นักเรียนต้องเปลี่ยนแรงที่ใช้ดึงเครื่องชั่งสปริงอีกกี่ครั้ง (2 ครั้ง)
7.4 นักเรียนต้องเขียนแผนภาพแสดงสิ่งใด (เขียนแผนภาพแสดงทิศทาง
และขนาดของแรงที่กระทาต่อกระดาษแข็ง)
8. เมื่อนักเรียนเข้าใจวิธีการทากิจกรรมในทาอย่างไรแล้ว ครูแจกวัสดุ
อุปกรณ์ และให้นักเรียนเริ่มปฏิบัติตามขั้นตอนของกิจกรรม
9. หลังจากทากิจกรรมแล้ว ครูนาอภิปรายผลการทากิจกรรม โดยใช้คาถาม
ดังนี้

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี⎯


65 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

9.1 มีแรงที่กระทาต่อกระดาษแข็งในแนวใดบ้าง (มีแรงดึงในแนวราบหรือ


แนวระดับ โดยแรง 2 แรง มีทิศทางเดียวกัน ส่วนอีกแรงหนึ่งมีทิศทาง
ตรงกันข้ามกับแรงทั้งสอง)
9.2 หาแรงลั พ ธ์ ข องเครื่ อ งชั่ งสปริ ง อั น ที่ 1 และ 2 ที่ ก ระท าต่ อ วั ต ถุ ได้
อย่ า งไร ท าไมจึ ง ท าเช่ น นั้ น (น าขนาดของแรงที่ อ่ า นได้ ม ารวมกั น
เพราะแรงของเครื่องชั่งสปริงอันที่ 1 และอันที่ 2 มีทิศทางเดียวกัน)
9.3 ค่าของแรงลัพธ์จากเครื่องชั่งสปริงอันที่ 1 และอันที่ 2 เป็นอย่างไรเมื่อ
เที ย บกั บ ค่ า ของแรงที่ อ่ า นได้ จ ากเครื่ อ งชั่ ง สปริ ง อั น ที่ 3 (ค่ า ของ
แรงลัพธ์จากเครื่องชั่งสปริงอันที่ 1 และ 2 จะเท่ากับค่าของแรงที่อ่าน
ได้จากเครื่องชั่งสปริงอันที่ 3)
9.4 แรงลั พธ์ที่กระทาต่อแผ่นกระดาษแข็งหาได้อย่างไร มีค่าเป็นเท่าใด
(นาค่าของแรงลัพธ์จากเครื่องชั่งสปริงอันที่ 1 และ 2 มาลบกับค่าของ
แรงที่อ่านได้จากเครื่องชั่งสปริงอันที่ 3 ซึ่งจะได้ค่าเป็นศูนย์)
9.5 เมื่ อ ออกแรงกระท าต่ อ กระดาษแข็ ง แล้ ว กระดาษแข็ งยั งคงอยู่ นิ่ ง
แรงลัพธ์ที่กระทาต่อวัตถุมีค่าเป็นเท่าใด (แรงลัพธ์มีค่าเป็นศูนย์)
10. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและลงข้อสรุปว่า การหาแรงลัพธ์ของแรงที่
กระทาต่อวัตถุทาได้โดยถ้าแรงที่กระทาต่อวัตถุอยู่ในทิศทางเดียวกัน ให้นา
ค่าของแรงหลาย ๆ แรงมารวมกัน แต่ถ้าแรงที่กระทาต่อวัตถุอยู่ในทิศทาง
ตรงกั น ข้ า ม ให้ น าค่ า ของแรงทั้ ง สองทิ ศ ทางมาลบ (-) หรื อ หั ก ล้ า งกั น
สาหรับวัตถุที่อยู่นิ่งแรงลัพธ์จะมีค่าเป็นศูนย์ การเขียนแผนภาพแสดงแรงที่
กระทาต่อวัตถุทาได้โดยใช้ลูกศรแสดงแรง (S13)
11. นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อตอบคาถามในฉันรู้อะไร โดยครูอาจใช้คาถาม
เพิ่มเติมในการอภิปรายเพื่อให้ได้แนวคาตอบที่ถูกต้อง
12. นักเรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในกิจกรรมนี้ จากนั้นนักเรียนอ่านสิ่งที่
ได้เรียนรู้ และเปรียบเทียบกับข้อสรุปของตนเอง
13. ครูกระตุ้นให้นักเรียนฝึกตั้งคาถามเกี่ยวกับเรื่องที่สงสัยหรืออยากรู้เพิ่มเติม
ใน อยากรู้อีกว่า จากนั้นครูอาจสุ่มนักเรียน 2 -3 คน นาเสนอคาถามของ
ตนเองหน้ าชั้น เรีย น และให้ นั กเรียนร่ว มกัน อภิ ป รายเกี่ ยวกั บ ค าถามที่
นาเสนอ
14. ครูน าอภิ ป รายเพื่ อให้ นั กเรียนทบทวนว่าได้ฝึ ก ทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์และทักษะแห่ งศตวรรษที่ 21 อะไรบ้างและในขั้น ตอนใด
แล้วบันทึกลงในแบบบันทึกกิจกรรม หน้า 35

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 66

15. นั ก เรี ย นร่ ว มกั น อ่ า นรู้ อ ะไรในเรื่ อ งนี้ ในหนั ง สื อ เรีย น หน้ า 36 ครู น า การเตรียมตัวล่วงหน้าสาหรับครู
อภิปรายเพื่อนาไปสู่ข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในเรื่องนี้ นอกจากนั้นครู
ใช้คาถามเพื่อเชื่อมโยงไปยังบทต่อไป คือ “ถ้าเราออกแรงขนาด 50 นิวตัน
เพื่อจัดการเรียนรู้ในครัง้ ถัดไป
ดันกล่องที่วางอยู่บนพื้นเพื่อให้กล่องเคลื่อนที่ แต่กล่องยังอยู่นิ่ง แสดงว่า ในครั้งถัดไป นักเรียนจะได้เรียน
แรงลั พธ์ที่ กระท าต่ อกล่ องมีค่าเท่ ากับ ศูน ย์ นั่ นคื อต้องมี แรงอีกแรงที่ มี เรื่ อ งที่ 2 แรงเสี ย ดทาน และกิ จ กรรม
ขนาดเท่ า กั บ 50 นิ ว ตั น กระท าต่ อ กล่ อ งในทิ ศ ทางตรงกั น ข้ ามกั บ ทิ ศ
ที่ 2 แรงเสี ย ดทานมี ผ ลต่ อ วัต ถุ อ ย่ างไร
ทางการออกแรงของเรา แรงนั้นคือแรงอะไร” ครูชักชวนให้ นักเรียนหา
โดยครู เ ตรี ย มสื่ อ การสอน เช่ น ภาพ
คาตอบจากการเรียนในเรื่องต่อไป
นาเข้าสู่บทเรียน ถุงทราย เครื่องชั่งสปริง
ครู ค วรตรวจสอบให้ มั่ น ใจว่ า เครื่ อ งชั่ ง
สปริ ง อยู่ ใ นสภาพพร้ อ มใช้ ง าน เช่ น
ตัวเลขบนเครื่องชั่งสปริงชัดเจน สปริงไม่
ฝืด ขีดสเกลเริ่มต้นที่เลขศูนย์พอดี

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี⎯


67 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

แนวคาตอบในแบบบันทึกกิจกรรม

วัดขนาดของแรงและอธิบายการหาแรงลัพธ์ที่กระทาต่อวัตถุในทิศทาง
เดียวกัน

3 2 5 5

คาตอบขึ้นอยู่กับผลการทากิจกรรมของนักเรียน

ะเหตุผลของ
นักเรียน

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 68

1. วัดขนาดของแรงและอธิบายการหาแรงลัพธ์ที่กระทาต่อวัตถุใน
ทิศทางตรงกันข้าม
2. สังเกตและอธิบายขนาดและทิศทางของแรงลัพธ์ที่กระทาต่อวัตถุ
โดยการเขียนแผนภาพของแรงที่กระทาต่อวัตถุ

เท่ากัน

ขึ้นอยู่กับการทากิจกรรมของนักเรียน

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี⎯


69 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

ขึ้นอยู่กับการทากิจกรรมของนักเรียน

5 นิวตัน 5 นิวตัน

1. วัดขนาดของแรงและอธิบายการหาแรงลัพธ์ที่กระทาต่อวัตถุ
2. สังเกตและอธิบายขนาดและทิศทางของแรงลัพธ์ที่กระทาต่อวัตถุ
ที่อยู่นิ่งโดยการเขียนแผนภาพของแรงที่กระทาต่อวัตถุ

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 70

คาตอบขึ้นอยู่กับผลการทากิจกรรมของนักเรียน
ผลรวมของแรงที่อ่าน
ได้จากเครื่องชั่งสปริง
คาตอบขึ้นอยู่กับผลการทากิจกรรมของนักเรียน
อันที่ 1 และ 2
จะเท่ากับอันที่ 3
คาตอบขึ้นอยู่กับผลการทากิจกรรมของนักเรียน

3 นิวตัน

6 นิวตัน ค่าของแรงที่อ่านได้ขึ้นอยู่กับผลการทากิจกรรม
ของนักเรียน
3 นิวตัน

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี⎯


71 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

แรงทีเ่ ครื่องชั่งสปริงทั้งสองกระทาต่อถุงทรายอยู่ในแนวเดียวกัน โดยมีทิศ


ขึ้นในแนวดิ่ง

เมื่อแขวนวัตถุกับเครื่องชั่งสปริง 2 อัน ค่าของแรงที่อ่านได้จากเครื่องชั่งสปริง


แต่ละอันเมื่อนามาบวกกันจะเท่ากับค่าของแรงที่อ่านได้เมื่อแขวนวัตถุกับ
เครื่องชั่งสปริง 1 อัน

แรงลัพธ์ของแรงที่เครื่องชั่งสปริงสองอันกระทาต่อวัตถุหาได้โดยนาแรงที่อ่านได้
จากเครื่องชั่งแต่ละอันมาบวกกัน

เมื่อแขวนวัตถุกับเครื่องชั่งสปริง 2 อัน ค่าของแรงที่อ่านได้จากเครื่องชั่งสปริง


แต่ละอันเมื่อนามาบวกกันจะเท่ากับค่าของแรงที่อ่านได้เมื่อแขวนวัตถุกับ
เครื่องชั่งสปริง 1 อัน

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 72

แรงทีเ่ ครื่องชั่งสปริงดึงเชือกอยู่ในแนวเดียวกัน คือแนวนอนหรือแนวระดับ


แต่มีทิศทางตรงข้ามกัน

ขนาดของแรงที่อ่านได้จากเครื่องชั่งสปริง 2 อัน ไม่แตกต่างกัน แต่มี


ค่าเท่ากัน

แรงลัพธ์มีค่าเป็นศูนย์ แรงลัพธ์ของแรงที่เครื่องชั่งสปริง 2 อัน กระทาต่อวัตถุ


หาได้จากการนาค่าของแรงที่อ่านได้จากเครื่องชั่งสปริงแต่ละอันมาลบกัน

เมื่อใช้เครื่องชั่งสปริง 2 อัน ดึงเชือกที่ผูกเป็นวงให้ยังคงอยู่นิ่ง ต้องออกแรงใน


แนวเดียวกันแต่ดึงในทิศทางตรงกันข้าม ด้วยแรงที่มีขนาดเท่ากัน การหาแรง
ลัพธ์ของแรงที่กระทาต่อเชือกหาได้จากนาค่าของแรงที่อ่านได้มาลบกัน

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี⎯


73 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

ผลรวมขนาดของแรงที่อ่านได้จากเครื่องชั่งสปริงอันที่ 1 และ 2 มีขนาด


เท่ากับแรงที่อ่านได้จากเครื่องชั่งสปริงอันที่ 3

แรงลัพธ์ที่กระทาต่อกระดาษแข็งที่อยู่นิ่งหาได้โดยนาผลรวมขนาดของแรงจากเครื่อง
ชั่งสปริงอันที่ 1 และ 2 ลบกับขนาดของแรงที่ได้จากเครื่องชั่งสปริงอันที่ 3 แรงลัพธ์
มีค่าเป็นศูนย์

เมื่อใช้เครื่องชั่งสปริง 3 อัน ดึงกระดาษแข็งที่เจาะรู 3 รู ให้อยู่นิ่ง ต้องออกแรง


กระทาต่อเครื่องชั่งสปริงแต่ละอันโดยแรงลัพธ์ที่กระทาต่อกระดาษแข็งเป็นศูนย์

การหาแรงลัพธ์ของแรงหลาย ๆ แรง ที่กระทาต่อวัตถุพิจารณาจากทิศทางของแรงที่


กระทาต่อวัตถุนั้น และเมื่อออกแรงกระทาต่อวัตถุ แล้ววัตถุยังคงอยู่นิ่ง แรงลัพธ์ที่
กระทาต่อวัตถุจะมีค่าเป็นศูนย์

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 74

คาถามของนักเรียนที่ตั้งตามความอยากรู้ของตนเอง




✓ ✓

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี⎯


75 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

แนวการประเมินการเรียนรู้
การประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนทาได้ ดังนี้
1. ประเมินความรู้เดิมจากการอภิปรายในชั้นเรียน
2. ประเมินการเรียนรู้จากคาตอบของนักเรียนระหว่างการจัดการเรียนรู้และจากแบบบันทึกกิจกรรม
3. ประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จากการทากิจกรรมของนักเรียน

การประเมินจากการทากิจกรรมที่ 1 หาแรงลัพธ์ที่กระทาต่อวัตถุได้อย่างไร
ระดับคะแนน
3 คะแนน หมายถึง ดี 2 คะแนน หมายถึง พอใช้ 1 คะแนน หมายถึง ควรปรับปรุง

รหัส สิ่งที่ประเมิน ระดับคะแนน


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
S1 การสังเกต
S2 การวัด
S3 การใช้จานวน
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
S14 การสร้างแบบจาลอง
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
C4 การสื่อสาร
C5 ความร่วมมือ
รวมคะแนน

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 76

ตาราง แสดงการวิเคราะห์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามระดับความสามารถของนักเรียน
โดยอาจใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี้
ทักษะกระบวนการ ระดับความสามารถ
รายการประเมิน
ทางวิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
S1 การสังเกต ก า ร บ ร ร ย า ย สามารถใช้ ป ระสาท สามารถใช้ป ระสาทสัมผัส สามารถใช้ป ระสาทสัมผัส
รายละเอียดเกี่ยวกับ สัมผัสเก็บ รายละเอียด เก็บรายละเอียดของข้อมูล เก็บรายละเอียดของข้อมูล
การเคลื่ อ นที่ ข องถุ ง ของข้อมูลเกี่ยวกับ การ เกี่ยวกับ การเคลื่ อนที่ ของ เกี่ยวกับ การเคลื่ อนที่ ของ
ทราย เชือกผูกเป็นวง เคลื่ อ นที่ ข องถุ ง ทราย ถุ ง ทราย เชื อ กผู ก เป็ น วง ถุ ง ทราย เชื อ กผู ก เป็ น วง
แ ล ะก ระด าษ แ ข็ ง เชื อ กผู ก เป็ น วง และ และกระดาษแข็งขณะวัด และกระดาษแข็งขณะวัด
ขณะวั ด แรง รวมถึ ง กระดาษแข็ ง ขณะวั ด แรง รวมถึงทิศทางของแรง แรง รวมถึงทิศทางของแรง
ทิ ศ ท างข อ งแ รงที่ แรง รวมถึงทิศทางของ ที่ ก ระท า จากการชี้ แ นะ ที่ก ระทาได้ เพี ยงบางส่ ว น
กระทา แรงที่ ก ระท า ได้ ด้ ว ย ของครูหรือผู้อื่นหรือมีการ แม้ว่าจะได้รับคาชี้แนะจาก
ตนเอง โดยไม่เพิ่ มเติม เพิ่มเติมความคิดเห็น ครูหรือผู้อื่น
ความคิดเห็น
S2 การวัด - การใช้เครื่องชั่งสปริง สามารถใช้ เ ครื่ อ งชั่ ง สามารถใช้เครื่องชั่งสปริง สามารถใช้เครื่องชั่งสปริ ง
อ่ า น ค่ า ของแรง ที่ สปริงอ่านค่าของแรง ที่ อ่านค่ าของแรง ที่ ก ระท า อ่านค่ าของแรง ที่ ก ระท า
กระท าต่ อ ถุ ง ทราย ก ระ ท าต่ อ ถุ งท ราย ต่ อ ถุ งทราย เชื อ กผู ก เป็ น ต่ อ ถุ งทราย เชื อ กผู ก เป็ น
เชือกผู กเป็ นวง และ เชื อ กผู ก เป็ น วงและ วง และกระดาษแข็ง วง และกระดาษแข็ง
กระดาษแข็ง กระดาษแข็ง และระบุ ได้ ถู ก ต้ อ ง แต่ ร ะบุ ห น่ ว ย ได้ ถู ก ต้ อ งเพี ย งบางส่ ว น
- การระบุ ห น่ วยของ ห น่ ว ย ข อ ง แ ร ง ไ ด้ ของแรงไม่ถูกต้อง และระบุห น่วยของแรงไม่
แรง ถูกต้อง หรื อ ใช้ เครื่ อ งชั่ งสปริ ง ไม่ ถูกต้อง
ถูกต้อง แต่ระบุหน่วยของ
แรงได้ถูกต้อง
S3 การใช้จานวน การค านวณหาแรง สามารถคานวณหาแรง สามารถค านวณ หาแรง สามารถค านวณ หาแรง
ลั พ ธ์จ ากผลรวมของ ลั พ ธ์ จ ากผลรวมของ ลัพธ์จากผลรวมของแรงที่ ลัพธ์จากผลรวมของแรงที่
แรงที่ เครื่องชั่ งสปริง แรงที่ เ ครื่ อ งชั่ ง สปริ ง เครื่ อ งชั่ งสปริงกระท าต่ อ เครื่ อ งชั่ งสปริงกระท าต่ อ
กระทาต่อวัตถุ ก ร ะ ท า ต่ อ วั ต ถุ ไ ด้ วัตถุได้ถูกต้องทั้งหมด จาก วั ต ถุ ไ ด้ ถู ก ต้ อ ง เพี ย ง
ถู ก ต้ อ งทั้ งห มดด้ ว ย การชี้แนะของครูหรือผู้อื่น บางส่วน แม้ว่าจะได้รับคา
ตนเอง ชี้แนะจากครูหรือผู้อื่น
S13 การตีความหมาย การตี ค วาม ห ม าย สามารถตี ความหมาย สาม ารถตี ความ ห ม าย ส าม ารถ ตี ค วาม ห ม าย
ข้อมูลและลงข้อสรุป ข้ อ มู ลจากการ ท า ข้ อ มู ล จ า ก ก า ร ท า ข้อมูลจากการทากิจกรรม ข้อมูลจากการทากิจกรรม
กิ จ กรรมได้ ว่ า เมื่ อ มี กิจกรรมได้ว่าเมื่อมีแรง ได้ ว่ า เมื่ อ มี แ รงหลายแรง ได้ ว่ า เมื่ อ มี แ รงหลายแรง
แรงหลายแรงจาก หลายแรงจากเครื่องชั่ง จากเครื่องชั่งสปริงกระทา จากเครื่องชั่งสปริงกระทา

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี⎯


77 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

ทักษะกระบวนการ ระดับความสามารถ
รายการประเมิน
ทางวิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
เค รื่ อ ง ชั่ ง ส ป ริ ง สปริงกระทาต่อวัตถุจะ ต่ อ วั ต ถุ จ ะหาแรงลั พ ธ์ ที่ ต่ อ วั ต ถุ จ ะหาแรงลั พ ธ์ ที่
กระทาต่อวัตถุจะหา หาแรงลั พ ธ์ ที่ ก ระท า กระทาต่อวัตถุได้แตกต่าง กระทาต่อวัตถุได้แตกต่าง
แรงลัพธ์ที่กระทาต่อ ต่อวัตถุได้แตกต่ างกั น กั น และลงข้ อ สรุ ป ได้ ว่ า กั น แ ต่ ล งข้ อส รุ ป ได้ ไม่
วั ต ถุ ไ ด้ แ ตกต่ า งกั น และลงข้ อ สรุ ป ได้ ว่ า การหาแรงลั พ ธ์ ที่ ก ระท า ครบถ้วน แม้ว่าจะได้รับคา
และลงข้ อ สรุป ได้ ว่ า ก า ร ห า แ ร ง ลั พ ธ์ ที่ ต่ อ วั ต ถุ ต้ อ งพิ จ ารณจาก ชี้แนะจากครูหรือผู้อื่น
ก ารห าแ รงลั พ ธ์ ที่ กระท าต่ อ วั ต ถุ ต้ อง ขนาดและทิศทางของแรง
กระท าต่ อ วั ต ถุ ต้ อ ง พิจารณจากขนาดและ ทั้ ง หมดที่ ม ากระท าต่ อ
พิ จ ารณ จากขนาด ทิศทางของแรงทั้งหมด วัตถุนั้นได้ จากการชี้แนะ
และทิ ศทางของแรง ที่มากระทาต่อวัตถุนั้น จากครูและผู้อื่น
ทั้ ง หมดที่ ม ากระท า ได้ด้วยตนเอง
ต่อวัตถุนั้น
S14 ก า ร ส ร้ า ง สร้างแบบจาลองการ ส า ม า ร ถ ส ร้ า ง สามารถสร้างแบบจาลอง สามารถสร้างแบบจาลอง
แบบจาลอง เขียนแผนภาพแสดง แบบจ าลองการเขี ย น การเขี ย นแผนภาพแสดง การเขี ย นแผนภาพแสดง
แรงที่ เครื่องชั่ งสปริง แผนภาพแสดงแรงที่ แ ร ง ที่ เค รื่ อ ง ชั่ ง ส ป ริ ง แ ร ง ที่ เค รื่ อ ง ชั่ ง ส ป ริ ง
กระทาต่อวัตถุโดยใช้ เครื่อ งชั่ งสปริงกระท า กระทาต่อวัตถุโดยใช้ลูกศร กระทาต่อวัตถุโดยใช้ลูกศร
ลู ก ศ รแ ส ด งขน าด ต่ อ วั ต ถุ โ ดยใช้ ลู ก ศร แสดงขนาดและทิ ศ ทาง แสดงขนาดและทิ ศ ทาง
และทิศทางของแรง แสดงขนาดและทิศทาง ของแรงได้ถูกต้องจากการ ของแรงได้ถูกต้องบางส่วน
ของแรงได้ ถูกต้องด้ว ย ชี้แนะจากครูหรือผู้อื่น แม้ ว่ า จะได้ รั บ การชี้ แ นะ
ตนเอง จากครูหรือผู้อื่น

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 78

ตาราง แสดงการวิเคราะห์ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ตามระดับความสามารถของนักเรียน


โดยอาจใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี้
ทักษะแห่ง ระดับความสามารถ
รายการประเมิน
ศตวรรษที่ 21 ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
C4 การสื่อสาร การนาเสนอข้อมูลจาก สามารถน าเสนอข้ อ มู ล สามารถนาเสนอข้อมูล จาก สามารถน าเสนอข้ อ มู ล
การสังเกต การวัดและ จากการสั ง เกต การวั ด ก าร สั งเก ต ก ารวั ด แ ล ะ จากการสั ง เกต การวั ด
อ ภิ ป ร า ย เกี่ ย ว กั บ และอภิ ป รายเกี่ ย วกั บ อธิ บ ายเกี่ ย วกั บ วิ ธี ก ารหา แ ล ะ อ ธิ บ าย เกี่ ย ว กั บ
วิธีการหาแรงลัพธ์ โดย วิธี ก ารหาแรงลั พ ธ์ โดย แรงลั พ ธ์ ได้ โดยใช้ ก ารพู ด วิธีการหาแรงลัพธ์ได้ โดย
ใช้ ก ารพู ดและเขี ย น ใช้ ก า ร พู ด แ ล ะ เขี ย น และเขี ย นแผนภาพเพื่ อ ให้ ใช้ ก า ร พู ด แ ล ะ เขี ย น
แผนภาพเพื่ อ ให้ ผู้ อื่ น แผน ภาพ เพื่ อให้ ผู้ อื่ น ผู้อื่น เข้าใจได้ โดยอาศัยการ แผน ภ าพ เพื่ อให้ ผู้ อื่ น
เข้าใจ เข้าใจด้ด้วยตนเอง ชี้แนะจากครูหรือผู้อื่น เข้ าใจได้ บ างส่ ว น แม้ ว่ า
จะได้รับคาชี้แนะจากครู
หรือผู้อื่น
C5 ความ การทางานร่วมกับผู้อื่น สามารถท างานร่ ว มกั บ สามารถทางานร่วมกับผู้อื่น สามารถท างานร่ ว มกั บ
ร่วมมือ ในการเตรี ย มอุ ป กรณ์ ผู้ อื่ น ใ น ก า ร เต รี ย ม ในการเตรี ย มอุ ป กรณ์ ก าร ผู้ อื่ น ใ น ก า ร เต รี ย ม
การสั งเกตและการวัด อุ ป กรณ์ ก ารสั งเกตและ สังเกตและการวัดขนาดของ อุ ป กรณ์ ก ารสั งเกตและ
ข น า ด ข อ งแ รงด้ ว ย การวัดขนาดของแรงด้วย แรงด้ ว ยเค รื่ อ งชั่ งส ป ริ ง การวัดขนาดของแรงด้วย
เครื่องชั่งสปริง รวมทั้ง เครื่ อ งชั่ ง สปริ ง รวมทั้ ง รวมทั้งยอมรับความคิดเห็ น เครื่ อ งชั่ ง สปริ ง ในบาง
ยอมรั บ ความคิ ด เห็ น ยอมรับความคิดเห็นของ ของผู้ อื่ น บางช่ ว งเวลาที่ ท า ช่วงเวลา แต่ไม่ค่อยสนใจ
ของผู้อื่น ผู้ อื่ น ตั้ ง แต่ เริ่ ม ต้ น จ น กิจกรรม ในความคิดเห็นของผู้อื่น
สาเร็จ

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี⎯


79 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

เรื่องที่ 2 แรงเสียดทาน
ในเรื่องนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับแรงเสียดทานซึ่งเป็นแรง
ต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ เกิดขึ้นระหว่างผิ ว สัมผั สของวัตถุ และมี
ทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ ผลของแรงเสียด
ทานที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุทาให้วัตถุที่กาลัง
เคลื่อนที่เปลี่ยนเป็นเคลื่อนที่ช้าลงจนหยุดนิ่ง และสามารถแสดงแรง
เสี ย ดทานและแรงที่ ก ระท าต่ อ วั ต ถุ ในแนวเดี ย วกั น โดยการเขี ย น
แผนภาพ

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. วัดขนาดของแรงและอธิบายแรงเสียดทานที่มีผลต่อการ
เปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ
2. เขียนแผนภาพแสดงแรงเสียดทานและแรงที่กระทาต่อวัตถุในแนว
เดียวกัน

เวลา 3 ชั่วโมง
วัสดุ อุปกรณ์สาหรับทากิจกรรม
เครื่องชั่งสปริง ถุงทราย

สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
1. หนังสือเรียน ป.5 เล่ม 1 หน้า 37-42
2. แบบบันทึกกิจกรรม ป.5 เล่ม 1 หน้า 36-42

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 80

แนวการจัดการเรียนรู้ (30 นาที)


ขั้นตรวจสอบความรู้ (5 นาที)
1. ครูทบทวนความรู้พื้นฐานและตรวจสอบความรู้ เดิมของนักเรียน โดยให้
นักเรียนดูภาพคนกาลังปีนต้นไม้ จากนั้นครูซักถามด้วยคาถามต่อไปนี้
1.1 นักเรียนคิดว่ามีแรงอะไรกระทาต่อคนในภาพนี้ และทิศทางของแรง
นั้นเป็ นอย่างไร (มี แรงดึงดูดของโลกหรือแรงโน้ มถ่วงของโลกมา
กระทา โดยมีทิศทางลงสู่พื้นโลก)
1.2 นอกจากแรงดึงดูดของโลกแล้ว นักเรียนคิดว่ายังมีแรงอะไรที่กระทา
ต่อคนปีนต้นไม้ในภาพอีก จึงทาให้ เขาปีนต้นไม้ได้โดยไม่ตกลงมา
(นักเรียนตอบตามความเข้าใจ เช่น แรงต้าน แรงฝืด หรือ แรง
เสียดทาน)
2. ครูเชื่อมโยงความรู้เดิมของนักเรียนสู่เรื่องแรงที่ต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ
โดยใช้คาถามว่าแรงที่ต้านไม่ให้คนในรูปตกลงมาจากต้นไม้เป็นแรงอะไร
มีลักษณะอย่างไร จากนั้นครูชักชวนให้นักเรียนหาคาตอบจากการอ่าน
เรื่องแรงเสียดทาน

ขั้นฝึกทักษะจากการอ่าน (20 นาที)

3. นักเรียนอ่านชื่อเรื่อง และคาถามใน คิดก่อนอ่าน ในหนังสือเรียนหน้า


37 แล้วร่วมกันอภิปรายในกลุ่มเพื่อหาคาตอบตามความเข้าใจของกลุ่ม
ครูบันทึกคาตอบของนักเรียนบนกระดานเพื่อใช้เปรียบเทียบกับคาตอบ
ภายหลังการอ่านเนื้อเรื่อง
4. นั ก เรี ย นอ่ า นค าใน ค าส าคั ญ ทั้ งภาษาไทยและภาษาอั ง กฤษ (หาก
นักเรียนอ่านไม่ได้ ครูควรสอนอ่านให้ ถูกต้อง) ครูชักชวนให้นักเรียนหา
ความหมายของคาภายหลังจากการอ่านเนื้อเรื่อง
5. นักเรียนอ่านเนื้อเรื่องตามวิธีการอ่านที่เหมาะสมกับ ความสามารถของ
นักเรียน และร่วมกันอภิปรายใจความสาคัญ โดยใช้คาถาม ดังนี้
5.1 แรงมีผลต่อวัตถุอย่างไร (แรงทาให้วัตถุเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่)
5.2 การเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุมีลักษณะใดบ้าง (วัตถุที่อยู่นิ่ง
เปลี่ยนเป็นเคลื่อนที่ หรือจากเคลื่อนที่อยู่แล้วเปลี่ยนเป็นเคลื่อนที่เร็ว
ขึ้น ช้าลง หยุดนิ่ง หรือเปลี่ยนทิศทาง)
5.3 เมื่อออกแรงกระทาต่อตู้ แรงที่ต้านการเคลื่อนที่ของตู้ คืออะไร (แรง
เสียดทาน)

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี⎯


81 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

5.4 แรงเสียดทานเกิดขึ้นเมื่อใด (เมื่อมีแรงมากระทาต่อวัตถุเพื่อทาให้วัตถุ


เคลื่อนที่ ซึ่งวัตถุอาจจะเคลื่อนที่หรือไม่เคลื่อนที่ก็ได้)
5.5 แรงเสี ยดทานเกิ ดขึ้นที่ ใด และมีทิ ศทางใด (แรงเสี ยดทานเกิ ดขึ้ น นั ก เรี ย นอาจไม่ ส ามารถตอบ
ระหว่างผิวสัมผัสของตู้กับพื้นบริเวณที่สัมผัสกับตู้ โดยแรงเสียดทาน
คาถามหรืออภิปรายได้ตามแนวคาตอบ
มีทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางที่ต้องการให้ตู้เคลื่อนที่)
ค รู ค วรให้ เวล านั กเรี ย น คิ ด อ ย่ า ง
ขั้นสรุปจากการอ่าน (5 นาที) เหมาะสม รอคอยอย่างอดทน และรับ
ฟังแนวความคิดของนักเรียน
6. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า เมื่อออกแรงกระทา
ต่อ วัต ถุ เพื่ อท าให้ วัต ถุเคลื่ อ นที่ จ ะมี แ รงต้ านการเคลื่ อนที่ ของวัต ถุนั้ น
เรี ย กแรงที่ ต้ า นการเคลื่ อ นที่ นี้ ว่ า แรงเสี ย ดทาน ซึ่ ง เกิ ด ขึ้ น บริ เวณ
ผิวสัมผัสระหว่างวัตถุ และมีทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่
ของวัตถุ
7. นักเรียนตอบคาถามจากเรื่องที่อ่านในรู้หรือยัง ในแบบบันทึกกิจกรรม
หน้า 36
8. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อเปรียบเทียบคาตอบของนักเรียนในรู้
หรือยัง กับคาตอบที่เคยตอบและบันทึกไว้ในคิดก่อนอ่าน
9. ครูชักชวนนักเรียนตอบคาถามท้ายเรื่องที่อ่าน คือ กิจกรรมอะไรบ้างใน
ชีวิตประจาวันของเราที่เกี่ยวข้องกับแรงเสียดทาน และถ้าเราออกแรง
กระทาต่อวัตถุที่อยู่นิ่งเพื่อให้วัตถุเคลื่อนที่ แต่วัตถุยังคงอยู่นิ่ง แรงเสียด
ทานที่เกิดขึ้นขณะนั้นจะมีขนาดเท่าใด และมีทิศทางเป็นอย่างไร
ครูบันทึกคาตอบของนักเรียนบนกระดานโดยยังไม่เฉลยคาตอบ แต่
ชักชวนให้นักเรียนหาคาตอบจากการทากิจกรรม

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 82

แนวคาตอบในแบบบันทึกกิจกรรม

แรงเสียดทาน เป็นแรงที่ต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ มีทิศทางตรงกันข้าม


กับทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ โดยเกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ
เมื่อมีแรงมากระทาต่อวัตถุเพื่อให้วัตถุเคลื่อนที่

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี⎯


83 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

กิจกรรมที่ 2 แรงเสียดทานมีผลต่อวัตถุอย่างไร
กิจกรรมนี้นักเรียนจะได้สังเกตผลของแรงเสียดทานที่มีต่อการ
เปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุเมื่อ ออกแรงกระทาต่อวัตถุที่อยู่นิ่ง
เพื่ อ ให้ วั ต ถุ เคลื่ อ นที่ และสั ง เกตผลของแรงเสี ย ดทานที่ มี ต่ อ การ
เปลี่ ย นแปลงการเคลื่ อ นที่ ข องวั ต ถุ ที่ ก าลั งเคลื่ อ นที่ รวมทั้ งเขี ย น
แผนภาพแสดงแรงเสียดทานและแรงที่กระทาต่อวัตถุในแนวเดียวกัน

เวลา 2.5 ชั่วโมง


จุดประสงค์การเรียนรู้
1. วัดขนาดของแรงและอธิบายแรงเสียดทานที่มีผลต่อการ
เปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ
2. เขียนแผนภาพแสดงแรงเสียดทานและแรงที่กระทาต่อวัตถุ
ในแนวเดียวกัน

วัสดุ อุปกรณ์สาหรับทากิจกรรม
สิ่งที่ครูต้องเตรียม/กลุ่ม
1. เครื่องชั่งสปริง 1 อัน สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
2. ถุงทราย 1 ถุง 1. หนังสือเรียน ป.5 เล่ม 1 หน้า 38-40
2. แบบบันทึกกิจกรรม ป.5 เล่ม 1 หน้า 37-42
3. วีดิทัศน์ตวั อย่างการปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สาหรับ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ครูเรื่องแรงเสียดทานมีผลต่อวัตถุอย่างไร
S1 การสังเกต http://ipst.me/8048
S2 การวัด
S8 การลงความเห็นจากข้อมูล
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
S14 การสร้างแบบจาลอง
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
C4 การสื่อสาร
C5 ความร่วมมือ

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 84

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูนาเข้าสู่บทเรียนโดยเลือกตัวแทนนักเรียน 2 คน ให้คนหนึ่งนั่งยอง
ๆ นักเรียนอีกคนหนึ่งลากเพื่อนที่นั่ง ยองให้เคลื่อนที่ไปบนพื้น จากนั้น
ครูอาจใช้คาถามดังนี้
1.1 ขณะนักเรียนลากเพื่อนให้เคลื่อนที่ มีแรงเสียดทานเกิดขึ้นหรือไม่
ถ้ามี แรงเสี ยดทานมี ทิศทางอย่างไร (มีแรงเสี ยดทาน โดยแรง
เสียดทานมีทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางที่ตัวเพื่อนเคลื่อนที่ไป)
1.2 แรงเสียดทานเกิดขึ้นบริเวณใด (ระหว่างเท้าของนักเรียนที่นั่งยอง
กับพื้น)
1.3 เมื่อนักเรียนลากเพื่อน แล้วเพื่อนยังไม่เคลื่อนที่ นักเรียนคิดว่ามี
แรงเสียดทานเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามี คิดว่ามีค่าเป็นเท่าใด (นักเรียน
ตอบตามความเข้าใจ)
ครูเชื่อมโยงความรู้เดิมของนักเรียนเพื่อเข้าสู่การทากิจกรรม โดยครู
ชักชวนให้นักเรียนหาคาตอบที่ถูกต้องจากการทากิจกรรมที่ 2
2. นักเรียนอ่านชื่อกิจกรรม และ ทาเป็นคิดเป็น โดยร่วมกันอภิปรายเพื่อ
ตรวจสอบความเข้าใจจุดประสงค์ในการทากิจกรรม โดยครูใช้คาถาม
ดังนี้
2.1 กิจกรรมนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้เรื่องอะไร (แรงเสียดทานที่มีผลต่อ
การเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ)
2.2 นักเรียนจะได้เรียนรู้เรื่องนี้ด้วยวิธีใด (วัดขนาดของแรงและสังเกต
การเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ)
2.3 เมื่อเรียนแล้วนักเรียนจะทาอะไรได้ (อธิบายแรงเสียดทานที่มีผล
ต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุทั้งวัตถุที่อยู่นิ่งและวัตถุที่
เคลื่อนที่ และเขียนแผนภาพแสดงแรงเสียดทานและแรงที่กระทา
ต่อวัตถุในแนวเดียวกัน)
3. นักเรียนบันทึกจุดประสงค์ลงในแบบบันทึกกิจกรรม หน้า 37 และ อ่าน
สิ่งที่ต้องใช้ในการทากิจกรรม
4. นั ก เรี ย นอ่ า น ท าอย่ า งไร โดยครู ใ ช้ วิ ธี ฝึ ก อ่ า น ที่ เห มาะสมกั บ
ความสามารถในการอ่านของนักเรียน จากนั้นครูตรวจสอบความเข้าใจ
ของนักเรียนเกี่ยวกับการทากิจกรรม ตอนที่ 1 เพื่อสรุปลาดับขั้นตอน
ตามความเข้าใจ โดยครูใช้คาถามดังต่อไปนี้

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี⎯


85 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

4.1 ขั้นตอนในการเตรียมอุปกรณ์ ทาได้อย่างไร (นาถุงทรายมาวางบน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ


พื้นโต๊ะ แล้วนาเครื่องชั่งสปริงมาเกี่ยวที่หูของถุงทราย) ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่นักเรียนจะได้
4.2 วิธีวัดแรงทาได้อย่างไร (ออกแรงดึงถุงทรายด้วยเครื่องชั่งสปริงใน ฝึกจากการทากิจกรรม
แนวราบ โดยที่ถุงทรายยังคงอยู่นิ่ง) ตอนที่ 1
4.3 นักเรียนต้องทากิจกรรมกี่ครั้ง และแต่ละครั้งแตกต่างกันอย่างไร S1 การสั งเกตการเคลื่ อ นที่ ข องถุ งทราย
(ใช้แรงดึงถุงทรายด้วยเครื่องชั่งสปริงให้มีค่าต่างกัน 3 ครั้ง) เมื่อดึงด้วยเครื่องชั่งสปริง
4.4 นักเรียนต้องร่วมกันอภิปรายในประเด็นใด (มีแรงใดบ้างกระทาต่อ S2 การวั ด ขนาดของแรงที่ ใช้ ดึ งถุ งทราย
ถุงทรายในแนวราบ ซึ่งเป็นผลให้ถุงทรายยังคงอยู่นิ่ง) ด้วยเครื่องชั่ งสปริง โดยถุงทรายยังไม่
4.5 นั ก เรีย นจะน าเสนอผลการอภิ ป รายด้ ว ยวิธีใด (เขีย นแผนภาพ เคลื่อนที่
แสดงแรงที่กระทาต่อถุงทรายในแนวราบ) S8 การลงความเห็ น เกี่ ย วกั บ ขนาดและ
5. เมื่อนักเรียนเข้าใจวิธีการทากิจกรรมในทาอย่างไรแล้ว ครูแจกวัสดุ ทิ ศ ทางของแรงเสี ย ดทานที่ เ กิ ด ขึ้ น
อุปกรณ์ และให้นักเรียนเริ่มปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอน ขณะที่ ดึ งถุงทรายด้ ว ยเครื่อ งชั่ งสปริง
6. หลั งจากท ากิจ กรรมแล้ ว ครูน าอภิ ป รายผลการท ากิจกรรม โดยใช้ แล้วถุงทรายยังคงอยู่นิ่ง
คาถามดังนี้ S14 เขียนแผนภาพแสดงแรงที่กระทาต่อ
6.1 นักเรียนใช้เครื่องชั่งสปริงทาอะไรในกิจกรรมนี้ (วัดแรงที่ใช้ในการ ถุงทรายในแนวราบ
ดึงถุงทรายในแนวราบ)
C4 การสื่อสารโดยการนาเสนอผลการทา
6.2 หน่วยของแรงคืออะไร (นิวตัน)
กิ จ กรรมด้ ว ยการพู ด และการเขี ย น
6.3 เมื่ อ ออกแรงดึ ง ถุ ง ทรายด้ ว ยเครื่ อ งชั่ ง สปริ ง ในแนวราบ มี แ รง
แผนภาพแสดงแรง
อะไรบ้างกระทาต่อถุงทรายในแนวราบที่เป็นผลให้ถุงทรายยังคง
C5 ความร่วมมือในการทาการทากิจกรรม
อยู่นิ่ง (แรงที่ใช้ดึงถุงทราย และแรงต้านการเคลื่อนที่ของถุงทราย
หรือแรงเสียดทาน)
6.4 เมื่ อ ออกแรงดึ ง ถุ ง ทรายด้ ว ยเครื่ อ งชั่ ง สปริ ง ในแนวราบ แล้ ว
ถุงทรายยั งคงอยู่นิ่ ง ขนาดและทิ ศทางของแรงที่ ใช้ ดึ งเที ย บกั บ
แรงเสียดทานเป็นอย่างไร เพราะเหตุใด (แรงที่ใช้ดึงและแรงเสียด
ทานมีขนาดเท่ากัน แต่มีทิศทางตรงกันข้าม เพราะถุงทรายยังคง
อยู่นิ่ง แรงลัพธ์มีค่าเป็นศูนย์ แรงเสียดทานจึง ต้องมีขนาดเท่ากับ
แรงที่ใช้ดึงแต่มีทิศทางตรงกันข้าม) ห า ก นั ก เรี ย น อ า จ ต อ บ
6.5 เมื่อออกแรงกระทาต่อถุงทรายด้วยแรงขนาดต่างกัน แต่ ถุงทราย คาถามหรืออภิ ป รายไม่ ได้ ต าม
ยั ง ไม่ เคลื่ อ นที่ แรงเสี ย ดทานมี ค่ า เท่ า เดิ ม ทุ ก ครั้ ง หรื อ ไม่ รู้ ไ ด้ แนวค าตอบ ครู ค วรให้ เ วลา
อย่างไร (แรงเสียดทานมีค่าเปลี่ยนไปได้หลายค่า รู้ได้จากแรงที่ใช้ นั ก เรี ย นคิ ด อย่ า งเหมาะสม
ดึ งถุ งทรายมี ค่ า เปลี่ ย นไป เมื่ อ ถุ งทรายยั งไม่ เคลื่ อ นที่ แสดงว่ า รอคอยอย่างอดทน และรับ ฟั ง
แรงเสียดทานมีค่าเปลี่ยนไปด้วย) แนวความคิดของนักเรียน

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 86

6.6 เขียนแผนภาพแสดงแรงที่กระทาต่อถุงทรายในแนวราบได้อย่างไร
(ใช้ลูกศรแสดงขนาดและทิศทางของแรงที่ดึงถุงทรายด้วยเครื่องชั่ง
สปริง และแรงเสียดทานซึ่งมีทิศทางตรงกันข้าม แต่มีขนาดเท่ากัน
โดยลูกศรแสดงแรงเสียดทานจะอยู่ระหว่างผิวสัมผัสของพื้นโต๊ะกับ
ถุงทราย)
ในขั้นตอนนี้ครูอาจให้นักเรียนออกมาเขียนแผนภาพบนกระดาน
ครูตรวจสอบความถูกต้องเกี่ยวกับขนาดและทิศทางของแรงในแผนภาพ
7. นักเรียนอ่านทาอย่างไร ตอนที่ 2 แล้วร่วมกันอภิปรายเพื่อสรุปลาดับ
ขั้นตอนการทากิจกรรมตามความเข้าใจ โดยครูใช้คาถามดังต่อไปนี้ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ
7.1 นักเรียนต้องทาอะไรในกิจกรรมนี้ (ผลักถุงทรายให้เคลื่อนที่ไปบน ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่นักเรียนจะได้
พื้นโต๊ะ) ฝึกจากการทากิจกรรม
7.2 หลั ง จากผลั ก ถุ ง ทรายแล้ ว นั ก เรี ย นต้ อ งท าอะไร (สั ง เกตการ
เปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของถุงทราย บันทึกผล) ตอนที่ 2
7.3 นักเรียนต้องร่วมกันอภิปรายในประเด็นใด (อภิปรายเกี่ยวกับแรงที่ S1 การสั ง เกตการเปลี่ ย นแปลงการ
ทาให้ถุงทรายที่กาลังเคลื่อนที่เปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่) เคลื่อนที่ของถุงทรายที่กาลังเคลื่อนที่
7.4 นั ก เรีย นจะน าเสนอผลการอภิ ป รายด้ ว ยวิธีใด (เขีย นแผนภาพ ไปบนพื้น
แสดงแรงที่ทาให้ถุงทรายเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่) S8 การลงความเห็นเกี่ยวกับทิศทางของ
8. เมื่อนักเรียนเข้าใจวิธีการทากิจกรรมตอนที่ 2 ในทาอย่างไร หลังจาก แรงเสียดทานที่กระทาต่อถุงทรายที่
ทากิจกรรมแล้ว ครูนาอภิปรายผลการทากิจกรรม โดยใช้คาถามดังนี้ กาลังเคลื่อนที่ไปบนพื้น
8.1 เมื่ อ ผลั ก ถุ ง ทรายให้ เ คลื่ อ นที่ ถุ ง ทรายมี ก ารเปลี่ ย นแปลง S14 เขี ย นแผนภาพแสดงแรงที่ ท าให้
การเคลื่ อ นที่ ห รื อ ไม่ อย่ า งไร (ถุ ง ทรายมี ก ารเปลี่ ย นแปลง ถุงทรายที่กาลังเคลื่อนที่มีการเปลี่ยน
การเคลื่ อ นที่ โดยถุ งทรายที่ ก าลั งเคลื่ อ นที่ จ ะเคลื่ อ นที่ ช้ าลง ๆ แปลงการเคลื่อนที่
จนหยุดนิ่ง) C4 การสื่ อ สารด้ ว ยการน าเสนอผล
8.2 เพราะเหตุใดถุงทรายจึงเคลื่อนที่ช้าลง ๆ จนหยุดนิ่ง (เพราะมีแรง การท ากิ จ กรรมด้ ว ยการพู ด และ
เสี ยดทานมากระทาต่อถุงทรายในทิศ ทางตรงกัน ข้ามกับ ทิศทาง การเขียนแผนภาพแสดงแรง
การเคลื่อนที่ของถุงทราย) C5 ความร่วมมือในการทากิจกรรม
8.3 เขี ย นแผนภาพแสดงแรงที่ ท าให้ ถุ ง ทรายที่ ก าลั ง เคลื่ อ นที่ มี
การเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ ได้อย่างไร (ใช้ลูกศรแสดงขนาดและ
ทิศทางของแรงเสียดทานที่กระทาต่อถุงทราย โดยแรงเสียดทานมี
ทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่ของถุงทราย และลูกศร
แสดงแรงเสี ย ดทานจะอยู่ บ ริ เวณผิ ว สั ม ผั ส ระหว่ า งพื้ น โต๊ ะ กั บ
ถุงทราย)

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี⎯


87 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

ในขั้นตอนนี้ครูอาจให้ นักเรียนออกมาเขียนแผนภาพแสดงแรงที่
กระทาต่อวัตถุบนกระดาน ครูตรวจสอบความถูกต้องเกี่ยวกับ ขนาด
และทิศทางของแรงในแผนภาพ
9. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและลงข้อสรุป กิจกรรมทั้ง 2 ตอนว่า
เมื่อออกแรงกระทาต่อวัตถุแล้ววัตถุยังไม่เคลื่ อนที่ จะเกิดแรงเสียด
ทานต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ ค่าของแรงเสียดทานจะมีค่าเท่ากับแรง
ที่ใช้ดึง ดังนั้นในขณะที่วัตถุยังไม่เคลื่อนที่ แรงเสียดทานจึงมีได้หลาย
ค่ า และเมื่ อ วั ต ถุ ก าลั ง เคลื่ อ นที่ แรงเสี ย ดทานจะมี ผ ลให้ วั ต ถุ นั้ น
เคลื่อนที่ช้าลงจนหยุดนิ่ง (S13)
10. ครูชักชวนอภิปรายสถานการณ์ในชีวิตประจาวันโดยอาจใช้รูป ภาพ
หรือวีดิทัศน์ เช่น การใช้เบรกของรถยนต์ จักรยานยนต์ หรือจักรยาน
การไถลของรถเข็นหรือวัตถุอื่น ๆ ไปบนพื้น จากนั้นให้นักเรียนอธิบาย
ว่าสถานการณ์ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับแรงเสียดทานหรือไม่ อย่างไร
11. จากสถานการณ์ที่ใช้นาเข้าสู่บทเรียน ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย
เกี่ยวกับ สถานการณ์ ดั งกล่ าว โดยถามนั กเรียนว่าเมื่อออกแรงลาก
เพื่อน เพื่อให้เพื่อนเคลื่อนที่
- ถ้าเพื่อนไม่เคลื่อนที่ นักเรียนคิดว่ามีแรงเสียดทานเกิดขึ้นหรือไม่
ถ้ามี คิดว่ามีค่าเท่าใด (มีแรงเสียดทานเกิดขึ้น โดยแรงเสี ยดทาน
จะมีค่าเท่ากับแรงทีล่ ากเพื่อน)
- ถ้าเพื่อนเคลื่อนที่ จะมีแรงเสียดทานเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด
(มี แ รงเสี ย ดทานเกิ ด ขึ้ น เพราะแรงเสี ย ดทานเกิ ด ขึ้ น เมื่ อ วั ต ถุ
เคลื่อนที่ไปบนผิวสัมผัส)
12. ครู แ ละนั ก เรี ย นร่ ว มกั น อภิ ป รายวิ ธี ก ารเขี ย นแผนภาพแสดง
แรงเสียดทานและแรงที่กระทาต่อวัตถุในแนวเดียวกัน และลงข้อสรุป
ว่าสามารถเขียนแผนภาพด้วยการใช้ลูกศร โดยหัวลูกศรแสดงทิศทาง
และความยาวของลูกศรแสดงขนาดของแรง (S13)
13. ครูนาภาพคนปีนต้นไม้มาให้นักเรียนวิเคราะห์อีกครั้งว่ามีแรงอะไรบ้าง
กระทาต่อคนในภาพ (มีแรงดึงดูดของโลกกระทาในทิศทางลงสู่พื้น
โลก และมีแรงเสี ยดทานในทิศทางขึ้นเพื่อต้านการเคลื่อนที่ของคน
ไม่ให้ตกลงมาสู่พื้น โดยแรงเสียดทานเกิดบริเวณผิวสัมผัสระหว่างมือ
เท้า ลาตัว กับต้นไม้)
14. นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อตอบคาถามในฉันรู้อะไร โดยครูอาจใช้
คาถามเพิ่มเติมในการอภิปรายเพื่อให้ได้แนวคาตอบที่ถูกต้อง

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 88

15. นักเรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในกิจกรรมนี้ จากนั้นนักเรียนอ่าน


สิ่งที่ได้เรียนรู้ และเปรียบเทียบกับข้อสรุปของตนเอง
16. ครูกระตุ้นให้ นักเรียนฝึกตั้งคาถามเกี่ยวกับ เรื่องที่สงสั ยหรืออยากรู้
เพิ่มเติมใน อยากรู้อีกว่า จากนั้นครูอาจสุ่มนักเรียน 2 -3 คน นาเสนอ
ค าถามของตนเองหน้ าชั้ น เรี ย น และให้ นั ก เรี ย นร่ว มกั น อภิ ป ราย
เกี่ยวกับคาถามที่นาเสนอ
17. ครูนาอภิปรายเพื่อให้นักเรียนทบทวนว่าได้ฝึกทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 อะไรบ้างและในขั้นตอน
ใดบ้าง
18. นั ก เรี ย นร่ว มกั น อ่ า นเกร็ ด น่ า รู้ ซึ่ งเป็ น เรื่ อ งเกี่ ย วกั บ การออกแบบ
รองเท้าที่ใช้เล่นกีฬาให้เหมาะสมกับการใช้งานตามประเภทของกีฬา
นั้น ๆ โดยพื้นรองเท้าอาจมีรอยหยักเพื่อเพิ่มแรงเสียดทานให้ยึดเกาะ
พื้นได้ดีขึ้น
19. นักเรียนร่วมกันอ่านรู้อะไรในเรื่องนี้ ในหนังสือเรียน หน้า 42 ครูนา
อภิปรายเพื่อนาไปสู่ข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในเรื่องนี้ จากนั้นครู
กระตุ้นให้นักเรียนตอบคาถามในช่วงท้ายของเนื้อเรื่อง ดังนี้ “การทา
กิจกรรมหลายอย่างในชีวิตประจาวันของเราเกี่ยวข้องกับ แรงเสียด
ทาน ยกตั ว อย่างเช่น การเดิน การเล่ น กระดานลื่ น การยกสิ่ งของ
ลองคิ ด ดู สิ ว่ า กิ จ กรรมใดบ้ างที่ ต้ อ งใช้ แ รงเสี ย ดทานและกิ จ กรรม
ใดบ้างที่ไม่ต้องใช้ แรงเสียดทาน” นักเรียนตอบคาถามตามความคิด
ของตนเอง เช่น การเดินและการยกสิ่งของต้องอาศัย แรงเสียดทาน
แต่การเล่นกระดานลื่นไม่ต้องอาศัยแรงเสียดทาน นอกจากนี้ครูอาจ
ตั้งคาถามเพื่อเชื่อมโยงไปยั งบทต่อไป โดยอาจใช้คาถามว่า นอกจาก
แรงเสียดทานจะต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุแล้ว ยังทาให้วัตถุเกิดการ
สั่นและเกิดเสียงได้อีกด้วย เช่น เสียงจากไวโอลิ นเกิ ดจากแรงเสียด
ทานระหว่างคั นชักกับสายไวโอลินทาให้สายไวโอลินเกิดการสั่นและ
เกิดเสียง ลองคิดดูสิว่ารอบ ๆ ตัวเรา ยังมีอะไรอีกบ้างที่สามารถทาให้
เกิ ด เสี ย ง และเสี ย งต่ า ง ๆ มี ลั ก ษณะอย่ า งไร โดยนั ก เรี ย นจะหา
คาตอบได้จากการเรียนในบทต่อไป

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี⎯


89 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

ความรู้เพิ่มเติมสาหรับครู

เมื่อเตะลูกบอลไปบนพื้น ขณะที่ลูกบอลสัมผัสกับเท้าจะมีแรงที่เท้ากระทาต่อลูกบอล ทาให้ลูกบอลเปลี่ยนแปลงการ


เคลื่อนที่จากอยู่นิ่งเป็นเคลื่อนที่ แต่เมื่อลูกบอลหลุดจากเท้าออกไปแล้ว จะไม่มีแรงที่เท้ากระทาต่อลูกบอลอีก แต่ลูกบอลจะ
เคลื่อนที่ออกไปได้ด้วยความเร็ว ดังนั้นเมื่อเขียนแผนภาพแสดงแรงที่กระทาต่อลูกบอลที่กาลังเคลื่อนที่ไปบนพื้น จะมีแรงใน
แนวราบเพียงแรงเดียวที่กระทาต่อลูกบอล นั่นคือแรงเสียดทานในทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่ของลูกบอล
จึงทาให้ลูกบอลเคลื่อนที่ช้าลงจนหยุดนิ่งบนพื้น

ดังนั้นถ้าเตะลูกบอลไปบนพื้นที่ไม่มีแรงเสียดทานเลย ลูกบอลจะเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วเท่าเดิมไปเรื่อย ๆ เพราะ


ไม่มีแรงเสียดทานมากระทาต่อลูกบอล ลูกบอลจึงไม่เปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่

ทิศทางการเคลื่อนที่ของลูกบอล

แรงเสียดทาน

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 90

แนวคาตอบในแบบบันทึกกิจกรรม

1. สังเกตและอธิบายแรงเสียดทานที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ
2. เขียนแผนภาพแสดงแรงเสียดทานและแรงที่กระทาต่อวัตถุในแนวเดียวกัน

บันทึกผลตามผลการสังเกตของนักเรียน

แรงที่ใช้ดึงถุงทรายด้วยเครื่องชั่งสปริงและแรงเสียดทาน

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี⎯


91 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

แรงที่ใช้ดึงถุงทราย

แรงเสียดทาน

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 92

1. สังเกตและอธิบายแรงเสียดทานที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ
2. เขียนแผนภาพแสดงแรงเสียดทานและแรงที่กระทาต่อวัตถุในแนวเดียวกัน

ถุงทรายเคลื่อนที่ช้าลงจนหยุดนิ่ง

ทิศทางของถุงทรายที่กาลังเคลื่อนที่

แรงเสียดทาน

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี⎯


93 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

แรงลัพธ์ที่กระทาต่อถุงทรายมีค่าเท่ากับศูนย์ ทั้งสามครั้ง

มี เพราะ เมื่อออกแรงดึงถุงทรายแล้วถุงทรายยังคงอยู่นิ่ง แสดงว่ามีแรงเสียดทาน


กระทาในทิศทางตรงกันข้ามเพื่อต้านการเคลื่อนที่ของถุงทราย

แรงเสียดทานเกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของพื้นโต๊ะและถุงทราย มีขนาด
เท่ากับแรงที่ใช้ดึงถุงทรายด้วยเครื่องชั่งสปริงและมีทิศทางตรงกันข้ามกับ
แรงที่ใช้ดึง

เมื่อมีแรงมากระทาแล้วถุงทรายยังคงอยู่นิ่ง จะเกิดแรงเสียดทานระหว่าง
ผิวของถุงทรายกับพื้นโต๊ะในทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางของแรงที่ใช้
ดึงถุงทรายเพื่อต้านการเคลื่อนที่ของถุงทราย โดยแรงเสียดทานขณะที่
วัตถุยังไม่เคลื่อนที่มีได้หลายค่า

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 94

มีแรงเสียดทานกระทาต่อถุงทราย เพราะถุงทรายมีการเปลี่ยนแปลงการ
เคลื่อนที่ โดยเคลื่อนที่ช้าลงจนหยุดนิ่ง

แรงเสียดทานเกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของถุงทรายกับพื้นโต๊ะ มีทิศทาง
ตรงกันข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่ของถุงทราย

เมื่อถุงทรายเคลื่อนที่ไปบนพื้นโต๊ะ จะมีแรงเสียดทานเกิดขึ้นระหว่าง
ผิวสัมผัสของถุงทรายกับพื้นโต๊ะ ในทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางการ
เคลื่อนที่ของถุงทราย เพื่อต้านการเคลื่อนที่ของถุงทรายทาให้ถุงทราย
เคลื่อนที่ช้าลงจนหยุดนิ่ง

เมื่อออกแรงกระทาต่อวัตถุแล้ววัตถุยังไม่เคลื่อนที่ จะเกิดแรงเสียดทานต้านการ
เคลื่อนที่ของวัตถุ ค่าของแรงเสียดทานจะมีค่าเท่ากับแรงที่ใช้ดึง ดังนั้นในขณะที่
วัตถุยังไม่เคลื่อนที่ แรงเสียดทานจึงมีได้หลายค่า และเมื่อวัตถุกาลังเคลื่อนที่
แรงเสียดทานจะมีผลให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่ช้าลงจนหยุดนิ่ง

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี⎯


95 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

คาถามของนักเรียนที่ตั้งตามความอยากรู้ของตนเอง


✓ ✓
✓ ✓

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 96

แนวการประเมินการเรียนรู้
การประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนทาได้ ดังนี้
1. ประเมินความรู้เดิมจากการอภิปรายในชั้นเรียน
2. ประเมินการเรียนรู้จากคาตอบของนักเรียนระหว่างการจัดการเรียนรู้และจากแบบบันทึกกิจกรรม
3. ประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จากการทากิจกรรมของนักเรียน

การประเมินจากการทากิจกรรมที่ 2 แรงเสียดทานมีผลต่อวัตถุอย่างไร
ระดับคะแนน
3 คะแนน หมายถึง ดี 2 คะแนน หมายถึง พอใช้ 1 คะแนน หมายถึง ควรปรับปรุง

รหัส สิ่งที่ประเมิน ระดับคะแนน


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
S1 การสังเกต
S2 การวัด
S8 การลงความเห็นจากข้อมูล
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
S14 การสร้างแบบจาลอง
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
C4 การสื่อสาร
C5 ความร่วมมือ
รวมคะแนน

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี⎯


97 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

ตาราง แสดงการวิเคราะห์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามระดับความสามารถของนักเรียน
โดยอาจใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี้
ทักษะกระบวนการ ระดับความสามารถ
รายการประเมิน
ทางวิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
S1 การสังเกต บรรยายรา ย ล ะ เอี ย ด ส าม า ร ถ ใช้ ป ร ะ ส า ท สามารถใช้ประสาทสัมผัส สามารถใช้ป ระสาทสัมผัส
เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง สั ม ผั ส เก็ บ รายละเอี ย ด เก็ บ รายละเอี ยดของ เก็บรายละเอียดของข้อมูล
การเคลื่อนที่ของถุงทราย ของข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ การ ข้ อ มู ล เกี่ ย ว กั บ ก า ร เกี่ยวกับ การเคลื่ อนที่ ของ
เมื่อใช้เครื่องชั่งสปริงดึง เคลื่อนที่ของถุงทรายเมื่อ เคลื่อนที่ของถุงทรายเมื่อ ถุ ง ทรายเมื่ อ ใช้ เครื่ อ งชั่ ง
และเมื่อ ถูก ผลั ก ให้ ออก ใช้เครื่องชั่งสปริงดึงและ ใช้เครื่องชั่งสปริงดึง และ สปริงดึงและเมื่อถูกผลักให้
จากมือไปบนพื้น เมื่ อ ถู ก ผลั ก ให้ อ อกจาก เมื่อถูกผลักให้ออกจากมือ ออกจากมื อ ไปบนพื้ น ได้
มื อ ไป บ น พื้ น ได้ ด้ ว ย ไปบนพื้นได้จากการชี้แนะ เพียงบางส่วน แม้ว่าจะได้
ตนเอง โดยไม่ เ พิ่ ม เติ ม ของครู ห รื อ ผู้ อื่ น หรื อ มี รั บ ค าชี้ แ นะจากครู ห รื อ
ความคิดเห็น การเพิ่มเติมความคิดเห็น ผู้อื่น
S2 การวัด -ใช้ เ ครื่ อ งชั่ งสปริ ง วั ด สามารถใช้เครื่องชั่งสปริง สามารถใช้เครื่องชั่งสปริง สามารถใช้ เครื่ องชั่ งสปริ ง
ขนาดของแรงที่ ใช้ดึ งถุ ง วั ดขนาดของแรงที่ ใช้ ดึ ง วัดขนาดของแรงที่ ใช้ ดึ ง วัดขนาดของแรงได้ถูกต้อง
ทราย ถุ งทรายและระบุ ห น่ ว ย ถุ งทรายและระบุ ห น่ วย เพี ยงบ างส่ วน แต่ ระบุ
-ระบุหน่วยของแรง ของแรงได้ ถู ก ต้ อ งด้ ว ย ของแรงได้ ถู ก ต้ อ ง จาก หน่ วยของแรงไม่ ได้ แม้ ว่ า
ตนเอง การชี้ แ นะของครู ห รื อ จะได้ รั บ ค าชี้ แ นะจากครู
ผู้อื่น หรือผู้อื่น
S8 ก า ร ล ง ค ว า ม ลงความเห็นจากข้อมูลได้ สามารถลงความเห็ น สามารถลงความเห็ น สามารถลงความเห็ น จาก
เห็นจากข้อมูล ว่ามีแรงเสียดทานกระทา จากข้ อ มู ล ได้ ว่ า มี แ รง จากข้ อ มู ล ได้ ว่ า มี แ รง ข้อมูลได้ว่ามีแรงเสียดทาน
ต่ อ ถุ งทรายจากการวั ด เสี ยดทานกระทาต่อถุง เสี ยดทานกระทาต่อถุง กระทาต่อถุงทรายจากการ
ขนาดของแรงที่ ใช้ดึ ง ถุ ง ทรายจากการวัดขนาด ทรายจากการวัดขนาด วัดขนาดของแรงที่ใช้ ดึงถุง
ทรายและการสังเกตการ ของแรงที่ใช้ดึงถุงทราย ของแรงที่ใช้ดึงถุงทราย ทรายและการสั งเกตการ
เป ลี่ ย น แ ป ล ง ก า ร และการสั งเกต ก าร และการสั งเกต ก าร เปลี่ ยนแปลงการเคลื่ อนที่
เคลื่อนที่ของถุงทรายเมื่อ เป ลี่ ย น แ ป ล ง ก า ร เป ลี่ ย น แ ป ล ง ก า ร ของถุ ง ทรายเมื่ อ ผลั ก ถุ ง
ผลักถุงทรายออกไปจาก เคลื่ อ นที่ ข องถุ งทราย เคลื่ อ นที่ ข องถุ งทราย ทรายออกไปจากมือ แต่ไม่
มือ เมื่อผลักถุงทรายออกไป เมื่อผลักถุงทรายออกไป สามารถบอกเหตุ ผลได้
จากมื อ เนื่ อ งจากแรง จากมื อ เนื่ อ งจากแรง แม้ ว่ า จะได้ รั บ การชี้ แ นะ
เสี ยดทานจะมี ทิ ศ ทาง เสี ยดทานจะมี ทิ ศ ทาง จากครูหรือผู้อื่น
ตรงกั นข้ ามกั บ ทิ ศทาง ตรงกั นข้ ามกั บ ทิ ศทาง
ของการเคลื่อนที่ของถุง ของการเคลื่อนที่ของถุง
ท ร า ย เมื่ อ มี แ ร งม า ท ร า ย เมื่ อ มี แ ร งม า

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 98

ทักษะกระบวนการ ระดับความสามารถ
รายการประเมิน
ทางวิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
กระทาได้ต้วยตนเอง กระท าจากการชี้ แ นะ
ของครูหรือผู้อื่น
S13 ก า ร ตี ค ว า ม ตีความหมายข้อมูลจาก สามารถตี ค วามหมาย สามารถตี ความหมาย สามารถตีความหมายข้อมูล
หมายข้อมูลและลง การวั ดขนาดของแรงที่ ข้ อมู ล จากการวั ดขนาด ข้ อมู ล จากการวั ดขนาด จากการวัดขนาดของแรงที่
ข้อสรุป ใช้ ดึ ง ถุ ง ทรายแล้ ว ถุ ง ของแรงที่ ใช้ ดึ งถุ งทราย ของแรงที่ ใช้ ดึ งถุ งทราย ใช้ดึงถุงทรายแล้วถุงทราย
ทรายยังไม่เคลื่อนที่ โดย แ ล้ ว ถุ ง ท ร า ย ยั ง ไม่ แ ล้ ว ถุ ง ท ร า ย ยั ง ไม่ ยังไม่เคลื่อนที่ โดยเปลี่ ยน
เปลี่ยนค่าของแรงที่ใช้ดึง เคลื่ อนที่ โดยเปลี่ ยนค่ า เคลื่ อนที่ โดยเปลี่ ยนค่ า ค่าของแรงที่ใช้ดึงและจาก
และจากการสั งเกตการ ของแรงที่ใช้ ดึง และจาก ของแรงที่ ใช้ ดึ ง และจาก การสั ง เกตการเคลื่ อ นที่
เคลื่ อ นที่ ข องถุ ง ทราย การสั งเกตการเคลื่ อนที่ การสั งเกตการเคลื่ อนที่ ของถุ งท ราย จน แต่ ล ง
เมื่อถูกผลักไปบนพื้น จน ของถุ งท ราย และล ง ของถุ งท ราย และล ง ข้ อสรุ ป ได้ ไม่ ค รบ ถ้ วน
ลงข้อสรุปได้ว่าเมื่อออก ข้อสรุปได้ว่าเมื่อออกแรง ข้อสรุปได้ว่าเมื่อออกแรง แม้ว่าจะได้รับคาชี้แนะจาก
แรงกระท าต่ อวั ตถุ แล้ ว กระท าต่ อวั ตถุ แล้ ววั ตถุ กระทาต่อวัตถุแล้ววัตถุยัง ครูหรือผู้อื่น
วัตถุยังไม่เคลื่อนที่ จะมี ยั งไม่ เคลื่ อนที่ จะมี แรง ไม่เคลื่อนที่ จะมีแรงเสียด
แรงเสี ย ดทานต้ านการ เสี ย ด ท า น ต้ า น ก า ร ทานต้านการเคลื่อนที่ของ
เคลื่ อ นที่ ข องวั ต ถุ แ ละ เคลื่ อ นที่ ข องวั ต ถุ แ ละ วั ต ถุ และเมื่ อ วั ต ถุ ก าลั ง
เมื่ อวั ตถุ ก าลั งเคลื่ อนที่ เมื่อวัตถุกาลังเคลื่อนที่จะ เคลื่ อ นที่ จ ะมี แ รงเสี ย ด
จะมี แรงเสี ยดทานต้ าน มีแรงเสี ยดทานต้ านการ ทานต้านการเคลื่อนที่ ท า
การเคลื่ อนที่ ท าให้ วั ตถุ เค ลื่ อ น ที่ ท า ให้ วั ต ถุ ให้ วั ตถุ เคลื่ อนที่ ช้ าลงจน
เคลื่อนที่ช้าลงจนหยุดนิ่ง เคลื่อนที่ช้าลงจนหยุดนิ่ง หยุดนิ่ง ได้ จากการชี้แนะ
ได้ด้วยตนเอง ของครูหรือผู้อื่น
S14 การสร้างแบบ สร้ า งแบบจ าลองการ สามารถสร้างแบบจาลอง สามารถสร้างแบบจาลอง สามารถสร้ างแบบจ าลอง
จาลอง เขียนแผนภาพแสดงแรง การเขียนแผนภาพแสดง การเขียนแผนภาพแสดง การเขี ย นแผนภาพแสดง
ในแนวราบที่ กระท าต่ อ แรงในแนวราบที่ กระท า แรงในแนวราบที่ กระท า แรงในแนวราบที่กระทาต่อ
ถุ งท ราย เมื่ อ ดึ งด้ ว ย ต่ อ ถุ ง ทรายเมื่ อ ดึ งด้ ว ย ต่ อ ถุ ง ทรายเมื่ อ ดึ งด้ ว ย ถุ งทรายเมื่ อดึ งด้ วยเครื่ อง
เครื่ อ งชั่ ง สปริ ง แล้ ว ถุ ง เครื่ อ งชั่ ง สปริ ง แล้ ว ถุ ง เครื่ อ งชั่ ง สปริ ง แล้ ว ถุ ง ชั่งสปริงแล้ วถุงทรายยังไม่
ทรายยังไม่เคลื่อนที่ และ ทรายยังไม่เคลื่อนที่ และ ทรายยังไม่เคลื่อนที่ และ เคลื่ อ นที่ แ ละเมื่ อ ผลั ก ถุ ง
เมื่ อ ผลั กถุ งทรายไปบน เมื่ อ ผลั ก ถุ งทรายไปบน เมื่ อ ผลั ก ถุ งทรายไปบน ทรายไปบนพื้นโดยใช้ลูกศร
พื้ น โดยใช้ ลู ก ศรแสดง พื้ นโดยใช้ ลู ก ศรแสดง พื้ นโดยใช้ ลู ก ศรแสดง แสดงขนาดและทิศทางของ
ขนาดและทิ ศ ทางของ ขนาดและทิศทางของแรง ขนาดและทิศทางของแรง แรงได้ ถู กต้ องบางส่ วน
แรง ได้ถูกต้องด้วยตนเอง ได้ ถูกต้ องจากการชี้ แนะ แม้ ว่ า จะได้ รั บ การชี้ แ นะ
ของครูหรือผู้อื่น จากครูหรือผู้อื่น

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี⎯


99 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

ตาราง แสดงการวิเคราะห์ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ตามระดับความสามารถของนักเรียน


โดยอาจใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี้
ทักษะแห่ง ระดับความสามารถ
รายการประเมิน
ศตวรรษที่ 21 ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
C4 การสื่อสาร นาเสนอข้อมูลจาก สามารถนาเสนอข้อมูล สามารถนาเสนอข้อมูล สามารถนาเสนอข้อมูล
การสังเกตและ จากการสังเกตและ จากการสังเกตและ จากการสังเกตและ
อภิปรายเกี่ยวกับแรง อภิปรายเกี่ยวกับแรงเสียด อภิปรายเกี่ยวกับแรง อภิปรายเกี่ยวกับแรง
เสียดทานที่กระทาต่อ ทานที่กระทาต่อถุงทราย เสียดทานที่กระทาต่อถุง เสียดทานที่กระทาต่อถุง
ถุงทราย โดยการพูด โดยการพูดและเขียน ทราย โดยการพูดและ ทราย โดยการพูดและ
และเขียนแผนภาพ แผนภาพเพื่อให้ผู้อื่น เขียนแผนภาพเพื่อให้ เขียนแผนภาพเพื่อให้
เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ เข้าใจได้ด้วยตนเอง ผู้อื่นเข้าใจได้โดยอาศัย ผู้อื่นเข้าใจเพียงได้
การชี้แนะจากครูหรือ บางส่วน แม้ว่าจะได้
ผู้อื่น รับคาชี้แนะจากครูหรือ
ผู้อื่น
C5 ความร่วม ทางานร่วมกับผู้อื่นใน ทางานร่วมกับผู้อื่นในการ ทางานร่วมกับผู้อื่นใน ทางานร่วมกับผู้อื่นใน
มือ การสังเกตการ สังเกตการเคลื่อนที่ของถุง การ การสังเกตการ การสังเกตการเคลื่อนที่
เคลื่อนที่ของถุงทราย ทรายและวัดขนาดของ เคลื่อนที่ของถุงทราย ของถุงทรายและวัด
และวัดขนาดของแรง แรงด้วยเครื่องชั่งสปริง และวัดขนาดของแรง ขนาดของแรงด้วย
ด้วยเครื่องชั่งสปริง รวมทั้งยอมรับความ ด้วยเครื่องชั่งสปริง เครื่องชั่งสปริง รวมทั้ง
รวมทั้งยอมรับความ คิดเห็นของผู้อื่นตั้งแต่ รวมทั้งยอมรับความ ยอมรับความคิดเห็น
คิดเห็นของผู้อื่น เริ่มต้นจนสาเร็จ คิดเห็นของผู้อื่นบาง ของผู้อื่นในบางช่วงเวลา
ช่วงเวลาที่ทากิจกรรม ที่ทากิจกรรม แต่ไม่ค่อย
สนใจในความคิดเห็น
ของผู้อื่น

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 100

กิจกรรมท้ายบทที่ 1 แรงลัพธ์และแรงเสียดทาน (0.5 ชั่วโมง)


1. นักเรียนวาดรูป หรือเขียนสรุป สิ่ งที่ได้เรียนรู้จากบทนี้ ในแบบบันทึ ก
กิจกรรม หน้า 43
2. นักเรียนตรวจสอบการสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ของตนเองโดยเปรียบเทียบกับ
ผังมโนทัศน์ในหัวข้อ รู้อะไรในบทนี้ ในหนังสือเรียน หน้า 43
3. นักเรียนกลับไปตรวจคาตอบของตนเองในสารวจความรู้ก่อนเรียน ใน
แบบบันทึกกิจกรรม หน้า 24-26 อีกครั้ง หากคาตอบของนักเรียนไม่
ถูกต้องให้ ขีดเส้ นทับ ข้อความเหล่านั้น แล้ วแก้ไขให้ ถูกต้อง หรืออาจ
แก้ ไ ขค าตอบด้ ว ยปากกาที่ มี สี ต่ า งจากเดิ ม นอกจากนี้ ค รู อ าจน า
สถานการณ์ (หรือคาถาม) ในรูปนาบทในหนังสื อเรียน หน้า 26 มาร่วม
อภิปรายกับนักเรียนอีกครั้ง ดังนี้ “การเล่นชักเย่อมีแรงใดมาเกี่ยวข้อง
บ้าง” ครูและนักเรียนร่วมกันอภิป รายแนวทางการตอบคาถาม เช่น
การเล่นชักเย่อมีแรงที่ผู้เล่นแต่ละฝ่ายออกแรงดึงเพื่อให้เชือกเคลื่อนที่
ไปในเขตแดนของตน นอกจากนี้ยังมีแรงเสียดทานที่เกิดระหว่างมือของ
ผู้เล่นแต่ละคนกับ เชือกบริเวณที่มือสัมผัส รวมทั้งเกิดแรงเสียดทานที่
เท้าของผู้เล่นแต่ละคนกับพื้น ในกรณีที่ดึงเชือกแล้วเชือกยังอยู่นิ่ง นั่น
แสดงว่าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายออกแรงดึงเชือกด้วยแรงเท่า ๆ กัน โดยมีแรง
ลัพธ์เป็นศูนย์ เชือกจึงอยู่นิ่ง
นักเรียนอาจมีคาตอบที่แตกต่างจากนี้ ครูควรเน้นให้นักเรียนตอบ
คาถามพร้อมอธิบายเหตุผลประกอบ
4. นักเรียนทา แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1 ครูสุ่มนักเรียน 2-3 คน นาเสนอ
คาตอบหน้ าชั้ น เรียน ถ้าคาตอบยังไม่ถู กต้ อง ครูนาอภิ ป รายหรือ ให้
สถานการณ์เพิ่มเติมเพื่อแก้ไขแนวคิดคลาดเคลื่อนให้ถูกต้อง
5. นั ก เรีย นร่ว มกั น ท ากิ จ กรรม ร่ ว มคิ ด ร่ ว มท า เพื่ อ ออกแบบและท า
โมบายประดับบ้านที่สามารถห้อยกระถางต้นไม้ที่มีน้าหนักมากได้ โดยที่
เส้นเชือกไม่ขาด

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี⎯


101 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

สรุปผลการเรียนรู้ของตนเอง

รูปหรือข้อความสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากบทนี้ตามความเข้าใจของนักเรียน

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 102

แนวคาตอบในแบบฝึกหัดท้ายบท

มี แ รงเสี ย ดทานเกิ ด ระหว่ า งมื อ ของผู้ เ ล่ น แต่ ล ะคนกั บ เชื อ ก


และเกิดขึ้นบริเวณเท้าของผู้เล่นแต่ละคนกับพื้น

แรงเสียดทานที่เชือกกระทาต่อมือ

แรงเสียดทานที่พื้นกระทาต่อเท้า

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี⎯


103 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

30 นิวตัน
ไปทางด้านซ้ายมือ

ค 50 นิวตัน 40 นิวตัน ก
ง ข
30 นิวตัน 40 นิวตัน

สะพานขึงต้องใช้สายเคเบิลขนาดใหญ่
จานวนมากเพื่อช่วยรับน้าหนักของ
สะพาน โดยแรงลัพธ์ที่กระทาต่อสะพาน
มีค่าเท่ากับศูนย์

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 104

แรงที่ใช้เข็นรถยนต์
ให้เคลื่อนที่

แรงเสียดทาน แรงเสียดทาน
0 นิวตัน
รถยนต์ไม่เคลื่อนที่ แรงเสียดทานที่เกิดระหว่างล้อรถยนต์กับ
พื้น มีขนาดเท่ากับแรงที่ใช้ในการเข็นรถยนต์ให้เคลื่อนที่ แต่มี
ทิศทางตรงกันข้าม

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี⎯


105 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

บทที่ 2 เสียง
จุดประสงค์การเรียนรู้ประจาบท
เมื่อเรียนจบบทนี้ นักเรียนสามารถ
1. อธิบายการเคลื่อนที่ของเสียงจากแหล่งกาเนิดเสียง
จนถึงหูผู้ฟัง
2. อธิบายการเกิดเสียงสูง เสียงต่า
3. อธิบายการเกิดเสียงดัง เสียงค่อย
4. วัดระดับเสียงโดยใช้เครื่องมือวัดระดับเสียง
5. เสนอแนะแนวทางในการหลีกเลี่ยงและลดมลพิษ
ทางเสียง
เวลา 11 ชั่วโมง
แนวคิดสาคัญ
เสี ย งเป็ น พ ลั งงาน ที่ เกิ ด จาก ก ารสั่ น ขอ ง
แหล่งกาเนิดเสียง เสียงเคลื่อนที่จากแหล่งกาเนิดเสียง
โดยอาศัยตัวกลางจนถึงหูผู้ฟัง เสียงที่ได้ยินมีทั้ง เสียงสูง บทนี้มีอะไร
เสียงต่า เสียงดัง เสียงค่อย โดยเสียงสูง เสียงต่าขึ้นกับ เรื่องที่ 1 เสียงกับการได้ยิน
ความถี่ในการสั่ น ของแหล่ งก าเนิด เสี ยง ส่ ว นเสี ย งดั ง กิจกรรมที่ 1.1 เสียงเคลื่อนที่ได้อย่างไร
เสียงค่อยขึ้นกับพลังงานในการสั่นของแหล่งกาเนิดเสียง กิจกรรมที่ 1.2 เสียงสูง เสียงต่า เกิดได้อย่างไร
และระยะห่างจากแหล่งกาเนิดเสียงถึงหูผู้ฟัง ความดัง กิจกรรมที่ 1.3 เสียงดัง เสียงค่อย ขึ้นอยู่กับอะไร
ของเสียงวัดได้ด้วยเครื่องมือวัดระดับเสียง มีหน่วยเป็น กิจกรรมที่ 1.4 มลพิษทางเสียงเป็นอย่างไร
เดซิเบล เสียงดังมาก ๆ ที่เป็นอันตรายต่อการได้ยินและ
เสียงต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความราคาญ จัดเป็นมลพิษทาง
เสียง
สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
1. หนังสือเรียน ป.5 เล่ม 1 หน้า 47-73
2. แบบบันทึกกิจกรรม ป.5 เล่ม 1 หน้า 49-79

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 106

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
กิจกรรมที่
รหัส ทักษะ
1.1 1.2 1.3 1.4
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
S1 การสังเกต   
S2 การวัด 
S3 การใช้จานวน
S4 การจาแนกประเภท
S5 การหาความสัมพันธ์ระหว่าง
 สเปซกับสเปซ
 สเปซกับเวลา
S6 การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
S7 การพยากรณ์  
S8 การลงความเห็นจากข้อมูล    
S9 การตั้งสมมติฐาน  
S10 การกาหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ 
S11 การกาหนดและควบคุมตัวแปร  
S12 การทดลอง  
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป    
S14 การสร้างแบบจาลอง
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
C1 การสร้างสรรค์
C2 การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
C3 การแก้ปัญหา
C4 การสื่อสาร    
C5 ความร่วมมือ    
C6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  

หมายเหตุ : รหัสทักษะที่ปรากฏนี้ ใช้เฉพาะหนังสือคู่มือครูเล่มนี้

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


107 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

แนวคิดคลาดเคลื่อน
แนวคิดคลาดเคลื่อนที่อาจพบและแนวคิดที่ถูกต้องในบทที่ 2 เสียง มีดังต่อไปนี้

แนวคิดคลาดเคลื่อน แนวคิดที่ถูกต้อง
ความดังของเสียงและระดับสูงต่าของเสียงเป็น ความดั ง ของเสี ย งและระดั บ สู ง ต่ าของเสี ย งแตกต่ า งกั น
สิ่งเดียวกัน (Ozkan, 2013) (Ozkan, 2013)

การออกแรงตี วัต ถุ ด้ ว ยแรงที่ ม ากจะท าให้ ค วามถี่ ข อง การออกแรงตีวัตถุด้วยแรงที่มากขึ้น จะทาให้ได้ยินเสียงดัง


เสียงเปลี่ยนไป (Weiler, 1998) ขึ้น แต่ความถี่ของเสียงจะไม่เปลี่ยนแปลง (Ozkan, 2013)

ถ้าครูพบว่ามีแนวคิดคลาดเคลื่อนใดที่ยังไม่ได้แก้ไขจากการทากิจกรรมการเรียนรู้ ครูควรจัดการเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อแก้ไข
ต่อไปได้

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 108

บทนี้เริ่มต้นอย่างไร (1 ชั่วโมง)
1. ครูนาเข้าสู่บทเรียนโดยให้นักเรียนนั่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 4 คน
โดยแต่ล ะกลุ่ มกาหนดเสี ยงประจากลุ่ ม เช่น เสี ยงม้า เสี ยงแมว เสี ยง ในการทบทวนความรู้พื้นฐาน
รถพยาบาล เมื่อครูชี้ไปที่กลุ่มใด ให้นักเรียนกลุ่มนั้นส่งเสียงร้องพร้อม ๆ
คุณครูควรให้เวลานักเรียนคิดอย่าง
กัน จากนั้นครูนาอภิปรายโดยอาจใช้ คาถามเพื่อทบทวนความรู้พื้นฐาน
เหมาะสม รอคอยอย่ า งอดทน
และตรวจสอบความรู้เดิม ดังนี้
1.1 เสี ย งเกิ ด ขึ้ น ได้ อ ย่ างไร (เสี ย งเกิ ด จากการสั่ น ของแหล่ งก าเนิ ด นักเรียนต้องตอบคาถามเหล่านี้ได้
เสียง) ถู ก ต้ อ ง หากตอบไม่ ได้ ห รื อ ลื ม ครู
ถ้านักเรียนตอบไม่ถูกต้อง ครูควรทบทวน เพื่อให้นักเรียนตอบได้ ต้องให้ความรู้ ที่ถูกต้องทันที
ถูกต้อง

1.2 เสียงที่นักเรียนได้ยินจากกลุ่มต่าง ๆ เสียงใดเป็นเสียงสูง เสียงใด


เป็นเสียงต่า (นักเรียนตอบตามความเข้าใจ เช่น เสียงแมวเป็น
เสียงสูง)
1.3 เสียงสูง เสียงต่าต่างกันหรือไม่ อย่างไร (นักเรียนตอบตามความ
เข้าใจ เช่น ต่างกัน โดยเสียงสูงจะเป็นเสียงแหลม เสียงต่าจะเป็น
เสียงทุ้ม)
นักเรียนตอบคาถามตามความเข้าใจของตนเองโดยครูยังไม่ต้อง
เฉลยคาตอบที่ถูกต้อง
2. ครูให้นักเรียนอ่านชื่อบท และจุดประสงค์การเรียนรู้ประจาบท ใน
หนังสือเรียนหน้า 47 จากนั้นครูใช้คาถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของ
นักเรียน ดังนี้
2.1 บทนี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้เรื่องอะไร (เรื่องเสียง)
2.2 เมื่อจบบทเรียนนี้ นักเรียนจะสามารถทาอะไรได้บ้าง (อธิบายการ
เคลื่อนที่ของเสียงจากแหล่ งกาเนิดเสียงจนถึงหู ผู้ฟัง อธิบายการ
เกิ ด เสี ย งสู ง เสี ย งต่ า เสี ย งดั ง เสี ย งค่ อ ย วั ด ระดั บ เสี ย งโดยใช้
เครื่องมือวัดระดับเสียง เสนอแนะแนวทางในการหลีกเลี่ยงและลด
มลพิษทางเสียง)
3. ครูให้ นั กเรียนอ่ านชื่ อบท และแนวคิ ดส าคั ญ ในหนั งสื อเรี ยนหน้ า 48
จากนั้นครูซักถามว่า จากการอ่านแนวคิดสาคัญ นักเรียนคิดว่าจะได้เรียน

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


109 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

เกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง (ในเรื่องนี้จะได้เรียนเรื่องตัวกลางของเสียง เสียงสูง ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม


เสียงต่า เสียงดังเสียงค่อย การวัดระดับเสียง และมลพิษทางเสียง)
4. ครูชักชวนให้นักเรียนสังเกตรูป จากนั้นอ่านเนื้อเรื่องในหน้า 48 โดยครู ในการน าเข้ าสู่ บ ทเรี ย น ครู อ าจหาคลิ ป
ฝึกทักษะการอ่านที่เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียน แล้ว วีดิโอภาพยนตร์จาก YouTube หรือแหล่งอื่น ๆ
ตรวจสอบความเข้าใจในการอ่าน โดยใช้คาถามดังต่อไปนี้ ที่มีฉากการระเบิดในอวกาศมาเปิดให้นักเรียนดู
4.1 นักเรียนเคยชมภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับอวกาศหรือไม่ (นักเรียน แล้วร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว
ตอบตามประสบการณ์ของตนเอง) ตัวอย่างวีดิทัศน์:
4.2 นักเรียนคิดว่าถ้านักบินอวกาศอยู่ในเหตุการณ์การระเบิดของ https://www.youtube.com/watch?v=ctC
ดาวในอวกาศ จะได้ยินเสียงระเบิดหรือไม่ เพราะเหตุใด m9MnbolA
(นักเรียนตอบตามความคิดของตนเอง)
5. ครูชักชวนนักเรียนตอบคาถามเกี่ยวกับเสียงในสารวจความรู้ก่อนเรียน
6. นักเรียนทาสารวจความรู้ก่อนเรียน ในแบบบันทึกกิจกรรมหน้า 50-51
โดยนักเรียนอ่านคาถามแต่ละข้อ ครูตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน
จนแน่ใจว่านักเรียนสามารถทาได้ด้วยตนเอง จึงให้นักเรียนตอบคาถาม
โดยคาตอบของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน และคาตอบอาจถูกหรือผิดก็ได้
การเตรียมตัวล่วงหน้าสาหรับครู
7. ครูสังเกตการตอบคาถามของนักเรียนเพื่อตรวจสอบว่านักเรียนมีแนวคิด
เกี่ยวกับ เรื่องเสียงอย่างไร หรืออาจสุ่มให้ นักเรียน 2 – 3 คน นาเสนอ เพื่อจัดการเรียนรู้ในครัง้ ถัดไป
คาตอบของตนเอง โดยครูยังไม่เฉลยคาตอบที่ถูกต้อง แต่จะให้นักเรียน ในครั้งถัดไป นักเรียนจะได้เรียน
ย้อนกลับมาตรวจคาตอบอีกครั้งหลังเรียนจบบทนี้แล้ว ทั้งนี้ครูอาจบันทึก เรื่องที่ 1 เสียงกับการได้ยิน ครูควรเตรียม
แนวคิ ด คลาดเคลื่ อ นหรื อ แนวคิ ด ที่ น่ า สนใจของนั ก เรี ย น แล้ ว น ามา
ตัวอย่างที่หลากหลาย โดยอาจใช้ของจริง
ออกแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ไขแนวคิดคลาดเคลื่อนให้ถูกต้อง และ
หรือภาพประกอบเพื่อให้นักเรียนได้เห็น
ต่อยอดแนวคิดที่น่าสนใจของนักเรียน
ตั ว อย่ า งเกี่ ย วกั บ แหล่ ง ก าเนิ ด เสี ย ง ซึ่ ง
อาจเป็นแหล่งกาเนิดเสียงตามธรรมชาติ
หรือแหล่งกาเนิดเสียงที่มนุษย์สร้างขึ้น

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 110

แนวคาตอบในแบบบันทึกกิจกรรม
การสารวจความรู้ก่อนเรียน นักเรียนอาจตอบคาถามถูกหรือผิดก็ได้ขึ้นอยู่กับความรู้เดิมของนักเรียน
แต่เมื่อเรียนจบบทเรียนแล้ว ให้นักเรียนกลับมาตรวจสอบคาตอบอีกครั้งและแก้ไขให้ถูกต้อง ดังตัวอย่าง

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


111 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

ไม่เหมือนกัน เพราะการตีกลองในอวกาศ เราจะไม่สามารถได้ยินเสียง


กลอง เนื่องจากในอวกาศไม่มีตัวกลางของเสียง ทาให้เสียงไม่สามารถ
เคลื่อนที่มาถึงหูผู้ฟังได้ จึงทาให้ไม่ได้ยินเสียง ส่วนการตีกลองบนโลก
เราจะได้ยินเสียงกลองตามปกติ

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 112

เรื่องที่ 1 เสียงกับการได้ยิน
เรื่องนี้นั กเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การเคลื่ อนที่ ของ
เสี ย งจากแหล่ งก าเนิ ดเสี ย งไปยังหู ผู้ ฟั งโดยผ่ านตั ว กลาง
ของเสี ย ง การเกิ ด เสี ย งสู ง เสี ย งต่ าขึ้ น อยู่ กั บ ความถี่ ใ น
การสั่ น ของแหล่ งก าเนิ ดเสี ย ง การเกิ ด เสี ย งดั งเสี ย งค่ อ ย
ขึ้นอยู่กับพลังงานในการสั่นของแหล่งกาเนิดเสียง และการ
วัดระดับ เสี ยงโดยใช้เครื่องมือวัดระดับ เสี ยง รวมทั้ งการ
นาเสนอแนวทางเพื่อหลีกเลี่ยงและลดมลพิษทางเสียง

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. สั ง เกตและอธิ บ ายการเคลื่ อ นที่ ข องเสี ย งจาก
แหล่งกาเนิดเสียง
2. ทดลองและอธิบายการเกิดเสียงสูง เสียงต่า
3. ทดลองและอธิบายการเกิดเสียงดัง เสียงค่อย วัสดุ อุปกรณ์สาหรับทากิจกรรม
4. วัดระดับเสียงโดยใช้เครื่องมือวัดระดับเสียง แก้ ว พลาสติ ก เส้ น เอ็ น ลวดเสี ย บกระดาษ สายวั ด
5. รวบรวมข้อมูลและนาเสนอแนวทางในการหลีกเลี่ยง กรรไกร เข็มหมุด ภาชนะใส่น้าสี น้าสี ส้อมเสียงพร้อม
และลดมลพิษทางเสียง ไม้ เคาะ ไม้ บ รรทัด พลาสติ กแข็ง ขวดแก้ว ไม้ ส าหรับ
เคาะขวดแก้ ว เมล็ ด ถั่ ว เขี ย ว กล่ อ งไม้ ขี ด เป ล่ า
เวลา 9 ชั่วโมง ปากกาเคมีคละสี กระดาษโปสเตอร์ วิทยุ เครื่องมือวัด
ระดับเสียง

สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
1. หนังสือเรียน ป.5 เล่ม 1 หน้า 50-70
2. แบบบันทึกกิจกรรม ป.5 เล่ม 1 หน้า 52-76

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


113 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

แนวการจัดการเรียนรู้ (60 นาที)


ขั้นตรวจสอบความรู้ (15 นาที)

1. ครูนาเข้าสู่บทเรียนโดยให้นักเรียนทุกคนหลับตา จากนั้นครู ให้นักเรียน


ฟังเสียงต่อไปนี้ เช่น เสียงเคาะแก้ว เสียงนาฬิกาปลุก เสียงลูกโป่งแตก
เสียงกระดิ่ง เสียงหนังสือหล่น ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับ นั ก เรี ย นอาจตอบค าถามหรื อ
เสียงที่ได้ยินโดยใช้คาถาม ดังนี้ อภิป รายไม่ได้ตามแนวคาตอบ ครู
1.1 เสี ย งต่ า ง ๆ ที่ ได้ ยิ น นั้ น เกิ ด จากวั ต ถุ ใด และเกิ ด ขึ้ น ได้ อ ย่ า งไร ค วรให้ เวล านั ก เรี ย น คิ ด อ ย่ าง
(คาตอบขึ้นอยู่กับเสียงที่ได้ยิน เช่น เสียงกระดิ่ง เกิดจากการสั่นของ เหมาะสม รอคอยอย่างอดทน และ
กระดิ่ง) รับฟังแนวความคิดของนักเรียน
1.2 เสี ยงเคลื่ อ นที่ ม าถึ งหู ของนั ก เรีย นได้ อ ย่างไร (นั ก เรีย นตอบตาม
ความเข้าใจของตนเอง เช่น กระดิ่งเกิดการสั่น เสียงกระดิ่งเคลื่อนที่
ผ่านอากาศมาถึงหูนักเรียน นักเรียนจึงได้ยินเสียง)
1.3 เสี ยงแต่ละเสียงมีลักษณะอย่างไร (นักเรียนตอบตามความเข้าใจ
ของตนเอง เช่น เสียงสูง เสียงต่า เสียงดัง เสียงค่อย)
นั ก เรี ย นตอบค าถามตามความเข้ า ใจของตนเอง โดยครู ยั งไม่ เฉลย
คาตอบที่ถูกต้อง แต่ชักชวนให้นักเรียนอ่านเนื้อเรื่องต่อไป

ขั้นฝึกทักษะจากการอ่าน (30 นาที)

2. ครูให้นักเรียนอ่านชื่อเรื่อง และคาถามในคิดก่อนอ่าน ในหนังสือเรียน


หน้า 50 แล้วร่วมกันอภิปรายในกลุ่มเพื่อหาแนวคาตอบ ครูบันทึกคาตอบ
ของนั ก เรี ย นบนกระดานเพื่ อ ใช้ เ ปรี ย บเที ย บค าตอบภายหลั ง
การอ่านเรื่อง
3. นักเรียนอ่านคาในคาสาคัญ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ถ้านักเรียน
ยังอ่านไม่ได้ ครูควรสอนการอ่านให้ถูกต้อง
4. นั ก เรี ย นอ่ า นเนื้ อ เรื่ อ งที ล ะย่ อ หน้ า ตามวิ ธี ก ารอ่ า นที่ เหมาะสมกั บ
ความสามารถของนักเรียน จากนั้นร่วมกันอภิปรายใจความสาคัญตาม
แนวคาถามดังนี้
4.1 เมื่อเข้าไปในตลาด นักเรียนจะได้ยินเสียงอะไรบ้าง (เสียงพูด
คุย เสี ยงพ่อค้า แม่ค้า ตะโกนเรียกลูกค้าตามแผงขายของ
ต่างๆ เสียงล้อรถเข็นที่ลากไปบนพื้น)

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 114

4.2 เสียงสูง เสียงต่าเกิดจากอะไร (การสั่นของแหล่งกาเนิดเสียง ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม


ที่มคี วามถี่แตกต่างกัน)
4.3 ทาไมเราจึงได้ยินเสียงพ่อค้า แม่ค้าที่อยู่ไกล ดังกว่าเสียงของคนที่
ครูอภิปรายเพิ่มเติมเกี่ยวกับความถี่ในการ
พูดคุยอยู่ใกล้ ๆ (เพราะพ่อค้าแม่ค้าตะโกน)
สั่นของวัตถุ และหน่วยของความถี่ ดังนี้
4.4 ความถี่คืออะไร (จานวนรอบของการสั่นในหนึ่งวินาที)
ครู อ าจใช้ ค าถามเพิ่ ม เติ ม เพื่ อ ตรวจสอบความเข้ า ใจของ ครู น าดิ น น้ ามั น ติ ด ที่ ป ลายเชื อ กเส้ น
นักเรียนเรื่อง รอบต่อวินาที เช่น หนึ่ ง แล้ ว ถื อ อี ก ปลายข้ า งหนึ่ ง ไว้ โ ดยให้ ดิ น
น้ ามั น ห้ อ ยในแนวดิ่ ง จากนั้ น ดึ งดิ น น้ ามั น ให้
- จานวนรอบของการสั่ นในหนึ่งวินาทีของวัตถุ จะสั งเกตได้ เคลื่อนออกจากแนวดิ่งเล็กน้อย แล้วปล่อยมือ
จากอะไร ให้ ดิ น น้ ามั น เคลื่ อ นที่ จะท าให้ เ ชื อ กแกว่ ง
- ถ้าวัตถุ ก. สั่นได้ 6 รอบ/วินาที และวัตถุ ข. สั่นได้ 10 รอบ/ กลับไปมา ครูแนะนาการนับจานวนรอบ โดย
วินาที นักเรียนคิดว่าวัตถุใดสั่นด้วยความถี่มากกว่ากัน ถ้าเริ่มต้น นับ เมื่ อดินน้ ามั นอยู่ ที่ป ลายสุ ดด้าน
ขั้นสรุปจากการอ่าน (15 นาที) หนึ่งแล้วเชือกแกว่ งไป เมื่อเชือกแกว่งกลับมา
อยู่ที่ปลายสุดด้านเดิมอีกครั้งเรียกว่า เคลื่อนที่
5. ครู และนั ก เรีย นร่ว มกั น อภิ ป รายจนได้ ข้อ สรุป จากการอ่ านว่ า เสี ย ง ครบ 1 รอบ และจานวนรอบที่วัตถุแกว่งได้ใน
รอบตัวเรามีมากมาย ทั้งเสียงสูง เสียงต่า เสียงดัง เสียงค่อย หนึ่ ง หน่ ว ยเวลา เรี ย กว่ า ความถี่ ความถี่ มี
6. ครูให้นักเรียนตอบคาถามในรู้หรือยัง ในแบบบันทึกกิจกรรม หน้า 52 หน่วยเป็นรอบต่อวินาทีหรือเฮิรตซ์ (Hz)
7. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อเปรียบเทียบคาตอบของนักเรียนใน
รู้หรือยังกับคาตอบที่เคยตอบในคิดก่อนอ่าน
การเตรียมตัวล่วงหน้าสาหรับครู
8. ครู ชั ก ชวนนั ก เรี ยนลองตอบคาถามท้ ายเรื่อ งที่ อ่ าน คือ เสี ย งต่ าง ๆ
เคลื่ อ นที่ ม าถึ ง หู ผู้ ฟั ง ได้ อ ย่ า งไร เพราะเหตุ ใดเราจึ ง ได้ ยิ น เสี ย งสู ง เพื่อจัดการเรียนรู้ในครัง้ ถัดไป
เสียงต่า เสียงดัง และเสียงค่อยแตกต่างกัน
ใน ครั้ ง ถั ด ไป นั กเรี ย น จะท า
ครูบันทึกคาตอบของนักเรียนโดยยังไม่เฉลยคาตอบแต่ชักชวนให้
กิจกรรมที่ 1.1 เสี ยงเคลื่ อนที่ ได้อ ย่างไร
นักเรียนไปหาคาตอบร่วมกันในกิจกรรมที่จะทาในครั้งถัดไป โดยใช้การสังเกตการเคลื่อนที่ของเสียงใน
ตัวกลางต่างๆ ทั้งของแข็ง ของเหลว และ
อาก าศ โด ย ค รู ต้ อ งเต รี ย ม อุ ป ก รณ์
ล่วงหน้า คือ แก้วพลาสติก เส้นเอ็น ลวด
เสียบกระดาษ สายวัด กรรไกร เข็มหมุด
ภาชนะบรรจุน้า น้าสี ส้อมเสียงพร้อมไม้
เคาะ

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


115 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

แนวคาตอบในแบบบันทึกกิจกรรม

เสียงสูง เสียงต่า เสียงดัง เสียงค่อย

จานวนรอบของการสั่นในหนึ่งวินาที

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 116

กิจกรรมที่ 1.1 เสียงเคลื่อนทีไ่ ด้อย่างไร


กิจกรรมนี้นักเรียนจะได้ สังเกตการได้ยินเสียงผ่าน
ตัว กลางต่ าง ๆ และอธิบ ายการเคลื่ อ นที่ ของเสี ยงจาก
แหล่งกาเนิดเสียงถึงหูผู้ฟัง
เวลา 2 ชั่วโมง
จุดประสงค์การเรียนรู้
สังเกต สืบค้นข้อมูล และอธิบายการเคลื่อนที่ของเสียง
จากแหล่งกาเนิดเสียงไปยังหูผู้ฟัง
วัสดุ อุปกรณ์สาหรับทากิจกรรม
สิ่งที่ครูต้องเตรียม/กลุ่ม
1. แก้วพลาสติก 2 ใบ
2. เส้นเอ็น 1 เส้น
3. ลวดเสียบกระดาษ 2 อัน
4. กรรไกร 1 เล่ม
5. เข็มหมุด 1 ตัว สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
6. ภาชนะใส่น้า 1 ใบ 1. หนังสือเรียน ป.5 เล่ม 1 หน้า 51-56
7. น้าสี 1 ถัง 2. แบบบันทึกกิจกรรม ป.5 เล่ม 1 หน้า 53-59
8. ส้อมเสียงพร้อมไม้เคาะ 1 ชุด
3. วีดิทัศน์ตัวอย่างการปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สาหรับครู
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เรื่องเสียงเคลื่อนที่ไปได้อย่างไร http://ipst.me/9467
S1 การสังเกต
S7 การพยากรณ์
S8 การลงความเห็นจากข้อมูล
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
C4 การสื่อสาร
C5 ความร่วมมือ
C6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


117 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูนาเข้าสู่กิจกรรมโดยให้นักเรียนคนหนึ่งเคาะราวเหล็กหรือราวไม้กั้น
ระเบียงเบา ๆ นักเรียนคนอื่น ๆ ใช้หูแนบฟังเสียงราวเหล็กหรือราวไม้นั้น
หรือครูอาจให้นักเรียนเอาหูแนบกระดานหรือพื้นโต๊ะ จากนั้น ตั้งคาถาม นักเรียนอาจตอบคาถามหรือ
ให้ นั กเรียนคิด ว่าเสี ยงเคาะมาถึงหู ได้อ ย่างไร นัก เรียนตอบตามความ อภิ ป รายไม่ ได้ ต ามแนวค าตอบ
เข้าใจของตนเอง ครูบันทึกคาตอบของนักเรียนไว้ เพื่อหาคาตอบจาก ครูควรให้ เวลานักเรียนคิด อย่าง
การทากิจกรรมต่อไปโดยครูยังไม่เฉลยคาตอบที่ถูกต้อง แต่ชักชวนให้ เหมาะสม รอคอยอย่ า งอดทน
นักเรียนทากิจกรรมต่อไป และรั บ ฟั ง แนวความคิ ด ของ
2. นักเรียนอ่านชื่อกิจกรรม และทาเป็นคิดเป็น ในหนังสือเรียนหน้า 51 นักเรียน
จากนั้นร่วมกันอภิปรายเพื่อตรวจสอบความเข้าใจจุดประสงค์ในการทา
กิจกรรม โดยครูใช้คาถามดังนี้
2.1 กิจกรรมนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องอะไร
(การเคลื่อนที่ของเสียงจากแหล่งกาเนิดเสียงมาถึงหูผู้ฟัง)
2.2 นักเรียนจะได้เรียนรู้เรื่องนี้ด้วยวิธีใด (การสังเกตและสืบค้นข้อมูล)
2.3 เมื่อเรียนรู้แล้วนักเรียนจะทาอะไรได้ (อธิบายการเคลื่อนที่ของเสียง
จากแหล่งกาเนิดเสียงไปยังหูผู้ฟัง)
3. นักเรียนบันทึกจุดประสงค์ลงในแบบบันทึก กิจกรรม หน้า 53 และ อ่าน
สิ่งที่ต้องใช้ในการทากิจกรรม
4. นักเรียนอ่านท าอย่า งไร ตอนที่ 1 โดยครูให้ นั กเรียนฝึ กอ่านตามความ
เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียน จากนั้นร่วมกันอภิปรายเพื่อสรุป
ขั้นตอนการทากิจกรรมประกอบการสาธิตวิธีทา โดยอาจใช้คาถามต่อไปนี้
4.1 ขั้นแรกของการทากิจกรรม นักเรียนต้องทาอะไร (เคาะส้ อมเสี ยง
แล้วนาปลายขาส้อมเสียงมาไว้ใกล้หู สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น บันทึกผล)
4.2 หลังจากเคาะส้อมเสียงครั้งที่สอง นักเรียนต้องทาอะไร (นาปลายขา
ส้อมเสียงที่เคาะแล้วข้างหนึ่งไปแตะที่ผิวน้าสีที่อยู่ในภาชนะ สังเกต
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น บันทึกผล)
4.3 หลังจากเคาะส้อมเสียงครั้งที่สาม นักเรียนต้องทาอะไร (นาปลายขา
ส้อมเสียงที่เคาะแล้วข้างหนึ่งไปแตะที่ผิวน้าสีที่อยู่ในภาชนะ แล้วใช้หู
แนบกับภาชนะทันที สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น บันทึกผล)
4.4 นัก เรียนต้อ งร่ว มกั นอภิ ป รายและสื บ ค้ น ข้อมู ล เกี่ยวกั บ เรื่องอะไร
(การเคลื่อนที่ของเสียง)

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 118

เมื่ออภิปรายวิธีทากิจกรรมเสร็จแล้ว ควรควรแนะนาให้นักเรียน
แบ่งหน้าที่กันในการทากิจกรรม โดยอาจจะให้นักเรียนสลับกันทา
แต่ละหน้าที่จนครบขั้นตอนการทากิจกรรม เพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาส
สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น

5. เมื่อนักเรียนเข้าใจวิธีการทากิจกรรมในทาอย่างไร แล้วครูแจกวัสดุ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ


อุปกรณ์ และให้นักเรียนเริ่มปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอน ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ทีน่ ักเรียนจะได้
6. หลังจากทากิจกรรมแล้ว ครูนาอภิปรายผลการทากิจกรรม ตอนที่ 1 ฝึกจากการทากิจกรรม
โดยใช้คาถามดังนี้
ตอนที่ 1
6.1 เกิดอะไรขึ้นเมื่อเคาะส้อมเสียงแล้วนาปลายขาส้อมเสียงไว้ใกล้หู
S1 การสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเคาะส้อมเสียงแล้ว
(ได้ยินเสียง) นาไปไว้ใกล้หู แตะทีผ่ ิวน้าสี และเมื่อเอาหูแนบกับ
6.2 เกิดอะไรขึ้นเมื่อเคาะส้อมเสี ยง แล้วนาปลายขาส้อมเสียงข้าง ด้านข้างภาชนะ
หนึ่งแตะที่ผิวน้า (ผิวน้าเกิดการสั่น เป็นวงรอบขาส้อมเสียง แล้ว S8 การร่วมกันอภิปรายข้อมูลเกี่ยวกับการ
แผ่ขยายวงออกไป) เคลื่อนที่ของเสียง
6.3 เกิดอะไรขึ้นเมื่อเคาะส้อมเสียง แล้วนาปลายขาส้อมเสียงข้างหนึ่ง C4 การสื่อสารด้วยการนาเสนอผลการทากิจกรรม
C5 ความร่วมมือในการทากิจกรรม
แตะที่ ผิ ว น้ า จากนั้ น ใช้ หู แ นบกั บ ภาชนะที่ ใส่ น้ าทั น ที (ได้ ยิ น C6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เสียง) โดยการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของเสียง
6.4 ถ้าได้ยินเสียงเมื่อใช้หูแนบกับภาชนะที่ใส่น้า เสียงจากส้อมเสียง
เคลื่อนที่มาถึงหู ได้อย่างไร (เมื่อนาขาส้อมเสียงมาแตะที่ผิวน้า
เสี ยงจะเคลื่อนที่จากส้อมเสียงผ่านน้าและผนังภาชนะมาถึงหู
ผู้ฟัง สังเกตได้จากน้ารอบขาส้อมเสียงสั่นและสั่นอย่างต่อเนื่อง
จนถึงผนังภาชนะ)
7. นักเรียนนาเสนอข้อมูลจากการสืบค้นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของเสียงซึ่ง
ควรได้ข้อมูลดังนี้ สิ่งที่เสียงเคลื่อนที่ผ่านได้เรียกว่า ตัวกลางของเสียง
และเมื่ อ เสี ย งเคลื่ อ นที่ ผ่ า นตั ว กลาง เสี ย งจะถ่ า ยโอนพลั งงานให้
ตัวกลางนั้น และทาให้ตัวกลางสั่นต่อกันไปเรื่อย ๆ จนถึงหูผู้ฟัง
8. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและลงข้อสรุปว่ า เมื่อเคาะส้อมเสียง
ทาให้ส้อมเสียงเกิดการสั่น เมื่อนาขาส้อมเสียงแตะที่ผิวของน้า ทาให้
น้าเกิดการสั่นต่อเนื่องไปยังภาชนะ และเมื่อเราแนบหูกับภาชนะ เรา
จะได้ยินเสียงที่ส่งผ่ านตัวกลางมายังหู ของเรา ตัวกลางที่เสี ยงใช้ใน
การเคลื่อนที่ คือ น้าและภาชนะใส่น้า

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


119 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

9. นั ก เรีย นอ่ านท าอย่ า งไร ตอนที่ 2 โดยครู ใช้ วิ ธี ฝึ ก อ่ านตามความ


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ
เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียน จากนั้นร่วมกันอภิปรายเพื่อ
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ทีน่ ักเรียนจะได้
สรุปขั้นตอนการทากิจกรรมประกอบการสาธิตวิธีทาโทรศัพท์ โดยครู
ฝึกจากการทากิจกรรม
ใช้คาถามต่อไปนี้
9.1 วิ ธี ก ารประกอบโทรศั พ ท์ จ ากแก้ ว พลาสติ ก ท าได้ อ ย่ า งไร ตอนที่ 2
(1. เจาะรู กึ่งกลางก้นแก้วพลาสติกแต่ละใบ 2. ร้อยปลายเส้ น S1 การสังเกตการสั่นของแก้วพลาสติกและเส้นเอ็น และ
เอ็นที่ยาว 4 เมตร ผ่านรูที่เจาะเข้าไปในแก้วทั้งสองใบ แล้วผูก สังเกตการได้ยินเสียงเมื่อพูดผ่านโทรศัพท์ที่เส้นเอ็น
ปลายแต่ละด้านกับลวดเสียบกระดาษ) ตึง ตลอดจนสังเกตการได้ยินเสียงเมื่อพูดผ่าน
9.2 ให้นักเรียน 2 คน ยืนห่างกัน 4 เมตร และให้นักเรียนคนหนึ่งพูด โทรศัพท์ ขณะจับเส้นเอ็นให้แน่นและเมื่อตัดเส้นเอ็น
ด้วยเสียงค่อย ๆ ซึ่งทาให้ผู้ฟังไม่ได้ยินเสียง จากนั้นให้พูดผ่าน ให้ขาด
โทรศั พ ท์ ที่ ป ระดิ ษ ฐ์ ขึ้ น ด้ ว ยเสี ย งที่ ค่ อ ยเหมื อ นเดิ ม แต่ ทั้ ง นี้ S7 การพยากรณ์เกี่ยวกับการเปลีย่ นแปลงของเส้นเอ็น
นักเรียนทั้งสองคนจะต้องดึงเส้นเอ็นที่เชื่อมต่อด้วยแก้วพลาสติก กับแก้วพลาสติก และการได้ยินเสียงเมื่อทากิจกรรม
ทั้งสองด้านให้ตึงด้วย จากนั้นนักเรียนต้องสังเกตอะไร (สังเกตว่า วิธีต่าง ๆ
ผู้ฟังจะได้ยินเสียงหรือไม่) S8 การร่วมกันอภิปรายข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของ
9.3 นักเรียนต้องพยากรณ์ เรื่องอะไร (เส้ นเอ็นกับ แก้วพลาสติกจะ เสียง
เปลี่ยนแปลงอย่างไร และเราจะได้ยินเสียงหรือไม่ เมื่อ พูดด้วย C4 การสื่อสารด้วยการนาเสนอผลการทากิจกรรม
เสี ยงค่อย ๆ ผ่ านโทรศัพ ท์ที่เส้นเอ็นขึงตึง พร้อมกับ 1. ใช้มือ C5 ความร่วมมือในการทากิจกรรม
แตะเส้นเอ็นเบา ๆ 2. ใช้มือจับเส้นเอ็นให้แน่น 3. ตัดเส้นเอ็นให้ C6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยการ
ขาด) สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนทีข่ องเสียง
9.4 นัก เรียนร่ว มกัน อภิ ป รายและสื บ ค้ น ข้อ มูล เกี่ย วกับ เรื่อ งอะไร
(การเคลื่อนที่ของเสียง)
10. หลังจากทากิจกรรมตอนที่ 2 แล้ว ครูนาอภิปรายผลการทากิจกรรม ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
โดยใช้คาถามดังนี้
10.1 เมื่ อ พู ด ผ่ า นโทรศั พ ท์ ที่ เส้ น เอ็ น ตึ ง ได้ ยิ น เสี ย งผู้ พู ด หรื อ ไม่ ครู อ ธิ บ ายเพิ่ ม เติ ม ว่ า การที่ นั ก เรี ย นจะ
(ได้ยินเสียง) พยากรณ์ ห รื อ คาดการณ์ สิ่ ง ที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น กั บ
10.2 เมื่ อ พู ด ผ่ านโทรศั พ ท์ ที่ เส้ น เอ็ น ตึ ง แล้ ว ใช้ มื อ แตะที่ เส้ น เอ็ น เส้ น เอ็ น และแก้ ว พลาสติ ก ได้ นั้ น นั ก เรี ย น
เบาๆ สังเกตพบอะไรบ้าง (รู้สึกได้ว่าเส้นเอ็นสั่น) จะต้องใช้ความรู้พื้นฐานที่ได้เรียนมาแล้วเรื่อง
10.3 เสี ย งจากผู้ พู ด มาถึ ง หู ผู้ ฟั งได้ อ ย่ า งไร (เสี ย งจากผู้ พู ด ท าให้ การเกิ ด เสี ย ง ซึ่ ง เป็ น ความรู้ พื้ น ฐานจากชั้ น
อากาศภายในแก้วพลาสติกสั่นและเคลื่อนที่ไปยังแก้วพลาสติก ประถมศึกษาปีที่ 1 นั่นคือ เสียงเกิดจากการสั่น
ส่งผ่านมาถึงเส้นเอ็น และส่งต่อมาจนถึงแก้วพลาสติกด้านผู้ฟัง ของแหล่งกาเนิดเสียง รวมไปถึงความรู้พื้นฐาน
จากนั้นเคลื่อนที่ผ่านไปยังอากาศภายในแก้ว จนถึงหูผู้ฟัง ทา ที่ได้เรียนกิจกรรม ตอนที่ 1
ให้ผู้ฟังได้ยินเสียง)

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 120

10.4 เมื่อพูดผ่านโทรศัพท์ที่เส้นเอ็นตึง แล้วใช้มือจับเส้นเอ็นให้แน่น


เกิดอะไรขึ้น เพราะอะไร (ผู้ฟังไม่ได้ยินเสียงพูด เพราะเมื่อใช้
มื อ จั บ เส้ น เอ็ น ให้ แ น่ น จะท าให้ เส้ น เอ็ น ไม่ สั่ น เสี ย งจะไม่
สามารถเคลื่อนที่มายังผู้ฟังได้)
10.5 เมื่ อ พู ด ผ่ า นโทรศั พ ท์ ที่ เ ส้ น เอ็ น ตึ ง แล้ ว ตั ด เส้ น เอ็ น ทั น ที
เกิดอะไรขึ้น เพราะอะไร (ผู้ฟังไม่ได้ยินเสียงพูด เพราะเมื่อตัด
เส้นเอ็น จะไม่มีเส้นเอ็นที่เป็นตัวกลางให้เสียงผ่านมายังหูผู้ฟัง
ได้)
10.6 เส้น เอ็น ที่ ดึงจนตึงระหว่างผู้พู ดกับ ผู้ ฟังทาหน้าที่อะไร (เป็ น
ตัวกลางของเสียง)
10.7 เสี ยงต้ องอาศั ย ตัว กลางในการเคลื่ อ นที่ ห รือ ไม่ รู้ได้ อ ย่างไร
(เสี ย งต้ อ งอาศั ย ตั ว กลางในการเคลื่ อ นที่ รู้ ได้ จ ากเมื่ อ ไม่ มี
ตัวกลางของเสียง เราจะไม่สามารถได้ยินเสียง)
11. ครูและนักเรียนร่ว มกัน อภิป รายและลงข้อสรุป ว่า เสี ยงพู ดทาให้
อากาศเกิดการสั่น และส่งต่อการสั่นไปยังแก้วพลาสติกด้านผู้พูด ไป
ยังเส้นเอ็น และไปยังแก้วพลาสติกด้านผู้ฟัง จนถึงหูผู้ฟัง จึงได้ยิน
เสียง ตัวกลางที่เสียงใช้ในการเคลื่อนที่ คือ แก้วพลาสติก เส้นเอ็น
และอากาศ เมื่อจับเส้นเอ็นให้แน่น ทาให้ตัวกลางของเสียงไม่เกิด
การสั่น จึงไม่ได้ยินเสียง และเมื่อ ตัดเส้นเอ็น ทาให้ ไม่มีตัวกลาง
ของเสียง ก็จะไม่ได้ยินเสียงเช่นกัน
12. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและลงข้อสรุป จากกิจกรรมทั้งสอง
ตอนได้ ว่า เสี ยงจะเคลื่ อ นที่ ไปถึ งหู ผู้ ฟั งได้ ต้ อ งอาศั ยการสั่ น ของ
ตัวกลางของเสียง ซึ่งมีสถานะเป็นได้ทั้งของแข็ง ของเหลว และแก๊ส
(S13)
13. นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อตอบคาถามในฉันรู้อะไร โดยครูอาจใช้
ค าถามเพิ่ ม เติ ม ในการอภิ ป รายเพื่ อ ให้ ได้ แ นวค าตอบที่ ถู ก ต้ อ ง
จากนั้นนักเรียนอ่าน สิ่งที่ได้เรียนรู้ และเปรียบเทียบกับข้อสรุปของ
ตนเอง
14. ครูกระตุ้นให้นักเรียนฝึกตั้งคาถามเกี่ยวกับเรื่องที่สงสัยหรืออยากรู้
เพิ่ ม เติ ม ใน อยากรู้ อี ก ว่ า จากนั้ น ครู อ าจสุ่ ม นั ก เรี ย น 2 -3 คน
นาเสนอค าถามของตนเองหน้ าชั้น เรีย น และให้ นั กเรีย นร่ว มกั น
อภิปรายเกี่ยวกับคาถามที่นาเสนอ

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


121 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

15. ครู น าอภิ ป รายเพื่ อ ให้ นั ก เรี ย นทบทวนว่ า ได้ ฝึ ก ทั ก ษะกระบวนการทาง


วิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 อะไรบ้างและในขั้นตอนใดบ้าง
16. นักเรียนร่วมกันอ่านเกร็ดน่ารู้ เรื่องครอบแก้วสุญญากาศ ซึ่งเป็นอุป กรณ์ ที่
ช่ว ยในการศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ การเคลื่ อ นที่ ข องเสี ย งที่ ต้ อ งอาศั ย ตั ว กลาง โดย
นักเรียนสามารถสแกน QR code เพื่อชมวีดิทัศน์เรื่องครอบแก้วสุญญากาศได้
17. นั ก เรี ย นร่ ว มกั น อ่ า นเกร็ ด น่ า รู้ เรื่ อ งส่ ว นประกอบของหู เพื่ อ ศึ ก ษา
ส่วนประกอบของหูที่ช่วยให้เราได้ยินเสียงต่าง ๆ จากแหล่งกาเนิดเสียง โดย
นักเรียนสามารถสแกน QR code เพื่อชมวีดิทัศน์เรื่องส่วนประกอบของหูได้

การเตรียมตัวล่วงหน้าสาหรับครู
เพื่อจัดการเรียนรู้ในครัง้ ถัดไป
ใน ค รั้ ง ถั ด ไป นั ก เรี ย น จ ะได้ ท า
กิ จ กรรมที่ 1.2 เสี ย งสู ง เสี ย งต่ าเกิ ด ได้
อย่างไร ผ่านการทดลองเกี่ยวกับความถี่
ในการสั่นของแหล่งกาเนิดเสียงที่ต่างกัน
โด ย สั ง เก ต เสี ย ง สู ง เสี ย ง ต่ า จ า ก
แหล่งกาเนิดเสียงในการกดไม้บรรทัดและ
ปล่ อ ยให้ เกิ ด เสี ย งที่ ต่ างกั น โดยครู อ าจ
ลองซ้ อ มท าดู ก่ อ นที่ จ ะให้ นั ก เรี ย นท า
กิ จ กรรมเพื่ อ ทดสอบดู ว่ า ไม้ บ รรทั ด
ที่ น ามาทดลองนั้ น ไม่ อ่ อ นห รื อ แข็ ง
จนเกินไป

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 122

แนวคาตอบในแบบบันทึกกิจกรรม

สังเกต สืบค้นข้อมูล และอธิบายการเคลื่อนที่ของเสียง


จากแหล่งกาเนิดเสียงมาถึงหูผู้ฟัง

ส้อมเสียงสั่นและได้ยินเสียง

ผิวน้าสั่นเป็นวงรอบปลายขาส้อมเสียง

เห็นผิวน้าสั่นเป็นวงรอบปลายขาส้อมเสียง และเมื่อแนบหูที่ภาชนะ
จะได้ยินเสียง

ตัวกลางของเสียง

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


123 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

สังเกต สืบค้นข้อมูล และอธิบายการเคลื่อนที่ของเสียงจากแหล่งกาเนิดเสียง


มาถึงหูผู้ฟัง

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 124

ขึ้นอยู่กับการพยากรณ์ของนักเรียน

ขึ้นอยู่กับการพยากรณ์ของนักเรียน

ขึ้นอยู่กับการพยากรณ์ของนักเรียน

สัน่ สัน่ ได้ยินเสียง

ไม่สั่น ไม่สั่น ไม่ได้ยินเสียง

ขาด ไม่สั่น ไม่ได้ยินเสียง

สิ่งที่เสียงเคลื่อนที่ผ่านได้เรียกว่า ตัวกลางของเสียง โดยตัวกลางของเสียงใน


กิจกรรมนี้ คือ แก้วพลาสติก เส้นเอ็น และอากาศ

ละอากศ

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


125 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

ส้อมเสียงจะเกิดการสั่น และเมื่อนาปลายขาส้อมเสียงมาไว้ใกล้หูก็จะได้ยินเสียง
เพราะเสียงเคลื่อนที่ผ่านอากาศมายังหู

ส้อมเสียงจะเกิดการสั่น และเมื่อนาปลายขาส้อมเสียงแตะที่ผิวน้าสี จะทาให้ผิวน้าสี


เกิดการสั่นไปด้วย เนื่องจากเสียงเคลื่อนที่ผ่านของเหลวคือน้าสี

ได้ยินเสียง เพราะเมื่อนาขาส้อมเสียงที่กาลังสั่นไปแตะผิวน้า เสียงจะส่งผ่านไปยังน้า จนสั่น


กระเพื่อมเป็นวงขยายไปถึงภาชนะและเคลื่อนที่ผ่านภาชนะไปยังหู เราจึงได้ยินเสียง

ตัวกลางของเสียง

น้าสีและภาชนะใส่น้าสี

เสียงเคลื่อนที่จากแหล่งกาเนิดเสียง คือ ส้อมเสียง ผ่านของเหลวคือน้าสี และ


เคลื่อนที่ผ่านของแข็ง คือ ภาชนะใส่น้าสี จากนั้นเคลื่อนที่มาสู่หูเรา เราจึงได้ยินเสียง

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 126

แตกต่างกัน เมื่อพูดค่อย ๆ โดยผ่านอากาศ ผู้ฟังจะไม่ได้ยินเสียงพูด แต่เมื่อพูดผ่าน


โทรศัพท์จะได้ยินเสียงชัดเจน

มีการเปลี่ยนแปลงโดยแก้วพลาสติกจะสั่น

แตกต่างกัน โดยเมื่อแตะเส้นเอ็นเบา ๆ จะได้ยินเสียงพูด แต่เมื่อจับเส้นเอ็นให้แน่น


จะไม่ได้ยินเสียงพูด เพราะเมื่อจับเส้นเอ็นให้แน่น เส้นเอ็นจะหยุดสั่น

เมื่อตัดเส้นเอ็นให้ขาด จะไม่ได้ยินเสียงพูด เพราะไม่มีเส้นเอ็นซึ่งเป็นตัวกลางที่จะ


ให้เสียงเคลื่อนที่ผ่านไปยังผู้ฟังได้

เสียงจากผู้พูดทาให้อากาศในแก้วพลาสติกสั่น ต่อจากนั้นแก้วพลาสติกด้านผู้พูด
ก็จะสั่น ทาให้เส้นเอ็นสั่นต่อ ๆ กันไปจนถึงแก้วพลาสติกด้านผู้ฟัง ซึ่งจะทาให้
อากาศในแก้วพลาสติกสั่นต่อ ๆ กันไปจนถึงหูผู้ฟัง ผู้ฟังจึงได้ยินเสียง

อากาศ แก้วพลาสติก และเส้นเอ็น

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


127 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

เสียงเคลื่อนที่จากแหล่งกาเนิดเสียงผ่านตัวกลางของเสียง ทั้งอากาศ แก้วพลาสติก และ


เส้นเอ็น โดยมีการสั่นต่อเนื่องกันไปของตัวกลางของเสียงจนถึงหูของผู้ฟัง หากไม่มี
ตัวกลางของเสียง หรือหากตัวกลางของเสียงหยุดสั่น จะทาให้ไม่ได้ยินเสียง

เสียงต้องใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่ซึ่งตัวกลางของเสียงมีทั้งสถานะของแข็ง ของเหลว
และแก๊ส โดยเสียงจากแหล่งกาเนิดเสียงจะผ่านตัวกลางของเสียงที่สั่นต่อ ๆ กันไป
จนถึงหูผู้ฟัง

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 128

คาถามของนักเรียนที่ตั้งตามความอยากรู้ของตนเอง





ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


129 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

แนวการประเมินการเรียนรู้
การประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนทาได้ ดังนี้
1. ประเมินความรู้เดิมจากการอภิปรายในชั้นเรียน
2. ประเมินการเรียนรู้จากคาตอบของนักเรียนระหว่างการจัดการเรียนรู้และจากแบบบันทึกกิจกรรม
3. ประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จากการทากิจกรรมของนักเรียน

การประเมินจากการทากิจกรรมที่ 1.1 เสียงเคลื่อนที่ได้อย่างไร


ระดับคะแนน
3 คะแนน หมายถึง ดี 2 คะแนน หมายถึง พอใช้ 1 คะแนน หมายถึง ควรปรับปรุง

รหัส สิ่งที่ประเมิน ระดับคะแนน


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
S1 การสังเกต
S7 การพยากรณ์
S8 การลงความเห็นจากข้อมูล
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
C4 การสื่อสาร
C5 ความร่วมมือ
C6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
รวมคะแนน

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 130

ตาราง แสดงการวิเคราะห์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามระดับความสามารถของนักเรียน
โดยอาจใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี้
ทักษะกระบวนการ ระดับความสามารถ
รายการประเมิน
ทางวิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
S1 การสังเกต การบรรยาย สามารถใช้ ประสาทสั มผั ส สามารถใช้ประสาทสัมผัส สามารถใช้ประสาทสัมผัส
รายละเอียดของสิ่งที่ เก็บรายละเอียดของข้อมูล เก็บรายละเอียดของข้อมูล เก็บรายละเอียดของข้อมูล
สังเกต และบรรยายเกี่ ยวกั บ การ และบรรยายเกี่ยวกับการ และบรรยายเกี่ยวกับการ
สั่ น ของตั วกลางของเสี ยง สั่นของตัวกลางของเสียง สั่นของตัวกลางของเสียง
และการได้ ยิ น เสี ยงได้ และการได้ยินเสียง ได้ และการได้ยินเสียง
ถู กต้ อง ครบ ถ้ วน ด้ วย ถูกต้องโดยอาศัยคาชี้แนะ ได้ถูกต้องเพียงบางส่วน
ตนเอง จากครูหรือผู้อื่น แม้ว่าจะได้รับคาชี้แนะจาก
ครูหรือผู้อื่น
S7 การพยากรณ์ การพยากรณ์เกี่ยวกับ สามารถพยากรณ์ เกี่ยวกับ สามารถพยากรณ์เกี่ยวกับ สามารถพยากรณ์เกี่ยวกับ
การเปลี่ยนแปลงของ การเป ลี่ ยน แป ล งข อ ง การเปลี่ยนแปลงของเส้น การเปลี่ยนแปลงของ
เส้นเอ็นกับแก้ว เส้ นเอ็ น กั บ แก้ วพลาสติ ก เอ็นกับแก้วพลาสติกและ เส้นเอ็นกับแก้วพลาสติก
พลาสติกและการได้ และการได้ ยิ น เสี ย งจาก การได้ยินเสียงจาก และการได้ยินเสียงจาก
ยินเสียงจากโทรศัพท์ โทรศัพท์ผ่านวิธีการต่าง ๆ โทรศัพท์ผ่านวิธีการต่าง ๆ โทรศัพท์ผ่านวิธีการต่าง ๆ
ผ่านวิธีการต่าง ๆ ได้ อย่ างสมเหตุ สมผลและ ได้อย่างสมเหตุสมผลแต่ไม่ ได้แต่ไม่สมเหตุสมผล และ
ครบถ้วนด้วยตนเอง ครบถ้วน ไม่ครบถ้วน
S8 การลง การลงความเห็นจาก สามารถลงความเห็นจาก สามารถลงความเห็นจาก สามารถลงความเห็นจาก
ความเห็นจาก ข้อมูลเกี่ยวกับ ข้อมูลเกี่ยวกับตัวกลางของ ข้อมูลเกี่ยวกับตัวกลางของ ข้อมูลเกี่ยวกับตัวกลางของ
ข้อมูล ตัวกลางของเสียงใน เสียงในกิจกรรมแต่ละตอน เสียงในกิจกรรมแต่ละตอน เสียงในกิจกรรมแต่ละตอน
กิจกรรมแต่ละตอน ได้ถูกต้องทั้งหมดด้วย ได้ถูกต้องทั้งหมด จากการ ได้ถูกต้องเพียงบางส่วน
ตนเอง ชี้แนะของครูหรือผู้อื่น แม้ว่าจะได้รับคาชี้แนะจาก
ครูหรือผู้อื่นและไม่
ครบถ้วน
S13 การ การตีความหมาย สามารถตีความหมาย สามารถตีความหมาย สามารถตีความหมายข้อมูล
ตีความหมายข้อมูล ข้อมูลจากการทา ข้อมูลจากการทากิจกรรม ข้อมูลจากการทากิจกรรม จากการทากิจกรรมและลง
และลงข้อสรุป กิจกรรมและลง และลงข้อสรุปเกี่ยวกับ และลงข้อสรุปเกี่ยวกับการ ข้อสรุปเกี่ยวกับการ
ข้อสรุปเกี่ยวกับการ การเคลื่อนที่ของเสียงจะ เคลื่อนที่ของเสียงจะ เคลื่อนที่ของเสียงจะ
เคลื่อนที่ของเสียงจะ เคลื่อนที่ไปถึงหูผู้ฟังโดย เคลื่อนที่ไปถึงหูผู้ฟังโดย เคลื่อนที่ไปถึงหูผู้ฟังโดย

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


131 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

ทักษะกระบวนการ ระดับความสามารถ
รายการประเมิน
ทางวิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
เคลื่อนที่ไปถึงหูผู้ฟัง อาศัยการสั่นของตัวกลาง อาศัยการสั่นของตัวกลาง อาศัยการสั่นของตัวกลาง
โดยอาศัยการสั่นของ ของเสียง ซึ่งเป็นได้ทั้ง ของเสียง ซึ่งเป็นได้ทั้ง ของเสียงซึ่งเป็นได้ทั้ง
ตัวกลางของเสียง ของแข็ง ของเหลว และ ของแข็ง ของเหลว และ ของแข็ง ของเหลว และ
ซึ่งเป็นได้ทั้งของแข็ง แก๊สได้ถูกต้องทั้งหมดด้วย แก๊สได้ถูกต้องทั้งหมด จาก แก๊สได้ถูกต้องเพียง
ของเหลว และแก๊ส ตนเอง การชี้แนะจากครูหรือผู้อื่น บางส่วน แม้ว่าจะได้รับ
คาชี้แนะจากครูหรือผู้อื่น

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 132

ตาราง แสดงการวิเคราะห์ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ตามระดับความสามารถของนักเรียน


โดยอาจใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี้
ทักษะแห่ง ระดับความสามารถ
รายการประเมิน
ศตวรรษที่ 21 ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
C4 การสื่อสาร การน าเสนอข้อมูลจาก สามารถน าเสนอข้ อ มู ล สามารถนาเสนอข้อมูลจาผล สามารถน าเสนอข้ อ มู ล
ผลการทากิจกรรมและ จากผลการท ากิ จ กรรม การท ากิ จกรรมและอธิ บาย จากการน าเสนอผลการ
การอธิบายเกี่ยวกับการ และอธิ บายเกี่ ยวกั บ การ เกี่ ย วกั บ การเคลื่ อ นที่ ข อง ท ากิ จ กรรมและอธิ บ าย
เคลื่ อ นที่ ของเสี ยงโดย เคลื่ อ นที่ ข องเสี ย ง โดย เสียง โดยการพูดเพื่อให้ผู้อื่น เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของ
การพู ด เพื่ อ ให้ ผู้ อื่ น การพูดเพื่อให้ผู้ อื่นเข้าใจ เข้ าใจ โดยอาศั ย การชี้ แนะ เสี ยง โดยการพู ดเพื่ อให้
เข้าใจ ได้ ครบถ้ วน ชั ดเจนด้ วย จากครูหรือผู้อื่น ผู้ อื่ น เข้ า ใจ ได้ เพี ย ง
ตนเอง บางส่วน แม้ว่าจะได้รับคา
ชี้แนะจากครูหรือผู้อื่น
C5 ความ การทางานร่วมกับผู้ อื่น สามารถท างานร่ ว มกั บ สามารถท างานร่วมกั บผู้ อื่ น สามารถท างานร่ ว มกั บ
ร่วมมือ ใน ก าร ท ากิ จ ก รร ม ผู้ อื่ น ในการท ากิ จ กรรม ในการท ากิ จ กรรม สื บ ค้ น ผู้ อื่ น ใน บ างช่ ว งที่ ท า
สื บ ค้ น ข้ อ มู ล แ ล ะ สืบค้นข้อมูล และร่วมกัน ข้อมูล และร่วมกันอภิ ปราย กิ จกรรม ทั้ งนี้ ต้ องอาศั ย
ร่ ว ม กั น อ ภิ ป ร า ย อภิ ปรายเกี่ ยวกั บการ เกี่ ย วกั บ การเคลื่ อ นที่ ข อง การกระตุ้ น จากครู ห รื อ
เกี่ ย วกั บ การเคลื่ อ นที่ เคลื่อนที่ของเสียง รวมทั้ง เสี ย ง รวมทั้ งยอมรั บ ความ ผู้อื่น
ของเสียง รวมทั้งยอมรับ ยอมรั บความคิ ดเห็ นของ คิดเห็นของผู้อื่นบางช่วงเวลา
ความคิดเห็นของผู้อื่น ผู้อื่นตั้งแต่เริ่มต้นจนสาเร็จ ที่ทากิจกรรม
C6 การใช้ การสืบค้นข้อมูล สามารถสืบค้นข้อมูล สามารถสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ สามารถสืบค้นข้อมูล
เทคโนโลยี เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของ การเคลื่อนที่ของเสียงจาก เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของ
สารสนเทศและ ของเสียงจากแหล่ง เสียงจากแหล่งเรียนรู้ต่าง แหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่ เสียงจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
การสื่อสาร เรียนรู้ต่าง ๆ ที่ ๆ ที่น่าเชื่อถือได้ด้วย น่าเชื่อถือได้ โดยอาศัยการ ได้ แต่มาจากแหล่งที่ไม่
น่าเชื่อถือ ตนเอง ชี้แนะจากครูหรือผู้อื่น น่าเชื่อถือ แม้ว่าจะได้รับ
การชี้แนะจากครูหรือผู้อื่น

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


133 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

กิจกรรมที่ 1.2 เสียงสูง เสียงต่า เกิดได้อย่างไร


กิจกรรมนี้นักเรียนจะได้ทดลองเพื่อศึกษาความถี่ในการสั่นของ
แหล่งกาเนิดเสียงที่ต่างกันที่ทาให้เกิดเสียงสูง เสียงต่า

เวลา 2 ชั่วโมง

จุดประสงค์การเรียนรู้
ทดลองและอธิบายการเกิดเสียงสูง เสียงต่า

วัสดุ อุปกรณ์สาหรับทากิจกรรม
สิ่งที่ครูต้องเตรียม/ห้อง
1. เครื่องดนตรี เช่น ขลุ่ย กีตาร์
สิ่งที่ครูต้องเตรียม/กลุ่ม
1. ไม้บรรทัดพลาสติกแข็ง 1 อัน
2. ขวดแก้ว 2 ขวด
3. น้าสี ให้เพียงพอทั้งห้อง
4. ไม้เคาะ 1 อัน
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
S1 การสังเกต สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
S7 การพยากรณ์ 1. หนังสือเรียน ป.5 เล่ม 1 หน้า 57-60
S8 การลงความเห็นจากข้อมูล 2. แบบบันทึกกิจกรรม ป.5 เล่ม 1 หน้า 60-66
S9 การตั้งสมมติฐาน 3. วีดิทัศน์ตวั อย่างการปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สาหรับ
S10 การกาหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ ครู เรื่องเสียงสูง เสียงต่าเกิดได้อย่างไร
S11 การกาหนดและควบคุมตัวแปร http://ipst.me/9468
S12 การทดลอง
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
C4 การสื่อสาร
C5 ความร่วมมือ

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 134

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูตรวจสอบความรู้เดิ มของนักเรียนโดยอาจน า เครื่องดนตรี เช่ น ขลุ่ ย
กีตาร์ หรือระนาด มาไล่เสียงสูง เสียงต่าให้นักเรียนฟัง หรืออาจนาวีดิทัศน์
เกี่ยวกับเสียงจากเครื่องดนตรีต่าง ๆ มาเปิดให้นักเรียนฟัง จากนั้นครูถามว่า
เสียงที่ได้ยินแต่ละเสียงมีเสียงสูง เสียงต่า แตกต่างกันหรือไม่ เพราะเหตุใด
นักเรียนตอบตามความเข้าใจของตนเอง ครูยังไม่เฉลยคาตอบที่ถูกต้อง แต่ ในการตรวจสอบความรู้ ครู
ชักชวนนักเรียนค้นหาคาตอบจากการทากิจกรรม เพียงรับฟังเหตุผลของนักเรียนและ
2. นั กเรีย นอ่ านชื่ อ กิจ กรรม และท าเป็ น คิ ด เป็ น โดยร่ว มกัน อภิ ป รายเพื่ อ ยังไม่เฉลยคาตอบใด ๆ แต่ชักชวน
ตรวจสอบความเข้าใจจุดประสงค์ในการทากิจกรรม โดยครูใช้คาถามดังนี้ ให้นักเรียนไปหาคาตอบด้วยตนเอง
2.1 กิจกรรมนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้เรื่องอะไร (การเกิดเสียงสูง เสียงต่า) จากการอ่านเนื้อเรื่อง
2.2 นักเรียนจะได้เรียนรู้เรื่องนี้ด้วยวิธีใด (การทดลอง)
2.3 เมื่อเรียนรู้แล้วนักเรียนจะทาอะไรได้ (อธิบายการเกิดเสียงสูง เสียงต่า)
3. นักเรียนบันทึกจุดประสงค์ลงในแบบบันทึก กิจกรรม หน้า 60 และ อ่าน
สิ่งที่ต้องใช้ในการทากิจกรรม
4. นักเรียนอ่านทาอย่างไร ตอนที่ 1 โดยฝึกการอ่านตามความสามารถของ
นักเรียน แล้วร่วมกันอภิปรายเพื่อสรุปลาดับขั้นตอนการทากิจกรรมตาม
ความเข้าใจ โดยครูใช้คาถามดังต่อไปนี้
4.1 ขั้นตอนแรกในการทากิจกรรม ทาได้อย่างไร (วางไม้บรรทัดพลาสติก
แข็งให้ความยาวบางส่วนพ้นขอบโต๊ะ ใช้มือกดไม้บรรทัดส่วนที่อยู่บน
โต๊ะตรงขอบโต๊ะ จากนั้นใช้มืออีกข้างหนึ่งกดปลายไม้บรรทัดส่วนที่ยื่น
ออกมาจากขอบโต๊ะ แล้วปล่อยทันที สังเกตความถี่ในการสั่นของไม้
บรรทัดและเสียงที่ได้ยิน)
4.2 ครูอาจถามนักเรียนว่าไม้บ รรทัดสั่นครบ 1 รอบ ดูได้อย่างไร (ดูได้จาก
ไม้บรรทัดเคลื่อนที่ขึ้นแล้วลงกลับมาที่ตาแหน่งเดิม) จากนั้นครูถามว่า
ถ้าความยาวของไม้บรรทัดส่วนที่ยื่นเลยพ้นขอบโต๊ะเปลี่ยนไป เมื่อกด
ปลายไม้บรรทัดลงแล้วปล่อย ไม้บรรทัดจะสั่น โดยความถี่ในการสั่น
และเสียงที่ ได้ยินจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร (นักเรียนตอบตาม
ความเข้าใจ)
4.3 ปัญหาของการทดลองนี้คืออะไร (ความถี่ในการสั่นของไม้บรรทัดมีผล
ต่อเสียงสูง เสียงต่าที่ได้ยินอย่างไร )
4.4 สมมติฐานของการทดลองคืออะไร (สมมติฐ านที่ตั้งขึ้นกับ ความคิดของ
นั กเรียน เช่น ความถี่ในการสั่ น ของไม้ บ รรทั ดมี ผ ลต่อ เสี ย งสู ง เสี ยงต่ า

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


135 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

ที่ได้ยิน โดยถ้าไม้บรรทัดส่วนที่พ้นจากขอบโต๊ะสั่นด้วยความถี่น้อย เสียงที่


ได้ยินจะเป็นเสียงต่า แต่ถ้าไม้บรรทัดส่วนที่พ้นจากขอบโต๊ะสั่นด้วยความถี่
มาก เสียงที่ได้ยินจะเป็นเสียงสูง)
4.5 หลังจากตั้งสมมติฐานแล้ว นักเรียนต้องทาอะไร (ระบุตัวแปร กาหนดนิยาม
เชิงปฏิ บัติการ และทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐาน จากนั้น สังเกตและ
เปรียบเทียบความถี่ในการสั่นของไม้บรรทัดและเสียงสูง เสียงต่าที่ได้ยิน)
4.6 เราจะสั งเกตเพื่อเปรียบเที ยบความถี่ในการสั่ น ของไม้บ รรทั ด ได้ อ ย่างไร
(การเปรียบเทียบความถี่ของการสั่นสังเกตจากการสั่นเร็ว ช้า หรือสังเกต
จากจานวนรอบของการสั่นของไม้บรรทัด ในเวลาที่เท่ากัน ซึ่งเรียกว่าเป็น
การกาหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ)
ในขั้นตอนนี้ครูอาจเขียนปัญหาของการทดลองบนกระดาน จากนั้นครูให้
นั ก เรี ย นร่ ว มกั น ตั้ ง สมมติ ฐ าน พร้ อ มระบุ ตั ว แปร และก าหนดนิ ย ามเชิ ง
ปฏิบัติการในการทดลอง ยกตัวอย่างเช่น
ปัญหาของการทดลอง คือ ความถี่ในการสั่นของไม้บรรทัดมีผลต่อเสียงสูง เสียง
ต่าที่ได้ยินอย่างไร
สมมติฐาน คือ ความถี่ในการสั่นของไม้บ รรทัดมีผลต่อเสียงสู ง เสียงต่า โดย
ไม้บรรทัดส่วนที่พ้นจากขอบโต๊ะสั่นด้วยความถี่น้อย เสียงที่ได้ยินจะเป็นเสียงต่า
แต่ถ้าไม้บรรทัดส่วนที่พ้นจากขอบโต๊ะ สั่นด้วยความถี่มาก เสียงที่ได้ยิน จะเป็น
เสียงสูง
ตัวแปรต้น คือ ความถี่ในการสั่นของไม้บรรทัดที่แตกต่างกัน ความรู้เพิ่มเติมสาหรับครู
ตัวแปรตาม คือ เสียงสูง เสียงต่าที่ได้ยิน
ตัวแปรที่ต้องควบคุมให้คงที่ คือ ใช้ไม้บรรทัดอันเดิม ใช้มือกดไม้บรรทัดที่ขอบ การก าหนดนิ ย ามเชิ ง ปฏิ บั ติ ก าร
โต๊ะเหมือนกัน กดไม้บรรทัดด้วยแรงเท่าเดิม ใช้คนเดิมในการทากิจกรรม เป็ นการกาหนดความหมาย ข้อตกลงหรือ
นิยามเชิงปฏิ บัติการ คือ การเปรียบเทียบความถี่ของการสั่ น ของไม้บ รรทั ด ขอบเขตของสิ่ งต่ า ง ๆ ที่ อ ยู่ ในสมมติ ฐ าน
สังเกตจากการสั่นเร็ว ช้า หรือสังเกตจากจานวนรอบของการสั่นของไม้ บรรทัด หรื อ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การทดลองให้ เข้ า ใจ
ในเวลาที่เท่ากัน โดยไม้บรรทัดที่ มีความถี่มากกว่าจะสั่นเร็วกว่า หรือมีจานวน ตรงกัน เพื่อให้สามารถสังเกตและวัดได้
รอบของการสั่นมากกว่าในเวลาที่เท่า ๆ กัน

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 136

5. หลังจากทากิจกรรมแล้ว ครูนาอภิปรายผลการทากิจกรรม ตอนที่ 1 โดยใช้ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ


คาถามดังนี้ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่นักเรียนจะได้
5.1 วางไม้บ รรทั ดให้ ส่ วนที่ ยื่น พ้ นขอบโต๊ะมี ความยาวมาก เมื่อกดปลาย ฝึกจากการทากิจกรรม
ไม้บรรทัดแล้ วปล่อย ความถี่ในการสั่นของไม้บ รรทัดเป็นอย่างไรบ้าง ตอนที่ 1
(เมื่อความยาวไม้บรรทัดมาก ความถี่ในการสั่นของไม้บรรทัดจะน้อย) S1 การสังเกตความถี่ในการสั่นของไม้
5.2 เสี ย งที่ ได้ ยิ น เมื่ อ ไม้ บ รรทั ด มี ค วามถี่ ในการสั่ น น้ อ ย จะเป็ น อย่ า งไร บรรทัดและเสียงที่ได้ยิน
(เสียงต่า หรือนักเรียนอาจตอบว่าเสียงทุ้ม) S8 การลงความเห็นจากข้อมูล ว่าเสีย ง
5.3 วางไม้บรรทัดให้ส่วนที่ยื่นพ้นขอบโต๊ะมีความยาวน้อย เมื่อกดปลายไม้ สูงคือเสียงที่มีความถี่มาก และเสียง
บรรทั ด แล้ ว ปล่ อ ย ความถี่ ในการสั่ น ของไม้ บ รรทั ด เป็ น อย่ า งไรบ้ า ง ต่าคือเสียงที่มีความถี่น้อย
(เมื่อความยาวไม้บรรทัดน้อย ความถี่ในการสั่นของไม้บรรทัดจะมาก) S9 การตั้ ง สมมติ ฐ านว่าความถี่ในการ
5.4 เสี ย งที่ ได้ ยิ น เมื่ อ ไม้ บ รรทั ด มี ค วามถี่ ใ นการสั่ น มาก จะเป็ น อย่ า งไร สั่น ของไม้บ รรทัด ที่มีผ ลต่อเสียงสูง
(เสียงสูง หรือนักเรียนอาจตอบว่าเสียงแหลม) เสียงต่า ที่ได้ยินอย่างไร
5.5 เสียงสูง เสียงต่า เกิดจากอะไร (เสียงสูง เสียงต่าเกิดจากความถี่ในการ S10 การกาหนดนิยามเชิงปฏิบัติการเพื่อ
สั่นของแหล่งกาเนิดเสียงที่แตกต่างกัน) สั ง เกตความถี่ ใ นการสั่ น ของไม้
5.6 ความยาวของไม้บรรทัดส่วนที่สั่นสัมพันธ์กับมวลของไม้บรรทัดส่วนที่สั่น บรรทัด
หรือไม่ อย่างไร (สั มพันธ์กันโดยถ้าความยาวของไม้บ รรทัดส่วนที่สั่ น S11 การระบุ ตั ว แปรเพื่ อ ตรวจสอบ
น้อย มวลของส่วนที่สั่นก็จะน้อย และถ้าความยาวของไม้บรรทัดส่วนที่ สมมติฐาน
สั่นมาก จะมีมวลส่วนที่สั่นมาก) S12 การทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐาน
5.7 มวลส่วนที่สั่นของไม้บรรทัดสัมพันธ์กับความถี่ในการสั่นของไม้บรรทัด C4 การสื่อสารโดยการร่วมกันอภิปราย
และเสี ย งที่ ได้ ยิ น เป็ น อย่ างไร (สั ม พั น ธ์ กั น โดยถ้ ามวลส่ ว นที่ สั่ น ของ เกี่ยวกับการเกิดเสียงสูง เสียงต่า
ไม้บรรทัดน้อย ไม้บรรทัดจะสั่นด้วยความถี่มาก เสียงที่ได้ยินเป็นเสียงสูง C5 ความร่วมมือในการทากิจกรรมและ
ถ้ามวลส่วนที่สั่นของไม้บ รรทัดมาก ไม้บรรทัดจะสั่นด้วยความถี่น้อย การอภิปราย
เสียงที่ได้ยินเป็นเสียงต่าหรือเสียงทุ้ม)
6. ครูทบทวนความรู้ให้กับนักเรียนดังนี้ มวลคือปริมาณเนื้อของวัตถุ มี สมบัติ
ในการต้านการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ ดังนั้น ถ้าออกแรงเท่า ๆ
กั น ท าให้ ม วลเคลื่ อ นที่ มวลมากจะเคลื่ อ นที่ ได้ ช้ า เมื่ อ เปรี ย บเที ย บกั บ
ไม้ บ รรทั ด ไม้ บ รรทั ด ที่ มี ส่ ว นที่ พ้ น ขอบโต๊ ะ มากกว่ า ก็ จ ะมี ม วลมาก จึ ง
เคลื่อนที่ได้ช้าเช่นกัน
7. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายจนได้ข้อสรุปว่า เสียงสูง เสียงต่า เกิดจาก
การสั่นของแหล่งกาเนิดเสียง ถ้าแหล่งกาเนิดเสียงสั่นด้วยความถี่มาก เสียงที่
ได้ยินจะเป็นเสียงสูงหรือเสียงแหลม ถ้าแหล่งกาเนิดเสียงสั่นด้วยความถี่น้อย
เสียงที่ได้ยินจะเป็นเสียงต่าหรือเสียงทุ้ม จากนั้นครูอาจใช้เครื่องดนตรี เช่น
กีตาร์ มาสาธิตเพื่อแสดงตัวอย่างการเกิดเสียงสูง เสียงต่า

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


137 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

8. ครูสอบถามความเข้าใจของนักเรียนเพื่อเชื่อมโยงไปยังกิจกรรม ตอนที่ 2
ว่าจากกิจกรรมตอนที่ 1 นักเรียนเห็นการสั่นของไม้บรรทัดได้ชัดเจน แต่ถ้า
เป็นสิ่งอื่น เช่น น้าในขวด จะมองเห็นการสั่นของน้าได้ชัดเจนเหมือนกับไม้
บรรทัดหรือไม่ และน้ าในขวดที่ มีป ริมาณต่างกันจะมีผ ลต่อเสี ยงที่ ได้ ยิน
หรือไม่ อย่างไร (นักเรียนตอบตามความเข้าใจ) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ
9. นั ก เรี ย นอ่ า นท าอย่ า งไร ตอนที่ 2 แล้ ว ร่ ว มกั น อภิ ป รายเพื่ อ สรุป ล าดั บ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่นักเรียนจะได้
ขั้นตอนการทากิจกรรมตามความเข้าใจ โดยครูใช้คาถามดังต่อไปนี้ ฝึกจากการทากิจกรรม
9.1 นักเรียนทากิจกรรมนี้ได้อย่างไร (ใช้ไม้เคาะข้างขวดแก้วเปล่าใบหนึ่ง ตอนที่ 2
สังเกตเสียงที่ได้ยิน จากนั้นรินน้าลงในขวดแก้ว 2 ใบ โดยใบแรกใส่น้า S1 การสังเกตเสียงที่ได้ยินจากการใช้ไม้
¼ ของขวด ใบที่สองใส่น้าเต็มขวด)
เคาะข้างขวดแก้ว
9.2 นักเรียนต้องพยากรณ์เรื่องอะไร (พยากรณ์ว่าถ้าใช้ไม้เคาะข้างขวดแก้ว
S7 การพยากรณ์เสียงสูง เสียงต่าที่ได้ยิน
บริเวณที่มีน้าทั้งสองขวดด้วยแรงเท่า ๆ กัน จะได้ยินเสียงสูง เสียงต่า
เป็นอย่างไร) เมื่อใช้ไม้เคาะข้างขวดแก้วบริเวณที่มี
10.หลังจากทากิจกรรมแล้ว ครูนาอภิปรายผลการทากิจกรรม ตอนที่ 2 โดยใช้ น้าทั้งสองขวดด้วยแรงเท่าๆ กัน
คาถามดังนี้ S8 การลงความเห็นจากข้อมูลว่าเสียงสูง
10.1 เมื่อเคาะขวดที่มีน้ามาก เสียงที่ได้ยินเป็นอย่างไร (เสียงต่าหรือเสียง คือเสียงที่มีความถี่มาก และเสียงต่ า
ทุ้ม) คือเสียงที่มีความถี่น้อย
10.2 เมื่อเคาะขวดที่มีน้าน้อย เสียงที่ได้ยินเป็นอย่างไร (เสียงสูง หรือเสียง
C4 การสื่อสารโดยการร่ว มกั นอภิ ป ราย
แหลม)
10.3 น้าในขวดใบใดมีมวลมากกว่า (ขวดที่มีน้าเต็มขวดมีมวลมากกว่า) เกี่ยวกับการเกิดเสียงสูง เสียงต่า
10.4 มวลของน้ามีผลต่อเสียงที่ได้ยินหรือไม่ อย่างไร (มีผล ขวดที่มีน้ามวล C5 ความร่ว มมือในการท ากิจ กรรมและ
มาก เสียงที่ได้ยินจะเป็นเสียงต่า ขวดที่มีน้ามวลน้อย เสียงที่ได้ยินจะ การอภิปราย
เป็นเสียงสูง)
10.5 มวลของน้ าสั ม พั น ธ์ กั บ ความถี่ ข องการสั่ น ของน้ าหรือ ไม่ อย่ างไร
(สัมพันธ์กันโดยน้าที่มีมวลมาก ความถี่ในการสั่นจะน้อย ในขณะที่น้า
ที่มีมวลน้อย ความถี่ในการสั่นจะมาก)
11. ครูและนั กเรีย นร่ว มกัน สรุป กิ จกรรมทั้ งสองตอนได้ ดังนี้ เสี ยงสู ง เสี ย งต่ า
ขึ้นอยู่กับความถี่ในการสั่นของแหล่งกาเนิดเสียง (S13)
12. ครูนาเครื่องดนตรีที่ใช้นาเข้าสู่กิจกรรมมาไล่เสียงสูงต่าให้นักเรียนฟังอีกครั้ง
จากนั้นครูถามนักเรียนว่าการทาให้เครื่องดนตรีแต่ละชนิดมีเสียงสูง เสียงต่า
ท าได้ อ ย่ างไร เพราะเหตุ ใด (การเกิ ด เสี ย งสู ง เสี ย งต่ า เกิ ด จากมวลของ
แหล่งกาเนิดเสียงมีมวลมากหรือน้อยแตกต่างกัน เช่น กีตาร์ เสียงสูง เสียง
ต่าเกิดจากสายกีตาร์ ถ้าต้องการเสียงสูง ทาได้โดยดีดสายกีตาร์เส้นที่เล็ก

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 138

ที่สุด เพราะมวลของสายกีตาร์น้อย จึงมีความถี่ในการสั่นมาก แต่ถ้าต้องการ


เสียงต่าลง ทาได้โดยดีดสายกีตาร์เส้นที่ใหญ่ที่สุด เพราะมวลของสายกีตาร์
มาก จึงมีความถี่ในการสั่นน้อย)
13.นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อตอบคาถามในฉันรู้อะไร โดยครูอาจใช้คาถาม
เพิ่มเติมในการอภิปรายเพื่อให้ได้แนวคาตอบที่ถูกต้อง จากนั้นนักเรียนอ่าน
สิ่งที่ได้เรียนรู้ และเปรียบเทียบกับข้อสรุปของตนเอง
14.ครูกระตุ้นให้นักเรียนฝึกตั้งคาถามเกี่ยวกับเรื่องที่สงสัยหรืออยากรู้เพิ่มเติม
ใน อยากรู้อีกว่า จากนั้นครูอาจสุ่มนักเรียน 2 -3 คน นาเสนอคาถามของ
ตนเองหน้ าชั้ น เรี ย น และให้ นั ก เรีย นร่ว มกั น อภิ ป รายเกี่ ย วกั บ ค าถามที่
นาเสนอ
15.ครู น าอภิ ป รายเพื่ อ ให้ นั ก เรี ย นทบทวนว่ าได้ ฝึ ก ทั ก ษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 อะไรบ้างและในขั้นตอนใดบ้าง
16.นักเรียนร่วมกันอ่านเกร็ดน่ารู้ ในหนังสือเรียนหน้า 60 ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับ
เสียงสูง เสียงต่าที่อยู่รอบตัวเรา
การเตรียมตัวล่วงหน้าสาหรับครู
เพื่อจัดการเรียนรู้ในครัง้ ถัดไป
ใน ค รั้ ง ถั ด ไป นั ก เรี ย น จ ะได้ ท า
กิจกรรมที่ 1.3 เสียงดัง เสียงค่อย ขึ้นอยู่
กั บ อะไร โดยครู ต้ อ งเตรี ย มอุ ป กรณ์
ล่วงหน้า คือ วิทยุ หรือแหล่งกาเนิดเสียง
อื่น ๆ ที่สามารถปรับความดังของเสียงได้

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


139 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

แนวคาตอบในแบบบันทึกกิจกรรม

ทดลองและอธิบายการเกิดเสียงสูง เสียงต่า

ความถี่ในการสั่นของไม้บรรทัดมีผลต่อเสียงสูง เสียงต่าที่ได้ยิน โดยถ้าไม้บรรทัดส่วนที่พ้นจากขอบโต๊ะน้อย


นั่นคือ ไม้บรรทัดมีมวลน้อย ดังนัน้ จะสั่นด้วยความถี่นอ้ ย เสียงที่ได้ยินจะเป็นเสียงต่า แต่ถ้าไม้บรรทัดส่วนที่
พ้นจากขอบโต๊ะมาก นั่นคือ ไม้บรรทัดมีมวลมาก ดังนั้นจะสั่นด้วยความถี่มาก เสียงที่ได้ยินจะเป็นเสียงสูง

ความถี่ในการสั่นของไม้บรรทัด

เสียงสูง เสียงต่าที่ได้ยิน

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 140

ใช้ไม้บรรทัดอันเดิม ใช้มือกดไม้บรรทัดที่ขอบโต๊ะเหมือนกัน กดไม้บรรทัดด้วยแรง


เท่าเดิม ใช้คนเดิมในการทากิจกรรม

ความถี่ในการสั่นของไม้บรรทัดสังเกตจากการสั่นเร็ว ช้า หรือสังเกตจากจานวนรอบ


ของการสั่นของไม้บรรทัดในเวลาที่เท่ากัน

ทดลองโดยจัดให้ไม้บรรทัดส่วนที่ยื่นออกมาจากขอบโต๊ะมีความยาวแตกต่างกัน
กดส่วนปลายของไม้บรรทัดแล้วปล่อยมือ สังเกตความถี่ในการสั่นของไม้บรรทัด
และเสียงสูง เสียงต่าที่ได้ยิน

ยาวมาก น้อยที่สุด เสียงต่าที่สุด เสียงทุ้มที่สุด

ยาวปานกลาง ปานกลาง เสียงสูงขึ้น เสียงแหลมขึ้น

ยาวน้อย มากที่สุด เสียงสูงที่สุด เสียงแหลม


ที่สุด
หมายเหตุ : ความยาวของไม้บรรทัดตามที่นักเรียนกาหนดเอง โดยกาหนดเป็นตัวเลข
มีหน่วยเป็นเซนติเมตร

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


141 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

ทดลองและอธิบายการเกิดเสียงสูง เสียงต่า

พยากรณ์ตามความคิด ได้ยินเสียงสูงหรือ
ของนักเรียน เสียงแหลม

ได้ยินเสียงต่าหรือ
เสียงทุ้ม

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 142

เมื่อกดปลายไม้บรรทัดแล้วปล่อย ไม้บรรทัดส่วนที่เลยพ้นขอบโต๊ะจะสั่น
เพราะเราใช้มือกดส่วนอื่น ๆ ไว้กับโต๊ะ

สัมพันธ์กัน โดยถ้าไม้บรรทัดส่วนที่สั่นมีความยาวมาก มวลของไม้บรรทัดส่วน


ที่สั่น ก็มาก ถ้า ไม้บรรทัด ส่วนที่สั่น มีค วามยาวน้อ ย มวลของไม้บ รรทัด ส่ว นที่
สั่นก็น้อย

สัม พั น ธ์ กัน โดยถ้ ามวลของไม้ บ รรทั ด ส่วนที่ สั่น มาก ความถี่ในการสั่น ของไม้
บรรทัดก็น้อย แต่ถ้ามวลของไม้บรรทัดส่วนที่สั่น น้อย ความถี่ในการสั่น ของไม้
บรรทัดก็มาก

ขณะที่ได้ยินเสียงสูงที่สุด ความถี่ของการสั่นของไม้บรรทัดจะมากทีส่ ุด เพราะไม้


บรรทัดส่วนที่สั่นมีมวลน้อยที่สุด

ขณะที่ได้ยินเสียงต่าที่สุด ความถี่ของการสั่นของไม้บรรทัดจะน้อยที่สุด
เพราะไม้บรรทัดส่วนที่สั่นมีมวลมากที่สุด

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


143 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

คาตอบขึ้นอยู่กับสมมติฐานของนักเรียน เช่น เหมือนกัน โดยสมมติฐานที่ตั้งไว้


เหมื อนกับ สิ่งที่ ค้น พบ นั่ น คื อ ความถี่ในการสั่น ของไม้ บ รรทัด มีผลต่อเสียงสู ง
เสียงต่าที่ได้ยิน โดยไม้บรรทัดส่วนที่พ้นจากขอบโต๊ะมาก ทาให้ความถี่น้อย เสียง
ที่ได้ยินจะเป็นเสียงต่า แต่ไม้บรรทัดส่วนที่พ้นจากขอบโต๊ะน้อย ทาให้มีความถี่
มาก เสียงที่ได้ยินจะเป็นเสียงสูง

เมื่อไม้บรรทัดส่วนที่เลยพ้นขอบโต๊ะยาวที่สุด จะสั่นด้วยความถี่น้อยที่สุด เสียงที่ได้ยิน


จะต่าที่สุด เมื่อไม้บรรทัดส่วนที่เลยพ้นขอบโต๊ะสั้นที่สุด จะสั่นด้วยความถี่มากที่สุด
เสียงที่ได้ยินจะสูงที่สุด

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 144

ขวดที่มีน้าเต็มขวด มีมวลมากกว่าขวดที่มีน้า ¼ ของขวด

มวลของน้าในขวดสัมพันธ์กับเสียงสูง เสียงต่าที่ได้ยิน โดยเมื่อในขวดมีมวลน้าน้อย


เสียงที่ได้ยินจะเป็นเสียงสูง และเมื่อในขวดมีมวลน้ามาก เสียงที่ได้ยินจะเป็นเสียงต่า

มวลของน้าในขวดมีความสัมพันธ์กับความถี่ในการสั่นของน้า เนื่องจากเมื่อเคาะขวดที่มีมวลน้ามาก
ความถี่ในการสั่นของน้าจะน้อย แต่เมื่อเคาะขวดที่มีมวลน้าน้อย ความถี่ในการสั่นของน้าจะมาก

เมื่อความถี่ในการสั่นของน้าน้อย จะได้ยินเสียงต่า แต่เมื่อความถี่ในการสั่นของน้า


มาก จะได้ยินเสียงสูง

การได้ยินเสียงสูง เสียงต่าขึ้นอยู่กับความถี่ของการสั่นของน้าในขวด โดยขวดที่มี


มวลน้ามาก จะได้ยินเสียงต่า เพราะความถี่ของการสั่นของน้าจะน้อย แต่ขวดที่มี
มวลน้าน้อย จะได้ยินเสียงสูง เพราะความถี่ของการสั่นของน้าจะมาก

เสียงสูง เสียงต่าเกิดจากการสั่นของแหล่งกาเนิดเสียงที่สั่นด้วยความถี่ที่แตกต่าง
กัน โดยถ้าแหล่งกาเนิดเสียงสั่นด้วยความถี่มาก จะเกิดเสียงสูง แต่ถ้าแหล่งกาเนิด
เสียงสั่นด้วยความถี่น้อย จะเกิดเสียงต่า ซึ่งความถี่ในการสั่นของแหล่งกาเนิดเสียง
ขึ้นอยู่กับมวลของแหล่งกาเนิดเสียง

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


145 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

คาถามของนักเรียนที่ตั้งตามความอยากรู้ของตนเอง








⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 146

แนวการประเมินการเรียนรู้
การประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนทาได้ ดังนี้
1. ประเมินความรู้เดิมจากการอภิปรายในชั้นเรียน
2. ประเมินการเรียนรู้จากคาตอบของนักเรียนระหว่างการจัดการเรียนรู้และจากแบบบันทึกกิจกรรม
3. ประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จากการทากิจกรรมของนักเรียน

การประเมินจากการทากิจกรรมที่ 1.2 เสียงสูง เสียงต่า เกิดได้อย่างไร


ระดับคะแนน
3 คะแนน หมายถึง ดี 2 คะแนน หมายถึง พอใช้ 1 คะแนน หมายถึง ควรปรับปรุง

รหัส สิ่งที่ประเมิน ระดับคะแนน


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
S1 การสังเกต
S7 การพยากรณ์
S8 การลงความเห็นจากข้อมูล
S9 การตั้งสมมติฐาน
S10 การกาหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
S11 การกาหนดและควบคุมตัวแปร
S12 การทดลอง
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
C4 การสื่อสาร
C5 ความร่วมมือ
รวมคะแนน

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


147 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

ตาราง แสดงการวิเคราะห์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามระดับความสามารถของนักเรียน
โดยอาจใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี้
ทักษะกระบวนการ ระดับความสามารถ
รายการประเมิน
ทางวิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
S1 การสังเกต ก า ร บ ร ร ย า ย สามารถใช้ ป ระสาท สามารถใช้ประสาทสัมผัส สามารถใช้ป ระสาทสัมผัส
รายละเอียดเกี่ยวกับ สัมผัสเก็บ รายละเอียด เก็บรายละเอียดข้อมูลและ เก็บรายละเอียดข้อมูลและ
ความถี่ในการสั่นของ ข้ อ มู ล แล ะบ รรยาย บรรยายเกี่ยวกับความถี่ใน บรรยายเกี่ยวกับความถี่ใน
แห ล่ ง ก าเนิ ด เสี ย ง เกี่ยวกับ ความถี่ในการ การสั่นของไม้บรรทัด และ การสั่นของไม้บรรทัด และ
และการเกิ ด เสี ย งสู ง สั่นของไม้บรรทัด และ เสี ย งสู ง เสี ย งต่ าที่ ไ ด้ ยิ น เสี ย งสู ง เสี ย งต่ าที่ ไ ด้ ยิ น
เ สี ย ง ต่ า ข อ ง เสียงสูง เสียงต่าที่ได้ยิน เมื่อดีดไม้บรรทัดที่มีส่วนที่ เมื่อดีดไม้บรรทัดที่มีส่วนที่
แหล่งกาเนิดเสียงเมื่อ เมื่ อ ดี ด ไม้ บ รรทั ด ที่ มี พ้ น ขอบโต๊ ะ แตกต่ า งกั น พ้ น ขอบโต๊ ะ แตกต่ า งกั น
มีมวลแตกต่างกัน ส่ ว น ที่ พ้ น ข อ บ โต๊ ะ และเสี ยงสู ง เสี ย งต่ าที่ ได้ และเสี ย งสู ง เสี ย งต่ าที่ ได้
แตกต่ างกัน และเสี ย ง ยิ น เมื่ อ เคาะขวดแก้ ว ที่ มี ยิ น เมื่ อ เคาะขวดแก้ ว ที่ มี
สูง เสียงต่าที่ ได้ยินเมื่อ ปริมาณน้าแตกต่างกัน ได้ ปริมาณน้าแตกต่างกัน ได้
เค า ะ ข ว ด แ ก้ ว ที่ มี ถู ก ต้ อ ง ครบ ถ้ ว น โดย ถูก ต้ อ งเพี ย งบางส่ ว น แม้
ปริมาณน้าแตกต่างกัน อาศั ย การชี้ แ นะจากครู จะได้รับ การชี้แนะจากครู
ได้ถูกต้องและครบถ้วน หรือผู้อื่น หรือผู้อื่น
ด้วยตนเอง
S7 การพยากรณ์ การพยากรณ์เกี่ยวกับ ส า ม า ร ถ พ ย า ก ร ณ์ สามารถพยากรณ์เกี่ยวกับ สามารถพยากรณ์ เกี่ยวกับ
เสี ยงสู ง เสี ยงต่าที่ได้ เกี่ย วกับ เสี ยงสู ง เสี ย ง เสี ย งสู ง เสี ย งต่ าที่ ไ ด้ ยิ น เสี ย งสู ง เสี ย งต่ าที่ ไ ด้ ยิ น
ยินเมื่อใช้ไม้เคาะข้าง ต่ าที่ ได้ ยิ น เมื่ อ ใช้ ไม้ เมื่อใช้ไม้เคาะข้างขวดแก้ว เมื่อใช้ไม้เคาะข้างขวดแก้ว
เคาะข้ า งขวดแก้ ว ทั้ ง ทั้งสองขวดที่มีปริมาณน้า ทั้งสองขวดที่มี ป ริมาณน้า
ขวดแก้วทั้งสองขวดที่
สองขวดที่มีปริมาณน้า แ ต ก ต่ า งกั น ได้ อ ย่ า ง แ ต ก ต่ า งกั น ได้ แ ต่ ไม่
มีปริมาณน้าแตกต่าง
แตกต่ า งกั น ได้ อ ย่ า ง สมเหตุสมผล โดยอาศัยคา สมเหตุสมผล
กัน ส ม เห ตุ ส ม ผ ล แ ล ะ ชี้แนะจากครูหรือผู้อื่น
ครบถ้วนด้วยตนเอง
S8 การลงความเห็ น การลงความเห็นจาก สามารถลงความเห็ น สามารถลงความเห็ น จาก สามารถลงความเห็ น จาก
จากข้อมูล ข้ อ มู ล เ กี่ ย ว กั บ จ า ก ข้ อ มู ล ไ ด้ ว่ า ข้ อ มู ล ได้ ว่ า แหล่ ง ก าเนิ ด ข้ อ มู ล ได้ ว่ า แหล่ ง ก าเนิ ด
แหล่งกาเนิดเสียงที่มี แหล่ ง ก าเนิ ด เสี ย งที่ มี เสี ยงที่ มีความถี่ในการสั่ น เสี ยงที่ มีความถี่ในการสั่ น
ความถี่ในการสั่นมาก ความถี่ ในการสั่ น มาก มากจะให้ เสี ย งสู ง แล ะ มากจะให้ เสี ย งสู ง แล ะ
จะให้ เสี ยงสู งแ ล ะ จ ะ ให้ เสี ย ง สู ง แ ล ะ แ ห ล่ งก าเนิ ด เสี ย งที่ มี แ ห ล่ งก าเนิ ด เสี ย งที่ มี
แหล่งกาเนิดเสียงที่มี แหล่ ง ก าเนิ ด เสี ย งที่ มี ความถี่ ในการสั่ น น้ อ ยจะ ความถี่ ในการสั่ น น้ อ ยจะ
ความถี่ในการสั่นน้อย ความถี่ ในการสั่ น น้ อ ย ให้เสียงต่า ได้ถูกต้อง จาก ให้ เสี ยงต่าได้ถูกต้องเพี ยง

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 148

ทักษะกระบวนการ ระดับความสามารถ
รายการประเมิน
ทางวิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
จะให้เสียงต่า จะให้เสียงต่าได้ถูกต้อง การชี้แนะของครูหรือผู้อื่น บางส่วน แม้ว่าจะได้รับคา
ทั้งหมดด้วยตนเอง ชี้แนะจากครูหรือผู้อื่น
S9 การตั้งสมมติฐาน การตั้งสมมติฐานเพื่อ สามารถตั้ งสมมติ ฐ าน สามารถตั้งสมมติ ฐานเพื่อ สามารถตั้งสมมติฐานเพื่อ
บอกความสั ม พั น ธ์ เพื่อบอกความสัมพันธ์ บอกความสัมพันธ์ระหว่าง บอกความสัมพันธ์ระหว่าง
ระห ว่ า งความถี่ ใ น ระหว่างความถี่ในการ ความถี่ ใ นการสั่ น ของไม้ ความถี่ ใ นการสั่ น ของไม้
การสั่นของไม้บรรทัด สั่ น ของไม้ บ รรทั ด กั บ บรรทัดกับเสียงสูง เสียงต่า บรรทัดกับเสียงสูง เสียงต่า
กับเสียงสูง เสียงต่าที่ เสียงสูง เสียงต่าที่ได้ยิน ที่ ไ ด้ ยิ น ได้ ถู ก ต้ อ งและมี ที่ ได้ ยิ น ได้ ถู ก ต้ อ งแต่ ไ ม่ มี
ได้ยิน ได้ถูกต้องและมีเหตุผล เหตุ ผ ลประกอบจากค า เหตุผลประกอบ แม้ว่าจะ
ประกอบด้วยตนเอง ชี้แนะของครูหรือผู้อื่น ได้รับคาชี้แนะจากครูหรือ
ผู้อื่น
S10 การกาหนดนิยาม การกาหนดนิยามเชิง สามารถก าหนดนิ ยาม สามารถกาหนดนิยามเชิง สามารถกาหนดนิยามเชิง
เชิงปฏิบัติการ ปฏิ บั ติ ก ารโดยระบุ เชิงปฏิบัติการโดยระบุ ปฏิบัติการโดยระบุวิธีการ ปฏิบัติการโดยระบุวิธีการ
วิธีการสั งเกตความถี่ วิธีการสังเกตความถี่ใน สั ง เกตความถี่ ใ นการสั่ น สั ง เกตความถี่ ใ นการสั่ น
ใน ก า ร สั่ น ข อ ง ไม้ การสั่ น ของไม้ บ รรทั ด ของไม้ บ รรทั ด ได้ ถู ก ต้ อ ง ของไม้ บ รรทั ด ได้ ถู ก ต้ อ ง
บรรทัด ได้ถูกต้อง ด้วยตนเอง จากการชี้แนะของครูหรือ เพียงบางส่วน แม้ว่าจะได้
ผู้อื่น รั บ ค าชี้ แ นะจากครู ห รื อ
ผู้อนื่
S11 การก าหนดและ การก าหนดตั ว แปร สามารถกาหนดตัวแปร สามารถกาหนดตัวแปรต้น สามารถกาหนดตัวแปรต้น
ควบคุมตัวแปร ต้น ตัวแปรตาม และ ต้ น ตั ว แปรตาม และ ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ ตัวแปรตาม และตัวแปรที่
ตัวแปรที่ต้องควบคุม ตั ว แปรที่ ต้ อ งควบคุ ม ต้ อ งควบคุ ม ให้ ค งที่ ข อง ต้ อ งควบคุ ม ให้ ค งที่ ข อง
ใ ห้ ค ง ที่ ข อ ง ก า ร ให้คงที่ของการทดลอง การทดลองเรื่ อ งการเกิ ด การทดลองเรื่ อ งการเกิ ด
ทดลอง เรื่องการเกิด เรื่ อ งการเกิ ด เสี ย งสู ง เสียงสูง เสียงต่า ได้ถูกต้อง เสียงสูง เสียงต่า ได้ถูกต้อง
เสียงสูง เสียงต่า เสี ย งต่ า ได้ ถู ก ต้ อ ง ครบถ้ ว นจากการชี้ แ นะ เพียงบางส่วน แม้ว่าจะได้
ครบถ้ ว นด้ ว ยตนเอง ของครูห รือผู้ อื่น ดั งนี้ ตั ว รั บ ค าชี้ แ นะจากครู ห รื อ
ดั ง นี้ ตั ว แปรต้ น คื อ แปรต้น คือความถี่ในการ ผู้อื่น
ความถี่ ในการสั่ น ของ สั่ น ข อ ง ไ ม้ บ ร ร ทั ด ที่
ไม้บรรทัดที่แตกต่างกัน แตกต่ า งกั น ตั ว แปรตาม
ตั ว แปรตาม คื อ เสี ย ง คื อ เสี ย งสู ง เสี ย งต่ าที่ ได้
สู ง เสี ย งต่ าที่ ได้ ยิ น ยิ น แล ะตั วแ ป รที่ ต้ อ ง
แ ล ะ ตั ว แ ป ร ที่ ต้ อ ง ควบคุมให้ คงที่ คือ ใช้ไม้
ควบคุมให้คงที่ คือ ใช้ บรรทัดอันเดิม ใช้มือกดไม้

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


149 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

ทักษะกระบวนการ ระดับความสามารถ
รายการประเมิน
ทางวิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
ไม้บรรทัดอันเดิม ใช้มือ บ ร ร ทั ด ที่ ข อ บ โ ต๊ ะ
กดไม้บรรทัดที่ขอบโต๊ะ เหมื อ นกั น กดไม้ บ รรทั ด
เห มื อ น กั น ก ด ไ ม้ ด้วยแรงเท่าเดิม ใช้คนเดิม
บรรทัดด้วยแรงเท่าเดิม ในการทากิจกรรม
ใช้ ค น เดิ ม ใน การท า
กิจกรรม
S12 การทดลอง การออกแบบและทา สามารถออกแบบและ สามารถออกแบบและท า สามารถออกแบบและท า
การทดลองเรื่องการ ทาการทดลองเรื่องการ การทดลองเรื่ อ งการเกิ ด การทดลองเรื่ อ งการเกิ ด
เกิดเสียงสูง เสียงต่าที่ เกิ ดเสี ยงสู ง เสี ยงต่ าที่ เ สี ย ง สู ง เ สี ย ง ต่ า ที่ เ สี ย ง สู ง เ สี ย ง ต่ า ที่
ส อ ด ค ล้ อ ง กั บ ส อ ด ค ล้ อ ง กั บ สอดคล้ อ งกั บ สมมติ ฐ าน สอดคล้ อ งกั บ สมมติ ฐ าน
สมมติ ฐ านของการ ส ม ม ติ ฐ าน ข อ งก าร ของการทดลองและตั ว ของการทดลองและตั ว
ทดลองและตัวแปรที่ ทดลองและตั ว แปรที่ แปรที่ ก าหนดได้ ถู ก ต้ อ ง แปรที่กาหนดได้ถูกต้องแต่
กาหนด กาหนดได้ ถู กต้ อ งและ และครบถ้ ว น จากการ ไม่ครบถ้วน แม้ว่าจะได้คา
ครบถ้วนด้วยตนเอง ชี้แนะของครูหรือผู้อื่น ชี้แนะจากครูหรือผู้อื่น
S13 การตีค วามหมาย การตี ค วาม ห ม าย สามารถตี ความหมาย สาม ารถตี ความ ห ม าย ส าม ารถ ตี ค วาม ห ม าย
ข้อมูลและลงข้อสรุป ข้ อ มู ลจากการ ท า ข้ อ มู ล จ า ก ก า ร ท า ข้อมูลจากการทากิจกรรม ข้อมูลจากการทากิจกรรม
กิ จ ก ร ร ม แ ล ะ ล ง กิ จ ก ร ร ม แ ล ะ ล ง และลงข้ อสรุป ได้ ว่า เสี ย ง และลงข้ อสรุป ได้ ว่า เสี ย ง
ข้อสรุปได้ว่าเสียงสู ง ข้ อ สรุ ป ได้ ว่ า เสี ย งสู ง สู ง เสี ย งต่ า ขึ้ น อ ยู่ กั บ สู ง เสี ย งต่ า ขึ้ น อ ยู่ กั บ
เสี ย งต่ า ขึ้ น อยู่ กั บ เสี ย งต่ า ขึ้ น อ ยู่ กั บ ค วาม ถี่ ใน ก ารสั่ น ข อ ง ค วาม ถี่ ใน ก ารสั่ น ข อ ง
ความถี่ในการสั่นของ ความถี่ ในการสั่ น ของ แ ห ล่ ง ก า เนิ ด เสี ย ง ได้ แ ห ล่ ง ก า เนิ ด เสี ย ง ได้
แหล่งกาเนิดเสียง แหล่ ง ก าเนิ ด เสี ย งได้ ถูกต้อง จากการชี้แนะจาก ถู ก ต้ อ งเพี ย งบ างส่ ว น
ถู ก ต้ อ งทั้ ง หมด ด้ ว ย ครูและผู้อื่น แม้ ว่ า จะได้ รั บ ค าชี้ แ นะ
ตนเอง จากครูหรือผู้อื่น

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 150

ตาราง แสดงการวิเคราะห์ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ตามระดับความสามารถของนักเรียน


โดยอาจใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี้
ทักษะแห่ง ระดับความสามารถ
รายการประเมิน
ศตวรรษที่ 21 ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
C4 การสื่อสาร ก า ร น า เส น อ ก า ร สามารถน าเสน อการ ส า ม า ร ถ น า เส น อ ก า ร สามารถ น าเสน อการ
ออกแบบการทดลอง ออกแบบการทดลอง ออกแบบการทดลองและ ออกแบบการทดลองและ
และการอธิ บ ายการ และอธิบายการเกิดเสียง อธิบายการเกิดเสียงสูง เสียง อธิ บ ายการเกิ ด เสี ย งสู ง
เกิ ด เสี ย งสู ง เสี ย งต่ า สูง เสียงต่า โดยการพูด ต่ า โดย การพู ด ให้ ผู้ อื่ น เสี ย งต่ า โดยการพู ด ให้
โด ย ก ารพู ด ให้ ผู้ อื่ น ให้ ผู้ อื่ น เข้ า ใจได้ ถู ก ต้ อ ง เข้ า ใจ ได้ โด ยอ าศั ยการ ผู้ อื่ น เข้ า ใ จ ไ ด้ เพี ย ง
เข้าใจ ชัดเจนด้วยตนเอง ชี้แนะจากครูหรือผู้อื่น บ างส่ ว น แ ม้ ว่ า จ ะได้
รับ ค าชี้ แ นะจากครู ห รื อ
ผู้อื่น
C5 ความ การทางานร่วมกับผู้อื่น สามารถท างานร่ ว มกั บ สามารถทางานร่วมกับผู้อื่น สามารถท างานร่ ว มกั บ
ร่วมมือ ในการอภิปรายและทา ผู้อื่นในการอภิปรายและ ในการอภิป รายและทาการ ผู้อื่นในการอภิปรายและ
การทดลองเกี่ ย วกั บ ทาการทดลอง เกี่ ยวกั บ ทดลองเกี่ยวกับการเกิดเสียง ทาการทดลองได้เป็นบาง
การเกิ ด เสี ย งสู ง เสี ย ง การเกิดเสียงสูง เสียงต่า สู ง เสี ยงต่ า รวมทั้ งยอมรับ ช่ ว งเวลาทั้ งนี้ ต้ อ งอาศั ย
ต่ า ร ว ม ทั้ งย อ ม รั บ รว ม ทั้ งย อ ม รั บ ค วาม ความคิดเห็นของผู้อื่นได้เป็น การกระตุ้ น จากครู ห รื อ
ความคิดเห็นของผู้อื่น คิ ด เห็ น ของผู้ อื่ น ตั้ ง แต่ บางช่วงเวลาที่ทากิจกรรม ผู้อื่น
เริ่มต้นจนสาเร็จ

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


151 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

กิจกรรมที่ 1.3 เสียงดัง เสียงค่อย ขึ้นอยู่กับอะไร


กิจ กรรมนี้ นั ก เรีย นจะได้ ท ดลองเพื่ อ ศึ ก ษาการเกิ ด และการ
ได้ยินเสียงดัง เสียงค่อย เมื่อพลังงานในการสั่นของแหล่งกาเนิดเสียง
และระยะห่างจากแหล่งกาเนิดเสียงถึงหูผู้ฟังแตกต่างกัน
เวลา 2 ชั่วโมง
จุดประสงค์การเรียนรู้
ทดลองและอธิบายการเกิดเสียงดัง เสียงค่อย
วัสดุอุปกรณ์สาหรับทากิจกรรม
สิ่งที่ครูต้องเตรียม/ห้อง
1. ระฆังหรือกระดิ่งเล็ก ๆ 1 ใบ
สิ่งที่ครูต้องเตรียม/กลุม่
1. วิทยุ 1 เครื่อง
2. เมล็ดถั่วเขียว 10 เมล็ด
สิ่งที่นักเรียนต้องเตรียม/กลุ่ม
1. กล่องกระดาษขนาดกล่องไม้ขีด 1 กล่อง
สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
1. หนังสือเรียน ป.5 เล่ม 1 หน้า 61-64
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 2. แบบบันทึกกิจกรรม ป.5 เล่ม 1 หน้า 67-72
S1 การสังเกต 3. วีดิทัศน์ตวั อย่างปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์สาหรับ
S8 การลงความเห็นจากข้อมูล ครู เรื่องเสียงดัง เสียงค่อยขึ้นอยู่กับอะไร
S9 การตั้งสมมติฐาน http://ipst.me/9469
S11 การกาหนดและควบคุมตัวแปร
S12 การทดลอง
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
C4 การสื่อสาร 4. แหล่งสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดเสียงดัง
C5 ความร่วมมือ เสียงค่อย เช่น www.scimath.org

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 152

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูตรวจสอบความรู้เดิมของนักเรียนโดยอาจให้นักเรียนหลับตา แล้วครู
เคาะระฆั ง หรื อ กระดิ่ ง 3 ครั้ ง ด้ ว ยความแรงในการเคาะแต่ ล ะครั้ ง
ไม่เท่ากัน แล้วให้นักเรียนลืมตา ร่วมกันอภิปรายโดยใช้คาถามดังต่อไปนี้ ค รู รั บ ฟั ง เห ตุ ผ ล ข อ ง
1.1 เสี ยงที่ได้ยินเหมือนหรือต่างกันอย่างไร (ได้ยิน เสียงดัง เสี ยงค่อย นั ก เรี ย นเป็ น ส าคั ญ ครู ยั ง ไม่
แตกต่างกัน) เฉลยคาตอบใด ๆ แต่ชักชวนให้
1.2 นักเรียนคิดว่าครูเคาะระฆังหรือกระดิ่ง อย่างไร เสียงที่ได้ยินจึงเป็น หาคาตอบที่ถูกต้องจากกิจกรรม
เช่นนั้น (นักเรียนตอบตามความเข้าใจของตนเอง) ต่าง ๆ ในบทเรียนนี้
ครู ยั ง ไม่ เฉลยค าตอบที่ ถู ก ต้ อ ง แต่ ชั ก ชวนให้ นั ก เรี ย นเรี ย นรู้ ใน
กิจกรรมต่อไป
2. นักเรียนอ่านชื่อกิจกรรม และทาเป็นคิดเป็น จากนั้นร่วมกันอภิปรายเพื่อ
ตรวจสอบความเข้าใจจุดประสงค์ในการทากิจกรรม โดยครูใช้คาถามดังนี้
2.1 กิจกรรมนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้เรื่องอะไร (การเกิดและการได้ยินเสียง
ดัง เสียงค่อย)
2.2 นักเรียนจะได้เรียนรู้เรื่องนี้ด้วยวิธีใด (การทดลองและการสืบค้นข้อมูล)
2.3 เมื่อเรียนรู้แล้วนักเรียนจะทาอะไรได้ (อธิบ ายการเกิด และการได้ยิน
เสียงดัง เสียงค่อย)
3. นักเรียนบันทึกจุดประสงค์ของกิจกรรม ตอนที่ 1 ลงในแบบบันทึกกิจกรรม
หน้า 67 และอ่านสิ่งที่ต้องใช้ในการทากิจกรรม
4. นักเรียนอ่านทาอย่างไร ตอนที่ 1 โดยครูใช้วิธีฝึกอ่านตามความสามารถ
ของนักเรียน แล้วร่วมกันอภิปรายเพื่อสรุปลาดับขั้นตอนของกิจกรรมตาม
ความเข้าใจของนักเรียน โดยครูใช้คาถามดังต่อไปนี้
4.1 ขั้น ตอนแรกในการท ากิ จกรรมคื ออะไร (ใส่ เมล็ ด ถั่ว เขี ย วประมาณ
10 เมล็ด ในกล่องกระดาษแล้วปิดกล่องให้สนิท)
4.2 หลังจากใส่เมล็ดถั่วเขียวลงในกล่องกระดาษแล้ว ขั้นตอนต่อไปต้องทา
อย่างไร (นักเรียนร่วมกันออกแบบวิธีการทดลองที่ทาให้กล่องใส่เมล็ด
ถั่วเขียวเกิดเสียงดัง เสียงค่อยแตกต่างกัน)
4.3 สมมติฐานของการทดลองคืออะไร (สมมติฐานที่ตั้งขึ้นกับความคิดของ
นักเรียน เช่น การเขย่ากล่องใส่เมล็ดถั่วเขียวด้วยแรงที่แตกต่างกันมีผล
ต่อการเกิดเสียงดัง เสียงค่อย เพราะการออกแรงมาก น้อยต่างกัน ทา
ให้พลังงานในการสั่นของวัตถุแตกต่างกัน)

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


153 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

4.4 หลั ง จากตั้ ง สมมติ ฐ านแล้ ว นั ก เรี ย นต้ อ งท าอะไร (ระบุ ตั ว แปร
ออกแบบวิธีการทดลอง แล้วทาการทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐาน) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะ
4.5 นั ก เรี ย นต้ อ งร่ ว มกั น อภิ ป รายและสื บ ค้ น ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ เรื่ อ งอะไร แห่งศตวรรษที่ 21 ที่นักเรียนจะได้
(การเกิดเสียงดัง เสียงค่อยของแหล่งกาเนิดเสียง) ฝึกจากการทากิจกรรม
ครูอาจะเขียนสมมติฐานและตัวแปรที่นักเรียนร่วมกันกันระบุไว้บ น ตอนที่ 1
กระดานแล้วพิจารณาร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น S1 การสังเกตเสียงสูง เสียงต่าที่ได้ยิน
S9 การตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับวิธีการทดลองที่
สมมติฐาน คือ การเขย่ากล่องใส่เมล็ดถั่วเขียวด้วยแรงที่แตกต่างกันมีผลต่อ
ทาให้กล่องใส่เมล็ดถั่วเขียวเกิดเสียงดัง
การเกิ ด เสี ย งดั ง เสี ย งค่ อ ย เพราะการออกแรงมาก น้ อ ยต่ า งกั น ท าให้ เสียงค่อยแตกต่างกัน
พลังงานในการสั่นของวัตถุแตกต่างกัน S11 การกาหนดและควบคุมตัวแปรเพื่อ
ทดลองเรื่องการเกิดเสียงดัง เสียงค่อย
ตัวแปรต้น คือ การเขย่ากล่องใส่เมล็ดถั่วเขียวด้วยแรงที่แตกต่างกัน
S12 การดาเนินการทดลองตามวิธีที่
ตัวแปรตาม คือ เสียงดัง เสียงค่อยที่ได้ยิน ออกแบบไว้
C4 การสื่อสารด้วยการนาเสนอผลการ
ตัวแปรที่ต้องควบคุมให้คงที่ คือ กล่องใส่เมล็ดถั่วเขียวใบเดิม จานวนเมล็ด อภิปรายและสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเสียง
ถั่วเขียวเท่าเดิม คนเขย่าคนเดิม ดัง เสียงค่อย
C5 ความร่วมมือในการทากิจกรรม สืบค้น
5. เมื่อนักเรียนเข้าใจวิธีการทากิจกรรมในทาอย่างไรแล้ว ครูแจกวัสดุอุปกรณ์
ข้อมูล และการอภิปราย
และให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตามลาดับขั้นตอน
6. หลังจากทากิจกรรมแล้ว ครูนาอภิปรายผลการทากิจกรรม ตอนที่ 1 โดยใช้
คาถามดังนี้
6.1 มีวิธีการใดบ้างที่ทาให้กล่องใส่เมล็ดถั่วเขียวเกิดเสียงดัง เสียงค่อย
แตกต่างกัน (มีวิธีต่าง ๆ กัน ขึ้นอยู่กับการออกแบบของนักเรียน
เช่น ใช้การเขย่ากล่อง โดยเมื่อเขย่าเบา ๆ จะเกิดเสียงค่อย ทาให้
ได้ยินเสียงค่อย แต่เมื่อเขย่าแรง ๆ จะเกิดเสียงดัง ทาให้ได้ยินเสียง
ดัง หรือใช้การเคาะกล่องกับโต๊ะ โดยเมื่อเคาะเบา ๆ ทาให้เกิดเสียง
ค่อย จะได้ยินเสียงค่อย แต่เมื่ อเคาะแรง ๆ ทาให้ เกิดเสียงดัง จะ
ได้ยินเสียงดัง)
6.2 จากการสืบค้นข้อมูล นักเรียนจะอธิบายการเกิดเสียงดัง เสียงค่อย
ได้อย่างไร (เสียงดัง เสียงค่อยเกี่ยวข้องกับพลังงานในการสั่นของ
แหล่งกาเนิดเสียง)
6.3 การเขย่ าหรือ เคาะกล่ องด้ ว ยแรงที่ ม ากน้ อ ยต่ างกั น เกี่ย วข้ องกั บ
พลั งงานในการสั่ นของเมล็ ดถั่ว เขียวอย่างไร (การเขย่าหรือเคาะ

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 154

แรงๆ ทาให้เมล็ดถั่วเขียวสั่นด้วยพลังงานมาก การเขย่าหรือเคาะ


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะ
เบาๆ ทาให้เมล็ดถั่วเขียวสั่นด้วยพลังงานน้อย)
แห่งศตวรรษที่ 21 ที่นักเรียนจะได้
7. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่าพลังงานที่ใช้ในการเขย่ากล่องจะส่งต่อไปให้เมล็ด
ฝึกจากการทากิจกรรม
ถั่วเขียว และเมื่อเมล็ดถั่วเขียวกระทบกล่องด้วยพลังงานที่ต่างกัน ก็จะ
ทาให้เกิดเสี ยงดัง เสียงค่อยต่างกัน ซึ่งจะทาให้ เราได้ยินเสียงดัง เสียง ตอนที่ 2
ค่อยแตกต่างกันด้วย S1 การสังเกตเสียงสูง เสียงต่าที่ได้ยิน
8. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปกิจกรรมตอนที่ 1 ได้ว่า เมื่อใช้พลังงานมากใน S8 การลงความเห็นจากข้อมูลเกี่ยวกับการได้
การทาให้แหล่งกาเนิดเสียงสั่น จะทาให้เกิดเสียงดังมาก ยินเสียงดัง เสียงค่อย
9. ครูสาธิตการเคาะระฆังหรือกระดิ่งหน้าชั้นเรียนอีกครั้ง โดยครูเคาะด้วย
C4 การสื่อสารด้วยการนาเสนอผลการ
แรงที่ไม่เท่ากัน เสียงที่ได้ยินจึงดัง ค่อยไม่เท่ากัน อภิปรายและสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเสียงดัง
10.ครูตั้ งคาถามให้ นั กเรียนอภิ ป รายเพิ่ มเติ มอีกว่าการที่ จะได้ ยินเสี ยงดั ง
เสียงค่อย
เสียงค่อย นอกจากจะขึ้น อยู่กับพลังงานของแหล่งกาเนิดเสียงแล้วยังมี
C5 ความร่วมมือในการทากิจกรรม อภิปราย
ปัจจัยอื่นอีกหรือไม่ (นักเรียนตอบคาถามตามความเข้าใจของตนเอง) และสืบค้นข้อมูล
11.นักเรียนอ่านทาอย่างไร ตอนที่ 2 แล้วร่วมกันอภิปรายเพื่อสรุปลาดับ
ขั้นตอนการทากิจกรรมตามความเข้าใจ โดยครูใช้คาถามดังต่อไปนี้
11.1 ขั้ น ตอนแรกของการท ากิ จ กรรมคื อ อะไร (วางวิ ท ยุ ไว้ ก ลางห้ อ ง
นักเรียนร่วมกันออกแบบวิธีการมากกว่า 1 วิธี ที่จะทาให้ได้ยินเสียง
จากวิทยุดังและค่อยแตกต่างกัน จากนั้นทาตามวิธีการที่ออกแบบ
ไว้)
11.2 นักเรียนต้องร่วมกันอภิป รายและสื บ ค้นข้อมูล เกี่ยวกับ เรื่องอะไร
(การได้ยินเสียงดัง เสียงค่อย)
12. หลังจากทากิจกรรมแล้ว ครูนาอภิปรายผลการทากิจกรรม ตอนที่ 2
โดยใช้คาถามดังนี้
12.1 เมื่อเปิดวิทยุแล้ววางไว้กลางห้อง วิธีการที่จะทาให้ได้ยินเสียงจาก
วิทยุดังค่อยแตกต่างกัน ทาได้อย่างไรบ้าง (ทาได้โดยการเพิ่มและ
ลดความดังของเสียงโดยปรับที่ปุ่มปรับความดัง หรือเดินออกห่า ง
และเข้าใกล้วิทยุ)
12.2 เหตุใดเมื่อปรับปุ่มปรับความดัง เสียงที่ได้ยินจึงดัง ค่อยแตกต่าง
กัน (พลังงานของแหล่งกาเนิดเสียงจะแตกต่างกัน โดยเมื่อปรับปุ่ม
ปรับความดังให้มีความดังมาก พลังงานของแหล่งกาเนิดเสียงจะ
มาก และเมื่ อ ปรั บ ปุ่ ม ปรั บ ความดั ง ให้ ล ดลง พลั ง งานของ
แหล่งกาเนิดเสียงจะน้อย)

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


155 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

12.3 การเดินออกห่างและเข้าใกล้วิทยุ เมื่อให้ปุ่มปรับความดังของเสียง


เท่าเดิม เสียงที่ได้ยินจะดัง ค่อยแตกต่างกันอย่างไร (เมื่อเดินออก
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
ห่างจากวิทยุจะได้ยินเสียงค่อยลง แต่เมื่อเดินเข้าใกล้วิทยุจะได้ยิน
นักเรียนอาจคิดวิธีการต่าง ๆ ที่ทาให้ได้ยิน
เสียงดังขึ้น)
เสี ย งดั ง เสี ย งค่ อ ยได้ ห ลากหลาย เช่ น น า
12.4 การเดินออกห่างและเข้าใกล้วิทยุ เมื่อให้ปุ่มปรับความดังของเสียง
เท่าเดิม พลังงานในการสั่นของวิทยุเป็นอย่างไร (พลังงานในการ สิ่ งของมากั้ น ระหว่างวิท ยุ และผู้ ฟั ง หรือบิ ด
สั่นของวิทยุเท่าเดิม) ล าโพงของวิ ท ยุ ไ ปด้ า นต่ า ง ๆ ซึ่ ง ครู ค วรให้
12.5 ในเมื่อพลังงานในการสั่นของวิทยุเท่าเดิม เหตุใดเมื่ออยู่ใกล้ -ไกล โอกาสนักเรียนทากิจ กรรมตามที่ออกแบบไว้
จากวิทยุ จึงได้ยินเสี ยงดัง ค่อยแตกต่างกัน (ถ้าอยู่ใกล้พ ลังงาน และให้ นั ก เรี ย นอธิ บ ายเหตุ ผ ลประกอบ แต่
ของเสียงที่มาถึงหูจะมาก ถ้าอยู่ไกลพลังงานของเสียงที่มาถึงหูจะ อย่างไรก็ตามครูควรเน้นให้นักเรียนทดลองใน
น้อยลง)
2 ประเด็นหลัก คือพลังงานในการสั่นของวิทยุ
12.6 เสียงดัง เสียงค่อยที่ได้ยินขึ้นอยู่กับอะไร (ขึ้นอยู่กับพลังงานในการ
สั่นของแหล่งกาเนิดเสียง และระยะห่างจากแหล่งกาเนิดเสียงถึง เช่ น การปรั บ ปุ่ ม ปรั บ ความดั ง ของวิ ท ยุ และ
ผู้ฟัง) ระยะห่างจากวิทยุถึงผู้ ฟัง โดยการเดินเข้าหา
13. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปกิจกรรมตอนที่ 2 ซึ่งควรสรุปได้ว่า ความดัง และถอยห่ า งออกจากวิ ท ยุ เพื่ อ ให้ ส ามารถ
ของเสี ย งขึ้ น อยู่ กั บ พลั งงานของแหล่ งก าเนิ ด เสี ย งและระยะห่ างจาก น าไปสู่ ก ารอภิ ป รายการได้ ยิ น เสี ย งดั ง เสี ย ง
แหล่งกาเนิดเสียง ค่อยได้
14. ครู แ ละนั ก เรี ย นร่ ว มกั น อภิ ป รายและสรุ ป ผลการท ากิ จ กรรม ดั ง นี้
การเกิดเสียงดังเสียงค่อยขึ้นอยู่กับพลังงานของแหล่งกาเนิดเสียง ส่วน
การได้ยินเสียงดัง เสียงค่อยขึ้นอยู่กับพลังงานของแหล่งกาเนิดเสียงและ
ระยะห่างจากแหล่งกาเนิดเสียงถึงผู้ฟัง (S13) ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
15. นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อตอบคาถามในฉันรู้อะไร โดยครูอาจใช้
คาถามเพิ่มเติมในการอภิปรายเพื่อให้ได้แนวคาตอบที่ถูกต้อง จากนั้น ครูอาจเชื่อมโยงผลการสังเกตจากกิจกรรม
นักเรียนอ่านสิ่งที่ได้เรียนรู้ และเปรียบเทียบกับข้อสรุปของตนเอง 1.1 เสียงเคลื่อนที่ได้อย่างไร โดยใช้การเคาะ
16. ครูก ระตุ้ น ให้ นั ก เรี ย นฝึ ก ตั้ งค าถามเกี่ ย วกั บ เรื่อ งที่ ส งสั ย หรือ อยากรู้ ส้อมเสียงแล้วจุ่มลงไปในน้า ซึ่งจะเห็นคลื่นน้า
เพิ่มเติมใน อยากรู้อีกว่า จากนั้นครูอาจสุ่มนักเรียน 2 -3 คน นาเสนอ กระเพื่อมมากบริเวณใกล้ขาส้อมเสียง แต่เมื่อ
คาถามของตนเองหน้าชั้นเรียน และให้นักเรียนร่วมกันอภิ ปรายเกี่ยวกับ
ห่างจากขาส้อมเสียงออกไป คลื่นน้าจะ
คาถามที่นาเสนอ
กระเพื่อมน้อยลง นั่นแสดงว่าบริเวณใกล้ขา
17. ครูนาอภิปรายเพื่อให้นักเรียนทบทวนว่าได้ฝึกทักษะกระบวนการทาง
วิท ยาศาสตร์ แ ละทั ก ษะแห่ งศตวรรษที่ 21 อะไรบ้ างและในขั้ น ตอน ส้อมเสียง น้าสั่นด้วยพลังงานมากกว่าบริเวณที่
ใดบ้าง อยู่ห่างจากขาส้อมเสียงออกไป

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 156

18. นั ก เรี ย นร่ ว มกั น อ่ า นเกร็ ด น่ า รู้ ในหนั ง สื อ เรี ย นหน้ า 64 จากนั้ น ให้
นักเรียนร่วมกันอภิปรายว่า เสียงดัง เสียงค่อย และเสียงสูง เสียงต่า ที่ได้
ยินมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร ซึ่งควรได้ข้อสรุปว่า เสียงดัง เสียง
ค่อย จะเกี่ยวข้องกับพลังงานของแหล่งกาเนิดเสียง ส่วนเสียงสูง เสียงต่า
จะเกี่ยวข้องกับความถี่ในการสั่นของแหล่งกาเนิดเสียง ซึ่งคือจานวนรอบ
ของการสั่นของแหล่งกาเนิดเสียง

การเตรียมตัวล่วงหน้าสาหรับครู
เพื่อจัดการเรียนรู้ในครัง้ ถัดไป

ในครั้งถัดไป นักเรียนจะได้ทากิจกรรม
ที่ 1.4 มลพิ ษ ทางเสี ยงเป็ นอย่างไร โดยครู
เตรียมดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่ใช้วัดระดับ
เสียงลงในโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือแท็บเล็ต ซึ่ง
เลื อกใช้ ได้ ทั้งในระบบปฏิ บัติ การ Android
และ IOS โดยใช้ ค าค้ น เช่ น Sound level
meter Decibel meter หรือ เดซิเบล

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


157 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

แนวคาตอบในแบบบันทึกกิจกรรม

ทดลอง สืบค้นข้อมูล และอธิบายการเกิดเสียงดัง เสียงค่อย

หมายเหตุ: กรณีที่นักเรียนออกแบบวิธีการทาให้กล่องใส่เมล็ดถั่วเขียว
เกิดเสียงดัง เสียงค่อยแตกต่างกันด้วยการเขย่ากล่อง
การเขย่ากล่องใส่เมล็ดถั่วเขียวด้วยแรงที่แตกต่างกันมีผลต่อการเกิดเสียงดัง
เสียงค่อย เพราะการออกแรงมาก น้อยทาให้พลังงานในการสั่นของวัตถุแตกต่างกัน

การเขย่ากล่องใส่เมล็ดถั่วเขียวด้วยแรงที่แตกต่างกัน

เสียงดัง เสียงค่อย ที่ได้ยิน

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 158

กล่องใส่เมล็ดถั่วเขียวใบเดิม จานวนเมล็ดถั่วเขียวเท่าเดิม
คนเขย่าคนเดิม

เขย่ากล่องใส่เมล็ดถั่วเขียวด้วยแรงที่แตกต่างกัน จากนั้นสังเกตว่าเสียงดัง
เสียงค่อยที่ได้ยินแตกต่างกันอย่างไร

เขย่ากล่องเบา ๆ / แรง ๆ เสียงค่อย / เสียงดัง

เคาะกล่องกับโต๊ะเบา ๆ /
เสียงค่อย / เสียงดัง
แรง ๆ

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


159 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

สังเกต สืบค้นข้อมูล และอธิบายการได้ยินเสียงดัง เสียงค่อย

เดินเข้าใกล้วิทยุ ได้ยินเสียงดังขึ้น/
1. เดินเข้าใกล้ /เดินออกห่าง
วิทยุ เดินออกห่างจากวิทยุ ได้ยินเสียงค่อยลง
2.ปรับปุ่มปรับความดังให้ ปรับปุ่มปรับความดังให้มากขึ้น ได้ยินเสียงดังขึ้น
มากขึ้น/น้อยลง ปรับปุ่มปรับความดังให้น้อยลง ได้ยินเสียงค่อย
ลง

**หมายเหตุ วิธีการออกแบบการทดลองของนักเรียน อาจจะได้ผลการสังเกต


ที่แตกต่างกัน

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 160

เขย่ากล่องใส่เมล็ดถั่วเขียวด้วยแรงที่ต่างกัน โดยเมื่อเขย่ากล่องเบา ๆ เสียงจะ


ค่อยลง ทาให้ได้ยินเสียงค่อย แต่เมื่อเขย่ากล่องแรงขึ้น จะเกิดเสียงดัง ทาให้ได้
ยินเสียงดัง

ใช้พลังงานในการเขย่ากล่องต่างกัน โดยเมื่อเขย่ากล่องเบา ๆ ใช้พลังงานใน


การเขย่าน้อย แต่เมื่อเขย่ากล่องแรงขึ้น จะใช้พลังงานในการเขย่ามากขึ้น
เสียงที่เกิดขึ้นจะดัง ค่อยแตกต่างกัน

เสียงดัง เสียงค่อยมีความสัมพันธ์กับพลังงานที่ทาให้เกิดการสั่นของ
แหล่งกาเนิดเสียง ถ้าแหล่งกาเนิดเสียงสั่นด้วยพลังงานมาก เสียงก็จะดัง
ถ้าแหล่งกาเนิดเสียงสั่นด้วยพลังงานน้อย เสียงก็จะค่อย

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


161 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

1. ฟังเสียงวิทยุที่ระยะห่างต่างกัน
2. ปรับปุ่มปรับความดังของวิทยุ

1. การฟังเสียงที่ระยะห่างจากวิทยุต่างกัน ทาให้พลังงานของเสียงที่มาถึง
หูผู้ฟังต่างกัน
2. การปรับปุ่มความดังของวิทยุ ทาให้พลังงานการสั่นของของวิทยุต่างกัน

เราจะได้ยินเสียงดังเมื่ออยู่ใกล้วิทยุ หรือปรับปุ่มความดังของวิทยุให้เสียงดังขึ้น
แต่เมื่อถอยห่างจากวิทยุ หรือปรับปุ่มความดังของวิทยุให้เสียงค่อยลง เสียงที่
ได้ยินจะค่อยลง

การเกิดเสียงดัง เสียงค่อยขึ้นอยู่กับพลังงานการสั่นของแหล่งกาเนิดเสียง
ส่วนการได้ยินเสียงดัง เสียงค่อยขึ้นอยู่กับพลังงานในการสั่นของแหล่งกาเนิดเสียง
และระยะห่างจากแหล่งกาเนิดเสียงถึงผูฟ้ งั

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 162

คาถามของนักเรียนที่ตั้งตามความอยากรู้ของตนเอง







ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


163 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

แนวการประเมินการเรียนรู้
การประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนทาได้ ดังนี้
1. ประเมินความรู้เดิมจากการอภิปรายในชั้นเรียน
2. ประเมินการเรียนรู้จากคาตอบของนักเรียนระหว่างการจัดการเรียนรู้และจากแบบบันทึกกิจกรรม
3. ประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จากการทากิจกรรมของนักเรียน

การประเมินจากการทากิจกรรมที่ 1.3 เสียงดัง เสียงค่อย ขึ้นอยู่กับอะไร


ระดับคะแนน
3 คะแนน หมายถึง ดี 2 คะแนน หมายถึง พอใช้ 1 คะแนน หมายถึง ควรปรับปรุง

รหัส สิ่งที่ประเมิน ระดับคะแนน


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
S1 การสังเกต
S8 การลงความเห็นจากข้อมูล
S9 การตั้งสมมติฐาน
S11 การกาหนดและควบคุมตัวแปร
S12 การทดลอง
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
C4 การสื่อสาร
C5 ความร่วมมือ
รวมคะแนน

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 164

ตาราง แสดงการวิเคราะห์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามระดับความสามารถของนักเรียน
โดยอาจใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี้
ทักษะกระบวนการ ระดับความสามารถ
รายการประเมิน
ทางวิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
S1 การสังเกต ก า ร บ ร ร ย า ย สามารถใช้ ประสาท สามารถใช้ป ระสาทสั มผั ส สามารถใช้ ประสาทสั มผั ส
รายละเอี ยดเกี่ ยวกั บ สั มผั สเก็บ รายละเอี ยด เก็บรายละเอียดข้อมูลและ เก็บรายละเอียดข้อมูลและ
การได้ ยิ น เสี ย งดั ง ข้ อ มู ล แล ะบ รรยาย บรรยายเกี่ยวกับการได้ยิน บรรยายเกี่ยวกับการได้ยิน
เสี ย งค่ อ ยเมื่ อ ท าให้ เกี่ยวกับการได้ยินเสียง เสียงดัง เสียงค่อยเมื่อออก เสียงดัง เสี ยงค่อยเมื่อออก
กล่ อ งที่ ใส่ เมล็ ดถั่ ว ดั ง เสี ย งค่ อ ยเมื่ อ ออก แรงกระท าต่ อ กล่ อ งที่ ใส่ แรงกระท าต่ อ กล่ อ งที่ ใส่
เขี ย วเกิ ด เสี ย งตาม แรงกระทาต่อกล่องที่ใส่ เมล็ ดถั่ วเขี ยวด้ วยวิ ธี ที่ เมล็ ดถั่ วเขี ยวด้ วยวิ ธี ที่
วิ ธี ก ารที่ ออกแบ บ เมล็ ดถั่ วเขี ยวด้ วยวิ ธี ที่ แตกต่างกัน และการได้ยิน แตกต่างกัน และการได้ยิน
และการได้ยินเสียงดัง แตกต่างกัน และการได้ เสียงดัง เสียงค่อยจากวิทยุ เสียงดัง เสียงค่อยจากวิทยุ
เสี ย งค่ อยจากวิ ท ยุ ยิ น เสี ย งดั ง เสี ย งค่ อ ย ตามวิ ธีการที่ ออกแบบ ได้ ตามวิ ธี ก ารที่ อ อกแบบได้
ตามวิธีการที่ออกแบบ จากวิ ท ยุ ต ามวิ ธี ก ารที่ ถูกต้องแต่ไม่ครบถ้วน โดย ถูกต้องเพียงบางส่วน
ออกแบบ ได้ ถู ก ต้ อ ง อาศัยคาชี้แนะจากครูหรือ
แ ล ะ ค ร บ ถ้ ว น ด้ ว ย ผู้อื่น
ตนเอง
S8 การลงความเห็น การลงความเห็นจาก สามารถลงความเห็น สามารถลงความเห็นจาก สามารถลงความเห็นจาก
จากข้อมูล ข้อมูลเกี่ยวกับการได้ จากข้อมูลได้ถูกต้อง ข้อมูล จากการชี้แนะของ ข้อมูล ได้ถูกต้องเพียง
ยินเสียงดัง เสียงค่อย ทั้งหมดด้วยตนเอง ครูหรือผู้อื่น เกี่ยวกับการ บางส่วน แม้ว่าจะได้รับคา
เกิดจากความแรงหรือ เกี่ยวกับการเกิดและ เกิดและการได้ยินเสียงดัง ชี้แนะจากครูหรือผู้อื่น
พลังงานที่กระทาต่อ การได้ยินเสียงดัง เสียง เสียงค่อยว่าเมื่อออกแรง เกี่ยวกับการเกิดและการได้
แหล่งกาเนิดเสียงและ ค่อยว่าเมื่อออกแรง กระทาต่อกล่องใส่เมล็ดถั่ว ยินเสียงดัง เสียงค่อยว่าเมื่อ
ระยะห่างระหว่าง กระทาต่อกล่องใส่เมล็ด เขียวด้วยแรงมาก ทาให้ ออกแรงกระทาต่อกล่องใส่
แหล่งกาเนิดเสียงกับ ถั่วเขียวด้วยแรงมาก เมล็ดถั่วเขียวสั่นด้วย เมล็ดถั่วเขียวด้วยแรงมาก
หูผู้ฟัง ทาให้เมล็ดถั่วเขียวสั่น พลังงานมาก จึงเกิดเสียงดัง ทาให้เมล็ดถั่วเขียวสั่นด้วย
ด้วยพลังงานมาก จึง และเมื่อออกแรงกระทาต่อ พลังงานมาก จึงเกิดเสียงดัง
เกิดเสียงดัง และเมื่อ กล่องใส่เมล็ดถั่วเขียวด้วย และเมื่อออกแรงกระทาต่อ
ออกแรงกระทาต่อ แรงน้อย ทาให้เมล็ดถั่ว กล่องใส่เมล็ดถั่วเขียวด้วย
กล่องใส่เมล็ดถั่วเขียว เขียวสั่นด้วยพลังงานน้อย แรงน้อย ทาให้เมล็ดถั่ว
ด้วยแรงน้อย ทาให้ จึงเกิดเสียงค่อย และการได้ เขียวสั่นด้วยพลังงานน้อย
เมล็ดถั่วเขียวสั่นด้วย ยินเสียงดัง เสียงค่อย จึงเกิดเสียงค่อย และการได้
พลังงานน้อย จึงเกิด ขึ้นอยู่กับพลังงานของวิทยุ ยินเสียงดัง เสียงค่อย

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


165 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

ทักษะกระบวนการ ระดับความสามารถ
รายการประเมิน
ทางวิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
เสียงค่อย และการได้ และระยะห่างถึงผู้ฟัง โดย ขึ้นอยู่กับพลังงานของวิทยุ
ยินเสียงดัง เสียงค่อย เมื่อออกแรงกระทาต่อ และระยะห่างถึงผู้ฟัง โดย
ขึ้นอยู่กับพลังงานของ กล่องที่ใส่เมล็ดถั่วเขียวมาก เมื่อออกแรงกระทาต่อ
วิทยุและระยะห่างถึง และผู้ฟังอยู่ใกล้ กล่องที่ใส่เมล็ดถั่วเขียวมาก
ผู้ฟัง โดยเมื่อออกแรง แหล่งกาเนิดเสียง จะได้ยิน และผู้ฟังอยู่ใกล้
กระทาต่อกล่องที่ใส่ เสียงดัง และเมื่อออกแรง แหล่งกาเนิดเสียง จะได้ยิน
เมล็ดถั่วเขียวมากและ กระทาต่อกล่องใส่เมล็ดถั่ว เสียงดัง และเมื่อออกแรง
ผู้ฟังอยู่ใกล้แหล่งกาเนิด เขียวด้วยแรงน้อย และผู้ฟัง กระทาต่อกล่องใส่เมล็ดถั่ว
เสียง จะได้ยินเสียงดัง อยู่ไกลจากแหล่งกาเนิด เขียวด้วยแรงน้อย และผู้ฟัง
และเมื่อออกแรงกระทา เสียง จะได้ยินเสียงค่อย อยู่ไกลจากแหล่งกาเนิด
ต่อกล่องใส่เมล็ดถั่ว เสียง จะได้ยินเสียงค่อย
เขียวด้วยแรงน้อย และ
ผู้ฟังอยู่ไกลจาก
แหล่งกาเนิดเสียง จะได้
ยินเสียงค่อย
S9 การ การตั้งสมมติฐานเพื่อ สามารถตั้งสมมติฐาน สามารถตั้งสมมติฐานเพื่อ สามารถตั้งสมมติฐานเพื่อ
ตั้งสมมติฐาน บอกความสัมพันธ์ เพื่อบอกความสัมพันธ์ บอกความสัมพันธ์ระหว่าง บอกความสัมพันธ์ระหว่าง
ระหว่างแรงที่กระทา ระหว่างแรงที่กระทาต่อ แรงที่กระทาต่อ แรงที่กระทาต่อ
ต่อแหล่งกาเนิดเสียง แหล่งกาเนิดเสียงกับ แหล่งกาเนิดเสียงกับเสียง แหล่งกาเนิดเสียงกับเสียง
กับเสียงดัง เสียงค่อย เสียงดัง เสียงค่อยที่ได้ ดัง เสียงค่อยที่ได้ยินได้ ดัง เสียงค่อยที่ได้ยินได้
ที่ได้ยิน ยินได้อย่างถูกต้องและ อย่างถูกต้องและมีเหตุผล อย่างถูกต้องแต่ไม่มีเหตุผล
มีเหตุผลประกอบด้วย ประกอบ จากการชี้แนะ ประกอบ แม้ว่าจะได้รับคา
ตนเอง ของครูหรือผู้อื่น ชี้แนะจากครูหรือผู้อื่น
S11 การกาหนด การกาหนดตัวแปรต้น สามารถกาหนดตัวแปร สามารถกาหนดตัวแปรของ สามารถกาหนดตัวแปรของ
และควบคุมตัวแปร ตัวแปรตาม และตัว ของการทดลองเรื่อง การทดลองเรื่องการเกิด การทดลองเรื่องการเกิด
แปรที่ต้องควบคุมให้ การเกิดเสียงดัง เสียง เสียงดัง เสียงค่อยได้ว่า ตัว เสียงดัง เสียงค่อยได้ว่า ตัว
คงที่ของการทดลอง ค่อยได้ว่า ตัวแปรต้น แปรต้น คือ การเขย่ากล่อง แปรต้น คือ การเขย่ากล่อง
เรื่องการเกิดเสียงดัง คือ การเขย่ากล่องใส่ ใส่เมล็ดถั่วเขียวด้วยแรงที่ ใส่เมล็ดถั่วเขียวด้วยแรงที่
เสียงค่อยของกล่องใส่ เมล็ดถั่วเขียวด้วยแรงที่ แตกต่างกัน ตัวแปรตาม แตกต่างกัน ตัวแปรตาม
เมล็ดถั่วเขียว แตกต่างกัน ตัวแปรตาม คือ เสียงดัง เสียงค่อยที่ได้ คือ เสียงดัง เสียงค่อยที่ได้
(สมมติฐานที่ตั้งขึ้นอยู่ คือ เสียงดัง เสียงค่อยที่ ยิน และตัวแปรที่ต้อง ยิน และตัวแปรที่ต้อง

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 166

ทักษะกระบวนการ ระดับความสามารถ
รายการประเมิน
ทางวิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
กับการออกแบบการ ได้ยิน และตัวแปรที่ต้อง ควบคุมให้คงที่ คือ กล่องใส่ ควบคุมให้คงที่ คือ กล่องใส่
ทดลองของนักเรียน) ควบคุมให้คงที่ คือ เมล็ดถั่วเขียว กล่องเดิม เมล็ดถั่วเขียว กล่องเดิม
กล่องใส่เมล็ดถั่วเขียว จานวนเมล็ดถั่วเขียวเท่า จานวนเมล็ดถั่วเขียวเท่า
กล่องเดิม จานวนเมล็ด เดิม คนเขย่าคนเดิมได้ เดิม คนเขย่าคนเดิม ได้
ถั่วเขียวเท่าเดิม คน ถูกต้อง ครบถ้วนจากการ ถูกต้องเป็นบางส่วน แม้ว่า
เขย่าคนเดิม ได้ถูกต้อง ชี้แนะของครูหรือผู้อื่น จะได้รับคาชี้แนะจากครู
และครบถ้วนด้วย หรือผู้อื่น
ตนเอง
S12 การทดลอง การออกแบบและทา สามารถออกแบบและ สามารถออกแบบและทา สามารถออกแบบและทา
การทดลองเรื่องการ ทาการทดลองเรื่องการ การทดลองเรื่องการเกิด การทดลองเรื่องการเกิด
เกิดเสียงดัง เสียงค่อย เกิดเสียงดัง เสียงค่อยที่ เสียงดัง เสียงค่อยที่ เสียงดัง เสียงค่อยที่
ที่สอดคล้องกับ สอดคล้องกับสมมติฐาน สอดคล้องกับสมมติฐาน สอดคล้องกับสมมติฐาน
สมมติฐานของการ ของการทดลองและตัว ของการทดลองและตัวแปร ของการทดลองและตัวแปร
ทดลองและตัวแปรที่ แปรที่กาหนดได้ถูกต้อง ที่กาหนดได้ ถูกต้อง ที่กาหนดได้ถูกต้องเป็น
กาหนด ครบถ้วนด้วยตนเอง ครบถ้วน จากการชี้แนะ บางส่วน แม้ว่าจะได้คา
ของครูหรือผู้อื่น ชี้แนะจากครูหรือผู้อื่น
S13 การ การตีความหมาย สามารถตีความหมาย สามารถตีความหมายข้อมูล สามารถตีความหมายข้อมูล
ตีความหมายข้อมูล ข้อมูลจากการทา ข้อมูลจากการทา จากการทากิจกรรมและลง จากการทากิจกรรมและลง
และลงข้อสรุป กิจกรรมและลง กิจกรรมและลงข้อสรุป ข้อสรุปเกี่ยวกับการเกิด ข้อสรุปเกี่ยวกับการเกิด
ข้อสรุปเกี่ยวกับการ เกี่ยวกับการเกิดเสียงดัง เสียงดัง เสียงค่อยว่าขึ้นอยู่ เสียงดัง เสียงค่อยว่าขึ้นอยู่
เกิดเสียงดัง เสียงค่อย เสียงค่อยว่าขึ้นอยู่กับ กับพลังงานในการสั่นของ กับพลังงานในการสั่นของ
ว่าขึ้นอยู่กับพลังงาน พลังงานในการสั่นของ แหล่งกาเนิดเสียง และการ แหล่งกาเนิดเสียง และการ
ในการสั่นของ แหล่งกาเนิดเสียง และ ได้ยินเสียงดัง เสียงค่อย ได้ยินเสียงดัง เสียงค่อย
แหล่งกาเนิดเสียง การได้ยินเสียงดัง เสียง ขึ้นอยู่กับพลังงานในการสั่น ขึ้นอยู่กับพลังงานในการสั่น
และการได้ยินเสียงดัง ค่อยขึ้นอยู่กับพลังงาน ของแหล่งกาเนิดเสียง ของแหล่งกาเนิดเสียง
เสียงค่อยขึ้นอยู่กับ ในการสั่นของ และระยะห่างจาก และระยะห่างจาก
พลังงานในการสั่นของ แหล่งกาเนิดเสียง แหล่งกาเนิดเสียงถึงผู้ฟัง แหล่งกาเนิดเสียงถึงผู้ฟัง
แหล่งกาเนิดเสียง และระยะห่างจาก ได้ถูกต้อง จากการชี้แนะ ได้ถูกต้องเพียงบางส่วน
และระยะห่างจาก แหล่งกาเนิดเสียงถึง จากครูหรือผู้อื่น แม้ว่าจะได้รับคาชี้แนะจาก
แหล่งกาเนิดเสียงถึง ผู้ฟังได้ถูกต้องทั้งหมด ครูหรือผู้อื่น
ผู้ฟัง ด้วยตนเอง

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


167 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

ตาราง แสดงการวิเคราะห์ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ตามระดับความสามารถของนักเรียน


โดยอาจใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี้
ทักษะแห่ง ระดับความสามารถ
รายการประเมิน
ศตวรรษที่ 21 ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
C4 การสื่อสาร การน าเสนอเกี่ ย วกั บ สามารถน าเสน อการ ส า ม า ร ถ น า เส น อ ก า ร สามารถ น าเสน อการ
ก า ร อ อ ก แ บ บ ก า ร ออกแบบการทดลอง ออกแบบการทดลองและ ออกแบบการทดลองและ
ทดลองและการอธิบาย และอธิบายเกี่ยวกับ การ อธิบายเกี่ยวกับการเกิดและ อธิ บ ายเกี่ ย วกั บ การเกิ ด
เกี่ ย วกั บ การเกิ ด และ เกิ ด และการได้ ยิ น เสี ย ง การได้ยินเสียงดัง เสียงค่อย และการได้ ยิ น เสี ย งดั ง
การได้ยินเสียงดัง เสียง ดั ง เสี ย งค่ อ ย โดยการ โดยการพูดเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ เสี ย งค่ อ ย โดยการพู ด
ค่ อ ย โด ย ก า ร พู ด พู ด เพื่ อ ให้ ผู้ อื่ น เข้ า ใจได้ ได้ ถู ก ต้ อ ง โดยอาศั ย การ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้เพียง
เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ ถู ก ต้ อ ง ชั ด เจ น ด้ ว ย ชี้แนะจากครูหรือผู้อื่น บ างส่ ว น แ ม้ ว่ า จ ะได้
ตนเอง รับ ค าชี้ แ นะจากครู ห รื อ
ผู้อื่น
C5 ความ การทางานร่วมกับผู้อื่น สามารถท างานร่ ว มกั บ สามารถทางานร่วมกับผู้อื่น สามารถท างานร่ ว มกั บ
ร่วมมือ ในการท าการทดลอง ผู้ อื่ น ใน ก า ร ท า ก า ร ในการท าการทดลอง และ ผู้ อื่ น เป็ น บางช่ว งเวลาที่
และร่ ว มกั น อภิ ป ราย ท ด ล อ ง แ ล ะ ร่ ว ม กั น ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการ ท ากิ จ กรรม ทั้ ง นี้ ต้ อ ง
เกี่ ย วกั บ การเกิ ด และ อภิปรายเกี่ยวกับการเกิด เกิ ด และการได้ ยิ น เสี ย งดั ง อาศัยการกระตุ้นจากครู
การได้ยินเสียงดัง เสียง และการได้ ยิ น เสี ย งดั ง เสี ย งค่ อ ย รวมทั้ ง ยอมรั บ หรือผู้อื่น
ค่ อ ย รวมทั้ ง ยอมรั บ เสี ย ง ค่ อ ย ร ว ม ทั้ ง ความคิ ด เห็ น ของผู้ อื่ น บาง
ความคิดเห็นของผู้อื่น ยอมรับความคิดเห็นของ ช่วงเวลาที่ทากิจกรรม
ผู้ อื่ น ตั้ ง แต่ เริ่ ม ต้ น จ น
สาเร็จ

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 168

กิจกรรมที่ 1.4 มลพิษทางเสียงเป็นอย่างไร


กิจกรรมนี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้ว่าเสี ยงที่มีความดังมากหรือเสี ยงที่
ก่อให้เกิดความราคาญเป็นมลพิษทางเสียง การวัดระดับเสียง ทาได้
โดยใช้เครื่องมือวัดระดับเสียง รวมทั้งการรวบรวมข้อมูลและนาเสนอ
แนวทางในการหลีกเลี่ยงและลดมลพิษทางเสียง

เวลา 2 ชั่วโมง

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. วัดระดับเสียงโดยใช้เครื่องวัดระดับเสียง
2. รวบรวมข้อมูลและนาเสนอแนวทางในการหลีกเลี่ยงและลด
มลพิษทางเสียง

วัสดุ อุปกรณ์สาหรับทากิจกรรม
สิ่งที่ครูต้องเตรียม/กลุ่ม
กระดาษโปสเตอร์ 1 แผ่น ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
C4 การสื่อสาร
สิ่งที่นักเรียนต้องเตรียม/กลุ่ม
C5 ความร่วมมือ
ปากกาเคมีคละสี 1 กล่อง C6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
S2 การวัด สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
S8 การลงความเห็นจากข้อมูล 1. หนังสือเรียน ป.5 เล่ม 1 หน้า 65-68
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป 2. แบบบันทึกกิจกรรม ป.5 เล่ม 1 หน้า 73-76
3. แอปพลิเคชันเครื่องมือวัดระดับเสียง

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


169 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูตรวจสอบความรู้เดิมของนักเรียนโดยอาจใช้คาถาม ดังนี้
1.1 จงเรียงลาดับความดังของเสียงจากแหล่งกาเนิดเสียงต่อไปนี้ เสียง
ลมหายใจปกติ เสี ย งจากล าโพง เสี ย งเครื่ อ งบิ น ก าลั ง ขึ้ น เสี ย ง
กระซิบแผ่วเบา (นักเรียนตอบตามความคิดของตนเอง เช่น เสียง
หายใจปกติ เสียงกระซิบแผ่วเบา เสียงจากลาโพง เสียงเครื่องบิน ในการตรวจสอบความรู้ ครู
กาลังขึ้น) เพียงรับฟังเหตุผลของนักเรียนและ
1.2 นั ก เรี ย นทราบหรื อ ไม่ ว่ า เรามี วิ ธี วั ด ความดั ง ของเสี ย งอย่ า งไร ยังไม่เฉลยคาตอบใด ๆ แต่ชักชวน
(นักเรียนตอบตามความเข้าใจของตนเอง) ให้นักเรียนไปหาคาตอบด้วยตนเอง
1.3 ถ้านักเรียนจาเป็นต้องอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดังมาก ๆ นักเรียนจะมี จากการอ่านเนื้อเรื่อง
วิ ธี ป้ อ งกั น หรื อ ไม่ อย่ า งไร (นั ก เรี ย นตอบตามความเข้ า ใจของ
ตนเอง)
2. นักเรียนอ่านชื่อกิจกรรม และ ทาเป็นคิดเป็น ในหนังสือเรียนหน้า 65
จากนั้ น ครูแ ละนั ก เรีย นร่ว มกั น อภิ ป รายเพื่ อตรวจสอบความเข้ าใจ
จุดประสงค์ในการทากิจกรรม โดยครูใช้คาถามดังนี้
2.1 กิจกรรมนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้เรื่องอะไร (มลพิษทางเสียง)
2.2 นั ก เรี ย นจะได้ เ รี ย นรู้ เ รื่ อ งนี้ ด้ ว ยวิ ธี ใ ด (การวั ด ระดั บ เสี ย ง
การรวบรวมข้อมูล)
2.3 เมื่อเรียนแล้วนักเรียนจะทาอะไรได้ (วัดระดับเสียงโดยใช้เครื่องมือ
วัดระดับเสียง นาเสนอแนวทางในการหลีกเลี่ยงและลดมลพิษทาง
เสียง)
3. นักเรียนบันทึกจุดประสงค์ลงในแบบบันทึกกิจกรรมหน้า 73 และอ่าน
สิ่งที่ต้องใช้ในการทากิจกรรม
4. นักเรียนอ่านทาอย่างไร โดยครูใช้วิธีฝึกการอ่านตามความสามารถของ
นักเรียน แล้วร่วมกันอภิปรายเพื่อสรุปลาดับขั้นตอนของกิจกรรมตาม
ความเข้าใจ โดยครูใช้คาถามดังต่อไปนี้
4.1 ในขั้นตอนแรก นักเรียนต้องทาอะไร (ฟังเสียงจากวิทยุ โดยเปิด
เสียงวิทยุให้ดัง ค่อยแตกต่างกัน)
4.2 ในขั้นตอนต่อมา นักเรียนต้องทาอะไร (ฝึกการใช้เครื่องวัดระดับ
เสี ย ง เช่ น มิ เตอร์ วั ด ระดั บ เสี ย ง แอปพลิ เคชั่ น วั ด ระดั บ เสี ย ง
โดยวัดระดับเสียงที่ได้ยิน นาเสนอผลและร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับ
การวัดระดับเสียง)

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 170

4.3 หลั งจากฝึ กใช้เครื่องมือวัดระดับเสี ยงแล้ว นักเรียนต้องทาอะไร ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ


ต่อไป (วัดระดับเสียงในสถานที่ที่แตกต่างกัน 3 แห่ง บันทึกผล) ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่นักเรียนจะได้
4.4 นักเรียนต้องรวบรวมข้อมูลโดยการสืบค้นข้อมูลและอ่านใบความรู้ ฝึกจากการทากิจกรรม
เกี่ยวกับเรื่องอะไร (ระดับเสียงและมลพิษทางเสียง)
S2 การใช้เครื่อ งมื อ วัดระดับ เสี ย งวั ด
4.5 หลั ง จากศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ ระดั บ เสี ย งและมลพิ ษ ทางเสี ย งแล้ ว
ความดังของเสียงในสถานที่ต่าง
นักเรียนต้องทาอะไรต่อไป (ทาโปสเตอร์นาเสนอแนวทางในการ
S8 การลงความเห็นจากข้อมูลว่าเสียง
หลีกเลี่ยงและลดมลพิษทางเสียง)
ที่ ดั งเกิ น ไปหรื อ เสี ย งที่ ก่ อ ให้ เกิ ด
ครูอาจให้นักเรียนแบ่งหัวข้อการสืบค้นข้อมูล ดังนี้
ความราคาญเป็นมลพิษทางเสียง
- ความหมายของระดับเสียง หน่วยวัดระดับเสียง
C4 ก ารสื่ อ ส ารด้ วย ก ารน าเส น อ
- ระดับเสียงของกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชุมชน
แนวทางในการหลี ก เลี่ ย งและลด
- ความหมายของมลพิษทางเสียง มลพิ ษ ท างเสี ย งด้ ว ยวิ ธี ก ารที่
- วิธีป้องกันหรือหลีกเลี่ยงมลพิษทางเสียง น่าสนใจ
C5 ความร่ ว มมื อ ในการท ากิ จ กรรม
5. หลั งจากท ากิ จ กรรมแล้ ว ครูน าอภิ ป รายผลการท ากิ จ กรรม โดยใช้ สืบค้นข้อมูล และนาเสนอ
คาถามดังนี้
5.1 เราสามารถบอกความดังของเสียงได้อย่างไร (เราบอกความดังของ
เสียงด้วยระดับเสียง มีหน่วยวัดเป็น เดซิเบล)
5.2 กิจกรรมในชุมชนแต่ละอย่างมีระดับเสียงอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่าง
(เสียงกระซิบแผ่วเบา มีระดับเสียงประมาณ 20 เดซิเบล ถือว่าเป็น
เสียงเบามาก เสียงจากเครื่องเจาะถนน มีระดับเสียงประมาณ 100
เดซิเบลถือว่าเป็นเสียงดัง)
5.3 มลพิ ษทางเสี ยงคืออะไร (เสี ยงที่ ดังมากจนท าให้ เกิดอันตรายต่ อ
อวัยวะภายในหู หรือเสียงที่ก่อให้เกิดความราคาญแก่ผู้ฟัง)
5.4 มลพิษทางเสียงมีผลข้างเคียงต่อสุขภาพ หรือไม่ อย่างไร (มีผลต่อ
สุขภาพ คือ ทาให้ เกิดความเครียด ปวดหัว โรคความดันโลหิตสู ง
อ่อนเพลีย โรคหัวใจ)
5.5 ถ้าได้ยินเสียงดังกว่าปกติต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน จะทาให้เกิดผล
อย่ า งไร (ท าให้ ค วามสามารถในการได้ ยิ น ลดลง อาจท าให้ เกิ ด
อาการหูตึง หรือหูหนวกได้)
5.6 เรามีวิธีป้องกันอันตรายจากมลพิษทางเสียงได้อย่างไร (สวมที่ครอบ
หู หรือไม่ฟังเสียงดังเป็นเวลานานเกินไป)

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


171 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

6. ครู มอบหมายให้ นัก เรียนแต่ ล ะกลุ่ ม ร่ว มกัน ออกแบบวิธีการนาเสนอ


แนวทางในการหลี ก เลี่ ย งและลดมลพิ ษ ทางเสี ย ง เช่ น ท าโปสเตอร์
ระหว่างนี้ครูควรเดินสารวจการทากิจกรรมและให้คาแนะนาแก่นักเรียน
7. นั ก เรี ย นแต่ ล ะกลุ่ ม ติ ด แสดงผลงานของกลุ่ ม บริ เวณผนั ง ห้ อ งโดยมี
ตัวแทนของกลุ่มยืนประจาคอยให้ความรู้แก่นักเรียนกลุ่มอื่นที่มาศึกษา
นักเรียนที่มาชมผลงานอาจเขีย นข้อเสนอแนะ หรือคาถามที่สงสัยบน
แผ่น post it และติดบนแผ่นโปสเตอร์นั้น แล้วติดลงบนโปสเตอร์ของ
เจ้าของผลงาน
8. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับข้อเสนอแนะและคาถามที่สงสัย
ซึ่งรวบรวมจากแผ่น post it
9. ครูชักชวนนักเรียนร่วมกันให้คะแนนให้กับผลงานแต่ละกลุ่มพร้อมทั้ง
คัดเลือกผลงานของกลุ่มที่นาเสนอได้ยอดเยี่ยม
10. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปผลการทากิจกรรมซึ่งควรสรุปได้ว่า
การวัดระดับเสียง หรือเสียงดัง เสียงค่อยที่ได้ยิน ทาได้โดยใช้เครื่องมือ
วัดระดับเสียง มีหน่วยเป็นเดซิเบล มลพิษทางเสียงเป็นเสียงดังที่ทาให้
เกิดอันตรายต่อหู ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับเสียงที่ได้ยินและระยะเวลาที่ได้ยิน
เสียงเป็นเวลานาน หรือเสียงที่ก่อให้เกิดความราคาญ เราควรหลีกเลี่ยง
มลพิษทางเสียง หรือใช้เครื่องป้องกันหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น การใช้
ที่อุดหู เป็นต้น (S13)
11.นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อตอบคาถามในฉันรู้อะไร โดยครูอาจใช้
คาถามเพิ่มเติมในการอภิปรายเพื่อให้ได้แนวคาตอบที่ถูกต้อง
12.นักเรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในกิจกรรมนี้ จากนั้นนักเรียนอ่านสิ่งที่
ได้เรียนรู้ และเปรียบเทียบกับข้อสรุปของตนเอง
13.ครูก ระตุ้ น ให้ นั ก เรีย นฝึ ก ตั้ งค าถามเกี่ ย วกั บ เรื่อ งที่ ส งสั ย หรื อ อยากรู้
เพิ่มเติมใน อยากรู้อีกว่า จากนั้นครูอาจสุ่มนักเรียน 2 -3 คน นาเสนอ
คาถามของตนเองหน้าชั้นเรียน และให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับ
คาถามที่นาเสนอ
14.ครูนาอภิปรายเพื่อให้นักเรียนทบทวนว่าได้ฝึกทักษะกระบวนการทาง
วิท ยาศาสตร์และทั กษะแห่ งศตวรรษที่ 21 อะไรบ้างและในขั้น ตอน
ใดบ้าง

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 172

15. นักเรียนร่วมกันอ่านรู้อะไรในเรื่องนี้ ในหนังสื อเรียนหน้า 69 ครูนา


อภิปรายเพื่อนาไปสู่ข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในเรื่องนี้ จากนั้นครู
กระตุ้นให้นักเรียนตอบคาถามในช่วงท้ายของเนื้อเรื่อง ดังนี้ “ลองคิดดู
สิว่า ในชุมชนของเรามีบ ริเวณใดบ้างที่ มีมลพิษทางเสียง และเราใน
ฐานะที่ เป็ น สมาชิ ก ของชุ ม ชน จะมี ส่ ว นช่ ว ยลดมลพิ ษ ทางเสี ย งได้
อย่างไรบ้าง” นักเรียนตอบคาถามตามความคิดของตนเอง นอกจากนี้
ครู อ าจใช้ ค าถามเพื่ อ เชื่ อ มโยงความรู้ ไปยั ง บทต่ อ ไป ดั ง นี้ ในช่ ว ง
เทศกาลเฉลิ ม ฉลองมี ก ารจุ ด ประทั ด หรื อ พลุ ซึ่ ง ท าให้ เกิ ด เสี ย งดั ง
นับเป็นมลพิษทางเสียง นอกจากจะเป็นอันตรายต่อ อวัยวะในการรับ
เสียง คือ หูของเราแล้ว เราอาจจะได้รับอันตรายจากการระเบิดหรือ
ได้ รั บ สารพิ ษ ด้ ว ย รู้ ห รื อ ไม่ ว่ า ขณ ะจุ ด ประทั ด หรื อ พลุ มี ก าร
เปลี่ยนแปลงทางเคมีอย่างไร นักเรียนสามารถหาคาตอบได้จากการ
เรียนในบทต่อไป

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


173 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

แนวคาตอบในแบบบันทึกกิจกรรม

1. วัดระดับเสียงโดยใช้เครื่องมือวัดระดับเสียง
2. รวบรวมข้อมูลและนาเสนอแนวทางในการหลีกเลี่ยงและลด
มลพิษทางเสียง

ผลที่ได้จากการทากิจกรรมของนักเรียนในสถานที่จริง เช่น ในโรงอาหาร ห้องเรียน สนามกีฬา


นักเรียนรับประทานอาหาร
โรงอาหาร 86.20
และพูดคุย
มีการเรียนการสอน ทา
ห้องเรียน 91.85
กิจกรรม

สนามกีฬา นักเรียนทากิจกรรม เล่นกีฬา 104.95


โรงเรียน

หมายเหตุ: ผลการวัดระดับเสียงของนักเรียนอาจแตกต่างจากตัวอย่างในตาราง

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 174

ผลการสืบค้นข้อมูลและการอ่านใบความรู้ตามที่นักเรียนได้ศึกษามาจริง เช่น เสียงดัง


เสียงค่อย บอกได้ด้วยระดับเสียง มีหน่วยเป็นเดซิเบล มลพิษทางเสียง อาจเป็นเสียง
ดังมากจนทาให้เกิดอันตรายต่อหู หรืออาจเป็นเสียงที่ทาให้เกิดความราคาญ ระดับ
เสียงที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ คือ ระดับเสียงที่สูงกว่า 120 เดซิเบล การฟังเสียงดัง
ติ ด ต่ อ กั น เป็ น เวลานาน ก็ เป็ น อั น ตรายเช่ น กั น เช่ น ฟั งเสี ย งที่ มี ร ะดั บ เสี ย งตั้ งแต่
90 เดซิเบล โดยฟังติดต่อกันเป็นเวลานานเกินกว่า 8 ชั่วโมง หรือการฟังเสียงที่ระดับ
เสียงตั้งแต่ 70 เดซิเบล* ตลอดเวลา วิธีการป้องกันอันตรายจากเสียง ทาได้โดยการ
หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีเสียงดังมากและหลีกเลี่ยงการฟังเสียงติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ
หรือสวมที่อุดหู หรือที่ครอบหู เป็นต้น (*อ้างอิงข้อมูลจาก กรมควบคุมมลพิษ)

ระดับเสียง เป็นปริมาณที่บอกถึงเสียงดัง ค่อยที่ได้ยิน

เครื่องมือวัดระดับเสียง เป็นเครื่องมือที่บอกให้รู้ว่าบริเวณนั้นมีเสียงดัง เสียงค่อยในระดับใด


ถ้าเสียงดังเกินไป อาจเกิดอันตรายต่อหูของเรา เราควรหลีกเลี่ยงบริเวณดังกล่าว

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


175 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

ระดับเสียงที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ คือ ระดับเสียงที่สูงกว่า 120 เดซิเบล หรือระดับ


เสียงตั้งแต่ 90 เดซิเบล โดยฟังติดต่อกันเป็นเวลานานเกินกว่า 8 ชั่วโมง หรือฟังเสียง
ระดับเสียงตั้งแต่ 70 เดซิเบล* ขึ้นไปอยู่ตลอดเวลา การป้องกันอันตรายจากเสียง
ทาได้โดยการหลีกเลี่ยงการได้ยินเสียงดังติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ หรือสวมที่อุดหู
หรือที่ครอบหู เป็นต้น (*อ้างอิงข้อมูลจาก กรมควบคุมมลพิษ)

มลพิษทางเสียงคือเสียงที่ดังมากจนเป็นอันตรายต่อหู หรือเสียงที่ก่อให้เกิด
ความราคาญต่อผู้ฟัง

เสียงดัง เสียงค่อย บอกได้ด้วยระดับเสียง มีหน่วยเป็นเดซิเบล มลพิษทางเสียงอาจ


เป็นเสียงดังมากจนทาให้เกิดอันตรายต่อหู หรืออาจเป็นเสียงที่ทาให้เกิดความ
ราคาญ วิธีป้องกันมลพิษทางเสียง ทาได้หลายวิธี เช่น การสวมที่ครอบหู หรือการ
หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีเสียงดังมาก

มลพิษทางเสียงเป็นเสียงดังที่ทาให้เกิดอันตรายต่อหู หรือเสียงที่ก่อให้เกิดความ
ราคาญ เราควรหลีกเลี่ยงมลพิษทางเสียง หรือใช้เครื่องป้องกัน การวัดระดับเสียง
ทาได้โดยใช้เครื่องมือวัดระดับเสียง มีหน่วยเป็นเดซิเบล

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 176

คาถามของนักเรียนที่ตั้งตามความอยากรู้ของตนเอง




ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


177 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

แนวการประเมินการเรียนรู้
การประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนทาได้ ดังนี้
1. ประเมินความรู้เดิมจากการอภิปรายในชั้นเรียน
2. ประเมินการเรียนรู้จากคาตอบของนักเรียนระหว่างการจัดการเรียนรู้และจากแบบบันทึกกิจกรรม
3. ประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จากการทากิจกรรมของนักเรียน

การประเมินจากการทากิจกรรมที่ 1.4 มลพิษทางเสียงเป็นอย่างไร


ระดับคะแนน
3 คะแนน หมายถึง ดี 2 คะแนน หมายถึง พอใช้ 1 คะแนน หมายถึง ควรปรับปรุง

รหัส สิ่งที่ประเมิน ระดับคะแนน


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
S2 การวัด
S8 การลงความเห็นจากข้อมูล
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
C4 การสื่อสาร
C5 ความร่วมมือ
C6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
รวมคะแนน

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 178

ตาราง แสดงการวิเคราะห์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามระดับความสามารถของนักเรียน
โดยอาจใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี้
ทักษะกระบวนการ ระดับความสามารถ
รายการประเมิน
ทางวิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
S2 การวัด การวัดระดับเสียงโดย สามารถวัดระดับเสียงโดย สามารถวัดระดับเสียงโดย สามารถระบุหน่วยของระดับ
ใช้เครื่องมือวัดระดับ ใช้เครื่องมือวัดระดับเสียง ใช้เครื่องมือวัดระดับเสียง เสียงได้อย่างถูกต้องด้วย
เสียง และระบุหน่วย และระบุหน่วยของระดับ และระบุหน่วยของระดับ ตนเองแต่ไม่สามารถวัดระดับ
ของระดับเสียง เสียงได้ถูกต้องด้วยตนเอง เสียงได้ถูกต้อง จากการ เสียงโดยใช้เครื่องมือวัดระดับ
ชี้แนะของครูหรือผู้อื่น เสียงได้แม้จะได้รับการชี้แนะ
จากครูหรือผู้อื่น
S8 การลงความเห็น การลงความเห็นจาก สามารถลงความเห็นจาก สามารถลงความเห็นจาก สามารถลงความเห็นจาก
จากข้อมูล ข้อมูลเกี่ยวกับเสียงที่ ข้อมูลว่าเสียงที่ดังเกินไป ข้อมูลว่าเสียงที่ดังเกินไป ข้อมูลว่าเสียงที่ดังเกินไปหรือ
ดังเกินไปหรือเสียงที่ หรือเสียงที่ก่อให้เกิดความ หรือเสียงที่ก่อให้เกิดความ เสียงที่ก่อให้เกิดความราคาญ
ก่อให้เกิดความ ราคาญจัดเป็นมลพิษทาง ราคาญจัดเป็นมลพิษทาง จัดเป็นมลพิษทางเสียงได้
ราคาญจัดเป็นมลพิษ เสียงได้ถูกต้องทั้งหมดด้วย เสียงได้ถูกต้องทั้งหมด จาก ถูกต้องเพียงบางส่วน แม้ว่าจะ
ทางเสียง ตนเอง การชี้แนะของครูหรือผู้อื่น ได้รับคาชี้แนะจากครูหรือผู้อื่น
S13 การ การตีความหมาย สามารถตีความหมาย สามารถตีความหมาย สามารถตีความหมายข้อมูล
ตีความหมายข้อมูล ข้อมูลจากการทา ข้อมูลจากการทากิจกรรม ข้อมูลจากการทากิจกรรม จากการทากิจกรรมและลง
และลงข้อสรุป กิจกรรมและลง และลงข้อสรุปได้ว่ามลพิษ และลงข้อสรุปได้ว่ามลพิษ ข้อสรุปได้ว่ามลพิษทางเสียง
ข้อสรุปเกี่ยวกับ ทางเสียงเป็นเสียงดังที่ทา ทางเสียงเป็นเสียงดังที่ทา เป็นเสียงดังที่ทาให้เกิด
ลักษณะของมลพิษ ให้เกิดอันตรายต่อหู ซึง่ ให้เกิดอันตรายต่อหู ซึง่ อันตรายต่อหู ซึ่งขึ้นอยู่กับ
ทางเสียงและข้อควร ขึ้นอยู่กับระดับเสียงและ ขึ้นอยู่กับระดับเสียงและ ระดับเสียงและระยะเวลาที่ได้
ปฏิบัติในการป้องกัน ระยะเวลาที่ได้ยินเสียง ระยะเวลาที่ได้ยินเสียง ยินเสียง หรือเสียงที่ก่อให้เกิด
และหลีกเลี่ยงมลพิษ หรือเสียงที่ก่อให้เกิดความ หรือเสียงที่ก่อให้เกิดความ ความราคาญเราควรหลีกเลี่ยง
ทางเสียง การวัด ราคาญเราควรหลีกเลี่ยง ราคาญเราควรหลีกเลี่ยง มลพิษทางเสียง หรือใช้เครื่อง
ระดับเสียงซึ่งมีหน่วย มลพิษทางเสียง หรือใช้ มลพิษทางเสียง หรือใช้ ป้องกันหากหลีกเลี่ยงไม่ได้
เป็นเดซิเบล เครื่องป้องกันหาก เครื่องป้องกันหาก การวัดระดับเสียงทาได้โดยใช้
หลีกเลี่ยงไม่ได้ การวัด หลีกเลี่ยงไม่ได้ การวัด เครื่องมือวัดระดับเสียง มี
ระดับเสียงทาได้โดยใช้ ระดับเสียงทาได้โดยใช้ หน่วยเป็นเดซิเบลได้ถูกต้อง
เครื่องมือวัดระดับเสียง มี เครื่องมือวัดระดับเสียง มี เพียงบางส่วน แม้ว่าจะได้
หน่วยเป็นเดซิเบลได้ หน่วยเป็นเดซิเบลได้ รับคาชี้แนะจากครูหรือผู้อื่น
ถูกต้องทั้งหมดด้วยตนเอง ถูกต้องทั้งหมด จากการ
ชี้แนะจากครูหรือผู้อื่น

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


179 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

ตาราง แสดงการวิเคราะห์ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ตามระดับความสามารถของนักเรียน


โดยอาจใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี้
ทักษะแห่ง ระดับความสามารถ
รายการประเมิน
ศตวรรษที่ 21 ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
C4 การสื่อสาร การน าเสนอเกี่ ย วกั บ ส า ม า ร ถ น า เส น อ สามารถน าเสนอเกี่ ย วกั บ ส า ม า ร ถ น า เ ส น อ
แ น ว ท า ง ใ น ก า ร เกี่ยวกับแนวทางในการ แนวทางในการหลี ก เลี่ ย ง เกี่ยวกับแนวทางในการ
ห ลี ก เลี่ ย ง แ ล ะ ล ด หลีกเลี่ยงและลดมลพิษ และลดมลพิ ษ ทางเสี ย ง หลีกเลี่ยงและลดมลพิษ
มลพิษทางเสียงเพื่อให้ ทางเสี ย งเพื่ อ ให้ ผู้ อื่ น เพื่ อ ให้ ผู้ อื่ น เข้ าใจ ด้ ว ย ทางเสี ย งเพื่ อ ให้ ผู้ อื่ น
ผู้อื่นเข้าใจด้วยวิธีการ เข้ า ใจ ด้ ว ย วิ ธี ก า ร ที่ วิธีการที่น่าสนใจ โดยอาศัย เข้ า ใจ ด้ ว ย วิ ธี ก า ร ที่
ที่น่าสนใจ น่าสนใจ ได้ด้วยตนเอง การชี้แนะจากครูหรือผู้อื่น ชั ด เจนและไม่ น่ า สนใจ
แม้ ว่าจะได้รับ ค าชี้แ นะ
จากครูหรือผู้อื่น
C5 ความ การท างาน ร่ ว ม กั บ สามารถท างานร่ว มกั บ สามารถทางานร่วมกับผู้อื่น สามารถท างานร่ว มกั บ
ร่วมมือ ผู้ อื่ น ใ น ก า ร ท า ผู้อื่นในการทากิจกรรม ใน การท ากิ จ กรรม และ ผู้ อื่น ในการท ากิ จกรรม
กิ จ กรรมและร่ ว มกั น และร่ ว มกั น น าเสนอ ร่วมกันนาเสนอแนวทางใน แ ล ะ ร่ ว ม น า เส น อ
น าเสนอแนวทางใน แ น ว ท า ง ใ น ก า ร ก า ร ห ลี ก เลี่ ย งแ ล ะ ล ด แ น ว ท า ง ใ น ก า ร
การหลี กเลี่ ยงและลด หลีกเลี่ยงและลดมลพิษ มลพิษทางเสียงด้วยวิธีการ หลี ก เลี่ ย งมลพิ ษทาง
มลพิ ษ ทางเสี ย งด้ ว ย ทางเสี ย งด้ ว ยวิ ธี ก ารที่ ที่ น่ าสนใจ รวมทั้ งยอมรับ เสียงได้เป็นบางช่วงเวลา
วิธีการที่น่าสนใจ น่าสนใจ รวมทั้งยอมรับ ความคิดเห็ นของผู้ อื่น เป็ น ที่ท ากิจ กรรม ทั้ งนี้ ต้อ ง
ความคิ ด เห็ น ของผู้ อื่ น บางช่วงเวลาที่ทากิจกรรม อาศัยการกระตุ้นจากครู
ตั้งแต่เริ่มต้นจนสาเร็จ หรือผู้อื่น
C6 การใช้ ก า ร สื บ ค้ น ข้ อ มู ล สามารถสื บ ค้ น ข้ อ มู ล ส า ม า ร ถ สื บ ค้ น ข้ อ มู ล สามารถสื บ ค้ น ข้ อ มู ล
เทคโนโลยี เกี่ ย วกั บ ระดั บ เสี ย ง เกี่ยวกับระดับเสียงและ เกี่ ย วกั บ ระดั บ เสี ย งและ เกี่ยวกับระดับเสียงและ
สารสนเทศและ และมลพิ ษ ทางเสี ย ง มลพิ ษ ท างเสี ย งจาก มลพิ ษ ทางเสี ยงจากแหล่ ง ม ลพิ ษ ท างเสี ยงจาก
การสื่อสาร จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ แหล่ ง เรี ย นรู้ ต่ า ง ๆ ที่ เรียนรู้ต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือได้ แหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่ไม่
ที่น่าเชื่อถือ น่าเชื่อถือได้ด้วยตนเอง โดยอาศัยการชี้แนะจากครู น่าเชื่อถือ แม้ว่าจะได้รับ
หรือผู้อื่น การชี้ แ นะจากครู ห รื อ
ผู้อื่น

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 180

กิจกรรมท้ายบทที่ 2 เสียง (1 ชั่วโมง)


1. ครูให้นักเรียนวาดรูปหรือเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จ ากบทนี้ ในแบบ บันทึก
กิจกรรมหน้า 77
2. นัก เรียนตรวจสอบการสรุป สิ่ งที่ ได้เรียนรู้ของตนเองโดยเปรียบเที ยบกั บ
ผังมโนทัศน์ในหัวข้อ รู้อะไรในบทนี้ ในหนังสือเรียนหน้า 71
3. นักเรียนกลับไปตรวจสอบคาตอบของตนเองในสารวจความรู้ก่อนเรียน ใน
แบบบันทึกกิจกรรม หน้า 50-51 อีกครั้ง ถ้าคาตอบของนักเรียนไม่ถูกต้อง
ให้ขีดเส้นทับข้อความเหล่านั้น แล้วแก้ไขให้ถูกต้อง หรืออาจแก้ไขคาตอบ
ด้ว ยปากกาที่มี สี ต่างจากเดิม นอกจากนี้ค รูอาจน าคาถามในรูป น าบทใน
หนังสือเรียนหน้า 48 มาร่วมกันอภิปรายคาตอบอีกครั้ง
4. นักเรียนทา แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2 เสียง ในแบบบันทึกกิจกรรมหน้า 78-
79 จากนั้นนาเสนอคาตอบหน้าชั้นเรียน ถ้าคาตอบยัง ไม่ถูกต้องครูควรนา
อภิปรายหรือให้สถานการณ์เพิ่มเติมเพื่อแก้ไขแนวคิดคลาดเคลื่อนให้ถูกต้อง
5. นักเรียนร่วมกันทากิจกรรม ร่วมคิด ร่วมทา โดยร่วมกันคิดประดิษฐ์เครื่อง
ดนตรีจากวัสดุเหลือใช้ให้เครื่องดนตรีนั้น สามารถเล่นให้มีเสียงสูง เสียงต่า
ต่างกันได้ นักเรียนจะออกแบบประดิษฐ์เครื่องดนตรีนั้นอย่างไร
6. นักเรียนอ่านและอภิ ป รายเนื้ อเรื่องในหั ว ข้อวิท ย์ใกล้ ตัว ในหนังสื อเรียน
หน้า 73 โดยครูกระตุ้นให้ นักเรียนเห็นความสาคัญของความรู้จากสิ่งที่ได้
เรียนรู้ในหน่วยนี้ ว่าสามารถนาไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจาวันได้อย่างไร
บ้าง เช่น เสียงจากสายกีตาร์ ที่มีเสียงสูง เสียงต่า เกิดจากขนาดและความ
ยาวของสายกีตาร์ ส่วนเสียงดัง เสียงค่อย เกิดจากแรงในการดีดสายกีตาร์
ครูแนะนาให้นักเรียนสังเกตเครื่องดนตรีที่ไม่มีสาย เช่น ขลุ่ย นักดนตรีจะทา
ให้ ข ลุ่ ย เกิ ด เสี ย งสู ง เสี ย งต่ า เสี ย งดั ง เสี ย งค่ อ ย ที่ แ ตกต่ างกั น ได้ ห รื อ ไม่
อย่างไร (นักเรียนตอบตามความเข้าใจของตนเอง โดยใช้ความรู้จากเรื่องที่ได้
เรียนมา เช่น การทาให้ขลุ่ยเกิดเสียงสูง เสียงต่า ที่แตกต่างกัน ทาได้โดยการ
ปิดที่บริเวณรูต่าง ๆ ที่อยู่ที่ ตัวขลุ่ย เพื่อกาหนดมวลของอากาศที่นักดนตรี
เป่าลมเข้าไปในขลุ่ย โดยถ้ากาหนดให้มวลของอากาศมาก เสียงของขลุ่ยที่ได้
ยินจะเป็นเสียงต่า แต่ถ้ากาหนดให้มวลของอากาศน้อย เสียงของขลุ่ยที่ได้
ยินจะเป็นเสียงสูง ส่วนการทาให้ขลุ่ ยเกิดเสี ยงดัง เสียงค่อยนั้น ขึ้น อยู่กับ
พลังงานที่นักดนตรีเป่าลมเข้าไปในขลุ่ย ถ้าเป่าโดยใช้พลังงานมาก เสียงที่ได้
ยินจะดัง แต่ถ้าเป่าโดยใช้พลังงานน้อย เสียงที่ได้ยินจะค่อยนั่นเอง)

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


181 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

สรุปผลการเรียนรู้ของตนเอง

รูปหรือข้อความสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากบทนี้ตามความเข้าใจของนักเรียน

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน 182

แนวคาตอบในแบบฝึกหัดท้ายบท

เสียงจากโลมาตัวหนึ่งเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางของเสียง คือ น้า


ไปยังอวัยวะรับเสียงของโลมาอีกตัวหนึ่ง

การเติมน้าลงไปในขวดทีละน้อยเป็นการเพิ่มมวลรวมของขวดแก้ว
เมื่อเราใช้ไม้เคาะขวดบริเวณเดิม จะทาให้เสียงที่ได้ยินต่าลง ๆ เพราะ
ความถี่ในการสั่นของวัตถุน้อยลงเรื่อย ๆ

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


183 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

นักเรียนอาจตอบข้อ ค เพราะในสถานที่ก่อสร้างที่มีการขุดเจาะพื้น
จะมีเสียงดังมากที่สุดซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อหู แต่อย่างไรก็ตาม
นักเรียนอาจตอบข้ออื่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเหตุผลประกอบ

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คูมือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร ป.5 เลม 1 | บรรณานุกรม หนวยที่ 2 184

บรรณานุกรม (หนวยที่ 2)
Chee, C. T. (1996). Common Misconception in Frictional Force among University Physics Students. Teaching
and Learning. 16(2). 107-116.
Ozkan, G. (2013). The use of conceptual change texts as class material in the teaching of “sound” in
physics. Asia-Pacific Forum on Science Learning and Teacning, 14(1). Retrived from https://www.edu
hk.hk/apfslt/download/v14_issue1_files/ozkan.pdf

Weiler, B. (1998). Children’s misconceptions about Sound. Retrived from http://amasci.com/miscon


/opphys.html

ขจรศักดิ์ บัวระพันธ และ เพ็ญจันทร ซิงห (2550). แนวคิดคลาดเคลื่อนจากแนวคิดทางวิทยาศาสตรเกี่ยวกับแรงและการ


เคลื่อนที่. วารสารศึกษาศาสตรปริทัศน. 22(3). 49-63.

ขจรศักดิ์ บัวระพันธ, เพ็ญจันทร ซิงห และ วรรณทิพา รอดแรงคา (2549). การพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับแรงและการเคลื่อนที่


ของวัตถุของนักศึกษาครูวิชาเอกฟสิกสชั้นปที่ 3 ดวยกิจกรรมการเรียนรูแบบสรางองคความรูดวยตนเอง. วารสาร
สงขลานครินทร ฉบับสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร. 12(1). 97-119.

สถาบันสงเสริมการสอนวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี 
185 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร
ภาพรวมการจัดการเรียนรู้ประจาหน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

บท เรื่อง กิจกรรม ลาดับการจัดการเรียนรู้ ตัวชี้วัด


บทที่ 1 การ เรื่องที่ 1 การเปลี่ยน  การเปลี่ยนสถานะเป็นการเปลี่ยนแปลง ว 2.1
เปลี่ยนแปลงทาง สถานะ ทางกายภาพเพราะสารหลัง ป. 5/1 อธิบายการ
กายภาพ การเปลี่ยนแปลงยังเป็นสารเดิม เปลีย่ นสถานะ
การเปลี่ยนสถานะเกิดขึนเมื่อสารได้รับ ของสสารเมื่อทา
ความร้อนและร้อนขึนหรือสารสูญเสีย ให้สสารร้อนขึน
ความร้อนและเย็นลง หรือเย็นลงโดย
กิจกรรมที่ 1.1  การเปลี่ยนแปลงที่ของแข็งได้รับ ใช้หลักฐานเชิง
นาแข็งมีการ ความร้อนจนเปลี่ยนสถานะเป็น ประจักษ์
เปลี่ยนสถานะ ของเหลวเรียกว่าการหลอมเหลว และ
อย่างไร ของเหลวเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส
เรียกว่าการกลายเป็นไอโดยเกิดขึนได้
สองลักษณะคือการระเหยและ
การเดือด เมื่อลดความร้อนลงจนแก๊ส
เปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวเรียกว่า
การควบแน่น
กิจกรรมที่ 1.2  การเปลี่ยนแปลงที่ของเหลวสูญเสีย
นาผลไม้เป็นเกล็ด ความร้อนจนเปลี่ยนสถานะเป็น
นาแข็งได้อย่างไร ของแข็งเรียกว่าการแข็งตัว
กิจกรรมที่ 1.3
 การเปลี่ยนแปลงที่ของแข็งเปลี่ยน
พิมเสนมีการ สถานะเป็นแก๊สโดยไม่เปลี่ยนสถานะ
เปลี่ยนสถานะ
เป็นของเหลวก่อนเรียกว่าการระเหิด
อย่างไร
และแก๊สเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็งโดย
ไม่เปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวก่อน
เรียกว่าการระเหิดกลับ

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 186

บท เรื่อง กิจกรรม ลาดับการจัดการเรียนรู้ ตัวชี้วัด


เรื่องที่ 2 การละลาย กิจกรรมที่ 2 การ  เมื่อนาสารในสถานะใดๆ อย่างน้อย 2 ว 2.1
ละลายเป็น ชนิดผสมกันสารที่ได้เป็นสารผสม ป.5/2 อธิบายการ
อย่างไร สารผสมบางชนิดมองเห็นกลมกลืนเป็น ละลายของสารใน
เนือเดียวกันหมดทุกส่วนจัดเป็นสาร นาโดยใช้หลักฐาน
เนือเดียว แต่ถ้ามองเห็นไม่เป็นเนือ เชิงประจักษ์
เดียวกันจัดเป็นสารเนือผสม
 การละลายเป็นการเปลี่ยนแปลงทาง
กายภาพเกิดจากการนาสารอย่างน้อย
2 ชนิดผสมเป็นเนือเดียวกันโดยไม่
เปลี่ยนเป็นสารใหม่ สารเนือเดียวที่ได้
จากการละลายเรียกว่าสารละลาย

บทที่ 2 การ เรื่องที่ 1 การ กิจกรรมที่ 1.1  การเปลี่ยนแปลงทางเคมีเป็นการ ว.2.1


เปลี่ยนแปลงทาง เปลี่ยนแปลงทาง การเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลงที่มีสารใหม่เกิดขึน สาร
เคมี เคมี ทางเคมีคืออะไร ใหม่มีสมบัติบางประการแตกต่างจาก ป.5/3 วิเคราะห์การ
สารเดิม การเปลี่ยนแปลงทางเคมี เปลี่ยนแปลง
สังเกตได้จากการเปลี่ยนสี กลิ่น ของสารเมื่อเกิด
กิจกรรมที่ 1.2 รู้ การเกิดฟองแก๊ส การเกิดตะกอน การเปลี่ยนแปลง
ได้อย่างไรว่าเกิด นอกจากนันยังมีการเพิ่มหรือลดความ ทางเคมีโดยใช้
การเปลี่ยนแปลง ร้อน หลักฐานเชิง
ทางเคมี ประจักษ์

บทที่ 3 การ เรื่องที่ 1 การ กิจกรรมี่ 1 ผัน  สารบางชนิดเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้ว ว 2.1


เปลี่ยนแปลงที่ผัน เปลี่ยนแปลงที่ผัน กลับได้และผัน สามารถทาให้กลับมาเป็นสารเดิมได้ ป.5/4 วิเคราะห์
กลับได้และผัน กลับได้และผันกลับ กลับไม่ได้เป็น เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ แต่ และระบุการ
กลับไม่ได้ ไม่ได้ อย่างไร การเปลี่ยนแปลงของสารบางชนิดเมื่อ เปลี่ยนแปลงที่
เปลี่ยนแปลงแล้วไม่สามารถทาให้ ผันกลับได้และ
กลับมาเป็นสารเดิมได้ เป็นการ การเปลี่ยนแปลง
เปลี่ยนแปลงที่ผันกลับไม่ได้ ทีผ่ ันกลับไม่ได้

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


187 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

บทที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
จุดประสงค์การเรียนรู้ประจาบท
เมื่อเรียนจบบทนี นักเรียนสามารถ
1. อธิบายการเปลี่ยนสถานะของสสาร
2. อธิบายการละลายของสารในนา
3. อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
เวลา 7 ชั่วโมง
แนวคิดสาคัญ
สสารเปลี่ยนจากสถานะหนึ่งไปเป็นอีกสถานะ
หนึ่งเมื่อได้รับหรือสูญเสียความร้อน การเปลี่ยนแปลงนี
เรียกว่า การเปลี่ยนสถานะ สารหลายชนิดเมื่อใส่ลงในนา
จะเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยแตกออกเป็นอนุภาคเล็ก ๆ
และรวมเป็ น เนื อเดี ย วกั น กั บ น า การเปลี่ ย นแปลงนี
เรียกว่า การละลาย
สารที่เปลี่ยนสถานะและสารที่ละลายอยู่ในนา
ยังคงเป็นสารเดิมไม่เปลี่ยนเป็นสารใหม่ การเปลี่ยน
สถานะและการละลายจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงทาง
กายภาพ
สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ บทนี้มีอะไร
เรื่องที่ 1 การเปลี่ยนสถานะ
1. หนังสือเรียน ป. 5 เล่ม 1 หน้า 74-103 คาสาคัญ การเปลี่ยนสถานะของสสาร
2. แบบบันทึกกิจกรรม ป. 5 เล่ม 1 หน้า 80-110 (changing state of matter)
กิจกรรมที่ 1.1 น าแข็ ง มี ก ารเปลี่ ย นสถานะ
อย่างไร
กิจกรรมที่ 1.2 น าผลไม้ เ ป็ น เกล็ ด น าแข็ ง ได้
อย่างไร
กิจกรรมที่ 1.3 พิ ม เสนมี ก ารเปลี่ ย นสถานะ
อย่างไร
เรื่องที่ 2 การละลาย
กิจกรรมที่ 2 การละลายเป็นอย่างไร

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 188

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
กิจกรรมที่
รหัส ทักษะ 1.1 1.2 1.3 2
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
S1 การสังเกต    
S2 การวัด
S3 การใช้จานวน
S4 การจาแนกประเภท
S5 การหาความสัมพันธ์ระหว่าง
 สเปซกับสเปซ   
 สเปซกับเวลา 
S6 การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล 
S7 การพยากรณ์
S8 การลงความเห็นจากข้อมูล    
S9 การตังสมมติฐาน
S10 การกาหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
S11 การกาหนดและควบคุมตัวแปร
S12 การทดลอง
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป    
S14 การสร้างแบบจาลอง
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
C1 การสร้างสรรค์
C2 การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
C3 การแก้ปัญหา
C4 การสื่อสาร    
C5 ความร่วมมือ    
C6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร    
หมายเหตุ: รหัสทักษะที่ปรากฏนี ใช้เฉพาะหนังสือคู่มือครูเล่มนี

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


189 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

แนวคิดคลาดเคลื่อน
แนวคิดคลาดเคลื่อนที่อาจพบและแนวคิดที่ถูกต้องในบทที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ มีดังต่อไปนี

แนวคิดคลาดเคลื่อน แนวคิดที่ถูกต้อง
เมื่อต้มนาจนเดือดเกิดฟองแก๊ส สารที่อยู่ในฟองแก๊ ส คื อ เมื่อต้มนาจนเดือดเกิดฟองแก๊ส สารที่อยู่ในฟองแก๊สคือ ไอนา
อากาศหรือแก๊สไฮโดรเจน หรือแก๊สออกซิเจน (Osborne (Osborne and Cosgrove, 1983; Stein, Larrabee and
and Cosgrove, 1983; Stein, Larrabee and Barman, Barman; 2008)
2008)
เมื่อนาตาลละลายในนา นาตาลจะเหลือไว้แต่เพียงรสชาติ เมื่ อ น าตาลละลายในน า น าตาลไม่ ไ ด้ ห ายไปไหนเพี ยงแต่มี
เท่านัน (Driver, 2010) ขนาดเล็กลงจนตาเรามองไม่เห็น และแทรกอยู่ระหว่างโมเลกุล
ของนา สังเกตได้จากสารละลายนาตาลมีรสหวานของนาตาล
อยู่ (Driver, 2010)
การละลายและการหลอมเหลวมีความหมายอย่างเดียวกัน การละลายและการหลอมเหลวมีความหมายต่างกัน การละลาย
คื อ สารเปลี่ ย นจากของแข็ ง เป็ น ของเหลว เช่ น น าแข็ ง คือการที่สารอย่างน้อย 1 ชนิดรวมกันเป็นเนือเดียวกับนา ส่วน
กลายเป็นนาเรียกว่าละลาย (ทองดีและพิมพ์ทอง, 2012) การหลอมเหลวเป็ น การเปลี่ ย นสถานะจากของแข็ ง เป็ น
ของเหลว (ทองดีและพิมพ์ทอง, 2012)
เมื่อวางของแข็ง เช่น ลูกเหม็น ไว้แล้วมีขนาดเล็กลง เรียกว่า ของแข็ง เช่น ลูกเหม็น เมื่อวางไว้มีขนาดเล็กลง เพราะเกิดการ
ของแข็ง นันเกิด การหลอมละลาย (ทองดี และพิ ม พ์ ท อง, เปลี่ยนสถานะเป็นแก๊สโดยไม่เปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวก่อน
2012) เรียกการเปลี่ยนสถานะนีว่า การระเหิด (ทองดีและพิมพ์ทอง,
2012)
ถ้าครูพบว่ามีแนวคิดคลาดเคลื่อนใดที่ยังไม่ได้แก้ไขจากการทากิจกรรมการเรียนรู้ ครูควรจัดการเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อแก้ไขแนวคิด
คลาดเคลื่อนให้ถูกต้อง

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 190

บทนี้เริ่มต้นอย่างไร (1 ชั่วโมง)
1. ครูทบทวนความรู้พืนฐานของนักเรียนเกี่ยวกับ สถานะของ
สสารโดยอาจใช้ ค าถาม ดั ง นี ว่ า จากการเรี ย นในชั น
ประถมศึกษาปีที่ 4 สสารมีสถานะอะไรบ้าง (นักเรียนควร
ตอบได้ว่า สสารมีสถานะของแข็ง ของเหลวและแก๊ส)
2. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับสสารและสารโดยใช้
คาถามดังนี
2.1 สสารคื อ อะไร (สสารคื อ สิ่ ง ต่ า ง ๆ รอบตั ว ที่ มี ม วลและ
ต้องการที่อยู่ สสารอาจเป็นของแข็ง ของเหลวหรือแก๊ส)
2.2 สารคืออะไร (สารคือเนือของสสาร)
ครูให้ ความรู้ เ พิ่ มเติม ว่า สารคือเนื อของสสาร เช่น ก้อ น
นาตาลทรายเป็นสสารที่มีสถานะเป็นของแข็งซึ่งมีมวลและ
ต้องการที่อยู่ ก้อนนาตาลทรายมีอนุภาคเล็กๆ ที่มาประกอบ
กันเป็นก้อนนาตาลทราย เราจะเรียกอนุภ าคเหล่ านันว่า
อนุภาคของนาตาลทรายซึ่งจัดเป็นสารอย่างหนึ่ง หรือก้อน
น าแข็ ง เป็ น สสารที่ มี ส ถานะเป็ น ของแข็ ง ซึ่ ง มี ม วลและ
ต้องการที่อยู่ ประกอบด้วยอนุภาคเล็ก ๆ มาประกอบกัน
เป็นก้อนนาแข็งซึ่งคืออนุภาคของนา นาก็จัดเป็นสารอย่าง
หนึ่ง
3. ครูเตรียมบัตรภาพสารที่มีสถานะต่าง ๆ เช่น แป้งมัน นาแข็ง นา
นมสด อากาศในลู ก โป่ ง น าตาลทราย เกลื อ แกง เอทานอล
แก๊สออกซิเจน และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และสุ่มบัตรภาพเพื่อ
แจกนั ก เรี ย นคนละ 1 ใบ นั ก เรี ย นวิ เ คราะห์ ส ถานะของสารใน
บัตรภาพแล้วนาไปเขียนให้ตรงกับกลุ่มของสถานะที่ครูเขียนไว้บน
กระดานดา
4. ครูนาอภิปรายเพื่อตรวจสอบคาตอบบนกระดาน และหากพบว่า
บางบัตรภาพจาแนกไว้ผิดกลุ่มให้ครูแก้ไขให้ถูกต้อง (นักเรียนควร
ตอบได้ว่าแป้งมัน นาแข็ง นาตาลทราย เกลือแกงเป็นของแข็ง ในการตรวจสอบความรู้ ครู รั บ ฟั ง
นา เอทานอล นมสดเป็นของเหลว อากาศในลูกโป่ง แก๊สออกซิเจน เหตุ ผ ลของนั ก เรี ย นเป็ น ส าคั ญ ครู ยั ง ไม่
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นแก๊ส) เฉลยคาตอบใด ๆ แต่ชักชวนให้หาคาตอบ
5. ครูนาอภิปรายโดยใช้คาถามว่าสสารสามารถเปลี่ยนจากสถานะหนึ่ง ที่ถูกต้องจากกิจกรรมต่าง ๆ ในบทเรียนนี
ไปเป็นอีกสถานะหนึ่งได้หรือไม่ อย่างไร นอกจากสสารจะเปลี่ยน
สถานะได้แล้ว ยังเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบใดได้อีก นักเรียนจะได้
เรียนรู้ในหน่วยที่ 3
6. ครูชักชวนนักเรียนศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสารโดยอ่านชื่อ
หน่วย และอ่านคาถามสาคัญประจาหน่วยในหนังสือเรียนหน้า 74
ดังนี
6.1 การเปลี่ยนแปลงของสารมีอะไรบ้าง และเปลี่ยนอย่างไร

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


191 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

6.2 การเปลี่ยนแปลงของสารเกี่ยวข้องกับการดารงชีวิตของมนุษย์
อย่างไร
นักเรียนตอบคาถาม โดยครูยังไม่ต้องเฉลยคาตอบที่ถูกต้อง
แต่จะให้ นักเรียนย้อนกลั บ มาตรวจค าตอบอี กครั งหลั งเรี ย นจบ
หน่วยนีแล้ว
7. นักเรียนอ่าน ชื่อบท และอ่านจุดประสงค์การเรียนรู้ประจาบท ใน
หนังสือเรียนหน้า 75 จากนันครูใช้คาถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ
เกี่ยวกับจุดประสงค์การเรียนรู้ ดังนี
7.1 บทนีจะเรียนเรื่องอะไร (การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ)
7.2 จากจุดประสงค์การเรียนรู้ เมื่อจบบทเรียนนักเรียนสามารถทา
อะไรได้ บ้ า ง (สามารถอธิ บ ายการเปลี่ ย นสถานะของสสาร
อธิบายการละลายของสารในนา และอธิบายการเปลี่ยนแปลง
ทางกายภาพของสาร)
8. นั ก เรี ย นอ่ า นชื่ อ บทและแนวคิ ด ส าคั ญ ในหนั ง สื อ เรี ย นหน้ า 76
จากนันครูใช้คาถามว่า จากการอ่านแนวคิดสาคัญ นักเรียนคิดว่าจะ
ได้เรียนเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง (ในบทนีนักเรียนจะได้เรียนเรื่อง การ
เปลี่ยนสถานะ การละลาย และการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของ
สาร)
9. ครูชักชวนให้นักเรียนสังเกตรูป และอ่านเนือเรื่องในหน้า 76 โดยครู
ฝึ ก ทั ก ษะการอ่ า นตามวิ ธี ก ารที่ เ หมาะสมกั บ ความสามารถของ
นักเรียน ครู ตรวจสอบความเข้าใจในการอ่านของนักเรียน โดยใช้ การเตรียมตัวล่วงหน้าสาหรับครู
คาถามต่อไปนี เพื่อจัดการเรียนรู้ในครั้งถัดไป
9.1 เรื่องนีกล่าวถึงอะไร (ไอศกรีมและการทาไอศกรีม)
9.2 ไอศกรีมมีส่วนประกอบอะไรบ้าง (นม นาตาล และสารแต่งกลิ่น) ในครังถัด ไป นักเรียนจะได้ เ รี ย น
9.3 เราต้องทาอย่างไรเพื่อให้ส่วนผสมต่าง ๆ ของไอศกรีมแข็งตัว เรื่องที่ 1 การเปลี่ยนสถานะ ครูเตรียมคลิป
เป็นแท่ง (นาส่วนผสมไปแช่ในตู้ที่มีอุณหภูมิต่า) สัน ๆ เกี่ยวกับการอุ่นอาหารแช่แข็ง (สืบค้น
9.4 นักเรียนคิดว่า การทาให้ ไ อศกรีม แข็ งตัว ไอศกรีม ได้รั บ หรื อ ได้ใน www.youtube.com คาค้นคือ การ
สูญเสียความร้อน (นักเรียนตอบตามความเข้าใจ) อุ่นอาหารแช่แข็ง)
10. ครูนาอภิปรายโดยใช้คาถามว่าในการทาไอศกรีมเกี่ยวข้องกับ การ
เปลี่ยนสถานะและการละลายซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
อย่างไร (นักเรียนตอบตามความเข้าใจโดยครูยังไม่ต้องเฉลยคาตอบที่
ถูกต้อง) จากนันชักชวนนักเรียนทาสารวจความรู้ก่อนเรียน
11. นักเรียนทากิจกรรมสารวจความรู้ก่อนเรียน ในแบบบันทึกกิจกรรม
หน้า 82-84 โดยนักเรียนอ่านคาถามแต่ละข้อ ครูตรวจสอบความ
เข้าใจของนักเรียน จนแน่ใจว่านักเรียนสามารถทาได้ด้วยตนเอง จึงให้
นักเรียนตอบคาถามลงในแบบบันทึกหน้า 82 โดยคาตอบของแต่ละ
คนอาจแตกต่างกัน และคาตอบอาจถูกหรือผิดก็ได้

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 192

12. ครูสังเกตการตอบคาถามของนักเรียนเพื่อ ตรวจสอบว่านักเรียนมี


แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนสถานะและการละลายอย่างไรบ้าง อาจสุ่ม
นักเรียน 2–3 คน นาเสนอคาตอบของตนเองหน้าชันเรียนโดยครูยัง
ไม่ต้องเฉลยคาตอบ แต่จะให้นักเรียนย้อนกลับมาตรวจสอบอีกครัง
หลังเรียนจบบทนีแล้ว ทังนี ครูอาจบันทึกแนวคิดคลาดเคลื่อนหรื อ
แนวคิดที่น่าสนใจของนักเรียน แล้วนามาออกแบบการจัดการเรียนรู้
เพื่ อ แก้ ไ ขแนวคิ ด คลาดเคลื่ อ นให้ ถู ก ต้ อ ง และต่ อ ยอดแนวคิ ด ที่
น่าสนใจของนักเรียน

ความรู้เพิ่มเติมสาหรับครู
พลาสมา
สสารในสถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊สประกอบไปด้วยอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้ารวมเป็นกลางเพราะมีจานวนโปรตอน
ซึ่งมีประจุไฟฟ้าเป็นบวกเท่ากับอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุไฟฟ้าเป็นลบ เมื่อแก๊สได้รับพลังงานสูงจนทาให้อิเล็กตรอนบางส่วนหรือ
ทังหมดหลุดออกจากอะตอม ทาให้อนุภาคที่เหลืออยู่มีประจุบวกหรือเรียกว่าไอออนบวก ไอออนบวก อนุภาคซึ่งอิเล็กตรอนไม่
หลุด รวมกับอิเล็กตรอนที่หลุดออกมาเป็นสสารในสถานะพลาสมาซึ่งนาไฟฟ้าได้ จึงนามาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ทาเป็น
ส่วนประกอบของจอโทรทัศน์ ส่วนประกอบของหลอดไฟฟ้า
ที่มา : http://web.utk.edu/~prack/Thin%20films/plasma
http://www.qrg.northwestern.edu/projects/vss/docs/propulsion/2-what-is-plasma.html

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


193 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

แนวคาตอบในแบบบันทึกกิจกรรม
การสารวจความรู้ก่อนเรียน นักเรียนอาจตอบคาถามถูกหรือผิดก็ได้ขึนอยู่กับความรู้เดิมของนักเรียน
แต่เมื่อเรียนจบบทเรียนแล้ว ให้นักเรียนกลับมาตรวจสอบคาตอบอีกครังและแก้ไขให้ถูกต้อง ดังตัวอย่าง

การบูร
ของแข็ง แก๊ส
การระเหิด

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 194

น้า (ไอน้า)
แก๊ส ของเหลว
การควบแน่น

น้า (น้าแข็ง)
ของแข็ง ของเหลว
การหลอมเหลว

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


195 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

แอลกอฮอล์
ของเหลว แก๊ส
การกลายเป็นไอ

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 196

เรื่องที่ 1 การเปลี่ยนสถานะ
เรื่องนีนักเรียนจะได้เ รียนรู้ เ กี่ยวกับ การเปลี่ ยนสถานะของ
สสารซึ่งเป็นการเปลี่ ยนแปลงทางกายภาพ การเปลี่ยนสถานะของ
สสารเกิดขึนเมื่อสสารได้รับหรือสูญเสียความร้อน
ของแข็งเมื่อได้รับความร้อนจนเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว
เรียกว่า การหลอมเหลว ของเหลวเมื่อ ได้ รับ ความร้อนจนเปลี่ ยน
สถานะเป็ น แก๊ ส เรี ย กว่ า การกลายเป็ น ไอซึ่ ง มี ส องลั ก ษณะได้ แ ก่
การระเหยและการเดือด
แก๊ ส เมื่ อ สู ญ เสี ย ความร้ อ นจนเปลี่ ย นสถานะเป็ น ของเหลว
เรียกว่า การควบแน่น และเมื่อของเหลวสูญเสียความร้อนจนเปลี่ยน
สถานะเป็นของแข็งเรียกว่า การแข็งตัว ของแข็งบางชนิดได้รับความ
ร้อนสามารถเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊สโดยเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว
ก่อนเรียกว่า การระเหิด และแก๊สบางชนิดสูญเสียความร้อนสามารถ
เปลี่ ย นสถานะเป็ น ของแข็ ง โดยเปลี่ ย นสถานะเป็ น ของเหลวก่อน
เรียกว่า การระเหิดกลับ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. สังเกตและอธิบายการเปลี่ยนสถานะของสสาร
2. อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
เวลา 5 ชั่วโมง
วัสดุ อุปกรณ์สาหรับทากิจกรรม
สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
น าแข็ ง ก้ อ นเล็ ก ๆ ไม้ ขี ด ไฟ ชุ ด ตะเกี ย งแอลกอฮอล์
ถุ ง พลาสติ ก ใส ยางรั ด ของ กระป๋ อ งทรายส าหรั บ ดั บ ไฟ 1. หนังสือเรียน ป.5 เล่ม 1 หน้า 78-94
ขวดรูปกรวย นาผลไม้ นาแข็งป่น เกลือแกง อ่างพลาสติ ก 2. แบบบันทึกกิจกรรม ป.5 เล่ม 1 หน้า 85-100
แก้ ว พลาสติ ก ใสหรื อ ขวดพลาสติ ก ช้ อ น บี ก เกอร์ ข นาด 3. รูปหรือวีดิทัศน์เกี่ยวกับการอุ่นอาหารแช่แข็ง
250 cm3 แผ่ น กระดาษแข็ ง เจาะรู ช้ อ นตั ก สารเบอร์ 2
พิมเสน

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


197 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

แนวการจัดการเรียนรู้ (50 นาที)


ขั้นตรวจสอบความรู้ (5 นาที)

1. ครูตรวจสอบความรู้เดิมเกี่ยวกับการเปลี่ยนสถานะของสสารโดยให้นักเรียน
สั งเกตสารที่ส ามารถเปลี่ ยนสถานะได้ เช่น นา และนาอภิป รายโดยใช้ ในการตรวจสอบความรู้ ครู
คาถามดังนี เพี ย งรั บ ฟั ง เหตุ ผ ลของนั ก เรี ย น
1.1 นักเรียนคิดว่าเมื่อนานาไปแช่ในช่องแช่แข็งในตู้เย็นเป็นเวลา 1 คืน นา และยั ง ไม่ เ ฉลยค าตอบใด ๆ แต่
จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร (นักเรียนตอบตามความเข้าใจ) ชั ก ชวนให้ นั ก เรี ย นไปหาค าตอบ
1.2 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึนเป็น การเปลี่ยนสถานะหรือไม่ อย่างไร และ ด้วยตนเองจากการอ่านเนือเรื่อง
เรียกการเปลี่ยนแปลงนันว่าอะไร (นักเรียนตอบตามความเข้าใจ)
1.3 ถ้านานาที่เคยอยู่ในช่องแช่แข็งของตู้เย็นออกมาไว้นอกตู้เย็น นักเรียน
คิดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร มีการเปลี่ยนสถานะเกิดขึนหรือไม่
และเรียกการเปลี่ยนแปลงนันว่าอะไร (นักเรียนตอบตามความเข้าใจ)
2. ครูสรุปคาตอบของนักเรียนว่านาที่นาไปไว้ช่องแช่แข็งและที่นาออกจากช่อง
แช่แข็งมาไว้นอกตู้เย็นจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ นแล้วเชื่อมโยงสู่การเรียน
เรื่ อ งการเปลี่ ย นสถานะว่ า สารอื่ น ๆ จะเกิ ด การเปลี่ ย นสถานะหรื อ ไม่
อย่างไรซึ่งจะได้เรียนรู้จากการอ่านเรื่องการเปลี่ยนสถานะหน้า 78-79 และ
จากการทากิจกรรม
ขั้นฝึกทักษะจากการอ่าน (35 นาที)
3. นักเรียนอ่านชื่อเรื่อง และคิดก่อนอ่าน ในหนังสือเรียนหน้า 78 แล้วร่วมกัน
อภิปรายในกลุ่มเพื่อตอบคาถามคิดก่อนอ่านตามความเข้าใจของกลุ่ม ครู หากนักเรียนไม่สามารถตอบ
บันทึกคาตอบของนักเรียนบนกระดานเพื่อใช้เปรียบเทียบคาตอบหลังจาก ค าถามหรื อ อภิ ป รายได้ ต ามแนว
การอ่านเนือเรื่อง คาตอบ ครูควรให้เวลานักเรียนคิด
4. นักเรียนอ่านคาสาคัญ ทังภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (หากนักเรียนอ่าน อย่ า งเหมาะสม รอคอยอย่ า ง
ไม่ ไ ด้ ครู ค วรสอนอ่ า นให้ ถู ก ต้ อ ง) จากนั นนั ก เรี ย นร่ ว มกั น อภิ ป ราย อดทน และรับฟังแนวความคิดของ
ความหมายของค าส าคั ญ ตามความเข้ า ใจ ครู ชั ก ชวนให้ นั ก เรี ย นหา นักเรียน
ความหมายของคาจากการอ่านเนือเรื่อง
5. นักเรียนอ่านเนือเรื่องในหนังสือเรียนหน้า 79 โดยครูฝึกทักษะการอ่านตาม
วิ ธี ก ารอ่ า นที่ เหมาะสมกั บ ความสามารถของนั ก เรี ยน ครู ใ ช้ ค าถามเพื่อ
ตรวจสอบความเข้าใจจากการอ่าน ดังนี
5.1 สสารมีสถานะ อะไรบ้าง (สสารมีสถานะของแข็ง ของเหลวและแก๊ส)
5.2 การเปลี่ยนแปลงใดบ้างเป็นการเปลี่ยนสถานะของสสารและเกิดขึนได้
อย่ า งไร (ของเหลวในอาหารเปลี่ ย นเป็ นของแข็ ง เกิ ด ขึ นเมื่ อ ท าให้
ของเหลวนันเย็นลงหรือสูญเสียความร้อน ของแข็งในอาหารเปลี่ยนเป็น
ของเหลวเกิดขึนเมื่อได้รับความร้อน)

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 198

5.3 การเปลี่ยนสถานะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพหรือไม่ เพราะเหตุ


ใด (เป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพเพราะเป็น การเปลี่ยนแปลงที่ไม่
เกิดสารใหม่)
5.4 การเปลี่ยนสถานะของสสารหมายถึงอะไร (การเปลี่ยนสถานะของสสาร
หมายถึงการเปลี่ยนแปลงของสสารที่เปลี่ยนจากสถานะหนึ่งไปเป็นอีก การเตรียมตัวล่วงหน้าสาหรับครู
สถานะหนึ่ง) เพื่อจัดการเรียนรู้ในครัง้ ถัดไป
ขั้นสรุปจากการอ่าน (10 นาที)
6. นั ก เรี ย นร่ ว มกั น สรุ ป เรื่ อ งที่ อ่ า นซึ่ ง ควรสรุ ป ได้ ว่า สสารรอบตั ว เรามี ส าม ในครังถัดไป นักเรียนจะได้ทา
สถานะ สสารเปลี่ยนจากสถานะหนึ่งไปเป็นอีกสถานะหนึ่งเมื่อสสารได้รับ กิ จ กรรมที่ 1.1 น าแข็ ง มี ก ารเปลี่ ย น
หรื อ สู ญ เสี ย ความร้ อ น สสารที่ เ ปลี่ ย นสถานะแล้ ว ยั ง คงเป็ น สารเดิ ม สถานะอย่างไร ครูต้องเตรียมชุดอุปกรณ์
การเปลี่ยนสถานะจึงจัดเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ต่อนักเรี ยน 1 กลุ่ ม ดังต่อไปนี นาแข็ง
7. นักเรียนตอบคาถาม รู้หรือยัง ในแบบบันทึกกิจกรรม หน้า 85 ก้ อ นเล็ ก ๆ ชุ ด ตะเกี ย งแอลกอฮอล์
8. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อเปรียบเทียบคาตอบของนักเรียนในรู้ ขวดรูปกรวย ถุงพลาสติกใส ยางรัดของ
หรื อ ยั ง กับ คาตอบที่เ คยตอบและบั น ทึ ก ไว้ ใ นคิ ด ก่ อ นอ่ า น รวมทังแก้ ไ ข กระป๋องทรายดับไฟสาหรับดับไฟ
คาตอบให้ถูกต้อง ครู เ ตรี ย มน าแข็ ง ก้ อ นเล็ ก ๆ
9. ครูชักชวนนักเรียนลองตอบคาถามท้ายเรื่องที่อ่านว่า ขนาดประมาณเท่ากับเมล็ดถั่วลิสงและ
นอกจากของเหลวในอาหาร สารอื่น ๆ สามารถเปลี่ยนสถานะได้ห รือไม่ ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มใช้เพียง 1 ก้อน
อย่างไร ครูบันทึกคาตอบของนักเรียนบนกระดาน โดยยังไม่เฉลยคาตอบแต่
ชักชวนให้นักเรียนหาคาตอบจากการทากิจกรรม

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


199 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

แนวคาตอบในแบบบันทึกกิจกรรม

 ของเหลวในอาหารเปลี่ยนเป็นของแข็ง เกิดขึ้นเมื่อของเหลวสูญเสีย
ความร้อนจากการทาให้ของเหลวเย็นลง
 ของแข็งในอาหารเปลี่ยนเป็นของเหลว เกิดขึ้นเมื่อของแข็งได้รับ
ความร้อน
 ของเหลวในอาหารแห้งแสดงว่าของเหลวเปลี่ยนเป็นแก๊ส เกิดขึ้นเมื่อ
ของเหลวได้รับความร้อน

การเปลี่ยนสถานะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพเพราะเป็น
การเปลี่ยนแปลงที่ไม่มสี ารใหม่เกิดขึ้น สารก่อนและหลัง
การเปลี่ยนแปลงเป็นสารเดิมแต่มีสถานะต่างกัน

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 200

กิจกรรมที่ 1.1 น้าแข็งมีการเปลี่ยน


สถานะอย่างไร
กิ จ กรรมนี นั ก เรี ย นจะได้ สั ง เกตและอธิ บ ายการเปลี่ ย น
สถานะของนาแข็ง
เวลา 1 ชั่วโมง
จุดประสงค์การเรียนรู้
ทากิจกรรมนีเพื่อสังเกตและอธิบายการเปลี่ยนสถานะของนาแข็ง
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
S1 การสังเกต
S5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเปซ
S6 การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
S8 การลงความเห็นจากข้อมูล
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
C4 การสื่อสาร
C5 ความร่วมมือ สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
C6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 1. หนังสือเรียน ป.5 เล่ม 1 หน้า 80-83
วัสดุ อุปกรณ์สาหรับทากิจกรรม 2. แบบบันทึกกิจกรรม ป.5 เล่ม 1 หน้า 86-89
สิ่งที่ต้องเตรียม 3. ตัวอย่างวีดิทัศน์ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สาหรับครู
สิ่งที่ครูต้องเตรียม/กลุ่ม เรื่องการหลอมเหลว การกลายเป็นไอและ
1. ขวดรูปกรวย ขนาด 250 cm3 2 ใบ การควบแน่นเป็นอย่างไร
2. ยางรัดของ 1 วง
3. ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์ 1 ชุด
4. ไม้ขีดไฟ 1 กลัก
5. ถุงพลาสติกใส ขนาด 5 นิว x 8 นิว 1 ถุง
6. นาแข็งก้อนเล็ก ๆ ประมาณเมล็ดถั่วลิสง 1-2 ก้อน
7. กระป๋องทรายสาหรับดับไฟ 1 กระป๋อง
8. เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนสถานะของสสาร http://ipst.me/8926
9. หนังสือที่มีเนือหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนสถานะของสสาร
10. แผนภาพการเปลี่ยนสถานะของสสาร
สิ่งที่ครูต้องเตรียม/คน
-
สิ่งที่นักเรียนต้องเตรียม/กลุม่
-

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


201 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูตังบีกเกอร์ที่ใส่นาแข็งบนโต๊ะแล้วถามนักเรียนว่า นาแข็งมีสถานะ
อะไร และเมื่อวางนาแข็งไว้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร
นักเรียนตอบตามความเข้าใจของตนเอง ครูจดบันทึกคาตอบของ ในการตรวจสอบความรู้
นักเรียนแต่ยังไม่เฉลยคาตอบที่ถูกต้อง แล้วชักชวนให้นักเรียนค้นหา ครูรับ ฟังเหตุผ ลของนักเรียนเป็น
คาตอบจากการทากิจกรรมที่ 1.1 สาคัญ ครูยังไม่เฉลยคาตอบใด ๆ
2. นักเรียนอ่านชื่อกิจกรรมและ ทาเป็นคิดเป็น จากนันครูตรวจสอบ แต่ชักชวนให้ ห าคาตอบที่ถูกต้อง
ความเข้าใจของนักเรียน โดยอาจใช้คาถามดังนี จากกิจกรรมต่าง ๆ ในบทเรียนนี
2.1 กิจกรรมนีนักเรียนจะได้เรียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร (เรียนเกี่ยวกับ
การเปลี่ยนสถานะของนาแข็ง)
2.2 นักเรียนจะเรียนเรื่องนีด้วยวิธีใด (การสังเกต)
2.3 เมื่อเรียนแล้วนักเรียนจะทาอะไรได้ (อธิบายการเปลี่ยนสถานะ
ของนาแข็ง)
3. นักเรียนบันทึกจุดประสงค์ของกิจกรรมในแบบบันทึกหน้า 86 และ
อ่านสิ่งที่ต้องใช้ ครูนาอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมซึ่งบางอย่างนักเรียน
อาจไม่รู้จักมาแสดงให้นักเรียนดู เช่น ขวดรูปกรวย โดยอธิบายและ
ทาความเข้าใจเกี่ยวกับอุปกรณ์นัน ๆ
4. นั ก เรี ย นอ่ า นท าอย่ า งไร โดยครู ฝึ ก อ่ า นตามความเหมาะสมกั บ
ความสามารถของนักเรียน จากนันร่วมกันอภิปรายเพื่อสรุปขันตอน
การทากิจกรรม ครูตรวจสอบความเข้าใจขันตอนการทากิจกรรมโดย
ใช้คาถามดังนี
4.1 นักเรียนต้องคาดคะเนอะไรบ้าง (คาดคะเนว่าจะเกิดอะไรขึนกับ
นาแข็งในขวดรูปกรวยเมื่อวางไว้สักครู่ เมื่อนาไปให้ความร้อน
ด้ว ยชุดตะเกียงแอลกอฮอล์ และหลั งจากดับ ไฟแล้ ว วางไว้ 2
นาที)
4.2 หลังจากบันทึกผลการคาดคะเนแล้ว นักเรียนต้องทาอย่างไร
ต่อไป (ทากิจกรรมเพื่อตรวจสอบการคาดคะเนโดยนานาแข็ง
ก้อนเล็ก ๆ 1-2 ก้อนบรรจุในขวดรูปกรวย และครอบปากขวด
ด้วยถุงพลาสติกรัดให้แน่นด้วยยางรัดของ สังเกตสิ่งที่เกิดขึน
บันทึกผล)
4.3 เมื่อไม่เห็นก้อนนาแข็งเหลืออยู่ในขวดรูปกรวยต้องทาอย่างไร
ต่ อ ไป (น าขวดรู ป กรวยไปให้ ค วามร้ อ นโดยตั งไฟอ่ อ นๆ
ประมาณ 3 นาที สังเกตสิ่งที่เกิดขึนอย่างละเอียด บันทึกผล)

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 202

4.4 หลั งจากดับ ไฟแล้ ว นักเรียนต้องทาอย่างไร (หลั งจากดับ ไฟ


สังเกตสิ่งที่เกิดขึนภายในขวดรูปกรวยและภายในถุงพลาสติก ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะ
จนถึงประมาณ 2 นาที บันทึกผล) แห่งศตวรรษที่ 21 ที่นักเรียนจะได้ฝึกจากการ
4.5 นักเรียนต้องทาอย่างไรต่อไป (อภิปรายการเปลี่ยนสถานะของ ทากิจกรรม
นาแข็ง และสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนสถานะที่เกิดขึนใน S1 การสังเกตการเปลี่ยนแปลงของนาแข็ง
แต่ละช่วงเรียกว่าอะไร) และนา
5. ครู เ ตื อ นให้ นั ก เรี ย นระมั ด ระวั ง เรื่ อ งความปลอดภั ย ในการใช้ S5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเป
ตะเกียงแอลกอฮอล์ และดับ ก้านไม้ขีดไฟลงในกระป๋องทราย ไม่ ซจากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงรูปร่างสาร
สั มผั ส ขวดรูป กรวยขณะยังร้อนอยู่ พร้อมทังกาชับ นักเรียนให้ ดั บ ในภาชนะ (1) การเปลี่ยนรูปร่างของนาแข็ง
ตะเกียงแอลกอฮอล์ทันทีเมื่อสังเกตสารในภาชนะเสร็จ แล้ว 91 ครู กับรูปร่างของนา (2) การเปลี่ยนรูปร่างของ
ควรแสดงวิธีการระบุชื่อแหล่งข้อมูลที่สืบค้นและยาให้นักเรียนบันทึก นากับรูปร่างของไอนาในภาชนะ
S6 การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
แหล่งข้อมูลทุกครัง
จากการบรรยายและวาดรูปลักษณะของ
6. ครูอาจช่วยเขียนสรุปขันตอนการทากิจกรรมข้อ 4.1-4.5 บนกระดาน นาแข็ง นาและไอนาในภาชนะ
ครูยาแนวทางในการสังเกตสิ่งต่าง ๆ ควรสังเกตให้ละเอียดมากที่สุด S8 การลงความเห็นจากข้อมูลจากการ
ตัวอย่างเช่น การสังเกตก้อนนาแข็ง ควรสังเกตให้ได้ข้อมูลต่าง ๆ ให้ สังเกตลักษณะของสารขณะเกิดการ
ได้มากที่สุด เช่น สี ขนาด รูปร่างของก้อนนาแข็ง จานวนก้อนนาแข็ง เปลี่ยนแปลง เช่น บอกได้ว่ามีไอนาเกิดขึน
ระยะเวลาที่ก้อนนาแข็งเกิดการเปลี่ยนแปลงจนหมด ขณะที่นาแข็ง ในถุงพลาสติกที่พองขึนและนาข้อมูลมา
เล็กลง เกิดอะไรขึนบ้าง ระบุสถานะของสารที่เปลี่ยนแปลง
7. เมื่อตรวจสอบนักเรียนจนเข้าใจวิธีการทากิจกรรมในทาอย่างไร แล้ว C4 การสื่อสารจากการพูด เขียนบรรยาย
ครูแจกวัสดุอุปกรณ์ และนักเรียนเริ่มทากิจกรรมตามขันตอน เกี่ยวกับการเปลี่ยนสถานะของนาแข็ง
8. หลังจากทากิจกรรมแล้ว ครูสุ่มตัวแทนนักเรียนนาเสนอผลการทา C5 ความร่วมมือจากการทางานร่วมกันใน
กิจกรรมโดยอาจบันทึกผลในตารางที่ครูเขียนไว้บนกระดาน หรือใช้ กลุ่ม
เครื่องฉายแผ่นทึบฉายแบบบันทึกของนักเรียนขึนจอให้นักเรียนร่วม C6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการ
สื่อสารจากการใช้อินเทอร์เนตสืบค้นการ
ตรวจสอบผลการทากิจกรรมว่าได้ผลที่ถูกต้องหรือไม่และอภิปราย
เปลี่ยนสถานะของสสาร
สาเหตุที่ทาให้ผลการทากิจกรรมคลาดเคลื่อน
9. ครูนาอภิปรายผลการทากิ จกรรมที่นักเรียนนาเสนอ โดยใช้คาถาม
ดังนี
9.1 เกิดอะไรขึนเมื่อวางนาแข็งในขวดรูป กรวยไว้สักครู่และเรีย ก
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึนว่าอะไร (เมื่อวางนาแข็ง 1-2 ก้อนไว้
นาแข็งมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆและมีนาที่ก้นภาชนะปริมาณมาก
ขึ นเรื่ อ ย ๆ เมื่ อ เวลาผ่ า นไปประมาณ 5 นาที น าแข็ ง จะ
เปลี่ยนเป็นนาทังหมด เรียกการเปลี่ยนแปลงจากนาแข็งเป็นนา
นีว่า การหลอมเหลว)
ถ้านักเรียนตอบไม่ได้ ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่าการเปลี่ยนสถานะ
จากของแข็งเป็นของเหลว เรียกว่าการหลอมเหลว

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


203 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

หมายเหตุ เวลาที่นาแข็งใช้ในการเปลี่ยนเป็นนาจนหมดทังก้อน
ขึนอยู่กับขนาดของก้อนนาแข็ง
9.2 เมือ่ นานาในขวดรูปกรวยไปให้ความร้อน
- เกิดการเปลี่ ยนแปลงอย่างไร (เมื่อให้ ความร้อนแก่ นาใน
ขวดรูปกรวย นาร้อนขึน มีฟองแก๊สผุดขึนจากก้นขวด นาที่
ก้นภาชนะ มีปริมาณน้อยลงๆ จนหมดไป ถุงพลาสติกพอง หากนั ก เรี ย นไม่ ส ามารถ
ขึน) ตอบคาถามหรืออภิปรายได้ตาม
- นักเรียนคิดว่า นาที่มีปริมาณน้อยลงเป็นเพราะนาหายไป แนวค าตอบ ครู ค วรให้ เ วลา
นักเรียนคิดอย่างเหมาะสม รอ
จากขวดรู ป กรวยใช่ ห รื อ ไม่ รู้ ไ ด้ อ ย่ า งไร (ไม่ ใ ช่ เพราะ
คอยอย่ า งอดทน และรั บ ฟั ง
ขวดรูปกรวยมีถุงพลาสติกครอบอยู่ และรัดด้วยยางรัดของ
แนวความคิดของนักเรียน
ทาให้นาออกจากขวดรูปกรวยไม่ได้)
- นั ก เรี ย นคิ ด ว่ า เพราะเหตุ ใ ดน าจึ ง มี ป ริ ม าณน้ อ ยลง (น า
เปลี่ยนแปลงเป็นสารที่มองไม่เห็น)
- ถ้านาไม่หายไปจากขวดรูปกรวย แล้วนาเปลี่ยนเป็นสถานะ
ใด รู้ได้อย่างไร (นาเปลี่ยนสถานะเป็น แก๊ส สังเกตได้จาก
ถุ ง พลาสติ ก ที่ ค รอบปากขวดรู ป กรวยพองขึ น การที่
ถุ ง พลาสติ ก พองขึ นแสดงว่ า น่ า จะมี ส ารอยู่ ภ ายใน
ถุงพลาสติกที่พองนันซึ่งน่าจะเป็นแก๊ส) ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
- การที่ น าเปลี่ ย นไปเป็ น ไอน าเรี ย กว่ า อะไร (เรี ย กการ
เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึนว่า การกลายเป็นไอ) ครู ค วรสื บ ค้ น ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ การ
ถ้านักเรียนตอบไม่ได้ ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่าการเปลี่ยน เปลี่ ย นสถานะของสสารจากเว็ บ ไซต์ ที่
น่าเชื่อถือไว้ล่วงหน้าประมาณ 3-4 เว็บไซต์
สถานะจากของเหลวเป็นแก๊สเรียกว่าการกลายเป็นไอซึ่งมี
และแนะน านั ก เรี ย นให้ สื บ ค้ น ข้ อ มู ล จาก
2 ลักษณะคือการระเหย และการเดือด การระเหยจะเกิด เว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ
บริเวณผิวของของเหลว ส่วนการเดือดจะเกิดได้ทุ กส่ ว น
ของของเหลว
- นักเรียนคิดว่าขณะที่นาเดือดเกิดเป็นฟองแก๊ส สารที่อยู่ใน
ฟองแก๊สคืออะไร (นักเรียนตอบตามความเข้าใจ)
ครูให้ ความรู้เพิ่มเติมว่า สารที่อยู่ในฟองแก๊ ส มีส ารเพียง
ชนิดเดียวคือไอนาซึ่งเป็นนาในสถานะแก๊ส สารที่อยู่ในฟอง
แก๊สไม่ใช่อากาศหรือแก๊สออกซิเจน
- นาเปลี่ ยนเป็นไอนาเกี่ ยวข้ องกั บ ความร้ อนอย่า งไร (น า
เปลี่ ยนเป็นไอนาเกี่ยวข้องกับ ความร้อน โดยนาจะได้รับ
ความร้อนเพิ่มขึนจนเปลี่ยนสถานะเป็นไอนาได้)
9.3 เมื่อดับตะเกียงและตังขวดรูปกรวยไว้สักครู่

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 204

- สารที่อยู่ในขวดรูปกรวย เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร (สาร


ที่อยู่ในขวดรูปกรวยเปลี่ยนเป็นฝ้าสีขาวอยู่ในถุงพลาสติก
และมีหยดนาเกาะที่ผิวด้านในของถุงพลาสติก ถุงพลาสติก
แฟบลง)
- ฝ้าสีขาวที่เกิดขึนคืออะไร (นาในสถานะของเหลว)
- นาในสถานะของเหลว เช่น ละอองนาและหยดนาเกิดขึน
ได้ อ ย่ า งไร ((ไอน าสู ญ เสี ย ความร้ อ นไปถึ ง ระดั บ หนึ่ ง
จนกระทั่งควบแน่นเป็นละอองนา เมื่อละอองนารวมตัวกัน
ก็จะกลายเป็นหยดนา)
- การเปลี่ยนแปลงนีเรียกว่าอะไร (การเปลี่ยนแปลงนีเรียกว่า
การควบแน่น)
ถ้านักเรียนตอบไม่ได้ ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่าการเปลี่ยน
สถานะจากแก๊สเป็นของเหลว เรียกว่าการควบแน่น
9.4 สารเมื่อได้รับหรือสูญเสียความร้อนมีผลต่อการเปลี่ยนสถานะ การเตรียมตัวล่วงหน้าสาหรับครู
หรือไม่ อย่างไร ยกตัวอย่าง (มีผลต่อการเปลี่ยนสถานะของสาร เพื่อจัดการเรียนรู้ในครั้งถัดไป
เช่น นาแข็งเมื่อได้รับความร้อนจะหลอมเหลวเป็นนา และนา
เมื่อได้รับความร้อนจะระเหยและเดือดกลายเป็นไอนาเมื่อไอนา ในครั งถั ด ไป นั ก เรี ย นจะได้ ท า
สูญเสียความร้อนจะควบแน่นเป็นละอองนาหรือหยดนา) กิจกรรมที่ 1.2 นาผลไม้เป็นเกล็ดนาแข็งได้
9.5 เมื่ อ สารเกิ ด การเปลี่ ย นสถานะแล้ ว จะสามารถกลั บ มาเป็ น อย่างไร ครูเตรียมกระดาษหนังสือพิมพ์เพื่อ
สถานะเดิมได้หรือไม่ อย่างไร (สารสามารถกลับมาเป็นสถานะ รองโต๊ะหรือผ้าเช็ดโต๊ะ
เดิมได้ เมื่อทาให้สารได้รับหรือสูญเสียความร้อน ตัวอย่างเช่น
น าแข็ ง เปลี่ ย นเป็ น น าและน าเปลี่ ย นเป็ น ไอน าเมื่ อ ได้ รั บ
ความร้อน และไอนาเปลี่ยนเป็นนาเหมือนเดิมเมื่อสูญเสียความ
ร้อน)
10.ครูและนักเรียนร่ว มกันอภิป รายและลงข้อสรุป ว่า สสาร เช่น นา
สามารถเปลี่ยนจากสถานะหนึ่งไปเป็นอีกสถานะหนึ่งได้ เมื่ อ ได้รับ
หรือสูญเสียความร้อน การเปลี่ยนแปลงนีเรียกว่าการเปลี่ยนสถานะ
และเมื่อสสารเปลี่ยนสถานะแล้วสามารถเปลี่ยนกลับสู่สถานะเดิมได้
เมื่อสสารได้รับหรือสูญเสียความร้อน โดยการทาให้สสารร้อนขึนหรือ
ทาให้สสารเย็นลง (S13)
11.นักเรียนร่วมกันอภิปรายคาตอบใน ฉันรู้อะไร โดยครูอาจใช้คาถามเพิ่มเติม
ในการอภิปรายเพื่อให้ได้แนวคาตอบที่ถูกต้อง
12. นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในกิจกรรมนี จากนันครูให้นักเรียนอ่าน สิ่งที่ได้
เรียนรู้ และเปรียบเทียบกับข้อสรุปของตนเอง
13. ครูกระตุ้นให้นักเรียนฝึกตังคาถามเกี่ยวกับเรื่องที่สงสัยหรืออยากรู้เพิ่มเติม
ใน อยากรู้อีกว่า จากนันครูอาจสุ่มนักเรียน 2 -3 คน นาเสนอคาถามของ

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


205 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

ตนเองหน้ า ชั นเรี ย น และให้ นั ก เรี ย นร่ ว มกั น อภิ ป รายเกี่ ย วกั บ ค าถามที่
นาเสนอ
14. ครูนาอภิปรายเพื่อให้นักเรียนทบทวนว่าได้ฝึกทักษะกระบวนการ
ทางวิ ท ยาศาสตร์ แ ละทั ก ษะแห่ ง ศตวรรษที่ 21 อะไรบ้ า งและใน
ขันตอนใด แล้วบันทึกลงในแบบบันทึกกิจกรรมหน้า 89

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 206

แนวคาตอบในแบบันทึกกิจกรรม

สังเกตและอธิบายการเปลี่ยนสถานะของน้าแข็ง

คาตอบขึ้นอยู่กับการ เมื่อวางน้าแข็ง 1-2 ก้อนไว้


คาดคะเนของนักเรียน น้าแข็งแต่ละก้อนมีขนาดเล็กลง
เช่น น้าแข็งจะค่อยๆ เรื่อย ๆ และมีน้าที่ก้นภาชนะ
หายไป มีของเหลวใส ปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อ
เวลาผ่านไปประมาณ 5 นาที
เกิดขึ้น หรือ น้าแข็งจะ น้าแข็งทั้งก้อนจะเปลี่ยนเป็นน้า
หลอมเหลว
คาตอบขึ้นอยู่กับการ มีฟองแก๊สเกิดขึ้น น้าจะมี
คาดคะเนของนักเรียน ปริมาณน้อยลงๆ เมื่อเวลา
เช่น น้าจะค่อยๆ หายไป ผ่านไปประมาณ 3 นาทีน้า
หายไปจนเกือบหมด และ
ถุงพลาสติกค่อยๆ พองขึ้น

หมายเหตุ
1.เวลาที่น้าแข็งเปลี่ยนเป็นน้าจนหมดทั้งก้อนอาจแตกต่างไปจากในตาราง ขึ้นอยู่กับขนาดของ
ก้อนน้าแข็ง ให้นักเรียนบันทึกเวลาตามความเป็นจริง
2. เวลาที่น้าเปลี่ยนเป็นไอน้าจนเกือบหมดอาจแตกต่างไปจากในตาราง ขึ้นอยู่กับปริมาณของน้า
และปริมาณความร้อนจากไฟของตะเกียงแอลกอฮอล์ ให้นักเรียนบันทึกเวลาตามความเป็นจริง
ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
207 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

คาตอบขึ้นอยู่กับการ มีหยดน้าเกาะที่ข้างขวด มี
คาดคะเนของนักเรียน ฝ้าสีขาวเกาะที่ผิวด้านใน
เช่น มีหยดน้าเกาะข้าง ถุงพลาสติกและถุงพลาสติก
ถุงพลาสติก จะแฟบลง

ของแข็ง ของเหลว
การหลอมเหลว

ของเหลว แก๊ส
การกลายเป็นไอซึ่งมีทั้งการระเหยกับการเดือด

แก๊ส ของเหลว
การควบแน่น

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 208

มีการเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว

มีการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นแก๊ส

มีการเปลี่ยนสถานะจากแก๊สเป็นของเหลว

การเปลี่ยนสถานะของน้าเป็นสถานะต่าง ๆ เกิดขึ้นเมื่อน้าได้รับหรือสูญเสีย
ความร้อน

น้าแข็งซึ่งมีสถานะเป็นของแข็งเปลี่ยนเป็นน้าซึ่งมีสถานะเป็นของเหลว
น้าซึ่งมีสถานะเป็นของเหลวเปลี่ยนเป็นไอน้าซึ่งมีสถานะเป็นแก๊สเมื่อได้รับ
ความร้อน และ ไอน้าซึ่งมีสถานะเป็นแก๊สเปลี่ยนเป็นหยดน้าซึ่งมีสถานะเป็น
ของเหลวเมื่อสูญเสียความร้อน

สสารสามารถเปลี่ยนสถานะได้เมื่อได้รับหรือสูญเสียความร้อน สสารเปลี่ยนสถานะจาก
ของแข็งเป็นของเหลวเรียกว่า การหลอมเหลว เปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นแก๊ส
เรียกว่า การกลายเป็นไอ และ เปลี่ยนสถานะจากแก๊สเป็นของเหลวเรียกว่า
การควบแน่น

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


209 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

คาถามของนักเรียนที่ตั้งตามความอยากรู้ของตนเอง












 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 210

แนวการประเมินการเรียนรู้
การประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนทาได้ ดังนี
1. ประเมินความรู้เดิมจากการอภิปรายในชันเรียน
2. ประเมินการเรียนรู้จากคาตอบของนักเรียนระหว่างการจัดการเรียนรู้และจากแบบบันทึกกิจกรรม
3. ประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จากการทากิจกรรมของนักเรียน

การประเมินจากการทากิจกรรมที่ 1.1 น้าแข็งมีการเปลี่ยนสถานะอย่างไร


ระดับคะแนน
3 คะแนน หมายถึง ดี 2 คะแนน หมายถึง พอใช้ 1 คะแนน หมายถึง ควรปรับปรุง

รหัส สิ่งที่ประเมิน ระดับคะแนน


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
S1 การสังเกต
S5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเปซ
S6 การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
S8 การลงความเห็นจากข้อมูล
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
C4 การสื่อสาร
C5 ความร่วมมือ
C6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ตาราง แสดงการวิเคราะห์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามระดับความสามารถของนักเรียน

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


211 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

ตาราง แสดงการวิเคราะห์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามระดับความสามารถของนักเรียน
โดยอาจใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี
ทักษะ ระดับความสามารถ
กระบวนการทาง รายการประเมิน
วิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
S1 การสังเกต ก า ร บ ร ร ย า ย สามารถ ใช้ ป ระสาท สามารถใช้ ป ระสาท สามารถใช้ ป ระสาท
ร า ย ล ะ เ อี ย ด สั ม ผั ส เก็ บ รายละเอี ยด สั มผั ส เก็บ รายละเอียด สัมผัสเก็บรายละเอียด
เ กี่ ย ว กั บ ก า ร ก า ร เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ที่ ก า ร เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ที่ การเปลี่ ย นแปลงที่
เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ที่ เกิ ด ขึ นภายในขวดรู ป เกิ ด ขึ นภายในขวดรู ป เกิดขึนภายในขวดรูป
เกิดขึนภายในขวด กรวยและถุงพลาสติก กรวยและถุงพลาสติก กรวยและถุงพลาสติก
รู ป ก ร ว ย แ ล ะ สิ่ ง ที่ บ รรยายได้ จ าก สิ่ ง ที่ บ รรยายได้ จ าก สิ่ ง ที่ บ รรยายได้ จ าก
ถุงพลาสติก การสังเกตคือ การสังเกตคือ การสังเกตคือ
สิ่ ง ที่ บ รรยายได้ -น าแข็ ง ค่ อ ยๆ มี ข นาด -นาแข็งค่อยๆ มีขนาด -นาแข็งค่อยๆ มีขนาด
จากการสังเกตคือ เล็ ก ลงและเปลี่ ย นเป็ น เล็ กลงและเปลี่ ย นเป็ น เล็กลงและเปลี่ยนเป็น
-น าแข็ ง ค่ อ ยๆ มี นา นา นา
ขนาดเล็ ก ลงและ -เมื่อต้มนา นาในขวดรูป -เมื่ อ ต้ ม น า น าในขวด -เมื่อต้มนา นาในขวด
เปลี่ยนเป็นนา กรวยจะค่อ ยๆ หายไป รู ป ก ร ว ย จ ะ ค่ อ ย ๆ รู ป ก ร ว ย จ ะ ค่ อ ย ๆ
-เมื่ อ ต้ ม น า น าใน แ ล ะ มี ฝ้ า สี ข า ว ห รื อ หายไป และมี ฝ้ าสี ข าว หายไป และมีฝ้าสีขาว
ขวดรู ป กรวยจะ ละอองน าเล็ ก ๆ เกาะ หรื อ ละอองน าเล็ ก ๆ หรือ ละอองนาเล็ ก ๆ
ค่อยๆ หายไป และ ตามข้ า งขวดรู ป กรวย เกาะตามข้ า งขวดรู ป เกาะตามข้า งขวดรู ป
มี ฝ้ า สี ข า ว ห รื อ และถุงพลาสติก กรวยและถุงพลาสติก กรวยและถุงพลาสติก
ละอองน าเล็ ก ๆ -เมื่ อ ดั บ ไฟ ละอองน า จะมีขนาดใหญ่ขึน -เมื่อดับไฟ ละอองนา
เกาะตามข้างขวด จะมีขนาดใหญ่ขึน ได้ ค รบถ้ ว น โดยอาศัย จะมีขนาดใหญ่ขึน
รู ป ก ร ว ย แ ล ะ ได้ ด้ ว ยตั ว เอง โดยไม่ การชี แนะของครู ห รื อ ได้ ไ ม่ ค รบถ้ ว นหรื อ
ถุงพลาสติก เพิ่มความคิดเห็น ผู้อื่น หรือมีการเพิ่มเติม เพิ่มเติมความคิ ดเห็ น
-เมื่อดับไฟ ละออง ความคิดเห็น แม้ ว่ า จะได้ รั บ ก าร
นา จะมีขนาดใหญ่ ชีแนะจากครูหรือผู้อื่น
ขึน
S5 การหา การบรรยาย สามารถบรรยายการ สามารถบรรยายการ สามารถบรรยายการ
ความสัมพันธ์ ลักษณะการ ครอบครองพืนที่ของ ครอบครองพืนที่ของ ครอบครองพืนที่ของ
ระหว่างสเปซ ครอบครองพืนที่ นาแข็ง นาและไอนาใน นาแข็ง นาและไอนาใน นาแข็ง นาและไอนา
กับสเปซ ของนาแข็ง นา ขวดรูปกรวยและ ขวดรูปกรวยและ ในขวดรูปกรวยและ
และไอนา ถุงพลาสติก สิ่งที่ควร ถุงพลาสติก สิ่งที่ควร ถุงพลาสติก
สิ่งที่ควรบรรยาย บรรยายได้คือ บรรยายได้คือ สิ่งที่ควรบรรยายได้
ได้คือ -นาแข็งเป็นก้อนอยู่ที่ -นาแข็งเป็นก้อนอยู่ที่ คือ
-นาแข็งเป็นก้อน ก้นภาชนะเมื่อ ก้นภาชนะเมื่อ -นาแข็งเป็นก้อนอยู่ที่
อยู่ที่ก้นภาชนะ เปลี่ยนเป็นนาจะอยู่ใน เปลี่ยนเป็นนาจะอยู่ใน ก้นภาชนะเมื่อ
เมื่อเปลี่ยนเป็นนา ขวดรูปกรวยโดยอยู่เต็ม ขวดรูปกรวยโดยอยู่เต็ม เปลี่ยนเป็นนาจะอยู่

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 212

ทักษะ ระดับความสามารถ
กระบวนการทาง รายการประเมิน
วิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
จะอยู่ในขวดรูป ก้นขวดและมีระดับสูง ก้นขวดและมีระดับสูง ในขวดรูปกรวยโดย
กรวยโดยอยู่เต็ม ขึน ผิวหน้าเรียบเสมอ ขึน ผิวหน้าเรียบเสมอ อยู่เต็มก้นขวดและมี
ก้นขวดและมี กันเมื่อเปลี่ยนเป็นไอนา กันเมื่อเปลี่ยนเป็นไอนา ระดับสูงขึน ผิวหน้า
ระดับสูงขึน จะฟุ้งกระจายเต็ม จะฟุ้งกระจายเต็ม เรียบเสมอกันเมื่อ
ผิวหน้าเรียบเสมอ ภายในขวดรูปกรวยและ ภายในขวดรูปกรวย เปลี่ยนเป็นไอนาจะ
กันเมื่อเปลี่ยนเป็น ถุงพลาสติก และถุงพลาสติก ฟุ้งกระจายเต็มภายใน
ไอนาจะฟุ้ง ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ได้อย่างถูกต้อง ขวดรูปกรวยและ
กระจายเต็ม ได้ด้วยตัวเอง ครบถ้วนโดยอาศัย ถุงพลาสติก
ภายในขวดรูป การชีแนะของครูหรือ ได้ไม่ครบถ้วน แม้ว่า
กรวยและ ผู้อื่น จะได้รับการชีแนะ
ถุงพลาสติก จากครูหรือผู้อื่น

S6 การจัดกระทา การนาข้อมูลที่ได้ นาข้อมูลที่ได้จาก นาข้อมูลที่ได้จาก นาข้อมูลที่ได้จาก


และสื่อความหมาย จากการสังเกตมา การสังเกตบันทึกลงใน การสังเกตบันทึกลงใน การสังเกตบันทึกลง
ข้อมูล บันทึกลงในตาราง ตารางและบันทึกผล ตารางและบันทึกผล ในตารางและบันทึก
การอภิปรายและ การอภิปรายและ ผลการอภิปรายและ
และบันทึกผล
สืบค้นข้อมูลได้ถูกต้อง สืบค้นข้อมูลได้ถูกต้อง สืบค้นข้อมูลได้ยังไม่
การอภิปรายและ ครบถ้วนและสื่อ ครบถ้วนและ ครบถ้วน แม้ว่าจะ
การสืบค้นข้อมูลลง ความหมายได้ชัดเจน สื่อความหมายชัดเจน ได้รับการชีแนะจาก
ในแบบบันทึก ด้วยตนเอง ได้ โดยอาศัยการชีแนะ ครูหรือผู้อื่น
กิจกรรม ของครูหรือผู้อื่น

S8 การลง การนาข้อมูลที่ได้ สามารถนาข้อมูลที่ ส า ม า ร ถ น า ข้ อ มู ล ที่ สามารถนาข้อมูลที่


ความเห็นจาก จากการสังเกต รวบรวมได้จาก ร ว บ ร ว ม ไ ด้ จ า ก การ รวบรวมได้จาก
ข้อมูล การเปลี่ยนแปลง การสังเกตสถานะของ สั ง เกตสถานะของน า การสังเกตสถานะของ
ของนาแข็ง นา นาและการเปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงที่ นาและการเปลี่ยนแปลง
และไอนามา ที่เกิดขึนมาลงความเห็น เกิ ด ขึ นมาลงความเห็ น ที่เกิดขึนมาลงความเห็น
ลงความเห็น ได้ว่า ได้ว่า ได้ว่า
การเปลี่ยนสถานะ น าแข็ ง เปลี่ ย นเป็ น น า น าแข็ ง เปลี่ ย นเป็ น น า น าแข็ ง เปลี่ ย นเป็ น น า
ของสสารโดย เรียกว่า การหลอมเหลว เรียกว่า การหลอมเหลว เรียกว่า การหลอมเหลว
ลงความเห็นได้ว่า -น าเปลี่ ย นเป็ น ไอน า -น าเปลี่ ย นเป็ น ไอน า -น าเปลี่ ย นเป็ น ไอน า
นาแข็งเปลี่ยนเป็น เรี ย กว่ า การกลายเป็ น เรี ย กว่ า การกลายเป็น เรียกว่า การกลายเป็น
นา เรียกว่า ไอ ไอ ไอ
การหลอมเหลว -ไอน าเปลี่ ย นเป็ น น า -ไอน าเปลี่ ย นเป็ น น า -ไอน าเปลี่ ย นเป็ น น า
เรียกว่า การควบแน่น เรียกว่า การควบแน่น เรียกว่า การควบแน่น

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


213 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

ทักษะ ระดับความสามารถ
กระบวนการทาง รายการประเมิน
วิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
-นาเปลี่ยนเป็น -การเปลี่ยนสถานะของ -การเปลี่ ยนสถานะของ -การเปลี่ ย นสถานะ
ไอนาเรียกว่า นาในสถานะต่าง ๆ เกิด นาในสถานะต่าง ๆ เกิ ด ของนาในสถานะต่ าง
การกลายเป็นไอ จากนาได้รับหรือสูญเสีย จากนาได้รับหรือสูญเสีย ๆ เกิ ด จากน าได้ รั บ
-ไอนาเปลี่ยนเป็น ความร้ อ นได้ ถู ก ต้ อ ง ค ว า ม ร้ อ น ไ ด้ ถู ก ต้ อ ง หรือสูญเสียความร้อน
นา เรียกว่า ครบถ้วนได้ด้วยตนเอง ค ร บ ถ้ ว น โ ด ย อ า ศั ย ไ ด้ ถู ก ต้ อ ง แ ต่ ไ ม่
การควบแน่น การชี แนะของครู ห รื อ ครบถ้ ว น แม้ ว่ า จะ
-การเปลี่ยน ผู้อื่น ได้ รั บ การชี แนะจาก
สถานะของนาใน ครูหรือผู้อื่น
สถานะต่าง ๆ เกิด
จากนาได้รับหรือ
สูญเสียความร้อน
S13 การตีความหมาย การตีความหมาย สามารถตีความหมาย สามารถตีความหมาย สามารถตีความหมาย
ข้อมูลและลงข้อสรุป ข้อมูลและลง การเปลี่ยนแปลงของ การเปลี่ยนแปลงของ การเปลี่ยนแปลงของ
ข้อสรุปการเปลี่ยน นาแข็งเป็นนาและไอนา นาแข็งเป็นนาและไอนา นาแข็งเป็นนาและ
สถานะของสสาร ทังเมื่อได้รับและสูญเสีย ทังเมื่อได้รับและสูญเสีย ไอนาทังเมื่อได้รับและ
ได้ว่าสสารสามารถ ความร้อนและลงข้อสรุป ความร้อน สูญเสียความร้อน
เปลี่ยนสถานะได้ ได้ว่าสสารสามารถ และลงข้อสรุปว่าสสาร และลงข้อสรุปว่า
เมื่อสารได้รับหรือ เปลี่ยนสถานะได้เมื่อ สามารถเปลี่ยนสถานะ สสารสามารถเปลี่ยน
สูญเสียความร้อน สารได้รับหรือสูญเสีย ได้เมื่อสารได้รับหรือ สถานะได้เมื่อสาร
สสารเปลี่ยน ความร้อน สสารเปลี่ยน สูญเสียความร้อน ได้รับหรือสูญเสีย
สถานะจาก สถานะจากของแข็งเป็น สสารเปลี่ยนสถานะ ความร้อน สสาร
ของแข็งเป็น ของเหลวเรียกว่า จากของแข็งเป็น เปลี่ยนสถานะจาก
ของเหลวเรียกว่า การหลอมเหลว ของเหลวเรียกว่า ของแข็งเป็นของเหลว
การหลอมเหลว เปลี่ยนสถานะจาก การหลอมเหลว เปลี่ยน เรียกว่า
เปลี่ยนสถานะจาก ของเหลวเป็นแก๊ส สถานะจากของเหลว การหลอมเหลว
ของเหลวเป็นแก๊ส เรียกว่าการกลายเป็นไอ เป็นแก๊สเรียกว่า เปลี่ยนสถานะจาก
เรียกว่า การเปลี่ยนสถานะจาก การกลายเป็นไอ ของเหลวเป็นแก๊ส
การกลายเป็นไอ แก๊สเป็นของเหลว การเปลี่ยนสถานะจาก เรียกว่าการกลายเป็น
การเปลี่ยนสถานะ เรียกว่าการควบแน่นได้ แก๊สเป็นของเหลว ไอ การเปลี่ยนสถานะ
จากแก๊สเป็น ถูกต้อง ครบถ้วนด้วย เรียกว่าการควบแน่น จากแก๊สเป็นของเหลว
ของเหลวเรียกว่า ตัวเอง ได้ถูกต้อง ครบถ้วนโดย เรียกว่าการควบแน่น
การควบแน่น อาศัยการชีแนะของครู ได้ถูกต้องแต่ไม่
หรือผู้อื่น ครบถ้วนแม้ว่าจะ
ได้รับการชีแนะจาก
ครูหรือผู้อื่น

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 214

ตาราง แสดงการวิเคราะห์ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ตามระดับความสามารถของนักเรียน


โดยอาจใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี
ทักษะแห่ง รายการประเมิน ระดับความสามารถ
ศตวรรษที่ 21 ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
C4 การสื่อสาร การนาเสนอข้อมูล นาเสนอข้อมูลจากการ นาเสนอข้อมูลจากการสังเกต นาเสนอข้อมูลจากการ
จากการสังเกตการ สังเกตการเปลี่ยนสถานะ การเปลี่ยนสถานะของนาใน สั ง เ ก ต ก า ร เ ป ลี่ ย น
เปลี่ยนสถานะของ ของนาในรูปแบบ รูปแบบภาพวาดหรือบรรยาย สถานะของนาใน
นาในรูปแบบ ภาพวาดหรือบรรยาย ให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง รู ป แบบภาพวาดหรื อ
ภาพวาดหรือ ให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่าง ชัดเจนโดยอาศัยการชีแนะ บรรยาย ให้ผู้อื่นเข้าใจ
บรรยาย ถูกต้อง ชัดเจนได้ด้วย ของครูหรือผู้อื่น ได้ถูกต้องแต่ไม่ชั ด เจน
ตนเอง แม้ว่าจะได้รับการชีแนะ
จากครูหรือผู้อื่น
C5 ความ การทางานร่วมมือ สามารถทางานร่วมกับ สามารถทางานร่วมกับผู้อื่น สามารถท างานร่ ว มกั บ
ร่วมมือ กันกับผู้อื่นใน ผู้อื่นรวมทังยอมรับฟัง รวมทังยอมรับฟัง ผู้ อื่ น ได้ บ้ า งแต่ ไ ม่ แ สดง
การสังเกต ความคิดเห็นของผู้อื่น ความคิดเห็นของผู้อื่นอย่าง ความคิดเห็น แม้ว่าจะได้
การเปลี่ยนแปลง อย่างสร้างสรรค์ใน สร้างสรรค์ในการทากิจกรรม รับคาชีแนะจากครู ห รื อ
ของนาในสถานะ การทากิจกรรมตังแต่ เป็นบางครังทังนีต้องอาศัย ผู้อื่น
ต่าง ๆ รวมทัง เริ่มต้นจนเสร็จสิน การกระตุ้นจากครูหรือผู้อื่น
การยอมรับความ กิจกรรมด้วยตนเอง
คิดเห็นของผู้อื่น
C6 การใช้ การใช้อินเทอร์เนต ใช้อินเทอร์เนตสืบค้นชื่อ ใช้อินเทอร์เนตสืบค้นชื่อ สามารถใช้อินเทอร์เนต
เทคโนโลยี เพื่อสืบค้นชื่อ การเปลี่ยนสถานะของ การเปลี่ยนสถานะของสสาร สืบค้นชื่อการเปลี่ยน
สารสนเทศ การเปลี่ยนสถานะ สสารได้ด้วยตนเองจาก จากแหล่งข้อมูลที่ สถานะของสสารจาก
และการ ของสสารจาก แหล่งข้อมูลที่ หลากหลายโดยเลือก แหล่งข้อมูลที่
สื่อสาร ของแข็งเป็น หลากหลายโดยเลือก แหล่งข้อมูลที่ถูกต้องและ หลากหลายแต่ไม่
ของเหลว จาก แหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือจากการชีแนะของ สามารถเลือกใช้
ของเหลวเป็นแก๊ส และน่าเชื่อถือ ครูหรือผู้อื่น แหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง
และจากแก๊สเป็น และน่าเชื่อถือแม้ว่าจะ
ของเหลว จาก ได้รับคาชีแนะจากครู
แหล่งข้อมูลที่ หรือผู้อื่น
ถูกต้องและ
น่าเชื่อถือ

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


215 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

กิจกรรมที่ 1.2 น้าผลไม้เป็นเกล็ดน้าแข็งได้


อย่างไร
กิจกรรมนีนักเรียนจะได้สังเกตและอธิบายการเปลี่ยนสถานะของ
นาผลไม้
เวลา 1 ชั่วโมง
จุดประสงค์การเรียนรู้
ทากิจกรรมนีเพื่อสังเกตและอธิบายการเปลี่ยนสถานะของนาผลไม้
วัสดุ อุปกรณ์สาหรับทากิจกรรม
สิ่งที่ครูต้องเตรียม/กลุ่ม
1. แก้วพลาสติกใสหรือขวดพลาสติก 2 ใบ
2. อ่างนาพลาสติกที่มขี นาดเหมาะสมกับแก้วหรือขวดพลาสติก 1
ใบ
3. ช้อน 2 คัน
4. เกลือแกง 1 ถุง
5. นาแข็งก้อนเล็ก ๆ ปริมาณเพียงพอสาหรับบรรจุลงในอ่างนาจน
เกือบเต็ม
6. นาผลไม้ ประมาณ 1 แก้วพลาสติกใส
สิ่งที่ครูต้องเตรียม/คน
-
สิ่งที่นักเรียนต้องเตรียม/กลุม่
- สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
1. หนังสือเรียน ป.5 เล่ม 1 หน้า 84-86
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 2. แบบบันทึกกิจกรรม ป.5 เล่ม 1 หน้า 90-94
S1 การสังเกต 3. ตัวอย่างวีดิทัศน์ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สาหรับครู
S5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับเวลา เรื่องการแข็งตัวของสสารเป็นอย่างไร
S8 การลงความเห็นจากข้อมูล
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
C4 การสื่อสาร
C5 ความร่วมมือ
C6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร http://ipst.me/9893

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 216

แนวการจัดการเรียนรู้
1. น าเข้ า สู่ บ ทเรี ย นโดยครู แ ละนั ก เรี ย นร่ ว มกั น สนทนาในประเด็ น
ดังต่อไปนี
1.1 ถ้าต้องการทาให้นาเปลี่ยนเป็นนาแข็งจะทาอย่างไร (นักเรียน
ตอบตามความเข้าใจ นักเรียนอาจตอบว่า นานาไปแช่ในช่องแช่ ในการตรวจสอบความรู้ ครู เพียงรับ
แข็งของตู้เย็น) ฟังเหตุผลของนักเรียนเป็นสาคัญ และยังไม่
1.2 ช่ อ งแช่ แ ข็ ง ของตู้ เ ย็ น ท าให้ น าเปลี่ ย นเป็ น น าแข็ ง ได้ อ ย่ า งไร เฉลยค าตอบใด ๆ ให้ กั บ นั ก เรี ย น แต่
(นักเรียนตอบตามความเข้าใจ ซึ่ง ควรตอบได้ว่าเพราะช่องแช่ ชักชวนนักเรียน ไปหาคาตอบที่ถูกต้องจาก
แข็งมีอุณหภูมิต่ามากจนทาให้นาเปลี่ยนเป็นนาแข็งได้) กิจกรรมต่าง ๆ ในบทเรียนนี
1.3 ถ้าเราไม่มี ตู้เย็น เราจะทาให้ นาเปลี่ ยนเป็นนาแข็งได้ห รือไม่
อย่างไร (นักเรียนตอบได้ตามความเข้าใจ ครู อาจพูดคุยเพิ่มเติม
เกี่ยวกับการแข็งตัวของของเหลวอื่นๆ ในชีวิตประจาวัน)
2. นักเรียน อ่านชื่อกิจกรรม และ ทาเป็นคิดเป็น ในหนังสือเรียนหน้า
84 จากนัน ครูตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับ สิ่ งที่ จะ
เรียนในกิจกรรมนี โดยใช้คาถามดังต่อไปนี
2.1 กิจกรรมนีนักเรียนจะได้เรียนเกี่ยวกับ เรื่องอะไร (เกี่ยวกับการ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
เปลี่ยนสถานะของนาผลไม้)
2.2 นักเรียนจะได้เรียนเรื่องนีด้วยวิธีใด (การสังเกต) ครูควรแนะนาให้นักเรียนโรยเกลื อ
2.3 เมื่อเรียนแล้วนักเรียนจะทาอะไรได้ (อธิบายการเปลี่ยนสถานะ ลงในนาแข็งให้ มีป ริมาณมากพอที่จะทาให้
ของนาผลไม้ได้) เกิดการเปลี่ยนสถานะของนาผลไม้ได้เร็ว
3. ให้นักเรียนบันทึกจุดประสงค์ของกิจกรรมในแบบบันทึกกิจกรรมหน้า
90
4. นักเรียนอ่านสิ่งที่ต้องใช้ในการทากิจกรรม โดยครูนาวัสดุอุปกรณ์มา
แสดงให้ นั ก เรี ยนดู ย าเตื อ นวิ ธี ก ารใช้ อุ ป กรณ์ แ ละการดู แ ลความ
สะอาดของสถานที่ขณะทากิจกรรม
5. นักเรียนอ่านทาอย่า งไร ในหนังสื อเรียนหน้า 84 โดยครู เลื อกฝึ ก
ทักษะการอ่านตามความเหมาะสมกับ ความสามารถของนักเรียน
จากนั นครู ต รวจสอบความเข้ า ใจขั นตอนการท ากิ จ กรรมโดยใช้
คาถามดังนี
5.1 นักเรียนต้องทาอย่างไรในขันตอนแรก (คาดคะเนว่าจะเกิดอะไร
ขึนถ้า นานาผลไม้ที่อยู่ในแก้ว พลาสติ ก แช่ ในอ่างน าแข็ ง ผสม
เกลือ บันทึกผล)
นักเรียนบันทึกการคาดคะเนในแบบบันทึ กหน้ า 90 จากนั น
ร่วมกันอภิปรายคาตอบของนักเรียน
5.2 หลังจากการคาดคะเน ต้องทาอย่างไรต่อไป (ทากิจกรรมโดยนา
แก้วที่ใส่นาผลไม้แช่ในอ่างนาแข็งผสมเกลือ จากนันคนนาแข็ง

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


217 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

ผสมเกลือในอ่าง และสังเกตการเปลี่ยนแปลงของนาผลไม้ทุก ๆ
2 นาที บันทึกผล)
ครูควรให้นักเรียนดูตารางบันทึกผลในแบบบันทึกกิจกรรมหน้า ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะ
90 และตรวจสอบความเข้าใจวิธีการจับเวลาและบันทึกเวลา แห่งศตวรรษที่ 21 ที่นักเรียนจะได้ฝึกจากการ
รวมทังวิธีการบันทึกผลการสังเกต ครูยาแนวทางในการสังเกต ทากิจกรรม
สิ่ งต่าง ๆ ควรสั งเกตให้ ล ะเอี ยดมากที่สุ ด ตัว อย่างเช่น การ S1 การสังเกตการเปลี่ยนแปลงของนาผลไม้
สังเกตนาผลไม้ ควรสังเกตให้ได้ข้อมูลต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด เช่น S5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับ
สี รู ป ร่ า งของน าผลไม้ ระยะเวลาที่ น าผลไม้ เ กิ ด การ เวลาจากลักษณะการครอบครองพืนที่ของ
เปลี่ยนแปลง สารในภาชนะเมื่อเวลาผ่านไปทังก่อนและ
5.3 หลั งจากนาผลไม้ เปลี่ ย นสถานะแล้ ว ต้องทาอย่า งไรต่ อ ไป หลังการเปลี่ยนสถานะ
(แบ่ง นาผลไม้ที่เปลี่ยนสถานะบรรจุลงในภาชนะอีกใบแล้ว S6 การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึน บันทึกผล) จากการบรรยายและวาดรูปลักษณะของนา
ครูควรให้นักเรียนดูและตรวจสอบความเข้าใจวิธีการบันทึกผล ผลไม้ในภาชนะ
การสังเกตในแบบบันทึกหน้า 91 S8 การลงความเห็นจากข้อมูลจากการ
5.4 นักเรียนจะทาอย่างไรจึงจะระบุ ชื่อการเปลี่ยนสถานะของนา สังเกตลักษณะของสารขณะเกิดการ
ผลไม้ ใ นแต่ ล ะช่ ว งได้ (อภิ ป รายร่ ว มกั น และสื บ ค้ น ข้ อ มู ล เปลี่ยนแปลงและนาข้อมูลมาระบุสถานะ
เพิ่มเติม) ของสารที่เปลี่ยนแปลง
ครูควรให้นักเรียนดูและตรวจสอบความเข้าใจวิธีการบันทึกผล C4 การสื่อสารจากการนาเสนอผลการ
การอภิปรายและสืบค้นข้อมูลในแบบบันทึกหน้า 91 ครูควร เปลี่ยนแปลงของนาผลไม้
แสดงวิธีการระบุชื่อแหล่ งข้อมูล ที่สื บ ค้ นและยาให้ นักเรียน C5 ความร่วมมือจากการทางานร่วมกันใน
บันทึกแหล่งข้อมูลทุกครัง กลุ่ม
6. เมื่อนักเรียนเข้าใจวิธีการทากิจกรรมในทาอย่างไรแล้ว ครูแจกวัสดุ C6 การใช้เทคโนโลยีส ารสนเทศและการ
อุปกรณ์ จากนันนักเรียนเริ่มปฏิบัติกิจกรรมตามขันตอน สื่อสารจากการใช้อินเทอร์เนตสืบค้นข้อมูล
7. หลังจากทากิจกรรมแล้ว ให้นักเรียนเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อยและ เกี่ยวกับการเปลี่ยนสถานะของนาผลไม้
สุ่มนักเรียนนาเสนอผลการทากิจกรรม ครูบันทึกผลการทากิจกรรม
ของนั ก เรี ย นไว้ บ นกระดาน จากนั นครู น าอภิ ป รายผลการท า
กิจกรรมของนักเรียนโดยครูอาจใช้คาถามดังนี
7.1 ก่อนการทากิจกรรมนาผลไม้ในแก้ว มีสถานะใด และมีสมบัติ
อย่างไร (ก่อนการทากิจกรรม นาผลไม้ในแก้ว มีสถานะเป็น
ของเหลว รู ป ร่ า งเปลี่ ย นแปลงตามภาชนะ ปริ ม าตรคงที่
ผิวหน้าเรียบเสมอกันในแนวระดับ)
7.2 เมื่อนานาผลไม้แช่ในอ่างนาแข็งผสมเกลือ นาผลไม้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงอย่างไร (นาผลไม้เปลี่ยนเป็นเกล็ดนาแข็ง)
7.3 เกล็ดนาแข็งมีสถานะใดและมี สมบัติอย่างไร (เกล็ดนาแข็งมี
สถานะเป็นของแข็ง สีส้ม สัมผัสแล้วรู้สึกเย็น)
7.4 เมื่อเวลาผ่านไป นาผลไม้และเกล็ดนาแข็งมีการเปลี่ยนแปลง
อย่างไร (เมื่อเวลาผ่านไป นาผลไม้มีปริมาณลดลง ส่วนเกล็ด
นาแข็งมีปริมาณมากขึน)

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 218

7.5 นักเรียนคิดว่านาผลไม้ที่แช่ในอ่างนาแข็งผสมเกลือมีอุณหภูมิ
เป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับนาผลไม้ที่วางไว้นอกอ่าง และจะรู้ได้
อย่างไร (อุณหภูมิข องนาผลไม้ที่อยู่ ในอ่างนาแข็งจะต่ ากว่า
อุณหภูมิของนาผลไม้ที่อยู่นอกอ่าง ทราบได้จากการสัมผัส
ด้วยมือหรือใช้เทอร์มอมิเตอร์วัดอุณหภูมิ)
7.6 เหตุใดนาผลไม้จึงเปลี่ยนเป็นเกล็ดนาแข็ง (นาผลไม้สูญเสีย
ความร้อน เนื่องจากการนานาผลไม้แช่ในอ่างนาแข็งผสมเกลือ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
ทาให้อุณหภูมิของนาผลไม้ลดลงจนถึงระดับหนึ่ง)
7.7 การเปลี่ ยนแปลงของนาผลไม้ เป็นเกล็ ดนาแข็ง เปลี่ ย นจาก ค รู ค ว ร สื บ ค้ น ข้ อ มู ล เ กี่ ย ว กั บ
สถานะใดเป็นสถานะใดและเรียกการเปลี่ยนแปลงนีว่าอะไร การเปลี่ ยนสถานะของสสารจากเว็บ ไซต์ที่
(การเปลี่ยนแปลงของนาผลไม้เปลี่ยนจากสถานะของเหลว น่าเชื่ อถือ ไว้ ล่ วงหน้า ประมาณ3-4 เว็ บไซต์
เป็นของแข็ง เรียกว่าการแข็งตัว) และแนะน านั ก เรี ย นให้ สื บ ค้ น ข้ อ มู ล จาก
ถ้านักเรียนตอบไม่ได้ ครูให้ความรู้เพิ่มเติมการเปลี่ยนสถานะ เว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ
จากของเหลวเป็นของแข็ง เรียกว่า การแข็งตัว
7.8 การเปลี่ยนแปลงของเกล็ดนาแข็งที่นามาวางไว้นอกอ่างนาแข็ง
เปลี่ยนจากสถานะใดเป็นสถานะใด และเรียกการเปลี่ยนแปลง
นีว่าอะไร (เกล็ดนาแข็ง ซึ่งมีสถานะเป็นของแข็งเปลี่ยนเป็นนา
ผลไม้ซึ่งมีสถานะเป็นของเหลว การเปลี่ยนสถานะจากของแข็ง
เป็นของเหลว เรียกว่า การหลอมเหลว)
7.9 การเปลี่ยนแปลงของนาผลไม้เป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
หรือไม่ รู้ได้อย่างไร (การเปลี่ ยนแปลงของนาผลไม้เ ป็ น การ
เปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เนื่องจาก นาผลไม้ทแี่ ข็งตัวเป็นเกล็ด
นาแข็ง ยังคงเป็นสารเดิม เพียงแต่มีส ถานะเปลี่ ยนแปลงไป
เท่านัน สั งเกตได้จากเกล็ ดนาแข็ง เมื่ อเปลี่ ยนสถานะเป็ น น า หากนั ก เรี ย นไม่ ส ามารถ
ผลไม้จะได้นาผลไม้ที่มีสีเหมือนเดิม) ตอบคาถามหรืออภิปรายได้ตาม
7.10 จากกิจกรรมนี ค้นพบอะไรบ้าง (จากกิจกรรมนี พบว่าเมื่อนานา แนวค าตอบ ครู ค วรให้ เ วลา
ผลไม้ แ ช่ ใ นอ่ า งน าแข็ ง ผสมเกลื อ น าผลไม้ เ ปลี่ ย นเป็ น เกล็ ด นั ก เรี ย นคิ ด อย่ า งเหมาะสม
นาแข็งซึ่งเกิดจากนาผลไม้สูญเสียความร้อน ส่วนเกล็ดนาแข็งที่ รอคอยอย่างอดทน และรับ ฟัง
วางไว้นอกอ่างนาแข็งผสมเกลือเปลี่ยนเป็นนาผลไม้ซึ่งเกิดจาก แนวความคิดของนักเรียน
เกล็ดนาแข็งได้รับความร้อน)
7.11 จากสิ่ ง ที่ ค้ น พบสรุ ป ได้ ว่ า อย่ า งไร (เมื่ อ ท าให้ ส สารที่ เ ป็ น
ของเหลวเย็นลงจนถึงระดับหนึ่งจะเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง
เรียกการเปลี่ยนแปลงนีว่า การแข็งตัว ส่วนของแข็งเมื่อได้รับ
ค ว า ม ร้ อ น จ ะ เ ป ลี่ ย น ส ถ า น ะ เ ป็ น ข อ ง เ ห ล ว เ รี ย ก ว่ า
การหลอมเหลว การแข็ ง ตั ว และการหลอมเหลวเป็ น
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ)
8. ครู แ ละนั ก เรี ย นร่ ว มกั น อภิป รายและลงข้ อ สรุป ว่า ของเหลวเมื่ อ
สูญเสียความร้อน ของเหลวจะเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง เรียกการ

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


219 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

เปลี่ยนสถานะนีว่า การแข็งตัว และเมื่อของแข็งได้รับความร้ อนจะ


เปลี่ ย นสถานะเป็น ของเหลวได้ เ รีย กการเปลี่ ย นสถานะนีว่ า การ
หลอมเหลว การเปลี่ ยนสถานะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ส ารยังเป็น
สารเดิมจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ (S13)
9. นักเรียนร่วมกันอภิปรายคาตอบใน ฉันรู้อะไร โดยครูอาจใช้คาถาม
เพิ่มเติมในการอภิปรายเพื่อให้ได้แนวคาตอบที่ถูกต้อง
10. นั ก เรี ย นร่ ว มกั น สรุ ป สิ่ ง ที่ ไ ด้ เ รี ย นรู้ ใ นกิ จ กรรมนี จากนั นครู ใ ห้ การเตรียมตัวล่วงหน้าสาหรับครู
นักเรียนอ่าน สิ่งที่ได้เรียนรู้ และเปรียบเทียบกับข้อสรุปของตนเอง เพื่อจัดการเรียนรู้ในครั้งถัดไป
11. ครูกระตุ้นให้นักเรียนฝึกตังคาถามเกี่ยวกับเรื่องที่สงสัยหรืออยากรู้
เพิ่ ม เติ ม ใน อยากรู้ อี ก ว่ า จากนั นครู อ าจสุ่ ม นั ก เรี ย น 2 -3 คน ในครังถัดไป นักเรียนจะได้ทา
น าเสนอค าถามของตนเองหน้ า ชั นเรี ย น และให้ นั ก เรี ย นทุ ก คน กิจกรรมที่ 1.3 พิมเสนมีการเปลี่ยนสถานะ
ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับคาถามที่นาเสนอ อย่างไร ครูควรเตรียมกระดาษแข็งเจาะรู
12.ครูนาอภิปรายเพื่อให้นักเรียนทบทวนว่าได้ฝึกทักษะกระบวนการทาง สาหรับให้นักเรียนทากิจกรรมกลุ่มละ 1
วิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 อะไรบ้างและในขันตอน แผ่น โดยตัดกระดาษเทาขาวให้แต่ละแผ่นมี
ใด แล้วบันทึกลงในแบบบันทึกกิจกรรมหน้า 94 ขนาดประมาณ 10 x 10 cm เจาะรูขนาด
เล็ก ๆ 4-5 รูบริเวณตรงกลางของ
แผ่นกระดาษ

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 220

13. แนวคาตอบในแบบบันทึกกิจกรรม

สังเกตและอธิบายการเปลี่ยนสถานะของน้าผลไม้

ขึ้นอยู่กับคาตอบของนักเรียน เช่น เมื่อน้าผลไม้ในแก้วเย็นลง น้าผลไม้จะเปลี่ยนจาก


ของเหลวเป็นของแข็ง

0 ขึนอยู่กับการสังเกตของนักเรียน บันทึกลักษณะของนาผลไม้
ตามจริง เช่น เป็นของเหลว สีส้ม
2 เป็นของเหลว สีส้ม
4 เป็นของเหลว สีส้ม
6 ของเหลว สีส้ม เริ่มมีเกล็ดนาแข็งสีส้มเกิดขึนที่ขอบแก้วพลาสติก
8 นาผลไม้เปลี่ยนเป็นเกล็ดนาแข็งสีส้มหมดทังแก้ว
10
หมายเหตุ เวลาในการทากิจกรรมตังแต่เริ่มต้นจนนาผลไม้เปลี่ยนสถานะ
จนหมดอาจจะเร็ว ช้า แตกต่างไปจากนี ให้บันทึกผลตามความเป็นจริง

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


221 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

เมื่อวางไว้ 3 นาที เกล็ดนาแข็งจะเปลี่ยนเป็นของเหลวสีส้มเหมือนกับสีของ


เกล็ดนาแข็ง

ของเหลว ของแข็ง
การแข็งตัว

ของแข็ง ของเหลว
การหลอมเหลว

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 222

คาตอบขึ้นอยู่กับการคาดคะเนและผลการสังเกตของนักเรียน เช่น เหมือนกัน


เนื่องจากมีการคาดคะเนว่าน้าผลไม้จะเปลี่ยนจากของเหลวเป็นของแข็ง

น้าผลไม้เปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง เรียกการเปลี่ยนสถานะนี้ว่า
การแข็งตัว และน้าผลไม้ที่แข็งตัวหรือเกล็ดน้าแข็งเปลี่ยนสถานะจากของแข็ง
เป็นของเหลว เรียกการเปลี่ยนสถานะนี้ว่า การหลอมเหลว

การเปลี่ยนสถานะของน้าผลไม้เกิดขึ้นเนื่องจากน้าผลไม้ได้รับหรือสูญเสีย
ความร้อน หรือ เกิดขึ้นจากการทาให้น้าผลไม้ร้อนขึ้นหรือเย็นลง โดยน้าผลไม้
สูญเสียความร้อนจะเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้าแข็ง ส่วนเกล็ดน้าแข็งได้รับความร้อนจะ
เปลี่ยนเป็นน้าผลไม้

การเปลี่ยนสถานะของน้าผลไม้เป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพเนื่องจากสารที่
ได้หลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงยังคงเป็นสารเดิมสังเกตจากสีของสารก่อนและ
หลังการเปลี่ยนแปลงเป็นสีเดียวกัน

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


223 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

เมื่อนาแก้วบรรจุน้าผลไม้แช่ในอ่างน้าแข็งผสมเกลือและคนน้าแข็งไปเรื่อยๆ น้าผลไม้
จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นเกล็ดน้าแข็ง จนกลายเป็นเกล็ดน้าแข็งทั้งหมด และเมื่อแบ่งน้า
ผลไม้ที่เป็นเกล็ดน้าแข็งบรรจุลงในภาชนะอีกใบหนึ่งวางไว้นอกอ่างน้าแข็ง เกล็ด
น้าแข็งจะกลายเป็นน้าผลไม้ที่มีสีเหมือนเดิม การเปลี่ยนแปลงของน้าผลไม้เป็นเกล็ด
น้าแข็งจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพเนื่องจากสารที่เปลี่ยนแปลงยังคงเป็น
สารเดิม

เมื่อทาให้ของเหลวสูญเสียความร้อนหรือเย็นลง ของเหลวสามารถเปลี่ยนสถานะเป็น
ของแข็งได้ เรียกการเปลี่ยนสถานะนี้ว่า การแข็งตัว และเมื่อทาให้ของแข็งได้รับ
ความร้อนหรือร้อนขึ้น ของแข็งจะสามารถเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวได้เรียก
การเปลี่ยนสถานะนี้ว่า การหลอมเหลว การเปลี่ยนสถานะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สาร
ยังคงเป็นสารเดิมแต่สถานะเปลี่ยนไปจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 224

คาถามของนักเรียนที่ตั้งตามความอยากรู้ของตนเอง












ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


225 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

แนวการประเมินการเรียนรู้
การประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนทาได้ ดังนี
1. ประเมินความรู้เดิมจากการอภิปรายในชันเรียน
2. ประเมินการเรียนรู้จากคาตอบของนักเรียนระหว่างการจัดการเรียนรู้และจากแบบบันทึกกิจกรรม
3. ประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จากการทากิจกรรมของนักเรียน

การประเมินจากการทากิจกรรมที่ 1.2 เป็นเกล็ดน้าแข็งได้อย่างไร


ระดับคะแนน
3 คะแนน หมายถึง ดี 2 คะแนน หมายถึง พอใช้ 1 คะแนน หมายถึง ควรปรับปรุง

รหัส สิ่งที่ประเมิน ระดับคะแนน


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
S1 การสังเกต
S5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับ
เวลา
S8 การลงความเห็นจากข้อมูล
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
C4 การสื่อสาร
C5 ความร่วมมือ
C6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการ
สื่อสาร

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 226

ตาราง แสดงการวิเคราะห์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามระดับความสามารถของนักเรียน
โดยอาจใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี
ทักษะ ระดับความสามารถ
กระบวนการทาง รายการประเมิน
วิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
S1 การสังเกต การบรรยาย สามารถใช้ประสาทสัมผัส สามารถใช้ประสาทสัมผัส สามารถใช้ประสาท
รายละเอียดเกี่ยว เก็บรายละเอียดเกี่ยวกับ เก็บรายละเอียดเกี่ยวกับ สัมผัสเก็บ
การเปลี่ยนแปลงที่ การเปลี่ยนแปลงของนา การเปลี่ยนแปลงของนา รายละเอียด
เกิดขึนกับนาผลไม้ ผลไม้ เช่น เป็นของเหลว ผลไม้ เช่น เป็นของเหลว เกี่ยวกับ
เช่น เป็นของเหลว สีส้ม เริ่มมีเกล็ดนาแข็งสี สีส้ม เริ่มมีเกล็ดนาแข็งสี การเปลี่ยนแปลง
สีส้ม เริ่มมีเกล็ด ส้มเกิดขึนที่ขอบแก้ว ส้มเกิดขึนที่ขอบแก้ว ของนาผลไม้เช่น
นาแข็งสีส้มเกิดขึน พลาสติกเมื่อเวลาผ่านไป พลาสติกเมื่อเวลาผ่านไป เป็นของเหลว สีส้ม
ที่ขอบแก้ว 6 นาทีได้ด้วยตนเอง โดย 6 นาทีได้ จากการชีแนะ เริ่มมีเกล็ดนาแข็ง
พลาสติกเมื่อเวลา ไม่เพิ่มความคิดเห็น ของครูหรือผู้อื่น หรือมี สีส้มเกิดขึนที่
ผ่านไป 6 นาที การเพิ่มเติมความคิดเห็น ขอบแก้วพลาสติก
เมื่อเวลาผ่านไป 6
นาทีได้ถูกต้องเป็น
บางส่วนหรือ
เพิ่มเติมความ
คิดเห็น แม้ว่าจะได้
รับคาชีแนะจากครู
หรือผู้อื่น
S4 การหา การบรรยาย สามารถระบุการ สามารถระบุการ สามารถระบุการ
ความสัมพันธ์ ลักษณะการ ครอบครองพืนที่ของ ครอบครองพืนที่ของ ครอบครองพืนที่ของ
ระหว่างสเปซกับ ครอบครองพืนที่ นาผลไม้และนาผลไม้ที่ นาผลไม้และนาผลไม้ที่ นาผลไม้และ นา
เวลา ของนาผลไม้และ แข็งตัวที่เวลาต่าง ๆ เช่น แข็งตัวที่เวลาต่าง ๆ เช่น ผลไม้ที่แข็งตัวที่เวลา
นาผลไม้ที่แข็งตัวที่ นาผลไม้ในช่วงนาทีที่ 0-4 นาผลไม้ในช่วงนาทีที่ 0-4 ต่าง ๆ เช่น นา
เวลาต่าง ๆ สิ่งที่ เป็นของเหลวอยู่ใน เป็นของเหลวอยู่ในแก้ว ผลไม้ในช่วงนาทีที่
ควรบรรยายได้ แก้วพลาสติก ผิวหน้าเรียบ พลาสติก ผิวหน้าเรียบ 0-4 เป็นของเหลว
เช่น นาผลไม้ เสมอกัน และนาทีที่ 6 เสมอกัน และนาทีที่ 6 อยู่ในแก้วพลาสติก
ในช่วงนาทีที่ 0-4 นาผลไม้เริ่มเปลี่ยนเป็น นาผลไม้เริ่มเปลี่ยนเป็น ผิวหน้าเรียบเสมอ
เป็นของเหลวอยู่ เกล็ดนาแข็ง นาผลไม้อยู่ เกล็ดนาแข็งนาผลไม้อยู่ใน กัน และนาทีที่ 6
ในแก้วพลาสติก ในแก้วที่ก้นภาชนะส่วน แก้วที่ก้นภาชนะส่วน นาผลไม้เริ่ม
ผิวหน้าเรียบเสมอ เกล็ดนาแข็งเกาะอยู่ที่ผิว เกล็ดนาแข็งเกาะอยู่ที่ผิว เปลี่ยนเป็นเกล็ด
กัน และนาทีที่ 6 แก้วเหนือผิวหน้าของนา แก้วเหนือผิวหน้าของ นาแข็ง นาผลไม้อยู่
นาผลไม้เริ่ม ผลไม้ นาทีที่ 8 เป็นเกล็ด นาผลไม้ นาทีที่ 8 เป็น ในแก้วที่ก้นภาชนะ
เปลี่ยนเป็นเกล็ด นาแข็งทังหมดอยู่ที่ก้น เกล็ดนาแข็งทังหมดอยู่ที่ ส่วนเกล็ดนาแข็ง
นาแข็ง นาผลไม้ ภาชนะแต่ผิวหน้าไม่เรียบ ก้นภาชนะแต่ผิวหน้าไม่ เกาะอยู่ที่ผิวแก้ว

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


227 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

ทักษะ ระดับความสามารถ
กระบวนการทาง รายการประเมิน
วิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
อยู่ในแก้วที่ก้น เสมอกัน ได้อย่างถูกต้อง เรียบเสมอกัน ได้จากครู เหนือผิวหน้าของนา
ภาชนะส่วนเกล็ด ได้ด้วยตัวเอง หรือผู้อื่นช่วยแนะนาหรือ ผลไม้ นาทีที่ 8 เป็น
นาแข็งเกาะอยู่ที่ ชีแนะ เกล็ดนาแข็งทังหมด
ผิวแก้วเหนือ อยู่ที่ก้นภาชนะแต่
ผิวหน้าของนา ผิวหน้าไม่เรียบเสมอ
ผลไม้ นาทีที่ 8 กันได้ถูกต้องแต่ไม่
เป็นเกล็ดนาแข็ง ครบถ้วน แม้ว่าครู
ทังหมดอยู่ที่ก้น หรือผู้อื่นช่วยแนะนา
ภาชนะแต่ผิวหน้า หรือชีแนะ
ไม่เรียบเสมอกัน
S8 การลง การลงความเห็น สามารถลงความเห็นจาก สามารถลงความเห็นจาก สามารถลง
ความเห็นจาก จากข้อมูลว่า ข้อมูลการเปลี่ยนสถานะ ข้อมูลการเปลี่ยนสถานะ ความเห็นจากข้อมูล
ข้อมูล นาผลไม้เปลี่ยนเป็น ของนาผลไม้ว่านาผลไม้ ของนาผลไม้ว่านาผลไม้ การเปลี่ยนสถานะ
เกล็ดนาแข็งเกิด เปลี่ยนเป็นเกล็ดนาแข็ง เปลี่ยนเป็นเกล็ดนาแข็ง ของนาผลไม้ว่า
จากนาผลไม้สูญเสีย เกิดจากนาผลไม้สูญเสีย เกิดจากนาผลไม้สูญเสีย นาผลไม้เปลี่ยนเป็น
ความร้อนและเกล็ด ความร้อนและเกล็ด ความร้อนและ เกล็ดนาแข็งเกิด
นาแข็งเปลี่ยนเป็น นาแข็งเปลี่ยนเป็น เกล็ดนาแข็งเปลี่ยนเป็น จากนาผลไม้สูญเสีย
นาผลไม้เกิดจาก นาผลไม้เกิดจาก นาผลไม้เกิดจาก ความร้อนและ
เกล็ดนาแข็งได้รับ เกล็ดนาแข็งได้รับ เกล็ดนาแข็งได้รับ เกล็ดนาแข็ง
ความร้อน ความร้อนได้ด้วยตนเอง ความร้อนได้จากการ เปลี่ยนเป็นนาผลไม้
ชีแนะของครูหรือผู้อื่น เกิดจากเกล็ด
นาแข็งได้รับ
ความร้อนได้ถูกต้อง
เป็นบางส่วน แม้ว่า
จะได้รับคาชีแนะ
จากครูหรือผู้อื่น

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 228

ทักษะ ระดับความสามารถ
กระบวนการทาง รายการประเมิน
วิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
S13 การตีความหมาย ตีความหมาย สามารถตีความหมาย สามารถตีความหมาย สามารถ
ข้ อ มู ล แ ล ะ ล ง ข้อมูลจาก ข้อมูลจากการสังเกต ข้อมูลจากการสังเกต ตีความหมายข้อมูล
ข้อสรุป การสังเกต การเปลี่ยนแปลงของ การเปลี่ยนแปลงของนา จากการสังเกต
การเปลี่ยนแปลง นาผลไม้และลงข้อสรุปว่า ผลไม้และลงข้อสรุปว่า การเปลี่ยนแปลง
ของนาผลไม้ไป สสารสามารถเปลี่ยน สสารสามารถเปลี่ยน ของนาผลไม้ และ
เป็นเกล็ดนาแข็ง สถานะจากของเหลวเป็น สถานะจากของเหลวเป็น ลงข้อสรุปว่าสสาร
และเกล็ดนาแข็ง ของแข็งได้เมื่อสูญเสีย ของแข็งได้เมื่อสูญเสีย สามารถเปลี่ยน
เปลี่ยนเป็น ความร้อนเรียก ความร้อนเรียก สถานะจาก
นาผลไม้ลงข้อสรุป การเปลี่ยนสถานะนีว่า การเปลี่ยนสถานะนีว่า ของเหลวเป็น
เกี่ยวกับ การแข็งตัว ส่วนสสาร การแข็งตัว ส่วนสสาร ของแข็งได้เมื่อ
การเปลี่ยนสถานะ ได้รับความร้อนเปลี่ยน ได้รับความร้อนเปลี่ยน สูญเสียความร้อน
ได้ว่าสสารสามารถ สถานะจากของแข็งเป็น สถานะจากของแข็งเป็น เรียกการเปลี่ยน
เปลี่ยนสถานะจาก ของเหลวเรียกว่า ของเหลวเรียกว่า สถานะนีว่า
ของเหลวเป็น การหลอมเหลวได้ด้วย การหลอมเหลวได้จาก การแข็งตัว ส่วน
ของแข็งได้เมื่อ ตนเอง การชีแนะของครูหรือ สสารได้รับความ
สูญเสียหรือได้รับ ผู้อื่น ร้อนเปลี่ยนสถานะ
ความร้อน จากของแข็งเป็น
ของเหลวเรียกว่า
การหลอมเหลวได้
ถูกต้องเพียง
บางส่วน แม้ว่าจะ
ได้รับคาชีแนะจาก
ครูหรือผู้อื่น

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


229 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

ตาราง แสดงการวิเคราะห์ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ตามระดับความสามารถของนักเรียน


โดยอาจใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี
ทักษะแห่ง รายการประเมิน ระดับความสามารถ
ศตวรรษที่ 21 ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
C4 การสื่อสาร การบรรยายการ สามารถบรรยายการ สามารถบรรยายการ สามารถบรรยายการ
เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลงของนา เปลี่ยนแปลงของนาผลไม้ที่ เปลี่ยนแปลงของนา
ลักษณะและ ผลไม้ที่เวลาต่าง ๆ ให้ เวลาต่าง ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ผลไม้ที่เวลาต่าง ๆ ให้
สถานะของนา ผู้อื่นเข้าใจได้อย่าง อย่างถูกต้องจากการชีแนะ ผู้อื่นเข้าใจได้อย่าง
ผลไม้ที่เวลาต่าง ๆ ถูกต้องได้ด้วยตนเอง ของครูหรือผู้อื่น ถูกต้องเป็นบางครัง
แม้ว่าจะได้รับคาชีแนะ
จากครูหรือผู้อื่น
C5 ความ การทางานร่วมกับ สามารถทางานร่วมกับ สามารถทางานร่วมกับผู้อื่น สามารถทางานร่วมกับ
ร่วมมือ ผู้อื่นในการสังเกต ผู้อื่นเกี่ยวกับการทา เกี่ยวกับการทากิจกรรม ผู้อื่นเกี่ยวกับการทา
การนาเสนอ และ กิจกรรมการเปลี่ยน การเปลี่ยนสถานะของ กิจกรรมเปลี่ยนสถานะ
การแสดงความ สถานะของนาผลไม้ นาผลไม้รวมทังยอมรับ ของนาผลไม้รวมทัง
คิดเห็นเกี่ยวกับ รวมทังยอมรับ ความคิดเห็นของผู้อื่นเกือบ ยอมรับความคิดเห็น
การเปลี่ยนสถานะ ความคิดเห็นของผู้อื่น ทุกกิจกรรม ของผู้อื่น ได้บ้าง
ของนาผลไม้ ตังแต่เริ่มต้นจนสาเร็จ
รวมทังยอมรับ
ความคิดเห็นของ
ผู้อื่น
C6 การใช้ การใช้อินเทอร์เนต ใช้อินเทอร์เนตเพื่อ ใช้อินเทอร์เนตเพื่อสืบค้น ใช้อินเทอร์เนตเพื่อ
เทคโนโลยี เพื่อสืบค้นชื่อ สืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง ข้อมูลด้วยตนเองจาก สืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง
สารสนเทศ การเปลี่ยนสถานะ จากแหล่งข้อมูลที่ แหล่งข้อมูลที่หลากหลาย จากแหล่งข้อมูลที่
ของสสาร หลากหลายโดยเลือก โดยเลือกแหล่งข้อมูลที่ หลากหลายแต่ไม่
จากของเหลวเป็น แหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง ถูกต้องและน่าเชื่อถือจาก สามารถเลือกใช้
ของแข็ง จาก และน่าเชื่อถือ การชีแนะของครูหรือผู้อื่น แหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง
แหล่งข้อมูลที่ และน่าเชื่อถือแม้ว่าจะ
ถูกต้องและ ได้รับคาชีแนะจากครู
น่าเชื่อถือ หรือผู้อื่น

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 230

กิจกรรมที่ 1.3 พิมเสนมีการเปลี่ยน


สถานะอย่างไร
กิจกรรมนีนักเรียนจะได้สังเกตและอธิบายการเปลี่ยนสถานะ
ของพิมเสน
เวลา 1 ชั่วโมง
จุดประสงค์การเรียนรู้
ทากิจกรรมนีเพื่อสังเกตและอธิบายการเปลี่ยนสถานะของพิมเสน
วัสดุ อุปกรณ์สาหรับทากิจกรรม
สิ่งที่ต้องเตรียม/กลุ่ม
สิ่งที่ครูต้องเตรียม/ห้อง
1. พิมเสน 5 กรัม
สิ่งที่ครูต้องเตรียม/กลุ่ม
1. บีกเกอร์ ขนาด 250 cm3 1 ใบ
2. แก้วพลาสติกใส 1 ใบ
3. ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์ 1 ชุด
4. ไม้ขีดไฟ 1 กลัก
5. กระป๋องทรายสาหรับดับไฟ 1 กระป๋อง
6. แผ่นกระดาษแข็งเจาะรู ที่มขี นาดใหญ่กว่าปากบีกเกอร์เล็กน้อย
1 แผ่น
7. พิมเสน 4-5 ช้อนเบอร์ 2
8. ช้อนตักสารเบอร์ 2 1 อัน ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
สิ่งที่ครูต้องเตรียม/คน C4 การสื่อสาร
- C5 ความร่วมมือ
สิ่งที่นักเรียนต้องเตรียม/กลุม่ C6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 1. หนังสือเรียน ป.5 เล่ม 1 หน้า 87-94
2. แบบบันทึกกิจกรรม ป.5 เล่ม 1 หน้า 95-99
S1 การสังเกต 3. ตัวอย่างวีดิทัศน์ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สาหรับครูเรื่อง
S5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเปซ การระเหิดและการระเหิดกลับเป็นอย่างไร
S8 การลงความเห็นจากข้อมูล
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

http://ipst.me/8927
ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
231 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

แนวการจัดการเรียนรู้
1. นาเข้าสู่ บ ทเรียนโดยทบทวนความรู้เ กี่ยวกับ การหลอมเหลวของ
นาแข็งและนาพิมเสนของจริงมาให้นักเรียนสังเกตแล้ว ถามนักเรียน
ว่า
1.1 เมื่อวางนาแข็งไว้ นาแข็งเกิดการเปลี่ ยนสถานะอย่างไร
(นาแข็งเปลี่ยนจากของแข็งเป็นของเหลว)
1.2 การหลอมเหลวของนาแข็งเกิดจากสาเหตุใด (นาแข็งได้รับ
ความร้อน)
1.3 เมื่อวางพิมเสนไว้ พิมเสนจะเปลี่ยนสถานะเหมือนนาแข็ง
หรือไม่ อย่างไร (นักเรียนตอบตามความเข้าใจ)
ครูชักชวนนักเรียนหาคาตอบเกี่ยวกับการเปลี่ยนสถานะ
ของพิมเสนจากการทากิจกรรม
2. นักเรียนอ่านชื่อกิจกรรม และ ทาเป็นคิดเป็น ในหนังสือเรียน
หน้า 87 จากนันร่ว มกัน อภิป รายเพื่ อ ตรวจสอบความเข้ า ใจ
เกี่ ย วกั บ จุ ด ประสงค์ ใ นการท ากิ จ กรรม โดยครู ใ ช้ ค าถาม
ดังต่อไปนี
2.1 กิ จ กรรมนี นั ก เรี ย นจะได้ เ รี ย นเกี่ ย วกั บ เรื่ อ งอะไร (การ
เปลี่ยนสถานะของพิมเสน)
2.2 นักเรียนจะได้เรียนเรื่องนีด้วยวิธีใด (การสังเกต) ในการตรวจสอบความรู้ ครู
2.3 เมื่อเรียนแล้ ว นั กเรียนจะทาอะไรได้ (อธิบายการเปลี่ ยน เพียงรับฟังเหตุผลของนักเรียน
สถานะของพิมเสน) เป็ น ส าคั ญ และยั ง ไม่ เ ฉลย
3. นักเรียนบันทึกจุดประสงค์ของกิจกรรมในแบบบันทึกกิจกรรม คาตอบใด ๆ ให้กับนักเรียน แต่
หน้า 95 และอ่านสิ่งที่ต้องใช้ในกิจกรรม ถ้านักเรียนไม่รู้จัก ชักชวนนักเรียน ไปหาคาตอบที่
วัส ดุอุป กรณ์บ างอย่าง เช่น แผ่ นกระดาษแข็งเจาะรู ครู ควร ถูกต้องจากกิจ กรรมต่า ง ๆ ใน
นามาแสดงให้นักเรียนดู บทเรียนนี
4. นักเรียนอ่านทาอย่างไร โดยครูให้นักเรียนฝึกอ่านตามความ
เหมาะสมกั บ ความสามารถของนั ก เรี ย น จากนั นร่ ว มกั น
อภิปรายเพื่อสรุปขันตอนการทากิจกรรม โดยครูใช้คาถามดังนี
4.1 นักเรียนเริ่มต้นทากิจกรรมอย่างไร (ตักพิมเสนบรรจุลงใน
บีกเกอร์ สังเกตสี กลิ่น สถานะของพิมเสน บันทึกผล)
นักเรียนดูวิธีการบันทึกผลในแบบบันทึกกิจกรรมหน้า 95
และตรวจสอบความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีบันทึกผล
4.2 นักเรียนต้องจัดอุป กรณ์ อย่างไรก่อนจะนาบีกเกอร์ไปให้
ความร้ อ น (วางกระดาษแข็ ง เจาะรู บ นปากบี ก เกอร์ ที่ มี
พิมเสนบรรจุอยู่แล้วคว่าแก้วลงบนกระดาษแข็ง)
ครูอาจสุ่ มนักเรียน 1 คนออกมาสาธิตวิธีการจัดอุป กรณ์
และตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 232

4.3 นักเรียนต้องทาอย่างไรต่อไป (คาดคะเนว่าจะเกิด อะไร


ขึนกับพิมเสนเมื่อนาพิมเสนในบีกเกอร์ไปให้ความร้อน และ
บันทึกผล)
4.4 นักเรียนคิดว่าจะเกิดอะไรขึนกับพิมเสน เมื่อนาพิมเสนใน
บีกเกอร์ไปให้ความร้อน (นักเรียนตอบตามความเข้าใจ)
นักเรียนบันทึกการคาดคะเนในแบบบันทึกหน้า 95
4.5 นักเรียนจะทาอย่ างไรเพื่อ ตรวจสอบการคาดคะเน (นา
พิมเสนที่บรรจุในบีกเกอร์ไปให้ความร้อนโดยใช้ไฟอ่อน ๆ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะ
สังเกตการเปลี่ยนแปลง บันทึกผล ดับไฟแล้วสังเกตการ แห่งศตวรรษที่ 21 ที่นักเรียนจะได้ฝึกจากการ
เปลี่ยนแปลงในบีกเกอร์ ในแก้วและบนกระดาษ) ทากิจกรรม
ครูให้นักเรียนดูวิธีการบันทึกผลในแบบบันทึกกิจกรรมหน้า S1 การสังเกตลักษณะของพิมเสนและการ
96 และตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน เปลี่ยนแปลงของพิมเสนเมื่อได้รับความร้อน
4.6 นั ก เรี ย นต้ อ งท าอย่ า งไรต่ อ ไปเมื่ อ ดั บ ไฟและสั ง เกตการ S5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซ
เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึน (อภิปรายสารที่พบบนกระดาษแข็ง กับสเปซจากลักษณะการครอบครองพืนที่
ในแก้วพลาสติกมีส มบัติเหมือนหรือแตกต่างจากพิ มเสน ของพิมเสนในภาชนะเมื่อได้รับความร้อน
หรือไม่ อย่างไร และสืบค้นข้อมูลการเปลี่ยนสถานะแต่ละ และสูญเสียความร้อน
ช่วงเรียกว่าอะไร บันทึกผล) S8 การลงความเห็นจากข้อมูลจากการ
นักเรียนดูวิธีการบันทึกผลในแบบบันทึก กิจกรรมหน้า 96 สังเกตลักษณะของพิมเสนขณะเกิดการ
และตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน ครูยาแนวทางใน เปลี่ยนแปลงและนาข้อมูลมาระบุสถานะ
การสังเกตสิ่งต่าง ๆ ควรสังเกตให้ละเอียดมากที่สุดตัวอย่าง ของพิมเสนที่เปลี่ยนแปลง
เช่น การสังเกตพิมเสน ควรสังเกตให้ได้ข้อมูลต่าง ๆ ให้ได้ C4 การสื่อสารจากการเขียนและบรรยาย
มากที่สุด การเปลี่ยนแปลงของพิมเสน
5. เมื่อตรวจสอบจนแน่ใจว่านักเรียนเข้าใจวิธีทากิจกรรม ครูเตือน C5 ความร่วมมือจากการทางานร่วมกันใน
เรื่อง ความปลอดภัยในการใช้ตะเกียงแอลกอฮอล์ โดยระวังไม่ กลุ่ม
เอียงตะเกียงซึ่งจะทาให้แอลกอฮอล์หกและต้องวางตะเกียงบน C6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการ
โต๊ะที่มั่นคง ไม่ถือตะเกียงแอลกอฮอล์ไปมาขณะจุดไฟ ไม่สัมผัส สื่อสารจากการใช้อินเทอร์เนตสืบค้นข้อมูล
บีกเกอร์ขณะร้อน จากนันครูให้นักเรียนรับอุปกรณ์แล้วเริ่มทา เกี่ยวกับการเปลี่ยนสถานะของพิมเสน
กิจกรรมตามขันตอน ครูควรยาให้นักเรียนระบุชื่อแหล่งข้อมูลที่
สืบค้นด้วย
6. หลังจากทากิจกรรมแล้ว ให้นักเรียนเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
ครูสุ่มนักเรียนนาเสนอผลการทากิจกรรมโดยครู บันทึกผลบน
กระดานจากนันตรวจสอบผลการทากิจกรรมของนักเรียนคน
อื่น ๆ ครูเพิ่มเติมประเด็นที่ยังไม่สมบูรณ์ ให้ครบถ้วน ถูกต้อง
จากนันนาอภิปรายผลการทากิจกรรม โดยครูใช้คาถามดังนี
6.1 พิมเสนมี สี มี กลิ่ นและสถานะอย่างไร (พิมเสนมีสี ขาว มี
กลิ่นเฉพาะตัวและมีสถานะเป็นของแข็ง)
6.2 นักเรียนสังเกตพบอะไรบ้าง เมื่อให้ความร้อนแก่พิม เสน
(เมื่ อ ให้ ค วามร้ อ นแก่ พิ ม เสน เกล็ ด พิ ม เสนบางส่ ว นใน

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


233 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

บีกเกอร์จะค่อยๆ หายไป และเมื่อเวลาผ่านไปมีเกล็ดสีขาว


เกาะที่แผ่นกระดาษและข้างๆ บีกเกอร์มีฝ้าสีขาวเกิดขึน
และมีกลิ่นของพิมเสน)
6.3 นั ก เรี ย นคิ ด ว่ า กลิ่ น ของพิ ม เสนที่ เ กิ ด ขึ นเป็ น พิ ม เสนใน
สถานะใด (กลิ่นของพิมเสนที่เกิดขึนคือพิมเสนในสถานะ
แก๊ส)
ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่าพิมเสนในสถานะแก๊สเรียกว่า
ไอของพิมเสน หากนั ก เรี ย นไม่ ส ามารถ
6.4 เมื่อให้ความร้อน พิมเสนมีการเปลี่ยนสถานะหรือไม่ และ ตอบคาถามหรืออภิปรายได้ตาม
เปลี่ยนจากสถานะใดเป็นสถานะใด รู้ได้อย่างไร (เมื่อให้ แนวค าตอบ ครู ค วรให้ เ วลา
ความร้อนพิมเสนมีการเปลี่ยนสถานะ จาก ของแข็ง เป็น นั ก เรี ย นคิ ด อย่ า งเหมาะสม
แก๊ส รู้ได้จากพิมเสนในบีกเกอร์มีป ริ มาณน้อยลงและได้ รอคอยอย่างอดทน และรับ ฟัง
กลิ่นไอพิมเสน) แนวความคิดของนักเรียน
6.5 เมื่อพิมเสน เย็นลง พิมเสนมีการเปลี่ยนสถานะหรือไม่ และ
เปลี่ยนจากสถานะใดเป็นสถานะใด (เมื่อทาให้ พิมเสนเย็น
ลงพิมเสนมีการเปลี่ยนสถานะ จากแก๊สเป็นของแข็ง สังเกต
จากมีเกล็ดพิมเสนที่ขอบรูของกระดาษแข็งและมีฝ้า ขาว
เกาะที่ข้างๆ บีกเกอร์และแก้วพลาสติก) ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
6.6 การเปลี่ยนสถานะของพิมเสนแต่ละช่วงเรียกว่าอะไรและ
เกี่ยวข้องกับ ความร้ อนอย่า งไร (การเปลี่ ยนสถานะของ ครู ค วรสื บ ค้ น ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ การ
พิ ม เสนจากของแข็ ง เป็ น แก๊ ส เรี ยกว่า การระเหิ ด ช่ ว งนี เปลี่ ย นสถานะของสสารจากเว็ บ ไซต์ ที่
พิมเสนในสถานะของแข็งได้รับ ความร้อน และการเปลี่ยน น่าเชื่อถือไว้ล่วงหน้าประมาณ 3-4 เว็บไซต์
สถานะของพิมเสนจากแก๊สเป็นของแข็งเรียกว่า การระเหิด และแนะน านั ก เรี ย นให้ สื บ ค้ น ข้ อ มู ล จาก
กลับ ช่วงนีพิมเสนในสถานะแก๊สสูญเสียความร้อน) เว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ
ถ้านักเรียนตอบไม่ได้ครูให้ ความรู้เพิ่มเติมว่าการเปลี่ยน
สถานะของพิมเสนจากของแข็งเป็นแก๊สเรียกว่า การระเหิด
และการเปลี่ ยนสถานะของพิมเสนจากแก๊ส เป็นของแข็ง
เรียกว่า การระเหิดกลับ
6.7 การเปลี่ ย นแปลงของพิ ม เสนเป็ น การเปลี่ ย นแปลงทาง
กายภาพหรือไม่ รู้ได้อย่างไร (การเปลี่ยนแปลงของพิมเสน
เป็ น การเปลี่ ย นแปลงทางกายภาพ เนื่ อ งจาก พิ ม เสนที่
ระเหิดเป็นไอยังคงเป็นสารเดิม เพียงแต่มีสถานะเปลี่ยนไป
เท่ า นั นและเมื่ อ ไอของพิ ม เสนระเหิ ด กลั บ มาเป็ น เกล็ ด
พิมเสนซึง่ ยังคงเป็นสารเดิม การเปลี่ยนแปลงของพิมเสนจึง
เป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ)
6.8 จากกิจกรรมนี ค้นพบอะไรบ้างเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง
ของพิมเสน (เมื่อเกล็ดพิมเสนได้รับความร้อน เกล็ดพิมเสน
เปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็น ไอของพิมเสนซึ่งมีส ถานะ

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 234

แก๊ส และเมื่อไอของพิมเสนสูญเสียความร้อนหรือเย็นลงจะ
เปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง)
7. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและลงข้อสรุปว่า เมื่อของแข็ง
ได้รับความร้อน ของแข็งบางชนิดเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส โดย
ไม่เปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวก่อน เรียกการเปลี่ยนสถานะนี
ว่า การระเหิด และแก๊สบางชนิดสามารถเปลี่ยนสถานะกลับมา
เป็ น ของแข็ ง โดยไม่ เ ปลี่ ย นสถานะเป็ น ของเหลวก่ อ นเรี ย ก
การเปลี่ ย นสถานะนี ว่ า การระเหิ ด กลั บ การะเหิ ด และ
การระเหิดกลับเป็นการเปลี่ยนสถานะซึ่งสารยังคงเป็นสารเดิม
จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ (S13)
8. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่า นอกจากพิมเสนแล้ว ยังมีสารอื่นอีกที่
สามารถเกิดการระเหิดได้เช่นกัน เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
เมื่อทาให้เย็นลงถึงระดับหนึ่งสามารถเปลี่ ยนเป็นของแข็ ง ได้
เรียกว่า นาแข็งแห้ง
9. นักเรียนร่วมกันอภิปรายคาตอบใน ฉันรู้อะไร โดยครูอาจใช้
คาถามเพิ่มเติมในการอภิปรายเพื่อให้ได้แนวคาตอบที่ถูกต้อง
10. นั ก เรี ย นร่ ว มกั น สรุ ป สิ่ ง ที่ ไ ด้ เ รี ย นรู้ ใ นกิ จ กรรมนี จากนั น
นักเรียนอ่าน สิ่งที่ได้เรียนรู้ และเปรียบเทียบกับข้อสรุปของ การเตรียมตัวล่วงหน้าสาหรับครู
ตนเอง เพื่อจัดการเรียนรู้ในครั้งถัดไป
11. ครูกระตุ้นให้นักเรียนฝึกตังคาถามเกี่ยวกับเรื่องที่สงสัยหรือ
อยากรู้เพิ่มเติมใน อยากรู้อีกว่า จากนันครูอาจสุ่มนักเรียน ในครั งถั ด ไป นั ก เรี ย นจะได้ อ่ า น
2 -3 คน นาเสนอคาถามของตนเองหน้าชันเรียน และให้ เรื่องที่ 2 การละลาย ครูอาจเตรียมคลิป
นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับคาถามที่นาเสนอ น าแข็ ง บริ เ วณขั วโลกก าลั ง หลอมเหลว
12. ครู น าอภิ ป รายเพื่ อ ให้ นั ก เรี ย นทบทวนว่ า ได้ ฝึ ก ทั ก ษะ และเตรียมสารละลายเกลือแกง โดยผสม
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เกลือแกงกับนาแล้วใส่ในภาชนะใสเพื่อใช้
อะไรบ้ า งและในขั นตอนใด แล้ ว บั น ทึ ก ลงในแบบบั น ทึ ก ในกิจกรรม
กิจกรรมหน้า 99
13. ครูชักชวนนักเรียนอ่าน เกร็ดน่ารู้ แล้วร่วมกันอภิปรายสรุป
แนวคิดว่าควันสีขาวที่ลอยอยู่เหนือก้อนนาแข็งเกิดจากไอนา
ในบริเวณนันควบแน่นกลายเป็นละอองนาจึงทาให้มองเห็น
เป็นสีขาว
14. นักเรียนร่วมกันอ่าน รู้อะไรในเรื่องนี้ ในหนังสือเรียนหน้า
92-94 ครู น าอภิ ป รายเพื่ อ น าไปสู่ ข้ อ สรุ ป เกี่ ย วกั บ สิ่ ง ที่ ไ ด้
เรียนรู้ในเรื่องนี จากนันครูกระตุ้นให้นักเรียนตอบค าถาม
ในช่วงท้ายของเนือเรื่อง ซึ่งเป็นคาถามเพื่อเชื่อมโยงไปสู่การ
เรียนเนือหาในเรื่องต่อไป ดังนี สสารนอกจากมีการเปลี่ยน
สถานะแล้ ว ยั ง มี ก ารเปลี่ ย นแปลงอะไรอี ก บ้ า ง นั ก เรี ย น

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


235 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

สามารถตอบตามความเข้าใจของตนเอง ซึ่งจะหาคาตอบที่
ถูกต้องจากการเรียนในเรื่องต่อไป

ความรู้เพิ่มเติมสาหรับครู
พิมเสนและการบูร
พิมเสนเป็นชื่อของสารชนิดหนึ่ง เป็นสารที่พบในพืช เช่น ต้นพิมเสน ต้นหนาดหลวง พิมเสนเป็นเกล็ดเล็กๆ สีขาวขุ่น
เนือแน่นกว่าการบูร ระเหิดได้ช้ากว่าการบูร ติดไฟให้แสงจ้าและมีควันมาก ไม่มีขีเถ้า พิมเสนบริสุทธิ์จะเป็นผลึกรูปแผ่นหก
เหลี่ยม มีจุดหลอมเหลว 208 องศาเซลเซียส ละลายได้ยากในนา ละลายได้ดีในตัวทาละลายชนิดขัวต่า พิมเสนมีกลิ่นหอมเย็น
ฉุน รสหอม เย็นปากคอ ปัจจุบันพิมเสนในธรรมชาติหายากและมีราคาแพง จึงมีการสังเคราะห์พิมเสนเพื่อนามาใช้ประโยชน์
เช่น เป็นส่วนผสมของยาหอมเพื่อบรรเทาอาการวิงเวียนศรีษะ
การบูรเป็นชื่อสารชนิดหนึ่ง เป็นสารที่พบทั่วทุกส่วนของต้นการบูร มีมากที่สุดในแก่นของราก เมื่อนาเนือไม้สดมาทาให้
เป็นชินเล็กๆ ทาให้เป็นชินเล็ก นาไปกลั่นโดยใช้ไอนา จะได้นามันระเหยง่าย การบูรจะตกผลึกแยกออกมา กรองแยกเอาผลึก
การบูรออก อาจทาให้ผลึกบริสุทธิ์มากขึนโดยนาผลึกมาระเหิดให้เป็นไอและไอของการบูรจะระเหิดกลับเป็นผลึกการบูร การบูร
นามาใช้เป็นส่วนผสมในยาหอมต่าง ๆ
ที่มา : http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=93

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 236

แนวคาตอบในแบบบันทึกกิจกรรม

อธิบายการเปลี่ยนสถานะของพิมเสน

พิมเสนเป็นของแข็ง สีขาว มีกลิ่นเฉพาะตัว

ขึ้นอยู่กับการคาดคะเนของนักเรียน เช่น เกล็ดพิมเสนบางส่วนในบีกเกอร์


หายไป

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


237 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

คาตอบขึ้นอยู่กับนักเรียน
ครูควรกาชับให้นักเรียนวาดรูปให้ใกล้เคียงกับสิ่งที่สังเกตได้จริงมากที่สุด เช่น วาด
ให้เห็นว่า เมื่อพิมเสนได้รับความร้อน เกล็ดพิมเสนบางส่วนในบีกเกอร์หายไป มี
ของแข็งสีขาวเกาะข้างบีกเกอร์เหนือขึ้นมาจากบริเวณก้นภาชนะ มีของแข็งสีขาว
เกาะตามขอบรูของกระดาษแข็ง
บรรยายลักษณะสี กลิ่นและ ตาแหน่งที่พบสารที่เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น พบ
ของแข็งสีขาวที่ข้างบีกเกอร์และ ของแข็งสีขาวตามขอบรูของกระดาษแข็ง มีกลิ่น
เหมือนพิมเสน

พบของแข็งสีขาวที่ข้างบีกเกอร์และ ของแข็งสีขาวตามขอบรูของกระดาษแข็ง และ


มีกลิ่นพิมเสนออกมาจากบีกเกอร์

สมบัติของสารที่อยู่บนกระดาษและในแก้วพลาสติกเหมือนกับสมบัติของพิมเสน
ก่อนให้ความร้อน คือ เป็นของแข็ง สีขาว มีกลิ่นเหมือนกัน

ของแข็ง แก๊ส
การระเหิด

แก๊ส ของแข็ง
การระเหิดกลับ

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 238

คาตอบขึ้นอยู่กับการคาดคะเนของนักเรียน ตัวอย่างเช่น เหมือนกับที่คาดคะเน คือ


เกล็ดพิมเสนบางส่วนในบีกเกอร์หายไป

พิมเสนเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นแก๊ส เรียกว่า การระเหิด และเปลี่ยน


สถานะจากแก๊สเป็นของแข็ง เรียกว่า การระเหิดกลับ

การเปลี่ยนสถานะของพิมเสนจากของแข็งเป็นแก๊สเกิดจากพิมเสนได้รับความร้อน
การเปลี่ยนสถานะของพิมเสนจากแก๊สเป็นของแข็งเกิดจากพิมเสนสูญเสียความร้อน

การเปลี่ยนสถานะของพิมเสนเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพเนื่องจากสารที่
ได้จากเกิดการเปลี่ยนสถานะยังเป็นพิมเสนเหมือนเดิมแต่สถานะเปลี่ยนไป

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


239 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

เมื่อพิมเสนได้รับความร้อน พิมเสนจะเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นแก๊สโดยไม่เป็น
ของเหลวก่อน และเมื่อดับไฟและวางไว้ 5 นาที พิมเสนสูญเสียความร้อนและเปลี่ยน
สถานะจากแก๊สเป็นของแข็งโดยไม่เป็นของเหลวก่อน

สสารบางชนิดสามารถเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นแก๊สได้โดยไม่เปลี่ยนสถานะเป็น
ของเหลวก่อน เรียกการเปลี่ยนสถานะนี้ว่า การระเหิด และเปลี่ยนสถานะจากแก๊สเป็น
ของแข็งโดยไม่เปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวก่อนเรียกการเปลี่ยนสถานะนี้ว่า การระเหิด
กลับ

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 240

คาถามของนักเรียนที่ตั้งตามความอยากรู้ของตนเอง







 



ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


241 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

แนวการประเมินการเรียนรู้
การประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนทาได้ ดังนี
1. ประเมินความรู้เดิมจากการสารวจความรู้ก่อนเรียนและการอภิปรายในชันเรียน
2. ประเมินการเรียนรู้จากคาตอบของนักเรียนระหว่างการจัดการเรียนรู้และจากแบบบันทึกกิจกรรม
3. ประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จากการทากิจกรรมของนักเรียน

การประเมินจากการทากิจกรรมที่ 1.3 พิมเสนเปลี่ยนสถานะอย่างไร


ระดับคะแนน
3 คะแนน หมายถึง ดี 2 คะแนน หมายถึง พอใช้ 1 คะแนน หมายถึง ควรปรับปรุง

รหัส สิ่งที่ประเมิน ระดับคะแนน


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
S1 การสังเกต
S5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเปซ
S8 การลงความเห็นจากข้อมูล
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
C4 การสื่อสาร
C5 ความร่วมมือ
C6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 242

ตาราง แสดงการวิเคราะห์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามระดับความสามารถของนักเรียน
โดยอาจใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี
ทักษะ ระดับความสามารถ
กระบวนการทาง รายการประเมิน
วิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
S1 การสังเกต การบรรยาย สามารถใช้ประสาทสัมผัส สามารถใช้ประสาท สามารถใช้ประสาท
รายละเอียด เก็บรายละเอียดเกี่ยว สัมผัสเก็บรายละเอียด สัมผัสเก็บ
เกี่ยวกับสมบัติของ สมบัติของพิมเสนและ เกี่ยวกับสมบัติของ รายละเอียด
พิมเสนและการ การเปลี่ยนแปลงที่เกิด พิมเสนและการ เกี่ยวกับสมบัติของ
เปลี่ยนแปลงที่เกิด ขึนกับพิมเสนเมื่อได้รับ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึนกับ พิมเสนและ
ขึนกับพิมเสนเมื่อ ความร้อนและสูญเสีย พิมเสนเมื่อได้รับความ การเปลี่ยนแปลงที่
ได้รับความร้อน ความร้อน เช่น พิมเสน ร้อนและสูญเสียความ เกิดขึนกับพิมเสน
และสูญเสียความ เป็นเกล็ดสีขาว มีกลิ่น ร้อน เช่น พิมเสนเป็น เมื่อได้รับความร้อน
ร้อน เช่น พิมเสน เมื่อนาไปตังไฟเกล็ด เกล็ดสีขาว มีกลิ่น และสูญเสีย
เป็นเกล็ดสีขาว มี พิมเสนบางส่วนใน เมื่อนาไปตังไฟเกล็ด ความร้อนเช่น
กลิ่น บีกเกอร์หายไป มีของแข็ง พิมเสนบางส่วนใน พิมเสนเป็นเกล็ด
เมื่อนาไปตังไฟ สีขาวเกาะข้างบีกเกอร์ บีกเกอร์หายไป มี สีขาว มีกลิ่น
เกล็ดพิมเสน เหนือขึนมาจากบริเวณ ของแข็งสีขาวเกาะข้าง เมื่อนาไปตังไฟ
บางส่วนใน ก้นภาชนะ มีของแข็ง บีกเกอร์เหนือขึนมาจาก เกล็ดพิมเสน
บีกเกอร์หายไป มี สีขาวเกาะตามขอบรูของ บริเวณก้นภาชนะ มี บางส่วนในบีกเกอร์
ของแข็งสีขาวเกาะ กระดาษแข็ง ของแข็งสีขาวเกาะตาม หายไป มีของแข็ง
ข้างบีกเกอร์เหนือ เมื่อดับไฟ พบของแข็ง ขอบรูของกระดาษแข็ง สีขาวเกาะข้าง
ขึนมาจากบริเวณ สีขาวที่ข้างบีกเกอร์และ เมื่อดับไฟ พบของแข็ง บีกเกอร์เหนือขึนมา
ก้นภาชนะ มี ของแข็งสีขาวตามขอบรู สีขาวที่ข้างบีกเกอร์และ จากบริเวณก้น
ของแข็งสีขาวเกาะ ของกระดาษแข็ง และมี ของแข็งสีขาวตามขอบรู ภาชนะ มีของแข็ง
ตามขอบรูของ กลิ่นพิมเสนออกมาจาก ของกระดาษแข็ง และมี สีขาวเกาะตามขอบ
กระดาษแข็ง บีกเกอร์ได้ด้วยตนเอง กลิ่นพิมเสนออกมาจาก รูของกระดาษแข็ง
เมื่อดับไฟ พบ บีกเกอร์จากการชีแนะ เมื่อดับไฟ พบ
ของแข็งสีขาวที่ ของครูหรือผู้อื่น หรือมี ของแข็งสีขาวที่ข้าง
ข้างบีกเกอร์และ การเพิ่มเติมความคิดเห็น บีกเกอร์และ
ของแข็งสีขาวตาม ของแข็งสีขาวตาม
ขอบรูของกระดาษ ขอบรูของกระดาษ
แข็ง และมีกลิ่น แข็ง และมีกลิ่น
พิมเสนออกมาจาก พิมเสนออกมาจาก
บีกเกอร์ บีกเกอร์เพียงบาง
ลักษณะแม้ว่าจะได้
รับคาชีแนะจากครู
หรือผู้อื่น

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


243 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

ทักษะ ระดับความสามารถ
กระบวนการทาง รายการประเมิน
วิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
S5 การหา การบรรยาย สามารถระบุ สามารถระบุ สามารถระบุ
ความสัมพันธ์ ลักษณะการ การครอบครองพืนที่ของ การครอบครองพืนที่ของ การครอบครองพืนที่
ระหว่างสเปซ ครอบครองพืนที่ พิมเสนเมื่อได้รับ พิมเสนเมื่อได้รับ ของพิมเสนเมื่อ
กับสเปซ ของพิมเสนเมื่อ ความร้อนและเมื่อวางให้ ความร้อนและเมื่อวางให้ ได้รับความร้อนและ
ได้รับความร้อน เย็นได้แก่ พิมเสนเป็น เย็น ได้แก่ พิมเสนเป็น เมื่อวางให้เย็น ได้แก่
และวางไว้ให้เย็น เกล็ดสีขาวอยู่ที่ เกล็ดสีขาวอยู่ที่ พิมเสนเป็นเกล็ด
ได้แก่ พิมเสนเป็น ก้นภาชนะ ก้นภาชนะ เมื่อนาไป สีขาวอยู่ที่ก้น
เกล็ดสีขาวอยู่ที่ เมื่อนาไปตังไฟ ตังไฟเกล็ดพิมเสน ภาชนะ เมื่อนาไป
ก้นภาชนะ เกล็ดพิมเสนบางส่วนที่ บางส่วนที่ก้นบีกเกอร์ ตังไฟเกล็ดพิมเสน
เมื่อนาไปตังไฟ ก้นบีกเกอร์หายไป มี หายไป มีของแข็งสีขาว บางส่วนที่ก้น
เกล็ดพิมเสน ของแข็งสีขาวเกาะข้าง เกาะข้างบีกเกอร์เหนือ บีกเกอร์หายไป มี
บางส่วนที่ก้น บีกเกอร์เหนือขึนมาจาก ขึนมาจากบริเวณ ของแข็งสีขาวเกาะ
บีกเกอร์หายไป มี บริเวณก้นภาชนะ มี ก้นภาชนะ มีของแข็ง ข้างบีกเกอร์เหนือ
ของแข็งสีขาวเกาะ ของแข็งสีขาวเกาะตาม สีขาวเกาะตามขอบรูของ ขึนมาจากบริเวณ
ข้างบีกเกอร์เหนือ ขอบรูของกระดาษแข็ง กระดาษแข็ง ก้นภาชนะ มี
ขึนมาจากบริเวณ ได้อย่างถูกต้องได้ด้วย ได้ จ ากครู ห รื อ ผู้ อื่ น ช่ว ย ของแข็งสีขาวเกาะ
ก้นภาชนะ มี ตัวเอง แนะนาหรือชีแนะ ตามขอบรูของ
ของแข็งสีขาวเกาะ กระดาษแข็ง
ตามขอบรูของ ได้เพียงบาง
กระดาษแข็ง ตาแหน่ง แม้ว่าครู
หรือผู้อื่นช่วย
แนะนาหรือชีแนะ
S8 การลง การลงความเห็น สามารถลงความเห็ นจาก สามารถลงความเห็นจาก สามารถลง
ความเห็นจาก จากข้อมูลว่า ข้อมูลว่าพิมเสนจะระเหิด ข้ อ มู ล ว่ า พิ ม เ ส น จ ะ ความเห็นจากข้อมูล
ข้อมูล พิมเสนจะระเหิด เมื่ อ ได้ รั บ ความร้ อ นโดย ระเหิ ด เมื่ อ ได้ รั บ ความ ว่าพิมเสนจะระเหิด
เมื่อได้รับ นาไปตังไฟและพิมเสนจะ ร้อนโดยนาไปตังไฟและ เมื่อได้รับความร้อน
ความร้อนโดยนาไป ระเหิ ด กลั บ เมื่ อ สู ญ เสี ย พิ ม เสนจะระเหิ ด กลั บ โดยนาไปตังไฟและ
ตังไฟและพิมเสนจะ ความร้อนได้ด้วยตนเอง เมื่ อ สู ญ เสี ย ความร้ อ น พิ ม เสนจะระเหิ ด
ระเหิดกลับเมื่อ จากการชี แนะของครู ก ลั บ เ มื่ อ สู ญ เ สี ย
สูญเสียความร้อน หรือผู้อื่น ความร้ อ นได้ แ ต่ ไ ม่
ครบถ้วนแม้ว่าจะได้
รับ คาชีแนะจากครู
หรือผู้อื่น

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 244

ทักษะ ระดับความสามารถ
กระบวนการทาง รายการประเมิน
วิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
S13 การ ตีความหมาย สามารถตีความหมาย สามารถตีความหมาย สามารถ
ตีความหมาย ข้อมูลจาก ข้อมูลจากการสังเกต ข้อมูลจากการสังเกต ตีความหมายข้อมูล
ข้อมูลและลง การสังเกต การเปลี่ยนแปลงของ การเปลี่ยนแปลงของ จากการสังเกต
ข้อสรุป การเปลี่ยนแปลง พิมเสนและลงข้อสรุปได้ พิมเสนและลงข้อสรุปได้ การเปลี่ยนแปลง
ของพิมเสนไปเป็น ว่าสสารสามารถเปลี่ยน ว่าสสารสามารถเปลี่ยน ของพิมเสนและ
ไอของพิมเสนและ สถานะจากของแข็งเป็น สถานะจากของแข็งเป็น ลงข้อสรุปได้ว่า
ไอของพิมเสน แก๊สเมื่อได้รับความร้อน แก๊สเมื่อได้รับความร้อน สสารสามารถ
เปลี่ยนเป็น โดยไม่ผ่านการเป็น โดยไม่ผ่านการเป็น เปลี่ยนสถานะจาก
เกล็ดพิมเสนและ ของเหลวก่อนและ ของเหลวก่อนและ ของแข็งเป็นแก๊ส
ลงข้อสรุปเกี่ยวกับ สามารถเปลี่ยนจากแก๊ส สามารถเปลี่ยนจากแก๊ส เมื่อได้รับความร้อน
การเปลี่ยนสถานะ เป็นของแข็งเมื่อสูญเสีย เป็นของแข็งเมื่อสูญเสีย โดยไม่ผ่านการเป็น
ได้ว่าสสารสามารถ ความร้อนโดยไม่ผ่าน ความร้อนโดยไม่ผ่าน ของเหลวก่อนและ
เปลี่ยนสถานะจาก การเป็นของเหลวก่อนได้ การเป็นของเหลวก่อน สามารถเปลี่ยนจาก
ของแข็งเป็นแก๊ส ด้วยตนเอง จากการชีแนะของครู แก๊สเป็นของแข็ง
เมื่อได้รับความ หรือผู้อื่น เมื่อสูญเสีย
ร้อนโดยไม่ผ่าน ความร้อนโดยไม่
การเป็นของเหลว ผ่านการเป็น
ก่อนและสามารถ ของเหลวก่อนแต่ไม่
เปลี่ยนจากแก๊ส ครบถ้วน แม้ว่าจะ
เป็นของแข็งเมื่อ ได้รับคาชีแนะจาก
สูญเสียความร้อน ครูหรือผู้อื่น
โดยไม่ผ่านการเป็น
ของเหลวก่อน

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


245 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

ตาราง แสดงการวิเคราะห์ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ตามระดับความสามารถของนักเรียน


โดยอาจใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี
ทักษะแห่ง รายการประเมิน ระดับความสามารถ
ศตวรรษที่ 21 ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
C4 การสื่อสาร การนาเสนอข้อมูล สามารถนาเสนอข้อมูล สามารถนาเสนอข้อมูลแสดง สามารถนาสนอข้อมูล
จากการสังเกตและ การเปลี่ยนแปลงของ การเปลี่ยนแปลงของพิมเสน แสดงการเปลี่ยนแปลง
อภิปรายเกี่ยวกับ พิมเสนในภาชนะเมื่อ ในภาชนะเมื่อได้รับหรือ ของพิมเสนในภาชนะ
การเปลี่ยนแปลง ได้รับหรือสูญเสีย สูญเสียความร้อนให้ผู้อื่น เมื่อได้รับหรือสูญเสีย
ของพิมเสนเมื่อ ความร้อนให้ผู้อื่นเข้าใจ เข้าใจโดยการใช้คาพูด ความร้อนให้ผู้อื่นเข้าใจ
ได้รับความร้อน โดยการใช้คาพูด บรรยาย วาดภาพได้ถูกต้อง โดยการใช้คาพูด
และสูญเสีย บรรยาย วาดภาพได้ จากการชีแนะของครูหรือ บรรยาย วาดภาพได้
ความร้อนโดย ถูกต้องด้วยตนเอง ผู้อื่น ถูกต้องบางส่วนแม้ว่า
การใช้คาพูด จะได้รับคาชีแนะจาก
บรรยาย วาดภาพ ครูหรือผู้อื่น
C5 ความ การทางานร่วมกับ สามารถทางานร่วมกับ สามารถทางานร่วมกับผู้อื่น สามารถทางานร่วมกับ
ร่วมมือ ผู้อื่นในการสังเกต ผู้อื่นในการสังเกต การ ในการสังเกต การนาเสนอ ผู้อื่นในการสังเกต การ
การนาเสนอ และ นาเสนอ และการแสดง และการแสดงความคิดเห็น นาเสนอ และการแสดง
การแสดงความ ความคิดเห็นเกี่ยวกับ เกี่ยวกับการเปลี่ยนสถานะ ความคิดเห็นเกี่ยวกับ
คิดเห็นเกี่ยวกับ การเปลี่ยนสถานะของ ของพิมเสนรวมทังยอมรับ การเปลี่ยนสถานะของ
การเปลี่ยนสถานะ พิมเสนรวมทังยอมรับ ความคิดเห็นของผู้อื่นบาง พิมเสนรวมทังยอมรับ
ของพิมเสนรวมทัง ความคิดเห็นของผู้อื่น ช่วงเวลาที่ทากิจกรรม ความคิดเห็นของผู้อื่น
ยอมรับความ ตังแต่เริ่มต้นจนสาเร็จ ได้บ้าง
คิดเห็นของผู้อื่น
C6 การใช้ การใช้อินเทอร์เนต สามารถใช้อินเทอร์เนต สามารถใช้อินเทอร์เนต สามารถใช้อินเทอร์เนต
เทคโนโลยี เพื่อสืบค้นชื่อการ สืบค้นชื่อการเปลี่ยน สืบค้นชื่อการเปลี่ยนสถานะ สืบค้นชื่อการเปลี่ยน
สารสนเทศ เปลี่ยนสถานะของ สถานะของสสารจาก ของสสารจากของแข็งเป็น สถานะของสสารจาก
สสารจากของแข็ง จากของแข็งเป็นแก๊ส แก๊สและจากแก๊สเป็น ของแข็งเป็นแก๊สและ
เป็นแก๊สและจาก และจากแก๊สเป็น ของแข็งโดยไม่ผ่านการเป็น จากแก๊สเป็นของแข็ง
แก๊สเป็นของแข็ง ของแข็งโดยไม่ผ่าน ของเหลวก่อน จากการ โดยไม่ผ่านการเป็น
โดยไม่ผ่านการเป็น การเป็นของเหลวก่อน ชีแนะของครูหรือผู้อื่น ของเหลวก่อนได้ไม่
ของเหลวก่อน ได้ด้วยตนเอง ครบถ้วน แม้ว่าจะได้
รับคาชีแนะจากครูหรือ
ผู้อื่น

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 246

เรื่องที่ 2 การละลาย
ในเรื่องนีนักเรียนจะได้เรียนรู้ เกี่ยวกับการละลาย
ของสารในนา
เวลา 2 ชั่วโมง
จุดประสงค์การเรียนรู้
สังเกตและอธิบายการละลายของสารในนา
สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
1. หนังสือเรียน ป.5 เล่ม 1 หน้า 95-99
2. แบบบันทึกกิจกรรม ป.5 เล่ม 1 หน้า 100-105
วัสดุ อุปกรณ์สาหรับทากิจกรรม
แก้วพลาสติก พิมเสน แป้งมัน นา นาตาลทราย นามันพืช เอ
ทานอล ช้อนตักสารเบอร์ 2 แท่งแก้วคน

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


247 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

แนวการจัดการเรียนรู้ (50 นาที)


ขั้นตรวจสอบความรู้ (5 นาที)

1. ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและให้นักเรียน
ยกตัวอย่าง
2. ครูให้นักเรียนสังเกตเกลือ แกง นาและสารผสมระหว่างเกลือ แกงกับนา ในการตรวจสอบความรู้
อภิปรายโดยใช้คาถามต่อไปนี ค รู เ พี ย ง รั บ ฟั ง เ ห ตุ ผ ล ข อ ง
2.1 เมื่อนาเกลือแกงผสมกับนาเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ รู้ได้อย่างไร นักเรียนและยังไม่เฉลยคาตอบ
(นักเรียนตอบตามความเข้าใจ เช่น เกิดการเปลี่ยนแปลง เกลือแกง ใด ๆ แต่ชักชวนให้ นักเรี ย นไป
จะหายไปอยู่ในนา) หาค าตอบด้ ว ยตนเองจากการ
2.2 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึนเป็นการเปลี่ยนสถานะหรือไม่ เพราะเหตุ อ่านเนือเรื่อง
ใด (นักเรียนตอบตามความเข้าใจ เช่น เกลือแกงเปลี่ยนสถานะจาก
ของแข็งเป็นของเหลว เพราะไม่พบเกลือแกงที่เป็นของแข็ง ส่วนนา
ไม่เปลี่ยนสถานะเพราะนายังเป็นของเหลวเหมือนเดิม)
2.3 รู้หรือไม่ว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึนเรียกว่าอะไร (นักเรียนตอบ
ตามความเข้าใจ ครูบันทึกคาตอบของนักเรียนแต่ยังไม่เฉลย
คาตอบ)
ครูแจ้งนักเรียนว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึนเมื่อนาเกลือ แกงผสมกับนาเป็น
การเปลี่ยนแปลงอะไร นักเรียนจะสามารถทาความเข้าใจได้จากการเรียนใน
เรื่องที่ 2 ต่อไป

ขั้นฝึกทักษะจากการอ่าน (35 นาที)

3. ครูให้นักเรียนอ่าน ชื่อเรื่อง และ คิดก่อนอ่าน ในหนังสือเรียนหน้า 95 แล้ว


ร่วมกันอภิปรายในกลุ่มเพื่อหาแนวคาตอบตามความเข้าใจของกลุ่ม ครูสุ่ม
นักเรียนบางกลุ่มนาเสนอคาตอบ ครูบันทึกคาตอบของนักเรียนบนกระดาน
เพื่อใช้เปรียบเทียบคาตอบหลังการอ่านเรื่อง
4. นักเรียนอ่านคาใน คาสาคัญ ทังภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (หากนักเรียน
อ่านไม่ได้ ครูควรสอนอ่านให้ถูกต้อง) จากนันครูชักชวนให้นักเรียนอธิบาย
ความหมายของคาภายหลังจากการอ่านเนือเรื่อง
5. นักเรียนอ่านเนือเรื่องในหนังสือเรียนหน้า 95 โดยครูฝึกการอ่านด้วยวิธีที่
เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียน ครูใช้คาถามเพื่อตรวจสอบความ
เข้าใจจากการอ่าน โดยใช้คาถามดังนี
5.1 เพราะเหตุใดนาทะเลจึงมีรสเค็ม (นาฝนจะละลายเกลือแกงและไหลลง
สู่ทะเลเมื่อเวลาผ่านไปปริมาณเกลือแกงในนาทะเลมีมากขึนเรื่อยๆ จึง
ทาให้นาทะเลมีรสเค็ม)
ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่า เกลือแกงที่อยู่ในนาทะเลเกิดจากการสะสม
ปริ ม าณเกลื อ แกงในน าทะเลอย่ า งช้ า ๆ อย่ า งต่ อ เนื่ อ งเป็ น ระยะ

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 248

เวลานานมาก ในอดี ต สารที่ เ ป็ น องค์ ป ระกอบของเกลื อ แกงพบใน


พืนดิน และหิน เมื่อนาฝนตกลงบริเวณพืนดินหรือหินบริเวณที่มีสาร
เหล่านี สารเหล่านีจะละลายมากับนาฝน และไหลมาตามแม่นาลาธาร
และไหลลงสู่ทะเล ผ่านไปหลายล้านปี ปริมาณเกลือแกงในทะเลจะมี
มากขึน ๆ จนทาให้นาทะเลมีรสเค็ม
5.2 นาแข็งเปลี่ ยนเป็นนาเป็นการละลายหรือไม่ เพราะเหตุใด (นาแข็ง
เปลี่ ยนเป็นนาไม่ใ ช่ การละลาย แต่เป็นการหลอมเหลวซึ่ง เป็ น การ
เปลี่ยนสถานะของสสารจากของแข็งเป็นของเหลว)

ขั้นสรุปจากการอ่าน (10 นาที)

6. ครูและนักเรียนร่ว มกัน สรุป เรื่องที่อ่านซึ่งควรสรุป ได้ ว่า นาทะเลมีรสเค็ม


เนื่องจากเกลือแกงละลายมากับนาและปริมาณเกลือ แกงที่สะสมในทะเล
เพิ่มมากขึนเรื่อยๆ จึงทาให้นาทะเลมีรสเค็ม ส่วนนาแข็งเปลี่ยนเป็นนาไม่ใช่
การละลายแต่เป็นการหลอมเหลว
7. นักเรียนตอบคาถามใน รู้หรือยัง ในแบบบันทึกกิจกรรม หน้า 100
8. ครูและนักเรียนร่ว มกันอภิป รายเพื่อเปรียบเทียบคาตอบของนักเรียนใน
รู้หรือยังกับคาตอบที่เคยตอบในคิดก่อนอ่าน
9. ครูชักชวนนักเรียนลองตอบคาถามท้ายเรื่องที่อ่าน ดังนี
การละลายแตกต่างจากการหลอมเหลวอย่างไร
ครู บั น ทึ ก ค าตอบของนั ก เรี ย นบนกระดาน โดยยั ง ไม่ เ ฉลยค าตอบแต่
ชักชวนให้นักเรียนหาคาตอบจากการทากิจกรรม

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


249 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

แนวคาตอบในแบบบันทึกกิจกรรม

น้าฝนจะละลายเกลือแกงและไหลลงสู่ทะเลเมื่อเวลาผ่านไปปริมาณเกลือแกง
ในน้าทะเลมีมากขึ้นเรื่อยๆ จึงทาให้น้าทะเลมีรสเค็ม

น้าแข็งเปลี่ยนเป็นน้าไม่เป็นการละลาย แต่เป็นการเปลี่ยนสถานะจากของแข็ง
(น้าแข็ง) เป็นของเหลว (น้า) ซึ่งเรียกว่าการหลอมเหลว

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 250

กิจกรรมที่ 2 การละลายเป็นอย่างไร
กิจกรรมนี นักเรียนจะได้สังเกตและอธิบายการละลายของ
สารในนา
เวลา 1 ชั่วโมง
จุดประสงค์การเรียนรู้
ทากิจกรรมนีเพื่อสังเกตและอธิบายการละลายของสารในนา
วัสดุ อุปกรณ์สาหรับทากิจกรรม
สิ่งที่ครูต้องเตรียม/กลุ่ม
สิ่งที่ครูต้องเตรียม/กลุ่ม
1. แป้งมัน 2 ช้อนเบอร์ 2
2. นาตาลทราย 2 ช้อนเบอร์ 2
3. เอทานอล 10 cm3
4. นามันพืช 10 cm3
5. พิมเสน 2 ช้อนเบอร์ 2
6. ช้อนตักสารเบอร์ 2 5 คัน
7. แก้วพลาสติก 5 ใบ
8. นา 200 cm3
9. แท่งแก้วคน 1 อัน
สิ่งที่ครูต้องเตรียม/คน ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
-
C4 การสื่อสาร
สิ่งที่นักเรียนต้องเตรียม/กลุม่
C5 ความร่วมมือ
-
C6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
S1 การสังเกต 1. หนังสือเรียน ป.5 เล่ม 1 หน้า 96-103
S5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเปซ 2. แบบบันทึกกิจกรรม ป.5 เล่ม 1 หน้า 101-110
S8 การลงความเห็นจากข้อมูล 3. ตัวอย่างวีดิทัศน์ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สาหรับครู
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป เรื่อง การละลายเป็นอย่างไร

http://ipst.me/8929

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


251 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

แนวการจัดการเรียนรู้
1. นั ก เรี ย นเปิ ด อ่ า นชื่ อ กิ จ กรรม ในหนั ง สื อ เรี ย นหน้ า 96 ครู
ตรวจสอบความรู้เดิมของนักเรียน โดยอาจใช้คาถามดังนี
1.1 กิจกรรมนีจะเรียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร (การละลาย)
1.2 นั ก เรี ย นคิ ด ว่ า เมื่ อ น าน าตาลทรายผสมน าจะเกิ ด การ
ละลายหรือไม่ (นักเรียนตอบตามความเข้าใจของตนเอง
เช่น ละลายหรือไม่ละลาย)
1.3 นักเรียนคิดว่าการละลายเป็นอย่างไร (นักเรียนตอบตาม
ความเข้าใจของตัวเอง)
ครูชักชวนนักเรียนหาคาตอบจากการทากิจกรรม
2. นักเรียนอ่านทาเป็นคิดเป็นและร่วมกันอภิปรายเพื่อตรวจสอบ
ความเข้าใจเกี่ยวกับ จุดประสงค์ในการทากิจกรรม โดยครูใช้
คาถามต่อไปนี
2.1 กิจกรรมนีนักเรียนจะได้เรียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร (เกี่ยวกับ
เรื่องการละลาย)
2.2 นักเรียนจะได้เรียนรู้ผ่านวิธีการใด (การสังเกต)
2.3 เมื่อเรียนแล้วนักเรี ยนจะทาอะไรได้ (อธิบายการละลาย
ของสารในนา)
3. นักเรียนบันทึกจุดประสงค์ของกิจกรรมลงในแบบบันทึกกิจกรรม
หน้า 101
4. นักเรียนอ่านสิ่งที่ต้องใช้ ในการทากิจกรรม
5. นักเรียนอ่านทาอย่างไรข้อที่ 1 และ ข้อที่ 2 ครูตรวจสอบความ หากนั ก เรี ย นไม่ ส ามารถ
เข้าใจวิธีการทากิจกรรม โดยให้นักเรียนสังเกตลักษณะของสารใน ตอบคาถามหรืออภิปรายได้ตาม
แก้วแต่ละใบ ได้แก่ แป้งมัน พิมเสน นาตาลทราย นามันพืช และ แนวค าตอบ ครู ค วรให้ เ วลา
เอทานอลและบันทึกลักษณะของสาร จากนันให้นักเรียนคาดคะเน นั ก เรี ย นคิ ด อย่ า งเหมาะสม
คาตอบพร้อมให้เหตุผลโดยใช้คาถามดังนี รอคอยอย่างอดทน และรับ ฟัง
5.1 นักเรียนคิดว่าจะเกิดอะไรขึนบ้างเมื่อเติมนาลงไปในแก้วแต่ละ แนวความคิดของนักเรียน
ใบ (นักเรียนตอบตามความเข้าใจของตัวเอง)
นั ก เรี ย นบั น ทึ ก การคาดคะเนลงในตารางในแบบบั น ทึ ก
กิจกรรม หน้า 102
6. นั ก เรี ย นอ่ า นท าอย่ า งไรข้ อ ที่ 3 ครู ต รวจสอบความเข้ า ใจของ
นั ก เรี ย นว่ า นั ก เรี ย นจะท ากิ จ กรรมตรวจสอบการคาดคะเนได้
อย่างไร (นักเรียนนาสารแต่ละชนิดในปริมาณเท่า ๆ กัน บรรจุสาร
ลงในแก้วพลาสติกแต่ละใบจากนันรินนาปริมาณเท่ากันลงในแก้วที่

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 252

มีสารแต่ละชนิด คนสารในแก้วด้วยจานวนครังที่เท่ากัน หยุดคน


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะ
วางไว้สักครู่ สังเกตลักษณะของสารที่ได้ บันทึกผลในแบบบันทึก
แห่งศตวรรษที่ 21 ที่นักเรียนจะได้ฝึกจากการ
กิจกรรมหน้า 102)
ทากิจกรรม
7. นักเรียนอ่านทาอย่างไรข้อที่ 4 จากนันครูตรวจสอบความเข้าใจ
ขันตอนการทากิจกรรมทีละขันจนแน่ใจว่านักเรียนสามารถทาได้ S1 การสังเกตลักษณะของสารก่อนและ
8. เมื่อนักเรียนเข้าใจวิธีการทากิจกรรมในทาอย่างไรแล้วครูแจกวัสดุ หลังผสมนาและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึน
อุป กรณ์ และให้ นักเรียนเริ่ม ปฏิบัติ กิจกรรมตามขั นตอน ครูสุ่ ม เมื่อผสมสารกับนา
นักเรียนนาเสนอผลการทากิจกรรมโดยให้นัก เรียนเติมผลที่ได้จาก S5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเป
ซจากลักษณะ การครอบครองพืนที่ของ
การทากิจกรรมลงในตารางที่ครูเขียนไว้บนกระดานจากนันครู และ
สารหลังผสมนา
นักเรียนร่ว มกัน อภิ ป รายเพื่ อ ตรวจสอบผลการท ากิ จกรรมและ
S8 การลงความเห็นจากข้อมูลจากการ
เพิ่มเติมในประเด็นที่ยังไม่สมบูรณ์ให้ครบถ้วนถูกต้อง สังเกตลักษณะของสารหลังผสมนาและลง
9. หลังจากทากิจกรรมแล้ว ให้นักเรียนเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย ครูนา ความเห็นว่าเกิดการละลายหรือไม่ละลาย
อภิปรายผลการทากิจกรรม โดยใช้คาถามดังนี C4 การสื่อสารจากการพูด เขียนบรรยาย
9.1 เมื่อผสมสารแต่ละชนิดกับนา มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง การเปลี่ยนแปลงเมื่อผสมสารกับนา
((1) แป้งมันกระจายตัว อยู่ในนา บางส่วนจมนา C5 ความร่วมมือจากการทางานร่วมกันใน
(2) พิมเสนลอยอยู่บนผิวนา กลุ่ม
(3) นาตาลทรายมีขนาดเล็กลงและรวมเป็นเนือเดียวกับนา ได้ C6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการ
ของเหลวใสไม่มีสี สื่อสารจากการใช้อินเทอร์เนตสืบค้นข้อมูล
(4) นามันพืชแยกชันกับนาและลอยอยู่บนผิวนา เกี่ยวกับการละลาย
(5) เอทานอลรวมเป็นเนือเดียวกับนาได้ของเหลวใสไม่มีสี)
9.2 นาตาลทรายหายไปจากนาหรือไม่ อย่างไร (นาตาลทรายไม่ได้
หายไปไหน แต่ แ ตกตั ว ออกมี ข นาดเล็ ก ลงมาก ๆ หรื อ เป็ น
อนุภาคเล็กๆ จนมองไม่เห็นและรวมเป็นเนือเดียวกับนา)
9.3 การที่ น าตาลทรายรวมเป็ น เนื อเดี ย วกั บ น า เรี ย กว่ า อะไร
(นาตาลทรายละลายในนา)
9.4 การที่แป้งมันและพิมเสนไม่รวมเป็นเนื อเดียวกับนา เรียกว่า
อะไร (แป้งมันและพิมเสนไม่ละลายนา)
9.5 อธิบายการเปลี่ยนแปลงของเอทานอลและนามันพืชเมื่อเติมนา
ลงไปได้อย่างไร (เอทานอลละลายนา ส่วนนามันพืชไม่ละลาย
นา)
9.6 สารชนิ ด ใดที่ ล ะลายเป็น เนือเดีย วกั บ นาและสารชนิด ใดไม่
ละลายนา (สารที่ละลายเป็นเนือเดียวกับนา ได้แก่ นาตาล
ทรายและเอทานอล ส่วนสารที่ไม่ละลายนา ได้แก่ แป้งมัน
พิมเสน และนามันพืช)

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


253 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

9.7 จากกิจกรรมนี นักเรียนจะสรุปได้อย่างไร (สารบางชนิดละลาย


นาได้ ส่วนสารบางชนิดไม่ละลายนา)
10. ครูให้ ความรู้เพิ่มเติมว่าการที่ส ารเปลี่ ยนแปลงโดยรวมเป็ น เนื อ
เดียวกับนาจนเราไม่สามารถมองเห็นสารนันได้ เรียกว่า การละลาย
นาตาลทรายและเอทานอลละลายในนาได้โดยนาตาลทรายและ
เอทานอลแตกออกเป็นอนุภาคเล็กๆ แล้วอนุภาคเหล่านันกระจาย
ตัวแทรกอยู่ในนาอย่างสม่าเสมอทาให้มองเห็นเหมือนกันทุก ส่วน
สารผสมนี จึ ง มี ลั ก ษณะเป็ น สารเนื อเดี ย ว และเมื่ อ วางไว้ จ ะไม่
ตกตะกอน สารผสมที่มีลักษณะเช่นนี เรียกว่า สารละลาย เมื่อสาร
เกิดการละลายยังคงแสดงสมบัติของสารเดิมอยู่ ดังนันการละลาย
จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
ส่วนแป้งมัน พิมเสนและนามันพืช ไม่ละลายนา สังเกตได้
จากการมองเห็นสารเหล่านันแยกส่วนจากนา ไม่ผสมกลมกลืนเป็น
เนือเดียวกันกับนา สารผสมที่มีลักษณะเช่นนี เรียกว่า สารเนือผสม ในการตรวจสอบความรู้ ครู
สารผสมที่ไม่รวมเป็นเนือเดียวกันโดยยังเห็นของแข็งกระจายอยู่ใน เพียงรับฟังเหตุผลของนักเรียน
นาและเมื่อวางไว้ของแข็งจะตกตะกอน เช่น แป้งมันในนา จัดเป็น เป็ น ส าคั ญ และยั ง ไม่ เ ฉลย
สารแขวนลอย ครูให้ ความรู้ เ พิ่ มเติ มว่ าสารแขวนลอยบางชนิ ด คาตอบใด ๆ ให้กับนักเรียน แต่
ประกอบด้วยของแข็งกระจายอยู่ในแก๊ส เช่น เขม่าในอากาศ ชักชวนนักเรียน ไปหาคาตอบที่
11. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและลงข้อสรุปว่าสารบางชนิดซึ่ง ถูกต้องจากกิจ กรรมต่า ง ๆ ใน
บทเรียนนี
อาจเป็ น ของแข็ ง ของเหลว สามารถรวมเป็ น เนื อเดี ย วกั บ น า
การเปลี่ยนแปลงนีเรียกว่าการละลาย สารที่ได้เรียกว่าสารละลาย
ส่วนบางชนิดไม่รวมเป็นเนือเดียวกับนา หรือไม่ละลายนา สารที่ได้
เรียกว่าสารเนือผสม (S13)
12. นักเรียนร่วมกันอภิปรายคาตอบใน ฉันรู้อะไร โดยครูอาจใช้
คาถามเพิ่มเติมในการอภิปรายเพื่อให้ได้แนวคาตอบที่ถูกต้อง
13. นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในกิจกรรมนี จากนันครูให้นักเรียน
อ่าน สิ่งที่ได้เรียนรู้ และเปรียบเทียบกับข้อสรุปของตนเอง
14. ครูกระตุ้นให้ นักเรียนฝึ กตังคาถามเกี่ยวกั บ เรื่องที่ส งสั ย หรื อ
อยากรู้เพิ่มเติมใน อยากรู้อีกว่า จากนันครูอาจสุ่มนักเรียน 2 -
3 คน นาเสนอคาถามของตนเองหน้าชันเรียน และให้นักเรียน
ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับคาถามที่นาเสนอ
15. ครู น าอภิ ป รายเพื่ อ ให้ นั ก เรี ย นทบทวนว่ า ได้ ฝึ ก ทั ก ษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทัก ษะแห่ ง ศตวรรษที่ 21
อะไรบ้างและในขันตอนใด แล้วบันทึกลงในแบบบันทึกกิจกรรม
หน้า 105

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 254

16. นักเรียนร่วมกันอ่าน รู้อะไรในเรื่องนี้ ในหนังสือเรียนหน้า 99


ครูนาอภิปรายเพื่อนาไปสู่ข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในเรื่อง
นี จากนันครูกระตุ้นให้นักเรียนตอบคาถามในช่วงท้ายของเนือ
เรื่อง ซึ่งเป็นคาถามเพื่อเชื่อมโยงไปสู่ การเรียนเนือหาในบท
ถัดไป ดังนี นอกจากการเปลี่ยนสถานะและการละลายแล้ว สาร
เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบอื่นอีกหรือไม่ นักเรียนสามารถตอบ
ตามความเข้าใจของตนเอง ซึ่งจะหาคาตอบได้จากการเรียนใน
บทต่อไป

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


255 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

แนวคาตอบในแบบบันทึกกิจกรรม

สังเกตและอธิบายการละลายของสารในน้า

ผงสีขาวละเอียด
เกล็ดสีขาว มีกลิ่นเฉพาะตัว
เกล็ดสีขาวใส
ของเหลวสีเหลืองใส
ของเหลวใสไม่มีสี

หมายเหตุ ลักษณะของสารอาจจะแตกต่างไปจากแนวคาตอบนี้ขึ้นอยู่กับ
สารที่นามาใช้ในการทากิจกรรมให้บันทึกลักษณะตามจริง

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 256

คาตอบขึ้นอยู่กับการ ของแข็งสีขาวบางส่วนลอย
คาดคะเนของนักเรียน อยู่ในของเหลวและ
มีผงสีขาวที่ก้นภาชนะ
เกล็ดสีขาวลอยปะปนกับ
ของเหลว

ของเหลวใสไม่มีสี

ของเหลวแยกกัน 2 ชั้น
น้ามันพืชสีเหลืองอยู่ชั้นบน
ของเหลว ไม่มีสีอยู่ชั้นล่าง
ของเหลวใสไม่มีสี

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากสารสองชนิดขึ้นไปผสมเป็นเนื้อเดียวกัน สารชนิดหนึ่งจะ
แตกเป็นอนุภาคเล็ก ๆ และกระจายตัวแทรกอยู่ระหว่างสารอีกชนิดหนึ่งโดยสารแต่ละ
ชนิดยังคงเป็นสารเดิม
น้าตาลทรายกับน้า และเอทานอลกับน้า

มองเห็นเป็นเนื้อเดียวกัน

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


257 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

ขึ้นอยู่กับคาตอบของนักเรียน เช่น ผลการสังเกตเหมือนกับที่คาดคะเน ดังนี้เมื่อ


ผสมน้ากับแป้งมัน น้าตาลทราย พิมเสน เอทานอลและน้ามันพืช แป้งมัน
พิมเสนและน้ามันพืชไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกับน้า ส่วนน้าตาลทรายและเอทานอล
รวมเป็นเนื้อเดียวกับน้า

น้าตาลทรายและเอทานอลรวมเป็นเนื้อเดียวกับน้า สังเกตได้จากสารผสมที่ได้
เป็นของเหลวใสทั้งหมด

แป้งมัน พิมเสนและน้ามันพืชไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกับน้า สังเกตได้จากสารผสมที่ได้


อาจลอยหรือจมในของเหลว มีสารแยกตัวออกจากน้าจึงจัดเป็นสารเนื้อผสม

น้ามีการละลายเกิดขึ้นระหว่างน้าตาลทรายกับน้าและเอทานอลกับน้า เพราะ
สารผสมที่ได้มองเห็นเป็นเนื้อเดียวกัน

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 258

เมื่อเติมน้าลงในแป้งมัน น้าตาลทราย พิมเสน เอทานอล น้ามันพืช แล้วคน


พบว่า น้าตาลทรายและเอทานอลรวมเป็นเนื้อเดียวกับน้า เรียกว่า การละลาย
และสารผสมที่ได้จัดเป็นสารละลาย ส่วนแป้งมัน พิมเสน และน้ามันพืชไม่รวมเป็น
เนื้อเดียวกับน้าไม่เกิดการละลาย สารผสมที่ได้ จัดเป็นสารเนื้อผสม

สารบางชนิดรวมเป็นเนื้อเดียวกับน้าจนไม่สามารถมองเห็นสารนั้นแต่ไม่เกิด
สารใหม่ เรียกว่า การละลาย และสารผสมที่ได้เรียกว่าสารละลาย
ส่วนสารบางชนิดไม่รวมตัวเป็นเนื้อเดียวกับน้า ยังมองเห็นสารนั้นแยกตัวจากน้า
สารผสมที่ได้เป็นสารเนื้อผสม

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


259 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

คาถามของนักเรียนที่ตั้งตามความอยากรู้ของตนเอง












แนว
 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 260

การประเมินการเรียนรู้
การประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนทาได้ ดังนี
1. ประเมินความรู้เดิมจากการอภิปรายในชันเรียน
2. ประเมินการเรียนรู้จากคาตอบของนักเรียนระหว่างการจัดการเรียนรู้และจากแบบบันทึกกิจกรรม
3. ประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จากการทากิจกรรมของนักเรียน

การประเมินจากการทากิจกรรมที่ 2 การละลายเป็นอย่างไร
ระดับคะแนน
3 คะแนน หมายถึง ดี 2 คะแนน หมายถึง พอใช้ 1 คะแนน หมายถึง ควรปรับปรุง

รหัส สิ่งที่ประเมิน ระดับคะแนน


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
S1 การสังเกต
S5 การหาความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งสเปซ
กับสเปซ
S8 การลงความเห็นจากข้อมูล
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
C4 การสื่อสาร
C5 ความร่วมมือ
C6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการ
สื่อสาร

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


261 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

ตาราง แสดงการวิเคราะห์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามระดับความสามารถของนักเรียน
โดยอาจใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี
ทักษะ ระดับความสามารถ
กระบวนการทาง รายการประเมิน
วิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
S1 การสังเกต การบรรยาย สามารถใช้ประสาทสัมผัส สามารถใช้ประสาท สามารถใช้ประสาท
รายละเอียด เก็บรายละเอียดของสิ่งที่ สัมผัสเก็บรายละเอียด สัมผัสเก็บ
เกี่ยวกับการ เกิดขึนขึนกับสารต่าง ๆ ของสิ่งที่เกิดขึนขึนกับ รายละเอียดของสิ่ง
เปลี่ยนแปลงที่เกิด เมือ่ เติมนา สิ่งที่ควร สารต่าง ๆ เมื่อเติมนา ที่เกิดขึนขึนกับสาร
ขึนกับสารต่าง ๆ สังเกตได้คือลักษณะของ สิ่งที่ควรสังเกตได้คือ ต่าง ๆ เมื่อเติมนา
เมื่อเติมนา สิ่งที่ สารชนิดต่างๆ ทังก่อน ลักษณะของสารชนิด สิ่งที่ควรสังเกตได้
ควรสังเกตได้คือ และหลังเติมนา เช่น สี ต่างๆ ทังก่อนและหลัง คือลักษณะของสาร
ลักษณะของสาร ขนาด บริเวณหรือ เติมนา เช่น สี ขนาด ชนิดต่างๆ ทังก่อน
ชนิดต่างๆ ทังก่อน ตาแหน่งที่สารปรากฏใน บริเวณหรือตาแหน่งที่ และหลังเติมนา
และหลังเติมนา ภาชนะและลักษณะ สารปรากฏในภาชนะ เช่น สี ขนาด
เช่น สี ขนาด เนือสารได้ครบถ้วนด้วย และลักษณะเนือสารได้ บริเวณหรือ
บริเวณหรือ ตัวเอง โดยไม่เพิ่มความ ครบถ้วน โดยอาศัยการ ตาแหน่งที่สาร
ตาแหน่งที่สาร คิดเห็น ชีแนะของครูหรือผู้อื่น ปรากฏในภาชนะ
ปรากฏในภาชนะ และลักษณะ
และลักษณะเนือ เนือสารได้ไม่
สาร ครบถ้วน แม้ว่าจะ
ได้รับการชีแนะจาก
ครูหรือผู้อื่น

S5 การหา การบรรยาย สามารถบรรยายการ สามารถบรรยายการ สามารถบรรยาย


ความสัมพันธ์ ลักษณะการ ครอบครองพืนที่ของสาร ครอบครองพืนที่ของสาร การครอบครอง
ระหว่างสเปซ ครอบครองพืนที่ ต่าง ๆ หลังเติมนาได้แก่ ต่าง ๆ หลังเติมนาได้แก่ พืนที่ของสารต่าง ๆ
กับสเปซ
ของสารต่าง ๆ เมื่อเติมนาและคนสาร เมื่อเติมนาและคนสาร หลังเติมนา ได้แก่
เมื่อเติมนา ได้แก่ พบว่า พบว่า เมื่อเติมนาและคน
เมื่อเติมนาและคน -แป้งมันจะลอยอยู่ในนา -แป้งมันจะลอยอยู่ในนา สารพบว่า
สารพบว่า -พิมเสนบางส่วนลอยอยู่ -พิมเสนบางส่วนลอยอยู่ -แป้งมันจะลอยอยู่
-แป้งมันจะลอยอยู่ ผิวนาบางส่วนจมที่ก้น ผิวนาบางส่วนจมที่ก้น ในนา
ในนา ภาชนะ ภาชนะ -พิมเสนบางส่วน
-พิมเสนบางส่วน -นาตาลทรายค่อย ๆ มี -นาตาลทรายค่อย ๆ มี ลอยอยู่ผิวนา
ลอยอยู่ผิวนา ปริมาณลดลงและหายไป ปริมาณลดลงและหายไป บางส่วนจมที่ก้น
ในนา ในนา ภาชนะ

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 262

ทักษะ ระดับความสามารถ
กระบวนการทาง รายการประเมิน
วิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
บางส่วนจมที่ก้น -นามันพืชจะรวมกันอยู่ -นามันพืชจะรวมกันอยู่ -นาตาลทรายค่อย
ภาชนะ เป็นชันเหนือผิวนา เป็นชันเหนือผิวนา ๆ มีปริมาณลดลง
-นาตาลทรายค่อยๆ -เอทานอลหายไปในนา -เอทานอลหายไปในนา และหายไปในนา
มีปริมาณลดลงและ ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน -นามันพืชจะ
หายไปในนา ได้ด้วยตัวเอง โดยอาศัยการชีแนะของ รวมกันอยู่เป็นชัน
-นามันพืชจะ ครูหรือผู้อื่น เหนือผิวนา
รวมกันอยู่เป็นชัน -เอทานอลหายไป
เหนือผิวนา ในนา
-เอทานอลหายไป ได้ไม่ครบถ้วน
ในนา แม้ว่าจะได้รับการ
ชีแนะจากครูหรือ
ผู้อื่น
S8 การลง การนาข้อมูลที่ได้ นาข้อมูลที่รวบรวมได้จาก นาข้อมูลที่รวบรวมได้ นาข้อมูลที่รวบรวม
ความเห็นจาก จากการสังเกตการ การสังเกตการ จากการสังเกตการ ได้จากการสังเกต
ข้อมูล เปลี่ยนแปลงของ เปลี่ยนแปลงของสาร เปลี่ยนแปลงของสาร การเปลี่ยนแปลง
สารต่าง ๆ เมื่อ ต่างๆ เมื่อผสมกับนามา ต่างๆ เมื่อผสมกับนามา ของสารต่างๆ เมื่อ
ผสมกับนามาลง ลงความเห็นได้ว่าถ้าผสม ลงความเห็นได้ว่าถ้าผสม ผสมกับนามาลง
ความเห็นการ สารกับนาแล้วมองเห็น สารกับนาแล้วมองเห็น ความเห็นได้ว่าถ้า
ละลายของสาร เป็นเนือเดียวกันเกิด เป็นเนือเดียวกันเกิด ผสมสารกับนาแล้ว
โดยลงความเห็นได้ การละลาย สารที่ได้ การละลาย สารที่ได้ มองเห็นเป็นเนือ
ว่าถ้าผสมสารกับ เรียกว่า สารละลาย เรียกว่า สารละลาย เดียวกันเกิด
นาแล้วมองเห็น ถ้าผสมสารกับนามองเห็น ถ้าผสมสารกับนา การละลาย สารที่ได้
เป็นเนือเดียวกัน ไม่เป็นเนือเดียวกัน สารที่ มองเห็นไม่เป็นเนือ เรียกว่า สารละลาย
เกิดการละลาย ได้เรียกว่าสารเนือผสม เดียวกัน สารที่ได้เรียกว่า ถ้าผสมสารกับนา
สารที่ได้เรียกว่า ได้ถูกต้องครบถ้วนได้ด้วย สารเนือผสม มองเห็นไม่เป็นเนือ
สารละลาย ตนเอง ได้ถูกต้องครบถ้วนโดย เดียวกัน สารที่ได้
ถ้าผสมสารกับนา อาศัยการชีแนะของครู เรียกว่าสารเนือผสม
มองเห็นไม่เป็นเนือ หรือผู้อื่น ได้ถูกต้องแต่ไม่
เดียวกัน สารที่ได้ ครบถ้วน แม้ว่าจะ
เรียกว่าสารเนือ ได้รับการชีแนะจาก
ผสม ครูหรือผู้อื่น

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


263 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

ทักษะ ระดับความสามารถ
กระบวนการทาง รายการประเมิน
วิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
S13 การตีความหมาย ตีความหมาย สามารถตีความหมาย สามารถตีความหมาย สามารถ
ข้อมูลและลงข้อสรุป ข้อมูลจากการ ข้อมูลจากการสังเกตการ ข้อมูลจากการสังเกตการ ตีความหมายข้อมูล
สังเกตการ เปลี่ยนแปลงของสารต่าง เปลี่ยนแปลงของสารต่าง จากการสังเกตการ
เปลี่ยนแปลงของ ๆ เมื่อผสมกับนาได้ว่า ๆ เมื่อผสมกับนาได้ว่า เปลี่ยนแปลงของ
สารต่าง ๆ เมื่อ -สารบางชนิดรวมตัวเป็น -สารบางชนิดรวมตัวเป็น สารต่าง ๆ เมื่อผสม
ผสมกับนาได้ว่า เนือเดียวกับนาได้โดยไม่ เนือเดียวกับนาได้โดยไม่ กับนาได้ว่า
-สารบางชนิด เกิดเป็นสารใหม่ เรียกว่า เกิดเป็นสารใหม่ -สารบางชนิด
รวมตัวเป็นเนือ เกิดการละลาย สารที่ได้ เรียกว่าเกิดการละลาย รวมตัวเป็นเนือ
เดียวกับนาได้โดย เป็นสารละลาย สารที่ได้เป็นสารละลาย เดียวกับนาได้โดยไม่
ไม่เกิดเป็นสารใหม่ -สารบางชนิดไม่รวมตัว -สารบางชนิดไม่รวมตัว เกิดเป็นสารใหม่
เรียกว่าเกิด เป็นเนือเดียวกับนา เป็นเนือเดียวกับนา เรียกว่าเกิด
การละลาย สารที่ เรียกว่าไม่เกิดการละลาย เรียกว่าไม่เกิด การละลาย สารที่ได้
ได้เป็นสารละลาย และสารที่ได้เป็น การละลาย และสารที่ได้ เป็นสารละลาย
-สารบางชนิดไม่ สารเนือผสมได้ถูกต้อง เป็นสารเนือผสมได้ -สารบางชนิดไม่
รวมตัวเป็นเนือ ครบถ้วนด้วยตัวเอง ถูกต้อง ครบถ้วนโดย รวมตัวเป็นเนือ
เดียวกับนา อาศัยการชีแนะของครู เดียวกับนา เรียกว่า
เรียกว่าไม่เกิด หรือผู้อื่น ไม่เกิดการละลาย
การละลาย และ และสารที่ได้เป็น
สารที่ได้เป็น สารเนือผสมได้
สารเนือผสม ถูกต้อง แต่ไม่
ครบถ้วนแม้ว่าจะ
ได้รับการชีแนะจาก
ครูหรือผู้อื่น

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 264

ตาราง แสดงการวิเคราะห์ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ตามระดับความสามารถของนักเรียน


โดยอาจใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี
ทักษะแห่ง รายการประเมิน ระดับความสามารถ
ศตวรรษที่ 21 ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
C4 การสื่อสาร การนาเสนอข้อมูล นาเสนอข้อมูลจากการ นาเสนอข้อมูลจากการ นาเสนอข้อมูลจากการ
จากการสังเกตการ สังเกตการเปลี่ยนแปลง สังเกตการเปลี่ยนแปลงของ สังเกตการเปลี่ยนแปลง
เปลี่ยนแปลงของ ของสารเมื่อผสมนาให้ สารเมื่อผสมนา ให้ผู้อื่น ของสารเมื่อผสมนาให้
สารเมื่อเติมนาใน ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง เข้าใจได้ถูกต้อง ชัดเจนโดย ผู้อื่นเข้าใจแต่ไม่ชัดเจน
รูปแบบภาพวาด ชัดเจนได้ด้วยตนเอง อาศัยการชีแนะของครูหรือ แม้ว่าจะได้รับการชีแนะ
หรือบรรยาย ผู้อื่น จากครูหรือผู้อื่น
C5 ความ การทางานร่วมมือ ทางานร่วมกับผู้อื่น ทางานร่วมกับผู้อื่นรวมทัง ทางานร่วมกับผู้อื่นได้
ร่วมมือ กับผู้อื่นในการ รวมทังยอมรับฟังความ ยอมรับฟังความคิดเห็นของ บ้างแต่ไม่แสดงความ
สังเกต คิดเห็นของผู้อื่นอย่าง ผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในการ คิดเห็น แม้ว่าจะได้รับคา
การเปลี่ยนแปลง สร้างสรรค์ในการทา ทากิจกรรมเป็นบางครังทังนี ชีแนะจากครูหรือผู้อื่น
ของสารเมื่อเติมนา กิจกรรมตังแต่เริ่มต้นจน ต้องอาศัยการกระตุ้นจากครู
รวมทังการยอมรับ เสร็จสินกิจกรรม หรือผู้อื่น
ความคิดเห็นของ
ผู้อื่น
C6 การใช้ การใช้อินเทอร์เนต ใช้อินเทอร์เนตสืบค้น ใช้อินเทอร์เนตสืบค้นการ ใช้อินเทอร์เนตสืบค้น
เทคโนโลยี เพื่อสืบค้นการ การละลายของสารในนา ละลายของสารในนาจาก การละลายของสารใน
สารสนเทศ ละลายของ จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือ แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ นาจากแหล่งข้อมูลที่
สารในนาจาก ได้รวมทังบันทึก รวมทังบันทึกแหล่งข้อมูลที่ เชื่อถือได้รวมทังบันทึก
แหล่งข้อมูลที่ แหล่งข้อมูลที่สืบค้นได้ สืบค้นได้ครบถ้วน จากการ แหล่งข้อมูลที่สืบค้นได้
เชื่อถือได้รวมทัง ครบถ้วนด้วยตนเอง ชีแนะของครูหรือผู้อื่น ไม่ครบถ้วนแม้ว่าจะได้
บันทึกแหล่งข้อมูล รับคาชีแนะจากครูหรือ
ที่สืบค้น ผู้อื่น

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


265 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

กิจกรรมท้ายบทที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ (1 ชั่วโมง)


1. นักเรียนวาดรูปหรือเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากบทนี ในแบบบันทึก
กิจกรรม หน้า 106
2. นักเรียนตรวจสอบการสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ของตนเองโดยเปรียบเทียบกับ
ผังมโนทัศน์ในหัวข้อ รู้อะไรในบทนี้ ในหนังสือเรียน หน้า 100
3. นักเรียนกลับไปตรวจคาตอบของตนเองในสารวจความรู้ก่อนเรียน ใน
แบบบันทึกกิจกรรม หน้า 82-84 อีกครัง ถ้าคาตอบของนักเรียนไม่
ถูกต้องให้ ขีดเส้นทับข้อความเหล่านัน แล้วแก้ไขให้ถูกต้อง หรืออาจ
แก้ไขคาตอบด้วยปากกาที่มีสีต่างจากเดิม นอกจากนีครูอาจนาคาถาม
ในรูปนาบทในหนังสือเรียน หน้า 76 มาร่วมกันอภิปรายคาตอบอีกครัง
ดังนี
การทาไอศกรีมเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนสถานะและการละลายอย่างไร
ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายแนวทางการตอบคาถาม เช่น ส่วนผสม
ของไอศกรีมเปลี่ยนจากของเหลวเป็นของแข็งเรียกว่าการแข็งตัว เมื่อ
นานาตาลผสมกับนมซึ่งมีนาเป็นส่วนประกอบ นาตาลจะละลายในนา
4. นักเรียนทา แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
แล้วนาเสนอคาตอบหน้าชันเรียน ถ้าคาตอบยัง ไม่ถูกต้องครู ควรนา
อภิปรายหรือให้สถานการณ์เพิ่มเติมเพื่อแก้ไขแนวคิดคลาดเคลื่อนให้
ถูกต้อง
5. นักเรียนร่วมกันทากิจกรรม ร่วมคิดร่วมทา โดยร่วมกันสารวจรสชาติของนา
ผลไม้ที่เพื่อนชอบมากที่สุดแล้วทาเกล็ดนาแข็งจากนาผลไม้รสชาติที่เพื่อน ๆ
ชอบ

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 266

รูปหรือข้อความสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากบทนี้ตามความเข้าใจของนักเรียน

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


267 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

แก้วใบที่ 1 2 3 4

แก้วใบที่ 5 6

2.0 กรัม เนื่องจากสารผสมที่ได้ยังคงเป็นของเหลวใสแสดงว่า สาร A


ละลายได้หมด

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 268

ไอโอดีนในรูป ข เปลี่ยนจากของแข็งเป็นแก๊ส เรียกว่าการระเหิด และ ไอโอดีนใน


รูป ค เปลี่ยนจาก แก๊ส เป็นของแข็ง เรียกว่า การระเหิดกลับ

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


269 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

เป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยังคงเป็นสารเดิม
แต่สถานะเปลี่ยนไป

แตกต่างกัน สิ่งที่แตกต่างกันคือ การใส่เกลือลงในน้า เกิดการละลาย สารที่ได้เป็น


สารละลาย ส่วนน้าแข็งในแก้วน้า น้าแข็งเกิดการหลอมเหลว สารที่ได้คือน้า
ไม่ใช่สารละลาย

มีการเปลี่ยนสถานะ 2 ช่วงคือช่วงที่นาเศษเทียนและขี้ผึ้งมาให้ความร้อน
เศษเทียนและขึ้ผึ้งซึ่งเป็นของแข็งเปลี่ยนเป็นของเหลว เรียกการ
เปลี่ยนแปลงนี้ว่าการหลอมเหลว และช่วงที่นาของเหลวมาเทลงในแบบพิมพ์
รูปทรงต่าง ๆ แล้วปล่อยให้เย็น ของเหลวเปลี่ยนเป็นของแข็งรูปทรงต่าง ๆ
เรียกการเปลี่ยนแปลงนี้ว่าการแข็งตัว

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 270

ช่วงที่นาขวดใส่น้าครึ่งขวดไปวางกลางแดด น้าได้รับความร้อนจะระเหยเป็นไอน้า
เรียกการเปลี่ยนแปลงจากน้าเป็นไอน้านี้ว่า การกลายเป็นไอ และช่วงที่มีหยดน้า
เกาะที่ผิวด้านในของขวดซึ่งเกิดจากไอน้าเปลี่ยนเป็นน้า เรียกการเปลี่ยนแปลงนี้
ว่า การควบแน่น

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


271 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 272

บทที่ 2 การเปลี่ยนแปลงทางเคมี
จุดประสงค์การเรียนรู้ประจาบท
เมื่อเรียนจบบทนี นักเรียนสามารถ
วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสารและระบุการเปลี่ยนแปลงทาง
เคมีของสาร
เวลา 5 ชั่วโมง
แนวคิดสาคัญ
การเปลี่ยนแปลงของสารที่มีสารใหม่เกิดขึนเป็นการ
เปลี่ยนแปลงทางเคมี อาจสังเกตได้จากการที่สารมีสี มีกลิ่นแตกต่างจาก
สารเดิม มีฟองแก๊ส มีตะกอนเกิดขึน หรือมีอุณหภูมิเพิ่มขึน หรือลดลง
สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
1. หนังสือเรียน ป. 5 เล่ม 1 หน้า 106-120
2. แบบบันทึกกิจกรรม ป. 5 เล่ม 1 หน้า 114-130

บทนี้มีอะไร
เรื่องที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางเคมี
คาสาคัญ การเปลี่ยนแปลงทางเคมี (chemical change)
กิจกรรมที่ 1.1 การเปลี่ยนแปลงทางเคมีคืออะไร
กิจกรรมที่ 1.2 รู้ได้อย่างไรว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


273 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
กิจกรรมที่
รหัส ทักษะ
1.1 1.2
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
S1 การสังเกต  
S2 การวัด 
S3 การใช้จานวน
S4 การจาแนกประเภท
S5 การหาความสัมพันธ์ระหว่าง
 สเปซกับสเปซ 
 สเปซกับเวลา
S6 การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
S7 การพยากรณ์
S8 การลงความเห็นจากข้อมูล  
S9 การตังสมมติฐาน
S10 การกาหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
S11 การกาหนดและควบคุมตัวแปร
S12 การทดลอง
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป  
S14 การสร้างแบบจาลอง
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
C1 การสร้างสรรค์
C2 การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
C3 การแก้ปัญหา
C4 การสื่อสาร  
C5 ความร่วมมือ  
C6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
หมายเหตุ : รหัสทักษะที่ปรากฏนีใช้เฉพาะในคู่มือครูเล่มนี

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 274

แนวคิดคลาดเคลื่อน
แนวคิดคลาดเคลื่อนที่อาจพบและแนวคิดที่ถูกต้องในบทที่ 2 การเปลี่ยนแปลงทางเคมี มีดังต่อไปนี

แนวคิดคลาดเคลื่อน แนวคิดที่ถูกต้อง
เมื่อเกิดสีและฟองแก๊สจะมีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเกิดขึนเสมอ บางครั งการเปลี่ ย นแปลงที่ ท าให้ เ กิ ด สี หรื อ ฟองแก๊ ส ก็ ไ ม่ ใ ช่ ก าร
(Driver, 2000) เปลี่ยนแปลงทางเคมี เช่น การนาสี 2 สีมาผสมกัน การต้มนาจนเดือด
ล้ ว นเป็ น การเปลี่ ย นแปลงทางกายภาพเพราะไม่ มี ส ารใหม่ เ กิ ด ขึ น
(Driver, 2000)

ถ้าครูพบว่ามีแนวคิดคลาดเคลื่อนในประเด็นใดที่ยังไม่ได้แก้ไขจากการทากิจกรรมการเรียนรู้ ครูควรจัดการเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อ
แก้ไขแนวคิดคลาดเคลื่อนให้ถูกต้อง

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


275 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

บทนี้เริ่มต้นอย่างไร (1 ชั่วโมง)
1. ครูทบทวนความรู้พืนฐานของนักเรียนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของ
สารโดยอาจใช้คาถามดังนี
1.1สารมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง (สารมีการเปลี่ยนสถานะและ ค รู รั บ ฟั ง เ ห ตุ ผ ล ข อ ง
การละลาย) นั ก เรี ย นเป็ น ส าคั ญ ครู ยั ง ไม่
1.2 การเปลี่ ยนสถานะและการละลายเป็นการเปลี่ยนแปลงทาง เฉลยคาตอบใด ๆ แต่ชักชวนให้
กายภาพ เพราะเหตุ ใ ด (เป็ น การเปลี่ ย นแปลงทางกายภาพ หาคาตอบที่ถูกต้องจากกิจกรรม
เพราะสารก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงยังคงเป็นสารเดิม) ต่าง ๆ ในบทเรียนนี
1.3 การเปลี่ยนแปลงใดบ้างที่เกิดสารใหม่ ให้ยกตัวอย่าง และเป็น
การเปลี่ยนแปลงประเภทใด (นักเรียนตอบตามความเข้าใจ)
2. ครูชักชวนนักเรียนศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารโดย
นั ก เรี ย นอ่ า นชื่ อ หน่ ว ย และ อ่ า น ชื่ อ บท และจุ ด ประสงค์ ก าร
เรียนรู้ประจาบท ในหนังสือเรียนหน้า 105 จากนันครูใช้คาถาม
ดังนี
2.1 บทนีจะเรียนเรื่องอะไร (การเปลี่ยนแปลงทางเคมี)
2.2 จากจุดประสงค์การเรียนรู้ เมื่อจบบทเรียนนักเรียนจะสามารถ
ทาอะไรได้บ้าง (วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสารและระบุ
การเปลี่ยนแปลงทางเคมี)
3. นั ก เรี ย นอ่ า นชื่ อ บทและแนวคิ ด ส าคัญ ในหนั ง สื อ เรี ย นหน้า 106 การเตรียมตัวล่วงหน้าสาหรับครู
จากนันครูซักถามนักเรียนว่าจากการอ่านแนวคิดสาคัญ นักเรียนคิด เพื่อจัดการเรียนรู้ในครั้งถัดไป
ว่าจะได้ เรียนเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง (ในบทนีจะเรียนเกี่ยวกับ การ
เปลี่ยนแปลงทางเคมีและสิ่งที่บ่งบอกว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี)
ในครังถัดไป นักเรียนจะได้อ่าน
4. ครูชักชวนให้นักเรียนสังเกตรูป และอ่านเนือเรื่องในหน้า 106 โดยครู
เรื่องที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางเคมี ครู
ฝึกทักษะการอ่านตามวิธีการอ่านที่ เหมาะสมกับ ความสามารถของ
อาจเตรียมคลิปการย่างเนือหรือปิ้งอาหาร
นั ก เรี ย น ครู ต รวจสอบความเข้ า ใจจากการอ่ า น โดยใช้ ค าถาม
ตัวอย่างเช่น
ดังต่อไปนี
https://www.youtube.com/watch?v
4.1 จากเรื่องที่อ่านกล่าวถึงอะไร (การจุดโคมลอย)
=iJHtFHWBSpE และเตรียมภาพเพื่อใช้
4.2 โคมลอยมีส่วนประกอบอะไรบ้าง (ตัวโคมและเชือเพลิง)
ตรวจสอบความรู้นักเรียนเกี่ยวกับการ
4.3 เมื่ อ จุ ด ไฟที่ เ ชื อเพลิ ง เกิ ด การเปลี่ ย นแปลงอย่ า งไรบ้ า ง (เกิ ด
เปลี่ยนแปลงทางเคมี เช่น ภาพผลไม้สุก
เปลวไฟ เขม่า และควัน)
การต้มนา การเกิดสนิม การเกิดหมอก
4.4 การจุดโคมลอย มีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเกิดขึนหรือไม่ และ
การเปลี่ยนแปลงทางเคมีเป็น อย่างไร (นักเรียนตอบตามความ
เข้าใจ)
5. ครูชักชวนนักเรียนตอบคาถามเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเคมีใน
สารวจความรู้ก่อนเรียน
6. นักเรียนทากิจกรรมสารวจความรู้ก่อนเรียน ในแบบบันทึกกิจกรรม
หน้า 114-115 โดยนักเรียนอ่านคาถามแต่ละข้อ ครูตรวจสอบความ
เข้าใจของนักเรียนจนแน่ใจว่านักเรียนสามารถทาได้ด้วยตนเอง จึงให้

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 276

นักเรียนตอบคาถาม โดยคาตอบของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน และ


คาตอบอาจถูกหรือผิดก็ได้
7. ครู สั งเกตการตอบคาถามของนักเรียนเพื่อ ตรวจสอบว่านักเรียนมี
แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเคมี อย่างไรบ้าง หรืออาจสุ่มให้
นักเรียน 2 – 3 คน นาเสนอคาตอบของตนเอง โดยครูยังไม่ต้องเฉลย
คาตอบ แต่จะให้นักเรียนย้อนกลับมาตรวจสอบอีกครังหลังเรียนจบ
บทนี แล้ ว ทั งนี ครู อ าจบั น ทึ ก แนวคิ ด คลาดเคลื่ อ นหรื อ แนวคิ ด ที่
น่าสนใจของนักเรียน แล้วนามาออกแบบการจัดการเรียนการสอน
เพื่ อ แก้ ไ ขแนวคิ ด คลาดเคลื่ อ นให้ ถู ก ต้ อ ง และต่ อ ยอดแนวคิ ด ที่
น่าสนใจของนักเรียน

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


277 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

แนวคาตอบในแบบบันทึกกิจกรรม
การสารวจความรู้ก่อนเรียน นักเรียนอาจตอบคาถามถูกหรือผิดก็ได้ขึนอยู่กับความรู้เดิมของนักเรียน
แต่เมื่อเรียนจบบทเรียนแล้ว ให้นักเรียนกลับมาตรวจคาตอบอีกครังและแก้ไขให้ถูกต้อง ดังตัวอย่าง


มีสารใหม่เกิดขึ้น คือไม้
เปลี่ยนเป็นสีดาและมี
ควันเกิดขึ้นด้วย


มีสารใหม่เกิดขึ้นคือ
ไข่สุกซึ่งเปลี่ยนมา
จากไข่ดิบ

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 278


ไม่มีสารใหม่เกิดขึ้น น้า
เดือดเป็นการเปลี่ยน
สถานะจากของเหลว
เป็นแก๊สโดยยังเป็น
สารเดิม


มีสารใหม่เกิดขึ้นคือ
น้าตาลซึ่งเปลี่ยนมาจาก
แป้ง



ไม่มีสารใหม่เกิดขึ้น
ช็อกโกแลตเยิ้มเป็นการเปลี่ยน
สถานะจากของแข็งเป็น
ของเหลวโดยยังคงเป็นสารเดิม

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


279 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

เรื่องที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางเคมี
ในเรื่องนีนักเรียนจะได้เรียนรู้ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทาง
เคมี
จุดประสงค์การเรียนรู้
วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสารและระบุการเปลี่ยนแปลงทาง
เคมี
เวลา 3 ชั่วโมง
วัสดุ อุปกรณ์สาหรับทากิจกรรม
นาตาลทราย เกลื อแกง ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์ ไม้ ขี ด ไฟ
กระป๋ อ งทรายส าหรั บ ดั บ ไฟ จานหลุ ม โลหะ ช้ อ น น า
น าปู น ใส บี ก เกอร์ ปู น ขาว ผงฟู สารละลาย ผ ง ฟู
แอมโมเนี ย มคลอไรด์ น าส้ ม สายชู แก้ ว น าพลาสติ ก
ขวดแก้วปากแคบ แท่งแก้วคน ช้อนตักสารเบอร์ 2 ลูกโป่ง
กระบอกตวงหรือหลอดฉีดยา

สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
1. หนังสือเรียน ป.5 เล่ม 1 หน้า 108-120
2. แบบบันทึกกิจกรรม ป.5 เล่ม 1 หน้า 116-130

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 280

แนวการจัดการเรียนรู้ (50 นาที)


ขั้นตรวจสอบความรู้ (10 นาที)

1. ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพว่าหมายถึง
อะไร และให้ยกตัวอย่างปรากฏการณ์หรือสถานการณ์ที่เป็น การ
เปลี่ยนแปลงทางกายภาพ (การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพหมายถึง ในการตรวจสอบความรู้ ครู
การเปลี่ยนแปลงของสารเมื่อสารเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วยังคงเป็น เพียงรับฟังเหตุผลของนักเรียน
สารเดิมไม่มีสารใหม่เกิดขึนแต่เปลี่ยนสถานะหรือเกิดการละลาย เป็ น ส าคั ญ และยั ง ไม่ เ ฉลย
ตัวอย่างเช่น นาแข็งหลอมเหลวเป็นนาและนาเดือดเป็นไอซึ่งนาแข็ง คาตอบใด ๆ ให้กับนักเรียน แต่
นาและไอนาเป็นนาเป็นสารเดียวกันคือนา พิมเสนระเหิดเป็น ไอ ชักชวนนักเรียน ไปหาคาตอบที่
ของพิ ม เสนซึ่ ง เป็ น พิ ม เสนเหมื อ นกั น น าผลไม้ แ ข็ ง ตั ว เป็ น เกล็ ด ถูกต้องจากการอ่านเนือเรื่อง
นาแข็งซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกัน นาตาลละลายในนาได้สารละลาย
นาตาลซึง่ ในสารละลายนาตาลยังเป็นนาตาลและนาเหมือนเดิม)
2. ครูเขียนคาว่า การเปลี่ยนแปลงทางเคมี บนกระดาน แล้วให้นักเรียน
ร่ ว มกั น อภิ ป รายว่ า การเปลี่ ย นแปลงทางเคมี ห มายถึ ง อะไร
ชีวิตประจาวัน ของเรามีอะไรบ้างที่ เป็นการเปลี่ ยนแปลงทางเคมี
จากนันครูให้นักเรียนดูภาพสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ผลไม้สุก การต้ม
น า การเกิ ด สนิ ม การเกิ ด หมอก การเติ ม น าลงในน าหวานแล้ ว
อภิปรายและจาแนกว่า อะไรบ้างที่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
นักเรียนตอบคาถามตามความเข้าใจของตัวเอง จากนันครูชักชวน
นักเรียนว่า ต่อไปเราจะเรียนว่าการเปลี่ยนแปลงทางเคมีคืออะไร
และจะสังเกตได้อย่างไรว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเกิดขึน

ขั้นฝึกทักษะจากการอ่าน (30 นาที)


3. นักเรียนอ่านชื่อเรื่อง และคิดก่อนอ่าน ในหนังสือเรียนหน้า 108 แล้ว
ร่วมกันอภิปรายในกลุ่มเพื่อตอบคาถามตามความเข้าใจของกลุ่ม ครู
บั น ทึ ก ค าตอบของนั ก เรี ย นบนกระดานเพื่ อ ใช้ เ ปรี ย บเที ย บค าตอบ
ภายหลังการอ่านเนือเรื่อง
4. นักเรียนอ่านเนือเรื่องในหนังสือเรียนหน้า 108 โดยครูฝึกทักษะการอ่าน
ตามวิธีการอ่านที่เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียน ครูใช้คาถาม
เพื่อตรวจสอบความเข้าใจจากการอ่าน ดังนี
4.1 นาตาลเป็นสารที่ได้มาจากกระบวนการใดของพืช (กระบวนการ
สังเคราะห์ด้วยแสงของพืช)
4.2 ในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช มีสารใดบ้างทาปฏิกิริยากันและ
หลังปฏิกิริยามีสารใดเกิดขึนบ้าง (สารที่ทาปฏิกิริยากันคือนากับ

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


281 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

แก๊ ส คาร์ บ อนไดออกไซด์ โ ดยมี แ สงช่ ว ยการเกิ ด ปฏิ กิ ริ ย า หลั ง


ปฏิกิริยามีนาตาลกับแก๊สออกซิเจนเกิดขึน)
4.3 การเปลี่ยนแปลงทางเคมี มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง (การสังเคราะห์ การเตรียมตัวล่วงหน้าสาหรับครู
ด้วยแสง บางขันตอนของกระบวนการย่อยอาหาร เช่น การย่อย เพื่อจัดการเรียนรู้ในครั้งถัดไป
เนือสัตว์เป็นโปรตีน การเกิดสนิมเหล็ก การเกิดฝนกรด การสุก
ของอาหาร) ในครั งถั ด ไป นั ก เรี ย นจะได้ ท า
ขั้นสรุปจากการอ่าน (10 นาที) กิจกรรมที่ 1.1 การเปลี่ยนแปลงทางเคมี
คื อ อะไร ครู เ ตรี ย มถ้ ว ยกระเบื องทนไฟ
เพื่อใช้สาธิตหน้าชันเรียน
5. นักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่อ่านซึ่งควรสรุปได้ว่านาตาลที่พบในผลไม้เกิด
จากการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช เมื่อเรารับประทานผลไม้ นาตาลใน
ผลไม้จะผ่านการย่อยอาหารได้สารใหม่มีขนาดเล็กลง ร่างกายนามาใช้
ประโยชน์ ไ ด้ การสั ง เคราะห์ ด้ ว ยแสงและการย่ อ ยอาหารและการ
เปลี่ยนแปลงหลายอย่างรอบตัวเรา เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
6. นักเรียนตอบคาถามจากเรื่องที่อ่านใน รู้หรือยัง ในแบบบันทึกกิจกรรม
หน้า 116
7. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อเปรียบเทียบคาตอบของนักเรียนใน
รู้หรือยังกับคาตอบที่เคยตอบในคิดก่อนอ่าน
8. ครูชักชวนนักเรียนลองตอบคาถามท้ายเรื่องที่อ่าน ดังนี
8.1 การเปลี่ยนแปลงทางเคมีคืออะไร
8.2 รู้ได้อย่างไรว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
ครูบันทึกคาตอบของนักเรียนบนกระดาน โดยยังไม่เฉลยคาตอบแต่
ชักชวนให้นักเรียนหาคาตอบจากการทากิจกรรม

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 282

แนวคาตอบในแบบบันทึกกิจกรรม

การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช บางขั้นตอนของกระบวนการย่อยอาหาร
การเกิดสนิมเหล็ก การสุกของอาหาร การเกิดฝนกรด

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


283 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

กิจกรรมที่ 1.1 การเปลี่ยนแปลงทางเคมี


คืออะไร
กิจกรรมนีนักเรียนจะได้สังเกตและอธิบายการเปลี่ยนแปลงทาง
เคมีของสาร
เวลา 1 ชั่วโมง
จุดประสงค์การเรียนรู้
ทากิจกรรมนีเพื่อสังเกตและอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร
วัสดุ อุปกรณ์สาหรับทากิจกรรม
สิ่งที่ต้องเตรียม
สิ่งที่ครูต้องเตรียม/ห้อง
1. กระดาษ 1 แผ่น
2. ถ้วยกระเบืองทนไฟ 1 ใบ
สิ่งที่ครูต้องเตรียม/กลุ่ม
1. นาตาลทราย 1 ช้อนเบอร์ 2
2. เกลือแกง 1 ช้อนเบอร์ 2
3. จานหลุมโลหะ 1 อัน
4. ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์ 1 ชุด
5. ไม้ขีดไฟ 1 กลัก
6. ช้อนตักสาร เบอร์ 2 1 อัน ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
7. กระป๋องทรายสาหรับดับไฟ 1 กระป๋อง C4 การสื่อสาร
สิ่งที่ครูต้องเตรียม/คน C5 ความร่วมมือ
- สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
สิ่งที่นักเรียนต้องเตรียม/กลุม่ 1. หนังสือเรียน ป.5 เล่ม 1 หน้า 109-111
- 2. แบบบันทึกกิจกรรม ป.5 เล่ม 1 หน้า 117-119
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
S1 การสังเกต
S8 การลงความเห็นจากข้อมูล
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 284

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูทบทวนความรู้ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและการ
เปลี่ยนแปลงทางเคมี โดยให้นักเรียนสังเกตรูปนาที่กาลังเดือดใน
หม้อหรือกาต้มนา และใช้คาถามต่อไปนี
1.1 น าที่ ก าลั ง เดื อ ดมี ก ารเปลี่ ย นแปลงหรื อ ไม่ อย่ า งไร (มี ก าร
เปลี่ยนแปลงโดยมีฟองแก๊สเกิดขึน เกิดการเปลี่ยนสถานะจาก
ของเหลวเป็นแก๊ส)
1.2 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึนเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
หรือการเปลี่ยนแปลงทางเคมี อย่างไร (คาตอบขึนอยู่กับความ
เข้าใจของนักเรียนซึ่งควรตอบได้ว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงทาง
กายภาพ เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สารยังคงเป็นสารเดิม
คือจากนาที่เป็นของเหลวกลายเป็นไอนาซึ่งเป็นแก๊ส)
1.3 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพแตกต่างจากการเปลี่ยนแปลง
ทางเคมีห รือไม่ อย่างไร (คาตอบขึนอยู่กับ ความเข้าใจของ
นักเรียน)
1.4 การเปลี่ ย นแปลงใดบ้ า งเป็ น การเปลี่ ย นแปลงทางเคมี
ยกตัวอย่าง (คาตอบขึนอยู่กับความเข้าใจของนักเรียน)
2. นั ก เรี ย นอ่ า นชื่ อ กิ จ กรรม และ ท าเป็ น คิ ด เป็ น และร่ ว มกั น
อภิปรายเพื่อตรวจสอบความเข้าใจเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการทา
กิจกรรม โดยใช้คาถามดังต่อไปนี
2.1 กิ จ กรรมนี นั ก เรี ย นจะได้ เ รี ย นเกี่ ย วกั บ เรื่ อ งอะไร (การ
ในการตรวจสอบความรู้ ครู
เปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร)
เพียงรับฟังเหตุผลของนักเรียน
2.2 นักเรียนจะได้เรียนเรื่องนีด้วยวิธีใด (การสังเกต)
เป็ น ส าคั ญ และยั ง ไม่ เ ฉลย
2.3 เมื่ อ เรี ย นแล้ ว นั ก เรี ย นจะท าอะไรได้ (อธิ บ ายการ
คาตอบใด ๆ ให้กับนักเรียน แต่
เปลี่ยนแปลงทางเคมี)
ชักชวนนักเรียน ไปหาคาตอบที่
ให้นักเรียนบันทึกจุดประสงค์ของกิจกรรมในแบบบันทึกกิจกรรม
ถูกต้องจากกิจ กรรมต่า ง ๆ ใน
หน้า 117
บทเรียนนี
3. นั ก เรี ย นอ่ า นสิ่ ง ที่ ต้ อ งใช้ ใ นการท ากิ จ กรรม โดยครู น าวั ส ดุ
อุป กรณ์มาแสดงให้ นักเรียนดู ถ้านักเรียนไม่รู้จักวัส ดุอุป กรณ์
บางอย่าง เช่น จานหลุ มโลหะ ครูควรสาธิตวิธีการใช้อุป กรณ์
เพื่อให้นักเรียนใช้ได้อย่างถูกต้อง
4. นักเรียนอ่านทาอย่างไร ในหนังสือเรียนหน้า 109 โดยครูใช้วิธี ฝึก
การอ่ า นที่ เ หมาะสมกั บ ความสามารถของนั ก เรี ย น จากนั นครู
ตรวจสอบความเข้าใจเกี่ยวกับขันตอนการทากิจกรรมอ จนแน่ใจว่า
นักเรียนเข้าใจลาดับการทากิจกรรม โดยใช้คาถามดังนี
4.1 นักเรียนต้องสังเกตสารอะไรบ้าง (นาตาลทรายและเกลือแกง)

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


285 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

ครูให้นักเรียนดูวิธีการบันทึกผลในแบบบันทึกกิจกรรมหน้า 117 ตัวอย่างแผนผังแสดงขั้นตอน


4.2 นักเรียนต้องคาดคะเนอะไร (คาดคะเนว่าจะเกิดอะไรขึนเมื่อให้
ความร้อนแก่นาตาลทรายและเกลือแกง) สังเกตเกลือแกงและ
ครูให้นักเรียนดูวิธี บันทึกการคาดคะเนในแบบบันทึกกิจกรรมหน้า นาตาลทราย บันทึกผล
117
4.3 นักเรียนตรวจสอบการคาดคะเนด้วยวิธีการอย่างไร (ตักนาตาล
คาดคะเนผลที่เกิดขึนเมื่อ
ทรายและเกลือแกงใส่ลงในจานหลุมโลหะหลุมละ 1 ช้อนเบอร์
ให้ความร้อนแก่นาตาล
2 แล้วนาจานหลุมไปตังไฟให้ความร้อน สังเกตและบันทึกผล) ทรายและเกลือแกง
4.4 นักเรียนต้องสังเกตอะไร (การเปลี่ยนแปลงของนาตาลทราย
และเกลือแกงเมื่อนาจานหลุมโลหะไปให้ความร้อนด้วยตะเกียง
แอลกอฮอล์) ตักนาตาลทราย 1 ช้อน
ครูให้นักเรียนดูวิธีการบันทึกผลในแบบบันทึกกิจกรรมหน้า 117 เบอร์ 2 ลงในจานหลุม
5. ครูอาจฝึกให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนแผนผังแสดงขันตอนการทา โลหะ
กิจกรรม ดังตัวอย่างด้านขวามือ และสุ่มนักเรียนบางกลุ่มออกมา
นาเสนอแผนผังการทากิจกรรม
6. เมื่อนักเรียนเข้าใจวิธีทากิจกรรมในทาอย่างไร แล้วครูยาเรื่องความ ตักเกลือแกง 1 ช้อนบอร์
ปลอดภัยในการใช้ตะเกียงแอลกอฮอล์ จากนันครูให้นักเรียนรับ 2 ลงในจานหลุมโลหะอีก
อุปกรณ์แล้วเริ่มปฏิบัติกิจกรรมตามขันตอน 1 หลุม
7. หลั ง จากท ากิ จ กรรมแล้ ว ให้ นั ก เรี ย นเก็ บ อุ ป กรณ์ ใ ห้ เ รี ย บร้ อ ย
จากนันนักเรียนนาเสนอ โดยครูนาอภิปรายผลการทากิจกรรม โดย
ครูใช้คาถามดังนี นาจานหลุมไปตังไฟ
สังเกตและบันทึกผล
7.1 เมื่ อ ให้ ค วามร้ อ นแก่ น าตาลทรายและเกลื อ แกง ผลที่ ไ ด้
เหมือนกันหรือไม่ อย่างไร (เมื่อนานาตาลทรายและเกลือ แกง
ไปให้ความร้อนผลที่ได้แตกต่างกัน เกลือ แกงยังคงเป็นเกล็ดสี ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะ
ขาวเหมือนเดิม ส่วนนาตาลทรายจะเปลี่ยนเป็นสีนาตาลจนดา แห่งศตวรรษที่ 21 ที่นักเรียนจะได้ฝึกจากการ
ไหม้และมีกลิ่นไหม้) ทากิจกรรม
7.2 การเปลี่ยนแปลงของนาตาลทรายเป็นการเปลี่ยนแปลงทาง
S1 การสังเกตลักษณะของสารก่อนและ
กายภาพหรือไม่ เพราะเหตุใด (การเปลี่ยนแปลงของนาตาล
หลังให้ความร้อนและการเปลี่ยนแปลงที่
ทรายไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพเพราะหลังจากเผา
เกิดขึนขณะให้ความร้อน
น าตาลทรายที่ มี สี ข าวเปลี่ ย นเป็ น สี ด าและมี ก ลิ่ น ไหม้
S8 การลงความเห็นจากข้อมูลจากการ
ลักษณะและสมบัตไิ ม่เหมือนเดิม)
สังเกตลักษณะของสารว่าเกิดการ
8. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่าการให้ความร้อนหรือเผานาตาลทราย ทา
เปลี่ยนแปลงทางเคมีหรือไม่ อย่างไร
ให้ น าตาลทรายเปลี่ ย นเป็ น สารใหม่ ซึ่ ง มี ลั ก ษณะและสมบั ติ ไ ม่ C4 การสื่อสารจากการพูด เขียนบรรยาย
เหมื อ นเดิ ม การเปลี่ ย นแปลงที่ ไ ด้ ส ารใหม่ นี เรี ย กว่ า การ การเปลี่ยนแปลงเมื่อให้ความร้อนแก่สาร
เปลี่ยนแปลงทางเคมี C5 ความร่วมมือจากการทางานร่วมกันใน
กลุ่ม

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 286

9. รูอภิปรายร่วมกับนักเรียนเกี่ยวกับผลที่สังเกตได้จากการเผาเกลือ
แกงว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมีห รือไม่ เพราะเหตุใด (การ
เปลี่ยนแปลงของเกลือแกงไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงทางเคมีแต่เป็น
การเปลี่ ย นแปลงทางกายภาพเพราะเกลื อแกงเมื่ อ ถู ก เผา การเตรียมตัวล่วงหน้าสาหรับครู
เกลื อ แกงยั ง เป็ น สารเดิ ม แต่ ที่ เ ห็ น เป็ น ผงเพราะความชื นใน เพื่อจัดการเรียนรู้ในครั้งถัดไป
เกลือแกงระเหยไปเมื่อเกลือ แกงได้รับความร้อนเป็นเวลานาน ๆ
การแห้งของเกลือแกงจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ) ในครังถัดไป นักเรียนจะได้ทา
10. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและลงข้อสรุปว่าสารบางชนิด กิจกรรมที่ 1.2 รู้ได้อย่างไรว่ามีการ
เมื่ อ เกิ ด การเปลี่ ย นแปลงทางเคมี จ ะได้ ส ารใหม่ ที่ มี ส มบั ติ เปลี่ยนแปลงทางเคมี ครูเตรียมนาปูนใส
แตกต่างจากสารเดิม (S13) และสารละลายผงฟูดังนี
11. นักเรียนร่วมกันอภิปรายคาตอบใน ฉันรู้อะไร โดยครูอาจใช้คาถาม - นาปูนใส ใช้ปูนกินหมาก 2-3 ช้อนและนา
เพิ่มเติมในการอภิปรายเพื่อให้ได้แนวคาตอบที่ถูกต้อง สะอาด ประมาณ 200 cm3 ผสมสารเข้า
12. นักเรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในกิจกรรมนี จากนันนักเรียนอ่าน ด้วยกันในขวด ปิดฝาให้แน่น เขย่าให้เข้า
สิ่งที่ได้เรียนรู้ และเปรียบเทียบกับข้อสรุปของตนเอง กัน วางไว้ให้ตกตะกอน กรองเอาเฉพาะ
13. ครูกระตุ้นให้ นักเรียนฝึกตังคาถามเกี่ยวกับเรื่องที่สงสัยหรืออยากรู้ ส่วนที่เป็นของเหลวใสโดยใช้กระดาษกรอง
เพิ่มเติมใน อยากรู้อีกว่า จากนันครูอาจสุ่มนักเรียน 2 -3 คน นาเสนอ เก็บของเหลวที่กรองได้ในภาชนะที่แห้ง
ค าถามของตนเองหน้ า ชั นเรี ย น และให้ นั ก เรี ย นร่ ว มกั น อภิ ป ราย สะอาดปิดฝาให้แน่น
เกี่ยวกับคาถามที่นาเสนอ - สารละลายผงฟู ใช้ผงฟู 3 ช้อนกับนา
14. ครูนาอภิปรายเพื่อให้นักเรียนทบทวนว่าได้ฝึกทักษะกระบวนการทาง 250 cm3 เขย่าให้ผสมกัน กรองผ่าน
วิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 อะไรบ้างและในขันตอนใด กระดาษกรองเก็บของเหลวใสที่ได้ใส่
แล้วบันทึกลงในแบบบันทึกกิจกรรมหน้า 119 ภาชนะที่แห้งสะอาด

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


287 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

แนวคาตอบในแบบบันทึกกิจกรรม

สังเกตและอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร

เกล็ดสีขาวใส สถานะของแข็ง
เกล็ดสีขาวขุ่น สถานะของแข็ง

คาตอบขึ้นอยู่กับนักเรียน น้าตาลทรายหลอมเหลวและ
เช่น น้าตาลทรายจะ เปลี่ยนเป็นสีน้าตาลเข้ม มี
หลอมเหลวและเปลี่ยนเป็นสี กลิ่น เมื่อให้ความร้อนต่อไป
น้าตาล จะมีควันเกิดขึ้น มีกลิน่ ไหม้
และสารที่ได้เป็นของแข็งสีดา

คาตอบขึ้นอยู่กับนักเรียน เป็นเกล็ดสีขาว เกล็ดสี


เช่น เกลือแกงไม่เกิด ขาวแห้งและแตกเป็น
การเปลี่ยนแปลง ผง

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 288

เมื่อให้ความร้อนแก่น้าตาลทราย น้าตาลทรายจะหลอมเหลวและเปลี่ยนเป็นสีน้าตาล
และค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีดา มีควันและมีกลิ่นไหม้ ได้ของแข็งสีดาในที่สุด ส่วนเกลือแกง
ไม่เปลี่ยนแปลงเพียงแต่ขนาดและรูปร่างเปลี่ยนไป

เมื่อให้ความร้อนแก่น้าตาลทราย สารที่ได้ไม่ใช่สารเดิม สังเกตจากสารเปลี่ยนจาก


เกล็ดสีขาวเป็นของแข็งสีดา ส่วนเกลือแกงยังคงเป็นสารเดิมซึ่งมีลักษณะเป็นผง
สีขาว

การเปลี่ยนแปลงของน้าตาลทรายเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เพราะมีสารใหม่
เกิดขึ้น ส่วนการเปลี่ยนแปลงของเกลือแกง เป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
เพราะไม่มีสารใหม่เกิดขึ้น

เมื่อนาน้าตาลทรายและเกลือแกงไปให้ความร้อน น้าตาลทรายจะหลอมเหลวและเปลี่ยนเป็นสีน้าตาล
และค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีดา มีควันเกิดขึ้นและได้ของแข็งสีดาในที่สุด การเปลี่ยนแปลงของน้าตาลทราย
เมื่อให้ความร้อน เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เพราะหลังจากให้ความร้อน น้าตาลทรายมีสารใหม่
เกิดขึ้นซึ่งมีสมบัติต่างไปจากสารเดิม ส่วนเกลือแกงเมื่อถูกเผา เกลือแกงยังเป็นสารเดิมแต่ที่เห็นเป็นผง
เพราะความชื้นในเกลือแกงระเหยไปเมื่อเกลือแกงได้รับความร้อนเป็นเวลานาน ๆ การแห้งของเกลือแกง
จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ

สารบางชนิดเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีจะได้สารใหม่ที่มีสมบัติแตกต่าง
ไปจากสารเดิม

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


289 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

คาถามของนักเรียนที่ตั้งตามความอยากรู้ของตนเอง





 


 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 290

แนวการประเมินการเรียนรู้
การประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนทาได้ ดังนี
1. ประเมินความรู้เดิมจากการอภิปรายในชันเรียน
2. ประเมินการเรียนรู้จากคาตอบของนักเรียนระหว่างการจัดการเรียนรู้และจากแบบบันทึกกิจกรรม
3. ประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จากการทากิจกรรมของนักเรียน

การประเมินจากการทากิจกรรมที่ 1.1 การเปลี่ยนแปลงทางเคมีคืออะไร


ระดับคะแนน
3 คะแนน หมายถึง ดี 2 คะแนน หมายถึง พอใช้ 1 คะแนน หมายถึง ควรปรับปรุง

รหัส สิ่งที่ประเมิน ระดับคะแนน


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
S1 การสังเกต
S8 การลงความเห็นจากข้อมูล
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
C4 การสื่อสาร
C5 ความร่วมมือ

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


291 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

ตาราง แสดงการวิเคราะห์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามระดับความสามารถของนักเรียน
โดยอาจใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี
ทักษะ ระดับความสามารถ
กระบวนการทาง รายการประเมิน
วิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
S1 การสังเกต ก า ร บ ร ร ย า ย สามารถใช้ประสาทสัมผัส ส า ม า ร ถ ใ ช้ ป ร ะ ส า ท สามารถใช้ประสาท
ร า ย ล ะ เ อี ย ด เก็บรายละเอียดของสิ่งที่ สั ม ผั ส เก็ บ รายละเอี ย ด สั ม ผั ส เ ก็ บ
เ กี่ ย ว กั บ ก า ร เกิ ด ขึ นกั บ น าตาลทราย ข อ ง สิ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ น กั บ รายละเอียดของสิ่ง
เปลี่ยนแปลงที่เกิด และเกลื อ แกงเมื่ อ ใ ห้ น าตาลทรายและเกลื อ ที่เกิดขึนกับนาตาล
ขึ น กั บ น า ต า ล ความร้ อ นได้ แ ก่ น าตาล แกงเมื่ อ ให้ ค วามร้ อ น ทรายและเกลือแกง
ทรายและเกลื อ ทรายหลอมเหลวและ ไ ด้ แ ก่ น า ต า ล ท ร า ย เมื่ อ ให้ ค วามร้ อ น
แกงเมื่ อ ให้ ค วาม เปลี่ ยนเป็นสี นาตาลเข้ ม ห ล อ ม เ ห ล ว แ ล ะ ได้แก่ นาตาลทราย
ร้อน ได้แก่ นาตาล มีกลิ่ น เมื่อให้ ความร้ อ น เปลี่ยนเป็นสีนาตาลเข้ม ห ล อ ม เ ห ล ว และ
ทรายหลอมเหลว ต่อไปจะมีควันเกิดขึน มี มีกลิ่น เมื่อให้ความร้อน เปลี่ยนเป็นสีนาตาล
และเปลี่ ย นเป็ น สี กลิ่นไหม้และสารที่ได้เป็น ต่อไปจะมีควันเกิดขึน มี เข้ม มีกลิ่ น เมื่อ ให้
นาตาลเข้ม มีกลิ่น ของแข็งสี ดา เกลื อแกง กลิ่ น ไหม้ แ ละสารที่ ไ ด้ ความร้อนต่อไปจะ
เมื่ อ ให้ ค วามร้ อ น เป็ น เกล็ ด สี ข าว เกล็ ด สี เป็นของแข็งสีดา เกลือ มีควันเกิดขึน มีกลิ่น
ต่ อ ไ ป จ ะ มี ค วั น ขาวแห้ งและแตกเป็นผง แ ก ง เ ป็ น เ ก ล็ ด สี ข า ว ไหม้ แ ละสารที่ ไ ด้
เกิดขึน มีกลิ่นไหม้ ได้ ค รบถ้ ว นด้ ว ยตั ว เอง เกล็ดสีขาวแห้งและแตก เป็ น ของแข็ ง สี ด า
และสารที่ ไ ด้ เ ป็ น โดยไม่เพิ่มความคิดเห็น เป็นผงได้ครบถ้ว น โดย เกลือแกงเป็นเกล็ด
ของแข็งสีดา เกลือ อาศั ย การชี แนะของครู สี ข าว เกล็ ด สี ข าว
แ ก ง เ ป็ น เ ก ล็ ดสี หรือผู้อื่น แห้ ง และแตกเป็ น
ขาว เกล็ ด สี ข าว ผงได้ ไ ม่ ค รบถ้ ว น
แห้ ง และแตกเป็ น แม้ ว่ า จะได้ รั บ การ
ผง ชี แนะจากครู ห รื อ
ผู้อื่น
S8 การลง การนาข้อมูลที่ได้ สามารถนาข้อมูลที่ สามารถนาข้อมูลที่ สามารถนาข้อมูลที่
ความเห็นจาก จากการสังเกตการ รวบรวมได้จากการสังเกต รวบรวมได้จาก รวบรวมได้จากการ
ข้อมูล เปลี่ยนแปลงของ การเปลี่ยนแปลงของของ การสังเกตการ สังเกตการ
นาตาลทรายและ นาตาลทรายและเกลือแกง เปลี่ยนแปลงของของ เปลี่ยนแปลงของ
เกลือแกงเมื่อให้ เมื่อให้ความร้อนมา นาตาลทรายและ ของนาตาลทราย
ความร้อนมาลง ลงความเห็น เกลือแกงเมื่อให้ความร้อน และเกลือแกงเมื่อให้
ความเห็นการ การเปลี่ยนแปลงทางเคมี มาลงความเห็น ความร้อนมา
เปลี่ยนแปลงทาง ของสาร โดยลงความเห็น การเปลี่ยนแปลงทางเคมี ลงความเห็นการ
เคมีของสาร โดย ได้ว่าการเปลี่ยนแปลงที่ ของสาร โดยลงความเห็น เปลี่ยนแปลงทางเคมี
ลงความเห็นได้ว่า สารมีสมบัติแตกต่างไป ได้ว่าการเปลี่ยนแปลงที่ ของสาร โดยลง
การเปลี่ยนแปลงที่ จากสารเดิมเป็น สารมีสมบัติแตกต่างไป ความเห็นได้ว่า
สารมีสมบัติ การเปลี่ยนแปลงทางเคมี

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 292

ทักษะ ระดับความสามารถ
กระบวนการทาง รายการประเมิน
วิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
แตกต่างไปจาก ได้ถูกต้องครบถ้วนได้ด้วย จากสารเดิมเป็น การเปลี่ยนแปลงที่
สารเดิมเป็น ตนเอง การเปลี่ยนแปลงทางเคมี สารมีสมบัติแตกต่าง
การเปลี่ยนแปลง ได้ถูกต้องครบถ้วนโดย ไปจากสารเดิมเป็น
ทางเคมี อาศัยการชีแนะของครู การเปลี่ยนแปลงทาง
หรือผู้อื่น เคมี
ได้ถูกต้องแต่ไม่
ครบถ้วนแม้ว่าจะ
ได้รับการชีแนะจาก
ครูหรือผู้อื่น
S13 การ ตีความหมาย ตีความหมายการ ตีความหมายการ ตีความหมายการ
ตีความหมาย ข้อมูลจาก เปลี่ยนแปลงของสารต่าง เปลี่ยนแปลงของสาร เปลี่ยนแปลงของ
ข้อมูลและลง การสังเกตการ ๆ เมื่อให้ความร้อน ว่า ต่าง ๆ เมื่อให้ความ สารต่าง ๆ เมื่อให้
ข้อสรุป เปลี่ยนแปลงของ -การเปลี่ยนแปลงของ ร้อน ว่า ความร้อน ว่า
สารต่าง ๆ เมื่อให้ นาตาลทรายเป็นการ -การเปลี่ยนแปลงของ -การเปลี่ยนแปลง
ความร้อนได้ว่า เปลี่ยนแปลงทางเคมี นาตาลทรายเป็น ของนาตาลทราย
-การเปลี่ยนแปลง -การเปลี่ยนแปลงของเกลือ การเปลี่ยนแปลงทาง เป็น
ของนาตาลทราย แกงไม่เป็นการ เคมี การเปลี่ยนแปลง
เป็น เปลี่ยนแปลงทางเคมีแต่ -การเปลี่ยนแปลงของ ทางเคมี
การเปลี่ยนแปลง เป็นการเปลี่ยนแปลงทาง เกลือแกงไม่เป็นการ -การเปลี่ยนแปลง
ทางเคมี กายภาพ เปลี่ยนแปลงทางเคมี ของเกลือแกงไม่
-การเปลี่ยนแปลง และลงข้อสรุปได้ว่า แต่เป็นการ เป็นการ
ของเกลือแกงไม่ สารบางชนิดเกิดการ เปลี่ยนแปลงทาง เปลี่ยนแปลงทาง
เป็นการ เปลี่ยนแปลงทางเคมีซึ่ง กายภาพ เคมีแต่เป็นการ
เปลี่ยนแปลงทาง เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทา และลงข้อสรุปได้ว่า เปลี่ยนแปลงทาง
เคมีแต่เป็นการ ให้เกิดสารใหม่ได้ถูกต้อง สารบางชนิดเกิดการ กายภาพ
เปลี่ยนแปลงทาง ครบถ้วนด้วยตัวเอง เปลี่ยนแปลงทางเคมี และลงข้อสรุปได้ว่า
กายภาพ ซึ่งเป็นการ สารบางชนิดเกิด
และลงข้อสรุปได้ เปลี่ยนแปลงที่ทาให้ การเปลี่ยนแปลง
ว่า เกิดสารใหม่ได้ถูกต้อง ทางเคมีซึ่งเป็น
สารบางชนิดเกิด ครบถ้วนโดยอาศัยการ การเปลี่ยนแปลงที่
การเปลี่ยนแปลง ชีแนะของครูหรือผู้อื่น ทาให้เกิดสารใหม่
ทางเคมีซึ่งเป็นการ ได้ถูกต้อง แต่ไม่
เปลี่ยนแปลงที่ทา ครบถ้วนแม้ว่าจะ
ให้เกิดสารใหม่ ได้รับการชีแนะจาก
ครูหรือผู้อื่น

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


293 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

ตาราง แสดงการวิเคราะห์ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ตามระดับความสามารถของนักเรียน


โดยอาจใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี
ทักษะแห่ง รายการประเมิน ระดับความสามารถ
ศตวรรษที่
21 ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
C4 การ การนาเสนอข้อมูล นาเสนอข้อมูลจากการ นาเสนอข้อมูลจากการ นาเสนอข้อมูลจากการ
สื่อสาร จากการสังเกต สังเกตการเปลี่ยนแปลง สังเกตการเปลี่ยนแปลง สังเกตการ
การเปลี่ยนแปลง ของสารเมื่อให้ความ ของสารเมื่อให้ความร้อน เปลี่ยนแปลงของสาร
ของสารเมื่อให้ ร้อนให้ผู้อื่นเข้าใจใน ให้ผู้อื่นเข้าใจในรูปแบบ เมื่อให้ความร้อนให้
ความร้อนใน รูปแบบการบรรยาย การบรรยาย ได้ถูกต้อง ผู้อื่นเข้าใจในรูปแบบ
รูปแบบการ ได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน ชัดเจนโดยอาศัยการชีแนะ การบรรยาย ได้แต่ไม่
บรรยาย ได้ด้วยตนเอง ของครูหรือผู้อื่น ชัดเจน แม้ว่าจะได้รับ
การชีแนะจากครูหรือ
ผู้อื่น
C5 ความ การทางานร่วมมือ ทางานร่วมกับผู้อื่น ทางานร่วมกับผู้อื่นรวมทัง ทางานร่วมกับผู้อื่นได้
ร่วมมือ กับผู้อื่นในการ รวมทังยอมรับฟังความ ยอมรับฟังความคิดเห็นของ บ้างแต่ไม่แสดงความ
สังเกต คิดเห็นของผู้อื่นอย่าง ผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในการ คิดเห็น แม้ว่าจะได้
การเปลี่ยนแปลง สร้างสรรค์ในการทา ทากิจกรรมเป็นบางครังทังนี รับคาชีแนะจากครูหรือ
ของสารเมื่อให้ กิจกรรมตังแต่เริ่มต้น ต้องอาศัยการกระตุ้นจากครู ผู้อื่น
ความร้อนและ จนเสร็จสินกิจกรรม หรือผู้อื่น
ยอมรับความ
คิดเห็นของผู้อื่น

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 294

กิจกรรมที่ 1.2 รู้ได้อย่างไรว่าเกิดการ


เปลี่ยนแปลงทางเคมี
กิ จ กรรมนี นั ก เรี ย นจะได้ สั ง เกตและบรรยายลั ก ษณะการ
เปลี่ยนแปลงของสารเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
เวลา 1 ชั่วโมง
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. สังเกตและบรรยายการเปลี่ยนแปลงของสารเมื่อมีการ
เปลี่ยนแปลงทางเคมี
2. อภิปรายและระบุสิ่งที่เกิดขึนจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
ของสาร
วัสดุ อุปกรณ์สาหรับทากิจกรรม
สิ่งที่ต้องเตรียม
สิ่งที่ครูต้องเตรียม/กลุ่ม
1. นาปูนใส 25 cm3
2. ผงฟู 2 ช้อน เบอร์ 2
3. สารละลายผงฟู 25 cm3
4. นาส้มสายชู 15 cm3 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
5. นา 5 cm3 S1 การสังเกต
6. แอมโมเนียมคลอไรด์ 2 ช้อน เบอร์ 2 S2 การวัด
7. ปูนขาว 2 ช้อน เบอร์ 2 S5 ความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเปซ
8. ลูกโป่ง 1 ใบ S8 การลงความเห็นจากข้อมูล
9. ขวดแก้วปากแคบ 1 ใบ S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
10. แก้วนาพลาสติก 1 ใบ
11. แท่งแก้วคน 1 อัน ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
12. บีกเกอร์ขนาด 100 cm3 2 ใบ C4 การสื่อสาร
13. กระบอกตวงขนาด 10 cm3 1 ใบ C5 ความร่วมมือ
14. ช้อนตักสารเบอร์ 2 1 อัน
สิ่งที่ครูต้องเตรียม/คน สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
- 1. หนังสือเรียน ป.5 เล่ม 1 หน้า 112-115
สิ่งที่นักเรียนต้องเตรียม/กลุม่ 2. แบบบันทึกกิจกรรม ป.5 เล่ม 1 หน้า 120-126
- 3. ตัวอย่างวีดิทัศน์ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สาหรับครู
เรื่องรู้ได้อย่างไรว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี

http://ipst.me/8930
ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
295 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครู น าเข้ า สู่ กิ จ กรรม โดยทบทวนความรู้ ที่ เ รี ย นมาเกี่ ย วกั บ การ
เปลี่ยนแปลงทางเคมีเพื่อนาเข้าสู่กิจกรรม โดยอาจใช้คาถาม ดังนี
1.1 การเปลี่ยนแปลงทางเคมี เป็นอย่างไร (การเปลี่ ยนแปลงทาง
เคมี เ ป็ น การเปลี่ ย นแปลงที่ มี ส ารใหม่ เ กิ ด ขึ นโดยสารใหม่ นี มี
สมบัติแตกต่างจากสารเดิม)
1.2 เราจะรู้ได้อย่างไรว่าการเปลี่ยนแปลงหนึ่ง ๆ มีสารใหม่เกิดขึน
(นักเรียนอาจตอบได้หลากหลาย ตามความเข้าใจของตัวเอง)
ครูชักชวนนักเรียนหาคาตอบจากการทากิจกรรมต่อไป
2. นั ก เรี ย นอ่ า นชื่ อ กิ จ กรรม และ ท าเป็ น คิ ด เป็ น จากนั น ร่ ว มกั น
อภิปรายเพื่อตรวจสอบความเข้าใจเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการทา
กิจกรรม โดยครูใช้คาถามดังต่อไปนี
2.1 กิ จ กรรมนี นั ก เรี ย นจะได้ เ รี ย นเกี่ ย วกั บ อะไร (การ
เปลี่ยนแปลงของสารเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี และ
สารใหม่ที่เกิดขึนจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมี)
2.2 นักเรียนจะได้เรียนเรื่องนีด้วยวิธีใด (การสังเกต)
2.3 เมื่ อ เรี ย นแล้ ว นั ก เรี ย นจะท าอะไรได้ (บรรยายการ
เปลี่ ย นแปลงของสารและระบุ สิ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ นเมื่ อ มี ก าร
เปลี่ยนแปลงทางเคมี)
3. นักเรียนอ่านสิ่งที่ต้องใช้ ในกิจกรรม เนื่องจากมีสารเคมีหลาย
ชนิดที่นักเรียนอาจไม่รู้จัก ครูควรนามาแสดงให้นักเรียนดูและ
ควรทบทวนวิธีการใช้อุปกรณ์บางอย่าง เช่น แท่งแก้วคน ช้อนตัก ในการตรวจสอบความรู้ ครู
สาร และกระบอกตวง เพียงรับฟังเหตุผลของนักเรียน
4. นักเรียนอ่านทาอย่า งไร ในหนังสื อเรียนหน้า 112-113 ทัง 3 เป็ น ส าคั ญ และยั ง ไม่ เ ฉลย
ตอน โดยฝึ ก อ่ า นตามความเหมาะสมกั บ ความสามารถของ คาตอบใด ๆ ให้กับนักเรียน แต่
นักเรียน ครูให้นักเรียนดูวิธีการบันทึกผลในแบบบันทึกกิจกรรม ชักชวนนักเรียน ไปหาคาตอบที่
ควบคู่ไปด้วย จากนันร่วมกันสรุปขันตอนการทากิจกรรม โดยครู ถูกต้องจากกิจ กรรมต่า ง ๆ ใน
และนักเรียนร่วมกัน เขียนแผนผังแสดงขันตอนการทากิจกรรม บทเรียนนี
ดังตัวอย่างในหน้าถัดไป

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 296

ตัวอย่างการเขียนแผนผังการทากิจกรรม

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


297 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 298

5. ครูเตือนนักเรียนเกี่ยวกับวิธีการทิงสารเคมี เมื่อนักเรียนเข้าใจ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะ
วิธีทากิจกรรมในทาอย่างไรแล้ว ครูแจกวัสดุอุปกรณ์และให้
แห่งศตวรรษที่ 21 ที่นักเรียนจะได้ฝึกจากการ
นักเรียนเริ่มปฏิบัติกิจกรรมตามขันตอน ทากิจกรรม
6. หลั ง จากท ากิ จ กรรมแล้ ว ให้ นั ก เรี ย นเก็ บ อุ ป กรณ์ ใ ห้
เรียบร้อย ครูให้นักเรียนนาเสนอ จากนันครูนาอภิปรายผล S1 การสังเกตลักษณะของสารก่อนและ
การทากิจกรรม โดยใช้คาถามดังนี หลังผสมและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึน
6.1 น า ปู น ใ ส ส า ร ล ะ ล า ย ผ ง ฟู ผ ง ฟู น า ส้ ม ส า ย ชู ขณะผสมสาร
S2 การวัดโดยการใช้อุปกรณ์ตวงปริมาตร
แอมโมเนียมคลอไรด์ ปูนขาวมีลักษณะอย่างไร (นักเรียน
สาร
ตอบตามที่สังเกตได้ เช่น นาปูนใสและสารละลายผงฟูเป็น S5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเป
ของเหลวใสไม่มีสี) ซจากการบอกที่อยู่ของสารใหม่ที่เกิดจากการ
6.2 เมื่อผสมนาปูนใสกับสารละลายผงฟู สังเกตเห็นอะไรบ้าง เปลี่ยนแปลงทางเคมี เช่น บอกได้ว่าแก๊สที่
(เกิดตะกอนสีขาว) เกิดขึนกระจายอยู่ภายในขวดและในลูกโป่งที่
6.3 เมื่ อ ผสมน าปู น ใสกั บ สารละลายผงฟู มี ส ารใหม่ เ กิ ดขึน พอง
หรือไม่ รู้ได้อย่างไร (เมื่อผสมนาปูนใสกับสารละลายผงฟู S8 การลงความเห็นจากข้อมูลจากการ
สังเกตและบอกได้ว่าการเปลี่ยนแปลงทาง
มี ส ารใหม่ เ กิ ด ขึ นคื อ ตะกอนสี ข าว เพราะสารเดิ ม มี เคมีสังเกตได้จากอะไรบ้าง
ลักษณะเป็นของเหลวใส แต่เมื่อผสมกันแล้วได้สารที่เป็น C4 การสื่อสารจากการพูด เขียนบรรยาย
ของแข็งสีขาว ซึ่งไม่เหมือนกับสารเดิม จึงน่าจะเป็นสาร การเปลี่ยนแปลงเมื่อนาสารสองชนิดผสม
ใหม่) กัน
6.4 เมื่อผสมแอมโมเนียมคลอไรด์ กับปูนขาว สังเกตเห็นอะไร C5 ความร่วมมือจากการทางานร่วมกันใน
(มีแก๊สกลิ่นฉุนและผิวด้านนอกภาชนะเย็นลง) กลุ่ม
6.5 เมื่อผสมแอมโมเนียมคลอไรด์กับปูนขาว มีสารใหม่เกิดขึน
หรือไม่ รู้ได้อย่างไร (เมื่อผสมแอมโมเนีย มคลอไรด์ กั บ
ปูนขาวมีสารใหม่เกิดขึนคือ แก๊สที่มี กลิ่นฉุนแสบจมูกต่าง
จากสารเดิม เพราะสารเดิมมีลักษณะเป็นของแข็งสี ขาว
และไม่มีกลิ่นฉุนทังคู่ จึงน่าจะเป็นสารใหม่)
6.6 เมื่อผสมผงฟูกับนาส้มสายชู สังเกตเห็นอะไร (เมื่อผสมผง
ฟูกับนาส้มสายชู เกิดฟองแก๊ส)
6.7 เมื่อผสมผงฟูกับนาส้มสายชู มีสารใหม่เกิดขึนหรือไม่ รู้ได้
อย่างไร (เมื่อผสมผงฟูกับนาส้มสายชูมีสารใหม่เกิดขึนคือ
แก๊ส เพราะสารเดิม คือผงฟูมีลั กษณะเป็นของแข็งสี ข าว
และนาส้มสายชูเป็นของเหลวใส แต่เมื่อผสมกันแล้วได้สาร
ที่เป็นแก๊ส ซึ่งไม่เหมือนกับสารเดิม จึงน่าจะเป็นสารใหม่)

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


299 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

6.8 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึนทังหมดนีเป็นการเปลี่ยนแปลง
แบบใด เพราะเหตุใด (การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึนเป็นการ
เปลี่ยนแปลงทางเคมี เพราะได้สารใหม่ที่มีสมบัติต่างจาก
สารเดิม)
6.9 สารใหม่ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงมีลักษณะอย่างไรบ้าง
(สารใหม่มีลั กษณะเป็นตะกอน เป็น แก๊ส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่ น
และแก๊สที่มีกลิ่นฉุนแสบจมูก)
6.10 การเปลี่ยนแปลงทางเคมี นอกจากมีสารใหม่เกิดขึนแล้วยัง
มี ก ารเปลี่ ย นแปลงอะไรได้ อี ก (การเปลี่ ย นอุ ณ หภู มิ ซึ่ ง
บางครังก็วัดได้โดยใช้มือสัมผัส แต่บางครังต้องใช้เครื่องมือ
ตรวจวัด)
6.11 จากกิจกรรมทังสามตอน การเปลี่ยนแปลงทางเคมีสังเกต
ได้จากอะไรบ้าง (การเปลี่ยนแปลงทางเคมีสังเกตได้จากมี
ตะกอน มีฟองแก๊ส มีกลิ่นและอุณหภูมิเปลี่ยนไป)
7. ครูชักชวนนักเรียนอภิปรายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
ว่ า เมื่ อ เกิ ด ฟองแก๊ ส หรื อ สารเกิ ด การเปลี่ ย นสี แ สดงว่ า มี ก าร
เปลี่ยนแปลงทางเคมีเกิดขึนเสมอหรือไม่ จากนันครูอธิบายว่าการ
เปลี่ยนแปลงบางอย่างอาจไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เช่น เมื่อ
นาเดือดจะสังเกตเห็นฟองแก๊สเกิดขึน ฟองแก๊สที่เกิดขึนคือไอนาซึ่ง
เป็นนาในสถานะแก๊ส การเปลี่ ยนแปลงนีจึงไม่มีสารใหม่เกิดขึนจึง
ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงทางเคมี หรือเมื่อเทนาลงในนาหวานสีแดง แล้ว
คนพบว่าสีของนาหวานจางลง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึนนีก็ไม่ได้เป็น
การเปลี่ยนแปลงทางเคมี เพราะไม่มีสารใหม่เกิดขึน
8. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและลงข้อสรุปว่า การระบุว่ามีการ
เปลี่ยนแปลงทางเคมีเกิดขึน การเปลี่ยนแปลงนันจะต้องได้สารใหม่ที่
มีสมบัติแตกต่างจากสารเดิม ซึ่งเราอาจสังเกตได้จาก การเกิดฟอง
แก๊ส เกิดตะกอน เกิดแก๊สที่มีกลิ่นเปลี่ยนแปลงไป หรือมีอุณหภูมิ
สูงขึนหรือลดลง (S13)
9. ครูอภิปรายร่วมกับนักเรียนเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ ที่
เกิ ด ขึ นในชี วิ ต ประจ าวั น ว่ า การเปลี่ ย นแปลงใดบ้ า งเป็ น การ
เปลี่ยนแปลงทางเคมี และรู้ได้อย่างไรว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
และการเปลี่ยนแปลงทางเคมี มีประโยชน์และโทษต่อสิ่งมีชีวิตและ
สิ่งแวดล้อมอย่างไร
10.นักเรียนร่วมกันอภิปรายคาตอบใน ฉันรู้อะไร โดยครูอาจใช้คาถาม
เพิ่มเติมในการอภิปรายเพื่อให้ได้แนวคาตอบที่ถูกต้อง

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 300

11. นักเรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในกิจกรรมนี จากนันนักเรียนอ่าน


สิ่งที่ได้เรียนรู้ และเปรียบเทียบกับข้อสรุปของตนเอง
12. ครูกระตุ้นให้นักเรียนฝึกตังคาถามเกี่ยวกับเรื่องที่สงสัยหรืออยากรู้
เพิ่ ม เติ ม ใน อยากรู้ อี ก ว่ า จากนั นครู อ าจสุ่ ม นั ก เรี ย น 2 -3 คน
น าเสนอค าถามของตนเองหน้ า ชั นเรี ย น และให้ นั ก เรี ย นร่ ว มกั น
อภิปรายเกี่ยวกับคาถามที่นาเสนอ
13.ครูนาอภิปรายเพื่อให้นักเรียนทบทวนว่าได้ฝึกทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 อะไรบ้างและในขันตอน
ใดบ้าง แล้วบันทึกลงในแบบบันทึกกิจกรรมหน้า 126
14. นักเรียนอ่าน รู้อะไรในเรื่องนี้ ในหนังสือเรียนหน้า 116-117 ครูนา
อภิปรายเพื่อนาไปสู่ข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในเรื่องนี จากนันครู
กระตุ้นให้นักเรียนตอบคาถามในช่วงท้ายของเนือเรื่องซึ่งเป็นคาถาม
เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนเนือหาในบทต่อไปดังนี การเปลี่ยนแปลงที่
ผันกลับได้เป็นอย่างไร และการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพสามารถผัน
กลับได้หรือไม่ นักเรียนสามารถตอบตามความเข้าใจของตนเองซึ่ งจะ
หาคาตอบได้จากการเรียนในบทต่อไป

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


301 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

แนวคาตอบในแบบบันทึกกิจกรรม

- สังเกตและบรรยายการเปลี่ยนแปลงของสารเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
- อภิปรายและระบุสิ่งที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารเมื่อผสม
น้าปูนใสกับสารละลายผงฟู

ของเหลวใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ผิวภาชนะมี


อุณหภูมิปกติ

ของเหลวใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ผิวภาชนะมีอุณหภูมิ


ปกติ

เกิดตะกอนสีขาวกระจายอยู่ทั่วของเหลว
ไม่มีกลิ่น ผิวภาชนะมีอุณหภูมิปกติ

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 302

1. สังเกตและบรรยายการเปลี่ยนแปลงของสารเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
2. อภิปรายและระบุสิ่งที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารเมื่อผสม
แอมโมเนียมคลอไรด์กับปูนขาว

ของแข็ง เป็นเกล็ด สีขาวขุ่น ไม่มีกลิ่น ผิวภาชนะมี


อุณหภูมิปกติ

ของแข็ง เป็นผง สีขาว ไม่มีกลิ่น ผิวภาชนะมี


อุณหภูมิปกติ

ของแข็ง เป็นก้อน สีขาว มีแก๊สกลิ่นฉุนแสบจมูก


เมื่อสัมผัสผิวภาชนะรู้สึกเย็นหรือมีละอองน้าเล็กๆ
เกาะอยู่ที่ผิวภาชนะ

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


303 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

1. สังเกตและบรรยายการเปลี่ยนแปลงของสารเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
2. อภิปรายและระบุสิ่งที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารเมื่อผสม
น้าส้มสายชูกับผงฟู

ของเหลวใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน ผิวภาชนะมีอุณหภูมิ


ปกติ

ของแข็ง เป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น ผิวภาชนะมี


อุณหภูมิปกติ

เกิดฟองแก๊สไม่มีสี ลูกโป่งพองขึ้น มีกลิ่นของ


น้าส้มสายชู ผิวภาชนะมีอุณหภูมิปกติ

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 304

ขึ้นอยู่กับคาตอบของนักเรียน แต่ควรได้คาตอบดังนี้
การเปลี่ยนแปลงของสารเมื่อผสมสารสองชนิดเข้าด้วยกันในแต่ละตอนได้ผล
ทานองเดียวกันคือมีสารใหม่เกิดขึ้น สิ่งที่แตกต่างกันคือลักษณะของสารใหม่ที่
เกิดขึ้นตอนที่ 1 สารใหม่เป็นตะกอนสีขาว ตอนที่ 2 เป็นแก๊สไม่มีสี มีกลิ่นฉุน
แสบจมูก สารผสมมีอุณหภูมิลดลง มีละอองน้าเกาะที่ผิวด้านนอก ตอนที่ 3 เป็น
แก๊สไม่มีสี สังเกตได้จากลูกโป่งพองขึ้น
สรุปการเปลี่ยนแปลงทางเคมีทั้งสามตอน สังเกตได้จากการมีตะกอนเกิดขึ้น มี
แก๊สเกิดขึ้น มีกลิ่น และอุณหภูมิของสารเปลี่ยนไปจากเดิม

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


305 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

เมือ่ ผสมน้าปูนใสกับสารละลายผงฟู เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เพราะมีสารใหม่ที่


เป็นตะกอนสีขาวเกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากสารเดิมที่เป็นของเหลวใส

เมื่อผสมน้าปูนใสกับสารละลายผงฟูซึ่งเป็นของเหลวใสทั้งคู่ เกิดตะกอนสีขาวปนอยู่ใน
ของเหลว แสดงว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี

เมื่อผสมแอมโมเนียมคลอไรด์กับปูนขาว เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี สังเกต


ได้จากการมีกลิ่นฉุนและเมื่อสัมผัสทีภ่ าชนะจะรู้สึกเย็น แสดงว่าสารที่เกิดขึ้นมี
สมบัติแตกต่างจากสารเดิมซึ่งไม่มีกลิ่นและมีอุณหภูมิปกติ

แอมโมเนียมคลอไรด์กับปูนขาว เป็นของแข็งสีขาว ไม่มีกลิ่นทั้งคู่ เมื่อนามาผสมกัน


จะเกิดกลิ่น แสดงว่ามีแก๊สเกิดขึ้นและสัมผัสภาชนะแล้วรู้สึกเย็นลงแสดงว่าอุณหภูมิ
ลดลง ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ซึ่งสังเกต
ได้จากการมีกลิ่นและอุณหภูมิเปลี่ยนไป

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 306

เมื่อผสมผงฟูกับน้าส้มสายชูเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี สังเกตจากมีฟองแก๊ส
เกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากสารเดิมคือผงฟูเป็นของแข็งสีขาว น้าส้มสายชู
เป็นของเหลวใส

ผงฟูเป็นของแข็งสีขาว น้าส้มสายชูเป็นของเหลวใสไม่มีสี มีกลิ่น เมื่อนา


ผงฟูกับน้าส้มสายชูผสมกันเกิดฟองแก๊สที่ทาให้ลูกโป่งพองขึ้น ดังนั้น
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี

การเปลี่ยนแปลงทางเคมีสังเกตจากสมบัติของสารที่เกิดขึ้นแตกต่างไปจาก
สารเดิม เช่น เกิดการตกตะกอน มีสถานะเป็นแก๊ส มีสีและกลิน่ เปลี่ยนไป
รวมทั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


307 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

คาถามของนักเรียนที่ตั้งตามความอยากรู้ของตนเอง












 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 308

แนวการประเมินการเรียนรู้
การประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนทาได้ ดังนี
1. ประเมินความรู้เดิมจากการสารวจความรู้ก่อนเรียนและการอภิปรายในชันเรียน
2. ประเมินการเรียนรู้จากคาตอบของนักเรียนระหว่างการจัดการเรียนรู้และจากแบบบันทึกกิจกรรม
3. ประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จากการทากิจกรรมของนักเรียน

การประเมินจากการทากิจกรรมที่ 1.2 รู้ได้อย่างไรว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี


ระดับคะแนน
3 คะแนน หมายถึง ดี 2 คะแนน หมายถึง พอใช้ 1 คะแนน หมายถึง ควรปรับปรุง

รหัส สิ่งที่ประเมิน ระดับคะแนน


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
S1 การสังเกต
S2 การวัด
S5 การหาความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งสเปซ
กับสเปซ
S8 การลงความเห็นจากข้อมูล
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
C4 การสื่อสาร
C5 ความร่วมมือ

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


309 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

ตาราง แสดงการวิเคราะห์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามระดับความสามารถของนักเรียน
โดยอาจใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี
ทักษะ ระดับความสามารถ
กระบวนการทาง รายการประเมิน
วิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
S1 การสังเกต การบรรยาย สามารถใช้ประสาทสัมผัส สามารถใช้ประสาท สามารถใช้ประสาท
รายละเอียด เก็บรายละเอียดของสิ่งที่ สัมผัสเก็บรายละเอียด สัมผัสเก็บ
เกี่ยวกับการ เกิดขึนจากการปลี่ยนแปลง ของสิ่งที่เกิดขึนจาก รายละเอียดของสิ่ง
เปลี่ยนแปลงที่ เมื่อผสมนาปูนใส การเปลี่ยนแปลงเมื่อ ที่เกิดขึนได้จาก
เกิดขึนเมื่อผสม กับสารละลายผงฟู ผสมนาปูนใส การเปลี่ยนแปลง
นาปูนใส แอมโมเนียมคลอไรด์กับ กับสารละลายผงฟู เมื่อผสมนาปูนใส
กับสารละลายผงฟู ปูนขาว และนาส้มสายชู แอมโมเนียมคลอไรด์กับ กับสารละลายผงฟู
แอมโมเนียมคลอไรด์ กับผงฟูได้ครบถ้วนด้วย ปูนขาว และนาส้มสายชู แอมโมเนียมคลอไรด์
กับปูนขาว และ ตนเอง โดยไม่เพิ่มความ กับผงฟูได้ครบถ้วน โดย กับปูนขาว และ
นาส้มสายชูกับผงฟู คิดเห็น อาศัยการชีแนะของครู นาส้มสายชูกับผงฟู
หรือผู้อื่น ได้ไม่ครบถ้วน แม้ว่า
จะได้รับการชีแนะ
จากครูหรือผู้อื่น
S2 การวัด การวัดปริมาณของ สามารถใช้อุปกรณ์ในการ สามารถใช้อุปกรณ์ใน สามารถใช้อุปกรณ์
สารที่ใช้ในการทา ตวงปริมาณของสารต่างๆ การตวงปริมาณของสาร ในการตวงปริมาณ
กิจกรรมได้แก่ ได้แก่ ต่างๆ ได้แก่ ของสารต่างๆ ได้แก่
- ตวงปริมาตรของ - ตวงปริมาตรของ - ตวงปริมาตรของ - ตวงปริมาตรของ
สารละลายผงฟู สารละลายผงฟู นาปูนใส สารละลายผงฟู นาปูนใส สารละลายผงฟู
นาปูนใส และ และนาส้มสายชูตาม และนาส้มสายชูตาม นาปูนใส และ
นาส้มสายชูตาม ปริมาตรและหน่วยที่ ปริมาตรและหน่วยที่ นาส้มสายชูตาม
ปริมาตรและหน่วย กาหนดให้ กาหนดให้ ปริมาตรและหน่วย
ที่กาหนดให้ -ตวงปริมาณผงฟู ปูนขาว -ตวงปริมาณผงฟู ปูนขาว ที่กาหนดให้
-ตวงปริมาณผงฟู และแอมโมเนียมคลอไรด์ และแอมโมเนียมคลอไรด์ -ตวงปริมาณผงฟู
ปูนขาวและ ตามปริมาณและหน่วยที่ ตามปริมาณและหน่วยที่ ปูนขาวและ
แอมโมเนียมคลอไรด์ กาหนดให้ได้ถูกต้องด้วย กาหนดให้ได้ถูกต้องโดย แอมโมเนียมคลอไรด์
ตามปริมาณและ ตนเอง อาศัยการชีแนะของครู ตามปริมาณและ
หน่วยที่กาหนดให้ หรือผู้อื่น หน่วยที่กาหนดให้ได้
ไม่ถูกต้องแม้ว่าจะ
ได้รับการชีแนะจาก
ครูหรือผู้อื่น

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 310

ทักษะ ระดับความสามารถ
กระบวนการทาง รายการประเมิน
วิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
S8 การลง การนาข้อมูลที่ได้ สามารถนาข้อมูลที่ สามารถนาข้อมูลที่
สามารถนาข้อมูลที่
ความเห็นจาก จากการสังเกต รวบรวมได้จากการสังเกต รวบรวมได้จากการสังเกต
รวบรวมได้จากการ
ข้อมูล การเปลี่ยนแปลงที่ การเปลี่ยนแปลงของเมื่อ การเปลี่ยนแปลงของสาร
สังเกตการ
เกิดขึนเมื่อผสม ผสมนาปูนใส เมื่อผสมนาปูนใส เปลี่ยนแปลงของ
นาปูนใส กับสารละลายผงฟู กับสารละลายผงฟู สาร เมื่อผสม
กับสารละลายผงฟู แอมโมเนียมคลอไรด์กับ แอมโมเนียมคลอไรด์กับ
นาปูนใสกับ
แอมโมเนียมคลอ ปูนขาว นาส้มสายชูกับ ปูนขาว นาส้มสายชูกับ
สารละลายผงฟู
ไรด์กับปูนขาว ผงฟูโดยลงความเห็นได้ว่า ผงฟูโดยลงความเห็นได้
แอมโมเนียมคลอไรด์
นาส้มสายชูกับผงฟู การเปลี่ยนแปลงทางเคมี กับปูนขาว
ว่าการเปลี่ยนแปลงทาง
โดยลงความเห็นได้ อาจสังเกตจากมีตะกอน นาส้มสายชูกับผงฟู
เคมีอาจสังเกตจากมี
ว่าการเปลี่ยนแปลง มีแก๊สเกิดขึน มีกลิ่นหรือ ตะกอน มีแก๊สเกิดขึน มี
โดยลงความเห็นได้ว่า
ทางเคมีอาจสังเกต อุณหภูมิแตกต่างจาก กลิ่นหรืออุณหภูมิ
การเปลี่ยนแปลง
จากมีตะกอน มี สารเดิม แตกต่างจากสารเดิม
ทางเคมีอาจสังเกต
แก๊สเกิดขึน มีกลิ่น ได้ถูกต้องครบถ้วนได้ด้วย ได้ถูกต้องครบถ้วนโดย
จากมีตะกอน มี
หรืออุณหภูมิ ตนเอง อาศัยการชีแนะของครู
แก๊สเกิดขึน มีกลิ่น
แตกต่างจาก หรือผู้อื่น หรืออุณหภูมิ
สารเดิม แตกต่างจาก
สารเดิม
ได้ถูกต้องแต่ไม่
ครบถ้วนแม้ว่าจะ
ได้รับการชีแนะจาก
ครูหรือผู้อื่น
S13 การ ตีความหมาย สามารถตีความหมาย สามารถตีความหมาย สามารถ
ตีความหมาย ข้อมูลจากการ การเปลี่ยนแปลงของสาร การเปลี่ยนแปลงของสาร ตีความหมาย
ข้อมูลและลง สังเกต ต่าง ๆ เมื่อนาสารสอง ต่าง ๆ เมื่อนาสารสอง การเปลี่ยนแปลง
ข้อสรุป การเปลี่ยนแปลง ชนิดมาผสมกัน โดย ชนิดมาผสมกัน โดย ของสารต่าง ๆ เมื่อ
ของสารต่าง ๆ -นาปูนใสกับสารละลาย -นาปูนใสกับสารละลาย นาสารสองชนิดมา
เมื่อนาสารสอง ผงฟูเกิดการเปลี่ยนแปลง ผงฟูเกิดการเปลี่ยน ผสมกัน โดย
ชนิดมาผสมกัน ทางเคมีสังเกตจากมี แปลงทางเคมีสังเกตจาก -นาปูนใสกับ
โดย ตะกอนเกิดขึน มีตะกอนเกิดขึน สารละลายผงฟูเกิด
-นาปูนใส แอมโมเนียมคลอไรด์กับ แอมโมเนียมคลอไรด์กับ การเปลี่ยนแปลง
กับสารละลายผงฟู ปูนขาวเกิด ปูนขาวเกิด ทางเคมีสังเกตจากมี
เกิดการเปลี่ยน การเปลี่ยนแปลงทางเคมี การเปลี่ยนแปลงทางเคมี ตะกอนเกิดขึน
แปลงทางเคมีสังเกต สังเกตจากมีกลิ่นปลี่ยนไป สังเกตจากมีกลิ่นปลี่ยน แอมโมเนียมคลอ
จากมีตะกอนเกิดขึน นาส้มสายชูกับ ไป นาส้มสายชูกับ ไรด์กับปูนขาวเกิด

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


311 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

ทักษะ ระดับความสามารถ
กระบวนการทาง รายการประเมิน
วิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
แอมโมเนียมคลอไรด์ ผงฟูเกิด ผงฟูเกิด การเปลี่ยนแปลง
กับปูนขาวเกิด การเปลี่ยนแปลงทางเคมี การเปลี่ยนแปลงทางเคมี ทางเคมีสังเกตจากมี
การเปลี่ยนแปลง สังเกตจากมีแก๊สเกิดขึน สังเกตจากมีแก๊สเกิดขึน กลิ่นปลี่ยนไป
ทางเคมีสังเกตจาก และลงข้อสรุปได้ว่าการ และลงข้อสรุปได้ว่าการ นาส้มสายชูกับ
มีกลิ่นปลี่ยนไป เปลี่ยนแปลงทางเคมี เปลี่ยนแปลงทางเคมี ผงฟูเกิด
นาส้มสายชูกับ สังเกตได้จากมีตะกอน มี สังเกตได้จากมีตะกอน มี การเปลี่ยนแปลง
ผงฟูเกิด แก๊สเกิดขึน มีกลิ่น มีสี แก๊สเกิดขึน มีกลิ่น มีสี ทางเคมีสังเกตจากมี
การเปลี่ยนแปลง และอุณหภูมิของสาร และอุณหภูมิของสาร แก๊สเกิดขึน และลง
ทางเคมีสังเกตจาก เปลี่ยนไปจากเดิม เปลี่ยนไปจากเดิม ข้อสรุปได้ว่าการ
มีแก๊สเกิดขึน และ ได้ถูกต้อง ครบถ้วนด้วย ได้ถูกต้อง ครบถ้วนโดย เปลี่ยนแปลงทาง
ลงข้อสรุปได้ว่า ตัวเอง อาศัยการชีแนะของครู เคมีสังเกตได้จากมี
การเปลี่ยนแปลง หรือผู้อื่น ตะกอน มีแก๊ส
ทางเคมีสังเกตได้ เกิดขึน มีกลิ่น มีสี
จากมีตะกอน มี และอุณหภูมิของ
แก๊สเกิดขึน มีกลิ่น สารเปลี่ยนไปจาก
มีสีและอุณหภูมิ เดิมได้ถูกต้อง แต่ไม่
ของสารเปลี่ยนไป ครบถ้วนแม้ว่าจะ
จากเดิม ได้รับการชีแนะจาก
ครูหรือผู้อื่น

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 312

ตาราง แสดงการวิเคราะห์ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ตามระดับความสามารถของนักเรียน


โดยอาจใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี
ทักษะแห่ง รายการประเมิน ระดับความสามารถ
ศตวรรษที่
21 ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
C4 การ การนาเสนอข้อมูล นาเสนอข้อมูลจากการ นาเสนอข้อมูลจากการ นาเสนอข้อมูลจาก
สื่อสาร จากการสังเกต สังเกตโดยบรรยายการ สังเกตโดยบรรยายการ การสังเกตโดยบรรยาย
การเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลงทางเคมีให้ เปลี่ยนแปลงทางเคมีให้ การเปลี่ยนแปลงทาง
ทางเคมีโดยการ ผู้อื่นเข้าใจได้อย่าง ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง เคมีให้ผู้อื่นเข้าใจแต่ไม่
บรรยาย ถูกต้อง ชัดเจนได้ด้วย ชัดเจนโดยอาศัยการชีแนะ ชัดเจน แม้ว่าจะได้รับ
ตนเอง ของครูหรือผู้อื่น การชีแนะจากครูหรือ
ผู้อื่น
C5 ความ การทางานร่วมกับ สามารถทางานร่วมกับ สามารถทางานร่วมกับผู้อื่น สามารถทางานร่วมกับ
ร่วมมือ ผู้อื่นในการสังเกต ผู้อื่นรวมทังยอมรับฟัง รวมทังยอมรับฟังความ ผู้อื่นในการสังเกต
การเปลี่ยนแปลง ความคิดเห็นของผู้อื่น คิดเห็นของผู้อื่นอย่าง การเปลี่ยนแปลงของ
ของสารเมื่อนา อย่างสร้างสรรค์ในการ สร้างสรรค์ในการสังเกต สารเมื่อนาสารมาผสม
สารมาผสมกัน สังเกต การเปลี่ยนแปลงของสาร กันแล้วเกิดการ
แล้วเกิดการ การเปลี่ยนแปลงของ เมื่อนาสารมาผสมกันแล้ว เปลี่ยนแปลงทางเคมี
เปลี่ยนแปลงทาง สารเมื่อนาสารมาผสม เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง และได้บ้างแต่ไม่แสดง
เคมีและยอมรับ กันแล้วเกิดการ เคมีและเป็นบางครังทังนี ความคิดเห็น แม้ว่าจะ
ความคิดเห็นของ เปลี่ยนแปลงทางเคมี ต้องอาศัยการกระตุ้นจากครู ได้รับคาชีแนะจากครู
ผู้อื่น และตังแต่เริ่มต้นจน หรือผู้อื่น หรือผู้อื่น
เสร็จสินกิจกรรม

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


313 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

กิจกรรมท้ายบทที่ 2 การเปลี่ยนแปลงทางเคมี (1 ชั่วโมง)

1. นักเรียนวาดรูปหรือเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ จากบทนี ในแบบบันทึก


กิจกรรม หน้า 127
2. นักเรียนตรวจสอบการสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ของตนเองโดยเปรียบเทียบ
กับผังมโนทัศน์ในหัวข้อ รู้อะไรในบทนี้ ในหนังสือเรียน หน้า 118
3. นักเรียนตรวจคาตอบของตนเองในสารวจความรู้ก่อนเรียน ในแบบ
บั น ทึ ก กิ จ กรรม หน้ า 114-115 อี ก ครั ง ถ้ า ค าตอบของนั ก เรี ย นไม่
ถูกต้องให้ ขีดเส้ นทับ ข้อความเหล่านัน แล้ ว แก้ไขให้ ถูกต้องโดยการ
เลือกคาตอบใหม่ หรืออาจแก้ไขคาตอบด้วยปากกาที่มีสีต่างจากเดิม
นอกจากนีครู อาจน าคาถามในรูป น าบทในหนั งสื อเรี ยน หน้า 106
มาร่วมกันอภิปรายคาตอบอีกครัง ดังนี
การจุดโคมลอยมีการเปลี่ ยนแปลงทางเคมีเกิดขึนหรือไม่ และการ
เปลี่ยนแปลงทางเคมีเป็นอย่างไร ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายแนว
ทางการตอบคาถาม เช่น เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี สังเกตจากมี
เปลวไฟ มีควัน และร้อนขึน และการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเป็ นการ
เปลี่ยนแปลงที่มีสารใหม่เกิดขึน
4. นักเรียนทา แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2 การเปลี่ยนแปลงทางเคมี ครูสุ่ม
นักเรียนให้ นาเสนอคาตอบหน้าชันเรียน ถ้าคาตอบยัง ไม่ถูกต้อง ครู
ควรน าอภิ ป รายหรื อ ให้ ส ถานการณ์ เ พิ่ ม เติ ม เพื่ อ แก้ ไ ขแนวคิ ด
คลาดเคลื่อนให้ถูกต้อง
5. นักเรียนร่วมกันทากิจกรรม ร่วมคิดร่วมทา โดยให้นักเรียนหาวิธีป้องกัน
การเกิดสนิมของของใช้ในครัวเรือน เช่น มีด ตะปู กรรไกรตัดหญ้า เป็น
ต้น

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 314

สรุปผลการเรียนรู้ของตนเอง

นักเรียนวาดรูปและบรรยายตามความเข้าใจ

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


315 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

แนวคาตอบในแบบบันทึกกิจกรรม

แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
กรดคาร์บอนิก
แคลเซียมคาร์บอเนต

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 316

เคมี
มีสารใหม่เกิดขึ้นคือกรดคาร์บอนิก

เคมี
มีสารใหม่เกิดขึ้นคือสารละลายแคลเซียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต

เคมี
มีสารใหม่เกิดขึ้นคือแคลเซียมคาร์บอเนต น้าและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีสารใหม่เกิดขึ้น

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


317 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 318

ความรู้เพิ่มเติมสาหรับครู
 การเกิ ด ฝนกรดเกิ ด จากน าท าปฏิ กิ ริ ย ากั บ แก๊ ส ซั ล เฟอร์ ไ ด
ออกไซด์ในอากาศเกิดสารใหม่คือกรดซัลฟิวริก
 การเผาไหม้เกิดจากเชือเพลิง เช่น แก๊สหุงต้มทาปฏิกิริยากับ
แก๊สออกซิเจนได้สารใหม่คือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับไอนา
บางกรณีอาจมีเขม่าและแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์เกิดขึนด้วย
 การจุดพลุเป็นการติดไฟของสารที่ใช้ทาพลุ สารใหม่ที่ได้ขึนอยู่
กับชนิดของสารที่ใช้ทาพลุ

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


319 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

บทที่ 3 การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้
จุดประสงค์การเรียนรู้ประจาบท
เมื่อเรียนจบบทนี นักเรียนสามารถ
วิเคราะห์และระบุการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และการ
เปลี่ยนแปลงที่ผันกลับไม่ได้
เวลา 6 ชั่วโมง
แนวคิดสาคัญ
เมื่อสารบางชนิดเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้ว สามารถทาให้
กลั บ มาเป็ น สารเดิ ม ก่ อ นที่ จ ะเกิ ด การเปลี่ ย นแปลงได้ เป็ น การ
เปลี่ยนแปลงที่ผันกลั บ ได้ แต่การเปลี่ยนแปลงของสารบางชนิด
เมื่อเปลี่ยนแปลงแล้วไม่สามารถทาให้กลับมาเป็นสารเดิมได้เป็น
การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับไม่ได้
สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
1. หนังสือเรียน ป. 5 เล่ม 1 หน้า 123-137
2. แบบบันทึกกิจกรรม ป. 5 เล่ม 1 หน้า 134-147

บทนี้มีอะไร
เรื่องที่ 1 การเปลี่ยนแปลงที่ผัน กลั บได้ แ ละ
ผันกลับไม่ได้
คาสาคัญ เชือเพลิง (fuel)
กิจกรรมที่ 1 ผั น กลั บ ได้ แ ละผั น กลั บ ไม่ ไ ด้ เ ป็ น
อย่างไร

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 320

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
กิจกรรมที่
รหัส ทักษะ
1
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
S1 การสังเกต 
S2 การวัด
S3 การใช้จานวน
S4 การจาแนกประเภท
S5 การหาความสัมพันธ์ระหว่าง
 สเปซกับสเปซ 
 สเปซกับเวลา
S6 การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
S7 การพยากรณ์
S8 การลงความเห็นจากข้อมูล 
S9 การตังสมมติฐาน
S10 การกาหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
S11 การกาหนดและควบคุมตัวแปร
S12 การทดลอง
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป 
S14 การสร้างแบบจาลอง
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
C1 การสร้างสรรค์
C2 การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
C3 การแก้ปัญหา
C4 การสื่อสาร 
C5 ความร่วมมือ 
C6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


321 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

แนวคิดคลาดเคลื่อน
แนวคิดคลาดเคลื่อนที่อาจพบและแนวคิดที่ถูกต้องในบทที่ 3 การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้ มี
ดังต่อไปนี

แนวคิดคลาดเคลื่อน แนวคิดที่ถูกต้อง
การเดือดและการกลายเป็นไอเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผัน การเดือดและการกลายเป็นไอเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับ
กลับไม่ได้ (Allen, 2014) ได้ (Allen, 2014)

ถ้าครูพบว่า นักเรียนมีแนวคิดคลาดเคลื่อนที่ยังไม่ได้แก้ไขจากการทากิจกรรมการเรียนรู้ ครูควรจัดการเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อ


แก้ไขแนวคิดคลาดเคลื่อนให้ถูกต้อง

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 322

บทนี้เริ่มต้นอย่างไร (1 ชั่วโมง)
1. ครูทบทวนความรู้พืนฐานของนักเรียนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง
ทางกายภาพและการเปลี่ยนแปลงทางเคมีโดยครูใช้คาถามดังนี
1.1 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและการเปลี่ยนแปลงทาง
ในการตรวจสอบความรู้ ครู
เคมี แ ตกต่ า งกั น อย่ า งไร (นั ก เรี ย นควรตอบได้ ว่ า การ
เพียงรับฟังเหตุผลของนักเรียน
เปลี่ยนแปลงทางกายภาพเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สารก่อน
เป็ น ส าคั ญ และยั ง ไม่ เ ฉลย
และหลั ง การเปลี่ ย นแปลงยั ง เป็ น สารเดิ ม แต่ ก าร
คาตอบใด ๆ ให้กับนักเรียน แต่
เปลี่ยนแปลงทางเคมีจะมีสารใหม่เกิดขึน)
ชักชวนนักเรียน ไปหาคาตอบที่
1.2 นั ก เรี ย นคิ ด ว่ า การเปลี่ ย นแปลงทางกายภาพและการ
ถูกต้องจากกิจ กรรมต่า ง ๆ ใน
เปลี่ ย นแปลงทางเคมี จะสามารถผั น กลั บ ได้ ห รื อ ไม่
บทเรียนนี
(นักเรียนตอบตามความเข้าใจของตนเอง)
2. ครูชักชวนนักเรียนศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และ
ผันกลับไม่ได้โดยให้อ่านชื่อหน่วย ชื่อบท และจุดประสงค์การ
เรี ย นรู้ ป ระจ าบท ในหนั ง สื อ เรี ย นหน้ า 123 จากนั นครู ใ ช้
คาถามดังนี
2.1 บทนีจะเรียนเรื่องอะไร (การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และ
ผันกลับไม่ได้)
2.2 จากจุดประสงค์การเรียนรู้ เมื่อจบบทเรียนนักเรี ย นจะ
สามารถท าอะไรได้ บ้ า ง (วิ เ คราะห์ แ ละระ บุ ก าร
เปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และการเปลี่ยนแปลงที่ผั นกลับ
ไม่ได้)
3. นักเรียนอ่านชื่อบทและแนวคิดสาคัญ ในหนังสือเรียนหน้า 124
จากนันครูซักถามความเข้าใจของนักเรียนโดยใช้คาถามดังนีใน
บทนีนักเรียนจะเรียนเกี่ยวกับ เรื่องอะไรบ้าง (ในบทนี จะเรียน
เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และการเปลี่ยนแปลงที่ผัน
กลับไม่ได้)
4. ครูชักชวนให้นักเรียนสังเกตรูป และอ่านเนือเรื่องในหน้า 124
โดยครู ฝึ ก ทั ก ษะการอ่ า นตามวิ ธี ก ารอ่ า นที่ เ หมาะสมกั บ
ความสามารถของนั ก เรี ยน ครู ใ ช้ ค าถามเพื่ อ ตรวจสอบความ
เข้าใจจากการอ่านดังต่อไปนี
4.1 จากเรื่ อ งที่ อ่ า นกล่ า วถึ ง สารอะไรบ้ า ง (น า ไอน า ไข่ ดิ บ
ไข่ดาว)
4.2 เรามองเห็นไอนาหรือไม่ อย่างไร (เรามองไม่เห็นไอนา)
4.3 สารอะไรบ้ า งที่ เ ปลี่ ย นแปลงไปแล้ ว สามารถกลั บ มาเป็ น
เหมือนเดิมได้ (นา)
4.4 สารอะไรบ้างที่เปลี่ยนแปลงไปแล้วไม่สามารถกลับมาเป็น
เหมือนเดิมได้ (นักเรียนตอบตามความเข้าใจ)

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


323 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

ครู ชั ก ชวนนั ก เรี ย นว่ า ในบทนี เราจะเรี ย นเกี่ ย วกั บ การ


เปลี่ยนแปลงของสารว่าถ้าเปลี่ยนแปลงไปแล้วกลับมาเป็น
สารเดิมเราเรียกว่าอะไร และถ้าการเปลี่ยนแปลงที่สารไม่ การเตรียมตัวล่วงหน้าสาหรับครู
สามารถกลับมาเป็นสารเดิมได้เราเรียกว่าอะไร เพื่อจัดการเรียนรู้ในครั้งถัดไป
5. ครูชักชวนนักเรียนตอบคาถามเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับ
ได้และผันกลับไม่ได้ในสารวจความรู้ก่อนเรียน ในครังถัด ไป นักเรียนจะได้ เ รี ย น
6. นักเรียนทา สารวจความรู้ก่อนเรียน ในแบบบันทึกกิจกรรม หน้า เรื่ อ งที่ 1 การเปลี่ ย นแปลงที่ ผั น กลั บ ได้
134-135 โดยนักเรียนอ่านคาถาม ครูตรวจสอบความเข้าใจของ และผันกลับไม่ได้ ครูเตรียมสื่อการสอน
นั ก เรี ย นจนแน่ ใ จว่ า นั ก เรี ย นสามารถท าได้ ด้ ว ยตนเอง จึ ง ให้ คื อ เตรี ย มบั ต รภาพหรื อ ภาพในสไลด์
นักเรียนตอบคาถาม โดยคาตอบของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน เกี่ยวกับ ผลไม้สุก การต้มนา การเกิดสนิม
และคาตอบอาจถูกหรือผิดก็ได้ การเกิดหมอก การเติมนาหวานในนา
7. ครูสังเกตคาตอบของนักเรียนเพื่อตรวจสอบว่านักเรียนมีแนวคิด
เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลั บได้และผันกลับไม่ได้อย่างไร
ครูอาจสุ่มให้นักเรียน 2 – 3 คน นาเสนอคาตอบของตนเองโดย
ครู ยังไม่ ต้องเฉลยคาตอบ แต่จะให้ นักเรียนย้อนกลั บ มาตรวจ
ค าตอบอี ก ครั งหลั ง จากเรี ย นจบบทนี แล้ ว ทั งนี ครู อ าจบั น ทึ ก
แนวคิดคลาดเคลื่ อนและแนวคิ ด ที่ น่ าสนใจของนั ก เรี ยน แล้ ว
น ามาออกแบบการจั ด การเรี ย นการสอนเพื่ อ แก้ ไ ขแนวคิ ด
คลาดเคลื่ อ นให้ ถู ก ต้ อ ง และต่ อ ยอดแนวคิ ด ที่ น่ า สนใจของ
นักเรียนต่อไป

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 324

แนวคาตอบในแบบบันทึกกิจกรรม

การสารวจความรู้ก่อนเรียน นักเรียนอาจตอบคาถามถูกหรือผิดก็ได้ขึนอยู่กับความรู้เดิมของนักเรียน
แต่เมื่อเรียนจบบทเรียนแล้ว ให้นักเรียนกลับมาตรวจคาตอบอีกครังและแก้ไขให้ถูกต้อง ดังตัวอย่าง




นาน้าไปทาให้เย็นลงหรือทาให้น้า
สูญเสียความร้อน น้าจะเปลี่ยนเป็น
น้าแข็งเหมือนเดิม

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


325 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร


ทาให้ไอของพิมเสนเย็นลงหรือทาให้ไอของ
พิมเสนสูญเสียความร้อน ไอของพิมเสนจะ
ระเหิดกลับมาเป็นพิมเสนที่เป็นของแข็งสี
ขาวเหมือนเดิม


ทาให้ช็อกโกแลตเหลวเย็นลงหรือทาให้
ช็อกโกแลตเหลวสูญเสียความร้อน ช็อกโกแลต
เหลวจะแข็งตัวเป็นก้อนช็อกโกแลตเหมือนเดิม



 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 326

เรื่องที่ 1 การเปลี่ยนแปลงที่
ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้
ในเรื่องนีนักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่
ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้
จุดประสงค์การเรียนรู้
วิเคราะห์และระบุการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และการเปลี่ยนแปลงที่
ผันกลับไม่ได้
เวลา 3 ชั่วโมง
วัสดุ อุปกรณ์สาหรับทากิจกรรม
พาราฟิน ไม้ขีดไฟ กระดาษ แบบพิมพ์ จานกระดาษ เทียนไข บีกเกอร์
กระป๋ อ งทราย ปากคี บ ชุ ด ตะเกี ย งแอลกอฮอล์ ถ้ ว ยกระเบื อง
แท่งแก้วคน
สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
1. หนังสือเรียน ป.5 เล่ม 1 หน้า 126-137
2. แบบบันทึกกิจกรรม ป.5 เล่ม 1 หน้า 136-147

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


327 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

แนวการจัดการเรียนรู้ (30 นาที)


ขั้นตรวจสอบความรู้ (5 นาที)

1. ครูเขียนคาว่า การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และการเปลี่ยนแปลงที่
ในการตรวจสอบความรู้ ครู
ผันกลับไม่ได้บนกระดาน นักเรียนร่วมกันอภิปรายว่าหมายถึงอะไร เพียงรับฟังเหตุผลของนักเรียน
ครู ใ ห้ นั ก เรี ย นช่ ว ยกั น สั ง เกตว่ า ในชี วิ ต ประจ าวั น มี อ ะไรเป็ น การ เป็ น ส าคั ญ และยั ง ไม่ เ ฉลย
เปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้บ้าง จากนันครูให้นักเรียนดูภาพสถานการณ์ คาตอบใด ๆ ให้กับนักเรียน แต่
ต่าง ๆ เช่น ผลไม้สุก การต้มนา การเกิดสนิม การเติมนาหวานในนา ชักชวนนักเรียน ไปหาค าตอบ
ครูและนักเรียนร่วมกัน อภิปรายและจาแนกว่า อะไรบ้างที่เป็นการ ตนเองจากการอ่านเนือเรื่อง
เปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และอะไรเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับไม
ได้
นักเรียนตอบคาถามตามความเข้าใจของตัวเอง ครูชักชวนให้นักเรียน
ศึกษาในบทเรียนต่อไปเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และผัน
กลับไม่ได้คืออะไร

ขั้นฝึกทักษะจากการอ่าน (20 นาที)


2. นักเรียนอ่านชื่อเรื่ อง และคิด ก่อนอ่า น ในหนังสื อเรียนหน้า 126
แล้ ว ร่ ว มกั น อภิ ป รายค าตอบของคิ ด ก่ อ นอ่ า นในกลุ่ ม เพื่ อ หาแนว
คาตอบตามความเข้าใจของกลุ่ ม ครู สุ่ มนักเรียนบางกลุ่ มนาเสนอ
ค าตอบ และบั น ทึ ก ค าตอบของนั ก เรี ย นบนกระดานเพื่ อ ใช้
เปรียบเทียบคาตอบภายหลังจากการอ่านเนือเรื่อง
3. นักเรียนอ่าน คาสาคัญ ทังภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (หากนักเรียน
อ่านไม่ได้ ครูควรสอนอ่านให้ถูกต้อง) จากนันครูชักชวนให้นักเรียน
อธิบายความหมายของคาสาคัญจากเรื่องที่อ่าน
4. นักเรียนอ่านเนือเรื่องในหนังสือเรียนหน้า 126-127 โดยครูฝึกทักษะ
การอ่านตามวิธีการอ่านที่เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียน ครู
ใช้คาถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจจากการอ่าน โดยใช้คาถามดังนี
4.1 เชื อเพลิ ง หมายถึ ง อะไร (สารที่ ส ามารถติ ด ไฟหรื อ เกิ ด
การเผาไหม้ได้)
4.2 สิ่งที่ได้จากการเผาไหม้เชือเพลิงมีอะไรบ้าง
(แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ นา ความร้อน อาจมีเขม่า ครูให้
ความรู้เพิ่มเติมว่าอาจมีแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ด้วย)

4.3 เราสามารถทาสารที่ได้จากการเผาไหม้ให้กลับมาเป็นเชือเพลิง
ได้หรือไม่ (ไม่สามารถทาให้สารกลับมาเป็นเชือเพลิงได้อีก)
4.4 แก๊สธรรมชาตินามาใช้ประโยชน์อย่างไร (เป็น เชือเพลิงและเป็น
วัตถุดิบในการผลิตเม็ดพลาสติก)

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 328

4.5 พลาสติกบางชนิดที่ใช้แล้วสามารถนากลับมาใช้ใหม่ได้หรือไม่
อย่างไร (นากลับมาใช้ใหม่ได้โดยการนาพลาสติกที่ใช้แล้ ว มา
หลอมแล้วนามาทาเป็นวัตถุชินใหม่ เช่น ถุงขยะ)
การเตรียมตัวล่วงหน้าสาหรับครู
ขั้นสรุปจากการอ่าน (5 นาที) เพื่อจัดการเรียนรู้ในครั้งถัดไป
5. ครู แ ละนั ก เรี ย นร่ ว มกั น สรุ ป เรื่ อ งที่ อ่ า นซึ่ ง ควรสรุ ป ได้ ว่ า การ
เปลี่ยนแปลงของสารบางอย่างไม่สามารถทาให้กลับมาเป็นสารเดิมได้ ในครั งถั ด ไป นั ก เรี ย นจะได้ ท า
เช่น การเผาไหม้เชือเพลิงทาให้เกิดสารใหม่ที่ไม่สามารถทาสารนันให้ กิจกรรมที่ 1 ผันกลับได้หรือผันกลับไม่ได้
กลับมาเป็นเชือเพลิงเช่นเดิมได้ แต่สารบางอย่างเมื่อเปลี่ยนแปลงไป เป็ น อย่ า งไร ครู เ ตรี ย มสื่ อ การสอนคื อ
แล้ ว สามารถทาสารนันให้ กลั บ มาเป็นสารเดิม ได้ เช่น พลาสติก ที่ เตรียมตัดก้อนพาราฟิ นให้ มี ขนาดเท่ า ๆ
หลอมเหลวแล้วนาไปทาสิ่ง ของต่างๆ และสามารถนาพลาสติก ที่ใช้ กั น จ านวน 2 ก้ อ นต่ อ กลุ่ ม และเตรี ยม
แล้วนันมาหลอมเหลวจะได้พลาสติกเหลวซึ่งนาไปขึนรูปทาเป็นวัตถุ แบบพิมพ์ที่มีขนาดเท่า ๆ กัน 2 อัน และ
ชินใหม่ได้ วี ดิ ทั ศ น์ ก า ร ท า ขี ผึ ง แ ผ่ น เ ช่ น
https://www.youtube.com/watch?v=
6. นักเรียนตอบคาถามใน รู้หรือยัง ในแบบบันทึกกิจกรรม หน้า 136 5Re7En1-BUE
7. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อเปรียบเทียบคาตอบของนักเรียน
ในรู้หรือยังกับคาตอบที่เคยตอบในคิดก่อนอ่าน
8. ครูชักชวนนักเรียนลองตอบคาถามท้ายเรื่องที่อ่าน ดังนี
8.1 การเผาไหม้เชือเพลิง การนาเม็ดพลาสติกไปหลอมแล้วขึนรูปเป็น
ผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้หรือผันกลับไม่ได้
เพราะเหตุใด ครูชักชวนให้นักเรียนหาคาตอบจากการทากิจกรรม

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


329 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

แนวคาตอบในแบบบันทึกกิจกรรม

เพราะน้ามันเชื้อเพลิงและแก๊สธรรมชาติเกิดการเผาไหม้แล้วไม่สามารถทาให้
กลับมาเป็นน้ามันเชื้อเพลิงและแก๊สธรรมชาติได้เหมือนเดิม ถ้าใช้แล้วจะหมด
ไปเราจึงต้องใช้น้ามันเชื้อเพลิงและแก๊สธรรมชาติอย่างประหยัด

สามารถนาพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยการนาวัตถุที่ทาจากพลาสติกบาง
ชนิดมาหลอมเหลว แล้วนาพลาสติกที่หลอมเหลวนั้นไปขึ้นรูปเป็นวัตถุชิ้นใหม่

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 330

กิจกรรมที่ 1 ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้
เป็นอย่างไร
กิจกรรมนีนักเรียนจะได้สังเกตและอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่
ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้
เวลา 1 ชั่วโมง
จุดประสงค์การเรียนรู้
สังเกตและอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับ ได้และผั นกลั บ
ไม่ได้
วัสดุ อุปกรณ์สาหรับทากิจกรรม
สิ่งที่ต้องเตรียม
สิ่งที่ครูต้องเตรียม/กลุ่ม
1. พาราฟิน 1 ก้อน
2. เทียนไข 1 เล่ม
3. กระดาษ 1 แผ่น
4. แบบพิมพ์ 2 อัน
5. จานกระดาษ 2 ใบ
6. ไม้ขีดไฟ 1 กลัก
7. บีกเกอร์ขนาด 250 cm3 2 ใบ
8. ปากคีบ 1 อัน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
9. กระป๋องทราย 1 ใบ S1 การสังเกต
10. ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์ 1 ชุด S5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเปซ
11. แท่งแก้วคน 1 อัน S8 การลงความเห็นจากข้อมูล
12. ถ้วยกระเบือง 1 ใบ S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
สิ่งที่ครูต้องเตรียม/คน ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
- C4 การสื่อสาร
สิ่งที่นักเรียนต้องเตรียม/กลุม่ C5 ความร่วมมือ
- สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้
1. หนังสือเรียน ป.5 เล่ม 1 หน้า 128-131
2. แบบบันทึกกิจกรรม ป.5 เล่ม 1 หน้า 137-142
3. ตัวอย่างวีดิทัศน์ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สาหรับครู
เรื่องการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้
เป็นอย่างไร

http://ipst.me/9869
ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
331 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูนาเข้าสู่กิจกรรม โดยให้นักเรียนดูวีดิทัศน์เกี่ยวกับการทาขีผึง
แผ่นและนาอภิปราย โดยอาจใช้คาถาม ดังนี
1.1 จากวีดิทัศน์เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึน
หรือไม่ อย่างไร (การทาขีผึงแผ่น มีการเปลี่ยนแปลงจากขีผึง ในการตรวจสอบความรู้ ครู
แผ่นเมื่อได้รับความร้อนจะหลอมเหลวกลายเป็นขีผึงเหลว เพียงรับฟังเหตุผลของนักเรียน
และเมื่อเย็นลงจะกลับมาเป็นขึผึงซึ่งมีสถานะเป็นของแข็ง) เป็ น ส าคั ญ และยั ง ไม่ เ ฉลย
1.2 การเปลี่ ย นแปลงของขี ผึ ง ผั น กลั บ ได้ ห รื อ ผั น กลั บ ไม่ ไ ด้ คาตอบใด ๆ ให้กับนักเรียน แต่
(คาตอบขึนอยู่กับความเข้าใจของนักเรียน) ชักชวนนักเรียน ไปหาคาตอบที่
ถูกต้องจากกิจ กรรมต่า ง ๆ ใน
2. นักเรียนอ่านชื่อกิจกรรม และ ทาเป็นคิดเป็น ในหนังสือเรียนหน้า บทเรียนนี
128 จากนั น ครู ต รวจสอบความเข้ า ใจของนั ก เรี ย นเกี่ ย วกั บ
จุดประสงค์ของกิจกรรม โดยใช้คาถามดังต่อไปนี
2.1 กิ จ กรรมนี นั ก เรี ย นจะได้ เ รี ย นเกี่ ย วกั บ เรื่ อ งอะไร (การ
เปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้)
2.2 นักเรียนจะได้เรียนเรื่องนีด้วยวิธีใด (การสังเกต)
2.3 เมื่อเรียนแล้วนักเรียนจะทาอะไรได้ (อธิบายการเปลี่ยนแปลง
ที่ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้)
ให้ นั ก เรี ย นบั น ทึ ก จุ ด ประสงค์ ข องกิ จ กรรมในแบบบั น ทึ ก
กิจกรรมหน้า 137
3. นักเรียนอ่านสิ่งที่ต้องใช้ ในกิจกรรม ครูสอบถามเกี่ยวกับวัสดุ
อุปกรณ์ว่านักเรียนรู้จักหรือไม่ ถ้านักเรียนไม่รู้จักวัสดุอุปกรณ์
บางอย่าง เช่น พาราฟิน ถ้วยกระเบือง แบบพิมพ์ ครูควรนาสิ่ง
นันมาแสดงให้ดู
4. นักเรียนอ่านทาอย่างไร ในหนังสือเรียนหน้า 128-129 ทัง 2 ตอน
พร้อมดูแบบบันทึกกิจกรรมหน้า 137-139 ควบคู่ไปด้วย โดยฝึก
ทักษะการอ่านตามความเหมาะสม จากนันร่วมกันอภิปรายเพื่อ
สรุ ป ขั นตอนการท ากิ จ กรรม โดยครู อ าจใช้ ค าถามและฝึ ก ให้
นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนแผนผังแสดงขันตอนการทากิจกรรม ดัง
ตั ว อย่ า ง ครู อ าจสุ่ ม ตั ว แทนนั ก เรี ย นบางกลุ่ ม น าเสนอแผนผั ง
กิจกรรมกลุ่มตามที่ได้วางแผนไว้

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 332

ตัวอย่างการเขียนแผนผังการทากิจกรรม
ตอนที่ 1

สังเกตพาราฟิน
บันทึกผล

แบ่งพาราฟินเป็น 2 ส่วน

คาดคะเนผลที่เกิดขึน
เมื่อให้ความร้อนกับพาราฟินส่วนที่ 1 และ
เมื่อวางพาราฟินให้เย็น

ทากิจกรรมเพื่อตรวจสอบการคาดคะเน
บันทึกผล

อภิปรายเปรียบเทียบลักษณะของ
พาราฟินส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2

เขียนแผนภาพแสดงการเปลี่ยนแปลงของ
พาราฟิน ส่วนที่ 1 บันทึกผลในแบบ
บันทึกหน้า 138 และนาเสนอ

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


333 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

ตอนที่ 2
สังเกตกระดาษ บันทึกผล

แบ่งกระดาษเป็น 2 ส่วน

คาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึน
เมื่อเผากระดาษส่วนที่ 1

ทากิจกรรมเพื่อตรวจสอบการคาดคะเน
บันทึกผล

เปรียบเทียบลักษณะของกระดาษส่วนที่ 2 กับ
กระดาษที่เผาแล้ว บันทึกผล

อภิปรายวิธีทาให้กระดาษที่เผากลับมาเป็น
แผ่นกระดาษก่อนเผาได้หรือไม่ได้ อย่างไร
และนาเสนอ

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 334

5. เมื่อนักเรียนเข้าใจวิธีทากิจกรรมแล้ว ครูแจกอุปกรณ์ให้นักเรียน เริ่ม


ปฏิบัติกิจกรรมตามขันตอน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะ
แห่งศตวรรษที่ 21 ที่นักเรียนจะได้ฝึกจากการ
6. หลั งจากทากิจกรรมแล้ ว นักเรียนเก็บ อุป กรณ์ให้ เรีย บร้ อย แล้ ว ให้
ทากิจกรรม
นักเรียนนาเสนอ ครูนาอภิปรายผลการทากิจกรรม โดยใช้คาถามดังนี
6.1 พาราฟินมีลักษณะอย่างไร (พาราฟินเป็นของแข็งสีขาวขุ่น หมาย S1 การสังเกตลักษณะของสารก่อนและ
เหตุ ลั ก ษณะของพาราฟิ น ขึ นอยู่ กั บ ตั ว อย่ า งพาราฟิ น ที่ น ามา หลังให้ความร้อนและเผาไฟและการ
สังเกตในกิจกรรมให้บันทึกผลตามความเป็นจริง) เปลี่ยนแปลงขณะให้ความร้อนและเผาไฟ
S5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเป
6.2 เมื่อนาพาราฟิน ส่วนที่ 1 มาให้ความร้อน เกิดการเปลี่ยนแปลง
ซจากการบอกลักษณะของสารเมื่อเกิดการ
อย่างไรและเมื่อวางไว้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร (พาราฟินส่วน เปลี่ยนแปลง
ที่ 1 เมื่อได้รับความร้อนจะหลอมเหลวและเมื่อวางไว้จะแข็งตัว) S8 การลงความเห็นจากข้อมูลจากการ
6.3 การเปลี่ยนแปลงของพาราฟินเมื่อให้ความร้อนและวางไว้ให้เย็น สังเกตซึ่งสามารถบอกได้ว่าการ
เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้หรือผันกลับไม่ได้ รู้ได้อย่างไร เปลี่ยนแปลงใดที่ไม่สามารถกลับมาเป็น
(เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ เพราะพาราฟินส่วนที่ 1 เมื่อ สารเดิมและการเปลี่ยนแปลงใดสามารถ
ได้รับความร้อนจะหลอมเหลวเป็นพาราฟินเหลวเมื่อวางไว้ให้เย็น กลับมาเป็นสารเดิม
C4 การสื่อสารจากการพูด เขียนบรรยาย
พาราฟิ น เหลวจะแข็ ง ตั ว กลั บ มาเป็ น พาราฟิ น ที่ เ ป็ น ของแข็ ง การเปลี่ยนแปลงเมื่อนาสารมาให้ความร้อน
เหมือนเดิม) และเผาไฟ
6.4 กระดาษมีลักษณะอย่างไร (เป็นแผ่นบาง สีขาว) C5 ความร่วมมือจากการทางานร่วมกันใน
หมายเหตุ ลักษณะของกระดาษขึนอยู่กับตัวอย่างที่นักเรียนสังเกต กลุ่ม
ในกิจกรรมให้บันทึกผลการสังเกตตามจริง)
6.5 เมื่อนากระดาษมาเผาเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร (กระดาษติด
ไฟ มีเปลวไฟ เกิดควันและของแข็งสีดาหรือเขม่าสีดา)
6.6 เราสามารถทาให้กระดาษที่ไหม้แล้วกลับมาเป็นกระดาษแผ่นเดิม
ได้หรือไม่ อย่างไร (ไม่ได้ เพราะไม่สามารถนาของแข็งสีดาและ
ควันที่เกิดขึนมารวมกันและทาเป็นแผ่นกระดาษได้)
6.7 การเปลี่ยนแปลงของกระดาษเมื่อนามาเผา เป็นการเปลี่ยนแปลง
ที่ผั นกลั บ ได้ห รือผั นกลั บ ไม่ได้ (เป็นการเปลี่ ยนแปลงที่ผั นกลับ
ไม่ได้)
6.8 การเปลี่ ยนแปลงที่ผั นกลั บ ได้และผั นกลั บ ไม่ไ ด้ต่า งกัน อย่ า งไร
(การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สารสามารถ
กลับมาเป็นสารเดิมหรือสารตังต้นได้ แต่การเปลี่ยนแปลงที่ผั น
กลับไม่ได้ สารที่เปลี่ยนแปลงไม่สามารถกลับมาเป็นสารตังต้นได้ )
7. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและลงข้อสรุปว่า การเปลี่ยนแปลงที่ผัน
กลับได้ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สารสามารถกลับมาเป็นสารตังต้นได้ แต่

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


335 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับไม่ได้ สารที่เปลี่ยนแปลงไม่สามารถกลับมา
เป็นสารตังต้นได้ (S13)
8. ครูชักชวนนักเรียนอภิปรายเกี่ยวกับการเปลี่ยนสถานะของสาร เช่น
การเดือด และการกลายเป็นไอ ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้
หรือผันกลับไม่ได้ ซึ่งนักเรียนควรตอบได้ว่า การเปลี่ยนสถานะเป็นการ
เปลี่ยนแปลงที่ผันกลับไม่ได้
9. ครูอภิปรายร่วมกับนักเรียนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และ
ผั น กลั บ ไม่ ไ ด้ ที่ พ บในชี วิ ต ประจ าวั น ประโยชน์ แ ละโทษของ
การเปลี่ ย นแปลงที่ ผั น กลั บ ได้ แ ละผั น กลั บ ไม่ ไ ด้ ต่ อ สิ่ ง มี ชี วิ ต และ
สิ่งแวดล้อม
10. นักเรียนร่วมกันอภิปรายคาตอบใน ฉัน รู้ อะไร โดยครูอาจใช้ค าถาม
เพิ่มเติมในการอภิปรายเพื่อให้ได้แนวคาตอบที่ถูกต้อง
11. นักเรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในกิจกรรมนี จากนันนักเรียนอ่าน
สิ่งที่ได้เรียนรู้ และเปรียบเทียบกับข้อสรุปของตนเอง
12. ครูกระตุ้นให้นักเรียนฝึ กตังคาถามเกี่ยวกับ เรื่องที่ส งสัยหรืออยากรู้
เพิ่มเติมใน อยากรู้อีกว่า จากนันครูอาจสุ่มนักเรียน 2 -3 คน นาเสนอ
ค าถามของตนเองหน้ า ชั นเรี ย น และให้ นั ก เรี ย นร่ ว มกั น อภิ ป ราย
เกี่ยวกับคาถามที่นาเสนอ
13. ครูนาอภิปรายเพื่อให้นักเรียนทบทวนว่าได้ฝึกทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 อะไรบ้างและในขันตอนใด
แล้วบันทึกลงในแบบบันทึกกิจกรรมหน้า 142
14. นักเรียนร่วมกันอ่าน รู้อะไรในเรื่องนี้ ในหนังสือเรียนหน้า 132 ครูนา
อภิปรายเพื่อนาไปสู่ข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในเรื่องนี จากนันครู
กระตุ้นให้นักเรียนตอบคาถามในช่วงท้ายของเนือเรื่องซึ่งเป็นคาถาม
เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนเนือหาในบทต่อ ไปดังนี วัฎจักรนาเป็น
อย่างไร นามีการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้อย่างไร นักเรียนสามารถ
ตอบตามความเข้าใจของตนเอง ซึ่งจะหาคาตอบที่ถูกต้องได้จากการ
เรียนต่อไป

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 336

แนวคาตอบในแบบบันทึกกิจกรรม

สังเกตและอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้ของ
พาราฟิน

ของแข็งสีขาวขุ่น
หมายเหตุ พาราฟินเป็นของแข็งสีขาวขุ่น แต่อาจผสมสีจึงเห็นเป็นสีอื่นๆ ให้บันทึกลักษณะ
ตามจริง

พาราฟินค่อยๆ
ขึ้นอยู่กับคาตอบ ขึ้นอยู่กับ พาราฟิน
เปลี่ยนจาก
ของนักเรียน คาตอบของ หลอมเหลวเป็น ของเหลวใสเป็น
นักเรียน ของเหลวใส ของแข็งสีขาวขุน่

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


337 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

พาราฟินส่วนที่ 1 หลังจากได้รับความร้อนและวางไว้ให้เย็นมีลักษณะเป็นของแข็ง
สีขาวขุ่นเหมือนกับพาราฟินส่วนที่ 2 เดิม

คาตอบขึ้นอยู่กับนักเรียน
เช่น ได้รับความร้อน
พาราฟิน (ของแข็ง) พาราฟิน (ของเหลว)
สูญเสียความร้อน

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 338

สังเกตและอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้ของกระดาษ

กระดาษเป็นแผ่นบางๆ มีสีขาว
หมายเหตุ กระดาษอาจเป็นสีอื่นๆ ให้บันทึกลักษณะตามจริง

ขึ้นอยู่กับคาตอบ ขึ้นอยู่กับคาตอบ กระดาษไหม้ มีของแข็งสีดา


ของนักเรียน ของนักเรียน เห็นเปลวไฟ อยู่ที่ก้น
เกิดควัน
ภาชนะ

กระดาษส่วนที่ 1 หลังจากเผาไฟและวางไว้ให้เย็นมีลักษณะแตกต่างจากกระดาษ
ส่วนที่ 2 กระดาษส่วนที่ 1 กลายเป็นของแข็งสีดา ส่วนที่ 2 เป็นแผ่นสีขาว เป็น
แผ่นๆ

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


339 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

ขึ้นอยู่กับการคาดคะเนของนักเรียน เช่นเหมือนกับที่คาดคะเน คือพาราฟินจะ


แข็งตัวเหมือนเดิม

เหมือนกัน คือเป็นของแข็งสีขาวขุ่น

เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ เนื่องจากพาราฟินที่เป็นของแข็งเมื่อได้รับ
ความร้อนจะหลอมเหลวเป็นพาราฟินเหลวซึ่งมีสถานะเป็นของเหลวและเมื่อวาง
ให้เย็นลง พาราฟินเหลวจะแข็งตัวเป็นพาราฟินที่เป็นของแข็งและสีเหมือนเดิม

เมื่อให้ความร้อนแก่พาราฟินซึ่งเป็นของแข็งมีสีขาวขุ่น พาราฟินจะ
หลอมเหลวกลายเป็นพาราฟินเหลวใส เมื่อวางไว้ให้เย็น พาราฟิน
เหลวจะเปลี่ยนเป็นพาราฟินที่เป็นของแข็งมีสีขาวขุ่นเหมือนเดิม
การเปลี่ยนแปลงของพาราฟินเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้
เนื่องจากเมื่อพาราฟินเปลี่ยนแปลงไปแล้วยังกลับมาเป็นพาราฟิน
เหมือนเดิมได้

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 340

ขึ้นอยู่กับการคาดคะเนของนักเรียน เช่น เหมือนกัน คือกระดาษจะติดไฟ เป็นของแข็ง


สีดา

ไม่เหมือนกัน ก่อนเผากระดาษมีลักษณะเป็นแผ่นบาง สีขาว เมื่อนาไปเผา กระดาษ


ไหม้เกิดเปลวไฟ ควัน และกลายเป็นของแข็งสีดา

สารที่เกิดจากการเผากระดาษไม่สามารถเปลี่ยนกลับมาเป็นกระดาษเหมือนเดิมได้
เพราะสารเปลี่ยนไปเป็นสารอื่น แม้จะวางไว้ให้เย็นก็ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงกลับมา
เป็นกระดาษอย่างเดิม

การเปลี่ยนแปลงของกระดาษเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับไม่ได้ เนื่องจากเมื่อกระ
ดาษเปลี่ยนแปลงไปแล้วไม่สามารถทาให้กลับมาเป็นกระดาษเหมือนเดิมได้

เมื่อให้ความร้อนโดยการเผากระดาษซึ่งเป็นของแข็งสีขาว กระดาษจะติดไฟมีเปลว
ไฟ (สีต่างๆ ตามที่สังเกตได้) และเกิดควัน เมื่อเปลวไฟดับ จะเหลือของแข็งสีดาที่ก้น
ภาชนะ การเปลี่ยนแปลงของกระดาษเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับไม่ได้ เนื่องจาก
เมื่อกระดาษเปลี่ยนแปลงไปแล้วไม่สามารถทาให้สารกลับมาเป็นกระดาษเหมือนเดิม
ได้

การเปลี่ยนแปลงของสารบางชนิด สามารถผันกลับได้ แต่บางชนิดผันกลับไม่ได้

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


341 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

คาถามของนักเรียนที่ตั้งตามความอยากรู้ของตนเอง











 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 342

แนวการประเมินการเรียนรู้
การประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนทาได้ ดังนี
1. ประเมินความรู้เดิมจากการอภิปรายในชันเรียน
2. ประเมินการเรียนรู้จากคาตอบของนักเรียนระหว่างการจัดการเรียนรู้และจากแบบบันทึกกิจกรรม
3. ประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จากการทากิจกรรมของนักเรียน

การประเมินจากการทากิจกรรมที่ 1 ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้เป็นอย่างไร
ระดับคะแนน
3 คะแนน หมายถึง ดี 2 คะแนน หมายถึง พอใช้ 1 คะแนน หมายถึง ควรปรับปรุง

รหัส สิ่งที่ประเมิน ระดับคะแนน


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
S1 การสังเกต
S5 การหาความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งสเปซ
กับสเปซ
S8 การลงความเห็นจากข้อมูล
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
C4 การสื่อสาร
C5 ความร่วมมือ

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


343 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

ตาราง แสดงการวิเคราะห์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามระดับความสามารถของนักเรียน
โดยอาจใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี
ทักษะ ระดับความสามารถ
กระบวนการทาง รายการประเมิน
วิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
S1 การสังเกต การบรรยายราย สามารถใช้ประสาทสัมผัส สามารถใช้ประสาทสัมผัส สามารถใช้ประสาท
ละเอียดโดยใช้ เก็บรายละเอียดในการ เก็บรายละเอียดในการ สัมผัสเก็บ
ประสาทสัมผัสใน สังเกตการเปลี่ยนแปลง สังเกตการเปลี่ยนแปลง รายละเอียดใน
การสังเกตการ ของพาราฟินและ ของพาราฟินและ การสังเกต
เปลี่ยนแปลง กระดาษเมื่อนามาให้ กระดาษเมื่อนามาให้ การเปลี่ยนแปลง
ของพาราฟินและ ความร้อนและเมื่อเย็นลง ความร้อนและเมื่อเย็นลง ของพาราฟินและ
กระดาษเมื่อนามา ได้ครบถ้วนด้วยตนเอง ได้ครบถ้วน โดยอาศัย กระดาษเมื่อนามา
ให้ความร้อนและ โดยไม่เพิ่มความคิดเห็น การชีแนะของครูหรือ ให้ความร้อนและ
เมื่อเย็นลง ผู้อื่น เมื่อเย็นลงได้ไม่
ครบถ้วน แม้ว่าจะ
ได้รับการชีแนะจาก
ครูหรือผู้อื่น

S5 การหา การบรรยาย สามารถบรรยายการ สามารถบรรยายการ สามารถบรรยาย


ความสัมพันธ์ ลักษณะการ ครอบครองพืนที่ของ ครอบครองพืนที่ของ การครอบครอง
ระหว่างสเปซ ครอบครองพืนที่ พาราฟินแข็ง และ พาราฟินแข็ง และ พืนทีข่ องพาราฟิน
กับสเปซ ของพาราฟินแข็ง พาราฟินเหลว พาราฟินเหลว แข็ง และพาราฟิน
และพาราฟินเหลว สิ่งที่ควรบรรยายได้คือ สิ่งที่ควรบรรยายได้คือ เหลว
สิ่งที่ควรบรรยาย -พาราฟินแข็งเป็นก้อนอยู่ -พาราฟินแข็งเป็นก้อน สิ่งที่ควรบรรยายได้
ได้คือ ที่ก้นภาชนะ อยู่ที่ก้นภาชนะ คือ
-พาราฟินแข็งเป็น -พาราฟินเหลวจะ -พาราฟินเหลวจะ -พาราฟินแข็งเป็น
ก้อนอยู่ที่ก้น ครอบครองพืนที่อยู่เต็ม ครอบครองพืนที่อยู่เต็ม ก้อนอยู่ที่ก้นภาชนะ
ภาชนะ ก้นภาชนะ ผิวหน้าเรียบ ก้นภาชนะ ผิวหน้าเรียบ -พาราฟินเหลวจะ
-พาราฟินเหลวจะ เสมอกัน ได้ถูกต้อง เสมอกัน ได้อย่างถูกต้อง ครอบครองพืนที่อยู่
ครอบครองพืนที่ ครบถ้วนด้วยตนเอง ครบถ้วนโดยอาศัยการ เต็มก้นภาชนะ
อยู่เต็มก้นภาชนะ ชีแนะของครูหรือผู้อื่น ผิวหน้าเรียบเสมอกัน
ผิวหน้าเรียบเสมอ ได้ไม่ครบถ้วน
กัน แม้ว่าจะได้รับการ
ชีแนะจากครูหรือ
ผู้อื่น

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 344

ทักษะ ระดับความสามารถ
กระบวนการทาง รายการประเมิน
วิทยาศาสตร์ ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
S8 การลง การนาข้อมูลที่ได้ สามารถนาข้อมูลที่ สามารถนาข้อมูลที่ สามารถนาข้อมูลที่
ความเห็นจาก จากการสังเกตการ รวบรวมได้จากการสังเกต รวบรวมได้จากการ รวบรวมได้จากการ
ข้อมูล เปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงของ สังเกตการเปลี่ยนแปลงสังเกตการ
ของพาราฟินกับ พาราฟินกับกระดาษเมื่อ ของพาราฟินกับกระดาษ เปลี่ยนแปลงของ
กระดาษเมื่อนามา นามาให้ความร้อนโดยลง เมื่อนามาให้ความร้อนพาราฟินกับ
ให้ความร้อนโดย ความเห็นได้ว่า โดยลงความเห็นได้ว่า กระดาษเมื่อนามา
ลงความเห็นได้ว่า การเปลี่ยนแปลงของ การเปลี่ยนแปลงของ ให้ความร้อนโดยลง
การเปลี่ยนแปลง พาราฟินเป็นการ พาราฟินเป็นการ ความเห็นได้ว่า
ของพาราฟินเป็น เปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ การเปลี่ยนแปลง
เปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้
การเปลี่ยนแปลงที่ ส่วนการเปลี่ยนแปลงของ ส่วนการเปลี่ยนแปลง ของพาราฟินเป็น
ผันกลับได้ ส่วน กระดาษเป็นการ ของกระดาษเป็นการ การเปลี่ยนแปลงที่
การเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลงที่ผันกลับ เปลี่ยนแปลงที่ผันกลับ
ผันกลับได้ ส่วนการ
ของกระดาษเป็น ไม่ได้ ได้ถูกต้องครบถ้วน ไม่ได้ ได้ถูกต้องครบถ้วน
เปลี่ยนแปลงของ
การเปลี่ยนแปลงที่ ได้ด้วยตนเอง โดยอาศัยการชีแนะของ กระดาษเป็นการ
ผันกลับไม่ได้ ครูหรือผู้อื่น เปลี่ยนแปลงที่ผัน
กลับไม่ได้ ได้ถูกต้อง
แต่ไม่ครบถ้วนแม้ว่า
จะได้รับการชีแนะ
จากครูหรือผู้อื่น
S13 การ ตีความหมาย สามารถตีความหมาย สามารถตีความหมาย สามารถ
ตีความหมายข้อมูล ข้อมูลจากการ ข้อมูลจากการสังเกตการ ข้อมูลจากการสังเกตการ ตีความหมายข้อมูล
และลงข้อสรุป สังเกตการ เปลี่ยนแปลงของพาราฟิน เปลี่ยนแปลงของ จากการสังเกตการ
เปลี่ยนแปลง และกระดาษเมื่อนามาให้ พาราฟินและกระดาษ เปลี่ยนแปลง
ของพาราฟินและ ความร้อนและลงข้อสรุป เมื่อนามาให้ความร้อน ของพาราฟินและ
กระดาษเมื่อนามา ได้ว่า การเปลี่ยนแปลง และลงข้อสรุปได้ว่า กระดาษเมื่อนามา
ให้ความร้อนและ ของสารบางชนิดผันกลับ การเปลี่ยนแปลงของสาร ให้ความร้อนและลง
ลงข้อสรุปได้ว่า ได้ บางชนิดผันกลับไม่ได้ บางชนิดผันกลับได้ ข้อสรุปได้ว่า
การเปลี่ยนแปลง ได้ถูกต้อง ครบถ้วนด้วย บางชนิดผันกลับไม่ได้ การเปลี่ยนแปลง
ของสารบางชนิด ตัวเอง ได้ถูกต้อง ครบถ้วนโดย ของสารบางชนิดผัน
ผันกลับได้ บาง อาศัยการชีแนะของครู กลับได้ บางชนิดผัน
ชนิดผันกลับไม่ได้ หรือผู้อื่น กลับไม่ได้
ได้ถูกต้อง แต่ไม่
ครบถ้วนแม้ว่าจะ
ได้รับการชีแนะจาก
ครูหรือผู้อื่น

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


345 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

ตาราง แสดงการวิเคราะห์ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ตามระดับความสามารถของนักเรียน


โดยอาจใช้เกณฑ์การประเมิน ดังนี
ทักษะแห่ง ระดับความสามารถ
ศตวรรษที่
21 รายการประเมิน ดี (3) พอใช้ (2) ควรปรับปรุง (1)
C4 การ การนาเสนอข้อมูล นาเสนอข้อมูลจากการ นาเสนอข้อมูลจากการ นาเสนอข้อมูลจาก
สื่อสาร จากการสังเกต สังเกตโดยการบรรยาย สังเกตโดยการบรรยายการ การสังเกตโดยการ
การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงของ เปลี่ยนแปลงของสารเมื่อ บรรยายการ
ของสารเมื่อให้ สารเมื่อให้ความร้อนให้ ให้ความร้อนให้ผู้อื่นเข้าใจ
เปลี่ยนแปลงของสาร
ความร้อนใน ผู้อื่นเข้าใจได้อย่าง ได้ถูกต้อง ชัดเจนโดยอาศัย เมื่อให้ความร้อนให้
รูปแบบการ ถูกต้อง ชัดเจนได้ด้วย การชีแนะของครูหรือผู้อื่น ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง
บรรยาย ตนเอง แต่ไม่ชัดเจน แม้ว่าจะ
ได้รับการชีแนะจากครู
หรือผู้อื่น
C5 ความ การทางานร่วมมือ สามารถทางานร่วมกับ สามารถทางานร่วมกับผู้อื่น สามารถทางานร่วมกับ
ร่วมมือ กับผู้อื่นใน ผู้อื่นในการสังเกต ในการสังเกต ผู้อื่นในการสังเกต
การสังเกต การเปลี่ยนแปลงของ การเปลี่ยนแปลงของ การเปลี่ยนแปลงของ
การเปลี่ยนแปลง พาราฟินและกระดาษ พาราฟินและกระดาษเมื่อให้ พาราฟินและกระดาษ
ของพาราฟินและ เมื่อให้ความร้อนและ ความร้อนและเมื่อเย็นลง เมื่อให้ความร้อนและ
กระดาษเมื่อให้ เมื่อเย็นลง รวมทัง รวมทังยอมรับฟังความ เมื่อเย็นลง ได้บ้างแต่ไม่
ความร้อนและเมื่อ ยอมรับฟังความคิดเห็น คิดเห็นของผู้อื่นอย่าง แสดงความคิดเห็น
เย็นลง การ ของผู้อื่นอย่าง สร้างสรรค์ในการทา แม้ว่าจะได้รับคาชีแนะ
ยอมรับความ สร้างสรรค์ในการทา กิจกรรมเป็นบางครังทังนี จากครูหรือผู้อื่น
คิดเห็นของผู้อื่น กิจกรรมตังแต่เริ่มต้น ต้องอาศัยการกระตุ้นจากครู
จนเสร็จสินกิจกรรม หรือผู้อื่น

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 346

กิจกรรมท้ายบทที่ 3 การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และผันกลับ
ไม่ได้ (1 ชั่วโมง)
1. นักเรียนวาดรูปหรือเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ จากบทนี ในแบบบันทึก
กิจกรรม หน้า 143
2. นักเรียนตรวจสอบการสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ของตนเองโดยเปรียบเทียบ
กับผังมโนทัศน์ในหัวข้อ รู้อะไรในบทนี้ ในหนังสือเรียน หน้า 133
3. นักเรียนตรวจคาตอบของตนเองในสารวจความรู้ก่อนเรียน ในแบบ
บันทึกกิจกรรม หน้า 134-135 อีกครัง ถ้าคาตอบของนัก เรี ย นไม่
ถูกต้องให้ขีดเส้นทับข้อความเหล่านัน แล้วแก้ไขคาตอบให้ ถูก ต้ อง
หรืออาจแก้ไขคาตอบด้วยปากกาที่มีสีต่างจากเดิม นอกจากนีครูอาจ
นาคาถามในรูปนาบทในหนังสือเรียน หน้า 124 มาร่วมกันอภิปราย
คาตอบอีก ครัง ดังนี เราสามารถทาไข่ด าวให้ เ ป็น ไข่ดิ บ ได้ห รื อ ไม่
(ไม่ได้เพราะไม่สามารถเปลี่ยนสารของไข่ดาวให้กลับมาเป็นสารที่เป็น
ไข่ดิบได้)
4. นักเรียนทา แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3 การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้
และผันกลับไม่ได้ ครูสุ่มนักเรียนนาเสนอคาตอบหน้าชันเรียน ถ้า
คาตอบยังไม่ถูกต้องครู ควรนาอภิปรายหรือให้สถานการณ์เพิ่มเติม
เพื่อแก้ไขแนวคิดคลาดเคลื่อนให้ถูกต้อง
5. นักเรียนร่วมกันทากิจกรรม ร่วมคิดร่วมทา โดยให้นักเรียนหาวิธี นา
วัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
6. นักเรียนอ่าน วิทย์ใ กล้ตัว ในหนังสื อเรียนหน้า 136-137 และสรุป
แนวคิดที่ได้จากการอ่าน
7. นักเรียนร่วมกันตอบคาถามสาคัญประจาหน่วยในหนังสือเรียนหน้า
74 อีกครัง ถ้าคาตอบยังไม่ถูกต้อง ให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันเพื่อให้
ได้คาตอบทีถ่ ูกต้อง

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


347 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

สรุปผลการเรียนรู้ของตนเอง

นักเรียนวาดรูปและบรรยายตามความเข้าใจ

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 348

แนวคาตอบในแบบบันทึกกิจกรรม

การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ เป็นการเปลี่ยนแปลงทีส่ ารสามารถกลับมาเป็นสารตั้งต้นได้


แต่การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับไม่ได้ สารที่เปลี่ยนแปลงไปแล้วไม่สามารถเปลี่ยนกลับมาเป็น
สารเดิมหรือสารตั้งต้นได้

ผันกลับได้ เมื่อนาน้าผลไม้ที่แข็งตัวออกมาวาง น้าผลไม้ที่แข็งตัวได้รับความ


ร้อนจะหลอมเหลวเป็นน้าผลไม้เช่นเดิม จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงผันกลับได้

ผันกลับไม่ได้ เนื่องจากทาให้สนิมกลับมาเป็นโลหะเหมือนเดิมไม่ได้ จึงเป็นการ


เปลี่ยนแปลงผันกลับไม่ได้

ผันกลับได้ เมื่อนาพลาสติกที่ใช้แล้วซึ่งเป็นของแข็งมาหลอม จะได้เป็น


พลาสติกเหลว และเมื่อแข็งตัวก็เป็นพลาสติกแข็งเหมือนเดิม จึงเป็นการ
เปลี่ยนแปลงผันกลับได้
ผันกลับไม่ได้ เนื่องจากใบไม้สีน้าตาลกลับมาเป็นใบไม้สีเขียวเหมือนเดิมไม่ได้ จึง
เป็นการเปลี่ยนแปลงผันกลับไม่ได้

ผันกลับไม่ได้ เนื่องจากเมื่อทอดไข่เป็นไข่ดาว ไข่ดาวกลับมาเป็นไข่ดิบ


เหมือนเดิมไม่ได้ จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงผันกลับไม่ได้

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


349 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 350

ถูกอัดด้วยความดัน
ของเหลว แก๊ส
ได้รับความร้อน
เมื่อแก๊สถูกอัดจะเปลี่ยนเป็นของเหลว และเมื่อของเหลวอยู่ในบริเวณที่ความดัน
ลดลงจะกลายเป็นแก๊ส เกิดการเปลี่ยนแปลงกลับไปกลับมาเช่นนีไปเรื่อยๆ

ผันกลับได้ เนื่องจากของเหลวเปลี่ยนสถานะไปเป็นแก๊สแล้วกลับมาอยู่ในสถานะ
ของเหลวที่เป็นสารเดิม จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


351 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร

 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร 352

บรรณานุกรม (หน่วยที่ 3)
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. พิมเสน (2562). สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2562 จาก
https://www.pharmacy.cmu.ac.th/web2553/n84.php
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. การบูร (2562). สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2562 จาก
http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=19
ชาตรี ฝ่ายคาตา. (2551). แนวคิดทางเลือกของนักเรียนในวิชาเคมี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี, 19(2), 11-28.
ธิดารัตน์ ทองดี และ ปัฐมาภรณ์ พิมพ์ทอง. (2554) การศึกษามโนมติเรื่องสารและสมบัติของสาร ของนักเรียนชัน
ประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนการต้มเกลือสินเธาว์ประกอบการสอนโดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E).
วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(3), 28-33.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แบบบันทึกกิจกรรมรายวิชาพื้นฐาน
วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: องค์การค้าของ สกสค.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน
วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: องค์การค้าของ สกสค.
Driver, R. (2010). Beyond the appearances: The conservation of matter under physical and chemical
transformations. In Driver, R. (Ed), Children’s ideas in science (pp.145-169). Milton Keynes, Philadelphia, USA:
Open University Press.
Michael, A. (2010). Misconceptions in primary science. Berkshire, UK: Open University press.
Osborne, Roger J. & Cosgrove, Mark M. (1983) Children's conceptions of the changes of state of water.
Journal of Research in Science Teaching, 20(9), 825-838.
Plasma (2019) retrieved April 20, 2019 from http://web.utk.edu/~prack/Thin%20films/plasma and
http://www.qrg.northwestern.edu/projects/vss/docs/propulsion/2-what-is-plasma.html
Stein, M., Larrabee, Timothy G., & Barman, Charles R. (2008). Study of common beliefs and
misconceptions in physical science. Journal of Elementary Science Education, 20(2), 1-11.

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


353 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | แบบทดสอบท้ายเล่ม

แนวคาตอบในแบบทดสอบท้ายเล่ม

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | แบบทดสอบท้ายเล่ม 354

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


355 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | แบบทดสอบท้ายเล่ม

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | แบบทดสอบท้ายเล่ม 356

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


357 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | แบบทดสอบท้ายเล่ม

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | แบบทดสอบท้ายเล่ม 358

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


359 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | แบบทดสอบท้ายเล่ม

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | แบบทดสอบท้ายเล่ม 360

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


361 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | แบบทดสอบท้ายเล่ม

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | แบบทดสอบท้ายเล่ม 362

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


363 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | แบบทดสอบท้ายเล่ม

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.1 เล่ม 1 | บรรณานุกรม 364

บรรณานุกรม
ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์ และ เพ็ญจันทร์ ซิงห์ (2550). แนวคิดคลาดเคลื่อนจากแนวคิดทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับแรง
และการเคลื่อนที.่ วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 22(3). 49-63.

ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์, เพ็ญจันทร์ ซิงห์ และ วรรณทิพา รอดแรงค้า (2549). การพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับแรงและการ


เคลื่อนที่ของวัตถุของนักศึกษาครูวิชาเอกฟิสิกส์ชั้นปีที่ 3 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วย
ตนเอง. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 12(1). 97-119.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. สืบค้น 30 เมษายน 2560, จาก http://www.royin.go.th


สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี . กระทรวงศึกษาธิการ.(2561). ตัวชี้วัดและสาระการ
เรียนรู้แ กนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูต ร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ
ไทย จากัด.
ลฎาภา ลดาชาติ และ ลือชา ลดาชาติ. (2560). มุมมองและความเข้าใจเกี่ยวกับแบบจาลองทางวิทยาศาสตร์ของครู
วิทยาศาสตร์. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(3), 149-162.
ภรทิพย์ สุภัทรชัยวงศ์ ชาตรี ฝ่ายคาตา และ พจนารถ สุวรรณรุจิ . (2557). ความเข้าใจธรรมชาติของแบบจาลองทาง
วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยา
เขตปัตตานี, 25, 39-51.
สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (11 มีนาคม 2558). การรู้ดิจิทัล (Digital literacy).
สื บ ค้ น เมื่ อ 30 เมษายน 2561, จาก https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/142-
knowledges/2632.
Chee, C. T. (1996). Common Misconception in Frictional Force among University Physics Students.
Teaching
and Learning. 16(2). 107-116.
Ozkan, G. (2013). The use of conceptual change texts as class material in the teaching of “sound”
in physics. Asia-Pacific Forum on Science Learning and Teaching, 14(1). Retrieved from
https://www.eduhk.hk/apfslt/download/v14_issue1_files/ozkan.pdf

ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯


365 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.5 เล่ม 1 | บรรณานุกรม

Egger, A.E. (2009). As a part of a collaboration between Visionlearning and the SERC Pedagogic
Service, and includes the products of a July 2009 workshop on Teaching Process of Science,
Stanford University.
Ecklund, E.H. & Scheitle, C.P. (2007). Religion among academic scientist: Distinctions, disciplines,
and demographics. Social Problem 54(2):289-307.
Fries-Gaither, J. (2009). Common misconceptions about biomes and ecosystems. สื บ ค้ น วั น ที่ 7
ม ก ร า ค ม 2560. http://beyondpenguins.ehe.osu.edu/issue/tundra-life-in-the-polar-
extremes/common-misconceptions-about-biomes-and-ecosystems
Krajcik, J. & Merritt, J. (2012). Engaging students in scientific practices: What does constructing and revising
models look like in the science classroom? Understanding a framework for K−12 science
education. Science and Children, 49(3), 10-13.
Missouri Department of Elementary and Secondary Education. (2005). Alerts to student
difficulties and misconceptions in science, สื บ ค้ น วั น ที่ 7 ม ก ร า ค ม 2560.
https://dese.mo.gov/sites/default/files/alerts-to-student-difficulties-misconceptions-in-
science.pdf
National Research Council. (2000). Inquiry and the national science education standards: A guide
for teaching and learning. Washington, DC: National Academy Press.
Pine, K., Messer D., and John, K. (2010). Children’s misconceptions in primary science: A survey
of teachers’ views. Research in Science & Technological Education. 19(1), 79-96.
Weiler, B. (1998). Children’s misconceptions about Sound. Retrieved from
http://amasci.com/miscon /opphys.html

Wynn, A.N., Pan, I. L., Rueschhoff, E. E., Herman, M. A. B., Archer, K. (2017). Supplemental
materials for student misconceptions about plant-a first step in building a teaching
resource. Journal of Microbiology & Biology Education. 18(1): 18.1.11.

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดือนมิถุนายน 2562


คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เล่ม ๑
คณะที่ปรึกษา
ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจานงค์ ผู้อานวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี
ดร. กุศลิน มุสิกลุ ผู้ช่วยผู้อานวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี
คณะผู้จัดทาคู่มือครู
ดร. กุศลิน มุสิกุล สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางชุติมา เตมียสถิต สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางกิ่งแก้ว คูอมรพัฒนะ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวดวงกมล เหมะรัต สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาววราภรณ์ ถิรสิริ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวลัดดาวัลย์ แสงสาลี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร. เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร. เบ็ญจวรรณ หาญพิพัฒน์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร. พจนา ดอกตาลยงค์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร. วันชัย น้อยวงค์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร. ณัฐธิดา พรหมยอด สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร. เสาวลักษณ์ บัวอิน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวรตพร หลิน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวภคมน เนตรไสว สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวลักษมี เปรมชัยพร สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวจีรนันท์ เพชรแก้ว สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวกมลลักษณ์ ถนัดกิจ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะบรรณาธิการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัชดา สุตรา ข้าราชการบานาญ
นางณัฐสรวง ทิพานุกะ ข้าราชการบานาญ
หม่อมหลวงพิณทอง ทองแถม ข้าราชการบานาญ
สถาบันสงเสริมการสอนวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี (สสวท.)
The Institute for the Promotion of Teaching Science and
Technology (IPST) www.ipst.ac.th

You might also like