You are on page 1of 66

ซุนวู (SUNTZU)

孙子兵法

ตําราพิชัยสงคราม 13 บท
孙子兵法十三计
ซุนวู (SUNTZU) เปนชื่อตําราพิชัยสงคราม 13 บทไมตายที่เกาแก
ทีส่ ดุ หนึง่ ในหนังสือวาดวยการทหารของจีนโบราณ 7 เลม เสียงทีช่ าวไทยอานวา
“ซุนซู” เปนเสียงอานตามที่ชาวตะวันตกอาน มิใชเสียงที่ชาวจีนอานออกเสียง
คาดวาไม “ซุนวู” (514–497 ปกอนคริสตศักราช) หรือไมก็ “ซุนปง” (340 ป
กอนคริสตศักราช) เปนผูประพันธขึ้น โดยใชสํานวนจีนที่คมคาย เขาใจงาย
ประกอบกับใชแนวคิดของชาวตะวันออกลวน ๆ และเปนแมบททางความคิด

พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 1


ของทั้งลัทธิเตา และลัทธิขงจื๊อ อีกดวย อยางไรก็ตาม หากถอดความตรงตัว
แลวอาจแปลไดวา “ปราชญแซซุน”
มี ก ารอ า งถึ ง ซุ น วู บ อ ยครั้ ง
ในระหวางการเรียนการสอนเกี่ยวกับ
การสงครามของสถาบั น การศึ ก ษา
วิชาชีพทางทหาร แตความจริงแลว
ทหารไทยน อ ยคนนั ก ที่ เ คยได อ า น
ฉบับจริงจนจบเลม หรือไมก็เพียงเคย
ไดอา นจากเอกสารเรือ่ งอืน่ ๆ ทีย่ งั ขาด
ความสมบูรณ เนื่องจากที่ถอดความ
วางขายในตลาดหนังสือทั่วไปมีการ
สอดแทรกความเห็ น ส ว นตั ว ที่ ไ ม
ถูกตองไวมาก กับบางสวนถูกถอดความ
จากเอกสารภาษาอั ง กฤษซึ่ ง ผู แ ปล
ไวกอ นเปนชาวตะวันตก จึงไมสามารถ
ทํ า ความเข า ใจกั บ ทั ศ นะของชาว
ตะวันออกได ทําใหเกิดอุปสรรคในการ
คนควา และอานไมรูเรื่อง
เอกสารฉบับนี้ ถอดความอยางตรงไปตรงมา มิไดสอดแทรกความเห็น
สวนตัวใด ๆ จากอักษรจีนโบราณหรืออักษรญี่ปุนโบราณ และการถอดความ
เป น ภาษาญี่ ปุ น ป จ จุ บั น ของหนั ง สื อ ชื่ อ SUNTZU ของนาย KANETANI
ซึ่งจัดพิมพและแกไขครั้งลาสุดเมื่อป 1980 โดยใชเปนตําราเรียนของนักเรียน
นายรอยรวมประเทศญี่ปุน ชั้นปที่ 2 เหตุผลประการหนึ่งที่สถาบันทหารของ
ญี่ปุนใหความสําคัญกับเรื่องนี้อยางมาก เนื่องเพราะพวกเขาถือวาเปนความรู
พื้นฐานทางทหารที่ตองศึกษาตั้งแตยังวัยเยาว ดังนั้นทหารญี่ปุนจะมีตํารานี้
2 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย
ครอบครองเปนสวนตัวทุกคน ในขณะที่ทหารไทยนั้นมองวา ซุนวู เปนเรื่องใน
ระดับยุทธศาสตรที่จําเปนตองรูเพียงเฉพาะผูบริหารระดับสูงเทานั้น ซึ่งแสดง
ใหเห็นถึงความแตกตางกันในเรื่องแนวคิดดานการศึกษาระหวางประเทศญี่ปุน
กับประเทศไทยไดอยางชัดเจน

อยางไรก็ตาม ซุนวู เปนตําราพิชัยสงครามที่สะทอนปรัชญาจิตนิยม


สุดขัว้ และอธิบายดวยสํานวนจีนที่กระทัดรัด คมคาย ใชตรรกะบวกลบเชิงเสน
แบบธรรมดา ๆ ทําใหอา นและทําความเขาใจไดงา ย ผูแ ปลหวังอยางยิง่ วาจะเปน
ประโยชนแกผูที่รักการอานทุกทาน เพราะนอกจากจะสามารถประยุกตใช
ในชีวติ และการทํางานประจําวันแลว เนือ้ หาสาระของ ซุนวู ยังไดรบั การยอมรับ
อยางกวางขวางวาอัดแนนไปดวย “FUNDAMENTAL DOCTRINE” ที่จะทําให
ผูที่อานไดแตกฉานสามารถทําความเขาใจเกี่ยวกับธรรมชาติของสงคราม
ไดเปนอยางดี

พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 3


ตัวอยางบทที่สําคัญ
重要兵法的例子

รบรอยชนะรอย
ซุ น วู ไ ด ก ล า วไว ว า การรบถ า รู จั ก การวางแผนที่ ดี มี สิ ท ธิ ที่ จ ะชนะ
ทุ ก ร อ ยครั้ ง เหมื อ นสิ ง โต ถ า คราวใดที่ ไ ม ส ามารถจะล า เหยื่ อ ได จ ะไม อ อก
ลาเหยือ่ ในสงครามเมือ่ มีการรูก าํ ลังของกองทัพของเราเอง รูค วามสามารถของ
แมทัพ รูความสามารถของกองทหารของฝายเรา โอกาสรบชนะจะมีครึ่งหนึ่ง
เมื่อใดก็ตามที่เราเรียนรูกองกําลังของขาศึก เรียนรูความสามารถของแมทัพ
ขาศึก และรูความสามารถของกองทหารของขาศึก โอกาสรบรอยครั้งชนะ
รอยครั้งก็ไมไปไหนไกล แตหากเมื่อใดก็ตามที่ออกรบนั้น แมทัพไมรูกําลังของ
ตัวเอง ไมรูกําลังของกองทหารตัวเอง ไมวาจะออกรบกี่ครั้งก็ตองแพยอยยับ
กลับมาทุกครั้ง ศาสตรขอนี้ไดมีการนําไปใชในเชิงธุรกิจกันอยางแพรหลาย
ยกตัวอยางเชน ทฤษฎี SWOT Analysis

4 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย


ตีใกลแสรงไกล ตีไกลแสรงใกล
ซุ น วู ก ล า วไว ว า เมื่ อ ใดก็ ต ามที่ จ ะรุ ก โจมตี เ มื อ งที่ ไ กลห า งออกไป
จงหลอกลอใหขาศึกรูวาเราจะตีเมืองอื่นที่ใกลกับเรา หลอกใหศัตรูคิดวาเรา
ไมสามารถไปตีถงึ เมืองนัน้ ได เมือ่ คราใดทีเ่ ราเขาโจมตีศตั รู ศัตรูจะไหวตัวไมทนั
ทําใหรบชนะไดอยางงายดาย เฉกเชนเดียวกับโจมตีเมืองที่อยูใกล แตหลอก
ศัตรูวาเราจะไปตีเมืองที่ไกลหางออกไป

พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 5


จงสูรบใหเหมือนเปนสวนหนึ่งของธรรมชาติ
• ไฟ
เมื่อยามบุกจงบุกใหเหมือนไฟ ใหรุกกระหนํา ใหโหมหนักไปเรื่อย ๆ
จนทุกอยางมอดไหม

• ภูเขา
เมื่อยามที่ตั้งรับจงนิ่งสงบอยางหุบเขา ไมใหศัตรูจับไดวาเราซอนตัว
อยูที่ไหน

6 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย


• ลม
เมือ่ ยามเคลือ่ นทัพจงเคลือ่ นใหเหมือนสายลมรวดเร็ว โดยไมทงิ้ รองรอย
สิ่งที่ผูปกครองไมพึงทําในการยุทธ
ผูที่ปกครองหามทําผิดกฎ 3 ขอดังตอไปนี้ หากไมทําตามจะทําให
ประสบกับความพายแพได

• สัง่ ใหรกุ ขณะไมควรรุก หรือสัง่ ใหถอยขณะเปนตอขาศึก ทําใหกองทัพ


ระสําระสาย
• ไมมีความเขาใจในกิจการของกองทัพ แตสั่งการตามอําเภอใจ หรือ
สามัญสํานึกของตน ทําใหเหลาขุนพลสับสน
• ไมเขาใจหลักการผสมผสานการใชกําลังทหารเหลาตาง ๆ ในการ
ดําเนินกลยุทธ แตเขาแสดงบทผูบ ญ
ั ชาการ ทําใหเหลานายทหารเกิดความลังเล
สงสัย ไมแนใจเมื่อเหลาทัพตาง ๆ ตกอยูในสภาพลังเลสงสัย สับสนไมแนใจ
ก็เกิดความระสําระสายในกองทัพ ศัตรูก็ฉวยโอกาสนี้เขากระทําและไดรับ
ชัยชนะ เปนตอฝายเรา

พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 7


ปจจัยสูชัยชนะ
การนํากองทัพสูชัยชนะมีปจจัย 5 ประการ

• รูวาเมื่อใดควรรบและไมควรรบ
• รูจักการออมกําลัง
• นายและพลทหารเปนนําหนึ่งใจเดียวกัน
• วางแผนและเตรียมการดี
• มีขุนพลผูที่สามารถและไมถูกแทรกแซงจากผูปกครอง
ที่กลาวมา 5 ประการนี้ผูใดรูจักใชจะพบกับ “ชัยชนะ”

8 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย


บทที่ 1 แผนศึก
第一计

บทที่ 1 แผนศึก

ซุนวูกลาวไว การสงครามเปนงานยิ่งใหญ และยังมีความสําคัญตอชาติ


ใหญหลวง ชีข้ าดความเปนตายของคนในชาติ เกีย่ วของกับความอยูร อดของชาติ
จึงตองคิดอานพิจารณาดวยความรอบคอบอยางถึงที่สุด

พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 9


ฉะนั้ น จะต อ งคิ ด คํ า นึ ง ถึ ง เรื่ อ งสํ า คั ญ 5 ประการ และพิ จ ารณา
เปรียบเทียบ 7 ประการ เพื่อเขาใจสถานการณไดถองแท 5 ประการดังกลาว
ไดแก
• หนทาง ความเปนอันหนึ่งอันเดียวกันของคนแตละชั้นวาสามารถ
อยูรวมกัน ตายรวมกันไดเพียงใด (การเมืองภายใน)
• สภาพแวดลอม เงื่อนไขเอื้ออํานวยของจังหวะ เวลา และภูมิอากาศ
• สภาพแวดลอมทางภูมิศาสตร
• แมทัพนายกอง ลักษณะคน
• กฎ ระเบียบ วินัย ขวัญกําลังใจ
ปกติการคิดคํานึง และศึกษาเรื่องราว 5 ประการ แมทัพนายกอง
ทุกคนเขาใจดีอยูแ ลว แตผเู ขาใจลึกซึง้ กวาเปนผูช นะ ผูเ ขาใจลึกซึง้ นอยกวาเปน
ผู ไ ม อ าจชนะ ฉะนั้ น เพื่ อ ให เข า ใจลึ ก ซึ้ ง กว า จํ า เป น ต อ งมี ก ารพิ จ ารณา
เปรียบเทียบอีก 7 ประการ ดังนี้
• ผูนําประเทศฝายใดกําจิตใจคนในชาติมากกวากัน
• แมทัพนายกองฝายใดมีความสามารถมากกวากัน
• เงื่อนไขทางภูมิศาสตรฝายใดไดเปรียบ
• ฝายใดรักษากฎ ระเบียบ วินัย เครงครัดกวากัน
• กองทัพฝายใดเขมแข็งกวากัน
• ทหารหาญฝายใดไดรับการฝกมามากกวากัน
• การใหรางวัล และการลงโทษ ฝายใดมีความยุติธรรมกวากัน
สําหรับซุนวูแลว จากทีก่ ลาวมา แมยงั มิไดรบก็รแู พชนะกระจางแจงแลว
10 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย

บทที่ 1 แผนศึก
ในกรณี แ ม ทั พ นายกองปฏิ บั ติ ต ามการคิ ด คํ า นวณ 5 ประการ
และเปรียบเทียบ 7 ประการของขาพเจา ถาเอาคนนีม้ าใชงานจะไดรบั ชัยชนะ
แนนอน ตองเอาคนคนนี้มาใชงาน
ในกรณีแมทัพนายกองมิไดปฏิบัติตามการคิดคํานวณ 5 ประการ

และเปรียบเทียบ 7 ประการของขาพเจา ถาเอาคนนี้มาใชงานจะประสบ


ความพายแพแนนอน ตองปลดคนคนนี้ทิ้งเสีย
ถาปฏิบัติตามและเขาใจความคิดอานนี้ การเตรียมการกอนออกศึก
จะเกิด “พลังอํานาจ” ซึ่งจะชวยกองทัพในการศึก พลังอํานาจที่กลาวชวยให
ฝายเราสามารถใชความออนตัวบังคับสถานการณไดเปรียบใหตกอยูกับฝายเรา
นั่นเอง (พลังอํานาจ...ศักยสงคราม)

พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 11


การศึกนั้นเปนการเคลื่อนไหวดวยเลหเหลี่ยม หมายถึงการกระทํา
ที่กลับกันกับการกระทําปกติ ฉะนั้น เมื่อเขมแข็งตองใหเห็นวาออนแอ เมื่อกลา
ตองใหเห็นวากลัว เมือ่ ใกลใหดไู กล เมือ่ ไกลใหดใู กล เมือ่ ขาศึกตองการประโยชน
เอาประโยชนเขาลอ เมื่อขาศึกวุนวายสับสนใหฉวยโอกาส ขาศึกเหนียวแนนให
ปองกัน ขาศึกเขมแข็งใหถอยออกมา เมื่อขาศึกโกรธใหยั่วยุ ขาศึกสบายทําให
พวกเขาเหนื่อยลา เมื่อขาศึกกลมเกลียวทําใหแตกแยก โจมตีขาศึกในที่ซึ่งไมมี
การปองกัน รุกเขาไปในทีซ่ งึ่ ขาศึกไมคาดคิด เปลีย่ นแปลงตามสถานการณขา ศึก
กอนรบไมมีผูใดลวงรูไดวาจะเผชิญหนากับสถานการณเชนไร

ปกติ ก ารคิ ด อ า นก อ น
ออกศึ ก แล ว ชนะ หมายถึ ง ผล
จากการคิดคํานวณ 5 ประการ
เปรียบเทียบ 7 ประการ แลวมีทาง
ชนะมากกว า ทางแพ นั่ น เอง
แต ห ากคิ ด อ า นก อ นออกศึ ก
แล ว ไม อ าจชนะ ก็ ห มายถึ ง ผล
จากการคิดคํานวณ 5 ประการ
เปรียบเทียบ 7 ประการ แลวมีทาง
ชนะนอยนั่นเอง
ดังนั้น จากการคิดคํานวณกอนออกศึก ถามีทางชนะมากจะชนะ
ถามีทางชนะนอยกวาก็จะมิอาจชนะ สําหรับขาพเจาเพียงสังเกตดังกลาว
ก็รูแพชนะชัดเจนแลว

12 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย


บทที่ 2 เตรียมศึก
第二计准备战争

บทที่ 2 เตรียมศึก

ซุนวูกลาวไว "กฎของสงครามนั้น การทหารเปนความสิ้นเปลือง
อย า งใหญ ห ลวง กว า จะสามารถใช กํ า ลั ง เคลื่ อ นกํ า ลั ง ทหารได นั้ น
แมเพียงวันเดียวก็ยังตองใชทรัพยสินมหาศาล"
การทํ า สงครามยื ด เยื้ อ ทหารจะอ อ นล า ความห า วหาญจะลดลง
การเขาตีปอมปราการที่มั่นขาศึกเปนเวลานานกําลังรบจะหมดไป เพราะฉะนั้น
การใชกําลังทหารเปนเวลานาน เศรษฐกิจของชาติจะยอยยับ

พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 13


ถาทหารหาญของชาติเหนือ่ ยออน ขาดความหาวหาญ และถาเศรษฐกิจ
ของชาติยอ ยยับแลว ตางชาติจะยกทัพมารบกับเราแนนอน ซึง่ แมจะมีผมู คี วาม
สามารถสูงเพียงไร ก็ยากที่จะตอตานกับทัพตางชาติที่ยกเขามาได
ดังนั้น “การสงครามจะตองรวดเร็ว และเฉียบพลัน”
ตัวอยางทีด่ ขี องสงครามยืดเยือ้ ในประวัตศิ าสตร ไมมปี ระเทศใดเคยได
ประโยชนจากสงครามยืดเยื้อไมเคยปรากฏ ดั่งที่เคยกลาวแลว
"ผูที่ไมเขาใจความสูญเสียของสงครามอยางเพียงพอยอมไมสามารถ
เขาใจผลประโยชนที่ไดรับจากสงครามอยางเพียงพอเชนกัน"

นักรบที่ชํานาญศึกจะไมเกณฑประชาชนมารบหลายครั้ง จะไมขน
เสบียงอาหารจากชาติตนหลายครั้ง แมใชอาวุธจากชาติตน แตเสบียงอาหาร
เอาจากดินแดนขาศึก
การที่ประเทศชาติตองยากจนลงเพราะกองทัพ ก็เนื่องจากการขนสง
เสบี ย งอาหารเป น ระยะทางไกล เพราะถ า กองทั พ ต อ งขนเสบี ย งอาหาร
เปนระยะทางไกล ประชาชนในประเทศก็จะยากจนลง ราคาสินคาบริเวณ
สนามรบจะสูงขึ้น เมื่อสินคาราคาสูงขึ้น ทรัพยสินของประชาชนก็ยิ่งหมดลง
เมื่อทรัพยสินของประชาชนหมดลง การจะระดมเสบียงอาหารมาใหทหาร
ก็จะทําไดยากลําบาก กําลังรบของกองทัพก็จะคอย ๆ หมดลง ทรัพยสิน
ของประชาชนจาก 10 จะเหลือ 7 ขาวของของรัฐที่เสียหายไปกับสงคราม
จาก 10 จะเหลือ 6 เพราะฉะนั้น แมทัพที่มีความสามารถจะแยงเสบียงอาหาร
และขาวของของขาศึกมาใช การใชขา วของของขาศึก 1 สวน ไดประโยชนเหมือน
ใชของของเรา 20 สวน

14 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย



การที่ทหารฝายเราสังหารทหารฝายขาศึกได ก็เนื่องจากกําลังใจ

บทที่ 2 เตรียมศึก
ของทหาร การยึดเอาสิง่ ของของขาศึกมา ก็เนือ่ งจากผลประโยชนนนั่ เอง ฉะนัน้
การใหรางวัลแกทหารที่ยึดเอาสิ่งของจากขาศึกได และลงโทษทหารที่ถูกขาศึก
ยึดสิ่งของไป เปนการสรางความเขมแข็งขึ้นในกองทัพ

ดังกลาวขางตน
การสงครามนั้ น ชั ย ชนะเป น อั น ดั บ หนึ่ ง จะยื ด เยื้ อ ไม ไ ด แม ทั พ
ที่ ร ะมั ด ระวั ง ผลได เ สี ย ของสงครามรอบคอบ คื อ ผู กํ า ชะตากรรมของ
ประชาชนไว เปนอุปราชชี้ข าดความอยู  ร อดของประเทศชาติ

พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 15


16 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย
บทที่ 3 นโยบายศึก
第三计战争政策

บทที่ 3 นโยบายศึก

ซุนวูกลาวไว กฎของสงครามโดยทั่วไป
สยบประเทศขาศึกไมเสียเลือดเนื้อเปนนโยบายหลัก
ใชกาํ ลังทางทหารเขาตีประเทศขาศึกแตกจึงสยบประเทศขาศึกไดเปนนโยบายรอง
สยบกองทัพขาศึกไมเสียเลือดเนื้อเปนนโยบายหลัก
ใชกาํ ลังทางทหารเขาตีกองทัพขาศึกแตกจึงสยบกองทัพขาศึกไดเปนนโยบายรอง
สยบหนวยทหารขาศึกไมเสียเลือดเนื้อเปนนโยบายหลัก
ใชกําลังทางทหารเขาตีหนวยทหารขาศึกแตกจึงสยบหนวยทหารขาศึกได
เปนนโยบายรอง
“รบรอยครั้งชนะรอยครั้งยังมิใชยอด
สยบขาศึกไดไมตองรบ เปนยอดนักรบ”

พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 17



เพราะฉะนั้น
สุ ด ยอดของการสงครามก็ คื อ
เขาโจมตีแผนลับขาศึกใหแตก จากนั้น
ตีความสามัคคีของขาศึก ตีสัมพันธไมตรี
ของกลุม พันธมิตรขาศึกใหแตก สุดทายหลีกเลีย่ งไมไดแลวจึงใชกาํ ลังทางทหาร
เขาตีกาํ ลังทหารขาศึก สิง่ ทีเ่ ลวรายทีส่ ดุ คือการเขาตีปอ มปราการทีม่ นั่ ทีเ่ ขมแข็ง
ของขาศึก การเขาตีดังกลาวจะเปนเฉพาะเมื่อไมมีหนทางอื่นแลว และไมอาจ
หลีกเลี่ยงไดแลวเทานั้น
การเขาตีปอ มปราการทีม่ น่ั ทีเ่ ขมแข็งของขาศึก ตองใชเวลาเตรียมการนาน
และตองพรอมจริง ๆ จึงทําได ซึ่งในระหวางเตรียมการหากแมทัพนายกอง
ไมสามารถระงับความเกรี้ยวกราดได ยกกําลังเขาทําการรบแตกหักกอนที่
การเตรียมการจะพรอมทหาร 1 ใน 3 จะตองตาย แมกระนั้นปอมปราการที่มั่น
ของขาศึกก็จะยังไมแตก นี้คือผลเสียของการโจมตีปอมปราการที่มั่นของขาศึก
นักรบผูช าํ นาญมิไดใชการตอสูเ พือ่ สยบขาศึก ปอมปราการทีม่ น่ั ขาศึกแตก
ก็มิใชดวยการโจมตีตรงหนา ประเทศขาศึกตองพินาศลงก็มิใชดวยศึกสงคราม
ยืดเยื้อ ใชวิธีชนะโลก ชนะโดยไมเสียเลือดเนื้อ ดวยเหตุน้ีทหารหาญก็ไม
เหนือ่ ยออน ผลประโยชนที่ไดรับยอมเปนผลประโยชนสูงสุด

“นี่คือกฎของนโยบาย
ในการทําศึกสงคราม”

18 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย


บทที่ 3 นโยบายศึก
กฎของสงครามโดยทั่วไป
เมือ่ มีกาํ ลัง 10 เทาเขาโอบลอม เมือ่ มีกาํ ลัง 5 เทาเปดเกมรุก เมือ่ เทากัน
ใหสู ถานอยกวาใหถอย ถากําลังปะทะกันไมไดใหหลบซอน โดยปกติกําลัง
นอยกวาปะทะตรงหนากับกําลังที่มากกวายอมทําไมไดเปนทางปกติ กําลัง
ที่ น อ ยนิ ด คิ ด แต จ ะใช ค วามห า วหาญ รั ง แต จ ะถู ก จั บ เป น เชลยของกํ า ลั ง ที่
มากกวาเทานั้น


โดยทัว่ ไป แมทพั มีหนาทีช่ ว ยเหลือชาติ
ถาหนาที่นั้นสัมพันธแนนแฟนกับผูนําประเทศ
ชาตินน้ั ตองเขมแข็งแนนอน ถาหนาทีน่ นั้ ขัดแยง
กับผูนําประเทศชาตินั้นตองออนแอแนนอน
ฉะนั้นสิ่งที่นาเปนหวงเกี่ยวกับการศึกสําหรับ
ผูนําประเทศ มี 3 ประการ ไดแก

พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 19


• ไมรูวาไมควรใชกําลังทหาร สั่งใหใชกําลังทหาร ไมรูวาไมควรถอย
สั่งใหถอย
• ไมรูเรื่องภายในกองทัพ แตเขามาปกครองกองทัพรวมกับแมทัพ
• ไมเขาใจวิธีใชกําลังทหาร แตเขามาบังคับบัญชาทหาร
เมื่อใดที่ทหารอยูในความหลง ความงงงวยแปลกใจสงสัย ตางชาติ
จะยกทัพเขามา และชัยชนะของกองทัพที่สับสนก็จะจากหายไป

ฉะนั้น มี 5 สิ่งที่ตองรู และเขาใจเกี่ยวกับชัยชนะไดแก
• เมือ่ ไรควรรบ เมือ่ ไรไมควรรบ ระมัดระวังผลไดผลเสียรอบคอบ...ชนะ
• เขาใจการใชกําลังใหญ กําลังเล็ก นอกแบบในแบบ...ชนะ
• ประสานจิตใจคนทุกชั้นได...ชนะ
• เตรียมการตีปะทะที่ประมาท...ชนะ
• แมทัพนายกองมีความสามารถ ผูนําประเทศไมแทรกแซงกิจการ
ภายในกองทัพ...ชนะ 5 ประการนี้เปนวิธีเขาใจชัยชนะ ดังนั้น

“เมื่อรูเขารูเรา รบรอยครั้งปราศจากอันตราย
รูสถานการณฝายเขาไมรูฝายเรา แพบางชนะบาง
ไมรูเขาไมรูเรา กลาวไดวารบทุกครั้ง รังแตจะมีอันตราย”

20 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย


บทที่ 4 ศักยสงคราม

บทที่ 4 ศักษสงคราม
第四计战争

ซุนวูกลาวไว
ยอดนักรบ ตั้งมั่นในที่ซึ่งไมมีใครอาจชนะเขาได รอคอยโอกาสซึ่งใคร
ก็ไดอาจชนะตอขาศึก รูปแบบที่ไมมีใครอาจชนะไดอยูที่ฝายเรา รูปแบบที่ใคร
ก็ไดอาจสามารถชนะไดอยูที่ฝายเขา
แมจะเปนยอดนักรบที่สามารถตั้งมั่นในที่ซึ่งไมมีใครอาจชนะได ก็ไม
สามารถทําใหขาศึกตั้งอยูในที่ซึ่งใครใครก็อาจชนะไดจึงจําเปนตองรูจักอดทน
รอคอย รูปแบบที่ไมมีใครอาจชนะไดนั้นเปนรูปแบบเกี่ยวของกับการตั้งรับ
รูปแบบทีใ่ ครก็อาจชนะไดเปนรูปแบบเกีย่ วของกับการรุก รับเนือ่ งจากกําลังรบ
ไมเพียงพอและรุกเนื่องจากกําลังรบมีอยูเพียงพอ นักรบที่ตั้งรับเกงเหมือน
ซอนอยูใ ตของใตแผนดิน นักรบทีร่ กุ เกงเหมือนเคลือ่ นไหวอยูเ หนือของเหนือฟา
ฉะนั้นจึงอยูในที่ปลอดภัยและสามารถเอาชัยเด็ดขาดไดสําเร็จ

พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 21



ระดับชัยชนะที่คนทั่วไปมองออกยังมิใชยอด รบกันแลวไดชัยชนะ
คนทั่ ว โลกแซ ซ อ งสรรเสริ ญ ยั ง มิ ใช เ ยี่ ย ม หยิ บ ถื อ เส น ผมได ว า มี กํ า ลั ง มิ ไ ด
มองดวงอาทิ ต ย จ ะบอกว า ตาดี ไ ม ไ ด ฟ ง เสี ย งฟ า ร อ งว า หู ดี มิ ไ ด สมั ย ก อ น
ยอดนักรบคนทัว่ ไปมองไมออก เขาจะเขายึดโอกาสชนะงายแลวชนะ เพราะฉะนัน้
การตอสูของยอดนักรบนั้น มิไดมีชื่อเสียง มิไดใชความรูความสามารถหรือ
ความมานะพยายามพิเศษพิสดารและกลาหาญใด ๆ เนื่องเพราะเขาจะทํา
สงครามที่ชนะแนนอนเทานั้น สงครามที่ชนะแนนอนก็คือเขาตีขาศึกที่แพ
แนนอนแลวชนะนั่นเอง ดวยเหตุนี้ยอดนักรบจะตั้งมั่นในที่ซึ่งไมมีใครอาจ
ชนะได รอคอยโอกาสชนะและไมปลอยใหโอกาสชนะโอกาสแรกหลุดลอยไป
นั่นเอง
“กองทัพที่มีชัย คือกองทัพที่กอนออกศึกไดรับชัยชนะแลวจึงรบ
กองทัพที่พายแพ คือกองทัพที่ออกรบแลวจึงแสวงหาชัยชนะนั่นเอง”


ยอดนักรบยอมสามารถทําใหจติ ใจคนทุกชัน้ เปนหนึง่ ได สามารถจัดระบบ
รักษาวินยั และกฎระเบียบได ฉะนัน้ จึงสามารถตัดสินแพชนะไดอยางอิสระ

22 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย


บทที่ 4 ศักษสงคราม
ปญหาในการจัดการทางทหารกอนรบจะเกิดขึน้ 5 ประการทีต่ อ งขบคิด
• ปญหาขอบเขตของการรบ
• ปญหาปริมาณสิ่งของที่ตองทุมเทในการรบ
• ปญหาจํานวนทหารที่จะนํามาใชในการรบ
• ปญหาขีดความสามารถของหนวยกําลัง จะมีมากนอยขนาดใด
• ปญหาของชัยชนะ
กองทัพทีไ่ ดชยั ตองผานขัน้ ตอนดังกลาว และมีความไดเปรียบ กองทัพ
ที่พายแพ คือกองทัพที่เสียเปรียบจากปญหาดังกลาวนั่นเอง


ผูช นะซึง่ ทําใหผคู นในชาติรว มกันตอสูไ ด เหมือนกับแองนาํ ในหุบเขา
ซึง่ เกิดจากสายนาํ เล็ก ๆ หลายพันสายไหลมารวมกัน ซึง่ หากแองนาํ นัน้ ตกลง
มาเปนนําตกก็จะมีพลังมหาศาล พลังที่ซอนอยูในแองนํากลางหุบเขานี้
เปรียบไดกบั “ศักยสงคราม” และพลังของนาํ ทีก่ ระทบเบือ้ งลางเปรียบไดกบั
“จลนสงคราม” ฉันใดฉันนั้น...

พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 23


24 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย
บทที่ 5 จลนสงคราม
第五计战争行动

บทที่ 5 จลนสงคราม

ซุนวูกลาวไว
การปกครองกําลังขนาดใหญจะทําไดเนื่องจากการจัดกําลังขนาดเล็ก
ใหเปนหมวดหมูนั่นเอง การจะบังคับบัญชากําลังขนาดใหญไดตองจัดเตรียม
เครือ่ งมือสือ่ สาร ธงทิว กลอง ฆอง เพือ่ ใหกาํ ลังขนาดเล็กเขาใจคําสัง่ จึงจะทําได
การที่กําลังขนาดใหญสามารถตานทานกําลังของขาศึกไดดี ก็คือใช
ความอ อ นตั ว แยกแยะการใช กํ า ลั ง อย า งรวดเร็ ว อย า งเข ม แข็ ง ใช กํ า ลั ง
ทั้งนอกแบบในแบบอยางเหมาะสม
ในการรบ และการตอสู จะชนะขาศึกไดเหมือนหินกระแทกไขแตกได
เสมอ ๆ ก็เนื่องจากใชการหลอกลอขาศึกนั่นเอง
พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 25

การต อ สู โ ดยทั่ ว ไป ตั้ ง มั่ น ในที่ ไ ม มี ท างแพ เข ม แข็ ง ดุ จ หิ น ใหญ
เหมื อ นสู กั น ตามแบบ จู โ จมข า ศึ ก เปลี่ ย นแปลงตามสถานการณ ข า ศึ ก
เหมือนสูกันนอกแบบ
เชนเดียวกับฤดูกาลที่ไมจบสิ้น จากมืดกลับสวาง จากสวางกลับมืด
เสียงมี 7 เสียงแตผสมกันแลวฟงไดไมหมด สี 3 สีผสมกันเกิดสีนับไมถวน
รสชาติ 5 รสผสมกันเกิดรสชาติทลี่ ม้ิ ลองไมหมด เชนกันการใชกาํ ลังก็มนี อกแบบ
ในแบบ แตผสมกันแลวเกิดรูปแบบนับไมถวน ตางเกิดจากกันและกัน ระหวาง
ตามแบบจะมีนอกแบบ ระหวางนอกแบบจะมีตามแบบ เรียกวานอกแบบ
เกิดจากตามแบบ และตามแบบเกิดจากนอกแบบ หมุนเวียนเปลี่ยนไปหา
จุดสิ้นสุดมิได ใครจะรูละวาจะเปนแบบใด

ยอดนักรบจะเพิม่ ศักยสงครามทําใหจลนสงครามเพิม่ จลนสงครามนัน้
เหมือนลูกศรที่วิ่งไป ศักยสงครามนั้นก็เหมือนขณะงางคันศรนั่นเอง

ความวุนวายเกิดจากความมีระเบียบ ความขลาดเกิดจากความกลา
ความออนแอเกิดจากความเขมแข็ง แตละสิง่ เคลือ่ นไหวสูก นั และกันงายดายนัก
"จะวุนวายสับสนหรือมีระเบียบขึ้นอยูกับปญหาการจัดหนวยทหาร
จะกลัวหรือกลาหาญขึ้นอยูกับปญหาของจลนสงคราม
จะออนแอหรือเขมแข็งขึ้นอยูกับปญหาของศักยสงคราม
3 สิ่งระมัดระวังใสใจยอมจะไดระเบียบ ความกลาหาญ และความเขมแข็ง"

26 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย


บทที่ 5 จลนสงคราม
เพราะฉะนั้น การจะลอขาศึกใหออกมานั้น
เมื่อชี้ใหเห็นรูปแบบการวางกําลังใหขาศึกรู ขาศึกตองมาแนนอน
เมื่อชี้ใหเห็นวาขาศึกจะไดรับประโยชนอะไรบาง ขาศึกตองออกมาเอาแนนอน
นั่นคือการใชประโยชนลอขาศึกใหออกมา
จงเขาปะทะขาศึกนั้นดวยการดัดหลังคูตอสูตลอดเวลา


ยอดนักรบเมือ่ ตองการชัยชนะจากจลนสงครามทีม่ อี ยู มิไดพง่ึ พาบุคคลใด
บุคคลหนึ่งเปนพิเศษ แตพึ่งพาพลังอํานาจของจลนสงคราม ปลอยใหผูคน
ตาง ๆ เปนไปตามจลนสงครามนั้น เหมือนกับสิ่งของทอนไมรูปแบบตาง ๆ
จะอยูนิ่งบนพื้นราบ แตเมื่อเอียงพื้นราบขึ้น สิ่งของเหลานั้นจะกลิ้งไปตาม
จลนสงครามนั่นเอง ฉะนั้นยอดนักรบจะใหผูคนเขาตอสูเหมือนสิ่งของทอนไม
กลิ้งจากที่สูง
นี่แหละที่เรียกวา "จลนสงคราม"

พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 27


28 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย
บทที่ 6 หลอกลอ
第六计花招

บทที่ 6 หลอกลอ

ซุนวูกลาวไว
กองทัพที่มาถึงสนามรบกอน และรอคอยขาศึกเปนฝายที่สบาย
กองทัพทีม่ าถึงสนามรบทีหลังและเขาตอสูเ ปนฝายทีล่ าํ บากและทรมาน
“ยอดนักรบนั้นฝายตนจะตองเปนฝายควบคุมการรบ
หมายถึง ทําใหขาศึกเปนดั่งเชนตนคิด และไมเปนอยางที่ขาศึกคิด”
การที่ฝายเราจะทําใหขาศึกออกมาไดนั้น ชี้ผลประโยชนเขาลอ
การที่ ฝ า ยเราจะทํ า ให ข า ศึ ก ไม เข า มาได นั้ น ชี้ ถึ ง ผลเสี ย นั่ น เอง
ดวยเหตุนี้จึงสามารถทําใหขาศึกที่สุขสบาย เหนื่อยลาได ทําใหขาศึก
ที่ทองอิ่ม หิวโหยได การหลอกลอขาศึกที่อยูนิ่ง ๆ ใหเคลื่อนไหวจึงทําไดนั่นเอง

พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 29



โจมตีสถานที่ที่ขาศึกตองออกมาอยางแนนอน รุกอยางรวดเร็วเขาไป
ในที่ที่ขาศึกคาดไมถึง การเคลื่อนกําลังเขาไปในสถานที่ไกลโดยไมเหนื่อย ก็คือ
เขาไปในเสนทางที่ไมมีการตานทานจากขาศึก หลังจากเขาโจมตีแลวสามารถ
ยึดได ก็คือการเขาโจมตีที่ไมมีการปองกันจากขาศึก หลังจากวางกําลังปองกัน
แลวเขมแข็งแนนอน ก็คือการรักษาที่มั่นที่ขาศึกจะไมเขาตี
นักรบที่รุกเกง ขาศึกไมรูที่ปกปอง
นักรบที่รับเกง ขาศึกไมรูที่จะเขาตี
แยบคายลึกซึ้ง สุดยอดตองปราศจากรูป
ลี้ลับมหัศจรรย สุดยอดตองปราศจากเสียง
จึงเปนอุปราชชี้ขาดชะตากรรมของขาศึกได

30 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย



รุกเขาไปแลวไมสามารถปองกันไดเพราะวารุกเขาไปในชองวางของขาศึก

บทที่ 6 หลอกลอ
ถอยออกมาแลวตามไมทนั เพราะวามิไดตดิ ตามไปอยางรวดเร็ว
ฉะนั้น เมื่อฝายเราตองการรบ แมขาศึกจะอยูในที่มั่นเขมแข็งไมยอม
ออกรบ แตการที่ขาศึกจะอยางไรก็ตองออกมา ก็เพราะวาฝายเราโจมตีในที่ที่
ขาศึกจะตองยกกําลังมาชวยนั่นเอง
เมือ่ เราไมตอ งการรบ แมจะมิไดวางกําลังปองกันใดใด แตขา ศึกอยางไร
ก็จะไมออกมา ก็เพราะวาสถานที่นั้นถูกลวงนั่นเอง


เพราะฉะนั้น ถาเราลวงขาศึกใหทราบชัดเกี่ยวกับกําลังฝายเรา แตเรา
ซอนกําลังจริงไว เมือ่ ขาศึกแยกกําลังออกไป และเรารวมกําลังไว ถาเรารวมกําลัง
เปนหนึ่ง และขาศึกแยกกําลังออกเปน 10 สวน ผลการปะทะกันฝายเราจะมี
ทหารมากกวา 10 เทา เราจะเปนฝายมีกําลังมาก ขาศึกจะเปนฝายมีกําลังนอย
ถาเราสามารถใชกําลังใหญเขาปะทะกับกําลังนอยของขาศึก ขาศึกก็จะเปน
ฝายที่ออนกวาเราเสมอ เมื่อขาศึกไมทราบที่เราจะรบ ไมทราบเวลาที่เราจะรบ

พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 31


ข า ศึ ก จะกระจายกํ า ลั ง ออกป อ งกั น เมื่ อ ทํ า เช น นั้ น การปะทะกั บ ฝ า ยเรา
ขาศึกจะเปนฝายนอยกวาเราโดยตลอด
ดังนั้น เมื่อกําลังใหญอยูหนา กองหลังจะเปนกําลังนอย เมื่อกองหลัง
กําลังมาก กองหนากําลังนอย กําลังหลักดานขวา กําลังนอยดานซาย กําลังหลัก
ดานซาย กําลังนอยดานขวา จะชวยเหลือซึ่งกันและกันได
เพราะฉะนัน้ รูส ถานทีร่ บ รูเ วลารบ แมไกลแตถา ควบคุมไดควรรบ ไมรู
สถานที่รบ ไมรูเวลารบ ซายจะชวยขวาก็ไมได ขวาจะชวยซายก็ไมได กองหนา
จะชวยกองหลัง กองหลังจะชวยกองหนาไมได
“ตามที่ขาพเจาคิด แมฝายหนึ่งจะมีกําลังมาก แตหากถูกหลอกลอ ถูกลวง
อีกฝายหนึง่ ก็จะรวมกําลังมากกวาฝายแรกอยูร าํ  ไป ฝายแรกยอมมิอาจรบดวยได”


ฉะนัน้ กอนออกรบ เพือ่ เขาใจการหลอกลอ การลวงของขาศึก ตองเขาใจ
ผลไดผลเสีย กับสถานการณขา ศึกใหแตกเสียกอน ใชการลอใหขา ศึกเคลือ่ นไหว
เปนหลัก จับทาทีของขาศึกใหไดรูที่ใดรบไดรบไมได ที่ใดไดเปรียบเสียเปรียบ
มีกําลังนอยกําลังมาก และเมื่อไรนั่นเอง
32 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย

เพราะวาสุดยอดของศักยสงครามคือ “ปราศจากรูป” การปราศจาก

บทที่ 6 หลอกลอ
รูปนี้ แมขาศึกมีสายลับแทรกซึมลึกซึ้งก็ไมอาจรูเราได แมใชคนมีความรู
ก็คิดไมออก เพราะปราศจากรูป อานทาทีเขาใหแตกใชทาทีนั้นเปลี่ยนรูปเรา
นําชัยชนะที่คนธรรมดามิอาจเห็นได คนธรรมดาแมรูจักชัยชนะของตนแตไม
ทราบจะชนะอยางไร เมื่อใด และที่ใด
ดังนั้น สภาพของชัยชนะไมควรใหเกิดขึ้นซํ้าสอง
เปลี่ยนแปลงตามศักยสงคราม ขาศึกนับไมถวนจึงดี

ฉะนั้น ศักยสงคราม รูปแบบทางทหาร จึงเหมือนนํ้าไหลจากที่สูงลง
ที่ตํ่า หลีกเลี่ยงที่สูงเหมือนไมปะทะขาศึกที่มีการเตรียมการดี โจมตีที่ที่มีการ
เตรียมการหลอก เอาชัยขาศึกเปลี่ยนแปลงตามสถานการณขาศึก เหมือนนํ้า
ไหลตามรูปแบบภูมิประเทศ
เพราะฉะนั้น รูปแบบที่แนนอนของการใชกําลัง และศักยสงคราม
จึงไมมีเชนเดียวกับนํ้าที่ปราศจากรูป เปลี่ยนแปลงตามสถานการณลึกซึ้งยาก
จะคะเนได

พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 33


34 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย
บทที่ 7 การแขงขัน
第七计竞争

บทที่ 7 การแขงขัน

ซุนวูกลาวไว
จากกฎของสงคราม ตัง้ แตแมทพั รับคําสัง่ ผูน าํ ประเทศใหจดั กําลังทหาร
เขายันขาศึก จนถึงเมื่อเตรียมกําลังพรอมยกไปตั้งรับขาศึกเสร็จสิ้น ชวงเวลา
ดังกลาวเรียกวา “การแขงขันทางทหาร” เปนการแขงขันที่ชิงความไดเปรียบ
เปนเรื่องที่ไมถึงกับยากนัก ความยากของการแขงขันทางทหาร ก็คือ การทํา
เรื่องยากใหเปนเรื่องงาย การทําสิ่งที่จะเกิดความเสียหายใหพลิกกลับเปน
ประโยชนนั่นเอง

พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 35


การแขงขันทางทหารนั้นยังมีอันตรายอยางหนึ่ง เมื่อทหารทั้งหมด
พยายามแขงขันกับขาศึก เพื่อเขายึดพื้นที่ไดเปรียบใหไดกอน การเคลื่อนกําลัง
ทั้งหมดยอมลาชาเสียเวลา ซึ่งหากไมคํานึงถึง รังแตจะรีบไปใหถึงกอนขาศึก
ก็อาจไมสามารถขนเอาเสบียงอาหาร อาวุธทีจ่ าํ เปนไปดวยได ทหารทีข่ าดเสบียง
อาหารและอาวุธยอมพายแพ ขณะทิ้งเสบียงอาหารและอาวุธ รีบเดินทาง
ทั้งกลางวันกลางคืนไมมีพักเพื่อจะไปไดเร็วขึ้น ถาแมทัพถูกจับก็หมายถึง
ความพายแพอยางใหญหลวง ทหารที่แข็งแรงอาจจะไปถึงได ทหารที่ออนลา
จะถึงทีหลัง 100 ลี้เคลื่อนไป 10 คนจะมาถึงได 1 คน 50 ลี้จะมาไดครึ่งหนึ่ง
30 ลี้จะมาได 2 ใน 3 คนเทานั้น
อยางทีก่ ลาวไวขา งตน ดัง่ นีค้ อื ความลําบาก ความยาก ของการแขงขันทางทหาร

ดังนั้น
ไมรูเรื่องภายในของตางชาติ เปนพันธมิตรกับตางชาตินั้นยอมไมได
ไมรูภูมิประเทศ การเคลื่อนทัพเขาไปยอมทําไมได
ไมรูวิธีใชคนในพื้นที่นั้น ยอมไมไดประโยชนจากพื้นที่นั้น

ดวยเหตุนี้การสงครามนั้นใชการดัดหลังคูตอสูเปนหลัก เคลื่อนไหว
ไปในที่ที่เปนประโยชน เปลี่ยนแปลงรูปดวยการกระจายกําลัง และรวมกําลัง
ฉะนั้นเคลื่อนไหวรวดเร็วเชนดั่งลม รอคอยเหมือนไมซอนลมหายใจ รุกรบเชน
เปลวเพลิง เขาใจยากดุจความมืด เขมแข็งดุจขุนเขา เกรี้ยวกราดเหมือนสายฟา
จะรวบรวมเสบียงอาหารใหกระจายกําลังออกไป จะขยายพืน้ ทีย่ ดึ ครองใหรกั ษา
จุดสําคัญมั่นคง เคลื่อนไหวระมัดระวังคิดอานรอบคอบ

36 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย


“ชิงปฏิบัติการกอนขาศึก ทําเรื่องยากใหเปนเรื่องงาย
ผูรูเขาใจดีชนะ ดั่งนี้คือกฎของการแขงขัน”

บทที่ 7 การแขงขัน

การศึกนั้นยากที่จะสั่งการใดใดดวยปากใหทุกคนเขาใจได จะตอง
เตรียมเครื่องมือบางอยางที่จะทําให หู และตาของเหลาทหารหาญเปนอันหนึ่ง
อันเดียวกันได
การที่ทหารของฝายเราเปนอันหนึ่งอันเดียวกัน แมผูกลาก็ฝามาไมได
ผูขลาดก็ถอยหนีไมพน ความสับสนจะหมดไป จะทําใหสามารถเปลี่ยนแปลง
รูปแบบตามสถานการณไดทันตอเหตุการณ นํามาซึ่งหนทางแหงชัยชนะ

พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 37


38 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย
บทที่ 8 เกาเหตุการณ

บทที่ 8 เกาเหตุการณ
第八计九个情况


ซุนวูกลาวไว ตามกฎของสงคราม
• อยาโจมตีขาศึกบนเนินสูง
• อยาตั้งรับขาศึกที่รุกเขามาโดยมีเนินเขาอยูเบื้องหลัง
• อยาเผชิญหนากับขาศึกในที่รกชัดเปนเวลานาน
• อยารุกไลขาศึกที่หลอกถอย
• อยาโจมตีขาศึกที่ขวัญดี
• อยากินเหยื่อที่ขาศึกลวงไว
• อยาหยุดขาศึกที่กําลังกลับบานเกิด
• อยาลอมขาศึกโดยมิดชิด ตองเปดทางใหหนีอยางนอย 1 ทาง
• อยารุกไลขาศึกที่ถอยอยางระมัดระวังเขาไปชิดนัก
ทัง้ หมดคือเกาเหตุการณทเี่ ปลีย่ นแปลงและเกิดขึน้ เปนกฎของสงคราม
พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 39

ถนนที่นาจะผานไปดวยดีแตผานไมไดนั้นมีอยู
กองทัพขาศึกที่นาเขาตีแตเขาตีไมไดนั้นมีอยู
ปอมปราการที่มั่นที่นาเขาโจมตีแตเขาโจมตีไมไดนั้นมีอยู
พื้นที่ที่นาเขายึดครองแตเขายึดครองไมไดนั้นมีอยู
“คําสั่งของผูนําประเทศที่นาปฏิบัติตามแตปฏิบัติไมไดก็มีอยู เชนกัน”

เพราะฉะนั้น แมทัพที่คํานึงผลไดผลเสียจากเกาเหตุการณเปนอยางดี
คือผูใชทหารอยางระมัดระวัง แมทัพที่ไมคํานึงผลไดผลเสียจากเกาเหตุการณ
เปนอยางดี แมจะเขาใจภูมิประเทศดีแตก็จะไมไดประโยชนจากพื้นที่นั้น
ในการควบคุมการใชกาํ ลังทหารนัน้ เกาเหตุการณนเี้ ขาใจบางไมเขาใจ
บาง แมจะเขาใจถึง 5 สวน ก็ยังมิสามารถใชกําลังทหารใหเกิดประโยชน
อยางเพียงพอได

ดังที่กลาวมา
การคิดอานของผูรูนั้น คิดเรื่องราวใดตองระมัดระวังผลได และผลเสีย
ประกอบกันไป เรือ่ งราวใดเปนประโยชนกต็ อ งคิดอานดานผลเสียดวย งานก็จะ
สําเร็จบรรลุเปาหมาย เรือ่ งราวใดเปนผลเสียก็ตอ งคิดอานดานดีดว ย ความกังวล
ก็จะหมดไป

40 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย


บทที่ 8 เกาเหตุการณ
ฉะนั้น
ชี้ใหเห็นผลเสียจึงสยบตางชาติ
ชี้ใหเห็นวาจําเปนจึงใชทูตตางชาติ
ชี้ใหเห็นประโยชนจึงใหขาศึกแตกหนี

เรามิอาจขอรองขาศึกมิใหยกกองทัพมา เราพึ่งพาการเตรียมการ
ที่พรอมตอขาศึกที่จะยกมาทุกเมื่อ เรามิอาจขอรองขาศึกมิใหเขาโจมตี แตเรา
พึ่งพาการตั้งมั่นที่มิอาจเขาตีไดตางหาก

ฉะนั้น สําหรับแมทัพมีอันตรายอยู 5 ประการ
• สํานึกวาตนตองสูตาย ไมรูจักถอย แลวถูกฆาตาย
• คิดแตจะเอาตนรอด ขาดความกลา แลวถูกจับเปนเชลย
• เอาแตใจรอนจนผูคนทั้งหลายมองวาบาเลือด
• ขาดความกระตือรือรน ตกอยูในสภาวะตองอาย
• รักทหารจนตองเหนื่อยเพราะทํางานใหทหาร
5 ประการเหลานี้ยามศึกเปนผลเสีย กองทัพละลาย แมทัพตาย
ในสนามรบ จะตองเกิดขึ้นจาก 5 ประการดังกลาวแนนอน จําเปนที่แมทัพจะ
ตองระมัดระวังใสใจ

พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 41


42 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย
บทที่ 9 เคลื่อนกําลัง

บทที่ 9 เคลื่อนกําลัง
第九计移动力


ซุนวู กลาวเกี่ยวกับ สถานที่ตั้งของกองทัพ กับการหาขาวสถานการณ
ขาศึกไวดังนี้
จะขามเขาใหเลาะรองเขา พบที่สูงใหอยูที่สูง รบที่สูงอยาหันหาขาศึก
ที่สูงกวา ดังนี้ เกี่ยวกับกองทัพบนเขา
ถาขามแมนาํ มาแลวจงอยูใ หไกลจากฝง แมนาํ ขาศึกโจมตีขา มแมนาํ มา
อยารับการโจมตีตรงกลางแมนํา จงเขาตีขณะขาศึกขามมาไดครึ่งหนึ่งจะได
เปรียบ อยารับการโจมตีจากขาศึกริมนํา พบพื้นที่สูง อยูที่สูงหากตองอยู
ปลายนํา อยารบกับขาศึกตนนํา ดังนี้ เกี่ยวกับกองทัพกับแมนํา

พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 43


จะขามที่ลุมมีนําขังถาทําไดรีบไปใหเลยออกไปโดยเร็ว ถาหลีกเลี่ยง
ไมได ตองรบในที่ลุม
เตรียมนําอาหาร หญาฟางมาก ๆ และตั้งทัพโดยเอาปาไวเบื้องหลัง
ดังนี้ เกี่ยวกับกองทัพในที่ลุมในที่ราบ
จงอยูที่สะดวก เอาที่สูงอยูเบื้องหลังที่ตําอยูเบื้องหนา ดังนี้ เกี่ยวกับ
กองทัพในที่ราบ
การใชประโยชนพนื้ ทีภ่ มู ปิ ระเทศเปนเหตุผลใหไดชยั ชนะมาแลวหลาย
ครั้งในประวัติศาสตร

โดยทัว่ ไปทีต่ งั้ กองทัพ ทีส่ งู กวาดี ทีต่ าํ กวาไมดี มีแสงแดดดี ไมมแี สงแดด
ไมดี อยูในที่อุดมสมบูรณปลอดโรคภัย โรคภัยไขเจ็บในกองทัพก็เปนเงื่อนไขแพ
ชนะ
นี่เปนผลที่ไดจากภูมิประเทศ

ตนนําที่ฝนตกลงมา นําจะเชี่ยวกราด รอใหกระแสนําเบาลงกอน
จึงคิดขาม

พื้นที่ที่มีสิ่งกีดขวางตามธรรมชาติ เชน หนองนํา บึง หลุม หุบผาแคบ
ตองรีบผานไปอยางรวดเร็ว อยาเขาใกล เราเมื่อพยายามอยูไกล แตชี้ใหขาศึก
อยูใกล ฝายเราเมื่อหันหนาเขาหา ชี้ใหขาศึกมีพื้นที่นั้นอยูเบื้องหลัง

44 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย


บทที่ 9 เคลื่อนกําลัง
บริเวณตั้งทัพมีปารก ใหระมัดระวังใหดี ที่นั่นจะเปนที่ที่มีขาศึกซุมอยู
มีหนวยลาดตระเวนขาศึกอยู

ขาศึกยิ่งใกลยิ่งเงียบ แสดงวาขาศึกพึ่งพาความรกของภูมิประเทศ
ขาศึกแมอยูไกลแตพยายามรบติดพัน แสดงวาหวังจูโจม
ขาศึกตั้งอยูในที่ราบ เหมือนขาศึกชี้ใหเราเห็นประโยชนใหเราออกรบ
มีเสียงตนไมใบหญาแสดงวาขาศึกกําลังโจมตีมา
นกบินหนีแสดงวามีขาศึกซุมอยู
สัตวปาตกใจแสดงวาขาศึกจูโจม
ฝุนฟุงกระจาย แสดงรถรบขาศึก
ฝุนเปนแผนกวาง แสดงวาเปนทหารราบ
ฝุนฟุงกระจายเล็กนอย นั่นแหละขาศึกกําลังสรางกองบัญชาการ

ทูตขาศึกเขามาพูดหลอกลอพยายามแสดงวาเพิ่มการตั้งรับ นั่นคือ
เตรียมการสําหรับรุก
ทูตขาศึกแสดงใหดูวากลาหาญ เตรียมการรุกนั่นคือขาศึกเตรียมการ
ถอย
ขาศึกมิไดตกอยูในสภาวะลําบากพยายามปรองดองแสดงวาขาศึกมี
แผนลับ

พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 45


รถรบขนาดเบาออกหนาแสดงวากําลังหลักอยูสองขาง
ทหารวิง่ กันสับสนมาจัดใหมเปนแถวเปนระเบียบ แสดงวาเตรียมรบขัน้
แตกหัก
ครึ่งหนึ่งไปขางหนาอีกครึ่งหนึ่งไปขางหลัง แสดงวากําลังหลอกลอ
นั่นเอง

การสงครามนั้ น ใช ว า คนยิ่ ง มากยิ่ ง ดี ก็ ห าไม เพี ย งแต ไ ม ผ ลี ผ ลาม
ถาสามารถคาดการณขาศึกระดมพลไดเหมาะสม ก็สามารถรวบรวมชัยชนะได
เพียงพอแลว แตถา คิดอานไมรอบคอบประมาทขาศึก ตองถูกขาศึกจับเปนเชลย
แน ถาทหารหาญไมใกลชิดแมทัพนายกอง ทั้งยังถูกลงโทษ เขาเหลานั้นจะไม
เชื่อฟง เมื่อไมเชื่อฟงก็ปกครองยาก ถาทหารหาญแมใกลชิดแมทัพนายกอง
แตมิไดใชการลงโทษแกผูทําผิด คําสั่งที่ตองปฏิบัติจะกลายเปนเรื่องเลน ๆ
ไมสามารถปกครองใชงานไดเชนกัน
เพราะฉะนั้น แมทัพนายกองตองใชคุณธรรม ระเบียบวินัย และการ
ลงโทษทัณฑในการปกครอง นี้เปนเงื่อนไขชัยชนะ
การรักษาระเบียบวินัยจากชีวิตประจําวัน เมื่อออกคําสั่งทหารจะเชื่อ
ฟง ถาไมรกั ษาระเบียบวินยั จากชีวติ ประจําวัน เมือ่ ออกคําสัง่ ทหารจะไมเชือ่ ฟง
ความจริงใจตอระเบียบวินัยจากชีวิตประจําวันของทหาร
ชนะใจประชาชนได สามารถกําจิตใจประชาชนเปนหนึ่งได

46 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย


บทที่ 10 ภูมิประเทศ

บทที่ 10 ภูมิประเทศ
第十计形势


ซุนวูกลาวไว ลักษณะภูมิประเทศมี 6 ประเภท
• ที่ไปมาสะดวกนั้นมีอยู
• ที่ไปสะดวกแตกลับลําบากก็มีอยู
• ทางแยกเปนหลายแพรงก็มีอยู
• มีที่แคบ
• มีที่รก
• มีที่ไกล
สําหรับที่ไปมาสะดวกจงรีบเขายึด โดยเฉพาะที่ดีเปนที่สูงมีแสงแดด
กอนออกศึกหากสถานที่ดังกลาวไมถูกตัดเสนทางสงกําลังบํารุง การรบจะมี
เปรียบ สําหรับสถานทีไ่ ปงายกลับลําบาก ถาเขาไปในทีข่ า ศึกไมมกี ารเตรียมการ
ชนะได แตถาขาศึกมีการเตรียมการจะไมอาจชนะขาศึกได จะถอนกลับก็ยาก
พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 47
การรบจะเสียเปรียบ สําหรับทางหลายแยกจะออกจะเขาลวนเสียเปรียบ ขาศึก
ใชผลประโยชนหลอกลอใหเราออกรบ อยาออกรบ พยายามถอยออกใหไกล
ถาขาศึกตามคอยเขาตีจะมีเปรียบสําหรับที่แคบ ควรยึดไดกอนขาศึก จากนั้น
รวมกําลังรอคอยการมาของขาศึก ถาขาศึกยึดไดกอ น อยาเขาตีทแี่ คบ ถาขาศึก
มิไดรวมกําลังไวเขาตีดีคือที่รก เราควรยึดกอน ควรอยูในที่สูงรอคอยขาศึก
ถาขาศึกยึดไดกอ นควรอยูใ หหา ง ฝายเราและขาศึกตัง้ ทัพอยูไ กลกัน ถากําลังรบ
พอกันรบกันยาก ฝายรุกกอนเสียเปรียบ
เหลานี้คือ 6 ประเภทพื้นที่ภูมิประเทศ แมทัพตองพิจารณาดวยความ
รอบคอบอยางเพียงพอ

ในกองทัพนัน้ มีพวกหนีทหาร พวกปลอยตัว พวกซึมเศรา พวกแหกคอก
พวกวุน วาย และพวกแพแลวหนี ทัง้ หมด 6 จําพวก โดยทัว่ ไปแมมไิ ดเกิดเภทภัย
ก็จะทําใหแมทัพเดือดรอนอยูเสมอ ๆ
พวกเหลานีเ้ มือ่ ฝายเราหาวหาญพอ ๆ กับขาศึก แตขา ศึกมีมากกวา 10
เทาแมยังมิไดตอสูก็หนีตายกันหมดสิ้นแลว
ถาทหารเขมแข็งแตตัวนายออน กองทัพจะไมมีกําลัง ถาทหารออนแต
ตัวนายเขมแข็ง กองทัพก็จะไมคึกคักขวัญจะไมดี ถาตัวนายโกรธไมปฏิบัติตาม
คําสั่งของแมทัพ แตเมื่อขาศึกยกมาตองออกรบโดยมีความโกรธอยูในใจ รบแต
ตามที่ตนเองคิด กองทัพก็จะไปไมรอด แมทัพที่หยอนยานไมเครงครัด ออกคํา
สัง่ ไมแนนอน ตัวนาย และทหารยอมปฏิบตั ไิ มได เกิดความวุน วาย แมทพั จะคิด
อานสถานการณขาศึกก็ยอมทําไมได ปะทะขาศึกคราวใดก็ตีขาศึกที่แข็งกวา
เสมอ ทหารจะหมดความกลาหนีหายหมด
ทัง้ หมดเกิดจากคน 6 จําพวกดังทีก่ ลาวขางตน เปนตนเหตุแหงความพายแพ
ถือเปนหนาทีข่ องแมทพั จะตองคิดอานเรือ่ งนีอ้ ยางเพียงพอ
48 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย

บทที่ 10 ภูมิประเทศ
ลักษณะของภูมปิ ระเทศเปนสิง่ ชวยการศึก ถาคิดอานพิจารณารอบคอบ
แลวชนะได
“การพิจารณาภูมิประเทศและดัดแปลงมาใชทางยุทธวิธี
เปนงานยิ่งใหญของแมทัพ”
ถาพิจารณารอบคอบระมัดระวังตองชนะแนนอน ถาพิจารณาไม
รอบคอบไมระมัดระวังตองแพแนนอน
ถาคิดอานแลวชนะแนนอน แตผูนําประเทศสั่งอยาใชกําลัง การตัดสิน
ใจรบของแมทัพเปนสิ่งถูกตอง
ถาคิดอานแลวแพแนนอน แตผูนําประเทศสั่งใหใชกําลังการตัดสินใจ
ไมรบของแมทัพเปนสิ่งถูกตอง
เพราะฉะนัน้ มิไดแสวงหาชือ่ เสียงรุกเมือ่ ควรรุก มิกลัวผิด ถอยเมื่อควร
ถอย เอาผลประโยชนของประชาชนเปนหลัก
“ถาผลประโยชนตรงกันกับผูนําประเทศ
แมทัพคนนี้คือสมบัติลําคาของประเทศชาติ”

ปกครองทหารเหมือนดูแลเด็ก ทหารยอมสามารถติดตามแมทัพไปใน
ที่อันตรายได ปกครองทหารเหมือนลูก มีความรักความผูกพัน ทหารก็พรอมจะ
รวมเปนรวมตายกับแมทพั ได แตใหความอบอุน อยางเดียวใชงานทหารไมได ให
แตความรักสั่งการใดใดยอมไมได จะใชประโยชนอันใดยอมทําไมได

พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 49



เมื่ อ รู ว า มี กํ า ลั ง พอ ที่ จ ะเข า ตี ข า ศึ ก รวบรวมชั ย ชนะได แต ไ ม รู ว า
สถานการณขาศึกเขาตีไมได จะชนะแนนอนก็หาไม เมื่อรูวาสถานการณขาศึก
เขาตีได แตไมรูวากําลังฝายเราไมเพียงพอ จะชนะแนนอนก็หาไม เมื่อรูวา
สถานการณขา ศึกเขาตีได และรูว า กําลังฝายเรามีเพียงพอ แตไมรวู า สภาพพืน้ ที่
ภูมิประเทศรบไมได จะชนะแนนอนก็หาไม...
ฉะนั้นคนที่เขาใจการรบดี รูขาศึก รูเรา รูพื้นที่ภูมิประเทศ รูเวลา
จึงสามารถใชกําลังทหารไดโดยไมหลง การศึกก็จะไมลําบาก
เพราะฉะนั้นรูเขารูเรา ชัยชนะไมไปไหน รูภูมิประเทศ สภาพแวดลอม
และเวลา กลาวไดวาจะสามารถชนะไดอยูเสมอ

(อานตอฉบับหนา...)

50 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย


บทที่ 11 เกาสนามรบ

บทที่ 11 เกาสนามรบ
九個戰場


SUNTZU กลาวไว
การศึกนัน้ มี พืน้ ทีแ่ ตก พืน้ ทีเ่ บา พืน้ ทีไ่ ดเปรียบ พืน้ ทีส่ ญ
ั จร พืน้ ทีต่ ดิ ตอ
พื้นที่สําคัญ พื้นที่ลําบาก พื้นที่ถูกลอม และพื้นที่สังหาร
สนามรบที่ตอสูในประเทศตนเองหมายถึงพื้นที่แตก สนามรบที่อยูใน
ดินแดนขาศึกแตไมไกลจากพรมแดนนักคือพืน้ ทีเ่ บา พืน้ ทีท่ ขี่ า ศึกยึดไดมเี ปรียบ
เรายึดไดเราก็มีเปรียบคือพื้นที่ไดเปรียบ พื้นที่ที่คิดจะไปก็ไดคิดจะมาก็ไดคือ
พื้นที่สัญจร พื้นที่ที่มี 4 ทิศถาเราเขาไปไดกอนสามารถรับความชวยเหลือจาก
ตางชาติ สามารถรวบรวมจิตใจประชาชนไดคือพื้นที่ติดตอ พื้นที่ลึกในดินแดน
ขาศึกผานไปดวยที่มั่นของขาศึก หมูบานมากมาย เปนพื้นที่สําคัญ ตนไมรกทึบ
มีหนองบึงเคลือ่ นไหวลําบากเปนพืน้ ทีล่ าํ บากยิง่ เขาไปยิง่ แคบถอยออกยาก ขาศึก
ใชกาํ ลังเพียงเล็กนอยก็โจมตีเราไดคอื พืน้ ทีถ่ กู ลอม ตองใชการตอสูส ดุ ชีวติ มิฉะนัน้
จะเอาตัวรอดไมไดคือพื้นที่สังหาร
พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 51
ดังกลาวแลว ถาเปนพืน้ ทีแ่ ตกอยารบ พืน้ ทีเ่ บาอยาชักชา พืน้ ทีไ่ ดเปรียบ
รีบเขายึดกอนถาขาศึกยึดกอนอยาเขาตี พื้นที่สัญจรอยาทิ้งระยะกันหาง พื้นที่
ติดตอใชการทูต พื้นที่สําคัญใชแยงเสบียงอาหารจากขาศึก พื้นที่ลําบากรีบผาน
ใหพนไป พื้นที่ถูกลอมใชแผนลับ พื้นที่สังหารควร สูสุดชีวิต


ขุนศึกที่เชี่ยวชาญการรบสมัยกอน จะทําใหทัพหนา และทัพหลังของ
ขาศึกติดตอกันไมไดทาํ ใหกาํ ลังใหญกาํ ลังเล็กชวยเหลือกันไม ได ทําใหคนสูงคน
ตาํ ชวยกันไมได ทําใหนายกับบาวชวยกันไมได ทําใหทหารขาศึกที่แตกกระจาย
รวมกันไมติด ถึงรวมติดก็ไมเปนระเบียบ ดังนี้
ฝายเราจะเริ่มเคลื่อนไหวเมื่อไดเปรียบ
ถายังไมไดเปรียบไมเคลื่อนไหว รอคอยโอกาสที่ไดเปรียบ

52 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย


บทที่ 11 เกาสนามรบ
การสงครามนั้น ความรวดเร็วเปนอันดับหนึ่ง
ใชจังหวะที่ขาศึกกําลังเตรียมการ
ใชวิธีที่ขาศึกคาดไมถึง
ใชการโจมตีสถานที่ที่ขาศึกไมมีการเตรียมการปองกัน

ปกติการโจมตีประเทศขาศึก
ถาบุกลึกเขาไปยึดพืน้ ทีส่ าํ คัญในประเทศขาศึก ฝายเราตองสามัคคีกนั ไว
เนือ่ งจากเปนพืน้ ทีแ่ ตกของขาศึก ขาศึกจะไมสามารถตานทานเราได และหาก
พื้ น ที่ น้ั น อุ ด มสมบู ร ณ เสบี ย งอาหารที่ ม าเลี้ ย งกองทั พ ก็ จ ะเพี ย งพอ และ
เมือ่ เลีย้ งดูทหารเปนอยางดีแลว อยาใหตอ งเหนือ่ ยออน เพิม่ ขวัญ และกําลังใจ
ในการรบ ใชแผนลับเคลือ่ นกําลังจนขาศึกไมสามารถคาดการณได จะไปทีใ่ ดใด
ทหารทีต่ อ งตาย หรือหนีตายจะไมปรากฏ ถาระดับนายกองสูอ ยางสุดความสามารถ
พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 53
ทําไมจะไมไดมาซึง่ ชัยชนะเลา แมเหลาทหารจะตกอยูใ นสถานการณอนั ตรายก็
มิ เ กรงกลั ว มิ ต อ งมี สั ญ ญาก็ ช ว ยเหลื อ กั น มิ ต อ งสั่ ง การใดใดก็ ป ฏิ บั ติ
ดวยความจริงใจ แมตองตายจิตใจก็ไมเปลี่ยนแปลง แมเมื่อหลีกเลี่ยงไมได
ออกคําสั่งรบขั้นเด็ดขาด ถึงนําตาจะไหลนองเนื่องจากผูตองจากไป แตใน
สถานการณคับขันเชนดังนี้
ทุกคนจะกลาหาญอยางที่สุด

ฉะนั้น
ยอดนักรบนั้นเรียกวาสูยิบตา สูยิบตานั้นเหมือนมดแมลงที่อยูตามเขา
นัน่ เองเมือ่ โจมตีดว ยสวนหัว สวนหางก็จะเขามาชวย เมือ่ โจมตีดว ยสวนหาง สวน
หัวจะเขาชวยเมื่อถูกโจมตีที่ทอง สวนหัว และสวนหางจะเขาชวย และโจมตี
ขาศึกพรอมกัน

54 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย


บทที่ 12 ไฟ
第十二计火

บทที่ 12 ไฟ
 ซุนวูกลาวไว ปกติการรุกดวยไฟมี 5 ประการ
• เผาคน
• เผาเสบียง
• เผาอาวุธ
• เผายุทธปจจัย
• เผาเสนทาง
การใชไฟนัน้ มีเงือ่ นไขทีแ่ นนอน การใชไฟบินนัน้ ก็เชนกัน ตองมีเครือ่ ง
มือที่แนนอน การเริ่มทําการรุกดวยไฟนั้นมีเวลาที่เหมาะสม มีวันที่เหมาะสม

พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 55



ปกติแลวการรุกดวยไฟนั้น เมื่อฝายเราเริ่มจุดไฟขณะกองบัญชาการ
ขาศึกติดไฟ ใหระดมทหารเขารบ แตถงึ แมไฟติดแลวขาศึกยังเงียบอยู ใหรอกอน
จะรบทันทีนั้นไมได ปลอยใหไฟเผาไป พิจารณาสถานการณแลวถาโจมตีไดให
รบ ถาโจมตีไมไดอยารบ แมไฟลุกลามจากภายนอก ถาสถานการณเหมาะสมก็
รบได อยาโจมตีใตลม ใชลมตอนกลางวัน อยาใชลมกลางคืน ระมัดระวังการ
เปลี่ยนแปลงของไฟ รอบคอบ เปนยุทธวิธีการใชไฟ


ฉะนั้น
การใชไฟชวยในการโจมตีได ถือวาฉลาด
การใชนําทําลายขาศึกได ถือวาเปนอํานาจ

56 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย



การที่รุกรบไดชัยตอขาศึก แตไมสามารถทําใหเกิดประโยชนได ถือวา
โชครายไรประโยชน ถามิใชเพราะประโยชนของบานเมือง อยาทํา ถาทําแลวไม

บทที่ 12 ไฟ
สามารถสําเร็จได อยาใชกําลัง ถามิไดตกอยูในอันตราย อยารบ
แมทัพไมสามารถจัดกระบวนศึกไดก็เพราะความแคนเคือง
ทหารยอมรบไมไดก็เพราะความโกรธ
ชั่วขณะในอารมณโกรธ อาจกลับมาเกิดความสบายใจ
ชั่วขณะแคนเคือง อาจกลับมาเกิดความพึงพอใจ
แตบานเมืองเมื่อพินาศยอยยับแลว ไมอาจซอมแซมได คนตายยอมมิ
อาจฟน
ฉะนั้น แมทัพที่ฉลาดจะมีการตัดสินใจดี รอบคอบ
บานเมืองยอมรักษาไดมั่นคง กองทัพยอมดํารงอยูได

พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 57


58 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย
บทที่ 13 สายลับ

บทที่ 13 สายลับ
刺探


การจัดกองทัพดวยกําลังคนมากมายโดยสงออกไปรบในทีไ่ กล ยอมเกิด
ความสิ้นเปลืองที่รบกวนตอเนื่องไปทั่วทั้งบานเมือง ประชาชนจะพากันอิดโรย
แมกระนัน้ หากแมทพั ตระหนี่ ทีจ่ ะใชทรัพยสนิ มหาศาลเพือ่ ใหไดมาซึง่ ขาวกรอง
ขาศึก แมทัพผูนี้ยอมไมเขาใจธรรมชาติของมนุษย ยอมไมมีคุณสมบัติที่จะเปน
แมทัพได
ปกติยอดนักรบชนะขาศึกไดเสมอดวยการรูล ว งหนากอน การรูล ว งหนา
กอน มิไดใชเวทมนตคาถา มิไดใชการดูฤกษยาม และมิไดใชการคํานวณอนาคต
ใดใดจากเหตุการณในอดีต แตเขาจะพึง่ พาบุคคลพิเศษ จะตองเปนบุคคลเฉพาะ
จริงที่รูสถานการณของขาศึกนั่นเอง
“ดังกลาวยอมตองเปนสายลับ”

พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 59



สายลับที่ใชงานมีอยู 5 ประเภท กลาวคือ
• สายลับในพื้นที่
• สายลับใน
• สายลับสองหนา
• สายลับที่ยอมตาย
• สายลับที่รอดกลับมา

ในบรรดาผูสนิทสนมใกลชิดแมทัพ ไมมีผูใดใกลชิดไปกวาสายลับ ไมมี
ใครได บํ า เหน็ จ รางวั ล มากกว า สายลั บ และไม มี เรื่ อ งราวใดเป น ความลั บ
มากไปกวาเรื่องในหนวยสืบราชการลับ
“ผูมีมนุษยธรรมมาก มีความยุติธรรมมากใชงานสายลับไมได
ผูไมละเอียด ไมมีไหวพริบยอมเอาความจริงจากสายลับไมได
ในกรณีแผนลับแตกผูเกี่ยวของยอมตองโทษประหาร”

ปกติเมื่อตองการเขาโจมตีที่ใด ตองการสังหารใคร จําเปนตองรูจัก
นายทหารขาศึก ผูบังคับบัญชาขาศึก ฝายเสนาธิการ องครักษ สายลับตองสืบ
เรื่องราวของบุคคลที่เกี่ยวของเหลานี้โดยละเอียด จึงสามารถกระทําตาม
ความตองการได

60 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย



เปนเรื่องสําคัญตองหาสายลับของขาศึกที่มาสืบขาวฝายเราใหพบ

บทที่ 13 สายลับ
แลวทําใหสายลับผูนั้นกลับทํางานใหเรา ดวยความระมัดระวังรอบคอบ ยอมได
สายลับสองหนา เมื่อไดสายลับสองหนา ยอมไดสายลับในพื้นที่ และสายลับใน
ซึ่งจะทําใหฝายเราสามารถสงสายลับที่ยอมตายไปปลอยขาวลวงขาศึก
แมทัพจะตองรูเทาทันสายลับทุกประเภท
โดยปฏิบัติตอสายลับสองหนาอยางอิสระ
____________________

พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 61


ขอคิดจาก พลอากาศเอก จอม รุงสวาง
จากตําราพิชยั สงคราม SUNTZU 13 บทไมตาย เราสามารถนํามาใชกบั การพัฒนา
กองทัพอากาศในปจจุบนั และอนาคตได
โดยผมขอยกตัวอยางเพียงบทที่ 3 เรือ่ ง “นโยบายศึก” เทานัน้ ซึง่ มีขอ ความสําคัญวา
“รบรอยครัง้ ชนะรอยครัง้ ยังมิใชยอด สยบขาศึกไดไมตอ งรบ เปนยอดนักรบ”
นัยยะสําคัญคือ การสงครามนัน้ ถาจะทําใหชนะไดโดยไมเกิดการรบกันจะเปนการดี
ทีส่ ดุ วิธกี ารคิดแบบนีแ้ ปลความได 2 นัยยะ
นัยยะที่ 1 เปนวิถหี รือหนทาง (Ways) หนึง่ ใน “หลักการวางแผนทางยุทธศาสตร” ซึง่
ประกอบดวยจุดมุง หมายสุดทาย (Ends) วิถหี รือหนทาง (Ways) และวิธกี ารหรือเครือ่ งมือ
(Means) ซึง่ เปนหลักการทีก่ องทัพอากาศนํามาใชในการเสริมสรางขีดความสามารถกองทัพ
อากาศในสวนที่เกี่ยวของกับการปฏิบัติการโดยใชเครือขายเปนศูนยกลางเปนหลัก รวมทั้ง
เสริมสรางขีดความสามารถของกองทัพอากาศอีก 10 ดาน ยกตัวอยางเชน ขีดความสามารถดาน
การขาวและความมัน่ คง ขีดความสามารถดานการยุทธ ขีดความสามารถดานการสงกําลังบํารุง
และอืน่ ๆ ใหมศี กั ยภาพและสมรรถนะสูงสุด ดวยความฉลาดรอบคอบ จนทําใหฝา ยตรงขามที่
จะมาทําสงครามดวยเกิดความหวาดหวัน่ ไมกลารุกราน เพราะมองเห็นวา หากเขาทําสงคราม
กับฝายเรา จะตองพายแพกลับไปแนนอน จึงทําใหการทําสงครามไมเกิดขึน้
นัยยะที่ 2 เปนหลักการของผูน าํ ทีม่ วี สิ ยั ทัศน ทีม่ ฝี า ยเสนาธิการทีช่ าญฉลาด ทีส่ ามารถ
ประมาณสถานการณของฝายตนเอง และฝายตรงขามไดกอ นทีจ่ ะทําการศึก ซึง่ เปนการประเมิน
“ผลประโยชน” ทีจ่ ะไดจากการทําศึก และ “ความเสียหาย” ทีเ่ กิดขึน้ โดยตองเปรียบเทียบปจจัย
ทัง้ สองตัวนี้ หากประเมินแลวความเสียหายมีมากเกินผลประโยชนทจ่ี ะไดรบั ก็ไมควรจะทําศึกนัน้
แตหากความเสียหายนอยกวาผลประโยชนทจ่ี ะไดรบั จึงจะทําการศึก ทัง้ นีห้ ากประเมินแลว
การศึกนัน้ จะเกิดความเสียหายมีนอ ยมาก หรือแทบจะไมมี (ซึง่ หมายถึง ชนะได โดยไมตอ งทํา
การศึก) ยอมสงผลใหเกิดผลประโยชนสงู สุดนัน่ เอง
สําหรับบทไมตายอืน่ ๆ อีก 12 บท ขอใหผอู า นลองไปประยุกตใชดว ยตนเอง เหมือน
กับที่ผมเคยประยุกตใชในชีวิตประจําวันและประยุกตใชในกองทัพอากาศ ซึ่งจะตองศึกษา
ประวัตศิ าสตรการสงครามและนําหลักนิยมตาง ๆ มาประกอบในการคิด รวมทัง้ ตองนําเทคโนโลยี
ในยุค 4.0 มาประกอบการพิจารณาดวย
สุดทายนี้ ผมขอใหผอู า นไดรบั ความรู แนวคิด จากตําราพิชยั สงคราม SUNTZU นํา
ไปใชในชีวติ ประจําวันและองคกรตอไป
62 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย
ประวัติผูแปลบทความ
พลอากาศเอก จอม รุงสวาง
ผูบัญชาการทหารอากาศ

ดานการศึกษา ดานการทํางาน
- โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย รุนที่ 10 - พ.ศ.2526 ศิษยการบิน โรงเรียนการบิน
- โรงเรียนเตรียมทหาร รุนที่ 16 - พ.ศ.2527 นักบินประจําหมวดบิน 2
- โรงเรียนนายเรืออากาศ รุนที่ 23 ฝายยุทธการ ฝูงบิน 101 กองบิน 1
- โรงเรียนนายรอยรวม ประเทศญี่ปุน รุนที่ 26 - พ.ศ.2531 นายทหารการฝก ฝายยุทธการ
- โรงเรียนนายทหารชั้นผูบังคับฝูง รุนที่ 64 ฝูงบิน 102 กองบิน 1
- โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุนที่ 36 - พ.ศ.2536 นายทหารฝายเสนาธิการ กองฝก
- โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ (ญี่ปุน) รุนที่ 41 ภาคอากาศ กรมยุทธการทหารอากาศ
- วิทยาลัยการทัพอากาศ (ญี่ปุน) รุนที่ 40 - พ.ศ.2539 รองผูอํานวยการกองวิจัยและ
- วิทยาลัยปองกันราชอาณาจักร รุนที่ 54 พัฒนาการรบ กรมยุทธการทหารอากาศ
- สถาบันวิทยาการพลังงาน รุนที่ 5 - พ.ศ.2541 รองผูอํานวยการกองการศึกษา
- หลักสูตรการกํากับดูแลกิจการสําหรับกรรมการ วิทยาลัยการทัพอากาศ ฯ
และผูบริหารระดับสูงของรัฐวิสาหกิจและองคกร - พ.ศ.2544 ผูอํานวยการกองนโยบายและแผน
มหาชน รุนที่ 15 กรมขาวทหารอากาศ
- พ.ศ.2548 นายทหารฝายเสนาธิการ
ราชการพิเศษที่สําคัญ ประจํากรมขาวทหารอากาศ
- ตุลาการศาลทหารสูงสุด - พ.ศ.2549 รองเจากรมขาวทหารอากาศ
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแหงชาติ - พ.ศ.2550 รองผูบัญชาการโรงเรียนเสนาธิการ
- สมาชิกสภากลาโหม ทหารอากาศ
- ประธานกรรมการ บริษัท อุตสาหกรรมการบิน - พ.ศ.2551 ผูบัญชาการโรงเรียนเสนาธิการ
จํากัด ทหารอากาศ
- กรรมการ บริษัท ทาอากาศไทย จํากัด (มหาชน) - พ.ศ.2552 เจากรมยุทธการทหารอากาศ
- กรรมการ บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน) - พ.ศ.2555 ผูชวยเสนาธิการทหารอากาศ
ฝายยุทธการ
- พ.ศ.2556 รองเสนาธิการทหารอากาศ
- พ.ศ.2557 เสนาธิการทหารอากาศ
- พ.ศ.2559 ผูบัญชาการทหารอากาศ

พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 63


คณะทํางานจัดทําหนังสือ "ตําราพิชัยสงคราม ซุนวู"
1. พลอากาศตรี สุพจน เตาทอง
2. นาวาอากาศเอก กฤษฎา ทับเทศ
3. นาวาอากาศเอก สุธี รักชาติ
4. นาวาอากาศเอก อภิชาติ นาถนิติธาดา
5. นาวาอากาศเอก พิเชษฐ เกษม
6. นาวาอากาศเอก กฤศนิน จันทนา
7. นาวาอากาศโท สําราญ ชอบใจ
8. นาวาอากาศโท พีรวัส ใจหวัง
9. นาวาอากาศโทหญิง อรุณี ผาดไธสง
10. นาวาอากาศโท ถาวร อรัญญะ
11. นาวาอากาศโท นรากร นอยสุวรรณ
12. จาอากาศเอก วุฒิชัย ยืนยาว

รูปภาพจากเว็บไซตที่เกี่ยวของ
- http://suntzuthai.blogspot.com/?view=snapshot
- https://es.pngtree.com/freepng/ink_1170796.html
- https://th.pngtree.com/freepng/chinese-ink-painting-
mountains_1633222.html
- https://dixiao.org
- http://m.588ku.com/sucai/2852415.html

64 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย


บันทึก ...................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................

พลอากาศเอก จอม รุงสวาง ผูบัญชาการทหารอากาศ 65


บันทึก ...................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................

66 ตําราพิชัยสงครามซุนวู (SUNTZU) 13 บทไมตาย

You might also like