You are on page 1of 8

~๑~

คำนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจริยคุณ

ผู้แต่ง : พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)


กวีคนสำคัญในสมัยรัชกาลที่ ๕ ท่านได้รับสมญานามว่าเป็น ศาลฎีกาภาษาไทย เพราะเป็นผู้แต่ง ตำรา
ชุดแรกของไทย เรียกว่า “แบบเรียนหลวง”

ที่มา : เป็นบทประพันธ์รวมพิมพ์ในภาคเบ็ดเตล็ด หนังสือชุดภาษาไทยเล่มที่ ๒ ของพระยาศรีสุนทรโวหาร


(น้อย อาจารยางกูร)

ลักษณะคำประพันธ์ : อินทรวิเชียรฉันท์ ซึ่งมีการบังคับ ครุและลหุ แต่ผู้แต่งคือพระยาศรีสุนทรโวหารเลือกให้


ความสำคัญกับเนื้อหา โดยเลือกสรรคำที่ทำให้ผู้อ่า นเกิดอารมณ์ความรู้สึก และใช้ สำหรับเป็นบทบูชาสรรเสริญ
มากกว่าการแต่งให้ถูกฉันทลักษณ์

อินทรวิเชียร์ฉันท์ ๑๑ หมายถึง ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามประดุจสายฟ้า ซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์


อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ นิยมใช้ในการแต่งข้อความซึ่งเป็นบทชม บทคร่ำครวญ และใช้แต่งเป็นบทพากย์โขน

ะ ะ ะ ะ ะ ะ ะ
ะ ะ ะ ะ ะ ะ ะ


คำครุ ( เสียงหนัก) คำลหุ ( เสียงเบา)
 คำที่ประสมกับสระเสียงยาว ในแม่ ก กา  คำที่ประสมกับสระเสียงสั้นในแม่ ก กา
 คำที่มีตัวสะกด  คำที่เป็นพยัญชนะตัวเดียว ไม่มีรูปสระ
 คำที่ประสมกับสระ -ำ, ไ-, ใ-, เ-า เช่น ธ ณ บ บ่ เป็นต้น
~๒~

นมัสการมาตาปิตุคุณ
ข้าขอนบชนกคุณ ชนนีเป็นเค้ามูล
ผู้กอบนุกูลพูน ผดุงจวบเจริญวัย
ฟูมฟักทะนุถนอม บ่บาราศนิราไกล
แสนยากเท่าไร ๆ บ่คิดยากลำบากกาย
ตรากทนระคนทุกข์ ถนอมเลี้ยงฤรู้วาย
ปกป้องซึ่งอันตราย จนได้รอดเป็นกายา
เปรียบหนักชนกคุณ ชนนีคือภูผา
ใหญ่พื้นพสุนธรา ก็บ่เทียบบ่เทียมทัน
เหลือที่จะแทนทด จะสนองคุณานันต์
แท้บูชไนยอัน อุดมเลิศประเสริฐคุณ

ถอดคำประพันธ์ : การนอบน้อมในพระคุณของบิดามารดา ผู้ที่ได้เลี้ยงดูและเกื้อกูลเรามาตั้งแต่เล็กจนเติบโต


คอยเฝ้าระวังรักษาประคับประคอง ดูแลอยู่ไม่ยอมห่าง แม้ว่าจะลำบากเท่าไรก็อดทนได้ อีกทั้งยังคอยปกป้องจาก
อันตรายจนลูกมีชีวิตรอดมาเป็นผู้ใหญ่ได้ ดังนั้นพระคุณของพ่อแม่ จึงยิ่งใหญ่กว่าภูเขาหรือผืนแผ่นดิน แม้จะกราบ
ไว้บูชาอย่างวิเศษล้ำเลิศแค่ไหน ก็ไม่อาจทดแทนบุญคุณอันมากล้นของพ่อแม่ได้

คำศัพท์ในบทประพันธ์
ชนก หมายถึง พ่อ
ชนนี หมายถึง แม่
บูชไนย หมายถึง พึงบูชา
พสุนธรา หมายถึง แผ่นดิน
คุณานันต์ หมายถึง บุญคุณมหาศาล
~๓~

นมัสการอาจริยคุณ
อนึ่งข้าคำนับน้อม ต่อพระครูผู้การุญ
โอบเอื้อและเจือจุน อนุสาสน์ทุกสิ่งสรรพ
ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน
ชี้แจงและแบ่งปัน ขยายอัตถ์ให้ชัดเจน
จิตมากด้วยเมตตา และกรุณา บ เอียงเอน
เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์ ให้ฉลาดและแหลมคม
ขัดเขลาบรรเทาโม หะจิตมืดที่งุนงม
กังขา ณ อารมณ์ ก็สว่างกระจ่างใจ
คุณส่วนนี้ควรนับ ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร
ควรนึกและตรึกใน จิตน้อมนิยมชม

ถอดคำประพันธ์ : การสรรเสริญพระคุณของครูอาจารย์ ผู้เปี่ยมไปด้วยความกรุณาและโอบอ้อมอารี คอยสั่งสอน


ให้รู้วิชาและศาสตร์ต่าง ๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อน อีกทั้งในเรื่องของบาปบุญคุ ณโทษด้วย คอยขยายความให้ลูกศิษย์มี
ความเข้าใจแจ่มแจ้งชัดเจนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีความเมตตากรุณาที่เที่ยงตรงเที่ยงธรรม เคี่ยวเข็ญให้ลูกศิษย์มี
ความฉลาดหลักแหลม ขจัดความโง่เขลาและสับสนออกไปจากจิตใจ ดังนั้นพระคุณของครูอาจารย์จึงถือว่าเป็นเลิศ
ในสามโลก ควรระลึกและน้อมใจชื่นชมยกย่องเป็นอย่างยิ่ง

คำศัพท์ในบทประพันธ์
อนุสาสน์ หมายถึง สั่งสอน
อัตถ์ หมายถึง ขยายความ
แกล้ง หมายถึง ตั้งใจ (แปลตามความหมายเดิม)

คุณค่าด้านวรรณศิลป์
การเลือกสรรคำ
ผู้ประพันธ์ได้เลือกคำที่เหมาะสมในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก มีการใช้คำที่เป็นการยกระดับใน
การเดินเรื่อง เช่น ชนก ชนนี เป็นต้น และยังพยายามใช้คำเพื่อให้คนเห็นภาพ เช่น โอบเอื้อ เจือจุน เป็นต้น โดย
ส่วนใหญ่ผู้ประพันธ์ใช้คำที่เรียบง่าย
~๔~

การใช้ภาพพจน์
การใช้ภาพพจน์เพื่อเปรียบเทียบระหว่างบุญคุณของพ่อแม่ กับสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญและ
ความยิ่งใหญ่ของพระคุณของท่าน โดยผู้ประพันธ์ได้ใช้ “อุปลักษณ์” ในการเปรียบเทียบ เช่น
เปรียบหนักชนกคุณ ชนนีคือภูผา
ใหญ่พื้นพสุนธรา ก็บ่เทียบบ่เทียมทัน
จากบทประพันธ์ข้างต้น จะเห็นว่ามีการเปรียบเทียบบุญคุณของพ่อแม่ว่าหนักแน่นเท่าภูผา หรือภูเขา
และยิ่งใหญ่เท่าพสุนธรา หรือแผ่นดินนั่นเอง

การเล่นเสียง
สามารถแบ่งออกเป็นการเล่นเสียงพยัญชนะ การเล่นเสียงสระ และการเล่นเสียงเบา - หนัก (ครุ - ลหุ)
1. การเล่นเสียงพยัญชนะ หากเล่นเสียงพยัญชนะเดียวกับหรือใกล้เคียงกัน จะทำให้เกิดการกระทบกัน
ของเสียง ช่วยให้เกิดความไพเราะ เช่น ข้าขอนบชนกคุณ มีการใช้คำว่า ข้า และ ขอ เป็นเสียง ข เหมือนกัน และใช้
คำว่า (ช) นก และ นบ ซึ่งเป็นเสียง น เหมือนกัน เป็นต้น
2. การเล่นเสียงสระ มีการเล่นเสียงสระที่เป็นเสียงเดียวกัน ทำให้เวลาอ่านเกิดการส่งสัมผัสที่น่าฟัง เช่น
ตรากทนระคนทุกข์ มีการเล่นเสียงสระโอะ โดยใช้คำว่า ทน และ (ระ) คน

การซ้ำคำ
การใช้คำที่ออกเสียงเหมือนกันมาวางไว้ในตำแหน่งใกล้กัน แต่มีการใช้คำอื่นแทรกลงไป ทำให้การออก
เสียงมีความคมคาย ไพเราะ และยังเพิ่มความหมายที่น่าสนใจ เช่น ก็ บ่ เทียบ บ่ เทียมทัน มีการใช้คำว่า “บ่”
แทรกกลางระหว่างคำว่า “เทียบ” และ “เทียม” ที่ออกเสียงคล้ายคลึงกัน
นอกจากนี้ยังมีการเล่นคำที่มีความหมายคู่ตรงข้าม เช่น บ ทราบก็ได้ทราบ ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน เป็นต้น

คุณค่าด้านเนื้อหา
คำนมัสการมาตาปิตุคุณ มีการกล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของพ่อแม่ที่คอยเลี้ยงดูลูกจนเติบใหญ่ ตลอดจน
ความยิ่งใหญ่ของบุญคุณของพ่อแม่ และปิดท้ายด้วยการการสอนให้เด็ก ๆ รู้จักกตัญญูรู้คุณต่อผู้ให้กำเนิด
คำนมัสการอาจริยคุณ กล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของครูอาจารย์ที่คอยสั่งสอนและให้ความรู้ทั้งทางธรรมและ
ทางโลก ตามด้วยการกล่าวถึงบุญคุณของคุณครู ซึ่งเด็ก ๆ ควรเคารพและขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง
ฉะนั้นบท “นมัสการมาตาปิตุคุณ” และ “นมัสการอาจริยคุณ” เป็นตัวอย่างของการใช้บทประพันธ์เป็น
สื่อในการสอนจริยธรรม โดยปลูกฝังให้บุตรธิดาสำนึกในพระคุณของบิดามารดา และปลูกฝังให้ลูกศิษย์สำนึกใน
บุญคุณของครูอาจารย์ นับเป็นการเริ่มต้นจากการเห็นคุณค่าของคนใกล้ตัวก่อน เมื่อถือปฏิบัติเป็นนิสัยแล้ว ต่อไปก็
~๕~

จะเห็นคุณค่าของคนอื่น ๆ ด้วย ทำให้เรารู้จักเคารพและยกย่องบุคคลที่พึงเคารพยกย่องตลอดจนรู้จักแสดงความ


กตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณต่อเรา

คุณค่าด้านสังคม
วรรณคดีเรื่องนี้มีจุดเด่นในการสะท้อนให้เห็นภาพสังคมในอดีตและยังจรรโลงสังคมอีกด้วย การนำไป
ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ผู้ อ่านได้ประจักษ์ในคุณค่าของชีวิต ได้นำแง่คิดและประสบการณ์จากเรื่องที่
อ่าน ไปใช้ในการดำเนินชีวิต หรือเป็นแนวปฏิบัติในการแก้ปัญหา
บท “นมัสการมาตาปิตุคุณ” และ “นมัสการอาจริยคุณ” แม้จะเป็นเพียงบทประพันธ์ขนาดสั้น แต่ก็มี
คุ ณ ค่ า อยู ่ ม าก สมควรที ่ จ ะนำมาอ่ า นอย่ า งพิ จ ารณาความหมายทุ ก วรรคทุ ก ตอนและอาจนำมาสวดเป็ น
ทำนองสรภัญญะ เพื่อให้ความไพเราะของท่วงทำนองช่วยสื่อความหมายได้อีกทางหนึ่ง

แบบทดสอบ
ให้เลือกคำตอบเพียงข้อเดียว
๑. บทนมัสการมาตาปิตุคุณและนมัสการอาจริยคุณ แต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดใด
ก. วสันตดิลกฉันท์ ข. อินทรวิเชียรฉันท์
ค. ลิลิต ง. กาพย์สุรางคนางค์ ๑๖
๒. ผู้แต่ง “นมัสการมาตาปิตุคุณฯ” คือใคร
ก. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ข. กรมหมื่นนราทิพย์ประพันธ์พงศ์
ค. กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
ง. พระยาศรีสุนทรโวหาร
๓. ผู้แต่งบทนมัสการมาตาปิตุคุณและบทนมัสการอาจริยคุณ มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
ก. ปลูกฝังให้เยาวชนมีความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดาและครูอาจารย์
ข. สรรเสริญพระคุณอันยิ่งใหญ่ของบิดามารดาและครูอาจารย์
ค. จารึกพระคุณของบิดามารดาและครูอาจารย์ให้คงอยู่สืบไป
ง. ยกตัวอย่างการแต่งอินทรวิเชียรฉันท์ที่ถูกต้อง
๔. คำประพันธ์ใน “บทนมัสการมาตาปิตุคุณ” มีเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งใด
ก. บูชา ยกย่องพระคุณของพ่อแม่ ข. บูชา ยกย่องพระคุณของครู
ค. บูชา ยกย่องพระคุณของพ่อแม่และพี่ ง. บูชา ยกย่องพระคุณของพ่อแม่และครู
~๖~

๕. คำว่า “คำ” ในบทร้อยกรองทั่วไปหมายถึงอะไร


ก. พยางค์ที่มีความหมาย ข. พยางค์ที่ไม่มีความหมาย
ค. พยางค์ที่มีหรือไม่มีความหมายก็ได้ ง. คำที่มีออกเสียงครั้งเดียวและความหมาย
๖. “ใหญ่พื้นพสุนธรา ก็ บ เทียบ บ เทียมทัน”
จากบทประพันธ์ข้างต้น ข้อใดที่ผู้เขียนนำมาเปรียบเทียบกับความยิ่งใหญ่ของแผ่นดิน
ก. ภาระของผู้เป็นบิดามารดา ข. ความรักของบิดามารดา
ค. พระคุณของบิดามารดา ง. ความมีใจกว้างของบิดามารดา
๗. คำใดมีความหมายแตกต่างจากคำว่า “มาตา”
ก. ชนนี ข. มารดร
ค. แม่ ง. บิตุรงค์
๘. คำว่า “แดนไตร” หมายถึงที่ใดบ้าง
ก. พรหมโลก เทวโลก มนุษย์โลก ข. โลกสวรรค์ โลกมนุษย์ เทวโลก
ค. โลกบาดาล โลกมนุษย์ โลกสวรรค์ ง. เทวโลก มนุษย์โลก โลกสวรรค์
๙. คำใดที่มีความหมายเหมือนกับคำว่า “บำราศ”
ก. บำเพ็ญ ข. นิราศ
ค. จรลี ง. สัญจร
๑๐. บทนมัสการมาตาปิตุคุณใช้อ่านด้วยทำนองใดจึงจะไพเราะ
ก. ทำนองกลอนสุภาพทั่วไป ข. ทำนองสรภัญญะ
ค. ทำนองโอดครวญ ง. ทำนองเพลงไทยเดิม
๑๑. บทนมัสการมาตาปิตุคุณแต่งในสมัยใด
ก. รัชกาลที่ ๓ ข. รัชกาลที่ ๕
ค. รัชกาลที่ ๗ ง. รัชกาลที่ ๙
๑๒. “ปางเมื่อพระองค์ปรมพุท ธวิสุทธศาสดา
ตรัสรู้อนุตรสมา ธิณโพธิบัลลังก์”
บทร้อยกรองนี้เป็นคำประพันธ์ประเภทใด
ก. กลอนสุภาพ ข. อินทรวิเชียรฉันท์
ค. วสันตดิลกฉันท์ ง. สัททุลวิกกีฬิตฉันท์
๑๓. คำศัพท์ในข้อใดจับคู่กับความหมายไม่ถูกต้อง
ก. กังขา – ความเคลือบแคลงสงสัย ข. นิรา – ไปจาก ไม่มี
ค. อนุสาสน์ – ช่วยเหลือเจือจุน ง. แดนไตร – โลกทั้ง ๓ ได้แก่ สวรรค์ มนุษย์ บาดาล
~๗~

๑๔. ข้อใดเป็นพระคุณของครูอาจารย์ที่สำคัญที่สุด
ก. โอบเอื้อและเจือจุน อนุสาสน์ทุกสิ่งสรรพ์
ข. จิตมากด้วยเมตตา และกรุณา บ เอียงเอน
ค. ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน
ง. ขจัดเขลาบรรเทาโม- หะจิตมืดที่งุนงม
๑๕. อินทรวิเชียรฉันท์ ๑ บาทมีกี่คำ
ก. ๑๑ คำ ข. ๑๔ คำ
ค. ๑๖ คำ ง. ๒๐ คำ
๑๖. “บูชไนย” มีความหมายเหมือนกับคำใด
ก. บูชายันต์ ข. บูชาคุณ
ค. ปูชนีย์ ง. จริยคุณ
๑๗. คำประพันธ์ประเภทใดที่มักเปรียบความงดงามเหมือนแก้วของพระอินทร์
ก. กลอนสุภาพ ข. อินทรวิเชียรฉันท์
ค. วสันตดิลกฉันท์ ง. สัททุลวิกกีฬิตฉันท์
๑๘. ความงามด้านวรรณศิลป์ของบทนมัสการมาตาปิตุคุณ ฯ อยู่ที่ใด
ก. ความไพเราะของการอ่าน ข. ความขลังของภาษาที่ใช้
ค. ความสวยงามของคำ ง. ความหมายของคำ
๑๙. ดอกไม้ใดไม่ได้เป็นสัญลักษณ์ในวันครู
ก. ดอกเข็ม ข. หญ้าแพรก
ค. ดอกมะเขือ ง. ดอกมะลิ
๒๐. สุภาษิตใดเป็นข้อสรุปของบทนมัสการมาตาปิตุคุณและบทนมัสการอาจริยคุณ
ก. ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี ข. ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ค. รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา ง. ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
๒๑. คำในข้อใดเขียนแบบ “ครุ ครุ ครุ ครุ ครุ”
ก. ฉันรักเธอนะ ข. โรงเรียนวัดสังเวช
ค. วิชาภาษาไทย ง. อ่านหนังสือเรียน
๒๒. ส่วนมากบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณมักจะท่องทำนองใด
ก. ทำนองหลวง ข. ทำนองสรภัญญะ
ค. ทำนองช้า ง. ทำนองเร็ว
~๘~

๒๓. “ยังบ่ทราบก็ได้ทราบ ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน


ชี้แจงและแบ่งปัน ขยายอัตถ์ให้ชัดเจน”
จากคำประพันธ์ข้างต้นอยู่ในบทนมัสการใด
ก. นมัสการคุณานุคณ ข. นมัสการมาตาปิตุคุณ
ค. นมัสการอาจาริยคุณ ง. นมัสการพุทธคุณ
๒๔. คำว่า “อนุสาสน์” หมายถึงข้อใด
ก. เนื้อความ ข. คำสั่งสอน
ค. คำว่ากล่าวตักเตือน ง. คำทำนาย
๒๕. คำว่า “บูชไนย” หมายถึงข้อใด
ก. ควรเคารพ ข. ควรบูชา
ค. ควรนับถือ ง. ควรกราบไหว้
๒๖. คำว่า “พสุนธรา” หมายถึงข้อใด
ก. แผ่นดิน ข. ภูเขา
ค. แม่น้ำ ง. ลำธาร
๒๗. “ฟูมฟักทะนุถนอม บ่ บำราศนิราไกล
แสนยากเท่าไร ๆ บ่คิดยากลำบากกาย”
คำประพันธ์ข้างต้นหมายถึงใคร
ก. ครู อาจารย์ ข. พ่อและแม่
ค. แม่ผู้ให้กำเนิด ง. พ่อ
๒๘. คำว่า “แดนไตร” ในทางวรรณคดีคือ ข้อต่อไปนี้ยกเว้นข้อใด
ก. นรก ข. สวรรค์
ค. บาดาล ง. ใต้ท้องภิภพ
๒๙. ข้อใดไม่จัดว่าเป็นการแสดงความกตัญญูต่อพ่อแม่
ก. ต้นน้ำไหว้แม่ทุกเช้าก่อนมาโรงเรียน ข. ต้นเทียนตบหัวไหล่แม่ตอนแม่บ่น
ค. ต้นหนาวกราบแม่ในวันแม่ ง. ต้นฝนพูดจากับพ่อแม่ด้วยคำไพเราะ
๓๐. “ฉันรักเธอนะ” เขียนแบบครุลหุได้อย่างไร
ก. ครุ ครุ ลหุ ลหุ ข. ครุ ครุ ครุ ลหุ
ค. ลหุ ครุ ลหุ ครุ ง. ครุ ครุ ครุ ครุ

******************************************************************************************************

You might also like