You are on page 1of 24

รายงานการทดสอบ

การทดสอบหาขีดความข้นเหลวของดิน
(Consistency Limit Test)

จัดทำโดย

นาย ภูริณัฐ นามศรี B6308025


นาย พัฒน์ธนศักดิ์ ขาวจัตุรัส B6326289
นาย รุ่งเรือง พันลูกท้าว B6327965
นางสาว กนกพิชญ์ ศรีนาทม B6334239
นางสาว กุลปริยา ชัยปรีชา B6335717

เสนอ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดโช เผือกภูมิ
(อาจารย์ผู้สอนปฏิบัติการ)

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 538302 ปฏิบัติการธรณีเทคนิค


สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ปีการศึกษา 2566

คำนำ

รายงานเล่ ม นี ้ เ ป็ น ส่ ว นหนึ ่ ง ของวิ ช าปฏิ บ ั ต ิ ก ารธรณี เ ทคนิ ค (Geotechniques Laboratory:


538302 ) เรื่องการทดสอบหาขีดความข้นเหลวของดิน (Consistency Limit Test) จัดทำขึ้นเพื่อทดสอบ
หาขีดความข้นเหลวของดิน โดยใช้วิธีการทดสอบ Liquid Limit และทดสอบ Plastic Limit เพื่อทดสอบ
หาความชื้นของดิน (Water Content) ของตัวอย่างดินเหนียวคงสภาพ (Undisturbed Sample) โดย
ประกอบด้วย ทฤษฎีและหลักการ ขั้นตอนการทดลอง บันทึกผลการ ทดลอง ตัวอย่างการค้านวณ สรุป
และ วิจารณ์ผลการทดลอง ทั้งนี้คณะผู้จัดทําขอขอบคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดโช เผือกภูมิ และผู้ช่วย
สอนประจำรายวิชาที่ให้คำแนะนำ ในการทดลองครั้งนี้
ผู้จัดทําหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเล่มนี้จะมี โยชน์ต่อผู้อ่านและหากมีความผิดพลาดประการใด
ทางจัดทำขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วย และจะปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อไป

คณะผู้จัดทำ
25/08/2566

สารบัญ

คำนำ ก

สารบัญ ก

การทดสอบหาขีดความเข้มข้นเหลวของดิน 1
1. ทฤษฎีและหลักการ 1

2. วัตถุประสงค์ของการทดสอบ 1

3. มาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบ 2

4. อุปกรณ์และเครื่องมือที่ในการทดสอบ 2
4.1. อุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับทดสอบหา Liquid Limit 2
4.2. อุปกรณ์และเครื่องมือการทดสอบขีดจำกัดของเหลว (Liquid Limit) ของดินโดยใช้วิธี CONE PENETROMETER (IS-2720-PART-5-
1985) 4
4.3. อุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับทดสอบหา Plastic Limit 5

5. การเตรียมตัวอย่างและขั้นตอนการทดสอบ 6
5.1. การเตรียมตัวอย่างและขั้นตอนการทดสอบ 6
5.2. ขั้นตอนการทดสอบ Liquid Limit 6
5.3. ขั้นตอนการทดสอบการทดสอบขีดจำกัดของเหลว (Liquid Limit Test) ของดินโดยใช้วิธี CORE PENETROMETER (IS-2720-
PART-5-1985) 9
5.4. ขั้นตอนการทดสอบ Plastic Limit 10

6. บันทึกผลการทดสอบ 11

7. การคำนวณ 15
7.1. Liquid Limit 15
7.2. Plastic Limit 15
7.3. Table 1 16
7.4. Table 2 16
7.5. Table 3 17

8. สรุปผลการทดลอง 20

9. วิเคราะห์ผลการทดลอง 20

10. เอกสารอ้างอิง 21
1

ปฏิบัติการที่ 3
การทดสอบหาขีดความเข้มข้นเหลวของดิน

1. ทฤษฎีและหลักการ
ขีดจำกัดอัตเตอร์เบอร์ก (Atterberg 's Limits) หรือ ขีดจำกัดความข้นเหลว(Consistency 's
Limit)หมายถึงปริมาณน้ำในมวลดินที่ทำให้สภาพความเหนียวตัวของมวลดินเปลี่ยนแปลงไป สถานภาพ
ของมวลดิน แบ่งออกเป็น 5 สถานภาพ โดยจุดแบ่งแต่ละสถานะภาพเรียกว่า ขีดจำกัด (Limit) ดังนี้
• Cohesion Limit คือ ปริมาณน้ำในมวลดินที่ทำให้เศษดินเริ่มมีการยึดเกาะเข้าด้วยกัน
• Sticky Limit คือ ปริมาณน้ำในมวลดินที่ทำให้มวลดินเริ่มมีการยึดเกาะกับผิวของโลหะ
• ขีดจำกัดเหลว (Liquid Limit, LL.) หมายถึง ปริมาณความชื้นที่น้อยที่ส ุดในดินที่ทำให้ดิน
สามารถไหลตัวได้ด้วยน้ำหนักของตัวเอง หรือถ้าพิจารณาจากกราฟแสดงสถานะภาพของดินก็จะเป็น
ขีดจำกัดเปลี่ยนจากของเหลว เป็น พลาสติก สามารถหาค่าได้กับดินที่มีความเชื่อมแน่น
• ขีดจำกัดพลาสติก (Plastic Limit, P.L.) หมายถึง ปริมาณความชื้นที่น้อยที่สุดในดินที่ทำให้ดิน
มีสภาพเหนียวหนืดมากขึ้น จะมีปริมาณความชื้นในดิน น้อยกว่าขีดจำกัดเหลวหรือถ้าพิจารณาจากกราฟ
แสดง สถานภาพของดินก็คือขีดที่ดินเปลี่ยนจากสภาพ พลาสติก เป็นกึ่งของแข็ง
ต่อมาได้มีการนำค่าขีดจำกัดมาประยุกต์ ซึ่งในปัจจุบันทางด้านวิศวกรรมโยธาจะใช้กันอยู่ 3
ขีดจำกัด คือ ขีดจำกัดการไหลตัว (Liquid Limit) และขีดจำกัดพลาสติก (Plastic Limit) ซึ่งค่าขีดจำกัด
เหลวและขีดจำกัดการอ่อนตัว จะใช้พิจารณาในการจำแนกดิน (Soils Classification) สภาพกำลังของดิน
ประมาณการทรุดตัวของดินแบบอัดตัวคายน้ำ (Consolidation) และประมาณความ หนาแน่นสูงสุดจาก
การบดอัดดินได้ (Compaction) ส่วนค่าขีดจำกัดการหดตัวจะใช้พิจารณาการเปลี่ยนแปลง ปริมาตรของ
ดินจากปริมาณความชื้นที่มีอยู่ในดินที่มีการเปลี่ยนแปลงไป
2. วัตถุประสงค์ของการทดสอบ
เพื่อหาปริมาณความชื้นของดินในสภาพขีดจำกัดเหลว (Liquid Limit) และขีดจำกัดพลาสติก
(Plastic Limit)
2

3. มาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบ
• ASTM D 4318-93 Test Method for Liquid Limit, Plastic Limit, and Plasticity Index
of Soils
• ASTM D 4 2 7 - 9 8 Test Method for Shrinkage Factors of Soils by the Mercury
Method
4. อุปกรณ์และเครื่องมือที่ในการทดสอบ
4.1. อุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับทดสอบหา Liquid Limit
• เครื่องทดสอบหาขีดจำกัดเหลว (Liquid Limit Device) ตามมาตรฐานASTM D
4318

รูปที่ 1 เครื่องทดสอบหาขีดจำกัดเหลว
3

• เครื่องมือปาดร่องดิน (Grooving Tool)

รูปที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ สำหรับปาดร่องดิน


• มีดปาดดิน (Spatula)

รูปที่ 3 มีดปาดดิน
• ชามกระเบื้องเคลือบ (Coat Dish)

รูปที่ 4 ชามกระเบื้องเคลือบ
4

4.2. อุปกรณ์และเครื่องมือการทดสอบขีดจำกัดของเหลว (Liquid Limit) ของดินโดยใช้วิธี CONE


PENETROMETER (IS-2720-PART-5-1985)
• Cone Penetrometer

รูปที่ 5 Cone Penetrometer ใช้สำหรับทดสอบขีดจำกัดของเหลว


• กระป๋องทดลอง

รูปที่ 6 กระป๋องทดลอง
5

• มีดปาดดิน (Spatula)

รูปที่ 7 มีดปาดดิน
4.3. อุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับทดสอบหา Plastic Limit
• แผ่น กระจกทดสอบ Plastic Limit ( Glass Plate ) ขนาดไม่น ้อยกว่า 10 × 10
เซนติเมตร อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ทั่วไป

รูปที่ 8 กระดาษ A4 ใช้ในการดูดซืมความชื้นของดินที่นำมาทดลอง


6

• ขวดฉีดน้ำ (Wash Bottle)

รูปที่ 9 ขวดฉีดน้ำสำหรับการทดลอง
5. การเตรียมตัวอย่างและขั้นตอนการทดสอบ
5.1. การเตรียมตัวอย่างและขั้นตอนการทดสอบ
เก็บตัวอย่างดินที่ได้จากการเจาะสำรวจหรือตามแหล่งที่ต้องการ ดินที่นำมาทำการทดสอบ
นั้นเป็นดินเหนียว (Clay) ซึ่งผ่านตะแกรงเบอร์ 40 โดยให้ใช้จำนวนตัวอย่างดินตามการทดสอบ ดังนี้
5.2. ขั้นตอนการทดสอบ Liquid Limit
ขั้นตอนที่ 1 นำดินที่เตรียมไว้ใส่ในถ้วยเคลือบแล้ว ใส่น้ำประมาณ 0.5-1มิลลิลิตร หรือในปริมาณที่ไม่
เหนียวจนเกินไปแล้วผสมดินและน้ำให้เป็นเนื้อเดียวกัน

รูปที่ 10 นำดินที่คัดขนาดมาใส่ในถ้วยและผสมกับน้ำโดยใช้น้ำจากปากขวดฉีดน้ำใส่
ขั้นตอนที่ 2 เตรียมอุปกรณ์ชุดทดสอบ ให้ความสูงของก้นจานอยู่สูงกว่าพื้นรอง 1 ± 0.2 เซนติเมตร
จากนั้นให้นำดินใส่เข้าไปในถ้วยของเครื่องทดสอบ Liquid Limit Device เพื่อไม่ใช่ค่าคลาดเคลื่อนให้ใส่
ดินหรือปาดหน้าดินให้แน่น จนแน่ใจว่าไม่มีอากาศหรือโพรงอากาศอยู่ข้างในดินที่ทำการทดลองในเครื่อง
7

รูปที่ 11 นำดินใส่เข้าใปในเครื่อง Liquid Limit Device และปาดหน้าดินให้แน่น


ขั้นตอนที่ 3 ทำการบากดินในจาน ด้วย Grooving Tool ให้เป็นร่องในครั้งเดียวจนเห็นพื้นรองจานและ
รอยร่องนี้จะแบ่งดินออกเป็น 2 ข้างเท่า ๆ กัน (ในการบากดินเป็นร่องควรทำครั้งเดียวไม่ควร ทำหลาย
ครั้ง เพราะแนวร่องที่ตัดจะไม่อยู่ในรอยเดิม ทำให้ยากแก่การสังเกตแนวร่องที่ดินจะไหลมาชนกันจาก การ
ตกกระทบของจาน)

รูปที่ 12 ใช้ Grooving Tool ในการเซาะร่องให้มีความลึก 1 เซนติเมตร


ขั้นตอนที่ 4 การหมุนให้จานตกกระทบกับพื้นรองในทันที ซึ่งใช้ความเร็วในการหมุน 2 ครั้ง ต่อ 1 วินาที
โดยนับจำนวนครั้งไว้ด้วย ทำการหมุนจนกระทั้งดินที่บากไว้ไหลเข้ามาชนกันเป็นระยะทาง ½ นิ้ว (12.7
มิลิเมตร)
8

รูปที่ 13 หมุนจานจนกระทั้งดินที่เซาะร่องไว้ ขยับมาชิดกัน


ขั้นตอนที่ 5 ในการหาค่า Liquid Limit จะนับจำนวนการเคาะตามที่ได้แต่ละครั้ง แล้วดินไหลมาชนกัน
เป็น ระยะทาง ½ นิ้ว (12.7 มิลิเมตร) พอดีนั้นทำได้ยาก จึงได้มีการกำหนดจำนวน การเคาะครั้งแรกและ
ครั้งต่อ ๆไป เพื่อความสะดวก ดังนี้ (ตามมาตรฐาน ASTM D 4318)
จำนวนการเคาะ ครั้งที่ 1 ประมาณ 46 ครั้ง
จำนวนการเคาะ ครั้งที่ 2 ประมาณ 39 ครั้ง
จำนวนการเคาะ ครั้งที่ 3 ประมาณ 30 ครั้ง
จำนวนการเคาะ ครั้งที่ 4 ประมาณ 25 ครั้ง
จำนวนการเคาะ ครั้งที่ 5 ประมาณ 13 ครั้ง
ขั้นตอนที่ 6 เมื่อได้จำนวนการเคาะตามที่กำหนด และดินไหลมาชนกันเป็นระยะทาง 1/2 นิ้ว แล้วทำ
การตักดิน เฉพาะตรงที่ดินไหลมาชนกัน โดยใช้ Spatula ปาดขนานกันให้ระยะห่างพอดีกับระยะที่ดิน
ไหลมาชนกันนี้แล้วจึงตัดหัวท้ายของรอยตัดขาดนี้ในแนวตั้งฉากกัน นำดินที่ถูกตักใส่ใน กระป๋อง แล้ว
นำไปอบเพื่อหาค่าปริมาณความชื้น
ขั้นตอนที่ 7 นำดินที่เหลือในจานออกแล้วนำกลับไปสมกับดินที่เหลืออยู่ในถ้วยเคลือบ โดยเป็นน้ำทีละ
น้อย ผสมเข้ากันให้ทั่ว ทำความสะอาดจานของชุดทดสอบ, Grooving Tool, Spatula ให้ เรียบร้อย อย่า
ให้มีเศษดินติดอยู่พร้อมที่จะทำการทดสอบครั้งต่อไป
ขั้นตอนที่ 8 ทำการทดสอบช้ำเหมือนขั้นตอนที่ 5 จนกระทั่งครบตามจำนวนตัวอย่างดินที่ต้องการ
ทดสอบ
ขั้นตอนที่ 9 นำข้อมูลที่จำนวนการเคาะ (N) และปริมาณความชื้น (Water Content, w %) ไปเขียน
กราฟ ใน กระดาษกราฟ Semi - Log โดยให้จำนวนการเคาะ (N) อยู่ในแนว แกน X (Scale Log) และ
ปริมาณความชื้น (Water Content, w %) อยู่ในแนวแกน Y แล้วลากเส้นตรงผ่านจุดเหล่านั้น
ขั้นตอนที่ 10 จากจำนวนการการเคาะ ให้ลากเส้นตรงในแนวดิ่งตัดเส้นกราฟที่ได้เขียนไว้แล้ว ลากเส้น
ขนานแนวราบไปตัดแกน Y ค่าปริมาณความชื้นที่ได้นี้คือ ค่า Liquid Limit, LL. ดังแสดงในรูปที่ 14
9

รูปที่ 14 ตัวอย่างกราฟของ water content `กับจำนวนครั้งที่เคาะ


5.3. ขั้นตอนการทดสอบการทดสอบขีดจำกัดของเหลว (Liquid Limit Test) ของดินโดยใช้
วิธี CORE PENETROMETER (IS-2720-PART-5-1985)
ขั้นตอนที่ 1 นำดินที่เตรียมไว้สำหรับหาค่า Liquid Limit มาใส่กระป๋องที่เตรียมไว้ โดยใส่ดินลงถ้วย
กระบอก 3 ครั้งให้เต็ม ซึ่งครั้งแรกใส่ดินลงไปให้พอเหมาะ จากนั้นทำการเคาะกระบอกจนกว่าจะแน่น
เมื่อใส่ดินเต็มแล้วใช้มีดปาดดินทำการตกแต่งหน้าดินให้เรียบ

รูปที่ 15 นำดินมาใส่ในกระป๋องให้แน่น

ขั้นตอนที่ 2 จัดตำแหน่งของกรวยให้อยู่ตรงกลาง และจรดผิวดินพอดีในถ้วยกระบอก


10

รูปที่ 16 นำกระป๋องที่อัดดินจนแน่น มาวัดความลึกที่เครื่อง Cone Penetrometer


ขั้นตอนที่ 3 ปล่อยให้กรวยจมลงไปในดินเป็นเวลา 5 วินาที (โดยปล่อยกรวยลง 5 ครั้ง ต่อ 1 ตัวอย่าง)
จากนั้นทำการอ่านค่าระดับความลึกที่กรวยจมลงทดสอบซ้ำอย่างน้อยเพื่อให้มีค่าเจาะ 5 ชุด
5.4. ขั้นตอนการทดสอบ Plastic Limit
ขั้นตอนที่ 1 นำดินที่เตรียมไว้สำหรับการหาค่า Liquid Limit นำมาประมาณ 20 กรัม ผสมกับน้ำให้เข้า
กันพยายามให้หมาดที่สุด แล้วปั้นเป็นก้อนกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 มิลลิเมตร

รูปที่ 17 นำดินมาปั้นคลึงเป็นก้อนกลม
ขั้นตอนที่ 2 นำไปคลึงบนแผ่นกระดาษ (เพื่อให้ไวต่อการซึมของน้ำ) จนกระทั้งเป็นเส้นกลมยาว เส้นผ่าน
ศูนย์กลาง 1/8 นิ้ว (3.2 มิลิเมตร) แล้วให้เกิดรอยแตกเล็ก ๆ ทั่วไป จึงจะนำตัวอย่างที่ได้ไปใส่ กระป๋อง
เพื่อหาปริมาณความชื้น
11

รูปที่ 18 คลึงดินจากก้อนกลมให้เป็นเส้นบนกระดาษ จนดินเริ่มแตกจากกัน


ขั้นตอนที่ 3 ทำการทดสอบช้ำอย่างน้อย 5 ตัวอย่างแล้วนำค่ามาเฉลี่ยกัน (ค่าที่จะนำมาเฉลี่ยได้ต้อง มีค่า
ใกล้เคียงกัน คือต่างกันไม่เกิน 2%)
6. บันทึกผลการทดสอบ
Table 1 Liquid Limit (LL) Determination Using “Casagrande Method”
No. 1 2 3 4 5
Moisture Can No. S2-G2-LL1 S2-G2-LL2 S2-G2-LL3 S2-G2-LL4 S2-G2-LL5
Number of Blow 46 39 30 25 13
Weight of Can (g) 15.23 15.13 15.49 15.48 15.10
Weight of Can + Moist Soil (g) 26.45 27.15 24.00 23.93 26.83
Weight of Can + Dry Soil (g) 24.50 24.88 22.35 22.28 24.32
Weight of Dry Soil (g) 9.27 9.75 6.86 6.80 9.22
Weight of Water (g) 1.95 2.27 1.65 1.65 2.51
Water Content (%) 21.04 23.28 24.05 24.26 27.22
12

Table 2 Plastic Limit (PL) Determination Using “Casagrande Method”

No. 1
Moisture Can No. G2-FC1
Weight of Can (g) 15.43
Weight of Can + Moist Soil (g) 26.05
Weight of Can + Dry Soil (g) 24.75
Weight of Dry Soil (g) 9.32
Weight of Water (g) 1.3
Water Content (%) 13.95
Average Plastic Limit, PL (%) 13.95

Table 3 Liquid Limit (LL) and Plastic Limit (PL) Determination Using “Fall Cone
13

Penetrometer Method”
Moisture Can No. 1 2 3 4 5
Penetration (mm) 5.47 7.97 9.73 10.61 11.52
Moisture Can No. S2-G2-LL1 S2-G2-LL2 S2-G2-LL3 S2-G2-LL4 S2-G2-LL5
Weight of Can (g) 15.23 15.13 15.49 15.48 15.10
Weight of Can + Moist Soil (g) 26.45 27.15 24.00 23.93 26.83
Weight of Can + Dry Soil (g) 24.50 24.88 22.35 22.28 24.32
Weight of Dry Soil (g) 9.27 9.75 6.86 6.80 9.22
Weight of Water (g) 1.95 2.27 1.65 1.65 2.51
Water Content (%) 21.06 23.28 24.05 24.56 27.22

Table 4 liquid limit (LL) and Plastic limit (PL) Determination

Parameters Casagrande Method Fall Cone Penetrometer Average


Method
Liquid Limit (LL) 23.9 31.8 27.85
Plastic Limit (PL) 13.95 12.5 13.23
Shrinkage Limit (SL) 12.99 9.66 11.09
Plastic Index (PI) 9.95 19.3 14.63
Liquidity Index (LI) for 1.61 0.91 1.26
water content (w) of 30%
14

ค่า (LL) จำนวนการเคาะ


ตัวอย่าง ครั้งที่ จำนวน(ครั้ง)
LL1 1 46
LL2 2 39
LL3 3 30
LL4 4 25
LL5 5 13
15

Penetration (mm)
เมื่อ 1 ć = 0.1
ตัวอย่าง ครั้งที่1 ครั้งที่2 ครั้งที่3 ครั้งที่4 ครั้งที่5
LL1 5.42 5.53 5.62 5.94 4.85
LL2 8.16 7.28 7.91 8.05 8.45
LL3 10.13 10.02 9.61 8.92 9.96
LL4 11.27 10.71 9.88 9.93 11.25
LL5 12.19 12.06 10.15 12.06 11.16

7. การคำนวณ
7.1. Liquid Limit
• ค่า Liquid Limit, L.L. อ่านได้จากกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนการเคาะ
(N) กับปริมาณความชื้น ( Water Content , w % ) ที่การเคาะที่ 25 ครั้ง
• ค่า Flow index, F.I.
w1 -w2
F.I. = N
logN2
1

เมื่อ w1 = เปอร์เซ็นต์ปริมาณน้ำในดิน (Water Content, w) ค่าที่ 1 (ค่ามาก)


w2 = เปอร์เซ็นต์ปริมาณน้ำในดิน (Water Content, w) ค่าที่ 2 (ค่าน้อย)
N1 = จำนวนการเคาะ (No. of Blows) ค่าที่ 1 (ค่าน้อย)
N2 = จำนวนการเคาะ (No. of Blows) ค่าที่ 2 (ค่ามาก)
7.2. Plastic Limit
• ค่า Plastic Limit, PL คํานวณได้จากค่าเฉลี่ยของปริมาณความชื้น (Water Content w % ) ที่
ได้จากการทดสอบ
• ค่า Plasticity Index, PI
PI = LL - PL
• ค่า Liquidity Index, LI
Wn -PL Wn -PL
LI = =
PI LL-PL
16

• พิกัดหดตัว Shrinkage Limit, SL


46.3765(LL+43.5294)
SL = -43.5294
(PI+46.3765)
7.3. Table 1 Liquid Limit (LL) Determination Using “Casagrande Method”
• Weight of Can + Dry Soil (g)
Ws = (Wcan + WDS) – Wcan
Ws,1 = (24.50 – 15.23) g = 9.27 g
Ws,2 = (24.88 – 15.13) g = 9.75 g
Ws,3 = (22.35 – 15.49) g = 6.86 g
Ws,4 = (22.28 – 15.48) g = 6.80 g
Ws,5 = (24.32 – 15.10) g = 9.22 g
• Weight of Water (g)
Ww = (Wcan + WWS) – (Wcan + WDS)
Ww,1 = (26.45) – (24.50) g = 1.95 g
Ww,2 = (27.15) – (24.88) g = 2.27 g
Ww,3 = (24.00) – (22.35) g = 1.65 g
Ww,4 = (23.93) – (22.28) g = 1.67 g
Ww,5 = (26.83) – (24.32) g = 2.51 g
• Water Content (%)
W
W = w x 100
Ws
1.95
W1 = x 100% = 21.06 %
9.27
2.27
W2 = x 100% = 23.28 %
9.75
1.65
W3 = x 100% = 24.05 %
6.86
1.67
W4 = x 100% = 24.56 %
6.80
2.51
W5 = x 100% = 27.22 %
9.22
7.4. Table 2 Plastic Limit (PL) Determination Using “Casagrande Method”
• Weight of Can + Dry Soil (g)
Ws = (Wcan + WDS) – Wcan
Ws = (24.75 – 15.43) g = 9.32 g
17

• Weight of Water (g)


Ww = (Wcan + WWS) – (Wcan + WDS)
Ww = (26.05) – (24.75) g = 1.3 g

• Water Content (%)


W
W = w x 100
Ws
1.3
W= x 100 % = 13.95 %
9.32
7.5. Table 3 Liquid Limit (LL) and Plastic Limit (PL) Determination Using “Fall
Cone Penetrometer Method”
• Weight of Can + Dry Soil (g)
Ws = (Wcan + WDS) - Wcan
Ws,1 = 24.50 – 15.23 = 9.27 g
Ws,2 = 24.88 – 15.13 = 9.75 g
Ws,3 = 22.35 – 15.49 = 6.86 g
Ws,4 = 22.28 – 15.48 = 6.80 g
Ws,5 = 24.32 – 15.10 = 9.22 g
• Weight of Water (g)
Ww = (Wcan + WWS) – (Wcan + WDS)
Ww,1 = 26.45 - 24.50 = 1.95 g
Ww,2 = 27.15 - 24.88 = 2.27 g
Ww,3 = 24.00 – 22.35 = 1.65 g
Ww,4 = 23.93 – 22.28 = 1.67 g
Ww,5 = 26.83 – 24.32 = 2.51 g
Water Content (%)
Ww
W= x 100
Ws
1.95
W1 = x 100 = 21.06 %
9.27
2.27
W2 = x 100 = 23.28 %
9.75
1.65
W3 = x 100 = 24.05 %
6.86
18

1.67
W4 = x 100 = 24.56 %
6.80
2.51
W5 = x 100 = 27.22 %
9.22

• ค่าเฉลี่ย Penetration (mm)


5.42+5.53+5.62+5.94+4.85
ตัวอย่างที่ 1 = = 5.47
5
8.16+7.28+7.91+8.05+8.45
ตัวอย่างที่ 2 = = 7.79
5
10.13+10.02+9.61+8.92+9.96
ตัวอย่างที่ 3 = = 9.73
5
11.27+10.71+9.88+9.93+11.25
ตัวอย่างที่ 4 = = 10.61
5
12.19+12.06+10.15+12.06+11.16
ตัวอย่างที่ 5 = = 11.52
5

• Casagrande Method
ดัชนีสภาพพลาสติก (Plastic Index , PI)
PI = LL – PL
PI = 23.90 – 13.95 = 9.95 %
19

พิกัดหดตัว (Shrinkage Limit , SL)


46.3765(LL+43.5294)
SL = -43.5294
(PI+46.3765)

46.3765(23.9+43.5294)
SL = -43.5294 = 11.99 %
(9.95+46.3765)
ดัชนีสภาพเหลว(Liquidity Index , LI) ความชื้นในสภาพธรรมชาติเท่ากับ 30 %
W -PL W -PL
LI = n = n
PI LL-PL

30-13.95
LI = = 1.61%
9.95
• Fall Cone Penetrometer Method
ดัชนีสภาพพลาสติก (Plastic Index , PI)
PI = LL – PL
PI = 31.8 – 12.5 = 19.3
พิกัดหดตัว (Shrinkage Limit , SL)
46.3765(LL+43.5294)
SL = -43.5294
(PI+46.3765)

46.3765(31.8+43.5294)
SL = -43.5294 = 9.66
(19.3+46.3765)
ดัชนีสภาพเหลว(Liquidity Index , LI) ความชื้นในสภาพธรรมชาติเท่ากับ 30 %
Wn -PL Wn -PL
LI = =
PI LL-PL

30-12.5
LI = = 0.91%
19.3
20

8. สรุปผลการทดลอง
จากการทดสอบหาค่า Liquid limit (LL) Determination Using “Casagrande Method” ด้วย
วิธีการการ Casagrande Method โดยการเคาะหาจำนวนครั้งที่ดินจะไหลมาชนกัน จากนั้นนำดินไปชั่ง
และอบเพื่อหาความชื้น เพื่อนำไปหาค่า Liquid limit พบว่าเมื่อเติมน้ำเพิ่มขึ้นในแต่ละรอบการทดลอง
จะทำให้จำนวนการเคาะและความชื้นของดินมาพลอตกราฟ ค่า Liquid limit จะอยู่ที่จำนวนการเคาะที่
25 ครั้ง จากการทดลองนี้จะได้ค่า Liquid limit = 23.9% ส่วนค่า Plastic limit(PL) หาได้จากการวิธีการ
ปั้นให้มีขนาด 1/8 นิ้ว โดยการคลึงดินเป็นเส้นจนเกิดการปริแตกแล้วเก็บตัวอย่างดินนำไปอบให้ดินแห้ง
เพื่อหา water content ได้ค่าเท่ากับ 13.95% ซึ่ง Plastic limit นี้มีค่าเท่ากับ water content ที่หาได้
จากนั้นนำค่า LL และ PL หาค่า Plasticity index(PI) ได้ค่าเท่ากับ 9.95% เมื่อได้ค่า PI สามารถหาค่า
ของ Liquidity index(LI) ได้ ค ่ า เท่ า กั บ 1.61% ซึ ่ ง มี ค ่ า >1 จึ ง สรุ ป ได้ ว ่ า จากการทดสอบด้ ว ยวิ ธี
Casagrande Method ดินจะอยู่ในสถานะ “กึ่งของเหลว”
จากการทดสอบหาค่ า Liquid limit และ Plastic limit ด้ ว ยวิ ธ ี Fall Cone Penetrometer
Method โดยการใส่ดินให้เต็มภาชนะทดสอบ จากนั้นนำไปทดสอบโดยการปล่อยกรวยให้จมลงไปในดิน
เป็นเวลา 5±0.5 วินาที เพื่อหาระยะจมที่กรวยจมลงในดิน และนำดินทดสอบไปหาความชื้น จากนั้น
พล็อตกราฟความสัมพันธ์ของระยะจมและความชื้น ที่ระยะจมของกรายเท่ากับ 2 มิลลิเมตร จะทราบค่า
Plastic limit(PL) = 12.5% เมื่อเทียบระยะจมของกรวยที่ระดับ 20 มิลลิเมตร จะทราบค่า Liquid
limit(LL) = 31.8% จากนั้นนำค่า PL และ LL หาค่า Plasticity index(PI) ได้ค่าเท่ากับ 19.3% เมื่อได้ค่า
PI สามารถหาค่าของ Liquidity index(LI) ได้ค่าเท่ากับ 0.91% ซึ่งมีค่า ‹1 จึงสรุปได้ว่า จากการทดสอบ
ด้วยวิธี Cone Penetrometer Method ดินจะอยู่ในสถานะ “กึ่งของแข็ง”
9. วิเคราะห์ผลการทดลอง
จากการทดสอบหาค่า Liquid Limit ด้วยวิธีการ Casagrande Method การเคาะดินด้วยเครื่องมือ
การเคาะนั้น ในบางครั้งเครื่องเคาะอาจนับจำนวนครั้งผิดพลาด และความเร็วในการหมุนอาจไม่ได้ถูกต้อง
ตามหลักการทดลอง เพื่อลดความผิดพลาดควรทำ ผู้เคาะควรทำการนับควบคู่ไปด้วยและพยายามหมุนให้
มีความเร็วเท่ากัน การเติมน้ำในดินเพื่อทำการทดสอบในแต่ ละครั้งนั้น ปริมาณน้ำที่เติมควรมีเท่ากันทุก
ครั้ง และควรจะมากพอที่จะทำให้ดินมีลักษณะการเคลื่อนที่หรือเนื้อสัมผัสที่แตกต่างไปจากเดิมในแต่ละ
ครั้ง เพื่อให้จำนวนครั้งในการเคาะไม่ใกล้เคียงกันจนเกินไป
จากการทดสอบด้วย Fall Cone Penetrometer Method การนำดินใส่ภาชนะเพื่อนำไปทดสอบ
ปล่อยกรวย ควรใส่ดินให้เต็มภาชนะและปาดปากภาชนะให้เรียบ ขั้นตอนการวางควรหาตำแหน่งกรวยให้
อยู่บริเวณที่ต้องการก่อนปล่อย ควรกำหนดตำแหน่งให้จรดผิวของดินพอดี เมื่อกรวยจมลงการกดอ่านค่า
ความลึกไม่ควรกดแรงจนเกินไปเพราะจะทำให้ค่าความลึกผิดพลาดได้
21

10. เอกสารอ้างอิง
• ผู ้ ช ่ ว ยศาสตราจารย์ ดร.เดโช เผื อ กภู ม ิ . Determination of Water Content and Unit
Weight). รายวิช า 538302 ปฏิบ ัติการธรณีเทคนิค ( Geotechniques Laboratory ), มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีสุรนารี
• ASTM D 4 2 7 – 9 8 Standard Test Method for Shrinkage Factors of Soils by the
Mercury Method https://pdfslide.tips/documents/d-4 2 7 - 9 8
rdqyny05oa.html?fbclid=IwAR15p0gdImYxNEIeC0FY7tKvQyzef_L5Y9vRtr7tPg4e1TCvezzdg4
EZhH8

You might also like