You are on page 1of 6

นางสาวปาวีณา จันต๊ะวงศ์ทา เลขที่19

ทฤษฎีการเสริมแรงของสกิน
เนอร์
1. การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มเกิดขึ้น
อีก ส่วนการกระทำที่ไม่มีการเสริมแรงแนวโน้มที่ความถี่ของการก
ระทำนั้นจะลดลง และหายไปในที่สุด
2. การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้เกิดการตอบสนองกว่า การ
เสริมแรงที่ตายตัว
3. การลงโทษทำให้เรียนรู้ได้เร็วและลืมเร็ว
4. การให้แรงเสริมหรือให้รางวัลเมื่อมีการแสดงพฤติกรรมที่
ต้องการ สามารถช่วยปรับหรือปลูกฝังนิวัยที่ต้องการได้
การนำไปใช้
ทฤษฎีการเสริมแรงของสกิน
เนอร์
1. ใช้ในการปลูกฝังพฤติกรรม (Shaping Behavior) หลักสำคัญของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ คือ เรา
สามารถควบคุมการตอบสนองได้ด้วยวิธีการเสริมแรง กล่าวคือ เราจะให้การเสริมแรงเฉพาะเมื่อมีการตอบสนองที่ต้องการ เพื่อให้กลาย
เป็นนิสัยติดตัวต่อไป อาจนำไปใช้ในการปลูกฝังบุคลิกภาพของบุคคลให้มีพฤติกรรมตามแบบที่ต้องการได้
การแสดงพฤติกรรมสาธารณะ
1. การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) เมื่อมีการแสดงออก ซึ่งพฤติกรรมจิตสาธารณะ ซึ่งอาจใช้ตัว
เสริมแรงได้เป็น 4 ประเภท คือ
1.1 ตัวเสริมแรงที่เป็นสิ่งของ ( material reinforce ) เป็นตัวเสริมแรงที่ประกอบได้ด้วยอาหาร
ของที่เล่นได้และสิ่งของต่างๆ เช่น เสื้อผ้า ของเล่น รถยนต์
1.2 ตัวเสริมแรงทางสังคม ( social reinforce ) ตัวเสริมแรงทางสังคมเป็นตัวเสริมแรงที่ไม่ต้อง
ลงทุนซื้อหามีอยู่กับตัวเราและค่อนข้างจะมีประสิทธิภาพสูงในการปรับพฤติกรรม แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ คำพูด ได้แก่ คำชมเชย
เช่น ดีมาก น่าสนใจมาก และการแสดงออกทางท่าทาง เช่น ยิ้ม จับมือ
1.3 ตัวเสริมแรงที่เป็นกิจกรรม ( activity reinforce) เป็นการใช้กิจกรรมหรือพฤติกรรมที่ชอบไป
เสริมแรงกิจกรรมหรือพฤติกรรมที่ไม่ชอบ
1.4 ตัวเสริมแรงที่เป็นเบี้ยอรรถกร (token reinforce) โดยการนำเบี้ยอรรถกรไปแลกเป็นตัวเสริม
แรงอื่นๆได้เช่น ดาว คูปอง โบนัส เงิน คะแนน
2. การเสริมแรงทางลบ ( negative reinforcement ) เป็นการทำให้ความถี่ของพฤติกรรมคงที่หรือเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งการเสริมแรงทางลบของผู้สอนควรปฏิบัติ คือ ทำทันทีหรือเร็วที่สุด เมื่อพฤติกรรมที่ไม่ต้องการเกิดขึ้น ควรให้มีความรุนแรงพอ
เหมาะไม่มากหรือน้อยจนเกินไป ควรให้ผู้ถูกลงโทษรู้ว่าพฤติกรรมใดที่ถูกลงโทษและเพราะเหตุใด ควรใช้เหตุผลไม่ใช้อารมณ์
ควรใช้การลงโทษควบคู่กับการเสริมแรงบวก ผู้ลงโทษต้องเป็นตัวแบบที่ดีในทุกๆด้าน และการลงโทษควรเป็นวิธีสุดท้าย ถ้าไม่
จำเป็นก็ไม่ควรใช้การลงโทษ
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบ
คลาสสิคของพาฟลอฟ
พาฟลอฟได้สรุปทฤษฎีการเรียนรู้ และกฎการเรียนรู้ดังนี้
- พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ตอบสนอง
ต่อความต้องการทางธรรมชาติ
- พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งเร้าที่เชื่อม
โยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
- พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่เกิดจากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้า
ตามธรรมชาติจะลดลงเรื่อย ๆ และหยุดลงในที่สุดหากไม่ได้รับการตอบ
สนองตามธรรมชาติ
- พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตาม
ธรรมชาติจะลดลงและหยุดไปเมื่อไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ
และจะกลับปรากฏขึ้นได้อีกโดยไม่ต้องใช้สิ่งเร้าตามธรรมชาติ
- มนุษย์มีแนวโน้มที่จะจำแนกลักษณะของสิ่งเร้าให้แตกต่างกันและเลือก
ตอบสนองได้ถูกต้อง
การนำไปใช้
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ

1. ในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างทางด้านอารมณ์มี
แบบแผน การตอบสนองได้ไม่เท่ากัน จำเป็นต้องคำนึงถึงสภาพทางอารมณ์ผู้
เรียนว่าเหมาะสมที่จะสอนเนื้อหาอะไร
2. การวางเงื่อนไข เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์ด้วย โดยปกติผู้
สอนสามารถทำให้ผู้เรียนรู้สึกชอบหรือไม่ชอบเนื้อหาที่เรียนหรือสิ่งแวดล้อมใน
การเรียน
3. การลบพฤติกรรมที่วางเงื่อนไข ผู้เรียนที่ถูกวางเงื่อนไขให้กลัวผู้สอน เราอาจ
ช่วยได้โดยป้องกันไม่ให้ผู้สอนทำโทษเขา
4. การสรุปความเหมือนและการแยกความแตกต่าง เช่น การอ่านและการสะกด
คำ ผู้เรียนที่สามารถสะกดคำว่า "round" เขาก็ควรจะเรียนคำทุกคำที่ออกเสียง o-u-
n-dไปในขณะเดียวกันได้ เช่นคำว่า found, bound, sound, ground, แต่คำว่า
wound (บาดแผล) นั้นไม่ควรเอาเข้ามารวมกับคำที่ออกเสียง o - u - n - d และ
ควรฝึกให้รู้จักแยกคำนี้ออกจากกลุ่ม
ทฤษฎีของธอร์นไดค์

1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) สภาพความพร้อมหรือวุฒิภาวะ


ของผู้เรียนทั้งทางร่างกาย อวัยวะต่างๆ ในการเรียนรู้และจิตใจ รวมทั้งพื้น
ฐานและ ประสบการณ์เดิมถ้าผู้เรียนมีความพร้อมตามองค์ประกอบ ต่างๆ ดัง
กล่าว ก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
2. กฎแห่งการฝึกหัด(Law o f Exercise) หมายถึงการที่ผู้เรียนได้ฝึกหัด
หรือกระทำซ้าๆบ่อยๆ ย่อมจะทำให้เกิดความสมบูรณ์ถูกต้อง
3. กฎแห่งผลที่พึ่งพอใจ(Law of Effect) เมื่อบุคคลได้รับผลทีพึ่งพอใจ
ย่อมอยากจะเรียนรู้ต่อไป แต่ ถ้าได้รับผลไม่พึ่งพอใจ จะไม่อยากเรียน ดัง
นั้นการได้รับผลที่พึ่ง พอใจ จึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้
การนำไปใช้
ทฤษฎีของธอร์นไดค์

1. ส่งเสริมให้ผู้เรียน เรียนรู้โดยการลองผิดลองถูก
2. สร้างความพร้อมทางการเรียนให้แก่ผู้เรียน
3. หากต้องการให้ผู้เรียนเกิดทักษะในเรื่องใดแล้ว ต้องให้ ผู้เรียนมีความรู้และ
ความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ
4. เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้ว ควรให้ผู้เรียนฝึกการนำการเรียนรู้นั้นไปใช้
5. การให้ผู้เรียนได้รับผลที่น่าพึ่งพอใจ จะช่วยให้การเรียนการ สอนประสบ
ความสำเร็จ

You might also like