You are on page 1of 6

ประวัตศิ าสตร์ (History) เป็นการศึกษาเรือ่ งราวข้อเท็จจริงในอดีตอย่างมีมลู เหตุผล

โดยอาศัยความสัมพันธ์ทางเหตุการณ์และเวลา

* คำว่า History มีรากศัพท์จากภาษากรีกว่า Histori มีความหมายว่า การค้นคว้า การตรวจตรา การไต่สวน *

* Herodotus ชาวกรีก มีชื่อเสียงจากการบันทึก เรื่องสงครามระหว่างกรีกและเปอร์เซีย ได้รับการยกย่องว่า “บิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์โลก"


* สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ “พระบิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์ไทย” ทรงศึกษาประวัติศาสตร์และทรงนิพนธ์งานทางประวัติศาสตร์
จำนวนมาก
* ซือ หม่า เฉียน ได้รับการยกย่องว่า “บิดาวิชาประวัติศาสตร์ตะวันออก” มีงานเขียนทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ คือ “ซี่อจี้”

* การนับศักราชในประวัติศาสตร์
การนับศักราชแบบไทย
▪ พุทธศักราช (พ.ศ.) ถ้านับแบบลังกา พม่า จะนับ พ.ศ. 1 ทันทีเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพาน แต่ถ้านับแบบไทย จะเริ่มนับ
พ.ศ. 1 หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว 1 ปี ในไทยเริ่มใช้ พ.ศ. อย่างเป็นทางการในสมัย ร.6
▪ มหาศักราช (ม.ศ.) มาจากอินเดีย โดยไทยรับผ่านขอม นิยมใช้ในการบอกเวลาในหลักมาตรฐานสมัยก่อนสมัยสุโขทัยและ
สมัยสุโขทัย
▪ จุลศักราช (จ.ศ.) รับจากพม่า นิยมใช้ในหลักฐานตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5
▪ รัตนโกสินทร์ (ร.ศ.) เริ่มใช้ตอน ร.5 เริ่มนับ ร.ศ.1 เมื่อสถาปนากรุงเทพเป็นราชธานี

การนับศักราชแบบสากล
▪ คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เริ่มนับ ค.ศ.1 ตั้งแต่พระเยซูประสูติ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า A.D. (เป็นภาษาละติน ย่อมาจาก
(Anno Domini) ส่วนเหตุการณ์ก่อนพระเยซูประสูติใช้ “ก่อนคริสต์ศักราช” หรือ B.C. (Before Christ)
▪ ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) เริ่มนับ ฮ.ศ.1 ตั้งแต่นบีมูฮัมมัด เริ่มอพยพจากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดินา เป็นศักราชที่
นับตามจันทรคติ

การเทียบศักราช
พ.ศ. = ม.ศ. + 621 จ.ศ. + 1181 ร.ศ. + 2324
= ค.ศ. + 543 ฮ.ศ. + 1122

* วิธีการทางประวัติศาสตร์
วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง วิธีการหรือขั้นตอนต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า วิจัยเกี่ยวกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์
โดยเฉพาะอาศัยจากหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นสำคัญ
วิธีการทางประวัติศาสตร์ มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. กำหนดหัวเรื่องที่จะศึกษา
- เริ่มจากความสงสัย อยากรู้ หรือตั้งคำถาม
- การกำหนดหัวเรื่องอาจเกี่ยวกับเหตุการณ์ เรื่องราว สิ่งสำคัญในอดีต จึงทำให้เกิดการตั้งคำถามขึ้น
2. การรวบรวมหลักฐาน
- ผู้ศึกษาจะต้องรู้ว่าข้อมูลนั้นมาจากหลักฐานประเภทใด
* หลักฐานทางประวัติศาสตร์
ถ้าแบ่งตามลักษณะจะแบ่งเป็น หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร และ ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณฺอักษร เช่น หม้อ ไห โครงกระดูก ลูกปัด โบราณสถาน โบราณวัตถุ ฯลฯ
หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร ที่สำคัญได้แก่
จารึก หรือ จาร * เป็นหลักฐานที่บันทึกลงบนวัสดุที่คงทน เช่น แผ่นหิน ทองคำ แผ่นเงิน ใบลาน
* นักประวัติศาสตร์ให้ความสำคัญกับหลัก ฐานเภทนี้มาก
ตำนาน * เป็นหลักฐานประเภทบอกเล่า และจดบันทึกไว้ภายหลัง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวที่มีศาสนา และอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์
มาเกี่ยวข้อง
* มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์น้อย
* ตำนานที่สำคัญ ได้แก่ ตำนานมูลศาสนา สังคีติยวงศ์ สิหิงคนิทาน ตำนานจามเทวีวงศ์ ชินกาลมาลีปกรณ์
(เรื่องของล้านนา)
พระราชพงศาวดาร * เป็นหลักฐานที่บันทึกเรื่องราวชองพระมหากษัตริย์ เขียนลงสมุดไทย
* เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5
* ที่โดดเด่น ได้แก่ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริ ฐ (ถือว่าเก่าแก่และน่าเชื่อถือที่สุด ตั้งชื่อตามผู้ค้นพบ
และเชื่อว่ามีสองเล่ม แต่อีกเล่มยังค้นไม่พบ) พงศาวดารฉบับบริติชมิวเซียม, ฉบับพระราชหัตถเลขา
จดหมายเหตุ * เป็นหลักฐานที่ให้ความสำคัญกับเหตุการณ์และลำดับเวลา โดยบันทึกเหตุการณ์เพียงเหตุการณ์เดียว
เอกสารส่วนบุคคล * เป็นบันทึกส่วนตัวของู้เกี่ยวข้องหรือรู้เห็นในเหตุการณ์ยุคนั้นๆ โดยตรง เช่น สาส์นสมเด็จ (จดหมายโต้ตอบระหว่าง
กรมพระยาดำรงฯ กับ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์) บันทึกของคณะราษฎร
หนังสือราชการ * เป็นเอกสารที่เกี่ยวกับการบริหารราชการบ้านเมือง เช่น พระบรมราโชวาท พระบรมราชโองการ หมายรับสั่ง ใบบอก
ศุภอักษร สารตรา รายงานการประชุม
* หนังสือราชการที่เป็นสมุดไทย เก็บไว้ที่ หอสมุดแห่งชาติ กทม.
* หนังสือราชการที่เป็นสมุด ฝรั่ง เก็บไว้ที่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กทม.
บันทึกชาวต่างชาติ * เป็นบันทึกของชาวต่างชาติที่เขียนเกี่ยวกับเมืองไทย ส่วนใหญ่จะเป็นบันทึกของชาวจีนและชาวตะวันตก เช่น
จดหมายเหตุลาลูแบร์ เรื่องเล่ากรุงสยามของบาทหลวงปาเลอกัวร์ จดหมายเหตุวัน วลิต (ฟาน ฟลีท)
วรรณกรรม * เป็นภาพสะท้อนวิถีชีวิต พิธีกรรม ค่านิยม ความเชื่อ หรือความคิดขอวคนสมัยนั้น เช่น ขุนช้างขุนแผน
พระราชพิธีสิบสองเดือน พระอภัยมณี เป็นต้น

ถ้าแบ่งตามความสำคัญ จะแบ่งได้ 2 ประเภท คือ


▪ หลั ก ฐานชั ้นต้ น เขี ย นร่ว มสมัย หรื อเขีย นจากคนที ่ม ีส ่วนร่ว มในเหตุก ารณ์ นั้ นๆ โดยตรง ยั งรวมถึ งโบราณสถาน
โบราณวัตถุที่สร้างในสมัยนั้นๆ ด้วย
▪ หลักฐานชั้นรอง เขียนหลังเหตุการณ์โดยอาศัยหลักฐานชั้นต้น ช่วยทำให้เรื่องราวในอดีตคิดง่ายขึ้น เช่น งานประวัติศาสตร์
นิพนธ์ วิทยานิพนธ์ หรืองานวัจยทางประวัติศาสตร์

3. การประเมินคุณค่าของหลักฐาน
- เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การวิพากษ์ทางประวัติศาสตร์ แบ่งเป็น 2 วิธี คือ
* การวิพากษ์ภายนอก
- ดูหลักฐานว่าจริงหรือปลอม
- ดูอายุของหลักฐาน จากอักษร สำนวนภาษา ใครสร้าง/เมื่อไหร่/ที่ไหน
* การวิพากษ์ภายใน
- ดูข้อมูลเนื้อหาในหลักฐานว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
- ประเมินถึงผู้สร้างหลักฐาน มีจุดมุ่งหมายทั้งโดยตรงและโดยนัย
4. การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดหมวดหมู่ข้อมูล
- เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องจากหลักฐาน
- ศึกษาข้อมูลในหลักฐานนั้นว่าให้ข้อมูลเรื่องอะไรบ้าง มีความสมบูรณ์เพียงใด มีจุดมุ่งหมายเบื้องต้นอย่างไร
- ต้องหาความสัมพันธ์ของประเด็นต่างๆ และตีความข้อมูล
* ตีความในแนวราบ (ขั้นต้น) คือ การตีความตามความหมายของคำ
* ตีความในแนวดิ่ง (ขั้นลึก) คือ การมองถึงความรู้สึกของผู้พูด ทัศนคติ ความพยายามที่แฝงอยู่

5. การเรียบเรียงหรือการนำเสนอ
- นำข้อมูลที่ได้จากการสังเคราะห์มาจัดระเบียบอย่างมีเอกภาพ
- ควรนำเสนอเหตุการณ์ให้มีความสอดคล้องต่อเนื่อง เป็นเหตุเป็นผล
- ควรสรุปผลการศึกษาว่าสามารถให้คำตอบในเรื่องที่สงสัย อยากรู้ได้เพียงใด

* การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
แบ่งตามการสื่อสารของมนุษย์โดยใช้ตัวอักษรเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งเป็น 2 ยุค ดังนี้
ยุคสมัย ลักษณะการแบ่ง ช่วงระยะเวลา
1. แบ่งตามลักษณะเครื่องมือหิน - ยุคหินเก่า (ประมาณ 700,000 – 10,000 ปีมาแล้ว)
- ยุคหินใหม่ (ประมาณ 10,000 – 4,000 ปีมาแล้ว)
สมัยก่อนประวัตศิ าสตร์
2. แบ่งตามลักษณะเครื่องมือโลหะ - ยุคสำริด (ประมาณ 4,000 – 2,500 ปีมาแล้ว)
- ยุคเหล็ก (ประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว)
1. แบ่งตามราชอาณาจักรหรือราชธานี - สมัยสุโขทัย (ราว พ.ศ. 1793 – 2006)
- สมัยอยุธยา (พ.ศ. 1893 – 2310)
- สมัยธนบุรี (พ.ศ. 2310 – 2325)
- สมัยรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2325 – ปัจจุบัน)
สมัยประวัตศิ าสตร์ 2. แบ่งตามลักษณะการปกครอง - สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (พ.ศ. 1792 – 2475)
- สมัยประชาธิปไตย (พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน)
3. แบ่งตามหลักสากล - สมัยโบราณ (พ.ศ. 1792 – 2394)
- สมัยใหม่ หรือสมัยปรับปรุงประเทศ (พ.ศ. 2394 – 2475)
- สมัยปัจจุบัน หรือสมัยประชาธิปไตย (พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน)

* แหล่งโบราณคดี/หลักฐานในยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย
ยุคสมัย แหล่งโบราณคดี หลักฐานทีพ่ บ
สมัยก่อนประวัติศาสตร์
ยุคหินเก่า - ถ้ำพระ จ.เชียงราย เครื่องมือผินกะเทาะ หินกรวด
(ประมาณ 700,000 – 10,000 ปีมาแล้ว) - ถ้ำเขาทะลุ/ถ้ำเม่น บ้านเก่า จ.กาญจนบุรี
- โคกพนมดี อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี
- บ้านแม่ทะ/บ้านดอนมูล จ.ลำปาง
- แหล่งโบราณคดีผาบุ้ง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่
- ถ้ำผีแมน จ.แม่ฮ่องสอน
- อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
- อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร
- ถ้ำหลังโรงเรียนทับปริก จ.กระบี่
ยุคหินใหม่ - บ้านเก่า จ.กาญจนบุรี หินขัด ขวานหินขัด
(ประมาณ 10,000 – 4,000 ปีมาแล้ว) - ถ้ำหีบ จ.กาญจนบุรี ภาชนะดินเผาสามขา
- โคกพนมดี อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี
- บ้านโนนนกทา อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น
- บ้านเชียง จ.อุดรธานี
ยุคสมัย แหล่งโบราณคดี หลักฐานทีพ่ บ
สมัยก่อนประวัติศาสตร์
ยุคสำริด - หนองโนน อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ขวานสำริด กลองสำริด แหวนสำริด
(ประมาณ 4,000 – 2,500 ปีมาแล้ว) - บ้านโคกพลับ จ.ราชบุรี ลูกปัด
- บ้านนาดี/บ้านเชียง จ.อุดรธานี
- อุทยานแห่งชาติออบหลวง จ.เชียงใหม่
- ผาแต้ม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี
- เขาจันทร์งาม อ.สี่คิ้ จ.นครราชสีมา
- ถ้ำผีหัวโต จ.กระบี่
ยุคเหล็ก - บ้านดอนตาเพชร จ.กาญจนบุรี เครื่องมือเหล็ก เสียม มีดขอ หัวธนู
(ประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว) - ถ้ำอองบะ จ.กาญจนบุรี ใบหอก
- บ้านหนองนาตูม จ.นครราชสีมา
- บ้านเชียง จ.อุดรธานี
- บ้านโนนนกทา อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น
- อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
- บ้านวังไฮ จ.ลำพูน
- อ.คลองท่อม จ.กระบี่

ยุคสมัย หลักฐานทีพ่ บ
สมัยประวัติศาสตร์
สมัยสุโขทัย สถาปัตยกรรม
(ราว พ.ศ. 1793 – 2006) - เจดีย์วัดชนะสงคราม จ.สุโขทัย / พระอัฏฐารส วัดตะพานหิน จ.สุโขทัย / มณฑปวัดศรีชุม
ประติมากรรม/จิตรกรรม
- พระพุทธรูปปางมารวิชัย / พระพุทธรูปปางลีลา / เตาทุรีเยง / เครื่องปั้นดินเผา
ภาษาและวรรณกรรม
- ลายสือไทย / ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช / สุภาษิตพระร่วง / ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์
สมัยอยุธยา สถาปัตยกรรม
(พ.ศ. 1893 – 2310) - วัดนักบุญยอเซฟ / ปรางค์หน้าวัดไชยวัฒนาราม / เจดีย์ทรงลังกา วัดหน้าพระเมรุ
ประติมากรรม/จิตรกรรม
- พระนอนวัดโลกยสุธาราม / พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ /
ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดใหญ่สุวรรณาราม
ภาษาและวรรณกรรม
- ลิลิตโองการแช่งน้ำ / มหาชาติคำหลวง / จดหมายเหตุวันวลิต
สมัยธนบุรี สถาปัตยกรรม
(พ.ศ. 2310 – 2325) - ท้องพระโรงกรุงธนบุรี / กำแพงพระราชวังเดิม/ ป้อมวิชัยประสิทธิ์ /
ประติมากรรม/จิตรกรรม
- พระพุทธรูปแทนตน / จิตรกรรมพระพุทธศาสนา / ตำราภาพไตรภูมิ (ฉบับหลวง)
ภาษาและวรรณกรรม
- นิราศกวางตุ้ง / เพลงยาว / ปาจิตตกุมารกลอนอ่าน / โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี
สมัยรัตนโกสินทร์ สถาปัตยกรรม
(พ.ศ. 2325 – ปัจจุบัน) - พระบรมมหาราชวัง / พระปรางค์วัดอรุณ / วัดพระศรีรัตนศาสดาราม / พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
ประติมากรรม/จิตรกรรม
- พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ / จิตรกรรมฝาผนังวัดไชยทิศ / จิตรกรรมฝาผนังแห่งวัดมหาพฤฒารามวรวิหาร
ภาษาและวรรณกรรม
- อิเหนา / สามก๊ก / กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน / นิราศนรินทร์ / ลิลิตตะเลงพ่าย / โคลงโลกนิติ
* อาณาจักรโบราณในประเทศไทย
สมัยโบราณทีอาณาจักรน้อยใหญ่ ตั้งอยู่ทั่วดินแดนในประเทศไทยปัจจุบันและประเทศเพื่อนบ้าน โดยส่วนใหญ่รับอารยธรรม
จากอินเดียเป็นส่วนใหญ่
อาณาจักร ลักษณะเด่นและความสำคัญ
ฟูนัน * ปัจจุบันคือบริเวณเวียดนามและลุ่มแม่น้ำโขง ไปจนถึงคาบสมุทรมลายู
* เป็นเมืองท่าการค้าระหว่างจีนและอินเดีย เมืองท่าคือ เมืองออกแก้ว
* นับถือศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ตามพรลิงค์ * แผ่อำนาจครอบคลุมแหลมมลายู ศูนย์กลางที่นครศรีธรรมราช
(นครศรีธรรมราช) * เอกสารจีนเรียกว่า ตันหม่าหลิง
* เป็นที่รวมวัฒนธรรมั้งอินเดียและลังกา เริ่มรับศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นที่แรกสุด
ทวารวดี * สันนิษฐานว่ามีศูนย์กลางหลายแห่ง เช่น เมืองนครปฐม เมืองอู่ทอง หรอืสุพรรณบุรี
* เอกสารจีนเรียกว่า โตโลโปตี่
* เป็นเมืองขนาดใหญ่ มีคูน้ำล้อมรอบ
* นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท หลักฐานคือ ธรรมจักรและกวางหมอบ
ศรีวิชัย * เป็นเมืองท่า ศูนย์กลางการค้า ครอบคลุมภาคใต้ของไทย คาบสมุทรมลายู บางส่วนของเกาะสุมาตรา
* จดหมายแหตุอี้จิงของจีนเรียกว่า ชิลิโฟซิ
* นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน หลักฐานคือ พระบรมธาตุไชยา ที่สุราษฎร์ธานี รูปปั้นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
ละโว้ * ศูนย์กลางที่ ลพบุรี
(ลพบุรี) * เอกสารจีนเรียกว่า หลอฮู หรือ หลอฮัก
* รับอิทธิพลจากเขมร นับถือศาสนาพราหมณ์ฮนิ ดู หลักฐานสำคัญ เช่น พระปรางค์สามยอด
หริภุญชัย * รับวัฒนธรรมจากละโว้ ศ(นย์กลางที่ลำพูน
(ลำพูน) * เอกสารจีนหมานซูเรียกว่า หนี่หวั่งก๊ก (ก๊กที่มีผู้หญิงเป็นใหญ่) ผู้นำคือ พระนางจามเทวี
ล้านนา * เกิดจากการรวมหริภุญชัย โยนกเชียงแสน หิรัญนครเงินยาง
* พญามังราย กษัตริย์แห่งโยนก ขยายอิทธิพลลงมา และร่วมสร้างเมืองกับพ่อขุนรามคำแหง แห่งสุโขทัย และ
พญางำเมืองแห่งพะเยา มีศูนย์กลางที่ เชียงใหม่
* มีอักษรธรรม ใช้กฎหมายมังรายศาสตร์ นับถือศาสนาพุทธนิกายลังกาวงศ์

* แนวคิด “คนไทยมาจากที่ไหน”
▪ เชื่อว่า “คนไทยอพยพมาจากเทือกเขาอัลไต มีเ ชื้อสายมองโกล ต่อมาถูกชาวจีนรุกรานแล้วอพยพมาตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย
ปัจจุบัน” ตอนนี้ ความคิดนี้ไม่ hit เหมือนเมื่อก่อน เค้าว่า เทือกเขาอัลไต มันไหลเว่อร์
ผู้สนับสนุนแนวคิด : หมอวิลเลียม คลิฟตัน ดอดด์/ขุนวิจิตรมาตรา

▪ เชื่อว่า “คนไทยอพยพมาจากตอนใต้ของจีน บริเวณยูนนาน ซีจ้วง กวางตุ้ง เหนือเวียดนาม รัฐชานในพม่า รั ฐอัสสัมในอินเดีย”


ใช้หลักฐานทางมานุษยวิทยา ภาษาศาสตร์ และวัฒนธรรม
ผู้สนับสนุนแนวคิด : อาร์ซิบัส รอสส์ คอลคูน/พระยาประชากิจกรจักร/เอซ อาร์ เดวีร์/วิลเฮล์ม เครดเนอร์/วิลเลียม เจย์ เก็ดนีย์/
ขจร สุขพานิช/จิตร ภูมิศักดิ์/เจิ้งอิ้งเหลียง/เฉินลูฝ่ ่าน

▪ เชื่อว่า “ชนชาติไทยอพยพมาจากตอนกลางของจีน บริเวณมลฑลเสฉวน หูเป่ ย อานซุย หูหนาน เจียงซี แล้วลงมาทางใต้ของจีน


จนถึงดินแดนไทยในปัจจุบัน” ใช้หลักฐานทางภาษาศาสตร์ และเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีที่คล้าบคลึงกัน รวมทั้งเกสารจีน
โบราณ
ผู้สนับสนุนแนวคิด : แตริออง เดอ ลาคูเปอรี่/กรมพระยาดำรงราชานุภาพ/หลวงวิจิตรวาทการ/พระเทพบริหารธานี/
พระยาอนุมานราชธน

▪ เชื่อว่า “ชาชาติไทย อยู่ที่นี่” ใช้หลักฐานเรื่องโครงกระดูก กลุ่มเลือด (ดูฮีโมโกลบิน) และเครื่องมือเครื่องใช้


ผู้สนับสนุนแนวคิด : ควอริชต์ เวลส์/นพ.สุด แสนวิเชียร/ชิน อยู่ดี/ศรศักร วัลลีโภดม/สุจิตต์ วงษ์เทศ
▪ เชื่อว่า “ชนชาติไทยอพยพมาจากคาบสมุทรมลายู และหมู่เกาะอินโดนีเซีย แล้วอพยพขึ้นเหนือ ” ใช้ข้อมูลด้านมานุษยวิทยา เรื่อง
DNA หมู่เลือดของคนไทยว่ามีความใกล้เคียงมลายูมากกว่าจีน
ผู้สนับสนุนแนวคิด : รูธ เบเนดิกต์/นพ.สมศักดิ์ พันธ์สมบูรณ์

You might also like