You are on page 1of 38

กลุ่มชาติพันธุ์ (Ethnic Groups)

กลุ่มชาติพันธุ์ หมายถึง กลุ่มคนที่สมาชิกของ


กลุ่มสำนึกว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน และกลุ่มของตนมี
ความแตกต่างจากกลุ่มคนอื่นๆ โดยมีลักษณะ
บางอย่างร่วมกัน
ได้แก่ ภาษาหรือวัฒนธรรมเดียวกัน, อุดมการณ์
(Ideology), ความเชื่อที่ว่ามีบรรพบุรุษร่วมกัน
(Common ancestry) หรือการแต่งงานในกลุ่มเดียวกัน
(Endogamy)
นอกจากนี้ยังมีผู้ให้คำนิยามว่า ชาติพันธุ์ คือ
กระบวนการที่ทำให้กลุ่มคนมีอาณาเขตเป็นของ
ตนเอง มีอัตลักษณ์แห่งตัวตน มีวงศ์วานร่วมกัน มี
การแต่งงานภายในกลุ่ม และมีระบบเศรษฐกิจที่แน่
ชัด
คำว่า Race ในอเมริกา หมายถึง สี (Color)
ส่วน Ethnics หมายถึง ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากผู้ที่
ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษ เป็นคำที่ใช้เรียกผู้คน
คำอธิบายใน Oxford Dictionary
Ethnic หมายถึง การเกี่ยวข้องหรือเป็นส่วนหนึ่งของชาติ
เชื้อชาติ หรือประชากรที่มีวัฒนธรรมร่วมกัน
อีกความหมายหนึ่ง หมายถึง วัฒนธรรมที่แตกต่างจาก
วัฒนธรรมตะวันตกสมัยใหม่
Anthony D. Smith ชาติพันธุ์ หมายรวมถึง ผู้คนทั้ง
กลุ่มเล็กและใหญ่ ครอบคลุมตั้งแต่กลุ่มคนเล็กๆ(ฺBand)
ไปจนถึงชาติใหญ่ๆ
ชาติพันธุ์ ถูกใช้ในความหมายต่างๆ เช่น ในหลายสังคมที่พูด
ภาษาอังกฤษ จะเรียกอาหารของคนกลุ่มอื่นๆว่า “อาหารชาติ
พันธุ”์ (Ethnic Food)
และเรียกอาหารของพวกตนต่างหาก เช่น อาหารอังกฤษ
อาหารอเมริกัน อาหารออสเตรเลีย
ชาติพันธุ์ ในความหมายทางมานุษยวิทยา
หมายถึง ชนทุกกลุ่มล้วนเป็นชาติพันธุ์หนึ่งๆ ไม่มี
ชนกลุุ่มใดที่ไม่ใช่กลุ่มชาติพันธุ์
Max Weber ชาติพันธุ์ หมายถึง การที่สมาชิกใน
กลุ่มยอมรับว่าพวกตนมีลักษณะบางอย่างร่วมกัน
(Common Trait)
มีการผสมกันของเชื้อชาติต่างๆด้วยการแต่งงานข้าม
กลุ่ม ทำให้เกิดพัฒนาการของสำนึกทางชาติพันธุ์ของตน
ขึ้น (การเปรียบเทียบความแตกต่างทำให้เกิดสำนึกทาง
ชาติพันธุ์)
สรุปประเด็นของ Weber
1.ชาติพันธุ์ดำรงอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อเฉพาะกลุ่ม
2.ชาติพันธุ์เชื่อในเรื่องของการสืบสายสกุลร่วมกัน
(Common descent)
3.ชาติพันธุ์เชื่อในเรื่องการมีบรรพบุรุษร่วมกัน เป็น
การตอกย้ำการดำรงอยู่ร่วมกันของกลุ่ม ที่มีวัฒนธรรม
และความทรงจำร่วมกัน
Clifford Geertz นิยามชาติพันธุ์ เป็นการดำรงอยู่ทางสังคมของ
ผู้คนที่ใกล้ชิดและมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ รวมถึงเป็นชุมชนทาง
ศาสนา มีภาษาและขนบธรรมเนียม ประเพณี เกิดความรู้สึกถึงความ
ภักดี (Loyalties) (อาจเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางการเมืองเพื่อทำให้
ประชาชนเกิดความจงรักภักดีต่อรัฐ)
Fedrik Barth เสนอว่า กลุ่มชาติพันธุ์ หมายถึง
1 การมีลักษณะทางกายภาพที่คล้ายคลึงกัน
2 มีคุณค่าทางวัฒนธรรมพื้นฐานชุดเดียวกัน และมีความเป็น
อันหนึ่งอันเดียวกัน
3 มีแบบแผนการติดต่อสื่อสาร มีความสัมพันธ์กัน
4 สมาชิกภาพเป็นที่ยอมรับในกลุ่มและต่างกลุ่มว่าเป็น
สมาชิกเฉพาะกลุ่ม
5 สมาชิกของกลุ่มมีสำนึกว่าตนเองสังกัดอยู่ในกลุ่มนั้นๆ
และมีความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน (Self Ascription)
อัตลักษณ์ชาติพันธุ์จึงหมายถึง การที่สมาชิก
ตระหนักว่าตนเป็นสมาชิกของกลุ่มชาติพันธุ์ มี
ความคิด ความเชื่ออยู่ภายใต้กรอบวัฒนธรรมของ
กลุ่มชาติพันธุ์นั้นๆ
Bฺ arth เห็นว่า ความแตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์
ได้แก่
1 เครื่องหมายหรือสัญญาณ ที่บุคคลทั่วไป
สามารถเห็นได้ ที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของกลุ่ม เช่น
เครื่องแต่งกาย ภาษา บ้านเมือง ฯลฯ
2 คุณค่าพื้นฐาน(Basic Value) เช่น มาตรฐาน
ศีลธรรมที่กำหนดการประพฤติปฏิบัติของสมาชิกในกลุ่ม
Charles F. Keyes อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ เป็นการแสดงออกทาง
วัฒนธรรม(cultural expressions) ในหลายลักษณะ ได้แก่ ตำนาน
ปรัมปรา ความเชื่อทางศาสนา พิธีกรรม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น คติ
ชน และศิลปะ เหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ของอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ และมี
ความหมายต่อปัจเจก ทำให้เกิดลักษณะต่างกันระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์
ต่างๆ
Judith A. Nagata อัตลักษณ์ชาติพันธุ์มีลักษณะ
ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ มีพลวัติไม่
เคยหยุดนิ่ง ไม่ตายตัว เรียกว่า มีการแกว่งไปแกว่ง
มาทางชาติพันธุ์ (Ethnic oscillation)
อัตลักษณ์ชาติพันธุ์มีความยืดหยุ่น จึงเป็นเรื่อง
ยากที่จะจัดแบ่งประเภทของชาติพันธุ์ให้ชัดเจน
ผู้คนสามารถสลับไปมาของอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ที่ตน
เห็นว่าจะได้ประโยชน์ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
เป็นพลวัตรของอัตลักษณ์(Dynamics of identity)
Anthony D. Smith ชุมชนชาติพันธุ(์ Ethnie)
1 มีชื่อเรียกเฉพาะกลุ่ม
2 มีบรรพบุรุษร่วมกัน
3 มีความทรงจำทางประวัติศาสตร์ร่วมกัน
4 มีองค์ประกอบของวัฒนธรรมร่วมกัน
5 มีบ้านเกิด (home land) ร่วมกัน
6 มีความรู้สึกเป็นกลุ่มร่วมกัน (sense of solidarity)
Edmund R. Leach เสนอแนวคิดการข้ามไปมา
ระหว่างวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่
แปรผันไปตามสถานการณ์ ขอบเขตทางวัฒนธรรม
สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
อัตลักษณ์ทางชาติพันธ์ุเป็นสิ่งที่เลื่อน
ไหลและปรับเปลี่ยนไปมาได้
Fredrik Barth สมาชิกในกลุ่มชาติพันธ์ุสามารถ
ที่จะเลือกใช้คุณสมบัติทางวัฒนธรรมอย่างใด
อย่างหนึ่งที่มีอยู่ในการนิยามตัวตนของตนเอง
ผู้คนสามารถเลือกและปรับเปลี่ยนกลุ่มชาติพันธุ์
ขึ้นอยู่กับประโยชน์ที่ได้รับ
อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ สามารถปรับเปลี่ยนไปตาม
เงื่อนไขของเวลา ความสัมพันธ์ทางสังคม เศรษฐกิจ
การเมือง รัฐชาติ เช่น การตอบโต้รัฐโดยการรื้อฟี้นหรือ
สร้างความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมของตน
ethnicity - สำนึกทางชาติพันธุ์
- การธำรงชาติพันธุ์ในรัฐสมัยใหม่
เป็นการรวมตัวทางชาติพันธุ์ ทำให้มีประสบการณ์
เกิดสำนึกทางชาติพันธุ์ มีการใช้สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
ร่วมกันโดยนำจากรูปแบบเดิมหรือประดิษฐ์ใหม่และมี
ปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น

You might also like