You are on page 1of 1

ดินถล่ม

Landside
เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดได้ทั่วไปในบริเวณภูเขาที่มี วางภาพถ่ายที่นี่
ความลาดชันสูง ดินถล่มมักเกิดจากการที่น้ำซึม
ลงในชั้นดินบนลาดเขาและเกิดแรงดันของน้ำเพิ่ม
ขึ้นในชั้นดินโดยเฉพาะในช่วงที่ฝนตกหนัก

การเกิดแผ่นดินถล่มจะประกอบด้วย 4 ลักษณะของการถล่มคือ
1. การตก (Falls) เป็นการหลุดออกจากที่ชันสูงและตกลงมาเป็นก้อนหรือมวลขนาดใหญ่
2. การล้มหรือคว่ำของมวล (Topples) เป็นการล้มคว่ำหรือหมุนม้วนไปข้างหน้าทั้งก้อน
3. การไถล (Slides) เป็นการเคลื่อนที่ของมวลไปบนผิวชนิดใดชนิดหนึ่งเช่นผิวโค้ง ผิวเรียบ
4. การไหล (Flows) เป็นการเคลื่อนที่ของมวลตามแนวลาดชันโดยมีน้ำเป็นตัวช่วยให้เคลื่อน

รูปร่างปัจจัยและองค์ประกอบการเกิดภัยพิบัติแผ่นดินถล่ม ประกอบด้วย
1.ลักษณะภูมิประเทศ เช่น ความลาดชัน ความยาวของความลาดชัน ระดับความสูงของพื้นที่
2.ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา เช่นองค์ประกอบของหินและดิน
3.ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งจะมีผลต่อการปกคลุมพื้นดิน
4.ลักษณะภูมิอากาศ เช่นปริมาณฝน

มาตรการระยะยาวเพื่อจัดการพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่ม
1.การกำหนดเขตการใช้ที่ดินอย่างชัดเจน
2.การกำหนดกฎระเบียบและข้อกำหนดในการจัดการพื้นที่
3.การจัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างโครงสร้างต่าง ๆเพื่อลดความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินถล่ม
4.การปลูกพืชคลุมดินที่เหมาะสม โตเร็ว
5.การส่งเสริมและให้ความรู้ด้านการป้องกันและบรรเทาการเกิดแผ่นดินถล่ม
6.การติดตามสถานการณ์ข่าวพยากรณ์อากาศ

มาตรการระยะสั้นหรือมาตรการเร่งด่วนเพื่อจัดการพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่ม
1.การกำหนดเขตพื้นที่ที่เป็นอันตรายจากการเกิดแผ่นดินถล่ม
2.การวางมาตรการและกำหนดวิธีการจัดการพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่ม
3.เร่งดำเนินการปรับปรุงพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่ม
4.จัดตั้ง อบรมและให้ความรู้แก่หน่วยบรรเทาสาธารณภัย
5.เร่งดำเนินการย้ายชุมชนที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่มสูง
6.หาวิธีหรือแนวทางในการจัดทำและติดตั้งระบบเตือนภัย
สมาชิก 6/4
1.น.ส.ปวีณา อินทพาด เลขที่ 21
2.น.ส.วิชชุดา อินทเสน เลขที่ 29
3.น.ส.กนกวรรณ บุพโต เลขที่ 30

You might also like