You are on page 1of 19

ตารางวิเคราะห์ข้อสอบมาตรฐานปลายภาค/รายปี วิชาวิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 เล่ม 2 ชุดที่ 1


มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
ข้อ ว 3.2 ว 4.1 ว 5.1 ว 6.1
1 2 3 4 1 2 1 2 3 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
1 
2 
3 
4 
5 
6 
7 
8 
9 
10 
11 
12 
13 
14 
15 
16 
17 
18 
19 
20 
21 
22 
23 
24 
25 
26 
27 
28 
29 
30 

มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
ข้อ ว 3.2 ว 4.1 ว 5.1 ว 6.1
1 2 3 4 1 2 1 2 3 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
31 
32 
33 
34 
35 
36 
37 
38 
39 
40 
41 
42 
43 
44 
45 
46 
47 
48 
49 
50 
51 
52 
53  
54  
55 
56 
57 
58 
59 
60 

ข้อสอบมาตรฐานปลายภาค / รายปี ชุดที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนวิทยาศาสตร์


วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 เล่ม 2 ชุดที่ 1 จำนวน 60 ข้อ

คำชี้แจงให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุด หรือเหมาะสมที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. หากในปฏิกิริยาเคมีนั้น ๆ ไม่มีสารตั้งต้น จะส่งผลต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมีอย่างไร
ก. ไม่เกิดผลิตภัณฑ์ใด ๆ
ข. ปฏิกิริยาเกิดขึ้นช้ามาก
ค. ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีลักษณะที่หลากหลาย
ง. เกิดการดูดความร้อนเพื่อเร่งให้ปฏิกิริยาเกิดเร็วขึ้น
2. จากภาพแสดงเหตุการณ์ไฟไหม้ป่ า สิ่งใดคือสารตั้งต้น

ก. ต้นไม้ และใบไม้ ข. ต้นไม้ และออกซิเจน


ค. อากาศ และออกซิเจน ง. อากาศ และต้นไม้
3. ข้อใดไม่ใช่สมบัติของสารผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมี
ก. พลังงานเปลี่ยนไปจากสารตั้งต้น
ข. มีสถานะเปลี่ยนไปจากสารตั้งต้น
ค. มวลของสารเปลี่ยนไปจากสารตั้งต้น
ง. สามารถกลับคืนมาเป็นสารตั้งต้นได้ง่าย
4. การปฏิบัติตามข้อใดจะช่วยให้มันเทศสุกเร็วขึ้น
1. นำมันเทศที่แช่ในตู้เย็นแล้วจึงนำไปต้มในน้ำเดือด
2. นำมันเทศที่แช่ในน้ำอุ่นแล้วจึงนำไปต้มในน้ำเดือด
3. หั่นมันเทศเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วจึงนำไปต้มในน้ำเดือด
4. นำมันเทศมาปอกเปลือกแล้วจึงนำไปต้มในน้ำเดือด
5. หั่นมันเทศเป็นรูปลูกเต๋าเล็ก ๆ แล้วจึงนำไปต้มในน้ำเดือด
ก. ข้อ 1. และ 2. ข. ข้อ 2. และ 3.
ค. ข้อ 3. และ 4. ง. ข้อ 3. และ 5.
5. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ก. อุณหภูมิ ข. ชนิดของสารตั้งต้น
ค. พื้นที่ผิวของสารตั้งต้น ง. ความเข้มข้นของสารตั้งต้น
6. ข้อใดมีความสัมพันธ์กันมากที่สุด
ก. ปฏิกิริยาเคมี : ผลิตภัณฑ์ ข. สารตั้งต้น : สารเคมี
ค. ไข่ดาว : การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ง. น้ำกรอง : การเปลี่ยนแปลงทางเคมี
7. ในการประกอบอาหาร มักจะต้องหั่นผักให้มีขนาดเล็กเพื่อจุดประสงค์ใด
ก. เคี้ยวง่าย ข. น่ารับประทาน
ค. ช่วยให้ผักสุกเร็วขึ้น ง. ไม่ให้ผักเหี่ยวเร็ว
8. จากสมการ สารใดเป็นสารตั้งต้น
ก. A และ B ข. A และ C
ค. B และ C ง. D และ E
9. จากภาพแสดงปฏิกิริยาเคมีของแคลเซียมและน้ำ สามารถเขียนแสดงสมการเคมีได้อย่างไร
ก.
ข.
ค.
ง.
10.
จากสมการข้างต้น (s) และ (aq) หลังสารเคมี มีความหมายตรงกับข้อใดตามลำดับ
ก. กรด และเบส ข. ของแข็ง และแก๊ส
ค. ของแข็ง และสารละลาย ง. ของแข็ง และของเหลว
11. สมการเคมีในข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง
ก.
ข.
ค.
ง.

12. จากภาพ ข้อใดจะเกิดปฏิกิริยาเคมีช้าที่สุด

ก. ข.

ค. ง.
13. ข้อใดมีความสัมพันธ์กันมากที่สุด
ก. ทองแดง : สนิม ข. เหล็ก : สนิม
ค. ตะกั่ว : สายไฟฟ้ า ง. ยาสระผม : ผงซักฟอก
14. นักเรียนมีวิธีการใด ในการป้ องกันสนิมที่อาจขึ้นเกิดกับเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำมาจากเหล็ก
ก. เก็บไว้ในถุงสุญญากาศ
ข. ไม่ให้เครื่องมือโดนอากาศขณะใช้งาน
ค. ทาน้ำมันกันสนิมหลังการใช้งานทุกครั้งก่อนจัดเก็บ
ง. แช่ทิ้งไว้ไว้ในน้ำยากันสนิม หลังจากใช้งานอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว
15. ข้อใดไม่ใช่การนำความรู้จากการเกิดปฏิกิริยาเคมีมาใช้ในชีวิตประจำวัน
ก. การรับประทานยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
ข. การปลูกป่ าทดแทน เพื่อเพิ่มจำนวนต้นไม้ในป่ า
ค. การแช่เย็นหรือแช่แข็ง เพื่อป้ องกันการเน่าเสียของอาหาร
ง. การทาน้ำมันบนเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่เป็นเหล็ก เพื่อป้ องกันการเกิดสนิม
16. หากอากาศมีแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ผสมอยู่ปริมาณมาก จะส่งผลกระทบอย่างไร
ก. เกิดฝนกรด ข. เกิดพายุ
ค. เกิดภาวะโลกร้อน ง. เกิดฝนฟ้ าคะนอง
17. ถ้านักเรียนถูกผึ้งต่อย จะรู้สึกปวดแสบปวดร้อนเพราะสารที่ผึ้งปล่อยเข้าสู่ร่างกายเรานั้น มีฤทธิ์
เป็นกรด นักเรียนจะสามารถใช้สิ่งใดช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อนอันเนื่องมาจากพิษของผึ้ง
ก. น้ำมะนาว ข. ยาสีฟัน
ค. น้ำส้มสายชู ง. สารละลายเกลือแกง

18. จะมีวิธีการปฏิบัติอย่างไร เมื่อต้องการรับประทานอาหารสำเร็จรูปที่บรรจุในกล่องหรือซอง


ให้ปลอดภัยจากสารเจือปนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ก. ถามข้อมูลจากผู้ขาย
ข. อ่านข้อมูลในฉลากก่อนซื้อ
ค. ชิมรสดูว่ามีสารใดเจือปนอยู่บ้าง
ง. เทอาหารออกมาเพื่อค้นหาสารเจือปน ก่อนรับประทาน
19. การรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของผงชูรสมากเกินไป อาจก่อให้เกิดโรคใด
ก. โรคปอดบวม ข. โรคความดันโลหิต
ค. โรคกระดูกพรุน ง. โรคแผลในกระเพาะอาหาร
20.

สารกัดกร่อน
?
จากภาพ เครื่องหมาย ? หมายถึงข้อใด
ก. สารละลาย ข. สารฉีดคนตาย
ค. สารมีพิษ ง. สารอันตราย
21. วิธีการใดใช้ในการปฐมพยาบาล ในกรณีที่ถูกสารเคมีเข้าตา
ก. ใช้ยาหยอดตาทำความสะอาด
ข. หากสารเคมีดังกล่าวเป็นกรดให้ล้างด้วยเบส
ค. หากสารเคมีเป็นเบสให้ล้างตาด้วยกรดอ่อน
ง. ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง แล้วรีบไปพบแพทย์
22. ข้อใดเป็นความหมายของ “แรง”
ก. เป็นสมบัติจำเพาะของวัตถุ
ข. ความเสียหายของเหตุภัยพิบัติ
ค. ปริมาณที่ทำให้วัตถุเกิดการเคลื่อนที่
ง. พลังงานที่ออกมาจากกล้ามเนื้อของมนุษย์
23. ข้อใดต่อไปนี้ มีความสัมพันธ์กันมากที่สุด
ก. แรง : งาน ข. งาน : ความเร็วของวัตถุ
ค. งาน : พลังงาน ง. แรง : เคลื่อนที่ของวัตถุ

24. ข้อใดคือหน่วยที่ใช้วัดค่าของแรง
ก. จูล ข. นิวตัน
ค. กิโลกรัม ง. ปาสคาล
25. จากภาพ แรงลัพธ์ที่เกิดขึ้นมีค่าเท่าใด

ก. 15 N ข. 30 N
ค. 40 N ง. 60 N
26. จากภาพ เป็นการออกแรงขยำแก้วน้ำพลาสติก นักเรียนสามารถให้ความหมายของแรงได้ว่าอย่างไร

ก. แรงทำให้วัตถุไม่มีระเบียบ
ข. แรงทำให้วัตถุเปลี่ยนรูปร่างไป
ค. แรงทำให้แก้วพลาสติกฉีกขาด
ง. แรงทำให้แก้วพลาสติกเปลี่ยนไปเป็นขยะ
27. ถ้าปล่อยก้อนหินก้อนหนึ่งให้ตกจากหน้าผาอย่างอิสระ การเคลื่อนที่ของก้อนหินจะมีลักษณะ
อย่างไร
ก. เคลื่อนที่ช้าลง เนื่องจากมีแรงดึงดูดจากหน้าผา
ข. เคลื่อนที่ช้าลง เนื่องจากอิทธิพลของแรงต้านในอากาศ
ค. เคลื่อนที่เร็วขึ้น เนื่องจากอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงของโลก
ง. เคลื่อนที่เร็วขึ้น เนื่องจากบริเวณหน้าผาไม่มีอากาศคอยต้านการเคลื่อนที่
28. วัตถุก้อนหนึ่งกำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ ถ้ามีแรงมากระทำกับวัตถุก้อนนี้ในทิศทางเดียวกับ
การเคลื่อนที่ จะส่งผลต่อการเคลื่อนที่อย่างไร
ก. วัตถุจะเคลื่อนที่เร็วขึ้น
ข. วัตถุจะเคลื่อนที่ช้าลง
ค. วัตถุจะเปลี่ยนรูปร่างไป
ง. วัตถุจะเคลื่อนที่ช้าลงเรื่อยๆ จนกระทั่งหยุดนิ่ง
29. จากภาพ ถ้าเด็กคน 2 คนนี้ออกแรงดึงวงแหวนด้วยแรงเท่ากัน จะมีผลอย่างไร

ก. วงแหวนจะอยู่นิ่งกับที่
ข. วงแหวนจะขยับไปมา
ค. วงแหวนจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว
ง. ไม่สามารถสรุปได้
30. ข้อใดบอกความหมายของ “กฎการสะท้อนของแสง” ได้ถูกต้อง
ก. รังสีหักเหจะเบนเข้าหาเส้นปกติเสมอ
ข. มุมของรังสีตกกระทบเท่ากับมุมของรังสีหักเห
ค. มุมของรังสีตกกระทบเท่ากับมุมของรังสีสะท้อน
ง. รังสีที่ตกกระทบวัตถุผิวเรียบจะสะท้อนกลับแนวเดิม
31. นักเรียนคนหนึ่ง เมื่ออ่านหนังสือเขาจะต้องยกหนังสือเข้าใกล้ตามากกว่าปกติ ลักษณะเช่นนี้เกิดจาก
สาเหตุใดและสามารถแก้ไขได้อย่างไร
ก. อาการสายตาสั้น แก้ไขโดยการสวมแว่นตาที่ทำจากเลนส์เว้า
ข. อาการสายตาสั้น แก้ไขโดยการสวมแว่นตาที่ทำจากเลนส์นูน
ค. อาการสายตายาว แก้ไขโดยการสวมแว่นตาที่ทำจากเลนส์เว้า
ง. อาการสายตายาว แก้ไขโดยการสวมแว่นตาที่ทำจากเลนส์นูน
32. เมื่อแสงเดินทางจากตัวกลางหนึ่งไปยังตัวกลางอีกชนิดหนึ่งที่มีความหนาแน่นไม่เท่ากัน
ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. แสงจะเกิดการเลี้ยวเบน
ข. แสงจะเกิดการหักเห
ค. แสงจะเกิดการสะท้อนกลับหมด
ง. ความเข้มของแสงจะเปลี่ยนไป
33. จากภาพ รังสีของแสงที่ตกกระทบตามเส้นใดจะไม่เกิดการหักเมื่อเดินทางเข้าสู่แท่งแก้ว
B
D
A

C อากาศ

แท่งแก้ว

ก. รังสี A ข. รังสี B
ค. รังสี C ง. รังสี D
34. การที่มองเห็นเหรียญ 5 บาท ซึ่งจมอยู่ก้นบ่อ หรือมองเห็นก้นบ่ออยู่ตื้นกว่าความเป็นจริง เป็นผล
เนื่องจากปรากฏการณ์ใด
ก. การหักเหของแสง ข. การสะท้อนของแสง
ค. การเลี้ยวเบนของแสง ง. ความผิดปกติทางสายตา
35. ข้อใดไม่ใช่สมบัติของแสง
ก. แสงเดินทางเป็นเส้นตรง
ข. แสงสะท้อนและหักเหได้
ค. แสงสามารถจับต้องได้
ง. แสงเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่ช่วยให้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ
36. เมื่อแสงเดินทางจากตัวกลางหนึ่งไปสู่อีกตัวกลางหนึ่งที่มีความหนาแน่นต่างกัน จะเกิดการหักเห
เพราะเหตุใด
ก. แสงเป็นอนุภาค
ข. แสงเดินทางไม่เป็นเส้นตรง
ค. ความเร็วของแสงเปลี่ยนไป
ง. แสงบางส่วนถูกตัวกลางดูดกลืนไว้
37. ความเร็วของแสงจะเปลี่ยนไป เมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่นต่างกัน ตัวกลาง
ในข้อทำให้แสงมีความเร็วลดลง ตามลำดับ
ก. น้ำ แท่งแก้ว อากาศ
ข. น้ำ อากาศ แท่งแก้ว
ค. อากาศ น้ำ แท่งแก้ว
ง. แท่งแก้ว น้ำ อากาศ

38. รุ้งกินน้ำ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากสาเหตุใด


ก. การดูดกลืนแสงอาทิตย์ของหยดน้ำในอากาศ
ข. การกระจายของแสงอาทิตย์ของหยดน้ำในอากาศ
ค. การหักเหแสงอาทิตย์เมื่อกระทบหยดน้ำในอากาศ
ง. การสะท้อนของแสงอาทิตย์เมื่อกระทบหยดน้ำในอากาศ
39. เพราะเหตุใดตาของสัตว์ที่หากินในตอนกลางคืน เช่น แมว เสือ นกเค้าแมว เป็นต้น จึงสามารถมอง
เห็นเหยื่อได้ในเวลากลางคืน
ก. นัยน์ตามีขนาดใหญ่กว่าปกติ
ข. จอรับภาพมีเซลล์ประสาทรูปแท่งจำนวนมาก
ค. เป็นการใช้สัญชาตญาณในการหาเหยื่อแทนการมองด้วยตา
ง. มีรูม่านตากว้างกว่าปกติ เพื่อทำให้สามารถมองเห็นในที่มีแสงน้อยได้ดี
40. ถ้าไม่มีแสงสว่าง จะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในเรื่องใดมากที่สุด
ก. การเดินทาง ข. การสังเคราะห์ด้วยแสง
ค. การมองเห็น ง. การมองเห็นสีเพี้ยนไป
41. ข้อใดคือแสงสีปฐมภูมิ
ก. แดง เขียว น้ำเงิน ข. แดง เหลือง เขียว
ค. แดง เหลือง น้ำเงิน ง. แดง ม่วง เหลือง
42. แสงสีในข้อใดมีความสัมพันธ์กันมากที่สุด
ก. สีแดง + สีเหลือง = สีเขียว
ข. สีแดง + สีเขียว = สีเหลือง
ค. สีน้ำเงิน + สีแดง = สีขาว
ง. สีน้ำเงิน + สีเขียว = สีแดงอมเหลือง
43. วัตถุสีใดสามารถดูดกลืนแสงสีได้ดีที่สุด
ก. สีขาว ข. สีเหลือง
ค. สีเขียว ง. สีดำ
44. การที่เรามองเห็นรถยนต์ซึ่งทาสีแดงมีสีแดงได้นั้น เนื่องมาจากสาเหตุใด
ก. สีแดงเป็นสีปฐมภูมิ
ข. แสงสีแดงเป็นสีที่ตารับรู้ได้ดี
ค. รถยนต์ดูดกลืนแสงสีแดงให้เราเห็น
ง. สีแดงจะสะท้อนเฉพาะแสงสีแดงเข้าสู่ตาเรา

45. บริเวณใดที่เป็นแหล่งของฮิวมัสในดิน
ก. ชั้นดินแร่ ข. ชั้นอินทรียวัตถุ
ค. ชั้นสะสมของแร่ ง. ชั้นการผุพังของหิน
46. เพราะเหตุใดพื้นผิวโลกในบริเวณที่ต่างกัน จึงมีสภาพดินและองค์ประกอบของดินแตกต่างกันไป
ก. เกิดจากการพัดพาโดยลม
ข. เกิดการกร่อนที่แตกต่างกัน
ค. เกิดจากการพัดพาโดยน้ำ
ง. แต่ละบริเวณมีหินต่างชนิดกัน
47. ข้อใดไม่ใช่วิธีการปรับปรุงคุณภาพดิน
ก. การใส่ปุ๋ ยเพื่อเพิ่มแร่ธาตุ
ข. การเผาหญ้าและวัชพืชในที่ดิน
ค. การปลูกพืชหมุนเวียน
ง. การปรับความเป็นกรด-เบสของดินจากภาพ
48. จากภาพแสดงการกำเนิดหิน A B และ C หมายถึงหินชนิดใดตามลำดับ

C A

ก. หินแปร
หินตะกอน หินอัคนี
ข. หินอัคนี หินตะกอน หินแปร
ค. หินอัคนี หินแปร หินตะกอน
ง. หินตะกอน หินแปร หินอัคนี
49. จากการสำรวจพื้นที่ พบหินชนิดหนึ่ง เมื่อทดลองหยดกรดลงบนหินชนิดนี้พบว่า เกิดฟองแก๊สขึ้น
หินดังกล่าวน่าจะเป็นหินชนิดใน
ก. หินปูน ข. หินไนต์
ค. หินแกรนิต ง. หินกรวดมน
50. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ประโยชน์จากการใช้โลหะ
ก. ใช้ทำสายไฟฟ้ า
ข. ใช้เป็นภาชนะหุงต้ม
ค. ใช้เป็นเครื่องประดับ
ง. ใช้ส่งสัญญาณในการสื่อสารความเร็วสูง
51. ปัจจุบันปิ โตรเลียมโดยเฉพาะน้ำมันมีอยู่อย่างจำกัด ราคาจึงเพิ่มสูงขึ้นจนรัฐบาลต้องหาการผลิต
พลังงานเพื่อเป็นพลังงานทดแทน คือ แก๊สโซฮอลล์ ซึ่งเป็นสารประกอบของสารใด
ก. เบนซิน + เอทานอล
ข. ดีเซล + แอลกอฮอล์
ค. น้ำมันดีเซล + เอทานอล
ง. เอทานอล + แอลกอฮอล์
52. การขึ้นราคาของน้ำมันเบนซิน ส่งผลกระทบต่อกิจการใดมากที่สุด
ก. คมนาคม ข. เชื้อเพลิงที่ใช้ในบ้าน
ค. อุตสาหกรรมผลิตอาหาร ง. อุตสาหกรรมสิ่งทอ
53. น้ำจากแหล่งน้ำใด มีประโยชน์ในการสร้างพลังงานไฟฟ้ า
ก. แหล่งน้ำเค็มในทะเล ข. แหล่งน้ำบาดาล
ค. แหล่งน้ำจากแม่น้ำ ง. แหล่งน้ำจากทะเลสาบ
54. ข้อใดเป็นวิธีการอนุรักษ์แหล่งน้ำทางธรรมชาติ
ก. รักษาป่ าไม้ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแหล่งน้ำ
ข. ไม่ปล่อยควันพิษซึ่งสามารถทำให้ฝนเป็นพิษได้
ค. รณรงค์การปลูกผักตบชวาเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ
ง. กรองน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อให้น้ำสะอาดอยู่เสมอ
55. การประทุของภูเขาไฟ ทำให้เราทราบโครงสร้างภายในของโลกได้อย่างไร
ก. ยังมีภูเขาไฟอีกหลายลูกอยู่ใต้ผิวโลก
ข. ภายในโลกยังร้อนอยู่ และมีหินหลอมละลายอยู่
ค. ความดันภายในโลกจะเพิ่มขึ้นตามระดับความลึกจากผิวโลก
ง. ยังสรุปไม่ได้
56. ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภูเขาส่วนมากจะเป็นยอดที่เป็นที่ราบและมีไหล่เขาชันมาก เช่น
ภูกระดึง จ.เลย ภูเขาในลักษณะนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
ข. ยอดเขากร่อนเนื่องจากดินถล่ม
ก. การยุบตัวของชั้นหินตามรอยเลื่อน
ง. การยกตัวของชั้นหินตามรอยเลื่อน
ค. เกิดจากความแห้งแล้ง ยอดเขากร่อนเนื่องจากลม
57. การเกิดหินงอกหินย้อย เป็นการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากปัจจัยใด
ก. ปัจจัยทางเคมี
ข. ปัจจัยทางชีวเคมี
ค. ปัจจัยทางชีวภาพ
ง. ปัจจัยทางกายภาพ
58. จากภาพโครงสร้างภายในของโลก ส่วนใดที่มีสภาพเป็นหินหนืด (แมกมา)
1
2
3

ก. 1 ข. 2
ค. 3 ง. 1 และ 2
59. ถ้าแผ่นเปลือกโลกมีลักษณะเป็นหินแข็งเพียงแผ่นเดียว ไม่แยกเป็นแผ่นๆ ปรากฏการณ์ทาง
ธรรมชาติในข้อใดจะไม่เกิดขึ้น
ก. พายุ
ข. การขึ้นลงของน้ำทะเล
ค. แผ่นดินไหว
ง. การหมุนรอบตัวเองของโลก

60. เพราะเหตุใดท้องฟ้ าบนดวงจันทร์จึงมืดสนิททั้งที่เป็นเวลากลางวันและต่างจากบนโลกซึ่งจะมอง


เห็นท้องฟ้ าสว่างและมีสีฟ้ าสดใส

ก. ดวงจันทร์ไม่มีแรงดึงดูด
ข. ดวงจันทร์ไม่มีแสงในตัวเอง
ค. ดวงจันทร์เป็นบริวารของโลก
ง. ดวงจันทร์ไม่มีชั้นบรรยากาศห่อหุ้มเหมือนกับโลก
เฉลยข้อสอบมาตรฐานปลายภาค/รายปี วิชาวิทยาศาสตร์ ม.2 เล่ม 2 ชุดที่ 1

1. ง. 11. ก. 21. ง. 31. ก. 41. ก. 51. ก.


2. ก. 12. ก. 22. ค. 32. ข. 42. ข. 52. ก.
3. ง. 13. ข. 23. ก. 33. ค. 43. ง. 53. ค.
4. ข. 14. ค. 24. ข. 34. ก. 44. ง. 54. ก.
5. ข. 15. ข. 25. ค. 35. ค. 45. ข. 55. ข.
6. ก. 16. ก. 26. ค. 36. ค. 46. ง. 56. ค.
7. ค. 17. ข. 27. ค. 37. ค. 47. ข. 57. ข.
8. ก. 18. ข. 28. ก. 38. ค. 48. ง. 58. ค.
9. ค. 19. ข. 29. ง. 39. ข. 49. ก. 59. ค.
10. ง. 20. ค. 30. ค. 40. ค. 50. ง. 60. ง.
แนวเฉลยละเอียดข้อสอบมาตรฐานปลายภาค/รายปี วิชาวิทยาศาสตร์ ม.2 เล่ม 2 ชุดที่ 1

1. ตอบ ง.
หากไม่มีสารตั้งต้น ปฏิกิริยาเคมีจะไม่สามารถเกิดขึ้นเป็นสารผลิตภัณฑ์ได้
2. ตอบ ก.
สารตั้งต้นในปฏิกิริยาการเผาไหม้ คือ ต้นไม้ซึ่งมีองค์ประกอบของคาร์บอน เข้าทำปฏิกิริยา
กับแก๊สออกซิเจน
3. ตอบ ง.
ในการเกิดปฏิกิริยาเคมี ผลิตภัณฑ์จะมีสมบัติต่างจากสารตั้งต้น และไม่สามารถทำให้กลับ
ไปเป็นสารตั้งต้นได้
4. ตอบ ข.
ปัจจัยที่มีผลต่อปฏิกิริยาเคมี คือช่วยให้ปฏิกิริยาเกิดขึ้นเร็วหรือช้า ขึ้นกับอุณหภูมิและพื้นที่
ผิว ยิ่งสารมีขนาดเล็กในปริมาณที่เท่ากัน ย่อมมีพื้นที่ผิวที่มากกว่า และยิ่งมีอุณหภูมิสูงก็สามารเกิด
ปฏิกิริยาได้ดี
5. ตอบ ข.
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมีมี ได้แก่ อุณหภูมิ พื้นที่ผิวของสาร ความเข้มข้น
ของสาร ซึ่งไม่ขึ้นกับชนิดสารตั้งต้นแต่ขึ้นกับชนิดของปฏิกิริยา
6. ตอบ ก.
ผลที่ได้จากปฏิกิริยาเคมี คือ สารผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีสมบัติต่างไปจากสารตั้งต้น
7. ตอบ ค.
ปัจจัยที่ทำให้สารเกิดปฏิกิริยาเคมีเร็วหรือช้ามีด้วยกันหลายประการ สิ่งหนึ่งคือ พื้นที่สัมผัส
ยิ่งมีพื้นที่ในการเกิดปฏิกิริยามาก ยิ่งทำให้ปฏิกิริยาเกิดขึ้นได้เร็ว เมื่อหั่นผักชิ้นเป็นเล็ก ๆ ทั้งหมด
รวมกันจะมีพื้นที่สัมผัสมากกว่าผักที่ยังไม่ได้หั่น
8. ตอบ ก.
สารตั้งต้น หมายถึง สารที่นำมาทำปฏิกิริยาเคมีกัน เรามักเขียนไว้ที่หางลูกศร ส่วนหัวลูกศร
ชี้ไปยังสารผลิตภัณฑ์
9. ตอบ ค.
จากภาพเป็นปฏิกิริยาระหว่างแคลเซียมหนึ่งอะตอมกับน้ำสองโมเลกุลเป็นสารตั้งต้น ได้
สารผลิตภัณฑ์คือแคลเซียลไฮดรอกไซด์และแก๊สออกซิเจนอย่างละหนึ่งโมเลกุล
10. ตอบ ง.
การเขียนสมการเคมี จะต้องระบุสถานะของสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ด้วย โดยใช้อักษร s
แทนสถานะของแข็ง และ aq แทนสถานะของสารละลายที่ละลายในน้ำ
11. ตอบ ก.
สมการที่ดุลแล้ว สารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์จะต้องมีจำนวนอะตอมเท่าเดิม
12. ตอบ ก.
เป็นปฏิกิริยาระหว่างเหล็กและออกซิเจนเกิดเป็นสนิม ซึ่งเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ
13. ตอบ ข.
เหล็กจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ เกิดเป็นสนิมเหล็ก
14. ตอบ ค.
สนิมเหล็กเกิดขึ้นจากเหล็กทำปฏิกิริยากับออกซิเจน เมื่อมีความชื้นเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เมื่อ
ทาสีกันสนิมเหล็กหรือทาน้ำมัน ทำให้ไม่มีพื้นที่ให้ออกซิเจนเข้าทำปฏิกิริยากับเล็ก จึงป้ องกันการ
เกิดสนิม
15. ตอบ ข.
การปลูกป่ าเพื่อเพิ่มต้นไม้ในป่ า ไม่ได้นำความรู้ด้านปฏิกิริยาเคมีมาประยุกต์ใช้และไม่ได้
เป็นผลของการทำปฏิกิริยาเคมีใดๆ
16. ตอบ ก.
แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในอากาศ จะทำปฏิกิริยาเคมีกับน้ำฝน ดังสมการ

เกิดสารผลิตภัณฑ์ที่เป็นกรดซัลฟิ วริกเจือปนมากับน้ำฝน จึงเรียกว่า ฝนกรด


17. ตอบ ข.
พิษของผึ้งมีฤทธิ์เป็นกรด ทำให้ปวดแสบปวดร้อน เราจึงใช้สารที่เป็นเบส ช่วยลดความ
รุนแรงของกรด ซึ่งยาสีฟันส่วนมากมีฤทธิ์ เป็นเบส เพื่อทำลายแบคทีเรียในช่องปาก
18. ตอบ ข.
สารเจือปนในอาหารจะต้องระบุไว้ข้าง ๆ บรรจุภัณฑ์ ก่อนซื้อมารับประทานจึงควรศึกษา
ก่อนว่ามีสารใดเจือปนอยู่
19. ตอบ ข.
ถ้ารับประทานอาหารที่ใส่ผงชูรสมากเกินไป จะมีผลต่อความดันเลือด เพราะผงชูรส หรือ
โมโน-โซเดียมกลูตาเมต เป็นสารประกอบโซเดียมซึ่งมีผลต่อความดันเลือด
20. ตอบ ค.
สัญลักษณ์หัวกะโหลก หมายถึง สารมีพิษ
21. ตอบ ง.
ถ้าสารเคมีเข้าตาต้องล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลายครั้ง ๆ เพื่อลดความรุนแรงของสารเคมี แล้ว
จึงรีบไปพบแพทย์

22. ตอบ ค.
แรง หมายถึง สิ่งที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ หยุดนิ่งหรือเปลี่ยนรูป
ร่าง
23. ตอบ ก.
เมื่อออกแรงเท่ากันในทิศทางตรงข้าม วงแหวนจะไม่มีเคลื่อนที่เนื่องจากแรงทั้งสองจะหัก
ล้างกัน นั่นคือแรงลัพธ์เป็นศูนย์ เสมือนว่าไม่มีแรงใด ๆ มากรำกับวงแหวนเลย
24. ตอบ ข.
หน่วยวัดแรง คือ นิวตัน หรือ กิโลกรัมเมตรต่อวินาทียกกำลังสอง โดยเรียกว่า นิวตัน
ตามชื่อของ เซอร์ไอแซ็ก นิวตัน ซึ่งเป็นผู้คนพบโรงโน้มถ่วงของโลก ในขณะที่ จูล กิโลกรัม และ
ปาสคาล เป็นหน่วยของพลังงาน มวล และความดัน ตามลำดับ
25. ตอบ ค.
แรง 50 N และ 10 N มีทิศทางตรงข้ามกันกระทำต่อวัตถุ แรงลัพธ์ที่ได้เท่ากับผลต่างของ
แรงทั้งสองซึ่งมีทิศไปทางแรงที่มีขนาดมากกว่าคือทางขวา ดังนั้นแรงลัพธ์ที่ได้มีค่า 40 N
26. ตอบ ค.
การขยำแก้วพลาสติก คือการใช้แรง ทำให้แก้วพลาสติกเปลี่ยนรูปไป
27. ตอบ ค.
การปล่อยให้วัตถุตกจากที่สูง วัตถุจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีแรงโน้มถ่วงของโลก
กระทำตลอดเวลา
28. ตอบ ก.
แรงที่มากระทำกับวัตถุในทิศทางเดียวกับทิศที่วัตถุเคลื่อนที่จะทำให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่เร็ว
ขึ้นด้วยความเร่งค่าหนึ่ง
29. ตอบ ง.
แรง กระทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ไป ซึ่งหากวัตถุใด ๆ มีแรงมากระทำ จะเกิด
การเคลื่อนที่ ๆมีความเร่งขึ้น ถ้าแรงที่มากระทำคงที่ ความเร่งของการเคลื่อนที่ก็จะคงที่ไปด้วย
30. ตอบ ค.
กฎการสะท้อนของแสง คือ รังสีของมุมตกกระทบผิวหน้าวัตถุเท่ากับรังสีของมุมสะท้อน
โดยที่มุมทั้งสองอยู่บนระนาบเดียวกันเสมอและอยู่บนระนาบเดียวกับแนวตั้งฉากพื้นผิวของวัตถุ
31. ตอบ ก.
ลักษณะที่กล่าวไปนั้นเป็นอาการของคนสายตาสั้น ต้องสวมแว่นตาที่ทำด้วยเลนส์เว้า เพื่อ
ให้โฟกัส ของภาพมาตกกระทบที่จอรับภาพหรือเรติน่าพอดี
32. ตอบ ข.
เมื่อแสงเดินทางเข้าไปในตัวกลาง 2 ชนิดที่มีความหนาแน่นต่างกัน แสงจะเกิดการหักเห
33. ตอบ ค.
แสงที่ตกกระทบทำมุมกับผิวหน้าของตัวกลางใหม่ เมื่อผ่านเข้าตัวกลางนั้นจะเกิดการหักเห
ของแสง แต่แสงที่ตกกระทบในแนวเดียวกับรอบต่อก็จะไม่เกิดการหักเหของแสง
34. ตอบ ก.
การที่เรามองลงไปในบ่อน้ำ เราจะเห็นวัตถุในบ่อนั้นอยู่ตื้นกว่าความเป็นจริง ทั้งนี้เพราะ
แสงที่เดินทางจากวัตถุมาเข้าตาเราเกิดการหักเห ปรากฏการณ์นี้เราเรียกว่า ลึกจริงลึกปรากฏ ซึ่งเป็น
ผลจากการหักเหของแสง
35. ตอบ ค.
แสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ า ไม่สามารถจับต้องได้ แต่มีสมบัติในการเดินทางเป็นเส้นตรง
การสะท้อน การหักเห และเป็นพลังงานในรูปพลังงานแสง นอกจากนี้ยังมีสมบัติอื่น ๆ เช่น
การเลี้ยวเบน การแทรกสอด เช่นเดียวกับคลื่นชนิดอื่นๆ ด้วย
36. ตอบ ค.
แสงเกิดการหักเห เพราะความเร็วของแสงในตัวกลางแต่ละชนิดไม่เท่ากัน ในตัวกลางที่มี
ความหนาแน่นมาก แสงจะเคลื่อนที่ได้ช้ากว่าแสงในตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อย
37. ตอบ ค.
เมื่อแสงเดินทางเข้าไปในตัวกลางที่มีความหนาแน่นมาก ความเร็วของแสงจะลดลง นั่นคือ
เมื่อแสงเดินทางเข้าไปในอากาศ (แก๊ส) จะมีความเร็วมากที่สุดและจะลดลงเมื่อเข้าไปในน้ำ (ของเห
ลว) และช้าที่สุดในของแข็ง (แท่งแก้ว) ซึ่งมีความหนาแน่นมากที่สุด
38. ตอบ ค.
รุ้งกินน้ำ เกิดจากการหักเหของแสงอาทิตย์ เมื่อกระทบกับหยดน้ำในอากาศ ทำให้แสง
แต่ละสีหักเหด้วยมุมที่ไม่เท่ากัน เราจึงมองเห็นแยกเป็นแต่ละสีคือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง
แสด และแดง
39. ตอบ ข.
เซลล์ที่ใช้รับแสงในตาของสัตว์บริเวณเรติน่ามีสองแบบ คือเซลล์แท่งและเซลล์รูปกรวย
ซึ่งเซลล์รูปแท่งจะมีสมบัติในการรับแสงได้ดีกว่าเซลล์รูปกรวย ยิ่งมีจำนวนมากจะรับแสงใน
บริเวณที่มีความสว่างน้อยได้ดี
40. ตอบ ค.
แสงสว่าง เป็นพลังงานและที่ช่วยในการมองเห็นของสิ่งมีชีวิต
41. ตอบ ก.
แสงสีปฐมภูมิ มี 3 สีคือ แดง เขียว น้ำเงิน เมื่อสีแสงทั้งสามสีรวมกันจะกลายเป็นแสงที่ขาว

42. ตอบ ข.
แสงสีปฐมภูมิมี 3 สี คือ แดง เขียว น้ำเงิน ส่วนสีอื่นๆ เกิดจากการผสมของสีปฐมภูมิ เช่น
สีแดงผสมกับสีเขียวได้แสงสีเหลือง ซึ่งแตกต่างกับสีที่ผสมในการระบายสีเพราะใช้หลักการที่แตก
ต่างกัน
43. ตอบ ง.
ที่เราเห็นวัตถุมีสีดำ เนื่องจากวัตถุนั้นไม่สะท้อนแสงสีใดเลย แต่ดูดกลืนแสงไว้ทั้งหมด
44. ตอบ ง.
การที่เรามองเห็นสิ่งต่างๆ เนื่องจากแสงจากดวงอาทิตย์(แสงขาว) ไปกระทบวัตถุ แล้ว
สะท้อนมาเข้าสู่ตาของเรา วัตถุทุกชนิดมีสมบัติดูดกลืนแสงและสะท้อนแสงต่างกัน โดยวัตถุที่มีสี
ใดก็จะสะท้อนแสงสีนั้น ๆ และดูดกลืนแสงสีในย่านนั้นๆ เข้าไป เช่น วัตถุสีแดงจะดูดกลืนแสงสี
ทุกสียกเว้นสีแดงที่จะสะท้อนมาให้เราเห็น ขณะที่สีดำดูดกลืนวัตถุทุก ๆ สี ทำให้เราไม่เห็นสีใด ๆ
นอกจากสีดำ เป็นต้น
45. ตอบ ข.
ชั้นดินเรียงลำดับจากบนสู่ล่าง คือ ชั้นอินทรียวัตถุ ชั้นดินแร่ ชั้นสะสมของแร่ และชั้นการ
ผุพังของหิน โดยชั้นที่มีส่วนผสมของฮิวมัสซึ่งเกิดจากสิ่งมีชีวิตที่ย่อยสลายผสมอยู่ในดิน คือ
ชั้นอินทรียวัตถุ
46. ตอบ ง.
ดินเกิดจากการสลายตัวของหินและแร่ ในแต่ละพื้นที่มีชนิดของหินและแร่ต่างกัน เมื่อเกิด
สลายตัวเป็นดิน จึงทำให้ดินมีสมบัติต่างกันตามลักษณะของหิน
47. ตอบ ข.
การเผาหญ้าและวัชพืชก่อนทำการเหมาะปลูกจะทำให้ดินแข็ง สิ่งมีชีวิตในดินตาย ดินจึง
เสื่อมคุณภาพ
48. ตอบ ง.
A คือ หินตะกอน B คือ หินแปร C คือ หินอัคนี
49. ตอบ ก.
หินปูนที่ทำปฏิกิริยากับกรดจะเกิดแก๊สไฮโดรเจน
50. ตอบ ง.
ในการสื่อสารความเร็วสูง เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต จะใช้ใยแก้วนำแสงในการสื่อสาร ซึ่ง
สามารถส่งสัญญาณได้รวดเร็วมากกว่า
51. ตอบ ก.
พลังงานทางเลือกมีอยู่หลายชนิด แก๊สโซฮอลล์เป็นพลังงานชนิดหนึ่งที่ได้จากน้ำมัน
เบนซินผสมกับเอทานอล ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ที่เกิดจากการหมักสารอินทรีย์ เช่น อ้อย มัน เป็นต้น
52. ตอบ ก.
น้ำมันเบนซินส่วนใหญ่ใช้เป็นพลังงานในรถยนต์ ดังนั้น ถ้าน้ำมันขึ้นราคาจะมีผลต่อการ
คมนาคมมากที่สุด
53. ตอบ ค.
น้ำจากแม่น้ำจะมีการไหลอยู่เสมอ และจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ เมื่อมีการกั้นเป็นเขื่อนจะ
สามารถใช้แหล่งผลิตกระแสไฟฟ้ าได้ซึ่งควรเป็นแม่น้ำขนาดใหญ่และเก็บกักไว้ที่ความสูงระดับ
หนึ่ง เพื่อให้มีพลังงานศักย์สะสมมากพอที่จะผลิตกระแสไฟฟ้ า
54. ตอบ ก.
ป่ า เป็นแหล่งกำเนิดน้ำที่สำคัญ การรักษาป่ าก็เป็นการรักษาแหล่งน้ำธรรมชาติ ทั้งยังช่วย
เก็บกักน้ำ
55. ตอบ ข.
เมื่อภูเขาไฟเกิดการประทุ จะพ่นเถ้าถ่านที่เป็นหินหลอมละลายที่ร้อนจัดภายใต้ผิวโลกออกมา
จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ทราบว่า ภายในโลกยังร้อนระอุอยู่
56. ตอบ ค.
ภูเขาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกิดจากการยกตัวของชั้นหินตามรอยเลื่อน
57. ตอบ ข.
การเกิดหินงอกหินย้อย เป็นผลจากฝนที่อาจมีความเป็นกรดจากแก๊สในธรรมชาติที่เจือปน
เข้าไป ทำปฏิกิริยากับหินปูนจนเกิดการเปลี่ยนสภาพทีละน้อย ๆ ในระหว่างปฏิกิริยาจะมีแก๊ส
ไฮโดรเจนเกิดขึ้น
58. ตอบ ค.
ชั้นของหินหนืด คือ ชั้นที่เรียกว่า เนื้อโลก คือหมายเลข 3 ส่วนหมายเลข 4 คือเปลือกโลก
เป็นชั้นที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ส่วนชั้นในสุด เป็นชั้นที่มีส่วนผสมของโลหะต่าง ๆ มีความแข็งมาก
และมีอุณหภูมิสูงมาก
59. ตอบ ค.
แผ่นดินไหวเกิดจากแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ชนกัน หรือแยกจากกัน ดังนั้นถ้าแผ่นเปลือกโลก
มีลักษณะเป็นแผ่นเดียวห่อหุ้มโลก ก็จะไม่มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น
60. ตอบ ง.
การที่ท้องฟ้ าในตอนกลางวันบนโลกสว่าง เพราะแสงแดดที่ส่องลงมาตกกระทบอนุภาค
ของแก๊ส ฝุ่ นละออง และไอน้ำในอากาศ แล้วสะท้อนมาเข้าตาเรา แต่บนดวงจันทร์ไม่มีอากาศ ไม่มี
ไอน้ำ ไม่มีฝุ่ นละออง ที่จะสะท้อนแสงอาทิตย์ ท้องฟ้ าจึงมืดสนิทถึงแม้จะเป็นกลางวัน

You might also like