You are on page 1of 9

แนวทางการใช้ยาในสตรีตั้งครรภ์

และสตรีให้นมบุตร

จัดทาโดย
กลุ่มงานเภสัชกรรม
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม
การใช้ยาในสตรีตั้งครรภ์

สตรีตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาหลายอย่างซึ่งส่งผลต่อเภสัชจลนศาสตร์และเภสัช
พลศาสตร์ของยาหลายชนิดทาให้การใช้ยาในสตรีระหว่างตั้งครรภ์มีความแตกต่างทั้งในด้านประสิทธิผลและ
ความปลอดภัยของยาเมื่อเทียบกับการใช้ยาโดยทั่วไปนอกจากนี้ยาทั้งที่ผ่านทางรกหรือไม่ผ่านทางรกอาจมีผล
ต่อทารกในครรภ์ซึ่งบางกรณีรุนแรงจนถึงขั้นเกิดสภาพวิรูปหรือเสียชีวิตได้จึงควรประเมินความเสี่ยงและผลได้
(risk-benefit evaluation) ทั้งต่อมารดาและทารกในครรภ์ทุกครั้งก่อนการใช้ยา
ประเทศไทยจัดกลุ่มยาตามความปลอดภัยต่อทารกในครรภ์ (Pregnancy category) ตามการแบ่ง
ขององค์การอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา (US FDA) แบ่งเป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. Category A : จากการศึกษาการใช้ยาในหญิงมีครรภ์ไตรมาสแรก พบว่าไม่มีความเสี่ยงต่อการ
เกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ และไม่มีหลักฐานแสดงว่ามีความเสี่ยงเมื่อมีการใช้ยาในหญิง
มีครรภ์ไตรมาสที่ 2 และ 3
2. Category B : จากการศึกษาในสัตย์ทดลอง พบว่ายาไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของ
ตัวอ่อนในครรภ์ แต่ไม่มีการศึกษาการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ หรือจากการศึกษาในสัตว์ทดลอง
พบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของตัวอ่อนในครรภ์ แต่ไม่พบผลดังกล่าวจาก
การศึกษาในหญิงมีครรภ์ไตรมาสแรก และไม่มีหลักฐานแสดงว่ามีความเสี่ยงเมื่อมีการใช้ยาใน
หญิงมีครรภ์ไตรมาสที่ 2 และ 3
3. Category C : การศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่ายามีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของตัวอ่อน
ในครรภ์ แต่ไม่มีการศึกษาการใช้ยาในหญิงมีครรภ์ หรือไม่มีรายงานการศึกษาการใช้ยาในหญิงมี
ครรภ์และสัตว์ทดลอง การใช้ยาในกลุ่มนี้ให้คานึงถึงประโยชน์และความเสี่ยงของยาต่อทารกใน
ครรภ์
4. Category D : การศึกษาการใช้ยาในหญิงมีครรภ์ พบว่ามีหลักฐานที่แสดงว่ายามีความเสี่ยงต่อ
การเกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ แต่อาจมีความจาเป็นต้องใช้ยาระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ยา
ใช้ในภาวะช่วยชีวิต หรือยารักษาโรคที่รุนแรงซึ่งไม่มียาอื่นที่ปลอดภัยหรือมีประสิทธิภาพ
5. Category X : การศึกษาการใช้ยาในสัตว์ทดลอง พบว่ายาทาให้เกิดความผิดปกติของตัวอ่อน
หรือมีรายงานจากการใช้ยาในหญิงมีครรภ์ทาให้เกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ ยากลุ่มนี้มี
ความเสี่ยงมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับจากยา ดังนั้นจึงจัดเป็นยาที่ห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์ หรือกาลัง
จะตั้งครรภ์

คาแนะนาทั่วไปในการใช้ยาอย่าสมเหตุผลในสตรีตั้งครรภ์
1. ควรเลือกวิธีการรักษาโดยไม่ใช้ยาก่อน ถ้าไม่ได้ผลจึงพิจารณาใช้ยา แต่ควบคู่ไปกับการรักษาโดยไม่ใช้
ยาเพื่อใช้ยาให้น้อยที่สุด
2. เลือกใช้ยาที่มีข้อมูลความปลอดภัยมากที่สุด ควรเลือกใช้ยาเก่าซึ่งมีข้อมูลความปลอดภัยมากกว่ายา
ใหม่ๆ ที่ยังไม่มีการศึกษาถึงความปลอดภัยในหญิงมีครรภ์ ควรมีเหตุผลและข้อบ่งใช้อย่างชัดเจนว่า
สมควรที่จะใช้ เช่น เพื่อสุขภาพของมารดา หรือทารกในครรภ์ ควรเปรียบเทียบประโยชน์ที่จะได้รับ
กับความเสี่ยงของยาต่อทารกในครรภ์
3. ข้อมูลต่อไปนี้มีความสาคัญที่จะพยากรณ์ผลกระทบของยาต่อทารกในครรภ์ ได้แก่ อายุครรภ์, ชนิด
ของยาที่ได้รับ, ปริมาณยาที่ได้รับและ ลักษณะพันธุกรรมของทารกที่มีแนวโน้มจะเกิดความผิดปกติ
จาเพาะกับยานั้นๆ
4. หลีกเลี่ยงการใช้ยาหลายชนิดพร้อมกัน รวมทั้งยาสูตรผสม ใช้ยาในขนาดต่าที่สุดทีให้ผลการรักษา
และใช้ระยะเวลาสั้นที่สุด
5. ข้อควรระวังของยาบางชนิด ยังหมายรวมถึงสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีโอกาสตั้งครรภ์ด้วย จึงไม่ควรละเลย
การซักประวัติการมีประจาเดือนของสตรีวัยเจริญพันธุ์

ชนิดของยาและสารที่อาจทาให้เกิดอันตรายต่อตัวอ่อนในครรภ์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ


1. ชนิดที่ไม่ควรใช้ตลอดระยะของการตั้งครรภ์ เนื่องจากมีข้อมูลชัดเจนว่าทาให้เกิดความผิดปกติ หรือ
ความพิการแต่กาเนิด (Teratogenic effect) ในมนุษย์

ตารางที่ 1 แสดงยาหรือสารเคมีที่ไม่ควรใช้ตลอดระยะของการตั้งครรภ์
ยา ความผิดปกติ (Teratogenic effect)
Alcohol Fetal alcohol syndrome
ACEIs Sever neonatal renal insufficiency
(เช่น Enarapril) Decrease skull ossification
Anticholinergic drug
(เช่น Trihexyphenidyl, Typical
Neonatal meconium ileus
antipsychotic drugs; CPZ,
Thioridazine)
Fetal thyroid agenesis (exposed in early gestation)
Iodine
Goiter, hypothyroidism (exposed in late gestation)
Epstein’s anomaly of fetal heart, Fetal goiter, Fetal
Lithium
nephrogenic diabetes insipidus
Abnormalities of the face, eyes, ears, skull, CNS, CVS, and
Isotretioin (systemic) หรือ Vitamin A
thymus and parathyroid glands.
Misoprostol Mobius sequence
NSAIDs Constriction of ductusarteriosus, Necrotizing enterocolitis
Psychoactive drug (เช่น Diazepam,
Neonatal withdrawal symptom
Phenobarbital, Opioid)
Tetracycline
Teeth and bone anomalies
(โดยเฉพาะสัปดาห์ที่ 24-26)
Ergotamine
Warfarin Skeletal defect, CNS defect (mental retardation)
2. ชนิดที่ไม่ควรใช้ในระยะไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่จะทาให้เกิด
อันตราย หรือเกิดความพิการแก่ทารกในครรภ์

ตารางที่ 2 แสดงยาหรือสารเคมีที่ไม่ควรใช้ระยะไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
ยา ความผิดปกติ (Teratogenic effect)
Antineoplastic, Cytotoxic Multiple congenital anomalies, Intrauterine growth
(ยาเคมีบาบัด) retardation, stillbirth, abortion
Sex hormone Increase malformation, vaginal adenosis, hypotrophic testis,
(เช่น androgen, estrogen) epididynal cyst

3. ชนิดที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในช่วงหลังจากไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ หรือช่วงใกล้คลอด

ตารางที่ 3 แสดงยาและสารที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้หลังจากไตรมาสแรก หรือช่วงใกล้คลอด


ยา ความผิดปกติ (Teratogenic effect)
Aminoglycosides Ototoxicity
Anticonvulsants
Neural tube defect
Carbamazepine and Valproic acid
Central nervous system defect, Growth tetardation
Phenytoin
Antithyroid drugs
Neonatal goiter and hypothyroidism, Aplasia cutis
(เช่น PTU and Methimazole)
Chloramphenicol Gray baby syndrome
Corticosteroids Central nervous system defect
Hypoglycemic drug
(เช่น Glibenclamide, Glipizide, Neonatal hypoglycemia
Metformin)
Neonatal hypoglycemia, Neonatal respiratory depression,
Propranolol
Bradycardia
Sulfonamides Hyperbillirubinemia, Hemolytic anemia (in G-6-PD
(เช่น co-trimoxazole) deficiency)
Thiazide diuretics (เช่น HCTZ) Neonatal thrombocytopenia (rare)

ตารางที่ 4 แสดงยาที่ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็น Teratogen


Androgen (เช่น Danazol) Ethanol (high dose) Tetracycline (week 24-26)
ACEIs (เช่น Enalapril) Iodides Methotrexate
Anticonculsants (เช่น CBZ, Isotretinoin Warfarin
Valproic acid, Phenytoin) Lithium Vitamin A (>18000 IU/day)
การใช้ยาในสตรีให้นมบุตร

การใช้ยาชนิดใดชนิดหนึ่งในสตรีระหว่างการให้นมบุตรต้องระลึกไว้เสมอว่า ยาดังกล่าวสามารถผ่าน
ไปสู่ทารกที่ดูดนมจากมารดาได้ ซึ่งในที่สุดจะมีผลต่อการตอบสนองของยาในทารก จึงมีความสาคัญที่ต้อง
เรียนรู้และเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของสตรี รวมทั้งหลักการใช้ยาที่เหมาะสมในช่วงเวลา
ดังกล่าว
การใช้ยาในระหว่างที่กาลังให้นมบุตรมีข้อที่ควรพิจารณาสาคัญ 2 ด้านคือยาที่มีผลต่อการหลั่งน้านม
และอันตราย/ผลไม่พึงประสงค์จากยาที่จะมีต่อทารกโดยกลไกการหลั่งน้านม มีฮอร์โมน prolactin เป็น
ฮอร์โมนสาคัญที่คอยควบคุมการหลั่งน้านมซึ่งยาบางตัวจะมีผลต่อการหลั่งและออกฤทธิ์ของ prolactin แล้ว
ส่งผลต่อการหลั่งน้านม
หากมารดาให้นมบุตรมีความจาเป็นต้องได้รับยาเพื่อรักษาหรือควบคุมอาการของโรค ควรพิจารณา
แนวทางการใช้ยาดังต่อไปนี้ เพื่อให้ทารกได้รับยาที่ขับออกทางน้านมให้น้อยที่สุด

คาแนะนาทั่วไปในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในสตรีให้นมบุตร
1. พิจารณาความจาเป็นที่ต้องใช้ยาก่อน และสามารถเลื่อนการใช้ยาออกไปได้หรือไม่ หากจาเป็นต้องใช้
ยา ให้เลือกยาใช้ยาในขนาดต่าสุด ในช่วงระยะเวลาสั้นที่สุด และมีการเฝ้าติดตามอาการข้างเคียงของ
ยาในทารกด้วยเสมอ
2. หลีกเลี่ยงการให้นมบุตรในช่วงเวลาที่มีความเข้มข้นของยาในน้านมสูงสุด โดยอาจให้ทารกดูดนมก่อน
ใช้ยามื้อถัดไป หรือรอมากกว่า 2 – 3 ชั่วโมง หลังจากรับประทานยาจึงให้นมบุตร อาจให้ยาแก่มารดา
ก่อนเวลาที่ลูกจะนอนหลับยาว โดยอาจบีบน้านมเก็บไว้เผื่อไว้เพื่อเสริมระหว่างที่ลูกตื่นขึ้นมากลางดึก
หรืออาจใช้นมขวดเสริม
3. กรณีที่ทราบแน่ชัดว่ายาที่ได้รับเป็นยาที่ห้ามใช้ในสตรีให้นมบุตร ควรงดให้นมบุตร และระหว่างนี้ควร
บีบน้านมทิ้งด้วยเพื่อกระตุ้นการหลั่งน้านม
4. หลีกเลี่ยงการใช้ยาใหม่ๆ ที่มีข้อมูลน้อย ให้ใช้ยาที่ออกมานานและมีผลการใช้ยาในมารดาที่นมบุตรว่า
ไม่มีอันตราย
5. เลือกใช้ยาที่ผ่านไปกับน้านมได้ยาก มีค่าครึ่งชีวิตสั้น สามารถจับกับโปรตีนได้ดี ละลานในไขมันได้ไม่ดี
6. อายุและน้าหนักทารกเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาระมัดระวังด้วย โดยเฉพาะทารกคลอดก่อนกาหนด
- ยาที่มีผลเพิ่มการหลั่งน้านมเช่น Chlorpromazine, Domperidone, Metoclopramide,
Phenothiazine, Resperidone
- ยาที่มีผลยับยั้งการหลั่งน้านมเช่น Androgens, Bromocriptine, Clomiphene citrate, Ergot
derivative, ยากลุ่ม Monoamine Oxidase Inhibitors (MAOIs), Levodopa, Thaizide
diuretics (HCTZ)
ตารางแสดงความปลอดภัยจากการใช้ยาในมารดาที่ให้นมบุตร แบ่งตามกลุ่มยา

1. กลุ่มยาแก้ปวด ลดไข้ และ NSAIDs, gout และ rheumatoid


ยา (drugs) ความปลอดภัย (safety)
ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้ หลีกเลี่ยงการให้ระยะเวลานาน เฝ้าระวังผลข้างเคียงต่อทารก
Aspirin
(Hemolysis, prolonged bleeding time and metabolic acidosis)
Ibuprofen ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้ ผ่านน้านมน้อย
Paracetamol ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้
Diclofenac ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้ ผ่านน้านมน้อย
Naproxen ควรหลีกเลี่ยง ผ่านน้านมน้อย แต่ half life ยาว
Tramadol ผ่านน้านมได้บ้าง (น้อย) อาจใช้ระยะสั้นเท่านั้น
Codeine
ปลอดภัยให้ลูกกินมแม่ได้ ถ้าให้ครัง้ เดียว หลีกเลี่ยงการให้ยาซ้าๆ เฝ้าระวังอาการข้างเคียง
Mophine
apnea and bradycadia, cynosis
Pethidine
Allopurinol ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้
Colchicine ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้

2. กลุ่มยาแก้แพ้ (Anti-allergics and drugs used in anaphylaxis)


ยา (drugs) ความปลอดภัย (safety)
Chlorpheniramine ให้หลีกเลี่ยงถ้าเป็นไปได้
Dexamethasone ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้ ถ้าให้ครั้งเดียว ไม่มีข้อมูลการใช้ยานานๆ
Hydrocortison ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้ ถ้าให้ครั้งเดียว ไม่มีข้อมูลการใช้ยานานๆ
Prednisolone ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้

3. กลุ่มยาต้านพิษ (Antidotes and other substances used in poisoning)


ยา (drugs) ความปลอดภัย (safety)
Charcoal, acivated ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้
Acetylcysteien ไม่มีข้อมูล

4. กลุ่มยากันชัก (Anticonvulsant/Antiepileptics)
ยา (drugs) ความปลอดภัย (safety)
ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้ เฝ้าระวังอาการข้างเคียงในทารก (Jaundice,
Carbamazepine
drowsiness, poor suckling, vomiting and poor weight gain)
Diazepam,
ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้ ถ้าให้ครั้งเดียว หลีกเลีย่ งการใช้ยาซ้าๆ
Lorazepam
ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้เฝ้าระวังผลข้างเคียง (drowsiness, poor suckling and
Phenobarbital
poor weight gain)
Valproic acid ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้เฝ้าระวังผลข้างเคียง (Jaundice)
Clonazepam ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้ถ้าให้ในขนาดปกติ
5. กลุ่มยาฆ่าเชื้อ (Anti-infective, Anthelminthic, Antibacterial, Antituberculosis,
Antifungal, Antiviral, Antiprotozoal drug)
ยา (drugs) ความปลอดภัย (safety)
Albendazole ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้
Amoxicillin ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้
Amoxicillin/Clavulanic ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้ clavulanicผ่านน้านมได้ แต่ยังมีรายงาน ADR น้อย
acid ควรเฝ้าระวังอาการ GI irritate
Dicloxacillin ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้
Ceftriaxone, Ceftazidime ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้
Doxycycline ให้หลีกเลี่ยงถ้าเป็นไปได้ อาจใช้ระยะสั้น น้อยกว่า 1 สัปดาห์
Roxithromycin ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้
ให้หลีกเลี่ยงถ้าเป็นไปได้ ยาผ่านน้านมได้ปานกลาง ถ้าแม่ทานยาในขนาด 2 กรัม
Metronidazole
ให้งดนมแม่ 12 ชม. โดยบีบนมเก็บไว้ในตู้เย็นก่อน
Norfloxacin ข้อมูลไม่ชดั เจน
Ofloxacin ยาผ่านทางน้านมได้บ้าง สังเกตุอาการค้างเคียงต่อทางเดินอาหาร
Ciprofloxacin ให้หลีกเลี่ยงถ้าเป็นไปได้ จนกว่าจะมีข้อมูลที่ชัดเจน
ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้ สาหรับทารกที่สุขภาพสมบูรณ์ หลีกเลีย่ งในทารกคลอด
Co-trimoxazole ก่อนกาหนดหรืออายุน้อยกว่า 1 เดือน เฝ้าระวังผลข้างเคียง (hemolysis,
jaundice), งดใช้ใน G-6-PD deficiency
Clindamycin ให้หลีกเลี่ยงถ้าเป็นไปได้ เฝ้าระวังทารกถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นเลือด ลาไส้อักเสบ
ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้ เฝ้าระวัง jaundice และ toxicity ปลายประสาท
Isoniazid
อักเสบ
Rifampicin ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้ เฝ้าระวัง jaundice และ toxicity
Pyrazinamide ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้ เฝ้าระวัง jaundice และ toxicity
Ethambutol ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้ เฝ้าระวัง jaundice และ toxicity
Fluconzole ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้ ผ่านน้านมได้ แต่ไม่พบรายงาน ADR ในทารก
Griseofulvin ไม่มีข้อมูล
Acyclovir ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้
อาจเกิดภาวะโลหิตจางชั่วคราว ถ้าใช้ short-term AZT prophylaxis แต่อาการ
Nevirapine, Zidovudine
อาจรุนแรงถ้าเป็น long-term AZT prophylaxis
Chloroquine, ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้ เฝ้าระวัง hemolysis และ jaundice โดยเฉพาะใน
Primaquine, Quinine ทารกคลอดก่อนกาหนด หรืออายุน้อยกว่า 1 เดือน, งดใน G-6-PD deficiency

6. กลุ่มยาไมเกรน (Antimigraine drugs)


ยา (drugs) ความปลอดภัย (safety)
หลีกเลี่ยงการใช้และมีรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง (ergotism) ใน
Ergotamine
ทารกที่ดูดนมมารดา
ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้ ระวังผลข้างเคียง (bradycardia, hypoglycemia and
Propranolol
cyanosis)
Flunarizine ข้อมูลในสัตว์ทดลองยาผ่านน้านมได้ ยังไม่มีข้อมูลในมนุษย์
7. กลุ่มยาที่มีผลต่อระบบเลือด (Drugs affecting the blood)
ยา (drugs) ความปลอดภัย (safety)
Ferrous salt ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้
Folic acid ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้
Warfarin ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอ ยาอาจจะผ่านน้านมได้

8. กลุ่มยาระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular drugs)


ยา (drugs) ความปลอดภัย (safety)
หลีกเลี่ยงถ้าเป็นไปได้ โดยเฉพาะในทารกคลอดก่อนกาหนด หรืออายุน้อยกว่า 1 เดือน
Atenolol
เฝ้าระวังผลข้างเคียง (bradycardiahypopension and cynanosis)
ISDN ไม่มีข้อมูลเพียงพอ
Verapamil ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้
Digoxin ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้
Enalapril, Captopril ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้
Hydralazine ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้แต่ยังไม่มีข้อมูลในระยะยาว
HCTZ หลีกเลี่ยงถ้าเป็นไปได้ เพราะยาจะไปยับยั้งการสร้างน้านม
Methyldopa ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้
Amlodipine ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้ แต่ยังไม่มีข้อมูลในระยะยาว
Aspirin ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้ ถ้าใช้ในขนาดต่า
9. กลุ่มยาขับปัสสาวะ (Diuretic drugs)
โดยทั่วไปยาขับปัสสาวะที่เป็น short-acting thiazide ที่มีขนาดสูง, ขนาดปกติของยาชนิด loop
diuretics หรือ long-acting thiazide สามารถยับยั้งการสร้างน้านมได้ จึงควรหลีกเลี่ยงถ้าเป็นไปได้
ยา (drugs) ความปลอดภัย (safety)
Amiloride หลีกเลี่ยงถ้าเป็นไปได้ เพราะจะไปยับยั้งการสร้างน้านม
Furosemide หลีกเลี่ยงถ้าเป็นไปได้ เพราะจะไปยับยั้งการสร้างน้านม
HCTZ หลีกเลี่ยงถ้าเป็นไปได้ เพราะจะไปยับยั้งการสร้างน้านม
Spironolactone ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้

10. กลุ่มยาระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal drugs)


ยา (drugs) ความปลอดภัย (safety)
Alum milk ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้
ไม่มีข้อมูลเพียงพอในระยะยาว ยาสะสมในน้านมได้ อาจปลอดภัยถ้าให้วันละครั้ง ก่อน
Ranitidine
นอน
Omeprazole หลีกเลี่ยงการใช้ ยาผ่านน้านมได้ ยาอาจกดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร
Domperidone อาจปลอดภัย ทาให้น้านมหลังมากขึ้น
Dimenhydrinate ไม่แนะนาให้ใช้ ยาผ่านน้านมได้
หลีกเลี่ยงถ้าเป็นไปได้ ไม่มีข้อมูลเพียงพอในการใช้ระยะยาว อาจปลอดภัยถ้าใช้ใน
Metoclopramide
ขนาดต่า ทาให้น้านมหลั่งมากขึ้น
Simethicone ใช้ได้ ถูกดูดซึมในทางเดินอาหารได้น้อย ขับออกทางน้านมน้อย
Senna ปลอดภัยให้ลูกกินนมได้
Bisacodyl ไม่มีข้อมูลว่าย่าผ่านน้านม แต่ไม่แนะนาให้ใช้
ORS ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้

11. กลุ่มยา Steroid, hormones and contraceptives


ยา (drugs) ความปลอดภัย (safety)
Prednisolone ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้ แต่งดให้นมบุตรหลังทานยา 4 ชม.
Ethinylestradiol +
หลีกเลี่ยงถ้าเป็นไปได้ เพราะจะไปยับยั้งการสร้างน้านม
Levonorgestres
Medroxyprogesterone
ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้ ตั้งแต่ 6 สัปดาห์หลังคลอด
acetate
Levothyroxine ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้
ควรเลือก PTU ก่อน แม้ยานี้จะผ่านน้านมน้อยแต่มี half life ยาว ถ้าจาเป็นต้องใช้
Methimazole
ให้ขนาดต่า 10 – 15 mg/day

12. กลุ่มยา Insulin and other anti-diabetic agents


ยา (drugs) ความปลอดภัย (safety)
Glibenclamide ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้ แต่เฝ้าระวัง hypoglycemia ในลูก
Insulin injection ปลอดภัยให้ลูกกินนมแม่ได้ อาจต้องลดขนาดลง
Metformin ผ่านน้านมน้อย แต่ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอ

You might also like