You are on page 1of 4

หนังสือเล่มที่ 1

บทที่ 1

จุดเริ่มต้นของการตัง้ เมือง และจุดเริ่มต้นของการสร้างกรุงโรม

คนที่เคยได้อ่านเรื่องราวจุดเริ่มต้นของกรุงโรม เรื่องเกีย
่ วกับผู้บัญญัติกฎหมาย และการวางโครงสร้าง
ของเมืองจะไม่ประหลาดใจเลยว่าทำไมหลายศตวรรษที่ผ่านมายังคงมีการกล่าวถึงคุณสมบัติและความ
สามารถต่าง ๆ ตลอดจนไม่แปลกใจเลยว่านี่คือจุดกำเนิดของอำนาจจักรวรรดิซึ่งนำไปสูก
่ ารดำรงตน
เป็ นสาธารณรัฐ ก่อนจะเริ่มกล่าวถึงจุดกำเนิด ข้าพเจ้าจะต้องเริ่มต้นก่อนว่าเมืองทุกเมืองหากไม่สร้าง
ขึน
้ โดยประชากรที่อยูใ่ นพื้นที่นน
ั ้ ๆ ก็จะสร้างขึน
้ โดยคนต่างด้าวต่างแดน ในสถานการณ์แรกเกิดขึน

จากการที่ประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นน
ั ้ ๆ ซึ่งจะตัง้ ถิ่นฐานที่อยู่กระจัดกระจายอยูเ่ ป็ นกลุ่มเล็ก ๆ
เริ่มรู้สก
ึ ถึงความไม่มั่นคง อาจจะเนื่องด้วยพื้นที่และขนาดของกลุ่มก้อนทีเ่ ล็ก ทำให้ไม่สามารถ
ต้านทานการรุกรานจากศัตรูได้ และเมื่อต้องรวมตัวกันต่อสู้ป้องกันตนเองจากผู้รุกราน การรวมตัวนัน

อาจจะไม่ทันการณ์หรือหากรวมตัวกันได้ก็จะต้องมีการละทิง้ ถิ่นฐาน ซึ่งอาจจะทำให้เพลีย
่ งพล้ำจาก
ศัตรูได้อีก ดังนัน
้ เพื่อหลบเลี่ยงอันตราย กลุ่มชนต่าง ๆ เหล่านีจ
้ ึงเคลื่อนย้ายมาอยูใ่ กล้ ๆ กันในพื้นที่ที่
ได้เลือกไว้ อาจจะด้วยการตัดสินใจของกลุ่มตนหรือด้วยอำนาจการตัดสินใจของกลุ่มที่มีอำนาจเหนือ
กว่า เพื่อความสะดวกในการใช้ชีวิตและทำให้การป้ องกันตนเองนัน
้ ง่ายขึน

กรุงเอเธนส์และกรุงเวนิสเป็ นตัวอย่างหนึ่งของเมืองทีส
่ ร้างขึน
้ จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้นนี ้ กรุง
เอเธนส์ซึ่งอยูภ
่ ายใต้การปกครองของธีสิอุส (Theseus) ได้สร้างขึน
้ มาจากลุ่มชนซึ่งอาศัยอยูอ
่ ย่าง
กระจัดกระจายในพื้นที่นน
ั ้ ในขณะที่เมืองเวนิสเกิดขึน
้ จากการที่มีประชากรจำนวนมากอพยพเพื่อหนี
จากการคุกคามจากกลุ่มผู้รุกรานป่ าเถื่อนในสงครามที่เกิดขึน
้ ในอิตาลีอันเป็ นผลจากการล่มสลายของ
อาณาจักรโรมัน มาอยู่แถบพื้นที่ทเี่ ป็ นเกาะเล็กเกาะน้อยปลายคาบทะเลเอดริอาติก กลุ่มชนอพยพ
เหล่านีเ้ ริ่มตัง้ เมืองในยุคแรกโดยปราศจากผู้ปกครองคนใดคนหนึ่งที่จะคอยออกคำสั่ง แต่อยู่ภายใต้
กฎหมายทีพ
่ วกเขารู้สึกว่าเหมาะสมในการดำรงตนเป็ นกลุ่มก้อน พวกเขาปกครองตนเองอยู่ได้อย่าง
สงบสุขเป็ นระยะเวลานานเนื่องจากในพื้นทีด
่ ังกล่าวไม่มีท่าเรือและกลุ่มชนที่คก
ุ คามอิตาลีก็ไม่ได้มเี รือ
ที่จะเป็ นพาหนะเพื่อตามมารุกรานพวกเขาได้ จากเงื่อนไขแห่งความขาดแคลนเหล่านีใ้ นจุดเริ่มต้น
ทำให้ประชากรอยู่กันได้อย่างเป็ นสุขในช่วงแรก
สถานการณ์ที่สอง คือการที่เมืองสร้างขึน
้ โดยชาวต่างด้าวต่างแดนซึ่งอาจจะเป็ นได้ทงั ้ กลุ่มชนอิสระ
หรือกลุ่มชนที่เป็ นส่วนหนึ่งของชนกลุ่มใหญ่ เช่น กลุ่มชนที่อยู่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐหรือ
เจ้าผู้ครองนคร (ผู้แปล - ในที่นต
ี้ น
้ ฉบับใช้คำว่า prince หรือ เจ้าชาย และจากนีไ้ ปจนตลอดทัง้ เล่ม
จะแปลความหมายของคำว่า Prince ด้วยคำว่า เจ้าผู้ครองนคร / เจ้าผู้ครองเมือง เป็ นส่วนใหญ่) ที่ถูก
ส่งออกมาเพื่อกระจายความหนาแน่นของเมืองที่เคยอยู่ หรือเพื่อป้ องกันพื้นทีใ่ หม่ โดยเมืองหลัก
ต้องการให้เมืองใหม่นน
ั ้ ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย (ชาวโรมันสร้างเมืองลักษณะนี ้
ขึน
้ หลายเมืองในขณะที่ยังเป็ นจักรวรรดิอันรุ่งเรือง) หรืออาจจะเป็ นเมืองที่สร้างขึน
้ โดยเจ้าผู้ครองนคร
ไม่ใช่เพื่อใช้เป็ นสถานที่อยู่อาศัยแต่เพื่อประกาศศักดาของตน ดังเช่นเมืองอเล็กซานเดรียที่สร้างขึน
้ โด
ยอเล็กซานเดอร์ และเนื่องจากเมืองเหล่านีไ้ ม่ได้สร้างขึน
้ โดยอิสระมาตัง้ แต่ต้น จึงยากที่จะเติบโต
รุ่งเรืองหรือกลายมาเป็ นหนึ่งในเมืองหลักของอาณาจักร การสร้างเมืองฟลอเรนซ์เป็ นตัวอย่างหนึ่งของ
เมืองในกลุ่มนี ้ (โดยอาจจะสร้างขึน
้ โดยกลุ่มทหารของนายพลซัลลา (Sulla) แห่งจักรวรรดิโรมัน หรือ
โดยกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในแถบพื้นทีภ
่ ูเขาฟิ เอโซเล่ (Fiesole) ซึ่งเชื่อในการปกครองของออคตาเวียสว่า
จะนำพาซึ่งความสงบสุขมาให้ จึงได้ย้ายมาอาศัยอยู่ ณ ที่ราบลุ่มแม่น้ำอาโน) เมืองฟลอเรนซ์สร้างขึน

ภายใต้อาณาจักรโรมันและในตอนต้นของการดำรงความเป็ นเมือง เมืองนีไ้ ม่ได้มีความเจริญรุ่งเรืองใด
นอกเหนือไปจากเป็ นเมืองอันอยูภ
่ ายใต้การอุปถัมภ์ของเจ้าชายผู้ปกครอง

ผู้สร้างเมืองจะเป็ นอิสระก็ตอ
่ เมื่อประชาชน ซึ่งอาจจอยู่ภายใต้การปกครองของเจ้าผู้ครองนครนัน
้ หรือ
อาจจะปกครองตนเอง ถูกบังคับให้ต้องละทิง้ ถิ่นฐานอาจจะเนื่องด้วยเหตุของโรคระบาด ความ
อดอยาก หรือสงคราม และออกไปเสาะหาที่อยูใ่ หม่ โดยกลุ่มชนเหล่านีอ
้ าจจะตัง้ ถิ่นฐานในเมืองหรือ
พื้นที่ทพ
ี่ วกเขาค้นพบเช่นเดียวกับที่โมเสสได้ตงั ้ เมืองขึน
้ หรือสร้างเมืองใหม่ขน
ึ ้ มาเองดังเช่นทีเ่ อเนียส
(ผู้แปล – Aeneus นักรบที่มีช่ อ
ื เสียงผู้หนึ่งในสงครามโทรจัน) ได้ทำ ในกรณีเช่นนี ้ เราจะตระหนักได้
ถึงความสามารถของผู้สร้างเมืองและเมืองที่พวกเขาได้สร้างขึน
้ ว่าจะรุ่งเรืองมากน้อยเพียงใดก็ขน
ึ ้ อยู่
กับอำนาจศักดาของผูส
้ ร้างเมืองนัน
้ ๆ โดยความสามารถหรือศักดาของผูส
้ ร้างดังกล่าวอาจแบ่งออกได้
เป็ นสองทาง ประการแรกคือการเลือกที่ตงั ้ ของเมือง และประการที่สองคือการก่อร่างสร้างกฎหมาย
และเนื่องจากผู้คนในเมืองนัน
้ ๆ จะปฏิบัติกิจใด ๆ ก็ตามหากไม่เป็ นเพราะเหตุจำเป็ น ก็เป็ นเพราะ
เลือกที่จะกระทำการนัน
้ ๆ เอง แต่ด้วยการมีเหตุจำเป็ นดูจะมีอำนาจบังคับสูงกว่า โดยส่วนใหญ่แล้ว
การเลือกพื้นทีต
่ งั ้ เมืองจึงมักจะเลือกพื้นที่รกร้างเพื่อที่ว่าชาวเมืองที่จะอาศัยอยู่จึงจำเป็ นต้องทำงาน
อย่างขันแข็งโดยไม่มีโอกาสจะใช้ชีวิตอย่างเฉื่อยชาเพื่อที่จะสร้างความเป็ นปึ กแผ่น และจะมีความขัด
แย้งกันน้อยโดยเหตุแห่งความอัตคัดของพื้นทีท
่ ี่อาศัยอยู่ ดังเช่นทีเ่ กิดขึน
้ ในเมืองรากูซ่า (Ragusa) (ผู้
แปล – เป็ นเมืองบนยอดเขาทางตะวันออกเฉียงใต้ของซิซิลี) หรือในเมืองที่มีลักษณะของพื้นทีใ่ กล้
เคียงกัน ในกรณีเช่นนีจ
้ ะนับว่าเป็ นทางเลือกที่ฉลาดและมีประโยชน์มากกว่าหากประชาชนพอใจที่อยู่
โดยอาศัยการเลีย
้ งชีวิตจากทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ และไม่พยายามที่จะเสาะหาทรัพยากรจากแหล่ง
อื่น อย่างไรก็ดี เนื่องจากคนเราไม่อาจอยู่อย่างมั่นคงได้โดยปราศจากอำนาจ พวกเขาจึงมักจะหลีก
เลีย
่ งพื้นที่ทย
ี่ ากแค้นและเสาะหาพื้นที่อยูท
่ ี่อุดมสมบูรณ์ เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ดังกล่าวจะเอื้อให้
พวกเขาสามารถขยายเผ่าพันธุ์ ป้ องกันตัวเองจากผู้รุกราน รวมไปถึงปราบปรามกลุ่มชนใด ๆ ที่จะมา
ท้าทายอำนาจ แต่พ้น
ื ที่อุดมสมบูรณ์ดังกล่าวก็อาจนำพามาซึ่งความเฉื่อยชาเกียจคร้าน จึงจำเป็ นที่จะ
ต้องมีการสร้างกฎหมายเพื่อบังคับใช้ทดแทนเหตุจำเป็ นที่เกิดขึน
้ จากความยากแค้นของสถานที่ และ
เพื่อเลียนแบบกลุ่มคนที่ชาญฉลาดทีอ
่ าศัยอยูใ่ นประเทศรุ่งเรืองอุดมสมบูรณ์ โดยหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิด
ความเฉื่อยชาเกียจคร้านของพลเมืองที่ไม่ทำประโยชน์อันใด จึงเกิดการบังคับให้มีการฝึ กฝนเป็ นพิเศษ
โดยเฉพาะกลุ่มคนที่จะเข้าเป็ นทหาร โดยผลของการสร้างกฎเกณฑ์การฝึ กฝนเหล่านีข
้ น
ึ ้ มาจะทำให้ได้
ทหารที่มีประสิทธิภาพมากกว่าชาวเมืองทั่วไปที่เกิดอยู่ในพื้นทีย
่ ากแค้นโดยธรรมชาติและไม่ได้ผ่าน
การฝึ กฝนใด ๆ ตัวอย่างของเมืองในกลุ่มนีเ้ ช่น ราชอาณาจักรอียิปต์ ซึ่งแม้ว่าพื้นที่เมืองจะอุดม
สมบูรณ์อยู่แล้ว แต่มีกฎหมายทีท
่ รงพลังมากจนทำให้สามารถผลิตพลเมืองที่มีคุณภาพอย่างยอดเยี่ยม
และถ้าไม่เป็ นเพราะชื่อของพวกเขาถูกลบเลือนไปผ่านกาลเวลาอันยาวนาน เราคงจะได้เห็นแน่ว่าชื่อ
เสียงของชาวเมืองอียิปต์เหล่านีจ
้ ะเป็ นที่ยกย่องเลื่องลือยิ่งไปเสียกว่าชื่อของอเล็กซานเดอร์มหาราช
หรือบุคคลสำคัญคนอื่น ๆ ทีย
่ ังคงเป็ นที่จดจำได้ในตอนนีเ้ สียอีก หรือหากจะมีใครคิดถึงอาณาจักรของ
สลุต่านเซลิม (Selim) ที่ถูกทำลายโดยกลุ่มทหารทาสมาเมลูค (ผู้แปล – Mamelukes เป็ นชื่อของ
กลุ่มทหารทาสที่ถูกเกณฑ์มาเป็ นทหารในกองทัพอาหรับ) ซึ่งได้แสดงให้เห็นแล้วว่าทหารทีฝ
่ ึ กฝนขึน

มาจากความกลัวความเฉื่อยชาเกียจคร้านเป็ นผลดีกับเมืองได้เพียงใด และความเกียจคร้านดังกล่าว
อาจป้ องกันได้จากการสร้างกฎหมายที่เข้มงวด

ข้าพเจ้าอาจกล่าวได้ว่าเป็ นเรื่องสำคัญมากที่จะเลือกพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์โดยการสร้างกฎหมายขึน
้ มา
เพื่อดูแลปกป้ องพื้นที่อันสมบูรณ์นน
ั ้ เมื่อครัง้ ที่อเล็กซานเดอร์มหาราชต้องการสร้างเมืองเพื่อประกาศ
ศักดาแห่งตนนัน
้ ไดโนคราติส สถาปนิกเลื่องชื่อได้แสดงความมั่นใจว่าเขาสามารถสร้างเมืองบนยอด
เขาแอโธสได้ ซึ่งนอกจากจะใช้เป็ นปราการป้ องกันเมืองได้แล้ว เขายังคิดจะสร้างเมืองโดยใช้รูปร่าง
มนุษย์เป็ นฐานในการออกแบบเนื่องจากเป็ นรูปแบบที่ทำได้ยาก ซึ่งจะยิ่งช่วยส่งเสริมอำนาจของอเล็ก
ซานเดอร์ให้ยิ่งใหญ่มากขึน
้ ไปอีก และเมื่ออเล็กซานเดอร์ถามเขาว่า แล้วผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองนีจ
้ ะ
ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไร ไดโนคราติสก็ตอบว่าเขายังไม่ได้คด
ิ ถึงการนัน
้ เลย อเล็กซานเดอร์จึงหัวเราะ
และยกเลิกความคิดที่จะสร้างเมืองบนยอดเขานัน
้ แต่ได้กลับสร้างเมืองอเล็กซานเดรียขึน
้ มาแทน
โดยที่ผค
ู้ นที่อาศัยอยูใ่ นเมืองนีย
้ ินยอมพร้อมใจที่จะอาศัยอยูเ่ นื่องจากเป็ นพื้นที่ที่อด
ุ มสมบูรณ์และมี
พื้นที่ใกล้กับทะเลและแม่น้ำไนล์

ใครก็ตามที่ได้ศึกษาเรื่องการก่อตัง้ กรุงโรม และหากนึกถึงแอเนียสว่าเป็ นเป็ นบิดาผู้กอ


่ ตัง้ เมืองคนแรก
จะนึกถึงกรุงโรมในฐานะทีเ่ ป็ นเมืองหนึ่งที่กอ
่ ตัง้ โดยคนต่างด้าวต่างแดน แต่ถ้าหากคิดว่าโรมุลลัส
(Romulus) เป็ นบิดาผู้สร้างเมืองคนแรก ก็จะนึกถึงกรุงโรมในฐานะที่เป็ นเมืองที่สร้างโดยกลุ่มชนที่
เป็ นชนพื้นถิ่นทีอ
่ าศัยอยู่ ณ ทีน
่ น
ั ้ และไม่ว่าจะเป็ นกรณีใด กรุงโรมก็ยังคงเป็ นเมืองทีส
่ ร้างขึน
้ โดย
อิสระตัง้ แต่ต้นโดยที่ไม่ได้ขน
ึ ้ กับผู้ใด คำอธิบายที่จะบรรยายต่อไป จะชีใ้ ห้เห็นถึงความจำเป็ นต่าง ๆ ที่
โรมุลลัส นูมา และบุคคลสำคัญอื่น ๆ ได้ก่อร่างสร้างไว้กับกรุงโรมแห่งนี ้ ซึ่งทำให้ไม่ว่าจะเป็ นความ
อุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ การมีทางออกสูท
่ ะเล ชัยชนะทีเ่ มืองได้รับอยู่บ่อยครัง้ และขนาดอันมโหฬาร
ของอาณาจักรก็ไม่อาจก่อให้เกิดความวิบัติกับเมืองนีไ้ ด้เป็ นเวลาหลายศตวรรษ โดยกฎหมายต่าง ๆ ที่
ได้สร้างขึน
้ ได้ก่อให้เกิดความเข้มแข็งของเมืองเช่นเดียวกันกับเมืองหรืออาณาจักรอื่น ๆ

และจากแนวทางปฏิบต
ั ิของเมืองนี ้ อันได้รับการยกย่องจากลิวี่ (ผู้แปล - Livy คือชื่อของนัก
ประวัติศาสตร์ยุคโบราณที่ได้บันทึกเรื่องการก่อตัง้ กรุงโรม) ไม่ว่าจะเป็ นที่รับรู้ของสาธารณชนหรือ
สงวนไว้เป็ นส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็ นที่รับรู้ภายในหรือภายนอกเมือง ข้าพเจ้าก็จะได้อธิบายถึงเหตุการณ์
ต่าง ๆ ที่เกิดขึน
้ ในเมืองโดยการรวมกลุ่มของชาวเมืองซึ่งข้าพเจ้าได้พิจารณาแล้วว่ามีค่าควรแก่การ
กล่าวถึง โดยในหนังสือเล่มแรกนีห
้ รือในส่วนแรกของหนังสือนีจ
้ ะได้สาธยายในหัวข้อดังกล่าว

You might also like