You are on page 1of 15

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี

รายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม 1 รหัสวิชา ว31251


ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
2564

ชื่อ-สกุล ……………………………………………………………………………………………………….
ชั้น ………………… เลขที่ …………………

ครูวิมลา เทพกล่ำ
ทำได้โดยคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีลักษณะที่ต้องการมาผสมพันธุ์กันจึงได้ลูกที่มีลักษณะที่หลากหลาย
จากนั้นจึงคัดเลือกลูกที่มีลักษณะตามต้องการ
ข้อจำกัด
1. ใช้ …………………………………………
2. ต้องมาจากสิ่งมีช ีวิต …………………………………………………………… เพื่อให้ได้ล ูกที่ไม่เป็นหมัน ไม่
สามารถนำสิ่งมีชีวิตสปีชีส์อื่นที่มีลักษณะที่ต้องการมาผสมด้วยได้

พันธุวิศวกรรม (genetic engineering) เป็นการตัดต่อและถ่ายยีนที่ต้องการเข้าสู่สิ่งมีชีวิต จะได้


สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (genetical modified organism; GMO) ทำให้สิ่งมีชีวิตที่มีสมบัติตามต้องการ
หรือมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม สามารถทำได้ทั้งใน ……………………………………………………………

ขั้นตอนการสร้างสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม
ต้องมีการเพิ่มจำนวน DNA ที่เหมือน ๆ กัน เรียกว่า ………….……………………………………… และถ้า
DNA บริเวณดังกล่าวเป็นยีนก็จะเรียกว่า ………….……………………………………… สามารถทำได้โดยวิธีต่อไปนี้

การเพิ่มปริมาณ DNA หรือยีน ที่ต้องการโดยใช้ ………….………….……… หรือ …….…….…………………


เช่น พลาสมิดของแบคทีเรีย แบคทีเรียแต่ละเซลล์อาจมีพลาสมิดตั้งแต่หนึ่งถึงหลายร้อยพลาสมิด พลาสมิดที่
ใช้เป็นเวกเตอร์มีสมบัติดังนี้
1. มีจุดเริ่มต้นของการจำลองดีเอ็นเอเพื่อให้สามารถ ………….………………………………………
2. มี ………….…………………………………………………… เช่น ยีนต้านทานยาปฏิชีวนะ
3. มี ………….………………………….……………………………………………………………… สำหรั บ แทรก DNA
หรือยีนที่ต้องการ

การสร้าง DNA recombinant


1. ใช้เอนไซม์ตัดจำเพาะ (restriction enzyme) ตัดพันธะ ………….…….……….…………………………
ภายในสาย DNA ที่มีลำดับนิวคลีโอไทด์จำเพาะ เอนไซม์ตัดจำเพาะแต่ละชนิดจะจดจำและเข้าจับกับ DNA
ใบบริเวณที่มีลำดับนิวคลีโอไทด์จำเพาะ เรียกว่า ………….…….……….…………………….……….…………
* เอนไซม์ตัดจำเพาะแต่ละชนิดมีความจำเพาะต่อลำดับเบส DNA แตกต่างกัน
เอนไซม์ตัดจำเพาะสร้างจากแบคทีเรียต่าง ๆ มีจำนวนมากนับพันชนิด เมื่อตัด DNA ที่ตำแหน่งตัด
จำเพาะแล้วจะได้ผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน เมื่อตัดแล้วจะได้ปลาย DNA 2 แบบ คือ
1. ……………………………………… ที่รอย
ตัดของสาย DNA มีนิวคลีโอไทด์สาย
เดี่ยวยื่นออกมา
2. ……………………………………… ที่รอย
ตัดไม่เกิดปลายนิวคลีโอไทด์สายเดี่ยว
ตำแหน่งตัดของสาย DNA อยู่ตรงกัน
พอดี

2. การเชื่อมสาย DNA ด้วยเอนไซม์ DNA ไลเกส (DNA ligase) เร่งปฏิกิริยาการสร้างพันธะ


ฟอสโฟไดเอสเทอร์ระหว่างปลายสาย DNA 2 ปลายให้เชื่อมต่อกันได้ เช่น การตัดและเชื่อมต่อพลาสมิด
และ DNA ที่มียีนที่ต้องการได้เป็น DNA รีคอมบิแนนท์แต่ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

3. การถ่าย DNA รีคอมบิแนนท์เข้าสู่เซลล์แบคทีเรีย และคัดเลือกเซลล์ที่ต้องการ เมื่อได้ DNA


รีคอมบิแนนท์ จะต้องนำไปเพิ่มจำนวนโดยการถ่าย DNA รีคอมบิแนนท์ เข้าสู่เซลล์แบคทีเรียและคัดเลือก
เซลล์ที่ต้องการ ทำให้ได้ยีนที่ต้องการในปริมาณมาก
พลาสมิดมีตำแหน่งตัดจำเพาะของเอนไซม์ ScaI ภายในยีน
ต้านทานยาปฏิชีวนะแอมพิซิลลิน (ampR) และมีตำแหน่งจำเพาะ
ของเอนไซม์ BamHI ภายในยีน LacZ โดยยีน LacZ นี้จะควบคุม
การสร้างเอนไซม์ที่สามารถย่อยสารตั้งต้นจากไม่มีสีได้เป็นสีฟ้า

พลาสมิด พลาสมิดที่มี DNA รีคอมบิแนนท์


เปล่า

ตัดพลาสมิด ใส่ชิ้น DNA ที่ตัด การเจริญของแบคที่เรียในอาหารเลี้ยง สีของโคโลนี


ด้วยเอนไซม์ ด้วยเอนไซม์ เชื้อที่มีแอมพิซิลลิน แบคทีเรีย
ScaI ScaI
PvuII PvuII
BamHI BamHI
ScaI -
เพิ ่ ม จำนวนของ DNA ในหลอดทดลองด้ ว ยเทคนิ ค พอลิ เ มอเรสเชนรี แ อกชั น หรื อ พี ซ ี อ าร์
(polymerase chain reaction; PCR) ด้วยเครื่องเทอร์มัลไซเคลอร์ (thermal cycler) ซึ่งควบคุมอุณหภูมิ
ให้ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วตามความต้องการ
ประกอบด้วย
1. ……….…….……….……………………… เป็น DNA สายสั้น ๆ
2. ……….…….……….………………………
3. ……….…….……….……………………………….…….……….……………………… ละลายในบัฟเฟอร์ เพื่อให้เกิด
ภาวะที่เหมาะสมต่อการเกิดปฏิกิริยา

ขั้นตอน PCR ปฏิกิริยาเกิดขึ้นในหลอดทดลอง

เพิ่มอุณหภูมิให้สูง ….…….… ทำให้ DNA แม่แบบ 2 สาย


แยกออกจากกันเป็นสายเดี่ยว

ลดอุณหภูมิลงที่ ….………..…….… ทำให้ไพรเมอร์จับกับ


สาย DNA แม่แบบในบริเวณที่ต้องการเพิ่มจำนวน

ปรับอุณหภูมิไปที่ ….………. ซึ่งเหมาะสมต่อการทำงาน


ของ DNA พอลิเมอเรส ทำให้เกิดการจำลองสาย DNA
ในบริเวณที่ต้องการ

เทคนิค PCR เป็นการสังเคราะห์สาย DNA ซ้ำ ๆ ประมาณ 25-40 รอบ ตามที่กำหนด โดยสาย
DNA ที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบจะถูกใช้เป็น DNA แม่แบบในการสังเคราะห์ DNA สายใหม่ในรอบต่อ ๆ ไปจน
สิ้นสุดปฏิกิริยา ทำให้ได้โมเลกุล DNA หลายล้านโมเลกุล (PCR 1 รอบได้ DNA ส่วนที่ต้องการ 2 โมเลกุล)
***โดยทั่วไปการทำปฏิกิริยา PCR เป็นการเพิ่มจำนวน DNA บางบริเวณ ไม่ได้ครอบคลุมทั้งสายของ DNA
แม่แบบ
วัตถุประสงค์ของการทำ PCR
เพื่อให้ได้ DNA จำนวนมากเพียงพอสำหรับการนำไปใช้ เช่น
- เป็นแหล่งของยีนสำหรับการโคลนยีนโดยใช้พลาสมิดของแบคทีเรีย
- ตรวจสอบยีนที่แทรกในพลาสมิดของเซลล์แบคทีเรียที่ได้จากการโคลนยีนว่าเป็นยีนที่ใส่เข้าไป
หรือไม่ โดยนำผลิตภัณฑ์ PCR ไปหาขนาดหรือหาลำดับนิวคลีโอไทด์ต่อไป
- เพิ่มปริมาณ DNA สำหรับตรวจสอบ DNA ประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ เช่น นิติวิทยาศาสตร์
หาหลักฐานในคดีอาชญากรรม ตรวจสอบความสัมพันธ์ทางสายเลือด ด้านการแพทย์ใช้ตรวจหาโรคทาง
พันธุกรรม โรคที่เกิดจากการติดเชื้อจุลินทรีย์

เมื่อเพิ่มจำนวน DNA แล้ว นำมาหาขนาด DNA ได้ด้วยเทคนิค ……………………………………………………


แยกโมเลกุลของ DNA ที่มีขนาดต่างกันออกจากกัน ในสนามไฟฟ้าผ่านตัวกลางที่มีลักษณะเป็นวุ้นที่มีรูพรุน
เช่น อะกาโรสเจล (agarose gel) และพอลิอะคริลาไมด์เจล (polyacrylamide gel)

ขั้นตอนเทคนิคเจลอิเล็กโทรฟอรีซิส
1. ใส่ตัวอย่าง DNA ลงในช่องบนแผ่นอะกาโลสเจล
2. โมเลกุล DNA มีขนาดต่างกัน แยกโมเลกุลของ DNA ในสนามไฟฟ้า DNA ที่เป็น …………………
จะเคลื่อนเข้าหา ………………… ในสนามไฟฟ้าผ่านตัวกลางที่เป็นแผ่นวุ้น
3. ……………………………………… จะเคลื่อนที่ ไ ด้ เ ร็ ว กว่ า ……………………………………… โมเลกุล DNA
ขนาดใหญ่ก็จะอยู่ใกล้ขั้วลบ ส่วนโมเลกุล DNA ขนาดเล็กจะเคลื่อนที่ไปอยู่ใกล้ขั้วบวก
4. ย้อมสีอีธิเดียมโบรไมด์ จากนั้นนำไปส่องด้วย ………………………………………… จะเกิดการเรืองแสง
5. การเคลื่อนที่ของโมเลกุล DNA ขนาดต่างๆ จะเปรียบเทียบกับการเคลื่อนที่ของ DNA ที่ทราบ
ขนาด แล้วทำให้สามารถประมาณขนาดของโมเลกุล DNA ที่ต้องการศึกษาได้
การหาลำดับ DNA (DNA sequencing) คือ การหาลำดับการเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์ในสาย
DNA สามารถทำได้โดยหาลำดับเบสที่เป็นองค์ประกอบของนิวคลีโอไทด์บนสาย DNA ด้วยเครื่องหาลำดับ
นิวคลีโอไทด์อัตโนมัติ (automated sequencer) สามารถอ่านผลในรูปลำดับเบสได้อย่างรวดเร็ว
เมื่อได้ลำดับเบสแล้วสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ เช่น นำไปเทียบกับฐานข้อมูลเพื่อให้ทราบว่าลำดับ
เบสนั้นเป็นยีนใดหรือมีมิวเทชันตำแหน่งใดบ้าง นอกจากนี้ยังสามารถนำลำดับไปแปลงเป็นลำดับกรดอะมิโน
เพื่อใช้ทำนายโครงสร้างและหน้าที่ของโปรตีนได้

(หนังสือเรียนหน้า 131) จงเขียนแถบ DNA ที่ได้จากแต่ละตัวอย่างลงในแต่ละแถวของแผ่นเจล

การสร้างผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม
การประยุกต์ใช้ในเทคโนโลยีเภสัชกรรมส่วนมากจะเป็นการสร้างสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม เพื่อผลิต
โปรตีนนำมาใช้ประกอบการรักษา เช่น การผลิตฮอร์โมนอินซูลิน นำมาใช้ควบคุมอาการโรคเบาหวาน
การผลิตอินซูลินโดยอาศัยแบคทีเรียดัดแปรพันธุกรรมนี้จะได้อินซูลิน …………………………………………………………
กว่าวิธีแบบเดิมซึ่งอาศัยการสกัดจากตับอ่อนของวัวหรือหมู
มีการนำเทคโนโลยีทาง DNA มาใช้ในการสร้างสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมเพื่อผลิตโปรตีนอื่น ๆ เช่น
ใช้ ………………………………………………………… ซึ่งนำมาใช้ในการรักษาเด็กที่มีสภาพแคระเนื่องจากการขาดโกรท
ฮอร์โมน ใช้ ………………………………………………………… ซึ่งมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น เช่น วัคซีนป้องกันไวรัสตับ
อักเสบชนิด B
การวินิจฉัยโรค
โรคทางพันธุกรรมอาจมีสาเหตุมาจาก ……………………………………………………………………… ซึ่งมีลำดับ
นิวคลีโอไทด์แตกต่างไปจากแอลลีลปกติ เมื่อทราบลำดับนิวคลีโอไทด์ของแอลลีลดังกล่าวสามารถนำข้อมูลมา
ใช้ ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… เช่น
การตรวจสอบแอลลีลก่อโรคในเอ็มบริโอหรือทารกแรกเกิด สามารถถตรวจได้โดย
การทำ PCR เพื่อเพิ่มปริมาณ DNA ในบริเวณของยีนที่เกี่ยวข้องกับการก่อโรค โดยใช้ไพรเมอร์ที่มี
ความจำเพาะกับลำดับนิวคลีโอไทด์ที่มีความแตกต่างกันระหว่างแอลลีลไม่ก่อโรคกับแอลลีลก่อโรค

แอลลีลปกติ ไพรเมอร์ ผลิตภัณฑ์

แอลลีลก่อโรค ไพรเมอร์ ผลิตภัณฑ์


ในตัวอย่างไพรเมอร์ไม่สามารถจับกับ DNA แอลลีลก่อโรคได้ และไม่เกิดผลิตภัณฑ์ของการทำ PCR
จากนั้นใช้เทคนิคเจลอิเล็กโทรฟอรีซิส จึงสามารถแยกความแตกต่างและตรวหาแอลลีล ก่อโรคได้ เช่น
การตรวจคัดโรคทาลัสซีเมียบางชนิด
วินิจฉัยโรคที่เกิดจากการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อ HIV ใช้เทคนิค PCR ตรวจสอบหาจีโนมของ
HIV สามารถตรวจพบได้แม้มีปริมาณตัว อย่างน้อย และตรวจพบได้รวดเร็ว ซึ่งทำให้การรักษาเป็ น ไป
อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การบำบัดด้วยยีน (gene therapy)
การบำบัดด้วยยีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคและอาการผิดปกติโดยตรง โดยการ …………………..………
……………………………….……………… เพื่อให้ยีนนั้นแทรกตัวเข้าสู่จีโนม ควบคุมให้ยีนนั้นมีการแสดงออกและ
สร้างโปรตีนที่ปกติ ซึ่งจะสามารถบรรเทาหรือรักษาอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นได้อาจทำได้โดยใช้ไวรัสบางชนิด
เป็นตัวนำยีนที่ต้องการถ่ายเข้าสู่เซลล์มนุษย์ ยีนที่เป็นอันตรายของไวรัสถูกกำจัดออกและแทนที่ด้วยยีน
ที่ต้องการ
มีการพัฒนาและนำไปใช้จริง บางประเทศในทวีปยุโรปอนุญาตใช้ในการรักษาโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
รุ น แรงชนิ ด ADA (Adenosine deaminase severe immunodeficiency) เป็ น โรคทางพั น ธุ ก รรม
ที่ควบคุมโดยแอลลีลด้อย
สร้าง
ยีน ADA เอนไซม์ Adenosine ร่างกายต่อสู้กับ
deaminase เชื้อโรคได้
ไม่สร้าง
เกิดการกลาย เอนไซม์ Adenosine โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ของยีน ADA deaminase ร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรคไม่ได้
ในการบำบัดด้วยยีนจะใช้เซลล์ไขกระดูกจากผู้ป่วยมาผ่านกระบวนการทำให้เซลล์มีแอลลีลปกติ
ของยีน ADA และนำกลับเข้าไปในร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยมีเซลล์ที่สร้างเอนไซม์ Adenosine deaminase ได้
ปกติ
***การบำบัดด้วยยีนยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาที่ต้องระมัดระวังและมีการตรวจสอบอย่างเคร่งครัดใน
ทุกขั้นตอน เนื่องจากยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับการใช้เทคนิคและความปลอดภัยในหลาย ๆ ด้าน เช่น
การแทรกยีนเข้าไปในจีโนมอาจรบกวนการทำงานของยีนอื่นหรืออาจทำให้เกิดมะเร็งได้

ปัจจุบันจึงมีการพัฒนาเทคนิคที่จำเพาะขึ้น เช่น ………………………………………………………………………..


โดยแก้ไขมิว เทชัน ในยีนเป้าหมายเฉพาะตำแหน่งที่ผ ิดปกติ ของจีโนมแตกต่างจากการบำบัดด้วยยีนที่มี
การแทรกใส่ทั้งยีนไปในจีโนม
การติดตามการรักษาโรค
เช่น การปลูกถ่ายไขกระดูกในการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยจะเปรียบเทียบกับ DNA ใน
เซลล์เม็ดเลือดขาวของผู้ที่รับการปลูกถ่ายไขกระดูกว่ามี DNA ของผู้บริจาคหรือไม่
ตรวจหา
ไขกระดูก เซลล์ไขกระดูก เจอ การปลูกถ่ายไขกระดูกประสบ
ของผู้บริจาค ความสำเร็จดี
ไม่เจอ การปลูกถ่ายไขกระดูกประสบ
ความไม่สำเร็จ

นำมาใช้ในด้านการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ โดยการคัดเลือกพืชและสัตว์ด้วยการ ………….…………..


………….……………..………….…………….. ของลั ก ษณะที ่ ต ้ อ งการ เพื ่ อ ช่ ว ยลดระยะเวลาการปรั บ ปรุ ง พั น ธุ์
แบบดั้งเดิมซึ่งเป็นการคัดเลือกจากฟีโนไทป์เพียงอย่างเดียว
เครื่องหมายโมเลกุล คือ ลำดับนิวคลีโอไทด์ภายในจีโนมที่สามารถ ………….……………..………….……
………….…… รวมถึงลักษณะที่สนใจ โดยอาศัยความแตกต่างในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ความแตกต่างของลำดับ
นิวคลีโอไทด์ซึ่งเกิดจากการแทนที่คู่เบส การเพิ่มขึ้นหรือขาดหายไปของนิวคลีโอไทด์รวมทั้งจำนวนซ้ำของ
ลำดับนิวคลีโอไทด์สั้น ๆ ที่เรียงต่อกัน
เช่น การปรับปรุงพันธุ์ข้าวทนความเค็ม ตรวจสอบได้จากเครื่อ งหมายโมเลกุลที่ถ่ายทอดร่วมกับ
ยีนทนเค็ม เมื่อทำการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิที่ปลูกเพื่อการค้าและข้าวพันธุ์ที่ทนเค็ม ก็จะได้
ข้าวขาวหอมมะลิที่ทนเค็มร่วมด้วย
เพื ่ อ ………….……………….……………..………….……………….……………..………………..………….…… เป็ น ต้ น
การสร้างสิ่งมีช ีว ิตดัดแปลงทำได้ห ลายวิธี เช่น การใช้ microinjection ในเซลล์สัตว์ หรือ การใช้
แบคทีเรีย Agrobacterium tumefaciens นำยีนเข้าสู่จีโนมพืช
สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมหลายชนิดได้รับอนุญาตให้เลี้ยงและเพาะปลูกเพื่อการค้าในหลายประเทศ
เช่น ถั่วเหลืองต้านทานยาปราบศัตรูพืช ข้าวโพด BT ผลิตโปรตีนที่เป็นพิษต่อตัวอ่อนแมลงศัตรูพืช มะละกอ
ต้านทานโรคพืชใบด่างจุดวงแหวน ปลาม้าลายเรืองแสง มะเขือเทศชะลอการสุกและเน่าเสีย ปลาแซลมอน
ที ่ โ ตเร็ ว กว่ า ปลาแซลมอนปกติ ซ ึ ่ ง เป็ น สั ต ว์ ช นิ ด แรกที ่ ไ ด้ ร ั บ การรั บ รองจาก FDA (Food and Drug
Administration) USA ทำให้วางจำหน่ายเพื่อประกอบอาหารได้ถูกกฎหมาย
ยังนำเทคโนโลยีการสร้างสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมมาใช้ประโยชน์ ในเชิงอุตสาหกรรมอีกด้วย เช่น
นำเอนไซม์ที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมมาทำให้โปรตีนในนมตกตะกอนเพื่อผลิตชีส ใช้เป็นส่วนผสม
ในผงซักฟอกเพื่อขนาดคราบไขมัน
มีแนวคิดในการสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น ในการอนุร ักษ์
สิ่งแวดล้อม เช่น แนวคิดในการสร้างแบคทีเรียที่ช่วยย่อยน้ำมัน ***ยังอยู่ในระหว่างศึกษา

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ประโยชน์ในเชิงกฎหมาย เรียกว่า …………………………………………………..


โดยใช้เป็นหลักฐานในการสนับข้อกล่าวอ้างหรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการพิจารณาคดี ความรู้
ทางวิทยาศาสตร์ที่นำมาใช้นั้นมีหลากหลายด้าน
เนื่องจากสิ่งมีชีวิตมีความแตกต่างทางพันธุกรรมในระดับบุคคล ไม่มีใครที่มีลำดับเบสเหมือนกัน
ทุกประการ จึงใช้ความแตกต่างนี้เป็นข้อมูลในการระบุบุคคลได้ (ยกเว้นแฝดร่วมไข่) โดยเทคนิคหนึ่งที่
นำมาใช้คือ การวิเคราะห์ ……………………………………………………………………………..
……………………………………………………….…………………………….. ต่อเนื่องเป็นช่วงยาว เรียกว่า short
tandem repeat (STR) กระจายอยู่ทั่วไปในจีโนม โครโมโซมที่ฮอมอโลกัสกันจะมี STR ที่ตำแหน่ง
เดียวกัน แต่อาจมีความยาวต่างกันในแต่ละแอลลีล ขึ้นอยู่กับจำนวนซ้ำใน STR และจะแตกต่างกันออกไป
ในแต่ละบุคคล *การนับจะนับเป็นคู่เบส การเขียนจะเขียนสายบนจากทิศ 5 ́ไป 3 ́

จำนวนซ้ำของ STR
โครโมโซม ลำดับเบสในแต่ละซ้ำของ STR
แอลลีล 1 แอลลีล 2
คู่ที่ 1
คู่ที่ 2

การวิเคราะห์ STR
คือ การตรวจหาจำนวนซ้ำของ STR ในแต่ละตำแหน่งโดยการใช้เทคนิค PCR
STR ไพรเมอร์ 1 คู่ PCR พิจารณาขนาดของ
ตำแหน่งที่ 1 (ที่มีเบสคู่สมกัน) ผลิตภัณฑ์จาก PCR

ขนาดของผลิตภัณฑ์จาก PCR ที่ได้ในแต่ละแอลลีลจะมีขนาดแตกต่างกันตามจำนวนซ้ำของ STR


แต่เมื่อวิเคราะห์ STR 1 ตำแหน่ง อาจยังไม่สามารถจำแนกความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ จึงใช้
ไพรเมอร์หลาย ๆ คู่เพื่อ …………………………………………………………………………….. เกิดขึ้นเป็นรูปแบบเฉพาะ
บุ ค คล เรี ย กว่ า ลายพิ ม พ์ DNA (DNA fingerprint) ประเทศไทยมี ก ารสร้ า งลายพิ ม พ์ DNA โดย
เปรียบเทียบจากตำแหน่ง STR ประมาณ 10-16 ตำแหน่ง จึงสามารถนำมาใช้ในตรวจพิสูจน์ความสัมพันธ์
ทางสายเลือดได้
ประโยชน์ลายพิมพ์ DNA ในประเทศไทย
1. ระบุตัวบุคคล เช่น ผู้กระทำความผิดในคดีอาชญากรรม
2. ตรวจพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือด
3. ระบุตัวตนของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เช่น ช้าง เสือ เพื่อป้องกันการนำสัตว์ป่ามาสวมสิทธิ์เป็นสัตว์ที่
ลงทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย
4. จำแนกสิ่งมีชีวิตในกลุ่มประชากร นำมาใช้ในแง่ระบุเชื้อชาติ ถิ่นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต สามารถ
นำมาใช้เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการลักลอบนำเข้าสัตว์ผิดกฎหมาย
5. จำแนกสิ่งมีชีวิตระดับสปีชีส์ว่าเป็นชิ้นส่วนของมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตอื่น ตรวจสอบการปนเปื้อนของ
อาหาร เช่น เนื้อหมูในอาหารฮาลาล เนื้อปลาปักเป้าในลูกชิ้นปลา
เทคโนโลยีทาง DNA มีการวิจัยและพัฒนาอย่างกว้างขวาง และมีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายส่งผล
ให้เกิดความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน
1953 (พ.ศ.2496) Watson และ Crick ตีพิมพ์โครงสร้างของ DNA
1970 (พ.ศ.2513) ค้นพบเอนไซม์ตัดจำเพาะชนิดแรกคือ HindIII
1973 (พ.ศ.2516) รายงานการสร้าง DNA recombinant สำเร็จเป็นครั้งแรก
1977 (พ.ศ.2520) Frederick Sanger คิดค้นวิธีการหาลำดับเบส
1982 (พ.ศ.2525) มีการนำอินซูลินที่สกัดจากแบคทีเรีย GMOs มาใช้ในการรักษา
1985 (พ.ศ.2528) คิดค้นเทคนิคการเพิ่มจำนวน DNA ด้วยวิธี PCR และการสร้างลายพิมพ์ DNA
1990 (พ.ศ.2533) ทดลองใช้ gene therapy ในมนุษย์ โดยรักษาโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องรุนแรง
ชนิด ADA ในเด็ก
1994 (พ.ศ.2537) มะเขือเทศ GMO ซึ่งลักษณะชะลอการสุก ได้รับอนุญาตให้วางขายใน USA
2003 (พ.ศ.2546) ประกาศความสำเร็จโครงการจีโนมในมนุษย์ และเผยแพร่ลำดับนิวคลีโอไทด์
ของจีโนมมนุษย์
2009 (พ.ศ.2552) FDA อนุญาตให้สารที่ใช้ห้ามการแข็งตัวของเลือดซึ่งผลิตจากน้ำนมที่ได้จาก
แพะดัดแปรพันธุกรรม
2016 (พ.ศ.2559) มีการนำเทคนิค CRISPR ซึ่งเป็นเทคนิคการปรับแต่งจีโนมสิ่งมีชีวิตมาใช้รักษา
โรคมะเร็งในมนุษย์
2017 (พ.ศ.2560) FDA อนุ ญ าตให้ ส ามารถใช้ เ ซลล์ CAR-T (Chimeric Antigen Receptor
T cell therapy) ซึ่งเป็นเซลล์ที่ได้รับการดัดแปรพันธุกรรมสำหรับรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
2017 (พ.ศ.2560) มีการนำเทคนิค CRISPR ซึ่งเป็นเทคนิคการปรับแต่งจีโนมสิ่งมีชีวิตมาใช้รักษา
โรคมะเร็งในมนุษย์
เทคโนโลยีทาง DNA มีการนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดข้อกังวล
เกี่ย วกับ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น การใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ควรคำนึงถึงความปลอดภัยทางชีว ภาพและ
ชีวจริยธรรม นอกจากนี้ยังควรคำนึงถึงมุมมองสังคมในด้านอื่น ๆ อีกด้วย
ตัวอย่างข้อควรคำนึงเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี DNA ในการตรวจคัดกรองโอกาสในการเกิดโรค
หรือยีนก่อโรค และการใช้ฐานข้อมูลทางพันธุกรรมของประชาชน
1. ……………………………………… จากการใช้เทคโนโลยี DNA ในการตรวจคัดกรองโอกาสในการเกิด
โรค หรือยีนก่อโรค และการใช้ฐานข้อมูลทางพันธุกรรมของประชาชน
2. ……………………………………… ในคัดเลือกตัว อ่อนสิ่งมีช ีว ิต จากการทำลายตัว อ่อนที่มีล ักษณะ
ที่ไม่ต้องการรวมถึงการยุติการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจขัดเลือกจริยธรรม
ตัวอย่างข้อควรคำนึงเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี DNA ในการสร้าง GMO
1. ……………………………………………………………………. เช่น สิ่งมีชีวัดแปรพันธุกรรมจะมีโอกาสสร้าง
สารที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์หรือไม่
2. ………………………….….…………………… จากการที่สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมแพร่กระจายเข้าสู่ระบบ
นิเวศ หรืออาจทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง
3. ………………… ในการใช้สัตว์ทดลอง การสร้างสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะแตกต่างไปจากธรรมชาติเพียง
เพื่อตอบสนองความต้องการหรือความอยากรู้เห็นของมนุษย์
4. …………………………………… จากการจดสิทธิบัตรและผูกขาดการขายเมล็ดพันธุ์หรือสิ่งมีชีวิตดัดแปร-
พันธุกรรม รวมถึงการกำหนดราคาสินค้าโดยเจ้าของสิทธิบัตร

ข้อคิดเห็นจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization, WHO)


ข้อกังวล ข้อคิดเห็น
อาหารที่มีส่วนผสมของสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม โดยหลั ก การแล้ว ไม่ส ่ง เสริม ให้ ม ี ก ารถ่า ยยีนจาก
หรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น จะกระตุ้น สิ่งมีชีวิตที่อาจกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ไปยังสิ่งมีชีวิตอื่น
ให้………………………….ในตัวผู้บริโภคได้หรือไม่ นอกจากจะสามารถพิสูจน์ได้ว่าโปรตีนที่สร้างจากยีน
ที่ถูกถ่ายทอดไปนั้น …………..………………………. ซึ่ง
ในปัจจุบันยังไม่พบผลกระทบจากสารก่อภูมิแ พ้ที่
เป็นผลจากอาหารที่มีส่วนผสมของสิ่งมีชีวิตดัดแปร
พันธุกรรมซึ่งมีวางขายในตลาด
ข้อกังวล ข้อคิดเห็น
มีโอกาส ……………....…………………………………….…. การถ่ายยีนจากอาหารมีส่วนผสมของสิ่งมีชีว ิตดัด
………………… ของมนุ ษ ย์ ห รื อ แบคที เ รี ย ในระบบ แปรพันธุกรรมเข้าสู่เซลล์ของมนุษย์หรือแบคทีเรียใน
ทางเดินอาหารหรือไม่ โดยเฉพาะถ้าดังกล่าวเป็น ทางเดิ น อาหารนั ้ น …………………………………………
ยีนต้านยาปฏิชีว นะซึ่งมักถูกใช้ในการคัดเลื อ กใน …… นอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนให้ใช้เทคโนโลยี
ขั้นตอนการสร้างสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม การถ่ายยีนที่ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
เป็นไปได้หรือไม่ที่จะมี.…………..……………… ระหว่าง มีรายงานเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวจากการที่พืชดัดแปร
สิ่งมีชี ว ิต ดัด แปรพัน ธุกรรมกั บสิ่ ง มี ช ี วิ ตสปี ช ี ส์ พันธุกรรมที่ได้รับอนุญาตสำหรับใช้เป็นพืชอาหาร
เดียวกัน หรือสปีชีส์ใกล้เคียงกันในธรรมชาติรวมทั้ง สั ต ว์ ได้ ถ ู ก พบในผลิต ภั ณ ฑ์ท ี ่ม ี ว ัต ถุป ระสงค์ เพื่อ
การปะปนกันของเมล็ดพันธุ์พืชดัดแปรพันธุกรรมกับ การบริโภค สำหรับมนุษย์ โดย …………………………
พืชไร่ทั่วไป .…………..……………… ซึ่งในหลายประเทศได้มี การ
วางแนวทางเพื่อลดการปะปน ซึ่งรวมถึงการแยก
พื้นที่แปลงปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรม และพืช ไร่
ทั่วไป

เมื่อเทคโนโลยีทาง DNA ก้าวหน้าไปได้ระดับหนึ่งคำถามเหล่านี้มักเกิดขึ้นในสังคม ทุกคนมีสิทธิ์รับรู้


ข้อมูลในการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจในการร่วมกันวางแผนการใช้ประโยชน์
ของเทคโนโลยีต่าง ๆ ในอนาคต
บรรณานุกรม
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). หนังสือเรียนรายวิชา
เพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ชีววิทยา เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์.
AAT Bioquest. (2021). Gel electrophoresis. Retrieved October 21, 2021, from https://www.aat
bio.com/catalog/gel-electrophoresis
Baylor University. (2017). Lab 13 Poster and PCR. Retrieved October 21, 2021, from
https://blogs.baylor.edu/cili-cure-spring2017/2017/04/30/lab-13-posters-and-pcr-3/

Khanacademy. (2018). DNA cloning. Retrieved October 21, 2021, from https://www.khanac
ademy.org/science/ap-biology/gene-expression-and-regulation/biotechnology/a/overvie
w-dna-cloning
William Anderson. (2020). Restriction Endonucleases (or Restriction Enzymes). Retrieved
October 21, 2021, from https://schoolworkhelper.net/restriction-endonucleases-or-
restriction-enzymes/

You might also like