You are on page 1of 5

รายงานห่านในตลาดจีน

1.ภาพรวมสถานการณ์
1.1 สถานการณ์ตลาดและแนวโน้มการบริโภค
จากข้ อ มู ล ของคณะกรรมการจั ด การทรั พ ยากรปศุ ส ั ต ว์ แ ละสั ต ว์ ป ี ก แห่ ง ชาติ ร ะบุ ว่ า
ในประเทศจีนมีสายพันธุ์ห่านทั้งหมด 27 สายพันธุ์ และมี 6 สายพันธุ์ที่อยู่ในรายชื่อการคุ้มครองสัตว์
สงวนแห่งชาติ โดยปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่มีพันธุ์ห่านมากที่สุดในโลก
ประเภท/ชนิดของห่านสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามขนาดของลำตัว แบ่งเป็น
ขนาดใหญ่ กลางและเล็ก เป็นต้น เช่น ขนาดใหญ่ ได้แก่ ห่านหัวสิงโต ขนาดกลาง ได้แก่ ห่านขาวว่าน
ซี, ห่านป่า, ห่านขาวเจ้อเจียง, ห่านขาวเสฉวน ฯลฯ และขนาดเล็ก ได้แก่ ห่านไท่ห,ู ห่านขาวฟู่เจี้ยน ,
ห่านหยางโจว ฯลฯ เป็นต้น
เนื้อห่าน เป็นเนื้อสัตว์ที่อุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย เช่น กรดอะมิโน โปรตีน และ
วิตามินต่างๆ ที่ร่างกายต้องการ และในปัจจุบันอุตสาหกรรมการเพาะพันธุ์ห่านเนื้อในจีนได้มีการพัฒนาอย่าง
รวดเร็วโดยในหลายพื้นที่มีการสร้างโรงเรือนเพาะเลี้ยงห่านกระโจมพลาสติกที่ใช้ในอุตสาหกรรมทาง
การเกษตรซึง่ สามารถสร้างรายได้นำมาสู่การสร้างการเติบโตเศรษฐกิจในท้องถิ่นอีกด้วย
จากการสำรวจข้อมูลการบริโภคห่านของผู้บริโภคชาวจีนพบว่า ผู้บริโภคชาวจีนในมณฑลกวางตุ้ง
มีการบริโภคห่านมากที่สุดในประเทศ และในปี 2563 มณฑลกวางตุ้งมีการบริโภคห่านมากถึง 170 ล้านตัว
ต่อปี โดยส่วนใหญ่นิยมนำมาย่าง ต้ม ตุ๋น ทั้งนี้ ห่านย่างถือได้ว่าเป็นเมนูอาหารกวางตุ้งมีชื่อเสียงเป็น
อย่างมากในตลาดจีน

หากพิจารณาจากความต้องการห่านในประเทศ พบว่า จากพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภค


แต่ละมณฑลมีความแตกต่างกัน จึงทำให้ความต้องการบริโภคห่านต่างกันด้วย โดยในพื้นที่ มณฑล
กวางตุ้ง กวางซี ยูนนาน เจียงซี รวมถึงประเทศในแถบเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ ผู้บริโภคจะนิยมและ
ให้การยอมรับในการเลี้ยงและบริโภคห่านขนสีน้ำตาลเป็นหลัก แต่ในพื้นที่อื่นๆ นอกจากที่กล่าวมา
ข้างต้นของจีนกลับนิยมห่านขนสีขาวมากกว่า อีกทั้งยังมีการนำขนห่านมาทำเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มเพื่อ
เพิ่มมูลค่าอีกด้วย และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากผลกำไรในการทำเครื่องนุ่งห่มขนห่าน ทำให้ห่านขนสีขาว
ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และมีการเพาะเลี้ยงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
1.2 สถานการณ์การผลิตภายในประเทศและความต้องการนำเข้า

ปัจจุบันประเทศจีนมีการเพาะเลี้ยงห่านมากที่สุด 4 สายพันธุ์ โดยเป็นสายพันธุ์ห่านที่นิยม


และมีกำไรมากที่สุด ได้แก่
1. ห่านขาวว่านซี (Wanxi white geese) มีแหล่งเพาะเลี้ยงอยู่ที่มณฑลทางตะวันตกของจีน
โดยห่านขาวว่านซีมีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว มีความอดทนต่อสภาพแวดล้อม และ
มีความสามารถในการหาอาหาร มีคุณภาพของเนื้อค่อนข้างดี และมีขนที่มีคุณภาพ
ห่านตัวผู้ที่โตเต็มวัยจะมีน้ำหนัก 5.5 - 6.5 กก. และห่านตัวเมียจะมีน้ำหนัก 5 - 6 กก.
โดยทั่วไปเมื่อห่านอายุ 60 วัน จะมีน้ำหนัก 3.0 - 3.5 กก. และแม่ห่านสามารถเริ่มวางไข่
ได้เมื่ออายุ 6 เดือน วางไข่ปีละ 2 – 3 ครั้งและมีปริมาณประมาณ 25 ฟองต่อปี
2. ห่านป่า (Yan Goose) มีแหล่งเพาะเลี้ยงอยู่ที่มณฑลอันฮุย เป็นห่านที่มีขนาดกลาง
มีโครงสร้างการเจริญเติบโตที่รวดเร็วและสมดุล มีความทนต่อสภาพแวดล้อม ห่านตัวผู้
เมื่อโตเต็มวัยจะมีน้ำหนัก 6 - 7 กก. และห่านตัวเมียเมื่อโตเต็มวัย จะมีน้ำหนัก 5 - 6 กก.
และแม่ ห ่ า นจะเริ ่ ม วางไข่ เ มื ่ อ อายุ 8 - 9 เดื อ นและวางไข่ ไ ด้ 25 - 35 ฟองต่ อ ปี
อัตราส่วนระหว่างตัวผู้ต่อตัวเมียสำหรับห่านผสมพันธุ์คือ 1 : 5
3. ห่านขาวเสฉวน ห่านพันธุ์นี้มีลักษณะเรียวเล็กน้อยและมีหัวขนาดกลาง ห่านตัวผู้เมื่อโต
เต็มวัยจะมีน้ำหนัก 4.4 - 5.0 กก. และห่านตัวเมียเมื่อโตเต็มวัยจะมีน้ำหนัก 4.3 - 4.9 กก.
เมื่อห่านอายุ 60 วัน จะมีน้ำหนัก 2.5 - 3.5 กก. โดยส่วนใหญ่เมื่อห่านอายุ 90 วัน
จะเป็นห่านที่เหมาะสมที่สุดและมีเนื้อที่ค่อนข้างมีคุณภาพ ห่านตัวเมียจะเริ่มวางไข่เมื่ออายุ
6 – 8 เดือน และออกไข่ 69 - 80 ต่อปี โดยจะมีระยะฟักไข่อยู่ในช่วงระหว่างเดือน
มกราคม – มิถุนายนของทุกปี และอัตราส่วนการผสมพันธุ์ของห่านตัวผู้และตัวเมียอยู่ที่
1:3
4. ห่านลูกผสม ส่วนใหญ่ฟาร์มเพาะเลี้ยงต่างๆ จะนำห่านตัวผู้ (ห่านขาวว่านซี) มาผสม
ข้ามสายพันธุ์กับแม่ห่าน (ห่านขาวเสฉวน) ซึ่งการออกไข่จะมีปริมาณใกล้เคียงกับการ
ออกไข่ของห่านขาวเสฉวน และจะมีอัตราการเติบโตในช่วงแรกเหมือนห่านขาวหว่านซี
ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงห่าน
ทั้งนี้ ก่อนที่จะเลี้ยงห่านเนื้อเกษตรกรต้องเข้าใจความต้องการของตลาดในภูมิภาคต่างๆ
อย่างถ่องแท้เพื่อกำหนดทิศทางการในการเพาะพันธุ์ให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดในการทำธุรกิจ ความต้องการ
ห่านของผู้บ ริโ ภคในประเทศจีน มี แนวโน้ม มากขึ้น อย่ างต่ อเนื ่อ ง ในขณะที่ ต้องการเนื้ อห่ า นใน
ต่างประเทศถือได้ว่ามีน้อยมาก เมื่อเทียบกับส่วนใหญ่ทมี่ ีความต้องการขนห่านมากกว่า เพื่อนำขนไปทำ
เสื้อผ้าหรือเครื่องนุ่งห่ม โดยประเทศในแถบยุโรปมีการยอมรับว่าเสื้อผ้าขนห่านเป็นแฟชั่นชั้นสูง
กล่าวโดยสรุปความต้องการของเนื้อห่านในประเทศและต่างประเทศของจีน ส่วนใหญ่เป็นการผลิต
เพื่อตอบสนองความต้องการในประเทศเป็นหลักจึงไม่มีแรงกดดันในการนำเข้า ส่วนการส่งออกไปยั ง
ต่างประเทศของจีนก็ไม่มีการแข่งขันจากคู่แข่งขันของประเทศอื่นๆ
รูปภาพประกอบ

ห่านขาวว่านซี ห่านป่า

ห่านขาวเสฉวน ห่านหัวสิงโต

1.3 ข้อมูลสถิติการค้าที่สำคัญ
มูลค่าและปริมาณการส่งออกห่านแช่แข็ง(ทั้งตัว) ปี 2561 – 2563 เดือน (ม.ค. – ก.ย. 2563)
Hs Code : 020752 (Meat Of Geese, Frozen, Not Cut In Pieces)
มูลค่าการนำเข้า อัตราการ ปริมาณการนำเข้า อัตราการ
ประเทศ (หน่วย : เหรียญสหรัฐฯ) เปลี่ยนแปลง (หน่วย : ตัน) เปลี่ยนแปลง

2561 2562 2563 2562/2563 2561 2562 2563 2562/2563


โลก 158,313 109,169 84,878 -22.25 30.65 25.49 16.98 -33.40
มาเก๊า 158,313 56,739 84,878 49.59 30.65 11.75 16.98 44.48
ฮ่องกง - 51,979 - - - 13.60 - -
ปานามา - 451 - - - 0.14 - -
ที่มา : Global Trade Atlas
จากตารางตัวเลขการส่งออก ห่านแช่แข็งของจีน แสดงให้เห็นว่าจีนมีการส่งออกห่านแช่แข็ง
ไปยังมาเก๊าและฮ่องกงเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากมาเก๊าและฮ่องกงมีพฤติกรรมการบริโภคที่ คล้ายคลึงจีน
โดยมีการนิยมบริโภคห่านย่าง (ขนสีน้ำตาล) เช่นเดียวกับผู้บริโภคในพื้นที่ กวางตง กวางซี ยูนนานและ
เจียงซี อีกด้วย
จากข้อมูลสถิติของ Global Trade Atlas พบว่าจีนไม่มีการนำเข้าห่านแช่แข็ง มีเพียง
ตัว เลขการส่งออก ซึ่งปัจ จุบ ัน ถือว่า จีน เป็นประเทศผู้ผ ลิตห่านรายใหญ่และรายสำคัญ ของโลก
เนื่องจากความต้องการในประเทศที่มีมากทำให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงห่านต้องเพิ่มปริ มาณการ
เพาะเลี้ยงห่านให้มากขึ้นตามความต้องการของผู้บริโภค และเพื่อไม่ให้ตลาดเสียสมดุลในการอุปโภค
บริโภคไป

2. ช่องทางการจัดจำหน่ายและราคา
การจัดจำหน่ายห่านในตลาดจีนส่วนใหญ่สามารถหาซื้อได้ทางตลาดสดและทางช่องทาง
ออนไลน์ เช่น Taobao เป็นต้น ทั้งนี้ การหาซื้อห่านในซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำจะมีเพียงส่วนน้อยมาก
ประเภท ราคา (หน่วย : หยวน/กิโลกรัม)
ห่านขาว 22.5 – 24.5
ห่านขาว (ใหญ่) 22 - 24
ห่านสีน้ำตาล 30 - 32
ห่านเนื้อ 21 - 23
ห่านหัวสิงโต 27 - 29
ห่านว่านซี 25 - 27
ห่านว่านซี (ใหญ่) 28 - 30
ห่านลูกผสม 18.5 – 20.5
ที่มา : www. m.cnhnb.com (ราคา ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2563)

3. ความคิดเห็นของสคต.
จากการศึกษาข้อมูล พบว่าผู้บริโภคชาวจีนมีการบริโภคห่านเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะ
ผู้บริโภคในมณฑลกวางตุ้ง และเพื่อ ให้เกิดความสมดุลระหว่างดีมานด์และซัพพลายของห่าน อีกทั้ง
เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในประเทศ ปัจจุบันรัฐบาลจีน จึงได้ สนับสนุนให้ม ีก าร
เพาะเลี้ย งห่านมากขึ้น โดยได้ออกมาตรการและให้เงินสนับสนุนกับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ ยงห่าน
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจีนให้ความสำคัญกับสินค้าที่ทำจากห่านไม่น้อยไม่เพียงแต่เลี้ยงเพื่อบริโภคเท่านั้น
ยังมีการเลี้ยงเพื่อนำขนไปทำเป็นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มอีกด้วย
สคต.คุนหมิง มีความเห็นว่า ปัจจุบันจีนเป็นผู้ผลิตห่านรายใหญ่ของโลกแต่ยังขาดการแปรรูป
สิน ค้าห่านที่เป็ น ผลิตภัณฑ์ใหม่ ที ่น ่าสนใจของตลาด และยังขาดการประชาสั มพันธ์คุ ณค่ า ทาง
โภชนาการของห่านให้ผู้บริโภคในต่างประเทศได้รู้จัก ดัง นั้น ผู้ประกอบการไทยอาจจะศึกษาและ
ออกแบบอาหารสำเร็จรูปต่างๆ ที่ทำด้วยห่านของจีน เพื่อส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ จึงเป็ น
โอกาสดีที่ผู้ประกอบการไทยจะนำเข้าห่านของจีน ทั้งนี้ ต้องศึกษาคุณสมบัติของห่านแต่ละประเภท
และกฎระเบียบการนำเข้าให้ถ่องแท้ ก่อนการนำเข้า รวมทั้งศึกษาตลาดจีนและตลาดต่างประเทศ
ต่อไป

**************************************
ที่มา : https://news.cnhnb.com/zixun/detail/413064/
http://www.chinabgao.com/tag/marketsize/erou.html
https://wenku.baidu.com/view/138d4888bbf3f90f76c66137ee06eff9aef849ba.html
http://www.chyxx.com/shuju/202004/852517.html
https://www.sohu.com/a/274056077_305037
http://www.chyxx.com/shuju/202004/852516.html
https://baijiahao.baidu.com/s?id=1672354969002803812&wfr=spider&for=pc
https://m.sohu.com/a/212051177_519763
https://m.cnhnb.com/hangqing/cd-2001182-0-0-0-20201031-斤/?from=baidu
ศูนย์พัฒนาการค้าและธุรกิจไทย
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครคุนหมิง
ตุลาคม 2563

You might also like