You are on page 1of 6

1

สะท้ อนร่ องรอยการมีปฏิสัมพันธ์ ของชาวลัวะกับรัฐในพืน้ ทีร่ าบ จากหลักฐานการขุดค้ นพบ


โบราณวัตถุในแหล่ งโบราณคดีอมก๋ อย จังหวัดเชียงใหม่

นางสาววิภาวดี จาปี 63020174

บทนา
อมก๋ อ ย คื อ ชื่ อ อ าเภอที่ ต้ งั อยู่ท างใต้สุ ด ของจัง หวัด เชี ย งใหม่ แ ละเป็ นที่ ต้ งั ของอาณาเขตแหล่ ง
โบราณคดีอมก๋ อย ซึ่ งมาจากคาว่า อากอย เป็ นภาษาลัวะ แปลว่า ต้นน้ าหรื อขุนน้ า จากการสันนิ ษฐานและ
ตีความของนักประวัติศาสตร์ หลายท่าน พบว่า แต่เดิมอาเภออมก๋ อยเป็ นหมู่บา้ นของชาวลัวะ ซึ่ งถือว่าเป็ น
กลุ่มชาติพนั ธุ์ด้ งั เดิมของจังหวัดเชียงใหม่ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็ นรัฐก่อนอาณาจักรล้านนา สมัยก่อนพญามัง
รายสร้างเมืองเชียงใหม่ 1300 ปี มาแล้ว ก่อนมอญจะนาความเจริ ญมาสู่ แม่น้ าปิ ง ถิ่นกาเนิดที่แท้จริ งไม่แน่ชดั
เชื่อกันว่าอพยพมาจากตอนใต้ของไทย มลายา เขมร 2000 กว่าปี มาแล้ว เป็ นเชื้อสายเดียวกับชาติพนั ธุ์วา้ ใน
พม่าและยูนนานในจีน จากการถูกรุ กรานจากชาติพนั ธุ์ไททาให้กลุ่มชาติพนั ธุ์ลวั ะถอยร่ นสู่ ที่ราบเชิงเขา สัน
เขาและกระจายตัวตั้งถิ่นฐานอยู่บริ เวณภาคเหนื อของไทยเป็ นส่ วนใหญ่ โดยเฉพาะจังหวัดแม่ฮ่องสอน
จังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน และจังหวัดเชียงใหม่ แม้ปัจจุบนั ชาวลัวะได้ยา้ ยออกไปอยูใ่ นท้องที่อื่น ๆ และมี
คนเมื อ งอพยพเข้า มาแทนแต่ ก ารอพยพเข้า มาของชาวลัว ะได้ส ร้ า งสรรค์ว ัฒ นธรรมเฉพาะถิ่ น และ
กลายเป็ นอัตลักษณ์ไว้มากมาย ถือได้วา่ เป็ นต้นแบบของวัฒนธรรมทางภาคเหนือของไทยที่ยงั ปรากฏให้เห็น
ในปั จจุบนั โดยธรรมชาติของมนุษย์ที่มีความเป็ นสัตว์สังคม มีการอยูร่ วมกันเป็ นสังคมเพื่อความอยูร่ อดแต่
ในปั จจัยที่ช่วยในการอยูร่ อด การติดต่อสัมพันธ์หรื อการขยายเขตดินแดนจึงเป็ นเรื่ องที่เกิดขึ้นได้เสมอ ซึ่งมี
ปรากฏให้เห็นมาตั้งแต่อดีตโบราณ กลุ่มชาวลัวะที่อาเภออมก๋ อยก็เช่นกัน ด้วยปั จจัยหลาย ๆ ด้านโดยเฉพาะ
ด้านทรัพยากรธรรมชาติ จึงทาให้เกิดร่ องรอยการแลกเปลี่ยนกันระหว่างกลุ่มคนบนพื้นที่สูงและกลุ่มคนที่
อาศัยในพื้นที่ราบ
บทความนี้ตอ้ งการจะศึกษาถึงร่ องรอยวัฒนธรรมและการมีปฏิสัมพันธ์ของชาวลัวะที่มีต่อผูค้ นและ
รัฐในพื้นที่ราบจากการค้นพบหลักฐานโบราณวัตถุ ที่ปรากฎให้เห็นในแหล่งโบราณคดีอมก๋ อย ซึ่ งเป็ นสิ่ ง
สะท้อนถึงการสร้างสรรค์วฒั นธรรมและรู ปแบบวิถีชีวิตของชาวลัวะที่เคยเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาเภออมก๋ อย
จากการขุดค้นพบวัตถุทางโบราณคดีที่กระจายอยูท่ วั่ ไปตามเนินเขาในหมู่บา้ นต่าง ๆ ของอาเภออมก๋ อย เช่น
2

บ้านแม้วแม่เทย บ้านเมืองตื่น ตาบลแม่ตื่น บ้านมูเซอหลังเมือง ตาบลม่อนจอง บ้านแม่ลาน บ้านตุงลอย บ้าน


ดอยบ่อแก้ว ตาบลอมก๋ อย บ้านยางหลังป่ าข่า บ้านอมแรด บ้านแม่แฮ ตาบลยางเปี ยง เป็ นต้น
คาจากัดความ : อาเภออมก๋ อย, ชาวลัวะ, แหล่งโบราณคดีอมก๋ อย, วัฒนธรรมการฝังศพ, จังหวัดเชียงใหม่

สภาพภูมิประเทศของอาเภออมก๋อย
แหล่งโบราณคดีอมก๋ อยตั้งอยู่ที่อาเภออมก๋ อย จังหวัดเชี ยงใหม่ อาเภออมก๋ อยมีลกั ษณะเป็ นภูเขา
สลับซับซ้อนอยูส่ ู งจากระดับน้ าทะเลประมาณ 1000 เมตร สามารถแบ่งเขตได้เป็ น 2 เขต เขตภูเขาสู ง เป็ นต้น
กาเนิดของแม่น้ าลาธาร อยูใ่ นพื้นที่ตาบลอมก๋ อย ตาบลยางเปี ยง ตาบลสบโขง ตาบลนาเกียน ตาบลม่อนจอง
ตาบลแม่ตื่น คิดเป็ นพื้นที่ประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่อาเภอ และเขตภูเขาเตี้ย มีพ้ืนที่ร้อยละ 20 ของพื้นที่
อาเภอ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของอาเภอเป็ นที่สูงและภูเขา จึงทาให้มีอากาศค่อนข้างเย็นตลอดทั้งปี อาเภอ
อมก๋ อยมีแหล่งทรัพยากรน้ าที่สาคัญ ได้แก่ ลาน้ าแม่ต๋อม มีตน้ กาเนิดจากเทือกเขาดอยพุย ทางทิศตะวันออก
ของอาเภอ ไหลผ่านหมู่บา้ นต่าง ๆ แล้วลงสู่ ลาน้ าแม่ตื่น มีความยาวประมาณ 30 กิ โลเมตร เป็ นแหล่งน้ า
สาคัญสาหรับใช้ในการเกษตร และมีลาน้ าแม่ตื่นซึ่งเป็ นแหล่งน้ าที่สาคัญของอาเภอ อาเภออมก๋ อยยังมีดินที่
อุดมสมบูรณ์ ตามธรรมชาติ แตกต่างกันตามชนิ ดต้นกาเนิ ดของดิ นในบริ เวณนั้น ๆ มักมีหินโผล่กระจัด
กระจายทัว่ ไปตามภูเขา ส่ วนป่ าไม้ ส่ วนใหญ่อาเภอยังมีป่าไม้ประเภทต่าง ๆ ปกคลุมทัว่ ไป เช่น ป่ าเบญจ
พรรณ ป่ าดงดิบ ซึ่ งในอดีตเป็ นแหล่งของป่ าที่กลายเป็ นสิ นค้าสาคัญในการติดต่อกับกลุ่มคนบนพื้นที่ราบ
สิ นค้าของป่ าซึ่ งประกอบไปด้วย ยางรัก ครั่ง ชะมดเช็ด เหล็ก หวาย สี เสี ยด สี ยอ้ มผ้า (เช่น ไม้มะเกลือ ไม้
ฝาง) ยางสน น้ ามันสน เขาสัตว์ เช่น กวางและเลียงผา เป็ นต้น
วัฒนธรรมของชาวลัวะที่กลายมาเป็ นอัตลักษณ์ เฉพาะตน
ชาวลัวะนิยมสร้างเรื อนไม้ยกพื้นสู ง 2 ถึง 2.5 เมตร การวางแนวบ้านไม่ขนานกับการขึ้นและตกของ
ดวงอาทิตย์ หลังคามุงด้วยหญ้าคาหรื อตองตึงมีลกั ษณะสู งชันคลุมลงเกือบจรดพื้นดิน อีกทั้งยังนิ ยมสร้าง
ครัวที่มีเตาไฟกลางบ้านเพื่อช่ วยให้ภายในตัวเรื อนมีความอบอุ่นเนื่ องด้วยอากาศที่หนาวและมีฝนตกชุ ก
ตลอดทั้งปี มีชายคาไว้สาหรับวางครก กระเดื่อง มีกาแลสลักไขว้กนั สองอันเป็ นหน้าจัว่ ภายในตัวบ้านจะมี
ห้องเดียวซึ่ งเป็ นทั้งห้องนอนและห้องครัว มีเครื่ องเลี้ยงผีที่มุมห้อง และเนื่ องจากชาวลัวะมีอาชี พหลักคือ
เกษตรกรรมทาให้รอบ ๆ หมู่บา้ นจะเป็ นพื้นที่สาหรับเพาะปลูก โดยการเพาะปลูกนิ ยมทาเป็ นแบบไร่ เลื่อน
ลอยและเป็ นลักษณะขั้นบันไดเนื่ องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็ นภูเขาสู งและมีพ้ืนที่นอ้ ยการปลูกพืชในลักษณะ
ดังกล่าวจึงเป็ นที่นิยมทากันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปั จจุบนั ก็ยงั ปรากฏให้เห็นในหลายพื้นที่ ส่ วนใหญ่จะปลูก
3

ข้าวและโต๊ะโกละหรื อผักกาด เป็ นต้น นอกจากนี้ ชาวลัวะยังนิ ยมเลี้ยงสัตว์ไว้ใต้ถุนบ้าน เช่น วัว ควาย หมู
เป็ ด ไก่ เป็ นต้น ชาวลัวะมีภาษาเป็ นของตนเอง คือ ภาษาลัวะ เป็ นภาษาในตระกูลออสโตรเอเชี ยติก กลุ่ม
มอญ-เขมร เป็ นภาษาที่ ไ ม่ มี ร ะบบเสี ย งวรรณยุก ต์แ ละไม่ มี ภ าษาเขี ย น ชาวลัว ะแต่ เ ดิ ม มี ก ารนับ ถื อ ผี
โดยเฉพาะผีเสื้ อบ้าน และผีบรรพบุรุษ ทุกหมู่บา้ นของชาวลัวะจะมีเสาสะกังเป็ นเสาหลักประจาหมู่บา้ นไว้
ใช้สาหรับเซ่นไหว้ในพิธีสาคัญ เมื่อแต่งงานแล้วฝ่ ายหญิงจะนับถือสายผีตามสามี และบุตรชายคนเล็กจะได้
สิ ทธิ์ ในการรั บ มรดกและดู แ ลสายผี ภายหลัง เมื่ อ มี ติ ด ต่ อ กั บ คนในพื้ น ที่ ร าบ จึ ง ได้ มี ก ารนั บ ถื อ
พระพุทธศาสนาและคริ สต์ศาสนาควบคู่ไปกับความเชื่อดั้งเดิม และซึ มซับรับวัฒนธรรมจากกลุ่มชาติพนั ธุ์
ไทเข้าไปใช้ในชีวิตประจาวัน ในส่ วนของวัฒนธรรมการแต่งกายสตรี ชาวลัวะนิ ยมสวมเสื้ อสี ขาวหรื อสี ดา
แขนสั้นกุ๊นด้วยด้ายสี นุ่งซิ่นสั้นครึ่ งเข่าสี ดามีลายคัน่ เป็ นแถบสี แดง ชมพู และน้ าเงินแซมขาว ซึ่งได้จากการ
มัดย้อมหรื อปั่ นไก พันแขนด้วยผ้าปอเต๊ะ พันขาด้วยผ้าปอซวง สตรี ชาวลัวะนิ ยมแสกกลางศีรษะมวยต่าไว้
ท้ายทอย ประดับมวยผมด้วยปิ่ นขนเม่น สวมสร้อยเงินเม็ด สร้อยลูกเดือย สร้อยลูกปั ดสี แดง สี ส้ม สี เหลือง
และใส่ ตุม้ หู ไหมพรมยาวถึงไหล่ ส่ วนบุรุษนิยมสวมเสื้ อแขนยาวสี ขาวผ่าหน้า นุ่งกางเกงสะดอขาว เคียนหัว
ด้วยผ้าสี แดงหรื อชมพู และพกมีดด้ามงาช้าง
วัฒนธรรมการฝังศพของชาวลัวะจากการขุดค้ นพบแหล่งโบราณคดีอมก๋อย
จากการขุดค้นพบแหล่งโบราณคดีอมก๋ อยที่เริ่ มขึ้นในช่วง พ.ศ. 2527 ซึ่ งเริ่ มมาจากการแสวงโชค
ของชาวเขาที่ จงั หวัดตากและขยายอาณาเขตมาบริ เวณเทื อกเขาถนนธงชัยกลาง อาเภออมก๋ อย จังหวัด
เชียงใหม่ซ่ ึ งแหล่งที่พบโบราณคดีมีลกั ษณะเป็ นสุ สาน ชาวบ้านเรี ยกว่า ป่ าเห้วลัวะ หมายถึง ป่ าช้าชาวลัวะ
ซึ่ งป่ าช้าชาวลัวะมี ลกั ษณะเป็ นเนิ นดิ น ฝั ง ศพที่ มีขนาดแตกต่ างกันและพบโบราณวัตถุจ านวนและชนิ ด
แตกต่างกันขึ้นอยู่กบั สถานภาพทางสังคมของผูต้ าย โดยโบราณวัตถุที่พบส่ วนใหญ่เป็ น ไหบรรจุกระดูก
ดาบ ภาชนะดินเผาทั้งแบบเคลือบและไม่เคลือบ กล่องยาสู บ ลูกปั ด เป็ นต้น นอกจากเนิ นดินฝังศพแล้วยังมี
พื้นที่บริ เวณลานกว้างที่สันนิ ษฐานว่าเป็ นที่พ้ืนที่เคยมีการตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยพบโบราณวัตถุ ได้แก่ เศษ
ภาชนะเคลือบสี เขียวคล้ายกับภาชนะจากแหล่งเตาศรี สชั นาลัย เศษภาชนะจากแหล่งเตาเกาะน้อย เศษภาชนะ
ดินเผาเนื้อดิน เศษภาชนะเคลือบสี น้ าตาลไม่ทราบแหล่งที่มา และเศษเครื่ องถ้วยจีนสมัยราชวงส์หมิง ซึ่งวัตถุ
ที่พบเหล่านี้มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21
Ceramics from the Thai-Burma Border ได้ใ ห้ขอ้ มู ลว่ารู ปแบบการฝั งศพบนเทื อกเขาถนนธงชัย
กลางในเขตอ าเภออมก๋ อ ยมี อ ยู่ 3 รู ป แบบหลัก ๆ โดยรู ป แบบแรกเป็ นเนิ น ดิ น เดี่ ย วที่ มี ข นาดเส้น ผ่า น
ศูนย์กลางตั้งแต่ 7 เมตร ไปจนถึงขนาด 30 เมตร เนินดินรู ปวงกลมมีการทาขอบเขตโดยการขุดคูน้ ารอบเนิน
ด้านบนของเนิ นดิ นมีลกั ษณะแบนราบที่ตรงกึ่งกลางเนิ นพบไหบรรจุเถ้ากระดูกฝั งอยู่ขา้ งใต้ ซึ่ งมีสิ่งของ
4

หลายรายการฝังร่ วมอยูด่ ว้ ย รู ปแบบที่สองเป็ นเนินดินฝังศพรู ปวงกลมแบบเป็ นกลุ่ม บนยอดเขาสู งสุ ดจะพบ


เนินดินฝังศพรู ปวงกลมขนาดใหญ่ ไล่ระดับลงมาตามสันเขาจะพบเนินดินฝังศพรู ปวงกลมขนาดเล็กหลายวง
กึ่งกลางเนิ น แต่ละเนิ นมีการฝังศพพร้อมกับ เครื่ องเซ่ น หรื อฝังไหบรรจุกระดูก และโบราณวัตถุอื่น ๆ อยู่
ร่ วมกัน รู ปแบบที่สามเป็ นเหมือนกับเนิ นดินฝังศพรู ปวงกลมแบบที่สองเพียงแต่มีการปั กหิ นที่เนิ นดิน เพื่อ
เป็ นสั ญ ลัก ษณ์ นอกจากนี้ ในบางเนิ น ยัง พบโครงกระดู ก มนุ ษ ย์ท้ ัง ร่ า งพร้ อ มกับ สิ่ ง ของเครื่ อ งใช้แ ละ
เครื่ องประดับ สะท้อนได้วา่ การฝังศพแต่เดิมที่ชาวลัวะมีการนับถือผีน้ นั วัฒนธรรมการเผาศพยังไม่ถูกรับเข้า
มา แต่เมื่อชาวลัวะได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนาวัฒนธรรมการฝังศพจึงเปลี่ยนไป คือ มีการเผาศพและ
บรรจุกระดูกใส่ ไหแล้วนาไปฝังพร้อมกับเครื่ องอุทิศต่าง ๆ
จากการขุดค้นในบริ เวณพื้นที่เชิงเขาพบพื้นที่ฝังศพที่ไม่มีรูปแบบเป็ นเนินดินฝังศพรู ปวงกลม แต่
เป็ นพื้นที่เชิงเขาใกล้กบั ลาห้วยพบหลุมศพอยูต่ ิด ๆ กันซึ่งเป็ นไปได้วา่ เป็ นที่ฝังศพที่ใช้ติดต่อกันมาระยะเวลา
หนึ่ ง และมี ก ารฝั งซ้ าที่ เ ดิ ม ๆ จึ ง พบหลุ มศพซ้อนทับกันบ้าง วัตถุ ที่พบเป็ นเครื่ องถ้ว ยรวมทั้งภาชนะที่
ชาวบ้า น เรี ย กว่ า ชามข้า วหมา และพบเครื่ อ งถ้ว ยจากแหล่ ง เตาสุ โ ขทัย ที่ มี คุ ณ ภาพไม่ ดี ของที่ พ บมี
คุณลักษณะ ที่คล้ายกันกับที่พบจากเนินดินฝังศพรู ปวงกลม ถ้าหากว่าหลุมฝังศพนี้เป็ นคนกลุ่มเดียวกันกับที่
ทาเนิ นดินฝังศพรู ปวงกลม แสดงว่าในสังคมนี้ มีการแบ่งสถานภาพทางสังคมอย่างชัดเจนคือ ระหว่างกลุ่ม
คนที่เป็ นหัวหน้าหรื อมีสถานภาพพิเศษกับกลุ่มคนที่เป็ นชาวบ้านทัว่ ไป
ปฏิสัมพันธ์ ระหว่ างชาวลัวะกับรัฐในที่ราบ
เมื่อพิจารณาจากโบราณวัตถุที่พบตามเนินดินฝังศพรู ปวงกลมในบริ เวณเทือกเขาถนนธงชัยกลาง อา
เออมก๋ อย เป็ นผลมาจากการขยายตัวทางการค้าในเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ต้ งั แต่พุทธศตวรรษที่ 19 เป็ นต้น
มา ที่ ชุมชนพื้น ที่ ราบต้องการติ ดต่ อแลกเปลี่ ย นกับคนบนที่ สูง เนื่ องจากทรั พยากรธรรมชาติ หรื อ ภาษา
ชาวบ้านเรี ยกกันว่า ของป่ า เช่น ยางรัก ครั่ง ชะมดเช็ด เหล็ก หวาย สี เสี ยด สี ยอ้ มผ้า (เช่น ไม้มะเกลือ ไม้
ฝาง) ยางสน น้ ามันสน เขาสัตว์ เช่น กวางและเลียงผา เป็ นต้น เป็ นสิ่ งที่ชุมชนพื้นที่ราบต้องการเป็ นอย่างมาก
เพราะของป่ าเป็ นสิ นค้าส่ งออกสาคัญและสร้างรายได้มาก เช่นเดียวกันกลุ่มคนบนดอยก็ตอ้ งการความมัง่ คัง่
ร่ ารวยและความมัง่ คงในทางสถานภาพทางสังคมการเมือง จึงทาให้พบเครื่ องถ้วยชั้นดีในหลุมฝังศพชาวลัวะ
บริ เวณแหล่งโบราณคดีอมก๋ อย ทั้งที่ผลิตจากต่างภูมิภาค เช่น สุ โขทัย ล้านนา และของที่นาเข้ามาจากจีนและ
เวียดนาม โดยการติดต่อแลกเปลี่ยนกันเป็ นไปได้ 2 วิธีคือ การค้าขายแลกเปลี่ยนกันในตลาด และการเกณฑ์
มาในรู ปของส่ วย จากจารึ กแผ่นเงินที่เรี ยกว่า ตราหลาบเงิน พบตามหมู่บา้ นของชาวลัวะ เนื้ อความในจารึ ก
ส่ วนใหญ่กล่าวถึงการละเว้นการเกณฑ์แรงงานแก่พวกลัวะ แต่ให้ส่งส่ วยและทาหน้าที่ดูแลวัด ซึ่งธรรมเนียม
นี้เริ่ มต้นมาตั้งแต่สมัยพระนางวิสุทธิเทวี (พ.ศ. 2101 - 2121) กษัตริ ยแ์ ห่งเชียงใหม่ และปฏิบตั ิสือต่อมาจนถึง
5

สมัยราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน โดยชาวลัวะมีหน้าที่ส่งส่ วยเป็ นแร่ เงินและผลิตเหล็กแทนการถูกเกณฑ์แรงงานและ


การส่ งส่ วยให้กบั รัฐบนพื้นที่ราบ จะมีผทู ้ ี่เป็ นตัวแทนชาวลัวะคือ สะมัง เป็ นผูท้ าหน้าที่
จากหลักฐานพงศาวดารในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มีการกล่าวถึงการติดต่อกับชาวลัวะหรื อ ละว้า มี
การมอบตาแหน่งให้ละว้าที่เข้ามาสวามิภกั ดิ์กบั กรุ งศรี อยุธยาด้วย เมื่อละว้าแสดงความจงรักภักดีต่อกษัตริ ย ์
อยุธยาโดยการดื่มน้ าสบถแล้วจะได้ข้ ึนว่าเป็ น นายหมวด จะได้รับมอบตาแหน่งให้ควบคุมพื้นที่บนภูเขาสู ง
รวมถึงรางวัลจาพวก เสื้ อผ้า เงินตรา เครื่ องเรื อน เจียดเงิน เป็ นต้น และนายหมวดจะได้รับอนุญาตให้กบั ไป
ยังภูมิลาเนาของตนคืน เช่น เมืองเชี ยงใหม่ เมืองตาก เมืองพิษณุ โลก เมืองสุ โขทัย เมืองกาแพงเพชร เมือง
ลาปาง เมืองลาพูน เป็ นต้น และอีกหนึ่งหน้าที่คือคอยเป็ นกาลังเสริ มให้กบั อยุธยาในยามศึกสงคราม

สรุป
แหล่งโบราณคดีอมก๋ อย อาเภออมก๋ อย จังหวัดเชียงใหม่ ได้สะท้อนให้เราเห็นถึงประวัติศาสตร์ของ
ชาวลัว ะผู เ้ ป็ นบรรพบุ รุ ษ ที่ ส ร้ า งสรรค์ ว ัฒ นธรรมที่ เ ป็ นเอกลัก ษณ์ เ ฉพาะตนผ่ า นร่ อ งรอยการติ ด ต่ อ
มีปฏิสัพนั ธ์กบั ดิ นแดนต่างถิ่นในพื้นที่ราบ จากหลักฐานตราหลาบเงินและพงศาวดารสมัยพระนารายณ์
สะท้อนให้เห็นถึงความใกล้ชิดที่ชาวลัวะมีต่อกลุ่มคนในพื้นที่ราบจึงเป็ นสาเหตุที่ทาให้โบราณวัตถุที่ถูกขุด
ค้นพบในแหล่งโบราณคดีอมก๋ อยมีที่ไปที่มาเนื่ องจากการสร้างปฏิสัมพันธ์ภายนอกของชาวลัวะจากการ
ติดต่อค้าขายสิ นค้าของป่ าซึ่ งเป็ นสิ่ งที่รัฐในที่ราบต้องการ ในการแลกเปลี่ยนสิ นค้าในสมัยโบราณนั้นเป็ น
การแลกเปลี่ยนในรู ปแบบสิ นค้าแลกสิ นค้า (Barter System) และการส่ งส่ วยเพื่อแลกกับการถูกเกณฑ์ไปใช้
แรงงาน และสาเหตุการเมืองที่เกิดจากการขึ้นมามีอิทธิพลของรัฐใหญ่อย่างอยุธยา การที่ให้ชาวลัวะเข้าแสดง
ความสวามิภกั ดิ์โดยแต่งตั้งตาแหน่งและให้รางวัลถือเป็ นสัญลักษณ์ของการขยายอานาจเพื่อสร้างฐานความ
มัน่ คง ทั้งทางด้านการเมืองในเรื่ องกาลังพลรบในศึกสงคราม ด้านเศรษฐกิจในเรื่ องสิ นค้าของป่ าบนพื้นที่สูง
ที่กลายเป็ นสิ นค้าสาคัญในการส่ งออก ด้านสังคมในเรื่ องการสร้างชนชั้นทางสังคมในท้องถิ่นให้ชดั เจนและ
ซับซ้อนขึ้นจากการที่มอบรางวัลหลังแสดงความสวามิภกั ดิ์ สิ่ งของเหล่านั้นจะเป็ นตัวยกระดับฐานะตัว
บุคคลให้เป็ นผูม้ ีบทบาททางสังคมไปโดยปริ ยาย เหตุน้ ี ผนู ้ าของชนจึงเผ่ากลายเป็ นบุคคลที่มีสถานะสาคัญ
โดดเด่น ด้วยบทบาทการเป็ นผูน้ าที่ทาหน้าที่เป็ นตัวแทนของหมู่บา้ นหรื อชนเผ่าในการติดต่อค้าขายกับคน
ต่างภูมิภาค และเป็ นไปได้ที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคนบนพื้นที่สูงกับพื้นที่ราบนี้เอง ที่ทาให้เกิดชนชั้นทาง
สังคมของชาวลัวะ ที่ก่อให้เกิดประเพณี ปฏิบตั ิในการแสดงสถานภาพทางสังคม เช่น การสร้างเนิ นดินรู ป
วงกลมขนาดใหญ่เป็ นที่ฝังศพของผูน้ าหรื อบุคคลสาคัญ ที่มีการฝังของข้าวของเครื่ องใช้เป็ นของอุทิศลงไป
ในหลุมฝังศพด้วยนั้นเอง แม้ปัจจุบนั การฝังศพในรู ปแบบเนิ นดินบนยอดเขาไม่มีชาวลัวะกลุ่มใดทาเลย แต่
พวกเขามีแนวคิดเรื่ องการบูชาภูเขาซึ่งอาจจะสัมพันธ์กบั แนวคิดการฝังศพบนยอดเขาก็เป็ นได้
บรรณานุกรม

นิคม พรหมมาเทพย์. (2559). ลัวะล้ านนาโลกาภิวัตน์ ย้ อนนิยายปรั มปราเมืองลัวะสู่ ตานานล้ านนาก้าวย่ าง

โหยหาสู่ สังคมโลกาภิวัฒน์ . เชียงใหม่ : แมกซ์พริ้ นติ้ง.

พิพฒั น์ กระแจะจันทร์. (ม.ป.ป.). ของหรู ของหายากจากบนยอดดอย. สื บค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2565. จาก


https://museum.socanth.tu.ac.th/wp-content/uploads/2017/09/-1_%E0%B8%9A%E0%B8%97%
E0%B8% 97%E0%B8%B5%E0%B9%88-3_%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87 %E 0
%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B9.pdf.

ศิลปวัฒนธรรม. (2564). ชาวเขากับการขุดหา “สมบัติใต้ ดิน” ที่แหล่ งโบราณคดีอมก๋อย. สื บค้นเมื่อ 19


ธันวาคม 2565. จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_61262.

สานักงานพัฒนาชุมชนอาเภออมก๋ อย จังหวัดเชียงใหม่. (2559). ประวัติความเป็ นมาอาเภออมก๋อย. สื บค้น


เมื่อ 19 ธันวาคม 2565. จาก https://district.cdd.go.th/omkoi/about-us/%E0%B8%9B%E0%B8%
A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0
%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99
%E0%B8%A1%E0%B8%B2/.

สานักส่ งเสริ มศิลปวัฒนธรรม มหาวิยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (ม.ป.ป.). กลุ่มชาติพนั ธ์ ลวั ะ/เลอเวือะ/ละเวือ.


สื บค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2565. จาก https://www.culture.cmru.ac.th/web60/learningcenter/%E0%
B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2
%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8
%B8%E0%B9%8C%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%B0/.

สานักส่ งเสริ มศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2563). ลัวะ. สื บค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2565. จาก
https://art-culture.cmu.ac.th/Lanna/articleDetail/1255.

You might also like