You are on page 1of 5

บทที่ 1

บทนำ

ความเป็ นมาและความสำคัญ
การพัฒนาประเทศควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาชุมชน เพราะ
ชุมชนเป็ นแหล่งข้อมูล ด้านความรู้ ภูมิปัญญา รูปแบบการดำเนินการ ควร
เน้นการพัฒนาคนด้วยการจัดการความรู้ให้เป็ นระบบ ส่งเสริมให้ชุมชนได้
เรียนรู้ร่วมกัน จากการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถดูแล
ตนเองได้ เสริมสร้างความรู้ ทักษะใหม่ ๆ ต้องมีการพัฒนาแบบบูรณาการ
เพราะทุกสิง่ ทุกอย่างมีความสัมพันธ์กัน ( ประเวศ วะสี, 2542 : 25 )
ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็ นความรู้หรือประสบการณ์ดงั ้ เดิมของประชาชน
ในท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษหรือถ่ายทอดต่อ
กันมาจากสถาบันต่าง ๆ ในชุมชน เช่น จากสถาบันครอบครัว สถาบันความ
เชื่อและศาสนา สถาบันการเมืองการปกครอง สถาบันเศรษฐกิจ และสถาบัน
ทางสังคมอื่น ๆ คำว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวบ้าน ( Local
Wisdom หรือ Popular Wisdom ) คือ พื้นฐานของความรู้ของชาวบ้าน
หรือคือความรอบรู้ของชาวบ้านที่เรียนรู้และมีประสบการณ์สืบต่อกันมาทัง้
ทางตรงและทางอ้อม ซึง่ เรียนรู้จากผู้ใหญ่หรือที่เป็ นความรู้สะสมสืบต่อกัน
มา โดยใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่นเพื่อประดิษฐ์ซึ่งมีความคิด ฝี มือ ความเรียบ
ง่าย ประโยชน์ใช้สอยแฝงเร้นไปกับความงาม ธรรมชาติ สังคม สิ่ง
แวดล้อม ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อเพื่อดำรงชีวิต มีคณ
ุ ค่าใน
การสืบสานเป็ นไปในเชิงวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นถือเป็ นความรู้ทาง
วัฒนธรรมที่มีคุณค่า เพราะเป็ นรากฐานของสังคมที่มีการสั่งสมสืบทอดมา
เป็ นความรู้ที่อยู่กับตัวคนและติดแผ่นดิน คือสะท้อนถึงวิถีการดำเนินชีวิต
ของผูค
้ น ซึ่งเกิดจากการปรับตัวให้สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมให้อยู่ได้อย่าง
ปกติ ทัง้ ด้านปั จจัยสี่ ด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตของคนไทย ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ทาง
ทรัพยากรธรรมชาติ จึงมีส่วนสำคัญในการกำหนดวิธีการกินอยู่หรือ
ภูมิปัญญาไทยให้มีความหลากหลายไปตามภูมินิเวศน์ของภาคต่าง ๆ
สะท้อนให้เห็นโลกทัศน์ในการจัดการระบบความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน
คนกับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติให้เอื้อต่อการดำรงชีวิต ( อา
นันท์ กาญจนพันธุ์, 2544 : 174 )
ผลิตภัณฑ์ปทุมทิพย์มงคลถือได้ว่าเป็ นผลงงานหัตถกรรมอย่างหนึ่งของ
ไทยที่มีการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นจากรุ่นอดีตจนถึงรุ่นปั จจุบัน โดยผ่าน
กระบวนการคิดค้นกรรมวิธีการต่าง ๆ ขึน
้ มา เพื่อใช้สร้างเป็ นศิลปะ เครื่อง
ล่างสิ่งนำโชคของมงคลที่สอดคล้องสำหรับการดำรงชีวิตประจำวัน แต่เมื่อ
กาลเวลาได้เปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยีใหม่ ๆ เริ่มเข้ามามีบทบาทต่อการ
ดำเนินชีวิตมากขึน
้ ผลิตภัณฑ์ปทุมทิพย์มงคลนัน
้ ถูกเปลี่ยนแปลงไปตามยุค
สมัยใหม่ โดยมีการประยุกต์ด้านรูปแบบ การนำไปใช้งานแบบใหม่ นำ
วัสดุที่ทันสมัยที่นอกเหนือจากวัสดุท้องถิ่น และธรรมชาติมาประกอบเป็ น
รูปทรงให้มีความแปลกใหม่มากขึน
้ รูปแบบผลิตภัณฑ์ปทุมทิพย์มงคล ได้มี
การพัฒนาและสร้างกันมาอย่างต่อเนื่อง จนเป็ นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์
หัตถกรรมไทย ที่สมัยก่อนอาจเป็ นแค่ทำเพื่อให้กันเองในครอบครัว และ
แลกเปลี่ยนกันเองในชุมชน แต่ปัจจุบันรูปแบบของผลิตภัณฑ์ปทุมทิพย์
มงคลนัน
้ สามารถสร้างให้เกิดเป็ นรายได้กับครอบครัวและชุมชน และ
กลายเป็ นธุรกิจขนาดเล็กที่สามารถเห็นได้ทั่วไปในท้องตลาด และกลายเป็ น
สิ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ประเภทนี ้ ผลิตภัณฑ์
ปทุมทิพย์มงคล จึงได้เป็ นผลิตภัณฑ์ส่วนหนึ่งในโครงการ “หนึ่งตำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์” ที่รัฐบาลได้จัดตัง้ ขึน
้ เพื่อมุ่งเป้ าหมายให้แก่ชุมชน และ
การนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างงานให้เป็ นเอกลักษณ์ โดยการจัดตัง้
กองทุนหมู่บ้าน และชุมชนภายใต้นโยบายแก้ไขปั ญหาเศรษฐกิจ และความ
ยากจนของประเทศด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้าของรัฐบาล
โดยเน้นพัฒนา และส่งเสริมธุรกิจในชุมชนหรือวิสาหกิจชุมชนให้มีรายได้
เป็ นของตนเอง สามารถพึ่งตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขน
ึ ้ ด้วยการ
กำหนดให้แต่ละชุมชนหรือตำบลหนึ่ง ๆ มีผลิตภัณฑ์หลักอย่างน้อย 1
ประเภท ซึ่งได้มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรในท้องถิ่นมาปรับใช้ใน
การผลิต และพัฒนาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของแต่ละชุมชน และ
พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นนัน
้ ให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์พร้อมทัง้ เชื่อมโยง
ให้เกิดการพัฒนาร่วมกันทัง้ ระบบระหว่างวิสาหกิจชุมชนหรือท้องถิ่น ( วุ
ฒิชัย วิถาทานัง, 2558 : 2 )
ดังนัน
้ ทางคณะผู้จัดทำจึงมีความสนใจในเรื่องของงานประดิษฐ์
ปทุมทิพย์ การประดิษฐ์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ทำให้เกิดแนวคิดในการ
ออกแบบและพัฒนารูปแบบการ ต่อยอดผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์ โดยนำ
ต้นไม้มาปรับแต่งให้เกิดลวดลาย มีความสวยงามและมีความมงคล โดยใช้
วัสดุตกแต่งและวัสดุทำมือ เพื่อนำมาประดิษฐ์เป็ นชิน
้ งาน เพื่อให้เกิดเป็ นสิ่ง
ประดิษฐ์ในรูปแบบใหม่ ที่มีความแตกต่างแต่คงเอกลักษณ์ของลวดลายงาน
หัตกรรม

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อเป็ นการออกแบบผลิตภัณฑ์ประดิษฐ์ด้วยมือ ปทุมทิพย์มงคล
2. เพื่อขยายธุรกิจส่งเสริมธุรกิจดอกไม้ประดิษฐ์ให้เป็ นที่ร้จ
ู ักมากขึน

3. เพื่อเป็ นการส่งเสริมอาชีพเสริมรายได้ให้กับผู้ร่วมวิจัย และพัฒนา
คุณภาพวัสดุในการสร้างต้นไม้ประดิษฐ์

ขอบเขตของการวิจัย
1. ขอบเขตด้านเนื้อหา ในการวิจัยในครัง้ นีเ้ ป็ นการศึกษาวิธีการ
ประดิษฐ์ต้นไม้ จึงได้กำหนด
ขอบเขตของการวิจัยไว้ดังนี ้
2. ขอบเขตด้านประชากร กลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครัง้ นี ้ คือ นักเรียน นักศึกษา บุคคล
ทั่วไป และผู้ประกอบการ
จำนวน 40 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครัง้ นี ้ คือ นักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไป
และผู้ประกอบการ โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 36 คน

3. ตัวแปรที่ได้ศึกษาได้แก่
ตัวแปรต้น คือ นักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไป และผู้ประกอบการ
ตัวแปรตาม คือ คะแนนพึงใจของผลิตภัณฑ์ปทุมทิพย์มงคล
ขอบเขตด้านเวลา ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2565
4. ขอบเขตด้านพื้นที่ วิทยาลัยเทคนิคนิคมอุตสาหกรรมระยอง

คำจำกัดความที่ใช้ในงานวิจัย
ปทุมทิพย์ หมายถึง ดอกบัวสวรรค์
มงคล หมายถึง มงคลเป็ นเหตุที่นำมาซึ่งความเจริญ สิ่งที่นำสิริ และ
ความเจริญมาสู่ และปกป้ องไม่ให้สิ่งเลวร้ายมากล้ำกราย เช่น วัตถุมงคล
หรือพิธีที่จัดให้มีเพื่อความเป็ นสิริ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้สร้างรายได้ระหว่างเรียน
2. ได้ใช้เวลาว่างให้เป็ นประโยชน์
3. ได้ออกแบบงานประดิษฐ์ด้วยมือโดยพัฒนามาจากต้นไม้มงคล

You might also like