You are on page 1of 4

รูปและเสียง

พยัญชนะ
และ สระ

การใช้อักษรแทนเสียงพยัญชนะ เสียงพยัญชนะ ในไทย มี 21 หน่วยเสียง คือ เสียง /ก/ /ค/ /ง/ /จ/ /ช/ /ซ/ /ด/ /ต/ /ท/ /น/ /บ/ /
ป/ /พ/ /ฟ/ /ม/ /ย/ /ร/ /ล/ /ว/ /อ/ /ฮ/ มีตัวอักษรแทนเสียงพยัญชนะ 44 รูป พยัญชนะบางเสียงมีรูปมากกว่าเสียง ดังนี้

เสียงพยัญชนะ รูปพยัญชนะ
/ก/ ก
/ค/ ขฃคฅฆ

/ง/ ง
/จ/ จ

/ช/ ฉชฌ

/ซ/ ซศษส

/ด/ ดฎ

/ต/ ตฏ

/ท/ ทธฑฒถฐ

/น/ นณ

/บ/ บ

/ป/ ป

/พ/ ผพภ

/ฟ/ ฝฟ

/ม/ ม

/ย/ ยญ

/ร/ ร

/ล/ ลฬ

/ว/ ว

/อ/ อ

/ฮ/ หฮ

เสียงสระ คือ เสียงที่เปล่งออกมาโดยตรงจากปอด ไม่ถูกอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งกักไว้ภายในช่องปาก


เสียงสระในภาษาไทยมี 21 รูป 32 เสียง ดังนี้

รูปสระ
1. ะ เรียก วิสรรชนีย์
2. ั เรียก ไม้ผัด
3. า เรียก ลากข้าง
4. ิ เรียก พินทุอิ
5. ่ เรียก ฝนทอง
6. ํ เรียก นิคหิต หยาด น้ำค้าง
7. " เรียก ฟันหนู
8. ุ เรียก ตีนเหยียด
9. ู เรียก ตีนคู้
10. ็ เรียก ไม้ไต่คู้
11. เ เรียก ไม้หน้า
12. ใ เรียก ไม้ม้วน
13. ไ เรียก ไม้มลาย
14. โ เรียก ไม้โอ
15. อ เรียก ตัวออ
16. ย เรียก ตัวยอ
17. ว เรียก ตัววอ
18. ฤ เรียก ตัวรึ
19. ฤๅ เรียก ตัวรือ
20. ฦ เรียก ตัวลึ
21. ฦๅ เรีัยก ตัวลือ

เสียงสระ มี 32 เสียง แบ่งออกเป็น 3 ชนิด (ตามตำราภาษาไทยแต่เดิม) คือ


1) สระเดี่ยว (สระแท้) 2) สระประสม (สระเลื่อน) และ 3) สระเกิน
1) สระเดี่ยว (สระแท้) มี 18 เสียง แบ่งออกเป็นสระเสียงสั้น 9 เสียง และสระเสียงยาว 9 เสียง ดังนี้
สระเสียงสั้น สระเสียงยาว
(รัสสระ) (ทีฆสระ)
อะ อา
อิ อี
อึ อือ
อุ อู
เอะ เอ
แอะ แอ
โอะ โอ
เอาะ ออ
เออะ เออ

2) สระประสม (สระเลื่อน) คือ การเลื่อนเสียงจากสระหนึ่งไปยังอีกสระหนึ่ง โดยการนำสระเดียว 2 สระ


ประสมกันมี 6 เสียง ดังนี้

สระเสียงสั้น สระเสียงยาว
เอียะ (อิ + อะ) เอีย (อี + อา)
เอือะ (อึ + อะ) เอือ (อือ + อา)
อัวะ (อุ + อะ) อัว (อู + อา)

3) สระเกินมี 8 เสียง ดังนี้


สระเสียงสั้น สระเสียงยาว
อำ (อ + อะ + ม)
ไอ (อ + อะ + ย)
ใอ (อ + อะ + ย)
เอา (อ + อะ + ว)
ฤ (รึ) ฤๅ (รือ)
ฦ (ลึ) ฦๅ (ลือ)
หมายเหตุ อำ ไอ ใอ เอา ทางภาษาศาสตร์แนวใหม่ จะนับเป็นเสียงสระพิเศษ เพราะมีเสียงพยัญชนะประสมอยู่
ด้วย แต่ในการเขียนคำในภาษาไทย จะเขียนดังนี้ จำ ไป เขา ใน และถือว่าเป็นคำที่มีเสียงตัวสะกดด้วย

You might also like