You are on page 1of 146

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

การปนเปื้อนของน้ํามันในชั้นทรายเนื้อเดียวที่ไม่อิ่มตัวด้วยน้ําภายใต้
สภาวะระดับน้ําใต้ดินขึ้นลง
Contamination of LNAPL in unsaturated homogeneous
sand under groundwater table fluctuation

สยาม ยิ้มศิริ

โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล
(งบประมาณแผ่นดิน) ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2558

มหาวิทยาลัยบูรพา
รหัสโครงการ 2558A10802033
สัญญาเลขที่ 102/2558

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

การปนเปื้อนของน้ํามันในชั้นทรายเนื้อเดียวที่ไม่อิ่มตัวด้วยน้ําภายใต้
สภาวะระดับน้ําใต้ดินขึ้นลง
Contamination of LNAPL in unsaturated homogeneous
sand under groundwater table fluctuation

สยาม ยิ้มศิริ
คณะวิศวกรรมศาสตร์

มิถุนายน 2558
กิตติกรรมประกาศ

กิตติกรรมประกาศ

งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณ
แผ่นดิน) ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 มหาวิทยาลัยบูรพา ผ่านสํานักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ
เลขที่สัญญา 102/2558 ขอขอบพระคุณ ดร. สิทธิภัสร์ เอื้ออภิวัชร์ ที่เป็นส่วนสําคัญในการร่วมงานวิจัยนี้

i
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้คือการศึกษาพฤติกรรมการปนเปื้อนของน้ํามันดีเซลผ่านทรายเนื้อเดียว
ที่ไม่อิ่มตัวด้วยน้ํา โครงการวิจัยนี้มีแผนการทดสอบในห้องปฏิบัติการโดยการศึกษาการไหลซึมแบบหนึ่งมิติ
และสองมิติ โดยพิจารณาถึงผลกระทบของปัจจัยต่อไปนี้ คือ ขนาดคละของทราย, อัตราการไหลของน้ําใต้ดิน
ในแนวนอน, และการขึ้นลงของระดับน้ําใต้ดิน การวิเคราะห์การไหลซึมจะทําโดยการวิเคราะห์ด้วยภาพถ่าย
(image analysis) ประโยชน์สําคัญที่จะได้จากผลการวิจัยนี้คือความเข้าใจผลกระทบของการขึ้นลงของน้ําใต้
ดินต่อพฤติกรรมการปนเปื้อนของน้ํามันดีเซลผ่านชั้นทรายไม่อิ่มตัวด้วยน้ํา เพื่อจะได้สามารถคํานวณการ
เคลื่อนตัวของมันได้อย่างถูกต้องในสถานการณ์ในสนาม และเพื่อช่วยในการออกแบบระบบ remediation

ABSTRACT

The objective of this research is to study the behavior of diesel contamination in


unsaturated homogeneous sand under groundwater table fluctuation. The study is
performed in laboratory in one- and two-dimensional experiments. The influential factors
considered are particle size of sand, lateral groundwater flow, and groundwater fluctuation.
The distribution of various phases in sand is analyzed by image analysis. The outcome of
this research will improve an understanding of effects of groundwater table fluctuation on
diesel distribution in unsaturated homogeneous sand. This will, in turn, help prediction of
diesel contamination at a real site and assist a design of remediation strategy.

ii
สารบัญ

สารบัญ
หน้า
กิตติกรรมประกาศ i
บทคัดย่อ ii
สารบัญ iii

บทที่ 1 บทนํา
1.1 ที่มาและความสําคัญของปัญหาที่ทําการวิจัย 1-1
1.2 วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย 1-2
1.3 ขอบเขตของโครงการวิจัย 1-2
1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1-3

บทที่ 2 ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 Light Non-Aqueous Phase Liquid (LNAPL) 2-1
2.2 การปนเปื้อนของ LNAPL ในดิน 2-3
2.3 การแบ่งชั้นดินตามลักษณะของน้ําใต้ดิน 2-4
2.3.1 ชั้นไม่อิ่มตัวด้วยน้ํา (unsaturation zone) 2-5
2.3.2 ชั้นอิ่มตัวด้วยน้ํา (saturation zone) 2-6
2.4 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับน้ํา (Soil water characteristic curve) 2-7
2.5 Soil-water characteristic curve (SWCC) modeling parameters 2-8
2.5.1 สมการของ Book and Corey (BC), 1964 2-9
2.5.2 สมการ Van Genuchten (VG), 1980 2-9
2.5.3 สมการของ Kosugi (LN), 1996 2-9
2.6 วิธีการวิเคราะห์ภาพถ่าย (Image Analysis Method) 2-10
2.6.1 การวิเคราะห์ภาพถ่ายเชิงซ้อน (MIAM) 2-10
2.6.2 การวิเคราะห์ภาพถ่ายอย่างง่าย (SIAM) 2-12
2.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2-14

บทที่ 3 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะของดินกับของเหลว
3.1 วัสดุที่ใช้ในการทดลอง 3-1
3.1.1 ทราย 3-1
3.1.2 ของเหลว 3-2
3.2 อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง 3-3

iii
สารบัญ

3.3 วิธีการทดลอง 3-4


3.4 แผนการทดลอง 3-4
3.5 ผลการทดลอง 3-5
3.5.1 ความสัมพันธ์ระหว่างน้ํากับอากาศ 3-5
3.5.2 ความสัมพันธ์ระหว่าง แก๊สโซฮอล์ E20 กับ อากาศ 3-9
3.5.3 ผลการทดลองความสัมพันธ์ระหว่าง แก๊สโซฮอล์ E85 กับ อากาศ 3-12
3.5.4 ความสัมพันธ์ระหว่าง น้ํามันเบนซิน 95 กับ อากาศ 3-16
3.6 วิเคราะห์ผลการทดลอง 3-19
3.6.1 เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่าง น้ํา กับ อากาศ ที่ความหนาแน่นของทรายแตกต่างกัน 3-19
3.6.2 เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่าง แก๊สโซฮอล์ E20 กับ อากาศ ที่ความหนาแน่นของทราย
แตกต่างกัน 3-21
3.6.3 เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่าง แก๊สโซฮอล์ E85 กับ อากาศ ที่ความหนาแน่นของทราย
แตกต่างกัน 3-22
3.6.4 เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างน้ํามันเบนซิน 95 กับ อากาศ ที่ความหนาแน่นของทราย
แตกต่างกัน 3-24
3.6.5 เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างของเหลวทั้ง 4 ชนิด กับ อากาศ ที่ความหนาแน่นของทราย
เท่ากับ 1.50 g/cm3 3-26
3.6.6 เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างของเหลวทั้ง 4 ชนิด กับ อากาศ ที่ความหนาแน่นของทราย
เท่ากับ 1.56 g/cm3 3-27

บทที่ 4 ผลกระทบของการขึ้นลงของระดับน้ําใต้ดินต่อการปนเปื้อนของน้ํามัน
4.1 วัสดุที่ใช้ในการทดลอง 4-1
4.2 อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง 4-2
4.2.1 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยและระดับความอิ่มตัวของ
ของเหลวในทราย 4-2
4.2.2 การศึกษาการไหลซึมของน้ํามันดีเซลผ่านทรายที่ไม่อิ่มตัวด้วยน้ําภายใต้สภาวะน้ําขึ้น-น้ําลง 4-3
4.3 วิธีการทดลอง 4-5
4.3.1 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยและระดับความอิ่มตัวของ
ของเหลวในทราย 4-5
4.3.2 การศึกษาการไหลซึมของน้ํามันดีเซลผ่านทรายที่ไม่อิ่มตัวด้วยน้ําภายใต้สภาวะน้ําขึ้น-น้ําลง 4-5
4.4 แผนการทดลอง 4-6
4.5 ผลการทดลอง 4-9

iv
สารบัญ

4.5.1 ความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยและระดับความอิ่มตัวของของเหลวในทราย
4-9
4.5.2 ผลกระทบของการไหลของน้ําใต้ดินและสภาวะน้ําขึ้นน้ําลงต่อการไหลซึมของน้ํามันดีเซลผ่าน
ทรายที่ไม่อิ่มตัวด้วยน้ํา 4-12
4.6 วิเคราะห์ผลการทดลอง 4-24

บทที่ 5 สรุปผลการทดลอง

เอกสารอ้างอิง R-1
ผลผลิต
ประวัตินักวิจัย

v
บทที่1 บทนํา

บทที่ 1 บทนํา

1.1 ที่มาและความสําคัญของปัญหาที่ทาํ การวิจัย


แหล่งพลังงานที่สําคัญในปัจจุบันของประเทศไทยโดยส่วนใหญ่แล้วจะมาจากน้ํามันเป็นหลักซึ่งนอกจาก
ใช้เป็นเชื้อเพลิงก่อให้เกิดพลังงานแล้วยังเป็นวัตถุดิบและสารตั้งต้นที่สําคัญ ทั้งในภาคภาคอุตสาหกรรมและ
ทางด้ านคมนาคมขนส่งมีการใช้ ที่เพิ่มมากขึ้นเป็นอย่างมากและอาจเกิดโอกาสในการปนเปื้อนของน้ํามัน
เชื้อเพลิงลงสู่สิ่งแวดล้อมเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย โดยหนึ่งในปัญหาที่เกิดขึ้นนี้คือปัญหาการรั่วไหลของน้ํามัน
เชื้อเพลิงจากถังเก็บน้ํามันใต้ดิน (Underground Storage Tank) ถ้าถังน้ํามันใต้ดินหากขาดการบํารุงรักษา
และขาดระบบป้องกันการรั่วไหลของน้ํามันออกจากถังเก็บน้ํามันใต้ดินอันเป็นสาเหตุหลักของการปนเปื้อนของ
น้ํามันลงสู่ชั้นดินและแหล่งน้ํา น้ํามันเชื้อเพลิงเหล่านี้จัดว่าเป็นของเหลวที่ไม่ผสมกับน้ําและไม่ละลายน้ํา
(Non-Aqueous Phase Liquids, NAPLs)
สถานีจัดเก็บและให้บริการน้ํามันในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่จะสร้างแท็งก์กักเก็บน้ํามันอยู่ใต้ดินและ
เกือบจะทั้งหมดของโครงสร้างแท็งก์น้ํามันที่ใช้กันอยู่นั้นไม่มีระบบป้องกันการรั่วซึมของน้ํามันที่อาจจะไป
ปนเปื้อนกับดินหรือชั้นน้ําใต้ดิน โดยปัจจุบันประเทศไทยมีสถานีให้บริการน้ํามันน้ํามันขึ้นทะเบียนทั้งหมด
14,000 แห่่ง หากประเมินว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของถังกักเก็บทั่วประเทศมีการรั่วไหลเนื่องจากไม่่มีการออกแบบ
เพื่อป้องกันการรั่วไหลที่ดีจะมีการปนเปื้อนของดินกว่า 1,500,000 ลูกบาศก์์เมตร (จุฑารัตน์, 2548)
ดินที่ปนเปื้อนน้ํามันเชื้อเพลิงเป็นอันตรายต่อระบบนิเวศวิทยาและจะต้องนําไปเข้ากระบวนการบําบัด
ทางทั้งเคมี, ทางกายภาพ, และทางชีวภาพก่อนจึงจะนําไปใช้ในการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ได้ สําหรับเรื่อง
ความอันตรายของน้ํามันเชื้อเพลิงต่อสุขภาพนั้นเนื่องจากน้ํามันเชื้อเพลิงมีอัตราการละลายน้ําต่ําก่อให้้เกิด
ปัญหาการปนเปื้อนของน้ําใต้ดินเป็นเวลานานส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพในระยะยาวนอกจากนี้ยังก่อให้้
เกิดมลพิษอย่างเฉียบพลันจากไอระเหยของสารไฮโดรคาร์บอนขึ้นมาจากผิวดิน ดังนั้นการปนเปื้อนของดินและ
น้ําใต้ดินก่อให้้เกิดความเสี่ยงสูงต่อสุขภาพของประชากรในด้านระบบทางเดินหายใจระบบประสาท, ความเสี่ยง
ในการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม, และการเกิดมะเร็ง ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาพฤติกรรมการไหลซึมผ่านของ
น้ํามันเชื้อเพลิงในดินทรายเพื่อที่จะสามารถทํานายพฤติกรรมของการไหลซึมผ่านของน้ํามันเชื้อเพลิงหากเกิด
การรั่วไหลและเพื่อหาแนวทางป้องกันให้เหมาะสม
ส่วนใหญ่แล้วนักวิจัยจะทําการศึกษาพฤติกรรมของการปนเปื้อนของ LNAPLS ในชั้นดินโดยคอลัมน์ 1
มิติ และแทงค์ 2 มิติ และวิธีที่ใช้ในการประมาณค่าระดับการอิ่มตัวของน้ําและน้ํามันในดินที่เป็นที่นิยมได้แก่
การใช้รังสีแกมม่า (Gamma Radiation Method, GRM) (Ferrand et al., 1998) การใช้ รั งสีเอกซ์ (X-Ray
Attenuation Method, X-RAM) (Rimmer et al., 1998) แ ล ะ ก า ร ใ ช้ ก า ร ส่ อ ง ผ่ า น ข อ ง แ ส ง (Light
Transmission Method, LTM) (Darnault et al., 1998) เป็นต้น ซึ่งวิธีการต่างๆเหล่านี้ใช้งบประมาณในการ
ศึกษาวิจัยค่อนข้างสูงและอาจเป็นจะอันตรายต่อผู้ที่ทําการวิจัยได้ การศึกษาวิจัยนี้ใช้วิธีการวิเคราะห์ภาพถ่าย
เชิงซ้อน (Multispectral Image Analysis Method, MIAM) (Kechavarzi et al., 2000) เพื่อศึกษาหาความ
สั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งค่ า ระดั บ การอิ่ ม ตั ว ของของเหลวและค่ า ความหนาแน่ น เชิ ง แสงเฉลี่ ย (Average Optical

1-1
บทที่1 บทนํา

Density, AOD) เมื่อพิสูจน์ได้ว่าความสัมพันธ์ของค่าระดับการอิ่มตัวของของเหลวและค่าความหนาแน่นเชิง


แสงเฉลี่ยเป็นแบบเส้นตรง (Linear relationship) จะใช้วิธีการวิเคราะห์ภาพถ่ายอย่างง่าย (Simplified Image
Analysis Method) (Flores et al., 2011) ซึ่งเป็นวิธีการทดสอบแบบไม่ทําลาย, ปลอดภัย, และสามารถใช้ใน
การประเมินค่าระดับการอิ่มตัวของของเหลวได้ภายใต้สภาพพลวัตไปใช้ในการประมาณค่าระดับการอิ่มตัวของ
ของเหลวในการศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงระดับการไหลของน้ําใต้ดินในแนวนอนที่มีการซึมผ่านของน้ํามัน
เชื้อเพลิงในตัวกลางที่เป็นเนื้อเดียวกัน

1.2 วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
 เพื่อศึกษาพฤติกรรมของน้ํามันเชื้อเพลิงที่ไหลซึมผ่านทรายที่สภาวะความดันต่างๆ
 เพื่อศึกษาผลกระทบจากความหนาแน่นของดินทรายและระดับความลึกของดินทรายที่มีต่อคุณสมบัติด้าน
การไหลซึมผ่านของน้ํามันเชื้อเพลิง
 เพื่อศึกษาการไหลซึมผ่านจากเส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับน้ํา (Soil water characteristic curve)
 เพื่อศึกษาปริมาณการตกค้างของน้ํามันเชื้อเพลิงหลังการไหลซึมผ่านเสร็จสิ้น จากเส้นโค้งลักษณะเฉพาะดิน
กับน้ํา (Soil water characteristic curve)
 เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยและระดับการอิ่มตัวด้วยของเหลวในทราย
โดยการวิเคราะห์ภาพถ่ายเชิงซ้อน (Multispectral Image Analysis Method, MIAM)
 เพื่อศึกษาการไหลซึมของน้ํามันเชื้อเพลิงผ่านทรายที่ไม่อิ่มตัวด้วยน้ําภายใต้สภาวะน้ําขึ้น-น้ําลง โดยใช้
เทคนิคการวิเคราะห์ภาพถ่ายอย่างง่าย (Simplified Image Analysis Method, SIAM)

1.3 ขอบเขตของโครงการวิจัย
งานวิจัยนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้
 ส่วนที่ 1 จะศึกษาการไหลซึมผ่านของน้ํามันเชื้อเพลิงผ่านทรายจากสภาวะที่ทรายอิ่มตัว (Saturated) จน
เป็นสภาวะที่ทรายไม่อิ่มตัว (Unsaturated) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือกระบอกทรงสูงหนึ่งมิติ
(One Dimensional Column) ตัวอย่างทรายที่ใช้ในการทดลองทําการเก็บตัวอย่างที่ระดับความลึก 40
เซนติเมตร และ 70 เซนติเมตร โดยทําการควบคุมความหนาแน่นของตัวอย่างทรายที่ใช้ในการทดลอง 2
ค่า คือ ที่ความหนาแน่นที่ 1.50 และ 1.56 g/cm3 ของเหลวที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วยน้ํากลั่น, น้ํามัน
เบนซินออกเทน 95, น้ํามันแก๊สโซฮอล์ E20, และน้ํามันแก๊สโซฮอล์ E85 หลังจากการทดลองจะนําข้อมูลที่
ได้มาวิเคราะห์เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับน้ํา (Soil water characteristic curve) เพื่อศึกษาลักษณะการ
ไหลซึมผ่านและปริมาณการตกค้างของน้ํามันเบนซินและน้ํามันแก๊สโซฮอล์ เปรียบเทียบกับการไหลซึมผ่าน
และปริมาณการตกค้างของน้ํากลั่น
 ส่วนที่ 2 ศึกษาค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ย (Average Optical Density, AOD) และระดับการอิ่มตัวด้วย
ของเหลวในทรายมาทําการทดลองโดยการผสมดินทรายออตตาวาเบอร์ 3820 (Ottawa #3820), ดินทราย

1-2
บทที่1 บทนํา

ออตตาวาเบอร์ 3821 (Ottawa #3821), และดิ น ทรายชลบุ รี (Chonburi Sand ) กั บ ของเหลว โดย
ของเหลวที่ใช้ในการทดลองคือน้ําและน้ํามันดีเซล ตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองประกอบไปด้วยทรายผสมน้ํา,
ทรายผสมน้ํามันดีเซล, และทรายผสมน้ําและน้ํามันดีเซลที่ระดับอิ่มตัวต่างๆอย่างละ 10 ตัวอย่างเป็นจํานวน
ทั้ ง สิ้ น 90 ตั ว อย่ า ง บรรจุ ตั ว อย่ า งในรู ป ทรงกระบอกมี เ ส้ น ผ่ า นศู น ย์ ก ลาง 15 มิ ล ลิ เ มตรและสู ง 11.8
มิลลิเมตร แล้วทําการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยและระดับการอิ่มตัวด้วย
ของเหลวในทรายโดยการวิเคราะห์ภาพถ่ายเชิงซ้อน (Multispectral Image Analysis Method, MIAM)
เพื่อนําความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ย (Average Optical Density, AOD) และระดับ
การอิ่มตัวของของเหลวในทรายมาทําการศึกษาการไหลซึมของน้ํามันดีเซลผ่านทรายที่ไม่อิ่มตัวด้วยน้ํา
ภายใต้สภาวะน้ําขึ้น-น้ําลง โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ภาพถ่าย
 ส่วนที่ 3 ทําการศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงของอัตราการไหลของน้ําใต้ดินในแนวนอนและการขึ้นลงของ
น้ําใต้ดินที่มีผลต่อการเคลื่อนตัวของน้ํามันดีเซลในตัวกลางพรุนเนื้อเดียวกันในสภาพไม่อิ่มตัวด้วยน้ําโดยใช้
เทคนิควิเคราะห์ภาพถ่ายอย่างง่าย (Simplified Image Analysis Method, SIAM) มาใช้ในการหาระดับ
ความอิ่มตัวของของเหลวและพฤติกรรมการเคลื่อนตัวของน้ํามันดีเซล การทดลองทําการจําลองสภาพการ
ไหลของน้ําใต้ดินที่แตกต่างกัน 6 สภาวะ โดยทําการบรรจุดินทรายออตตาวาเบอร์ 3820 และดินทราย
ออตตาวาเบอร์ 3821 โดยใช้ทรายน้ําหนัก 15 กิโลกรัมบรรจุลงในแท็งก์อะครีลิค มีขนาด 50x60x3.5 ซม.
(มิติภายใน) เพื่อควบคุมความหนาแน่นอยู่ที่ 1.76 กรับต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ส่วนของเหลวที่ใช้ในการ
ทดสอบคือ น้ํา และน้ํามันดีเซล

1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
 ทราบถึงคุณสมบัติไหลซึมผ่านของน้ํามันเบนซินและน้ํามันแก๊สโซฮอล์ ที่สภาวะความดันต่างๆ กัน
 เข้าใจผลกระทบจากความหนาแน่นของดินทรายและระดับความลึกของดินทราย ที่มีต่อคุณสมบัติด้านการ
ไหลซึมผ่านของน้ํามันเบนซินและน้ํามันแก๊สโซฮอล์
 ทราบถึงพฤติกรรมการไหลของน้ํามันเบนซินและน้ํามันแก๊สโซฮอล์ จากเส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับน้ํา
(Soil water characteristic curve)
 ทราบถึงปริมาณการตกค้างของน้ํามันเบนซินและน้ํามันแก๊สโซฮอล์หลังจากการไหลซึมผ่านจากเส้นโค้ง
ลักษณะเฉพาะดินกับน้ํา (Soil water characteristic curve)
 ทราบความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ย (Average Optical Density, AOD) และระดับ
การอิ่มตัวด้วยของเหลวในทรายทดลอง
 ทราบผลของการเปลี่ยนแปลงของอัตราการไหลของน้ําใต้ดินในแนวนอนและการขึ้นลงของน้ําใต้ดินที่มีผล
ต่อการเคลื่อนตัวของน้ํามันดีเซลในตัวกลางพรุนเนื้อเดียวกันในสภาพไม่อิ่มตัวด้วยน้ํา

1-3
บทที่ 2 ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 2 ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.1 Light Non-Aqueous Phase Liquid (LNAPL)


Non-aqueous Phase Liquids (NAPLs) เป็นองค์ ประกอบหนึ่งในปิโตรเลี ยมซึ่งเป็นสารประกอบ
อินทรีย์ที่ได้มาจากธรรมชาติ โดยเกิดจากปฏิกิริยาเคมีและชีวเคมีของสารอินทรีย์ในชั้นใต้ดินลึกเป็นเวลานับ
พันปี ซึ่งสารประกอบของปิโตรเลียม เช่ น ไฮโดรคาร์ บอน และสารประกอบอิ น ทรีย์ อื่นๆของไนโตรเจน
ชัลเฟอร์ และออกซิเจน ปิโตรเลียมสามารถมีได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ (i) ก๊าซธรรมชาติ, (ii) น้ามันดิบ, และ (ii)
ของแข็งยางมะตอย (เกรียงศักดิ์, 2546) โดยปิโตรเลียมนําไปเป็นเชื้อเพลิงเป็นส่วนมาก ถ้าให้เกิดการรั่วไหล
ออกสู่สิ่งแวดล้อมตามที่ต่างๆ ปิโตรเลียมถูกกลั่นมาจากพวกน้ํามันดิบ โดยน้ํามันดิบสารประกอบประกอบด้วย
สารประกอบไฮโดรคาร์บ อน กั บ ไฮโดรเจนเป็ นส่ วนใหญ่ ไฮโดรคาร์ บ อนที่อ ยู่ ใ นน้ํ ามั นดิ บ มี 3 ประเภท
(ปราโมทย์, 2533)
ของเหลวที่ไม่ละลายน้ํา (Non-aqueous Phase Liquids; NAPL’s) ถูกพบอย่างมากในการปนเปื้อน
ชั้นใต้ดินและน้ําใต้ดิน โดยถูกปลดปล่อยออกจากสถานกําจัดมูลฝอยอันตรายและสถานกําจัดมูลฝอยชุมชนที่
ถูกใช้งานมานานหรือมีระบบการจัดการที่มี่ซึ่งส่วนมากปัญหาการปนเปื้อน NAPLs นี้เกี่ยวข้องกับการรั่วซึมของ
ท่อหรือบรรจุภัณฑ์ของปิโตรเลียม ท่อที่เกิดจากการกัดกร่อน บ่อบาดาลที่ร้าง และอุบัติเหตุต่างๆ (Testa,1994;
Cohen and Mercer, 1993) ซึ่ ง NAPLs เหล่ า นี่ ก่ อ ให้ เ กิ ด การปนเปื้ อ นของน้ํ า ใต้ ดิ น ซึ่ ง เป็ น ปั ญ หาสํ า คั ญ
เนื่องจาก NAPLs เกิดการตกค้างภายในชั้นดินและถ้าปริมาณ NAPLs มีมากพอก็จะสามารถก่อให้เกิดการ
เคลื่อนที่ไปสู่ระดับน้ําใต้ดิน (water table) ซึ่งทําให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว โดยปัจจัยสําคัญ
ที่ ก่อให้เกิ ดพฤติก รรมการปนเปื้ อ นที่ต่า งกั น คื อ ความหนาแน่ น ดัง รูปที่ 2-1 ซึ่ง NAPLs สามารถถู ก แบ่ ง
ประเภทได้ต ามความหนาแน่ น เมื่ อ เที ย บกับ น้ํ า โดยความหนาแน่น ของน้ํ า เท่ ากั บ 1 g/cm3 (Testa, 1994)
เนื่ อ งจากน้ํ า มั น เชื้ อ เพลิ ง เป็ น สารประกอบไฮโดรคาร์ บ อนซึ่ ง แยกตั ว จากน้ํ า โดยเรี ย กตามลั ก ษณะของ
สารประกอบนี้ว่า non-aqueous phase liquid (NAPL) โดยมีการแบ่งชนิดของ NAPLตามความหนาแน่นเป็น
2 ชนิดดังนี้
 Light non-aqueous phase liquid (LNAPL) เป็นของเหลวชนิดที่มีน้ําหนักเบา คือมีความหนาแน่นน้อย
กว่าน้ําโดยทั่วไปจะลอยอยู่บนผิวน้ํา เช่น น้ํามันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
 Dense non-aqueous phase liquid (DNAPL) เป็นของเหลวชนิดที่มีความหนาแน่นมากกว่าน้ําโดยทั่วไป
จะจมอยู่ใต้น้ํา เช่น chlorinated solvent
LNAPLs ที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้า (<1 g/cm3) เมื่อเกิดการปนเปื้อนลงสู่ชั้นน้ําใต้ดินจะเกิดสภาพ
การลอยอยู่เหนือระดั บน้ํา ใต้ ดิน เรี ยกสารปนเปื้อนชนิดดั งกล่าวว่ า LNAPLs (Light Nonaqueous Phase
Liquid) ชนิดของ LNAPLs ส่วนมากคือ ปิโตรเลียม ไฮโดรคาร์บอน และผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากกระบวนการกลั่น
เช่น gasoline, diesel และเชื้อเพลิงที่ใช้ในการขนส่งทางอากาศ ส่วนของ NAPLs ที่มีความหนาแน่นมากกว่า
น้ํ า (>1 g/cm3) เรี ย กว่ า DNAPLs (Dense Non-aqueous Phase Liquid) ซึ่ ง เป็ น สารประกอบประเภท
chlorinated solvent (PCBs) และ tar ซึ่ง NAPLs แต่ละชนิดเกิดจากการผสมของสารที่มีความหนาแน่นไม่
2-1
บทที่ 2 ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

เท่ากันได้อย่างหลากหลาย ซึ่งพฤติกรรมของ NAPLs นั้นๆขึ้นอยู่กับสัดส่วนของสารที่เติมลงไปเป็น NAPLs


ชนิดต่างๆ (Hardisty and Özdemiroglu, 2005) ซึ่ง Frenstra and Cherry ได้กล่าวว่าปัจจัยที่ก่อให้เกิดการ
ปนเปื้อนของ NAPLs ขึ้นอยู่กับ
 ปริมาณของ NAPLs ที่ไหลปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม
 ลักษณะพื้นที่ที่ถูก NAPLs ปนเปื้อน
 ระยะเวลาที่ NAPLs ถูกปลดปล่อย
 คุณสมบัติของ NAPLs
 สภาวะของการไหลในชั้นใต้ดิน
โดยในงานวิ จัยนี้ ศึ ก ษาเฉพาะของเหลวที่ ไม่ ล ะลายน้ํา ประเภทความหนานแน่นน้ อ ยกว่ าน้ํ า (Light
Nonaqueous Phase Liquid; LNAPLs )

รูปที่ 2-1 ลักษณะการเคลือ่ นที่ NAPLs ที่แบ่งแยกตามความหนาแน่น คือ LNAPLs และ DNAPLs
(Mercel van der perk, 2006)

เมื่ อ การหกหรื อ รั่ ว ซึ ม ของ LNAPLs ลงสู่ ชั้ น ใต้ ดิ น สารปนเปื้ อ นจะซึ ม ผ่ า นชั้ น ไม่ อิ่ ม ตั ว ด้ ว ยน้ํ า
(Unsaturated Zone) ซึ่ ง เคลื่ อ นที่ ใ นแนวดิ่ ง ด้ ว ยอิ ท ธิ พ ลของแรงโน้ ม ถ่ ว งของโลก (gravitational force)
(Fetter,1999) ความสามารถของสารปนเปื้อนที่เคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วขึ้นอยู่กับความซับซ้อนและความไม่
เป็นระเบี ยบของเม็ดดินหรือหินตะกอนต่างๆ (Lehr et al., 2002) ซึ่งปกติในชั้นใต้ดินจะมีลั กษณะไม่เป็ น
ระเบียบเนื่องมากจากชั้นดินเกิดจากดินหลายชนิดอยู่ร่วมกัน Hardisty and Özdemiroglu (2005) อธิบายว่า
ตัวกลางที่ไม่เป็นระเบียบ (heterogonous media) จะเกิดการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งและเกิดการแผร่กระจายไป
ทางด้านข้างในชั้นไม่อิ่มตัวด้วยน้ํา Domenico and Schwartz (1990) อธิบายว่ารูปแบบการแพร่กระจายของ
สารปนเปื้อนขึ้นอยู่กับบริเวณที่เกิดการปนเปื้อนเช่นเดียวกัน การปล่อยของสารปนเปื้อนในปริมาณมากๆและ

2-2
บทที่ 2 ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ในระยะเวลาอันสั้นสารปนเปื้อนจะสามารถเคลื่อนที่ลงอย่างรวดเร็วและมีการแพร่กระจายออกทางด้านข้างเป็น
รูปกรวยดังรูปที่ 2-2 (บน) แต่เมื่อเปรียบเทียบกับการปลดปล่อยสารปนเปื้อนอย่างช้าๆระยะเวลานานการ
เคลื่อนที่ของสารปนเปื้อนจะเคลื่อนที่ไปตามช่องที่สามารถซึมผ่านไปได้โดยสะดวกมากรูปที่ 2-2 (ล่าง) ซึ่งช่อง
ดังกล่าวนี้อาจเป็นช่องเดี่ยวหรือแขนงก็เป็นได้ เมื่อ LNAPLs เคลื่อนที่ไปสารปนเปื้อนนี้สามารถเกาะที่ผิวของ
อนุภาคเม็ดดินอย่างหลวมๆเรียกว่า sorbed contaminated (Pinder et al., 2006)

รูปที่ 2-2 การเคลื่อนที่ของ LNAPLs (บน) การเคลื่อนที่ของ LNAPLs จากแหล่งที่มีปริมาณและเกิดการไหล


อย่างรวดเร็ว (ล่าง) การเคลื่อนที่ออกจากแหล่งอย่างช้าๆและมีปริมาณของสารปนเปื้อนน้อย
(Domenico and Schwartz, 1990)

2.2 การปนเปื้อนของ LNAPL ในดิน


การปนเปื้อนของ LNAPL ในดินอาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น การรั่วไหลจากถังเก็บน้ํามันใต้ดิน
ถังเก็บในคลังน้ํามันและท่อส่งน้ํามัน การรั่วไหลอาจเกิดขึ้นเนื่องจากการกดทับและการทรุดตัวของฐานราก
เป็นต้น เป็นสาเหตุให้เกิดการแพร่มลพิษสู่ชั้นน้ําใต้ดิน นอกจากนี้การปนเปื้อนอาจเกิดจาก การเทน้ํามันเครื่อง
ที่ใช้แล้วทิ้ง การเกิดอุบัติเหตุบนถนนของรถบรรทุกน้ํามัน การปนเปื้อนของน้ํามันนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย
เช่น ปริมาณที่ปนเปื้อน คุณสมบัติของน้ํามัน โครงสร้างของชั้นดินหรือชั้นหินบริเวณที่เกิดการปนเปื้อน ก่อนที่
น้ํามันจะเกิดการปนเปื้อนลงสู่น้ําใต้ดินได้นั้นจะต้องผ่านชั้นต่างๆ คือ ชั้นดินที่ไม่อิ่มตัวด้วยน้ํา (Vadose zone),
ชั้นคาปิลาลี (Capillary zone) และ ชั้นน้ําใต้ดิน (Saturated zone) ดังแสดงในรูปที่ 2-3

2-3
บทที่ 2 ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

รูปที่ 2-3 การเคลื่อนตัวของ LNAPL ผ่านชั้นดิน (Fetter, 1999)

การเกิดการรั่วไหลจากถังเก็บน้ํามันใต้ดิน (Underground Storage Tank: UST) นั้น เริ่มแรกจะเกิด


การซึมลงสู่ชั้นดินที่ไม่อิ่มตัวด้วยน้ํา (Vadose zone) โดยถ้าการรั่วไหลเกิดขึ้นปริมาณเพียงเล็กน้อยน้ํามันจะถูก
ดูดซับไว้ตามช่องว่างระหว่างอนุภาคของดิน และไม่สามารถไหลซึมผ่านลงไปสู่ชั้นน้ําใต้ดินหรือชั้นดินอิ่มตัวด้วย
น้ํา (Saturated zone) เว้นแต่อนุภาคของดินมีคุณสมบัติในการดูดซับไว้ได้ไม่ดี หรือมีการนําพาลงไปพร้อมกับ
น้ําฝน และในกรณีที่มีการรั่วไหลออกมามากการปนเปื้อนสู่ชั้นน้ําใต้ดินก็มีโอกาสมากเช่นกัน Gangadharan
et al. (1988) พบว่าถ้าค่าสัมประสิทธิ์การซึมน้ําของชั้นดินเป็นแบบเนื้อเดียวกันทุกทิศทาง (Homogeneous
and Isotropic) แล้ว การเคลื่อนตัวของน้ํามันผ่านชั้นดินนี้จะมีรูปทรงเป็นรูปกรวยคว่ํา แต่ถ้าสัมประสิทธิ์ของ
การซึมน้ําของชั้นดินไม่เป็นเนื้อเดียวกัน รูปร่างการเคลื่อนตัวนั้นจะมีรูปร่างเป็นแบบไม่แน่นอน
การเคลื่อนของน้ํามันที่ชั้นคาปิลาลี (Capillary zone) เริ่มแรกจะเคลื่อนที่ตามแนวขวาง แต่เมื่อน้ํามัน
เคลื่อนตัวถึงแถบคาปิลาลี (Capillary fringe) ชั้นของน้ํามันจะหนาขึ้นอันเนื่องมาจากคุณสมบัติของน้ํามันที่ไม่
สามารถละลายน้ํา และเมื่อมีการรวมตัวกันมากจนถึงจุดอิ่มตัวแล้ว น้ํามันจะเริ่มแพร่กระจายไปตามทิศ
ทางการไหลของน้ําใต้ดิน หรือ ตามความลาดชันของพื้นที่ และน้ํามันบางส่วนจะถูกดูดซับไว้ตามช่องว่างของ
อนุภาคดิน (Fetter, 1999)

2.3 การแบ่งชั้นดินตามลักษณะของน้ําใต้ดิน
ลักษณะทางกายภาพของชั้นดินที่เกิดน้ําใต้ดินนั้นสามารถแบ่งออกได้ 2 ชั้น คือ ชั้นไม่อิ่มตัวด้วยน้ํา
(unsaturation zone) และชั้ น อิ่ ม ตั ว ด้ ว ยน้ํ า (saturation zone) (รู ป ที่ 2-4) โดยชั้ น ทั้ ง สองถู ก แบ่ ง ด้ ว ย
เส้นระดับน้ําใต้ดิน (water table) ซึ่งเป็นระดับที่ความดันของน้ําใต้ดิน (hydrostatic pressure) เท่ากับความ
ดันบรรยากาศ (atmospheric pressure) (วีระพล, 2528)

2-4
บทที่ 2 ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

รูปที่ 2-4 การแบ่งชั้นดินตามลักษณะของน้ําใต้ดิน (Domenico, 1990)

2.3.1 ชั้นไม่อิ่มตัวด้วยน้ํา (unsaturation zone)


เนื่องจากชั้นดินนี้ช่องว่างระหว่างอนุภาคของดินประกอบด้วยอากาศและน้ํา จึงนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
aeration zone (วีระพล, 2528) หรือ vadose zone โดยน้ําในเขตนี้เป็นน้ําที่เกาะในช่องว่างของเม็ดดิน หรือ
น้ําที่กําลังอยู่ในระหว่างทางที่จะเคลื่อนลงไปสู่ชั้นอิ่มตัวด้วยน้ํา (saturation zone) น้ําในชั้นนี้จะถูกกระทํา
ด้วยแรงดึงดูดของโมเลกุลด้วยการต่อต้านกับแรงโน้มถ่วง ซึ่งแรงดึงดูดนี้มีผลในระยะทางที่น้อยมากสามารถดึง
น้ําได้ในช่องว่างเล็กๆระหว่างหินและแผ่ตัวออกเป็นฟิล์มบางๆเคลือบบนผิวของหินหรือเม็ดดินนั้นๆ (สํานักอุทก
วิท ยาและบริ ห ารน้ํ า , 2542) ด้ ว ยแรงดึ ง ดู ด ระหว่ า งอนุ ภ าค(adhesive force) น้ํ า ที่อ ยู่ ใ นชั้น ดิ น นี้ เรี ย กว่ า
vadose water หรือ soil moisture ชั้นไม่อิ่มด้วยน้ํานี้สามารถแบ่งย่อยได้อีก 3 ชั้นย่อยโดยเริ่มจากผิวดิน
ด้านบนลงมาถึงระดับน้ําใต้ดิน (ชูโชค, 2535) ได้แก่
- ชั้นดิน-น้ํา (soil-water zone) เป็นชั้นที่อยู่ติดกับพื้นผิวดิน การกระจายของความชื้นนี้จะขึ้นกับสภาพผิว
ดินซึ่งแปรเปลี่ยนตามฤดูกาลและขึ้นกับระดับน้ําใต้ดิน การเคลื่อนที่ของน้ําในชั้นนี้เป็นไปได้ทั้งสองทิศทาง
โดยเคลื่อนที่ลงเมื่อน้ําซึมผ่านลงมาตามแรงโน้มถ่วงและเคลื่อนที่ขึ้นในกรณีที่เกิดการระเหยและการดูดน้า
จากพืช ภายในชั้นนี้อาจอิ่มน้ําได้เป็นครั้งคราวเนื่องจากฝนตกหนักหรือได้รับน้ําจากการชลประทานมาก
เมื่อการเคลื่อนที่ลงของน้ําโดยแรงโน้มถ่วงหยุดแล้ว ปริมาณน้ําในดินของชั้นนี้ เรียกว่า field capacity
และถ้าปริมาณน้ําในดินในชั้นนี้ลดลงไปจนถึงค่าหนึ่งซึ่งพืชไม่สามารถดูดเอาไปใช้ได้แล้ว น้ําที่คงค้างอยู่
เรียกว่า hygroscopic water
- ชั้นกลาง (intermediate zone) เป็นชั้นที่มีความหนาแน่นไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับระดับน้ําใต้ดิน ถ้าระดับน้ํา
ใต้ดินสูงมากอาจไม่มีชั้นนี้ก็เป็นได้ น้ําในชั้นนี้ประกอบด้วยน้ําโดยแรงโน้มถ่วง (gravitational water) จะ
เคลื่อนที่ด้วยแรงโน้มถ่วงของโลก ส่วน pellicular water จะยึดติดอยู่แรง capillary
2-5
บทที่ 2 ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

- ชั้ น คาปิ ล ลารี (capillary fringe หรื อ capillary zone) เป็ น ส่ ว นที่ อ ยู่ เ หนื อ เส้ น ระดั บ น้ํ า ใต้ ดิ น (water
table) เล็กน้อย โดยเริ่มจากระดับน้ําใต้ดินขึ้นไปจนถึงระดับสูงสุดของความชื้นที่จะถูกดึงขึ้นไปด้วยแรงดึง
ประเภทแรงตึงผิว (surface tension) แรงคาปิลลารี (capillary force) และพลังงานผิว (surface energy)
น้ําส่วนใหญ่ที่อยู่ตามช่องว่างดินในชั้นนี้ด้วยแรงตึงผิว (ฉลอง, 2538) การที่น้ําชั้นนี้อยู่สูงกว่าระดับน้ําใต้ดิน
เล็กน้อยเนื่องมาจากความดันในชั้นนี้มีความดันต่ํากว่าความดันบรรยากาศ โดยความสูงของชั้นนี้ขึ้นกับ
ขนาดของช่องว่างของเม็ดดิน ถ้าช่องว่างยิ่งเล็กน้ําสามารถขึ้นไปได้มากซึ่งเรียกว่า capillary rise
ในชั้นดินที่ไม่อิ่มตัวด้วยน้ําภายในชั้นดินนั้นจะมีน้ํารวมอยู่ด้วยโดยน้ําเหล่านี้จะอาศัยอยู่ระหว่างช่องว่าง
ระหว่างเม็ดดิน แต่เราไม่สามารถนําน้ําเหล่านั้นขึ้นมาได้เนื่องจากมีแรงดึงดูดที่ผิวของเม็ดดินหรือจะเรียกว่า
ความดันที่ชื่อว่าแรงดันคาปิลาลี (Capillary pressure) ซึ่งแรงดันจะกระทํากันระหว่างเม็ดดินและผิวน้ําที่หุ้ม
เม็ดดินนั้นไว้ โดยจะมีลักษณะเป็นเส้นโค้งขนานกับผิวของเม็ดดิน ในชั้นดินที่ไม่อิ่มตัวด้วยน้ําค่าแรงดันคาปิลา
ลีจะมี ค่าเป็นลบ แต่เราสามารถอ้างอิงค่าแรงดันคาปิลาลีที่เป็นแรงตึงผิวได้ ในสภาพนี้จะมีค่าเป็นบวก
กําหนดให้ Pw เป็นความดันในส่วนที่เปียกและ Pnw เป็นความดันในส่วนที่แห้งและ Pc เป็นแรงดันคาปิลาลีโดย
มีสมการ
PC  PNW  PW (2-1)
จากรู ป ที่ 2-5 แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง มุ ม รั ศ มี (r') ที่ เ ป็ น ลั ก ษณะคล้ า ยวงกลม โดยสมการที่ (2-2) แสดง
ความสัมพันธ์ระหว่างค่าแรงดันคาปิลาลี (Pc) และค่าแรงตึงที่ผิวหน้าของของเหลว (Surface tension) ()
และ รัศมี (r')

Pc =- cosθ
r' (2-2)

รูปที่ 2-5 รัศมี (r') จากแรงดันคาปิลาลี (Fetter, 1999)

2.3.2 ชั้นอิ่มตัวด้วยน้ํา (saturation zone)


ชั้นอิ่มตัวด้วยน้ํานี้อยู่ต่อจากชั้นชั้นไม่อิ่มตัวด้วยน้ํา (unsaturation zone) มีความหนาแน่นแตกต่างกัน
ไปหลายระดับและแผ่ขยายลงไปจนถึงระดับความลึกของชั้นหินที่ไม่มีช่องว่างทุกช่องว่างรวมถึงรอยแยกหรือ
โพรง ในชั้นนี้จะเต็มไปด้วยน้ําภายใต้แรงดันที่เรียกว่า hydrostatic pressure เป็นชั้นกักเก็บน้ําใต้ดินดังกล่าว
แล้ว ผิวบนของชั้นอิ่มตัวด้วยน้ํานี้จะอยู่ภายใต้แรงกดดันของบรรยากาศซึ่งระดับน้ําสามารถเลื่อนขึ้นลงได้อย่าง
2-6
บทที่ 2 ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

อิสระขึ้นอยู่กับปริมาณน้ําที่เก็บกักไว้ ซึ่งน้ําที่อยู่ใต้สภาวะนี้เรียกว่าชั้นน้ําอิสระ (unconfined ground water)


แต่ ถ้ า ส่ ว นบนของชั้ น นี้ อ ยู่ ใ ต้ แ รงกดดั น ของ hydrostatic pressure ซึ่ ง เกิ ด จากมี ชั้ น หิ น เนื้ อ แน่ น
(impermeable formation) ปิดทับอยู่ด้านบน เรียกว่า ชั้นน้ําภายใต้แรงดัน (confined ground water) หรือ
น้ําบาดาล (artesian water)

2.4 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับน้ํา (Soil water characteristic curve)


รูปที่ 2-6 เรียกว่ ากราฟ Soil water retention curve หรือกราฟ Capillary pressure curve เป็ น
กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Capillary pressure และการอิ่มตัวด้วยน้ํา (Saturation) ของดิน สามารถ
หาได้จากการทดลองโดยทําให้ดินอิ่มตัวด้วยน้ําหรืออยู่ในสภาพที่เปียกเรียกว่า Wetting fluid saturation, Sw
จากนั้นค่อยๆทําให้ดินแห้งโดยเพิ่มความดันเพื่อให้น้ําไหลออก (Drainage) จุด Pd คือจุดที่ความดันสามารถทํา
ให้น้ําเริ่มไหลออกเรียกว่า Displacement imbibitions bubbling pressure หรือ Air entry value เมื่อน้ํา
เริ่มไหลออกก็จะทําให้ค่าของ Wetting fluid saturation, Sw น้อยลงเรื่อยๆ และสภาพของดินจะเปลี่ยนจาก
สภาวะจากดินที่อิ่มตัวด้วยน้ําเป็นสภาวะที่ดินไม่อิ่มตัวด้วยน้ําหรือเรียกว่า Nonwetting fluid saturation ,
Snw จนเส้นการแห้ง (Drying curve) ขึ้นเป็นแนวดิ่ง แสดงว่าที่ความดันสูงกว่านี้ก็ไม่สามารถทําให้น้ําไหลได้
เนื่องจากมีแรงดันคาปิลาลีทําให้มีน้ําเกาะอยู่ที่ผิวของเม็ดดิน โดยระยะของแนวดิ่งถึงเส้นแกน Y เรียกว่า
Irreducible wetting fluid saturation, Swi ส่วนเส้นการเปียก (Imbibitions หรือ wetting curve) คือการ
ทําให้ดินไม่อิ่มตัวด้วยน้ําเปลี่ยนเป็นสภาวะที่ดินอิ่มตัวด้วยน้ํา โดยการทําให้น้ําซึมเข้าไปในชั้นดินดินอิ่มตัว แต่
ค่าของ Wetting fluid saturation, Sw จะได้ค่าน้อยกว่าเดิมเนื่องจากน้ําที่เข้าไปแทนที่ในช่องว่างของเม็ดดิน
ไม่ ส ามารถไล่ อ ากาศที่ ขั ง อยู่ ใ นช่ อ งว่ า งระหว่ า งเม็ ด ดิ น ได้ ทั้ ง หมด จึ ง ไม่ ส ามารถทํ า ให้ ค่ า Wetting fluid
saturation, Sw กลั บ เป็ น เหมื อ นสภาพเดิ ม โดยค่ า ความแตกต่ า งนี้ เ รี ย กว่ า Residual saturation of
nonwetting fluid saturation, Snwr

รูปที่ 2-6 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับน้ํา (Fetter, 1999)


2-7
บทที่ 2 ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

รูปที่ 2-7 เป็นตัวอย่างกราฟ Soil water characteristic curve กราฟ (a) น้ําและอากาศ ใน Medium
sand, (b) อากาศและสาร LNAPL (Trichloroethylene) ใน Medium sand, (c) น้ํ า และอากาศ ใน Fine
sand, และ (d) อากาศและสาร LNAPL (Trichloroethylene) ใน Fine sand

รูปที่ 2-7 ตัวอย่างกราฟ Soil water characteristic curve (Fetter, 1999)

2.5 Soil-water characteristic curve (SWCC) modeling parameters


ตัวแปรที่ใช้ในทางคณิตศาสตร์ในการจําลอง Soil water characteristic curve จะประกอบด้วยจุดที่มี
ส่วนเกี่ยวข้องถึง Water content หรือ Suction ที่สภาวะความถ่วงจําเพาะ และจุดที่ได้จาการทดลองหลายๆ
ครั้งโดยที่ทําการกําหนดค่าที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง นั่นคือเลือกการจับกลุ่มของสมการของเส้นโค้งโดยทั่วไปที่
ทําการกําหนดจุด โดยที่ Saturated water content (  s ) จะบรรยายถึงส่วนทั้งหมดที่ช่องว่างโพรงอากาศ
ในดินถูกแทนที่ด้วยน้ํา ส่วนใหญ่จะเหมือนกับการดูดซึมที่แสดงในเส้นโค้งของกราฟ ส่วน Air entry หรือ
Bubbling ( b ) จะบรรยายถึงแรงดูดที่ทําให้น้ําเริ่มเกิดการไหล โดยที่ปริมาณของ Air entry และ Residual
water content จะสอดคล้องในการสร้างเส้นที่ผ่านระหว่างจุดต่อจุด
จุ ด ประสงค์ ข องโมเดลเพื่ อ ให้ ตั ว แปรทั้ ง หมดสามารถนิ ย ามถึ ง Normalizing water content (  )
(สมการที่ 2-3) ที่ดินอิ่มตัวและประเมินถึงการเปอร์เซ็นต์คงเหลือของของเหลว และสามารถกล่าวได้ว่าปริมาณ
คงเหลือของ Water content (  ) นั้นมีนัยสําคัญต่อปริมาณคงเหลือใน Degree of saturation ( Se ) (โดยที่
 = S e ) (สมการที่ 2-4)

2-8
บทที่ 2 ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

  r
 (2-3)
s  r
S  Sr
Se  (2-4)
1  Sr

2.5.1 สมการของ Book and Corey (BC), 1964


 h 

S e    hb 
h  hb 
(2-5)

 1 h  hb 
โดยที่ S e = Effective Degree of Saturation
h = ค่า Matrix Suction Head (ที่ระดับความสูงต่างๆ)
hb = ค่า Air Entry Head
 = ปริมาณค่าเฉลี่ยของฟองอากาศ

2.5.2 สมการ Van Genuchten (VG), 1980


m
 1 
Se   n   m  1  1/ n  (2-6)
 1   h  
โดยที่  = ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะของความถ่วงจําเพาะ
n = ตัวแปรที่เป็นความสัมพันธ์ของปริมาณค่าเฉลีย่ ของฟองอากาศของดิน
m = ตัวแปรที่เป็นความสัมพันธ์ของลักษณะของเส้นโค้งในกราฟ

2.5.3 สมการของ Kosugi (LN), 1996


 ln  h / hm  
S Q   (2-7)
e
  
โดยที่ Q = Complementary cumulative normal distribution function
hm = ตัวแปรที่เป็นค่าเฉลี่ยความสูงของกราฟ
 = ตัวแปรที่เป็นค่าเฉลี่ยของความถ่วงจําเพาะ
โดยสมการของ Van Genuchten และ Brooks and Corey จะมีความแตกต่างกันอยู่ คือ สมการของ
Van Genuchten เส้นการแห้ง (Drying curve) จะเริ่มจากแรงดันคาปิลาลีที่ศูนย์ จากนั้นจะเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ
ส่วนสมการของ Brooks and Corey เส้นการแห้งจะเริ่มจากแรงดันคาปิลาลี ที่จุด Pd จากนั้นจึงค่อยๆเพิ่มขึ้น
ตามลําดับดังแสดงในรูปที่ 2-8

2-9
บทที่ 2 ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

รูปที่ 2-8 ความแตกต่างของสมการ Van Genuchten และ Brooks and Corey (a) สมการของ Van
Genuchten (b) สมการของ Brooks and Corey (Fetter, 1999)

2.6 วิธีการวิเคราะห์ภาพถ่าย (Image Analysis Method)


2.6.1 การวิเคราะห์ภาพถ่ายเชิงซ้อน (MIAM)
จาก Beer’s Law ว่ า ด้ ว ยเรื่ อ งการผ่ า นได้ ข องแสงคู่ ข นานจากการผ่ า นการฉายรั ง สี แ สงเดี ย ว
(Monochromatic) ผ่านวัสดุตัวกลางที่เป็นเนื้อเดียวกันความยาวของคลื่นแสงจะมีค่าเท่ากันกับความสามารถ
ในการดูดกลืนแสงของวัสดุตัวกลางชนิดนั้นที่เป็นสัดส่วนกับความเข้มเชิงแสง จาก Lambert’s Law ว่าด้วย
เรื่องการผ่านได้ของแสงคู่ขนานแสงคู่ขนานจากการผ่านการฉายรังสีแสงเดียว (Monochromatic) ผ่านวัสดุ
ตัวกลางที่เป็นเนื้อเดียวกัน ค่าความเข้มแสงเท่ากับค่าความดูดกลืนแสงที่เป็นสัดส่วนต่อความยาวคลื่น ในที่นี้
ความสัมพันธ์ของทั้งสองความสัมพันธ์ระบุว่าสําหรับการผ่านได้ของแสงคู่ขนานที่เกิดจากการฉายรังสีแสงเดียว
(Monochromatic) ผ่านวัสดุกลางที่เป็นเนื้อเดียวกันการดูดกลืนแสงจะเป็นสัดส่วนกับค่าของความเข้มแสงและ
ระยะเวลาในการผ่านได้ของแสงขึ้นอยู่กับสารตัวทําละลาย, ความยาวคลื่นและความเข้มแสง จาก Beer’s
Law และ Lambert’s Law จะเกี่ยวข้องกันกับพลังงานของรังสีในลําแสงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับความยาว
ความของคลื่นของลําแสงที่ถูกดูดกลืนไว้ด้วยวัสดุกลาง และความเข้มของแสงตามลําดับ จากความสัมพันธ์ของ
Swinehart (1962) จะได้สมการที่ (2-8)
P
A   log10  abc
P0 (2-8)
เมื่อ A = ความหนาแน่นของแสง
P = ความเข้มของแสง
a = ความสามารถในการดูดกลืนของแสง
b = ระยะของลําแสงในการดูดซับ
c = ความเข้มของแสงที่ถูกดูดกลืนไว้
Po = รังสีไฟฟ้า

2-10
บทที่ 2 ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

Kecharvarzi et al. (2000) ได้นําเสนอการวิเคราะห์ภาพถ่ายเชิงซ้อน (MIAM) เพื่อตรวจสอบค่าการ


กระจายตัวของความเข้มแสงของของไหลภายใต้สภาพพลวัตของน้ํา, LNAPL และอากาศในการทดลองสองมิติ
ในห้องปฏิบัติการเช่นเดียวกับวิธีการส่องผ่านได้ของแสงและวิธีการสะท้อนของแสง ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีการที่ไม่
ทําลายระบบเหมาะสําหรับระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของความหนาแน่นเชิงแสง ยังสามารถช่วย
กําหนดไว้ภายใต้เงื่อนไขของการสะท้อนกลับของแสงได้ดังสมการที่ (2-9) และ (2-10)
D  log10 (  ) (2-9)
Ir

I0 (2-10)
Ir I0
เมื่อ และ เป็นความเข้มของแสงและแสงที่สะท้อนให้เห็นในสีขาวปากติตามลําดับ
ความแตกต่างในการสะท้อนกลับของน้ําและ LNAPL ภายในค่าของความยาวคลื่นของแสงที่แคบๆนั้น
สามารถทํากานวัดได้โดยสเปกโตรมิเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการหาระดับของความอิ่มตัวด้วยของเหลว
เมื่อเปรียบเทียบความเข้มของแสงที่สะท้อนระหว่างความยาวคลื่นแต่จะขึ้นอยู่กับปริมาณของของเหลวที่มีอยู่
ในระบบแต่ในระบบของภาพดิจิตอลได้ทําการแยกความยาวของคลื่นที่ผ่านได้โดยการติดตั้งฟิวเตอร์กรองแสง
ไว้ด้านหน้าของเลนส์กล้อง เพื่อที่จะใช้ประโยชน์ในการสอบเทียบของแต่ละกลุ่มของตัวกลางที่แตกต่างกันไป
ของระดับความอิ่มตัวด้วยน้ํา, อากาศกับ LMAPL, และน้ํากับ LNAPL ซึ่งจะถูกบันทึกเป็นภาพภาพโดยมีการ
ถ่ายภาพที่มีการติดตั้งสีดําและสีขาว รวมทั้งสีเทา ถูกนํามาวางถัดจากตัวอย่างตามเงื่อนไขของการรูปภาพความ
เข้มแสงซึ้งได้ทําการแบ่งโดยใช้ระดับของสีเทา 4096 ซึ่งความหนาแน่นเฉลี่ยของแสงในเฟสของของเหลวและ
LNAPL ถูกกําหนดดังสมการที่ (2-11)
1 1   I rji  
 
N N
D d 
j 1 ji j 1
  log10  0 
N N   I ji  
(2-11)
โดยที่ N คือ จํานวนพิกเซลในรูปภาพที่ทําการวิเคราะห์ (พิกเซล)
i คือ ความถี่ของแสงที่ใช้ในการทดลอง (นาโนเมตร)
Di คือ ความหนาแน่นเชิงแสงของแต่ละพิกเซล (ไม่มีหน่วย)
Irji คือ ความเข้มของแสงที่สะท้อนจากวัตถุในแต่ละพิกเซล (candela)
I0ji คือ ความเข้มของแสงที่สะท้อนจากสีขาวสมบูรณ์ (candela)
Dil  il Sl   il (2-12)
Din  in Sl   in , i= 500, 760, 970 nm (2-13)
ซึ่งในกรณีที่ 1 และ n และ l หมายถึง น้ําและ LNAPL ตามละดับ, i หมายถึง ความยาวของคลื่นจาก
ศูนย์กลางของสามความยาวคลื่นของแสง และ λ กับ β เป็นค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย โดยที่ Kecharvarzi et
al. (2000) กล่าวว่า λ จะขึ้นอยู่กับความพรุนของวัสดุกลางและมีความสัมพันธ์กันแบบเชิงเส้นเท่านั้น ส่วน β
เป็นค่าของการสะท้อนกลับของสื่อกลางที่มีรูพรุนที่แห้งหรือไม่ถูกรบกวนจากการเปลี่ยนแปลงของของไหลแต่
ความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยเป้นฟังก์ชั่นเชิงเส้นของระดับความอิ่มตัวด้วย LNAPL และระดับความอิ่มตัวด้วยน้ํา
สามารถเขียนได้ดังสมการที่ (2-14)

2-11
บทที่ 2 ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

Dinl  il Sl  in Sn  inl (2-14)


เมื่อ D คือความหนาแน่ นเชิ งแสงเฉลี่ยในพื้นที่ๆ สนใจและ  ความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ ยของ
i
nl
i
nl

สื่อกลางที่มีรูพรุน พิจารณาว่ามีค่าเท่ากับสมการที่ (2-14) ของความยาวคลื่นแสง จากสามส่วนที่เกิดจากความ


ยาวคลื่นจะได้สามสมการและสามระดับความอิ่มตัวที่ไม่ทราบค่า การแก้สมการข้างต้นเป็นเพียงสองวงสของ
ความยาวคลื่น i และ k ทําให้เกิดความสัมพันธ์ดังสมการที่ (2-15)
in ( Dknl  2  knl )  kn ( Dknl  2  knl )
Sl 
kn il  inkl
 l ( D nl  2  knl )  kn ( Dknl  2  knl )
Sn  k k
kn il  in kl (2-15)
i, k = 500, 760, 970 nm
เมื่อต้องการลดความแปรปรวนของระดับความอิ่มตัวของของเหลวโดยการทําให้ตัวหารของสมการที่ (2-
15) จะต้องมีขนาดใหญ่นั้นคือค่าสัมประสิทธิ์  จะต้องมีขนาดใหญ่และควรจะแตกต่างกันไปได้สําหรับแต่ละ
ความยาวคลื่นที่เลืออกซึ่งจะขึ้นอยู่กับข้อมูล Kecharvarzi et al. (2000) เป็นที่ชัดเจนว่าการรวมกันของ i =
500 และ k= 760 นาโนเมตร หรือ i= 500 และ k= 970 นาโนเมตร เพื่อที่จะแก้สมการที่ (2-15) ทุกค่า 
และ  สามารถหาได้จากระบบสองเฟสในการบันทึกภาพซึ่งเป็นสิ่งที่สําคัญมากโดยการให้แสงสว่างที่สม่ําเสมอ
กันทั้งระบบที่ทําทดลองต้องมีสภาพของแสงสว่างที่คงที่ตลอดการทดลอง
การวิเคราะห์ภาพถ่ายเชิงซ้อน (MIAM) จะถูกนําไปใช้ในการทดลองเพื่อดูการแทรกซึมและการกระจาย
ตัวของ LNAPL ในสื่อกลางที่มีรูพรุนในระดับความอิ่มตัวด้วยของแล้วต่างๆกัน ส่วนพฤติกรรมการไหลของของ
ไหลชนิดหนึ่งในการทดลองที่ได้อธิบายรายละเอียดโดย Kechavarzi et al. (2005) แต่สําหรับสําหรับสื่อกลาง
ที่มีรูพรุนขั้นตอนการสอบเทียบที่จะครอบคลุมผลของค่าสัมประสิทธิ์ที่จะเป็นไปได้สําหรับการคํานวณค่าระดับ
ความอิ่มตัวของของเหลวจากสมการที่ (2-15) ในระหว่างขั้นตอนการศึกษา 3 หรือ 4 โดยที่ LNAPL จะอยู่ใน
ทรายที่อิ่มตัวด้วยของเหลวบางส่วนในวัสดุที่เป็นเนื้อเดียวกันหรือชั้นของน้ําด้านล่างและช่องว่างคาปิลารีตั้งแต่
20 ถึงประมาณ 50 เซนติเมตร ค่าความแตกต่างระหว่างระดับความอิ่มตัวจะถูกนําไปใช้ในการวัดค่าความ
แตกต่างกันที่ 2.8 – 10.5 % ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการทดลอง

2.6.2 การวิเคราะห์ภาพถ่ายอย่างง่าย (SIAM)


การวิเคราะห์ภาพถ่ายอย่างง่าย (SIAM) (Flores, 2010) ในทํานองเดียวกันกับวิธีการวิเคราะห์ภาพถ่าย
เชิงซ้อน โดยที่ Beer-Lambert Law ในเรื่องการส่งผ่านได้ของแสงที่เป็นความสัมพันธ์เชิงเส้นกันระหว่างความ
หนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ย (Di) และค่าระดับความอิ่มตัวด้วยน้ําและระดับความอิ่มตัวด้วย LNAPL (Sw และ So) ที่
ใช้ในการคํานวณระดับความอิ่มตัวด้วยน้ําและ ระดับการอิ่มตัวด้วย LNAPL และการกระจายตัวของระดับ
ความอิ่ ม ตั ว ของ LNAPL ภายใต้ เ งื่ อ นไขของน้ํ า ใต้ ดิ น ที่มี ค วามผั น ผวนภายในห้ อ งปฏิ บั ติก ารที่ ถู ก ควบคุ ม
สภาพแวดล้อม ซึ่งการวิเคราะห์ภาพถ่ายอย่างง่าย จะเกิดผลกระทบของตัวแปรที่เกิดจากการสะท้อนของแสงที่
ถูกขจัดความจําเป็นในการเตรียมความพร้อมของหลายๆกลุ่มตัวอย่างที่จะเป็นสําหรับการปรับเทียบเชิงเส้น
2-12
บทที่ 2 ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ระนาบการถดถอย ในเวลาเดียวกันยังเป็นการปรับปรุงความถูกต้องสําหรับจุดที่ไกลจากจุดศูนย์กลาง และได้มี


การพัฒนาการประยุกต์วิธีการวิเคราะห์ภาพถ่ายอย่างง่ายให้มีความเรียบง่ายมากขึ้นในเรื่องของกระบวนการที่
ซั บ ซ้ อ นของการสอบเที ย บสํ า หรั บ การวิ เ คราะห์ ภ าพถ่ า ยเชิ ง ซ้ อ น (MIAM) ในการลดความซั บ ซ้ อ นใน
กระบวนการปรับเทียบ แต่การวิเคราะห์ภาพถ่ายอย่างง่าย (SIAM) จะมีความซับซ้อนทางคณิตศาสตร์และการ
วิเคราะห์คํานวณมากกว่าโดยการที่จะมีความไม่ได้เกี่ยวข้องกันหนึ่งชุดของตนเองโดยที่สมการความเกี่ยวของ
(จากภาพที่ถ่ายจากทั้งสองความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน) สําหรับการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ของทั้งแสงเองและ
ปัจจัยอื่นและอื่นๆ
การวิเคราะห์ภาพถ่ายอย่างง่ายเป็นวิธีการที่ช่วยปรับปรุงในเรื่องของการปรับเทียบของกลุ่มตัวอย่าง
แทนที่จะต้องมาทําการปรับเทียบกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกันมากถึง 60 ตัวอย่างหรือมากกว่านั้นมาก และยัง
เป็นวิธีการที่ช่วยในการร่นระยะของการปรับเทียบภาพซึ่งวิธีใหม่ที่ใช้ในการวิเคราะห์ต้องการเพียงแค่การ
ปรับเทียบแค่สามภาพโดยถ่ายจากกล้องแต่ละตัว โดยการศึกษารูปแบบหลักของทรายที่มีอยู่ภายใต้สถานะใด
สถานะหนึ่งเท่านั้นดังสามเงื่อนไขดังที่เกี่ยวข้องต่อไปนี้ ทรายแห้ง (Sw=0% และ So=0%), ทรายอิ่มตัวด้วยน้ํา
(Sw=100% และ So=0%) และทรายที่อิ่มตัวด้วย NAPL (Sw=0% และ So=100%) ดังนั้นทั้งสามเงื่อนไขนี้ทํา
ให้สามตัวแปรที่เป็นสมการเชิงเส้น (รูปที่ 2-10) ซึ่งสามารถนํามาลงจุดโดยไม่จําเป็นต้องปรับเทียบถึง 60
ตัวอย่างที่มีความแตกต่างกัน กับระดับความอิ่มตัวที่แตกต่างกันของน้ําและ LNAPL ขั้นตอนต่อไปจะถูก
นําเสนอโดย Flores (2010) สําหรับการวิเคราะห์รูปถ่ายอย่างง่าย

Dry sand Full water Full LNAPL


S = 0%, S = 0% S = 100%, S = 0% S = 0%, S = 100%
w o w o w o

รูปที่ 2-9 ภาพที่ใช้ในการปรับเทียบ

Flores (2010) ได้ทําการยืนยันว่าทั้งสามจุดที่เกิดจากทรายแห้ง (Sw=0% และ So=0%), ทรายอิ่มตัว


ด้วยน้ํา (Sw=100% และ So=0%) และทรายที่อิ่มตัวด้วย NAPL (Sw=0% และ So=100%) ไม่ใช่สมการเชิงเส้น
ที่ดีนักแต่เพื่อที่จะกําหนดสมการถดถอยจากสมการที่ (2-16)  knl ซึ่งเป็นค่าจากสมการความหนาแน่นเชิงแสง
เฉลี่ยของทรายแห้งเป็นจุดที่หนึ่ง, จุดที่สองคือระดับความอิ่มตัวของทรายกับน้ํา (Sw=100%) และจุดที่สามคือ
ระดับความอิ่มตัวของ LNAPL (So=100%)

2-13
บทที่ 2 ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 Di   Di10  Di00  .S w   Di01  Di00  .So  Di00 


 D    10 
 j  mn  D j  D j  .S w   D j  D j  .So  D j  mn
00 01 00 00

(2-16)
เมื่อ m และ n คือ ขนาดของเมทริกซ์
[Di] และ [Dj] คือ ค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยของแต่ละองค์ประกอบในแต่ละความยาวคลื่น i และ j
[Di00]mn and [Dj00]mn คือ ความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยขององค์ประกอบของทรายแห้ง
10 10
[Di ]mn and [Dj ]mn คือ ความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยขององค์ประกอบของที่อิ่มตัวด้วยน้ํา
[Di01]mn and [Dj01]mn คือ ความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยขององค์ประกอบของที่อิ่มตัวด้วย LNAPL

Fully
saturated

Fully
saturated

Dry sand

รูปที่ 2-10 ระนาบของสมการ

2.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
Robert et al. (2007) ทําการทดลองหาเส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับน้ํา โดยใช้กระบอกทรงกลมสูง
183 เซนติเมตร (รูปที่ 2-11) ทําการทดลองหาความสัมพันธ์ระหว่าง น้ํา อากาศ และ ทรายหยาบ ทําการ
ทดลองเพื่อหาเส้นการแห้ง (Drying curve) โดยทําให้ตัวอย่างทรายหยาบอิ่มตัวด้วยน้ํา แล้วทําการระบายน้ํา
รอจนกว่าน้ําจะหยุดไหล บันทึกค่าต่างๆ และนํามาเขียนกราฟความสัมพันธ์เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับน้ํา
เมื่อนําผลการทดลองมาเปรียบเทียบกับการทดสอบมาตรฐานโดยใช้เครื่องอัดความดัน (Tempe cell) พบว่า
ความสัมพันธ์เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับน้ํามีค่าใกล้เคียงกัน

รูปที่ 2-11 กระบอกทรงกลมที่ใช้ในการหาเส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับน้ําของ Robert et al (2007)

2-14
บทที่ 2 ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

Sharma et al. (2003) ทํ า การศึ ก ษาหาเส้ น โค้ ง ลั ก ษณะเฉพาะดิ น กั บ น้ํ า โดยใช้ ส มการของ Van
Genuchten (1980) ในการหาความสัมพันธ์ระหว่าง น้ํา กับ อากาศ อากาศ กับ LNAPL และ LNAPL กับ
อากาศ โดย LNAPL ที่ ใ ช้ ในการทดลองคือ น้ํามันสกั ดจากธรรมชาติ (Mineral Oil) และทรายที่ใ ช้ ในการ
ทดลองเป็นทรายหยาบ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองแสดงในรูปที่ 2-12 โดยเป็นการศึกษาเฉพาะเส้นการแห้ง
(Drying curve)

รูปที่ 2-12 อุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษาเส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับน้ําของ Sharma et al. (2003)

Kamon et al. (2003) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง สัมประสิทธิ์การไหลซึมผ่านได้ (Coefficient of


permeability) ระดับขั้นความอิ่มตัว (Degree of saturation) และแรงดัน (Pressure) ในการเคลื่อนตัวของ
สารเคมีที่เรียกว่า DNAPL (Dense non-aqueous phase liquid) ในดินทราย โดยใช้ Tensiometer ในการ
วัด ค่าเมตริกซ์ดูดน้ํา (Matrix Suction) นอกจากนี้ยังมีการติดตั้ง Electric conductivity probe ในการวัด
ค่าระดับความอิ่มตัวอีกด้วย ความสัมพันธ์ที่ได้จากการทดลองสามารถนํามาเขียนเส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับ
น้ํา โดยใช้สมการของ Van Genuchten (1980) และ Brooks and Corey (1964) และประยุกต์ใช้สมการของ
Lenhard and Parker (1987) เขี ย นเส้ น โค้ ง ลั ก ษณะเฉพาะดิ น กั บ น้ํ า จากการทดลองพบว่ า เส้ น โค้ ง
ลักษณะเฉพาะดินกับน้ําที่ได้จากสมการ Van Genuchten (1980) และ Brooks and Corey (1964) มีความ
แม่นยําพอสมควร ส่วนเส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับน้ําที่ได้จากสมการ Lenhard and Parker (1987) ยังไม่
เป็นที่น่าพอใจ รูปที่ 2-13 แสดงอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองของ Kamon et al. (2003)
วรณัฐ (2549) ได้ ศึ กษาพฤติ ก รรมการปนเปื้อนของ LNAPL ในชั้นดินที่ไม่ อิ่ม ตัวด้ วยน้ํ าที่มี ค วามไม่
สม่ําเสมอ (heterogeneous) ทางโครงสร้าง ซึ่ง LNAPL ที่ทําการศึกษาคือ BTEX เป็นสารประกอบของน้ํามัน
เบนซิน 91 โดยการทดลองเป็นการจําลองการรั่วของถังเก็บน้ํามันใต้ดินด้วยวิธีการวิเคราะห์จากภาพดิจิทัล
โดยบันทึกภาพลักษณะการเคลื่อนที่และการถ่ายเทมวลของน้ํามันเชื้อเพลิงด้วยกล้องดิจิทัลยี่ห้อ Casio รุ่น EX-
Z40 4 mega pixels x 3 zoom ที่มีความคมชัดสูง ดังแสดงในภาพที่ 2-16 ซึ่งในการทดลองมีการถ่ายภาพ
ของการเคลื่ อ นตั ว ของน้ํ า มั น เชื้ อ เพลิ ง ในระยะทางในแนวตั้ ง และแนวนอน จากนั้ น นํ า ผลที่ ไ ด้ ม าทํ า การ
ประมวลผล โดยการใช้โปรแกรม Mathlab v.7 เพื่อหาค่าเชิงปริมาณ
2-15
บทที่ 2 ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

รูปที่ 2-13 อุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษาเส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับน้ําของ Kamon et al. (2003)

รูปที่ 2-16 LNAPL plume น้ํามัน ซึ่งบันทึกภาพจากภาพถ่ายดิจิทัล (วรณัฐ, 2549)

จากการศึกษาพบว่าเมื่อเกิดการรั่วไหลของน้ํามันเบนซิน91 (LNAPL) จากถังกักเก็บใต้ดิน พบว่าใน


ช่ ว งแรก LNAPL จะเคลื่ อ นที่ ใ นแนวดิ่ ง และแนวระนาบ เท่ า ๆ กั น ในเวลาต่ อ มาเมื่ อ LNAPL เคลื่ อ นที่ ถึ ง
capillary fringe ถ้ามีแรง capillary มากกว่าแรงโน้มถ่วงและแรงหนืด จะทําให้ LNAPL ไม่เคลื่อนที่ในแนวดิ่ง
แต่จะเกิดการเคลื่อนที่ในแนวระนาบแทนและเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งการเคลื่อนที่ของ LNAPL ทั้งในแนวดิ่ง
และแนวระนาบจะหยุดการเคลื่อนที่(immobilization) เนื่องจากทรายอิ่มตัวไปด้วยน้ํามัน หลังจากนั้นเมื่อมี
การลดระดับน้ําลง พบว่า LNAPL จะเคลื่อนที่ลงในแนวดิ่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วง ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ระดับ
น้ําลดลงทําให้ช่องว่างของทรายเพิ่มขึ้นทําให้ LNAPL สามารถเคลื่อนที่ได้ดีขึ้น และจะมี LNAPL บางส่วนที่
เหลือค้างและเกิดการอิ่มตัวอยู่ในพื้นที่การปนเปื้อน
สุวสันต์ และคณะ (2554) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยและระดับการ
อิ่มตัวด้วยของเหลวในทรายโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ภาพถ่ายตัวอย่างทรายที่ใช้ในการทดสอบคือทราย
มาตรฐานโทยุระ และของเหลวที่ทดสอบคือ ขี้ผึ้งเหลว และ น้ํามันดีเซล ตัวอย่างที่ทดสอบประกอบไปด้วย
ทรายผสมน้ํา ทรายผสมขี้ผิ้งเหลว ทรายผสมน้ํามันดีเซล ทรายผสมน้ําและขี้ผึ้งเหลว และ ทรายผสมน้ําและ
น้ํ า มั น ดี เ ซล ที่ ร ะดั บ การอิ่ ม ตั ว ต่ า งๆ สํ า หรั บ อุ ป กรณ์ ที่ ใ ช้ บ รรจุ ตั ว อย่ า งเป็ น โลหะรู ป ทรงกระบอกมี
เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 ซม.และสูง 1.96 ซม. ความหนาแน่นของทรายตัวอย่างเท่ากับ 1.64 กรัม/ลบ.ซม. น้ําที่ใช้
2-16
บทที่ 2 ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ในการทดสอบถูกย้อมสีฟ้าด้วยบิลเลียนบูลเอฟซีเอฟด้วยอัตราส่วน 1:10,000 ส่วนขี้ผึ้งเหลวและน้ํามันดีเซลถูก


ย้อมสีแดงด้วยเรดซูดานสามด้วยอัตราส่วน 1:10,000 เช่นเดียวกัน การทดลองทําโดยถ่ายภาพตัวอย่างด้วย
กล้องดิจิตอลจํานวน 2 ตัว โดยกล้องแต่ละตัวทําการติดตั้งฟิลเตอร์กรองแสงให้ผ่านที่ 2 ความถี่คือ 450 นาโน
เมตร และ 640 นาโนเมตร รูปถ่ายที่ได้ถูกนําไปวิเคราะห์เพื่อหาค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยในแต่ละช่วง
ความถี่ จากการศึกษาพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยและระดับการอิ่มตัวด้วย
ของเหลวในทรายโดยใช้ เ ทคนิ ค การวิ เ คราะห์ ภ าพถ่ า ยพบว่ า มี ค วามสั ม พั น ธ์ เ ป็ น แบบเชิ ง เส้ น และจาก
ความสัมพันธ์ที่ได้ เมื่อทราบค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยที่ความถี่ 450 นาโนเมตร และ 640 นาโนเมตร
จากการวิเคราะห์ถาพถ่าย จะสามารถนําไปประมาณค่าระดับการอิ่มตัวด้วยของเหลว ณ เวลาใดๆในการศึกษา
วิจัยพฤติกรรมการปนเปื้อนของขี้ผึ้งเหลว และ น้ํามันดีเซลภายในทรายภายใต้สภาพพลวัต ในคอลัมน์ 1 มิติ
และ แท็งก์ 2 มิติ
งานวิจั ยหลายงานได้ทําการศึกษาแบบจําลองแบบ 2 มิติ ซึ่งสรุป แล้วว่าการนํากระจกมาสร้ างเป็น
Reactor นั้นเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดย Whelan et al. (1994) ได้ให้เหตุผลว่ากระจกเป็นพวกชอบน้ํา (hydrophilic)
ที่ป้องกันการเปียกเป็นพิเศษและสามารถแพร่กระจายสารซึ่งเป็นพวกชอบน้ํา (Hydrophobic) ได้ดี อีกทั้ง
กระจกยังสามารถสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงหรือการกระจายตัวของน้ํามันในน้ําได้ดี แต่เนื่องจากกระจกมี
ราคาแพงและยากต่อการเจาะรูเพื่อต่อท่อ ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงนําอะคริลิกซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงกระจกมา
ใช้แทน โดยอะคริลิกที่นํามาใช้นี้จะต้องมีความหนามากพอ เพื่อให้ทนต่อการรับกําลังบดอัดทราย อีกทั้งทน
การกัดกร่อนของน้ํามันได้ โดยข้อดีของการศึกษาแบบ 2 มิติ มีดังนี้
 ทําให้สังเกตเห็นผิวน้ําอิสระ ทิศทางการไหลของน้ํามันเชื้อเพลิง ทั้งลักษณะการไหลคงตัวและการไหลไม่คง
ตัวในสภาพ 2 มิติ ทั้งในแนวกว้างและยาว (Kim and Corapcioglu, 2003)
 สามารถตรวจจุดสมดุลของตําแหน่ง Plume ของน้ํามันเชื้อเพลิง เหนือระดับน้ําตัวกลางเปียกได้ (Schroth
et al., 1995)
 สามารถลอกเลียนแบบการเคลื่อนที่ของของเหลวที่ไม่สามารถละลายผสมกันได้ (Schroth et al., 1995,
1998)
 ค่าเฉลี่ยในแนวตั้งของแบบจําลอง 2 มิติ สามารถพัฒนาเพื่อใช้อธิบายถึงพื้นที่ในการแพร่และการเคลื่อนที่
ของ LNAPLs ที่หกหรือรั่วจากถังเก็บน้ํามันใต้ดิน (Kim and Corapcioglu, 2003)
 Smith and Zhang (2001) ได้ ประยุ กต์ใ ช้วิธี 2 มิติ ในการประเมิ นการทดลองชนิด macroscopicและ
microscopic แทนวิธีการคาดคะเนของ (Chang et al., 1994)
ส่วนข้อเสียในการทดลองแบบ 2 มิติ ก็คือ ยากต่อการควบคุมพารามิเตอร์ต่างๆ เช่นการระเหยของ
น้ํามันเชื้อเพลิง เนื่องจากการทดลองแบบนี้ Reactor จะมีขนาดใหญ่กว่าการทดลองแบบ column มาก ทําให้
มีปัจจัยที่ต้องควบคุมเป็นจํานวนมาก ในการทดลองควรต้องระวังในขั้นตอนการสร้างแบบจําลอง เพราะอัตรา
การไหลจะเปลี่ยนแปลงตามขนาดความกว้างของแบบจําลอง

2-17
บทที่ 3 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับของเหลว

บทที่ 3 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะของดินกับของเหลว

3.1 วัสดุที่ใช้ในการทดลอง
3.1.1 ทราย
ตัวอย่างดินทรายที่ใช้ในการทดลองทําการเก็บตัวอย่างจากบริเวณคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัย
บูรพา จังหวัดชลบุรี ที่ระดับความลึก 0.4 เมตร และ 0.7 เมตร โดยมีระดับความลึกของน้ําใต้ดินที่ 0.8 เมตร
ตัวอย่างทรายที่ได้เป็นตัวอย่างแบบถูกรบกวน (Disturbed sample) ระหว่างทําการเก็บตัวอย่างได้ทําการ
ทดสอบความหนาแน่นในสนาม (ASTM D1556-00) ที่ระดับความลึก 0.4 เมตร และ 0.7 เมตร ตามลําดับ รูป
ที่ 3-1 แสดงการเก็บตัวอย่างดินในสนาม

รูปที่ 3-1 การเก็บตัวอย่างดินในสนาม

เมื่อมองด้วยตาเปล่ามีลักษณะเป็นดินทรายสีน้ําตาลอ่อนมีเศษหินและฝุ่นปะปนอยู่มาก ลักษณะเม็ด
ดินเป็นเม็ดกลม ส่วนดินที่ความลึก 0.7 เป็นดินทรายที่มีสีน้ําตาลเข้มมีความชื้นสูงเนื่องจากอยู่ใต้ระดับน้ําใต้ดิน
ขนาดเม็ดดินค่อนข้างเล็กดังแสดงนรูปที่ 3-2 คุณสมบัติของดินบางอย่างได้แสดงไว้ในตารางที่ 3-1

(a) ดินที่ความลึก 0.4 เมตร (b) ดินที่ความลึก 0.7 เมตร


รูปที่ 3-2 ตัวอย่างดินทรายที่ใช้ในการทดลอง

3-1
บทที่ 3 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับของเหลว

ตารางที่ 3-1 คุณสมบัติของดินทรายตัวอย่าง


ระดับความลึกของดิน (เมตร)
คุณสมบัติ
0.4 0.7
ความหนาแน่นในสนาม (กรัม/ซม.3) 1.97 1.48
ปริมาณความชื้นในดิน (%) 9.40 16.39
ความถ่วงจําเพาะ 2.68 2.65
Soil Classification (USCS) SC SP
สัมประสิทธิ์ของการซึม (ซม./วินาที) - 0.03686

การกระจายขนาดของเม็ดดิน ทดสอบโดยวิธี Sieve Analysis ได้ผลดังแสดงในรูปที่ 3-3 ตัวอย่างดิน


ที่ความลึก 0.4 เมตร มีค่าสัมประสิทธิ์ความสม่ําเสมอ (Coefficient of Uniformity, Cu) หาค่าไม่ได้ และค่า
สั ม ประสิ ท ธิ์ ค วามโค้ ง (Coefficient of Curvature, Cc) หาค่ า ไม่ ไ ด้ เนื่ อ งจากค่ า ที่ D10 มี ค่ า เท่ า กั บ 0
เพราะว่าเป็นทรายที่มีฝุ่นในปริมาณมาก ส่วนตัวอย่างดินที่ความลึก 0.7 เมตร มีค่าสัมประสิทธิ์ความสม่ําเสมอ
(Coefficient of Uniformity, Cu) 1.77 และค่าสัมประสิทธิ์ความโค้ง (Coefficient of Curvature, Cc) 1.10
จั ด เป็ น ดิ น ทรายที่ มี ข นาดคละไม่ ดี (Poorly-Graded Soil) เมื่ อ จํ า แนกดิ น ตามระบบ Unified Soil
Classification จั ด เป็ น ดิ น ประเภท SP (Sand Poorly Graded) จากการทดลองพบว่ าดิ น ที่ ค วามลึ ก 0.4
เมตร เป็นดินที่ประกอบไปด้วยดินเม็ดละเอียด (Fine grained soil) มาก ซึ่งดินจําพวกนี้มีค่าสัมประสิทธ์การ
ซึมผ่านได้ต่ํา เมื่อนํามาทําให้ที่อิ่มตัวด้วยน้ําเวลาปล่อยให้น้ําไหลออกมา น้ําจะไม่ไหลซึมออกมา หรือไหลใน
ปริมาณที่น้อยมาก จึงไม่เหมาะสมที่จะนํามาใช้ในการทดลอง

รูปที่ 3-3 การโค้งการกระจายตัวของอนุภาคดิน

3.1.2 ของเหลว
ของเหลวที่ใช้ในการศึกษาการไหลซึมผ่านประกอบไปด้วย น้ํากลั่น, น้ํามันเบนซิน 95, น้ํามันแก๊ส
โซฮอล์ E20, และ น้ํามันแก๊สโซฮอล์ E85 ดังแสดงในรูปที่ 3-4 ซึ่งเป็นน้ํามันที่มีจําหน่ายที่สถานีบริการน้ํามัน
บริษัท ปตท.โดยมีคุณสมบัติต่างๆ ดังตารางที่ 3-2

3-2
บทที่ 3 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับของเหลว

รูปที่ 3-4 ของเหลวที่ใช้ในการทดลอง

ตารางที่ 3-2 คุณสมบัติของของเหลวที่ใช้ในการทดลอง


ของเหลว สี ความถ่วงจําเพาะ ความหนืด (cm2/sec) จุดวาบไฟ (oC) แรงตึงผึว (mN/m)
น้ํา ใส 1 1.129 - 71.97
แก๊สโซฮอล์ E20 แดง 0.761 0.79 60-90 33.06
แก๊สโซฮอล์ E85 แดงอ่อน 0.789 0.82 50-90 NA
เบนซิน 95 เหลือง 0.71 0.74 70-100 28.88

3.2 อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง
กระบอกทรงสูง (One dimensional column) ที่ใช้มีขนาดพื้นที่หน้าตัด 0.1x 0.1 เมตร มีความสูง 1
เมตร ผลิตจาก อะครีลิค (Acrylics) โดยมีจุดเก็บตัวอย่างดิน (Sampling port ) ทั้งสิ้น 9 จุด แต่ละจุดอยู่ห่าง
กัน 0.1 เมตร ด้านข้างของกระบอกทรงสูงติดตั้ง ท่อพีวีซี ขนาด 6 นิ้ว เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักของเหลวที่ใช้ใน
การทดลอง ด้านล่างของกระบอกทรงสูงติดตั้งรูระบายของเหลว เพื่อให้สามารถระบายของเหลวออกจาก
กระบอกทรงสูงได้ และที่ท่อพีวีซี ได้ทําการติดตั้งวาล์วควบคุมการไหลเพื่อควบคุมปริมาณของเหลวที่เข้าสู่
กระบอกทรงสูงไว้ด้วย กระบอกทรงสูงแสดงในรูปที่ 3-5

รูปที่ 3-5 อุปกรณ์ทดลองการไหลซึมผ่านแบบใช้กระบอกทรงสูง (One dimensional column)

3-3
บทที่ 3 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับของเหลว

ท่ อ เก็ บ ตั ว อย่ า งทราย (Sampling tube) ใช้ ในการเก็ บ ตั ว อย่ า งจากจุ ด เก็ บ ตั ว อย่ า งที่ ติ ด ตั้ ง ไว้ ใ น
กระบอกทรงสูง โดยท่อเก็บตัวอย่างทรายมีความยาวประมาณ 0.3 เมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 นิ้ว ท่อ
เก็บตัวอย่างทรายแสดงไว้ในรูปที่ 3-6

รูปที่ 3-6 ท่อเก็บตัวอย่างทราย (Sampling tube)

3.3 วิธีการทดลอง
ขั้นตอนการเตรียมตัวอย่างในการทดลองการไหลซึมผ่านแบบใช้กระบอกทรงสูงสามารถทําได้โดยทํา
การบรรจุทรายลงในกระบอกทรงสูงและทําการบดอัดแบบเปียก (Wet compaction) โดยบดอัดให้ทรายมี
ความหนาแน่น 1.50 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร จากนั้นทําทรายให้อิ่มตัวด้วยน้ํา โดยให้น้ําซึมขึ้นจากด้านล่าง
อย่างช้าๆ จนซึมมาถึงที่ผิวบนสุดของทราย จากนั้นทิ้งไว้ 30 นาที นําน้ําส่วนเกินทิ้ง ให้น้ําอยู่ในระดับเท่ากับ
ผิ ว ทรายชั้ น บนสุ ด ส่ ว นการทดลองกั บ น้ํ ามั น เบนซิ น ออกเทน 95 และน้ํ ามั น แก๊ ส โซฮอล์ สามารถทํ าได้
เช่นเดียวกันโดยเปลี่ยนของเหลวจากน้ําเป็นน้ํามันเบนซินออกเทน 95 และน้ํามันแก๊สโซฮอล์ E20 และน้ํามัน
แก๊สโซฮอล์ E85 ตามลําดับ โดยในแต่ละของเหลว ความหนาแน่นของทรายจะมีทั้งสิ้น 2 ค่า คือ 1.50 กรัมต่อ
ลูกบาศก์เซนติเมตร และ 1.56 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ตามลําดับ
หลังจากกระบวนการเตรียมการทดลองข้างต้นเสร็จสิ้น สามารถดําเนินการทดลองได้โดยเปิดวาล์ว
ด้านล่างของท่อพีวีซี ให้ของเหลวไหลออกกระบอกทรงสูงโดยปล่อยไว้จนกระทั่งไม่มีของเหลวไหลออกมาจาก
กระบอกทรงสูงจึงทําการเก็บตัวอย่างดินทรายจากจุดเก็บตัวอย่างโดยใช้ท่อเก็บตัวอย่างประมาณ 150 กรัม
ตัวอย่างที่ได้ในแต่ละการทดลองมีทั้งสิ้น 9 ตัวอย่าง นําตัวอย่างดินดังกล่าวไปเข้าเตาอบที่อุณหภูมิ 110±5
องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วนํามาชั่งน้ําหนักเพื่อหาค่าความชื้นที่ระดับต่างๆ กัน ทําการทดลอง
โดยใช้ของเหลวแตกต่างกัน 4 อย่างได้แก่ น้ํากลั่น, น้ํามันเบนซินออกเทน 95, และน้ํามันแก๊สโซฮอล์ E20,
และน้ํามันแก๊สโซฮอล์ E85 ตามลําดับ จากนั้นนําค่าที่ได้จากการทดลองไปเขียนเส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับ
น้ํา

3.4 แผนการทดลอง
แผนการทดลองการไหลซึมผ่านแบบใช้กระบอกทรงสูงแสดงดังรูปที่ 3-7

3-4
บทที่ 3 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับของเหลว

การทดลองการไหลซึม
ผ่ านแบบใช้ กระบอกทรง
สูง

นํา้
แก๊ ซโซฮอลE20 แก๊ ซโซฮอล E85 เบนซิน 95

ดินที่ความหนาแน่ น 1.50 ดินที่ความหนาแน่ น 1.56 ดินที่ความหนาแน่ น 1.50 ดินที่ความหนาแน่ น 1.56 ดินที่ความหนาแน่ น 1.50 ดินที่ความหนาแน่ น 1.56 ดินที่ความหนาแน่ น 1.50 ดินที่ความหนาแน่ น 1.56
g/cm3 g/cm3 g/cm3 g/cm3 g/cm3 g/cm3 g/cm3 g/cm3

รูปที่ 3-7 แผนการทดลองการไหลซึมผ่านแบบใช้กระบอกทรงสูง

3.5 ผลการทดลอง
ของเหลวที่ใช้ในการทดลอง 4 ชนิด คือ น้ํา, น้ํามันเบนซิน95, แก๊สโซฮอล์ E20, และแก๊สโซฮอล์ E85
ผลการทดลองที่ ได้ จะจํ าแนกผลการทดลองของของเหลวแต่ ละชนิ ด โดยการใช้ส มการของ Brooks and
Corey (BC), van Genuchten (VG), และ Kosugi (LN) โดยผล ก ารท ดล องจะแส ดงเป รี ย บ เที ยบ
ความสัมพันธ์ของการไหลซึมผ่านที่ความหนาแน่น 2 ค่า คือ ความหนาแน่น 1.50 และ1.56 กรัมต่อลูกบาศก์
เซนติเมตร ตามลําดับ และมีการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างของเหลวชนิดต่างๆที่ความหนาแน่นต่างกัน
จากการทดลองทําการกําหนดระดับน้ําที่ 0 เซนติเมตรให้อิ่มตัวด้วยน้ําตลอดเวลาจึงกําหนดให้ค่าเปอร์เซ็นต์
การอิ่ ม ตั ว (%S) เท่ า กั บ 100 % และค่ า Volumetric water content ที่ ค วามหนาแน่ น 1.50 กรั ม ต่ อ
ลู ก บาศก์ เซนติ เมตร เท่ า กั บ 0.43 และค่ า Volumetric water content ที่ ค วามหนาแน่ น 1.56 กรั ม ต่ อ
ลูกบาศก์เซนติเมตร เท่ากับ 0.41 ตามลําดับ ส่วนที่ความสูง 10 เซนติเมตรค่าที่ทําการวัดมีค่าน้อยมาก ทําให้
เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับน้ํามีค่าคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง จึงต้องมีการปรับแก้ค่าเพื่ อให้เส้นโค้ง
ลักษณะเฉพาะดินกับน้ํามีความถูกต้องมากขึ้น ผลการทดลองการไหลแบบใช้กระบอกทรงสูงมีดังนี้

3.5.1 ความสัมพันธ์ระหว่างน้ํากับอากาศ
ผลการทดลองความสัมพันธ์ระหว่างน้ํากับอากาศ ที่ความหนาแน่น 1.50 และ 1.56 g/cm3 แสดงใน
ตารางที่ 3-3 และ 3-4 ตามลําดับ เมื่อนําข้อมูลมาเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับขั้นความอิ่มตัว
(Degree of Saturation) กับ ค่าแรงดูด (Suction) และกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Volumetric water
content กับ ค่าแรงดูด (Suction) โดยการใช้สมการของ Brooks and Corey (BC), van Genuchten (VG),
Kosugi (LN) สามารถแสดงดังรูปที่ 3-8 ถึง 3-11 และวิเคราะห์ตัวแปรได้ดังตารางที่ 3-5

3-5
บทที่ 3 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับของเหลว

ตารางที่ 3-3 ผลการทดลองความสัมพันธ์ระหว่างน้ํากับอากาศ ที่ความหนาแน่น 1.50 g/cm3


Capillary Pressure (kPa) Volumetric Water Content,  Degree of Saturation, S%
0.9 0.074 17.277
0.8 0.082 18.996
0.7 0.087 20.153
0.6 0.091 21.279
0.5 0.099 22.947
0.4 0.108 25.032
0.3 0.150 34.971
0.2 0.227 52.873
0.1 *0.40(0.235) *90.000(70.25)
0 *0.430 *100.000

ตารางที่ 3-4 ผลการทดลองความสัมพันธ์ระหว่างน้ํากับอากาศ ที่ความหนาแน่น 1.56 g/cm3


Capillary Pressure (kPa) Volumetric Water Content,  Degree of Saturation, S%
0.9 0.089 21.681
0.8 0.092 22.419
0.7 0.095 23.289
0.6 0.106 25.750
0.5 0.115 28.039
0.4 0.132 32.240
0.3 0.153 37.303
0.2 0.259 63.229
0.1 *0.38(0.308) *90.400(75.25)
0 *0.410 *100.000

3-6
บทที่ 3 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับของเหลว

รูปที่ 3-8 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับขั้นความอิ่มตัว (Degree of Saturation) กับ ค่าแรงดูด


(Suction) ของน้ํากับอากาศ ที่ความหนาแน่นของทราย 1.50 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร

รูปที่ 3-9 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับขั้นความอิ่มตัว (Degree of Saturation) กับ ค่าแรงดูด


(Suction) ของน้ํากับอากาศ ที่ความหนาแน่นของทราย 1.56 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร

3-7
บทที่ 3 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับของเหลว

water+air,Dentity 1.5 g/cm^3


BC model
1
VG model
0.9
0.8
LN model
0.7 measured
Suction,kPa

0.6
0.5
0.4
0.3
0.2
0.1
0
0 0.1 0.2 0.3 0.4 0.5

Volumetic water content

รูปที่ 3-10 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Volumetric water content กับ ค่าแรงดูด (Suction) ของ
น้ํากับอากาศ ที่ความหนาแน่นของทราย 1.50 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร

water+air,Density 1.56 g/cm^3

1 BC model

0.9 VG model
0.8
LN model
0.7
Suction,kpa

measured
0.6
0.5
0.4
0.3
0.2
0.1
0
0 0.1 0.2 0.3 0.4 0.5

Volumetic water content,

รูปที่ 3-11 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Volumetric water content กับ ค่าแรงดูด (Suction) ของ
น้ํากับอากาศ ที่ความหนาแน่นของทราย 1.56 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร

3-8
บทที่ 3 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับของเหลว

ตารางที่ 3-5 แสดงค่าต่างๆที่ได้จากกราฟ รูปที่ 3-8 ถึง 3-11 (VG Model)


Density (g/cm3) Air-entry (kPa) Irreducible saturation, S% Residual Water Content, 
1.50 0.08 19.37 0.082
1.56 0.08 23.18 0.097

3.5.2 ความสัมพันธ์ระหว่าง แก๊สโซฮอล์ E20 กับ อากาศ


ผลการทดลองของความสัมพันธ์ระหว่างแก๊สโซฮอล์ E20 กับอากาศ ที่ความหนาแน่น 1.50 และ 1.56 g/cm3
แสดงในตารางที่ 3-6 และ 3-7 ตามลําดับ เมื่อนําข้อมูลมาเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับขั้นความ
อิ่ ม ตั ว (Degree of Saturation) กั บ ค่ า แรงดู ด (Suction) และกราฟแสดงความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง Volumetric
water content กั บ ค่ า แรงดู ด (Suction) โดยการใช้ ส มการของ Brooks and Corey (BC), van Genuchten
(VG), Kosugi (LN) สามารถแสดงดังรูปที่ 3-12 ถึง 3-15 และวิเคราะห์ตัวแปรได้ดังตารางที่ 3-8

ตารางที่ 3-6 ผลการทดลองความสัมพันธ์ระหว่างแก๊สโซฮอล์ E20 กับอากาศ ที่ความหนาแน่น 1.50 g/cm3


Capillary Pressure (kPa) Volumetric Water content,  Degree of Saturation, S%
0.9 0.045 10.505
0.8 0.049 11.297
0.7 0.051 11.926
0.6 0.060 13.956
0.5 0.058 13.381
0.4 0.065 15.116
0.3 0.069 16.097
0.2 0.115 26.699
0.1 0.234 50.610
0 *0.430 *100.000

3-9
บทที่ 3 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับของเหลว

ตารางที่ 3-7 ผลการทดลองความสัมพันธ์ระหว่างแก๊สโซฮอล์ E20 กับอากาศ ที่ความหนาแน่น 1.56 g/cm3


Capillary Pressure (kPa) Volumetric Water Content,  Degree of Saturation, S %
0.9 0.071 17.394
0.8 0.072 17.700
0.7 0.080 19.732
0.6 0.081 19.871
0.5 0.084 20.573
0.4 0.110 26.879
0.3 0.117 28.683
0.2 0.138 33.867
0.1 0.234 57.212
0 *0.410 *100.000

รูปที่ 3-12 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับขั้นความอิ่มตัว (Degree of Saturation) กับ ค่าแรงดูด


(Suction) ของแก๊สโซฮอล์ E20 กับอากาศ ที่ความหนาแน่นของทราย 1.50 g/cm3

3-10
บทที่ 3 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับของเหลว

รูปที่ 3-13 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับขั้นความอิ่มตัว (Degree of Saturation) กับ ค่าแรงดูด


(Suction) ของแก๊สโซฮอล์ E20 กับอากาศ ที่ความหนาแน่นของทราย 1.56 g/cm3

รูปที่ 3-14 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Volumetric water content กับ ค่าแรงดูด (Suction) ของ
แก๊สโซฮอล์ E20 กับอากาศ ที่ความหนาแน่นของทราย 1.50 g/cm3

3-11
บทที่ 3 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับของเหลว

รูปที่ 3-15 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Volumetric water content กับ ค่าแรงดูด (Suction) ของ
แก๊สโซฮอล์ E20 กับอากาศ ที่ความหนาแน่นของทราย 1.56 g/cm3

ตารางที่ 3-8 ค่าต่างๆที่ได้จากกราฟที่ 3-12 ถึง 3-15 (VG Model)


Density g/cm3 Air-entry (kPa) Irreducible of saturation, S% Residual Water Content, 
1.50 0.03 11.07 0.080
1.56 0.03 17.59 0.071

3.5.3 ผลการทดลองความสัมพันธ์ระหว่าง แก๊สโซฮอล์ E85 กับ อากาศ


ผลการทดลองของความสัมพันธ์ระหว่างแก๊สโซฮอล์ E85 กับอากาศ ที่ความหนาแน่น 1.50 และ 1.56 g/cm3
แสดงดังตารางที่ 3-9 และ 3-10 ตามลําดับ เมื่อนําข้อมูลมาเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับขั้นความ
อิ่ ม ตั ว (Degree of Saturation) กั บ ค่ า แรงดู ด (Suction) และกราฟแสดงความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง Volumetric
water content กั บ ค่ า แรงดู ด (Suction) โดยการใช้ ส มการของ Brooks and Corey (BC), van Genuchten
(VG), และ Kosugi (LN) สามารถแสดงดังรูปที่ 3-16 ถึง 3-19 และวิเคราะห์ตัวแปรได้ดังตารางที่ 3-11

3-12
บทที่ 3 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับของเหลว

ตารางที่ 3-9 ผลการทดลองความสัมพันธ์ระหว่างแก๊สโซฮอล์ E85 กับอากาศ ที่ความหนาแน่น 1.50 g/cm3


Capillary Pressure (kPa) Volumetric Water,  Degree of Saturation, S%
0.9 0.054 12.642
0.8 0.056 13.110
0.7 0.056 13.035
0.6 0.064 14.894
0.5 0.059 13.731
0.4 0.076 17.574
0.3 0.076 17.759
0.2 0.109 25.334
0.1 0.203 47.309
0 *0.430 *100.000

ตารางที่ 3-10 ผลการทดลองความสัมพันธ์ระหว่างแก๊สโซฮอล์ E85 กับอากาศ ที่ความหนาแน่น1.50 g/cm3


Capillary Pressure (kPa) Volumetric Water,  Degree of Saturation, S%
0.9 0.083 20.222
0.8 0.086 20.963
0.7 0.092 22.509
0.6 0.093 22.801
0.5 0.097 23.608
0.4 0.106 25.926
0.3 0.113 27.665
0.2 0.134 32.663
0.1 0.267 65.216
0 *0.410 *100.000

3-13
บทที่ 3 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับของเหลว

รูปที่ 3-16 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับขั้นความอิ่มตัว (Degree of Saturation) กับค่าแรงดูด


(Suction) ของแก๊สโซฮอล์ E85 กับอากาศ ที่ความหนาแน่นของทราย 1.50 g/cm3

รูปที่ 3-17 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับขั้นความอิ่มตัว (Degree of Saturation) กับ ค่าแรงดูด


(Suction) ของแก๊สโซฮอล์ E85 กับอากาศ ที่ความหนาแน่นของทราย 1.56 g/cm3

3-14
บทที่ 3 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับของเหลว

รูปที่ 3-18 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Volumetric water content กับ ค่าแรงดูด (Suction) ของ
แก๊สโซฮอล์ E85 กับอากาศ ที่ความหนาแน่นของทราย 1.50 g/cm3

รูปที่ 3-19 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Volumetric water content กับ ค่าแรงดูด (Suction) ของ
ของแก๊สโซฮอล์ E85 กับอากาศ ที่ความหนาแน่นของทราย 1.56 g/cm3

3-15
บทที่ 3 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับของเหลว

ตารางที่ 3-11 ค่าต่างๆที่ได้จากกราฟ ที่ 3-16 ถึง 3-19 (VG Model)


Density g/cm3 Air-entry (kPa) Irreducible saturation, S% Residual Water Content, 
1.50 0.04 12.64 0.054
1.56 0.04 21.50 0.88

3.5.4 ความสัมพันธ์ระหว่าง น้ํามันเบนซิน 95 กับ อากาศ


ผลการทดลองของความสัมพันธ์ระหว่างเบนซิน 95 กับอากาศ ที่ความหนาแน่น 1.50 และ 1.56 g/cm3
แสดงในตารางที่ 3-12 และ 3-13 ตามลําดับ เมื่อนําข้อมูลมาเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับขั้น
ความอิ่ ม ตั ว (Degree of Saturation) กั บ ค่ า แรงดู ด (Suction) และกราฟแสดงความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง
Volumetric water content กั บ ค่ า แรงดู ด (Suction) โดยการใช้ ส มการของ Brooks and Corey (BC),
van Genuchten (VG), และ Kosugi (LN) สามารถแสดงดังรูปที่ 3-20 ถึง 3-23 และวิเคราะห์ตัวแปรได้ดัง
ตารางที่ 3-14

ตารางที่ 3-12 ผลการทดลองความสัมพันธ์ระหว่างเบนซิน 95 กับอากาศ ที่ความหนาแน่น 1.50 g/cm3


Capillary Pressure (kPa) Volumetric Water,  Degree of Saturation, S%
0.9 0.037 8.583
0.8 0.041 9.590
0.7 0.038 8.883
0.6 0.041 9.448
0.5 0.041 9.482
0.4 0.045 10.431
0.3 0.056 13.088
0.2 0.094 21.915
0.1 0.106 31.200
0 *0.430 *100.000

3-16
บทที่ 3 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับของเหลว

ตารางที่ 3-13 ผลการทดลองความสัมพันธ์ระหว่างเบนซิน 95 กับอากาศ ที่ความหนาแน่น 1.56 g/cm3


Capillary Pressure (kPa) Volumetric Water,  Degree of Saturation, S%
0.9 0.067 16.273
0.8 0.069 16.805
0.7 0.068 16.655
0.6 0.072 17.521
0.5 0.068 16.538
0.4 0.075 18.216
0.3 0.074 18.099
0.2 0.096 23.527
0.1 0.126 30.752
0 *0.410 *100.000

รูปที่ 3-20 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับขั้นความอิ่มตัว (Degree of Saturation) กับค่าแรงดูด


(Suction) ของน้ํามันเบนซิน 95 กับอากาศ ที่ความหนาแน่นของทราย 1.50 g/cm3

3-17
บทที่ 3 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับของเหลว

รูปที่ 3-21 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับขั้นความอิ่มตัว (Degree of Saturation) กับค่าแรงดูด


(Suction) ของน้ํามันเบนซิน 95 กับอากาศ ที่ความหนาแน่นของทราย 1.56 g/cm3

รูปที่ 3-22 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Volumetric water content กับ ค่าแรงดูด (Suction) ของ
น้ํามันเบนซิน 95 กับอากาศ ที่ความหนาแน่นของทราย 1.50 g/cm3

3-18
บทที่ 3 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับของเหลว

รูปที่ 3-23 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Volumetric water content กับ ค่าแรงดูด (Suction) ของ
น้ํามันเบนซิน 95 กับอากาศ ที่ความหนาแน่นของทราย 1.50 g/cm3

ตารางที่ 3-14 ค่าต่างๆที่ได้จากกราฟที่ 3-20 ถึง 3-23 (VG Model)


Density g/cm3 Air-entry (kPa) Irreducible of saturation, S% Residual Water Content, 
1.50 0.02 8.583 0.037
1.56 0.02 16.768 0.069

3.6 วิเคราะห์ผลการทดลอง
เปรียบเทียบผลการทดลองที่ความหนาแน่น 1.50 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตรและความหนาแน่น 1.56
กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ที่ของเหลวน้ํา, แก๊สโซฮอล์ E20, แก๊สโซฮอล์ E85, น้ํามันเบนซิน95 โดยใช้สมการ
ของ Van Genuchten (VG), Brooks and Corey (BC)

3.6.1 เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่าง น้าํ กับ อากาศ ที่ความหนาแน่นของทรายแตกต่างกัน


การเปรียบเที ยบผลการทดลองความสั ม พั น ธ์ระหว่างน้ํ า กั บ อากาศ ที่ ค วามหนาแน่ น ของทรายที่
แตกต่างกันคือ 1.50 และ 1.56 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร แสดงดังรูปที่ 3-24 และ 3-25 ตามลําดับ ค่า Air-
entry และ Irreducible saturation สามารถสรุปความสัมพันธ์ระหว่างน้ํากับอากาศ ที่ความหนาแน่นของ
ทรายที่แตกต่างกันได้ดังตารางที่ 3-15 และ 3-16

3-19
บทที่ 3 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับของเหลว

รูปที่ 3-24 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับขั้นความอิ่มตัว (Degree of Saturation) กับค่าแรงดูด


(Suction) ของน้ํากับอากาศที่ความหนาแน่น 1.50 g/cm3 และความหนาแน่น 1.56 g/cm3

รูปที่ 3-25 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Volumetric water content กับ ค่าแรงดูด (Suction)


ของน้ํากับอากาศ ที่ความหนาแน่น 1.50 g/cm3 และความหนาแน่น 1.56 g/cm3

3-20
บทที่ 3 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับของเหลว

ตารางที่ 3-15 แสดงค่า Air-entry และ Irreducible saturation (BC Model)


Density g/cm3 Air-entry (kPa) Irreducible saturation, S%
1.50 0.08 19.370
1.56 0.08 23.177

ตารางที่ 3-16 แสดงค่า Air-entry และ Residual Water Content (VC Model)
Density g/cm3 Air-entry (kPa) Residual Water Content, 
1.50 0.08 0.082
1.56 0.08 0.097

3.6.2 เปรีย บเที ย บความสั ม พั น ธ์ ระหว่ า ง แก๊ ส โซฮอล์ E20 กั บ อากาศ ที่ ค วามหนาแน่ น ของทราย
แตกต่างกัน
การเปรียบเทียบผลการทดลองความสัมพันธ์ระหว่างแก๊สโซฮอล์ E20 กับ อากาศ ที่ความหนาแน่นของ
ทรายที่แตกต่างกันคือ 1.50 และ 1.56 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร แสดงดังรูปที่ 3-26 และ 3-27ตามลําดับ
ค่า Air-entry และ Irreducible saturation สามารถสรุปความสัมพันธ์ระหว่างแก๊สโซฮอล์ E20 กับอากาศ ที่
ความหนาแน่นของทรายที่แตกต่างกันได้ดังตารางที่ 3-17 และ 3-18

รูปที่ 3-26 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับขั้นความอิ่มตัว (Degree of Saturation) กับค่าแรงดูด


(Suction) ของแก๊สโซฮอล์ E20 กับอากาศที่ความหนาแน่น 1.50 g/cm3 และความหนาแน่น 1.56 g/cm3

3-21
บทที่ 3 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับของเหลว

รูปที่ 3-27 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง volumetric water content กับ ค่าแรงดูด (Suction) ของ
แก๊สโซฮอล์ E20 กับอากาศ ทีค่ วามหนาแน่น 1.50 g/cm3 และความหนาแน่น 1.56 g/cm3

ตารางที่ 3-17 ค่า Air-entry และ Irreducible saturation (BC Model)


Density g/cm3 Air-entry (kPa) Irreducible saturation, S%
1.50 0.04 11.609
1.56 0.04 17.394

ตารางที่ 3-18 ค่า Air-entry และ Residual Water Content (VG Model)
Density g/cm3 Air-entry (kPa) Residual Water Content, 
1.50 0.04 0.050
1.56 0.04 0.071

3.6.3 เปรีย บเที ย บความสั ม พั น ธ์ ระหว่ า ง แก๊ ส โซฮอล์ E85 กั บ อากาศ ที่ ค วามหนาแน่ น ของทราย
แตกต่างกัน
การเปรียบเทียบผลการทดลองความสัมพันธ์ระหว่างแก๊สโซฮอล์ E85 กับ อากาศ ที่ความหนาแน่นของ
ทรายที่แตกต่างกันคือ 1.50 และ 1.56 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร แสดงดังรูปที่ 3-28 และ 3-29 ตามลําดับ
ค่า Air-entry และ Irreducible saturation สามารถสรุปความสัมพันธ์ระหว่างแก๊สโซฮอล์ E85 กับอากาศ ที่
ความหนาแน่นของทรายที่แตกต่างกันได้ดังตารางที่ 3-19 และ 3-20

3-22
บทที่ 3 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับของเหลว

รูปที่ 3-28 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับขั้นความอิ่มตัว (Degree of Saturation) กับค่าแรงดูด


(Suction) ของแก๊สโซฮอล์ E85 กับอากาศที่ความหนาแน่น 1.50 g/cm3 และความหนาแน่น 1.56 g/cm3

รูปที่ 3-29 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง volumetric water content กับ ค่าแรงดูด (Suction) ของ
แก๊สโซฮอล์ E85 กับอากาศ ทีค่ วามหนาแน่น 1.50 g/cm3 และความหนาแน่น 1.56 g/cm3

3-23
บทที่ 3 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับของเหลว

ตารางที่ 3-19 ค่า Air-entry และ Irreducible saturation จากรูปที่ 4.23 (BC Model)
Density g/cm3 Air-entry (kPa) Irreducible saturation, S%
1.50 0.03 12.641
1.56 0.03 21.497

ตารางที่ 3-20 ค่า Air-entry และ Residual Water Content จากรูปที่ 4.24 (VG Model)
Density g/cm3 Air-entry (kPa) Residual Water Content, 
1.50 0.03 0.054
1.56 0.03 0.088

3.6.4 เปรีย บเที ย บความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ างน้ํ า มั น เบนซิ น 95 กั บ อากาศ ที่ ค วามหนาแน่ น ของทราย
แตกต่างกัน
การเปรียบเทียบผลการทดลองความสัมพันธ์ระหว่างน้ํามันเบนซิน 95 กับ อากาศ ที่ความหนาแน่นของ
ทรายที่แตกต่างกันคือ 1.50 และ 1.56 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร แสดงดังรูปที่ 3-30 และ 3-31 ตามลําดับ
ค่า Air-entry และ Irreducible saturation สามารถสรุปความสัมพันธ์ระหว่างแก๊สโซฮอล์ E85 กับอากาศ ที่
ความหนาแน่นของทรายที่แตกต่างกันได้ดังตารางที่ 3-21 และ 3-22

รูปที่ 3-30 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับขั้นความอิ่มตัว (Degree of Saturation) กับค่าแรงดูด


(Suction) ของน้ํามันเบนซิน 95 กับอากาศที่ความหนาแน่น 1.50 g/cm3 และความหนาแน่น 1.56 g/cm3

3-24
บทที่ 3 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับของเหลว

รูปที่ 3-31 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง volumetric water content กับ ค่าแรงดูด (Suction) ของ
น้ํามันเบนซิน 95 กับอากาศ ที่ความหนาแน่น 1.50 g/cm3 และความหนาแน่น 1.56 g/cm3

ตารางที่ 3-21 ค่า Air-entry และ Irreducible saturation (BC Model)


Density g/cm3 Air-entry (kPa) Irreducible saturation, S%
1.50 0.02 8.583
1.56 0.02 16.768

ตารางที่ 3-22 ค่า Air-entry และ Residual Water Content (VG Model)
Density g/cm3 Air-entry (kPa) Residual Water Content, 
1.50 0.02 0.037
1.56 0.02 0.069

ผลการทดลองความสัมพันธ์ของการไหลซึมผ่านของของเหลวทั้ง 4 ชนิดที่ความหนาแน่นของทรายที่
แตกต่างกัน 2 ค่า พบว่าดินทรายที่มีความหนาแน่นมากกว่า (1.56 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร) จะมีการตกค้าง
ของของเหลวมากกว่าดินทรายที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า (1.50 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร) ในทุกของเหลวที่
ใช้ในการทดลอง

3-25
บทที่ 3 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับของเหลว

3.6.5 เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างของเหลวทั้ง 4 ชนิด กับ อากาศ ที่ความหนาแน่นของทราย


เท่ากับ 1.50 g/cm3
การเปรียบเทียบผลการทดลองความสัมพันธ์ของเหลวทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ น้ํากลั่น แก๊สโซฮอล์ E20 แก๊ส
โซฮอล์ E85 และน้ํ ามั น เบนซิ น 95 กับ อากาศ ที่ ค วามหนาแน่ น ของทรายเท่ ากับ 1.50 กรัม ต่ อ ลูก บาศก์
เซนติเมตร แสดงดังรูปที่ 3-32

รูปที่ 3-32 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับขั้นความอิ่มตัว (Degree of Saturation) กับค่าแรงดูด


(Suction) ของน้ํากลั่น มันเบนซิน 95 แก๊สโซฮอล์ E20 และ แก๊สโซฮอล์ E85 กับอากาศที่ความหนาแน่น
1.50 g/cm3 (BC Model)

ค่า Air-entry และ Irreducible saturation จากรูปที่ 3-32 สามารถสรุปความสัมพันธ์ระหว่างน้ํากลั่น


มันเบนซิน 95 แก๊สโซฮอล์ E20 และ แก๊สโซฮอล์ E85 กับอากาศ ที่ความหนาแน่นของทรายเท่ากับ 1.50
g/cm3 ได้ดังตารางที่ 3-23

ตารางที่ 3-23 ค่า Air-entry และ Irreducible saturation (BC Model)


Liquid Air-entry (kPa) Irreducible saturation, S%
Distilled Water 0.08 19.371
Gasohol E85 0.04 12.642
Gasohol E20 0.03 11.068
Gasoline 95 0.02 8.853

3-26
บทที่ 3 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับของเหลว

ค่า Air-entry และ Residual water content จากรูปที่ 3-33 สามารถสรุปความสัมพันธ์ระหว่างน้ํา


กลั่น มันเบนซิน 95 แก๊สโซฮอล์ E20 และ แก๊สโซฮอล์ E85 กับอากาศ ที่ความหนาแน่นของทรายเท่ากับ 1.50
g/cm3 ได้ดังตารางที่ 3-24

รูปที่ 3-33 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Volumetric water content กับ Suction ของน้ํากลั่น มัน
เบนซิน 95 แก๊สโซฮอล์ E20 และ แก๊สโซฮอล์ E85 กับอากาศที่ความหนาแน่น 1.50 g/cm3 (VG Model)

ตารางที่ 3-24 ค่า Air-entry และ Residual water content (VG Model)
Liquid Air-entry (kPa) Residual Water Content, 
Distilled Water 0.08 0.082
Gasohol E85 0.03 0.054
Gasohol E20 0.04 0.050
Gasoline 95 0.02 0.037

3.6.6 เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างของเหลวทั้ง 4 ชนิด กับ อากาศ ที่ความหนาแน่นของทราย


เท่ากับ 1.56 g/cm3
การเปรียบเทียบผลการทดลองความสัมพันธ์ของเหลวทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ น้ํากลั่น, แก๊สโซฮอล์ E20,
แก๊สโซฮอล์ E85, และน้ํามันเบนซิน 95 กับ อากาศ ที่ความหนาแน่นของทรายเท่ากับ 1.56 กรัมต่อลูกบาศก์
เซนติเมตร แสดงดังรูปที่ 3-34

3-27
บทที่ 3 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับของเหลว

รูปที่ 3-34 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับขั้นความอิ่มตัว (Degree of Saturation) กับค่าแรงดูด


(Suction) ของน้ํากลั่น มันเบนซิน 95 แก๊สโซฮอล์ E20 และ แก๊สโซฮอล์ E85 กับอากาศที่ความหนาแน่น
1.56 g/cm3 (BC Model)

ค่า Air-entry และ Irreducible saturation จากรูปที่ 3-34 สามารถสรุปความสัมพันธ์ระหว่างน้ํากลั่น


มันเบนซิน 95 แก๊สโซฮอล์ E20 และ แก๊สโซฮอล์ E85 กับอากาศ ที่ความหนาแน่นของทรายเท่ากับ 1.56
g/cm3 ได้ดังตารางที่ 3-25

ตารางที่ 3-25 ค่า Air-entry และ Irreducible saturation (BC Model)


Liquid Air-entry (kPa) Irreducible saturation, S%
Distilled Water 0.08 23.177
Gasohol E85 0.03 21.497
Gasohol E20 0.04 17.588
Gasoline 95 0.02 16.768

ค่า Air-entry และ Residual water content จากรูปที่ 3-35 สามารถสรุปความสัมพันธ์ระหว่างน้ํา


กลั่น, มันเบนซิน 95, แก๊สโซฮอล์ E20, และ แก๊สโซฮอล์ E85 กับอากาศ ที่ความหนาแน่นของทรายเท่ากับ
1.56 g/cm3 ได้ดังตารางที่ 3-36

3-28
บทที่ 3 เส้นโค้งลักษณะเฉพาะดินกับของเหลว

รูปที่ 3-35 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Volumetric water content กับ ค่า Suction ของน้ํากลั่น
มันเบนซิน 95 แก๊สโซฮอล์ E20 และ แก๊สโซฮอล์ E85 กับอากาศที่ความหนาแน่น 1.56 g/cm3 (VG Model)

ตารางที่ 3-26 ค่า Air-entry และ Residual water content (VG Model)
Liquid Air-entry (kPa) Residual Water Content, 
Distilled Water 0.08 0.097
Gasohol E85 0.03 0.088
Gasohol E20 0.04 0.071
Gasoline 95 0.02 0.068

ผลการทดลองความสัมพันธ์ของการไหลซึมผ่านของของเหลวทั้ง 4 ชนิดที่ความหนาแน่น1.50 และ


1.56 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร พบว่า ที่ทั้งสองความหนาแน่น น้ํากลั่นมีการตกค้างมากที่สุด อันดับรองลงมา
คือ แก๊สโซฮอล์ E85 แก๊สโซฮอล์ E20 และ น้ํามันเบนซิน 95 ตามลําดับ

3-29
บทที่ 4 ผลกระทบของการขึ้นลงของระดับน้ําใต้ดินต่อการปนเปื้อนของน้ํามัน

บทที่ 4 ผลกระทบของการขึ้นลงของระดับน้ําใต้ดินต่อการปนเปื้อนของน้ํามัน

4.1 วัสดุที่ใช้ในการทดลอง
ทรายออตตาวา #3820, ทรายออตตาวา #3821, และทรายชลบุรีถูกนํามาใช้เป็นตัวกลางในการ
ทดลองการไหลซึมผ่านของน้ําและน้ํามันดีเซลและได้แสดงคุณสมบัติทางวิศวกรรมของตัวกลางดังกล่าวแสดงใน
รูปที่ 4-1 และตารางที่ 4-1 ตามลําดับ โดยที่น้ํามันดีเซลถูกย้อมสีด้วย Red Sudan III จาก Nacalai tesque,
Japan (1:10000 โดยน้ํ า หนั ก ) และน้ํ า ที่ ถู ก ย้ อ มน้ํ า เงิ น ด้ ว ย Brilliant Blue FCF จาก Nacalai tesque,
Japan (1:10000 โดยน้ําหนัก) เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพในการสังเกตภาพและบันทึกภาพและยังช่วยเพิ่มการ
ดูดกลืนแสงไฟแต่จะไม่ได้มีผมต่อการเปลี่ยนแปลงของคุณสมบัติขั้นพื้นฐานของน้ําและน้ํามันดีเซล โดยที่
คุณสมบัติของของเหลวที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ถูกนําเสนอในตารางที่ 4-2
ในการที่จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยและระดับความอิ่มตัวของของเหลว
นั้น ระหว่างที่ทําการทดลองนั้นจะต้องควบคุมการระเหยของน้ําและน้ํามันดีเซลให้มีการระเหยให้น้อยที่สุด
หรือไม่เกิดการระเหยเลยทั้งในสภาพที่ย้อมสีและไม่ได้ย้อมสี โดยการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ภาพถ่ายนั้น
ภาพถ่ายของน้ําและน้ํามันดีเซลจะต้องอยู่ในสภาพที่จะต้องการระเหยเป็นเวลาอย่างน้อย 72 ชั่วโมง โดยที่การ
ทดลองนั้นของเหลวทั้งสองถูกบรรจุอยู่ในหลอด Centrifuge 15 มล. (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 มม. และมี
ความสูง 118 มม.) และควบคุมอุณหภูมิห้องให้อยู่ที่ 20 C  และความชื้นสัมพัทธ์ 70% เพื่อให้สามารถระเหย
ได้ถึง 72 ชั่วโมง ในการหาอัตราการระเหยนั้นจะนําน้ําหนักเริ่มต้นที่ถูกวัดและน้ําหนักสุดท้ายหลังจากนั้น 3
วัน มาทําการเปรียบเทียนกันหลังจากการทําการบันทึกผลพบว่าอัตราการระเหยของน้ําและน้ํามันดีเซลนั้นมี
อัตราการระเหยที่ต่ํามาก (น้อยกว่า 3%) จึงสามารถนํามาใช้ในการทดลองได้ อัตราการระเหยของน้ํามันดีเซล
และน้ําถูกนําเสนอในรูปที่ 4-2
100

Ottawa#3820 sand
Passing fraction (%)

80 Ottawa#3821sand
Chonburi sand
60

40

20

0
10 1 0.1 0.01
Equivalent grain size (mm)

รูปที่ 4-1 การกระจายของขนาดคละ

4-1
บทที่ 4 ผลกระทบของการขึ้นลงของระดับน้ําใต้ดินต่อการปนเปื้อนของน้ํามัน

ตารางที่ 4-1 คุณสมบัติทางวิศวกรรมของตัวกลาง


คุณสมบัติ ทราย Ottawa #3820 ทราย Ottawa #3821 ทราย Chonburi
Soil particle density, s (g/cm3) 2.64 2.63 2.66
Uniformity coefficient, Cu 1.47 1.56 2.68
Mean grain size (D50), mm 0.643 0.422 0.397
Hydraulic conductivity, k (cm/s) 2.02x10-2 1.80 x 10-2 3.69 x 10-2
Diesel hydraulic conductivity, kdiesel (cm/s) 1.91x10-2 1.58 x 10-2 -
USCS SP SP SP

ตารางที่ 4-2 คุณสมบัติของของเหลวที่ใช้ในการศึกษา


คุณสมบัติ น้ํา น้ํามันดีเซล
Density, s (g/cm3) 0.998 0.865
Viscosity, (mm2/s) 1.00 7.00
Vapor pressure (mmHg) 0.40 17.54

2.5
Dyed Diesel
Evaporation (%)

2 Diesel
Dyed Water
Water
1.5

0.5

0
0 12 24 36 48 60 72
Time (hr)

รูปที่ 4-2 อัตราการระเหยของน้ํามันดีเซลและน้ํา

4.2 อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง
4.2.1 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยและระดับความอิ่มตัวของของเหลว
ในทราย
Kechavazi et al. (2000) and Flores (2010) พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ย
และระดับความอิ่มตัวของ LNAPL กับน้ํา ซึ่งเป็นพื้นฐานหลักของการหาความสัมพันธ์โดยใช้เทคนิควิเคราะห์
ภาพถ่าย โดยที่ภาพถ่ายนั้นจะถูกนําไปเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์การระดับความอิ่มตัวของน้ําและ
น้ํามันดีเซล ในการศึกษานี้ Kechavazi et al. (2000) ได้ทําการใช้กล้องระบบดิจิตอลที่อยู่ในช่วงอินฟราเรดที่
มีวงสเปกตรัมแคบๆ ในช่วงคลื่นอินฟราเรดที่มองเห็นเป็นช่วงสั้นๆ (10 นาโนเมตร ที่มีขนาดใหญ่และเป็น
ศูนย์กลางที่ 500,760 และ970 นาโนเมตร) และกล้องที่ใช้ 2 ตัว นั้นได้มีการติดตั้งตัวกรองแสงผ่านแถบที่

4-2
บทที่ 4 ผลกระทบของการขึ้นลงของระดับน้ําใต้ดินต่อการปนเปื้อนของน้ํามัน

แตกต่างกันซึ่งความยาวของคลื่นที่ถูกนํามาใช้ (450 นาโนเมตร และ 640 นาโนเมตร) โดยที่ Flores (2010) ได้
ทําการศึกษาในทํานองเดียวกันกับการวิจัยในครั้งนี้
ในการทดลองจะใช้กล้อง Nikon D90 จํานวน 2 ตัว และทําการติดตั้งแผ่นกรองแสงที่มีความยาวของ
คลื่น 450 นาโนเมตร และ 640 นาโนเมตร โดยที่กล้องจะถูกตั้งค่าให้เป็นโหมดถ่ายภาพด้วยตัวเอง (manual
mode) เพื่อที่จะได้ควบคุมความเร็วของชัตเตอร์ไว้ และมีการติดแผ่นสีขาวสมดุล (white balance card) ไว้
เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ กล้องทั้ งสองตั วจะถูกเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านสาย USB และถูกควบคุมการ
ถ่ายภาพด้วยโปรแกรม Nikon Camera control Pro 2. X-Rite และแผ่นสีขาวสมดุลจะถูกติดตั้งอยู่ถัดไปจาก
ตัวอย่างเพื่อที่จะใช้ในการอ้างอิงสีขาวและสีดําในการวิเคราะห์ ส่วนแสงสว่างที่ใช้คือ Floodlights 30 W LED
และห้องที่ใช้ในการทดลองจะถูกควบคุมอุณหภูมิไว้ที่ 20 C  มีค่าความชื้นสัมพัทธ์อยุ่ที่ 70% โดยทําการ
ทดลองตามคําแนะนําของ Flores (2010) ในส่วนของภาพที่ได้ทําการบันทึกนั้นจะเป็นภาพไฟล์ NEF (Nikon
12-bit proprietary RAW format) แล้วถูกทําการดัดแปลงไฟล์เป็นรูปแบบ TIFF format (Tagged Image
File Format) และใช้ ViewNX 2.0. TIFF images ในการวิเคราะห์ภาพด้วยโปรแกรมที่เขียนด้วยโปรแกรม
MATLAB 2007A ในส่วนของการติดตั้งอุปกรณ์ดังแสดงในรูปที่ 4-3

รูปที่ 4-3 การติดตั้งอุปกรณ์ในการทดลองความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยและระดับความ


อิ่มตัวของของเหลว

4.2.2 การศึกษาการไหลซึมของน้ํามันดีเซลผ่านทรายที่ไม่อิ่มตัวด้วยน้ําภายใต้สภาวะน้ําขึ้น-น้ําลง
Acrylics Tank มีขนาด 50x60x3.5 ซม. (ภายในมิติ) ดังที่แสดงในรูปที่ 4-4 โดยถูกออกแบบมาเพื่อใช้
ในการศึกษาครั้งนี้ที่คล้ายกันในส่วนของบทก่อนหน้านี้คือกล้องที่ถูกนํามาใช้ กล้อง Nikon D90 ติดกับแผ่น
กรองแสง 450 นาโนเมตร และ Nikon D90 ติดกับแผ่นกรองแสง 640 นาโนเมตร กล้องทั้ง 2 ถูกตั้งค่าให้
ถ่ายภาพด้วยตนเอง (manual mode) เพื่อให้แสงและความเร็วชัตเตอร์มีความคงที่และมีการติดแผ่นสมดุลสี

4-3
บทที่ 4 ผลกระทบของการขึ้นลงของระดับน้ําใต้ดินต่อการปนเปื้อนของน้ํามัน

ขาว (white balance card) และกล้องจะถูกเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านสาย USB มีการควบคุมกล้องโดยใช้


โปรแกรม Nikon Camera Control Pro2X-Rite และมีการวัดแสงสมดุลสีขาวโดยการติดตั้ง white balance
card อยู่ถัดจากตัวอย่างเพื่อใช้ในการอ้างอิงทั้งหมด 2 สีคือ สีขาวและสีดํา และไฟ Floodlights 120 W LED
ถูกนํามาใช้เพื่อให้แสงสว่างกับตัวอย่างโดยไฟจะถูกเปิดโดยอัตโนมัติก่อนจะทําการบันทึกภาพ 30 วินาที และ
ปิดหลังจากทําการบันทึกภาพไปแล้ว 30 วินาที และมีการติดตั้งฉากสีดําเพื่อหลีกเลี่ยงแสงสะท้อน อุปกรณ์
ติดตั้งจะแสดงในรูปที่ 4-5

รูปที่ 4-4 แบบแทงค์ 2 มิติ

รูปที่ 4-5 การติดตั้งอุปกรณ์ในการทดลอง

4-4
บทที่ 4 ผลกระทบของการขึ้นลงของระดับน้ําใต้ดินต่อการปนเปื้อนของน้ํามัน

4.3 วิธีการทดลอง
4.3.1 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยและระดับความอิ่มตัวของของเหลว
ในทราย
ทําการเตรียมตัวอย่างทั้งหมด 90 ตัวอย่าง โดยตัวอย่างแต่ละตัวอย่างจะถูกผสมกับน้ําและน้ํามันดีเซลใน
สัดส่วนที่แตกต่างกัน แล้วนํามาบรรจุลงภาชนะรูปทรงกระบอกที่มีปริมาตร 25 ลูกบาศก์เซนติเมตร ตัวอย่าง
รูปทรงกระบอก (เส้นผ่านศูนย์กลาง 40 มม., ความสูง 20 มม.) ตัวอย่างแต่ละตัวอย่างจะถูกนํามาวางห่างจะ
หน้ากล้อง 1.5 เมตร และแสงสว่างที่ใช้ในการทดลอง Floodlights 30 W LED และมีการติดแผ่นสมดุลสีขาว
(white balance card) เพื่อใช้ในการอ้างอิงสีขาวและสีดําที่เป็นส่วนหนึ่งของภาพถ่ายแต่ละภาพ กล้องจะถูก
ตั้งค่าให้เป็นโหมดถ่ายภาพด้วยตัวเอง (manual mode) ห้องที่ใช้ในการทดลองจะถูกควบคุมอุณหภูมิไว้ที่ 20
C  และมีความชื้นสัมพัทธ์อยู่ที่ 70% ในส่วนของภาพที่ได้ทําการบันทึกจะเป็นภาพไฟล์ NEF (Nikon 12-bit
proprietary RAW format) แล้ ว ถู ก ทํ า การดั ด แปลงไฟล์ เ ป็ น รู ป แบบ TIFF format (Tagged Image File
Format) และใช้ ViewNX 2.0. TIFF images ในการวิ เ คราะห์ ภ าพด้ ว ยโปรแกรมที่ เ ขี ย นด้ ว ยโปรแกรม
MATLAB 2007A โดยจะทําการเปรียบเทียบค่าระดับความอิ่มตัวของของเหลวของน้ําและน้ํามันดีเซลกับความ
หนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยในแต่ละความยาวคลื่น (450 และ 640 นาโนเมตร)

4.3.2 การศึกษาการไหลซึมของน้ํามันดีเซลผ่านทรายที่ไม่อิ่มตัวด้วยน้ําภายใต้สภาวะน้ําขึ้น-น้ําลง
ในแทงค์ 2 มิตินั้นได้ดําเนินการเพื่อศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงระดับการไหลของน้ําใต้ดินในแนวนอน
ที่มีการซึมผ่านของน้ํามันดีเซลในตัวกลางที่เป็นเนื้อเดียวกันและแตกต่างกัน โดยใช้เทคนิควิเคราะห์ภาพถ่าย
อย่างง่ายมาใช้ในการหาระดับความอิ่มตัวของของเหลวและพฤติกรรมการกระจายตัวของน้ํามันดีเซล การ
ทดลองมีทั้งสิ้น 6 ตัวอย่าง แต่ละตัวอย่างจะมีสภาพที่แตกต่างกันเพื่อที่จะนํามาทําการวิเคราะห์การไหลซึมผ่าน
ของน้ํามันดีเซลผ่านทรายที่ไม่อิ่มตัวด้วยน้ํา การทดสอบแท็งก์จะต้องทําการบันทึกภาพด้วยกล้องแต่ละตัวซึ่ง
จะประกอบไปด้วยแท็งก์ทรายแห้ง, ทรายที่อิ่มตัวด้วยน้ํา และทรายที่อิ่มตัวด้วยน้ํามันดีเซล โดยจะทําการ
บัน ทึ ก ภาพด้ ว ยกั น ทั้ ง หมด 6 ภาพ ซึ่ ง มาจาก [D45000]mn, [D45010]mn, [D45001]mn, [D64000]mn, [D64010]mn และ
[D64001]mn และภาพจากการปรับเทียบสําหรับทราย Ottawa#3820 และ Ottawa#3821 จะถูกนําเสนอในรูป
ที่ 4-6 และ 4-7 ตามลําดับ

4-5
บทที่ 4 ผลกระทบของการขึ้นลงของระดับน้ําใต้ดินต่อการปนเปื้อนของน้ํามัน

(a) (b) (c)


รูปที่ 4-6 การปรับเทียบภาพสําหรับการทดลองทราย Ottawa #3820 T-1, T-2, และ T-3 (a) แท็งก์ที่เต็ม
ไปด้วยทรายแห้ง, (b) แท็งก์ที่เต็มไปด้วยทรายที่อิ่มตัวไปด้วยน้ํา, (c) แท็งก์ที่เต็มไปด้วยทรายที่อิ่มตัวไปด้วย
น้ํามันดีเซล

(a) (b) (c)


รูปที่ 4-7 การปรับเทียบภาพสําหรับการทดลองทราย Ottawa #3821 T-4, T-5, และ T-6 (a) แท็งก์ที่เต็ม
ไปด้วยทรายแห้ง, (b) แท็งก์ที่เต็มไปด้วยทรายที่อิ่มตัวไปด้วยน้ํา, (c) แท็งก์ที่เต็มไปด้วยทรายที่อิ่มตัวไปด้วย
น้ํามันดีเซล

4.4 แผนการทดลอง
การทดสอบในแทงค์ 2 มิติ ที่มีระดับการไหลของน้ํากับน้ํามันดีเซล และการแทรกซึมผ่านของว่างของ
อากาศ ได้ดําเนินการศึกษาตามตารางที่มีผลของการผันผวนและการไหลของน้ําใต้ดินในแนวนอนที่มีผลต่อ
พฤติกรรมการไหลซึมของน้ํามันดีเซลผ่านวัสดุที่เป็นเนื้อเดียวกัน พร้อมกันทั้ง 2 ตัวกลางดังแสดงในตารางที่ 4-
3

4-6
บทที่ 4 ผลกระทบของการขึ้นลงของระดับน้ําใต้ดินต่อการปนเปื้อนของน้ํามัน

ตารางที่ 4-3 การทดสอบการไหลซึมของน้ํามันดีเซลผ่านทราย


การทดสอบ ทราย Hydraulics gradient (i) การขึ้นของระดับน้ํา
T-1 ทราย Ottawa#3820 0 มี
T-2 ทราย Ottawa#3820 0.1 มี
T-3 ทราย Ottawa#3820 0.2 มี
T-4 ทราย Ottawa#3821 0 มี
T-5 ทราย Ottawa#3821 0.1 มี
T-6 ทราย Ottawa#3821 0.2 มี

การทดสอบแท็งก์ 2 มิติ ที่มีการไหลซึมผ่านของน้ํา, น้ํามันดีเซล และอากาศ ได้ดําเนินการศึกษาโดยใช้


วัสดุตัวกลางคือทราย Ottawa #3820 และ Ottawa #3821 การเตรียมทรายทําได้โดยการนําทรายไปล้าง
ด้วยน้ําแล้วนําเข้าไปอบจนแห้งหลังจากนั้นนํามาเทใส่แท็งก์ให้สูง 50 เซนติเมตร และควบคุมความหนาแน่นอยู่
ที่ 1.76 กรับต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งภาพถ่ายของทรายแห้งจะถูกนํามาอ้างอิงมาในการวิเคราะห์ภาพถ่าย
ส่วนในถังตรงกลางทําให้เต็มไปด้วยน้ําอย่างช้าๆและภาพถ่ายจะถูกนํามาอ้างอิงด้วยทรายที่อิ่มตัวด้วยน้ํา ส่วน
ภาพทางด้านซ้ายจะเป็นถังที่ทําให้ทรายอิ่มตัวด้วยน้ํามันซึ่งภาพถ่ายจะถูกนําไปอ้างอิงด้วยทรายที่อิ่มตัวด้วย
น้ํามัน ในส่วนที่คล้ายกับการทดสอบคอลัมน์หนึ่งมิติ โดยการทดลองจะแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน (ดูรูปที่ 4-8):
ระบายน้ําก่อน (t = 0 ถึง 18 ชั่วโมง) หลังจากขั้นตอนแรกให้ทําการเพิ่มระดับน้ํา (t = 18 ถึง 30 ชั่วโมง)
หลังจากนั้นทําการระบายน้ําครั้งที่สอง (t = 30 ถึง 42 ชั่วโมง) และหลังจากการลดระดับน้ําครั้งที่สอง ( t =
42 ถึง 52 ชั่วโมง) ทําการไล่ระดับน้ําสําหรับการทดลองโดยการควบคุมระดับถังด้านข้าง (H1 และ H2) รูปที่
4-9 และระดับของน้ําในถังด้านข้างในแต่ละขั้นตอนที่แสดงในตารางที่ 4-4
 การระบายน้ําครั้งแรก: น้ําภายในถังจะถูกระบายออกหลังจากนั้นอีก 6 ชั่วโมง จะทําการปล่อยน้ํามันดีเซล
100 กรัม โดยที่น้ํามันดีเซลจะถูกปล่อยให้แทรกซึมแบบอิสระ (ทดลอง T-1 และทดลอง T-4, x = 25 ซม.
ทดลอง T-2, T-3, T-5, และ T-6, x = 15 ซม.) น้ํามันดีเซลได้ถูกปล่อยให้ไหลซึมแบบอิสระลงไปในถังเป็น
เวลา 12 ชั่วโมง ซึ่งขั้นตอนนี้จะใช้เวลาทั้งสิ้น 18 ชั่วโมง
 การเพิ่มระดับน้ําครั้งแรก: ปรับระดับของน้ําในถังให้สูงขึ้นอย่างช้าๆที่ระดับ 30 ซม. จากขั้นตอนก่อนหน้า
โดยการกรองน้ําในถังด้านข้างทั้งสองถัง ในระหว่างขั้นตอนการระบายน้ําที่ถูกแทนที่ด้วยน้ํา ขั้นตอนนี้ใช้
เวลาทั้งสิ้น 12 ชั้วโมง
 การระบายน้ําครั้งที่สอง: น้ําและน้ํามันดีเซลภายในถังจะถูกระบายออกอีกครั้งโดยการลดระดับน้ําภายในถัง
ด้านข้ างตามระดั บ ที่ ต้องการดังแสดงในตารางที่ 4-4 โดยที่จะไม่ มี น้ํามั นดี เ ซลเข้ าไปเพิ่ มเติ ม ในถั งอี ก
ขั้นตอนนี้ใช้เวลาทั้งสิ้น 12 ชั้วโมง
 การเพิ่มระดับน้ําครั้งที่สอง: ทําการเพิ่มระดับน้ําในถังให้เท่าเดิมอีกครั้งตามขั้นตอนเพิ่มระดับน้ําครั้งแรก
และในขั้นตอนนี้ใช้เวลาทั้งสิ้น 12 ชั้วโมง

4-7
บทที่ 4 ผลกระทบของการขึ้นลงของระดับน้ําใต้ดินต่อการปนเปื้อนของน้ํามัน

50

40

Water Table (cm)


30

20
100 g of Diesel release

10

0
0 6 12 18 24 30 36 42 48 54
Time (hr)

รูปที่ 4-8 ระดับของน้ํากับระยะเวลาของการทําการทดลอง

การบันทึกภาพจะถูกทําการบันทึกด้วยกล้องดิจิตอลทุกครึ่งชั่วโมงจากกล้อง 2 ตัว กล้องถูกตั้งค่าโหมด


ถ่ายภาพด้วยตนเอง และมีการติดแผ่นสีขาวสมบูรณ์ กล้องถูกควบคุมการถ่าย (Nikon Camera Control
Pro2 ) เพื่อหลีกเลี่ยงการสั่นสะเทือนในขณะถ่ายภาพ และ Floodlights 120 W LED จะถูกเปิดขึ้นก่อน 30
วินาทีก่อนที่จะมีการทําการบันทึกภาพ แล้วมีการควบคุมอุณหภูมิของห้องเอาไว้ที่ 20oC มีความชื้น 70%
เงื่อนไขในการทดลองจะสรุปไว้ที่ตารางที่ 4-4

รูปที่ 4-9 การบรรจุทรายในถังทดสอบ

ตารางที่ 4-4 เงื่อนไขในการทดลอง


ระดับน้ํา
ขั้นตอนการทดสอบ ระยะเวลา i=0 i = 0.1 i = 0.2
หมายเหตุ
h1 h2 h1 h2 h1 h2
Initial Condition 0 hr 50 cm 50 cm 50 cm 50 cm 50 cm 50 cm
First Drainage 0 hr - 18 hr 5 cm 5 cm 10 cm 5 cm 15 cm 5 cm ให้น้ํามันดีเซล 100 g ไหลซึมที่เวลา = 6 hr
First Imbibition 18 hr - 30 hr 35 cm 35 cm 40 cm 35 cm 45 cm 35 cm
Second Drainage 30 hr - 42 hr 5 cm 5 cm 10 cm 5 cm 15 cm 5 cm
Second Imbibition 42 hr - 54 hr 35 cm 35 cm 40 cm 35 cm 45 cm 35 cm

4-8
บทที่ 4 ผลกระทบของการขึ้นลงของระดับน้ําใต้ดินต่อการปนเปื้อนของน้ํามัน

ภาพทั้งหมดที่บันทึกระหว่างการทดลองจะเป็นรูปแบบไฟล์ NEF (Nikon proprietary RAW version


files) ทําการแปลงภาพให้เป็นรูปแบบไฟล์ TIFF ด้วยโปรแกรม View NX2 จากนั้นทําการวิเคราะห์ภาพถ่าย
ด้วยโปรแกรม Matlab เพื่อคํานวณระดับความอิ่มตัวของน้ํา ([Sw]mn) และระดับความอิ่มตัวของน้ํามันดีเซล
([So]mn) ที่เวลาใดๆ

4.5 ผลการทดลอง
4.5.1 ความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยและระดับความอิ่มตัวของของเหลวในทราย
ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความอิ่มตัวของน้ํามันดีเซล (SO), ระดับความอิ่มตัวของน้ํา (Sw) และความ
หนาแน่ น เชิ ง แสงเฉลี่ ย (AOD) ของดิ น ทรายทั้ ง สามชนิ ด แสดงในรู ป ที่ 4-10 ถึ ง 4-12 และสมการแสดง
ความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยและระดับความอิ่มตัวของของเหลวในทรายแต่ละชนิด แสดง
ดังตารางที่ 4-5 ตามลําดับ

(a) (b)

(c) (d)
รูปที่ 4-10 Ottawa #3820 sand แสดงความสัมพันธ์ความหนาแน่นเชิงแสงและระดับความอิ่มตัวของน้ํามัน
ดีเซลและน้ําในแต่ละช่วงของความยาวคลื่น (a) ความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยสําหรับ = 450 นาโนเมตร
(D450), ระดับความอิ่มตัวของดีเซล (So) และระดับความอิ่มตัวของน้ํา (Sw), (b) มุมมองตั้งฉากกับระนาบของ
D450, So และ Sw, (c) ความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยสําหรับ = 640 นาโนเมตร (D640), ระดับความอิ่มตัว
ของดีเซล (So) และระดับความอิ่มตัวของน้ํา (Sw), (d) มุมมองตั้งฉากกับระนาบของ D640, So และ Sw

4-9
บทที่ 4 ผลกระทบของการขึ้นลงของระดับน้ําใต้ดินต่อการปนเปื้อนของน้ํามัน

(a) (b)

(c) (d)
รูปที่ 4-11 Ottawa #3821 sand แสดงความสัมพันธ์ความหนาแน่นเชิงแสงและระดับความอิ่มตัวของน้ํามัน
ดีเซลและน้ําในแต่ละช่วงของความยาวคลื่น (a) ความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยสําหรับ = 450 นาโนเมตร
(D450), ระดับความอิ่มตัวของดีเซล (So) และระดับความอิ่มตัวของน้ํา (Sw), (b) มุมมองตั้งฉากกับระนาบของ
D450, So และ Sw, (c) ความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยสําหรับ = 640 นาโนเมตร (D640), ระดับความอิ่มตัวของ
ดีเซล (So) และระดับความอิ่มตัวของน้ํา (Sw), (d) มุมมองตั้งฉากกับระนาบของ D640, So และ Sw

4-10
บทที่ 4 ผลกระทบของการขึ้นลงของระดับน้ําใต้ดินต่อการปนเปื้อนของน้ํามัน

(a) (b)

(c) (d)
รูปที่ 4-12 ทรายชลบุรี แสดงความสัมพันธ์ความหนาแน่นเชิงแสงและระดับความอิ่มตัวของน้ํามันดีเซลและ
น้ําในแต่ละช่วงของความยาวคลื่น (a) ความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยสําหรับ = 450 นาโนเมตร (D450), ระดับ
ความอิ่มตัวของดีเซล (So) และระดับความอิ่มตัวของน้ํา (Sw), (b) มุมมองตั้งฉากกับระนาบของ D450, So และ
Sw, (c) ความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยสําหรับ = 640 นาโนเมตร (D640), ระดับความอิ่มตัวของดีเซล (So) และ
ระดับความอิ่มตัวของน้ํา (Sw), (d) มุมมองตัง้ ฉากกับระนาบของ D640, So และ Sw

ตารางที่ 4-5 สมการความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยและระดับความอิ่มตัวของของเหลวใน


ทรายแต่ละชนิด
ทราย D450 R2 D640 R2
Ottawa#3820 0.222Sw+0.773So+0.279 0.91 0.128Sw+0.047So+0.230 0.93
Ottaw#3821 0.080Sw+0.567So+0.146 0.71 0.148Sw+0.061So+0.012 0.74
ชลบุรี 0.119Sw-0.208So+0.827 0.19 0.019Sw-0.001So+0.076 0.16

ตารางที่ 4-5 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยและระดับความอิ่มตัวของ


ของเหลวมีความสัมพันธ์แบบเชิงเส้นกันจากความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยของ D450 และ
D640 กับระดับความอิ่มตัวของน้ํามันดีเซล (So) และระดับความอิ่มตัวของน้ํา (Sw) ซึ่งเราจะใช้ค่าสัมประสิทธิ์
ความแม่นยํา (coefficients of correlation, R2) เป็นตัวตัดสินใจในการเลือกชนิดของวัสดุที่จะนําว่าใช้เป็น

4-11
บทที่ 4 ผลกระทบของการขึ้นลงของระดับน้ําใต้ดินต่อการปนเปื้อนของน้ํามัน

ตัวกลางในการศึกษาการซึมของน้ํามันดีเซลผ่านชั้นทรายที่ไม่อิ่มตัวด้วยน้ํา พบว่าค่าสัมประสิทธิ์ความแม่นยํา
ของทราย Ottawa #3820 มี ค่ า เท่ า กั บ 0.91 (D450) และ 0.93 (D640), ทราย Ottawa #3821 มี ค่ า เท่ า กั บ
0.71 (D450) และ 0.74 (D640) และทรายชลบุรี (Chonburi Sand) มีค่าเท่ากับ 0.19 (D450) และ 0.16 (D640)
ซึ่งค่าสัมประสิทธิ์ความแม่นยําที่เป็นที่น่าพอใจในการนํามาเป็นวัสดุกลางในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับ
การไหลของน้ําใต้ดินในแนวนอนที่มีการซึมผ่านของน้ํามันดีเซลจึงเลือกวัสดุที่มีค่าของค่าสัมประสิทธิ์ความ
แม่นยํามากกว่า 0.70 พบว่าทราย Ottawa #3820 และ Ottawa #3821 จึงเหมาะแก่การนําไปศึกษาต่อไป
สําหรับทรายชลบุรีมีค่าค่าสัมประสิทธิ์ความแม่นยําที่ต่ํามากคือมีค่ามีค่าเท่ากับ 0.19 (D450) และ 0.16 (D640)
จึงไม่เหมาะต่อการนําไปศึกษาด้วยวิธีการวิเคราะห์ภาพถ่ายอย่างง่าย (Simplified Image Analysis Method)
เนื่องจากความสัมพันธ์ที่ได้ไม่เป็นแบบเส้นตรง (nonlinear relationship) ทั้งนี้สาเหตุอาจเกิดจากทรายชลบุรี
ที่เป็นทรายที่มีปริมาณของสารอินทรีย์ค่อนข้างสูง

4.5.2 ผลกระทบของการไหลของน้ําใต้ดินและสภาวะน้ําขึ้นน้ําลงต่อการไหลซึมของน้ํามันดีเซลผ่าน
ทรายที่ไม่อิ่มตัวด้วยน้ํา
ผลการทดสอบ Test T-1: ทราย Ottawa #3820, i = 0 แสดงในรูปที่ 4-13 และ 4-14

(a) t = 0 hour

(b) t = 6 hours

(c) t = 18 hours

4-12
บทที่ 4 ผลกระทบของการขึ้นลงของระดับน้ําใต้ดินต่อการปนเปื้อนของน้ํามัน

(d) t = 30 hours

(e) t = 42 hours

(f) t = 54 hours

รูปที่ 4-13 เส้นระดับความอิ่มตัวของน้ํามันดีเซล (ซ้าย), เส้นระดับความอิ่มตัวของน้ําและน้ํามันดีเซล (กลาง)


และเส้นระดับความอิ่มตัวของน้ํา(ขวา) ที่ไหลออกจากจุดกึ่งกลางของจุดรั่วไหลในแต่ละช่วงเวลาในแต่ละการ
ทดลอง

4-13
บทที่ 4 ผลกระทบของการขึ้นลงของระดับน้ําใต้ดินต่อการปนเปื้อนของน้ํามัน

(a)

(b)

รูปที่ 4-14 (a) เส้นระดับความอิ่มตัวของน้ํามันดีเซลในช่วงเวลาต่างๆของการทดลอง T-1, (b) เส้นระดับ


ความอิ่มตัวของน้ําในช่วงเวลาต่างๆของการทดลอง T-1

ผลการทดสอบ Test T-2: ทราย Ottawa#3820, i = 0.1 แสดงในรูปที่ 4-15 และ 4-16

(a) t = 0 hour

(b) t = 6 hours

4-14
บทที่ 4 ผลกระทบของการขึ้นลงของระดับน้ําใต้ดินต่อการปนเปื้อนของน้ํามัน

(c) t = 18 hours

(d) t = 30 hours

(e) t = 42 hours

(f) t = 54 hours

รูปที่ 4-15 เส้นระดับความอิ่มตัวของน้ํามันดีเซล (ซ้าย), เส้นระดับความอิ่มตัวของน้ําและน้ํามันดีเซล (กลาง)


และเส้นระดับความอิ่มตัวของน้ํา(ขวา) ที่ไหลออกจากจุดกึ่งกลางของจุดรั่วไหลในแต่ละช่วงเวลาในแต่ละการ
ทดลอง

4-15
บทที่ 4 ผลกระทบของการขึ้นลงของระดับน้ําใต้ดินต่อการปนเปื้อนของน้ํามัน

(a)

(b)

รูปที่ 4-16 (a) เส้นระดับความอิ่มตัวของน้ํามันดีเซลในช่วงเวลาต่างๆของการทดลอง T-2, (b) เส้นระดับ


ความอิ่มตัวของน้ําในช่วงเวลาต่างๆของการทดลอง T-2

ผลการทดสอบ Test T-3: ทราย Ottawa#3820 sand, i = 0.2 แสดงในรูปที่ 4-17 และ 4-18

(a) t = 0 hour

(b) t = 6 hours

4-16
บทที่ 4 ผลกระทบของการขึ้นลงของระดับน้ําใต้ดินต่อการปนเปื้อนของน้ํามัน

(c) t = 18 hours

(d) t = 30 hours

(e) t = 42 hours

(f) t =54 hours

รูปที่ 4-17 เส้นระดับความอิ่มตัวของน้ํามันดีเซล (ซ้าย), เส้นระดับความอิ่มตัวของน้ําและน้ํามันดีเซล (กลาง)


และเส้นระดับความอิ่มตัวของน้ํา(ขวา) ที่ไหลออกจากจุดกึ่งกลางของจุดรั่วไหลในแต่ละช่วงเวลาในแต่ละการ
ทดลอง

4-17
บทที่ 4 ผลกระทบของการขึ้นลงของระดับน้ําใต้ดินต่อการปนเปื้อนของน้ํามัน

(a)

(b)

รูปที่ 4-18 (a) เส้นระดับความอิ่มตัวของน้ํามันดีเซลในช่วงเวลาต่างๆของการทดลอง T-3, (b) เส้นระดับ


ความอิ่มตัวของน้ําในช่วงเวลาต่างๆของการทดลอง T-3

ผลการทดสอบ Test T-4: ทราย Ottawa#3821 sand, i = 0 แสดงในรูปที่ 4-19 และ 4-20

(a) t = 0 hour

(b) t = 6 hours

4-18
บทที่ 4 ผลกระทบของการขึ้นลงของระดับน้ําใต้ดินต่อการปนเปื้อนของน้ํามัน

(c) t = 18 hours

(d) t = 30 hours

(e) t = 42 hours

(f) t = 54 hours

รูปที่ 4-19 เส้นระดับความอิ่มตัวของน้ํามันดีเซล (ซ้าย), เส้นระดับความอิ่มตัวของน้ําและน้ํามันดีเซล (กลาง)


และเส้นระดับความอิ่มตัวของน้ํา(ขวา) ที่ไหลออกจากจุดกึ่งกลางของจุดรั่วไหลในแต่ละช่วงเวลาในแต่ละการ
ทดลอง

4-19
บทที่ 4 ผลกระทบของการขึ้นลงของระดับน้ําใต้ดินต่อการปนเปื้อนของน้ํามัน

(a)

(b)

รูปที่ 4-20 (a) เส้นระดับความอิ่มตัวของน้ํามันดีเซลในช่วงเวลาต่างๆของการทดลอง T-4, (b) เส้นระดับ


ความอิ่มตัวของน้ําในช่วงเวลาต่างๆของการทดลอง T-4

ผลการทดสอบ Test T-5: ทราย Ottawa#3821 sand, i = 0.1 แสดงในรูปที่ 4-21 และ 4-22

(a) t = 0 hour

(b) t = 6 hours

4-20
บทที่ 4 ผลกระทบของการขึ้นลงของระดับน้ําใต้ดินต่อการปนเปื้อนของน้ํามัน

(c) t = 18 hours

(d) t = 30 hours

(e) t = 42 hours

(f) t = 54 hours

รูปที่ 4-21 เส้นระดับความอิ่มตัวของน้ํามันดีเซล (ซ้าย), เส้นระดับความอิ่มตัวของน้ําและน้ํามันดีเซล (กลาง)


และเส้นระดับความอิ่มตัวของน้ํา(ขวา) ที่ไหลออกจากจุดกึ่งกลางของจุดรั่วไหลในแต่ละช่วงเวลาในแต่ละการ
ทดลอง

4-21
บทที่ 4 ผลกระทบของการขึ้นลงของระดับน้ําใต้ดินต่อการปนเปื้อนของน้ํามัน

(a)

(b)

รูปที่ 4-22 (a) เส้นระดับความอิ่มตัวของน้ํามันดีเซลในช่วงเวลาต่างๆของการทดลอง T-5, (b) เส้นระดับ


ความอิ่มตัวของน้ําในช่วงเวลาต่างๆของการทดลอง T-5

ผลการทดสอบ Test T-6: ทราย Ottawa#3821 sand, i = 0.2 แสดงในรูปที่ 4-23 และ 4-24

(a) t = 0 hour

(b) t = 6 hours

4-22
บทที่ 4 ผลกระทบของการขึ้นลงของระดับน้ําใต้ดินต่อการปนเปื้อนของน้ํามัน

(c) t = 18 hours

(d) t = 30 hours

(e) t = 42 hours

(f) t = 54 hours

รูปที่ 4-23 เส้นระดับความอิ่มตัวของน้ํามันดีเซล (ซ้าย), เส้นระดับความอิ่มตัวของน้ําและน้ํามันดีเซล (กลาง)


และเส้นระดับความอิ่มตัวของน้ํา(ขวา) ที่ไหลออกจากจุดกึ่งกลางของจุดรั่วไหลในแต่ละช่วงเวลาในแต่ละการ
ทดลอง

4-23
บทที่ 4 ผลกระทบของการขึ้นลงของระดับน้ําใต้ดินต่อการปนเปื้อนของน้ํามัน

(a)

(b)

รูปที่ 4-24 (a) เส้นระดับความอิ่มตัวของน้ํามันดีเซลในช่วงเวลาต่างๆของการทดลอง T-6, (b) เส้นระดับ


ความอิ่มตัวของน้ําในช่วงเวลาต่างๆของการทดลอง T-6

4.6 วิเคราะห์ผลการทดลอง
จากการทดลองการไหลซึมของน้ํามันดีเซลผ่านทรายที่ไม่อิ่มตัวด้วยน้ําภายใต้สภาวะน้ําขึ้น-น้ําลง ของ
น้ํามันดีเซลในตัวกลางที่เป็นเนื้อเดียวกันในการหาระดับความอิ่มตัวของของเหลวและพฤติกรรมการกระจายตัว
ของน้ํามันดีเซลพบว่า จากตัวอย่างทดลอง T-1 และ T-4 รายละเอียดของการทดลองดังแสดงในตารางที่ 4-3 ที่
เวลา 18 ชั่วโมง การไหลซึมของน้ํามันดีเซลของตัวอย่างทดลอง T-1 และ T-4 ดังแสดงในรูปที่ 4-25 และ 4-26
ตามลําดับ จะสังเกตได้ว่าการทดลองที่ T-1 น้ํามันดีเซลจะไหลซึมลงมาได้เร็วกว่าและไหลไปได้ไกลจากจุด
รั่วซึมมากกว่าการทดลอง T-4 ที่น้ํามันดีเซลจะไหลซึมได้ช้ากว่ามาก โดยผลของการแตกต่างของการไหลซึม
ดังกล่าวเป็นผลมาจากการที่การทดลองทั้งสองนั้นมีตัวกลางที่เป็นสื่อกลางในการไหลซึมของน้ํามันดีเซลที่
ต่างกันซึ่งตัวอย่างทดลองที่ T-1 และ T-4 มีทราย Ottawa #3820 และ Ottawa #3821 เป็นสื่อกลางในการ
ทดลองตามลําดับ โดยที่ทราย Ottawa #3820 (T-1) จะมีขนาดของเม็ดทรายที่ใหญ่กว่า Ottawa #3821 (T-
4) ที่มีขนาดเม็ดที่เล็กกว่า แต่ทรายทั้งสองชนิดมีค่าความนําชลศาสตร์ (Hydraulic conductivity, k ) และ
อัตราส่วนของช่องว่างระหว่างเม็ดดิน (Void Ratio) ที่ใกล้เคียงกันทําให้ ดังแสดงในตารางที่ 4-1 ซึ่งผลของ
ความแตกต่างของการทดลองทั้งสองนั้นมาจากการที่ทรายที่มีขนาดของเม็ดที่ใหญ่และเล็กนั้นจะมีแรงเสียด
ทานที่ผิวที่แตกต่าง ส่งผลให้ทรายที่มีขนาดเม็ดใหญ่การซึมของน้ํามันดีเซลนั้นจะไหลซึมไปได้ง่ายกว่าและไหล
ซึมตามชั้นของน้ําใต้ไปได้ไกลจากจุดรั่วซึมมาก ส่วนทรายที่มีขนาดเม็ดที่เล็กนั้นน้ํามันดีเซลจะไหลซึมได้ช้ากว่า
และไหลซึมตามชั้นของน้ําใต้ดินได้น้อย

4-24
บทที่ 4 ผลกระทบของการขึ้นลงของระดับน้ําใต้ดินต่อการปนเปื้อนของน้ํามัน

รูปที่ 4-25 การทดลอง T-1 (Ottawa #3820) มีค่า i=0 ที่เวลา 18 ชั่วโมง แสดงระดับความอิ่มตัวของน้ํามัน
ดีเซล (ซ้าย), เส้นระดับความอิ่มตัวของน้ําและน้ํามันดีเซล (กลาง), ระดับความอิ่มตัวของน้ํา (ขวา)

รูปที่ 4-26 การทดลอง T-4 (Ottawa #3821) มีค่า i=0 ที่เวลา 18 ชั่วโมง แสดงระดับความอิ่มตัวของน้ํามัน
ดีเซล (ซ้าย), เส้นระดับความอิ่มตัวของน้ําและน้ํามันดีเซล (กลาง), ระดับความอิ่มตัวของน้ํา (ขวา)

ส่วนในผลของการเปลี่ยนแปลงการไหลของน้ําใต้ดินในแนวนอนนั้นมีผลต่อการไหลซึมของน้ํามันดีเซล
พบว่าน้ํามันดีเซลที่เป็น LNAPLs จะซึมผ่านในแนวตั้งลงมาภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลกและจะซึมผ่านช่องว่าง
แคปิลารีจนถึงชั้นดินที่อิ่มตัวด้วยน้ํา และบางส่วนของน้ํามันดีเซลจะแทรกอยู่เหนือชั้นของน้ําใต้ดิน พบว่าน้ํามัน
ดีเซลจํานวนมากจะสะสมอยู่เหนือชั้นของน้ําใต้ดินและทําให้เกิดการลดลงของช่องว่างคาปิลารีทําให้การซึมของ
น้ําและน้ํามันดีเซลลดลง จากสมมาตรการเคลื่อนที่ด้านข้างของน้ํามันดีเซลพบว่าในการทดลองที่ T-1 และ T-4
ซึ่งไม่ มีการไหลของน้ําใต้ ดินในแนวนอนส่วนในการทดลองที่ T-2, T-5 (i=0.1) และการทดลองที่ T-3, T-4
(i=0.2) การเคลื่อนที่ด้านข้างตามทิศทางการไหลของน้ําใต้ดินพบว่าน้ํามันดีเซลจะลอยอยู่เหนือระดับของน้ํา
และจะไหลซึมไปตามทิศทางการไหลน้ํา ถ้าชั้นของน้ําใต้ดินมีอัตราการไหลของน้ําใต้ดินที่สูงทําให้การปนเปื้อน
ของน้ํามันดีเซลนั้นจะมีการปนเปื้อนขนาดใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการไหลของน้ําใต้ดินที่ต่ํากว่าดังแสดง
ในรูปที่ 4-27 สําหรับทราย Ottawa #3821

4-25
บทที่ 4 ผลกระทบของการขึ้นลงของระดับน้ําใต้ดินต่อการปนเปื้อนของน้ํามัน

(a) การทดลองที่ T-4 (i=0)

(b) การทดลองที่ T-5 (i=0.1)

(c) การทดลองที่ T-6 (i=0.2)


รูปที่ 4-27 การทดลองที่ T-4 ถึง T-6 ที่เวลา 18 ชั่วโมง แสดงระดับความอิ่มตัวของน้ํามันดีเซล (ซ้าย),
เส้นระดับความอิ่มตัวของน้ําและน้ํามันดีเซล (กลาง), ระดับความอิ่มตัวของน้ํา (ขวา)

ผลของการขึ้น-ลง ของระดับน้ําใต้ดินนั้นพบว่าจากรูปที่ 4-28(a) เมื่อน้ํามันดีเซลไหลซึมออกจากจุด


รั่วซึมน้ํามันจะซึมลงมาตามแนวตั้งเมื่อถึงชั้นที่อิ่มตัวด้วยน้ํา น้ํามันจะลอยตัวอยุ่เหนือชั้นของน้ําที่ระดับความสูง
10 เซนติเมตร ทําให้ระดับความอิ่มตัวของน้ํามันบริเวณเหนือชั้นของน้ํามีค่าที่สูงมากกว่าบริเวณอื่นๆ หลังจาก

4-26
บทที่ 4 ผลกระทบของการขึ้นลงของระดับน้ําใต้ดินต่อการปนเปื้อนของน้ํามัน

นั้นเมื่อทําการเพื่มระดับของน้ําใต้ดินน้ํามันดีเซลก็ส่วนใหญ่ก็จะลอยขึ้นไปพร้อมกับน้ําและจะลอยอยู่เหนือระดับ
ของน้ําทําให้ความอิ่มตัวของน้ํามันดีเซลที่ระดับ 40 เซนติเมตร มีระดับความอิ่มตัวของน้ํามันดีเซลที่สูง แต่จะมี
น้อยมันดีเซลบางส่วนที่ไม่ได้ลอยขึ้นไปพร้อมกับการขึ้นของระดับน้ําทําให้เกิดการคงค้างอยู่ในทรายและจะมี
ปริมาณคงค้างในระดับความสูงต่างๆที่แตกต่างกันดังแสดงในรูปที่ 4-28(b) และเมื่อทําการลดระดับของชั้นน้ํา
ลงอีกครั้งน้ําที่ลอยอยุ่เหนือน้ําก็จะค่อยๆซึมลงมาตามระดับของน้ําที่ลดลงทําให้ระดับความอิ่มตัวที่ระดับ 10
เซนติ เ มตรมี ค่ า มาก ดั ง แสดงในรู ป ที่ 4-28(c) แต่ เ มื่ อ นํ า ค่ า ของระดั บ ความอิ่ ม ตั ว ของน้ํ า มั น ที่ ร ะดั บ 10
เซนติเมตร ที่เวลา 18 ชั่วโมง และ 42 ชั่วโมง ดังแสดงในรูปที่ 4-28(a) และ 4-28(b) ตามลําดับ จะสังเกตได้ว่า
ค่าระดับความอิ่มตัวของน้ํามันที่ 18 ชั่วโมงจะมีค่าระดับความอิ่มตัวที่มากกว่าที่เวลา 42 ชั่วโมง และการคงค้าง
ของน้ํามันดีเซลที่ระดับความสูงต่างๆก็จะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งน้ํามันที่คงค้างอยุ่นั้นจะส่งผลทําให้เกิดการ
ปนเปื้อนอย่างต่อเนื่องเมื่อมีการขึ้น-ลง ของระดับน้ําใต้ดิน

4-27
บทที่ 4 ผลกระทบของการขึ้นลงของระดับน้ําใต้ดินต่อการปนเปื้อนของน้ํามัน

(a) t = 18 hour

(b) t = 30 hour

(c) t = 42 hour
รูปที่ 4-28 การทดลองที่ T-4 (Ottawa #3821) มีค่า i=0 แสดงระดับความอิ่มตัวของน้ํามันดีเซล (ซ้าย),
เส้นระดับความอิ่มตัวของน้ําและน้ํามันดีเซล (กลาง), ระดับความอิ่มตัวของน้ํา (ขวา) ทีเ่ วลาต่างๆ

4-28
บทที่ 5 สรุปผลการทดลอง

บทที่ 5 สรุปผลการทดลอง

จากการศึกษาการไหลซึมผ่านของน้ํากลั่น น้ํามันแก๊สโซฮอล์ E20 น้ํามันแก๊สโซฮอล์ E85มันเบนซิน 95


ผ่านทราย จากสภาวะที่ทรายอิ่มตัวจน (Saturated) เป็นสภาวะที่ทรายไม่อิ่มตัว (Unsaturated) โดยเครื่องมือ
ที่ ใ ช้ ใ นการทดลองคื อ กระบอกทรงสู ง หนึ่ ง มิ ติ (One Dimensional Column) ตั ว อย่ า งทรายที่ ใ ช้ ใ นการ
ทดลองทําการเก็บตัวอย่างที่ระดับความลึก 0.40 เมตร และ 0.70 เมตร โดยทําการควบคุมความหนาแน่นของ
ตัวอย่างทรายที่ใช้ในการทดลอง 2 ค่า คือ ที่ความหนาแน่นที่ 1.50 g/cm3 และความหนาแน่นที่ 1.56 g/cm3
ตามลําดับ ของเหลวที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย น้ํากลั่น น้ํามันเบนซินออกเทน 95 น้ํามันแก๊สโซฮอล์ E20
น้ํามันแก๊สโซฮอล์ E85 สามารถสรุปผลการทดลองได้ดังนี้
 ดินที่ระดับความลึก 0.40 เมตร ไม่เหมาะสมที่จะนํามาศึกษาการไหลซึมผ่านของน้ํามันเบนซินและน้ํามัน
แก๊สโซฮอล์ เพราะดินดังกล่าวเป็นดินที่ประกอบไปด้วยดินเม็ดละเอียด (Fine grained soil) มาก ซึ่งดิน
จําพวกนี้มีค่าสัมประสิทธ์การซึมผ่านได้ต่ํา เมื่อนํามาทําให้ที่อิ่มตัวด้วยน้ําเวลาปล่อยให้น้ําไหลออกมา น้ํา
จะไม่ไหลซึมออกมา หรือไหลในปริมาณที่น้อยมาก จึงไม่เหมาะสมที่จะนํามาใช้ในการทดลองซึ่งมีระยะเวลา
ในการทดลองจํากัด
 ดินทรายที่มีความหนาแน่นมากกว่า (1.56 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร) จะมีการตกค้างของของเหลว
มากกว่าดินทรายที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า (1.50 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร) โดยมีค่ามากกว่าประมาณ
20-40 % ในทุกของเหลวที่ใช้ในการทดลอง เนื่องจากดินที่มีความหนาแน่นมาก จะมีขนาดช่องว่างในเม็ด
ดินที่เล็กกว่าดินที่มีความหนาแน่นน้อย ทําให้มีค่ามุมรัศมี (r') ระหว่างเม็ดดินน้อย
 การทดลองความสัมพันธ์ของการไหลซึมผ่านของของเหลวทั้ง 4 ชนิดที่ความหนาแน่น 1.50 และ 1.56 กรัม
ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร พบว่า ที่ทั้งสองความหนาแน่น น้ํากลั่นมีการตกค้างมากที่สุด อันดับรองลงมาคือ
แก๊สโซฮอล์ E85 แก๊สโซฮอล์ E20 และ น้ํามันเบนซิน 95 ตามลําดับ โดยน้ํามีการตกค้างมากกว่าเบนซิน
ประมาณ 40-100 % น้ํามันแก๊สโซฮอล์ E85 มีการตกค้างมากกว่าเบนซิน ประมาณ 20-25 % น้ํามันแก๊ส
โซฮอล์ E20 มีการตกค้างมากกว่าเบนซิน ประมาณ 5-30 % ทั้งนี้เนื่องจากน้ํามีความถ่วงจําเพาะ ความ
หนืด และแรงตึงผิวมากกว่าของเหลวชนิดอื่นๆ ทําให้การไหลผ่านช่องว่างระหว่างเม็ดดินนั้นทําได้ยาก จึงมี
การตกค้างมาที่สุด ส่วนน้ํามันเบนซิน 95 มีความถ่วงจําเพาะ ความหนืด และแรงตึงผิวน้อยที่สุดจึงทําให้
การไหลผ่านช่องว่างระหว่างเม็ดดินนั้นเป็นไปได้ง่ายกว่าของเหลวชนิดอื่นๆจึงทําให้มีตกค้างน้อยที่สุด
จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยและระดับความอิ่มตัวของของเหลวใน
ทรายพบว่าจากความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยและระดับความอิ่มตัวของของเหลวมี
ความสัมพันธ์แบบเชิงเส้นกันจากความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยของ D450 และ D640 กับ
ระดับความอิ่มตัวของน้ํามันดีเซล (So) และระดับความอิ่มตัวของน้ํา (Sw) ซึ่งเราจะใช้ค่าสัมประสิทธิ์ความ
แม่นยํา (coefficients of correlation, R2) เป็นตัวตัดสินใจในการเลือก พบว่าค่าสัมประสิทธิ์ความแม่นยําของ
ทราย Ottawa #3820 มีค่าเท่ากับ 0.91 (D450) และ 0.93 (D640), ทราย Ottawa #3821 มีค่าเท่ากับ 0.71

5-1
บทที่ 5 สรุปผลการทดลอง

(D450) และ 0.74 (D640) และทรายชลบุรี (Chonburi Sand) มีค่าเท่ากับ 0.19 (D450) และ 0.16 (D640) ซึ่งค่า
สัมประสิทธิ์ความแม่นยําที่เป็นที่น่าพอใจในการนํามาเป็นวัสดุกลางในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับการไหล
ของน้ําใต้ดินในแนวนอนที่มีการซึมผ่านของน้ํามันดีเซลจึงเลือกวัสดุที่มีค่าของค่าสัมประสิทธิ์ความแม่นยํา
มากกว่า 0.70 พบว่าทราย Ottawa #3820 และ Ottawa #3821 จึงเหมาะแก่การนําไปศึกษาต่อไป สําหรับ
ทรายชลบุรีมีค่าค่าสัมประสิทธิ์ความแม่นยําที่ต่ํามากจึงไม่เหมาะแก่การนํามาการศึกษาเพราะจะทําให้ผลของ
การศึกษาโดยใช้เทคนิควิเคราะห์ภาพถ่ายมีการคลาดเคลื่อนเนื่องจากทรายชลบุรีที่เป็นทรายที่มีปริมาณของ
สารอินทรีย์ที่สูง
จากการศึกษาการไหลซึมของน้ํามันดีเซลผ่านทรายที่ไม่อิ่มตัวด้วยน้ําภายใต้สภาวะน้ําขึ้น-น้ําลง พบว่า
เมื่อน้ํามันดีเซลรั่วไหลออกจากจุดรั่วซึมน้ํามันดีเซลจะไหลซึมไปตามแนวดิ่งตามแรงโน้มถ่วงของโลก และจะ
ไหลซึมผ่านจนมาถึงชั้นที่อิ่มตัวด้วยน้ําซึ่งในชั้นนี้น้ํามันดีเซลจะลอยอยู่เหนือระดับของน้ําโดยที่เม็ดทรายที่มี
ขนาดใหญ่จะส่งผลทําให้การไหลซึมของน้ํามันดีเซลจะไหลได้เร็วกว่าเม็ดทรายที่มีขนาดเล็กซึ่งเป็นผลมาจาก
แรงเสียดทานที่ผิวของเม็ดทราย เมื่อชั้นของระดับน้ํามีค่าของความชันทางชลศาสตร์ (Hydraulic Gradient, i)
เข้ามาเกี่ยวข้องค่าของความชันทางชลศาสตร์จะส่งผลทําให้การไหลซึมของน้ํามันดีเซลในแนวราบซึ่งถ้ามีค่า
ของความชันทางชลศาสตร์ที่มากจะทําให้การไหลของน้ํามันดีเซลในแนวราบจะไหลไปได้ไกลจากจุดรั่วซึมเมื่อ
เปรียบเทียบการค่าของความชันทางชลศาสตร์ที่น้อยจะไหลในแนวราบได้น้อยกว่า
ในส่วนของการขึ้น-ลง ของระดับน้ําใต้ดิน เมื่อระดับลดลงในระดับต่ําสุดน้ํามันจะไหลซึมลงมาอยู่เหนือ
บริเวณของชั้นน้ําทําให้ระดับความอิ่มตัวของน้ํามันดีเซลที่บริเวณนี้มีค่าที่สูงกว่าบริเวณอื่น แต่เมื่อเพิ่มระดับ
ของชั้นน้ําให้อยู่ในระดับสูงสุดน้ํามันดีเซลที่ลอยอยู่เหนือน้ําจะค่อยๆเคลื่อนตัวขึ้นไปพร้อมกับน้ําและส่วนใหญ่
จะลอยอยู่เหนือระดับของน้ําแต่จะมีน้ํามันดีเซลบางส่วนที่คงค้างอยู่ในช่องว่างของเม็ดทรายไม่เคลื่อนตัวขึ้นไป
พร้อมกับระดับของน้ํา น้ํามันดีเซลที่คงค้างอยู่ในส่วนนี้จะส่งผลทําให้เกิดการปนเปื้อนลงไปในแหล่งน้ําตาม
ธรรมชาติที่ใกล้เคียงกับจุดที่เกิดการรั่วซึม เมื่อนําน้ําที่เกิดการปนเปื้อนมาอุปโภคและบริโภค จะส่งผลเสียต่อ
สุขภาพ

5-2
เอกสารอ้างอิง

เอกสารอ้างอิง

ASTM International, Designation: D 2325 – 68 (Reapproved 2000) “Standard Test Method for
Capillary- Moisture Relationships for Coarse- and Medium textured Soils by Porous-Plate
Apparatus” pp. 228-232
Chapuis, R. P., Masse, I., Madinner, B., and Aubertin, M. (2007), “A Drainage Column Test for
Determining Unsaturated Properties of Coarse Material”, Vol. 30, Issue 2, pp. 1-7
Darnault, C. J. G., Throop, J. A., Di Carlo, D. A., Rimmer, A., Steenhuis, T. S., and Parlange, J.Y.
(1998), “Visualization by light transmission of oil and water contents in transient two-
phase flow fields”, Journal of Contaminant Hydrology, Vol. 31(3-4), pp. 337-348
Fagerlund, F., Illangasekare, T.H., and Niemi, A. (2007), “Nonaqueous-Phase Liquid Infiltration
and Immobilization in Heterogeneous Media: 2. Application to Stochastically
Heterogeneous Formations”, Vadose Zone Journal, Vol. 6, pp. 483-495
Ferrand, L. A., Milly, P. C. D., and Pinder, G. F. (1989), “Experimental Determination of Three-
Fluid Saturation Profiles in Porous media”, Journal of Contaminant Hydrology, Vol. 4, pp.
373-395
Fetter, C. W. (1999), Contaminant Hydrogeology, 2nd Ed., Prentice Hall
Flores, G. (2010), “A Simplified Image Analysis Method to Evaluate LNAPL Saturation under
Fluctuating Groundwater Conditions”, Doctoral thesis, Kyoto University
Flores, G., Katsumi, T., Inui, T., and Kamon, M. (2010), “Examination of LNAPL Migration in
Porous Media Using a Simplified Image Analysis Method”, Proc. of 9th Geo-environmental
Engineering, Korea, pp. 83-90
Kechavarzi, C., Soga, K., and Wiart, P. (2000), “Multispectral image analysis method to
determine dynamic fluid saturation distribution in two-dimensional three-fluid phase flow
laboratory experiments”, Journal of Contaminant Hydrology, Vol. 46(3-4), pp. 265-293
Lu, N. and Likos, W. J. (2004), Unsaturated Soil Mechanics, Wiley
Kamon, M., Endo, K., and Katsumi, T. (2003), “Measuring the k–S–p relation on DNAPLs
migration”, Engineering Geology, Vol. 70, Issues 3–4, pp. 351–363
Oostrom, M., Dane, J.H., and Wietsma, T.W. (2007), “A Review of Multidimensional, Multifluid
Intermediate-scale Experiments: Flow Behavior, Saturation Imaging, and Tracer Detection
and Quantification”, Vadose Zone Journal, Vol. 6(3), pp. 610-637

R-1
เอกสารอ้างอิง

Rimmer, A., Di Carlo, D. A., Steenhuis, T. S., Bierck, B., Durnford, D., and Parlange, J. Y. (1998),
“Rapid fluid content measurement method for fingered flow in an oil-water-sand system
usingsynchrotron X-rays”, Journal of Contaminant Hydrology, Vol. 31(3-4), pp. 315-335
Sharma, R. S. and Mohamed, M. H. A. (2003), “An experimental investigation of LNAPL
migration in an unsaturated/saturated sand” Engineering Geology, Vol. 70, Issues 3–4, pp.
305–313
Sudsaeng, S., Flores, G., Katsumi, T., Inui, T., Likitlersuang, S., and Yimsiri, S. (2010), “Study of
Diesel Migration in Porous Media by the Simplified Image Analysis Method”, Proc. of 23rd
KKCNN Symposium on Civil Engineering, Taiwan, pp. 379-382
Tuck, D. M., Bierck, B. R., and Jaffe, P. R. (1998), “Synchrotron Radiation Measurement of
Multiphase Fluid Saturations in Porous Media: Experimental Technique and Error Analysis”,
Journal of Contaminant Hydrology, Vol. 31(3-4), pp. 231-256
กิจการ พรหม (2547), อุทกธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก
มณเที ย ร กั งศศี เที ย ม (2529), กลศาสตร์ ข องดิ น ด้ านวิ ศ วกรรม, กองวิจั ย และทดลอง, กรมชลประทาน,
กรุงเทพฯ
ยงยุทธ โอสถสภา (2541), ปฐพีวิทยาเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 7, ภาควิชาปฐพีวิทยา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,
กรุงเทพฯ
วรณัฐ ศรีพงษ์พิจิตร (2549), การศึกษาพฤติกรรมการปนเปื้อนของน้ํามันเชื้อเพลิงในชั้นดินไม่อิ่มตัว ด้วยการ
วิเคราะห์จากภาพดิจิทัล, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ
ศุภสิทธิ์ คนใหญ่, วิชัย ศรีบุญลือ และ เกรียงศักดิ์ ศรีสุข (2548), “ค่าสภาพนําชลศาสตร์ไม่อิ่มตัวของดินเค็ม
ซึ่งเป็นฟังก์ชันของความชื้น”, วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 5, 2, หน้า 80-89
สถาพร คูวิจิตรจารุ (2542), ปฐพีกลศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ
สถาพร คูวิจิตรจารุ (2542), ทดลองปฐพีกลศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ

R-2
ผลผลิต

ผลผลิต

Yimsiri, S., Euaapiwatch, S., Flores, G., Katsumi, T., and Likitlersuang, S. (2016), “Effects of water
table fluctuation on diesel fuel migration in one-dimensional laboratory study”, European
Journal of Environmental and Civil Engineering, DOI: 10.1080/19648189.2016.1197158
European Journal of Environmental and Civil Engineering

ISSN: 1964-8189 (Print) 2116-7214 (Online) Journal homepage: http://www.tandfonline.com/loi/tece20

Effects of water table fluctuation on diesel fuel


migration in one-dimensional laboratory study

S. Yimsiri, S. Euaapiwatch, G. Flores, T. Katsumi & S. Likitlersuang

To cite this article: S. Yimsiri, S. Euaapiwatch, G. Flores, T. Katsumi & S. Likitlersuang


(2016): Effects of water table fluctuation on diesel fuel migration in one-dimensional
laboratory study, European Journal of Environmental and Civil Engineering, DOI:
10.1080/19648189.2016.1197158

To link to this article: http://dx.doi.org/10.1080/19648189.2016.1197158

Published online: 16 Jun 2016.

Submit your article to this journal

Article views: 3

View related articles

View Crossmark data

Full Terms & Conditions of access and use can be found at


http://www.tandfonline.com/action/journalInformation?journalCode=tece20

Download by: [Dr Siam Yimsiri] Date: 19 June 2016, At: 01:05
European Journal of Environmental and Civil Engineering, 2016
http://dx.doi.org/10.1080/19648189.2016.1197158

Effects of water table fluctuation on diesel fuel migration in


one-dimensional laboratory study
S. Yimsiria*, S. Euaapiwatcha, G. Floresb, T. Katsumic and S. Likitlersuangd
a
Department of Civil Engineering, Burapha University, Chonburi, Thailand; bFaculty of
Engineering, Kyoto University, Kyoto, Japan; cGraduate School of Global Environmental Studies,
Kyoto University, Kyoto, Japan; dGeotechnical Research Unit, Department of Civil Engineering,
Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand
(Received 5 September 2014; accepted 26 May 2016)
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

The effects of water table fluctuation on diesel fuel redistribution in unsaturated soil
are investigated in the laboratory by one-dimensional column test. The simplified
image analysis method is used to assess the saturation distributions of water and die-
sel in the flow domain under transient condition. The experiments are undertaken on
two homogeneous sands to study the effects of different particle sizes. The two-phase
experimental data illustrate soil–liquid characteristic curves (SLCCs) of water/air and
diesel/air systems. The SLCCs of diesel/water systems can be predicted by scaling
procedure. A descending order of matric suction at a given saturation of wetting
phase is in the order of air/water, diesel/water and air/diesel systems. Coarser particle
size gives smaller entry pressure, residual matric suction and residual degree of satu-
ration. The three-phase (air/water/diesel) experimental data illustrate that, during
imbibition stages, air and diesel are entrapped below water table with the entrapped
air saturations of 18–24% and entrapped diesel saturations of 6–10% for fine sand.
Coarser particle size yields smaller entrapped diesel saturations and larger entrapped
air saturations. The residual diesel saturations during drainage stages and entrapped
diesel saturations during imbibition stages do not show any systematic difference as
these stages are repeated. During imbibition stages, 37–47% of the total amount of
diesel fuel is entrapped under the water table. Also, there is no systematic difference
in the amount of diesel fuel entrapped under the water table when imbibition stages
are repeated.
Keywords: LNAPL; diesel fuel; water table fluctuation; residual; entrapment

1. Introduction
Groundwater is the most important freshwater resource that humanity must rely on. Only
0.5% of the world’s total water supply is available to human as a freshwater (97% is sal-
ine water in the ocean and 2.5% is frozen as ice caps and glaciers) and 98% of the avail-
able freshwater is groundwater (Feth, 1973). Groundwater can be contaminated by many
causes and contamination by organic products, which are often associated with petroleum
hydrocarbons or halogenated compounds used as industrial solvents, poses one of major
problems. The contamination of groundwater by petroleum hydrocarbons, such as diesel
fuel and gasoline as a result of improper disposal practices, spills and leaking storage
facilities, represents one of the most common sources of subsurface contamination

*
Corresponding author. Email: ysiam@buu.ac.th

© 2016 Informa UK Limited, trading as Taylor & Francis Group


2 S. Yimsiri et al.

(United State Environmental Protection Agency (US EPA), 2002). These contaminants
exist as an immiscible phase when in contact with water and their densities are less than
water which makes them being classified as light non-aqueous phase liquids (LNAPLs).
These products are usually multi-component organic mixtures consisted of chemicals
with varying degrees of water solubility, but are toxic at low concentration. Therefore,
they can act as long-term sources of groundwater contamination.
After LNAPL is released on the surface, it moves downward through the unsaturated
zone and a fraction is retained in the soil pores as residual phase by capillary forces until
movement stops. If large amount of LNAPL is released, however, it reaches saturated zone
and spread laterally along the capillary fringe and may also depress the capillary fringe
and groundwater table. Fluctuation of groundwater table complicates the migration of
LNAPL by causing LNAPL redistribution across the zone of fluctuation because LNAPL
becomes entrapped above and below the mobile LNAPL due to capillary force. Such fluc-
tuation of groundwater table commonly occurs in any geographical regions and may arise
from variation in aquifer recharge–discharge, groundwater extraction or injection through
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

wells, seasonal rainfall, barometric effects, tidal influences and evapotranspiration cycles.
Redistribution of LNAPL due to groundwater table fluctuations may lead to enhanced
dissolution of LNAPL source zone and dissolved-plume formation.
To select appropriate remedial strategy at an LNAPL-contaminated site, it is neces-
sary to delineate the extent of the contaminated area. This information can be obtained
by an extensive field investigation, which generally is expensive and time-consuming.
Such a field investigation can be optimised if the likely migration pattern of LNAPL
can be estimated by numerical analysis. A number of numerical simulators have been
developed to model LNAPL transport in subsurface (e.g. Host-Madsen & Jensen, 1992;
Kaluarachchi & Parker, 1989; Karapanagioti, Gaganis, & Burganos, 2003; Unger,
Sudicky, & Forsyth, 1995). Under groundwater table fluctuation condition, the hysteresis
nature of the relative permeability-saturation-capillary pressure relationships and fluid
entrapment phenomenon are important aspects of the implemented constitutive relation-
ship for the numerical analysis (e.g. Oostrom, Hofstee, & Wietsma, 2006; Steffy,
Johnston, & Barry, 1998; Van Geel & Sykes, 1997). Their predictive capability and
adequacy of various assumptions embodied in them need to be evaluated against well-
controlled laboratory experiment under transient and static conditions before confident
predictions of the fate of LNAPLs in subsurface of field-scale problems can be made.
There have been many intermediate-scale multiphase flow experiments of LNAPL
transport in which quantitative data are obtained. The LNAPL transport experiments
were conducted in one-dimension by; e.g. Eckberg and Sunada (1984) and Lenhard,
Dane, Parker, and Kaluarachchi (1988) and in 2-dimension by; e.g. Van Geel and Sykes
(1994) and Kechavarzi, Soga, and Illangasekare (2005). Few researchers conducted the
experiments to study effects of water table fluctuation on LNAPL redistribution in one-
dimension, e.g. Lenhard, Johnson, and Parker (1993), Steffy et al. (1998) and Kamon,
Li, Flores, Inui, and Katsumi (2006), and in two-dimension, e.g. Van Geel and Sykes
(1997) and Oostrom et al. (2006). Very few researchers investigated the effects of repe-
tition of water table fluctuation on LNAPL redistribution (e.g. Chompusri, Rivett, &
Mackay, 2002). Unfortunately, due to the limitation of instrumentation technique, there
was quantitative information of fluid saturations only either at discrete point under
dynamic condition or of entire domain at near steady-state condition. Numerous
researchers have also studied effects of particle size on the behaviour of unsaturated
soil, i.e. on soil–liquid characteristic curve (SLCC) (e.g. Arya & Paris, 1981; Yang,
Rahardjo, Leong, & Fredlund, 2004), on residual saturation (e.g. Ryan & Dhir, 1993),
European Journal of Environmental and Civil Engineering 3

and on permeability (e.g. Arya, Leij, Shouse, & van Genuchten, 1999; Chapuis, 2004);
however, most studies have been done with soil element tests. Therefore, there is a
dearth of intermediate-scale experimental data of transient fluid saturation distribution in
the entire flow domain at any time under water table fluctuation condition with attention
to effects of particle size.
The objective of the present study is to carry out a one-dimensional immiscible
three-phase flow experiment with consideration on the effects of water table fluctuation
on LNAPL redistribution and entrapment with particular attention to particle size of
sand and repetition of water table fluctuation. The experiments are carried out under
well-defined and controlled conditions by two laboratory one-dimensional columns each
containing a different sand material. The phase saturation data are measured using an
image analysis technique to obtain detailed quantitative data of transient fluid saturation
distribution in an entire flow domain. These experimental results can develop better
understanding on the effects of water table fluctuation on LNAPL migration and can
provide well-controlled laboratory experimental data against which numerical models
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

can validate their predictive capabilities.

2. Simplified image analysis method (SIAM)


In laboratory test, measurement of NAPL saturation is the most difficult and important
task in acquiring precise quantitative data. Although gravimetric sampling method is the
most accurate, it cannot provide saturation data continuously because soil samples must
be removed from a soil mass. Conventionally, the non-intrusive and non-destructive
methods used to measure fluid saturations are: e.g. γ-ray attenuation, X-ray attenuation,
time domain reflectometry (TDR) and electrical conductivity probes (e.g. DiCarlo,
Bauters, Steenhuis, Parlange, & Bierck, 1997; Kamon, Endo, & Katsumi, 2003; Topp,
Davis, & Annan, 1980; Tuck, Bierck, & Jaffe, 1998). Although accurate, these methods
are experimentally demanding and do not allow the acquisition of transient fluid satura-
tion distribution in the entire flow domain at any specific time. The data generated are
restricted to either saturation distribution under static or steady-state flow conditions or
local measurement of saturation during transient flow. Owing to these experimental
difficulties, the number of multi-dimensional three-phase flow experiments, where both
saturation and pressure of all fluids are measured, are not abundant.
The SIAM developed by Flores, Katsumi, Inui, and Kamon (2011) is employed in
this research to assess the saturation distributions of water and LNAPL in sand under
transient condition. This method is a non-intrusive and non-destructive technique to
measure saturations of fluids in porous media in the entire domain of the experimental
column. The Beer–Lambert Law of Transmittance is employed to obtain linear relation-
ships between average optical density (defined in Equation (1)) and fluid saturations that
can be used, after proper calibration, to calculate fluid saturations of soil samples when
their photos are taken.
" !#
1X N
1X N Ijir
Di ¼ dji ¼  log10 0 (1)
N j¼1 N j¼1 Iji

where Di is the average optical density, i is a given spectral band, N is number of pixels
contained in area of interest, dji is optical density of individual pixels, Ijir is intensity of
the reflected light given by individual pixel values and Iji0 is intensity of light that
reflected by an ideal white surface.
4 S. Yimsiri et al.

The SIAM uses two consumer-grade digital cameras with the 450 and 640-nm
band-pass filters. The transmittance analysis shows that, at wavelength of 640 nm, the
red-dyed diesel gave maximum transmittance and the water gave minimum transmit-
tance, whereas the opposite pattern was observed at wavelength of 450 nm. The
calibration process requires three calibrating photos corresponding to the extremities of
the Di-So-Sw relationship plane, which are (i) dry sand (Sw = 0%, So = 0%), (ii) sand
fully saturated with water (Sw = 100%, So = 0%) and (iii) sand fully saturated with
NAPL (Sw = 0%, So = 100%) (see Figure 1), where Sw is water saturation and So is
NAPL saturation. The matrix of correlation equation can then be obtained as shown in
Equation (2).
    10   01  
D450 D  D00 450 Sw þ D450  D450 So þ D450
00 00
¼  450 (2)
640  D640 Sw þ D640  D640 So þ D640 14400
D10 00 01 00 00
D640 14400

where 14 × 400 is the dimension of matrix, [D450]14×400 and [D640]14×400 are average
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

optical densities of each mesh element for wavelengths 450 and 640 nm, [D00 450 ]14×400
and [D00 640 ]14×400 are average optical densities of each mesh element for dry sand;
[D10 10 01 01
450 ]14×400 and [D640 ]14×400 for water-saturated sand; [D450 ]14×400 and [D640 ]14×400 for
NAPL-saturated sand.
In this analysis, the studied domain (3.5×100 cm2) is divided into 5,600 (14 × 400)
mesh elements of 0.25 × 0.25 cm2 each. This discretisation is selected on the basis of
trial analysis to optimise dispersion of the results. During the experiment, the photos are
taken and the average optical densities of each mesh element of the studied domain are
calculated and compared to the corresponding ones for all three cases and then water
saturation [Sw]14×400 and NAPL saturation [So]14×400 can be obtained by solving
Equation (2). It is verified that (i) a linear relationship exists between optical density
and saturations of water and diesel fuel for Ottawa #3821 and #3820 sands with
coefficients of determination (r2) ranging between 0.78 and 0.93 and (ii) the accuracy of
obtained degree of saturation is ±10%.

at wavelength i

Figure 1. Simplified image analysis method.


European Journal of Environmental and Civil Engineering 5

3. Details of experiments
In this study, there are three experimental parts, i.e. (i) Tempe pressure cell, (ii) two-
phase column experiment and (iii) three-phase column experiment. The two-phase
column experiment and Tempe pressure cell aim to study the SLCCs of tested sands.
The three-phase column experiment aims to investigate the effects of groundwater table
fluctuation on diesel fuel distribution in subsurface.

3.1. Tested sands and LNAPL


Two sand materials, i.e. Ottawa #3821 and #3820 sands, are used in this study. These
tested sands are classified as poorly graded fine and medium sands, respectively, at rela-
tively dense state. Their grain-size distribution curves are shown in Figure 2 and some
properties are summarised in Table 1. Both sands are prepared at similar dry unit weight
and void ratio resulting in relatively similar coefficient of permeability. Thus, the only
difference between these two specimens is the grain size.
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

Diesel fuel is used as an experimental LNAPL. It is dyed red with Red Sudan III
(1:10000 by weight) to enhance visual observation and increase its light absorbance
properties. There is no noticeable change in the physical properties of diesel fuel after
being mixed with dye and the dye does not migrate between water and diesel fuel and
it is not absorbed by sand particles. The properties of the liquids employed in this study
are summarised in Table 2.

3.2. Tempe pressure cell


The air/water and air/diesel drainage tests at high matric suction are conducted using a
Tempe pressure cell. In these tests, air is the non-wetting fluid and water or diesel fuel
is the wetting fluid. The air pressure of 10–90 kPa is supplied through the inlet tube at
the top cap and the liquid is allowed to drain out of the soil specimen from the under-
neath outlet which is connected to the atmosphere (0 kPa). The system is left for 24 h
to reach equilibrium at each applied air pressure which is confirmed by observing the

100
90 Ottawa #3821
80 Ottawa #3820
70
60
% F in e r

50
40
30
20
10
0
10 1 0.1 0.01
Particle size (mm)

Figure 2. Grain-size distribution curves of tested sands.


6 S. Yimsiri et al.

Table 1. Properties of tested sands.


Properties Ottawa #3821 Ottawa #3820
Unified Soil Classification System (USCS) SP SP
Description (according to USCS) Fine sand Medium sand
Specific gravity, Gs 2.63 2.64
Mean grain size (D50), mm 0.422 0.643
Coefficient of uniformity, Cu 1.48 1.36
Coefficient of curvature, Cc 0.91 0.95
Coeff. of permeability of water, kw (cm/s)* 1.80 × 10−2 2.02 × 10−2
Coeff. of permeability of diesel, ko (cm/s)* 1.58 × 10−2 1.91 × 10−2
Dry unit weight, γdry (kN/m3) 17.6 17.6
Void ratio, e 0.49 0.50
*Constant-head permeability test at 20 °C.

Table 2. Properties of tested liquids.


Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

Properties Water Diesel fuel


Density, ρs (g/cm ) at 20 °C
3
0.998 0.865
Kinematic viscosity, μ (mm2/s) at 20 °C 1.00 4.10
Surface tension (mN/m) at 20 °C 70.28 28.80
Vapor pressure (mmHg) at 40 °C 7.37 3.75

change of weight of draining liquid being less than 0.5%. The procedure is then
repeated at higher applied air pressure. The change in the liquid content of the soil
specimen is measured by the volume of draining liquid.

3.3. Two-phase column experiment


One-dimensional columns, 3.5 × 3.5 × 110 cm3 constructed of transparent acrylic walls,
are employed in this study. The base of column is connected to the constant-head water
reservoir to control the water pressure at its base. The upper air-phase boundary condi-
tion is atmospheric. Evaporation is minimised by covering top of the column with plas-
tic plate that contained small holes to avoid producing vacuum. There are access ports
at every 10 cm along the column height for sample collection to determine the liquid
saturation by gravimetric method. The sampling ports has 10 mm diameter; therefore,
the obtained liquid saturations are average values over these areas. The room tempera-
ture and humidity are controlled to maintain relatively stable values of 20 °C and 80%,
respectively. The laboratory set-up and example colour photos are presented by Flores
et al. (2011).
The air/water and air/diesel drainage tests at low matric suction are conducted by
two-phase column experiment. The column is packed with oven-dried sand up to
h = 105 cm (where h is the height from the base of column). The column packing is
done in short lift to ensure sample homogeneity. The sand is slowly wetted from below
until water or diesel fuel ponded on the surface after which suction is applied from top
to remove trapped air. After that, the liquid head at the base of the column is lowered
to h = 5 cm and the liquid inside the column is allowed to drain out through the base of
column. The column is left for 72 h to allow for equilibrium by observing the change
of weight of draining liquid being less than 0.5%.
European Journal of Environmental and Civil Engineering 7

Figure 3. Prescribed water pressure at the base of the column.


Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

3.4. Three-phase column experiment


The effects of groundwater table fluctuation on diesel fuel distribution are studied by
three-phase column experiment. The experimental set-up is similar to that of two-phase
column experiment except that, in this experiment, dry sands are filled up to only
h = 45 cm. After fully saturated condition, the water pressure at the base is varied to con-
trol the water table height in the column in four stages, i.e. first drainage, first imbibition,
second drainage, and second imbibition, as shown in Figure 3. The water pressure head at
the base of the column is altered instantaneously to the required value and the water table
height inside the column is correspondingly altered in an uncontrolled rate with each stage
finished within 5–10 min. The detail of each stage is described as follow.

(i) First drainage: The water pressure at the base is lowered from h = 45 to 5 cm
and the water inside the column is allowed to drain freely out of the base. After
6 h, 15 g (17.3 cm3) of diesel fuel is introduced from the top of column; there-
fore, the system composes of three phases from this point onward. The column
is left for further 12 h and this stage takes totally 18 h.
(ii) First imbibition: The water pressure at the base is raised from h = 5 to 30 cm
and the water table inside the column is allowed to move freely upward. After
that, the column is left for 12 h.
(iii) Second drainage: The water pressure at the base is lowered from h = 30 to
5 cm and the water table inside the column is allowed to move freely down-
ward. No additional diesel is added to the system. After that, the column is left
for 12 h.
(iv) Second imbibition: The first imbibition process is repeated in this stage.

4. Soil–liquid characteristic curves


4.1. SLCCs in two-phase systems of air/water and air/diesel
The SLCC is a relationship between the liquid saturation and matric suction (S-p
relation) of soil. In this study, the main drainage (drying) curves of S-p relations can be
analysed. The SLCCs of Ottawa #3821 and #3820 sands are shown in Figures 4 and 5,
8 S. Yimsiri et al.
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

Figure 4. SLCCs of Ottawa #3821 sand.

Figure 5. SLCCs of Ottawa #3820 sand.

respectively, the data of which are obtained from both two-phase column experiment (at
low matric suction of less than 10 kPa) and Tempe pressure cell (at high matric suction
of 10–90 kPa). In two-phase column experiment, the height of a measurement location
above the liquid table is assumed to equal to the maric suction (or negative pore-liquid
pressure head) at that point. The obtained SLCCs are fitted with the empirical models
of van Gunechten (1980) (VG) (Equation 3) and Fredlund and Xing (1994) (FX)
(Equation 4) with a least-squares algorithm and the resulting SLCCs are shown in
Figures 4 and 5. The constants of the models are summarised in Table 3 and it shows
that finer sand (Ottawa #3821) yields larger Sr, ψr, a and n but smaller m, whereas die-
sel fuel gives lower Sr, a and n but larger m. The effects of particle size on model
parameters obtained in this research are consistent with Yang et al. (2004). From this
European Journal of Environmental and Civil Engineering 9

Table 3. Constants of SLCC models.


van Genuchten model Fredlund & Xing model
Fluid a ψr a
Sand pair Sr (kPa) m n r2 (kPa) (kPa) m n r2
Ottawa Air/ 0.1109 1.460 2.55 15.56 0.982 4.252 1.027 0.37 155.0 0.993
#3821 Water
Air/ 0.0790 0.854 2.81 11.78 0.988 4.723 0.487 0.51 54.3 0.995
Diesel
Ottawa Air/ 0.0797 0.556 2.88 10.00 0.982 3.825 0.482 0.42 130.0 0.994
#3820 Water
Air/ 0.0574 0.376 4.72 7.09 0.989 2.589 0.260 0.50 119.0 0.989
Diesel
Note: All variables are defined in Equation 4.
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

research, the FX model fits the experimental data better (indicated by r2 in Table 3),
particularly at large matric suction which is consistent with the discussion of Fredlund
and Xing (1994). Thus, only the FX model is used for further analysis.
2 3m
6  n 7
1
S ¼ Sr þ ð1  Sr Þ4 5 ðSr , a, m, n are fitting parametersÞ (3)
1 þ wa

2   32 3m
ln 1 þ ww
56  n i7
1
S ¼ 41   4 h 5 ðwr , a, m, n are fitting parametersÞ
r
(4)
ln 1 þ w ln e þ wa
10 6

where S = degree of saturation; ψ = matric suction; Sr = residual degree of saturation


(see Figure 8); ψr = residual matric suction (see Figure 8); ψa = air-entry pressure (see
Figure 8); e = natural number 2.71828 …; a = model parameter relates to air-entry
pressure (a increases, ψa increases); m = model parameter relates to residual degree of
saturation (m decreases, ψr increases); n = model parameter relates to slope of SLCC
(n decreases, dψ/dS increases)

4.2. Estimation of SLCC in two-phase system of diesel/water


For a rigid porous medium, it is only necessary to measure S-p relations for two of the
three two-phase systems (i.e. air/water, air/NAPL or NAPL/water) and the S-p relation
of the third system may then be predicted (Lenhard & Parker, 1987). In the scaling pro-
cedure proposed by Parker, Lenhard, and Kuppusamy (1987), S-p relations of two-phase
systems are adjusted to obtain a unique scaled function for a given porous medium after
applying a linear transformation to matric suction as shown in Equation (5).
Sw ðbaw waw Þ ¼ So ðbao wao Þ ¼ Sw ðbow wow Þ ¼ S  ðw Þ (5)
where a, o and w refer to air, NAPL, and water phases, respectively;
Sj ¼ ðSj  Sjr Þ=ð1  Sjr Þ is the effective saturation of wetting phase j; Sjr is the irre-
ducible saturation of wetting phase j (Sjr = 0 for FX model); βij is a fluid pair-dependent
10 S. Yimsiri et al.

scaling factor; and S*(ψ*) is a scaled function between the saturation of wetting phase
and matric suction. The scaling coefficients are related as shown in Equation (6)
(Lenhard & Parker, 1987). In this study, Equation (6) is employed to determine the scal-
ing factor βow rather than deriving it on the basis of fluid interfacial tensions because
small water solubility and volatility of organic compounds can affect the fluid interfacial
tensions (Lenhard & Parker, 1988).
1 1 1
¼ þ (6)
baw bow bao
The procedure for predicting S-p relationship of diesel–water system is described as fol-
lows; (i) taking the air–water system as a reference fluid pair system and setting
βaw = 1.0; (ii) fitting S-p relation of air–water system to obtained S*(ψ*); (iii) obtaining
βao by fitting S-p relation of air–diesel system; (iv) obtaining βow by using Equation (6);
and (v) calculating Sw and ψow according to Equation (5). The scaled effective satura-
tion-matric suction relations are shown in Figure 6. All the scaling factors in air/water,
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

air/diesel and diesel/water systems are summarised in Table 4. The scaling factor of
each fluid pair is relatively similar for each porous medium which may indicate that the
scaling factors are fluid-dependent parameters as indicated in Parker et al. (1987).
From the obtained FX parameters and scaling factors, the S-p relations of all two-
phase systems can be shown in Figure 7. The SLCCs show that, once the value of the
matric suction increases slightly above the entry pressure, significant reduction in the
degree of saturation is recorded which means that most of liquid drains out of the sand
specimen. The tested sand specimens are poorly graded resulting in a relatively flat tran-
sition in the S-p relationship. The physical properties can be derived from these SLCCs
(see drying curve in Figure 8) and the results are summarised in Table 5. It can be seen
that finer sand has larger ψa, ψr and Sr, whereas diesel fuel gives smaller ψa and ψr.
The effects of particle size on these physical parameters are also consistent with those
reported by Yang et al. (2004).
Figure 7 shows that a descending sequence of matric suction at a given saturation of
wetting phase is in the order of air/water, diesel/water and air/diesel systems. The entry

Figure 6. Scaled effective saturation-matric suction relations.


European Journal of Environmental and Civil Engineering 11

Table 4. Scaling factors of all two-phase systems.


Scaling factors Ottawa #3821 Ottawa #3820
βaw *
1 1
βao 2.308 2.348
βow** 1.764 1.742
*
Reference system.
**
Use Equation (6).
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

Figure 7. Saturation-matric suction relations of all two-phase systems.

Figure 8. Idealised SLCCs.


12 S. Yimsiri et al.

Table 5. Physical properties derived from Fredlund and Xing SLCCs.


Fluid pair Sand ψa (kPa) ψr (kPa) Sr (%)
Air/Water Ottawa #3821 1.0 1.1 9.5
Ottawa #3820 0.45 0.52 7.5
Air/Diesel Ottawa #3821 0.42 0.50 10.5
Ottawa #3820 0.20 0.23 8.5
Diesel/Water Ottawa #3821 0.56 0.63 10.0
Ottawa #3820 0.25 0.31 8.0
Note: All variables are defined in Figure 8.

pressure of air/water system is larger than that of diesel/water system. This suggests
that, in their corresponding two-phase systems, diesel fuel is easier to displace water
than air at the beginning of drainage process. The entry pressure of air/water system is
larger than that of air/diesel system. This also suggests that diesel fuel is easier to be
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

desaturated than water in their corresponding two-phase systems. This phenomenon is


also consistent with the results from other LNAPLs presented by; e.g. Parker et al.
(1987), Busby, Lenhard, and Rolston (1995), Sharma and Mohamed (2003), and
Kamon, Li, Endo, Inui, and Katsumi (2007).

5. Effects of groundwater table fluctuation on diesel fuel distribution


The effects of groundwater table fluctuation on diesel fuel distribution can be analysed
from the three-phase column experiment. The profiles of water and diesel saturations in
entire domain during each test stage are presented. During the experiment, it is verified
that the difference between total amount of diesel fuel derived from volume integration
of the image analysis is within ±10% of the actual amount which indicates accuracy of
SIAM used in current study. To avoid confusion in the following discussion, entrapped
fluid is defined as non-wetting fluid that is occluded by water at a location far below
the water table during imbibition process, whereas residual fluid is defined as immobile
fluid held in place at a location far above the water table by capillary force after fluid is
allowed to drain (Lenhard, Oostrom, & Dane, 2004).

5.1. First drainage stage


The water saturation profiles, after the water pressure at the base of the column is low-
ered to h = 5 cm for 6 h, is shown in Figure 9 and they are compared with the SLCCs
(FX model) derived earlier (air/water curves in Figure 7). The consistency between
these data indicates the uniformity of packing of soil column between tests. The thick-
nesses of capillary fringe are 9 and 4 cm for Ottawa #3821 and #3820 sands, respec-
tively.
At t = 6 h, 15 g of diesel fuel is introduced to the soil surface such that slight pond-
ing occurs; therefore, the diesel fuel pressure may be assumed to be near atmospheric.
The diesel fuel infiltrates into the sand surface within 10 and 5 min for Ottawa #3821
and #3820 sands, respectively. Mobile diesel fuel moves downward while residual diesel
fuel remains behind. The dynamic variations of fluid saturation profiles with time
between t = 6–18 h are shown in Figures 10 and 11 for Ottawa #3821 and #3820 sands,
respectively. For Ottawa #3821 (fine sand), the diesel fuel front reaches the capillary
fringe within approximately 7 h (t = 13 h) with the rate of advancement of approxi-
European Journal of Environmental and Civil Engineering 13
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

Figure 9. Water saturation profiles at t = 6 h.

Figure 10. Liquid saturation profiles of Ottawa #3821 sand during t = 6–18 h.

mately 7 cm/hr at the beginning and decreasing to approximately 1.5 cm/hr when diesel
front approaching the capillary fringe. For Ottawa #3820 (medium sand), similar beha-
viour is observed but with faster rate of diesel front advancement. Most diesel fuel
rapidly moves to the capillary fringe within less than 0.5 h (t = 6.5 h) which gives the
rate of diesel front advancement of more than 70 cm/hr.
14 S. Yimsiri et al.
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

Figure 11. Liquid saturation profiles of Ottawa #3820 sand during t = 6–18 h.

Figure 12. Liquid saturation profiles at end of 1st drainage stage (t = 18 h).

Figure 12 shows the liquid saturation profiles at the end of first drainage (t = 18 h)
which is considered as close to equilibrium state. For Ottawa #3821 (fine sand), addition
of diesel fuel leads to decrease in the thickness of the capillary fringe from 9 to 5 cm
without changes in the position of the water table and the thickness of diesel pool above
European Journal of Environmental and Civil Engineering 15

the capillary fringe is 7 cm (Figure 12(a)). The presence of the diesel fuel reduces the
capillary force in an air/water system to an air/diesel/water system; consequently, the
thickness of capillary fringe of the water table is correspondingly reduced. For Ottawa
#3820 (medium sand), the diesel fuel totally eliminates the capillary fringe with slight
depression of the water table by 2 cm and the thickness of diesel pool above the water
table is 9 cm (Figure 12(b)). At the diesel pool, the diesel fuel saturation is large and
the water saturation is negligible. The residual liquid saturations above the diesel pool
are So,r = 3.8% and Sw,r = 14.4% for Ottawa #3821 and So,r = 4.1% and Sw,r = 10.2%
for Ottawa #3820 sands.

5.2. First imbibition stage


At t = 18 h, the water pressure at the base of the column is raised to h = 30 cm and the
dynamic variations of fluid saturation profiles with time during t = 18–30 h are shown
in Figure 13 and 14 for Ottawa #3821 and #3820 sands, respectively. For Ottawa #3821
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

(fine sand), after the water table rises, the diesel fuel moves up in an apparently delayed
response where the system reaches equilibrium after 4 h (t = 22 h). For Ottawa #3820
(medium sand), most diesel fuel rapidly moves up toward the top of the column within
0.5 h (t = 18.5 h). After that, the diesel fuel continues accumulating above the water
table (Figure 14(a)), whereas the water seems to already reach its equilibrium state (Fig-
ure 14(b)). This indicates that the diesel fuel moves upward slower than water due pos-
sibly to its larger viscosity.
Figure 15 shows the liquid saturation profiles at the end of first imbibition stage
(t = 30 h) which is considered as close to equilibrium state. For Ottawa #3821 (fine
sand), the thickness of the capillary fringe after the water table rise further decreases
from 5 to 2 cm without changes in the position of the water table and the thickness of
diesel pool above the capillary fringe is still 7 cm (Figure 15(a)). This reduction of

Figure 13. Liquid saturation profiles of Ottawa #3821 sand during t = 18–30 h.
16 S. Yimsiri et al.
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

Figure 14. Liquid saturation profiles of Ottawa #3820 sand during t = 18–30 h.

Figure 15. Liquid saturation profiles at end of 1st imbibition stage (t = 30 h).

capillary fringe is expected because water is imbibing into the porous media. For
Ottawa #3820 (medium sand), the diesel fuel totally eliminates the capillary fringe with
slight depression of the water table by 4 cm and the thickness of diesel pool above the
water table is 12 cm (Figure 15(b)). At the diesel pool, the diesel fuel saturation is large
European Journal of Environmental and Civil Engineering 17

and the water saturation is negligible. At the end of first imbibition stage, there are air
and diesel fuel entrapped under the water table. The entrapped saturations of each phase
are Sa,e = 24.1% and So,e = 10.2% for Ottawa #3821 and Sa,e = 27.1% and So,e = 4.6%
for Ottawa #3820 sands.

5.3. Second drainage stage


At t = 30 h, the water pressure at the base of the column is again lowered to h = 5 cm
and the dynamic variation of fluid saturation profiles with time during t = 30–42 h are
shown in Figure 16 and 17 for Ottawa #3821 and #3820 sands, respectively. For Ottawa
#3821 (fine sand), the diesel fuel front reaches the capillary fringe within approximately
4 h (t = 34 h) with the rate of advancement of approximately 6 cm/hr (Figure 16(a)).
For Ottawa #3820 (medium sand), most diesel fuel rapidly moves to the capillary fringe
within approximately 1 h (t = 31 h) which gives the rate of diesel front advancement of
approximately 30 cm/hr (Figure 17(a)). Generally, the observed behaviour during second
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

drainage stage is relatively similar to first drainage stage.


Figure 18 shows the liquid saturation profiles at the end of second drainage stage
(t = 42 h) which is considered as close to equilibrium state. For Ottawa #3821 (fine
sand), the thickness of the capillary fringe increases from 2 to 5 cm without depression
of the water table and the thickness of diesel pool above the capillary fringe is 6 cm
(Figure 18(a)). For Ottawa # 3820 (medium sand), the diesel fuel totally eliminates the
capillary fringe with slight depression of the water table by 1 cm and the thickness of
diesel pool above the water table is 6 cm (Figure 18(b)). The liquid saturation profiles
at the end of second drainage stage are relatively similar to that at the end of first drai-
nage stage. The residual liquid saturations above the diesel pool are So,r = 4.9% and Sw,
r = 10.7% for Ottawa #3821 and So,r = 4.6% and Sw,r = 7.9% for Ottawa #3820 sands.

Figure 16. Liquid saturation profiles of Ottawa #3821 sand during t = 30–42 h.
18 S. Yimsiri et al.
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

Figure 17. Liquid saturation profiles of Ottawa #3820 sand during t = 30–42 h.

Figure 18. Liquid saturation profiles at end of 2nd drainage stage (t = 42 h).

5.4. Second imbibition stage


At t = 42 h, the water pressure at the base of the column is again raised to h = 30 cm
and the dynamic variation of fluid saturation profiles with time during t = 42–54 h are
shown in Figures 19 and 20 for Ottawa #3821 and #3820 sands, respectively. For
European Journal of Environmental and Civil Engineering 19
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

Figure 19. Liquid saturation profiles of Ottawa #3821 sand during t = 42–54 h.

Figure 20. Liquid saturation profiles of Ottawa #3820 sand during t = 42–54 h.

Ottawa #3821 (fine sand), after the water table rises, the diesel fuel moves up in a
delayed fashion where the system reaches equilibrium after 4 h (at t = 46 h). For Ottawa
#3820 (medium sand), most diesel fuel rapidly moves up toward the top of the column
within 1 h (t = 43 h). After that, the diesel fuel continues accumulating above the water
table (Figure 20(a)), whereas the water seems to already reach its equilibrium state
(Figure 20(b)). Generally, the behaviour during second imbibition stage is relatively
similar to that of first imbibition stage.
20 S. Yimsiri et al.
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

Figure 21. Liquid saturation profiles at end of 2nd imbibition stage (t = 54 h).

Figure 21 shows the liquid saturation profiles at the end of second imbibition stage
(t = 54 h) which is considered as close to equilibrium state. For Ottawa #3821 (fine
sand), the diesel fuel totally eliminates the capillary fringe with depression of the water
table by 4 cm and the thickness of diesel pool above the water table is 13 cm
(Figure 21(a)). For Ottawa #3820 (medium sand), the diesel fuel also totally eliminates
the capillary fringe with slight depression of the water table by 2 cm and the thickness
of diesel pool above the water table is 9 cm (Figure 21(b)). The liquid saturation pro-
files at the end of second imbibition stage are relatively similar to those at the end of
first imbibition stage. The entrapped saturations of each phase at the end of second
imbibition stage are Sa,e = 17.9% and So,e = 6.7% for Ottawa #3821 and Sa,e = 30.1%
and So,e = 6.0% for Ottawa #3820 sands.

6. Discussions
The residual saturations at the end of drainage stages and the entrapped saturations at
the end of imbibition stages are summarised in Figure 22. The total residual saturations
(diesel + water) during drainage stages of Ottawa #3821 sand are larger than those of
Ottawa #3820 sand due to finer sand particle size. Also, the entrapped diesel saturations
during imbibition stages of Ottawa #3821 sand are larger than those of Ottawa #3820
sand due also to finer sand particle size. However, the entrapped air saturations during
imbibition stages of Ottawa #3821 sand are smaller than those of Ottawa #3820 sand.
The residual diesel saturations during drainage stages are approximately unchanged as
the drainage stages are repeated. This may not be consistent with Chompusri et al.
(2002) who showed that the residual LNAPL above a mobile phase became smaller
with continued water table oscillations.
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

100 100
Air 87.5 Air
90 (a) Ottawa #3821 84.4 90 85.7 (b) Ottawa #3820
81.8 Diesel Diesel
80 75.4 80
Water Water
65.7 68.3
70 70 63.9
60 60
50 50
40 40
30.1
30 24.1 30 27.1
17.9
20 14.4 20

Degree of saturation (%)


Degree of saturation (%)
10.2 10.7 10.2
10 4.9 6.7 7.9 6.0
3.8 10 4.1 4.6 4.6
0 0
1st drainage 1st imbibition 2nd drainage 2nd imbibition 1st drainage 1st imbibition 2nd drainage 2nd imbibition
(residual) (entrapped) (residual) (entrapped) (residual) (entrapped) (residual) (entrapped)

Figure 22. Residual and entrapped saturations in three-phase systems.


European Journal of Environmental and Civil Engineering
21
22 S. Yimsiri et al.

Table 6. Comparison of residual entrapped air during imbibition stage.


Lenhard et al. Ryan and Dhir
Properties (1993) (1993) This research
Porous medium Sandy material Glass particle Ottawa #3821 Ottawa #3820
D50 = 400 μm D50 = 210–710 D50 = 400 μm D50 = 600 μm
μm
Medium e = 0.67 γ = 16.2 e = 0.58–0.69 e = 0.49 γ = 17.6 e = 0.50 γ = 17.6
density* kN/m3 kN/m3 kN/m3
LNAPL Soltrol 170 Soltrol 170 Diesel fuel Diesel duel
Water table 5 cm/10 min Slowly Rapidly Rapidly
movement
Entrapped air 6–10% 7–17% 18–24% 27–30%
(Sa,e)
*e = void ratio, γ = unit weight.
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

During imbibition stages (rising water table), there is some air (apart from some die-
sel) entrapped under water table. This phenomenon was also observed from similar
experiments by Lenhard et al. (1993) and Ryan and Dhir (1993), the comparison of
which is summarised in Table 6. All researches used similar sizes of porous media and
similar LNAPLs (Soltrol 170 and diesel have relatively similar viscosity and surface
tension); however, the amounts of entrapped air obtained from this research are much
larger than those of other researches. This may be due to two main reasons, i.e. (i) the
sands used in this research are denser and (ii) the water table movement in this research
is more rapid. The denser sand specimens reduce the pore sizes and increase the pore
tortuosity which may hinder the escape of air from the pore during imbibition process.
Moreover, the oscillation of the water table is controlled by instantaneously adjustment
of the water pressure at the base of the column to a specified value and allow the water
table height in the column to correspondingly alter in an uncontrolled rate. This may
introduce turbulent flow at the fluid interface which enhances air entrapment. However,
this effect is expected to be less for Ottawa #3821 sand since the movement of water
table is slower.
It is also noted that this experiment is conducted in one-dimension which limits the
flow channel. In a two-dimensional rising water table system, diesel may not rise as fast
as the water table and can be completely by-passed. In that case, the rising diesel has to
displace water when it moves upward and the water/diesel entry pressure has to be

Table 7. Comparison of extension two-phase to three-phase.


Water residual Total liquid residual
Sand Stage Swaow * Swow ** Staow * Soao **
Ottawa #3821 1st drainage 14.4 10.0 18.2 10.5
2nd drainage 10.7 10.0 15.6 10.5
Ottawa #3820 1st drainage 10.2 8.0 14.3 8.5
2nd drainage 7.9 8.0 12.5 8.5
Note: All variables are defined in Equations (7) and (8).
*
From experiment (see Figure 22).
**
From SLCCs (see Table 5).
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

99.7 99.6 98.8


100 100 96.1
(a) Ottawa #3821 Above WT
90 Above WT 90 (b) Ottawa #3820
Below WT
80 Below WT 80
70 62.9 70
58.6
60 52.9 60 53.3
50 47.1 46.7
50
41.4
40 37.1

Amount (%)
40

Amount (%)
30 30
20 20
10 10 3.9
0.3 0.4 1.2
0 0
1st drainage 1st imbibition 2nd drainage 2nd imbibition 1st drainage 1st imbibition 2nd drainage 2nd imbibition

Figure 23. Amount of diesel fuel above and below water table.
European Journal of Environmental and Civil Engineering
23
24 S. Yimsiri et al.

exceeded for this to occur. Especially in fine-grained sand, the entry pressure might be
such that a body of continuous diesel may be retained below the water table.
In three-phase systems of air, NAPL, and water in which the water phase is the most
preferentially wetting fluid followed by the NAPL and the least wetting air phase, the
total liquid saturation is a function of two-phase air/NAPL matric suction (Equation (7))
and the water saturation is a function of two-phase NAPL/water matric suction (Equa-
tion (8)) (Lenhard & Parker, 1987). Therefore, the SLCCs of two-phase systems
obtained in Figure 7 can be used to estimate the residual liquid saturations observed
during drainage stages of three-phase experiment, the comparison of which is sum-
marised in Table 7. It can be seen that the comparison is acceptable and the results of
second drainage stage give better consistency.
Staow ¼ Soao ðwao Þ (7)

Swaow ¼ Swow ðwow Þ (8)


Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

where Staow ¼ Swaow þ Soaow , superscript aow denotes 3-phase system, and superscripts ow
and ao denote 2-phase NAPL/water and air/NAPL systems, respectively.
Figure 23 presents the amount of diesel fuel above and below water table at equilib-
rium of each stage. It is noted that the elevation of water table is derived from the water
pressure at the base of the column. During drainage stages, most of the diesel fuel
locates above the water table. Very small amount of diesel fuel enters under water table
for Ottawa #3820 because diesel fuel depresses the existing thin capillary fringe due to
coarse sand particle size. During imbibition stages, 37–47% of the total amount of die-
sel fuel is entrapped under the water table. Comparison of the results of first with sec-
ond imbibition stages, there is no systematic difference in the amount of diesel fuel
entrapped under the water table with the change in particle size. Several parameters
may affect LNAPL distribution in porous media after water table fluctuation, including
volume of LNAPL present, magnitude and speed of water table fluctuation and porous
media and LNAPL properties (e.g. Lenhard et al., 1993; Oostrom et al., 2006).

7. Conclusions
The effects of water table fluctuation on diesel migration in vadose zone are investigated
by one-dimensional column test. The saturation distributions of water and diesel in the
entire flow domain under transient condition are measured by the SIAM (Flores et al.,
2011). The two-phase column and Tempe pressure cell data yield soil-liquids character-
istic curves (SLCCs) of air/water and air/diesel systems. The empirical model of
Fredlund and Xing (1994) fits the experimental data better particularly at large matric
suction. By applying scaling procedure (Lenhard & Parker, 1987), the SLCCs of a
diesel/water system can be predicted. Comparing the SLCCs of three two-phase sys-
tems, a descending sequence of matric suction at a given saturation of wetting phase is
in the order of air/water, diesel/water and air/diesel systems. Finer particle size gives
larger entry pressure (ψa), residual matric suction (ψr) and residual degree of saturation
(Sr), whereas larger fluid viscosity yields smaller ψa and ψr.
The three-phase column data show the effects of groundwater table fluctuation on
diesel fuel distribution. Water table fluctuation results in a considerable increase in the
vertical extent of the source zone. During drainage stages, diesel and water are present
as residual phases above the water table and the total residual saturation of finer sand is
European Journal of Environmental and Civil Engineering 25

larger. These residual saturations in three-phase system can be predicted from the
obtained SLCCs of two-phase systems according to Lenhard and Parker (1987). During
imbibition stages, the experimental data suggest that air and diesel are entrapped below
water table with the entrapped air saturations of 18–24% and entrapped diesel satura-
tions of 6–10% for fine sand. The residual diesel saturations during drainage stages and
entrapped diesel saturations during imbibition stages do not show any systematic differ-
ence as these stages are repeated. When the sand particle size becomes coarser, the
entrapped diesel saturations are smaller; however, the entrapped air saturations are lar-
ger. The amounts of entrapped air obtained from this study are much larger than those
of other researches which may be due to the used of denser sands and more rapid water
table movement in this study. During imbibition stages, 37–47% of the total amount of
diesel fuel is entrapped under the water table. Comparisons of the results of first with
second imbibition stages and of fine with coarse sands do not show any systematic dif-
ference in the amount of diesel fuel entrapped under the water table.
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

Acknowledgements
The support provided by the Faculty of Engineering, Burapha University and AUN/SEED-Net is
appreciated.

Disclosure statement
No potential conflict of interest was reported by the authors.

Funding
This work was supported by the Faculty of Engineering [grant number WJP 14/2556] and
Burapha University [grant number NRCT 102/2558].

References
Arya, L. M., Leij, F. J., Shouse, P. J., & van Genuchten, M. (1999). Relationship between the
hydraulic conductivity function and the particle-size distribution. Soil Science Society of
America Journal, 63, 1063–1070.
Arya, L. M., & Paris, J. F. (1981). A physicoempirical model to predict the soil moisture charac-
teristic from particle-size distribution and bulk density data. Soil Science Society of America
Journal, 45, 1023–1030.
Busby, R. D., Lenhard, R. J., & Rolston, D. E. (1995). An investigation of saturation-capillary
pressure relations in two- and three-fluid systems for several NAPLS in different porous
media. Ground Water, 33, 570–578.
Chapuis, R. P. (2004). Predicting the saturated hydraulic conductivity of sand and gravel using
effective diameter and void ratio. Canadian Geotechnical Journal, 41, 787–795.
Chompusri, S., Rivett, M. O., & Mackay, R. (2002). LNAPL redistribution on a fluctuating water
table: Column experiments. Groundwater Quality: Natural and Enhanced Restoration of
Groundwater Pollution, IAHS Publication No. 275, 225–231.
DiCarlo, D. A., Bauters, T. W. J., Steenhuis, T. S., Parlange, J.-Y., & Bierck, B. R. (1997). High-
speed measurements of three-phase flow using synchrotron X rays. Water Resources Research,
33, 569–576.
Eckberg, D. K., & Sunada, D. K. (1984). Nonsteady three-phase immiscible fluid distribution in
porous media. Water Resources Research, 20, 1891–1897.
Feth, J. F. (1973). Water facts and figures for planners and managers. US Geological Survey
Circular, 601–601.
26 S. Yimsiri et al.

Fredlund, D. G., & Xing, A. (1994). Equations for the soil-water characteristic curve. Canadian
Geotechnical Journal, 31, 521–532.
Flores, G., Katsumi, T., Inui, T., & Kamon, M. (2011). A simplified image analysis method to
study LNAPL migration in porous media. Soils and Foundations, 51, 835–847.
van Gunechten, M. T. (1980). A closed-form equation for predicting the hydraulic conductivity of
unsaturated soils. Soil Science Society of America Journal, 44, 892–898.
Host-Madsen, J., & Jensen, K. H. (1992). Laboratory and numerical investigations of immiscible
multiphase flow in soil. Journal of Hydrology, 135, 13–52.
Kaluarachchi, J. J., & Parker, J. C. (1989). An efficient finite element method for modeling
multiphase flow. Water Resources Research, 25, 43–54.
Kamon, M., Endo, K., & Katsumi, T. (2003). Measuring the k-S-p relations on DNAPLs migra-
tion. Engineering Geology, 70, 351–363.
Kamon, M., Li, Y., Endo, K., Inui, T., & Katsumi, T. (2007). Experimental study on the measure-
ment of S-p relations of LNAPL in a porous medium. Soils and Foundations, 47, 33–45.
Kamon, M., Li, Y., Flores, G., Inui, T., & Katsumi, T. (2006). Experimental and numerical study
on migration of LNAPL under the influence of fluctuating water table in subsurface. Annuals
of Disaster Prevention Research Institute, Kyoto University, 49B, 383–392.
Karapanagioti, H. K., Gaganis, P., & Burganos, V. N. (2003). Modeling attenuation of volatile
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

organic mixtures in the unsaturated zone: Codes and usage. Environmental Modelling &
Software, 18, 329–337.
Kechavarzi, C., Soga, K., & Illangasekare, T. H. (2005). Two-dimensional laboratory simulation
of LNAPL infiltration and redistribution in the vadose zone. Journal of Contaminant Hydrol-
ogy, 76, 211–233.
Lenhard, R. J., Dane, J. H., Parker, J. C., & Kaluarachchi, J. J. (1988). Measurement and simula-
tion of one-dimensional transient three-phase flow for monotonic liquid drainage. Water
Resources Research, 24, 853–863.
Lenhard, R. J., Johnson, T. G., & Parker, J. C. (1993). Experimental observations of nonaqueous-
phase liquid subsurface movement. Journal of Contaminant Hydrology, 12, 79–101.
Lenhard, R. J., Oostrom, M., & Dane, J. H. (2004). A constitutive model for air-NAPL-water flow
in the vadose zone accounting for immobile, non-occluded (residual) NAPL in strongly water-
wet porous media. Journal of Contaminant Hydrology, 71, 261–282.
Lenhard, R. J., & Parker, J. C. (1987). Measurement and prediction of saturation-pressure relation-
ships in three-phase porous media systems. Journal of Contaminant Hydrology, 1, 407–424.
Lenhard, R. J., & Parker, J. C. (1988). Experimental validation of the theory of extending two-
phase saturation-pressure relations to three-fluid phase systems for monotonic drainage paths.
Water Resources Research, 24, 373–380.
Oostrom, M., Hofstee, C., & Wietsma, T. W. (2006). Behavior of a viscous LNAPL under vari-
able water table conditions. Soil & Sediment Contamination, 15, 543–564.
Parker, J. C., Lenhard, R. J., & Kuppusamy, T. (1987). A parametric model for constitutive prop-
erties governing multiphase flow in porous media. Water Resources Research, 23, 618–624.
Ryan, R. G., & Dhir, V. K. (1993). The effect of soil-particle size on hydrocarbon entrapment near
a dynamic water table. Journal of Soil Contamination, 2, 59–92.
Sharma, R. S., & Mohamed, M. H. A. (2003). An experimental investigation of LNAPL migration
in an unsaturated/saturated sand. Engineering Geology, 70, 305–313.
Steffy, D. A., Johnston, C. D., & Barry, D. A. (1998). Numerical simulations and long-column
tests of LNAPL displacement and trapping by a fluctuating water table. Journal of Soil Con-
tamination, 7, 325–356.
Topp, G. C., Davis, J. L., & Annan, A. P. (1980). Electromagnetic determination of soil water
content: Measurements in coaxial transmission lines. Water Resources Research, 16, 574–582.
Tuck, D. M., Bierck, B. R., & Jaffe, P. R. (1998). Synchrotron radiation measurement of multi-
phase fluid saturations in porous media: Experimental technique and error analysis. Journal of
Contaminant Hydrology, 31, 231–256.
Unger, A. J. A., Sudicky, E. A., & Forsyth, P. A. (1995). Mechanisms controlling vacuum extrac-
tion coupled with air sparging for remediation of heterogeneous formations contaminated by
dense nonaqueous phase liquids. Water Resources Research, 31, 1913–1925.
United State Environmental Protection Agency (US EPA) (2002), National Water Quality
Inventory 2000 Report (EPA-841-R-02-001). Washington, DC: United States Environmental
Protection Agency Office of Water.
European Journal of Environmental and Civil Engineering 27

Van Geel, P. J., & Sykes, J. F. (1994). Laboratory and model simulations of LNAPL spill in a
variably-saturated sand, 1. Laboratory experiment and image analysis techniques. Journal of
Contaminant Hydrology, 17, 1–25.
Van Geel, P. J., & Sykes, J. F. (1997). The importance of fluid entrapment, saturation hysteresis
and residual saturations on the distribution of a lighter-than-water non-aqueous phase liquid in
a variably saturated sand medium. Journal of Contaminant Hydrology, 25, 249–270.
Yang, H., Rahardjo, H., Leong, E.-C., & Fredlund, D. G. (2004). Factors affecting drying and
wetting soil-water characteristic curves of sandy soils. Canadian Geotechnical Journal, 41,
908–920.
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016
ประวัตินักวิจัย

ประวัตินักวิจัย

ชื่อ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สยาม ยิ้มศิริ


หน่วยงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
การศึกษา Ph.D. (Soil Mechanics), University of Cambridge
ความเชี่ยวชาญ Geotechnical Engineering, Geoenvironmental Engineering
European Journal of Environmental and Civil Engineering

ISSN: 1964-8189 (Print) 2116-7214 (Online) Journal homepage: http://www.tandfonline.com/loi/tece20

Effects of water table fluctuation on diesel fuel


migration in one-dimensional laboratory study

S. Yimsiri, S. Euaapiwatch, G. Flores, T. Katsumi & S. Likitlersuang

To cite this article: S. Yimsiri, S. Euaapiwatch, G. Flores, T. Katsumi & S. Likitlersuang


(2016): Effects of water table fluctuation on diesel fuel migration in one-dimensional
laboratory study, European Journal of Environmental and Civil Engineering, DOI:
10.1080/19648189.2016.1197158

To link to this article: http://dx.doi.org/10.1080/19648189.2016.1197158

Published online: 16 Jun 2016.

Submit your article to this journal

Article views: 3

View related articles

View Crossmark data

Full Terms & Conditions of access and use can be found at


http://www.tandfonline.com/action/journalInformation?journalCode=tece20

Download by: [Dr Siam Yimsiri] Date: 19 June 2016, At: 01:05
European Journal of Environmental and Civil Engineering, 2016
http://dx.doi.org/10.1080/19648189.2016.1197158

Effects of water table fluctuation on diesel fuel migration in


one-dimensional laboratory study
S. Yimsiria*, S. Euaapiwatcha, G. Floresb, T. Katsumic and S. Likitlersuangd
a
Department of Civil Engineering, Burapha University, Chonburi, Thailand; bFaculty of
Engineering, Kyoto University, Kyoto, Japan; cGraduate School of Global Environmental Studies,
Kyoto University, Kyoto, Japan; dGeotechnical Research Unit, Department of Civil Engineering,
Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand
(Received 5 September 2014; accepted 26 May 2016)
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

The effects of water table fluctuation on diesel fuel redistribution in unsaturated soil
are investigated in the laboratory by one-dimensional column test. The simplified
image analysis method is used to assess the saturation distributions of water and die-
sel in the flow domain under transient condition. The experiments are undertaken on
two homogeneous sands to study the effects of different particle sizes. The two-phase
experimental data illustrate soil–liquid characteristic curves (SLCCs) of water/air and
diesel/air systems. The SLCCs of diesel/water systems can be predicted by scaling
procedure. A descending order of matric suction at a given saturation of wetting
phase is in the order of air/water, diesel/water and air/diesel systems. Coarser particle
size gives smaller entry pressure, residual matric suction and residual degree of satu-
ration. The three-phase (air/water/diesel) experimental data illustrate that, during
imbibition stages, air and diesel are entrapped below water table with the entrapped
air saturations of 18–24% and entrapped diesel saturations of 6–10% for fine sand.
Coarser particle size yields smaller entrapped diesel saturations and larger entrapped
air saturations. The residual diesel saturations during drainage stages and entrapped
diesel saturations during imbibition stages do not show any systematic difference as
these stages are repeated. During imbibition stages, 37–47% of the total amount of
diesel fuel is entrapped under the water table. Also, there is no systematic difference
in the amount of diesel fuel entrapped under the water table when imbibition stages
are repeated.
Keywords: LNAPL; diesel fuel; water table fluctuation; residual; entrapment

1. Introduction
Groundwater is the most important freshwater resource that humanity must rely on. Only
0.5% of the world’s total water supply is available to human as a freshwater (97% is sal-
ine water in the ocean and 2.5% is frozen as ice caps and glaciers) and 98% of the avail-
able freshwater is groundwater (Feth, 1973). Groundwater can be contaminated by many
causes and contamination by organic products, which are often associated with petroleum
hydrocarbons or halogenated compounds used as industrial solvents, poses one of major
problems. The contamination of groundwater by petroleum hydrocarbons, such as diesel
fuel and gasoline as a result of improper disposal practices, spills and leaking storage
facilities, represents one of the most common sources of subsurface contamination

*
Corresponding author. Email: ysiam@buu.ac.th

© 2016 Informa UK Limited, trading as Taylor & Francis Group


2 S. Yimsiri et al.

(United State Environmental Protection Agency (US EPA), 2002). These contaminants
exist as an immiscible phase when in contact with water and their densities are less than
water which makes them being classified as light non-aqueous phase liquids (LNAPLs).
These products are usually multi-component organic mixtures consisted of chemicals
with varying degrees of water solubility, but are toxic at low concentration. Therefore,
they can act as long-term sources of groundwater contamination.
After LNAPL is released on the surface, it moves downward through the unsaturated
zone and a fraction is retained in the soil pores as residual phase by capillary forces until
movement stops. If large amount of LNAPL is released, however, it reaches saturated zone
and spread laterally along the capillary fringe and may also depress the capillary fringe
and groundwater table. Fluctuation of groundwater table complicates the migration of
LNAPL by causing LNAPL redistribution across the zone of fluctuation because LNAPL
becomes entrapped above and below the mobile LNAPL due to capillary force. Such fluc-
tuation of groundwater table commonly occurs in any geographical regions and may arise
from variation in aquifer recharge–discharge, groundwater extraction or injection through
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

wells, seasonal rainfall, barometric effects, tidal influences and evapotranspiration cycles.
Redistribution of LNAPL due to groundwater table fluctuations may lead to enhanced
dissolution of LNAPL source zone and dissolved-plume formation.
To select appropriate remedial strategy at an LNAPL-contaminated site, it is neces-
sary to delineate the extent of the contaminated area. This information can be obtained
by an extensive field investigation, which generally is expensive and time-consuming.
Such a field investigation can be optimised if the likely migration pattern of LNAPL
can be estimated by numerical analysis. A number of numerical simulators have been
developed to model LNAPL transport in subsurface (e.g. Host-Madsen & Jensen, 1992;
Kaluarachchi & Parker, 1989; Karapanagioti, Gaganis, & Burganos, 2003; Unger,
Sudicky, & Forsyth, 1995). Under groundwater table fluctuation condition, the hysteresis
nature of the relative permeability-saturation-capillary pressure relationships and fluid
entrapment phenomenon are important aspects of the implemented constitutive relation-
ship for the numerical analysis (e.g. Oostrom, Hofstee, & Wietsma, 2006; Steffy,
Johnston, & Barry, 1998; Van Geel & Sykes, 1997). Their predictive capability and
adequacy of various assumptions embodied in them need to be evaluated against well-
controlled laboratory experiment under transient and static conditions before confident
predictions of the fate of LNAPLs in subsurface of field-scale problems can be made.
There have been many intermediate-scale multiphase flow experiments of LNAPL
transport in which quantitative data are obtained. The LNAPL transport experiments
were conducted in one-dimension by; e.g. Eckberg and Sunada (1984) and Lenhard,
Dane, Parker, and Kaluarachchi (1988) and in 2-dimension by; e.g. Van Geel and Sykes
(1994) and Kechavarzi, Soga, and Illangasekare (2005). Few researchers conducted the
experiments to study effects of water table fluctuation on LNAPL redistribution in one-
dimension, e.g. Lenhard, Johnson, and Parker (1993), Steffy et al. (1998) and Kamon,
Li, Flores, Inui, and Katsumi (2006), and in two-dimension, e.g. Van Geel and Sykes
(1997) and Oostrom et al. (2006). Very few researchers investigated the effects of repe-
tition of water table fluctuation on LNAPL redistribution (e.g. Chompusri, Rivett, &
Mackay, 2002). Unfortunately, due to the limitation of instrumentation technique, there
was quantitative information of fluid saturations only either at discrete point under
dynamic condition or of entire domain at near steady-state condition. Numerous
researchers have also studied effects of particle size on the behaviour of unsaturated
soil, i.e. on soil–liquid characteristic curve (SLCC) (e.g. Arya & Paris, 1981; Yang,
Rahardjo, Leong, & Fredlund, 2004), on residual saturation (e.g. Ryan & Dhir, 1993),
European Journal of Environmental and Civil Engineering 3

and on permeability (e.g. Arya, Leij, Shouse, & van Genuchten, 1999; Chapuis, 2004);
however, most studies have been done with soil element tests. Therefore, there is a
dearth of intermediate-scale experimental data of transient fluid saturation distribution in
the entire flow domain at any time under water table fluctuation condition with attention
to effects of particle size.
The objective of the present study is to carry out a one-dimensional immiscible
three-phase flow experiment with consideration on the effects of water table fluctuation
on LNAPL redistribution and entrapment with particular attention to particle size of
sand and repetition of water table fluctuation. The experiments are carried out under
well-defined and controlled conditions by two laboratory one-dimensional columns each
containing a different sand material. The phase saturation data are measured using an
image analysis technique to obtain detailed quantitative data of transient fluid saturation
distribution in an entire flow domain. These experimental results can develop better
understanding on the effects of water table fluctuation on LNAPL migration and can
provide well-controlled laboratory experimental data against which numerical models
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

can validate their predictive capabilities.

2. Simplified image analysis method (SIAM)


In laboratory test, measurement of NAPL saturation is the most difficult and important
task in acquiring precise quantitative data. Although gravimetric sampling method is the
most accurate, it cannot provide saturation data continuously because soil samples must
be removed from a soil mass. Conventionally, the non-intrusive and non-destructive
methods used to measure fluid saturations are: e.g. γ-ray attenuation, X-ray attenuation,
time domain reflectometry (TDR) and electrical conductivity probes (e.g. DiCarlo,
Bauters, Steenhuis, Parlange, & Bierck, 1997; Kamon, Endo, & Katsumi, 2003; Topp,
Davis, & Annan, 1980; Tuck, Bierck, & Jaffe, 1998). Although accurate, these methods
are experimentally demanding and do not allow the acquisition of transient fluid satura-
tion distribution in the entire flow domain at any specific time. The data generated are
restricted to either saturation distribution under static or steady-state flow conditions or
local measurement of saturation during transient flow. Owing to these experimental
difficulties, the number of multi-dimensional three-phase flow experiments, where both
saturation and pressure of all fluids are measured, are not abundant.
The SIAM developed by Flores, Katsumi, Inui, and Kamon (2011) is employed in
this research to assess the saturation distributions of water and LNAPL in sand under
transient condition. This method is a non-intrusive and non-destructive technique to
measure saturations of fluids in porous media in the entire domain of the experimental
column. The Beer–Lambert Law of Transmittance is employed to obtain linear relation-
ships between average optical density (defined in Equation (1)) and fluid saturations that
can be used, after proper calibration, to calculate fluid saturations of soil samples when
their photos are taken.
" !#
1X N
1X N Ijir
Di ¼ dji ¼  log10 0 (1)
N j¼1 N j¼1 Iji

where Di is the average optical density, i is a given spectral band, N is number of pixels
contained in area of interest, dji is optical density of individual pixels, Ijir is intensity of
the reflected light given by individual pixel values and Iji0 is intensity of light that
reflected by an ideal white surface.
4 S. Yimsiri et al.

The SIAM uses two consumer-grade digital cameras with the 450 and 640-nm
band-pass filters. The transmittance analysis shows that, at wavelength of 640 nm, the
red-dyed diesel gave maximum transmittance and the water gave minimum transmit-
tance, whereas the opposite pattern was observed at wavelength of 450 nm. The
calibration process requires three calibrating photos corresponding to the extremities of
the Di-So-Sw relationship plane, which are (i) dry sand (Sw = 0%, So = 0%), (ii) sand
fully saturated with water (Sw = 100%, So = 0%) and (iii) sand fully saturated with
NAPL (Sw = 0%, So = 100%) (see Figure 1), where Sw is water saturation and So is
NAPL saturation. The matrix of correlation equation can then be obtained as shown in
Equation (2).
    10   01  
D450 D  D00 450 Sw þ D450  D450 So þ D450
00 00
¼  450 (2)
640  D640 Sw þ D640  D640 So þ D640 14400
D10 00 01 00 00
D640 14400

where 14 × 400 is the dimension of matrix, [D450]14×400 and [D640]14×400 are average
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

optical densities of each mesh element for wavelengths 450 and 640 nm, [D00 450 ]14×400
and [D00 640 ]14×400 are average optical densities of each mesh element for dry sand;
[D10 10 01 01
450 ]14×400 and [D640 ]14×400 for water-saturated sand; [D450 ]14×400 and [D640 ]14×400 for
NAPL-saturated sand.
In this analysis, the studied domain (3.5×100 cm2) is divided into 5,600 (14 × 400)
mesh elements of 0.25 × 0.25 cm2 each. This discretisation is selected on the basis of
trial analysis to optimise dispersion of the results. During the experiment, the photos are
taken and the average optical densities of each mesh element of the studied domain are
calculated and compared to the corresponding ones for all three cases and then water
saturation [Sw]14×400 and NAPL saturation [So]14×400 can be obtained by solving
Equation (2). It is verified that (i) a linear relationship exists between optical density
and saturations of water and diesel fuel for Ottawa #3821 and #3820 sands with
coefficients of determination (r2) ranging between 0.78 and 0.93 and (ii) the accuracy of
obtained degree of saturation is ±10%.

at wavelength i

Figure 1. Simplified image analysis method.


European Journal of Environmental and Civil Engineering 5

3. Details of experiments
In this study, there are three experimental parts, i.e. (i) Tempe pressure cell, (ii) two-
phase column experiment and (iii) three-phase column experiment. The two-phase
column experiment and Tempe pressure cell aim to study the SLCCs of tested sands.
The three-phase column experiment aims to investigate the effects of groundwater table
fluctuation on diesel fuel distribution in subsurface.

3.1. Tested sands and LNAPL


Two sand materials, i.e. Ottawa #3821 and #3820 sands, are used in this study. These
tested sands are classified as poorly graded fine and medium sands, respectively, at rela-
tively dense state. Their grain-size distribution curves are shown in Figure 2 and some
properties are summarised in Table 1. Both sands are prepared at similar dry unit weight
and void ratio resulting in relatively similar coefficient of permeability. Thus, the only
difference between these two specimens is the grain size.
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

Diesel fuel is used as an experimental LNAPL. It is dyed red with Red Sudan III
(1:10000 by weight) to enhance visual observation and increase its light absorbance
properties. There is no noticeable change in the physical properties of diesel fuel after
being mixed with dye and the dye does not migrate between water and diesel fuel and
it is not absorbed by sand particles. The properties of the liquids employed in this study
are summarised in Table 2.

3.2. Tempe pressure cell


The air/water and air/diesel drainage tests at high matric suction are conducted using a
Tempe pressure cell. In these tests, air is the non-wetting fluid and water or diesel fuel
is the wetting fluid. The air pressure of 10–90 kPa is supplied through the inlet tube at
the top cap and the liquid is allowed to drain out of the soil specimen from the under-
neath outlet which is connected to the atmosphere (0 kPa). The system is left for 24 h
to reach equilibrium at each applied air pressure which is confirmed by observing the

100
90 Ottawa #3821
80 Ottawa #3820
70
60
% F in e r

50
40
30
20
10
0
10 1 0.1 0.01
Particle size (mm)

Figure 2. Grain-size distribution curves of tested sands.


6 S. Yimsiri et al.

Table 1. Properties of tested sands.


Properties Ottawa #3821 Ottawa #3820
Unified Soil Classification System (USCS) SP SP
Description (according to USCS) Fine sand Medium sand
Specific gravity, Gs 2.63 2.64
Mean grain size (D50), mm 0.422 0.643
Coefficient of uniformity, Cu 1.48 1.36
Coefficient of curvature, Cc 0.91 0.95
Coeff. of permeability of water, kw (cm/s)* 1.80 × 10−2 2.02 × 10−2
Coeff. of permeability of diesel, ko (cm/s)* 1.58 × 10−2 1.91 × 10−2
Dry unit weight, γdry (kN/m3) 17.6 17.6
Void ratio, e 0.49 0.50
*Constant-head permeability test at 20 °C.

Table 2. Properties of tested liquids.


Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

Properties Water Diesel fuel


Density, ρs (g/cm ) at 20 °C
3
0.998 0.865
Kinematic viscosity, μ (mm2/s) at 20 °C 1.00 4.10
Surface tension (mN/m) at 20 °C 70.28 28.80
Vapor pressure (mmHg) at 40 °C 7.37 3.75

change of weight of draining liquid being less than 0.5%. The procedure is then
repeated at higher applied air pressure. The change in the liquid content of the soil
specimen is measured by the volume of draining liquid.

3.3. Two-phase column experiment


One-dimensional columns, 3.5 × 3.5 × 110 cm3 constructed of transparent acrylic walls,
are employed in this study. The base of column is connected to the constant-head water
reservoir to control the water pressure at its base. The upper air-phase boundary condi-
tion is atmospheric. Evaporation is minimised by covering top of the column with plas-
tic plate that contained small holes to avoid producing vacuum. There are access ports
at every 10 cm along the column height for sample collection to determine the liquid
saturation by gravimetric method. The sampling ports has 10 mm diameter; therefore,
the obtained liquid saturations are average values over these areas. The room tempera-
ture and humidity are controlled to maintain relatively stable values of 20 °C and 80%,
respectively. The laboratory set-up and example colour photos are presented by Flores
et al. (2011).
The air/water and air/diesel drainage tests at low matric suction are conducted by
two-phase column experiment. The column is packed with oven-dried sand up to
h = 105 cm (where h is the height from the base of column). The column packing is
done in short lift to ensure sample homogeneity. The sand is slowly wetted from below
until water or diesel fuel ponded on the surface after which suction is applied from top
to remove trapped air. After that, the liquid head at the base of the column is lowered
to h = 5 cm and the liquid inside the column is allowed to drain out through the base of
column. The column is left for 72 h to allow for equilibrium by observing the change
of weight of draining liquid being less than 0.5%.
European Journal of Environmental and Civil Engineering 7

Figure 3. Prescribed water pressure at the base of the column.


Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

3.4. Three-phase column experiment


The effects of groundwater table fluctuation on diesel fuel distribution are studied by
three-phase column experiment. The experimental set-up is similar to that of two-phase
column experiment except that, in this experiment, dry sands are filled up to only
h = 45 cm. After fully saturated condition, the water pressure at the base is varied to con-
trol the water table height in the column in four stages, i.e. first drainage, first imbibition,
second drainage, and second imbibition, as shown in Figure 3. The water pressure head at
the base of the column is altered instantaneously to the required value and the water table
height inside the column is correspondingly altered in an uncontrolled rate with each stage
finished within 5–10 min. The detail of each stage is described as follow.

(i) First drainage: The water pressure at the base is lowered from h = 45 to 5 cm
and the water inside the column is allowed to drain freely out of the base. After
6 h, 15 g (17.3 cm3) of diesel fuel is introduced from the top of column; there-
fore, the system composes of three phases from this point onward. The column
is left for further 12 h and this stage takes totally 18 h.
(ii) First imbibition: The water pressure at the base is raised from h = 5 to 30 cm
and the water table inside the column is allowed to move freely upward. After
that, the column is left for 12 h.
(iii) Second drainage: The water pressure at the base is lowered from h = 30 to
5 cm and the water table inside the column is allowed to move freely down-
ward. No additional diesel is added to the system. After that, the column is left
for 12 h.
(iv) Second imbibition: The first imbibition process is repeated in this stage.

4. Soil–liquid characteristic curves


4.1. SLCCs in two-phase systems of air/water and air/diesel
The SLCC is a relationship between the liquid saturation and matric suction (S-p
relation) of soil. In this study, the main drainage (drying) curves of S-p relations can be
analysed. The SLCCs of Ottawa #3821 and #3820 sands are shown in Figures 4 and 5,
8 S. Yimsiri et al.
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

Figure 4. SLCCs of Ottawa #3821 sand.

Figure 5. SLCCs of Ottawa #3820 sand.

respectively, the data of which are obtained from both two-phase column experiment (at
low matric suction of less than 10 kPa) and Tempe pressure cell (at high matric suction
of 10–90 kPa). In two-phase column experiment, the height of a measurement location
above the liquid table is assumed to equal to the maric suction (or negative pore-liquid
pressure head) at that point. The obtained SLCCs are fitted with the empirical models
of van Gunechten (1980) (VG) (Equation 3) and Fredlund and Xing (1994) (FX)
(Equation 4) with a least-squares algorithm and the resulting SLCCs are shown in
Figures 4 and 5. The constants of the models are summarised in Table 3 and it shows
that finer sand (Ottawa #3821) yields larger Sr, ψr, a and n but smaller m, whereas die-
sel fuel gives lower Sr, a and n but larger m. The effects of particle size on model
parameters obtained in this research are consistent with Yang et al. (2004). From this
European Journal of Environmental and Civil Engineering 9

Table 3. Constants of SLCC models.


van Genuchten model Fredlund & Xing model
Fluid a ψr a
Sand pair Sr (kPa) m n r2 (kPa) (kPa) m n r2
Ottawa Air/ 0.1109 1.460 2.55 15.56 0.982 4.252 1.027 0.37 155.0 0.993
#3821 Water
Air/ 0.0790 0.854 2.81 11.78 0.988 4.723 0.487 0.51 54.3 0.995
Diesel
Ottawa Air/ 0.0797 0.556 2.88 10.00 0.982 3.825 0.482 0.42 130.0 0.994
#3820 Water
Air/ 0.0574 0.376 4.72 7.09 0.989 2.589 0.260 0.50 119.0 0.989
Diesel
Note: All variables are defined in Equation 4.
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

research, the FX model fits the experimental data better (indicated by r2 in Table 3),
particularly at large matric suction which is consistent with the discussion of Fredlund
and Xing (1994). Thus, only the FX model is used for further analysis.
2 3m
6  n 7
1
S ¼ Sr þ ð1  Sr Þ4 5 ðSr , a, m, n are fitting parametersÞ (3)
1 þ wa

2   32 3m
ln 1 þ ww
56  n i7
1
S ¼ 41   4 h 5 ðwr , a, m, n are fitting parametersÞ
r
(4)
ln 1 þ w ln e þ wa
10 6

where S = degree of saturation; ψ = matric suction; Sr = residual degree of saturation


(see Figure 8); ψr = residual matric suction (see Figure 8); ψa = air-entry pressure (see
Figure 8); e = natural number 2.71828 …; a = model parameter relates to air-entry
pressure (a increases, ψa increases); m = model parameter relates to residual degree of
saturation (m decreases, ψr increases); n = model parameter relates to slope of SLCC
(n decreases, dψ/dS increases)

4.2. Estimation of SLCC in two-phase system of diesel/water


For a rigid porous medium, it is only necessary to measure S-p relations for two of the
three two-phase systems (i.e. air/water, air/NAPL or NAPL/water) and the S-p relation
of the third system may then be predicted (Lenhard & Parker, 1987). In the scaling pro-
cedure proposed by Parker, Lenhard, and Kuppusamy (1987), S-p relations of two-phase
systems are adjusted to obtain a unique scaled function for a given porous medium after
applying a linear transformation to matric suction as shown in Equation (5).
Sw ðbaw waw Þ ¼ So ðbao wao Þ ¼ Sw ðbow wow Þ ¼ S  ðw Þ (5)
where a, o and w refer to air, NAPL, and water phases, respectively;
Sj ¼ ðSj  Sjr Þ=ð1  Sjr Þ is the effective saturation of wetting phase j; Sjr is the irre-
ducible saturation of wetting phase j (Sjr = 0 for FX model); βij is a fluid pair-dependent
10 S. Yimsiri et al.

scaling factor; and S*(ψ*) is a scaled function between the saturation of wetting phase
and matric suction. The scaling coefficients are related as shown in Equation (6)
(Lenhard & Parker, 1987). In this study, Equation (6) is employed to determine the scal-
ing factor βow rather than deriving it on the basis of fluid interfacial tensions because
small water solubility and volatility of organic compounds can affect the fluid interfacial
tensions (Lenhard & Parker, 1988).
1 1 1
¼ þ (6)
baw bow bao
The procedure for predicting S-p relationship of diesel–water system is described as fol-
lows; (i) taking the air–water system as a reference fluid pair system and setting
βaw = 1.0; (ii) fitting S-p relation of air–water system to obtained S*(ψ*); (iii) obtaining
βao by fitting S-p relation of air–diesel system; (iv) obtaining βow by using Equation (6);
and (v) calculating Sw and ψow according to Equation (5). The scaled effective satura-
tion-matric suction relations are shown in Figure 6. All the scaling factors in air/water,
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

air/diesel and diesel/water systems are summarised in Table 4. The scaling factor of
each fluid pair is relatively similar for each porous medium which may indicate that the
scaling factors are fluid-dependent parameters as indicated in Parker et al. (1987).
From the obtained FX parameters and scaling factors, the S-p relations of all two-
phase systems can be shown in Figure 7. The SLCCs show that, once the value of the
matric suction increases slightly above the entry pressure, significant reduction in the
degree of saturation is recorded which means that most of liquid drains out of the sand
specimen. The tested sand specimens are poorly graded resulting in a relatively flat tran-
sition in the S-p relationship. The physical properties can be derived from these SLCCs
(see drying curve in Figure 8) and the results are summarised in Table 5. It can be seen
that finer sand has larger ψa, ψr and Sr, whereas diesel fuel gives smaller ψa and ψr.
The effects of particle size on these physical parameters are also consistent with those
reported by Yang et al. (2004).
Figure 7 shows that a descending sequence of matric suction at a given saturation of
wetting phase is in the order of air/water, diesel/water and air/diesel systems. The entry

Figure 6. Scaled effective saturation-matric suction relations.


European Journal of Environmental and Civil Engineering 11

Table 4. Scaling factors of all two-phase systems.


Scaling factors Ottawa #3821 Ottawa #3820
βaw *
1 1
βao 2.308 2.348
βow** 1.764 1.742
*
Reference system.
**
Use Equation (6).
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

Figure 7. Saturation-matric suction relations of all two-phase systems.

Figure 8. Idealised SLCCs.


12 S. Yimsiri et al.

Table 5. Physical properties derived from Fredlund and Xing SLCCs.


Fluid pair Sand ψa (kPa) ψr (kPa) Sr (%)
Air/Water Ottawa #3821 1.0 1.1 9.5
Ottawa #3820 0.45 0.52 7.5
Air/Diesel Ottawa #3821 0.42 0.50 10.5
Ottawa #3820 0.20 0.23 8.5
Diesel/Water Ottawa #3821 0.56 0.63 10.0
Ottawa #3820 0.25 0.31 8.0
Note: All variables are defined in Figure 8.

pressure of air/water system is larger than that of diesel/water system. This suggests
that, in their corresponding two-phase systems, diesel fuel is easier to displace water
than air at the beginning of drainage process. The entry pressure of air/water system is
larger than that of air/diesel system. This also suggests that diesel fuel is easier to be
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

desaturated than water in their corresponding two-phase systems. This phenomenon is


also consistent with the results from other LNAPLs presented by; e.g. Parker et al.
(1987), Busby, Lenhard, and Rolston (1995), Sharma and Mohamed (2003), and
Kamon, Li, Endo, Inui, and Katsumi (2007).

5. Effects of groundwater table fluctuation on diesel fuel distribution


The effects of groundwater table fluctuation on diesel fuel distribution can be analysed
from the three-phase column experiment. The profiles of water and diesel saturations in
entire domain during each test stage are presented. During the experiment, it is verified
that the difference between total amount of diesel fuel derived from volume integration
of the image analysis is within ±10% of the actual amount which indicates accuracy of
SIAM used in current study. To avoid confusion in the following discussion, entrapped
fluid is defined as non-wetting fluid that is occluded by water at a location far below
the water table during imbibition process, whereas residual fluid is defined as immobile
fluid held in place at a location far above the water table by capillary force after fluid is
allowed to drain (Lenhard, Oostrom, & Dane, 2004).

5.1. First drainage stage


The water saturation profiles, after the water pressure at the base of the column is low-
ered to h = 5 cm for 6 h, is shown in Figure 9 and they are compared with the SLCCs
(FX model) derived earlier (air/water curves in Figure 7). The consistency between
these data indicates the uniformity of packing of soil column between tests. The thick-
nesses of capillary fringe are 9 and 4 cm for Ottawa #3821 and #3820 sands, respec-
tively.
At t = 6 h, 15 g of diesel fuel is introduced to the soil surface such that slight pond-
ing occurs; therefore, the diesel fuel pressure may be assumed to be near atmospheric.
The diesel fuel infiltrates into the sand surface within 10 and 5 min for Ottawa #3821
and #3820 sands, respectively. Mobile diesel fuel moves downward while residual diesel
fuel remains behind. The dynamic variations of fluid saturation profiles with time
between t = 6–18 h are shown in Figures 10 and 11 for Ottawa #3821 and #3820 sands,
respectively. For Ottawa #3821 (fine sand), the diesel fuel front reaches the capillary
fringe within approximately 7 h (t = 13 h) with the rate of advancement of approxi-
European Journal of Environmental and Civil Engineering 13
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

Figure 9. Water saturation profiles at t = 6 h.

Figure 10. Liquid saturation profiles of Ottawa #3821 sand during t = 6–18 h.

mately 7 cm/hr at the beginning and decreasing to approximately 1.5 cm/hr when diesel
front approaching the capillary fringe. For Ottawa #3820 (medium sand), similar beha-
viour is observed but with faster rate of diesel front advancement. Most diesel fuel
rapidly moves to the capillary fringe within less than 0.5 h (t = 6.5 h) which gives the
rate of diesel front advancement of more than 70 cm/hr.
14 S. Yimsiri et al.
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

Figure 11. Liquid saturation profiles of Ottawa #3820 sand during t = 6–18 h.

Figure 12. Liquid saturation profiles at end of 1st drainage stage (t = 18 h).

Figure 12 shows the liquid saturation profiles at the end of first drainage (t = 18 h)
which is considered as close to equilibrium state. For Ottawa #3821 (fine sand), addition
of diesel fuel leads to decrease in the thickness of the capillary fringe from 9 to 5 cm
without changes in the position of the water table and the thickness of diesel pool above
European Journal of Environmental and Civil Engineering 15

the capillary fringe is 7 cm (Figure 12(a)). The presence of the diesel fuel reduces the
capillary force in an air/water system to an air/diesel/water system; consequently, the
thickness of capillary fringe of the water table is correspondingly reduced. For Ottawa
#3820 (medium sand), the diesel fuel totally eliminates the capillary fringe with slight
depression of the water table by 2 cm and the thickness of diesel pool above the water
table is 9 cm (Figure 12(b)). At the diesel pool, the diesel fuel saturation is large and
the water saturation is negligible. The residual liquid saturations above the diesel pool
are So,r = 3.8% and Sw,r = 14.4% for Ottawa #3821 and So,r = 4.1% and Sw,r = 10.2%
for Ottawa #3820 sands.

5.2. First imbibition stage


At t = 18 h, the water pressure at the base of the column is raised to h = 30 cm and the
dynamic variations of fluid saturation profiles with time during t = 18–30 h are shown
in Figure 13 and 14 for Ottawa #3821 and #3820 sands, respectively. For Ottawa #3821
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

(fine sand), after the water table rises, the diesel fuel moves up in an apparently delayed
response where the system reaches equilibrium after 4 h (t = 22 h). For Ottawa #3820
(medium sand), most diesel fuel rapidly moves up toward the top of the column within
0.5 h (t = 18.5 h). After that, the diesel fuel continues accumulating above the water
table (Figure 14(a)), whereas the water seems to already reach its equilibrium state (Fig-
ure 14(b)). This indicates that the diesel fuel moves upward slower than water due pos-
sibly to its larger viscosity.
Figure 15 shows the liquid saturation profiles at the end of first imbibition stage
(t = 30 h) which is considered as close to equilibrium state. For Ottawa #3821 (fine
sand), the thickness of the capillary fringe after the water table rise further decreases
from 5 to 2 cm without changes in the position of the water table and the thickness of
diesel pool above the capillary fringe is still 7 cm (Figure 15(a)). This reduction of

Figure 13. Liquid saturation profiles of Ottawa #3821 sand during t = 18–30 h.
16 S. Yimsiri et al.
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

Figure 14. Liquid saturation profiles of Ottawa #3820 sand during t = 18–30 h.

Figure 15. Liquid saturation profiles at end of 1st imbibition stage (t = 30 h).

capillary fringe is expected because water is imbibing into the porous media. For
Ottawa #3820 (medium sand), the diesel fuel totally eliminates the capillary fringe with
slight depression of the water table by 4 cm and the thickness of diesel pool above the
water table is 12 cm (Figure 15(b)). At the diesel pool, the diesel fuel saturation is large
European Journal of Environmental and Civil Engineering 17

and the water saturation is negligible. At the end of first imbibition stage, there are air
and diesel fuel entrapped under the water table. The entrapped saturations of each phase
are Sa,e = 24.1% and So,e = 10.2% for Ottawa #3821 and Sa,e = 27.1% and So,e = 4.6%
for Ottawa #3820 sands.

5.3. Second drainage stage


At t = 30 h, the water pressure at the base of the column is again lowered to h = 5 cm
and the dynamic variation of fluid saturation profiles with time during t = 30–42 h are
shown in Figure 16 and 17 for Ottawa #3821 and #3820 sands, respectively. For Ottawa
#3821 (fine sand), the diesel fuel front reaches the capillary fringe within approximately
4 h (t = 34 h) with the rate of advancement of approximately 6 cm/hr (Figure 16(a)).
For Ottawa #3820 (medium sand), most diesel fuel rapidly moves to the capillary fringe
within approximately 1 h (t = 31 h) which gives the rate of diesel front advancement of
approximately 30 cm/hr (Figure 17(a)). Generally, the observed behaviour during second
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

drainage stage is relatively similar to first drainage stage.


Figure 18 shows the liquid saturation profiles at the end of second drainage stage
(t = 42 h) which is considered as close to equilibrium state. For Ottawa #3821 (fine
sand), the thickness of the capillary fringe increases from 2 to 5 cm without depression
of the water table and the thickness of diesel pool above the capillary fringe is 6 cm
(Figure 18(a)). For Ottawa # 3820 (medium sand), the diesel fuel totally eliminates the
capillary fringe with slight depression of the water table by 1 cm and the thickness of
diesel pool above the water table is 6 cm (Figure 18(b)). The liquid saturation profiles
at the end of second drainage stage are relatively similar to that at the end of first drai-
nage stage. The residual liquid saturations above the diesel pool are So,r = 4.9% and Sw,
r = 10.7% for Ottawa #3821 and So,r = 4.6% and Sw,r = 7.9% for Ottawa #3820 sands.

Figure 16. Liquid saturation profiles of Ottawa #3821 sand during t = 30–42 h.
18 S. Yimsiri et al.
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

Figure 17. Liquid saturation profiles of Ottawa #3820 sand during t = 30–42 h.

Figure 18. Liquid saturation profiles at end of 2nd drainage stage (t = 42 h).

5.4. Second imbibition stage


At t = 42 h, the water pressure at the base of the column is again raised to h = 30 cm
and the dynamic variation of fluid saturation profiles with time during t = 42–54 h are
shown in Figures 19 and 20 for Ottawa #3821 and #3820 sands, respectively. For
European Journal of Environmental and Civil Engineering 19
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

Figure 19. Liquid saturation profiles of Ottawa #3821 sand during t = 42–54 h.

Figure 20. Liquid saturation profiles of Ottawa #3820 sand during t = 42–54 h.

Ottawa #3821 (fine sand), after the water table rises, the diesel fuel moves up in a
delayed fashion where the system reaches equilibrium after 4 h (at t = 46 h). For Ottawa
#3820 (medium sand), most diesel fuel rapidly moves up toward the top of the column
within 1 h (t = 43 h). After that, the diesel fuel continues accumulating above the water
table (Figure 20(a)), whereas the water seems to already reach its equilibrium state
(Figure 20(b)). Generally, the behaviour during second imbibition stage is relatively
similar to that of first imbibition stage.
20 S. Yimsiri et al.
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

Figure 21. Liquid saturation profiles at end of 2nd imbibition stage (t = 54 h).

Figure 21 shows the liquid saturation profiles at the end of second imbibition stage
(t = 54 h) which is considered as close to equilibrium state. For Ottawa #3821 (fine
sand), the diesel fuel totally eliminates the capillary fringe with depression of the water
table by 4 cm and the thickness of diesel pool above the water table is 13 cm
(Figure 21(a)). For Ottawa #3820 (medium sand), the diesel fuel also totally eliminates
the capillary fringe with slight depression of the water table by 2 cm and the thickness
of diesel pool above the water table is 9 cm (Figure 21(b)). The liquid saturation pro-
files at the end of second imbibition stage are relatively similar to those at the end of
first imbibition stage. The entrapped saturations of each phase at the end of second
imbibition stage are Sa,e = 17.9% and So,e = 6.7% for Ottawa #3821 and Sa,e = 30.1%
and So,e = 6.0% for Ottawa #3820 sands.

6. Discussions
The residual saturations at the end of drainage stages and the entrapped saturations at
the end of imbibition stages are summarised in Figure 22. The total residual saturations
(diesel + water) during drainage stages of Ottawa #3821 sand are larger than those of
Ottawa #3820 sand due to finer sand particle size. Also, the entrapped diesel saturations
during imbibition stages of Ottawa #3821 sand are larger than those of Ottawa #3820
sand due also to finer sand particle size. However, the entrapped air saturations during
imbibition stages of Ottawa #3821 sand are smaller than those of Ottawa #3820 sand.
The residual diesel saturations during drainage stages are approximately unchanged as
the drainage stages are repeated. This may not be consistent with Chompusri et al.
(2002) who showed that the residual LNAPL above a mobile phase became smaller
with continued water table oscillations.
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

100 100
Air 87.5 Air
90 (a) Ottawa #3821 84.4 90 85.7 (b) Ottawa #3820
81.8 Diesel Diesel
80 75.4 80
Water Water
65.7 68.3
70 70 63.9
60 60
50 50
40 40
30.1
30 24.1 30 27.1
17.9
20 14.4 20

Degree of saturation (%)


Degree of saturation (%)
10.2 10.7 10.2
10 4.9 6.7 7.9 6.0
3.8 10 4.1 4.6 4.6
0 0
1st drainage 1st imbibition 2nd drainage 2nd imbibition 1st drainage 1st imbibition 2nd drainage 2nd imbibition
(residual) (entrapped) (residual) (entrapped) (residual) (entrapped) (residual) (entrapped)

Figure 22. Residual and entrapped saturations in three-phase systems.


European Journal of Environmental and Civil Engineering
21
22 S. Yimsiri et al.

Table 6. Comparison of residual entrapped air during imbibition stage.


Lenhard et al. Ryan and Dhir
Properties (1993) (1993) This research
Porous medium Sandy material Glass particle Ottawa #3821 Ottawa #3820
D50 = 400 μm D50 = 210–710 D50 = 400 μm D50 = 600 μm
μm
Medium e = 0.67 γ = 16.2 e = 0.58–0.69 e = 0.49 γ = 17.6 e = 0.50 γ = 17.6
density* kN/m3 kN/m3 kN/m3
LNAPL Soltrol 170 Soltrol 170 Diesel fuel Diesel duel
Water table 5 cm/10 min Slowly Rapidly Rapidly
movement
Entrapped air 6–10% 7–17% 18–24% 27–30%
(Sa,e)
*e = void ratio, γ = unit weight.
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

During imbibition stages (rising water table), there is some air (apart from some die-
sel) entrapped under water table. This phenomenon was also observed from similar
experiments by Lenhard et al. (1993) and Ryan and Dhir (1993), the comparison of
which is summarised in Table 6. All researches used similar sizes of porous media and
similar LNAPLs (Soltrol 170 and diesel have relatively similar viscosity and surface
tension); however, the amounts of entrapped air obtained from this research are much
larger than those of other researches. This may be due to two main reasons, i.e. (i) the
sands used in this research are denser and (ii) the water table movement in this research
is more rapid. The denser sand specimens reduce the pore sizes and increase the pore
tortuosity which may hinder the escape of air from the pore during imbibition process.
Moreover, the oscillation of the water table is controlled by instantaneously adjustment
of the water pressure at the base of the column to a specified value and allow the water
table height in the column to correspondingly alter in an uncontrolled rate. This may
introduce turbulent flow at the fluid interface which enhances air entrapment. However,
this effect is expected to be less for Ottawa #3821 sand since the movement of water
table is slower.
It is also noted that this experiment is conducted in one-dimension which limits the
flow channel. In a two-dimensional rising water table system, diesel may not rise as fast
as the water table and can be completely by-passed. In that case, the rising diesel has to
displace water when it moves upward and the water/diesel entry pressure has to be

Table 7. Comparison of extension two-phase to three-phase.


Water residual Total liquid residual
Sand Stage Swaow * Swow ** Staow * Soao **
Ottawa #3821 1st drainage 14.4 10.0 18.2 10.5
2nd drainage 10.7 10.0 15.6 10.5
Ottawa #3820 1st drainage 10.2 8.0 14.3 8.5
2nd drainage 7.9 8.0 12.5 8.5
Note: All variables are defined in Equations (7) and (8).
*
From experiment (see Figure 22).
**
From SLCCs (see Table 5).
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

99.7 99.6 98.8


100 100 96.1
(a) Ottawa #3821 Above WT
90 Above WT 90 (b) Ottawa #3820
Below WT
80 Below WT 80
70 62.9 70
58.6
60 52.9 60 53.3
50 47.1 46.7
50
41.4
40 37.1

Amount (%)
40

Amount (%)
30 30
20 20
10 10 3.9
0.3 0.4 1.2
0 0
1st drainage 1st imbibition 2nd drainage 2nd imbibition 1st drainage 1st imbibition 2nd drainage 2nd imbibition

Figure 23. Amount of diesel fuel above and below water table.
European Journal of Environmental and Civil Engineering
23
24 S. Yimsiri et al.

exceeded for this to occur. Especially in fine-grained sand, the entry pressure might be
such that a body of continuous diesel may be retained below the water table.
In three-phase systems of air, NAPL, and water in which the water phase is the most
preferentially wetting fluid followed by the NAPL and the least wetting air phase, the
total liquid saturation is a function of two-phase air/NAPL matric suction (Equation (7))
and the water saturation is a function of two-phase NAPL/water matric suction (Equa-
tion (8)) (Lenhard & Parker, 1987). Therefore, the SLCCs of two-phase systems
obtained in Figure 7 can be used to estimate the residual liquid saturations observed
during drainage stages of three-phase experiment, the comparison of which is sum-
marised in Table 7. It can be seen that the comparison is acceptable and the results of
second drainage stage give better consistency.
Staow ¼ Soao ðwao Þ (7)

Swaow ¼ Swow ðwow Þ (8)


Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

where Staow ¼ Swaow þ Soaow , superscript aow denotes 3-phase system, and superscripts ow
and ao denote 2-phase NAPL/water and air/NAPL systems, respectively.
Figure 23 presents the amount of diesel fuel above and below water table at equilib-
rium of each stage. It is noted that the elevation of water table is derived from the water
pressure at the base of the column. During drainage stages, most of the diesel fuel
locates above the water table. Very small amount of diesel fuel enters under water table
for Ottawa #3820 because diesel fuel depresses the existing thin capillary fringe due to
coarse sand particle size. During imbibition stages, 37–47% of the total amount of die-
sel fuel is entrapped under the water table. Comparison of the results of first with sec-
ond imbibition stages, there is no systematic difference in the amount of diesel fuel
entrapped under the water table with the change in particle size. Several parameters
may affect LNAPL distribution in porous media after water table fluctuation, including
volume of LNAPL present, magnitude and speed of water table fluctuation and porous
media and LNAPL properties (e.g. Lenhard et al., 1993; Oostrom et al., 2006).

7. Conclusions
The effects of water table fluctuation on diesel migration in vadose zone are investigated
by one-dimensional column test. The saturation distributions of water and diesel in the
entire flow domain under transient condition are measured by the SIAM (Flores et al.,
2011). The two-phase column and Tempe pressure cell data yield soil-liquids character-
istic curves (SLCCs) of air/water and air/diesel systems. The empirical model of
Fredlund and Xing (1994) fits the experimental data better particularly at large matric
suction. By applying scaling procedure (Lenhard & Parker, 1987), the SLCCs of a
diesel/water system can be predicted. Comparing the SLCCs of three two-phase sys-
tems, a descending sequence of matric suction at a given saturation of wetting phase is
in the order of air/water, diesel/water and air/diesel systems. Finer particle size gives
larger entry pressure (ψa), residual matric suction (ψr) and residual degree of saturation
(Sr), whereas larger fluid viscosity yields smaller ψa and ψr.
The three-phase column data show the effects of groundwater table fluctuation on
diesel fuel distribution. Water table fluctuation results in a considerable increase in the
vertical extent of the source zone. During drainage stages, diesel and water are present
as residual phases above the water table and the total residual saturation of finer sand is
European Journal of Environmental and Civil Engineering 25

larger. These residual saturations in three-phase system can be predicted from the
obtained SLCCs of two-phase systems according to Lenhard and Parker (1987). During
imbibition stages, the experimental data suggest that air and diesel are entrapped below
water table with the entrapped air saturations of 18–24% and entrapped diesel satura-
tions of 6–10% for fine sand. The residual diesel saturations during drainage stages and
entrapped diesel saturations during imbibition stages do not show any systematic differ-
ence as these stages are repeated. When the sand particle size becomes coarser, the
entrapped diesel saturations are smaller; however, the entrapped air saturations are lar-
ger. The amounts of entrapped air obtained from this study are much larger than those
of other researches which may be due to the used of denser sands and more rapid water
table movement in this study. During imbibition stages, 37–47% of the total amount of
diesel fuel is entrapped under the water table. Comparisons of the results of first with
second imbibition stages and of fine with coarse sands do not show any systematic dif-
ference in the amount of diesel fuel entrapped under the water table.
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

Acknowledgements
The support provided by the Faculty of Engineering, Burapha University and AUN/SEED-Net is
appreciated.

Disclosure statement
No potential conflict of interest was reported by the authors.

Funding
This work was supported by the Faculty of Engineering [grant number WJP 14/2556] and
Burapha University [grant number NRCT 102/2558].

References
Arya, L. M., Leij, F. J., Shouse, P. J., & van Genuchten, M. (1999). Relationship between the
hydraulic conductivity function and the particle-size distribution. Soil Science Society of
America Journal, 63, 1063–1070.
Arya, L. M., & Paris, J. F. (1981). A physicoempirical model to predict the soil moisture charac-
teristic from particle-size distribution and bulk density data. Soil Science Society of America
Journal, 45, 1023–1030.
Busby, R. D., Lenhard, R. J., & Rolston, D. E. (1995). An investigation of saturation-capillary
pressure relations in two- and three-fluid systems for several NAPLS in different porous
media. Ground Water, 33, 570–578.
Chapuis, R. P. (2004). Predicting the saturated hydraulic conductivity of sand and gravel using
effective diameter and void ratio. Canadian Geotechnical Journal, 41, 787–795.
Chompusri, S., Rivett, M. O., & Mackay, R. (2002). LNAPL redistribution on a fluctuating water
table: Column experiments. Groundwater Quality: Natural and Enhanced Restoration of
Groundwater Pollution, IAHS Publication No. 275, 225–231.
DiCarlo, D. A., Bauters, T. W. J., Steenhuis, T. S., Parlange, J.-Y., & Bierck, B. R. (1997). High-
speed measurements of three-phase flow using synchrotron X rays. Water Resources Research,
33, 569–576.
Eckberg, D. K., & Sunada, D. K. (1984). Nonsteady three-phase immiscible fluid distribution in
porous media. Water Resources Research, 20, 1891–1897.
Feth, J. F. (1973). Water facts and figures for planners and managers. US Geological Survey
Circular, 601–601.
26 S. Yimsiri et al.

Fredlund, D. G., & Xing, A. (1994). Equations for the soil-water characteristic curve. Canadian
Geotechnical Journal, 31, 521–532.
Flores, G., Katsumi, T., Inui, T., & Kamon, M. (2011). A simplified image analysis method to
study LNAPL migration in porous media. Soils and Foundations, 51, 835–847.
van Gunechten, M. T. (1980). A closed-form equation for predicting the hydraulic conductivity of
unsaturated soils. Soil Science Society of America Journal, 44, 892–898.
Host-Madsen, J., & Jensen, K. H. (1992). Laboratory and numerical investigations of immiscible
multiphase flow in soil. Journal of Hydrology, 135, 13–52.
Kaluarachchi, J. J., & Parker, J. C. (1989). An efficient finite element method for modeling
multiphase flow. Water Resources Research, 25, 43–54.
Kamon, M., Endo, K., & Katsumi, T. (2003). Measuring the k-S-p relations on DNAPLs migra-
tion. Engineering Geology, 70, 351–363.
Kamon, M., Li, Y., Endo, K., Inui, T., & Katsumi, T. (2007). Experimental study on the measure-
ment of S-p relations of LNAPL in a porous medium. Soils and Foundations, 47, 33–45.
Kamon, M., Li, Y., Flores, G., Inui, T., & Katsumi, T. (2006). Experimental and numerical study
on migration of LNAPL under the influence of fluctuating water table in subsurface. Annuals
of Disaster Prevention Research Institute, Kyoto University, 49B, 383–392.
Karapanagioti, H. K., Gaganis, P., & Burganos, V. N. (2003). Modeling attenuation of volatile
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

organic mixtures in the unsaturated zone: Codes and usage. Environmental Modelling &
Software, 18, 329–337.
Kechavarzi, C., Soga, K., & Illangasekare, T. H. (2005). Two-dimensional laboratory simulation
of LNAPL infiltration and redistribution in the vadose zone. Journal of Contaminant Hydrol-
ogy, 76, 211–233.
Lenhard, R. J., Dane, J. H., Parker, J. C., & Kaluarachchi, J. J. (1988). Measurement and simula-
tion of one-dimensional transient three-phase flow for monotonic liquid drainage. Water
Resources Research, 24, 853–863.
Lenhard, R. J., Johnson, T. G., & Parker, J. C. (1993). Experimental observations of nonaqueous-
phase liquid subsurface movement. Journal of Contaminant Hydrology, 12, 79–101.
Lenhard, R. J., Oostrom, M., & Dane, J. H. (2004). A constitutive model for air-NAPL-water flow
in the vadose zone accounting for immobile, non-occluded (residual) NAPL in strongly water-
wet porous media. Journal of Contaminant Hydrology, 71, 261–282.
Lenhard, R. J., & Parker, J. C. (1987). Measurement and prediction of saturation-pressure relation-
ships in three-phase porous media systems. Journal of Contaminant Hydrology, 1, 407–424.
Lenhard, R. J., & Parker, J. C. (1988). Experimental validation of the theory of extending two-
phase saturation-pressure relations to three-fluid phase systems for monotonic drainage paths.
Water Resources Research, 24, 373–380.
Oostrom, M., Hofstee, C., & Wietsma, T. W. (2006). Behavior of a viscous LNAPL under vari-
able water table conditions. Soil & Sediment Contamination, 15, 543–564.
Parker, J. C., Lenhard, R. J., & Kuppusamy, T. (1987). A parametric model for constitutive prop-
erties governing multiphase flow in porous media. Water Resources Research, 23, 618–624.
Ryan, R. G., & Dhir, V. K. (1993). The effect of soil-particle size on hydrocarbon entrapment near
a dynamic water table. Journal of Soil Contamination, 2, 59–92.
Sharma, R. S., & Mohamed, M. H. A. (2003). An experimental investigation of LNAPL migration
in an unsaturated/saturated sand. Engineering Geology, 70, 305–313.
Steffy, D. A., Johnston, C. D., & Barry, D. A. (1998). Numerical simulations and long-column
tests of LNAPL displacement and trapping by a fluctuating water table. Journal of Soil Con-
tamination, 7, 325–356.
Topp, G. C., Davis, J. L., & Annan, A. P. (1980). Electromagnetic determination of soil water
content: Measurements in coaxial transmission lines. Water Resources Research, 16, 574–582.
Tuck, D. M., Bierck, B. R., & Jaffe, P. R. (1998). Synchrotron radiation measurement of multi-
phase fluid saturations in porous media: Experimental technique and error analysis. Journal of
Contaminant Hydrology, 31, 231–256.
Unger, A. J. A., Sudicky, E. A., & Forsyth, P. A. (1995). Mechanisms controlling vacuum extrac-
tion coupled with air sparging for remediation of heterogeneous formations contaminated by
dense nonaqueous phase liquids. Water Resources Research, 31, 1913–1925.
United State Environmental Protection Agency (US EPA) (2002), National Water Quality
Inventory 2000 Report (EPA-841-R-02-001). Washington, DC: United States Environmental
Protection Agency Office of Water.
European Journal of Environmental and Civil Engineering 27

Van Geel, P. J., & Sykes, J. F. (1994). Laboratory and model simulations of LNAPL spill in a
variably-saturated sand, 1. Laboratory experiment and image analysis techniques. Journal of
Contaminant Hydrology, 17, 1–25.
Van Geel, P. J., & Sykes, J. F. (1997). The importance of fluid entrapment, saturation hysteresis
and residual saturations on the distribution of a lighter-than-water non-aqueous phase liquid in
a variably saturated sand medium. Journal of Contaminant Hydrology, 25, 249–270.
Yang, H., Rahardjo, H., Leong, E.-C., & Fredlund, D. G. (2004). Factors affecting drying and
wetting soil-water characteristic curves of sandy soils. Canadian Geotechnical Journal, 41,
908–920.
Downloaded by [Dr Siam Yimsiri] at 01:05 19 June 2016

You might also like