You are on page 1of 9

รายงานตลาดถุงยางอนามัยในสหรัฐอเมริกา

สินค้าถุงยางอนามัย: HS 401410

1. สถานการณ์ตลาดถุงยางอนามัยในสหรัฐอเมริกา
การรณรงค์การใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรคเอดส์ (AIDS) และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD -
Sexually Transmitted Diseases) ทาให้ความต้องการใช้ถุงยางอนามัยเพิ่มขึ้นอย่างมากทั้งในประเทศไทยและ
ต่างประเทศทั่วโลก ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกถุงยางอนามัยมากที่สุดในโลกต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน
โดยสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกหลักถุงยางอนามัยของไทย
สหรัฐฯ มีอัตราจานวนผู้ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์สูงที่สุดในโลก และมากกว่าทวีปอื่นๆ ประมาณ 50 – 100
เท่าตัว โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (Center for Disease Control and Infection – CDC) พบว่า
ชาวอเมริกันติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์เฉลี่ยปีละ 19.7 ล้านคน
ความต้องการสินค้าถุงยางอนามัยสหรัฐฯ มีมูลค่ารวม 1,366.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2559 คาดการณ์
ว่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 อยู่ที่ 1,680.22 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2565 เนื่องจากชาวอเมริกันต้องการ
ทีจ่ ะป้องกันโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงชาวอเมริกันมีการวางแผนครอบครัวมากยิ่งขึ้น และมี
ความต้องการที่จะควบคุมจานวนสมาชิกในครัวเรือน
อุตสาหกรรมการผลิตถุงยางอนามัยในสหรัฐฯ ทยอยปิดตัวลงตั้งแต่ปี 2552 หลังจากองค์กรเพื่อการพัฒนา
ระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) หยุดการสั่งซื้อถุงยางจากผู้ผลิตรายใหญ่ในสหรัฐฯ โดยสหรัฐฯ หันไปนาเข้า
ถุงยางอนามัยจากต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศในเอเชีย เนื่องจากต้นทุนการผลิต ราคาวัตถุดิบและค่าแรงในการ
ผลิตถูกกว่า รวมทั้งผู้บริโภคมีทางเลือกอื่นในการคุมกาเนิด เช่น การทาหมัน การใช้ยาเม็ด การใส่ห่วง เป็นต้น
ถุงยางอนามัยที่ได้รับความนิยมในประเทศสหรัฐฯ (Key Players) คือ
- แบรนด์ TROJAN ผลิตโดยบริษัท Church & Dwight Co, Inc. เป็นผู้นาตลาดมียอดขายอันดับ 1
- แบรนด์ LIFESTYLES ผลิตโดยบริษัท Ansell Healthcare LLC มียอดขายเป็นอันดับ 2 ในสหรัฐฯ
- แบรนด์ Durex ผลิตโดยบริษัท Reckitt Benckiser Group มียอดขายเป็นอันดับ 3 ในสหรัฐฯ
- นอกจากนี้ ผู้ที่มีอาการแพ้ถุงยางธรรมชาติ ถุงยางที่ผลิตจากโพลียูริเทน หรือชนิดที่ผลิตจากลาไส้ของสัตว์
แทน ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นตามลาดับ โดยถุงยางชนิดนี้จะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ แต่ไม่สามารถ
ป้องกันโรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ได้
ปัจจุบันชาวสหรัฐฯ ใช้ถุงยางอนามัยชายร้อยละ 98 และถุงยางอนามัยสาหรับผู้หญิงร้อยละ 2 โดยผู้ผลิต
ได้ออกแบบถุงยางอนามัยให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น

สำนักงำนส่งเสริมกำรค้ำในต่ำงประเทศ ณ เมืองไมอำมี ประเทศสหรัฐอเมริกำ Page 1


Glow-In-The-Dark (ถุงยางอนามัยเรืองแสงที่ได้รับ Flavored Condom (ถุงยางอนามัยมีกลิ่นและ
มาตรฐานรับรองความปลอดภัยจากกระทรวง รสชาติ)
สาธารณสุขสหรัฐฯ)

Studded Condom (ถุงยางอนามัยที่มีรูปร่างและ Warming Condoms (ถุงยางอนามัยชนิดบางพิเศษ


ผิวสัมผัส) และเคลือบด้วยสารหล่อลื่นชนิดพิเศษช่วยเพิ่ม
อุณหภูมิขณะมีเพศสัมพันธ์)

Pleasure Shaped Condom (ถุงยางอนามัยที่มีความ Colored Condoms (ถุงยางอนามัยหลากสี นิยมใช้


ใหญ่ของส่วนปลายเป็นทรงเกลียว) ในเทศกาลของชาติต่างๆ เช่น วัน Halloween,
Christmas และ Valentine เป็นต้น)

สำนักงำนส่งเสริมกำรค้ำในต่ำงประเทศ ณ เมืองไมอำมี ประเทศสหรัฐอเมริกำ Page 2


Kiss of Mint Condoms (ถุงยางอนามัยไม่มีสารหล่อ French Ticklers (ถุงยางอนามัยที่มีความอ่อนนุ่มตรง
ลื่น เคลือบด้วยกลิ่นมินท์) ส่วนปลาย ผลิตมาจากเยลลีนิ่มๆ แต่ไม่สามารถ
ป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อได้ แนะนาให้ใส่
ถุงยางอนามัยไว้ด้านในอีกหนึ่งชั้น ก่อนมีเพศสัมพันธ์)

Tingling Pleasure Condoms (ถุงยางอนามัยมีกลิ่นมิ้น Vegan Condom (ถุงยางอนามัยผลิตจากน้ายางธรรมชาติโปรตีน


เคลือบด้วยสารหล่อลื่นช่วยกระตุ้นอารมณ์ให้รุนแรงขึ้น) ต่า ไม่มสี ่วนผสมของสัตว์ และสารหล่อลื่นจากธรรมชาติปราศจาก
สารอันตราย และสารก่อมะเร็ง (Carcinogen)

สำนักงำนส่งเสริมกำรค้ำในต่ำงประเทศ ณ เมืองไมอำมี ประเทศสหรัฐอเมริกำ Page 3


2. การนาเข้า
คาดว่าสหรัฐฯ มีแนวโน้มการนาเข้าถุงยางอนามัยจากเอเชียเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจัยด้านวัตถุดิบ
ต้นทุนการผลิตทีต่ ่ากว่าผลิตในสหรัฐฯ การผลิตได้คุณภาพมาตรฐาน และสินค้ามีความหลากหลาย

สหรัฐฯ นาเข้าสินค้าถุงยางอนามัย HS 401410 (มกราคม – ธันวาคม ปี 2558 – 2559)


มูลค่าล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ม.ค. – ธ.ค. % ส่วนแบ่ง % Change
Rank Country
2558 2559 2558 2559 59/58
World (Total Import) 27.794 35.838 100 100 28.94
1 Thailand 9.176 13.443 33.02 37.51 46.50
2 India 7.357 8.028 26.47 22.40 9.11
3 Malaysia 4.765 6.240 17.15 17.41 30.95
4 Japan 2.992 4.016 10.77 11.21 34.19
5 China 3.056 2.934 10.99 8.19 -3.96
Others 0.448 1.177 1.6 3.28 162.72
ที่มา: World Trade Atlas (WTA)

สหรัฐฯ นาเข้าสินค้าถุงยางอนามัย ในปี 2559 ทั้งปี มูลค่า 35.838 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี


2558 ร้อยละ 28.94
สหรัฐฯ นาเข้าสินค้าถุงยางอนามัย จากไทยในปี 2559 ทั้งปี มูลค่า 13.443 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ร้อยละ 46.50

สหรัฐฯ นาเข้าสินค้าถุงยางอนามัย HS 401410 (มกราคม – มิถุนายน ปี 2559 – 2560)


มูลค่าล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ม.ค. – มิ.ย. % ส่วนแบ่ง % Change
Rank Country
2559 2560 2559 2560 60/59
World (Total Import) 19.116 13.190 100 100 -31.00
1 Thailand 6.688 4.151 34.99 31.47 -37.94
2 India 3.015 3.580 15.77 27.14 18.73
3 Japan 2.128 2.348 11.13 17.80 10.32
4 Malaysia 4.142 2.137 21.67 16.20 -48.41
5 China 2.238 0.750 11.71 5.69 -66.50
Others 0.905 0.224 4.73 1.70 -75.24
ที่มา: World Trade Atlas (WTA)

สหรัฐฯ นาเข้าสินค้าถุงยางอนามัย ในปี 2560 ม.ค. – มิ.ย. มูลค่า 13.190 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อย
ละ 31 จากช่วงเวลาเดียวกันปี 2559
สหรัฐฯ นาเข้าสินค้าถุงยางอนามัย จากไทยในปี 2559 ม.ค. – มิ.ย. มูลค่า 4.151 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ลดลงร้อยละ 37.94 จากช่วงเดียวกันปี 2559
สำนักงำนส่งเสริมกำรค้ำในต่ำงประเทศ ณ เมืองไมอำมี ประเทศสหรัฐอเมริกำ Page 4
กราฟแสดงสัดส่วนการนาเข้าถุงยางอนามัยปี 2560 (ม.ค.- มิ.ย.)

**มูลค่ำล้ำนดอลลำร์สหรัฐฯ**

3. ช่องทางการจัดจาหน่าย
 บริษัทจาหน่ายถุงยางอนามัย (Commercial Outlet) เช่น Church & Dwight Co., Inc., Ansell
Healthcare LLC. และ Reckitt Benckiser Group เป็นต้น
 ร้านค้าทั่วไป (Non-Commercial Outlet) เช่น ร้านจาหน่าย Sex Toy เป็นต้น
 ร้านค้าปลีกประเภท Convenient Store/ Supermarket เช่น Walgreens, CVS, Publix และ
Kroger เป็นต้น
 ร้านค้าส่ง เช่น Costco/ Sam’s Club/ BJ’s เป็นต้น
 ศูนย์การแพทย์ต่างๆ เช่น โรงพยาบาล/ คลีนิค และร้านขายยา เป็นต้น
 องค์กรส่งเสริมการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย (Safe Sex) เช่น หอการค้าของชาวรักร่วมเพศ
เป็นต้น
 หน่วยงานและองค์กรรัฐบาล เช่น สานักงานเขตของรัฐต่างๆ ในสหรัฐฯ เป็นต้น
 องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO)
 ซื้อผ่านทางออนไลน์ : Home Delivery / Online เช่น Amazon.com และ Condomdepot.com
เป็นต้น
 โรงแรม สถานบันเทิง หรือห้องน้าสาธารณะ

สำนักงำนส่งเสริมกำรค้ำในต่ำงประเทศ ณ เมืองไมอำมี ประเทศสหรัฐอเมริกำ Page 5


4. พฤติกรรมผู้บริโภค
พฤติกรรมการเลือกใช้ถุงยางของผู้บริโภคจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับอายุ ความพึงพอใจ การศึกษา และ
ฐานะทางการเงิน โดยส่วนใหญ่ผู้บริโภคจะคานึงถึงขนาดที่พอดีกับการใช้งานเฉพาะบุคคลและคุณภาพในการเลือก
ซื้อสินค้า รองลงมาเป็นความชอบส่วนตัวและราคา ความถี่ในการใช้ขึ้นอยู่กับอายุ โดยผู้ซื้อส่วนใหญ่จะทาการซื้อ
สินค้าที่มีให้เลือก ณ จุดขาย รีบซื้อและรีบไป นอกจากนี้ปัจจุบันการซือ้ ถุงยางทางออนไลน์ได้รับความนิยมเพิ่ม
มากขึ้น ผู้ใช้อายุระหว่าง 15-34 ปี เป็นกลุ่มที่ใช้ถุงยางอนามัยมากที่สุดในสหรัฐฯ
นอกจากถุงยางจะเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แล้ว ผู้บริโภคโดยเฉพาะสตรี
ยังมีอุปกรณ์และสินค้าอื่นๆ ให้เลือกใช้ เช่น ฝาครอบปากมดลูก (Diaphragm / Cervical Cap) ห่วงคุมกาเนิด
ยาฝังคุมกาเนิด ฟองน้าคุมกาเนิด ยาฆ่าอสุจิ ยาฉีดคุมกาเนิด วงแหวนช่องคลอด และแผ่นแปะคุมกาเนิด เป็นต้น
นอกจากนี้ ปัจจุบันกลุ่มรักร่วมเพศ (LGBT) เป็นอีกกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
โดยเฉพาะ Bisexual และ Transgender จะมีอัตราความเสี่ยงสูงกว่ากลุ่มรักร่วมเพศอื่นๆ กลุ่มรักร่วมเพศจะ
รับประทานยาป้องกันการติดเชื้อ HIV ก่อนสัมผัส หรือ Pre-Exposure Prophylaxis – PrEP ซึ่งสามารถช่วยลด
ความเสี่ยงในการติดเชื้อได้มากถึงร้อยละ 92 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ พบว่าในปีที่ผ่านมาการใช้ถุงยาง
อนามัยลดน้อยลงกว่าปีผ่านๆ มา ซึ่งผลสารวจพบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายร้อยละ 43 ไม่สวมถุงยาง
อนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ กล่าวโทษสถาบันการศึกษาที่ไม่ได้ให้ข้อมูลและ
อบรมเด็กนักเรียนถึงผลร้ายของโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงการสอนการมีเพศสัมพันธ์ที่
ปลอดภัย (safe sex) โดยใช้อุปกรณ์ป้องกันต่างๆ ที่มีอยู่ในตลาด อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองจะต้องเข้ามามีส่วนร่วม
ในการพูดคุยและเปิดใจกับบุคคลในครอบครัวถึงผลร้ายและวิธีป้องกัน
ผลสารวจจากบริษัทผู้ผลิตถุงยางยักษ์ใหญ่ Ansell พบว่า ประชากรกลุ่ม Millennial ร้อยละ 50 มี
เพศสัมพันธ์อย่างน้อย 1 ครั้งต่ออาทิตย์ และปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้า ทาให้กลุ่ม Millennial มีการ
ถ่ายรูปภาพและแชร์บนโซเชียลมีเดียที่เรียกกันว่า “Sexting” ร้อยละ 48 ทาการ sexting อย่างน้อย 1 ครั้งต่อ
อาทิตย์ โดยกลุ่ม Millennial ที่ใช้ถุงยางขณะมีเพศสัมพันธ์ กล่าวว่า การใช้ถุงยางสามารถช่วยสร้างความมั่นใจใน
การมีเพศสัมพันธ์ และสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ยาวนานกว่าผู้ที่ไม่ได้สวมใส่ถุงยาง

5. กฎระเบียบการนาเข้า
5.1 FDA
 โรงงานผลิตในต่างประเทศต้องได้รับการตรวจสอบจาก FDA สหรัฐฯ (FDA approved
manufacturer)
 ถุงยางอนามัยจัดอยู่ในประเภท Medical Devices
 ต้องได้รับมาตรฐาน ASTM Standard
 โรงงานต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 10993
 ปฏิบัติตามระเบียบฉลากสินค้า (Labeling) ซึ่งต้องแสดงวันหมดอายุของสินค้า ประโยชน์ของ
การใช้งาน และคาเตือนการเกิดอาการแพ้ เป็นต้น
5.2 ภาษีนาเข้า/ GSP
 ถุงยางอนามัย (HS 40141000) นาเข้าจากประเทศไทยมายังสหรัฐฯ ไม่เสียภาษีนาเข้า

สำนักงำนส่งเสริมกำรค้ำในต่ำงประเทศ ณ เมืองไมอำมี ประเทศสหรัฐอเมริกำ Page 6


6. คู่แข่งขัน
แหล่งนาเข้า 5 ประเทศแรกรวมกันคิดเป็นร้อยละ 96.72 ของการนาเข้ารวมของสหรัฐฯ (ไทยอันดับที่ 1
รองลงมาคือ อินเดีย มาเลเซีย ญี่ปุ่น และจีน)
ประเทศอินเดีย - แหล่งนาเข้าถุงยางอนามัยที่สาคัญของสหรัฐฯ ปัจจุบัน มูลค่านาเข้าปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง และเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของไทย เนื่องจาก บริษัท Ansell Healthcare Products LLC. ร่วมทุน 50:50
ร่วมกับ Raymond Group ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและ cotton ของอินเดียเพื่อผลิตถุงยาง
อนามัยและถุงมือยางจาหน่ายสู่ตลาดสหรัฐฯ นอกจากนี้ บริษัท Humanwell Healthcare Group และบริษัท
CITIC Capital จากประเทศจีน ได้ซื้อกิจการโรงงานผลิตถุงยางอนามัยและสารหล่อลื่นของบริษัท Ansell ที่มี
โรงงานผลิตในประเทศจีนและอินเดียไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ประเทศมาเลเซีย - เป็นคู่แข่งขันที่ต้องจับตา เนื่องจาก สหรัฐฯ มีการนาเข้าถุงยาง อนามัยจากมาเลเซีย
เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยการนาเข้าปี 2559 มีมูลค่า 6.24 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.95 อย่างไรก็ตาม
มาเลเซียเพิ่มการใช้วัตถุดิบในโรงงานผลิตสินค้ายางในประเทศและบริษัทลงทุนต่างประเทศ ทาให้มาเลเซียยังคง
ต้องนาเข้าวัตถุดิบยางธรรมชาติจากต่างประเทศ
ประเทศญี่ปุ่น - มีความได้เปรียบด้านเทคโนโลยีในการผลิต แต่ประเทศญี่ปุ่นไม่สามารถผลิตยางได้มากพอ
จึงยังคงต้องนาเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเพื่อนาไปผลิตเป็นสินค้า
ประเทศจีน - มีความได้เปรียบด้านราคาต้นทุนค่าจ้างแรงงานต่า มีบริษัทต่างชาติรายใหญ่ไปลงทุน มี
อุตสาหกรรมสนับสนุนพร้อม โดยรัฐบาลสนับสนุน แต่มาตรฐานการผลิตของสินค้าจากจีนยังไม่ได้รับการยอมรับด้าน
คุณภาพ รวมถึง จีนต้องนาเข้าวัตถุดิบยางธรรมชาติเนื่องจากผลผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการ

7. วิเคราะห์ SWOT สินค้าถุงยางอนามัยของไทยในตลาดสหรัฐฯ

จุดแข็ง จุดอ่อน
1. ไทยผลิตถุงยางได้มาตรฐาน คุณภาพเป็นที่ 1. ต้นทุนนาเข้าเครื่องจักรทีใ่ ช้ในการผลิตสูง
ยอมรับในระดับสากล 2. ต้นทุนค่าขนส่งและด้าน Logistics มายัง
2. ไทยเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบยางธรรมชาติ ทาให้ สหรัฐฯ สูงกว่าประเทศคู่แข่ง
ต้นทุนในการผลิตต่า 3. ขาดความพร้อมของอุตสาหกรรมสนับสนุน
3. สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกถุงยางอนามัยที่ 4. เทคโนยีในการผลิตอาจด้อยกว่าประเทศคู่แข่ง
สาคัญของไทย คู่แข่งขันศักยภาพเช่น มาเลเซีย
ส่งออกให้กับจีนเป็นหลัก

โอกาส อุปสรรค
1. ตลาดในกลุ่มผู้ใช้สตรี (Female Condom) ยังมี 1. สหรัฐฯ มีมาตรการเข้มงวดอย่างมากในการ
การ เติบโต การตื่นตัวกับการให้ความสาคัญการ ตรวจสอบความปลอดภัยสินค้าถุงยางที่นาเข้า
คุมกาเนิด และมีมาตรฐานสินค้า (Standard) การทดสอบ
2. การรณรงค์ร่วมกับภาครัฐบาลสหรัฐฯ อาจช่วย (Testing) ถุงยางส่งออกสหรัฐต้องได้มาตรฐาน
เพิ่มช่องทางการจาหน่าย การรับรู้ และส่งเสริมการ ขององค์กรอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA)
ใช้ถุงยางอนามัยในหลายหน่วยงาน เช่น โรงพยาบาล 2. การแข่งขันในตลาดรุนแรงขึ้น ผู้บริโภคมี
โรงเรียน และมหาวิทยาลัยมากยิ่งขึ้น ทางเลือกหลากหลายขึ้น
สำนักงำนส่งเสริมกำรค้ำในต่ำงประเทศ ณ เมืองไมอำมี ประเทศสหรัฐอเมริกำ Page 7
3. สินค้าถุงยางประเภท Polyurethane สาหรับผู้ที่ 3. กลุ่มรักร่วมเพศเริ่มหันไปใช้ยา PrEP แทนการ
แพ้ยาง เริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ใช้ถุงยางอนามัย เนื่องจากมีความเชื่อว่าสามารถ
4. กาลังซื้อของผู้บริโภคสหรัฐฯ เริ่มฟื้นตัว มีการใช้ ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเพิ่มมากขึ้น และสินค้า
ถุงยางเป็นสินค้าจาเป็น ไม่ผันผวนตามภาวะ
เศรษฐกิจมากนัก
5. ตลาดถุงยาง Private Label และกลุ่มรักร่วมเพศ
(LGBT) มีโอกาสเติบโตสูง

8. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
 ประเทศไทยผลิตถุงยางอนามัยทีไ่ ด้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ควรหาทางปรับปรุง
โครงสร้าง และอาจพิจารณาร่วมทุนกับบริษัทสหรัฐฯ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้า และเป็นการ
ถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างองค์กร
 ผู้ประกอบการไทยควรพัฒนาและวิจัยผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อคงความเป็นผู้นาในตลาดของไทย
โดยพัฒนาเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
มากขึ้น เช่น วัตถุดิบ รูปแบบ สี และกลิ่น
 ตลาดผู้ใช้ในกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มสตรี (Female Condom) และกลุ่มรักร่วมเพศ (LGBT) ยังมีการเติบโตของ
ตลาดได้อีก
 เพิ่มช่องทางการจาหน่ายสินค้าในตลาดส่วน non-profit organization องค์กรที่ไม่แสวงกาไร เช่น
หน่วยงานของรัฐ โรงพยาบาล องค์กรเพื่อสุขภาพและอนามัย
รายชื่องานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้องในสหรัฐฯ
1. Federation of International Medical 3. Medtrade
Equipment Suppliers (FIME) Show Date: March 28 – 29, 2018
Date: August 8 – 10, 2017 Mandalay Bay Convention Center, Las Vegas, NV
Miami Beach Convention Center, Miami, FL http://www.medtrade.com/spring/index.shtml
https://www.fimeshow.com/en/home.html
2. Medical Design & Manufacturing West 4. Medical Design & Manufacturing East
Date: February 6 – 8, 2018 Date: June 12 – 14, 2018
Anaheim Convention Center, Anaheim CA Jacob K. Javits Convention Center, New York, NY
http://mdmwest.mddionline.com/ http://mdmeast.mddionline.com/

สำนักงำนส่งเสริมกำรค้ำในต่ำงประเทศ ณ เมืองไมอำมี ประเทศสหรัฐอเมริกำ Page 8


รายชื่อผู้นาเข้าถุงยางอนามัย HS 401410
บริษัท Reckitt Benckiser (North America) บริษัท Okamoto USA Inc.
Morris Corporate Center IV OKAMOTO USA, INC.
399 Interpace Parkway, #101, 3130 WEST MONROE STREET
P.O. Box 225 SANDUSKY, OHIO 44870 USA
Parsippany, NJ 07054-0225 TEL: 419-626-1633
Tel: 973 404 2600 FAX: 419-626-1633
Fax: 973 404 5700 Email: Okamotousa@OkamotoUSA.com
Website: www.rbnainternational.com Website: www.okamotousa.com
บริษัท Ansell Healthcare บริษัท Church & Dwight Co., Inc.
111 Wood Avenue, Suite 210, 500 Charles Ewing Boulevard,
Iselin, NJ 08830 Ewing, NJ 08628
Tel.: 732-345-5400 Tel. 609-683-5900
Fax: 732-219-5114 Fax. 609-683-5092
Website: www.ansell.com Website: www.churchdwight.com

บริษัท Westridge Laboratories Inc. บริษัท Barnett International Corp.


1671 E. Saint Andrew Pl., 520 B Union West Blvd.,
Santa Ana, CA 92705 Matthews, NC 28104
Tel: 714-259-9400 Tel: 704-882-9119
Fax: 714-259-9401 Fax: 704-882-9120
Email. customerservice@westridgelabs.com Email. vsarin@barnettinternational.net
Website. www.westridgelabs.com Website. www.barnettinternational.net

บรรณานุกรม
- Globenewswire.com “U.S. Condom Market will reach USD 1,680.22 Million by 2022: Zion Market
Research”
The Stranger “Parents, Now is the time to talk to your gay teen about prep”
Independent News “Chinese group buys condom brand named after James Bond for £462
PR News “2017 SKYN Condoms millennial sex survey revals nearly 50% of respondents sext at least
one a week”
PSFK.com “This startup is trying to create a more sustainable condom”
- Dred.com “Types of contraceptive”
- Verywell.com “Condom Types” by Dawn Stacy, PhD, LMHC
https://www.verywell.com/condom-types-906789
- IBIS World
- Datamyne.com
- World Trade Atlas

สำนักงำนส่งเสริมกำรค้ำในต่ำงประเทศ ณ เมืองไมอำมี ประเทศสหรัฐอเมริกำ Page 9

You might also like