You are on page 1of 10

ศศ1641508 การเขียนเพื่อการสื่อสารในองค์การ

บทที่ 4
การเขียนแผนผังความคิด
อาจารย์ศักดิธัช ฉมามหัทธนา
แผนผังความคิด
• แผนผังความคิด (mind map) หรือ “แผนที่ความคิด” คือ รูปแบบการเขียนบันทึกลักษณะหนึ่ง
ซึ่งเน้นการใช้คาสาคัญหรือคาสั้น ๆ การใช้รูปภาพ สัญลักษณ์ และการโยงเส้น เพื่อแสดงให้เห็น
ภาพรวมความสัมพันธ์ของข้อมูลเหล่านั้น โดยวิธีการดังกล่าวเป็นการประยุกต์ใช้ทฤษฎีด้านสมอง
กับทักษะการเรียนรู้ของมนุษย์
• โทนี บูซาน (Tony Buzan) นักจิตวิทยาชาวอังกฤษ เป็นผู้ริเริ่มการนาแผนผังความคิดไปปรับใช้กับ
การเรียนรู้และการบันทึกสิ่งต่าง ๆ ทั้งในชีวิตประจาวันและในการปฏิบัติงาน โดยการเขียนแผนผัง
ความคิดเป็นการฝึกใช้ความสามารถจากสมองทั้งสองซีกของมนุษย์ กล่าวคือ สมองซีกซ้ายถูกใช้
เพื่อคัดสรรคา สัญลักษณ์ และจัดลาดับ ส่วนสมองซีกขวาถูกใช้เพื่อออกแบบและสร้างสรรค์

2
ประโยชน์ของแผนผังความคิด
• เป็นเครื่องมือที่เรียบง่ายที่สุด แต่สามารถจัดระเบียบความคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เนื่องจาก
ช่วยลาดับความสาคัญของข้อมูลในภาพรวม อีกทั้งช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งในแนว
กว้างและแนวลึกด้วย ทั้งนี้ การคิดแนวกว้าง คือ การคิดแบบรอบด้านโดยแยกเป็นทีละประเด็น
และ การคิดแนวลึก คือ การคิดลงรายละเอียดแยกย่อยในประเด็นเดียวกัน
• ผู้อ่านสามารถจับใจความสาคัญเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างเป็นระบบ
• เมื่อผู้อ่านเห็นภาพรวมตลอดจนความสัมพันธ์ของข้อมูลต่าง ๆ แล้ว ย่อมสามารถคิดปรับปรุงและ
พัฒนาต่อยอดข้อมูลเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี
• ผู้อ่านจดจาได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น รวมถึงนากลับมาทบทวนได้สะดวกขึ้น

3
ขั้นตอนการเขียนแผนผังความคิด
1. เขียนประเด็นหลักกึ่งกลางหน้ากระดาษ และเขียนประเด็นรองล้อมรอบประเด็นหลัก
2. เขียนประเด็นย่อย ๆ ที่สัมพันธ์กับประเด็นรองแยกออกไปทีละหัวข้อ
3. ใช้เส้น สี ภาพ หรือสัญลักษณ์ตกแต่งเพื่อสื่อความหมายให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้ดึงดูด
สายตาและทาให้ผู้อ่านจดจาข้อมูลได้ง่ายขึ้น
4. เขียนคาสาคัญ (keyword) ด้วยตัวอักษรขนาดใหญ่บนเส้นที่เชื่อมโยงกัน พร้อมลายมือที่บรรจง
หากเป็นภาษาอังกฤษควรใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ เพราะช่วยให้นาสายตา และประหยัดเวลาเมื่อ
ย้อนกลับไปอ่านอีกครั้ง

4
การฝึกเขียนแผนผังความคิด
กาหนดให้เขียนแผนผังความคิดลงในพื้นที่
หรือกระดาษขนาด A4 แนวตั้งหรือแนวนอนก็ได้
โดยผู้เรียนสามารถวาดและระบายสีด้วยมือ หรือ
ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ แต่ให้ส่งชิ้นงานใน
รูปแบบไฟล์ภาพเท่านั้น กรณีทาชิ้นงานด้วยมือ
ให้ใช้การถ่ายภาพแล้วส่งให้ผู้สอนได้ โปรดเขียน
ชื่อและเลขที่ที่มุมขวาบนของกระดาษด้วย ทั้งนี้
หัวข้อ คือ “ความสุขคืออะไร”

10

You might also like