You are on page 1of 1

คําพิพากษาฎีกาที่ 4932/๒๕๖๑

คืนเกิดเหตุ จําเลยกับผูเสียหายเจรจาเรื่องหนี้สินกัน แลวตอมาจําเลยนํารถยนตและกุญแจ


รถยนตของผูเสียหายไป ซึ่งตอมาเจาพนักงานตํารวจเขาตรวจยึดรถยนตคันดังกลาวไดจากรานรับซื้อของเกา
รถยนตยังคงอยูในสภาพเดิม ไมมีการดัดแปลงเปลี่ยนสภาพ แสดงวาจําเลยตองการนํารถยนตไปเก็บไว
เปนการประกั น หนี้ เ พื่ อ ให ผู เ สี ย หายมาชํ า ระหนี้ คืนแก จํ า เลย แตก ารบัง คับ ชํา ระหนี้คื นจากลูก หนี้
มีกฎหมายกําหนดขั้นตอนใหฟองรองดําเนินคดีและบังคับคดีไวอยูแลว หากจําเลยตองการบังคับชําระหนี้
จากผูเสียหาย จําเลยยอมจะตองดําเนินการภายใตกรอบหรือหลักเกณฑที่กฎหมายกําหนดไว การที่จําเลย
นํารถยนตของผูเสียหายไปเพื่อเปนการประกันหนี้โดยพลการเชนนี้จึงเปนการกระทําโดยไมมีอํานาจใดๆ
ตามกฎหมายถือไดวาเปนการแสวงหาประโยชนที่มิควรไดโดยชอบดวยกฎหมายสําหรับตนเอง อันเปนการ
เอาทรัพยของผูเสียหายไปโดยทุจริตแลว การกระทําของจําเลยกับพวกจึงเปนความผิดฐานลักทรัพย
การที่จําเลยตบศีรษะของผูเสียหายนั้น ไมไดตบเพื่อใหเกิดความสะดวกแกการลักทรัพยหรือ
พาทรัพยนั้นไป หรือใหผูเสียหายยื่นใหซึ่งทรัพยนั้นหรือเพื่อยึดถือเอาทรัพยนนั้ ไว แตเปนการตบศีรษะเพื่อ
บังคับใหผูเสียหายเขียนสัญญากูยืมเงิน ดังนั้น การตบศีรษะผูเสียหายกับการเอารถยนตของผูเสียหาย
ไปจึงเปนการกระทําที่แยกขาดจากกัน ไมใชเปนการใชกําลังประทุษรายเพื่อใหสะดวกแกการพาทรัพยนั้นไป
หรือใหยื่นใหซึ่งทรัพยนั้น หรือเพื่อการยึดถือเอาทรัพยนั้นไว อันจะเปนความผิดฐานชิงทรัพย การกระทํา
ของจําเลยจึงเปนการกระทําความผิดฐานลักทรัพยตาม ป.อ. มาตรา ๓๓๕ (๑) และทํารายผูอื่นโดยไมถึงกับ
เปนเหตุใหเกิดอันตรายแกกายหรือจิตใจตาม ป.อ. มาตรา ๓๙๑ แยกตางหากจากกัน ทั้งนี้ ความผิดฐาน
ทํ า ร า ยร า งกายผู อื่ น ไม ถึ ง กั บ เป น อั น ตรายแก ก ายหรื อ จิ ต ใจกั บ ความผิ ด ฐานลั ก ทรั พ ย ต า งเป น
ส วนหนึ่งของการกระทําหลายอยางซึ่งรวมอยูในความผิดฐานปลนทรัพ ยตามฟองโดยแตละอย างเปน
ความผิดได อยูในตัวเอง ซึ่งโจทกบรรยายฟองไวโดยละเอียดแลว ศาลฎีกาจึงมีอํานาจพิพากษาลงโทษ
จําเลยในการกระทําตามที่พิจารณาไดความไดตาม ป.วิ.อ มาตรา ๑๙๒ วรรคทาย นอกจากนี้ การกระทํา
ของจําเลยกับพวกยังเปนการกระทํ าอั นเปนความผิดหลายกรรมตางกัน ซึ่งแมโจทกจะไมไดฟอ งขอให
ลงโทษหลายกรรม และไมมีคูความฝายใดอุทธรณและฎีกาในปญหาดังกลาว แตปญหาดังกลาวเปนปญหา
เกี่ ย วกับ ความสงบเรียบร อ ย ศาลฎีกามี อํา นาจยกขึ้ น วินิ จ ฉัย ได ตาม ป.วิ.อ มาตรา ๑๙๕ วรรคสอง
ประกอบมาตรา ๒๒๕
โดย สํานักงานศาลยุติธรรม

สามารถอานยอนหลังไดที่เว็บไซตหองสมุดศาลยุติธรรม http://www.library.coj.go.th
กลุมงานเอกสารทางกฎหมาย ศูนยวิทยบริการศาลยุติธรรม 0 2541 2376

You might also like