You are on page 1of 7

ใบความรู้ที่ 1

การจัดหมวดหมู่ธาตุในตารางธาตุ

ปัจจุบันมีการค้นพบธาตุมากกว่า 100 ชนิด มีทั้งธาตุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ออกซิเจน


คาร์บอน ไนโตรเจน ไฮโดรเจน สังกะสี เหล็ก และธาตุที่มนุษย์สร้างขึ้นในห้องปฏิบัติการ
ธาตุแบ่งออกเป็น โลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ ดังต่อไปนี้
1. โลหะ มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง (25 องศาเซลเซียส) ยกเว้นปรอทเป็นของเหลว
จุดหลอมเหลวและจุดเดือดของโลหะสูง เนื่องจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม โลหะมีความแข็งแรงมาก
โลหะนาไฟฟ้าและนาความร้อนได้ดี ตีแผ่เป็นแผ่นบาง ๆ และดึงเป็นเส้นลวดได้
2. อโลหะมีทั้ง 3 สถานะที่อุณหภูมิห้อง ส่วนใหญ่มีสถานะเป็นแก๊ส เช่น ไฮโดรเจน ออกซิเจน
และไนโตรเจน อโลหะที่มีสถานะเป็นของแข็ง เช่น คาร์บอน กามะถัน และฟอสฟอรัส โบรมีนมีสถานะ
เป็นของเหลว อโลหะไม่นาไฟฟ้า ยกเว้นแกรไฟต์ และเป็นตัวนาความร้อนที่ไม่ดี ความหนาแน่นต่า
ส่วนใหญ่มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่า เนื่องจากมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อย จึงใช้พลังงานน้อย
ในการทาให้โมเลกุลห่างกัน
3. ธาตุกึ่งโลหะเป็นธาตุที่มีสมบัติอยู่กึ่งกลางระหว่างธาตุโลหะและอโลหะ ส่วนใหญ่จะมีสมบัติ
เป็นสารกึ่งตัวนา (semiconductors) ซึ่งจะสามารถนาไฟฟ้าได้ดียิ่งขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ธาตุที่มีสมบัติ
เป็นธาตุกึ่งโลหะคือธาตุที่อยู่บริเวณแนวเส้นบันไดในตารางธาตุ ได้แก่ โบรอน (B), ซิลิกอน (Si), สารหนู
(As) เป็นต้น

ภาพที่ 1 โซเดียม (Na) ภาพที่ 2 คาร์บอน (C) ภาพที่ 3 ซิลิกอน (Si)


เป็นธาตุโลหะ เป็นธาตุอโลหะ เป็นธาตุกึ่งโลหะ
ที่มา : ที่มา : ที่มา :
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B https://th.wikipedia.org/wiki/%E0 https://th.wikipedia.org/wiki/%E0
9%82%E0%B8%8B%E0%B9%80%E0 %B8%84%E0%B8%B2%E0%B8% %B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%
%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2 A3%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0 A5%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0
%E0%B8%A1 %B8%AD%E0%B8%99 %B8%AD%E0%B8%99
(สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2558) (สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2558) (สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน
2558)
นั ก วิ ท ยาศาสตร์ ไ ด้ ศึ ก ษาสมบั ติ ต่ า ง ๆ ของธาตุ เ หล่ า นี้ แ ละ
พยายามจัดหมวดหมู่โดยใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน ทาให้ได้การจัดหมวดหมู่
ของธาตุ ใ นรู ป แบบต่ า ง ๆ รู ป แบบการจั ด หมวดหมู่ ธ าตุ ที่ ใ ช้ ปั จ จุ บั น
มีลักษณะเป็นตารางธาตุ เรียกว่า ตารางธาตุ (periodic table) เริ่มมาจาก
การจัดหมวดหมู่ธาตุของดมีตรี อิวาโนวิช เมนเดเลเยฟ ซึ่งจัดเรียงธาตุตาม
มวลอะตอม และพบว่า สมบัติทางกายภาพและทางเคมีซ้ากันเป็นช่วง ๆ
ตารางธาตุที่ เมนเดเลเยฟเสนอครั้งแรกยังไม่สมบูรณ์ เพราะมีธาตุบางชนิด ภาพที่ 4 ดมีตรี อิวาโนวิช
ที่ยังไม่รู้จักหรือยังไม่พบ แต่ก็ได้คาดการณ์ว่าจะต้องมีธาตุที่มีสมบัติเช่นนี้ เมนเดเยฟ
อยู่ ณ ตาแหน่งนั้น ๆ พร้อมกับเว้นที่ในตารางธาตุไว้ จนในสมัยต่อมา ที่มา :
วิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้ามากขึ้น ทาให้ค้นพบธาตุเพิ่มขึ้น ตารางธาตุ https://sites.google.com/site/2pj54
ได้มีการปรับปรุงแก้ไขต่อมาอีกหลายครั้ง จนในที่สุดจึงได้เป็นตารางธาตุ 321k/44444/nak-khemi
(สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2558)
ในปัจจุบัน ดังภาพที่ 5
ตารางธาตุ
1 VIIIA
H 2
IA IIA IIIA IVA VA VIA VIIA He 1
3 4 5 6 7 8 9 10
Li Be ธาตุแทรนซิชัน B C N O F Ne
2
11 12 13 14 15 16 17 18
Na Mg IIIB IVB VB VIB VIIB VIIIB IB IIB Al Si P S Cl Ar 3
19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36
4
K Ca Sc Ti V Cr Mn Fe Co Ni Cu Zn Ga Ge As Se Br Kr
37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54
Rb Sr Y Zr Nb Mo Tc Ru Rh Pd Ag Cd In Sn Sb Te I Xe 5
55 56 57* 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86
Cs Ba La Hf Ta W Re Os Ir Pt Au Hg Tl Pb Bi Po At Rn 6
87 88 89** 104 105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115 116 117 118
Fr Ra Ac Rf Db Sg Bh Hs Mt Ds Rg Uub Uut Uuq Uup Uuh Uus Uuo 7

กลุ่มธาตุ 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71
* แลนทาไนด์ Ce Pr Nd Pm Sm Eu Gd Tb Dy Ho Er Tm Yb Lu
กลุ่มธาตุ 90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100 101 102 103
** แอกทิไนด์ Th Pa U Np Pu Am Cm Bk Cf Es Fm Md No Lr

* เป็นธาตุที่แทรกอยู่ระหว่างธาตุ La กับ Hf ** เป็นธาตุที่แทรกอยู่ระหว่าง Ac กับ Rf

ภาพที่ 5 ตารางธาตุในปัจจุบัน
ตารางธาตุปัจจุบัน จัดเรียงตามลาดับจานวนโปรตอนหรือที่เรียกว่า เลขอะตอม จากน้อยไปมาก และใช้
สมบัติทางกายภาพและสมบัติทางเคมีประกอบ ทาให้แบ่งธาตุในแนวตั้งออกเป็น 18 แถว โดยเรียกแต่ละแถวว่า หมู่
และแบ่งธาตุตามแนวนอนได้ 7 แถว เรียกแต่ละแถวว่า คาบ

คาบที่ IA IIA IIIA IVA VA VIA VIIA VIIIA


1
H 2
1 He
3 4 เลขอะตอม 5 6 7 8 9 10
2 Li Be เส้นขั้นบันได B C N O F Ne
11 12 13 14 15 16 17 18
3 Na Mg Al Si P S Cl Ar
19 20 31 32 33 34 35 36
4 K Ca Ga Ge As Se Br Kr
37 38 49 50 51 52 53 54
5 Rb Sr ธาตุแทรนซิชัน In Sn Sb Te I Xe
55 56 81 82 83 84 85 86
6
Cs Ba Tl Pb Bi Po At Rn
87 88 113 114 115 116 117 118
7
Fr Ra Uut Uuq Uup Uuh Uus Uuo

แก๊สเฉื่อยหรือแก๊สมีตระกูล
โลหะอัลคาไล

โลหะอัลคาไลน์เอิร์ท

ธาตุแฮโลเจน
ภาพที่ 6 ธาตุกลุ่ม A

ธาตุในแนวตั้งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อยคือ
1. ธาตุกลุ่ม A หรือธาตุสามัญ ซึ่งในหมู่เดียวกันมีสมบัติคล้ายคลึงกัน มี 8 หมู่ ดังต่อไปนี้
ธาตุหมู่ IA เรียกว่า โลหะอัลคาไล ได้แก่ ลิเทียม โซเดียม โพแทสเซียม รูบิเดียม ซีเซียม แฟรนเซียม
ธาตุหมู่ IIA เรียกว่า โลหะอัลคาไลน์เอิร์ท ได้แก่ เบริลเลียม แมกนีเซียม แคลเซียม เป็นต้น
ธาตุหมู่ IIIA ได้แก่ โบรอน อะลูมิเนียม แกลเลียม เป็นต้น
ธาตุหมู่ IVA ได้แก่ คาร์บอน ซิลิคอน เจอร์เมเนียม เป็นต้น
ธาตุหมู่ VA ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส สารหนู เป็นต้น
ธาตุหมู่ VIA ได้แก่ ออกซิเจน ซัลเฟอร์ เป็นต้น
ธาตุหมู่ VIIA เรียกว่า ธาตุแฮโลเจน ได้แก่ ฟลูออรีน คลอรีน โบรมีน ไอโอดีน และ แอสทาทีน เป็นต้น
ธาตุหมู่ที่ VIIIA เรียกว่าแก๊สเฉื่อย หรือแก๊สมีตระกูล เป็นธาตุที่มีสถานะเป็นแก๊สและในธรรมชาติไม่ทาปฏิกิริยากับธาตุอื่น
มีความเสถียรมาก ได้แก่ ฮีเลียม นีออน อาร์กอน คลิปตอน ซีนอน เรดอน
ส่วนธาตุไฮโดรเจนเป็นธาตุที่มีบางสมบัติคล้ายคลึงหมู่ IA บางสมบัติคล้ายคลึงหมู่ VIIA จึงไม่จัดให้อยู่ในหมู่ใด
หมู่หนึ่ง
เส้นขั้นบันได คือเส้นที่แบ่งแยกธาตุโลหะและอโลหะ ด้านซ้ายของเส้นขั้นบันไดเป็นธาตุโลหะด้านขวาเส้น
ขั้นบันไดเป็นธาตุอโลหะ ธาตุที่ชิดกับเส้นขั้นบันไดคือ ธาตุกึ่งโลหะ ได้แก่ โบรอน (B) ,ซิลิคอน (Si), เจอร์เมเนียม (Ge),
สารหนู (As), พลวง (Sb), เทลลูเรียม (Te), พอโลเนียม ( Po)
2. ธาตุกลุ่ม B หรือธาตุแทรนซิชัน อยู่ระหว่างหมู่ IIA กับหมู่ IIIA และมี 8 หมู่เช่นเดียวกัน

IIIB IVB VB VIB VIIB VIIIB VIB VIIB


21 22 23 24 25 26 27 28 29 30
Sc Ti V Cr Mn Fe Co Ni Cu Zn
39 40 41 42 43 44 45 46 47 48
Y Zr Nb Mo Tc Ru Rh Pd Ag Cd
57* 72 73 74 75 76 77 78 79 80
La Hf Ta W Re Os Ir Pt Au Hg
89** 104 105 106 107 108 109 110 111 112
Ac Rf Db Sg Bh Hs Mt Ds Rg Uub

กลุ่มธาตุ 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71
* แลนทาไนด์ Ce Pr Nd Pm Sm Eu Gd Tb Dy Ho Er Tm Yb Lu
กลุ่มธาตุ 90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100 101 102 103
** แอกทิไนด์ Th Pa U Np Pu Am Cm Bk Cf Es Fm Md No Lr

ภาพที่ 7 ธาตุกลุ่ม B
ธาตุแทรนซิชัน ส่วนใหญ่พบในธรรมชาติ แต่มีหลายธาตุที่นักวิทยาศาสตร์สังเคราะห์ขึ้น
และหลายธาตุเป็นธาตุกัมมันตรังสี เช่น เหล็ก ทองแดง ปรอท เงิน ตะกั่ว มีสมบัติเป็นโลหะ มีความแข็ง
แวววาว สามารถตีเป็นแผ่นได้ แต่มีความเป็นโลหะน้อยกว่า IA และ IIA แข็ง มีจุดเดือด จุดหลอมเหลว และความ
หนาแน่นสูงกว่าธาตุหมู่ IA และ IIA นาความร้อนและไฟฟ้าได้ดี มีสมบัติบางอย่างที่ต่างไปจากโลหะกลุ่ม A นักเคมี
มีจึงแยกไว้จาเพาะอีกกลุ่มหนึ่ง
ธาตุกัมมันตรังสี หมายถึงธาตุที่สามารถแผ่รังสีได้ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายในอะตอมของธาตุที่ไม่
เสถียร รังสีที่ธาตุกัมมันตรังสีปล่อยออกมาเป็นรังสีแอลฟา ( ) เบต้า ( ) แกมมา( ) เป็นต้น
ธาตุกัมมันตรังสีส่วนใหญ่ มีเลขอะตอมสูงกว่า 83 ที่พบในธรรมชาติได้แก่ ยูเรเนียม เรดอน เป็นต้น

เบต้า แอลฟา

แกมมา
ภาพที่ 8 ธาตุกัมมันตรังสี
ที่มา : http://hyperphysics.phy-astr.gsu.edu/hbase/Nuclear/radact.html
(สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2558)

ประโยชน์ของธาตุบางชนิด
ธาตุ ประโยชน์
ลิเทียม ใช้เป็นขั้วไฟฟ้าในแบตเตอรี่ลิเทียมในอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น เครื่องคิดเลข นาฬิกาข้อมือ
โซเดียม เป็นตัวนาความร้อนและไฟฟ้าที่ดีมาก ใช้เป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนความร้อน
เป็นสารหล่อเย็นในปฏิกรณ์นิวเคลียร์ หลอดไฟโซเดียมให้แสงสว่างบนท้องถนน
โพแทสเซียม เป็นแร่ธาตุอาหารสาคัญในการเจริญเติบโตของพืช โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ใช้ทาสบู่
โพแทสเซียมไนเตรทหรือดินประสิวใช้ทาดินปืน
แมกนีเซียม ใช้ทาโลหะผสมที่มีน้าหนักเบา ในเครื่องบิน จรวด และล้อรถยนต์
ฟลูออรีน โซเดียมฟลูออไรด์ผสมในยาสีฟันหรือน้าประปาเพื่อป้องกันฟันผุ
แคลเซียม ใช้ผลิตแผ่นยิปซัม ปูนดิบผสมน้าจะได้น้าปูนใส ปูนขาว ดินสอพอง ชอล์ก
แบเรียม แบเรียมซัลเฟตเป็นสารทึบแสงใช้ในการถ่ายภาพทางการแพทย์
คลอรีน เป็นแก๊สที่มีกลิ่นฉุน แสบจมูก ใช้ฟอกสีในอุตสาหกรรมกระดาษ ใช้ฆ่าเชื้อโรค
ในน้าประปาและในสระว่ายน้า ส่วนประกอบในเกลือแกง
ไอโอดีน อยู่ในทิงเจอร์ไอโอดีนใช้ทาแผลฆ่าเชื้อโรค
ฮีเลียม ผสมกับแก๊สออกซิเจนใช้เป็นอากาศสาหรับหายใจของนักประดาน้า
นีออนและ ใช้เป็นแก๊สบรรจุในหลอดไฟฟ้ายืดอายุการใช้งานของไส้หลอด ใช้ในหลอดไฟโฆษณา
อาร์กอน เพื่อให้แสงสีต่าง ๆ
ทองแดง ทาสายไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า โลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี เรียกว่า ทองเหลือง
โลหะผสมระหว่างทองกับดีบุกเรียกว่า ทองบรอนซ์
โครเมียม ต้านทานความผุกร่อน ใช้เคลือบผิวเหล็กหรือโลหะอื่น ๆ
สังกะสี เป็นตัวเร่งในการผลิตยางรถยนต์ ทาเหล็กอาบสังกะสี เรียกว่า เหล็กกัลวาไนซ์

You might also like