You are on page 1of 69

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 45

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความเท่ากันทุกประการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2


เรื่อง ความเท่ากันทุกประการของรูปเรขาคณิต เวลา 1 ชั่วโมง

สาระสาคัญ/ความคิดรวบยอด
รูปเรขาคณิตสองรูปเท่ากันทุกประการ ก็ต่อเมื่อ นารูปเรขาคณิตรูปหนึ่งไปทับอีกรูปหนึ่งได้สนิทพอดี ส่วน
ของเส้นตรงสองเส้นเท่ากันทุกประการ ก็ต่อเมื่อ ส่วนของเส้นตรงทั้งสองเส้นนั้นยาวเท่ากัน มุมสองมุมเท่ากันทุก
ประการ ก็ต่อเมื่อ มุมทั้งสองนั้นมีขนาดเท่ากัน รูปวงกลมสองรูปเท่ากันทุกประการ ก็ต่อเมื่อ รูปวงกลมทั้งสองรูป
นั้น จะต้องมีรัศมียาวเท่ากัน ซึ่งใช้  เป็นสัญลักษณ์แสดง ความเท่ากันทุกประการ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้
ตัวชี้วัด ค 3.2 ม.2/1 ใช้สมบัติเกี่ยวกับความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมและสมบัติ
ของเส้นขนานในการให้เหตุผลและแก้ปัญหา
ค 6.1 ม.1-3/1 ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
ม.1-3/2 ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีใน
การแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
ม.1-3/3 ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
ม.1-3/4 ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย
และการนาเสนอได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
ม.1-3/5 เชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ในคณิตศาสตร์ และนาความรู้ หลักการ กระบวนการ
ทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆ
ม.1-3/6 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
จุดประสงค์การเรียนรู้
1) บอกเงื่อนไขที่ทาให้รูปสองรูปเท่ากันทุกประการได้
2) บอกสมบัติของความเท่ากันทุกประการได้
สาระการเรียนรู้
1. สาระการเรียนรู้แกนกลาง
- ด้านและมุมคู่ที่มีขนาดเท่ากันของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการ
2. สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
สมรรถนะสาคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
1) ทักษะการคิดวิเคราะห์
2) ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเชื่อมโยง
3) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทางาน

กิจกรรมการเรียนรู้
(วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ : เทคนิคการต่อเรื่องราว (Jigsaw))
1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ของบทเรียนนี้ให้นักเรียนทราบ
2. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับ ความเท่ากันทุกประการ เช่น เหรียญ 5 บาท สองเหรียญ เมื่อนามา
ซ้อนกันจะทับกันได้สนิทหรือไม่ แล้วให้นักเรียนลองนาเหรียญที่มีอยู่ลองวางทับกัน แล้วสังเกตว่าซ้อน
กันได้สนิทหรือไม่
3. ครูสาธิตการเคลื่อนที่ของรูปสองรูป ว่าเคลื่อนไปทับกันได้สนิทพอดี โดยใช้โปรแกรม The
Geometer’s Sketchpad ที่ครูสร้างขึ้น และให้นักเรียนสังเกตว่าในแต่ละรูปนั้นเคลื่อนที่ไปทับกันใน
ลักษณะใด
4. ครูแจกรูปเรขาคณิตที่ครูสร้างขึ้นให้นักเรียน คนละ 1 รูป (แต่ละรูปมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น
รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
รูปหกเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว) แล้วให้นักเรียนแต่ละคนพับครึ่งรูปตามแกนสมมาตร
5. ครูให้นักเรียนแต่ละคนสังเกตว่า รูปสองรูปที่ได้มีลักษณะอย่างไร และมีด้านและมุมใดเท่ากันบ้าง ให้
นักเรียนแต่ละคนเขียนบันทึกลงในสมุด
6. ครูอธิบายเพิ่มเติมว่า การที่รูปสองรูปใดๆ เคลื่อนไปทับกันได้สนิทพอดี จะเรียกว่า รูปสองรูปนั้นเท่ากัน
ทุกประการ และใช้สัญลักษณ์ “  ” แทนคาว่า เท่ากันทุกประการ
7. ครูให้นักเรียนทุกคนในห้องช่วยกันยกตัวอย่างความเท่ากันที่พบเห็นในชีวิตประจาวัน
(ถ้านักเรียนนึกไม่ออก ครูก็ยกตัวอย่างให้เห็น เช่น ภาพถ่าย รูปที่ได้จากการถ่ายเอกสาร)
8. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน โดยคละกันตามความสามารถ แล้วให้แต่ละกลุ่มเลือกประธาน
และเลขานุการกลุ่ม ซึ่งเรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มบ้าน
9. นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมารับใบความรู้และแจกให้สมาชิกในกลุ่ม คนละ 1 ใบความรู้ ดังนี้
- คนที่ 1 รับใบความรู้ เรื่อง รูปสองรูปเท่ากันทุกประการ
- คนที่ 2 รับใบความรู้ เรื่อง ส่วนของเส้นตรงสองเส้นเท่ากันทุกประการ
- คนที่ 3 รับใบความรู้ เรื่อง มุมสองมุมเท่ากันทุกประการ
- คนที่ 4 รับใบความรู้ เรื่อง เส้นตรงสองเส้นตัดกัน
- คนที่ 5 รับใบความรู้ เรื่อง รูปวงกลมสองรูปเท่ากันทุกประการ
10. ครูให้นักเรียนที่ได้รับใบความรู้ชุดเดียวกัน แยกไปรวมกลุ่มกันเพื่อศึกษาและทาความเข้าใจเนื้อหา เรียก
กลุ่มนี้ว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ให้นักเรียนซักถามกันจนเกิดความเข้าใจ หากไม่เข้าใจสามารถถามครูได้
11. เมื่อศึกษาจนเข้าใจ แล้วให้สมาชิกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลับเข้ากลุ่มเดิม (กลุ่มบ้าน) แล้วอธิบายให้สมาชิกใน
กลุ่มบ้านเข้าใจในสิ่งที่ตนเองไปศึกษามา
12. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามข้อสงสัย
13. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับ ความเท่ากันทุกประการว่า “รูปสองรูปเท่ากันทุกประการ
เมื่อสามารถนารูปหนึ่งทับอีกรูปหนึ่งได้สนิทพอดี”

การวัดและประเมินผล
วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์
ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบก่อนเรียน ร้อยละ 50 ผ่านเกณฑ์
สังเกตพฤติกรรมการทางาน แบบสังเกตพฤติกรรมการทางาน ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
รายบุคคล รายบุคคล
สังเกตพฤติกรรมการทางานกลุ่ม แบบสังเกตพฤติกรรมการทางานกลุ่ม ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
สือ่ /แหล่งการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้
1. หนังสือเรียน คณิตศาสตร์ ม.2 เล่ม 1
2. รูปภาพ และรูปเรขาคณิตแบบต่างๆ
3. โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad
4. ใบความรู้ เรื่อง รูปสองรูปเท่ากันทุกประการ
5. ใบความรู้ เรื่อง ส่วนของเส้นตรงสองเส้นเท่ากันทุกประการ
6. ใบความรู้ เรื่อง มุมสองมุมเท่ากันทุกประการ
7. ใบความรู้ เรื่อง เส้นตรงสองเส้นตัดกัน
8. ใบความรู้ เรื่อง รูปวงกลมสองรูปเท่ากันทุกประการ
แหล่งการเรียนรู้
1. ห้องสมุด 2. แหล่งข้อมูลสารสนเทศ http://www.kanid.com/
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 46

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความเท่ากันทุกประการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2


เรื่อง ความเท่ากันทุกประการของรูปเรขาคณิต เวลา 1 ชั่วโมง

สาระสาคัญ/ความคิดรวบยอด
รูปเรขาคณิตสองรูปเท่ากันทุกประการ ก็ต่อเมื่อ นารูปเรขาคณิตรูปหนึ่งไปทับอีกรูปหนึ่งได้สนิทพอดี ส่วน
ของเส้นตรงสองเส้นเท่ากันทุกประการ ก็ต่อเมื่อ ส่วนของเส้นตรงทั้งสองเส้นนั้นยาวเท่ากัน มุมสองมุมเท่ากันทุก
ประการ ก็ต่อเมื่อ มุมทั้งสองนั้นมีขนาดเท่ากัน รูปวงกลมสองรูปเท่ากันทุกประการ ก็ต่อเมื่อ รูปวงกลมทั้งสองรูป
นั้น จะต้องมีรัศมียาวเท่ากัน ซึ่งใช้  เป็นสัญลักษณ์แสดง ความเท่ากันทุกประการ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้
ตัวชี้วัด ค 3.2 ม.2/1 ใช้สมบัติเกี่ยวกับความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมและสมบัติ
ของเส้นขนานในการให้เหตุผลและแก้ปัญหา
ค 6.1 ม.1-3/1 ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
ม.1-3/2 ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีใน
การแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
ม.1-3/3 ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
ม.1-3/4 ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย
และการนาเสนอได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
ม.1-3/5 เชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ในคณิตศาสตร์ และนาความรู้ หลักการ กระบวนการ
ทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆ
ม.1-3/6 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
จุดประสงค์การเรียนรู้
1) บอกเงื่อนไขที่ทาให้รูปสองรูปเท่ากันทุกประการได้
2) บอกสมบัติของความเท่ากันทุกประการได้
สาระการเรียนรู้
1. สาระการเรียนรู้แกนกลาง
- ด้านและมุมคู่ที่มีขนาดเท่ากันของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการ
2. สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
สมรรถนะสาคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
1) ทักษะการคิดวิเคราะห์
2) ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเชื่อมโยง
3) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทางาน

กิจกรรมการเรียนรู้
(วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ : เทคนิคการต่อเรื่องราว (Jigsaw))

1. ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับ ความเท่ากันทุกประการของรูปสองรูป
2. ครูให้นักเรียนรวมกลุ่มกันตามกลุ่มเดิม (กลุ่มบ้าน) แล้วให้นักเรียนในกลุ่มเปลี่ยนกันอธิบายความรู้ที่
ได้รับจากใบความรู้ที่ตนเองไปศึกษามาให้สมาชิกในกลุ่มฟัง จนครบทุกเรื่อง
3. สมาชิกในกลุ่มซักถามและทาความเข้าใจร่วมกันจนทุกคนเกิดความเข้าใจ
4. ครูให้นักเรียนส่งตัวแทนออกมาจับสลากว่า กลุ่มใดจะได้ทาใบงานอะไร (ใบงานที่ 1.1-1.5) เมื่อได้แล้ว
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มระดมความคิดช่วยกันทาใบงาน (อาจมีกลุ่มที่ได้ใบงานเดียวกัน)
5. นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมาอภิปรายความรู้เกี่ยวกับใบงานที่ 1.1-1.5 ที่ได้รับ เสร็จแล้วครูอธิบาย
เพิ่มเติม
6. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามข้อสงสัย
7. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับ การเท่ากันทุกประการ จนได้ว่า
1) รูปสองรูปเท่ากันทุกประการ เมื่อสามารถนารูปหนึ่งทับอีกรูปหนึ่งได้สนิทพอดี
2) ส่วนของเส้นตรงสองเส้นเท่ากันทุกประการ เมื่อส่วนของเส้นตรงสองเส้นนั้นยาวเท่ากัน
3) มุมสองมุมเท่ากันทุกประการ เมื่อมุมทั้งสองนั้นมีขนาดเท่ากัน
4) ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน มุมตรงข้ามจะมีขนาดเท่ากัน
5) รูปวงกลมสองรูปเท่ากันทุกประการ เมื่อรูปวงกลมทั้งสองมีรัศมียาวเท่ากัน
8. ครูให้นักเรียนทาแบบตรวจสอบความเข้าใจที่ 6.1 ข้อ 1-2 จากหนังสือเรียน เป็นการบ้าน
แล้วนามาส่งครูในการเรียนครั้งต่อไป

การวัดและประเมินผล
วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์
ตรวจใบงานที่ 1.1 ใบงานที่ 1.1 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
ตรวจใบงานที่ 1.2 ใบงานที่ 1.2 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
ตรวจใบงานที่ 1.3 ใบงานที่ 1.3 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
ตรวจใบงานที่ 1.4 ใบงานที่ 1.4 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
ตรวจใบงานที่ 1.5 ใบงานที่ 1.5 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
สังเกตพฤติกรรมการทางาน แบบสังเกตพฤติกรรมการทางาน ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
รายบุคคล รายบุคคล
สังเกตพฤติกรรมการทางานกลุ่ม แบบสังเกตพฤติกรรมการทางานกลุ่ม ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
สือ่ /แหล่งการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้
1. หนังสือเรียน คณิตศาสตร์ ม.2 เล่ม 1
2. รูปภาพ และรูปเรขาคณิตแบบต่างๆ
3. โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad
4. ใบงานที่ 1.1 เรื่อง ถูกหรือผิด
5. ใบงานที่ 1.2 เรื่อง ความยาวของรูปกับการเท่ากันทุกประการ
6. ใบงานที่ 1.3 เรื่อง พื้นที่กับการเท่ากันทุกประการ
7. ใบงานที่ 1.4 เรื่อง ขนาดของมุมกับการเท่ากันทุกประการ
8. ใบงานที่ 1.5 เรื่อง รูปสองรูปเท่ากันทุกประการ
แหล่งการเรียนรู้
1. ห้องสมุด
2. แหล่งข้อมูลสารสนเทศ http://www.kanid.com/
ใบความรู้ เรื่อง รูปสองรูปเท่ากันทุกประการ

บทนิยาม รูปสองรูปเท่ากันทุกประการ เมื่อสามารถนารูปหนึ่งทับอีกรูปหนึ่ง


ได้สนิทพอดี

รูป A รูป B

เมื่อ รูป A และ รูป B เท่ากันทุกประการ


จะเขียนว่า รูป A  รูป B
อ่านว่า รูป A เท่ากันทุกประการกับ รูป B
สัญลักษณ์  แทนคาว่า “เท่ากันทุกประการกับ”

ตัวอย่าง

รูป 1 รูป 2

ถ้าเคลื่อนที่ รูป 1 ไปทับ รูป 2 ได้สนิทพอดี


จะได้ว่า รูป 1 เท่ากันทุกประการกับ รูป 2
สัญลักษณ์ รูป 1  รูป 2

รูป ก รูป ข

ถ้าเคลื่อนที่ รูป ก ไปทับ รูป ข ได้สนิทพอดี


จะได้ว่า รูป ก เท่ากันทุกประการกับ รูป ข
สัญลักษณ์ รูป ก  รูป ข
ใบความรู้ เรื่อง ส่วนของเส้นตรงสองเส้นเท่ากันทุกประการ

บทนิยาม ส่วนของเส้นตรงสองเส้นจะเท่ากันทุกประการ เมื่อส่วนของเส้นตรง


ทั้งสองนั้นยาวเท่ากัน

A B C D

จากรูป AB เท่ากันทุกประการ กับ CD เขียนว่า AB  CD

แล้วจะได้ว่า mAB  mCD  หรือ AB  CD

และถ้า mAB  mCD  แล้วจะได้ว่า AB  CD


ใบความรู้ เรื่อง มุมสองมุมเท่ากันทุกประการ

บทนิยาม มุมสองมุมจะเท่ากันทุกประการ ก็ต่อเมื่อ มุมทั้งสองนั้นมีขนาดเท่ากัน

E
B

A D F
C

   
ถ้า BAC  E D F แล้วจะได้ว่า m B A C   m E D F 
   
 
หรือ BAC  E D F

   
และถ้า m B A C   m E D F  หรือ BAC  E D F
   
 
หรือ B A C  EDF
ใบความรู้ เรื่อง เส้นตรงสองเส้นตัดกัน

บทนิยาม ถ้าเส้นตรงสองเส้นตัดกัน มุมตรงข้ามจะมีขนาดเท่ากัน

D
A

1
4 2
O
3
C B

 
ถ้า AB ตัดกับ CD ที่จุด O ดังรูป

 
จากรูป มุม AOD กับ มุม DOB เรียกว่า มุมประชิด
 
มุม AOD กับ มุม COB เรียกว่า มุมตรงข้าม
 
และ มุม DOB กับ มุม AOC เรียกว่า มุมตรงข้าม

   
ดังนั้น 1  3 และ 2  4
ใบความรู้ เรื่อง รูปวงกลมสองรูปเท่ากันทุกประการ

บทนิยาม รูปวงกลมสองรูปเท่ากันทุกประการ เมื่อรูปวงกลมทั้งสองมีรัศมียาวเท่ากัน

รูป A รูป B

รูปวงกลม A  รูปวงกลม B

สรุป เกี่ยวกับความเท่ากันทุกประการ ได้ดังนี้

1. สมบัติสะท้อน สาหรับรูป A ใดๆ


รูป A  รูป A
2. สมบัติการสมมาตร สาหรับรูป A และรูป B ใดๆ
รูป A  รูป B จะได้ว่า รูป B  รูป A
3. สมบัติถ่ายทอด สาหรับรูป A รูป B และรูป C ใดๆ
รูป A  รูป B และ รูป B  รูป C
จะได้ รูป A  รูป C
ใบงานที่ 1.1 เรื่อง ถูกหรือผิด

คาชี้แจง ทาเครื่องหมาย  หน้าข้อที่เป็นจริง และเครื่องหมาย  หน้าข้อที่เป็นเท็จ พร้อมยกตัวอย่าง


ประกอบ โดยข้อใดที่ถูกให้ยกตัวอย่างที่ถูก และข้อใดผิดให้ยกตัวอย่างที่ผิด

………… 1.ถ้ารูป A กับ รูป B เท่ากันทุกประการ และรูป B กับ รูป C เท่ากันทุกประการ แล้ว รูป A
กับรูป C ต้องเท่ากันทุกประการด้วย

ตัวอย่าง

………… 2. รูปวงกลมสองรูปที่มีรัศมีไม่เท่ากัน รูปวงกลมทั้งสองนี้จะไม่เท่ากันทุกประการ


ตัวอย่าง

…..….. …3. ส่วนของเส้นตรงสองเส้นตัดกัน จะเกิดมุมตรงข้ามที่มีขนาดไม่เท่ากัน


ตัวอย่าง

………….4. ส่วนของเส้นตรงสองเส้นตัดกัน จะเกิดมุมประชิดรวมกันได้ 360 องศา


ตัวอย่าง

……….....5. ส่วนของเส้นตรงสองเส้นยาวเท่ากัน ส่วนของเส้นตรงทั้งสองจะเท่ากันทุกประการ


ตัวอย่าง
ใบงานที่ 1.2 เรื่อง ความยาวของรูปกับการเท่ากันทุกประการ

คาชี้แจง อ่านข้อมูลที่กาหนดให้ แล้วอธิบายและวาดรูปประกอบ

รูปสามเหลี่ยมสองรูป มีความยาวรอบรูปเท่ากัน รูปสามเหลี่ยมสองรูปนี้ จะเท่ากัน


ทุกประการหรือไม่ ให้นักเรียนเขียนอธิบาย พร้อมทั้งวาดรูปประกอบ

(วาดรูป)
ใบงานที่ 1.3 เรื่อง พื้นที่กับการเท่ากันทุกประการ

คาชี้แจง อ่านข้อมูลที่กาหนดให้ แล้วอธิบายและวาดรูปประกอบ

รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีพื้นที่เท่ากัน จะเท่ากันทุกประการหรือไม่
ให้นักเรียนเขียนอธิบาย พร้อมทั้งวาดรูปประกอบ

(วาดรูป)

ใบงานที่ 1.4 เรื่อง ขนาดของมุมกับการเท่ากันทุกประการ


คาชี้แจง อ่านข้อมูลที่กาหนดให้ แล้วอธิบายและวาดรูปประกอบ

รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีขนาดของมุมเท่ากันสามคู่ รูปสามเหลี่ยมสองรูปนี้
จะเท่ากันทุกประการหรือไม่ ให้นักเรียนเขียนอธิบาย พร้อมทั้งวาดรูปประกอบ

(วาดรูป)

ใบงานที่ 1.5 เรื่อง รูปสองรูปเท่ากันทุกประการ


คาชี้แจง รูปคู่ใดต่อไปนี้เท่ากันทุกประการ (ตรวจสอบโดยใช้กระดาษลอกลาย)

A B
C

D E F

G H

L
J K

ตอบ

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 47

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความเท่ากันทุกประการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2


เรื่อง ความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม เวลา 2 ชั่วโมง

สาระสาคัญ/ความคิดรวบยอด
รูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการ ก็ต่อเมื่อ ด้านคู่ที่สมนัยกันและมุมคู่ที่สมนัยกันของ
รูปสามเหลี่ยมทั้งสองรูปนั้น มีขนาดเท่ากันเป็นคู่ๆ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้
ตัวชี้วัด ค 3.2 ม.2/1 ใช้สมบัติเกี่ยวกับความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมและสมบัติ
ของเส้นขนานในการให้เหตุผลและแก้ปัญหา
ค 6.1 ม.1-3/1 ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
ม.1-3/2 ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในการ
แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
ม.1-3/3 ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
ม.1-3/4 ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย
และการนาเสนอได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
ม.1-3/5 เชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ในคณิตศาสตร์ และนาความรู้ หลักการ กระบวนการ
ทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆ
ม.1-3/6 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
จุดประสงค์การเรียนรู้
1) บอกได้ว่ารูปสามเหลี่ยมสองรูปใดเท่ากันทุกประการ พร้อมทั้งบอกเหตุผลได้
2) บอกด้านคู่ที่ยาวเท่ากันและมุมคู่ที่มีขนาดเท่ากันของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากัน
ทุกประการได้
สาระการเรียนรู้
1. สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1) ด้านและมุมคู่ที่มีขนาดเท่ากันของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการ
2) รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ ด้าน-มุม-ด้าน มุม-ด้าน-มุม ด้าน-ด้าน-ด้าน
และมุม-มุม-ด้าน
2. สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
-
สมรรถนะสาคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
1) ทักษะการคิดวิเคราะห์
2) ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเชื่อมโยง
3) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทางาน

กิจกรรมการเรียนรู้ (วิธีสอนแบบกรณีศึกษา)
1. ครูทบทวนเกี่ยวกับบทนิยามของความเท่ากันทุกประการของรูปเรขาคณิต เพื่อนามาใช้สารวจและ
ค้นหาสมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม โดยครูให้นักเรียนแต่ละคนลงมือปฏิบัติโดย
ใช้กระดาษลอกลาย ลอกรูปสามเหลี่ยมรูปหนึ่งไปทับรูปสามเหลี่ยมอีกรูปหนึ่ง
2. ครูใช้คาถามเพื่อเชื่อมโยงให้นักเรียนเห็นว่า การตรวจสอบความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม
สองรูปโดยการลอกลาย ต้องตรวจสอบความเท่ากัน ดังนี้
- ด้านที่สมนัยกัน 3 คู่ แต่ละคู่ยาวเท่ากันหรือไม่
- มุมคู่ที่สมนัยกัน 3 คู่ แต่ละคู่มีขนาดเท่ากันหรือไม่
3. ครูสร้างรูปสามเหลี่ยมบนกระดานดาให้นักเรียนช่วยกันพิจารณา และบอกว่าประกอบด้วยส่วนของ
เส้นตรงกี่เส้น จุดยอดกี่จุด
4. ครูสร้างรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการสองรูปบนกระดาน แล้วอธิบายถึงด้านที่ยาวเท่ากัน
มุมที่มีขนาดเท่ากัน หรือจุดที่ทับกันได้สนิท จะเรียกว่า สมนัยกัน
5. ครูยกตัวอย่าง รูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ ดังนี้
ตัวอย่าง กาหนดให้ ABC  DEF
A E F

B D
C

จากรูป จะได้ว่า AB สมนัยกับ DE นั่นคือ AB  DE


BC สมนัยกับ EF นั่นคือ BC  EF
CA สมนัยกับ FD นัน่ คือ CA  FD
   
ABC สมนัยกับ DEF นั่นคือ ABC  DEF
   
BCA สมนัยกับ EFD นั่นคือ BCA  EFD
   
CAB สมนัยกับ FDE นั่นคือ CAB  FDE
6. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปบทนิยาม ความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม คือ รูปสามเหลี่ยมสองรูป
เท่ากันทุกประการแล้ว ด้านและมุมของรูปสามเหลี่ยมทั้งสองรูปต้องมีขนาดเท่ากันเป็นคู่ๆ กล่าวคือ มี
ด้านที่ยาวเท่ากันสามคู่ (ด้านต่อด้าน) และมุมที่มีขนาดเท่ากันสามคู่ (มุมต่อมุม)
7. ครูนาแผนภูมิเรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการ ให้นักเรียนช่วยกันพิจารณาว่าด้านและมุม
ใดที่มีขนาดเท่ากัน
8. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามข้อสงสัย
9. ครูให้นักเรียนทาใบงานที่ 2.1 เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการ
10. ขณะที่นักเรียนทาใบงานครูเดินตรวจดู ถ้าพบว่านักเรียนคนใดมีปัญหาให้ครูช่วยชี้แนะและแก้ไขให้
ถูกต้อง เมื่อทาเสร็จแล้วให้เปลี่ยนกันตรวจ โดยครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคาตอบของใบงาน
11. ครูให้คาชมเชยนักเรียนที่ทาได้ถูกต้อง ส่วนนักเรียนที่ทาผิดให้แก้ไขโดยครูช่วยอธิบายจนเป็นที่เข้าใจ
12. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับ รูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการว่า
“ถ้ารูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการแล้ว ด้านและมุมของรูปสามเหลี่ยมทั้งสองต้องมีขนาด
เท่ากันเป็นคู่ๆ กล่าวคือ มีด้านที่ยาวเท่ากันสามคู่ (ด้านต่อด้าน) และมีมุมที่มีขนาดเท่ากัน
สามคู่ (มุมต่อมุม)”
13. ครูให้นักเรียนทาแบบตรวจสอบความเข้าใจที่ 6.2 ข้อ 1-2 จากหนังสือเรียน เป็นการบ้าน
แล้วนามาส่งครูในการเรียนครั้งต่อไป

การวัดและประเมินผล

วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์


ตรวจใบงานที่ 2.1 ใบงานที่ 2.1 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
สังเกตพฤติกรรมการทางาน แบบสังเกตพฤติกรรมการทางาน ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
รายบุคคล รายบุคคล

สือ่ /แหล่งการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้
1. หนังสือเรียน คณิตศาสตร์ ม.2 เล่ม 1
2. แผนภูมิ เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการ
3. ใบงานที่ 2.1 เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการ
แหล่งการเรียนรู้
1. ห้องสมุด
2. แหล่งข้อมูลสารสนเทศ
http://www.kanid.com/

แผนภูมิ เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการ


พิจารณารูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการในแต่ละคู่ แล้วบอกว่าด้านและมุมคู่ใดที่สมนัยกัน
และเท่ากัน

D F
A

B C E

P S

O P

B
A O

Y
ใบงานที่ 2.1 เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการ
คาชี้แจง รูปสามเหลี่ยมที่กาหนดให้สองรูปเท่ากันทุกประการ จงบอกด้านและมุมคู่ที่เท่ากัน

A D
1.

B C E F

ด้านคู่ที่เท่ากัน 1)

2)
3)

มุมคู่ที่เท่ากัน 1)
2)
3)

2.
X

Q
Y Z
ด้านคู่ที่เท่ากัน 1)
2)
3)

มุมคู่ที่เท่ากัน 1)
2)
3)

3. S

R T
ด้านคู่ที่เท่ากัน 1)
2)
3)

มุมคู่ที่เท่ากัน 1)
2)
3)

4.
X Y

Z Q

ด้านคู่ที่เท่ากัน 1)

2)
3)

มุมคู่ที่เท่ากัน 1)
2)
3)
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 48

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความเท่ากันทุกประการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2


เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ ด้าน-มุม-ด้าน เวลา 1 ชั่วโมง

สาระสาคัญ/ความคิดรวบยอด
ถ้ารูปสามเหลี่ยมสองรูปใดๆ มีความสัมพันธ์แบบ ด้าน-มุม-ด้าน (ด.ม.ด.) กล่าวคือ มีด้านยาวเท่ากันสองคู่
และมุมในระหว่างด้านคู่ที่ยาวเท่ากัน มีขนาดเท่ากัน แล้วรูปสามเหลี่ยมสองรูปนั้นเท่ากันทุกประการ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้
ตัวชี้วัด ค 3.2 ม.2/1 ใช้สมบัติเกี่ยวกับความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมและสมบัติ
ของเส้นขนานในการให้เหตุผลและแก้ปัญหา
ค 6.1 ม.1-3/1 ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
ม.1-3/2 ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในการ
แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
ม.1-3/3 ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
ม.1-3/4 ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย
และการนาเสนอได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
ม.1-3/5 เชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ในคณิตศาสตร์ และนาความรู้ หลักการ กระบวนการ
ทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆ
ม.1-3/6 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
จุดประสงค์การเรียนรู้
1) บอกได้ว่ารูปสามเหลี่ยมสองรูปใดเท่ากันทุกประการ โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์แบบ
ด้าน-มุม-ด้าน
2) นาสมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ
ด้าน-มุม-ด้าน ไปใช้อ้างอิงในการพิสูจน์ได้
สาระการเรียนรู้
1. สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1) ด้านและมุมคู่ที่มีขนาดเท่ากันของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการ
2) รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ ด้าน-มุม-ด้าน มุม-ด้าน-มุม ด้าน-ด้าน-ด้าน
และมุม-มุม-ด้าน
2. สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น -
สมรรถนะสาคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
1) ทักษะการคิดวิเคราะห์
2) ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเชื่อมโยง
3) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทางาน

กิจกรรมการเรียนรู้
(วิธีสอนแบบบรรยาย และวิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการกลุ่ม)

1. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับ ความเท่ากันทุกประการของรูปสองรูปใดๆ และความเท่ากัน


ทุกประการของรูปสามเหลี่ยม 2 รูป ที่กาหนดให้จากที่ได้เรียนผ่านมา ซึ่งจะต้องตรวจสอบโดยใช้
กระดาษลอกลาย ลอกรูปสามเหลี่ยมรูปหนึ่งไปซ้อนอีกรูปหนึ่ง แล้วดูว่าทับกันสนิทพอดีหรือไม่ ซึ่งเป็น
วิธีที่ไม่สะดวก จึงต้องหาวิธีการที่สะดวกกว่า รวดเร็วกว่า ดังจะเรียนต่อไปนี้
2. ครูให้นักเรียนสร้างรูปสามเหลี่ยมสองรูป ให้มีด้านยาวเท่ากัน 2 คู่ และให้มุมระหว่างด้านที่ยาวเท่ากันมี
ขนาดเท่ากัน โดยครูอธิบายและสาธิตการสร้าง ให้นักเรียนสร้างตามดังตัวอย่างข้างล่าง

A F

B C D E

3. สร้างมุมสองมุมให้มีขนาดเท่ากันก่อน แล้วสร้าง BA ให้ยาวเท่ากับ EF และ BC ให้ยาวเท่ากับ


ED ลาก AC และ FD จะได้รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ ด้าน-มุม-ด้าน
4. นักเรียนตรวจสอบโดยนากระดาษลอกลายมาลอกรูปสามเหลี่ยมรูปใดรูปหนึ่งที่สร้างไปทับกับอีกรูปหนึ่ง
แล้วให้นักเรียนดูว่าทับกันสนิทหรือไม่
5. ครูยกตัวอย่าง การพิสูจน์ว่า รูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการ โดยใช้ความสัมพันธ์แบบด้าน-มุม-
ด้าน ดังนี้
ตัวอย่างที่ 1 จงแสดงว่ารูปสามเหลี่ยม ABC และรูปสามเหลี่ยม PQR เท่ากันทุกประการ
โดยใช้ความสัมพันธ์แบบ ด้าน-มุม-ด้าน

C R

2 ซม. 2 ซม.

60๐ 60๐
B Q
A 4 ซม. P 4 ซม.
วิธีทา จากรูป กาหนดให้ AB = PQ = 4 ซม.
BC = QR = 2 ซม.
∧ ∧
B = Q = 60 
จะได้ว่า ABC  PQR โดยความสัมพันธ์แบบ ด้าน-มุม-ด้าน
ตัวอย่างที่ 2 กาหนดรูปสี่เหลี่ยม ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และ DE = DF
จงให้เหตุผลว่า  ABE  CBF
A B

F C
D
วิธีทา 1. AB = BC (ด้านของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมยาวเท่ากัน)
∧ ∧
2. E A B = F C B (มุมของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมมีขนาดเท่ากัน)
3. DE = DF (โจทย์กาหนดให้)
และ AD = CD (ด้านของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส)
จะได้ AE = CF (สมบัติของการเท่ากัน)
4. ABE  CBF (ด.ม.ด.)
6. ครูให้นักเรียนช่วยกันสรุปให้ได้ว่า รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สร้างขึ้นเท่ากันทุกประการ เพราะสามารถนา
รูปสามเหลี่ยมอีกรูปไปทับกันได้สนิท และครูอธิบายเพิ่มเติมว่า เพื่อความสะดวก
จะกล่าวว่า รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีด้านยาวเท่ากันสองคู่และมุมในระหว่างด้านคู่ที่ยาวเท่ากัน
มีขนาดเท่ากัน เป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีความสัมพันธ์แบบ ด้าน–มุม–ด้าน หรือเขียนแทนด้วย ด.ม.ด.
7. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน (ครูต้องจัดกลุ่มล่วงหน้า) ให้แต่ละกลุ่มศึกษาใบความรู้ เรื่อง
รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์กันแบบ ด้าน-มุม-ด้าน โดยใช้เวลา 10 นาที ให้นักเรียนร่วมกัน
อภิปรายและซักถามกันในกลุ่ม
8. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับใบความรู้เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ
ด้าน-มุม-ด้าน
9. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทาใบงานที่ 3.1 เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ ด้าน-มุม-
ด้าน (1) โดยให้ปรึกษาและซักถามกันภายในกลุ่ม เมื่อทาเสร็จแล้วให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมา
อภิปรายที่หน้าชั้นเรียน
10. ครูและนักเรียนร่วมสรุปผลจากการทาใบงาน ดังนี้ ถ้ารูปสามเหลี่ยมสองรูปใดๆ มีด้านยาวเท่ากันสองคู่
และมุมในระหว่างด้านคู่ที่ยาวเท่ากันมีขนาดเท่ากัน แล้วรูปสามเหลี่ยมสองรูปนั้น จะเท่ากันทุกประการ
12. ครูให้นักเรียนช่วยกันสรุปความสัมพันธ์ของรูปสามเหลี่ยมสองรูปแบบ ด้าน-มุม-ด้าน จนนักเรียนสรุปได้
ดังนี้ “ถ้ารูปสามเหลี่ยมสองรูปใดๆ มีด้านยาวเท่ากันสองคู่และมุมในระหว่างด้านคู่ที่ยาวเท่ากันมีขนาด
เท่ากัน แล้วรูปสามเหลี่ยมสองรูปนั้น จะเท่ากันทุกประการ”
13. ครูให้นักเรียนทาแบบตรวจสอบความเข้าใจที่ 6.3 ก ข้อ 1-2 จากหนังสือเรียน เป็นการบ้าน
แล้วนามาส่งครูในการเรียนครั้งต่อไป

การวัดและประเมินผล
วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์
ตรวจใบงานที่ 3.1 ใบงานที่ 3.1 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
สังเกตพฤติกรรมการทางานรายบุคคล แบบสั ง เกตพฤติ ก รรมการท างาน ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
รายบุคคล
สังเกตพฤติกรรมการทางานกลุ่ม แบบสังเกตพฤติกรรมการทางานกลุ่ม ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

สือ่ /แหล่งการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้
1. หนังสือเรียน คณิตศาสตร์ ม.2 เล่ม 1
2. ใบความรู้ เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ ด้าน-มุม-ด้าน
3. ใบงานที่ 3.1 เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ ด้าน-มุม-ด้าน (1)
แหล่งการเรียนรู้
1. ห้องสมุด 2. แหล่งข้อมูลสารสนเทศ http://www.kanid.com/
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 49

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความเท่ากันทุกประการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2


เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ ด้าน-มุม-ด้าน เวลา 1 ชั่วโมง

สาระสาคัญ/ความคิดรวบยอด
ถ้ารูปสามเหลี่ยมสองรูปใดๆ มีความสัมพันธ์แบบ ด้าน-มุม-ด้าน (ด.ม.ด.) กล่าวคือ มีด้านยาวเท่ากันสองคู่
และมุมในระหว่างด้านคู่ที่ยาวเท่ากัน มีขนาดเท่ากัน แล้วรูปสามเหลี่ยมสองรูปนั้นเท่ากันทุกประการ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้
ตัวชี้วัด ค 3.2 ม.2/1 ใช้สมบัติเกี่ยวกับความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมและสมบัติ
ของเส้นขนานในการให้เหตุผลและแก้ปัญหา
ค 6.1 ม.1-3/1 ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
ม.1-3/2 ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในการ
แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
ม.1-3/3 ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
ม.1-3/4 ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย
และการนาเสนอได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
ม.1-3/5 เชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ในคณิตศาสตร์ และนาความรู้ หลักการ กระบวนการ
ทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆ
ม.1-3/6 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
จุดประสงค์การเรียนรู้
1) บอกได้ว่ารูปสามเหลี่ยมสองรูปใดเท่ากันทุกประการ โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์แบบ
ด้าน-มุม-ด้าน
2) นาสมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ
ด้าน-มุม-ด้าน ไปใช้อ้างอิงในการพิสูจน์ได้
สาระการเรียนรู้
1. สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1) ด้านและมุมคู่ที่มีขนาดเท่ากันของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการ
2) รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ ด้าน-มุม-ด้าน มุม-ด้าน-มุม ด้าน-ด้าน-ด้าน
และมุม-มุม-ด้าน
2. สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
สมรรถนะสาคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
1) ทักษะการคิดวิเคราะห์
2) ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเชื่อมโยง
3) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทางาน

กิจกรรมการเรียนรู้
(วิธีสอนแบบบรรยาย และวิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการกลุ่ม)
1. ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับ ความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ ด้าน-
มุม-ด้าน
2. ครูฝึกการให้เหตุผลแบบนิรนัยด้วยการพิสูจน์อย่างเป็นแบบแผน โดยฝึกให้นักเรียนอ่านและทาความ
เข้าใจโจทย์ปัญหา ด้วยการพิจารณาว่าโจทย์กาหนดอะไร ให้อะไรมาบ้าง และโจทย์ต้องการพิสูจน์อะไร
โดยการนามาเขียนแสดงใน “กาหนดให้” และ “ต้องการพิสูจน์ว่า”โดยครูใช้วิธีถามตอบ ดังนี้
วิธีทา
∧ ∧
กาหนดให้ ABC เป็นรูปสามเหลี่ยมที่มี AB = CB ต้องการพิสูจน์ว่า C A B = AC B
∧ ∧
1) โจทย์ต้องการพิสูจน์อะไร ( C A B = AC B )
∧ ∧
2) ถ้าจะให้ C A B = AC B จะต้องพยายามพิสูจน์อย่างไร (พิสูจน์ให้รูปสามเหลี่ยมสองรูป เท่ากัน
ทุกประการ)
3) มีรูปสามเหลี่ยมหรือยัง (ยังไม่มี)
4) จะสร้างอย่างไร (ลาก BD แบ่งครึ่ง ABC พบ AC ที่จุด D)
จะพิสูจน์ให้รูปสามเหลี่ยมคู่ใดเท่ากัน ( ABD   BDC)
B

A D C
5) ถ้าจะให้รูปสามเหลี่ยมสองรูปนี้เท่ากันทุกประการ จะต้องมีอะไรเท่ากันบ้าง
∧ ∧
( AB = CB , A B D = D B C , BD = BD )
3. ครูให้นักเรียนทาใบงานที่ 3.2 เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ ด้าน-มุม-ด้าน (2)
เป็นการบ้าน แล้วนามาส่งครูในการเรียนครั้งต่อไป

การวัดและประเมินผล
วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์
ตรวจใบงานที่ 3.2 ใบงานที่ 3.2 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
สังเกตพฤติกรรมการทางานรายบุคคล แบบสั ง เกตพฤติ ก รรมการท างาน ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
รายบุคคล
สังเกตพฤติกรรมการทางานกลุ่ม แบบสังเกตพฤติกรรมการทางานกลุ่ม ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

สือ่ /แหล่งการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้
1. หนังสือเรียน คณิตศาสตร์ ม.2 เล่ม 1
2. ใบงานที่ 3.2 เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ ด้าน-มุม-ด้าน (2)
แหล่งการเรียนรู้
1. ห้องสมุด
2. แหล่งข้อมูลสารสนเทศ http://www.kanid.com/
ใบความรู้ เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ ด้าน–มุม–ด้าน

คาชี้แจง 1. ให้นักเรียนศึกษาตัวอย่างให้เข้าใจ
2. นาความรู้ที่ได้รับไปใช้แก้ปัญหาในการทาแบบฝึกหัดหรือใบงาน

ตัวอย่าง กาหนดให้ ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และ R เป็นจุดกึ่งกลางของ AB จงหาว่า


รูปสามเหลี่ยม ADR และรูปสามเหลี่ยม BCR เท่ากันทุกประการหรือไม่ เพราะเหตุใด

วิธีทา
D C

A R B

เท่ากันทุกประการ เนื่องจาก
1. AD = BC (สมบัติของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส)
∧ ∧
2. D A R = C B R = 90 ๐ (สมบัติของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส)
3. AR = BR (กาหนดให้ R เป็นจุดกึ่งกลางของ BC )
ดังนั้น ADR  BCR (ด.ม.ด.)
ใบงานที่ 3.1 เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์
แบบ ด้าน–มุม–ด้าน (1)
คาชี้แจง พิจารณาว่ารูปสามเหลี่ยมสองรูปมีความสัมพันธ์แบบ ด้าน-มุม-ด้าน ใช่หรือไม่ และเท่ากัน
ทุกประการแบบ ด้าน-มุม-ด้าน หรือไม่ แล้วทาเครื่องหมาย  ลงในช่องที่ต้องการ
รูปสามเหลี่ยมสองรูป
ความสัมพันธ์แบบ
เท่ากันทุกประการแบบ
ข้อ ด้ า น-มุ ม -ด้ า น
ด้าน-มุม-ด้าน
ใช่ ไม่ใช่ เท่ากัน ไม่เท่ากัน
1)

2)

3)

4)
รูปสามเหลี่ยมสองรูป
ความสัมพันธ์แบบ
เท่ากันทุกประการแบบ
ข้อ ด้าน-มุม-ด้าน
ด้าน-มุม-ด้าน
ใช่ ไม่ใช่ เท่ากัน ไม่เท่ากัน
5)

6)
ใบงานที่ 3.2 เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์
แบบ ด้าน–มุม–ด้าน (2)

คาชี้แจง ให้นักเรียนพิสูจน์ว่า รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่กาหนดให้เท่ากันทุกประการหรือไม่


D C  
1) กาหนดให้ AD = CB และ D A C = B C A
จงหาว่า รูปสามเหลี่ยม ADC และรูป
สามเหลี่ยม CBA เท่ากันทุกประการหรือไม่
เพราะเหตุใด
A B

2) A
กาหนดให้รูปสามเหลี่ยม ABC และ
รูปสามเหลี่ยม ABD เท่ากันทุกประการ
AC  AD หรือไม่ เพราะเหตุใด

B
C D
 
3) A กาหนดให้ A B C  A B D และ BC  BD
จงให้เหตุผลว่า เพราะเหตุใด AC และ AD
จึงยาวเท่ากัน

B
C D

4)
D C กาหนดให้เส้นทแยงมุม BD และ AC
ของรูปสี่เหลี่ยม ABCD แบ่งครึ่งซึ่งกัน
P และตัดกันที่จุด P จงอธิบายว่า เพราะเหตุใด
A
ด้านต่อไปนี้จึงเท่ากัน
B
(1) AB  CD
(2) AD  CB
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 50

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความเท่ากันทุกประการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2


เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ มุม-ด้าน-มุม เวลา 1 ชั่วโมง

สาระสาคัญ/ความคิดรวบยอด
ถ้ารูปสามเหลี่ยมสองรูปใดๆ ที่มีความสัมพันธ์แบบ มุม-ด้าน-มุม (ม.ด.ม.) กล่าวคือ มีมุมที่มีขนาดเท่ากัน
สองคู่ และด้านซึ่งเป็นแขนร่วมของมุมทั้งสองยาวเท่ากัน แล้วรูปสามเหลี่ยมสองรูปนั้นจะเท่ากัน
ทุกประการ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้
ตัวชี้วัด ค 3.2 ม.2/1 ใช้สมบัติเกี่ยวกับความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมและสมบัติ
ของเส้นขนานในการให้เหตุผลและแก้ปัญหา
ค 6.1 ม.1-3/1 ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
ม.1-3/2 ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในการ
แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
ม.1-3/3 ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
ม.1-3/4 ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย
และการนาเสนอได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
ม.1-3/5 เชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ในคณิตศาสตร์ และนาความรู้ หลักการ กระบวนการ
ทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆ
ม.1-3/6 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
จุดประสงค์การเรียนรู้
1) บอกได้ว่ารูปสามเหลี่ยมสองรูปใดเท่ากันทุกประการ โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์แบบ มุม-
ด้าน-มุม
2) นาสมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ
มุม-ด้าน-มุม ไปใช้อ้างอิงในการพิสูจน์ได้

สาระการเรียนรู้
1. สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1) ด้านและมุมคู่ที่มีขนาดเท่ากันของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการ
2) รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ ด้าน-มุม-ด้าน มุม-ด้าน-มุม ด้าน-ด้าน-ด้าน
และมุม-มุม-ด้าน
2. สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น -

สมรรถนะสาคัญของผู้เรียน
1.ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
1) ทักษะการคิดวิเคราะห์
2) ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเชื่อมโยง
3) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทางาน

กิจกรรมการเรียนรู้
(วิธีสอนแบบบรรยาย และวิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการกลุ่ม)
1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ของบทเรียนนี้ให้นักเรียนทราบ
2. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเพื่อทบทวนความรู้เกี่ยวกับ รูปสองรูปใดๆ เท่ากันทุกประการและรูป
สามเหลี่ยมสองรูปมีความสัมพันธ์แบบ ด้าน-มุม-ด้าน
3. ครูให้นักเรียนสร้างรูปสามเหลี่ยมสองรูปให้มีมุมที่มีขนาดเท่ากันสองคู่และให้ด้านที่เป็นแขนร่วมของมุม
มีขนาดยาวเท่ากัน โดยสร้างพร้อมๆ กับครู ดังนี้

C R

A B P Q

1) สร้างส่วนของเส้นตรงสองเส้นให้ยาวเท่ากัน
2) สร้างมุมที่มีขนาดเท่ากันสองคู่โดยใช้ส่วนของเส้นตรงนี้เป็นแขนร่วมของมุมดังรูป
4. ครูให้นักเรียนทดลองนากระดาษลอกลาย มาลอกรูปสามเหลี่ยมรูปใดรูปหนึ่งที่สร้างไว้ไปทับกับอีกรูป
หนึ่ง แล้วให้ดูว่าทับกันสนิทหรือไม่
5. นักเรียนช่วยกันสรุปให้ได้ว่า รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สร้างขึ้นเท่ากันทุกประการ เพราะสามารถ
นารูปสามเหลี่ยมอีกรูปไปทับกันได้สนิท และครูอธิบายเพิ่มเติมว่า เพื่อความสะดวกจะกล่าวว่า
รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีด้านยาวเท่ากันสองคู่และมุมในระหว่างด้านคู่ที่ยาวเท่ากันมีขนาดเท่ากันเป็นรูป
สามเหลี่ยมที่มีความสัมพันธ์แบบ มุม-ด้าน-มุม หรือเขียนแทนด้วย ม.ด.ม
6. ครูให้นักเรียนร่วมการพิจารณารูปสามเหลี่ยมสองรูปที่ครูกาหนด และครูใช้คาถามกระตุ้น
นักเรียนว่า จากรูปมีด้านและมุมคู่ใดบ้างที่เท่ากัน
C R

55๐ 30๐ 55๐ 30๐


Q
A 5 ซม.
B P 5 ซม.

นักเรียนช่วยกันตอบเกี่ยวกับด้านและมุมที่เท่ากัน ดังนี้
1) AB = PQ = 5 ซม.
∧ ∧
2) C A B = R P Q = 55
∧ ∧
3) C B A = R Q P = 30 
7. ครูอธิบายให้นักเรียนฟังว่า หากรูปสามเหลี่ยม ABC กับรูปสามเหลี่ยม PQR ซึ่งมีขนาดของมุมเท่ากัน
สองคู่ และด้านซึ่งเป็นแขนร่วมของมุมทั้งสองนั้นยาวเท่ากันแล้ว รูปสามเหลี่ยมทั้งสองรูป มี
ความสัมพันธ์แบบ มุม-ด้าน-มุม (ม.ด.ม.) และจะเท่ากันทุกประการ
8. ครูยกตัวอย่าง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ มุม-ด้าน-มุม ดังนี้
 
ตัวอย่างที่ 1 จากรูปที่กาหนดให้ A B O  O C D และด้าน BO = OC จงพิสูจน์ว่า AB = CD
D
B

A C
 
วิธีทา เนื่องจาก 1) A B O  O C D (โจทย์กาหนดให้)
2) BO  OC (โจทย์กาหนดให้)
 
3) A O B  D O C (เป็นมุมตรงข้าม)
4)  ABC  DCO (ม.ด.ม.)
5) AB  CD (รูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการ)

ตัวอย่างที่ 2 จากรูปที่กาหนดให้ จงให้เหตุผลที่ทาให้ ABC  ABD


A B

C D

 
วิธีทา เนื่องจาก 1) B A D  A B C (โจทย์กาหนดให้)
 
2) C A D  D B C (โจทย์กาหนดให้)
   
CA D  BA D  D BC  A BC
 
CA B  DBA (สมบัติการเท่ากัน)
3) AB  AB (เป็นด้านร่วมของ ABC และ ABD)
4)  ABC  ABD (ม.ด.ม.)
9. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามข้อสงสัย
10. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเกี่ยวกับ รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์แบบ มุม-ด้าน-มุม ดังนี้
“ถ้ารูปสามเหลี่ยมสองรูปใดๆ มีความสัมพันธ์แบบ มุม-ด้าน-มุม (ม.ด.ม.) กล่าวคือ มีมุมที่มีขนาด
เท่ากันสองคู่ และด้านซึ่งเป็นแขนร่วมของมุมทั้งสองยาวเท่ากัน แล้วรูปสามเหลี่ยมสองรูปนั้น
จะเท่ากันทุกประการ”
11. ให้นักเรียนทาแบบตรวจสอบความเข้าใจที่ 6.3 ข ข้อ 1-7 จากหนังสือเรียน เป็นการบ้าน
แล้วนามาส่งครูในการเรียนครั้งต่อไป

การวัดและประเมินผล
วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์
สังเกตพฤติกรรมการทางาน แบบสังเกตพฤติกรรมการทางาน ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
รายบุคคล รายบุคคล
สังเกตพฤติกรรมการทางานกลุ่ม แบบสังเกตพฤติกรรมการทางานกลุ่ม ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
สือ่ /แหล่งการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้
1) หนังสือเรียน คณิตศาสตร์ ม.2 เล่ม 1
2) ใบงานที่ 4.1 เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ มุม-ด้าน-มุม (1)
3) ใบงานที่ 4.2 เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ มุม-ด้าน-มุม (2)

แหล่งการเรียนรู้
1) ห้องสมุด
2) แหล่งข้อมูลสารสนเทศ http://www.kanid.com/
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 51

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความเท่ากันทุกประการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2


เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ มุม-ด้าน-มุม เวลา 1 ชั่วโมง

สาระสาคัญ/ความคิดรวบยอด
ถ้ารูปสามเหลี่ยมสองรูปใดๆ ที่มีความสัมพันธ์แบบ มุม-ด้าน-มุม (ม.ด.ม.) กล่าวคือ มีมุมที่มีขนาดเท่ากัน
สองคู่ และด้านซึ่งเป็นแขนร่วมของมุมทั้งสองยาวเท่ากัน แล้วรูปสามเหลี่ยมสองรูปนั้นจะเท่ากัน
ทุกประการ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้
ตัวชี้วัด ค 3.2 ม.2/1 ใช้สมบัติเกี่ยวกับความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมและสมบัติ
ของเส้นขนานในการให้เหตุผลและแก้ปัญหา
ค 6.1 ม.1-3/1 ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
ม.1-3/2 ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในการ
แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
ม.1-3/3 ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
ม.1-3/4 ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย
และการนาเสนอได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
ม.1-3/5 เชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ในคณิตศาสตร์ และนาความรู้ หลักการ กระบวนการ
ทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆ
ม.1-3/6 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
จุดประสงค์การเรียนรู้
1) บอกได้ว่ารูปสามเหลี่ยมสองรูปใดเท่ากันทุกประการ โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์แบบ มุม-
ด้าน-มุม
2) นาสมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ
มุม-ด้าน-มุม ไปใช้อ้างอิงในการพิสูจน์ได้

สาระการเรียนรู้
1. สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1) ด้านและมุมคู่ที่มีขนาดเท่ากันของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการ
2) รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ ด้าน-มุม-ด้าน มุม-ด้าน-มุม ด้าน-ด้าน-ด้าน
และมุม-มุม-ด้าน
2. สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น -

สมรรถนะสาคัญของผู้เรียน
1.ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
1) ทักษะการคิดวิเคราะห์
2) ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเชื่อมโยง
3) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทางาน

กิจกรรมการเรียนรู้
(วิธีสอนแบบบรรยาย และวิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการกลุ่ม)
1. ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับเรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ มุม-ด้าน-มุม
2. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน โดยคละกันตามความสามารถ แล้วให้แต่ละกลุ่มคัดเลือก
ประธานและเลขานุการกลุ่ม
3. ครูให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมารับใบงานที่ 4.1 เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ
มุม-ด้าน-มุม (1) นักเรียนร่วมกันทาใบงาน ครูคอยให้คาแนะนา เสร็จแล้วให้ตัวแทนกลุ่มออกมา
อภิปราย
4. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปให้ได้ว่า รูปสามเหลี่ยมที่มีความสัมพันธ์แบบ มุม–ด้าน–มุม จะเท่ากันทุก
ประการ เพราะเมื่อลอกรูปสามเหลี่ยมด้วยกระดาษลอกลายแล้ว สามารถนาไปซ้อนทับกันได้สนิท และ
ครูอธิบายเพิ่มเติมว่า ถ้ารูปสามเหลี่ยมสองรูปใดๆ มีมุมที่มีขนาดเท่ากันสองคู่ และด้านซึ่งเป็นแขนร่วม
ของมุมทั้งสองยาวเท่ากันด้วยแล้ว รูปสามเหลี่ยมสองรูปนั้น จะเท่ากันทุกประการแบบ มุม-ด้าน-มุม
5. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปความสัมพันธ์ของรูปสามเหลี่ยมสองรูปแบบ มุม–ด้าน–มุม จนสรุป
ได้ว่า “ถ้ารูปสามเหลี่ยมสองรูปใดๆ มีมุมที่มีขนาดเท่ากันสองคู่ และด้านซึ่งเป็นแขนร่วมของมุม
ทั้งสองมีขนาดเท่ากันด้วยแล้ว รูปสามเหลี่ยมสองรูปนั้นจะเท่ากันทุกประการ”
6. ครูให้นักเรียนทาใบงานที่ 4.2 เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ มุม-ด้าน-มุม (2)
เป็นการบ้าน
การวัดและประเมินผล
วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์
ตรวจใบงานที่ 4.1 ใบงานที่ 4.1 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
ตรวจใบงานที่ 4.2 ใบงานที่ 4.2 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
สังเกตพฤติกรรมการทางาน แบบสังเกตพฤติกรรมการทางาน ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
รายบุคคล รายบุคคล
สังเกตพฤติกรรมการทางานกลุ่ม แบบสังเกตพฤติกรรมการทางานกลุ่ม ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

สือ่ /แหล่งการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้
1) หนังสือเรียน คณิตศาสตร์ ม.2 เล่ม 1
2) ใบงานที่ 4.1 เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ มุม-ด้าน-มุม (1)
3) ใบงานที่ 4.2 เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ มุม-ด้าน-มุม (2)

แหล่งการเรียนรู้
1) ห้องสมุด
2) แหล่งข้อมูลสารสนเทศ http://www.kanid.com/
ใบงานที่ 4.1 เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์
แบบ มุม-ด้าน-มุม (1)

คาชี้แจง พิจารณาว่า รูปสามเหลี่ยมสองรูปสัมพันธ์กันแบบ มุม-ด้าน-มุม และเท่ากันทุกประการแบบ


มุม-ด้าน-มุม ใช่หรือไม่ แล้วทาเครื่องหมาย  ลงในช่องที่ต้องการ

รูปสามเหลี่ยมสองรูป
ความสัมพันธ์แบบ
เท่ากันทุกประการแบบ
ข้อ มุม-ด้าน-มุม
มุม-ด้าน-มุม
ใช่ ไม่ใช่ เท่ากัน ไม่เท่ากัน
1)

2)

3)
รูปสามเหลี่ยมสองรูป
ความสัมพันธ์แบบ
เท่ากันทุกประการแบบ
ข้อ มุม-ด้าน-มุม
มุม-ด้าน-มุม
ใช่ ไม่ใช่ เท่ากัน ไม่เท่ากัน
4)

5)

6)

7)

8)
ใบงานที่ 4.2 เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์
แบบ มุม-ด้าน-มุม (2)

คาชี้แจง พิสูจน์หรือให้เหตุผลว่า รูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการเพราะเหตุใด


 
1. กาหนดให้รูปสี่เหลี่ยม ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และ D A F  B A E
จงอธิบายว่า ADF  ABE
D F C

A B
 
2.กาหนดให้ AB  AC และ A B E  A C D จงอธิบายว่า เพราะเหตุใดรูปสามเหลี่ยม ABE และ
รูปสามเหลี่ยม ACD จึงเท่ากันทุกประการ

D E

B
C
3. กาหนดให้ AB ตัด CD ที่จุด M , AM  DM และ CM  BM จงอธิบายว่า เพราะเหตุใด
รูปสามเหลี่ยม ACM และรูปสามเหลี่ยม DBM จึงเท่ากันทุกประการ

A D

C B

∧ ∧ ∧ ∧ ∧ ∧
4. กาหนดให้ DB = CA , A D B = B C A และ A B D = A B C จงอธิบายว่า เพราะเหตุใด D A B = C B A
D C

A B

∧ ∧ ∧ ∧
5. กาหนดให้ PE = QE, CE = DE และ P E C = Q E D จงอธิบายว่า เพราะเหตุใด C P E = D Q E
P Q

C E D

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 52
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความเท่ากันทุกประการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ ด้าน-ด้าน-ด้าน เวลา 1 ชั่วโมง

สาระสาคัญ/ความคิดรวบยอด
ถ้ารูปสามเหลี่ยมสองรูปใดๆ มีความสัมพันธ์แบบ ด้าน-ด้าน-ด้าน (ด.ด.ด.) กล่าวคือ มีด้านยาวเท่ากันสาม
คู่ แล้วรูปสามเหลี่ยมสองรูปนั้น จะเท่ากันทุกประการ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้
ตัวชี้วัด ค 3.2 ม.3/1 ใช้สมบัติเกี่ยวกับความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมและสมบัติ
ของเส้นขนานในการให้เหตุผลและแก้ปัญหา
ค 6.1 ม.1-3/1 ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
ม.1-3/2 ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในการ
แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
ม.1-3/3 ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
ม.1-3/4 ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย
และการนาเสนอได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
ม.1-3/5 เชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ในคณิตศาสตร์ และนาความรู้ หลักการ กระบวนการ
ทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆ
ม.1-3/6 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
จุดประสงค์การเรียนรู้
1) บอกได้ว่ารูปสามเหลี่ยมสองรูปใดเท่ากันทุกประการ โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์กันแบบ
ด้าน-ด้าน-ด้าน
2) นาสมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ
ด้าน-ด้าน-ด้าน ไปใช้อ้างอิงในการพิสูจน์ได้
สาระการเรียนรู้
1. สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1) ด้านและมุมคู่ที่มีขนาดเท่ากันของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการ
2) รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ ด้าน-มุม-ด้าน มุม-ด้าน-มุม ด้าน-ด้าน-ด้าน
และมุม-มุม-ด้าน
2. สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
สมรรถนะสาคัญของผู้เรียน
1.ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
1) ทักษะการคิดวิเคราะห์
2) ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเชื่อมโยง
3) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทางาน

กิจกรรมการเรียนรู้
(วิธีสอนแบบบรรยาย และวิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการกลุ่ม)
1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ของบทเรียนนี้ให้นักเรียนทราบ
2. ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับ รูปสามเหลี่ยมสองรูปมีความสัมพันธ์กันแบบ ด้าน–มุม–ด้าน และ
มุม-ด้าน–มุม
3. ครูให้นักเรียนสร้างรูปสามเหลี่ยม 2 รูป ให้มีด้านยาวเท่ากัน 3 คู่ โดยครูเป็นผู้สาธิตการสร้าง พร้อมทั้ง
อธิบายขั้นตอนการสร้าง ดังตัวอย่างต่อไปนี้

B Z

A C X Y
4. ครูให้นักเรียนสร้างรูปสามเหลี่ยมอีก 1 คู่ โดยให้แต่ละคู่มีด้านยาวเท่ากัน 3 คู่ แล้วให้นักเรียนใช้
กระดาษลอกลายตรวจสอบดูว่า รูปสามเหลี่ยมที่สร้างขึ้น เท่ากันทุกประการหรือไม่
5. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปให้ได้ว่า รูปสามเหลี่ยมแต่ละรูปที่สร้างขึ้นเท่ากันทุกประการ เพราะสามารถ
นารูปสามเหลี่ยมแต่ละคู่ไปทับกันได้สนิท และครูอธิบายเพิ่มเติมว่า เพื่อความสะดวก
จะกล่าวว่า รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีด้านยาวเท่ากัน 3 คู่ (ด้านต่อด้าน) เป็นรูปสามเหลี่ยมที่มี
ความสัมพันธ์แบบ ด้าน-ด้าน-ด้าน หรือเขียนแทนด้วย ด.ด.ด.
6. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน โดยคละกันตามความสามารถ แล้วให้แต่ละกลุ่มเลือกประธาน
และเลขานุการกลุ่ม แล้วให้ช่วยกันระดมความคิดเพื่อทาใบงานที่ 5.1 เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มี
ความสัมพันธ์แบบ ด้าน-ด้าน-ด้าน ใช้เวลาในการทาใบงาน 15 นาที ขณะที่นักเรียน
ทากิจกรรมกลุ่ม ครูคอยให้คาแนะนา เมื่อเสร็จแล้วให้ตัวแทนกลุ่มออกมาอภิปรายที่หน้าชั้นเรียน
7. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปจากการทาใบงาน ดังนี้ ถ้ารูปสามเหลี่ยมสองรูปใดๆ มีด้านยาวเท่ากันสามคู่
(ด้านต่อด้าน) แล้วรูปสามเหลี่ยมสองรูปนั้น จะเท่ากันทุกประการแบบ ด้าน-ด้าน-ด้าน
การวัดและประเมินผล
วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์
ตรวจใบงานที่ 5.1 ใบงานที่ 5.1 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
สังเกตพฤติกรรมการทางาน แบบสังเกตพฤติกรรมการทางาน ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
รายบุคคล รายบุคคล
สังเกตพฤติกรรมการทางานกลุ่ม แบบสังเกตพฤติกรรมการทางานกลุ่ม ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

สือ่ /แหล่งการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้
1. หนังสือเรียน คณิตศาสตร์ ม.2 เล่ม 1
2. ใบงานที่ 5.1 เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ ด้าน-ด้าน-ด้าน
แหล่งการเรียนรู้
1. ห้องสมุด
2. แหล่งข้อมูลสารสนเทศ http://www.kanid.com/

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 53
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความเท่ากันทุกประการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ ด้าน-ด้าน-ด้าน เวลา 1 ชั่วโมง

สาระสาคัญ/ความคิดรวบยอด
ถ้ารูปสามเหลี่ยมสองรูปใดๆ มีความสัมพันธ์แบบ ด้าน-ด้าน-ด้าน (ด.ด.ด.) กล่าวคือ มีด้านยาวเท่ากันสาม
คู่ แล้วรูปสามเหลี่ยมสองรูปนั้น จะเท่ากันทุกประการ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้
ตัวชี้วัด ค 3.2 ม.3/1 ใช้สมบัติเกี่ยวกับความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมและสมบัติ
ของเส้นขนานในการให้เหตุผลและแก้ปัญหา
ค 6.1 ม.1-3/1 ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
ม.1-3/2 ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในการ
แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
ม.1-3/3 ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
ม.1-3/4 ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย
และการนาเสนอได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
ม.1-3/5 เชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ในคณิตศาสตร์ และนาความรู้ หลักการ กระบวนการ
ทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆ
ม.1-3/6 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
จุดประสงค์การเรียนรู้
1) บอกได้ว่ารูปสามเหลี่ยมสองรูปใดเท่ากันทุกประการ โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์กันแบบ
ด้าน-ด้าน-ด้าน
2) นาสมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ
ด้าน-ด้าน-ด้าน ไปใช้อ้างอิงในการพิสูจน์ได้
สาระการเรียนรู้
1. สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1) ด้านและมุมคู่ที่มีขนาดเท่ากันของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการ
2) รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ ด้าน-มุม-ด้าน มุม-ด้าน-มุม ด้าน-ด้าน-ด้าน
และมุม-มุม-ด้าน
2. สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
สมรรถนะสาคัญของผู้เรียน
1.ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
1) ทักษะการคิดวิเคราะห์
2) ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเชื่อมโยง
3) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทางาน

กิจกรรมการเรียนรู้
(วิธีสอนแบบบรรยาย และวิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการกลุ่ม)
1. ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับ รูปสามเหลี่ยมสองรูปมีความสัมพันธ์แบบ ด้าน-ด้าน-ด้าน
2. ครูยกตัวอย่าง การพิสูจน์ว่า รูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการ เพราะมีความสัมพันธ์แบบ ด้าน-
ด้าน-ด้าน ดังนี้
ตัวอย่างที่ 1  ABD   CBD โดยมีความสัมพันธ์แบบ ด้าน-ด้าน-ด้าน
B

A D C
วิธีทา เนื่องจาก 1) AB = CB (โจทย์กาหนดให้)
2) AD = CD (โจทย์กาหนดให้)
3) BD = BD ( BD เป็นด้านร่วม)
4) ABD   CBD (ด้าน-ด้าน-ด้าน)

ตัวอย่างที่ 2  PXY   PZY เมื่อกาหนดให้รูปสี่เหลี่ยม PXYZ เป็นสี่เหลี่ยมรูปว่าว


Z
วิธีทา เนื่องจาก 1) PX = PZ (สมบัติของรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว)
2) XY = ZY (สมบัติของรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว)
3) PY = PY ( PY เป็นด้านร่วม)
4) PXY  PZY (ด้าน–ด้าน–ด้าน)
3. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปให้ได้ว่า รูปสามเหลี่ยมที่สัมพันธ์แบบ ด้าน–ด้าน–ด้าน จะเท่ากัน
ทุกประการ เพราะเมื่อลอกรูปสามเหลี่ยมแล้ว สามารถนาไปซ้อนทับกันได้สนิท และครูอธิบายเพิ่มเติม
ว่า ถ้ารูปสามเหลี่ยมสองรูปใดๆ ที่มีด้านเท่ากันสามคู่ (ด้านต่อด้าน) แล้วรูปสามเหลี่ยม
สองรูปนั้น จะเท่ากันทุกประการแบบ ด้าน-ด้าน-ด้าน
4. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปความสัมพันธ์ของรูปสามเหลี่ยมสองรูปมีความสัมพันธ์แบบ
ด้าน-ด้าน-ด้าน จนสรุปได้ว่า “ถ้ารูปสามเหลี่ยมสองรูปใดๆ มีด้านยาวเท่ากันสามคู่ แล้วรูปสามเหลี่ยม
สองรูปนั้น จะเท่ากันทุกประการ”
5. ครูให้นักเรียนทาแบบตรวจสอบความเข้าใจที่ 6.3 ค ข้อ 1-3 จากหนังสือเรียน เป็นการบ้าน
แล้วนามาส่งครูในการเรียนครั้งต่อไป
การวัดและประเมินผล
วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์
ตรวจใบงานที่ 5.1 ใบงานที่ 5.1 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
สังเกตพฤติกรรมการทางาน แบบสังเกตพฤติกรรมการทางาน ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
รายบุคคล รายบุคคล
สังเกตพฤติกรรมการทางานกลุ่ม แบบสังเกตพฤติกรรมการทางานกลุ่ม ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

สือ่ /แหล่งการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้
1. หนังสือเรียน คณิตศาสตร์ ม.2 เล่ม 1
2. ใบงานที่ 5.1 เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ ด้าน-ด้าน-ด้าน
แหล่งการเรียนรู้
1. ห้องสมุด
2. แหล่งข้อมูลสารสนเทศ http://www.kanid.com/

ใบงานที่ 5.1 เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์


แบบ ด้าน-ด้าน-ด้าน
คาชี้แจง พิจารณาว่า รูปสามเหลี่ยมสองรูปสัมพันธ์แบบ ด้าน–ด้าน–ด้าน และเท่ากันทุกประการแบบ
ด้าน–ด้าน–ด้านใช่หรือไม่ แล้วทาเครื่องหมาย  ลงในช่องที่ต้องการ

รูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากัน
ความสัมพันธ์แบบ
ทุกประการแบบ
ข้อ ด้าน –ด้าน–ด้าน
ด้าน –ด้าน–ด้าน
ใช่ ไม่ใช่ เท่ากัน ไม่เท่ากัน
1)

2)

3)

4)

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 54
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความเท่ากันทุกประการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ มุม-มุม-ด้าน และการนาไปใช้ เวลา 2 ชั่วโมง

สาระสาคัญ/ความคิดรวบยอด
รูปสามเหลี่ยมสองรูปใดๆ มีมุมที่มีขนาดเท่ากัน 2 คู่ และมีแขนของมุมคู่ที่มีขนาดเท่ากันคู่หนึ่ง
ซึ่งไม่เป็นแขนร่วมของมุมที่มีขนาดเท่ากัน 2 คู่นั้น แล้วรูปสามเหลี่ยมสองรูป จะมีความสัมพันธ์แบบ
มุม-มุม-ด้าน เขียนแทนด้วย ม.ม.ด.
ความสัมพันธ์แบบ มุม-มุม-ด้าน ต่างจากความสัมพันธ์แบบ มุม-ด้าน-มุม ที่ด้านที่เท่ากันในความสัมพันธ์
แบบ มุม-มุม-ด้าน ต้องเป็นด้านที่ไม่ใช่แขนร่วมของมุมคู่ที่เท่ากัน แต่ด้านที่เท่ากันในความสัมพันธ์แบบ มุม-ด้าน-
มุม ต้องเป็นด้านที่เป็นแขนร่วมของมุมคู่ที่เท่ากัน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้
ตัวชี้วัด ค 3.2 ม.2/1 ใช้สมบัติเกี่ยวกับความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมและสมบัติ
ของเส้นขนานในการให้เหตุผลและแก้ปัญหา
ค 6.1 ม.1-3/1 ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
ม.1-3/2 ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในการ
แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
ม.1-3/3 ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
ม.1-3/4 ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย
และการนาเสนอได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
ม.1-3/5 เชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ในคณิตศาสตร์ และนาความรู้ หลักการ กระบวนการ
ทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆ
ม.1-3/6 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
จุดประสงค์การเรียนรู้
1) บอกได้ว่า รูปสามเหลี่ยมสองรูปใดเท่ากันทุกประการ โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์แบบ มุม -มุม-ด้าน
2) นาสมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ มุม-มุม-ด้าน ไป
ใช้อ้างอิงในการพิสูจน์และแก้ปัญหาได้

สาระการเรียนรู้
1. สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1) ด้านและมุมคู่ที่มีขนาดเท่ากันของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการ
2) รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ ด้าน-มุม-ด้าน มุม-ด้าน-มุม ด้าน-ด้าน-ด้าน
และมุม-มุม-ด้าน
2. สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น -

สมรรถนะสาคัญของผู้เรียน
1.ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
) ทักษะการคิดวิเคราะห์
2) ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเชื่อมโยง
3) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทางาน

กิจกรรมการเรียนรู้

(วิธีสอนแบบบรรยาย และวิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการกลุ่ม)

1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ของบทเรียนนี้ให้นักเรียนทราบ
2. ครูทบทวนความรู้เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ และรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ
ด้าน–มุม–ด้าน, มุม-ด้าน–มุม, ด้าน-ด้าน-ด้าน โดยใช้วิธีถาม-ตอบ
3. ครูให้นักเรียนช่วยกันพิจารณารูปสามเหลี่ยม ABC และรูปสามเหลี่ยม DEF ที่กาหนดให้ต่อไปนี้
A D

B C E F
จากรูป ครูใช้คาถามเพื่อกระตุ้นนักเรียนว่า มีสิ่งใดบ้างที่เท่ากัน
∧ ∧
1) A B C = D E F
2) BC = EF
∧ ∧
3) A C B = D F E
จะพบว่า รูปสามเหลี่ยม ABC เท่ากันทุกประการกับรูปสามเหลี่ยม DEF ด้วยความสัมพันธ์แบบ
มุม-ด้าน-มุม (ม.ด.ม.)
 
ดังนั้น รูปสามเหลี่ยม ABC และรูปสามเหลี่ยม DEF เมื่อ A B C  D E F และ
   
A C B  D F E จะได้ BAC  EDF
4. ครูให้นักเรียนพิจารณารูปสามเหลี่ยม ABC และรูปสามเหลี่ยม DEF โดยพิจารณาด้านและมุม
ที่เท่ากัน ดังรูป ก และรูป ข
A D

B C E F
A รู ป ก D

B C E F
รู ป ข
∧ ∧ ∧ ∧
พบว่า รูป ก จะมี B A C = E D F , A B C = D E F และ BC = EF
∧ ∧ ∧ ∧
รูป ข จะมี B A C = E D F , A C B = D F E และ BC = EF

5. ครูบอกนักเรียนว่า รูปสามเหลี่ยมสองรูปใดๆ มีมุมที่มีขนาดเท่ากัน 2 คู่ และมีแขนของมุมคู่


ที่มีขนาดเท่ากันคู่หนึ่ง ซึ่งไม่เป็นแขนร่วมของมุมที่มีขนาดเท่ากัน 2 คู่นั้น แล้วรูปสามเหลี่ยม
ทั้งสองรูปมีความสัมพันธ์แบบ มุม-มุม-ด้าน หรือเขียนแทนด้วย ม.ม.ด.
6. ครูยกตัวอย่าง รูปสามเหลี่ยมที่มีความสัมพันธ์แบบต่างๆ ดังนี้
ตัวอย่างที่ 1 รูปสามเหลี่ยมที่กาหนดในแต่ละข้อต่อไปนี้เท่ากันทุกประการ ด้วยความสัมพันธ์
แบบใด A 1) D

B C E F
จากรูป ABC   DEF ด้วยความสัมพันธ์แบบ มุม-ด้าน-มุม
∧ ∧ ∧ ∧
เพราะ A B C = D E F , A C B = D F E และ AC = DF
2) T

W
จากรูป STU   VWU ด้วยความสัมพันธ์แบบ มุม-ด้าน-มุม
∧ ∧ ∧ ∧
เพราะ S T U = V W U , T U S = W U V และ TU = WU
7. ครูให้นักเรียนทาแบบตรวจสอบความเข้าใจที่ 6.3 ง ข้อ 1-2 จากหนังสือเรียน เป็นการบ้าน
แล้วนามาส่งครูในการเรียนครั้งต่อไป

การวัดและประเมินผล
วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์
สังเกตพฤติกรรมการทางาน แบบสังเกตพฤติกรรมการทางาน ร ะ ดั บ คุ ณ ภ า พ 2 ผ่ า น
รายบุคคล รายบุคคล เกณฑ์
สังเกตพฤติกรรมการทางานกลุ่ม แบบสังเกตพฤติกรรมการทางานกลุ่ม ร ะ ดั บ คุ ณ ภ า พ 2 ผ่ า น
เกณฑ์
ตรวจแบบทดสอบหลังเรียน ทดสอบหลังเรียน ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
สือ่ /แหล่งการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้
1. หนังสือเรียน คณิตศาสตร์ ม.2 เล่ม 1
2. ใบงานที่ 6.1 เรื่อง ทบทวนรูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการ
3. ใบงานที่ 6.2 เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการ
แหล่งการเรียนรู้
1. ห้องสมุด
2. แหล่งข้อมูลสารสนเทศ
http://www.kanid.com/
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 55

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความเท่ากันทุกประการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2


เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ มุม-มุม-ด้าน และการนาไปใช้ เวลา 1 ชั่วโมง

สาระสาคัญ/ความคิดรวบยอด
รูปสามเหลี่ยมสองรูปใดๆ มีมุมที่มีขนาดเท่ากัน 2 คู่ และมีแขนของมุมคู่ที่มีขนาดเท่ากันคู่หนึ่ง
ซึ่งไม่เป็นแขนร่วมของมุมที่มีขนาดเท่ากัน 2 คู่นั้น แล้วรูปสามเหลี่ยมสองรูป จะมีความสัมพันธ์แบบ
มุม-มุม-ด้าน เขียนแทนด้วย ม.ม.ด.
ความสัมพันธ์แบบ มุม-มุม-ด้าน ต่างจากความสัมพันธ์แบบ มุม-ด้าน-มุม ที่ด้านที่เท่ากันในความสัมพันธ์
แบบ มุม-มุม-ด้าน ต้องเป็นด้านที่ไม่ใช่แขนร่วมของมุมคู่ที่เท่ากัน แต่ด้านที่เท่ากันในความสัมพันธ์แบบ มุม-ด้าน-
มุม ต้องเป็นด้านที่เป็นแขนร่วมของมุมคู่ที่เท่ากัน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้
ตัวชี้วัด ค 3.2 ม.2/1 ใช้สมบัติเกี่ยวกับความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมและสมบัติ
ของเส้นขนานในการให้เหตุผลและแก้ปัญหา
ค 6.1 ม.1-3/1 ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
ม.1-3/2 ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในการ
แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
ม.1-3/3 ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
ม.1-3/4 ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย
และการนาเสนอได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
ม.1-3/5 เชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ในคณิตศาสตร์ และนาความรู้ หลักการ กระบวนการ
ทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆ
ม.1-3/6 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
จุดประสงค์การเรียนรู้
1) บอกได้ว่า รูปสามเหลี่ยมสองรูปใดเท่ากันทุกประการ โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์แบบ มุม-มุม-ด้าน
2) นาสมบัติของความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ มุม-มุม-ด้าน ไป
ใช้อ้างอิงในการพิสูจน์และแก้ปัญหาได้

สาระการเรียนรู้
1. สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1) ด้านและมุมคู่ที่มีขนาดเท่ากันของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่เท่ากันทุกประการ
2) รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบ ด้าน-มุม-ด้าน มุม-ด้าน-มุม ด้าน-ด้าน-ด้าน
และมุม-มุม-ด้าน
2. สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น -

สมรรถนะสาคัญของผู้เรียน
1.ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
1) ทักษะการคิดวิเคราะห์
2) ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเชื่อมโยง
3) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทางาน

กิจกรรมการเรียนรู้

(วิธีสอนแบบบรรยาย และวิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการกลุ่ม)

1. ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับเรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ ด้าน-มุม-ด้าน


มุม-ด้าน-มุม, ด้าน-ด้าน-ด้าน และแบบ มุม-มุม-ด้าน
2. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน โดยคละกันตามความสามารถ แล้วให้แต่ละกลุ่มเลือกประธาน
และเลขานุการกลุ่ม แล้วระดมความคิดเพื่อร่วมกันทาใบงานที่ 6.1 เรื่อง ทบทวน
รูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการ
3. ขณะที่นักเรียนทาใบงานครูคอยให้คาแนะนาช่วยเหลือ เมื่อแต่ละกลุ่มทาเสร็จแล้ว ครูและนักเรียน
ร่วมกันเฉลยคาตอบของใบงาน
4. นักเรียนกลุ่มเดิมช่วยกันทาใบงานที่ 6.2 เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการ โดยใช้เวลา
10 นาที เมื่อเสร็จแล้วให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาอภิปรายที่หน้าชั้นเรียน
5. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปจากการทาใบงาน จนได้ว่า “รูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการ
เมื่อด้านและมุมของรูปสามเหลี่ยมทั้งสองมีขนาดเท่ากันเป็นคู่ๆ”
7. ครูเขียนรูปบนกระดาน 2 รูป แล้วถามนักเรียน ให้นักเรียนช่วยกันหาคาตอบและปฏิบัติ ดังนี้
1) ใช้ส่วนของเส้นตรงเพียงสี่เส้นแบ่งรูปข้างล่างออกเป็น 6 รูป ที่เท่ากันทุกประการได้
อย่างไร
2) ใช้ส่วนของเส้นตรงสองเส้นแบ่งรูปข้างล่างออกเป็น 3 รูป ที่เท่ากันทุกประการได้อย่างไร

7. นักเรียนวาดรูปตามครูและบันทึกลงในสมุด นักเรียนสามารถปรึกษาเพื่อนได้ ครูให้เวลาในการทา


10 นาที ถ้านักเรียนคนใดทาเสร็จเรียบร้อย ให้ส่งให้ครูดูเพื่อตรวจสอบความถูกต้องแล้วออกไปเฉลยที่
หน้าชั้นเรียน ครูและนักเรียนชื่นชมนักเรียนที่ออกไปแสดงคาตอบหน้าห้องเรียน
8. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปจากการตอบคาถาม ดังนี้
“รูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการ เมื่อด้านและมุมของรูปสามเหลี่ยมทั้งสองมีขนาด
เท่ากันเป็นคู่ๆ”
9. ครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละกลุ่มไปถ่ายภาพสิ่งของต่างๆ ที่ได้นาความรู้เรื่อง ความเท่ากัน
ทุกประการมาใช้ในชีวิตประจาวัน ในหัวข้อ “การประยุกต์ใช้ความเท่ากันทุกประการในชีวิตประจาวัน”
โดยครูกาหนดให้นักเรียนทากิจกรรมให้ครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้
1) ความถูกต้อง
2) ความแปลกใหม่ของรูปที่เท่ากันทุกประการ
3) เชื่อมโยงความรู้ความเท่ากันทุกประการกับสิ่งต่าง

 นักเรียนทาแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

การวัดและประเมินผล
วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์
ตรวจใบงานที่ 6.1 ใบงานที่ 6.1 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
ตรวจใบงานที่ 6.2 ใบงานที่ 6.2 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
สังเกตพฤติกรรมการทางาน แบบสังเกตพฤติกรรมการทางาน ร ะ ดั บ คุ ณ ภ า พ 2 ผ่ า น
รายบุคคล รายบุคคล เกณฑ์
ตรวจแบบทดสอบหลังเรียน ทดสอบหลังเรียน ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
สือ่ /แหล่งการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้
1. หนังสือเรียน คณิตศาสตร์ ม.2 เล่ม 1
2. ใบงานที่ 6.1 เรื่อง ทบทวนรูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการ
3. ใบงานที่ 6.2 เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการ
แหล่งการเรียนรู้
1. ห้องสมุด
2. แหล่งข้อมูลสารสนเทศ
http://www.kanid.com/
ภาพถ่าย เรื่อง การประยุกต์ใช้ความเท่ากันทุกประการในชีวิตประจาวัน

คาชี้แจง ให้นักเรียนถ่ายรูปสิ่งของต่าง ๆ ที่เท่ากันทุกประการ แล้วนาเสนอโดยใส่กระดาษ A4


อย่างน้อย กลุ่มละ 4 รูป

ขั้นตอนการปฏิบัติ
1. นักเรียนแต่ละกลุ่มถ่ายรูปสิ่งต่างๆ ที่เท่ากันทุกประการ อย่างน้อย 4 รูป
2. นาภาพที่ถ่ายได้มานาเสนอลงในกระดาษ A4
3. อธิบายเกีย่ วกับรูปที่ถ่ายและเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ถ่ายกับความเท่ากัน
ทุกประการ

การประเมินผลงาน
พิจารณาตามเกณฑ์ ดังนี้
1. ความถูกต้อง
2. ความแปลกใหม่ของรูปที่เท่ากันทุกประการ
3. อธิบายเชื่อมโยงเกี่ยวกับความเท่ากันทุกประการ
แบบประเมินภาพถ่าย เรื่อง การประยุกต์ใช้ความเท่ากันทุกประการในชีวิตประจาวัน

กลุ่มที.่ .................................................
สมาชิกของกลุ่ม 1. .............................................................................. 2.
..............................................................................
3. .............................................................................. 4.
..............................................................................
5. .............................................................................. 6.
..............................................................................
คุณภาพผลงาน
ลาดับที่ รายการประเมิน
4 3 2 1
1 ความถูกต้อง

2 ความแปลกใหม่ของรูปที่เท่ากันทุกประการ

3 อธิบายเชื่อมโยงเกี่ยวกับความเท่ากันทุกประการ

รวม

ลงชื่อ..............................................................................ผู้ประเมิน

......................./.........................../........................
เกณฑ์การให้คะแนน เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
ดีมาก = 4
ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ
ดี = 3
11 - 12 ดีมาก
พอใช้ = 2
9 - 10 ดี
ปรับปรุง = 1
6-8 พอใช้
ต่ากว่า 6 ปรับปรุง
ใบงานที่ 6.1 เรื่อง ทบทวนรูปสามเหลี่ยมสองรูป
เท่ากันทุกประการ

คาชี้แจง พิจารณาว่ารูปสามเหลี่ยมสองรูปมีสัมพันธ์แบบใด และเท่ากันทุกประการหรือไม่ โดยไม่ใช้


วิธีวัดหรือลอกรูป
เท่ากันทุกประการ
ข้อ ความสัมพันธ์แบบ
เท่ากัน ไม่เท่ากัน
1)

2)

3)

4)

5)
เท่ากันทุกประการ
ข้อ ความสัมพันธ์แบบ
เท่ากัน ไม่เท่ากัน
6)

7)

8)
ใบงานที่ 6.2 เรื่อง รูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการ

คาชี้แจง พิจารณารูป แล้วตอบคาถาม

1) 2)

3)

1. รูปสามเหลี่ยมสองรูปคู่ใดที่เท่ากันทุกประการ
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
และเท่ากันทุกประการเพราะเหตุใด
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
2. ให้นักเรียนนาผลจาก ข้อ 1 อภิปรายให้เพื่อนฟังที่หน้าห้องเรียน

You might also like