You are on page 1of 257

คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน

คณิ ต ศาสตร์


เล่ม ๒ ชั้นประถมศึกษาปีที่
ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๐)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระทรวงศึกษาธิการ
คู่มือครู

รายวิชาพื้นฐาน

คณิตศาสตร์
ชั้น

ประถมศึกษาปีที่ ๕ เล่ม ๒
ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

จัดทำ�โดย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำ�นำ�
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) มีหน้าที่ในการพัฒนาหลักสูตร วิธีการ
เรี ย นรู้ การประเมิ น ผล การจั ด ทำ � หนั ง สื อ เรี ย น คู่ มื อ ครู แบบฝึ ก หั ด กิ จ กรรม และสื่ อ การเรี ย นรู้ เพื่ อ ใช้
ประกอบการเรียนรูใ้ นกลุม
่ สาระการเรียนรูว้ ท
ิ ยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของการศึกษาขัน
้ พืน
้ ฐาน

คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีท่ี ๕ เล่ม ๒ นี้ จัดทำ�ตามมาตรฐานการเรียนรู้


และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้น พื้น ฐาน พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๕๑ โดยมี เ นื้อ หาสาระเกี่ย วกั บ การวิ เ คราะห์ ตัว ชี้วัด สาระการเรี ย นรู้ร ายชั้น ปี
จุ ด ประสงค์ ก ารเรี ย นรู้ สาระสำ � คั ญ แนวการจั ด การเรี ย นรู้ แนวการจั ด กิ จ กรรมในหนั ง สื อ เรี ย น ตั ว อย่ า ง
แบบทดสอบประจำ � บทพร้ อ มเฉลย รวมทั้ ง เฉลยแบบฝึ ก หั ด ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ หนั ง สื อ เรี ย นรายวิ ช าพื้ น ฐาน
คณิตศาสตร์ ชัน
้ ประถมศึกษาปีท่ี ๕ เล่ม ๒ ทีต
่ อ
้ งใช้ควบคูก
่ น

สสวท. หวังเป็นอย่างยิง่ ว่า คูม


่ อื ครูเล่มนีจ้ ะเป็นประโยชน์ตอ่ การจัดการเรียนรู้ และเป็นส่วนสำ�คัญในการพัฒนา
คุณภาพและมาตรฐานการศึกษากลุม
่ สาระการเรียนรูค
้ ณิตศาสตร์ ขอขอบคุณผูท
้ รงคุณวุฒิ บุคลากรทางการศึกษาและ
หน่วยงานต่าง ๆ ทีม
่ สี ว่ นเกีย่ วข้องในการจัดทำ�ไว้ ณ โอกาสนี้

(ศาสตราจารย์ชูกิจ ลิมปิจำ�นงค์)
ผู้อำ�นวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระทรวงศึกษาธิการ
คำ�ชี้แจง
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้จัดทำ�ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง
กลุ่ ม สาระการเรี ย นรู้ ค ณิ ต ศาสตร์ (ฉบั บ ปรั บ ปรุ ง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลั ก สู ต รแกนกลางการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยมีจดุ เน้นเพือ่ ต้องการพัฒนาผูเ้ รียนให้มค
ี วามรูค
้ วามสามารถทีท
่ ดั เทียมกับนานาชาติ ได้เรียนรู้
คณิ ต ศาสตร์ ท่ี เ ชื่ อ มโยงความรู้ กั บ กระบวนการ ใช้ ก ระบวนการสื บ เสาะหาความรู้ แ ละแก้ ปั ญ หาที่ ห ลากหลาย
มีการทำ�กิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และทักษะแห่ง
ศตวรรษที่ ๒๑ สสวท. จึงได้จดั ทำ�คูม
่ อื ครูประกอบการใช้หนังสือเรียนรายวิชาพืน
้ ฐานคณิตศาสตร์ ชัน
้ ประถมศึกษาปีท่ี ๕
เล่ม ๒ ทีเ่ ป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตรเพือ่ เป็นแนวทางให้โรงเรียนนำ�ไปจัดการเรียนการสอนในชัน
้ เรียน

คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีท่ี ๕ เล่ม ๒ นี้ ประกอบด้วยเนื้อหาสาระเกี่ยวกับ


การวิเคราะห์ตวั ชีว้ ดั สาระการเรียนรูร้ ายชัน
้ ปี จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระสำ�คัญ แนวการจัดการเรียนรู้ แนวการจัดกิจกรรม
ในหนังสือเรียน ตัวอย่างแบบทดสอบประจำ�บทพร้อมเฉลย รวมทั้งเฉลยแบบฝึกหัด ซึ่งครูผ้สู อนสามารถนำ�ไปใช้เป็น
แนวทางในการวางแผนการจั ด การเรี ย นรู้ใ ห้ บ รรลุ จุด ประสงค์ ท่ีต้ัง ไว้ โดยสามารถนำ � ไปจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ไ ด้
ตามความเหมาะสมและความพร้ อ มของโรงเรี ย น ในการจั ด ทำ � คู่ มื อ ครู เ ล่ ม นี้ ได้ รั บ ความร่ ว มมื อ เป็ น อย่ า งดี ย่ิ ง
จากผูท
้ รงคุณวุฒิ คณาจารย์ นักวิชาการอิสระ รวมทัง้ ครูผสู้ อน นักวิชาการ จากสถาบันและสถานศึกษาทัง้ ภาครัฐและเอกชน
จึงขอขอบคุณมา ณ ทีน
่ ้ี

สสวท. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ เล่มนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สอน และผู้ท่ี


เกีย่ วข้องทุกฝ่าย ทีจ่ ะช่วยให้จดั การศึกษาด้านคณิตศาสตร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หากมีขอ้ เสนอแนะใดทีจ่ ะทำ�ให้
คูม
่ อื ครูเล่มนีม
้ คี วามสมบูรณ์ยง่ิ ขึน
้ โปรดแจ้ง สสวท. ทราบด้วย จะขอบคุณยิง่

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระทรวงศึกษาธิการ
สารบัญ
หน้า

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ (1)
ตัวชี้วัดวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 (2)
สาระการเรียนรู้แกนกลาง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 (8)
ผังมโนทัศน์เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (15)
ตัวอย่างคำ�อธิบายรายวิชา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (16)
ตัวอย่างโครงสร้างเวลาเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (18)
ตารางวิเคราะห์หน่วยการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้แกนกลาง (19)
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

แนวการจัดการเรียนรู้

บทที่ 4 บัญญัติไตรยางศ์ 1

ตัวอย่างข้อสอบ 17

บทที่ 5 ร้อยละ 19

ตัวอย่างข้อสอบ 40

บทที่ 6 เส้นขนาน 43

ตัวอย่างข้อสอบ 72

บทที่ 7 รูปสี่เหลี่ยม 77

ตัวอย่างข้อสอบ 113

บทที่ 8 ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก 120

ตัวอย่างข้อสอบ 146

เฉลยแบบฝึกหัด เล่ม 2 149

บทที่ 4 บัญญัติไตรยางศ์ 150

บทที่ 5 ร้อยละ 157

บทที่ 6 เส้นขนาน 166

บทที่ 7 รูปสี่เหลี่ยม 182

บทที่ 8 ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก 198

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู 210

คณะผู้จัดทำ� 231
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ 1 จำ�นวนและพีชคณิต
มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำ�นวน ระบบจำ�นวน การดำ�เนินการของจำ�นวน
ผลที่เกิดขึ้นจากการดำ�เนินการ สมบัติของการดำ�เนินการ และนำ�ไปใช้
มาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป ความสัมพันธ์ ฟังก์ชัน ลำ�ดับและอนุกรม และนำ�ไปใช้
มาตรฐาน ค 1.3 ใช้นิพจน์ สมการ และอสมการ อธิบายความสัมพันธ์หรือช่วยแก้ปัญหาที่กำ�หนดให้

สาระที่ 2 การวัดและเรขาคณิต
มาตรฐาน ค 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด และนำ�ไปใช้
มาตรฐาน ค 2.2 เข้าใจและวิเคราะห์รูปเรขาคณิต สมบัติของรูปเรขาคณิต ความสัมพันธ์ระหว่าง
รูปเรขาคณิต และทฤษฎีบททางเรขาคณิต และนำ�ไปใช้

สาระที่ 3 สถิติและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค 3.1 เข้าใจกระบวนการทางสถิติ และใช้ความรู้ทางสถิติในการแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 3.2 เข้าใจหลักการนับเบื้องต้น ความน่าจะเป็น และนำ�ไปใช้

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2562 (1)


คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ตัวชี้วัดวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6

สาระที่ 1 จำ�นวนและพีชคณิต
ตัวชี้วัด
มาตรฐานการเรียนรู้
ป.4 ป.5 ป.6
ค 1.1 เข้าใจความ 1. อ่านและเขียนตัวเลข 1. เขียนเศษส่วนที่มีตัวส่วน 1. เปรียบเทียบ เรียงลำ�ดับ
หลากหลายของการแสดง ฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย เป็นตัวประกอบของ เศษส่วนและจำ�นวนคละ
จำ�นวน ระบบจำ�นวน และตัวหนังสือแสดง 10 หรือ 100 หรือ จากสถานการณ์ต่าง ๆ
การดำ�เนินการของ จำ�นวนนับที่มากกว่า 1,000 ในรูปทศนิยม
2. เขียนอัตราส่วนแสดง
จำ�นวน ผลที่เกิดขึ้นจาก 100,000
2. แสดงวิธีหาคำ�ตอบ การเปรียบเทียบปริมาณ
การดำ�เนินการ สมบัติ
2. เปรียบเทียบและ ของโจทย์ปัญหา 2 ปริมาณ จากข้อความ
ของการดำ�เนินการ
เรียงลำ�ดับจำ�นวนนับ โดยใช้บัญญัติไตรยางศ์ หรือสถานการณ์ โดยที่
และนำ�ไปใช้
ที่มากกว่า 100,000 ปริมาณแต่ละปริมาณ
3. หาผลบวก ผลลบของ
จากสถานการณ์ต่าง ๆ เป็นจำ�นวนนับ
เศษส่วนและจำ�นวนคละ
3. บอก อ่านและเขียน 3. หาอัตราส่วนที่เท่ากับ
4. หาผลคูณ ผลหารของ
เศษส่วน จำ�นวนคละ อัตราส่วนที่กำ�หนดให้
เศษส่วนและจำ�นวนคละ
แสดงปริมาณสิ่งต่าง ๆ
4. หา ห.ร.ม. ของ
และแสดงสิ่งต่าง ๆ 5. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของ
จำ�นวนนับไม่เกิน
ตามเศษส่วน จำ�นวนคละ โจทย์ปัญหาการบวก
3 จำ�นวน
ที่กำ�หนด การลบ การคูณ การหาร
เศษส่วน 2 ขั้นตอน 5. หา ค.ร.น. ของ
4. เปรียบเทียบ เรียงลำ�ดับ
จำ�นวนนับไม่เกิน
เศษส่วนและจำ�นวนคละ 6. หาผลคูณของทศนิยม
3 จำ�นวน
ที่ตัวส่วนตัวหนึ่งเป็น ที่ผลคูณเป็นทศนิยม
พหุคูณของอีกตัวหนึ่ง ไม่เกิน 3 ตำ�แหน่ง 6. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของ
โจทย์ปัญหาโดยใช้
5. อ่านและเขียนทศนิยม 7. หาผลหารที่ตัวตั้งเป็น
ความรู้เกี่ยวกับ ห.ร.ม.
ไม่เกิน 3 ตำ�แหน่ง จำ�นวนนับหรือทศนิยม
และ ค.ร.น.
แสดงปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ไม่เกิน 3 ตำ�แหน่ง และ
และแสดงสิ่งต่าง ๆ ตัวหารเป็นจำ�นวนนับ 7. หาผลลัพธ์ของการบวก
ตามทศนิยมที่กำ�หนด ผลหารเป็นทศนิยม ลบ คูณ หารระคน
ไม่เกิน 3 ตำ�แหน่ง ของเศษส่วนและ
6. เปรียบเทียบและ
จำ�นวนคละ
เรียงลำ�ดับทศนิยม 8. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของ
ไม่เกิน 3 ตำ�แหน่ง โจทย์ปัญหาการบวก 8. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของ
จากสถานการณ์ต่าง ๆ การลบ การคูณ การหาร โจทย์ปัญหาเศษส่วน
ทศนิยม 2 ขั้นตอน และจำ�นวนคละ
2-3 ขั้นตอน

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2562 (2)


คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

สาระที่ 1 จำ�นวนและพีชคณิต
ตัวชี้วัด
มาตรฐานการเรียนรู้
ป.4 ป.5 ป.6
7. ประมาณผลลัพธ์ของ 9. แสดงวิธีหาคำ�ตอบ 9. หาผลหารของทศนิยม
การบวก การลบ ของโจทย์ปญ ั หาร้อยละ ที่ตัวหารและผลหาร
การคูณ การหาร ไม่เกิน 2 ขั้นตอน เป็นทศนิยมไม่เกิน
จากสถานการณ์ต่าง ๆ 3 ตำ�แหน่ง
อย่างสมเหตุสมผล
10. แสดงวิธีหาคำ�ตอบ
8. หาค่าของตัวไม่ทราบค่า ของโจทย์ปัญหา
ในประโยคสัญลักษณ์ การบวก การลบ
แสดงการบวกและ การคูณ การหาร
ประโยคสัญลักษณ์ ทศนิยม 3 ขั้นตอน
แสดงการลบของ
11. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของ
จำ�นวนนับที่มากกว่า
โจทย์ปัญหาอัตราส่วน
100,000 และ 0
12. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของ
9. หาค่าของตัวไม่ทราบค่า
โจทย์ปัญหาร้อยละ
ในประโยคสัญลักษณ์
2-3 ขั้นตอน
แสดงการคูณของจำ�นวน
หลายหลัก 2 จำ�นวน
ที่มีผลคูณไม่เกิน 6 หลัก
และประโยคสัญลักษณ์
แสดงการหารที่ตัวตั้ง
ไม่เกิน 6 หลัก
ตัวหารไม่เกิน 2 หลัก

10. หาผลลัพธ์การบวก
ลบ คูณ หารระคนของ
จำ�นวนนับ และ 0

11. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของ
โจทย์ปัญหา 2 ขั้นตอน
ของจำ�นวนนับที่มากกว่า
100,000 และ 0

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2562 (3)


คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

สาระที่ 1 จำ�นวนและพีชคณิต
ตัวชี้วัด
มาตรฐานการเรียนรู้
ป.4 ป.5 ป.6
12. สร้างโจทย์ปัญหา
2 ขั้นตอนของ
จำ�นวนนับ และ 0
พร้อมทั้งหาคำ�ตอบ

13. หาผลบวก ผลลบ


ของเศษส่วนและ
จำ�นวนคละที่ตัวส่วน
ตัวหนึ่งเป็นพหุคูณ
ของอีกตัวหนึ่ง

14. แสดงวิธีหาคำ�ตอบ
ของโจทย์ปัญหาการบวก
และโจทย์ปัญหา
การลบเศษส่วนและ
จำ�นวนคละที่ตัวส่วน
ตัวหนึ่งเป็นพหุคูณ
ของอีกตัวหนึ่ง

15. หาผลบวก ผลลบ


ของทศนิยมไม่เกิน
3 ตำ�แหน่ง

16. แสดงวิธีหาคำ�ตอบ
ของโจทย์ปัญหาการบวก
การลบ 2 ขั้นตอน
ของทศนิยมไม่เกิน
3 ตำ�แหน่ง

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2562 (4)


คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

สาระที่ 1 จำ�นวนและพีชคณิต
ตัวชี้วัด
มาตรฐานการเรียนรู้
ป.4 ป.5 ป.6
ค 1.2 เข้าใจและ - - 1. แสดงวิธีคิดและหาคำ�ตอบ
วิเคราะห์แบบรูป ของปัญหาเกี่ยวกับ
ความสัมพันธ์ ฟังก์ชัน แบบรูป
ลำ�ดับและอนุกรม
และนำ�ไปใช้
ค 1.3 ใช้นิพจน์ สมการ - - -
และอสมการอธิบาย
ความสัมพันธ์หรือช่วยแก้
ปัญหาที่กำ�หนดให้

สาระที่ 2 การวัดและเรขาคณิต
ตัวชี้วัด
มาตรฐานการเรียนรู้
ป.4 ป.5 ป.6
ค 2.1 เข้าใจพื้นฐาน 1. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของ 1. แสดงวิธีหาคำ�ตอบ 1. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของ
เกี่ยวกับการวัด วัดและ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเวลา ของโจทย์ปัญหา โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ
คาดคะเนขนาดของสิ่งที่ เกี่ยวกับความยาว ปริมาตรของรูป
2. วัดและสร้างมุม โดยใช้
ต้องการวัด และนำ�ไปใช้ ที่มีการเปลี่ยนหน่วย เรขาคณิตสามมิติที่
โพรแทรกเตอร์
และเขียนในรูปทศนิยม ประกอบด้วย
3. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของ ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
2. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของ
โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ
โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ 2. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของ
ความยาวรอบรูปและ
น้ำ�หนักที่มีการเปลี่ยน โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ
พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม
หน่วยและเขียนในรูป ความยาวรอบรูปและ
มุมฉาก
ทศนิยม พื้นที่ของรูปหลายเหลี่ยม

3. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของ 3. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของ
โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ
ปริมาตรของทรงสีเ่ หลีย่ ม ความยาวรอบรูปและ
มุมฉากและความจุของ พื้นที่ของวงกลม
ภาชนะทรงสีเ่ หลีย่ มมุมฉาก

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2562 (5)


คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

สาระที่ 1 จำ�นวนและพีชคณิต
ตัวชี้วัด
มาตรฐานการเรียนรู้
ป.4 ป.5 ป.6
4. แสดงวิธีหาคำ�ตอบ
ของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ
ความยาวรอบรูป
ของรูปสี่เหลี่ยมและ
พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม
ด้านขนานและรูปสีเ่ หลีย่ ม
ขนมเปียกปูน

ค 2.2 เข้าใจและ 1. จำ�แนกชนิดของมุม 1. สร้างเส้นตรงหรือ 1. จำ�แนกรูปสามเหลี่ยม


วิเคราะห์รูปเรขาคณิต บอกชื่อมุม ส่วนประกอบ ส่วนของเส้นตรง โดยพิจารณาจาก
สมบัติของรูปเรขาคณิต ของมุมและเขียน ให้ขนานกับเส้นตรง สมบัติของรูป
ความสัมพันธ์ระหว่าง สัญลักษณ์แสดงมุม หรือส่วนของเส้นตรง
2. สร้างรูปสามเหลี่ยม
รูปเรขาคณิต และ ที่กำ�หนดให้
2. สร้างรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก เมื่อกำ�หนดความยาว
ทฤษฎีบททางเรขาคณิต
เมื่อกำ�หนดความยาว 2. จำ�แนกรูปสี่เหลี่ยม ของด้านและขนาด
และนำ�ไปใช้
ของด้าน โดยพิจารณาจาก ของมุม
สมบัติของรูป
3. บอกลักษณะของรูป
3. สร้างรูปสี่เหลี่ยม เรขาคณิตสามมิติ
ชนิดต่าง ๆ เมื่อกำ�หนด ชนิดต่าง ๆ
ความยาวของด้าน
4. ระบุรปู เรขาคณิตสามมิติ
และขนาดของมุมหรือ
ที่ประกอบจากรูปคลี่
เมื่อกำ�หนดความยาว
และระบุรูปคลี่
ของเส้นทแยงมุม
ของรูปเรขาคณิตสามมิติ
4. บอกลักษณะของปริซึม

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2562 (6)


คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

สาระที่ 3 สถิติและความน่าจะเป็น
ตัวชี้วัด
มาตรฐานการเรียนรู้
ป.4 ป.5 ป.6
ค 3.1 เข้าใจกระบวนการ 1. ใช้ข้อมูลจากแผนภูมิแท่ง 1. ใช้ข้อมูลจากกราฟเส้น 1. ใช้ข้อมูลจากแผนภูมิ
ทางสถิติ และใช้ความรู้ ตารางสองทางในการหา ในการหาคำ�ตอบ รูปวงกลมในการหาคำ�ตอบ
ทางสถิติในการแก้ปัญหา คำ�ตอบของโจทย์ปัญหา ของโจทย์ปญ ั หา ของโจทย์ปัญหา

2. เขียนแผนภูมิแท่ง
จากข้อมูลที่เป็น
จำ�นวนนับ

ค 3.2 เข้าใจหลักการนับ - - -
เบื้องต้น ความน่าจะเป็น
และนำ�ไปใช้

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2562 (7)


คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

สาระการเรียนรู้แกนกลาง วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6

สาระที่ 1 จำ�นวนและพีชคณิต
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
มาตรฐานการเรียนรู้
ป.4 ป.5 ป.6
ค 1.1 เข้าใจความ จำ�นวนนับที่มากกว่า จำ�นวนนับและ 0 จำ�นวนนับ และ 0
หลากหลายของการแสดง 100,000 และ 0 การบวก การลบ การคูณ
• ตัวประกอบ
จำ�นวน ระบบจำ�นวน และการหาร
• การอ่าน การเขียน จำ�นวนเฉพาะ
การดำ�เนินการของ
ตัวเลขฮินดูอารบิก • การแก้โจทย์ปัญหา ตัวประกอบเฉพาะ และ
จำ�นวน ผลที่เกิดขึ้นจาก
ตัวเลขไทยและตัวหนังสือ โดยใช้บัญญัติไตรยางศ์ การแยกตัวประกอบ
การดำ�เนินการ สมบัติ
แสดงจำ�นวน
ของการดำ�เนินการ • ห.ร.ม. และ ค.ร.น.
เศษส่วน และการบวก
และนำ�ไปใช้ • หลัก ค่าประจำ�หลักและ การลบ การคูณ การหาร
• การแก้โจทย์ปัญหา
ค่าของเลขโดดในแต่ละ เศษส่วน
เกี่ยวกับ ห.ร.ม.
หลัก และการเขียนตัวเลข
และ ค.ร.น.
แสดงจำ�นวนในรูปกระจาย • การเปรียบเทียบเศษส่วน
และจำ�นวนคละ เศษส่วน
• การเปรียบเทียบและ
เรียงลำ�ดับจำ�นวน • การบวก การลบเศษส่วน • การเปรียบเทียบและ
และจำ�นวนคละ เรียงลำ�ดับเศษส่วน
• ค่าประมาณของจำ�นวนนับ
และจำ�นวนคละโดยใช้
และการใช้เครื่องหมาย ≈ • การคูณ การหารของ
ความรู้เรื่อง ค.ร.น.
เศษส่วนและจำ�นวนคละ
การบวก การลบ การคูณ
การบวก การลบ การคูณ
การหารจำ�นวนนับที่
• การบวก ลบ คูณ หารระคน การหารเศษส่วน
มากกว่า 100,000 และ 0
ของเศษส่วนและ
จำ�นวนคละ • การบวก การลบเศษส่วน
• การประมาณผลลัพธ์
และจำ�นวนคละโดยใช้
ของการบวก การลบ
• การแก้โจทย์ปัญหา ความรู้เรื่อง ค.ร.น.
การคูณ การหาร
เศษส่วนและจำ�นวนคละ
• การบวก ลบ คูณ หารระคน
• การบวกและการลบ
ของเศษส่วน
• การคูณและการหาร และจำ�นวนคละ

• การบวก ลบ คูณ หารระคน • การแก้โจทย์ปัญหา


เศษส่วนและจำ�นวนคละ
• การแก้โจทย์ปัญหาและ
การสร้างโจทย์ปัญหา
พร้อมทั้งหาคำ�ตอบ

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2562 (8)


คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

สาระที่ 1 จำ�นวนและพีชคณิต
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
มาตรฐานการเรียนรู้
ป.4 ป.5 ป.6
เศษส่วน ทศนิยม ทศนิยม และการบวก
การลบ การคูณ การหาร
• เศษส่วนแท้ เศษเกิน • ความสัมพันธ์ระหว่าง
เศษส่วนและทศนิยม • ความสัมพันธ์ระหว่าง
• จำ�นวนคละ
เศษส่วนและทศนิยม
• ค่าประมาณของทศนิยม
• ความสัมพันธ์ระหว่าง
ไม่เกิน 3 ตำ�แหน่ง • การหารทศนิยม
จำ�นวนคละและเศษเกิน
ที่เป็นจำ�นวนเต็ม
• เศษส่วนที่เท่ากัน เศษส่วน ทศนิยม 1 ตำ�แหน่ง • การแก้โจทย์ปัญหา
อย่างต่ำ� และเศษส่วน และ 2 ตำ�แหน่ง เกี่ยวกับทศนิยม
ที่เท่ากับจำ�นวนนับ การใช้เครื่องหมาย ≈ (รวมการแลกเงิน
ต่างประเทศ)
• การเปรียบเทียบ การคูณ การหารทศนิยม
เรียงลำ�ดับเศษส่วน อัตราส่วน
• การประมาณผลลัพธ์
และจำ�นวนคละ
ของการบวก การลบ
• อัตราส่วน อัตราส่วน
การบวก การลบเศษส่วน การคูณ การหารทศนิยม
ที่เท่ากัน และมาตราส่วน

• การบวก การลบเศษส่วน • การคูณทศนิยม


อัตราส่วนและร้อยละ
และจำ�นวนคละ
• การหารทศนิยม
• การแก้โจทย์ปัญหา
• การแก้โจทย์ปญ
ั หาการบวก
• การแก้โจทย์ปญ
ั หาเกีย่ วกับ อัตราส่วนและมาตราส่วน
และโจทย์ปัญหาการลบ
ทศนิยม
เศษส่วนและจำ�นวนคละ • การแก้โจทย์ปัญหาร้อยละ
ร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์

• การอ่านและการเขียน
ร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์

• การแก้โจทย์ปัญหาร้อยละ

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2562 (9)


คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

สาระที่ 1 จำ�นวนและพีชคณิต
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
มาตรฐานการเรียนรู้
ป.4 ป.5 ป.6
ทศนิยม

• การอ่านและการเขียน
ทศนิยมไม่เกิน 3 ตำ�แหน่ง
ตามปริมาณที่กำ�หนด

• หลัก ค่าประจำ�หลัก
ค่าของเลขโดดในแต่ละ
หลักของทศนิยม และ
การเขียนตัวเลขแสดง
ทศนิยมในรูปกระจาย

• ทศนิยมที่เท่ากัน

• การเปรียบเทียบและ
เรียงลำ�ดับทศนิยม

การบวก การลบทศนิยม

• การบวก การลบทศนิยม

• การแก้โจทย์ปัญหา
การบวก การลบทศนิยม
ไม่เกิน 2 ขั้นตอน
ค 1.2 เข้าใจและ แบบรูป แบบรูป
วิเคราะห์แบบรูป
• แบบรูปของจำ�นวน • การแก้ปัญหาเกี่ยวกับ
ความสัมพันธ์ ฟังก์ชัน
ที่เกิดจากการคูณ การหาร แบบรูป
ลำ�ดับและอนุกรม
ด้วยจำ�นวนเดียวกัน
และนำ�ไปใช้

ค 1.3 ใช้นิพจน์ สมการ - - -


และอสมการอธิบาย
ความสัมพันธ์หรือช่วย
แก้ปัญหาที่กำ�หนดให้

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2562 (10)


คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

สาระที่ 2 การวัดและเรขาคณิต
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
มาตรฐานการเรียนรู้
ป.4 ป.5 ป.6
ค 2.1 เข้าใจพื้นฐาน เวลา ความยาว ความยาวรอบรูปและพื้นที่
เกี่ยวกับการวัด วัดและ
∙∙การบอกระยะเวลา ∙∙ความสัมพันธ์ระหว่าง ∙∙ความยาวรอบรูปและ
คาดคะเนขนาดของสิ่งที่
เป็นวินาที นาที ชั่วโมง หน่วยความยาว พื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม
ต้องการวัด และนำ�ไปใช้
วัน สัปดาห์ เดือน ปี เซนติเมตรกับมิลลิเมตร
∙∙มุมภายในของ
เมตรกับเซนติเมตร
∙∙การเปรียบเทียบระยะเวลา รูปหลายเหลี่ยม
กิโลเมตรกับเมตร โดย
โดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่าง
ใช้ความรู้เรื่องทศนิยม ∙∙ความยาวรอบรูปและ
หน่วยเวลา
พื้นที่ของรูปหลายเหลี่ยม
∙∙การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ
∙∙การอ่านตารางเวลา
ความยาวโดยใช้ความรู้ ∙∙การแก้โจทย์ปัญหา
∙∙การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ เรื่องการเปลี่ยนหน่วย เกี่ยวกับความยาวรอบรูป
เวลา และทศนิยม และพื้นที่ของ
รูปหลายเหลี่ยม
การวัดและสร้างมุม น้ำ�หนัก
∙∙ความยาวรอบรูปและ
∙∙การวัดขนาดของมุม ∙∙ความสัมพันธ์ระหว่าง พื้นที่ของวงกลม
โดยใช้โพรแทรกเตอร์ หน่วยน้ำ�หนัก กิโลกรัม
กับกรัม โดยใช้ความรู้ ∙∙การแก้โจทย์ปัญหา
∙∙การสร้างมุมเมื่อกำ�หนด
เรื่องทศนิยม เกีย่ วกับความยาวรอบรูป
ขนาดของมุม
และพื้นที่ของวงกลม
∙∙การแก้โจทย์ปัญหา
รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก
เกี่ยวกับน้ำ�หนัก ปริมาตรและความจุ
∙∙ความยาวรอบรูปของ โดยใช้ความรู้เรื่อง
∙∙ปริมาตรของรูปเรขาคณิต
รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก การเปลี่ยนหน่วย
สามมิติที่ประกอบด้วย
และทศนิยม
∙∙พืน
้ ทีข
่ องรูปสีเ่ หลีย่ มมุมฉาก ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

∙∙การแก้โจทย์ปญ ั หาเกีย่ วกับ ∙∙การแก้โจทย์ปัญหา


ความยาวรอบรูปและพื้นที่ เกี่ยวกับปริมาตรของ
ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก รูปเรขาคณิตสามมิติ
ที่ประกอบด้วย
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2562 (11)


คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

สาระที่ 2 การวัดและเรขาคณิต
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
มาตรฐานการเรียนรู้
ป.4 ป.5 ป.6
ปริมาตรและความจุ

• ปริมาตรของ
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
และความจุของภาชนะ
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

• ความสัมพันธ์ระหว่าง
มิลลิลิตร ลิตร
ลูกบาศก์เซนติเมตร
และลูกบาศก์เมตร

• การแก้โจทย์ปัญหา
เกี่ยวกับปริมาตรของ
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
และความจุของภาชนะ
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

ความยาวรอบรูปและพื้นที่

• ความยาวรอบรูป
ของรูปสี่เหลี่ยม

• พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม
ด้านขนานและ
รูปสีเ่ หลีย่ มขนมเปียกปูน

• การแก้โจทย์ปัญหา
เกีย่ วกับความยาวรอบรูป
ของรูปสี่เหลี่ยมและ
พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม
ด้านขนานและรูปสีเ่ หลีย่ ม
ขนมเปียกปูน

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2562 (12)


คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

สาระที่ 2 การวัดและเรขาคณิต
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
มาตรฐานการเรียนรู้
ป.4 ป.5 ป.6
ค 2.2 เข้าใจและ รูปเรขาคณิต รูปเรขาคณิต รูปเรขาคณิตสองมิติ
วิเคราะห์รูปเรขาคณิต
• ระนาบ จุด เส้นตรง รังสี ∙∙เส้นตั้งฉากและสัญลักษณ์ ∙∙ชนิดและสมบัติของ
สมบัติของรูปเรขาคณิต
ส่วนของเส้นตรงและ แสดงการตั้งฉาก รูปสามเหลี่ยม
ความสัมพันธ์ระหว่าง
สัญลักษณ์แสดงเส้นตรง
รูปเรขาคณิต และ ∙∙เส้นขนานและสัญลักษณ์ ∙∙การสร้างรูปสามเหลี่ยม
รังสี ส่วนของเส้นตรง
ทฤษฎีบททางเรขาคณิต แสดงการขนาน
และนำ�ไปใช้ ∙∙ส่วนต่าง ๆ ของวงกลม
• มุม
∙∙การสร้างเส้นขนาน
∙∙การสร้างวงกลม
- ส่วนประกอบของมุม
∙∙มุมแย้ง มุมภายในและ
- การเรียกชื่อมุม รูปเรขาคณิตสามมิติ
มุมภายนอกที่อยู่บน
- สัญลักษณ์แสดงมุม ข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง ∙∙ทรงกลม ทรงกระบอก
- ชนิดของมุม (Transversal) กรวย พีระมิด
• ชนิดและสมบัติ รูปเรขาคณิตสองมิติ ∙∙รูปคลี่ของทรงกระบอก
ของรูปสี่เหลี่ยมุมฉาก กรวย ปริซึม พีระมิด
∙∙ชนิดและสมบัติ
• การสร้างรูปสีเ่ หลีย่ มมุมฉาก ของรูปสี่เหลี่ยม

∙∙การสร้างรูปสี่เหลี่ยม

รูปเรขาคณิตสามมิติ

∙∙ลักษณะและส่วนต่าง ๆ
ของปริซึม

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2562 (13)


คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

สาระที่ 3 สถิติและความน่าจะเป็น
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
มาตรฐานการเรียนรู้
ป.4 ป.5 ป.6
ค 3.1 เข้าใจกระบวนการ การนำ�เสนอข้อมูล การนำ�เสนอข้อมูล การนำ�เสนอข้อมูล
ทางสถิติ และใช้ความรู้
∙∙การอ่านและการเขียน ∙∙การอ่านและการเขียน ∙∙การอ่านแผนภูมิรูปวงกลม
ทางสถิติในการแก้ปัญหา
แผนภูมิแท่ง แผนภูมิแท่ง
(ไม่รวมการย่นระยะ)
∙∙การอ่านกราฟเส้น
∙∙การอ่านตารางสองทาง
(Two-Way Table)

ค 3.2 เข้าใจหลักการนับ - - -
เบื้องต้น ความน่าจะเป็น
และนำ�ไปใช้

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2562 (14)


คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

จำ�นวนและพีชคณิต การวัดและเรขาคณิต สถิติและความน่าจะเป็น

จำ�นวนนับ การบวก การลบ เศษส่วนและการบวก การลบ การคูณ


พื้นฐานทางเรขาคณิต รูปเรขาคณิตสองมิติ การนำ�เสนอข้อมูล
การคูณ และการหาร การหารเศษส่วน
∙∙ บัญญัติไตรยางศ์ ∙∙ เศษส่วนแท้ เศษเกิน จำ�นวนคละ ∙∙ เส้นตั้งฉาก ∙∙ ชนิดและสมบัติของรูปสี่เหลี่ยม ∙∙ การอ่านและการเขียนแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบ
แผนภูมิแท่งที่มีการย่นระยะ
∙∙ ความสัมพันธ์ของจำ�นวนคละและเศษเกิน ∙∙ เส้นขนาน ∙∙ การสร้างรูปสี่เหลี่ยม
∙∙ การอ่านกราฟเส้น
∙∙ เศษส่วนที่เท่ากัน เศษส่วนอย่างต่ำ� เศษส่วนที่เท่ากับ ∙∙ มุมแย้ง มุมภายในและมุมภายนอก ∙∙ ความยาวรอบรูป
จำ�นวนนับ ที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง ∙∙ โจทย์ปัญหา
∙∙ พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
∙∙ การเปรียบเทียบและเรียงลำ�ดับเศษส่วน จำ�นวนคละ ∙∙ การสร้างเส้นขนาน และรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
∙∙ การบวก การลบเศษส่วนและจำ�นวนคละ ∙∙ โจทย์ปัญหา
∙∙ การแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบเศษส่วนและ
จำ�นวนคละ

ทศนิยม การบวก การลบ


ร้อยละ รูปเรขาคณิตสามมิติ
การคูณ และการหาร
∙∙ ความสัมพันธ์ระหว่างเศษส่วนกับทศนิยม ∙∙ การอ่าน การเขียนร้อยละ ∙∙ ลักษณะและส่วนต่าง ๆ ของปริซึม
∙∙ ค่าประมาณ ∙∙ โจทย์ปัญหา ∙∙ ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
∙∙ การคูณ การหาร ∙∙ ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยปริมาตร
∙∙ การประมาณผลลัพธ์ของการบวก ∙∙ โจทย์ปัญหา
การลบ การคูณ การหาร
∙∙ ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยความยาว
∙∙ ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยน้ำ�หนัก
∙∙ โจทย์ปัญหา

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2562 (15)


คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ตัวอย่างคำ�อธิบายรายวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

รหัสวิชา ค 15101 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เวลา 160 ชั่วโมง

ศึกษา ฝึกทักษะการคิดคำ�นวณ และฝึกการแก้ปัญหาในเนื้อหาต่อไปนี้


การเปรียบเทียบเศษส่วนและจำ�นวนคละ การบวก การลบเศษส่วนและจำ�นวนคละ การคูณ การหาร
ของเศษส่วนและจำ�นวนคละ การบวก ลบ คูณ หารระคนของเศษส่วนและจำ�นวนคละ การแก้โจทย์ปัญหา
เศษส่วนและจำ�นวนคละ
ความสัมพันธ์ระหว่างเศษส่วนและทศนิยม ค่าประมาณของทศนิยมไม่เกิน 3 ตำ�แหน่งให้เป็นจำ�นวนเต็มหน่วย
ทศนิยม 1 ตำ�แหน่ง และ 2 ตำ�แหน่ง การใช้เครื่องหมาย ≈ การประมาณผลลัพธ์ของการบวก การลบ การคูณ
การหารทศนิยม การคูณทศนิยม การหารทศนิยม ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยความยาว เซนติเมตรกับมิลลิเมตร
เมตรกับเซนติเมตร กิโลเมตรกับเมตร ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยน้ำ�หนัก กิโลกรัมกับกรัม การแก้โจทย์ปัญหา
เกี่ยวกับความยาวและน้ำ�หนักโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับทศนิยมและการเปลี่ยนหน่วย
การแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้บัญญัติไตรยางศ์ การอ่านและการเขียนร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ การแก้โจทย์
ปัญหาร้อยละ
เส้นตั้งฉากและสัญลักษณ์แสดงการตั้งฉาก เส้นขนานและสัญลักษณ์แสดงการขนาน การสร้างเส้นขนาน
มุมแย้ง มุมภายในและมุมภายนอกที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง ชนิดและสมบัติของรูปสี่เหลี่ยม
การสร้างรูปสีเ่ หลีย่ ม ความยาวรอบรูปของรูปสีเ่ หลีย่ ม พืน
้ ทีข
่ องรูปสีเ่ หลีย่ มด้านขนานและรูปสีเ่ หลีย่ มขนมเปียกปูน
การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวรอบรูปและพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานและรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
ลักษณะและส่วนต่าง ๆ ของปริซึม ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากและความจุของภาชนะทรงสี่เหลี่ยม-
มุมฉาก ความสัมพันธ์ระหว่าง มิลลิลิตร ลิตร ลูกบาศก์เซนติเมตร และลูกบาศก์เมตร การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ
ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากและความจุของภาชนะทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
การอ่านและการเขียนแผนภูมิแท่ง การอ่านกราฟเส้น
โดยจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ทใ่ี กล้ตวั ให้นกั เรียนได้ศกึ ษาค้นคว้าจากการปฏิบต
ั จิ ริง สรุปรายงาน
เพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำ�นวณ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการแก้ปัญหา การสื่อสารและ
การสือ่ ความหมายทางคณิตศาสตร์ การเชือ่ มโยง การให้เหตุผล และ การคิดสร้างสรรค์ สามารถทำ�งานอย่างเป็นระบบ
มีระเบียบวินัย มีความรอบคอบ มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณ และมีความเชื่อมั่นในตนเอง รวมทั้งตระหนัก
ในคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์
การวัดและประเมินผล เน้นการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
โดยให้สอดคล้องกับบริบท และเป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2562 (16)


คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

รหัสตัวชี้วัด
ค 1.1 ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4, ป.5/5, ป.5/6, ป.5/7, ป.5/8, ป.5/9
ค 1.2 -
ค 1.3 -
ค 2.1 ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4
ค 2.2 ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4
ค 3.1 ป.5/1, ป.5/2
ค 3.2 -
รวมทั้งหมด 19 ตัวชี้วัด

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2562 (17)


คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ตัวอย่างโครงสร้างเวลาเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

บทที่/เรื่อง เวลา (ชั่วโมง)

ภาคเรียนที่ 1
บทที่ 1 เศษส่วน 34

บทที่ 2 ทศนิยม 34

บทที่ 3 การนำ�เสนอข้อมูล 12

กิจกรรมคณิตศาสตร์เชิงสะเต็ม : กินอยู่อย่างฉลาด -

รวมภาคเรียนที่ 1 80

ภาคเรียนที่ 2
บทที่ 4 บัญญัติไตรยางศ์ 9

บทที่ 5 ร้อยละ 17

บทที่ 6 เส้นขนาน 13

บทที่ 7 รูปสี่เหลี่ยม 24

บทที่ 8 ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก 17

กิจกรรมคณิตศาสตร์เชิงสะเต็ม : ออกแบบลานจอดรถ -

รวมภาคเรียนที่ 2 80

รวมเวลาเรียนตลอดปีการศึกษา 160

หมายเหตุ 1. ควรสอนวันละ 1 ชั่วโมง 4 วันต่อสัปดาห์


2. จำ�นวนชั่วโมงที่ใช้สอนแต่ละบทนั้นได้ รวมเวลาที่ใช้ทดสอบไว้แล้ว
3. กำ�หนดเวลาทีใ่ ห้ไว้แต่ละบทเป็นเวลาโดยประมาณ ครูอาจปรับให้เหมาะสมกับระดับความสามารถของนักเรียน
4. กิจกรรมคณิตศาสตร์เชิงสะเต็มเป็นกิจกรรมเสริม ครูอาจให้นักเรียนทำ�กิจกรรมนี้ในเวลาที่เหมาะสม

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2562 (18)


คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ตารางวิเคราะห์หน่วยการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

หน่วยการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรูแ


้ กนกลาง
บทที่ 4 นักเรียนสามารถ 1. แสดงวิธีหาคำ�ตอบ จำ�นวนนับและ 0 การบวก
บัญญัติไตรยางศ์ วิเคราะห์และแสดงวิธีหาคำ�ตอบ ของโจทย์ปัญหา การลบ การคูณ และการหาร
ของโจทย์ปัญหาโดยใช้ โดยใช้บัญญัติไตรยางศ์ xx การแก้โจทย์ปัญหา
บัญญัติไตรยางศ์ โดยใช้บัญญัติไตรยางศ์

บทที่ 5 ร้อยละ นักเรียนสามารถ 1. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของ ร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์


1. แสดงปริมาณของสิ่งต่าง ๆ โจทย์ปญั หาร้อยละไม่เกิน xx การอ่านและการเขียน
ในรูปร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ 2 ขั้นตอน ร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์
2. หาร้อยละของจำ�นวนนับ xx การแก้โจทย์ปญ
ั หาร้อยละ
3. วิเคราะห์และแสดงวิธีหา
คำ�ตอบของโจทย์ปญ
ั หาร้อยละ

บทที่ 6 เส้นขนาน นักเรียนสามารถ 1. สร้างเส้นตรงหรือ รูปเรขาคณิต


1. ระบุเส้นตรงคู่ที่ขนานกัน ส่วนของเส้นตรง xx เส้นตั้งฉากและสัญลักษณ์
โดยพิจารณาจากระยะห่าง ให้ขนานกับเส้นตรง แสดงการตั้งฉาก
ระหว่างเส้นตรง หรือส่วนของเส้นตรง
ที่กำ�หนดให้ xx เส้นขนานและสัญลักษณ์
2. ตรวจสอบเส้นขนาน แสดงการขนาน
โดยพิจารณาจากมุมแย้ง xx การสร้างเส้นขนาน
3. ตรวจสอบเส้นขนาน xx มุมแย้ง มุมภายใน
โดยพิจารณาจากผลบวกของ และมุมภายนอกทีอ่ ยูบ
่ นข้าง
มุมภายในทีอ่ ยูบ
่ นข้างเดียวกัน เดียวกันของเส้นตัดขวาง
ของเส้นตัดขวาง (Transversal)
4. สร้างเส้นขนาน
ตามข้อกำ�หนด

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2562 (19)


คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

หน่วยการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรูแ


้ กนกลาง
บทที่ 7 รูปสี่เหลี่ยม นักเรียนสามารถ 1. จำ�แนกรูปสี่เหลี่ยมโดย รูปเรขาคณิตสองมิติ
1. บอกชนิดและสมบัติ พิจารณาจากสมบัตข ิ องรูป xx ชนิดและสมบัติ
ของรูปสี่เหลี่ยม 2. สร้างรูปสีเ่ หลีย่ มชนิดต่าง ๆ ของรูปสี่เหลี่ยม
2. สร้างรูปสีเ่ หลีย่ มตามข้อกำ�หนด เมื่อกำ�หนดความยาว xx การสร้างรูปสี่เหลี่ยม
ของด้านและขนาดของมุม
3. หาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม หรือเมื่อกำ�หนดความยาว ความยาวรอบรูปและพื้นที่
ด้านขนานและรูปสี่เหลี่ยม ของเส้นทแยงมุม xx ความยาวรอบรูปของ
ขนมเปียกปูน รูปสี่เหลี่ยม
3. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของ
4. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ xx พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม
โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาว ความยาวรอบรูปของ ด้านขนานและรูปสี่เหลี่ยม
รอบรูปของรูปสี่เหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยมและพื้นที่ของ ขนมเปียกปูน
5. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของ รูปสี่เหลี่ยมด้านขนานและ xx การแก้โจทย์ปัญหา
โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่ของ รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เกี่ยวกับความยาวรอบรูป
รูปสี่เหลี่ยมด้านขนานและ ของรูปสี่เหลี่ยมและพื้นที่
รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
6. แก้โจทย์ปัญหาโดยใช้ความรู้ และรูปสีเ่ หลีย่ มขนมเปียกปูน
เกี่ยวกับพื้นที่และความยาว
รอบรูปของรูปสี่เหลี่ยม
ด้านขนาน และรูปสี่เหลี่ยม
ขนมเปียกปูน
บทที่ 8 ปริมาตร นักเรียนสามารถ 1. บอกลักษณะของปริซึม รูปเรขาคณิตสามมิติ
และความจุของ 1. บอกลักษณะและส่วนต่าง ๆ 2. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของ xx ลักษณะและส่วนต่าง ๆ
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ของปริซึม โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ ของปริซึม
2. หาปริมาตรและความจุของ ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยม- ปริมาตรและความจุ
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก มุมฉากและความจุของ
xx ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยม-
ภาชนะทรงสีเ่ หลีย่ มมุมฉาก
3. บอกความสัมพันธ์ระหว่าง มุมฉากและความจุของ
หน่วยปริมาตรหรือหน่วยความจุ ภาชนะทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
4. แก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ xx ความสัมพันธ์ระหว่าง
ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยม- มิลลิลิตร ลิตร
มุมฉากและความจุของ ลูกบาศก์เซนติเมตร
ภาชนะทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และลูกบาศก์เมตร
xx การแก้โจทย์ปัญหา
เกี่ยวกับปริมาตรของ
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากและ
ความจุของภาชนะ
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

© สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2562 (20)


คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

บทที่
4 บัญญัติไตรยางศ์

จุดประสงค์การเรียนรู้และสาระสำ�คัญ

จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระสำ�คัญ
นักเรียนสามารถ
วิเคราะห์และแสดงวิธีหาคำ�ตอบ ••โจทย์ปัญหาการคูณและการหารที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง
ของโจทย์ปัญหาโดยใช้บัญญัติไตรยางศ์ ปริมาณของสิ่ง 2 สิ่ง สิ่งละ 2 จำ�นวน โดยโจทย์กำ�หนด
ปริมาณของสิ่ง 2 สิ่ง ให้ 3 จำ�นวน ซึ่งเป็นปริมาณของสิ่งเดียวกัน
2 จำ�นวน และเป็นปริมาณของอีกสิ่งหนึ่ง 1 จำ�นวน
อาจหาปริมาณของอีกสิ่งหนึ่ง อีก 1 จำ�นวนได้ โดยใช้
บัญญัติไตรยางศ์

••การแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้บัญญัติไตรยางศ์ เริ่มจากทำ�ความเข้าใจ
ปัญหา วางแผนแก้ปัญหา ดำ�เนินการตามแผน และตรวจสอบ

••การเขียนแสดงวิธีหาคำ�ตอบโดยใช้ บัญญัติไตรยางศ์
อาจทำ�ได้ ดังนี้
บรรทัดที่ 1 เขียนความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของสิ่ง 2 สิ่ง
ตามโจทย์กำ�หนด โดยให้จำ�นวนของสิ่งที่ต้องการหาไว้ทางขวา
บรรทัดที่ 2 หาจำ�นวนของสิ่งที่อยู่ทางขวา โดยให้จำ�นวนของ
สิ่งที่อยู่ทางซ้ายเป็น 1 หน่วย
บรรทัดที่ 3 หาจำ�นวนของสิ่งที่อยู่ทางขวาตามที่โจทย์ต้องการ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 1
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

ตารางวิเคราะห์เนื้อหากับทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรม

เวลา ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
หัวข้อ เนื้อหา
(ชั่วโมง) j k l m n
เตรียมความพร้อม 1 - - - - -

4.1 การแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้บัญญัติไตรยางศ์ 7    - -

ร่วมคิดร่วมทำ� 1   - - -

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

j การแก้ปัญหา k การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
l การเชื่อมโยง m การให้เหตุผล n การคิดสร้างสรรค์

คำ�ใหม่
บัญญัติไตรยางศ์

ความรู้หรือทักษะพื้นฐาน
การบวก การลบ การคูณ การหารจำ�นวนนับ การคูณเศษส่วนกับจำ�นวนนับ

สื่อการเรียนรู้

แหล่งเรียนรู้
1. หนังสือเรียนหน้า 2 - 17

2. แบบฝึกหัดหน้า 2 - 15

เวลาที่ใช้จัดการเรียนรู้
9 ชั่วโมง

2| สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

แนวการจัดการเรียนรู้
การเตรียมความพร้อม

บทที่
4 บัญญัติไตรยางศ์
45 บาท
120 บาท
20 บาท

เรียนจบบทนี้แล้ว นักเรียนสามารถ
วิเคราะห์และแสดงวิธีหาคำาตอบของโจทย์ปัญหาโดยใช้บัญญัติไตรยางศ์
40 บา 60 บา
ท 20 บาท ท

60 บาท 35 บาท
8 บาท

ถ้าต้องการซื้อไข่ 60 ฟอง จะซื้อแบบไหนดีนะ


กก.
กก. ลูลู
กก ละ
ละ กก. .
กก ฝ�ฝ�
กก ละ
ละ จะได้จ่ายเงินน้อยที่สุด
35.-
35.- 8.-8.- 25.
25. -- 10.-
10.-
ฟ�กฟ�ทอ
กทอ
ง ง
โหลละ
โหลละ ฟอ
ฟอ งลงล
ะะ กกกก.-. .-. กก.
กก.
30.-
30.- 66
.-.- 20
20 25.-
25.- ถ้ามีเงินอยู่ 120 บาท จะซื้อแอปเปิล
สินค้าในตลาด บางครั้งผู้ขายอาจแบ่งขายเป็นชิ้น เป็นห่อ
ได้มากที่สุดกี่ผลนะ
กกกก
. เป็
. นแพ็ค กก. .
กกกก.เพื..- ่อให้ผู้ซื้อเลือกได้ตามความต้องการ
กก กก.
กก.
35
35.-.- 20
20 .- 40.
40.- - 15.-
15.-

ถ้าซื้อจำานวนมาก ๆ เช่น เป็นโหล เป็นลัง


ราคาถูกกว่าซื้อเป็นชิ้น การซื้อสินค้าจำานวนมาก ๆ แม้ว่าราคาจะถูกกว่า
แต่เราควรซื้อเท่าที่จำาเป็น เพียงพอต่อการใช้เท่านั้น
การซื้อสินค้ามากเกินความจำาเป็น นอกจากจะสิ้นเปลืองเเล้ว
ยังอาจไม่คุ้มค่า เนื่องจากสินค้าอาจเสีย หรือหมดอายุ
ก่อนที่จะนำาไปใช้

1. ใช้ข้อมูลหน้าเปิดบทซึ่งเป็นสถานการณ์เกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าในตลาดเพื่อสร้างความสนใจเกี่ยวกับการเลือกซื้อสินค้า
ที่มีการขายเป็นชิ้น เป็นห่อ เป็นถุง หรือเป็นแพ็ค โดยอาจใช้คำ�ถามกระตุ้นความสนใจ เช่น

•• ไข่ไก่ 1 แพ็ค มี 10 ฟอง ราคา 45 บาท ไข่ไก่ 1 ฟอง ราคาเท่าใด

•• ไข่ไก่ 1 แผง มี 30 ฟอง ราคา 120 บาท ไข่ไก่ 1 ฟอง ราคาเท่าใด

•• ไข่ไก่ 1 จาน มี 4 ฟอง ราคา 20 บาท ไข่ไก่ 1 ฟอง ราคาเท่าใด

•• การขายไข่ไก่ทั้งสามแบบ แบบใดที่ไข่ไก่ 1 ฟอง ราคาถูกที่สุด

•• ถ้าต้องการซื้อไข่ไก่ 60 ฟอง จะซื้อไข่ไก่แบบใดได้บ้าง และแบบใดที่จ่ายเงินน้อยที่สุด

ครูนำ�ตัวอย่างสถานการณ์ที่เหลืออีก 2 ตัวอย่าง มาตั้งเป็นประเด็นคำ�ถามให้นักเรียนตอบซึ่งคำ�ตอบของนักเรียน


อาจแตกต่างกัน ครูไม่จำ�เป็นต้องเฉลย ควรให้นักเรียนเป็นผู้หาคำ�ตอบเองหลังจากเรียนเรื่องบัญญัติไตรยางศ์แล้ว

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 3
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

2. เตรียมความพร้อมเป็นการตรวจสอบความรู้พื้นฐาน
ที่จำ�เป็นสำ�หรับการเรียนบทนี้ โดยอาจจัดกิจกรรม ดังนี้
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

เตรียมความพร้อม
•• ทบทวนความรู้เกี่ยวกับการคูณ การหารจำ�นวนนับ
และการคูณเศษส่วนกับจำ�นวนนับ
1 จับคู่โจทย์ทางซ้ายกับโจทย์ทางขวาที่มีผลลัพธ์เท่ากัน

แล้วให้นักเรียนทำ�กิจกรรมหน้า 4 1) 48 × 3 ÷ 12
A) 260 ÷ 25 × 10

B) 10 × 240 ÷ 3
•• ทบทวนการวิเคราะห์โจทย์และหาคำ�ตอบ 2) 48 × 12 ÷ 3
C) 260 ÷ 10 × 25
ของโจทย์ปัญหาการคูณ การหารจำ�นวนนับ
10 3
เศษส่วนและทศนิยม แล้วให้นักเรียนทำ�กิจกรรม 3)
3
× 240 D) 48 ×
12

หน้า 5 4)
3
× 260
E) 240 × 3 ÷ 10

10
F) 260 × 3 ÷ 10
จากนั้นให้ทำ�แบบฝึกหัด 4.1 เป็นรายบุคคล 10
5) 260 × 48
25 G) 12 ×
3

2 หาผลคูณ

6 2 5
1) × 200 48 2) 300 × 200 3) × 48 20
25 3 12

4 7 12
4) 56 × 32 5) × 105 147 6) 51 × 68
7 5 9

4| สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์ บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

3 หาคำาตอบ เฉลยหน้า 5

1) ดารณีซื้อดินสอ 3 แท่ง จ่ายเงิน 24 บาท ดินสอราคาแท่งละเท่าใด 8 บาท 4

2) ระยะทาง 33 กิโลเมตร จินดาใช้เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง 1) วิธีทำ� นิดมีส้มโอ 54 ผล


1
เฉลี่ยแล้วจินดาใช้เวลาเดินทางชั่วโมงละกี่กิโลเมตร 8.25 กิโลเมตร ขายไป ของส้มโอทั้งหมด
6
1
3) ไข่ราคาฟองละ 4.75 บาท โกวิทซื้อไข่ 6 ฟอง จ่ายเงินเท่าใด 28.50 บาท นิดขายส้มโอไป × 54 = 9 ผล
6
ดังนั้น นิดขายส้มโอไป 9 ผล
4) น้ำาผลไม้ 1.25 ลิตร อุษณีย์แบ่งใส่แก้ว 5 ใบ ใบละเท่า ๆ กัน
แก้วแต่ละใบมีน้ำาผลไม้กี่ลิตร 0.25 ลิตร ตอบ ๙ ผล

5) ภีมม์ซื้อเนื้อไก่ 3 ถุง หนักถุงละเท่า ๆ กัน ชั่งรวมกันได้ 3.75 กิโลกรัม


ไก่แต่ละถุงหนักกี่กิโลกรัม 1.25 กิโลกรัม 2) วิธีทำ� ลุงอำานวยมีพื้นที่ปลูกข้าว 3,600 ตารางวา
3
เป็นพื้นที่ปลูกข้าวเหนียว ของพื้นที่ทั้งหมด
10
4 แสดงวิธีหาคำาตอบ 3
จะได้พื้นที่ปลูกข้าวเหนียว × 3,600 = 1,080 ตารางวา
10
1
1) นิดมีส้มโอ 54 ผล ขายไป ของส้มโอทั้งหมด นิดขายส้มโอไปกี่ผล ดังนั้น ลุงอำานวยปลูกข้าวเจ้าคิดเป็นพื้นที่ 3,600 − 1,080 = 2,520 ตารางวา
6
3 ตอบ ๒,๕๒๐ ตารางวา
2) ลุงอำานวยมีพื้นที่ปลูกข้าว 3,600 ตารางวา เป็นพื้นที่ปลูกข้าวเหนียว ของพื้นที่ทั้งหมด
10
ที่เหลือเป็นพื้นที่ปลูกข้าวเจ้า ลุงอำานวยปลูกข้าวเจ้าคิดเป็นพื้นที่กี่ตารางวา

5 3) วิธีทำ� นักเรียนชั้น ป.5 มี 72 คน


3) นักเรียนชั้น ป.5 มี 72 คน เป็นนักเรียนชาย ของนักเรียนทั้งหมด
12 5
เป็นนักเรียนชาย ของนักเรียนทั้งหมด
ชั้น ป.5 มีนักเรียนหญิงกับนักเรียนชายต่างกันกี่คน 12
5
ชั้น ป.5 มีนักเรียนชาย × 72 = 30 คน
2 12
4) พ่อมีที่ดิน 50 ไร่ เเบ่งให้ลูก 2 คน เเต่ละคนได้รับ ของที่ดินทั้งหมด
5 จะได้ว่าชั้น ป.5 มีนักเรียนหญิง 72 − 30 = 42 คน
พ่อแบ่งที่ดินให้ลูกกี่ไร่
ดังนั้น ชั้น ป.5 มีนักเรียนหญิงกับนักเรียนชายต่างกัน 42 − 30 = 12 คน
3
5) บริษัทรับเหมาทำาสัญญาสร้างถนน 20 กิโลเมตร ช่วงเเรกสร้างไปแล้ว ของทั้งหมด ตอบ ๑๒ คน
5
1
ช่วงที่สองสร้างอีก ของทั้งหมด บริษัทต้องสร้างถนนเพิ่มอีกกี่กิโลเมตรจึงจะครบ
4
ตามสัญญา

แบบฝึกหัด 4.1

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |5 2| สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี

4| สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

เฉลยหน้า 5

4) วิธีทำ� พ่อมีที่ดิน 50 ไร่


2
แบ่งให้ลูก 2 คน แต่ละคนได้รับ ของที่ดินทั้งหมด
5
2 4
ดังนั้น พ่อแบ่งที่ดินให้ลูก 2× = ของที่ดินทั้งหมด
5 5
4
หรือ คิดเป็น × 50 = 40 ไร่
5
ตอบ ๔๐ ไร่

5) วิธีทำ� บริษัทรับเหมาทำาสัญญาสร้างถนน 20 กิโลเมตร


3 1
ช่วงเเรกสร้างไปแล้ว ของทั้งหมด และช่วงที่สองสร้างอีก ของทั้งหมด
5 4
3 1
บริษัทสร้างถนนไปแล้ว + = 3×4+1×5 ของทั้งหมด
5 4 5×4 4×5
12 5
= + ของทั้งหมด
20 20
17
= ของทั้งหมด
20
17
หรือ คิดเป็น × 20 = 17 กิโลเมตร
20
ดังนั้น บริษัทต้องสร้างถนนเพิ่มอีก 20 − 17 = 3 กิโลเมตร จึงจะครบตามสัญญา

ตอบ ๓ กิโลเมตร

หมายเหตุ อาจใช้วิธีหาความยาวของถนนที่สร้างแต่ละช่วง และนำามารวมกัน


แล้วจึงนำาไปลบออกจากความยาวของถนนทั้งหมด

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี |3

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 5
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

4.1 การแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้บัญญัติไตรยางศ์

จุดประสงค์การเรียนรู้
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

นักเรียนสามารถวิเคราะห์และแสดงวิธีหาคำ�ตอบ
4.1 การแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้บัญญัติไตรยางศ์ 7
ของโจทย์ปัญหาโดยใช้บัญญัติไตรยางศ์
พิจารณาการแก้โจทย์ปัญหา

สื่อการเรียนรู้
น้ำาปลา 3 ลิตร นำามาบรรจุขวดปริมาณเท่ากัน
- ได้ 6 ขวด น้ำาปลา 1 ลิตร บรรจุขวดได้กี่ขวด

แนวการจัดการเรียนรู้ สิ่งที่โจทย์ถาม จำานวนขวดที่ใช้สำาหรับบรรจุน้ำาปลา 1 ลิตร

การสอนการแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้บัญญัติไตรยางศ์
สิ่งที่โจทย์บอก น้ำาปลา 3 ลิตร นำามาบรรจุขวดปริมาณเท่ากันได้ 6 ขวด

ครูอาจจัดกิจกรรมดังนี้ จะหาจำานวนขวดที่ใช้สำาหรับบรรจุน้ำาปลา 1 ลิตร ได้อย่างไร


และได้คำาตอบเท่าใด

1. การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการหาจำ�นวนของสิ่งต่าง ๆ
นำาจำานวนขวดทั้งหมด หารด้วย ปริมาณน้ำาปลาที่ใช้บรรจุขวด
1 หน่วย ครูนำ�สถานการณ์ปัญหาหน้า 6 ซึ่งจะได้ว่า 6 ÷ 3 = 2 ขวด

ให้นักเรียนร่วมกันพิจารณาแล้วใช้การถาม-ตอบประกอบ ทำาไมจึงใช้การหาร

การอธิบายตามขั้นตอนการแก้ปัญหา ครูควรยกตัวอย่าง เพราะน้ำาปลา 3 ลิตร แบ่งเท่า ๆ กันได้ 6 ขวด


ต้องการหาว่าน้ำาปลา 1 ลิตร บรรจุได้กี่ขวด
สถานการณ์เพิ่มเติม เพื่อฝึกทักษะการหาปริมาณของ นั่นคือ 6 ขวดต้องเเบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กัน
จะได้กลุ่มละ 2 ขวด
สิ่งต่าง ๆ 1 หน่วย เช่น
••อั๋นขับรถยนต์ระยะทาง 96 กิโลเมตร ถ้ามีน้ำาปลา 5 ลิตร จะบรรจุขวดได้กี่ขวด หาได้อย่างไร

ใช้น้ำ�มัน 8 ลิตร น้ำ�มัน 1 ลิตร


6|
รถยนต์จะแล่นได้ระยะทางเท่าใด
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

••อาหารสุนัข 4 ถุง ใช้เลี้ยงสุนัขได้ 28 มื้อ


อาหารสุนัข 1 ถุง ใช้เลี้ยงสุนัขได้กี่มื้อ
ครูอาจกระตุ้นโดยตั้งคำ�ถามให้นักเรียนคิด
เกี่ยวกับการหาปริมาณที่มากกว่า 1 หน่วย เช่น
••อั๋นขับรถยนต์ระยะทาง 96 กิโลเมตร
ใช้น้ำ�มัน 8 ลิตร ถ้ามีน้ำ�มันเหลืออยู่ 10 ลิตร
รถยนต์จะแล่นได้ระยะทางเท่าใด
••อาหารสุนัข 4 ถุง ใช้เลี้ยงสุนัขได้ 28 มื้อ
อาหารสุนัข 7 ถุง ใช้เลี้ยงสุนัขได้กี่มื้อ

6| สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

2. ครูใช้การถาม-ตอบประกอบการอธิบายสถานการณ์
ปัญหาหน้า 7 เพื่อหาปริมาณที่มากกว่า 1 หน่วย
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

จากนั้นร่วมกันพิจารณาตัวอย่างหน้า 7-8 แล้วร่วมกัน พิจารณาการแก้โจทย์ปัญหา

ทำ�กิจกรรมหน้า 8 และทำ�แบบฝึกหัด 4.2 เป็นรายบุคคล น้ำาดื่ม 1 ขวด ราคา 8 บาท


อ้อยซื้อน้ำาดื่ม 5 ขวด
จ่ายเงินเท่าใด 8 บาท

สิ่งที่โจทย์ถาม จำานวนเงินที่อ้อยต้องจ่ายเมื่อซื้อน้ำาดื่ม 5 ขวด

สิ่งที่โจทย์บอก น้ำาดื่ม 1 ขวด ราคา 8 บาท

จะหาจำานวนเงินที่อ้อยต้องจ่ายได้อย่างไร และได้คำาตอบเท่าใด

นำาจำานวนน้ำาดื่มที่ซื้อ คูณกับ ราคาน้ำาดื่ม 1 ขวด


จะได้ 5 × 8 = 40 บาท

ทำาไมจึงใช้การคูณ

เพราะจำานวนเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นครั้งละ 8 บาท

1
ข้าวสาร 5 กิโลกรัม นิดหุงรับประทานมื้อละเท่า ๆ กันได้ 20 มื้อ
ข้าวสาร 1 กิโลกรัม นิดหุงรับประทานได้กี่มื้อ

วิธีทำา ข้าวสาร 5 กิโลกรัม

นิดหุงได้ 20 มื้อ

ข้าวสาร 1 กิโลกรัม นิดหุงได้ 20 ÷ 5 = 4 มื้อ

ดังนั้น ข้าวสาร 1 กิโลกรัม นิดหุงรับประทานได้ 4 มื้อ

ตอบ ๔ มื้อ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |7

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์ บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

2 เฉลยหน้า 8

เก่งมีสี 4 กระป๋อง เเต่ละกระป๋อง ใช้ทาผนังได้ 50 ตารางเมตร


เก่งใช้สีทั้งหมดทาผนังได้กี่ตารางเมตร
1 วิธีทำ� ปลากะพง 2 กิโลกรัม ราคา 500 บาท
วิธีทำา เก่งมีสี 4 กระป๋อง
ปลากะพง 1 กิโลกรัม ราคา 500 ÷ 2 = 250 บาท
สี 1 กระป๋องใช้ทาผนังได้ 50 ตารางเมตร
ดังนั้น ปลากะพง 1 กิโลกรัม ราคา 250 บาท
สี 4 กระป๋องใช้ทาผนังได้ 4 × 50 = 200 ตารางเมตร
ตอบ ๒๕๐ บาท
ดังนั้น เก่งใช้สีทั้งหมดทาผนังได้ 200 ตารางเมตร

ตอบ ๒๐๐ ตารางเมตร


2 วิธีทำ� จินดานำาข้าวหอมมะลิ 2,000 กรัม

แสดงวิธีหาคำาตอบ บรรจุถุง ถุงละเท่า ๆ กันได้ 4 ถุง

ข้าวหอมมะลิหนักถุงละ 2,000 ÷ 4 = 500 กรัม


1 ปลากะพง 2 กิโลกรัม ราคา 500 บาท ปลากะพง 1 กิโลกรัม ราคาเท่าใด
ดังนั้น ข้าวหอมมะลิหนักถุงละ 500 กรัม
2 จินดานำาข้าวหอมมะลิ 2,000 กรัม บรรจุถุง ถุงละเท่า ๆ กันได้ 4 ถุง ตอบ ๕๐๐ กรัม
ข้าวหอมมะลิหนักถุงละกี่กรัม

3 สมบูรณ์ทำางาน 6 วัน ได้รับค่าจ้าง 2,100 บาท สมบูรณ์ได้รับค่าจ้างวันละเท่าใด 3 วิธีทำ� ได้รับค่าจ้าง 2,100 บาท

4 ในการจัดค่ายคณิตศาสตร์ ครู 8 คน ดูแลนักเรียน 240 คน สมบูรณ์ทำางาน 6 วัน

ถ้าครูแต่ละคนดูแลนักเรียนจำานวนเท่า ๆ กัน ครู 1 คน จะดูแลนักเรียนกี่คน สมบูรณ์ได้รับค่าจ้างวันละ 2,100 ÷ 6 = 350 บาท

5 ชุดนักเรียน 1 ชุด ราคา 325 บาท สมเกียรติซื้อชุดนักเรียน 3 ชุด จ่ายเงินเท่าใด ดังนั้น สมบูรณ์ได้รับค่าจ้างวันละ 350 บาท

ตอบ ๓๕๐ บาท


6 น้ำาส้มคั้น 1 ลิตร ใช้ส้ม 45 ผล ถ้าต้องการน้ำาส้มคั้น 15 ลิตร จะต้องใช้ส้มกี่ผล

7 รถยนต์คันหนึ่งใช้น้ำามัน 1 ลิตร แล่นได้ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร


ถ้ารถคันนี้มีน้ำามัน 32 ลิตร จะแล่นได้ระยะทางประมาณกี่กิโลเมตร

8 แปลงปลูกผัก 1 แปลง ปลูกผักคะน้าได้ 30 ต้น ถ้าแจนมีแปลงปลูกผัก 12 แปลง


จะปลูกคะน้าได้ทั้งหมดกี่ต้น

แบบฝึกหัด 4.2

8| สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2| สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 7
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์ บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

เฉลยหน้า 8 เฉลยหน้า 8

4 วิธีทำ� มีนักเรียนทั้งหมด 240 คน 7 วิธีทำ� น้ำามัน 1 ลิตร แล่นได้ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร

มีครูดูแลนักเรียน 8 คน มีน้ำามัน 32 ลิตร

ครู 1 คน ดูแลนักเรียน 240 ÷ 8 = 30 คน จะแล่นได้ระยะทางประมาณ 32 × 13 = 416 กิโลเมตร

ดังนั้น ครู 1 คน ต้องดูแลนักเรียน 30 คน ดังนั้น ถ้ารถคันนี้มีน้ำามัน 32 ลิตร จะแล่นได้ระยะทางประมาณ 416 กิโลเมตร

ตอบ ๓๐ คน ตอบ ๔๑๖ กิโลเมตร

5 วิธีทำ� ชุดนักเรียน 1 ชุด ราคา 325 บาท 8 วิธีทำ� แปลงปลูกผัก 1 แปลง ปลูกผักคะน้าได้ 30 ต้น

สมเกียรติซื้อชุดนักเรียน 3 ชุด ถ้าแจนมีแปลงปลูกผัก 12 แปลง

สมเกียรติจ่ายเงิน 3 × 325 = 975 บาท จะปลูกคะน้าได้ 12 × 30 = 360 ต้น

ดังนั้น สมเกียรติซื้อชุดนักเรียน 3 ชุด จ่ายเงิน 975 บาท ดังนั้น ถ้าแจนมีแปลงปลูกผัก 12 แปลง จะปลูกคะน้าได้ทั้งหมด 360 ต้น

ตอบ ๙๗๕ บาท ตอบ ๓๖๐ ต้น

6 วิธีทำ� น้ำาส้มคั้น 1 ลิตร ใช้ส้ม 45 ผล

ถ้าต้องการทำาน้ำาส้มคั้น 15 ลิตร

จะต้องใช้ส้ม 15 × 45 = 675 ผล

ดังนั้น ถ้าต้องการทำาน้ำาส้ม 15 ลิตร จะต้องใช้ส้ม 675 ผล

ตอบ ๖๗๕ ผล

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี |3 4| สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี

8| สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

3. ครูใช้การถาม-ตอบประกอบการอธิบายสถานการณ์
ปัญหาหน้า 9 เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเขียนแสดงวิธีหาคำ�ตอบ
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

โดยใช้บัญญัติไตรยางศ์และการพิจารณาความสมเหตุสมผล พิจารณาการแก้โจทย์ปัญหา

ของคำ�ตอบในหน้า 10 ขนม 4 ห่อ ราคา 24 บาท


ถ้าป้าซื้อขนม 10 ห่อ จ่ายเงินเท่าใด
4 ห่อ 24 บาท

สิ่งที่โจทย์ถาม จำานวนเงินที่ป้าต้องจ่ายเมื่อซื้อขนม 10 ห่อ

สิ่งที่โจทย์บอก ขนม 4 ห่อ จ่ายเงินเป็นราคา 24 บาท

จะหาจำานวนเงินที่ซื้อขนม 10 ห่อ จะต้องรู้อะไรก่อน

รู้ราคาของขนม 1 ห่อ

จะหาราคาขนม 1 ห่อได้อย่างไร และได้คำาตอบเท่าใด

นำาจำานวนเงินที่ซื้อขนม หารด้วย จำานวนขนม 4 ห่อ


จะได้ขนม 1 ห่อ ราคา 24 ÷ 4 = 6 บาท

หาราคาขนม 10 ห่อ ได้อย่างไร เเละได้คำาตอบเท่าใด

นำาจำานวนขนม 10 ห่อ คูณกับ ราคาขนม 1 ห่อ


จะได้ ขนม 10 ห่อ ราคา 10 × 6 = 60 บาท

สรุปคำาตอบว่าอย่างไร

ถ้าป้าซื้อขนม 10 ห่อ ต้องจ่ายเงิน 60 บาท

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |9

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

โจทย์ปัญหาการคูณและการหารที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของสิ่ง 2 สิ่ง
สิ่งละ 2 จำานวน โดยโจทย์กำาหนดปริมาณของสิ่ง 2 สิ่ง ให้ 3 จำานวน เป็นปริมาณ
ของสิ่งเดียวกัน 2 จำานวน และเป็นปริมาณของอีกสิ่งหนึ่ง 1 จำานวน
อาจหาปริมาณของอีกสิ่งหนึ่ง อีก 1 จำานวนได้ โดยใช้ บัญญัติไตรยางศ์

การเขียนแสดงวิธีหาคำาตอบโดยใช้ บัญญัติไตรยางศ์ อาจทำาได้ ดังนี้


บรรทัดที่ 1 เขียนความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของสิ่ง 2 สิ่งตามโจทย์กำาหนด
โดยให้จำานวนของสิ่งที่ต้องการหาไว้ทางขวา
บรรทัดที่ 2 หาจำานวนของสิ่งที่อยู่ทางขวา โดยให้จำานวนของสิ่งที่อยู่ทางซ้ายเป็น 1 หน่วย
บรรทัดที่ 3 หาจำานวนของสิ่งที่อยู่ทางขวา ตามที่โจทย์ต้องการ

ขนม 4 ห่อ ราคา 24 บาท


ถ้าป้าซื้อขนม 10 ห่อ ต้องจ่ายเงินเท่าใด

เขียนแสดงวิธีหาคำาตอบได้ดังนี้
ถ้าป้าซื้อขนม 4 ห่อ ต้องจ่ายเงิน 24 บาท
24
ถ้าป้าซื้อขนม 1 ห่อ ต้องจ่ายเงิน
24 ÷ 4 = บาท
4
24
ถ้าป้าซื้อขนม 10 ห่อ ต้องจ่ายเงิน 10 × = 60 บาท
4
ดังนั้น ถ้าป้าซื้อขนม 10 ห่อ ต้องจ่ายเงิน 60 บาท

60 บาท เป็นคำาตอบที่สมเหตุสมผลหรือไม่ มีวิธีพิจารณาอย่างไร

60 บาท เป็นคำาตอบที่สมเหตุสมผล
เพราะ ถ้าซื้อขนม 4 ห่อ ต้องจ่ายเงิน 24 บาท
ถ้าซื้อขนม 8 ห่อ ต้องจ่ายเงิน 48 บาท
ถ้าซื้อขนม 12 ห่อ ต้องจ่ายเงิน 72 บาท
ดังนั้น ถ้าป้าซื้อขนม 10 ห่อ ต้องจ่ายเงินมากกว่า 48 บาท
แต่น้อยกว่า 72 บาท

10 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 9
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

4. ครูใช้การถาม-ตอบประกอบการอธิบายตัวอย่าง 1-3
หน้า 11-12 พร้อมวิธีพิจารณาความสมเหตุสมผล
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

ของคำ�ตอบ จากนั้นให้นักเรียนร่วมกันทำ�กิจกรรมหน้า 12 1
ส้ม 8 ถุง แต่ละถุงมีจาำ นวนส้ม เท่า ๆ กัน ซึง่ นับรวมได้ 40 ผล ถ้าอุดรซือ
้ ส้ม 6 ถุง จะได้สม
้ ทัง้ หมดกีผ
่ ล
แล้วทำ�แบบฝึกหัด 4.3 เป็นรายบุคคล

วิธีทำา ส้ม 8 ถุง มี 40 ผล โจทย์ถามจำานวนผลส้ม


จึงเขียนจำานวนผลส้มไว้ทางขวา
40
ส้ม 1 ถุง มี 40 ÷ 8 = ผล
8
40
ส้ม 6 ถุง มี 6 × = 30 ผล 30 ผล เป็นคำาตอบที่สมเหตุสมผล
8
เพราะ ส้ม 8 ถุง มี 40 ผล
ดังนั้น ถ้าอุดรซื้อส้ม 6 ถุง จะได้ส้มทั้งหมด 30 ผล ส้ม 4 ถุง มี 40 ÷ 2 = 20 ผล
ดังนั้น ส้ม 6 ถุง ต้องมีน้อยกว่า 40 ผล
ตอบ ๓๐ ผล
แต่มากกว่า 20 ผล

2
ร้านค้าจัดรายการส่งเสริมการขาย โดยแจ้งว่าถ้าซื้อสมุด 3 เล่ม จะแถมดินสอ 2 แท่ง
หลินซื้อสมุด 1 โหล หลินได้แถมดินสอกี่แท่ง

ซื้อ 3 เล่ม แถม 2 แท่ง


สมุด 1 โหล มี 12 เล่ม

วิธีทำา ซื้อสมุด 3 เล่ม แถมดินสอ 2 แท่ง


2
ซื้อสมุด 1 เล่ม แถมดินสอ 2÷3 =
แท่ง
3
2
ซื้อสมุด 12 เล่ม แถมดินสอ 12 × = 8 แท่ง
3 อาจละการเขียน 2 ÷ 3 ได้
ดังนั้น หลินซื้อสมุด 1 โหล จะได้แถมดินสอ 8 แท่ง

ตอบ ๘ แท่ง
8 แท่ง เป็นคำาตอบที่สมเหตุสมผล
เพราะ ซื้อสมุด 3 เล่ม แถมดินสอ 2 แท่ง
ซื้อสมุด 6 เล่ม แถมดินสอ 2 × 2 = 4 แท่ง
ดังนั้น ซื้อสมุด 12 เล่ม แถมดินสอ 2 × 4 = 8 แท่ง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 11

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์ บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

3 เฉลยหน้�12

หน่อยมีน้ำา 12 ถัง ถังละเท่า ๆ กัน คิดเป็นปริิมาณน้ำาทั้งหมด 222 ลิตร เมื่อใช้น้ำาไปจำานวนหนึ่ง 1 วิธีทำ� น้ำ�ส้ม 4 ขวด รินใส่แก้ว แก้วละเท่� ๆ กันได้ 8 แก้ว
ปรากฏว่ายังเหลือน้ำาอีก 8 ถัง หน่อยเหลือน้ำากี่ลิตร
8
น้ำ�ส้ม 1 ขวด รินใส่แก้ว แก้วละเท่� ๆ กันได้ แก้ว
4
วิธีทำา น้ำา 12 ถัง คิดเป็น 222 ลิตร 8
น้ำ�ส้ม 10 ขวด รินใส่แก้ว แก้วละเท่� ๆ กันได้ 10 × = 20 แก้ว
222 4
น้ำา 1 ถัง คิดเป็น ลิตร
12
222 ดังนั้น ถ้�กิ๊บมีน้ำ�ส้ม 10 ขวด จะรินใส่แก้วได้ 20 แก้ว
น้ำา 8 ถัง คิดเป็น 8× = 148 ลิตร
12
ดังนั้น หน่อยเหลือน้ำา 148 ลิตร ตอบ ๒๐ แก้ว
148 ลิตร เป็นคำาตอบที่สมเหตุสมผล
ตอบ ๑๔๘ ลิตร เพราะ น้ำา 12 ถัง มี 222 ลิตร
น้ำา 6 ถัง มี 222 ÷ 2 = 111 ลิตร
ดังนั้น น้ำา 8 ถัง ต้องน้อยกว่า 222 ลิตร 2 วิธีทำ� น้ำ�ย�ซักผ้� 6 ถุง ใช้ซักผ้�ครั้งละเท่� ๆ กันได้ 90 ครั้ง
แต่มากกว่า 111 ลิตร 90
น้ำ�ย�ซักผ้� 1 ถุง ใช้ซักผ้�ครั้งละเท่� ๆ กันได้ ครั้ง
6
90
น้ำ�ย�ซักผ้� 10 ถุง ใช้ซักผ้�ครั้งละเท่� ๆ กันได้ 10 × = 150 ครั้ง
แสดงวิธีหาคำาตอบ 6
ดังนั้น ถ้�อั๋นมีน้ำ�ย�ซักผ้� 10 ถุง จะใช้ซักผ้�ได้ 150 ครั้ง
1 กิ๊บรินน้ำาส้ม 4 ขวด ใส่แก้ว แก้วละเท่า ๆ กันได้ 8 แก้ว ถ้ากิ๊บมีน้ำาส้ม 10 ขวด
ตอบ ๑๕๐ ครั้ง
จะรินได้กี่แก้ว

2 น้ำายาซักผ้า 6 ถุง ใช้ซักผ้าครั้งละเท่า ๆ กันได้ 90 ครั้ง ถ้าอั๋นมีน้ำายาซักผ้า 10 ถุง


จะใช้ซักผ้าได้กี่ครั้ง 3 วิธีทำ� กุหล�บ 100 ดอก จัดเป็นห่อ ห่อละเท่� ๆ กันได้ 4 ห่อ
3 กชพรมีกุหลาบ 100 ดอก นำามาจัดเป็นห่อ ห่อละเท่า ๆ กันได้ 4 ห่อ ถ้ากชพรมีกุหลาบ 4
กุหล�บ 1 ดอก จัดเป็นห่อ ห่อละเท่� ๆ กันได้ ห่อ
2,500 ดอก จะจัดได้ทั้งหมดกี่ห่อ 100
4
4 การสอบคัดเลือกครั้งหนึ่งคะแนนเต็ม 400 คะแนน หยกสอบได้ 360 คะแนน กุหล�บ 2,500 ดอก จัดเป็นห่อ ห่อละเท่� ๆ กันได้ 2,500 × = 100 ห่อ
100
ถ้าคิดคะแนนเต็ม 100 คะแนน หยกจะได้กี่คะแนน ดังนั้น ถ้�กชพรมีกุหล�บ 2,500 ดอก จะจัดได้ทั้งหมด 100 ห่อ
5 ข้าวสาร 75 กิโลกรัม แตนนำามาบรรจุถุง ถุงละเท่า ๆ กัน ได้ 6 ถุง
ตอบ ๑๐๐ ห่อ
ถ้าแตนมีข้าวสาร 50 กิโลกรัม จะบรรจุได้กี่ถุง

6 สมพรทำาขนมบ้าบิ่น 42 ถาด ใช้มะพร้าวอ่อน 3 กิโลกรัม ถ้าลูกค้าสั่งขนมบ้าบิ่น 112 ถาด


ต้องใช้มะพร้าวอ่อนกี่กิโลกรัม

แบบฝึกหัด 4.3

12 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2| สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี

10 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

เฉลยหน้�12

4 วิธีทำ� คะแนนเต็ม 400 คะแนน หยกสอบได้ 360 คะแนน


360
คะแนนเต็ม 1 คะแนน หยกจะได้ คะแนน
400
360
คะแนนเต็ม 100 คะแนน หยกจะได้ 100 × = 90 คะแนน
400
ดังนั้น ถ้�คิดคะแนนเต็ม 100 คะแนน หยกจะได้ 90 คะแนน

ตอบ ๙๐ คะแนน

5 วิธีทำ� ข้�วส�ร 75 กิโลกรัม บรรจุถุง ถุงละเท่� ๆ กันได้ 6 ถุง


6
ข้�วส�ร 1 กิโลกรัม บรรจุถุง ถุงละเท่� ๆ กันได้ ถุง
75
6
ข้�วส�ร 50 กิโลกรัม บรรจุถุง ถุงละเท่� ๆ กันได้ 50 × = 4 ถุง
75
ดังนั้น ถ้�แตนมีข้�วส�ร 50 กิโลกรัม จะบรรจุได้ 4 ถุง

ตอบ ๔ ถุง

6 วิธีทำ� ขนมบ้�บิ่น 42 ถ�ด ใช้มะพร้�วอ่อน 3 กิโลกรัม


3
ขนมบ้�บิ่น 1 ถ�ด ใช้มะพร้�วอ่อน กิโลกรัม
42
3
ขนมบ้�บิ่น 112 ถ�ด ใช้มะพร้�วอ่อน 112 × = 8 กิโลกรัม
42
ดังนั้น ถ้�ลูกค้�สั่งขนมบ้�บิ่น 112 ถ�ด ต้องใช้มะพร้�วอ่อน 8 กิโลกรัม

ตอบ ๘ กิโลกรัม

สถ�บันส่งเสริมก�รสอนวิทย�ศ�สตร์และเทคโนโลยี |3

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 11
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

5. ครูให้นักเรียนพิจารณาสถานการณ์ปัญหา
หน้า 13-14 โดยทำ�ความเข้าใจในสิ่งที่โจทย์ถาม
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

และสิ่งที่โจทย์บอกให้ชัดเจน ครูใช้การถาม-ตอบ พิจารณาการแก้โจทย์ปัญหา

ประกอบการอธิบาย โดยร่วมกันวิเคราะห์โจทย์ปัญหา แม่ค้าขายขนม 6 ชิ้น ราคา 21 บาท


6 ชิ้น 21 บาท
เพื่อนำ�ไปสู่การหาคำ�ตอบอย่างเป็นขั้นตอน แดงซื้อขนม 35 บาท จะได้กี่ชิ้น

จากนั้นครูอธิบายวิธีหาคำ�ตอบเชื่อมโยงไปสู่ สิ่งที่โจทย์ถาม จำานวนขนมที่ได้ เมื่อซื้อ 35 บาท

การหาคำ�ตอบโดยใช้บัญญัติไตรยางศ์ โดยแนะนำ� สิ่งที่โจทย์บอก ขนม 6 ชิ้น ราคา 21 บาท


แดงซื้อ 35 บาท

ให้นักเรียบเรียบเรียงโจทย์ใหม่ เพื่อให้โจทย์แสดง
จะหาว่า เงิน 35 บาท ซื้อขนมได้กี่ชิ้น จะต้องรู้อะไรก่อน
ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณที่กำ�หนดให้ชัดเจน
ต้องรู้ว่าเงิน 1 บาท ซื้อขนมได้กี่ชิ้น
และได้ใจความครบถ้วน ครูใช้การถาม-ตอบ
ประกอบการอธิบายการเขียนแสดงการแก้ปัญหา
เงิน 1 บาท ซื้อขนมได้กี่ชิ้น จะหาได้อย่างไร และได้คำาตอบเท่าใด

โดยใช้บัญญัติไตรยางศ์ หน้า 14 และร่วมกัน นำาจำานวนขนม หารด้วย ราคาของขนม 6 ชิ้น


6
จะได้ว่าเงิน 1 บาท ซื้อขนมได้ 6 ÷ 21 หรือ ชิ้น
พิจารณาความสมเหตุสมผลของคำ�ตอบที่ได้ 21

เงิน 35 บาท ซื้อได้กี่ชิ้น จะหาได้อย่างไร และได้คำาตอบเท่าใด

นำาเงิน 35 บาท คูณกับ จำานวนขนมที่ซื้อด้วยเงิน 1 บาท


6
จะได้ว่าเงิน 35 บาท ซื้อได้ 35 × = 10 ชิ้น
21

สรุปคำาตอบว่าอย่างไร

แดงซื้อขนม 35 บาท จะได้ 10 ชิ้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 13

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

แม่ค้าขายขนม 6 ชิ้น ราคา 21 บาท แดงซื้อ 35 บาท จะได้ขนมกี่ชิ้น

ถ้าแก้โจทย์ปัญหานี้ โดยใช้บัญญัติไตรยางศ์ จะต้องเขียนความสัมพันธ์ระหว่าง


ปริมาณของสิ่ง 2 สิ่งตามโจทย์กำาหนด โดยให้จำานวนของสิ่งที่ต้องการหาไว้ทางขวา
ซึ่งเรียบเรียงใหม่ได้ดังนี้ เงิน 21 บาท ซื้อขนมได้ 6 ชิ้น
เงิน 35 บาท ซื้อขนมได้กี่ชิ้น

เขียนแสดงวิธีหาคำาตอบได้ดังนี้

เงิน 21 บาท ซื้อขนมได้ 6 ชิ้น


6
เงิน 1 บาท ซื้อขนมได้ ชิ้น
21
6
เงิน 35 บาท ซื้อขนมได้ 35 × = 10 ชิ้น
21
ดังนั้น แดงซื้อขนมได้ 10 ชิ้น

10 ชิ้น เป็นคำาตอบที่สมเหตุสมผลหรือไม่ มีวิธีพิจารณาอย่างไร

10 ชิ้น เป็นคำาตอบที่สมเหตุสมผล
เพราะ เงิน 21 บาท ซื้อขนมได้ 6 ชิ้น
เงิน 42 บาท ซื้อขนมได้ 2 × 6 = 12 ชิ้น
ดังนั้น แดงซื้อขนม 35 บาท ต้องได้ขนมมากกว่า 6 ชิ้น
เเต่น้อยกว่า 12 ชิ้น

14 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

12 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

6. ครูใช้การถาม-ตอบประกอบการอธิบายตัวอย่าง
หน้า 15 ควรเน้นย้ำ�ให้นักเรียนพิจารณาความสมเหตุสมผล
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

ของคำ�ตอบของโจทย์ปัญหาทุกครั้ง
ต้อยเดินออกกำาลังกายนาน 30 นาที ได้ระยะทาง 2 กิโลเมตร
ถ้าต้อยต้องการเดินออกกำาลังกายระยะทาง 5 กิโลเมตร ต้องใช้เวลาอย่างน้อยกี่นาที
จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันทำ�กิจกรรม วิธีทำา ระยะทาง 2 กิโลเมตร ต้อยใช้เวลาเดิน 30 นาที

หน้า 15 แล้วทำ�แบบฝึกหัด 4.4 เป็นรายบุคคล ระยะทาง 1 กิโลเมตร ต้อยใช้เวลาเดิน


30
2
นาที
30
ระยะทาง 5 กิโลเมตร ต้อยใช้เวลาเดิน 5 × = 75 นาที
2
ดังนั้น ถ้าต้อยต้องการเดินออกกำาลังกายระยะทาง 5 กิโลเมตร ต้องใช้เวลา 75 นาที
ตอบ ๗๕ นาที
75 นาที เป็นคำาตอบที่สมเหตุสมผล
เพราะ ระยะทาง 2 กม. ใช้เวลาเดิน 30 นาที
ระยะทาง 4 กม. ใช้เวลาเดิน 2 × 30 = 60 นาที
ระยะทาง 6 กม. ใช้เวลาเดิน 3 × 30 = 90 นาที
ดังนั้น ระยะทาง 5 กม. ใช้เวลาเดินมากกว่า 60 นาที
แต่น้อยกว่า 90 นาที

แสดงวิธีหาคำาตอบ

1 เชิดขับรถยนต์ระยะทาง 80 กิโลเมตร ใช้เวลา 50 นาที


ถ้าเชิดขับรถด้วยอัตราเร็วเดียวกันนี้ 110 นาที จะได้ระยะทางเท่าใด

2 อาหารสุนัข 30 กิโลกรัม บอยใช้เลี้ยงสุนัขตัวหนึ่งได้ 12 วัน


ในเดือนเมษายนบอยต้องซื้ออาหารให้สุนัขตัวนี้อย่างน้อยกี่กิโลกรัม

3 การใส่ปุ๋ยในนาข้าว ปุ๋ย 1 ตัน ใส่นาข้าวได้ 30 ไร่ ถ้าลุงสมมีนาข้าว 9 ไร่


ลุงสมต้องซื้อปุ๋ยอย่างน้อยกี่กิโลกรัม

4 มาลินจ่ายค่าจ้างปูกระเบื้องในห้องครัว 16 ตารางเมตร เป็นเงิน 5,120 บาท


และจ่ายค่าปูกระเบื้องห้องเก็บของ 1,920 บาท ห้องเก็บของของมาลินมีพื้นที่เท่าใด

แบบฝึกหัด 4.4

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 15

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์ บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

เฉลยหน้า 15 เฉลยหน้า 15

1 วิธีทำ� เวลา 50 นาที เชิดขับรถยนต์ได้ระยะทาง 80 กิโลเมตร 4 วิธีทำ� จ่ายเงินค่าจ้าง 5,120 บาท ปูกระเบื้องได้พื้นที่ 16 ตารางเมตร
80 16
เวลา 1 นาที เชิดขับรถยนต์ได้ระยะทาง กิโลเมตร จ่ายเงินค่าจ้าง 1 บาท ปูกระเบื้องได้พื้นที่ ตารางเมตร
50 5120
80 16
เวลา 110 นาที เชิดขับรถยนต์ได้ระยะทาง 110 × = 176 กิโลเมตร จ่ายเงินค่าจ้าง 1,920 บาท ปูกระเบื้องได้พื้นที่ 1,920 × = 6 ตารางเมตร
50 5120
ดังนั้น ถ้าเชิดขับรถด้วยอัตราเร็วเดียวกันนี้ 110 นาที จะได้ระยะทาง 176 กิโลเมตร ดังนั้น ห้องเก็บของของมาลินมีพื้นที่ 6 ตารางเมตร

ตอบ ๑๗๖ กิโลเมตร ตอบ ๖ ตารางเมตร

2 วิธีทำ� เวลา 12 วัน บอยใช้อาหารเลี้ยงสุนัข 30 กิโลกรัม


30
เวลา 1 วัน บอยใช้อาหารเลี้ยงสุนัข กิโลกรัม
12
30
เดือนเมษายนมี 30 วัน ใช้อาหารสุนัข 30 × = 75 กิโลกรัม
12
ดังนั้น ในเดือนเมษายน บอยต้องซื้ออาหารให้สุนัขตัวนี้อย่างน้อย 75 กิโลกรัม

ตอบ ๗๕ กิโลกรัม

3 วิธีทำ� 1 ตัน เท่ากับ 1,000 กิโลกรัม

นาข้าว 30 ไร่ ใช้ปุ๋ย 1,000 กิโลกรัม


1000
นาข้าว 1 ไร่ ใช้ปุ๋ย กิโลกรัม
30
1000
นาข้าว 9 ไร่ ใช้ปุ๋ย 9× = 300 กิโลกรัม
30
ดังนั้น ถ้าลุงสมมีนาข้าว 9 ไร่ ต้องซื้อปุ๋ยอย่างน้อย 300 กิโลกรัม

ตอบ ๓๐๐ กิโลกรัม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 13
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

7. เพื่อตรวจสอบความเข้าใจและสรุปความรู้ที่ได้
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5

ให้นักเรียนทำ�กิจกรรมหน้า 16 เป็นรายบุคคล บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

ตรวจสอบความเข้าใจ

แสดงวิธีหาคำาตอบ

1 น้ำาดื่ม 5 ขวด ราคา 35 บาท เพชรซื้อน้ำาดื่ม 20 ขวด ต้องจ่ายเงินเท่าใด

2 ป้าภาขายมะม่วงโดยบรรจุมะม่วงใส่กล่อง 8 กล่อง กล่องละเท่า ๆ กัน ใช้มะม่วง 96 ผล


ถ้าลูกค้าซื้อมะม่วง 3 กล่อง จะได้มะม่วงกี่ผล

3 ก้องขับรถยนต์ระยะทาง 25 กิโลเมตร ใช้น้ำามัน 2 ลิตร ถ้าก้องใช้น้ำามันไป 40 ลิตร


รถจะแล่นได้ระยะทางกี่กิโลเมตร

4 สมุด 5 เล่ม ราคา 75 บาท โมจ่ายเงินซื้อสมุด 120 บาท จะได้กี่เล่ม

5 ข้าวสาร 15 กิโลกรัม ลักษณ์ใช้หุงได้ 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละเท่า ๆ กัน


ถ้าลักษณ์มีข้าวสารเหลืออยู่ 20 กิโลกรัม จะใช้หุงได้กี่สัปดาห์

สิ่งที่ได้เรียนรู้

มีวิธีแก้โจทย์ปัญหาต่อไปนี้ โดยใช้บัญญัติไตรยางศ์ได้อย่างไร

1 ออมสินซื้อข้าวโพดสด 4 ถุง ถุงละเท่า ๆ กัน ได้ข้าวโพด 60 ฝัก


ถ้าใบบัวซื้อข้าวโพดชนิดเดียวกันนี้ 5 ถุง จะได้ข้าวโพดกี่ฝัก

2 หลินตัดเสื้อ 6 ตัว ใช้ผ้า 8 เมตร ถ้าหลินมีผ้า 100 เมตร


จะใช้ตัดเสื้อแบบเดียวกันนี้ได้มากที่สุดกี่ตัว

16 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์ บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

เฉลยหน้� 16 เฉลยหน้� 16

ตรวจสอบคว�มเข้�ใจ ตรวจสอบคว�มเข้�ใจ

1 วิธีทำ� น้ำ�ดื่ม 5 ขวด ร�ค� 35 บ�ท 4 วิธีทำ� เงิน 75 บ�ท ซื้อสมุดได้ 5 เล่ม
35 5
น้ำ�ดื่ม 1 ขวด ร�ค� บ�ท เงิน 1 บ�ท ซื้อสมุดได้ เล่ม
5 75
35 5
น้ำ�ดื่ม 20 ขวด ร�ค� 20 × = 140 บ�ท เงิน 120 บ�ท ซื้อสมุดได้ 120 × = 8 เล่ม
5 75
ดังนั้น เพชรซื้อน้ำ�ดื่ม 20 ขวด ต้องจ่�ยเงิน 140 บ�ท ดังนั้น โมจ่�ยเงินซื้อสมุด 120 บ�ท จะได้ 8 เล่ม

ตอบ ๑๔๐ บ�ท ตอบ ๘ เล่ม

2 วิธีทำ� บรรจุมะม่วง 8 กล่อง กล่องละเท่� ๆ กัน ใช้มะม่วง 96 ผล 5 วิธีทำ� ข้�วส�ร 15 กิโลกรัม หุงสัปด�ห์ละเท่� ๆ กันได้ 6 สัปด�ห์
96 6
บรรจุมะม่วง 1 กล่อง กล่องละเท่� ๆ กัน ใช้มะม่วง ผล ข้�วส�ร 1 กิโลกรัม หุงสัปด�ห์ละเท่� ๆ กันได้ สัปด�ห์
8 15
96 6
บรรจุมะม่วง 3 กล่อง กล่องละเท่� ๆ กัน ใช้มะม่วง 3× = 36 ผล ข้�วส�ร 20 กิโลกรัม หุงสัปด�ห์ละเท่� ๆ กันได้ 20 × = 8 สัปด�ห์
8 15
ดังนั้น ถ้�ลูกค้�ซื้อมะม่วง 3 กล่อง จะได้มะม่วง 36 ผล
ดังนั้น ถ้�ลักษณ์มีข้�วส�ร 20 กิโลกรัม จะหุงได้ 8 สัปด�ห์
ตอบ ๓๖ ผล
ตอบ ๘ สัปด�ห์

3 วิธีทำ� น้ำ�มัน 2 ลิตร รถยนต์แล่นได้ระยะท�ง 25 กิโลเมตร


25
น้ำ�มัน 1 ลิตร รถยนต์แล่นได้ระยะท�ง กิโลเมตร
2
25
น้ำ�มัน 40 ลิตร รถยนต์แล่นได้ระยะท�ง 40 × = 500 กิโลเมตร
2
ดังนั้น ถ้�ก้องใช้น้ำ�มันไป 40 ลิตร รถจะแล่นได้ระยะท�ง 500 กิโลเมตร

ตอบ ๕๐๐ กิโลเมตร

14 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

เฉลยหน้� 16

สิ่งที่ได้เรียนรู้

1 ตัวอย่�ง
บรรทัดที่ 1 เขียนคว�มสัมพันธ์ระหว่�งจำ�นวนข้�วโพดเป็นถุง กับจำ�นวนข้�วโพดเป็นฝัก
โดยให้จำ�นวนข้�วโพดเป็นถุงอยู่ท�งซ้�ย และจำ�นวนข้�วโพดเป็นฝักอยู่ท�งขว�
จะได้ว่� ข้�วโพด 4 ถุง มีข้�วโพด 60 ฝัก
บรรทัดที่ 2 ห�จำ�นวนข้�วโพดเป็นฝัก โดยเทียบกับจำ�นวนข้�วโพด 1 ถุง
60
จะได้ว่� ข้�วโพด 1 ถุง มีข้�วโพด 60 ÷ 4 หรือ ฝัก
4
บรรทัดที่ 3 ห�จำ�นวนข้�วโพดเป็นฝัก โดยเทียบกับจำ�นวนข้�วโพด 5 ถุง
60
จะได้ว่� ข้�วโพด 5 ถุง มีข้�วโพด 5 × ฝัก
4
คำ�นวณห�คำ�ตอบและพิจ�รณ�คว�มสมเหตุสมผลของคำ�ตอบที่ได้
หรือ อ�จเขียนแสดงวิธีห�คำ�ตอบโดยใช้บัญญัติไตรย�งศ์

2 ตัวอย่�ง
บรรทัดที่ 1 เขียนคว�มสัมพันธ์ระหว่�งจำ�นวนเสื้อเป็นตัว กับคว�มย�วของผ้�เป็นเมตร
โดยให้คว�มย�วของผ้�เป็นเมตรอยู่ท�งซ้�ย และจำ�นวนเสื้อเป็นตัวอยู่ท�งขว�
จะได้ว่� ผ้�ย�ว 8 เมตร ใช้ตัดเย็บเสื้อได้ 6 ตัว
บรรทัดที่ 2 ห�จำ�นวนเสื้อเป็นตัว โดยเทียบกับคว�มย�วผ้� 1 เมตร
6
จะได้ว่� ผ้�ย�ว 1 เมตร ใช้ตัดเย็บเสื้อได้ ตัว
8
บรรทัดที่ 3 ห�จำ�นวนเสื้อเป็นตัว โดยเทียบกับคว�มย�วผ้� 100 เมตร
6
จะได้ว่� ผ้�ย�ว 100 เมตร ใช้ตัดเย็บเสื้อได้ 100 × ตัว
8
คำ�นวณห�คำ�ตอบและพิจ�รณ�คว�มสมเหตุสมผลของคำ�ตอบที่ได้
หรือ อ�จเขียนแสดงวิธีห�คำ�ตอบโดยใช้บัญญัติไตรย�งศ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 15
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

ร่วมคิดร่วมทำ�
ร่วมคิดร่วมทำ�เป็นกิจกรรมกลุ่มที่มุ่งให้นักเรียน
นำ�ความรู้เกี่ยวกับการแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้บัญญัติไตรยางศ์
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

และเรือ่ งอืน
่ ๆ ทีเ่ รียนมาแล้วไปใช้ในการแก้ปญ ั หาผ่านกิจกรรม ร่วมคิดร่วมทำา
โดยครูอาจแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน
ช่วยกันปฏิบัติกิจกรรมแล้วนำ�เสนอผลงาน ครูและเพื่อน
ในชั้นร่วมกันอภิปราย แสดงความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ
เช่น เราสามารถเปรียบเทียบความเร็ว และระยะเวลาของ ดาวพธุ ดาวศก
ุ ร� โลก ดาวองัคาร ดาวพฤหส
ั บดี ดาวเสาร� ดาวยเูรนส
ั ดาวเนปจน

การหมุนของดาวเคราะห์แต่ละดวง โดยใช้สิ่งใดเป็นเกณฑ์ ระบบสุริยะ มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางและมีบริวารที่เป็นดาวเคราะห์ 8 ดวง


ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และ
ดาวเนปจูน ซึง่ ดาวเคราะห์เหล่านีน
้ อกจากจะโคจรรอบดวงอาทิตย์แล้ว ยังหมุนรอบตัวเองด้วย
โดยดาวเคราะห์แต่ละดวงมีความเร็วในการหมุนรอบตัวเองที่แตกต่างกัน ดังนี้

ดาวพุธ หมุนได้ประมาณ 11 กิโลเมตร ใช้เวลา 60 นาที


ดาวศุกร์ หมุนได้ประมาณ 13 กิโลเมตร ใช้เวลา 2 ชั่วโมง
โลก หมุนได้ประมาณ 1,667 กิโลเมตร ใช้เวลา 1 ชั่วโมง
ดาวอังคาร หมุนได้ประมาณ 217 กิโลเมตร ใช้เวลา 15 นาที
ดาวพฤหัสบดี หมุนได้ประมาณ 5,250 กิโลเมตร ใช้เวลา 7 นาที
ดาวเสาร์ หมุนได้ประมาณ 614 กิโลเมตร ใช้เวลา 1 นาที
ดาวยูเรนัส หมุนได้ประมาณ 7,397 กิโลเมตร ใช้เวลา 30 นาที
ดาวเนปจูน หมุนได้ประมาณ 1,288 กิโลเมตร ใช้เวลา 8 นาที

ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน แล้วช่วยกัน


เรียงลำาดับชื่อดาวเคราะห์ตามความเร็ว
ระยะเวลาที่เท่ากัน
ของการหมุนรอบตัวเอง จากเร็วที่สุดไปช้าที่สุด
ดาวเคราะห์ที่หมุนรอบตัวเอง
พร้อมนำาเสนอวิธีคิดหน้าชั้นเรียน ได้เร็วที่สุด จะหมุนรอบตัวเอง
ได้ระยะทางมากที่สุด
อยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 17

16 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

ตัวอย่างข้อสอบ บทที่ 4 บัญญัติไตรยางศ์

จุดประสงค์การเรียนรู้ นักเรียนสามารถวิเคราะห์และแสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหาโดยใช้บัญญัติไตรยางศ์

เติมคำ�ตอบ

1. แม่ค้าขายกล้วยทอด 7 ชิ้น ราคา 20 บาท จินดาซื้อกล้วยทอด 28 ชิ้น จ่ายเงินเท่าใด

ตอบ .................................................................................................................................................................

2. การวิ่งออกกำ�ลังกาย 30 นาที ใช้พลังงาน 150 กิโลแคลอรี่ ถ้านักกีฬาวิ่งออกกำ�ลังกาย 90 นาที

จะใช้พลังงานกี่กิโลแคลอรี่

ตอบ .................................................................................................................................................................

3. อิฐมอญ 24 ก้อน หนัก 8 กิโลกรัม ถ้ารถบรรทุก บรรทุกอิฐมอญหนัก 1,000 กิโลกรัม จะบรรทุกอิฐมอญกี่ก้อน

ตอบ .................................................................................................................................................................

4. สบู่สมุนไพร 12 ก้อน ราคา 360 บาท ถ้าจิราพรจ่ายเงินซื้อสบู่ชนิดนี้ 270 บาท จะได้สบู่กี่ก้อน

ตอบ .................................................................................................................................................................

แสดงวิธีหาคำ�ตอบ

5. ทินกรขับรถยนต์ 4 ชั่วโมง ได้ระยะทาง 280 กิโลเมตร ถ้าเขาขับรถยนต์ด้วยความเร็วคงที่

เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ได้ระยะทางเท่าใด

6. ถ้าลูกค้าซื้อไข่ไก่ 50 ฟอง จะได้แถม 3 ฟอง อินซื้อไข่ไก่ 400 ฟอง อินได้แถมกี่ฟอง

7. อาหารแมว 6 ถุง ใช้เลี้ยงแมวได้ 10 ตัว ใน 1 สัปดาห์ ถ้าศูนย์ดูแลสัตว์มีแมว 35 ตัว

ใน 1 สัปดาห์ต้องใช้อาหารแมวกี่ถุง

8. นมข้นหวาน 2 กระป๋อง ใช้ชงเครื่องดื่มได้ 30 แก้ว ถ้ามีลูกค้าสั่งเครื่องดื่ม 75 แก้ว

จะต้องใช้นมข้นหวานกี่กระป๋อง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 17
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

เฉลยตัวอย่างข้อสอบ บทที่ 4 บัญญัติไตรยางศ์

1. 80 บาท

2. 450 กิโลแคลอรี่

3. 3,000 ก้อน

4. 9 ก้อน

5. 210 กิโลเมตร

6. 24 ฟอง

7. 21 ถุง

8. 5 กระป๋อง

18 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 5 | ร้อยละ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

บทที่
5 ร้อยละ

จุดประสงค์การเรียนรู้ และสาระสำ�คัญ

จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระสำ�คัญ
นักเรียนสามารถ
1. แสดงปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ในรูปร้อยละ ••เศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็น 100 สามารถเขียนในรูปร้อยละ
หรือเปอร์เซ็นต์ หรือเปอร์เซ็นต์
••ร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ สามารถเขียนในรูปเศษส่วน
ที่มีตัวส่วนเป็น 100

2. หาร้อยละของจำ�นวนนับ การหาร้อยละของจำ�นวนนับ อาจทำ�ได้โดยเขียนร้อยละ


ให้อยู่ในรูปเศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็น 100 แล้วนำ�ไปคูณกับ
จำ�นวนนับนั้น

3. วิเคราะห์และแสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหาร้อยละ ••การแก้โจทย์ปัญหาร้อยละ เริ่มจาก ทำ�ความเข้าใจปัญหา


วางแผนแก้ปัญหา ดำ�เนินการตามแผน และตรวจสอบ
••คำ�ตอบของโจทย์ปัญหาร้อยละ อาจหาได้โดย
เขียนร้อยละในรูปเศษส่วน หรือใช้บัญญัติไตรยางศ์
••การลดราคาเป็นร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ เป็นการบอกส่วนลด
เมื่อเทียบกับราคาที่ตั้งไว้ 100 บาท
••การบอก กำ�ไร หรือ ขาดทุน เป็นร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์
เป็นการบอกผลต่างระหว่างทุน 100 บาท กับราคาขาย
••ถ้าราคาขายมากกว่าทุน การขายจะได้กำ�ไร
ซึ่ง กำ�ไร หาได้จาก ราคาขาย – ทุน
••ถ้าราคาขายน้อยกว่าทุน การขายจะขาดทุน
ซึ่ง ขาดทุน หาได้จาก ทุน – ราคาขาย
••ถ้าราคาขายเท่ากับทุน เรียกว่า เท่าทุน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 19
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 5 | ร้อยละ

ตารางวิเคราะห์เนื้อหากับทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรม

เวลา ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
หัวข้อ เนื้อหา
(ชั่วโมง) j k l m n
เตรียมความพร้อม 1 - - - - -

5.1 การอ่านและการเขียนร้อยละ หรือ เปอร์เซ็นต์ 3 -  - - -

5.2 ร้อยละของจำ�นวนนับ 2 -  - - -

5.3 โจทย์ปัญหา 10   -  -

ร่วมคิดร่วมทำ� 1   -  -

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

j การแก้ปัญหา k การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
l การเชื่อมโยง m การให้เหตุผล n การคิดสร้างสรรค์

คำ�ใหม่
ร้อยละ เปอร์เซ็นต์ ลดราคา ราคาขาย ทุน ขาดทุน กำ�ไร

ความรู้หรือทักษะพื้นฐาน
1. การคูณจำ�นวนนับกับเศษส่วน

2. บัญญัติไตรยางศ์

สื่อการเรียนรู้
เครื่องคิดเลข

แหล่งเรียนรู้
1. หนังสือเรียน หน้า 18-49

2. แบบฝึกหัด หน้า 16-33

เวลาที่ใช้จัดการเรียนรู้
17 ชั่วโมง

20 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 5 | ร้อยละ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

แนวการจัดการเรียนรู้
การเตรียมความพร้อม

อ่านหนังสือที่ไหน

บทที่
5 ร้อยละ
ร�อยละของจำนวนคนไทยที่อ�านหนังสือ จำแนกตามสถานที่

ร�อยละ

100
เรียนจบบทนี้แล้ว นักเรียนสามารถ
84.3
เขียนร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์แสดงจํานวน 80

หาร้อยละของจํานวนนับ
60
วิเคราะห์และแสดงวิธีหาคําตอบของโจทย์ปัญหาร้อยละ
40
25.2 24.6 21.7
20
4.0 3.0 1.2 1.2
0 0.6
สถานที่
คนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป อ่านหนังสือมากแค่ไหน ที่บ�าน ที่ทำงาน สถานที่ สถาน สถานที่ ที่อ�านหนังสือ ระหว�าง ห�องสมุด สวน
เอกชน ศึกษา ราชการ ประจำหมู�บ�าน เดินทาง สาธารณะ

ที่มา : ข�อมูลจากการสํารวจของสํานักงานสถิติแห�งชาติ พ.ศ. 2558

คนไทยอ�านหนังสือ คนไทยไม�อ�านหนังสือ
การนําเสนอข้อมูลข้างต้นมีการแสดงปริมาณด้วยร้อยละ หรือ
48.4 ล�านคน 13.9 ล�านคน
เปอร์เซ็นต์ นักเรียนเคยพบการแสดงปริมาณด้วยร้อยละ หรือ
คิดเป�น 77.7% คิดเป�น 22.3% เปอร์เซ็นต์ จากที่ใดบ้าง

1. ครูใช้สถานการณ์หน้าเปิดบทนำ�สนทนาเกี่ยวกับการแสดงจำ�นวนในรูปร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ โดยครูควรทำ�ความเข้าใจ
เกี่ยวกับการแสดงจำ�นวนต่าง ๆ ในหน้าเปิดบท เช่น
••คนไทยอ่านหนังสือ 48.4 ล้านคน หมายถึง คนไทยอ่านหนังสือ 48 ล้านคน กับอีก 0.4 ล้านคน
ซึ่ง 0.4 ล้าน = 0.4 × 1,000,000 = 400,000
ดังนั้น คนไทยอ่านหนังสือ 48.4 ล้านคน คิดเป็น 48,400,000 คน
••คนไทยอ่านหนังสือ 77.7% หมายถึง ถ้าคนไทย 100 คน อ่านหนังสือ 77.7 คน
ถ้าคนไทย 1,000 คน จะอ่านหนังสือ 777 คน
ดังนั้น มีคนไทยอ่านหนังสือ 77.7% แสดงว่า คนไทย 1,000 คน จะอ่านหนังสือ 777 คน
และอาจตั้งคำ�ถามเพิ่มเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนคิดจากจำ�นวนอื่นในหน้าเปิด เช่น
••คนไทยไม่อ่านหนังสือ 13.9 ล้านคน คิดเป็นกี่คน
••คนไทยไม่อ่านหนังสือ 22.3% หมายความว่าอย่างไร
••มีคนไทยที่อ่านหนังสือจากที่อ่านหนังสือประจำ�หมู่บ้านร้อยละ 3 หมายความว่าอย่างไร
••ถ้ามีคนไทยอ่านหนังสือ 48,400,000 คน จะมีคนไทยที่อ่านหนังสือจากที่อ่านหนังสือประจำ�หมู่บ้านกี่คน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 21
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 5 | ร้อยละ

2. เตรียมความพร้อมเป็นการตรวจสอบความรู้พื้นฐาน
ที่จำ�เป็นสำ�หรับการเรียนบทนี้ ถ้าพบว่านักเรียนยังมี
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 5 | ร้อยละ

ความรู้พื้นฐานไม่เพียงพอ ควรทบทวนก่อน แล้วให้ทำ� เตรียมความพร้อม

แบบฝึกหัด 5.1 เป็นรายบุคคล 1 เขียนเศษส่วนแสดงส่วนที่ระบายสี

1) 3 2) 7
5 10

3) 24 4) 42
50 100

2 หาผลคูณ
12 14 1 36
1) 25 × 6 2) × 30 10.5 หรือ 10 3) 50 × 15
50 40 2 120
8
4) × 35 20 5) 7.25 × 40 290 6) 200 × 0.18 36
14

7) 300 × 2.5 750 8) 140 × 0.2 28 9) 6.2 × 20 124

3 ตอบคําถาม

1) ร้านค้าขายหนังสือการ์ตูน 12 เล่ม ราคา 900 บาท ถ้าฝนซื้อ 16 เล่ม ต้องจ่ายเงินกี่บาท 1,200 บาท

2) ห้องเรียนห้องหนึ่งมีนักเรียน 50 คน เป็นนักเรียนชาย 30 คน ถ้าห้องเรียนนี้มีนักเรียน


100 คน จะเป็นนักเรียนชายกี่คน 60 คน

3) ในการทําน้ําผลไม้ 100 แก้ว ต้องใช้น้ําเชื่อม 16 ถ้วยตวง ถ้าทรายต้องการทําน้ําผลไม้ 250 แก้ว


ต้องใช้น้ําเชื่อมเท่าใด 40 ถ้วยตวง

4) ช่างตัดกางเกง 4 ตัว ใช้ผ้า 6 เมตร ถ้าต้องการตัดกางเกงขนาดเดียวกัน 100 ตัว


ต้องใช้ผ้ากี่เมตร 150 เมตร

แบบฝึกหัด 5.1

20 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

22 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 5 | ร้อยละ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

5.1 การอ่านและการเขียนร้อยละ หรือ เปอร์เซ็นต์

จุดประสงค์การเรียนรู้ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 5 | ร้อยละ

นักเรียนสามารถแสดงปริมาณของสิ่งต่าง ๆ 5.1 การอ่านและการเขียนร้อยละ หรือ เปอร์เซ็นต์

ในรูปร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ พิจารณาส่วนที่ระบายสี

แบ่งเป็น 100 ส่วน เท่า ๆ กัน

สื่อการเรียนรู้
ส่วนที่ระบายสีเขียนแสดงด้วยเศษส่วนได้อย่างไร

- 32
100

32

แนวการจัดการเรียนรู้
อาจกล่าวว่า ร้อยละ 32 หรือ 32 เปอร์เซ็นต์
100

พิจารณาส่วนที่ระบายสี

1. การสอนการเขียนเศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็น 100 ในรูป แบ่งเป็น 100 ส่วน เท่า ๆ กัน

ร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ หน้า 21 ครูอาจจัดกิจกรรมโดย


ส่วนที่ระบายสีเขียนแสดงด้วยร้อยละ หรือ เปอร์เซ็นต์ ได้อย่างไร

ใช้การถาม-ตอบประกอบการอธิบาย พร้อมแนะนำ� ร้อยละ 8 หรือ 8 เปอร์เซ็นต์

สัญลักษณ์ % แล้วร่วมกันสรุปว่า
8
ร้อยละ 8 หรือ 8 เปอร์เซ็นต์ เขียนในรูปเศษส่วนได้
100
••เศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็น 100 สามารถเขียน
เศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็น 100 สามารถเขียนในรูป ร้อยละ หรือ เปอร์เซ็นต์
ในรูปร้อยละ หรือ เปอร์เซ็นต์ ร้อยละ หรือ เปอร์เซ็นต์ สามารถเขียนในรูปเศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็น 100

••ร้อยละ หรือ เปอร์เซ็นต์ สามารถเขียนในรูป เปอร์เซ็นต์ เขียนแทนด้วย %


เช่น 25 เปอร์เซ็นต์ เขียนแทนด้วย 25% เขียนเป็นตัวหนังสือ ยี่สิบห้าเปอร์เซ็นต์
เศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็น 100 7 เปอร์เซ็นต์ เขียนแทนด้วย 7% เขียนเป็นตัวหนังสือ เจ็ดเปอร์เซ็นต์

ทั้งนี้ครูอาจยกตัวอย่างเศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็น 100 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 21

เพิ่มเติม แล้วให้นักเรียนบอกจำ�นวนในรูปร้อยละและ
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5

เปอร์เซ็นต์ และยกตัวอย่างจำ�นวนในรูปร้อยละและ บทที่ 5 | ร้อยละ

ปฏิบัติกิจกรรม
เปอร์เซ็นต์ แล้วให้นักเรียนบอกจำ�นวนนั้นในรูปเศษส่วน
1 เขียนแสดงส่วนที่ระบายสีในรูปเศษส่วน ร้อยละ และเปอร์เซ็นต์
จากนั้นร่วมกันทำ�กิจกรรมหน้า 22 และให้ทำ�แบบฝึกหัด 1) 2)
12 50
5.2 เป็นรายบุคคล 100 100
ร้อยละ 12 ร้อยละ 50
12% 50%
ข้อควรระวัง การอ่านหรือการเขียนจำ�นวนในรูปร้อยละ
หรือเปอร์เซ็นต์ ให้ใช้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น 3) 4)
35 100
เพราะร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ มีความหมายเหมือนกัน 100 100
ร้อยละ 35 ร้อยละ 100
35% 100%

2 เขียนในรูปร้อยละ และเปอร์เซ็นต์

36 ร้อยละ 36 5 ร้อยละ 5 89 ร้อยละ 89


1) 2) 3)
100 36% 100 5% 100 89%
24 ร้อยละ 24 1 ร้อยละ 1 11 ร้อยละ 11
4) 5) 6)
100 24% 100 1% 100 11%
50 ร้อยละ 50 100 ร้อยละ 100 75 ร้อยละ 75
7) 8) 9)
100 50% 100 100% 100 75%

3 เขียนในรูปเศษส่วน
1) 25% 25 2) 18% 18
3) 7% 7
100 100 100
2 44 69
4) ร้อยละ 2 5) ร้อยละ 44 6) ร้อยละ 69
100 100 100
10 56 82
7) 10 เปอร์เซ็นต์ 8) 56 เปอร์เซ็นต์ 9) 82 เปอร์เซ็นต์
100 100 100

แบบฝึกหัด 5.2

22 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 23
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 5 | ร้อยละ

2. ครูนำ�สนทนาเกี่ยวกับการหาร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์
โดยพิจารณาจากความหมายของร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 5 | ร้อยละ

โดยอาจใช้การถาม-ตอบประกอบการอธิบายสถานการณ์
หน้า 23 จากนั้นร่วมกันพิจารณาตัวอย่าง
พิจารณาสถานการณ์ต่อไปนี้

และทำ�กิจกรรมหน้า 24 แล้วให้ทำ�แบบฝึกหัด 5.3 นักเรียนกลุ่มหนึ่งมี 100 คน เป็นหญิง 52 คน มีนักเรียนหญิงร้อยละเท่าใด


ของนักเรียนทั้งหมด
เป็นรายบุคคล
นักเรียนกลุ่มนี้มีกี่คน

100 คน

เป็นหญิงกี่คน

52 คน

มีนักเรียนหญิงคิดเป็นร้อยละเท่าใดของนักเรียนทั้งหมด

ร้อยละ 52 ของนักเรียนทั้งหมด

บอกได้หรือไม่ว่า มีนักเรียนชายคิดเป็นร้อยละเท่าใด
ของนักเรียนทั้งหมด คิดได้อย่างไร

100 คน

หญิง 52 คน ชาย 100 − 52 = 48 คน

ได้ครับ คิดได้จากนักเรียน 100 คน เป็นหญิง 52 คน


เป็นชาย 100 − 52 = 48 คน
ดังนั้น มีนักเรียนชายร้อยละ 48 ของนักเรียนทั้งหมด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 23

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 5 | ร้อยละ

ผลการสํารวจจํานวนสมาชิกชมรมกีฬาของนักเรียน 100 คน พบว่า ชมรมบาสเกตบอล


มี 26 คน ชมรมฟุตบอลมี 32 คน ที่เหลือเป็นสมาชิกชมรมวอลเลย์บอล
1. สมาชิกชมรมบาสเกตบอลคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของนักเรียนทั้งหมด
2. สมาชิกชมรมวอลเลย์บอลคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของนักเรียนทั้งหมด

1. วิธีคิด นักเรียนทั้งหมด 100 คน เป็นสมาชิกชมรมบาสเกตบอล 26 คน


ดังนั้น มีสมาชิกชมรมบาสเกตบอล 26 เปอร์เซ็นต์ของนักเรียนทั้งหมด
ตอบ ๒๖ เปอร์เซ็นต์ของนักเรียนทั้งหมด

2. วิธีคิด
100 คน

26 คน 32 คน

บาสเกตบอล ฟุตบอล วอลเลย์บอล

นักเรียนทั้งหมด 100 คน เป็นสมาชิกชมรมวอลเลย์บอล 100 − 26 − 32 = 42 คน


ดังนั้น มีสมาชิกชมรมวอลเลย์บอล 42 เปอร์เซ็นต์ของนักเรียนทั้งหมด
ตอบ ๔๒ เปอร์เซ็นต์ของนักเรียนทั้งหมด

ตอบคำาถาม

1 ข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์คะแนนเต็ม 100 คะแนน ขุนสอบได้ 85 คะแนน


ขุนสอบได้ร้อยละเท่าใดของคะแนนเต็ม ร้อยละ 85

2 ลุงตู่ปลูกต้นไม้ 100 ต้น เป็นต้นทุเรียน 26 ต้น ต้นมังคุด 45 ต้น ที่เหลือเป็นต้นเงาะ


ลุงตู่ปลูกต้นไม้แต่ละชนิดคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของต้นไม้ทั้งหมด ต้นทุเรียน 26% ต้นมังคุด 45% ต้นเงาะ 29%

3 ไก่ทั้งหมด 100 ตัว เป็นไก่ตัวผู้ 26 ตัว ไก่ตัวเมียคิดเป็นร้อยละเท่าใดของไก่ทั้งหมด ร้อยละ 74

4 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มี 100 คน สอบวิชาคณิตศาสตร์ผ่านทุกคน


นักเรียนที่สอบวิชาคณิตศาสตร์ผ่านคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทั้งหมด 100%

แบบฝึกหัด 5.3

24 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

24 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 5 | ร้อยละ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

3. เพื่อตรวจสอบความเข้าใจและสรุปความรู้ที่ได้
ให้นักเรียนทำ�กิจกรรมหน้า 25 เป็นรายบุคคล
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 5 | ร้อยละ

ตรวจสอบความเข้าใจ

1 เขียนในรูปร้อยละ และเปอร์เซ็นต์

34 ร้อยละ 34 7 ร้อยละ 7
1) 2)
100 34% 100 7%
99 ร้อยละ 99 68 ร้อยละ 68
3) 4)
100 99% 100 68%

2 เขียนในรูปเศษส่วน
48 74
1) ร้อยละ 48 2) 74%
100 100
100 9
3) 100% 4) ร้อยละ 9
100 100

3 เมื่อวาน ร้านดาวเด่นขายกาแฟร้อนและกาแฟเย็นได้ 100 แก้ว เป็นกาแฟร้อน 36 แก้ว


ที่เหลือเป็นกาแฟเย็น

1) เมื่อวาน ร้านนี้ขายกาแฟร้อนคิดเป็นร้อยละเท่าใดของจํานวนกาแฟที่ขายได้ ร้อยละ 36

2) เมื่อวาน ร้านนี้ขายกาแฟเย็นคิดเป็นร้อยละเท่าใดของจํานวนกาแฟที่ขายได้ ร้อยละ 64

สิ่งที่ได้เรียนรู้

ในกล่องมีลูกบอล 3 สี เป็นสีแดง 25 ลูก สีขาว 60 ลูก และสีเขียว 15 ลูก

1 ถ้าอยากทราบว่า ลูกบอลสีแดงคิดเป็นร้อยละเท่าใดของลูกบอลทั้งหมด
จะมีขั้นตอนการหาคําตอบอย่างไร

2 ถ้าอยากทราบว่า ลูกบอลที่ไม่ใช่สีเขียวคิดเป็นร้อยละเท่าใดของลูกบอลทั้งหมด
จะมีขั้นตอนการหาคําตอบอย่างไร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 25

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 5 | ร้อยละ

เฉลยหน้า 25

สิ่งที่ได้เรียนรู้

1 ต้องหาจำานวนลูกบอลทั้งหมดก่อน โดยหาได้จากนำาจำานวนลูกบอลสีแดง สีขาว และสีเขียว มารวมกัน

จะได้ 25 + 60 + 15 = 100 ลูก ซึ่งเป็นลูกบอลสีแดง 25 ลูก

ดังนั้น ในกล่องใบนี้มีลูกบอลสีแดงคิดเป็นร้อยละ 25 ของลูกบอลทั้งหมด

2 ต้องหาจำานวนลูกบอลที่ไม่ใช่สีเขียว โดยนำาจำานวนลูกบอลสีเขียวไปลบออกจากจำานวนลูกบอลทั้งหมด

จะได้ 100 − 15 = 85 ลูก จากจำานวนลูกบอลทั้งหมด 100 ลูก

ดังนั้น ในกล่องใบนี้มีลูกบอลที่ไม่ใช่สีเขียวคิดเป็นร้อยละ 85 ของลูกบอลทั้งหมด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 25
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 5 | ร้อยละ

5.2 ร้อยละของจำ�นวนนับ

จุดประสงค์การเรียนรู้ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 5 | ร้อยละ

นักเรียนสามารถหาร้อยละของจำ�นวนนับ 5.2 ร้อยละของจำานวนนับ

สื่อการเรียนรู้
พิจารณาสถานการณ์ต่อไปนี้

ร้อยละ 20 ของเงิน 80 บาท คิดเป็นเงินกี่บาท

เครื่องคิดเลข
มีวิธีหาคําตอบของสถานการณ์นี้อย่างไร

แนวการจัดการเรียนรู้ เขียน ร้อยละ 20 ในรูปเศษส่วนได้


20
100
แล้วนําไปคูณกับ 80

ซึ่งแสดงได้ดังนี้
20
1. การสอนการหาร้อยละของจำ�นวนนับ ครูควรใช้ ร้อยละ 20 ของเงิน 80 บาท คิดเป็น
100
× 80 = 16 บาท

ดังนั้น ร้อยละ 20 ของเงิน 80 บาท คิดเป็น 16 บาท


สถานการณ์สั้น ๆ นำ�สนทนา เพื่อให้ร้อยละของจำ�นวนนับ
มีความหมาย โดยอาจใช้สถานการณ์หน้า 26 คํานวณโดยใช้เครื่องคิดเลข

ประกอบการอธิบาย พร้อมสาธิตการใช้เครื่องคิดเลข
คำ�นวณหาร้อยละของจำ�นวนนับ ครูควรยกตัวอย่าง ตัวเลขแสดง
จํานวนทั้งหมด
× ตัวเลขแสดงร้อยละ

สถานการณ์อื่นเพิ่มเติม ให้นักเรียนหาค่าของร้อยละ
ตามที่กำ�หนดและใช้เครื่องคิดเลขคำ�นวณ จากนั้นร่วมกัน จะได้ว่า ร้อยละ 20 ของ 80 หาได้ดังนี้

8 0 × 2 0 16
พิจารณาตัวอย่างหน้า 27-28 และร่วมกันทำ�กิจกรรม MC M- M+ +- CE/E

หน้า 28 แล้วให้ทำ�แบบฝึกหัด 5.4 เป็นรายบุคคล 7 8 9


4 5 6 ÷
*เครื่องคิดเลขบางรุ่นอาจต้องกดเครื่องหมาย =1 จึง2จะแสดงคําตอบ
3 -
0 00 . + =
26 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 5 | ร้อยละ บทที่ 5 | ร้อยละ

1 3
ร้อยละ 35 ของน้ําหนัก 500 กิโลกรัม คิดเป็นกี่กิโลกรัม ร้อยละ 50 ของ 450 วัน กับ ร้อยละ 40 ของ 600 วัน ต่างกันกี่วัน

35 50
วิธีทำา ร้อยละ 35 ของน้ําหนัก 500 กิโลกรัม คิดเป็น × 500 = 175 กิโลกรัม วิธีทำา ร้อยละ 50 ของ 450 วัน คิดเป็น × 450 = 225 วัน
100 100
ดังนั้น ร้อยละ 35 ของน้ําหนัก 500 กิโลกรัม คิดเป็น 175 กิโลกรัม 40
ร้อยละ 40 ของ 600 วัน คิดเป็น × 600 = 240 วัน
100
ตอบ ๑๗๕ กิโลกรัม
ดังนั้น ร้อยละ 50 ของ 450 วัน กับ ร้อยละ 40 ของ 600 วัน

ต่างกัน 240 − 225 = 15 วัน


หา ร้อยละ 35 ของน้ําหนัก 500 กิโลกรัม
ตอบ ๑๕ วัน
5 0 0 × 3 5 175
แสดงว่า 175 กิโลกรัม เป็นคําตอบที่ถูกต้อง MC M- M+ +- CE/E
หา ร้อยละ 50 ของ 450 วัน
7 8 9
4 5 6 ÷
4 5 0 × 5 0 225
1 2 3 - หา ร้อยละ 40 ของ 600 วัน MC M- M+ +-
+
CE/E

2 0 00 . = 6 0 0 × 4 0 7 8 9 240
80% ของน้ํามัน 40 ลิตร คิดเป็นกี่ลิตร
4 5 6 ÷
ต่างกัน 240 − 225 = 15 MC
1 M-
2 M+
3
+-
-
CE/E

วิธีทำา 80% ของน้ํามัน 40 ลิตร คิดเป็น


80
× 40 = 32 ลิตร
แสดงว่า 15 วัน เป็นคําตอบที่ถูกต้อง
07 8
00 9. + =
100
4 5 6 ÷
ดังนั้น 80% ของน้ํามัน 40 ลิตร คิดเป็น 32 ลิตร
1 2 3 -
ตอบ ๓๒ ลิตร แสดงวิธีทำา
0 00 . + =
1 45% ของลูกอม 1,100 เม็ด คิดเป็นลูกอมกี่เม็ด

2 ร้อยละ 31 ของไข่ไก่ 400 ฟอง คิดเป็นไข่ไก่กี่ฟอง


หา 80% ของน้ํามัน 40 ลิตร
3 82 เปอร์เซ็นต์ ของน้ําดื่ม 2,900 ขวด คิดเป็นน้ําดื่มกี่ขวด
4 0 × 8 0 32 4 30% ของเงิน 800 บาท มากกว่าหรือน้อยกว่า 45% ของเงิน 500 บาท อยู่เท่าใด
แสดงว่า 32 ลิตร เป็นคําตอบที่ถูกต้อง MC M- M+ +- CE/E
5 ร้อยละ 9 ของกล้าไม้สัก 2,000 ต้น กับ ร้อยละ 15 ของกล้าไม้พะยูง 1,200 ต้น ต่างกันกี่ต้น
7 8 9
4 5 6 ÷ แบบฝึกหัด 5.4
1 2 3 -
สถาบันส่งเสริมการสอนวิท+
ยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 27 28 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
0 00 . =

26 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 5 | ร้อยละ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 5 | ร้อยละ บทที่ 5 | ร้อยละ

เฉลยหน้า 28
ตรวจสอบความเข้าใจ
45
1 วิธีทำ� 45% ของลูกอม 1,100 เม็ด คิดเป็น × 1,100 = 495 เม็ด
100
ดังนั้น 45% ของลูกอม 1,100 เม็ด คิดเป็นลูกอม 495 เม็ด แสดงวิธีทำา
ตอบ ๔๙๕ เม็ด
1 ร้อยละ 54 ของหนังสือ 350 หน้า คิดเป็นกี่หน้า

31 2 60% ของที่ดิน 5 ไร่ คิดเป็นกี่ไร่


2 วิธีทำ� ร้อยละ 31 ของไข่ไก่ 400 ฟอง คิดเป็น × 400 = 124 ฟอง
100
3 ร้อยละ 75 ของน้ําหนัก 20 ตัน คิดเป็นกี่ตัน
ดังนั้น ร้อยละ 31 ของไข่ไก่ 400 ฟอง คิดเป็นไข่ไก่ 124 ฟอง

ตอบ ๑๒๔ ฟอง 4 30% ของนักเรียน 260 คน มากกว่าหรือน้อยกว่า 25% ของนักเรียน 520 คน อยู่กี่คน

82
3 วิธีทำ� 82 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำาดื่ม 2,900 ขวด คิดเป็น × 2,900 = 2,378 ขวด
100
ดังนั้น 82 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำาดื่ม 2,900 ขวด คิดเป็นน้ำาดื่ม 2,378 ขวด
สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตอบ ๒,๓๗๘ ขวด
มีวิธีคํานวณเพื่อหาร้อยละของจํานวนนับอย่างไร
30
4 วิธีทำ� 30% ของเงิน 800 บาท คิดเป็น × 800 = 240 บาท
100
45
45% ของเงิน 500 บาท คิดเป็น × 500 = 225 บาท
100
ดังนั้น 30% ของเงิน 800 บาท มากกว่า 45% ของเงิน 500 บาท

อยู่ 240 − 225 = 15 บาท

ตอบ มากกว่า อยู่ ๑๕ บาท

9
5 วิธีทำ� ร้อยละ 9 ของกล้าไม้สัก 2,000 ต้น คิดเป็น × 2,000 = 180 ต้น
100
15
ร้อยละ 15 ของกล้าไม้พะยูง 1,200 ต้น คิดเป็น × 1,200 = 180 ต้น
100
ดังนั้น ร้อยละ 9 ของกล้าไม้สัก 2,000 ต้น กับ ร้อยละ 15 ของกล้าไม้พะยูง 1,200 ต้น

มีจำานวนเท่ากัน

ตอบ เท่ากัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 29

2. เพื่อตรวจสอบความเข้าใจและสรุปความรู้ที่ได้ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 5 | ร้อยละ

ให้นักเรียนทำ�กิจกรรมหน้า 29 เป็นรายบุคคล เฉลยหน้า 29

ตรวจสอบคว�มเข้�ใจ
54
1 วิธีทำ� ร้อยละ 54 ของหนังสือ 350 หน้า คิดเป็น × 350 = 189 หน้า
100
ดังนั้น ร้อยละ 54 ของหนังสือ 350 หน้า คิดเป็น 189 หน้า

ตอบ ๑๘๙ หน้า

60
2 วิธีทำ� 60% ของที่ดิน 5 ไร่ คิดเป็น × 5 = 3 ไร่
100
ดังนั้น 60% ของที่ดิน 5 ไร่ คิดเป็น 3 ไร่

ตอบ ๓ ไร่

75
3 วิธีทำ� ร้อยละ 75 ของน้ำาหนัก 20 ตัน คิดเป็น × 20 = 15 ตัน
100
ดังนั้น ร้อยละ 75 ของน้ำาหนัก 20 ตัน คิดเป็น 15 ตัน

ตอบ ๑๕ ตัน

30
4 วิธีทำ� 30% ของนักเรียน 260 คน คิดเป็น × 260 = 78 คน
100
25
25% ของนักเรียน 520 คน คิดเป็น × 520 = 130 คน
100
ดังนั้น 30% ของนักเรียน 260 คน น้อยกว่า 25% ของนักเรียน 520 คน

อยู่ 130 − 78 = 52 คน

ตอบ น้อยกว่า อยู่ ๕๒ คน

สิ่งที่ได้เรียนรู้

มีวิธีคำานวณโดยเขียนร้อยละในรูปเศษส่วน แล้วนำาไปคูณกับจำานวนนับนั้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 27
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 5 | ร้อยละ

5.3 โจทย์ปัญหา

จุดประสงค์การเรียนรู้ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 5 | ร้อยละ

นักเรียนสามารถวิเคราะห์และแสดงวิธีหาคำ�ตอบ 5.3 โจทย์ปัญหา 10


ของโจทย์ปัญหาร้อยละ
พิจารณาข้อความต่อไปนี้

สื่อการเรียนรู้ “สวนผลไม้แห่งหนึ่งมีต้นทุเรียน 40% ของต้นไม้ทั้งหมด”


หมายความว่าอย่างไร

เครื่องคิดเลข ถ้าสวนผลไม้นี้มีต้นไม้ 100 ต้น จะมีต้นทุเรียน 40 ต้น

แนวการจัดการเรียนรู้ “ปีนี้มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 11% ของปีที่แล้ว”


หมายความว่าอย่างไร

1. ครูใช้การถาม-ตอบประกอบการอธิบาย โดยใช้ ถ้าปีที่แล้วมีนักท่องเที่ยว 100 คน


ปีนี้มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอีก 11 คน
สถานการณ์หน้า 30 เพื่อทบทวนการแปลความหมาย แสดงว่า ปีนี้มีนักท่องเที่ยว 100 + 11 = 111 คน

ของร้อยละ เช่น
สวนผลไม้แห่งหนึ่งมีต้นทุเรียน 40% ของต้นไม้ทั้งหมด “ปีนี้เกิดอุบัติเหตุการจราจรทางบกสาเหตุจากการดื่มสุรา
ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 9” หมายความว่าอย่างไร
หมายความว่า ถ้าสวนผลไม้แห่งนี้มีต้นไม้ 100 ต้น
จะมีต้นทุเรียน 40 ต้น และเป็นต้นไม้ชนิดอื่น ถ้าปีที่แล้วเกิดอุบัติเหตุการจราจรทางบกสาเหตุจากการดื่มสุรา 100 ครั้ง

100 – 40 = 60 ต้น ปีนี้ลดลง 9 ครั้ง


แสดงว่า ปีนี้เกิดอุบัติเหตุการจราจรทางบกสาเหตุจากการดื่มสุรา
100 – 9 = 91 ครั้ง

30 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2. ครูใช้การถาม-ตอบประกอบการอธิบายการหาร้อยละ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 5 | ร้อยละ

ของจำ�นวนนับ โดยอาจใช้สถานการณ์หน้า 31 และ


พิจารณาข้อความต่อไปนี้
ควรยกตัวอย่างสถานการณ์อื่นเพิ่มเติม เพื่อให้นักเรียนฝึก
โรงเรียนแห่งหนึ่งมีนักเรียนชาย 45% ของนักเรียนทั้งหมด
การหาร้อยละของจำ�นวนนับ
ข้อความนี้หมายความว่าอย่างไร

ถ้าโรงเรียนมีนักเรียน 100 คน จะมีนักเรียนชาย 45 คน


และจะมีนักเรียนหญิง 100 − 45 = 55 คน

ถ้าโรงเรียนมีนักเรียน 100 คน มีนักเรียนหญิง 55 คน


แสดงว่า มีนักเรียนหญิง 55% ของนักเรียนทั้งหมด

ถ้าโรงเรียนนี้มีนักเรียน 560 คน จะมีนักเรียนชาย และนักเรียนหญิงกี่คน

นักเรียน 560 คน มีนักเรียนชาย 45% ของนักเรียนทั้งหมด


45
แสดงว่า มีนักเรียนชาย × 560 = 252 คน
100
และมีนักเรียนหญิง 560 − 252 = 308 คน

ถ้าโรงเรียนนี้มีนักเรียน 840 คน จะมีนักเรียนหญิงกี่คน

นักเรียน 840 คน มีนักเรียนหญิง 55% ของนักเรียนทั้งหมด


55
เเสดงว่า มีนักเรียนหญิง × 840 = 462 คน
100

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 31

28 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 5 | ร้อยละ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

3. ครูใช้การถาม-ตอบประกอบการอธิบายตัวอย่างหน้า
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5

32-33 พร้อมให้นักเรียนทดลองตรวจสอบความถูกต้อง บทที่ 5 | ร้อยละ

1
ของคำ�ตอบโดยใช้เครื่องคิดเลข แล้วร่วมกันทำ�กิจกรรม ออมสินสอบวิชาคณิตศาสตร์ได้ 80% ของคะแนนเต็ม ถ้าวิชานี้มีคะแนนเต็ม 30 คะแนน

หน้า 33 และให้ทำ�แบบฝึกหัด 5.5 เป็นรายบุคคล ออมสินสอบได้กี่คะแนน


วิธีทำา ออมสินสอบวิชาคณิตศาสตร์ได้ 80% ของคะแนนเต็ม

คะแนนเต็ม 30 คะแนน
80
ออมสินสอบได้ × 30 = 24 คะแนน
100
ตอบ ๒๔ คะแนน

หา 80% ของคะแนนเต็ม 30 คะแนน

3 0 × 8 0 24
แสดงว่า 24 คะแนน เป็นคําตอบที่ถูกต้อง MC M- M+ +- CE/E

7 8 9
4 5 6 ÷
2 31 2 -
+ =
รายได้ .890,000 บาท
ปีนี้บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้น 40% ของรายได้ปีที่แล้ว ถ้าปีที่แ0ล้วมี00
ปีนี้มีรายได้กี่บาท
วิธีทำา ปีนี้บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้น 40% ของรายได้ปีที่แล้ว

ปีที่แล้วมีรายได้ 890,000 บาท


40
ปีนี้มีรายได้เพิ่มขึ้น × 890,000 = 356,000 บาท
100
ดังนั้น ปีนี้มีรายได้ 890,000 + 356,000 = 1,246,000 บาท

ตอบ ๑,๒๔๖,๐๐๐ บาท

หา 40% ของรายได้ 890,000 บาท

8 9 0 0 0 0 × 4 0
356,000
และ 890,000 + 356,000 = 1,246,000
MC M- M+ +- CE/E
แสดงว่า 1,246,000 บาท เป็นคําตอบที่ถูกต้อง
7 8 9
4 5 6 ÷
32 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1 2 3 -
0 00 . + =

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 5 | ร้อยละ บทที่ 5 | ร้อยละ

3 เฉลยหน้า 33

ปีนี้ปริมาณการส่งออกสินค้าของบริษัทแห่งหนึ่งลดลงจากปีที่แล้ว 8% ถ้าปีที่แล้วบริษัทนี้ 1 วิธีทำ� เกษตรกรแบ่งที่ดิน 12% สำาหรับปลูกกล้วย


ส่งออกสินค้า 5,200 ตัน ปีนี้บริษัทส่งออกสินค้าเท่าใด
เกษตรกรมีที่ดิน 4,600 ตารางวา
วิธีทำา ปีนี้ปริมาณการส่งออกสินค้าของบริษัทลดลงจากปีที่แล้ว 8% 12
แบ่งปลูกกล้วย × 4,600 = 552 ตารางวา
100
ปีที่แล้วส่งออกสินค้า 5,200 ตัน ตอบ ๕๕๒ ตารางวา
8
ปีนี้ส่งออกสินค้าลดลง × 5,200 = 416 ตัน
100
ดังนั้น ปีนี้บริษัทส่งออกสินค้า 5,200 − 416 = 4,784 ตัน 2 วิธีทำ� เดือนตุลาคม แม่ค้าขายไข่ไก่ได้เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 25 เปอร์เซ็นต์

ตอบ ๔,๗๘๔ ตัน เดือนกันยายน แม่ค้าขายไข่ไก่ได้ 30,840 ฟอง


25
เดือนตุลาคม แม่ค้าขายไข่ไก่ได้เพิ่มขึ้น × 30,840 = 7,710 ฟอง
100
หา 8% ของปริมาณการส่งออก 5,200 ตัน ดังนั้น เดือนตุลาคมแม่ค้าขายไข่ไก่ได้ 30,840 + 7,710 = 38,550 ฟอง

5 2 0 0 × 8 ตอบ ๓๘,๕๕๐ ฟอง


416
และ 5,200 − 416 = 4,784
MC M- M+ +- CE/E
แสดงว่า 4,784 ตัน เป็นคําตอบที่ถูกต้อง 3 วิธีทำ� ต้นกล้าออมเงินได้น้อยกว่าแก้วตาร้อยละ 15
7 8 9
แก้วตาออมเงินได้ 6,520 บาท
4 5 6 ÷
1 2 3 - ต้นกล้าออมเงินได้น้อยกว่าแก้วตา
15
× 6,520 = 978 บาท
0 00 . + =
100
แสดงวิธีทำา ดังนั้น ต้นกล้าออมเงินได้ 6,520 − 978 = 5,542 บาท

1 เกษตรกรแบ่งที่ดิน 12% สําหรับปลูกกล้วย ถ้ามีที่ดิน 4,600 ตารางวา ตอบ ๕,๕๔๒ บาท

เกษตรกรปลูกกล้วยกี่ตารางวา

2 เดือนตุลาคม แม่ค้าขายไข่ไก่ได้เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 25 เปอร์เซ็นต์


ถ้าเดือนกันยายน แม่ค้าขายไข่ไก่ได้ 30,840 ฟอง เดือนตุลาคมแม่ค้าขายไข่ไก่ได้กี่ฟอง

3 แก้วตาออมเงินได้ 6,520 บาท ต้นกล้าออมเงินได้น้อยกว่าแก้วตาร้อยละ 15


ต้นกล้าออมเงินได้กี่บาท

แบบฝึกหัด 5.5

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 33

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 29
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 5 | ร้อยละ

4. การสอนการแก้โจทย์ปัญหาจากสถานการณ์หน้า 34
ควรเริ่มจากให้นักเรียนอธิบายความหมายของร้อยละ
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 5 | ร้อยละ

จากสถานการณ์ปัญหา ครูใช้การถาม-ตอบประกอบ พิจารณาการแก้โจทย์ปัญหาต่อไปนี้

การอธิบายเพื่อนำ�ไปสู่การหาคำ�ตอบโดยใช้บัญญัติไตรยางศ์ โรงเรียนแห่งหนึ่งมีนักเรียนที่ว่ายน้ําเป็น ร้อยละ 36 ของนักเรียนทั้งหมด

จากนั้นร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับวิธีหาจำ�นวนนักเรียน ถ้าโรงเรียนแห่งนี้ มีนักเรียนทั้งหมด 2,400 คน มีนักเรียนที่ว่ายน้ําเป็นกี่คน

ที่ว่ายน้ำ�ไม่เป็น ซึ่งอาจได้ว่า หาคำ�ตอบได้โดย นำ�จำ�นวน จากข้อความ “โรงเรียนแห่งหนึ่งมีนักเรียนที่ว่ายน้ําเป็น

นักเรียนทั้งหมด ลบด้วย จำ�นวนนักเรียนที่ว่ายน้ำ�เป็น ร้อยละ 36 ของนักเรียนทั้งหมด” หมายความว่าอย่างไร

หรืออาจหาคำ�ตอบได้โดยพิจารณาจากความหมายของ ถ้าโรงเรียนมีนักเรียนทั้งหมด 100 คน จะมีนักเรียนที่ว่ายน้ําเป็น 36 คน

“มีนักเรียนที่ว่ายน้ำ�เป็นร้อยละ 36 ของนักเรียนทั้งหมด” และมีนักเรียนที่ว่ายน้ําไม่เป็น 100 − 36 = 64 คน

จากโจทย์จะได้ว่า
“ถ้ามีนักเรียนทั้งหมด 100 คน จะมีนักเรียนว่ายน้ําเป็น 36 คน
โรงเรียนนี้มีนักเรียนทั้งหมด 2,400 คน จะมีนักเรียนที่ว่ายน้ําเป็นกี่คน”
หาคําตอบโดยใช้บัญญัติไตรยางศ์ได้อย่างไร

ถ้ามีนักเรียนทั้งหมด 100 คน จะมีนักเรียนที่ว่ายน้ําเป็น 36 คน


36
ถ้ามีนักเรียนทั้งหมด 1 คน จะมีนักเรียนที่ว่ายน้ําเป็น คน
100
36
โรงเรียนมีนักเรียนทั้งหมด 2,400 คน จะมีนักเรียนที่ว่ายน้ําเป็น 2,400 × = 864 คน
100
ดังนั้น โรงเรียนนี้มีนักเรียนที่ว่ายน้ําเป็น 864 คน

จะหาจํานวนนักเรียนที่ว่ายน้ําไม่เป็นได้อย่างไร

34 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

5. ครูใช้การถาม-ตอบประกอบการอธิบายตัวอย่างหน้า
35-36 พร้อมให้นักเรียนทดลองตรวจสอบความถูกต้อง
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 5 | ร้อยละ

ของคำ�ตอบโดยใช้เครื่องคิดเลข แล้วร่วมกันทำ�กิจกรรม 1

หน้า 36 และให้ทำ�แบบฝึกหัด 5.6 เป็นรายบุคคล


เอกมีที่ดิน 1,250 ตารางวา แบ่งพื้นที่สําหรับปลูกข้าว 84% ของที่ดินทั้งหมด
พื้นที่ที่เหลือใช้เลี้ยงปลา เอกมีพื้นที่สําหรับเลี้ยงปลากี่ตารางวา

วิธีคิด ปลูกข้าว 84% ของที่ดินทั้งหมด หมายความว่า ถ้ามีที่ดินทั้งหมด 100 ตารางวา


หมายเหตุ หน้า 36 โจทย์ข้อ 1 ที่ถูกต้องคือ โรงเรียน ปลูกข้าว 84 ตารางวา เหลือพื้นที่สําหรับเลี้ยงปลา 100 − 84 = 16 ตารางวา

แห่งหนึ่งมีนักเรียน 950 คน วันนี้มีนักเรียนมาเรียน 98%


วิธีทำา ถ้าเอกมีที่ดิน 100 ตารางวา เป็นพื้นที่สําหรับเลี้ยงปลา 16 ตารางวา
ของนักเรียนทั้งหมด วันนี้มีนักเรียนไม่มาเรียนกี่คน ถ้าเอกมีที่ดิน 1 ตารางวา เป็นพื้นที่สําหรับเลี้ยงปลา
16
ตารางวา
100
16
เอกมีที่ดิน 1,250 ตารางวา เป็นพื้นที่สําหรับเลี้ยงปลา 1,250 × = 200 ตารางวา
100
ดังนั้น เอกมีพื้นที่สําหรับเลี้ยงปลา 200 ตารางวา

ตอบ ๒๐๐ ตารางวา


อาจคิดโดยใช้ร้อยละของจํานวนนับก็ได้

หา 16% ของที่ดิน 1,250 ตารางวา

1 2 5 0 × 1 6 200
MC M- M+ +- CE/E
แสดงว่า 200 ตารางวา เป็นคําตอบที่ถูกต้อง
7 8 9
4 5 6 ÷
1 นส่งเสริ
2 มการสอนวิ -
3 ทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 35
+
สถาบั

0 00 . =

30 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 5 | ร้อยละ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 5 | ร้อยละ บทที่ 5 | ร้อยละ

2 เฉลยหน้า 36

รอบบ่ายมีผู้ชมละครเวที 540 คน รอบค่ํามีผู้ชมเพิ่มขึ้นจากรอบบ่าย 35% 1 วิธีทำ� ถ้าโรงเรียนมีนักเรียน 100 คน วันนี้ไม่มาเรียน 100 − 98 = 2 คน


รอบค่ํามีผู้ชมละครเวทีกี่คน 2
ถ้าโรงเรียนมีนักเรียน 1 คน วันนี้ไม่มาเรียน คน
100
2
วิธีคิด รอบค่ํามีผู้ชมเพิ่มขึ้นจากรอบบ่าย 35% หมายความว่า โรงเรียนมีนักเรียน 950 คน วันนี้ไม่มาเรียน 950 × = 19 คน
100
ถ้ารอบบ่ายมีผู้ชม 100 คน รอบค่ํามีผู้ชมเพิ่มขึ้น 35 คน ดังนั้น วันนี้มีนักเรียนไม่มาเรียน 19 คน
แสดงว่า รอบค่ํามีผู้ชม 100 + 35 = 135 คน
ตอบ ๑๙ คน

วิธีทำา ถ้ารอบบ่ายมีผู้ชม 100 คน รอบค่ํามีผู้ชม 135 คน หรือ วิธีทำ� ถ้าโรงเรียนมีนักเรียน 100 คน วันนี้มาเรียน 98 คน
135 98
ถ้ารอบบ่ายมีผู้ชม 1 คน รอบค่ํามีผู้ชม คน ถ้าโรงเรียนมีนักเรียน 1 คน วันนี้มาเรียน คน
100 100
135 98
รอบบ่ายมีผู้ชม 540 คน รอบค่ํามีผู้ชม 540 × = 729 คน โรงเรียนมีนักเรียน 950 คน วันนี้มาเรียน 950 × = 931 คน
100 100
ดังนั้น วันนี้มีนักเรียนไม่มาเรียน 950 − 931 = 19 คน
ดังนั้น รอบค่ํามีผู้ชมละครเวที 729 คน
ตอบ ๑๙ คน
ตอบ ๗๒๙ คน

135
หาจํานวนผู้ชมรอบค่ําจาก 540 ×
100 2 วิธีทำ� ถ้าปีที่แล้วมีปริมาณน้ำาฝน 100 มิลลิเมตร ปีนี้มีปริมาณน้ำาฝน 100 + 20 = 120 มิลลิเมตร
5 4 0 × 1 3 5 ÷ 1 0 0 = 120
ถ้าปีที่แล้วมีปริมาณน้ำาฝน 1 มิลลิเมตร ปีนี้มีปริมาณน้ำาฝน มิลลิเมตร
100
120
แสดงว่า 729 คน เป็นคําตอบที่ถูกต้อง ปีที่แล้วมีปริมาณน้ำาฝน 2,380 มิลลิเมตร ปีนี้มีปริมาณน้ำาฝน 2,380 × = 2,856 มิลลิเมตร
100
729 ดังนั้น ปีนี้มีปริมาณน้ำาฝน 2,856 มิลลิเมตร
729
MC M- M+ +- CE/E ตอบ ๒,๘๕๖ มิลลิเมตร
7 8 9
อาจหาคําตอบได้โดยหาจํานวนผู้ชมในรอบค่ําที่เพิ่ม4ขึ้นจากรอบบ่ าย
หรือ วิธีทำ� ถ้าปีที่แล้วมีปริมาณน้ำาฝน 100 มิลลิเมตร ปีนี้มีปริมาณน้ำาฝนเพิ่มขึ้น 20 มิลลิเมตร
5 6 ÷ 20
แล้วนําไปรวมกับจํานวนผู้ชมในรอบบ่าย
1 2 3 - ถ้าปีที่แล้วมีปริมาณน้ำาฝน 1 มิลลิเมตร ปีนี้มีปริมาณน้ำาฝนเพิ่มขึ้น
100
มิลลิเมตร

0 00 . + = ปีที่แล้วมีปริมาณน้ำาฝน 2,380 มิลลิเมตร ปีนี้มีปริมาณน้ำาฝนเพิ่มขึ้น 2,380 ×


20
= 476 มิลลิเมตร
100
แสดงวิธีทำา ดังนั้น ปีนี้มีปริมาณน้ำาฝน 2,380 + 476 = 2,856 มิลลิเมตร

1 โรงเรียนแห่งหนึ่งมีนักเรียน 950 คน วันนี้มีนักเรียนมาเรียน 98% ของนักเรียนทั้งหมด ตอบ ๒,๘๕๖ มิลลิเมตร


วันนี้มีนักเรียนไม่มาเรียนกี่คน

2 ปริมาณน้ําฝนในปีนี้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 20 ถ้าปีที่แล้วมีปริมาณน้ําฝน 2,380 มิลลิเมตร


ปีนี้มีปริมาณน้ําฝนกี่มิลลิเมตร
แบบฝึกหัด 5.6

36 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5

6. การสอนการลดราคาเป็นร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ บทที่ 5 | ร้อยละ

ควรเริ่มจากการนำ�สนทนาเกี่ยวกับการลดราคา เช่น พิจารณาข้อความต่อไปนี้

สินค้าราคา 20 บาท ลดราคา 5 บาท แสดงว่าขายสินค้า การลดราคาเป็นร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ เป็นการบอกส่วนลดเมื่อเทียบกับ


ราคาที่ติดไว้ 100 บาท
ไปในราคา 20 – 5 = 15 บาท และยกตัวอย่างสถานการณ์
ลดราคาเพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนช่วยกันตอบคำ�ถาม เช่น
ลดราคา 10% ของราคาที่ติดไว้
•• สมุดราคา 15 บาท ลดราคา 2 บาท หมายความว่า ถ้าติดราคาไว้ 100 บาท ลดราคา 10 บาท

จะขายจริงกี่บาท หรือ ถ้าติดราคาไว้ 100 บาท ขายจริง 100 − 10 = 90 บาท

•• ร้านค้าติดราคาเสื้อ 200 บาท ขายไปราคา ลดราคา 20% ของราคาที่ติดไว้

180 บาท ร้านค้าลดราคากี่บาท หมายความว่า ถ้าติดราคาไว้ 100 บาท ลดราคา 20 บาท

หรือ ถ้าติดราคาไว้ 100 บาท ขายจริง 100 − 20 = 80 บาท

•• ร้านค้าลดราคากระเป๋าเป้ 400 บาท ขายไปราคา


1,500 บาท เดิมร้านค้าติดราคาขายไว้กี่บาท ลดราคา 50% ของราคาที่ติดไว้

หมายความว่า ถ้าติดราคาไว้ 100 บาท ลดราคา 50 บาท


จากนั้นครูอธิบายความหมายของการลดราคาเป็นร้อยละ หรือ ถ้าติดราคาไว้ 100 บาท ขายจริง 100 − 50 = 50 บาท

หรือเปอร์เซ็นต์ว่า เป็นการบอกส่วนลดเมื่อเทียบกับราคา
สินค้าที่ติดไว้ 100 บาท แล้วใช้การถาม-ตอบประกอบ ลดราคา 80% ของราคาที่ติดไว้

หมายความว่า ถ้าติดราคาไว้ 100 บาท ลดราคา 80 บาท


การอธิบายการลดราคาเป็นร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ หรือ ถ้าติดราคาไว้ 100 บาท ขายจริง 100 − 80 = 20 บาท

ตามสถานการณ์หน้า 37

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 37

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 31
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 5 | ร้อยละ

7. ครูนำ�สนทนาเกี่ยวกับภาพประกอบหน้า 38
โดยกำ�หนดส่วนลดเป็นเปอร์เซ็นต์ แล้วให้นักเรียนบอก
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 5 | ร้อยละ

ความหมายของการลดราคาเป็นเปอร์เซ็นต์จนคล่อง พิจารณาสถานการณ์ต่อไปนี้

จากนั้นใช้การถาม-ตอบประกอบการอธิบายเพื่อหาคำ�ตอบ ร้านค้าประกาศลดราคาสินค้า 20% - 60% ของราคาที่ติดไว้

ของสถานการณ์ข้อ 1 และ 2 โดยใช้บัญญัติไตรยางศ์ 1,990 บาท

และใช้เศษส่วนของจำ�นวนนับ ทั้งนี้ครูควรแนะนำ�
ให้นักเรียนเลือกใช้บัญญัติไตรยางศ์หรือใช้ บา
ท 950
บาท
60
2,5
เศษส่วนของจำ�นวนนับตามความเหมาะสม 650 บาท

จากนั้นครูควรกำ�หนดสถานการณ์ปัญหาอื่นเพิ่มเติมจาก
ภาพประกอบนั้น แล้วให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับ
1 ร้านค้าลดราคารองเท้า 20% ของราคาที่ติดไว้ ร้านค้าลดราคารองเท้ากี่บาท
ลดราคา 20 % ของราคาที่ติดไว้ หมายความว่า ถ้าติดราคารองเท้า 100 บาท

วิธีหาคำ�ตอบ ลดราคา 20 บาท ขายราคา 100 − 20 = 80 บาท


ถ้าติดราคารองเท้า 100 บาท ลดราคา 20 บาท
20
ถ้าติดราคารองเท้า 1 บาท ลดราคา บาท
100
20
ร้านค้าติดราคารองเท้า 1,990 บาท ลดราคา 1,990 × = 398 บาท
100
ดังนั้น ร้านค้าลดราคา 398 บาท

2 ร้านค้าลดราคากระเป๋า 30% ของราคาที่ติดไว้ ผู้ซื้อต้องจ่ายเงินกี่บาท


ร้านค้าลดราคากระเป๋า 30 % ของราคาที่ติดไว้
ร้านค้าติดราคากระเป๋า 2,560 บาท
30
ร้านค้าลดราคา × 2,560 = 768 บาท
100
ดังนั้น ผู้ซื้อต้องจ่ายเงิน 2,560 − 768 = 1,792 บาท

การหาจํานวนเงินที่ลดจากราคาที่ติดไว้ อาจใช้บัญญัติไตรยางศ์ หรือใช้ความรู้


เกี่ยวกับเศษส่วนของจํานวนนับ โดยเขียนร้อยละในรูปเศษส่วน

38 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

8. ครูใช้การถาม-ตอบประกอบการอธิบายตัวอย่าง
หน้า 39 พร้อมให้นักเรียนทดลองตรวจสอบความถูกต้อง
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 5 | ร้อยละ

ของคำ�ตอบโดยใช้เครื่องคิดเลข แล้วร่วมกันทำ�กิจกรรม
ร้านค้าติดราคาตู้เย็นไว้ 8,900 บาท ลดราคา 10% ของราคาที่ติดไว้ ผู้ซื้อต้องจ่ายเงินกี่บาท
หน้า 40 และให้ทำ�แบบฝึกหัด 5.7 เป็นรายบุคคล วิธีคิด ลดราคา 10% ของราคาที่ติดไว้ หมายความว่า ถ้าติดราคาตู้เย็น 100 บาท
ลดราคา 10 บาท ขายราคา 100 − 10 = 90 บาท

วิธีทำา 1 ถ้าติดราคาตู้เย็น 100 บาท ขายราคา 90 บาท


90
ถ้าติดราคาตู้เย็น 1 บาท ขายราคา บาท
100
90
ร้านค้าติดราคาตู้เย็น 8,900 บาท ขายราคา 8,900 × = 8,010 บาท
100
ดังนั้น ผู้ซื้อต้องจ่ายเงิน 8,010 บาท

ตอบ ๘,๐๑๐ บาท

90
หา ราคาขายตู้เย็นจาก 8,900 ×
100
8 9 0 0 × 9 0 ÷ 1 0 0 = 8,010
MC M- M+ +-
แสดงว่า 8,010 บาท เป็นคําตอบที่ถูกต้อง
CE/E

7 8 9
4 5่ลด 6
อาจหาคําตอบได้โดยหาราคาที ÷
วิธีทำา 2 ลดราคา 10% ของราคาที่ติดไว้ แล้วนําไปลบออกจากราคาที
1 ่ต2ิดไว้ 3 -
0 00 . + =
ติดราคาตู้เย็น 8,900 บาท
10
ลดราคา × 8,900 = 890 บาท
100
ดังนั้น ผู้ซื้อต้องจ่ายเงิน 8,900 − 890 = 8,010 บาท

ตอบ ๘,๐๑๐ บาท

หา ส่วนลด 10% ของราคาตู้เย็น 8,900 บาท


890
8 9 0 0 × 1 0
MC M- M+ +- CE/E

7 8 − 890
จะได้ 10% ของ 8,900 เท่ากับ 890 ซึ่งผู้ซื้อต้องจ่ายเงิน 8,900 9 = 8,010 บาท
4 5 6 ÷
แสดงว่า 8,010 บาท เป็นคําตอบที่ถูกต้อง
1 2 3 -
0 00 . + =
การแสดงวิธีหาคําตอบ จะเลือกใช้วิธีใดก็ได้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 39

32 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 5 | ร้อยละ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 5 | ร้อยละ บทที่ 5 | ร้อยละ

แสดงวิธีทำา เฉลยหน้า 40

1 ร้านค้าประกาศลดราคาสินค้า 10% - 30% ของราคาที่ติดไว้ 1 ตัวอย่าง

1) วิธีทำ� ถ้าติดราคากางเกงยีนส์ 100 บาท ลดราคา 30 บาท

SALE 10% 520 บาท 2,20


0 บา

ถ้าติดราคากางเกงยีนส์ 1 บาท ลดราคา
30
100
บาท
30
ร้านค้าติดราคากางเกงยีนส์ 2,200 บาท ลดราคา 2,200 × = 660 บาท
30% 100
ดังนั้น ร้านค้าลดราคา 660 บาท
20%
ตอบ ๖๖๐ บาท

0 บา
1,45
800 บ 2) วิธีทำ� ลดราคา 10% ของราคาที่ติดไว้
25% าท

ติดราคาหมวก 520 บาท


10
1) กางเกงยีนส์ ลดราคา 30% ลดราคากี่บาท ลดราคา × 520 = 52 บาท
100
2) หมวก ลดราคา 10% ลดราคากี่บาท ดังนั้น ร้านค้าลดราคา 52 บาท

3) กระเป๋า ลดราคา 20% ผู้ซื้อจะต้องจ่ายเงินกี่บาท ตอบ ๕๒ บาท


4) รองเท้า ลดราคา 25% ผู้ซื้อจะต้องจ่ายเงินกี่บาท
3) วิธีทำ� ถ้าติดราคากระเป๋า 100 บาท ขายราคา 100 − 20 = 80 บาท

2 ร้านค้า A และ ร้าน B ติดราคากระเป๋าเดินทางซึ่งเป็นยี่ห้อและขนาดเดียวกัน ไว้ดังรูป 80


ถ้าติดราคากระเป๋า 1 บาท ขายราคา บาท
100
80
ร้านค้าติดราคากระเป๋า 1,450 บาท ขายราคา 1,450 × = 1,160 บาท
100
SALE ดังนั้น ผู้ซื้อจะต้องจ่ายเงิน 1,160 บาท

HOT 40% 30% ตอบ ๑,๑๖๐ บาท


SALE
4) วิธีทำ� ลดราคา 25% ของราคาที่ติดไว้
5,85 4,95
0 บา 0 บา
ท ท
ติดราคารองเท้า 800 บาท
25
ลดราคา × 800 = 200 บาท
100
ร้าน A ร้าน B
ดังนั้น ผู้ซื้อจะต้องจ่ายเงิน 800 − 200 = 600 บาท
ร้านใดขายราคาถูกกว่า และถูกกว่ากันกี่บาท
ตอบ ๖๐๐ บาท
แบบฝึกหัด 5.7

40 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 5 | ร้อยละ

เฉลยหน้า 40

2 ตัวอย่าง

วิธีทำ� ร้าน A ลดราคา 40% ของราคาที่ติดไว้

ติดราคากระเป๋า 5,850 บาท


40
ลดราคา × 5,850 = 2,340 บาท
100
ร้าน A ขายกระเป๋าราคา 5,850 − 2,340 = 3,510 บาท

ร้าน B ลดราคา 30% ของราคาที่ติดไว้

ติดราคากระเป๋า 4,950 บาท


30
ลดราคา × 4,950 = 1,485 บาท
100
ร้าน B ขายกระเป๋าราคา 4,950 − 1,485 = 3,465 บาท

ดังนั้น ร้าน B ขายกระเป๋าราคาถูกกว่าร้าน A 3,510 − 3,465 = 45 บาท

ตอบ ร้าน B ขายถูกกว่าร้าน A อยู่ ๔๕ บาท

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 33
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 5 | ร้อยละ

9. ครูนำ�สนทนาเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าในชีวิตจริง
แล้วอธิบายความหมายของ “ทุน” “ราคาขาย”
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 5 | ร้อยละ

“กำ�ไร” “ขาดทุน” และ “เท่าทุน” จากนั้นร่วมกัน พิจารณาความหมายของ ทุน ราคาขาย กำาไร ขาดทุน และเท่าทุน

พิจารณาสถานการณ์การขายสินค้าในร้านของขวัญ ทุน คือ ราคาสินค้าที่ซื้อมา อาจเรียกว่า ราคาซื้อ หรืออาจหมายถึง ค่าใช้จ่าย


ที่เกิดขึ้นจากการผลิตสินค้าและบริการ
หน้า 41 โดยใช้การถาม-ตอบ ราคาขาย คือ ราคาสินค้าที่ขายไป

ครูควรยกตัวอย่างสถานการณ์อื่นเพิ่มเติม ถ้าราคาขายมากกว่าทุน การขายจะได้ กำาไร ซึ่ง กำาไร หาได้จาก ราคาขาย − ทุน

โดยกำ�หนดเงื่อนไข เช่น
ถ้าราคาขายน้อยกว่าทุน การขายจะ ขาดทุน ซึ่ง ขาดทุน หาได้จาก ทุน − ราคาขาย
ถ้าราคาขายเท่ากับทุน เรียกว่า เท่าทุน

••กำ�หนดทุน กับกำ�ไร หรือขาดทุน พิจารณาสถานการณ์การขายสินค้าในร้านของขวัญ ต่อไปนี้

แล้วให้หาราคาขาย ดังนี้ ขายรถของเล่นได้ในราคาที่ มากกว่าทุน หรือ น้อยกว่าทุน

- ร้านค้าซื้อสีไม้มาราคากล่องละ 220 บาท


ขายได้ในราคาที่มากกว่าทุน 250 − 140 = 110 บาท
ขายได้กำ�ไรกล่องละ 60 บาท รถของเล่น
ทุน 140 บาท
ร้านค้าขายสีไม้กล่องละกี่บาท
2 ร้านค้า A และ ร้าน B ติดราคากระเป๋าเดินทางซึ่งเป็นยี่ห้อและขนาดเดียวกัน ไว้ดังรูป ขายได้ 250 บาท แสดงว่า ขายรถของเล่นได้ กำาไร 110 บาท

- ขุนซื้อจักรยานราคา 1,200 บาท


ขายให้ต้นกล้าขาดทุน 200 บาท
ขายตุ๊กตาหมีได้ในราคาที่ มากกว่าทุน หรือ น้อยกว่าทุน
ขุนขายจักรยานให้ต้นกล้าราคากี่บาท
ขายได้ในราคาที่น้อยกว่าทุน 450 − 400 = 50 บาท
••กำ�หนดราคาขาย กับกำ�ไร หรือขาดทุน ตุ๊กตาหมี
ทุน 450 บาท

แล้วให้หาทุน เช่น ขายได้ 400 บาท


แสดงว่า ขายตุ๊กตาหมี ขาดทุน 50 บาท

- ร้านค้าขายรองเท้าราคา 800 บาท ได้กำ�ไร


100 บาท ร้านค้าซื้อรองเท้ามาราคาเท่าใด สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 41

- ออมสินขายกล่องดินสอให้ใบบัวราคา 70 บาท
ขาดทุน 20 บาท ออมสินซื้อกล่องดินสอ
มาราคาเท่าใด

34 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 5 | ร้อยละ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

10. ครูอธิบายความหมายของกำ�ไรหรือขาดทุนเป็นร้อยละ
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5

หรือเปอร์เซ็นต์ว่า เป็นการบอกผลต่างระหว่างทุน 100 บาท บทที่ 5 | ร้อยละ

กับ ราคาขาย จากนั้นครูใช้การถาม-ตอบ เพื่อฝึกให้นักเรียน พิจารณาข้อความต่อไปนี้

บอกความหมายของกำ�ไรหรือขาดทุน เป็นร้อยละหรือ
กําไร หรือ ขาดทุน เป็นร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ เป็นการบอกผลต่างระหว่าง
ทุน 100 บาท กับราคาขาย

เปอร์เซ็นต์จากหน้า 42 และควรยกตัวอย่างจำ�นวนอื่น ๆ กําไร 10% หมายความว่าอย่างไร

เพิ่มเติมตามความเหมาะสม แล้วร่วมกันทำ�กิจกรรมหน้า 42 กําไร 10% หมายความว่า ถ้าทุน 100 บาท ขายได้กําไร 10 บาท
หรือ ถ้าทุน 100 บาท ขายไป 100 + 10 = 110 บาท
และให้ทำ�แบบฝึกหัด 5.8 เป็นรายบุคคล
กําไร 25% หมายความว่าอย่างไร

กําไร 25% หมายความว่า ถ้าทุน 100 บาท ขายได้กําไร 25 บาท


หรือ ถ้าทุน 100 บาท ขายไป 100 + 25 = 125 บาท

ขาดทุน 10% หมายความว่าอย่างไร

ขาดทุน 10% หมายความว่า ถ้าทุน 100 บาท ขายขาดทุน 10 บาท


หรือ ถ้าทุน 100 บาท ขายไป 100 − 10 = 90 บาท

ขาดทุน 25% หมายความว่าอย่างไร

ขาดทุน 25% หมายความว่า ถ้าทุน 100 บาท ขายขาดทุน 25 บาท


หรือ ถ้าทุน 100 บาท ขายไป 100 − 25 = 75 บาท

บอกความหมาย

1 กําไร 30% 2 ขาดทุน 42 เปอร์เซ็นต์ 3 กําไร 69 เปอร์เซ็นต์

4 ขาดทุนร้อยละ 12 5 กําไรร้อยละ 100 6 ขาดทุน 65%

แบบฝึกหัด 5.8

42 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 5 | ร้อยละ

เฉลยหน้า 42

1 กำาไร 30% หมายความว่า ถ้าทุน 100 บาท ขายได้กำาไร 30 บาท


หรือ ถ้าทุน 100 บาท ขายไป 100 + 30 = 130 บาท

2 ขาดทุน 42 เปอร์เซ็นต์ หมายความว่า ถ้าทุน 100 บาท ขายขาดทุน 42 บาท


หรือ ถ้าทุน 100 บาท ขายไป 100 − 42 = 58 บาท

3 กำาไร 69 เปอร์เซ็นต์ หมายความว่า ถ้าทุน 100 บาท ขายได้กำาไร 69 บาท


หรือ ถ้าทุน 100 บาท ขายไป 100 + 69 = 169 บาท

4 ขาดทุนร้อยละ 12 หมายความว่า ถ้าทุน 100 บาท ขายขาดทุน 12 บาท


หรือ ถ้าทุน 100 บาท ขายไป 100 − 12 = 88 บาท

5 กำาไรร้อยละ 100 หมายความว่า ถ้าทุน 100 บาท ขายได้กำาไร 100 บาท


หรือ ถ้าทุน 100 บาท ขายไป 100 + 100 = 200 บาท

6 ขาดทุน 65% หมายความว่า ถ้าทุน 100 บาท ขายขาดทุน 65 บาท


หรือ ถ้าทุน 100 บาท ขายไป 100 − 65 = 35 บาท

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 35
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 5 | ร้อยละ

11. ครูใช้การถาม-ตอบประกอบการอธิบายเพื่อหาคำ�ตอบ
ของสถานการณ์หน้า 43 และ 45 โดยใช้บัญญัติไตรยางศ์และ
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 5 | ร้อยละ

ใช้เศษส่วนของจำ�นวนนับ และครูอาจกำ�หนดจำ�นวนอื่น ๆ พิจารณาสถานการณ์ต่อไปนี้

โดยใช้สถานการณ์เดิม ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับ
วิธีหาคำ�ตอบ ครูอาจให้ตัวแทนนักเรียนออกมาเขียนแสดง ราคา
................. บาท
วิธีคิดบนกระดาน จากนั้นครูใช้การถาม-ตอบประกอบการ
อธิบายตัวอย่างหน้า 44 และ 46 พร้อมให้นักเรียนทดลอง ร้านค้าซื้อโคมไฟอันหนึ่งราคา 960 บาท ขายได้กําไร 25% ร้านค้าขายโคมไฟนี้
ได้กําไรกี่บาท และขายราคาเท่าใด
ตรวจสอบความถูกต้องของคำ�ตอบโดยใช้เครื่องคิดเลข
แล้วร่วมกันทำ�กิจกรรมหน้า 47 และให้ทำ�แบบฝึกหัด 5.9 วิธีคิด 1 ขายได้กําไร 25% หมายความว่า ถ้าซื้อมา 100 บาท ขายได้กําไร 25 บาท

เป็นรายบุคคล ถ้าซื้อโคมไฟ 100 บาท ขายได้กําไร


25
25 บาท

ถ้าซื้อโคมไฟ 1 บาท ขายได้กําไร บาท


100
25
ร้านค้าซื้อโคมไฟ 960 บาท ขายได้กําไร 960 × = 240 บาท
100
ดังนั้น ร้านค้าขายโคมไฟได้กําไร 240 บาท

และขายในราคา 960 + 240 = 1,200 บาท

วิธีคิด 2 ขายได้กําไร 25%

ร้านค้าซื้อโคมไฟ 960 บาท


25
ขายได้กําไร × 960 = 240 บาท
100
ดังนั้น ร้านค้าขายโคมไฟได้กําไร 240 บาท

และขายในราคา 960 + 240 = 1,200 บาท ราคา


1,20
0 บาท

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 43

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 5 | ร้อยละ บทที่ 5 | ร้อยละ

พิจารณาสถานการณ์ต่อไปนี้
ออมสินซื้อหูฟังราคา 1,400 บาท ขายต่อให้แก้วตา ได้กําไรร้อยละ 30 ออมสินขายหูฟัง
ราคาเท่าใด

วิธีคิด ขายได้กําไรร้อยละ 30 หมายความว่า ถ้าซื้อมา 100 บาท ขายได้กําไร 30 บาท ราคา


แสดงว่า ขายราคา 100 + 30 = 130 บาท ................. บาท

วิธีทำา 1 ถ้าซื้อหูฟัง 100 บาท ขาย 130 บาท


130
ถ้าซื้อหูฟัง 1 บาท ขาย บาท จอมซื้อสเกตบอร์ดราคา 2,950 บาท ขายต่อให้ต้อม ขาดทุน 40% จอมขายสเกตบอร์ด
100
130 ขาดทุนกี่บาทและขายราคาเท่าใด
ออมสินซื้อหูฟัง 1,400 บาท ขาย 1,400 × = 1,820 บาท
100
ดังนั้น ออมสินขายหูฟังราคา 1,820 บาท

ตอบ ๑,๘๒๐ บาท


วิธีคิด 1 ขายขาดทุน 40% หมายความว่า ถ้าซื้อมา 100 บาท ขายขาดทุน 40 บาท
130 ถ้าซื้อสเกตบอร์ด 100 บาท ขายขาดทุน 40 บาท
หา ราคาขายจาก 1,400 ×
100
40
ถ้าซื้อสเกตบอร์ด 1 บาท ขายขาดทุน บาท
1 4 0 0 × 1 3 0 ÷ 1 0 0 = 1,820 100
40
จอมซื้อสเกตบอร์ด 2,950 บาท ขายขาดทุน 2,950 × = 1,180 บาท
แสดงว่า 1,820 บาท เป็นคําตอบที่ถูกต้อง MC M- M+ +- CE/E 100
7 8 9 ดังนั้น จอมขายสเกตบอร์ดขาดทุน 1,180 บาท
วิธีทำา 2 ขายได้กําไรร้อยละ 30 4 5 6 ÷
1 2 3 - และขายราคา 2,950 − 1,180 = 1,770 บาท
ออมสินซื้อหูฟัง 1,400 บาท 0 00 . + =
30
ขายได้กําไร × 1,400 = 420 บาท
100
ดังนั้น ออมสินขายหูฟังราคา 1,400 + 420 = 1,820 บาท วิธีคิด 2 ขายขาดทุน 40%
ตอบ ๑,๘๒๐ บาท จอมซื้อสเกตบอร์ด 2,950 บาท
40
ขายขาดทุน × 2,950 = 1,180 บาท
อาจหากําไรโดยใช้บัญญัติไตรยางศ์ก่อน แล้วจึงหาราคาขาย 100
ดังนั้น จอมขายสเกตบอร์ดขาดทุน 1,180 บาท

หา กําไร 30% ของราคาหูฟัง 1,400 บาท และขายราคา 2,950 − 1,180 = 1,770 บาท
420
1 4 0 0 × 3 0
MC M- M+ +- CE/E ราคา
จะได้กําไร 420 บาท และ ขายราคา 1,400 + 420 = 71,820
8 บาท
9 1,770 บาท
แสดงว่า กําไร 420 บาท และ ขายราคา 1,820 บาท 6 ่ถูกต้อง÷
เป็4นคํา5ตอบที
1 2 3 -
0 00 . + =
44 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 45

36 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 5 | ร้อยละ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 5 | ร้อยละ บทที่ 5 | ร้อยละ

แสดงวิธีทำา
หยกซื้อรองเท้าราคา 1,250 บาท ขายต่อให้กิ๊บ ขาดทุนร้อยละ 12
หยกขายรองเท้าราคาเท่าใด
........
วิธีคิด ขายขาดทุนร้อยละ 12 หมายความว่า ถ้าซื้อมา 100 บาท ขายขาดทุน 12 บาท ....บา

แสดงว่า ขายราคา 100 − 12 = 88 บาท
........
....บ
าท
วิธีทำา 1 ถ้าซื้อรองเท้าราคา 100 บาท ขายราคา 88 บาท
88
ถ้าซื้อรองเท้าราคา 1 บาท ขายราคา บาท
100 ............บา

88
หยกซื้อรองเท้าราคา 1,250 บาท ขายราคา 1,250 × = 1,100 บาท
100
ดังนั้น หยกขายรองเท้าราคา 1,100 บาท

ตอบ ๑,๑๐๐ บาท

88 1 แก้วตาซื้อรองเท้าราคา 850 บาท ขายต่อให้ปิ่น ขาดทุน 14% แก้วตาขายรองเท้าขาดทุนเท่าใด


หา ราคาขายจาก 1,250 ×
100 และขายไปราคาเท่าใด
1 2 5 0 × 8 8 ÷ 1 0 0 =
1,100
2 ร้านค้าซื้อจักรยานคันหนึ่งราคา 3,960 บาท ต้องการขายให้ได้กําไรร้อยละ 35
แสดงว่า 1,100 บาท เป็นคําตอบที่ถูกต้อง +-
MC M- M+ CE/E
ร้านค้าต้องติดราคาจักรยานคันนี้เท่าใด
7 8 9
วิธีทำา 2 ขายขาดทุนร้อยละ 12 4 5 6 ÷ 3 ขุนซื้อกระเป๋าราคา 1,340 บาท ขายต่อให้ออมสิน ขาดทุน 5 เปอร์เซ็นต์
1 2 3 -
หยกซื้อรองเท้าราคา 1,250 บาท
0 00 . + =
ออมสินซื้อกระเป๋าใบนี้ราคาเท่าใด
12
ขายขาดทุน × 1,250 = 150 บาท
100 4 ลุงเมฆลงทุนปลูกข้าวโพด 8,900 บาท เก็บข้าวโพดขายได้กําไร 42%
ดังนั้น หยกขายรองเท้าราคา 1,250 − 150 = 1,100 บาท ลุงเมฆขายข้าวโพดได้เท่าใด
ตอบ ๑,๑๐๐ บาท

อาจหาขาดทุนโดยใช้บัญญัติไตรยางศ์ก่อน แล้วจึงหาราคาขาย

หา ส่วนที่ขาดทุน 12% ของราคารองเท้า 1,250 บาท


150
1 2 5 0 × 1 2
MC M- M+ +- CE/E

จะขาดทุน 150 บาท และ ขายราคา 1,250 − 150 = 1,100 7บาท8 9


แสดงว่า ขาดทุน 150 บาท และ ขายราคา 1,100 บาท เป็นคํา4ตอบที
5 ่ถูก
6ต้อง ÷
1 2 3 - แบบฝึกหัด 5.9
0 00 . + =
46 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 47

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 5 | ร้อยละ

เฉลยหน้า 47

ตัวอย่าง
1 วิธีทำ� ขายขาดทุน 14%

แก้วตาซื้อรองเท้าราคา 850 บาท


14
ขายขาดทุน × 850 = 119 บาท
100
ดังนั้น แก้วตาขายรองเท้าขาดทุน 119 บาท

และขายไปราคา 850 − 119 = 731 บาท

ตอบ ขาดทุน ๑๑๙ บาท และขายราคา ๗๓๑ บาท

2 วิธีทำ� ขายให้ได้กำาไรร้อยละ 35

ร้านค้าซื้อจักรยานราคา 3,960 บาท


35
ต้องการขายให้ได้กำาไร × 3,960 = 1,386 บาท
100
ดังนั้น ร้านค้าต้องติดราคาจักรยาน 3,960 + 1,386 = 5,346 บาท

ตอบ ๕,๓๔๖ บาท

3 วิธีทำ� ถ้าซื้อกระเป๋าราคา 100 บาท ขายราคา 100 − 5 = 95 บาท


95
ถ้าซื้อกระเป๋าราคา 1 บาท ขายราคา บาท
100
95
ขุนซื้อกระเป๋าราคา 1,340 บาท ขายราคา 1,340 × = 1,273 บาท
100
ดังนั้น ออมสินซื้อกระเป๋าใบนี้ราคา 1,273 บาท

ตอบ ๑,๒๗๓ บาท

4 วิธีทำ� ถ้าลงทุนปลูกข้าวโพด 100 บาท ขาย 100 + 42 = 142 บาท


142
ถ้าลงทุนปลูกข้าวโพด 1 บาท ขาย บาท
100
142
ลุงเมฆลงทุนปลูกข้าวโพด 8,900 บาท ขาย 8,900 × = 12,638 บาท
100
ดังนั้น ลุงเมฆขายข้าวโพดได้ 12,638 บาท

ตอบ ๑๒,๖๓๘ บาท

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 37
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 5 | ร้อยละ

12. เพื่อตรวจสอบความเข้าใจและสรุปความรู้ที่ได้
ให้นักเรียนทำ�กิจกรรมหน้า 48 เป็นรายบุคคล
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 5 | ร้อยละ

ตรวจสอบความเข้าใจ

แสดงวิธีทำา

1 แม่ค้าซื้ออาหารสดมาทําอาหาร 2,250 บาท เมื่อขายหมดได้กําไร 62%


แม่ค้าขายอาหารได้เงินเท่าใด

2 ขุนซื้อกล้องถ่ายรูปราคา 5,600 บาท ขายต่อให้จอม ขาดทุนร้อยละ 25


ขุนขายกล้องถ่ายรูปขาดทุนกี่บาท และขายไปในราคาเท่าใด

3 ต้นทุนในการผลิตเสื้อยืดตัวละ 80 บาท ร้านค้าต้องการกําไร 60 เปอร์เซ็นต์


ร้านค้าจะต้องติดราคาขายเสื้อยืดตัวละเท่าใด และได้กําไรตัวละกี่บาท

4 บอสซื้อเสื้อกันหนาวราคา 540 บาท นําไปขายต่อให้เพชร ได้กําไร 20 เปอร์เซ็นต์


เพชรซื้อเสื้อกันหนาวตัวนี้ราคาเท่าใด

สิ่งที่ได้เรียนรู้

โจทย์ปัญหาแต่ละข้อมีขั้นตอนการหาคำาตอบอย่างไร

1 สหกรณ์ชุมชนติดราคาเตารีด 2,400 บาท แต่ลดราคาให้สมาชิกของสหกรณ์ 10%


ถ้าเจนเป็นสมาชิกของสหกรณ์ชุมชนเเห่งนี้ เจนจะซื้อเตารีดได้ในราคากี่บาท

2 ร้านค้าต้องการปิดกิจการ จึงขายสินค้าทุกชิ้นในราคาต่ํากว่าทุน 45% ถ้าทุนของสินค้า


ชิ้นหนึ่งเป็น 1,800 บาท ร้านค้าจะขายสินค้าชิ้นนี้ในราคาเท่าใด

ลดราคา
ทั้งร้าน

48 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 5 | ร้อยละ บทที่ 5 | ร้อยละ

เฉลยหน้า 48 เฉลยหน้า 48
ตรวจสอบคว�มเข้�ใจ
สิ่งที่ได้เรียนรู้
ตัวอย่าง

1 วิธีทำ� ขายได้กำาไร 62% 1 หาจำานวนเงินที่เจนจะต้องจ่ายค่าเตารีดได้โดยใช้ความหมายของการลดราคา นั่นคือ

แม่ค้าซื้ออาหารสดมาทำาอาหาร 2,250 บาท ถ้าติดราคาเตารีด 100 บาท ลดราคา 10 บาท เจนต้องจ่าย 100 − 10 = 90 บาท
62 แล้วหาจำานวนเงินที่เจนต้องจ่ายค่าเตารีดโดยใช้บัญญัติไตรยางศ์
ขายได้กำาไร × 2,250 = 1,395 บาท
100
หรืออาจหาคำาตอบโดยหาส่วนลด แล้วนำาไปลบออกจากราคาเตารีดที่ติดไว้ ซึ่งการหาส่วนลด
ดังนั้น แม่ค้าขายอาหารได้เงิน 2,250 + 1,395 = 3,645 บาท
อาจใช้บัญญัติไตรยางศ์ หรือร้อยละของจำานวนนับ
ตอบ ๓,๖๔๕ บาท

2 หาราคาขายของสินค้าโดยใช้ความหมายของการขาดทุน นั่นคือ
2 วิธีทำ� ขายขาดทุนร้อยละ 25
ถ้าทุนของสินค้า 100 บาท ขายขาดทุน 45 บาท แสดงว่า ขายสินค้าราคา 100 − 45 = 55 บาท
ขุนซื้อกล้องถ่ายรูปราคา 5,600 บาท
แล้วหาราคาขายของสินค้าโดยใช้บัญญัติไตรยางศ์
25
ขายขาดทุน × 5,600 = 1,400 บาท หรืออาจหาคำาตอบโดยหาส่วนที่ขาดทุน แล้วนำาไปลบออกจากราคาทุนของสินค้า
100
ดังนั้น ขุนขายกล้องถ่ายรูปขาดทุน 1,400 บาท ซึ่งการหาส่วนที่ขาดทุน อาจใช้บัญญัติไตรยางศ์ หรือร้อยละของจำานวนนับ

และขายไปในราคา 5,600 − 1,400 = 4,200 บาท

ตอบ ขาดทุน ๑,๔๐๐ บาท และขายราคา ๔,๒๐๐ บาท

3 วิธีทำ� ร้านค้าต้องการกำาไร 60 เปอร์เซ็นต์

ต้นทุนในการผลิตเสื้อยืดตัวละ 80 บาท
60
ร้านค้าต้องการกำาไร × 80 = 48 บาท
100
ดังนั้น ร้านค้าต้องการกำาไรตัวละ 48 บาท

และต้องติดราคาขายเสื้อยืดตัวละ 80 + 48 = 128 บาท

ตอบ ร้านค้าต้องติดราคาขายตัวละ ๑๒๘ บาท จะได้กำาไรตัวละ ๔๘ บาท

4 วิธีทำ� ขายได้กำาไร 20 เปอร์เซ็นต์

บอสซื้อเสื้อกันหนาวราคา 540 บาท


20
ขายได้กำาไร × 540 = 108 บาท
100
ดังนั้น เพชรซื้อเสื้อกันหนาวตัวนี้ราคา 540 + 108 = 648 บาท

ตอบ ๖๔๘ บาท

38 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 5 | ร้อยละ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

ร่วมคิดร่วมทำ�

ร่วมคิดร่วมทำ�เป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนนำ�ความรู้ที่ได้ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 5 | ร้อยละ

จากการเรียนในบทเรียนนี้มาช่วยกันแก้ปัญหา ครูควรจัด
ร่วมคิดร่วมทำา
กิจกรรมเป็นกลุ่ม แล้วให้แต่ละกลุ่มสลับกันตรวจสอบ
ความถูกต้อง ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเป็นเจ้าของกิจการ แล้วร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมต่อไปนี้

1. ตั้งราคาสินค้าโดยคํานึงถึงต้นทุน และกําไร ตามที่กําหนด

2. จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายด้วยการลดราคาสินค้าโดยไม่ทําให้ขาดทุน

ทุน 300 บาท ทุน 2,500 บาท

ต้องการกําไร 60% ต้องการกําไร 30%


จะต้องติดราคาหมวก.......................... บาท จะต้องติดราคาหูฟัง.......................... บาท

ลดราคา ...........% เป็นเงิน ................. บาท ลดราคา ...........% เป็นเงิน ................. บาท
ราคาขายหลังลดราคา ........................... บาท ราคาขายหลังลดราคา ........................... บาท
กําไรหลังลดราคา .................................. บาท กําไรหลังลดราคา .................................. บาท

ทุน 1,200 บาท ทุน 2,900 บาท

ต้องการกําไร 50% ต้องการกําไร 20%


จะต้องติดราคาสเกตบอร์ด ................. บาท จะต้องติดราคาจักรยาน ................. บาท

ลดราคา ...........% เป็นเงิน ................. บาท ลดราคา ...........% เป็นเงิน ................. บาท
ราคาขายหลังลดราคา ........................... บาท ราคาขายหลังลดราคา ........................... บาท
กําไรหลังลดราคา .................................. บาท กําไรหลังลดราคา .................................. บาท

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 49

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 39
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 5 | ร้อยละ

ตัวอย่างข้อสอบ บทที่ 5 ร้อยละ

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 1 นักเรียนสามารถแสดงปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ในรูปร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์

เติมคำ�ตอบ

1. 2.

ส่วนที่ระบายสีคิดเป็นร้อยละ ............... ส่วนที่ไม่ระบายสีคิดเป็นร้อยละ ...............

หรือ ...................... % หรือ ...................... เปอร์เซ็นต์

3. นักเรียน 100 คน ว่ายน้ำ�เป็น 56 คน นักเรียนที่ว่ายน้ำ�ไม่เป็นคิดเป็นร้อยละ .................. ของนักเรียนทั้งหมด

4. ปากกา 100 ด้าม เป็นปากกาสีแดง 27 ด้าม ปากกาสีน้ำ�เงิน 39 ด้าม ที่เหลือเป็นปากกาสีดำ�

1) ปากกาสีแดง คิดเป็นร้อยละ ............................. ของปากกาทั้งหมด

2) ปากกาสีน้ำ�เงิน คิดเป็น ........................................ % ของปากกาทั้งหมด

3) ปากกาสีดำ� คิดเป็น ........................................ เปอร์เซ็นต์ของปากกาทั้งหมด

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 2 นักเรียนสามารถหาร้อยละของจำ�นวนนับ

เลือกคำ�ตอบ

1. ข้อใดถูกต้อง
ก. 21% ของเงิน 2,100 บาท คิดเป็น 100 บาท
ข. ร้อยละ 70 ของกระดาษ 230 แผ่น คิดเป็น 69 แผ่น
ค. 4% ของเวลา 255 ชั่วโมง คิดเป็น 900 ชั่วโมง
ง. 45 เปอร์เซ็นต์ ของนักเรียน 720 คน คิดเป็น 324 คน

40 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 5 | ร้อยละ

2. 25% ของสินค้า 600 ชิ้น มากกว่า หรือน้อยกว่า 36% ของสินค้า 400 ชิ้น อยู่กี่ชิ้น
ก. น้อยกว่าอยู่ 6 ชิ้น ข. มากกว่าอยู่ 6 ชิ้น
ค. น้อยกว่าอยู่ 22 ชิ้น ง. มากกว่าอยู่ 22 ชิ้น

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 3 นักเรียนสามารถวิเคราะห์และแสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหาร้อยละ

แสดงวิธีหาคำ�ตอบ

1. 28% ของนักเรียนชั้น ป.5 สายตาสั้น ถ้านักเรียนชั้น ป.5 มีทั้งหมด 125 คน จะมีนักเรียนสายตาปกติกี่คน

2. ต้นไม้สูงขึ้นจากปีที่แล้ว 36 เปอร์เซ็นต์ ถ้าปีที่แล้วต้นไม้สูง 175 เซนติเมตร ปีนี้ต้นไม้สูงกี่เซนติเมตร

3. ปริมาณน้ำ�ฝนวันนี้ลดลงจากเมื่อวานร้อยละ 25 ถ้าเมื่อวานปริมาณน้ำ�ฝนคือ 28 มิลลิเมตร


วันนี้มีปริมาณน้ำ�ฝนกี่มิลลิเมตร

4. หม้อหุงข้าวราคา 3,560 บาท ลดราคา 40% ผู้ซื้อจะต้องจ่ายเงินกี่บาท

5. ซื้อรองเท้ากีฬาราคา 4,620 บาท ขายต่อให้เพื่อนขาดทุน 30% ขายรองเท้ากี่บาท

6. ต้นทุนผลิตกระเป๋าใบละ 1,540 บาท ร้านค้าต้องการกำ�ไร 40% จะต้องขายกระเป๋าราคากี่บาท

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 41
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 5 | ร้อยละ

เฉลยตัวอย่างข้อสอบ บทที่ 5 ร้อยละ

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 1

1. ร้อยละ 26 หรือ 26%

2. ร้อยละ 42 หรือ 42 เปอร์เซ็นต์

3. ร้อยละ 44 ของนักเรียนทั้งหมด

4. 1) ร้อยละ 27 ของปากกาทั้งหมด
2) 39% ของปากกาทั้งหมด
3) 34 เปอร์เซ็นต์ ของปากกาทั้งหมด

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 2

1. ง

2. ข

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 3

1. 90 คน

2. 238 เซนติเมตร

3. 21 มิลลิเมตร

4. 2,136 บาท

5. 3,234 บาท

6. 2,156 บาท

42 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 |เส้นขนาน

บทที่
6 เส้นขนาน

จุดประสงค์การเรียนรู้ และสาระสำ�คัญ

จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระสำ�คัญ
นักเรียนสามารถ

1. ระบุเส้นตรงคู่ที่ขนานกัน โดยพิจารณา เส้นตรง 2 เส้นที่อยู่บนระนาบเดียวกันจะขนานกันก็ต่อเมื่อ


จากระยะห่างระหว่างเส้นตรง มีระยะห่างเท่ากันเสมอ

2. ตรวจสอบเส้นขนาน โดยพิจารณา เมื่อเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง ถ้ามุมแย้งมีขนาดเท่ากัน


จากมุมแย้ง แล้วเส้นตรงคู่นั้นจะขนานกัน

3. ตรวจสอบเส้นขนาน โดยพิจารณา เมื่อเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง ถ้าขนาดของมุมภายใน


จากผลบวกของมุมภายในที่อยู่ ที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวางรวมกันได้ 180°
บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง แล้วเส้นตรงคู่นั้นจะขนานกัน

4. สร้างเส้นขนานตามข้อกำ�หนด
••การสร้างเส้นขนานให้มีระยะห่างตามที่กำ�หนด มีขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 เขียนเส้นตรง 1 เส้น
ขั้นที่ 2 กำ�หนดจุด 2 จุดบนเส้นตรง แล้วสร้างเส้นตั้งฉาก
ที่จุด 2 จุดนั้น ให้มีระยะตามที่กำ�หนด
ขั้นที่ 3 เขียนเส้นตรงให้ผ่านจุดปลายของเส้นตั้งฉากทั้งสองเส้น
จะได้เส้นขนานที่มีระยะห่างตามที่กำ�หนด
••การสร้างเส้นตรงให้ขนานกับเส้นตรงที่กำ�หนด โดยให้ผ่าน
จุด 1 จุดที่ไม่อยู่บนเส้นตรงที่กำ�หนด
วิธีที่ 1 สร้างให้มีระยะห่างเท่ากัน มีขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 วัดระยะห่างระหว่างจุดกับเส้นตรงที่กำ�หนด
ขั้นที่ 2 กำ�หนดจุด 1 จุดบนเส้นตรง แล้วสร้างเส้นตั้งฉากที่จุดนั้น
ให้มีระยะห่างเท่ากับระยะห่างที่วัดได้ โดยให้จุดปลาย
ของเส้นตั้งฉากอยู่ข้างเดียวกันกับจุดที่กำ�หนด
ขั้นที่ 3 เขียนเส้นตรงให้ผ่านจุดที่กำ�หนดและจุดปลายของเส้นตั้งฉาก
ที่อยู่ข้างเดียวกันกับจุดที่กำ�หนด จะได้เส้นขนานตามต้องการ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 43
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 |เส้นขนาน

จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระสำ�คัญ
วิธีที่ 2 สร้างมุมแย้งให้มีขนาดเท่ากัน มีขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 เขียนเส้นตรงให้ผ่านจุดที่กำ�หนดและตัดกับเส้นตรง ที่กำ�หนด
ขั้นที่ 2 ให้จุดที่กำ�หนดเป็นจุดยอดมุม แล้วสร้างมุมแย้งให้มี
ขนาดเท่ากัน
ขั้นที่ 3 เขียนเส้นตรงอีกเส้นหนึ่งให้ผ่านจุดที่กำ�หนด โดยให้ทับ
กับแขนของมุม ซึ่งเป็นแขนที่ขนานกับเส้นตรงที่กำ�หนด
จะได้เส้นขนานตามต้องการ
วิธีที่ 3 สร้างมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง
รวมกันได้ 180° มีขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 เขียนเส้นตรงให้ผ่านจุดที่กำ�หนดและตัดกับเส้นตรงที่กำ�หนด
ขั้นที่ 2 ให้จุดที่กำ�หนดเป็นจุดยอดมุม แล้วสร้างมุมภายใน
ที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวางให้รวมกันได้ 180°
ขั้นที่ 3 เขียนเส้นตรงอีกเส้นหนึ่งให้ผ่านจุดที่กำ�หนด โดยให้ทับ
กับแขนของมุม ซึ่งเป็นแขนที่ขนานกับเส้นตรงที่กำ�หนด
จะได้เส้นขนานตามต้องการ

44 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 |เส้นขนาน

ตารางวิเคราะห์เนื้อหากับทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรม

เวลา ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
หัวข้อ เนื้อหา
(ชั่วโมง) j k l m n
เตรียมความพร้อม 1 - - - - -

6.1 เส้นตั้งฉากและเส้นขนาน 2 -  -  -
••เส้นตั้งฉาก
••เส้นขนาน

6.2 มุมที่เกิดจากเส้นตัดขวางตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง 2 -  - - -
••เส้นตัดขวาง
••มุมที่เกิดจากเส้นตัดขวาง

6.3 สมบัติของเส้นขนาน 4 -  -  -

6.4 การสร้างเส้นขนาน 3     -
••การสร้างเส้นขนานให้มีระยะห่างตามที่กำ�หนด
••การสร้างเส้นขนานให้ผ่านจุดที่กำ�หนด

ร่วมคิดร่วมทำ� 1     -

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

j การแก้ปัญหา k การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
l การเชื่อมโยง m การให้เหตุผล n การคิดสร้างสรรค์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 45
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 |เส้นขนาน

คำ�ใหม่
เส้นตั้งฉาก ระยะห่าง เส้นขนาน เส้นตัดขวาง มุมที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง
มุมที่อยู่คนละข้างของเส้นตัดขวาง มุมภายใน มุมภายนอก มุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง
มุมภายในที่อยู่คนละข้างของเส้นตัดขวาง มุมแย้ง มุมแย้งภายใน มุมแย้งภายนอก

ความรู้หรือทักษะพื้นฐาน
1. การเรียกชื่อมุม การใช้สัญลักษณ์แทนมุม
2. การวัดขนาดของมุม
3. การจำ�แนกชนิดของมุม
4. การสร้างมุม

สื่อการเรียนรู้
1. ไม้ฉาก
2. โพรแทรกเตอร์
3. แถบกระดาษ

แหล่งเรียนรู้
1. หนังสือเรียนหน้า 50-87
2. แบบฝึกหัดหน้า 34-63

เวลาที่ใช้จัดการเรียนรู้
13 ชั่วโมง

46 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 |เส้นขนาน

แนวการจัดการเรียนรู้
การเตรียมความพร้อม

บทที่
6 เส้นขนาน
1 2

เรียนจบบทนี้แล้ว นักเรียนสามารถ
ระบุเส้นตรงคู่ที่ขนานกัน โดยพิจารณาจากระยะห่างระหว่างเส้นตรง
3
ตรวจสอบเส้นขนาน โดยพิจารณาจากมุมแย้ง
ตรวจสอบเส้นขนาน โดยพิจารณาจากผลบวกของมุมภายในที่อยู่
บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง
สร้างเส้นขนานตามข้อกำาหนด

ภาพ 1 และ 3 ทางรถไฟสะพานข้ามแม่น้ำาแคว กาญจนบุรี


ภาพ 2 สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือนิยมเรียกว่า สถานีรถไฟหัวลำาโพง

ทำาไมรางรถไฟ 2 รางจึงมีระยะห่างเท่ากัน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีประกาศพระบรมราชโองการ
สร้างทางรถไฟสยาม ตั้งแต่กรุงเทพฯ ถึง นครราชสีมา ลงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2433
ในปี พ.ศ. 2439 การก่อสร้างทางรถไฟสำาเร็จบางส่วนพอที่จะเปิดการเดินรถได้
ดังนั้น ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงเสด็จพระราชดำาเนินมาทรงประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟ ระหว่างสถานี
กรุงเทพ – อยุธยา และเปิดให้ประชาชนเดินทางได้ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2439
การรถไฟแห่งประเทศไทยได้กำาหนดให้วันที่ 26 มีนาคม เป็น “วันสถาปนากิจการรถไฟ”

ที่มา : การรถไฟแห่งประเทศไทย

1. ครูกระตุ้นความสนใจของนักเรียน โดยนำ�สนทนาเกี่ยวกับประวัติของการรถไฟในประเทศไทย จากนั้นสนทนา


เกี่ยวกับการขนานกันโดยใช้คำ�ถามจากหน้าเปิดบท

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 47
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 |เส้นขนาน

2. กิจกรรมเตรียมความพร้อมหน้า 52 เป็นการตรวจสอบ
ความรู้พื้นฐานของนักเรียนเกี่ยวกับการวัดขนาดของมุม
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน

ชนิดของมุม และการสร้างมุมโดยใช้โพรแทรกเตอร์ เตรียมความพร้อม

ถ้าพบนักเรียนที่ความรู้พื้นฐานยังไม่เพียงพอ ครูควร
1 วัดและบอกขนาด พร้อมระบุชนิดของมุมที่กำาหนด
ทบทวนก่อน โดยใช้การถาม-ตอบประกอบการอธิบาย
จากนั้นให้ทำ�แบบฝึกหัด 6.1 เป็นรายบุคคล
D
C
E

B A F

^ ^ ^ ^
1) BAC m(BAC) = 55 ำ, มุมแหลม 2) FAC m(FAC) = 125 ำ, มุมป้าน
^ ^ ^ ^
3) BAD m(BAD) = 100 ำ, มุมป้าน 4) BAF m(BAF) = 180 ำ, มุมตรง
^ ^ ^ ^
5) CAE m(CAE) = 90 ำ, มุมฉาก 6) EAD m(EAD) = 45 ำ, มุมแหลม

2 เขียนรูปตามข้อกำาหนด
1) RS ตัด PQ ที่จุด K
^ ^ ^
2) m(TSP) = 45 ำ m(ABC) หมายถึง ขนาดของ ABC
^
3) PQR เป็นมุมฉาก
^
4) m(BOK) = 130 ำ

3 สร้างรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ABCD โดยให้ AC เป็นเส้นทแยงมุม พร้อมทั้งวัดและบอกขนาดของ


^ ^
DAC และ ACB
ตัวอย่าง A D
^
34 ำ m(DAC) = 34 ำ
^
m(ACB) = 34 ำ แบบฝึกหัด 6.1

34 ำ
B C
52 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 6 | เส้นขนาน

เฉลยหน้า 52

1) ตัวอย่าง
R

K
P Q

2) ตัวอย่าง
T

45 ํ
S P

3) ตัวอย่าง
P

Q R

4) ตัวอย่าง
B O
130 ํ

48 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 |เส้นขนาน

6.1 เส้นตั้งฉากและเส้นขนาน

จุดประสงค์การเรียนรู้ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 6 | เส้นขนาน

นักเรียนสามารถระบุเส้นตรงคู่ที่ขนานกัน 6.1 เส้นตั้งฉากและเส้นขนาน

โดยพิจารณาจากระยะห่างระหว่างเส้นตรง เส้นตั้งฉาก

สื่อการเรียนรู้ C

^
AB และ CD ตัดกันที่จุด O และ COB เป็นมุมฉาก

โพรแทรกเตอร์
แสดงว่า AB ตั้งฉากกับ CD หรือ CD ตั้งฉากกับ AB
A O B
เขียนแทนด้วย AB CD หรือ CD AB

แนวการจัดการเรียนรู้
D
เป็นสัญลักษณ์แสดงการตั้งฉาก

1. ครูอธิบายลักษณะของเส้นตั้งฉากพร้อมแนะนำ�
^ ^ ^
BOD DOA และ AOC
ก็เป็นมุมฉาก

สัญลักษณ์แสดงการตั้งฉากในหน้า 53 จากนั้นนำ�สนทนา M ^
MN และ KO ตัดกันที่จุด L และ MLO ไม่เป็นมุมฉาก

เกี่ยวกับวิธีสร้างเส้นตั้งฉาก พร้อมสาธิตวิธีการสร้าง แสดงว่า MN ไม่ตั้งฉากกับ KO


K L O
เส้นตั้งฉาก แล้วให้นักเรียนร่วมกันปฏิบัติกิจกรรม
หรือ KO ไม่ตั้งฉากกับ MN

หน้า 54-55 จากนั้นให้ทำ�แบบฝึกหัด 6.2 เป็นรายบุคคล N


^ ^ ^
KLM KLN และ NLO ก็ไม่เป็นมุมฉาก

ถ้าเส้นตรง 2 เส้นที่อยู่บนระนาบเดียวกัน ตัดกันเป็นมุมฉากแล้ว


เส้นตรงทั้งสองเส้นจะตั้งฉากกัน

อย่าลืมว่า รังสีและส่วนของเส้นตรง เป็นส่วนหนึ่งของเส้นตรง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 53

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 6 | เส้นขนาน

ถ้าเส้นตรง 2 เส้นที่อยู่บนระนาบเดียวกัน ตัดกันเป็นมุมฉากแล้ว


เส้นตรงทั้งสองเส้นนั้นจะตั้งฉากกัน ดังนั้นเราจึงสามารถสร้างเส้นตั้งฉากได้โดย
สร้างเส้นตรงให้ตัดกันเป็นมุมฉาก

กิจกรรมสร้างเส้นตั้งฉาก

สร้างเส้นตั้งฉากตามข้อกำาหนด

1 สร้าง คง กข 2 สร้าง ฌญ ชซ

ญ ฌ

ก ง ข

3 สร้าง ตถ ณด 4 สร้าง BD AC
D


A B
C
ณ ถ

5 สร้าง HF EG 6 สร้าง JL IK

G I L

F
J

E H K

54 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 49
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 |เส้นขนาน

2. เพื่อตรวจสอบความเข้าใจและสรุปความรู้ที่ได้
ให้นักเรียนทำ�กิจกรรมหน้า 55 เป็นรายบุคคล
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน

ตรวจสอบเส้นตรง รังสี หรือส่วนของเส้นตรงที่กำาหนดให้ว่าตั้งฉากกันหรือไม่


เพราะเหตุใด ถ้าตั้งฉากกัน ให้เขียนสัญลักษณ์แสดงการตั้งฉาก

1 2 M

E H L
K
I

G F
N

EF GH เพราะ EF ตัด GH ที่จุด I เป็นมุมฉาก MN KL เพราะ MN ตัด KL ที่จุด K เป็นมุมฉาก

3 4 K
Q N

Y O
KL MN
M M
N เพราะ KL ตัด MN
L ที่จุด O เป็นมุมฉาก
P
MN ไม่ตั้งฉากกับ PQ
เพราะ MN ตัด PQ ที่จุด Y ไม่เป็นมุมฉาก แบบฝึกหัด 6.2

ตรวจสอบความเข้าใจ

1 สร้าง RS AB ที่จุด O

^
2 PQ ตัด MN ที่จุด O ทำาให้ m(POM) = 128 ำ เส้นตรง 2 เส้นนี้ตั้งฉากกันหรือไม่ เพราะเหตุใด

สิ่งที่ได้เรียนรู้

1 เส้นตรง 2 เส้นจะตั้งฉากกันเมื่อใด

2 สร้างเส้นตรง 2 เส้นให้ตั้งฉากกัน พร้อมกำาหนดชื่อและเขียนสัญลักษณ์แสดงการตั้งฉาก

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 55

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 6 | เส้นขนาน บทที่ 6 | เส้นขนาน

เฉลยหน้า 55 เฉลยหน้า 55

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้

1 1 เมื่อเส้นตรง 2 เส้นนั้นอยู่บนระนาบเดียวกัน และตัดกัน ทําให้มุมที่จุดตัดมีขนาด 90 องศา


ตัวอย่าง
R 2 ตัวอย่าง

C
A O B

S A B

D
2
ตัวอย่าง AB CD

128 ํ
M O N

PQ ไม่ตั้งฉากกับ MN เพราะ PQ ตัด MN ที่จุด O ไม่เป็นมุมฉาก

50 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 |เส้นขนาน

3. ในการสอนเส้นขนาน ครูควรสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ
“ระยะห่าง” ก่อน เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการอธิบายเส้นขนาน
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน

โดยให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมสำ�รวจระยะห่าง เส้นขนาน

ระหว่างจุดกับเส้นตรงหน้า 56 เพื่อนำ�ไปสู่ข้อค้นพบที่ว่า ระยะห่างระหว่างจุดกับเส้นตรง

ส่วนของเส้นตรงที่ลากจากจุดเดียวกันมายังเส้นตรง ระยะห่างระหว่างจุดกับเส้นตรง วัดได้จากระยะทางที่สั้นที่สุด


จากจุดไปยังเส้นตรง รังสี หรือส่วนของเส้นตรงนั้น

เส้นตั้งฉากเป็นส่วนของเส้นตรงที่สั้นที่สุด แล้วร่วมกัน
กิจกรรมสำารวจระยะห่างระหว่างจุดกับเส้นตรง
กำ�หนดข้อตกลงว่า ระยะห่างระหว่างจุดกับเส้นตรง คือ วัดความยาวของส่วนของเส้นตรง แล้วตอบคำาถาม (ความยาวที่วัดได้ คลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 1 มิลลิเมตร)

ความยาวของส่วนของเส้นตรงที่ลากจากจุดไปตั้งฉาก 1
A 1) AC ยาวเท่าใด 2.8 เซนติเมตร

กับเส้นตรงนั้น จากนั้นให้ทำ�แบบฝึกหัด 6.3 เป็นรายบุคคล 2) AD ยาวเท่าใด 2.7 เซนติเมตร


3) AE ยาวเท่าใด 2.8 เซนติเมตร
4) AF ยาวเท่าใด 3.4 เซนติเมตร
B C D E F G 5) จุด A อยู่ห่างจาก BG เท่าใด 2.7 เซนติเมตร

2
P
1) VQ ยาวเท่าใด 2.7 เซนติเมตร
Q
2) VR ยาวเท่าใด 2.4 เซนติเมตร
R
S 3) VS ยาวเท่าใด 2.3 เซนติเมตร

V 4) VT ยาวเท่าใด 2.8 เซนติเมตร


T
5) จุด V อยู่ห่างจาก PU เท่าใด 2.3 เซนติเมตร
U

จากกิจกรรม จะพบว่า เส้นตั้งฉากเป็นส่วนของเส้นตรงที่สั้นที่สุด


ดังนั้น ระยะห่างระหว่างจุดกับเส้นตรงคือ ความยาวของส่วนของเส้นตรง
ที่ลากจากจุดไปตั้งฉากกับเส้นตรงนั้น

แบบฝึกหัด 6.3
56 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 51
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 |เส้นขนาน

4. ครูให้นักเรียนทำ�กิจกรรมที่ 1 สำ�รวจระยะห่างระหว่างเส้นตรง โดยกำ�หนดเส้นตรงหลาย ๆ คู่ ที่มีระยะห่างเท่ากัน


แล้วสำ�รวจระยะห่าง โดยกำ�หนดจุด 2 จุดบนเส้นตรงเส้นหนึ่ง เขียนส่วนของเส้นตรงแสดงระยะห่างระหว่างจุดที่กำ�หนด
กับเส้นตรงอีกเส้นหนึ่งแล้ววัดระยะห่าง จากนั้นครูแนะนำ�ว่า เส้นตรง 2 เส้นที่มีระยะห่างเท่ากันเป็นเส้นตรงที่ขนานกัน
แล้วร่วมกันสังเกต ซึ่งจะพบว่า เส้นตรงที่ขนานกันจะมีระยะห่างเท่ากัน

ตัวอย่าง Q R
A E
K L C F

G P S
H
R P D
B

กิจกรรมที่ 2 สำ�รวจเส้นตรงที่ขนานกัน โดยกำ�หนดเส้นตรงหลาย ๆ คู่ ที่มีระยะห่างเท่ากันและไม่เท่ากัน จากนั้น


ให้นักเรียนสำ�รวจระยะห่างระหว่างเส้นตรงแต่ละคู่ แล้วร่วมกันอภิปรายแสดงเหตุผลของการขนานกันและไม่ขนานกัน
ระหว่างเส้นตรงแต่ละคู่ แล้วร่วมกันสังเกต ซึ่งจะพบว่า เส้นตรง 2 เส้นที่มีระยะห่างเท่ากัน เส้นตรง 2 เส้นนั้นจะขนานกัน

ตัวอย่าง

ข ฉ






M

S
O T
N

P U
V

52 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 |เส้นขนาน

จากนั้นครูให้นักเรียนนำ�ข้อสังเกตที่ได้จากกิจกรรมที่ 1
และกิจกรรมที่ 2 มาร่วมกันพิจารณาเพื่อนำ�ไปสู่ข้อสรุปว่า
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน

เส้นตรง 2 เส้นที่อยู่บนระนาบเดียวกันจะขนานกัน
เส้นตรง 2 เส้นที่อยู่บนระนาบเดียวกันจะขนานกัน

ก็ต่อเมื่อมีระยะห่างเท่ากันเสมอ พร้อมแนะนำ�สัญลักษณ์ ก็ต่อเมื่อมีระยะห่างเท่ากันเสมอ ใช้สัญลักษณ์ // แสดงการขนาน

แสดงการขนาน ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ A E F B

การขนานกันและไม่ขนานกันของเส้นตรง 2 เส้น

2 ซม.

2 ซม.
โดยยกตัวอย่างอื่น หรืออาจใช้ข้อมูลหน้า 57
C G H D

ระยะห่างระหว่างจุด E กับ CD และจุด F กับ CD เป็น 2 เซนติเมตร

แล้วให้นักเรียนร่วมกันทำ�กิจกรรมหน้า 58-59 ดังนั้น AB ขนานกับ CD หรือ CD ขนานกับ AB


เขียนแทนด้วย AB // CD หรือ CD // AB

สำ�หรับกิจกรรมหน้า 58 ข้อ 6) ถ้านักเรียน ก บ


ม ข

ไม่สามารถตรวจสอบการขนานกันของ KN และ OR

1.7 ซม.

1.5 ซม.
ค ย ล ง
ครูควรแนะนำ�ให้ต่อแนวส่วนของเส้นตรงเส้นใดเส้นหนึ่ง
ระยะห่างระหว่างจุด บ กับ คง เป็น 1.7 เซนติเมตร

แล้วจึงหาระยะห่าง จากนั้นให้ทำ�แบบฝึกหัด 6.4 และระยะห่างระหว่างจุด ม กับ คง เป็น 1.5 เซนติเมตร


ดังนั้น กข ไม่ขนานกับ คง หรือ คง ไม่ขนานกับ กข
เป็นรายบุคคล
ในการเขียนรูป อาจใช้สัญลักษณ์แสดงการขนานกันของเส้นตรง ดังนี้

P V
D G

J M
S
Y

จากรูป DG // JM และ PS // VY

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 57

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 6 | เส้นขนาน

ปฏิบัติกิจกรรม

1 ตรวจสอบว่าเส้นตรง หรือส่วนของเส้นตรงคู่ใดขนานกัน แล้วระบุชื่อเส้นตรง


หรือส่วนของเส้นตรงที่ขนานกัน โดยใช้สัญลักษณ์แสดงการขนาน

1) 2)
ก A C

AB // CD

กข // คง ง B D

3) 4)
จ ฉ
E F
ช ซ
G K H
ม ย

ล ว
I EF // GH, EF // GK
จฉ // ชซ, จฉ // ลว และ ชซ // ลว J
และ EF // KH
5)
A C D
B E F

AG // DI, BH // EK และ CJ // FL

G I J
H K L

6)
K M

KM // QR, KN // OR, MN // OQ
N O และ MO // NQ

R
Q

58 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 53
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 |เส้นขนาน

5. เพื่อตรวจสอบความเข้าใจและสรุปความรู้ที่ได้
ให้นักเรียนทำ�กิจกรรมหน้า 59 เป็นรายบุคคล
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน

2 ให้นักเรียนยกตัวอย่างสิ่งของในห้องเรียนที่มีส่วนที่ขนานกันเป็นส่วนประกอบ
ในสิ่งของนั้นมา 2 ตัวอย่าง

สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว ที่มีส่วนที่ขนานกันเป็นส่วนประกอบ

แบบฝึกหัด 6.4
อยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน

ตรวจสอบความเข้าใจ

จากรูป ให้เขียนชื่อส่วนของเส้นตรงที่ขนานกัน โดยใช้สัญลักษณ์แสดงการขนาน


A

F B

AB // DE, BC // EF และ CD // AF

E C

สิ่งที่ได้เรียนรู้

1 เส้นตรง 2 เส้นจะขนานกันเมื่อใด

2 การตรวจสอบว่า เส้นตรง 2 เส้นขนานกันหรือไม่ มีวิธีการอย่างไร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 59

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 6 | เส้นขนาน

เฉลยหน้า 59

สิ่งที่ได้เรียนรู้

1 เมื่อเส้นตรง 2 เส้นนั้นอยู่บนระนาบเดียวกัน และมีระยะห่างเท่ากันเสมอ

2 กําหนดจุด 2 จุด บนเส้นตรงเส้นหนึ่ง แล้ววัดระยะห่างระหว่างจุดแต่ละจุดกับเส้นตรงอีกเส้นหนึ่ง


ถ้าระยะห่างเท่ากัน แสดงว่าเส้นตรง 2 เส้นนั้น ขนานกัน
ถ้าระยะห่างไม่เท่ากัน แสดงว่าเส้นตรง 2 เส้นนั้น ไม่ขนานกัน

54 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 |เส้นขนาน

6.2 มุมที่เกิดจากเส้นตัดขวางตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง

จุดประสงค์การเรียนรู้ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 6 | เส้นขนาน

นักเรียนสามารถตรวจสอบเส้นขนาน 6.2 มุมที่เกิดจากเส้นตัดขวางตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง

โดยพิจารณาจากมุมแย้ง เส้นตัดขวาง
ST ตัด AB และ CD ดังรูป
S

สื่อการเรียนรู้
C
A A M B
M
S N
T N
C D
-
D
B T

เรียก ST ว่า เส้นตัดขวาง

เส้นตัดขวาง เป็นเส้นตรงที่ตัดเส้นตรงตั้งแต่ 2 เส้นขึ้นไปซึ่งอยู่บนระนาบเดียวกัน


แนวการจัดการเรียนรู้ E
M
จ ข
P
F

1. ครูให้นักเรียนทำ�กิจกรรม โดยกำ�หนดเส้นตรงหลาย ๆ คู่ ก บ


Q ง
G

ที่ขนานกันและไม่ขนานกัน แล้วให้นักเรียน N
H

เขียนเส้นตรงให้ตัดเส้นตรงแต่ละคู่ จากนั้นครูแนะนำ�ว่า MN ตัด EF และ GH จฉ ตัด กข และ คง


แสดงว่า MN เป็นเส้นตัดขวาง แสดงว่า จฉ เป็นเส้นตัดขวาง
เส้นตรงที่ตัดเส้นตรงตั้งแต่ 2 เส้นขึ้นไป ซึ่งอยู่บน A B C
K M O

ระนาบเดียวกัน เรียกว่าเส้นตัดขวาง โดยอาจใช้ตัวอย่าง Q


R S T U
V

R S T

หน้า 60 หรือยกตัวอย่างเพิ่มเติม แล้วให้นักเรียนร่วมกัน


U
L N P Z
X Y

ทำ�กิจกรรมหน้า 61 เพื่อตรวจสอบความเข้าใจเกี่ยวกับ QU ตัด KL MN และ OP RV ตัด AX BY และ CZ

แสดงว่า QU เป็นเส้นตัดขวาง แสดงว่า RV เป็นเส้นตัดขวาง


เส้นตัดขวาง จากนั้นทำ�แบบฝึกหัด 6.5 เป็นรายบุคคล
รังสีและส่วนของเส้นตรง เป็นส่วนหนึ่งของเส้นตรง

60 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 6 | เส้นขนาน

พิจารณารูปต่อไปนี้ว่ามีเส้นตัดขวางหรือไม่ ถ้ามี ให้ระบุ

1 C 2
ค ซ
E
A ช จซ
BA ก
O ฉ
P ง

B
D F ข

3 4

M O R บ

S ด ต ถ ท
ไม่มี

น ดท

N Q P
5 6

K GH พ ไม่มี
G
N ม
J ฟ

I M Q ภ
P
L
H

O

7 W X 8 ผ ฝ

O P Q R
พ ฟ ภ ม
WZ, XY, OR
M
S T U V และ SV
ล ว
ย ร
ผศ, ฝษ,
Y Z ศ ษ พม และ ยว

แบบฝึกหัด 6.5
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 61

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 55
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 |เส้นขนาน

2. ครูใช้ข้อมูลหน้า 62 ประกอบการอธิบายว่า
เมื่อเส้นตรงคู่หนึ่ง มีเส้นตรงอีกเส้นหนึ่งเป็นเส้นตัดขวาง
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน

ทำ�ให้เกิดมุม 8 มุมที่ไม่ทับซ้อนกัน ดังรูป และพบว่า มุมที่เกิดจากเส้นตัดขวาง

เส้นตัดขวางแบ่งมุมเป็น 2 ข้าง ครูแนะนำ� มุมที่อยู่บน พิจารณารูปต่อไปนี้


R

ข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง และมุมที่อยู่คนละข้าง M A1 2 N
4 3

ของเส้นตัดขวาง แล้วให้นักเรียนร่วมกันทำ�กิจกรรมหน้า 63
B5 6

จากนั้นทำ�แบบฝึกหัด 6.6 เป็นรายบุคคล O 8 7 P

QR เป็นเส้นตัดขวาง ตัด MN และ OP ที่จุด A และจุด B ตามลำาดับ


^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
มุมที่เกิดจากเส้นตัดขวาง ได้แก่ 1 2 3 4 5 6 7 และ 8
^ ^ ^ ^
1 4 5 และ 8 เป็น มุมที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง
^ ^ ^ ^
2 3 6 และ 7 เป็น มุมที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง
^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
แต่ 1 4 5 และ 8 กับ 2 3 6 และ 7 เป็นมุมที่อยู่คนละข้างของเส้นตัดขวาง

ช น

5 6 ข
1ม 2 ย
ก 8 7
4 3



กข เป็นเส้นตัดขวาง ตัด ชซ และ นธ ที่จุด ม และ จุด ย ตามลำาดับ
^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
มุมที่เกิดจากเส้นตัดขวาง ได้แก่ 1 2 3 4 5 6 7 และ 8
^ ^ ^ ^
1 2 5 และ 6 เป็น มุมที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง
^ ^ ^ ^
3 4 7 และ 8 เป็น มุมที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง
^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
แต่ 1 2 5 และ 6 กับ 3 4 7 และ 8 เป็นมุมที่อยู่คนละข้างของเส้นตัดขวาง

62 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 6 | เส้นขนาน

มุมใดบ้างเป็นมุมที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง

1 2
A C K P
1 2
12 56 ^ ^ ^ ^ I 4 3 N ^ ^ ^ ^
34 78 1, 2, 5 และ 6 1, 4, 5 และ 8
E F 6
^ ^ ^ ^ 5 7 ^ ^ ^ ^
กับ 3, 4, 7 และ 8 8 กับ 2, 3, 6 และ 7
B D M L

3 4
U
O
Q 1 5 R M T
2 6 5 7
^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
1, 2, 3 และ 4 3 6 8 1, 3, 5 และ 7
3 7 1
^ ^ ^ ^ S 4 ^ ^ ^ ^
S 4 8 T 2
กับ 5, 6, 7 และ 8 กับ 2, 4, 6 และ 8
N P
V

5 6
K
E D
J
6 1 2
5 7 4 3 I
A 8
2
1 3 F 5 6
^ ^ ^ ^
4 1, 2, 5 และ 6 M 8 7 N
C ^ ^ ^ ^
^ ^ ^ ^
กับ 3, 4, 7 และ 8 1, 4, 5 และ 8
B L
^ ^ ^ ^
กับ 2, 3, 6 และ 7
7 8
E
D M
A P S
1
4 2 1 2
3 3
5 6 4
8 6 F 5
7 8 7
B ^ ^ ^ ^ R Q N ^ ^ ^ ^
C
1, 4, 5 และ 8 1, 2, 5 และ 6
^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
กับ 2, 3, 6 และ 7 กับ 3, 4, 7 และ 8

แบบฝึกหัด 6.6

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 63

56 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 |เส้นขนาน

3. ครูใช้ข้อมูลหน้า 64 ประกอบการอธิบายว่า
เมื่อเส้นตรงคู่หนึ่ง มีเส้นตรงอีกเส้นหนึ่งเป็นเส้นตัดขวาง
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน

ทำ�ให้เกิดมุม 8 มุมที่ไม่ทับซ้อนกัน ดังรูป เมื่อพิจารณาจาก พิจารณารูปต่อไปนี้

เส้นตรงคู่นี้ พบว่า มีมุม 2 ชุด ครูแนะนำ� มุมภายใน E G

และมุมภายนอก จากนั้นจึงแนะนำ� มุมภายในที่อยู่บน C


1
Q4
2 3

ข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง และมุมภายในทีอ ่ ยูค


่ นละข้าง 5 8
6R 7

ของเส้นตัดขวาง แล้วให้นักเรียนร่วมกันทำ�กิจกรรม D
F H
หน้า 65 จากนั้นทำ�แบบฝึกหัด 6.7 เป็นรายบุคคล
CD เป็นเส้นตัดขวาง ตัด EF และ GH ที่จุด Q และ จุด R ตามลำาดับ
^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
3 4 5 และ 6 เป็น มุมภายใน และ 1 2 7 และ 8 เป็น มุมภายนอก
^ ^ ^ ^
3 กับ 6 และ 4 กับ 5 เป็น มุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง
^ ^ ^ ^
3 กับ 5 และ 4 กับ 6 เป็น มุมภายในที่อยู่คนละข้างของเส้นตัดขวาง

ธ ป

5ต 6
8
7
1 2
3 ค4

ถ บ

ถท เป็นเส้นตัดขวาง ตัด ธน และ ปบ ที่จุด ค และ จุด ต ตามลำาดับ


^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
2 4 5 และ 7 เป็น มุมภายใน และ 1 3 6 และ 8 เป็น มุมภายนอก
^ ^ ^ ^
2 กับ 5 และ 4 กับ 7 เป็น มุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง
^ ^ ^ ^
2 กับ 7 และ 4 กับ 5 เป็น มุมภายในที่อยู่คนละข้างของเส้นตัดขวาง

64 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 6 | เส้นขนาน

ปฏิบัติกิจกรรม

1 มุมใดบ้างเป็นมุมภายใน มุมใดบ้างเป็นมุมภายนอก

1) A C 2) I
E 1 2 F
^ ^ ^ ^ 4 3 ^ ^ ^ ^
1 2 2, 3, 5 และ 8 3, 4, 7 และ 8
E 5 6
4 3 เป็นมุมภายใน 8 7 H เป็นมุมภายใน
8 7 5 6
F ^ ^ ^ ^ G ^ ^ ^ ^
1, 4, 6 และ 7 J
1, 2, 5 และ 6
B D
เป็นมุมภายนอก เป็นมุมภายนอก

3) K 4)
2 N R
1 ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
4 3, 4, 5 และ 6 T 2, 3, 6 และ 7
3 1 2
เป็นมุมภายใน P เป็นมุมภายใน
6 P 5 6 3 4
M 5
8 ^ ^ ^ ^ 7 8 ^ ^ ^ ^
7 1, 2, 7 และ 8 Q 1, 4, 5 และ 8
O เป็นมุมภายนอก S เป็นมุมภายนอก
U
L

2 มุมใดบ้างเป็นมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง มุมใดบ้างเป็นมุมภายใน
ที่อยู่คนละข้างของเส้นตัดขวาง

1) 2) ^ ^ ^ ^
^ ^ ^ ^ 2 กับ 5 และ 3 กับ 8
U 3 กับ 6 และ 4 กับ 5 B D G
6 เป็นมุมภายในที่อยู่
Q เป็นมุมภายในที่อยู่ 5
1 2 R บนข้างเดียวกันของ
4 3 8 7
บนข้างเดียวกันของ 2 เส้นตัดขวาง
1
5 6 T เส้นตัดขวาง F 4
3
^ ^ ^ ^
8 7 ^ ^ ^ ^ 2 กับ 8 และ 3 กับ 5
3 กับ 5 และ 4 กับ 6 E เป็นมุมภายในที่อยู่
S V C
เป็นมุมภายในที่อยู่ คนละข้างของเส้นตัดขวาง
คนละข้างของเส้นตัดขวาง
3) K 4) M ^ ^ ^ ^
P 3 กับ 5 และ 4 กับ 6
G
1 2
H
เป็นมุมภายในที่อยู่
1 2
4 3 บนข้างเดียวกันของ
O 3 4
เส้นตัดขวาง
8 7
I 5 6 5 6 ^ ^ ^ ^
3 กับ 6 และ 4 กับ 5
J Q 7 8 R
เป็นมุมภายในที่อยู่
L
^ ^ ^ ^ N คนละข้างของเส้นตัดขวาง
3 กับ 7 และ 4 กับ 8 เป็นมุมภายใน
ที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง แบบฝึกหัด 6.7
^ ^ ^ ^
3 กับ 8 และ 4 กับ 7 เป็นมุมภายใน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 65
ที่อยู่คนละข้างของเส้นตัดขวาง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 57
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 |เส้นขนาน

4. ครูใช้ข้อมูลหน้า 66 แนะนำ�มุมแย้งภายในและมุมแย้ง
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5

ภายนอก แล้วให้นักเรียนร่วมกันทำ�กิจกรรมหน้า 67 บทที่ 6 | เส้นขนาน

จากนั้นทำ�แบบฝึกหัด 6.8 เป็นรายบุคคล พิจารณารูปต่อไปนี้

P
M 4 1A N
3 2

5
R 8 B S
7 6

PQ เป็นเส้นตัดขวาง ตัด MN เเละ RS ที่จุด A เเละ จุด B ตามลำาดับ

^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
2 3 5 และ 8 เป็นมุมภายใน 1 4 6 และ 7 เป็นมุมภายนอก
มุมภายในที่อยู่คนละข้างของเส้นตัดขวางซึ่งจุดยอดมุมไม่ใช่จุดเดียวกัน เรียกว่า มุมแย้งภายใน
มุมภายนอกทีอ
่ ยูค ุ เดียวกัน เรียกว่า มุมแย้งภายนอก
่ นละข้างของเส้นตัดขวางซึง่ จุดยอดมุมไม่ใช่จด
^ ^ ^ ^
2 กับ 8 และ 3 กับ 5 เป็นมุมแย้งภายใน
^ ^ ^ ^
1 กับ 7 และ 4 กับ 6 เป็นมุมแย้งภายนอก

ธ ป

3ต 4
8
7
1ด 2
5 6

ถ บ

ถท เป็นเส้นตัดขวาง ตัด ธน เเละ ปบ ที่จุด ด เเละ จุด ต ตามลำาดับ


^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
2 3 6 และ 7 เป็นมุมภายใน 1 4 5 และ 8 เป็นมุมภายนอก
^ ^ ^ ^
2 กับ 7 และ 3 กับ 6 เป็นมุมแย้งภายใน
^ ^ ^ ^
1 กับ 8 และ 4 กับ 5 เป็นมุมแย้งภายนอก

66 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 6 | เส้นขนาน

มุมใดบ้างเป็นมุมแย้งภายใน และมุมใดบ้างเป็นมุมแย้งภายนอก

1 2
A C E
^ ^ ^ ^ C 1 2 D ^ ^ ^ ^
2 กับ 8 และ 3 กับ 5 3 กับ 6 และ 4 กับ 5
3 4
1 2 5 6
เป็นมุมแย้งภายใน เป็นมุมแย้งภายใน
E 4 3 ^ ^ ^ ^
8 7 F 5 6 H 1 กับ 8 และ 2 กับ 7
^ ^ ^ ^ 7 8
B 1 กับ 7 และ 4 กับ 6 G เป็นมุมแย้งภายนอก
D
F
เป็นมุมแย้งภายนอก

3 F 4 K
I G
1 2 ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
H 4 3
3 กับ 5 และ 4 กับ 6 1 5 2 กับ 7 และ 3 กับ 6
2 6
เป็นมุมแย้งภายใน H เป็นมุมแย้งภายใน
5 6 ^ ^ ^ ^ I 3 ^ ^ ^ ^
K 1 กับ 7 และ 2 กับ 8 4 8
7 1 กับ 8 และ 4 กับ 5
8 7
J เป็นมุมแย้งภายนอก เป็นมุมแย้งภายนอก
J
G L
5 6
J L
I K
3 4 N
^ ^ ^ ^ 6 5 ^ ^ ^ ^
1 2
1 กับ 7 และ 4 กับ 6 2
2 กับ 6 และ 3 กับ 7
5 6 1
8 7 4 3 I เป็นมุมแย้งภายใน 7 เป็นมุมแย้งภายใน
H 8
^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
2 กับ 8 และ 3 กับ 5 M 1 กับ 5 และ 4 กับ 8
J L
เป็นมุมแย้งภายนอก เป็นมุมแย้งภายนอก
K M
7 8 Q

N S 4 3 T
P 1 2
1 5 ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
L 5 กับ 8 และ 6 กับ 7 1 กับ 6 และ 2 กับ 5
2 6 7 3
8 4 5 6 V
เป็นมุมแย้งภายใน เป็นมุมแย้งภายใน
M 8 7
^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
1 กับ 4 และ 2 กับ 3 U 3 กับ 8 และ 4 กับ 7
O Q เป็นมุมแย้งภายนอก เป็นมุมแย้งภายนอก
R

แบบฝึกหัด 6.8

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 67

58 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 |เส้นขนาน

5. ครูควรยกตัวอย่างเพิ่มเติม ให้นักเรียนระบุ
มุมที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน

มุมที่อยู่คนละข้างของเส้นตัดขวาง ตรวจสอบความเข้าใจ

มุมภายใน มุมภายนอก มุมแย้งภายใน และมุมแย้งภายนอก พิจารณารูป แล้วตอบคำาถาม



จากนั้นตรวจสอบความเข้าใจและสรุปความรู้ที่ได้


5 6
8 7
โดยให้นักเรียนทำ�กิจกรรมหน้า 68 เป็นรายบุคคล จ
1 2
4 3

ข ง

1 ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
^ ^
1) 1 กับ 4 เป็นมุมที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง ผิด
^ ^
2) 6 กับ 7 เป็นมุมภายนอก ถูก
^ ^ ^ ^
3) 2 3 5 และ 8 เป็นมุมภายใน ถูก
^ ^
4) 5 กับ 7 เป็นมุมแย้ง ผิด
^ ^
5) 4 กับ 6 เป็นมุมแย้งภายใน ผิด
2 ระบุชื่อมุมทุกมุม ตามที่กำาหนด
^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
1) มุมที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง 1, 2, 5 และ 6 กับ 3, 4, 7 และ 8
^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
2) มุมภายนอก มุมภายใน 1, 4, 6 และ 7 เป็นมุมภายนอก 2, 3, 5 และ 8 เป็นมุมภายใน
^ ^ ^ ^
3) มุมแย้งภายนอก มุมแย้งภายใน 1 กับ 7 และ 4 กับ 6 เป็นมุมแย้งภายนอก
^ ^ ^ ^
2 กับ 8 และ 3 กับ 5 เป็นมุมแย้งภายใน

สิ่งที่ได้เรียนรู้

เขียนรูปตามข้อกำาหนด
^ ^ ^ ^
EF ตัด AB ที่จุด P และตัด CD ที่จุด M โดยมี 1 3 6 และ 8 เป็นมุมที่อยู่
^ ^ ^ ^
บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง 1 กับ 4 และ 5 กับ 8 เป็นมุมแย้งภายนอก
^ ^ ^ ^ ^ ^
6 กับ 7 เป็นมุมแย้งภายใน และ 2 3 6 และ 7 เป็นมุมภายใน

68 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 6 | เส้นขนาน

เฉลยหน้า 68

สิ่งที่ได้เรียนรู้

ตัวอย่าง

1 5
A 3 P B
7

6 2
C 8 M D
4

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 59
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 |เส้นขนาน

6.3 สมบัติของเส้นขนาน

จุดประสงค์การเรียนรู้
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน

นักเรียนสามารถตรวจสอบเส้นขนาน โดยพิจารณา 6.3 สมบัติของเส้นขนาน


จากผลบวกของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกัน
ของเส้นตัดขวาง
กำาหนด AB // CD มี EF เป็นเส้นตัดขวาง F
A H B
1 2

สื่อการเรียนรู้
3 4
C G D
E

ปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. แถบกระดาษ 1. วางแถบกระดาษตามแนว AB แล้วลากเส้นตามแนว EF

2. โพรแทรกเตอร์ A H B

3 4

แนวการจัดการเรียนรู้
C G D
E

^ ^
2. ตัดแถบกระดาษตามเส้นที่ลาก จะได้มุมที่มีขนาดเท่ากับ 1 และ 2

1. การสอนสมบัติของเส้นขนานหน้า 69 ครูควรสาธิต 1 2

การปฏิบัติกิจกรรม พร้อมกับให้นักเรียนทำ�ตามทีละขั้นตอน 3. นำาแถบกระดาษจากข้อ 2) มาตรวจสอบกับขนาดของ 3 และ 4


^ ^

แล้วช่วยกันบอกผลการปฏิบัติกิจกรรม ซึ่งจะได้ว่า A H
F
B A H
F
B
1 2 1 2
มุมแย้งภายในมีขนาดเท่ากัน ครูกำ�หนดข้อตกลงว่า 3 1 2
4

มุมแย้งที่กล่าวถึงในระดับชั้นนี้ หมายถึงมุมแย้งภายในเท่านั้น C
E
G D C
E
G D

จากนั้นให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมหน้า 70 แล้วร่วมกัน ^ ^ ^ ^ ^ ^
จะพบว่า 1 = 4 และ 2 = 3 ซึ่ง 1 กับ 4 และ 2 กับ 3 เป็นมุมแย้งภายใน
^ ^

ตอบคำ�ถาม และอภิปรายเกี่ยวกับผลการปฏิบัติกิจกรรม ในระดับชั้นนี้มุมแย้งที่กล่าวถึง จะหมายถึงมุมแย้งภายในเท่านั้น

เพือ่ นำ�ไปสูข่ อ้ สรุปทีว่ า่ ถ้าเส้นตรงเส้นหนึง่ ตัดเส้นขนานคูห


่ นึง่ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 69

แล้วมุมแย้งมีขนาดเท่ากัน จากนั้นให้นักเรียนร่วมกัน
ทำ�กิจกรรมหน้า 71 และให้ทำ�แบบฝึกหัด 6.9 เป็นรายบุคคล

60 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 |เส้นขนาน

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 6 | เส้นขนาน บทที่ 6 | เส้นขนาน

ตอบคำาถาม
กิจกรรมตรวจสอบขนาดของมุมแย้ง
1 AB // CD 2 KL // MN
ใช้แถบกระดาษตรวจสอบว่า มุมแย้งแต่ละคู่มีขนาดเท่ากันหรือไม่
S L
M
1 CD // EF 2 EF ไม่ขนานกับ GH A
E
B G
D E 75 ำ N
A I K 95 ำ
1 2 F
C F
1 2 H
C D I
3 4 F 3 4 N
G M
H
J ^ ^
B CFE มีขนาดเท่าใด 75 ำ
E KGH มีขนาดเท่าใด 95 ำ
^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
1 = 4 และ 2 = 3 1 ≠ 4 และ 2 ≠ 3
3 PQ // RS 4 FG // HI
3 LM // NO 4 MN ไม่ขนานกับ OP
S F
H
Q Q X
L N M N T
12 O
D
3
1 N 105 ำ Y
2 4 K 3 4 M E
J
O
M O R P R
G
P I
^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
1 = 4 และ 2 = 3 1 ≠ 4 และ 2 ≠ 3
^ ^
SON มีขนาดเท่าใด 90 ำ EDF มีขนาดเท่าใด 105 ำ

จากการตรวจสอบ รูปใดบ้างที่มีมุมแย้งเท่ากัน รูปในข้อ 1 กับ ข้อ 3

5 QR // ST 6 OP // QR

U
จากรูป ถ้าเส้นตรงขนานกัน มุมแย้งจะมีขนาดเท่ากัน Q
R
V O
Q 70 ำ F 130 ำ
C
จากรูป ถ้าเส้นตรงไม่ขนานกัน มุมแย้งจะมีขนาดไม่เท่ากัน M N
T
R
W
S P
X

ถ้าเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นขนานคู่หนึ่งแล้ว มุมแย้งมีขนาดเท่ากัน ^ ^
VWT มีขนาดเท่าใด 70 ำ MNR มีขนาดเท่าใด 130 ำ

แบบฝึกหัด 6.9
70 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 71

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 61
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 |เส้นขนาน

2. ครูให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตรวจสอบการขนานกัน
ของเส้นตรงหน้า 72 แล้วร่วมกันตอบคำ�ถาม
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน

และอภิปรายเกี่ยวกับผลการปฏิบัติกิจกรรม เพื่อนำ�ไปสู่ กิจกรรมตรวจสอบการขนานกันของเส้นตรง

ข้อสรุปที่ว่า เมื่อเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง ปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้


การตรวจสอบ
เส้นขนาน
1. ตรวจสอบขนาดของมุมแย้ง โดยใช้แถบกระดาษหรือใช้โพรแทรกเตอร์
ถ้ามุมแย้งมีขนาดเท่ากันแล้ว เส้นตรงคู่นั้นจะขนานกัน 2. ตรวจสอบการขนานกันของเส้นตรงจากระยะห่างระหว่างเส้นตรง โดยใช้ไม้ฉาก
หรือกระดาษที่พับเป็นมุมฉาก แล้วตอบคำาถาม
จากนั้นให้นักเรียนร่วมกันทำ�กิจกรรมหน้า 73
1 2
และให้ทำ�แบบฝึกหัด 6.10 เป็นรายบุคคล A B G I
E
1 2
K1 2 L
4 3
3 4
H
C F D M

1) มุมแย้งมีขนาดเท่ากันหรือไม่ เท่ากัน 1) มุมแย้งมีขนาดเท่ากันหรือไม่ เท่ากัน


2) AB กับ CD ขนานกันหรือไม่ 2) GH กับ IM ขนานกันหรือไม่

เพราะเหตุใด AB // CD เพราะ เพราะเหตุใด GH // IM เพราะ


ระยะห่างระหว่าง AB กับ CD เท่ากัน ระยะห่างระหว่าง GH กับ IM เท่ากัน

3 4
M P
S Y T
1 2
2 R
Q 1
3 4
3 4
U
Z
N O V

1) มุมแย้งมีขนาดเท่ากันหรือไม่ ไม่เท่ากัน 1) มุมแย้งมีขนาดเท่ากันหรือไม่ ไม่เท่ากัน


2) MN กับ PO ขนานกันหรือไม่ 2) ST กับ UV ขนานกันหรือไม่

เพราะเหตุใด MN ไม่ขนานกับ PO เพราะเหตุใด ST ไม่ขนานกับ UV


เพราะ ระยะห่างระหว่าง MN กับ PO เพราะ ระยะห่างระหว่าง ST กับ UV
ไม่เท่ากัน ไม่เท่ากัน

เมื่อเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง ถ้ามุมแย้งมีขนาดเท่ากันแล้ว เส้นตรงคู่นั้นจะขนานกัน

72 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 6 | เส้นขนาน

เส้นตรงหรือส่วนของเส้นตรงแต่ละคู่ขนานกันหรือไม่ เพราะเหตุใด

1 2 H
K
R D
A I
92 ำ
135 ำ I
L
C 78 ำ
E 135 ำ
F
K J
S G M

AC // EG เพราะ มุมแย้งมีขนาดเท่ากัน HJ ไม่ขนานกับ KM เพราะ มุมแย้งมีขนาด


ไม่เท่ากัน
3 4 D
F
K
N G
80 ำ H J 100 ำ H

70 ำ B 100 ำ
J P L
L M
O
F
FH ไม่ขนานกับ JL เพราะ มุมแย้ง
มีขนาดไม่เท่ากัน BD // FH เพราะ มุมแย้งมีขนาดเท่ากัน

5 M 6
G G
N C
E 135 ำ K
L
60 ำ 60 ำ M
K N
140 ำ
O
I
I E
P

EG ไม่ขนานกับ IK เพราะ มุมแย้ง CE // GI เพราะ มุมแย้งมีขนาดเท่ากัน


มีขนาดไม่เท่ากัน

แบบฝึกหัด 6.10

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 73

62 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 |เส้นขนาน

3. การสอนสมบัติของเส้นขนานหน้า 74 ครูควรสาธิต
การปฏิบัติกิจกรรม พร้อมกับให้นักเรียนทำ�ตามทีละขั้นตอน
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน

แล้วช่วยกันบอกผลการปฏิบัติกิจกรรม ซึ่งจะได้ว่ามุมภายใน กำาหนด AB // CD มี EF เป็นเส้นตัดขวาง

ที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวางรวมกันได้ 180°
F
A B
1 2

จากนั้นให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมหน้า 75 แล้วร่วมกัน 3 4
C D

ตอบคำ�ถามหน้า 76 และอภิปรายเกี่ยวกับผลการปฏิบัติ E

ปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
กิจกรรม เพื่อนำ�ไปสู่ข้อสรุปที่ว่า ถ้าเส้นตรงเส้นหนึ่ง 1. วางแถบกระดาษตามแนว AB ลากเส้นตามแนว EF แล้วตัดกระดาษตามแนวเส้นที่ลาก
^ ^
จะได้มุมที่มีขนาดเท่ากับ 1 และ 2
ตัดเส้นขนานคู่หนึ่งแล้ว ขนาดของมุมภายในที่อยู่
บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวางรวมกันได้ 180°
F
A B
1 2 1 2

จากนั้นให้นักเรียนร่วมกันทำ�กิจกรรมหน้า 77 และให้ทำ� C
3 4
D

แบบฝึกหัด 6.11 เป็นรายบุคคล E

2. วางแถบกระดาษตามแนว CD ลากเส้นตามแนว EF แล้วตัดกระดาษตามแนวเส้นที่ลาก


^ ^
จะได้มุมที่มีขนาดเท่ากับ 3 และ 4
F
A B
1 2
3 4
3 4
C D
E

^ ^
3. ลากเส้นตรง 1 เส้น แล้วนำาแถบกระดาษที่ตัดเป็นมุมที่มีขนาดเท่ากับ 1 กับ 3
^ ^
เเละ 2 กับ 4 มาวางต่อกันบนเส้นตรงโดยไม่ซ้อนทับกัน ดังรูป

3 1 2
4
^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
จากรูป แสดงว่า 1 + 3 = 180 ำ และ 2 + 4 = 180 ำ ซึ่ง 1 กับ 3 และ 2 กับ 4
เป็นมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง

74 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 6 | เส้นขนาน

กิจกรรมตรวจสอบผลบวกของขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง

ใช้แถบกระดาษตรวจสอบว่า ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวางคู่ใดบ้าง
ที่รวมกันได้ 180 ำ

1 กข // คง มี จฉ เป็นเส้นตัดขวาง 2 KL // MN มี OP เป็นเส้นตัดขวาง

ก ค M
K

จ 1 P
1 2
2 O
3 4 3
4

ข ฉ N
L

^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
1 กับ 3 และ 2 กับ 4 1 กับ 2 และ 3 กับ 4

3 ดต ไม่ขนานกับ ถท 4 EF ไม่ขนานกับ GH
มี ธน เป็นเส้นตัดขวาง มี AC เป็นเส้นตัดขวาง


E A
ด ต
1 2 1 3 F

4 3 2 4
ถ G

C H

ไม่มี ไม่มี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 75

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 63
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 |เส้นขนาน

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 6 | เส้นขนาน บทที่ 6 | เส้นขนาน

ตอบคำาถาม
จากกิจกรรมตรวจสอบผลบวกของขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกัน
ของเส้นตัดขวาง 1 GI // KM 2 HJ // LN
L
G N H
O S
137 ำ R
I Q 85 ำ
ถ้าเส้นตรงขนานกัน ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกัน K P
ของเส้นตัดขวางรวมกันได้ 180 ำ P
M N
Q J

^ ^
ถ้าเส้นตรงไม่ขนานกัน ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกัน KPO มีขนาดเท่าใด 43 ำ LRQ มีขนาดเท่าใด 95 ำ

ของเส้นตัดขวางรวมกันไม่เท่ากับ 180 ำ
3 IK // MO 4 NP // RT

N R
P
K
ถ้าเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นขนานคู่หนึ่งแล้ว ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง J
Q A
รวมกันได้ 180 ำ
I L
93 ำ
O
B
R
M P T
^ มีขนาดเท่าใด หาได้อย่างไร S
จากรูป ถ้า AB // CD แล้ว BEF
^ ^
ORQ มีขนาดเท่าใด 90 ำ PJL มีขนาดเท่าใด 87 ำ

C
A Q 5 KM // OQ 6 PR // WY
R R
60 ำ
F
E K S M Y
P H
L
D
B 102 ำ
110 ำ N
Q K
O T P
W
U
จากรูป AB // CD และ ทราบว่า ถ้าเส้นตรงขนานกัน ^ ^
KST มีขนาดเท่าใด 70 ำ WNL มีขนาดเท่าใด 78 ำ
ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวางรวมกันได้ 180 ำ
^ ) = 180 − 60 = 120 ำ
ดังนั้น m(BEF แบบฝึกหัด 6.11

76 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 77

64 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 |เส้นขนาน

4. ครูให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตรวจสอบการขนานกัน
ของเส้นตรงหน้า 78 แล้วร่วมกันตอบคำ�ถาม และอภิปราย
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน

เกี่ยวกับผลการปฏิบัติกิจกรรม เพื่อนำ�ไปสู่ข้อสรุปที่ว่า กิจกรรมตรวจสอบการขนานกันของเส้นตรง

เมื่อเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง ตรวจสอบการขนานกันของเส้นตรงจากระยะห่างระหว่างเส้นตรง โดยใช้ไม้ฉาก


หรือกระดาษที่พับเป็นมุมฉาก แล้วตอบคำาถาม
ถ้าขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกัน 1 2 H
F J

ของเส้นตัดขวางรวมกันได้ 180° แล้ว เส้นตรงคู่นั้น A


135 ำ
P B

U
V N
M
100 ำ

จะขนานกัน จากนั้นให้นักเรียนร่วมกันทำ�กิจกรรมหน้า 79
80 ำ

45 ำ Q
D
และให้ทำ�แบบฝึกหัด 6.12 เป็นรายบุคคล
C
I K
G

1) ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกัน 1) ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกัน
ของเส้นตัดขวางเป็นเท่าใด 180 ำ ของเส้นตัดขวางเป็นเท่าใด 180 ำ

2) จากการตรวจสอบ AB กับ CD 2) จากการตรวจสอบ HI กับ JK


ขนานกันหรือไม่ เพราะเหตุใด AB // CD ขนานกันหรือไม่ เพราะเหตุใด HI // JK
เพราะ ระยะห่างระหว่าง AB กับ CD เท่ากัน เพราะ ระยะห่างระหว่าง HI กับ JK เท่ากัน

3 4
I L N
E
F R
J 85 ำ 120 ำ
X
62 ำ
Y
G K 100 ำ
M O S
L H

1) ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกัน 1) ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกัน
ของเส้นตัดขวางเป็นเท่าใด 185 ำ ของเส้นตัดขวางเป็นเท่าใด 182 ำ

2) จากการตรวจสอบ EF กับ GH 2) จากการตรวจสอบ LM กับ NO


ขนานกันหรือไม่ เพราะเหตุใด EF ไม่ขนานกับ GH ขนานกันหรือไม่ เพราะเหตุใด LM ไม่ขนานกับ NO
เพราะ ระยะห่างระหว่าง EF กับ GH ไม่เท่ากัน เพราะ ระยะห่างระหว่าง LM กับ NO ไม่เท่ากัน

เมื่อเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง ถ้าขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง
รวมกันได้ 180 ำ แล้ว เส้นตรงคู่นั้นจะขนานกัน

78 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 6 | เส้นขนาน

เส้นตรงหรือส่วนของเส้นตรงแต่ละคู่ขนานกันหรือไม่ เพราะเหตุใด

1 2
A K
K Q
O U
50 ำ E 75 ำ
130 ำ B
N F
96 ำ
P
V
F I
G M
AE // NI เพราะ ขนาดของมุมภายในที่อยู่บน BQ ไม่ขนานกับ GF เพราะ ขนาดของมุมภายใน
ข้างเดียวกันของเส้นตัดขวางรวมกันได้ 180 ำ ที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวางรวมกันไม่เท่ากับ 180 ำ

3 4
H G N
Q
P
C
W 80 ำ D 45 ำ
105 ำ
F
X
135 ำ L
Q
K
M
R I

HK ไม่ขนานกับ QM เพราะ ขนาดของมุมภายใน DI // GL เพราะ ขนาดของมุมภายในที่อยู่บน


ที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวางรวมกันไม่เท่ากับ 180 ำ ข้างเดียวกันของเส้นตัดขวางรวมกันได้ 180 ำ

5 6
E H
R
J
P
F
C 110 ำ
D
T 95 ำ Q S
70 ำ O
L
U
J N FJ // LO เพราะ ขนาดของมุมภายในที่อยู่บน
EJ ไม่ขนานกับ HN เพราะ ขนาดของมุมภายใน ข้างเดียวกันของเส้นตัดขวางรวมกันได้ 180 ำ
ที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวางรวมกันไม่เท่ากับ 180 ำ แบบฝึกหัด 6.12

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 79

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 65
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 |เส้นขนาน

5. ให้นักเรียนร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมหน้า 80 โดยใช้
สมบัติของเส้นขนาน และให้ทำ�แบบฝึกหัด 6.13
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน

เป็นรายบุคคล เส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่งแล้ว เส้นตรงคู่นั้นจะขนานกัน


ถ้ามุมแย้งมีขนาดเท่ากัน
ถ้าขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวางรวมกันได้ 180 ำ

เส้นตรงหรือส่วนของเส้นตรงแต่ละคู่ขนานกันหรือไม่ เพราะเหตุใด

1 2 ฎ

จ ค บ

ช ช 100 ำ
65 ำ 65 ำ

ฉ 80 ำ ป

ข ฌ


กข // คง เพราะ มุมแย้งมีขนาดเท่ากัน ชซ // ฌญ เพราะ ขนาดของมุมภายในที่อยู่บน
ข้างเดียวกันของเส้นตัดขวางรวมกันได้ 180 ำ
3 4
E
A O
K X
L
M 93 ำ
C 120 ำ

55 ำ 96 ำ Y
B
N M
N
R
H D KL ไม่ขนานกับ MN เพราะ มุมแย้งมีขนาด
AB ไม่ขนานกับ CD เพราะ ขนาดของมุมภายใน
ไม่เท่ากัน
ที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวางรวมกันไม่เท่ากับ 180 ำ K
5 6 Y

ค ง
125 ำ

S 87 ำ 96 ำ U
บ T
V
125 ำ น

คร // บน เพราะ มุมแย้งมีขนาดเท่ากัน O E

แบบฝึกหัด 6.13
OY ไม่ขนานกับ EK เพราะ ขนาดของมุมภายใน
80 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวางรวมกัน
ไม่เท่ากับ 180 ำ

66 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 |เส้นขนาน

6. เพื่อตรวจสอบความเข้าใจและสรุปความรู้ที่ได้
ให้นักเรียนทำ�กิจกรรมหน้า 81 เป็นรายบุคคล
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน

ตรวจสอบความเข้าใจ

เส้นตรงหรือส่วนของเส้นตรงแต่ละคู่ขนานกันหรือไม่ เพราะเหตุใด

1 2 N
A
M
C T
T
75 ำ W
F 78 ำ
G 78 ำ
105 ำ X
V H
I
R L O
AF // GL เพราะ ขนาดของมุมภายใน IN // OT เพราะ มุมแย้งมีขนาดเท่ากัน
ที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวางรวมกันได้ 180 ำ
L
3 4
E S D
Q G 115 ำ
F
J R
K 135 ำ
130 ำ 75 ำ C
H
V

M X
EJ ไม่ขนานกับ KP P
GL ไม่ขนานกับ MR เพราะ ขนาดของมุมภายใน
เพราะ มุมแย้งมีขนาดไม่เท่ากัน
ที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวางรวมกันไม่เท่ากับ 180 ำ
5 U 6 V
I R N
92 ำ X
S 45 ำ 140 ำ
K U Q
88 ำ S PV ไม่ขนานกับ WX
O P
T เพราะ ขนาดของมุมภายใน
Z IN ไม่ขนานกับ OT W ที่อยู่บนข้างเดียวกันของ
เพราะ มุมแย้งมีขนาดไม่เท่ากัน เส้นตัดขวางรวมกันไม่เท่ากับ 180 ำ

สิ่งที่ได้เรียนรู้

บอกวิธีตรวจสอบการขนานกันของเส้นตรงคู่หนึ่งมา 3 วิธี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 81

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 6 | เส้นขนาน

เฉลยหน้า 81

สิ่งที่ได้เรียนรู้

วิธีที่ 1 ตรวจสอบจากระยะห่างระหว่างเส้นตรง
ถ้าระยะห่างเท่ากัน แสดงว่าเส้นตรงคู่นั้นขนานกัน
ถ้าระยะห่างไม่เท่ากัน แสดงว่าเส้นตรงคู่นั้นไม่ขนานกัน

วิธีที่ 2 ตรวจสอบขนาดของมุมแย้ง
ถ้ามุมแย้งมีขนาดเท่ากัน แสดงว่าเส้นตรงคู่นั้นขนานกัน
ถ้ามุมแย้งมีขนาดไม่เท่ากัน แสดงว่าเส้นตรงคู่นั้นไม่ขนานกัน

วิธีที่ 3 ตรวจสอบผลบวกของขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง
ถ้าผลบวกของขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวางรวมกันได้ 180 องศา
แสดงว่าเส้นตรงคู่นั้นขนานกัน
ถ้าผลบวกของขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวางรวมกันไม่เท่ากับ
180 องศา แสดงว่าเส้นตรงคู่นั้นไม่ขนานกัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 67
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 |เส้นขนาน

6.4 การสร้างเส้นขนาน

จุดประสงค์การเรียนรู้ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 6 | เส้นขนาน

6.4 การสร้างเส้นขนาน
นักเรียนสามารถสร้างเส้นขนานตามข้อกำ�หนด
การสร้างเส้นขนานให้มีระยะห่างตามที่กำาหนด

เส้นตรง 2 เส้นที่อยู่บนระนาบเดียวกันจะขนานกันก็ต่อเมื่อ

สื่อการเรียนรู้ เส้นตรง 2 เส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันเสมอ เราจึงอาศัยระยะห่างในการสร้างเส้นขนานได้

พิจารณาการสร้างเส้นตรงให้ขนานกับ กข โดยให้มีระยะห่างจาก กข 5 เซนติเมตร

1. ไม้ฉาก
ก ข

2. โพรแทรกเตอร์

10
9
8
7

ขั้นที่ 1 เขียน กค ยาว 5 เซนติเมตร ให้ตั้งฉาก กับ กข

6
แนวการจัดการเรียนรู้

5
4
5 ซม.
3
2
1
ก ข

1. ครูทบทวนลักษณะของเส้นขนาน และสมบัติของ ขั้นที่ 2 เขียน ขง ยาว 5 เซนติเมตร ให้ตั้งฉาก กับ กข

10
9
เส้นขนาน ครูสาธิตการสร้างเส้นขนานให้มีระยะห่าง

8

7

6
การสร้างเส้นตั้งฉาก

5
4
ตามที่กำ�หนด และให้นักเรียนทำ�ตามทีละขั้น โดยอาจใช้

5 ซม.

5 ซม.
3
อาจใช้โพรแทรกเตอร์สร้างมุมฉาก

2
1
ก ข

ข้อมูลหน้า 82 จากนั้นร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับวิธีสร้าง ขั้นที่ 3 ลากเส้นตรงผ่านจุด ค และ จุด ง ค ง

เส้นตรง 2 เส้นให้ขนานกัน และมีระยะห่าง 3 เซนติเมตร จะได้ คง // กข และมีระยะห่าง

5 ซม.

5 ซม.
5 เซนติเมตร ก
พร้อมทำ�ลงสมุด แล้วให้ทำ�แบบฝึกหัด 6.14 เป็นรายบุคคล

จะสร้างส่วนของเส้นตรง 2 เส้นให้ขนานกัน และมีระยะห่าง 3 เซนติเมตร ได้อย่างไร

2. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับวิธีสร้าง
เส้นขนานให้ผ่านจุดที่กำ�หนด ซึ่งควรจะได้ว่า แบบฝึกหัด 6.14
82 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สามารถสร้างได้ 3 วิธี ได้แก่


วิธีที่ 1 สร้างให้มีระยะห่างเท่ากัน หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน

วิธีที่ 2 สร้างมุมแย้งให้มีขนาดเท่ากัน การสร้างเส้นขนานให้ผ่านจุดที่กำาหนด

วิธีที่ 3 สร้างมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกัน พิจารณาการสร้างเส้นตรงให้ขนานกับ AB และผ่านจุด C

C
ของเส้นตัดขวางให้รวมกันได้ 180°
A

3. ครูสาธิตการสร้างเส้นขนานวิธีที่ 1 โดยอาจใช้ข้อมูล B

หน้า 83 แล้วให้นักเรียนทำ�ตามทีละขั้น จากนั้นให้ทำ� วิธีที่ 1 สร้างให้มีระยะห่างเท่ากัน

แบบฝึกหัด 6.15 เป็นรายบุคคล


10
9
8

ขั้นที่ 1 ใช้ขอบไม้ฉากทาบไปบน AB C
7
6
5

วัดระยะห่างจาก AB ถึงจุด C
4
3
2

พร้อมทำาเครื่องหมายบนไม้ฉาก A
1

C
10
9

ขั้นที่ 2 เลื่อนไม้ฉากไปตามแนว AB และกำาหนด D


8
7
6

จุด D ให้มีระยะห่างจาก AB ถึงจุด D


5
4

A
3

เท่ากับระยะห่างจาก AB ถึงจุด C
2
1

C
D
ขั้นที่ 3 เขียน CD
A
จะได้ CD // AB และผ่านจุด C
B

แบบฝึกหัด 6.15
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 83

68 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 |เส้นขนาน

4. ครูสาธิตการสร้างเส้นขนานวิธีที่ 2 โดยอาจใช้ข้อมูล
หน้า 84 แล้วให้นักเรียนทำ�ตามทีละขั้น ครูแนะนำ�การใช้
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน

ตัวเลขและสัญลักษณ์แสดงมุมที่มีขนาดเท่ากัน จากนั้น จากสมบัติของเส้นขนาน “เมื่อเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง


ถ้ามุมแย้งมีขนาดเท่ากันแล้วเส้นตรงคู่นั้นจะขนานกัน”

ให้ทำ�แบบฝึกหัด 6.16 เป็นรายบุคคล เราจึงสามารถสร้างเส้นขนานโดยสร้างมุมแย้งให้มีขนาดเท่ากัน

วิธีที่ 2 สร้างมุมแย้งให้มีขนาดเท่ากัน

ขั้นที่ 1 เขียนเส้นตรงผ่านจุด C ตัดกับ AB ที่จุด D A


D
B

^
ขั้นที่ 2 วัดขนาดของ CDA
A
D
B

C
^ ^
ขั้นที่ 3 ที่จุด C สร้าง ECD ให้มีขนาดเท่ากับ CDA
E
A
D
B

ขั้นที่ 4 เขียน CE E
จะได้ CE // AB และผ่านจุด C A
D
B

มุมที่มีขนาดเท่ากัน อาจใช้สัญลักษณ์แสดงดังนี้

1 2 1 2
4 3 4 3

^ ^ ^ ^
จากรูป 1 = 3 และ 2 = 4
แบบฝึกหัด 6.16
84 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

5. ครูสาธิตการสร้างเส้นขนานวิธีที่ 3 โดยอาจใช้ข้อมูล
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5

หน้า 85 แล้วให้นักเรียนทำ�ตามทีละขั้น จากนั้นให้ทำ� บทที่ 6 | เส้นขนาน

แบบฝึกหัด 6.17 เป็นรายบุคคล จากสมบัติของเส้นขนาน “เมื่อเส้นตรงเส้นหนึ่ง ตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง


ถ้าขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวางรวมกันได้ 180 ำ แล้ว
เส้นตรงคู่นั้นจะขนานกัน”

เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะการสร้างเส้นขนานแต่ละวิธี เราจึงสามารถสร้างเส้นขนานโดยสร้างมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของ
เส้นตัดขวางให้รวมกันได้ 180 ำ

ครูควรยกตัวอย่างเพิ่มเติม แล้วให้นักเรียนสร้างเส้นขนาน วิธีที่ 3 สร้างมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวางให้รวมกันได้ 180 ำ

ด้วยตนเอง C

ขั้นที่ 1 เขียนเส้นตรงผ่านจุด C ตัดกับ AB


A
ที่จุด D
D
B

^
ขั้นที่ 2 วัดขนาดของ CDA A
D
B

^ C
ขั้นที่ 3 สร้าง ECD ให้มีขนาด
^
180 – m(CDA) องศา
A
D
B

C
ขั้นที่ 4 เขียน EF ให้ผ่านจุด C
F
จะได้ EF // AB และ ผ่านจุด C
A
D
B

แบบฝึกหัด 6.17
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 85

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 69
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 |เส้นขนาน

6. เพื่อตรวจสอบความเข้าใจและสรุปความรู้ที่ได้
ให้นักเรียนทำ�กิจกรรมหน้า 86 เป็นรายบุคคล
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน

ตรวจสอบความเข้าใจ

1 เขียนเส้นตรง 2 เส้นให้ขนานกัน และห่างกัน 4 เซนติเมตร

2 เขียนเส้นตรงให้ขนานกับ ST และผ่านจุด U W
ตัวอย่าง
U
P T

สิ่งที่ได้เรียนรู้

แสดงวิธีตรวจสอบว่าเส้นตรงคู่ใดขนานกันหรือไม่ขนานกัน พร้อมระบุเหตุผล
โดยแต่ละข้อใช้วิธีตรวจสอบที่ต่างกัน
ตัวอย่าง
1 B H FH // JL เพราะ ระยะห่างระหว่าง
F A
FH กับ JL เท่ากัน

1.2 ซม.
1.2 ซม.
L
D
J C

A
2 O C R OR ไม่ขนานกับ UX เพราะ
65 ำ
มุมแย้งมีขนาดไม่เท่ากัน
60 ำ D
U X
B

3 MO // PT เพราะ ขนาดของมุมภายใน
M P
ที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง
A 110 ำ
S 70 ำ รวมกันได้ 180 ำ
R

O T B

86 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 6 | เส้นขนาน

เฉลยหน้า 86

ตรวจสอบความเข้าใจ

1
ตัวอย่าง

ค ง
4 ซม.

4 ซม.

ก ข

70 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 |เส้นขนาน

ร่วมคิดร่วมทำ�

ร่วมคิดร่วมทำ�เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้นักเรียนใช้
ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการสร้างเส้นขนานและเรื่องอื่น ๆ
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน

ที่เรียนแล้วมาแก้ปัญหาผ่านกิจกรรม โดยควรให้นักเรียน ร่วมคิดร่วมทำา

ทำ�เป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน แล้วนำ�เสนอผลงาน และ เขียนแบบที่จอดรถสำาหรับจอดรถข้างละ 3 คัน โดยให้ที่จอดรถแต่ละช่อง กว้าง 2.5 เมตร

ควรให้นักเรียนผลัดกันตรวจสอบความถูกต้อง โดยใช้ ยาว 5.4 เมตร และทำามุม 30 ำ กับทางวิ่งของรถ และทางวิ่งของรถ กว้าง 5.5 เมตร
กำาหนดความยาวในแบบ 1 เซนติเมตร แทน ความยาวจริง 1 เมตร

ไม้บรรทัดและโพรแทรกเตอร์พร้อมทั้งระบุข้อผิดพลาดที่พบ
จากนั้นให้เจ้าของผลงานแก้ไขให้ถูกต้อง

ที่จ

รถ
อด

อด
รถ

ที่จ
ที่จ

ทางวิ่งของรถ

รถ
อด

อด
รถ

ที่จ

กว้า

ที่จ

รถ
อด
อด
30 ำ

ที่จ
รถ
ยาว

ที่จอดรถทำามุม 30 ำ กับทางวิ่งของรถ

อยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 87

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 71
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 | เส้นขนาน

ตัวอย่างข้อสอบ บทที่ 6 เส้นขนาน

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 1 นักเรียนสามารถระบุเส้นตรงคู่ที่ขนานกัน โดยพิจารณาจากระยะห่างระหว่างเส้นตรง

ตรวจสอบว่าส่วนของเส้นตรงคู่ใดขนานกัน แล้วระบุชื่อส่วนของเส้นตรงที่ขนานกัน โดยเขียนสัญลักษณ์

แสดงการขนาน

A B

C
D

E F

G H

...............................................................................................................................................................................

...............................................................................................................................................................................

...............................................................................................................................................................................

...............................................................................................................................................................................

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 2 นักเรียนสามารถตรวจสอบเส้นขนาน โดยพิจารณาจากมุมแย้ง

เส้นตรงหรือส่วนของเส้นตรงคู่ใดขนานกัน เพราะเหตุใด

บ ย

ก ข 110 ํ ง

115 ํ

115 ํ

จ ม ร ซ

...............................................................................................................................................................................

...............................................................................................................................................................................

...............................................................................................................................................................................

...............................................................................................................................................................................

72 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 | เส้นขนาน

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 3 นักเรียนสามารถตรวจสอบเส้นขนาน โดยพิจารณาจากผลบวกของมุมภายในที่อยู่บน


ข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง

ส่วนของเส้นตรงคู่ใดขนานกัน เพราะเหตุใด
L
K
35 ํ

M
E
140 ํ

F N

40 ํ
O
P

...............................................................................................................................................................................

...............................................................................................................................................................................

...............................................................................................................................................................................

...............................................................................................................................................................................

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 4 นักเรียนสามารถสร้างเส้นขนานตามข้อกำ�หนด

1. สร้าง MN ให้ขนานกับ SE โดยให้มีระยะห่างจาก SE 1.4 เซนติเมตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 73
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 | เส้นขนาน

2. สร้าง EG ให้ขนานกับ CN และผ่านจุด A โดยใช้ระยะห่าง

C N

3. สร้าง RT ให้ขนานกับ KP และผ่านจุด B โดยใช้มุมแย้ง

4. สร้าง LN ให้ขนานกับ XY และผ่านจุด C โดยใช้มุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง

74 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 | เส้นขนาน

เฉลยตัวอย่างข้อสอบ บทที่ 6 เส้นขนาน

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 1

AB // EF AC // DF CE // BD CG // DH

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 2

กง // จซ เพราะ มุมแย้งมีขนาดเท่ากัน

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 3

FL // PM เพราะ ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวางรวมกันได้ 180 ํ

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 4

1.
N
E

E 1.
4 N
. ซม
ซม .
หรือ
1.

4
4

1.
ซม

M
.
.

ซม
4
1.
S

S M

2.
E A G
2.2 ซม.

2.2 ซม.

C N

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 75
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 6 | เส้นขนาน

3. ตัวอย่าง
R

105 ํ T
K
105 ํ

4. ตัวอย่าง

63 ํ B Y

X
117 ํ
N
C
L

76 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

บทที่
7 รูปสี่เหลี่ยม

จุดประสงค์การเรียนรู้ และสาระสำ�คัญ

จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระสำ�คัญ
นักเรียนสามารถ

1. บอกชนิดและสมบัติของรูปสี่เหลี่ยม ••รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีมุมทุกมุมเป็นมุมฉาก


ด้านทุกด้านยาวเท่ากัน ด้านตรงข้ามขนานกัน 2 คู่ เส้นทแยงมุม
ยาวเท่ากัน แบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน และตัดกันเป็นมุมฉาก
••รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีมุมทุกมุมเป็นมุมฉาก
ด้านตรงข้ามยาวเท่ากันและขนานกัน 2 คู่ ด้านที่อยู่ติดกันยาวไม่เท่ากัน
เส้นทแยงมุมยาวเท่ากัน และแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน
••รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีมุมทุกมุมไม่เป็นมุมฉาก
มุมที่อยู่ตรงข้ามกันมีขนาดเท่ากัน ด้านทุกด้านยาวเท่ากัน
ด้านตรงข้ามขนานกัน 2 คู่ เส้นทแยงมุมแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน
และตัดกันเป็นมุมฉาก
••รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน เป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีมุมที่อยู่ตรงข้ามกัน
มีขนาดเท่ากัน ด้านตรงข้ามยาวเท่ากันและขนานกัน 2 คู่
เส้นทแยงมุมแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน
••รูปสี่เหลี่ยมคางหมู เป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีด้านขนานกัน 1 คู่
••รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว เป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีมุมที่อยู่ตรงข้ามกันมีขนาด
เท่ากัน 1 คู่ และด้านที่อยู่ติดกันยาวเท่ากัน 2 คู่ เส้นทแยงมุม
ตัดกันเป็นมุมฉาก และมีเส้นทแยงมุมเพียงเส้นเดียวที่ถูกแบ่งครึ่ง
ด้วยเส้นทแยงมุมอีกเส้นหนึ่ง

2. สร้างรูปสี่เหลี่ยมตามข้อกำ�หนด การสร้างรูปสี่เหลี่ยม เป็นการสร้างตามลักษณะหรือสมบัติของ


รูปสี่เหลี่ยมแต่ละชนิด ซึ่งต้องอาศัยทักษะการวัดความยาว
การใช้โพรแทรกเตอร์หรือวงเวียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 77
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระสำ�คัญ

3. หาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ••พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน = ความสูง × ความยาวของฐาน


และรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ••พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = ความสูง × ความยาวของฐาน

4. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหา การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวรอบรูปและพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม
เกี่ยวกับความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยม ด้านขนาน อาจใช้กระบวนการแก้ปัญหา ตามขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ทำ�ความเข้าใจปัญหา
5. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหา
เกี่ยวกับพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ขั้นที่ 2 วางแผนแก้ปัญหา

6. แก้โจทย์ปัญหาโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับพื้นที่และ ขั้นที่ 3 ดำ�เนินการตามแผน


ความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ขั้นที่ 4 ตรวจสอบ
และรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

78 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

ตารางวิเคราะห์เนื้อหากับทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรม

เวลา ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
หัวข้อ เนื้อหา
(ชั่วโมง) j k l m n
เตรียมความพร้อม 1 - - - - -

7.1 ชนิดและสมบัติของรูปสี่เหลี่ยม 4 -  -  -
•• ชนิดของรูปสี่เหลี่ยม
•• เส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยม

7.2 การสร้างรูปสี่เหลี่ยม 5 -    -
•• การสร้างรูปสี่เหลี่ยม เมื่อกำ�หนด
ความยาวของด้านและขนาดของมุม
•• การสร้างรูปสี่เหลี่ยม เมื่อกำ�หนด
ความยาวของเส้นทแยงมุม

7.3 พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม 6    - -
•• พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
•• พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
•• พื้นที่ของรูปหลายเหลี่ยม

7.4 โจทย์ปัญหา 7    - -
•• โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวรอบรูป
ของรูปสี่เหลี่ยม
•• โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม
ด้านขนาน
•• โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวรอบรูป
และพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

ร่วมคิดร่วมทำ� 1   - - -

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

j การแก้ปัญหา k การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
l การเชื่อมโยง m การให้เหตุผล n การคิดสร้างสรรค์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 79
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

คำ�ใหม่
มุมที่อยู่ตรงข้ามกัน รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน รูปสี่เหลี่ยมคางหมู รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว
ส่วนสูง ความสูง ฐาน ความยาวฐาน วงเวียน

ความรู้หรือทักษะพื้นฐาน
รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ความยาวของเส้นรอบรูปและพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก เส้นตั้งฉาก มุมและการสร้าง
สมบัติของเส้นขนานและการสร้าง

สื่อการเรียนรู้
1. ไม้ฉาก โพรแทรกเตอร์ วงเวียน
2. กระดาษตารางรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีความยาวด้านละ 1 เซนติเมตร
3. รูปสี่เหลี่ยมด้านขนานและรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

แหล่งเรียนรู้
1. หนังสือเรียน หน้า 88-131
2. แบบฝึกหัด หน้า 64-95

เวลาที่ใช้จัดการเรียนรู้
24 ชั่วโมง

80 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

แนวการจัดการเรียนรู้
การเตรียมความพร้อม

บทที่
7 รูปสี่เหลี่ยม
ในภาพนี้ นักเรียนเห็นรูปสี่เหลี่ยมที่ใดบ้าง
และรู้หรือไม่ว่าเป็นรูปสี่เหลี่ยมชนิดใด

เรียนจบบทนี้แล้ว นักเรียนสามารถ
บอกชนิดและสมบัติของรูปสี่เหลี่ยม
สร้างรูปสี่เหลี่ยมตามข้อกำาหนด
หาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานและรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
แสดงวิธีหาคำาตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยม
แสดงวิธีหาคำาตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
และรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
แก้โจทย์ปัญหาโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับพื้นที่และความยาวรอบรูป
ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน และรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

1. ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก โดยอาจให้นักเรียนสำ�รวจห้องเรียนของตนเอง แล้วให้บอกว่า


พบรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่ใดบ้าง พร้อมบอกชนิดของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่พบ โดยอาจให้นักเรียนใช้กระดาษที่พับเป็นมุมฉาก
ไม้ฉาก หรือโพรแทรกเตอร์ในการตรวจสอบขนาดของมุม จากนั้นใช้ภาพหน้าเปิดบทนำ�สนทนา เพื่อกระตุ้น
ความสนใจเกี่ยวกับรูปสี่เหลี่ยมชนิดอื่น ๆ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 81
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

2. กิจกรรมเตรียมความพร้อม หน้า 90-91 เป็นการ


ตรวจสอบความรู้พื้นฐานที่จำ�เป็นสำ�หรับการเรียนบทนี้
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

ถ้าพบว่านักเรียนยังมีความรู้พื้นฐานไม่เพียงพอ เตรียมความพร้อม
ควรทบทวนก่อน แล้วให้ทำ�แบบฝึกหัด 7.1 เป็นรายบุคคล 1 ตรวจสอบรูปที่กำาหนด ว่าเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากหรือไม่ เพราะเหตุใด
ถ้าเป็น เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากชนิดใด เพราะเหตุใด
หมายเหตุ ครูควรย้ำ�เกี่ยวกับความยาวด้าน 1) 2) 3)

ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าว่า ด้านที่สั้นกว่า เรียกว่า ด้านกว้าง


และด้านที่ยาวกว่า เรียกว่า ด้านยาว

4) 5) 6)

2 สร้างรูปตามข้อกำาหนด
1) สร้างรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก KLMN ให้มีด้านยาวด้านละ 4.5 เซนติเมตร พร้อมเขียน
เส้นทแยงมุมและบอกชนิดของรูปสี่เหลี่ยม
2) สร้างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้มีความกว้าง 3 เซนติเมตร และมีความยาว 5.5 เซนติเมตร
พร้อมกำาหนดชื่อและเขียนเส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยม
3)

120 ำ
A D B

จากรูป สร้าง EF ให้ขนานกับ AB เเละผ่านจุด C

90 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

เฉลยหน้า 90

1
1) ไม่เป็น เพราะมุมทั้งสี่มุมไม่เป็นมุมฉาก
2) เป็น เพราะมุมทั้งสี่มุมเป็นมุมฉาก
3) ไม่เป็น เพราะมุมทั้งสี่มุมไม่เป็นมุมฉาก
4) เป็น เพราะมุมทั้งสี่มุมเป็นมุมฉาก
5) ไม่เป็น เพราะมุมทั้งสี่มุมไม่เป็นมุมฉาก
6) ไม่เป็น เพราะมี 2 มุมไม่เป็นมุมฉาก

2
K 4.5 ซม. L
1)

N M
KLMN เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส

2) ตัวอย่าง

ช 5.5 ซม. ม
3 ซม.

น ส

3) E F
C

120 ํ
A D B

82 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

3 กำาหนดข้อมูลดังนี้ เฉลยหน้า 91

3
รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก 4 รูป มีลักษณะดังนี้ 1) รูปที่ 1 เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
รูปที่ 1 กว้าง 5 เซนติเมตร ยาว 8 เซนติเมตร รูปที่ 2 เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
รูปที่ 2 ยาวด้านละ 6 เซนติเมตร รูปที่ 3 เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
รูปที่ 3 ด้านที่อยู่ติดกันมีความยาวเท่ากัน และผลบวกของความยาวของด้าน 2 ด้าน รูปที่ 4 เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ที่อยู่ติดกันเป็น 14 เซนติเมตร
2) รูปที่ 2 และรูปที่ 3
รูปที่ 4 มีความยาวของด้านเป็นจำานวนนับ โดยด้านที่อยู่ติดกันมีความยาวต่างกัน
3) รูปที่ 1 และรูปที่ 4
2 เซนติเมตร และผลบวกของความยาวของด้าน 2 ด้านที่อยู่ติดกัน
เป็น 10 เซนติเมตร 4) กว้าง 4 ซม. และ ยาว 6 ซม.
5) รูปที่ 1 มีความยาวรอบรูป 26 ซม.
รูปที่ 2 มีความยาวรอบรูป 24 ซม.
ตอบคำาถามโดยใช้ข้อมูลที่กำาหนด
รูปที่ 3 มีความยาวรอบรูป 28 ซม.
1) แต่ละรูปเป็นรูปสี่เหลี่ยมชนิดใด รูปที่ 4 มีความยาวรอบรูป 20 ซม.
2) รูปใดบ้างที่เส้นทแยงมุมแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน และตัดกันเป็นมุมฉาก 6) 25 ตร.ซม.
3) รูปใดบ้างที่เส้นทแยงมุมแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน และตัดกันไม่เป็นมุมฉาก
4) รูปที่ 4 มีความยาวด้านเป็นเท่าใด
5) รูปสี่เหลี่ยมแต่ละรูปมีความยาวรอบรูปเท่าใด
6) รูปที่มีพื้นที่มากที่สุดและรูปที่มีพื้นที่น้อยที่สุด มีพื้นที่ต่างกันเท่าใด

4 กำาหนดให้ ABCD และ WXYZ เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ที่มีความยาวของด้าน


เป็น จำานวนนับ และมีพื้นที่ 4 ตารางเมตร ถ้า ABCD มีเส้นทแยงมุมตัดกันเป็นมุมฉาก
และ WXYZ มีเส้นทแยงมุมตัดกันไม่เป็นมุมฉาก
รูปสี่เหลี่ยมใดมีความยาวของเส้นรอบรูปมากกว่า และมากกว่ากันเท่าใด
WXYZ มีความยาวรอบรูปมากกว่า ABCD 2 ม.

แบบฝึกหัด 7.1

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 91

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 83
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

7.1 ชนิดและสมบัติของรูปสี่เหลี่ยม

จุดประสงค์การเรียนรู้
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

นักเรียนสามารถบอกชนิดและสมบัติของรูปสี่เหลี่ยม 7.1 ชนิดและสมบัติของรูปสี่เหลี่ยม

ชนิดของรูปสี่เหลี่ยม

สื่อการเรียนรู้ กิจกรรมสำารวจรูปสี่เหลี่ยม
ตรวจสอบขนาดของมุม ความยาวของด้าน และการขนานกันของด้านของรูปสี่เหลี่ยม
ที่กำาหนด แล้วเขียน ในตาราง
โพรแทรกเตอร์ ไม้ฉาก
A B F

แนวการจัดการเรียนรู้
C D E

1. การสอนชนิดของรูปสี่เหลี่ยม จะต้องให้นักเรียน
สามารถจำ�แนกและบอกลักษณะของรูปสี่เหลี่ยม M V
มุมที่อยู่ตรงข้ามกัน ได้แก่ V กับ P และ M กับ T

แต่ละชนิดได้ ซึ่งครูอาจจัดกิจกรรมโดยเริ่มจาก P T
มุมที่ไม่อยู่ตรงข้ามกับ V ได้แก่ M กับ T

การทบทวนความรู้เกี่ยวกับมุมและเส้นขนาน เช่น สมบัติของรูปสี่เหลี่ยม รูป A รูป B รูป C รูป D รูป E รูป F

มุมทุกมุมเป็นมุมฉาก
D มุมที่อยู่ตรงข้ามกันมีขนาดเท่ากัน 1 คู่

ด้านทุกด้านยาวเท่ากัน

B ด้านตรงข้ามยาวเท่ากัน

E ด้านที่อยู่ติดกันยาวเท่ากัน 2 คู่

ด้านตรงข้ามขนานกัน 2 คู่

ด้านตรงข้ามขนานกัน 1 คู่
รูป รูป รูป รูป รูป รูป
ส่ีเหลี่ยม ส่ีเหลี่ยม ส่ีเหลี่ยม ส่ีเหลี่ยม ส่ีเหลี่ยม ส่ีเหลี่ยม
C ชนิดของรูปสี่เหลี่ยม
จัตุรัส ผืนผ้า ขนม ด้าน คางหมู รูปว่าว
เปียกปูน ขนาน

A 92 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ให้นักเรียนแสดงวิธีวัดขนาดของมุม และตรวจสอบว่า
มีส่วนของเส้นตรงคู่ใดบ้างที่ขนานกัน จากนั้น ครูแนะนำ�
เพิ่มเติมเกี่ยวกับ มุมที่อยู่ตรงข้ามกันของรูปสี่เหลี่ยม
ว่าเป็นมุมที่ไม่อยู่ติดกัน และไม่มีแขนของมุมร่วมกัน แล้วให้
ทำ�กิจกรรมสำ�รวจรูปสี่เหลี่ยม หน้า 92 และร่วมกัน
อภิปรายเกี่ยวกับผลที่ได้จากการสำ�รวจ เพื่อนำ�ไปสู่
ข้อสรุปเกี่ยวกับการจำ�แนกชนิดของรูปสี่เหลี่ยม หน้า 93

84 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

2. หน้า 93-94 เป็นการสรุปชนิดของรูปสี่เหลี่ยม


พร้อมตัวอย่าง ซึ่งเมื่อพิจารณาจากขนาดของมุม
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

ความยาวของด้าน และการขนานกันของด้าน การจำาแนกรูปสี่เหลี่ยม โดยพิจารณาจากขนาดของมุม ความยาวของด้าน และการขนานกัน

สามารถจำ�แนกได้ 6 ชนิด ได้แก่ รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ของด้าน สามารถจำาแนกได้ดังนี้

1. รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีมุมทุกมุมเป็นมุมฉาก ด้านทุกด้านยาวเท่ากัน


รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ด้านตรงข้ามขนานกัน 2 คู่

2. รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีมุมทุกมุมเป็นมุมฉาก ด้านตรงข้ามยาวเท่ากัน


รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน รูปสี่เหลี่ยมคางหมู เเละขนานกัน 2 คู่ ด้านที่อยู่ติดกันยาวไม่เท่ากัน

และรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว สำ�หรับรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว 3. รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีมุมทุกมุมไม่เป็นมุมฉาก


มุมที่อยู่ตรงข้ามกันมีขนาดเท่ากัน ด้านทุกด้านยาวเท่ากัน ด้านตรงข้ามขนานกัน 2 คู่

ครูควรสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมุมที่มีขนาดเท่ากัน 1 คู่ 4. รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน เป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีมุมที่อยู่ตรงข้ามกันมีขนาดเท่ากัน


ด้านตรงข้ามยาวเท่ากันและขนานกัน 2 คู่
ว่า เป็นมุมที่อยู่ตรงข้ามกัน และมีด้านที่ยาวไม่เท่ากัน 5. รูปสี่เหลี่ยมคางหมู เป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีด้านขนานกัน 1 คู่

เป็นแขนของมุม 6. รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว เป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีมุมที่อยู่ตรงข้ามกันมีขนาดเท่ากัน 1 คู่

และด้านที่อยู่ติดกันยาวเท่ากัน 2 คู่

ทั้งนี้ ครูควรยกตัวอย่างรูปสี่เหลี่ยมเพิ่มเติม
A B ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
ให้นักเรียนตรวจสอบและบอกชนิดของรูปสี่เหลี่ยม เพราะมีมุมทุกมุมเป็นมุมฉาก

พร้อมระบุเหตุผล แล้วร่วมกันอภิปรายว่า รูปสี่เหลี่ยม


มี m(AB) = m(BC) = m(CD) = m(DA)
มี AB // CD และ DA // BC

ชนิดใดบ้างที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน เพราะเหตุใด D C

จากนั้นร่วมกันทำ�กิจกรรมหน้า 95 แล้วให้ทำ�แบบฝึกหัด 7.2


O R
FORG เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
เป็นรายบุคคล เพราะมีมุมทุกมุมเป็นมุมฉาก
มี m(OR) = m(FG) เเละ m(OF) = m(RG)

หมายเหตุ มี OR // FG และ OF // RG
F G

m(AB) หมายถึง ความยาวของส่วนของเส้นตรง AB


m(AB) อ่านว่า ความยาวของส่วนของเส้นตรง AB สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 93

ข้อควรระวัง การบอกชนิดของรูปสี่เหลี่ยม บางคนอาจ


ใช้คำ�สั้น ๆ เช่น รูปว่าว คางหมู ซึ่งครูควรแนะนำ�ให้ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

ใช้คำ�ให้ถูกต้อง โดยจะต้องมีคำ�ว่า “รูปสี่เหลี่ยม”


MEKT เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
นำ�หน้าเสมอ เช่น รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว รูปสี่เหลี่ยมคางหมู E M
เพราะมุมทุกมุมไม่เป็นมุมฉาก
^
มี ^ ^ ^
E = T และ M = K

มี m(EM) = m(KT) = m(EK) = m(MT)


K T
มี EM // KT และ EK // MT

L U NULH เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

เพราะ ^L = ^ ^
N และ H = U
^

มี m(LH) = m(UN) เเละ m(LU) = m(HN)


มี LH // UN และ LU // HN

H N

P
PQVS เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู

V เพราะมี QP // VS

WXYZ เป็นรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว
X Z
เพราะมี ^ ^
X = Z

มี m(XY) = m(YZ) และ m(XW) = m(WZ)

มีรูปสี่เหลี่ยมชนิดใดบ้างที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน และรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
94 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 85
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

พิจารณารูป แล้วตอบคำาถาม

รูป 1 รูป 2 รูป 3

รูป 4 รูป 5 รูป 6

รูป 7 รูป 8 รูป 9

1 รูปใดบ้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก เพราะเหตุใด รูป 2 และ 5 เพราะมีมุมทุกมุมเป็นมุมฉาก

2 รูปใดบ้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เพราะเหตุใด รูป 5 เพราะมีมุมทุกมุมเป็นมุมฉาก ด้านตรงข้ามขนานกัน 2 คู่


และด้านทุกด้านยาวเท่ากัน
3 รูปใดบ้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพราะเหตุใด รูป 2 เพราะมีมุมทุกมุมเป็นมุมฉาก ด้านตรงข้ามขนานกันและ
ยาวเท่ากัน 2 คู่ แต่ด้านที่อยู่ติดกันยาวไม่เท่ากัน
4 รูปใดบ้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน เพราะเหตุใด รูป 2, 4, 5 และ 9 เพราะ ด้านตรงข้ามขนานกันและ
ยาวเท่ากัน 2 คู่
5 รูปใดบ้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เพราะเหตุใด รูป 9 เพราะมีมุมทุกมุมไม่เป็นมุมฉาก มุมที่อยู่ตรงข้ามกัน
มีขนาดเท่ากัน ด้านทุกด้านยาวเท่ากัน และด้านตรงข้ามขนานกัน 2 คู่
6 รูปใดบ้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู เพราะเหตุใด รูป 1, 3 และ 8 เพราะมีด้านขนานกัน 1 คู่

7 รูปใดบ้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว เพราะเหตุใด รูป 6 และ 7 เพราะมีมุมที่อยู่ตรงข้ามกันมีขนาดเท่ากัน 1 คู่


และด้านที่อยู่ติดกันยาวเท่ากัน 2 คู่

แบบฝึกหัด 7.2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 95

3. การสอนสมบัติของรูปสี่เหลี่ยมเกี่ยวกับเส้นทแยงมุม
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5

ครูอาจจัดกิจกรรมโดยเริ่มจากการทบทวนความรู้เกี่ยวกับ บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

เส้นทแยงมุม เช่น เส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยม

กิจกรรมสำารวจเส้นทแยงมุม
A ลากเส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมทุกรูป แล้วเขียน ในตาราง
B
C รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส

รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

E D
รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

ให้นักเรียนบอกว่า
- ส่วนของเส้นตรงใดเป็นเส้นทแยงมุมของ ACDE
เพราะเหตุใด
- ส่วนของเส้นตรงใดเป็นเส้นทแยงมุมของ BCDE รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

เพราะเหตุใด
และทบทวนความหมายของคำ�ว่า “แบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน”

96 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

86 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

จากนั้นให้ทำ�กิจกรรมสำ�รวจเส้นทแยงมุม หน้า 96-97


แล้วร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับผลที่ได้จากการสำ�รวจ
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

เพื่อนำ�ไปสู่ข้อสรุปเกี่ยวกับสมบัติของรูปสี่เหลี่ยม
รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว
หน้า 98-99

รูปสี่เหลี่ยมคางหมู

สมบัติแต่ละข้อ จะต้องสอดคล้องกับรูปสี่เหลี่ยมทุกรูป

รูป รูป รูป รูป รูป รูป


สมบัติของรูปสี่เหลี่ยม ส่ีเหลี่ยม ส่ีเหลี่ยม ส่ีเหลี่ยม ส่ีเหลี่ยม ส่ีเหลี่ยม ส่ีเหลี่ยม
เกี่ยวกับเส้นทแยงมุม จัตุรัส ผืนผ้า ขนม ด้าน รูปว่าว คางหมู
เปียกปูน ขนาน

เส้นทแยงมุมมีความยาวเท่ากัน

เส้นทแยงมุมแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน

เส้นทแยงมุมเพียงเส้นเดียวที่ถูกแบ่งครึ่ง
ด้วยเส้นทแยงมุมอีกเส้นหนึ่ง

เส้นทแยงมุมตัดกันเป็นมุมฉาก

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 97

4. หน้า 98-99 เป็นการสรุปเกี่ยวกับสมบัติ


หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5

ของรูปสี่เหลี่ยมชนิดต่าง ๆ ซึ่งครูอาจใช้การซักถาม บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

และให้แสดงเหตุผล จากนั้นร่วมกันทำ�กิจกรรมหน้า 100 สมบัติของรูปสี่เหลี่ยมชนิดต่าง ๆ

แล้วให้ทำ�แบบฝึกหัด 7.3 เป็นรายบุคคล รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส

• มุมทุกมุมเป็นมุมฉาก
• ด้านทุกด้านยาวเท่ากัน และด้านตรงข้ามขนานกัน 2 คู่
• เส้นทแยงมุมยาวเท่ากัน แบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน และตัดกันเป็นมุมฉาก

รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

• มุมทุกมุมเป็นมุมฉาก
• ด้านตรงข้ามยาวเท่ากัน แต่ด้านที่อยู่ติดกันยาวไม่เท่ากัน และด้านตรงข้ามขนานกัน 2 คู่
• เส้นทแยงมุมยาวเท่ากัน และแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน

รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

• มุมทุกมุมไม่เป็นมุมฉาก และมุมที่อยู่ตรงข้ามกันมีขนาดเท่ากัน
• ด้านทุกด้านยาวเท่ากัน และด้านตรงข้ามขนานกัน 2 คู่
• เส้นทแยงมุมแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน และตัดกันเป็นมุมฉาก

98 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 87
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

พิจารณาเส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมแต่ละรูป แล้วตอบคำาถาม
รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

ก ข T ว

U G ส

• มุมที่อยู่ตรงข้ามกันมีขนาดเท่ากัน
ร ย
• ด้านตรงข้ามยาวเท่ากัน และขนานกัน 2 คู่ ง ค N
D O
• เส้นทแยงมุมแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน ป

รูปสี่เหลี่ยมคางหมู A C บ อ M S

B ท K
น V ม

จ ล ด
• ด้านตรงข้ามขนานกัน 1 คู่

Y W
รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว
ต X ถ พ

1 รูปใดบ้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เพราะเหตุใด 1ABCD เพราะเส้นทแยงมุมยาวเท่ากันแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน


และตัดกันเป็นมุมฉาก
2 รูปใดบ้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพราะเหตุใด กขคง เพราะเส้นทแยงมุมยาวเท่ากันและแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน

3 รูปใดบ้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เพราะเหตุใด MOSK เพราะเส้นทแยงมุมและแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน


และตัดกันเป็นมุมฉาก
• ด้านที่อยู่ติดกันยาวเท่ากัน 2 คู่ 4 รูปใดบ้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน เพราะเหตุใด กขคง ABCD ปอทบ และ MOSK
เพราะเส้นทแยงมุมแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน
• มุมที่อยู่ตรงข้ามกันมีขนาดเท่ากัน 1 คู่ 5 รูปใดบ้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว เพราะเหตุใด UTGN และ VWXY เพราะเส้นทแยงมุมตัดกันเป็นมุมฉาก
และมีเส้นทแยงมุมเพียงเส้นเดียวที่ถูกแบ่งครึ่งด้วยเส้นทแยงมุม
• เส้นทแยงมุมตัดกันเป็นมุมฉาก และมีเส้นทแยงมุมเพียงเส้นเดียวที่ถูกแบ่งครึ่ง 6 รูปใดบ้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู อีกเส้นหนึ่ง
ด้วยเส้นทแยงมุมอีกเส้นหนึ่ง รวสย และ จนลต โดยรูปสี่เหลี่ยมคางหมูไม่มีสมบัติเกี่ยวกับเส้นทแยงมุม

แบบฝึกหัด 7.3

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 99 100 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

88 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

5. เพื่อตรวจสอบความเข้าใจและสรุปความรู้ที่ได้ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5

ให้นักเรียนทำ�กิจกรรมหน้า 101 เป็นรายบุคคล


บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

ตรวจสอบความเข้าใจ

ตอบคำาถาม

1 ถ้า ABCD มีด้านตรงข้ามยาวเท่ากันและขนานกัน 2 คู่ มุมที่อยู่ตรงข้ามกันมีขนาดเท่ากัน


ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมชนิดใดได้บ้าง
รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
2 ถ้า EFGH มีด้านตรงข้ามขนานกัน 2 คู่ เส้นทแยงมุมแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน
แต่ตัดกันไม่เป็นมุมฉาก EFGH เป็นรูปสี่เหลี่ยมชนิดใดได้บ้าง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

3 ถ้า MNOP มีด้านทุกด้านยาวเท่ากัน เส้นทแยงมุมยาวไม่เท่ากัน


MNOP เป็นรูปสี่เหลี่ยมชนิดใดได้บ้าง รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

4 “ PUTH มีด้าน 4 ด้านยาวไม่เท่ากัน และมีด้านขนานกัน 1 คู่ ส่วน NAME


มีด้านขนานกัน 1 คู่ และด้านอีกคู่หนึ่งยาวเท่ากันแต่ไม่ขนานกัน”
จากข้อความ รูปสี่เหลี่ยมทั้งสองรูปเป็นรูปสี่เหลี่ยมชนิดเดียวกันหรือไม่ เพราะเหตุใด
เป็นรูปสี่เหลี่ยมชนิดเดียวกัน คือ รูปสี่เหลี่ยมคางหมู เพราะมีด้านขนานกัน 1 คู่
5 KHRS มีเส้นทแยงมุมแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน และตัดกันเป็นมุมฉาก
KHRS เป็นรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าวหรือไม่ เพราะเหตุใด
ไม่เป็น เพราะรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว มีเส้นทแยงมุมเพียงเส้นเดียวที่ถูกแบ่งครึ่งด้วยเส้นทแยงมุมอีกเส้นหนึ่ง

สิ่งที่ได้เรียนรู้

ข้อความต่อไปนี้ถูกต้องหรือไม่ เพราะเหตุใด ให้เขียนรูปคร่าว ๆ ประกอบการอธิบาย

1 รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทุกรูป เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

2 รูปสี่เหลี่ยมด้านขนานทุกรูป เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

3 รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนทุกรูป เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

4 รูปสี่เหลี่ยมคางหมูบางรูป มีมุมฉากเพียง 1 มุม

5 รูปสี่เหลี่ยมทุกรูปที่มีเส้นทแยงมุมยาวเท่ากัน เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 101

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

เฉลยหน้า 101

สิ่งที่ได้เรียนรู้

1 ถูกต้อง เพราะมีด้านขนานกัน 2 คู่ เช่น

รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส

2 ไม่ถูกต้อง เพราะรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานบางรูปอาจไม่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เนื่องจากมีมุมทุกมุม


ไม่เป็นมุมฉาก เช่น

3 ถูกต้อง เพราะมีด้านขนานกัน 2 คู่ เช่น

4 ไม่ถูกต้อง เพราะรูปสี่เหลี่ยมคางหมูมีด้านขนานกัน 1 คู่ ถ้ามีมุมฉาก 1 มุม แสดงว่า อีกด้านหนึ่งต้อง


ตั้งฉากกับด้านคู่ที่ขนานกัน ซึ่งจะทําให้เกิดมุมฉาก 2 มุม เช่น

5 ไม่ถูกต้อง เพราะมีรูปสี่เหลี่ยมคางหมูและรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าวบางรูปที่เส้นทแยงมุมยาวเท่ากัน เช่น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 89
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

7.2 การสร้างรูปสี่เหลี่ยม

จุดประสงค์การเรียนรู้
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

นักเรียนสามารถสร้างรูปสี่เหลี่ยมตามข้อกำ�หนด 7.2 การสร้างรูปสี่เหลี่ยม

การสร้างรูปสี่เหลี่ยม เมื่อกำาหนดความยาวของด้านและขนาดของมุม

สื่อการเรียนรู้ การสร้างรูปสี่เหลี่ยม ต้องนำาความรู้เกี่ยวกับสมบัติของรูปสี่เหลี่ยม


มาพิจารณาเพื่อวางแผนการสร้าง

โพรแทรกเตอร์ วงเวียน พิจารณาการสร้างรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน CDEF ที่มีด้านยาว ยาว 4.5 เซนติเมตร


ด้านสั้น ยาว 3 เซนติเมตร และมุมมุมหนึ่งมีขนาด 70 ำ

แนวการจัดการเรียนรู้
เขียนรูปคร่าว ๆ รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
จะมีด้านตรงข้ามยาวเท่ากัน
และขนานกัน 2 คู่

1. การสร้างรูปสีเ่ หลีย่ ม นักเรียนต้องมีความรูเ้ กีย่ วกับ


ลักษณะและสมบัตข ิ องรูปสีเ่ หลีย่ มแต่ละชนิด มีทก ั ษะ จากรูปคร่าว ๆ จะเห็นว่า ต้องสร้างให้ด้านตรงข้ามขนานกัน ถ้าสร้างให้ FE // CD
^
โดยมี FC เป็นเส้นตัดขวาง จะต้องรู้ขนาดของ F ก่อน ซึ่งจากสมบัติของเส้นขนานที่ว่า
การวัดความยาว การสร้างมุม และการสร้างเส้นขนาน เส้นตรงเส้นหนึง่ ตัดเส้นขนานคูห
่ นึง่ ขนาดของมุมภายในทีอ
่ ยูบ
่ นข้างเดียวกัน
ของเส้นตัดขวางรวมกันได้ 180 ำ
^ ^ ^
การสอนสร้างรูปสีเ่ หลีย่ ม เมือ
่ กำ�หนดความยาว แสดงว่า F + C = 180 ำ นั่นคือ
ดังนั้น
^
F มีขนาด 180 - 70 = 110 ำ
F + 70 = 180 ำ

ของด้านและขนาดของมุม ครูจด ั กิจกรรมโดยอาจเริม


่ จาก
การทบทวนความรูเ้ กีย่ วกับลักษณะของรูปสีเ่ หลีย่ ม ขั้นที่ 1 เขียน CD ยาว 4.5 เซนติเมตร C 4.5 ซม. D

แต่ละชนิด การสร้างรูปสีเ่ หลีย่ มมุมฉาก การสร้างมุม F

และการสร้างเส้นขนาน
^
ขั้นที่ 2 ที่จุด C สร้าง FCD ขนาด 70 ำ

.
3 ซม
โดยให้ FC ยาว 3 เซนติเมตร
70 ำ

ครูน�ำ สนทนาเกีย่ วกับการสร้างรูปสีเ่ หลีย่ มด้านขนาน


C 4.5 ซม. D

102 |
CDEF ตามข้อกำ�หนด หน้า 102-103 โดยให้นก ั เรียน
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วิเคราะห์วา่ โจทย์ก�ำ หนดอะไร และโจทย์ตอ ้ งการอะไร


ให้นกั เรียนเขียนรูปคร่าว ๆ ตามข้อกำ�หนด ซึง่ อาจเขียนได้
4 แบบ ดังนี้

90 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

F 4.5 ซม. E
110 ำ
^
ขั้นที่ 3 ที่จุด F สร้าง CFE ขนาด 110 ำ

.
3 ซม
โดยให้ FE ยาว 4.5 เซนติเมตร
จะได้ FE // CD 70 ำ
C 4.5 ซม. D

F 4.5 ซม. E
ขั้นที่ 4 เขียน ED
110 ำ
จะได้ CDEF เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

.
3 ซม
70 ำ
C 4.5 ซม. D

เราอาจสร้างรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน CDEF โดยสร้างให้ FC // ED และมี CD เป็นเส้นตัดขวาง


^
ซึ่งจากสมบัติของเส้นขนาน จะได้ว่า ต้องสร้าง CDE ให้มีขนาด 180 − 70 = 110 ำ

เครื่องมือที่ใช้ในการสร้างรูปเรขาคณิต นอกจากโพรแทรกเตอร์แล้ว
ยังอาจใช้วงเวียนช่วยในการสร้างได้

วงเวียน มี 2 ขา โดยขาข้างหนึ่งเป็นปลายแหลม ขาอีกข้างหนึ่ง


เป็นดินสอ
วงเวียน เป็นเครื่องมือสำาหรับเขียนวงกลม หรือส่วนโค้งของวงกลม
ซึ่งระยะจากจุดศูนย์กลางถึงเส้นรอบวง เรียกว่า รัศมี

ปลายแหลม ดินสอ

วิธีใช้วงเวียน เส�นรอบวง

ครูเลือกรูปคร่าว ๆ มา 1 รูป แล้วร่วมกันวางแผนและ


1. กางวงเวียนให้ได้รัศมีตามที่ต้องการ
รัศมี
2. ใช้ปลายแหลมวางที่จุดจุดหนึ่งให้เป็นจุดศูนย์กลาง

จัดลำ�ดับขั้นการสร้าง พร้อมให้เหตุผล จากนั้นครูสาธิต แล้วหมุนวงเวียนด้านดินสอ จะได้วงกลมมีรัศมี จุดศูนย�กลาง

ตามที่กำาหนด

การสร้างทีละขั้นจนได้รูปสี่เหลี่ยมตามกำ�หนด แล้วให้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 103

นักเรียนทำ�ตามครูทีละขั้นจนได้รูปตามต้องการ ทั้งนี้
ครูควรให้นักเรียนสร้างรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน CDEF
แบบอื่น ๆ ที่ต่างจากแบบที่ครูสาธิต

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 91
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

2. การสร้างรูปสี่เหลี่ยมหน้า 104 เป็นการใช้วงเวียน


ช่วยในการสร้างรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งครูควรแนะนำ�วิธีใช้วงเวียน
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

และฝึกให้นักเรียนมีทักษะการใช้วงเวียนก่อน พิจารณาการสร้างรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว ABCD ที่มี AB ยาว 4 เซนติเมตร และ BC ยาว 2 เซนติเมตร


^
จากนั้นจึงแนะนำ�วิธีสร้างรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว ABCD
ABC มีขนาด 120 ำ
เขียนรูปคร่าว ๆ

ซึ่งครูอาจจัดกิจกรรมทำ�นองเดียวกันกับการสร้าง
การสร้าง

รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน CDEF หน้า 102-103 ทั้งนี้ รูปสี่เหลี่ยม

ครูอาจแนะนำ�เพิ่มเติมว่า การสร้างรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
A
CDEF อาจใช้วงเวียนในการสร้างขั้นที่ 3 ดังนี้ ขั้นที่ 1 เขียน AB ยาว 4 เซนติเมตร 4 ซม
.
B

ขั้นที่ 3 กางวงเวียนรัศมี 4.5 เซนติเมตร ใช้จุด F ขั้นที่ 2 ^


ที่จุด B สร้าง ABC ขนาด 120 ำ A C
.
ซม
เป็นจุดศูนย์กลาง เขียนส่วนโค้ง และกางวงเวียนรัศมี
4 ซม 120 ำ
โดยให้ BC ยาว 2 เซนติเมตร . 2
B

3 เซนติเมตร ใช้จุด D เป็นจุดศูนย์กลาง เขียนส่วนโค้ง ขั้นที่ 3 กางวงเวียนรัศมี 2 เซนติเมตร แล้วใช้จุด C เป็นจุดศูนย์กลาง เขียนส่วนโค้ง

ให้ตัดกับส่วนโค้งแรกที่จุด E และ กางวงเวียนรัศมี 4 เซนติเมตร แล้วใช้จุด A เป็นจุดศูนย์กลาง เขียนส่วนโค้ง


ให้ตัดกับส่วนโค้งแรกที่จุด D

D
F E
A C A C
. .
4 ซม 120 ำ ซม 4 ซม 120 ำ ซม
. 2 . 2
B B
.
3 ซม

3 ซม

D
. 2
4 ซม ซม
.
.

ขั้นที่ 4 เขียน AD และ DC


A C
จะได้ ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว
.
70 ํ 4 ซม
. 120 ำ 2
ซม
B

C 4.5 ซม. D
104 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

จากนั้น เขียน FE และ DE จะได้รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน


CDEF ตามต้องการ

F 4.5 ซม. E
.
3 ซม

3 ซม
.

70 ํ
C 4.5 ซม. D

หมายเหตุ การใช้วงเวียนเขียนวงกลมหรือส่วนโค้ง
ครูควรเน้นย้ำ�ว่า ให้ถ่ายน้ำ�หนักมือมาที่จุดศูนย์กลาง
เพื่อไม่ให้วงเวียนเลื่อน และให้หมุนวงเวียนไปใน
ทิศทางเดียวกัน

92 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

3. การสร้างรูปสี่เหลี่ยมหน้า 105 เป็นการสร้างโดยใช้


หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5

โพรแทรกเตอร์ ครูจัดกิจกรรมโดยอาจให้นักเรียนวิเคราะห์ บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

ว่าโจทย์กำ�หนดอะไร และโจทย์ต้องการอะไร ให้นักเรียน พิจารณาการสร้างรูปสี่เหลี่ยม PQRS ที่มี PQ ยาว 4 เซนติเมตร PS ยาว 2.5 เซนติเมตร
^ ^
QR ยาว 3 เซนติเมตร QPS มีขนาด 70 ำ และ PQR มีขนาด 60 ำ
เขียนรูปคร่าว ๆ ตามข้อกำ�หนด แล้วร่วมกันวางแผน
เขียนรูปคร่าว ๆ
และจัดลำ�ดับขั้นการสร้าง พร้อมให้เหตุผล
ครูสาธิตการสร้างทีละขั้นจนได้รูปสี่เหลี่ยมตามกำ�หนด
แล้วให้นักเรียนทำ�ตามครูทีละขั้นจนได้รูปตามต้องการ
จากนั้นร่วมกันทำ�กิจกรรมหน้า 106 และให้ทำ�แบบฝึกหัด 7.4
ขั้นที่ 1 เขียน PQ ยาว 4 เซนติเมตร
เป็นรายบุคคล P 4 ซม. Q

หมายเหตุ โจทย์บางข้อในกิจกรรมหน้า 106 อาจมี ^


S

ม.
ขั้นที่ 2 ที่จุด P สร้าง QPS ขนาด 70 ำ


ความซับซ้อน ครูควรให้นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์โจทย์

2.5
โดยให้ PS ยาว 2.5 เซนติเมตร
70 ำ

และเขียนรูปคร่าว ๆ แล้วร่วมกันวางแผนและจัดลำ�ดับ
P 4 ซม. Q

ขั้นการสร้างก่อน S
R

^
ขั้นที่ 3

ซม.
ที่จุด Q สร้าง PQR ขนาด 60 ำ

3ซ
ม.
2.5
โดยให้ QR ยาว 3 เซนติเมตร
70 ำ 60 ำ
P 4 ซม. Q

R
S
ขั้นที่ 4 เขียน SR

ซม.

3ซ
ม.
2.5
จะได้ PQRS ตามต้องการ
70 ำ 60 ำ
P 4 ซม. Q

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 105

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

สร้างรูปสี่เหลี่ยมตามข้อกำาหนด

อย่าลืมเขียนรูปคร่าว ๆ ก่อน

1 รูปสี่เหลี่ยมคางหมู ABCD ที่มีด้านที่ขนานกันยาว 8 เซนติเมตร และ 3 เซนติเมตร


มุมมุมหนึ่งมีขนาด 80 ำ

2 รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน QRST ที่มี QR ยาว 6 เซนติเมตร QT ยาว 8 เซนติเมตร


^
และ STQ มีขนาด 115 ำ

^
3 รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน MPVT ที่มีด้านแต่ละด้านยาว 4.5 เซนติเมตร และ MPV
มีขนาด 70 ำ

4 รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว ADEK ที่มี AD ยาว 4 เซนติเมตร DE ยาว 5 เซนติเมตร


^
และ ADE มีขนาด 125 ำ

5 รูปสี่เหลี่ยมคางหมู BOWL ที่มีมุมฉาก 2 มุม

6 รูปสี่เหลี่ยมคางหมู ที่มีด้านที่ขนานกันอยู่ห่างกัน 3 เซนติเมตร และ ด้านที่ขนานกัน


ยาว 4 เซนติเมตร และ 8.5 เซนติเมตร มุมมุมหนึ่งมีขนาด 60 ำ พร้อมกำาหนด
ชื่อรูปสี่เหลี่ยม

7 รูปสี่เหลี่ยม PUSH ที่มี PU ยาว 6 เซนติเมตร US ยาว 3 เซนติเมตร ด้านที่เหลือ


^
อีก 2 ด้านยาว 4 เซนติเมตร และ 5 เซนติเมตร PUS มีขนาด 110 ำ

แบบฝึกหัด 7.4

106 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 93
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

เฉลยหน้า 106 เฉลยหน้า 106

1 ตัวอย่าง A 3 ซม. B 4 K
4 ซม.
A

5
ซม
.
4ซ
80 ํ

ม.
D 8 ซม. C 125 ํ

D 5 ซม. E

2 5 ตัวอย่าง
Q 6 ซม. R L W
ม.
8ซ

B O

6 ตัวอย่าง ว 4 ซม. ง
115 ํ
T S

3 ซม.
60 ํ
3
ร 8.5 ซม. จ
T V
7 ตัวอย่าง
H
4 ซม.
S
ซม.
4.5

.
ซม
5
70 ํ

.
3 ซม
M 4.5 ซม. P
110 ํ
P 6 ซม. U

94 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

4. การสอนสร้างรูปสี่เหลี่ยม เมื่อกำ�หนดความยาวของ
เส้นทแยงมุม ครูจัดกิจกรรมโดยอาจเริ่มจากการทบทวน
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

ความรู้เกี่ยวกับเส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมแต่ละชนิด การสร้างรูปสี่เหลี่ยม เมื่อกำาหนดความยาวของเส้นทแยงมุม

จากนั้นแนะนำ�วิธีสร้างรูปสี่เหลี่ยม หน้า 107-109 การสร้างรูปสี่เหลี่ยม เมื่อกำาหนดความยาวของเส้นทแยงมุม


ต้องนำาความรู้เกี่ยวกับเส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยม

โดยจัดกิจกรรมทำ�นองเดียวกันกับการสร้างรูปสี่เหลี่ยม มาพิจารณาเพื่อวางแผนการสร้าง

เมื่อกำ�หนดความยาวของด้านและขนาดของมุม พิจารณาการสร้างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส MODE ที่มีเส้นทแยงมุมยาว 4 เซนติเมตร

รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีเส้นทแยงมุมยาวเท่ากัน
หมายเหตุ คำ�ถามท้ายหน้า 108 ครูอาจแนะนำ�ให้ แบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน และตัดกันเป็นมุมฉาก
เขียนรูปคร่าว ๆ

นักเรียนเขียนรูปคร่าว ๆ ประกอบการตอบคำ�ถาม
ซึ่งในการสร้างรูปสี่เหลี่ยม CALS ให้มีขนาดแตกต่างกัน
จะขึ้นอยู่กับเส้นทแยงมุมที่ถูกแบ่งครึ่ง และจุดตัด ขั้นที่ 1 เขียน MD ยาว 4 เซนติเมตร
B
ของเส้นทแยงมุม เช่น
แล้วแบ่งครึ่ง MD ที่จุด B M D
4 ซม.
จะได้ MB และ BD ยาว 2 เซนติเมตร

ขั้นที่ 2 เขียน EO ให้ตั้งฉากกับ MD ที่จุด B


C โดยให้ EB และ BO ยาว 2 เซนติเมตร M B
4 ซม.
D

จะได้ EO ยาว 4 เซนติเมตร

O
E

A S
5 ซม. ขั้นที่ 3 เขียน ME ED DO และ OM
M B D
จะได้ MODE เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 4 ซม.

L สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 107

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5

C
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

พิจารณาการสร้างรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว CALS ที่มีเส้นทแยงมุมยาว 3 เซนติเมตร


และ 5 เซนติเมตร

A S รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว มีเส้นทแยงมุมตัดกัน เขียนรูปคร่าว ๆ


5 ซม. เป็นมุมฉาก และมีเส้นทแยงมุมเพียงเส้นเดียว
ที่ถูกแบ่งครึ่งด้วยเส้นทแยงมุมอีกเส้นหนึ่ง

C
L ขั้นที่ 1 เขียน CL ยาว 3 เซนติเมตร
แล้วแบ่งครึ่ง CL ที่จุด O O
จะได้ CO และ OL ยาว 1.5 เซนติเมตร

ขั้นที่ 2 เขียน AS ยาว 5 เซนติเมตร


ให้ตั้งฉากกับ CL ที่จุด O A
O
S
โดยที่ AO และ OS ยาวไม่เท่ากัน

ขั้นที่ 3 เขียน CA AL LS และ SC A S


O
จะได้ CALS เป็นรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว

ถ้า AO และ OS ยาวเท่ากัน รูปที่ได้จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมชนิดใด


จะสร้างรูปสี่เหลี่ยม CALS ตามข้อกำาหนด แต่ขนาดต่างจากนี้ได้หรือไม่
ถ้าเปลี่ยนจากแบ่งครึ่งเส้นทแยงมุม CL เป็นแบ่งครึ่งเส้นทแยงมุม AS
รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าวที่ได้ จะมีลักษณะอย่างไร

108 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 95
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

พิจารณาการสร้างรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน PKUN ที่มีเส้นทแยงมุมยาว 5 เซนติเมตร


และ 4 เซนติเมตร มุมที่จุดตัดของเส้นทแยงมุมมุมหนึ่งมีขนาด 60 ำ

รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน มีเส้นทแยงมุม
เขียนรูปคร่าว ๆ
ยาวไม่เท่ากัน แบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน
และตัดกันไม่เป็นมุมฉาก

ขั้นที่ 1 เขียน PU ยาว 5 เซนติเมตร


แล้วแบ่งครึ่ง PU ที่จุด E E
P U
จะได้ PE และ EU ยาว 2.5 เซนติเมตร

N
^
ขั้นที่ 2 ที่จุด E สร้าง NEU ขนาด 60 ำ
โดยให้ NE ยาว 2 เซนติเมตร
E 60 ำ
P U

ขั้นที่ 3 เขียน EK ยาว 2 เซนติเมตร


E 60 ำ
โดยให้อยู่ในเเนวเดียวกันกับ NE P U

จะได้ NK ยาว 4 เซนติเมตร

ขั้นที่ 4 เขียน PK KU UN และ NP E 60 ำ


P U
จะได้ PKUN เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 109

96 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

5. ครูอาจให้นักเรียนฝึกสร้างรูปสี่เหลี่ยมอื่นเพิ่มเติม
แล้วร่วมกันทำ�กิจกรรมหน้า 110 ซึ่งครูอาจให้นักเรียน
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

ช่วยกันวิเคราะห์โจทย์และเขียนรูปคร่าว ๆ แล้วร่วมกัน สร้างรูปสี่เหลี่ยมตามข้อกำาหนด

วางแผนและจัดลำ�ดับขั้นการสร้างก่อน ทั้งนี้ หลังจาก


อย่าลืมเขียนรูปคร่าว ๆ ก่อน

สร้างรูปเสร็จแล้ว ครูควรให้นักเรียนใช้ไม้ฉาก หรือ 1 รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน THEY ที่มี TE และ HY เป็นเส้นทแยงมุมยาว 4 เซนติเมตร


^
และ 8 เซนติเมตร ตามลำาดับ มีจุด C เป็นจุดตัดของเส้นทแยงมุม และ TCY มีขนาด 45 ำ
โพรแทรกเตอร์ตรวจสอบรูปที่สร้างว่าเป็นรูปสี่เหลี่ยมชนิดใด
2 รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กขคง ที่มีเส้นทแยงมุมยาว 5 เซนติเมตร
พร้อมบอกเหตุผล จากนั้นให้ทำ�แบบฝึกหัด 7.5 3 รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ROPE ที่มีเส้นทแยงมุมยาว 7 เซนติเมตร

เป็นรายบุคคล 4 รูปสี่เหลี่ยม MNOK ที่มีเส้นทแยงมุมทั้งสองเส้นยาว 6 เซนติเมตร MO ตัดกับ NK ที่จุด A


^
MAN มีขนาด 110 ำ และ m(MA) = m(AN) = 2.5 เซนติเมตร
รูปสี่เหลี่ยมนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมชนิดใด เพราะเหตุใด

5 รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว QCVR ที่มีเส้นทแยงมุมยาวเท่ากันและตัดกันที่จุด Z


โดยให้ m(QZ) = m(ZV) = 3 เซนติเมตร

6 รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ABCD ที่มีด้านแต่ละด้านยาว 5 เซนติเมตร เส้นทแยงมุมตัดกัน


ที่จุด O และ m(AO) = 4.5 เซนติเมตร

7 รูปสี่เหลี่ยมที่มีด้านคู่ที่อยู่ติดกันคู่หนึ่งยาวด้านละ 3 เซนติเมตร อีกคู่หนึ่งยาวด้านละ


4 เซนติเมตร และมีเส้นทแยงมุมยาว 5 เซนติเมตร รูปสี่เหลี่ยมนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมชนิดใด

ข้อ 6 และ 7 อาจใช้วงเวียนช่วยในการสร้างรูปสี่เหลี่ยม

แบบฝึกหัด 7.5

110 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

Y เฉลยหน้า 110 เฉลยหน้า 110


Q
1 5 ตัวอย่าง
3 ซม.

45 ํ C
T E
2 ซม.
4 R Z C
ซม 6 ซม.
.

H

2
V

2.5 ซม. B
ก ค
6
5 ซม.

A C
ง 4.5 ซม. O
O

3 ตัวอย่าง
D

3.5 ซม.
R P
7 ตัวอย่าง น

4ซ
ม.

ม.
3ซ

2.5 ซม.

N E
จ ล
5 ซม.
4
110 ํ
M O
2.5 ซม. A 3.5 ซม.

MNOK เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู เพราะมีด้านขนานกัน 1 คู่
จนลง เป็นรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 97
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

6. เพื่อตรวจสอบความเข้าใจและสรุปความรู้ที่ได้
ให้นักเรียนทำ�กิจกรรมหน้า 111 เป็นรายบุคคล
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

ตรวจสอบความเข้าใจ

สร้างรูปสี่เหลี่ยมตามข้อกำาหนด

1 รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ABCD ที่มี CD ยาว 3.5 เซนติเมตร AD ยาว 5 เซนติเมตร


และมุมมุมหนึ่งมีขนาด 50 ำ

2 รูปสี่เหลี่ยมคางหมู 2 รูป ที่แตกต่างกัน และมีเส้นทแยงมุมเส้นหนึ่งยาว 5.5 เซนติเมตร


พร้อมกำาหนดชื่อรูปสี่เหลี่ยม

3 รูปสี่เหลี่ยมที่มีด้านตรงข้ามขนานกัน 2 คู่ แต่ด้านที่อยู่ติดกันยาวไม่เท่ากัน โดยมี


ผลรวมของความยาวของด้าน 2 ด้านที่อยู่ติดกันเป็น 12 เซนติเมตร รูปสี่เหลี่ยมนี้
เป็นรูปสี่เหลี่ยมชนิดใดบ้าง

4 รูปสี่เหลี่ยมที่มีเส้นทแยงมุมยาว 4 เซนติเมตร และ 7 เซนติเมตร เส้นทแยงมุมแบ่งครึ่ง


ซึ่งกันและกัน รูปสี่เหลี่ยมนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมชนิดใดบ้าง

5 รูปสี่เหลี่ยมที่มีเส้นทแยงมุมยาว 5 เซนติเมตร และ 9 เซนติเมตร เส้นทแยงมุมตัดกัน


เป็นมุมฉาก รูปสี่เหลี่ยมนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมชนิดใดบ้าง

สิ่งที่ได้เรียนรู้

การสร้างรูปสี่เหลี่ยม จำาเป็นต้องมีความรู้และทักษะเรื่องใดบ้าง

- สมบัติของรูปสี่เหลี่ยม และสมบัติของเส้นขนาน
- การเขียนรูปสี่เหลี่ยมอย่างคร่าว ๆ
- การสร้างเส้นขนาน
- การวัดขนาดของมุมโดยใช้โพรแทรกเตอร์
- การวัดความยาวของส่วนของเส้นตรง
- การใช้วงเวียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 111

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

เฉลยหน้า 111 เฉลยหน้า 111


B
ตรวจสอบความเข้าใจ 4 ตัวอย่าง

1 ตัวอย่าง B C
2 ซม.

C
ก ค A
.
ซม

2 ซม.
3.5 ซม.
3.5

3.
5

50 ํ
ซม
.

A 5 ซม. D
ง D
2 ตัวอย่าง ม ง ถ้าเส้นทแยงมุมตัดกันเป็นมุมฉาก ถ้าเส้นทแยงมุมตัดกันไม่เป็นมุมฉาก
F O
จะได้รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน จะได้รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
5.5 ม.
ซม 5 .5 ซ
. ข
5 ตัวอย่าง
R U
2.5 ซม.

ล ค

ก ค
3 เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ที่มีลักษณะตามข้อกําหนด เช่น 4.5 ซม.

รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่ด้านที่อยู่ติดกันยาว 1 เซนติเมตร และ 11 เซนติเมตร


รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่ด้านที่อยู่ติดกันยาว 2 เซนติเมตร และ 10 เซนติเมตร
รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่ด้านที่อยู่ติดกันยาว 3 เซนติเมตร และ 9 เซนติเมตร ง

รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่ด้านที่อยู่ติดกันยาว 4 เซนติเมตร และ 8 เซนติเมตร ถ้าเส้นทแยงมุมตัดกันเป็นมุมฉากและแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน


จะได้รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่ด้านที่อยู่ติดกันยาว 5 เซนติเมตร และ 7 เซนติเมตร

ตัวอย่าง B
ก ข
2.5 ซม.
2 ซม.

ง ค A C
10 ซม. 9 ซม.
L O
ม.
2ซ

D
G 10 ซม. N ถ้าเส้นทแยงมุมตัดกันเป็นมุมฉากและมีเส้นทแยงมุมเพียงเส้นเดียวที่ถูกแบ่งครึ่ง
ด้วยเส้นทแยงมุมอีกเส้นหนึ่ง จะได้รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว

98 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

7.3 พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม

จุดประสงค์การเรียนรู้ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

7.3 พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม 6
นักเรียนสามารถหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

และรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เมื่อกำาหนดด้านใดด้านหนึ่งของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานให้เป็น ฐาน


ส่วนของเส้นตรงที่ลากจากด้านที่อยู่ตรงข้ามกับฐาน มาตั้งฉากกับฐานหรือแนวของฐาน
เรียกว่า ส่วนสูง ความยาวของส่วนสูง เรียกว่า ความสูง

สื่อการเรียนรู้ ก ข

1. กระดาษตารางรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีความยาว กขคง มี งค เป็นฐาน

ส่วนสูง
ด้านละ 1 เซนติเมตร และ จก เป็นส่วนสูง

2. กระดาษรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานและรูปสี่เหลี่ยม ง จ
ฐาน

ขนมเปียกปูน ที่มีความยาวของฐานและความสูง ก ข

เป็นจำ�นวนนับ ต
ส่วน
สูง กขคง มี งก เป็นฐาน
และ ตม เป็นส่วนสูง

ฐาน
3. กรรไกร ดินสอสี ม

ง ค

แนวการจัดการเรียนรู้ A B

การสอนการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
ส่วนสูง

ABCD มี CD เป็นฐาน
และ EA เป็นส่วนสูงของ
และการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ครูอาจ
E D C
ฐาน
จัดกิจกรรมดังนี้ แนวของฐาน

1. แนะนำ�ให้นักเรียนรู้จักฐาน และส่วนสูง 112 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน โดยใช้กระดาษ
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5

รูปสี่เหลี่ยมด้านขนานและรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

ประกอบการอธิบาย และให้นักเรียนพิจารณารูป บอกความยาวของฐานและความสูงของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน


(ความยาวที่วัด คลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 1 มิลลิเมตร)

หน้า 112 แล้วช่วยกันระบุฐานและส่วนสูงของรูป 1


จ ง

ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการระบุส่วนสูง ฐานยาว 5 ซม.


สูง 3.7 ซม.
และฐานของ ABCD จากนั้นแนะนำ�พร้อมสาธิต
วิธีวัดความสูงของกระดาษรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานข้างต้น ม ร ฐาน ด

โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับการวัดระยะห่างของเส้นขนาน 2
S M ฐาน A

ฐานยาว 4.4 ซม.


แล้วให้นักเรียนร่วมกันทำ�กิจกรรมหน้า 113 สูง 2.5 ซม.

และทำ�แบบฝึกหัด 7.6 เป็นรายบุคคล H T

3 B E

ฐานยาว 3 ซม.
ฐาน

N
สูง 4 ซม.

R A


4

ม อ ฐานยาว 3 ซม.
สูง 3.5 ซม.
ฐา

ห ร
แบบฝึกหัด 7.6

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 113

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 99
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

2. การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ครูให้นักเรียน
ปฏิบัติตามกิจกรรม หน้า 114-115 พร้อมการถาม-ตอบ
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

ประกอบการอธิบาย จากนั้นให้นักเรียนเขียน พิจารณาการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน อปพร

รูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีความยาวของฐานและความสูง 1 ซม.

1 ซม.
อ ก ป

เป็นจำ�นวนนับ คนละ 1 รูป ซึ่งแต่ละคนควรเขียนรูปที่มีขนาด


แตกต่างกัน โดยเขียนลงในกระดาษตาราง ร พ

รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีความยาวด้านละ 1 เซนติเมตร กำาหนดด้าน รพ เป็นฐาน ยาว 5 เซนติเมตร มี รก เป็นส่วนสูงยาว 2 เซนติเมตร


หาพื้นที่โดยการนับตารางได้ 10 ตารางเซนติเมตร
พร้อมระบายสี แล้วให้ปฏิบัติกิจกรรมทำ�นองเดียวกัน เมื่อตัดรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน อปพร ตามแนว รก แล้วต่อให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ดังรูป

กับการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน อปพร
1 ซม. 1 ซม.

1 ซม.

1 ซม.
อ ก ป อ ก ป ม

หรือรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน YMCK แล้วร่วมกัน


อภิปรายผลการปฏิบัติกิจกรรม เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า ร พ ร พ

พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน จะได้ รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน อปพร มีพื้นที่เท่ากับ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กมพร

= ความสูง × ความยาวของฐาน
พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า = ความกว้าง × ความยาว
พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กมพร = 2 × 5 ตารางเซนติเมตร
= 10 ตารางเซนติเมตร
ข้อแนะนำ� ในการกำ�หนดเส้นแสดงส่วนสูง ดังนั้น พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน อปพร = 10 ตารางเซนติเมตร

ควรกำ�หนดเส้นแสดงส่วนสูงตามแนวเส้นในตาราง
จากรูป พบว่า ความสูงของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน อปพร เท่ากับ ความกว้าง
ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กมพร และความยาวของฐานของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน อปพร
เท่ากับความยาวของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กมพร
เพื่อให้นับพื้นที่ได้ง่าย

สังเกตได้ว่า พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน อาจหาได้จาก ความสูง × ความยาวของฐาน

114 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

พิจารณาการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน YMCK

1 ซม.
1 ซม.

Y J M

กำาหนดให้ KC เป็นฐาน ยาว 4 เซนติเมตร


มี CJ เป็นส่วนสูง ยาว 4 เซนติเมตร
หาพื้นที่โดยการนับตารางได้ 16 ตารางเซนติเมตร

K C

เมื่อตัดรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน YMCK ตามแนว CJ แล้วต่อให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ดังรูป

1 ซม. 1 ซม.
1 ซม.

1 ซม.

Y J M H Y J M

K C K C

พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน YMCK มีพื้นที่เท่ากับ พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส HJCK


พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส = ความยาวของด้าน × ความยาวของด้าน
พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส HJCK = 4×4 ตารางเซนติเมตร
= 16 ตารางเซนติเมตร
ดังนั้น พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน YMCK = 16 ตารางเซนติเมตร
จากรูป พบว่า ความสูงและความยาวฐานของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน YMCK
เท่ากับ ความยาวด้านของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส HJCK
ดังนั้น พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน อาจหาได้จาก

พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน = ความสูง × ความยาวของฐาน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 115

100 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

3. ครูใช้การถาม-ตอบประกอบการอธิบายตัวอย่าง
หน้า 116 แล้วร่วมกันหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

จากนั้นให้ทำ�แบบฝึกหัด 7.7 เป็นรายบุคคล


หาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน กขคง

ง ค
วิธีทำา พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน = ความสูง × ความยาวของฐาน
พื้นที่ของ กขคง = 4×3 ตารางเซนติเมตร
= 12 ตารางเซนติเมตร

4 ซม.
ดังนั้น รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน กขคง มีพื้นที่ 12 ตารางเซนติเมตร

ก 3 ซม. ข ตอบ ๑๒ ตารางเซนติเมตร

หาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

1 ส ม 2 C O

3.5 ซม.
4 ซม.
20 ตร.ซม. 14 ตร.ซม.

S N 4 ซม. R
ร 5 ซม. พ 1.9 ซม.

ค ร P
3 4
.
5 กม

4 วา
S

3.24
กม.
16 ตร.ว. 16.2 ตร.กม.
ง 4 วา อ 2 วา ย
T

5 6
J 2 ม. O 4.8 ม.

2.4
2.1 ม

ม.

ม.

.
3.8 ม.
4.2

จ ม.
7.6 ตร.ม. 4.2 10.08 ตร.ม.

2.3
ม.
N H 1.8 ม. Y น

แบบฝึกหัด 7.7

116 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

4. การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ครูอาจ
จัดกิจกรรมโดยนำ�รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน และ
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ให้นักเรียนพิจารณา พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน


พิจารณาการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
ลักษณะที่เหมือนกันของรูปสี่เหลี่ยมทั้งสองรูป รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

ซึ่งจะได้ว่า รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีด้านตรงข้ามขนานกัน


ส่วนสูง
ส่วนสูง

2 คู่ ดังนั้นจึงมีฐานและส่วนสูงเช่นเดียวกันกับ
รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย ฐาน ฐาน

เกี่ยวกับวิธีหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งจะได้ว่า
รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีด้านที่อยู่ตรงข้ามกันขนานกัน 2 คู่ เช่นเดียวกันกับรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
ดังนั้น การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน จึงอาจใช้วิธีการเดียวกันกับการหาพื้นที่

อาจใช้วธิ กี ารเดียวกันกับการหาพืน ้ ทีข


่ องรูปสีเ่ หลีย่ มด้านขนาน
ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = ความสูง × ความยาวของฐาน


คือ ความสูง คูณ ความยาวของฐาน จากนั้นช่วยกันสรุป
ให้ได้ว่า พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

= ความสูง × ความยาวของฐาน แล้วร่วมกัน 1 2


ม.
2 หน่วย

2.3 ซม.

2.5

หาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หน้า 117 5.75 ตร.ซม.

3 หน่วย 2.24 หน่วย


และทำ�แบบฝึกหัด 7.8 เป็นรายบุคคล 6 ตารางหน่วย

4 3.2
3 . ซม
5ม .
ม.
6ซ
1.1
4.5

3.4

22.5 ตร.ม. 10.88 ตร.ซม.


ม.

ซม
.

แบบฝึกหัด 7.8

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 117

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 101
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

5. เพื่อตรวจสอบความเข้าใจและสรุปความรู้ที่ได้
ให้นักเรียนทำ�กิจกรรมหน้า 178 เป็นรายบุคคล
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

ตรวจสอบความเข้าใจ

หาพื้นที่ของรูปที่กำาหนด

1 12 ม. 2 .
5 ซม

4 ซม.
3 ซม
ม.

8 ม.
8.5

.
2.9 ม.
96 ตร.ม. 15 ตร.ซม.

3 4 .
ซม
ซม
. 4.2
5.5

2.6 ซม.

4ซ
ม.
4.85 ซม.
14.3 ตร.ซม. 16.8 ตร.ซม.

5 6

ม.
2.4

.
ซม

3 ซม.
4
2.65 ซม.

ม.
3.8
12 ตร.ซม. 17.1 ตร.ม.
ม.
4.5

สิ่งที่ได้เรียนรู้

1 พิจารณาได้อย่างไรว่า ส่วนของเส้นตรงใดเป็นส่วนสูงของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
ส่วนของเส้นตรงที่เป็นส่วนสูงของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน เป็นระยะห่างระหว่างด้านคู่ขนาน
2 ถ้าต้องการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานและรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
ต้องรู้สิ่งใดบ้าง
ความสูงและความยาวของฐานซึ่งหน่วยความยาวต้องเป็นหน่วยเดียวกัน
โดยส่วนสูงต้องตั้งฉากกับฐาน
118 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

102 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

6. การหาพื้นที่ของรูปหลายเหลี่ยม โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับ
การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

ครูอาจจัดกิจกรรมด้วยการนำ�รูปหลายเหลี่ยมมาต่อกัน การหาพื้นที่โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน หรือแบ่งรูปหลายเหลี่ยม พิจารณาการหาพื้นที่ของ กขคง ที่มี ขค // กง และห่างกัน 2 หน่วย


1หน่วย

ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน แล้วจึงหาพื้นที่

1หน่วย
ข ค ข ค จ

จากรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานนั้น
ก ง ก ง ฉ

ครูให้นักเรียนพิจารณา กขคง หน้า 119 ว่า นำารูปสี่เหลี่ยมที่มีขนาดเท่ากับ กขคง มาวางชิดติดกัน ดังรูป

เป็นรูปสี่เหลี่ยมชนิดใด เพราะเหตุใด แล้วร่วมกันอภิปราย จะได้ รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน กขจฉ มีฐานยาว 8 หน่วย สูง 2 หน่วย
1
และมีพื้นที่เป็น 2 เท่าของ กขคง หรือ กขคง มีพื้นที่เป็น ของพื้นที่ของ กขจฉ
2
เกี่ยวกับการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมดังกล่าว เนื่องจาก กขจฉ มีพื้นที่ 2 × 8 = 16 ตารางหน่วย
1
โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับการหาพื้นที่ของ
ดังนั้น กขคง มีพื้นที่ × 16 = 8 ตารางหน่วย
2

รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ซึ่งจะได้ว่า พื้นที่ของ


พิจารณาการหาพื้นที่ของรูปที่กำาหนด
รูปสี่เหลี่ยมคางหมู กขคง เป็นครึ่งหนึ่งของพื้นที่ของ
รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน กขจฉ จากนั้นครูใช้การถาม-ตอบ
เนื่องจากรูปที่กำาหนด เป็นรูปที่ประกอบด้วย
3 ซม.
รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่มีฐานยาว 3 เซนติเมตร

2.6 ซม.
ประกอบการอธิบายเกี่ยวกับการหาพื้นที่ของ และ สูง 2.6 เซนติเมตร จำานวน 6 รูป
ดังนั้น พื้นที่ของรูปที่กำาหนด อาจหาได้จาก
รูปหลายเหลี่ยม หน้า 119 แล้วร่วมกันทำ�กิจกรรม 6 × พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน 1 รูป

หน้า 120 แล้วทำ�แบบฝึกหัด 7.9 เป็นรายบุคคล


สำ�หรับกิจกรรมหน้า 120 โจทย์บางข้อ ครูควรให้ รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน 1 รูป มีพื้นที่ 2.6 × 3 = 7.8 ตารางเซนติเมตร
ดังนั้น รูปที่กำาหนดให้มีพื้นที่ 6 × 7.8 = 46.8 ตารางเซนติเมตร
นักเรียนนำ�เสนอวิธีคิดที่แตกต่างกันพร้อมอธิบาย
เหตุผล และครูควรอธิบายวิธีคิดอื่นที่แตกต่างจากวิธีคิด สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 119

ของนักเรียนเพื่อให้เห็นวิธีคิดที่หลากหลาย
เช่น ข้อ 2 อาจแสดงแนวคิดการหาพื้นที่ ดังนี้ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

หาพื้นที่ของส่วนที่ระบายสี

1 2
3.46 ซม.

5 ซม.
3 ซม.

4 ซม.
3 ซม.
41.52 ตร.ซม.
5 ซม.

12 ตร.ซม.
3 ซม.

3 15 ม. 4

ม.
3 ซม. 2 ม. 1.7
3 ซม. 2 ซม.
45
5 ซม.

ม.
ม.
3 ซม.

30
3 ซม.

3 ซม.

13 ม.

3 ซม. 3 ซม. 2 ซม.


1,755 ตร.ม. 30.6 ตร.ม.

วิธีที่ 1 วิธีที่ 2 วิธีที่ 3 2 ซม. 90 ซม.


5 6
6 ซม.

78 ซม.

30 ซม.
26 ซม.

4 ซม.
24 ตร.ซม. 4,680 ตร.ซม.

แบบฝึกหัด 7.9

120 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 103
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

7.4 โจทย์ปัญหา

จุดประสงค์การเรียนรู้ นักเรียนสามารถ
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

1. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ
7.4 โจทย์ปัญหา 7
ความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยม
โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยม
2. แสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ
พิจารณาการเเก้โจทย์ปัญหา

พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน และรูปสี่เหลี่ยม แปลงไม้ดอกรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ยาวด้านละ 6.75 เมตร ถ้าใช้ตาข่าย

ขนมเปียกปูน ล้อมแปลงไม้ดอกนี้ จะต้องใช้ตาข่ายยาวเท่าใด

3. แก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่และความยาวรอบรูป
สิ่งที่โจทย์ถาม ความยาวของตาข่ายที่ใช้ล้อมแปลงไม้ดอก

สิ่งที่โจทย์บอก
ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
แปลงไม้ดอกเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
ยาวด้านละ 6.75 เมตร

หาความยาวของตาข่ายที่ใช้ล้อมเเปลงไม้ดอก ได้อย่างไร

สื่อการเรียนรู้ หาความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
โดยนำาความยาวของด้านทุกด้านมารวมกัน

ม.
6.75
- ซึ่งรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนมีด้านทุกด้านยาวเท่ากัน
จึงอาจหาความยาวรอบรูปได้จาก 4 × ความยาวของด้าน

แนวการจัดการเรียนรู้ ความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
ความยาวรอบแปลงไม้ดอก
= 4 × ความยาวของด้าน
4 × 6.75 = 27 เมตร
ดังนั้น ต้องใช้ตาข่ายยาว 27 เมตร
การสอนการแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวรอบรูป
ตรวจสอบได้อย่างไรว่า 27 ม. เป็นคำาตอบที่ถูกต้อง
และพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ครูอาจจัดกิจกรรมดังนี้
ต้องหาว่า รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีความยาวด้านละเท่าใด

1. การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวรอบรูปของ
ซึ่งหาได้จาก 27 ÷ 4 = 6.75 ม. พบว่าสอดคล้องกับโจทย์
แสดงว่า 27 ม. เป็นคำาตอบที่ถูกต้อง

รูปสี่เหลี่ยม ครูนำ�สถานการณ์ปัญหา หน้า 121


| 121
ให้นักเรียนร่วมกันพิจารณาแล้วใช้การถาม-ตอบ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ประกอบการอธิบายตามขั้นตอนการแก้ปัญหา
ควรแนะนำ�ให้นักเรียนวาดรูปประกอบการคิด
เพื่อช่วยในการวางแผนแก้ปัญหา และควรย้ำ�ให้นักเรียน
ตรวจสอบความถูกต้องหรือพิจารณาความสมเหตุสมผลของ
คำ�ตอบทุกครั้ง โดยอาจใช้เครื่องคิดเลขช่วยในการคำ�นวณ
จากนั้นให้นักเรียนพิจารณาสถานการณ์ปัญหาจากตัวอย่าง
หน้า 122 และเขียนรูปคร่าว ๆ ประกอบ จากนั้น
ใช้การซักถามเพื่อนำ�ไปสู่การวางแผนแก้ปัญหา
แล้วให้นักเรียนช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องหรือ
พิจารณาความสมเหตุของคำ�ตอบ และร่วมกันทำ�กิจกรรม
หน้า 122 แล้วทำ�แบบฝึกหัด 7.10 เป็นรายบุคคล

104 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

เฉลยหน้า 122

ติ๊บนำาเชือกยาว 54 เมตร มาล้อมพื้นที่สนามเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ให้ด้านที่อยู่ 1 วิธีทำ� อุ๋ยเย็บผ้าลูกไม้ติดรอบผ้าเช็ดมือรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสใช้ผ้าลูกไม้ 170 เซนติเมตร


ตรงข้ามกันคู่หนึ่งยาวด้านละ 12 เมตร ด้านที่อยู่ตรงข้ามกันอีกคู่หนึ่งยาวด้านละเท่าใด
รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีด้านยาวเท่ากัน 4 ด้าน
รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีความยาวด้านละ 170 ÷ 4 = 42.5 เซนติเมตร
วิธีคิด เชือกยาว 54 เมตร
ดังนั้น ผ้าเช็ดมือผืนนี้ยาวด้านละ 42.5 เซนติเมตร
ด้านที่อยู่ตรงข้ามกันคู่หนึ่งใช้เชือกยาว 2 × 12 = 24 เมตร
เเสดงว่า ด้านที่อยู่ตรงข้ามกันอีกคู่หนึ่งใช้เชือกยาว ตอบ ๔๒.๕ เซนติเมตร
12
.

54 − 24 = 30 เมตร

12

. ม

ดังนั้น ด้านที่อยู่ตรงข้ามกันอีกคู่หนึ่งยาวด้านละ 2 วิธีทำ� สวนสาธารณะกว้าง 0.75 กิโลเมตร ยาว 1.25 กิโลเมตร


ด้านตรงข้ามยาวเท่ากัน 30 ÷ 2 = 15 เมตร
เเละขนานกัน 2 คู่
มีความยาวรอบรูป 2 × (0.75 + 1.25) = 4 กิโลเมตร หรือ 4,000 เมตร
ส่วนที่เป็นประตูซึ่งกว้าง 3.5 เมตร
ตอบ ๑๕ เมตร
รั้วรอบสวนสาธารณะนี้ยาว 4,000 − 3.5 = 3,996.5 เมตร

แสดงวิธีหาคำาตอบ ดังนั้น รั้วรอบสวนสาธารณะนี้ยาว 3,996.5 เมตร


ตอบ ๓,๙๙๖.๕ เมตร
1 อุ๋ยเย็บผ้าลูกไม้ติดรอบผ้าเช็ดมือรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสผืนหนึ่ง ใช้ผ้าลูกไม้ทั้งหมด 170 เซนติเมตร
ผ้าเช็ดมือผืนนี้ยาวด้านละเท่าใด 3 วิธีทำ� ผ้าใบผืนหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากมีความยาวรอบรูป 24 เมตร
มีด้านหนึ่งยาว 3.5 เมตร แสดงว่าด้านตรงข้ามกับด้านนี้ยาว 3.5 เมตร
2 สวนสาธารณะแห่งหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากกว้าง 0.75 กิโลเมตร ยาว 1.25 กิโลเมตร
จะได้ว่า ด้าน 2 ด้านที่ขนานกันอีกคู่หนึ่งมีความยาวรวม 24 − 3.5 − 3.5 = 17 เมตร
มีรั้วล้อมรอบ ยกเว้นส่วนที่เป็นประตูซึ่งกว้าง 3.5 เมตร รั้วรอบสวนสาธารณะนี้ยาวเท่าใด
ดังนั้น อีกด้านหนึ่งยาว 17 ÷ 2 = 8.5 เมตร
3 ผ้าใบผืนหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากมีความยาวรอบรูป 24 เมตร มีด้านหนึ่งยาว 3.5 เมตร ตอบ ๘.๕ เมตร
ด้านอีกด้านหนึ่งยาวเท่าใด
15 ซม.
4 วิธีทำ� หาความยาวของเหล็กเส้นทั้งหมด โดยนําความยาวด้านทุกด้านมารวมกัน
4 ช่องระบายอากาศช่องหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก
เหล็กเส้นยาว 15 เซนติเมตร มีทั้งหมด 12 เส้น มีความยาวรวม 12 × 15 = 180 เซนติเมตร
20 ซม.

มนัสต้องการทำาเหล็กดัดติดที่ช่องระบายอากาศนี้
.
ซม

ดังรูป มนัสจะต้องใช้เหล็กเส้นเพื่อทำาเหล็กดัด เหล็กเส้นยาว 20 เซนติเมตร มีทั้งหมด 10 เส้น มีความยาวรวม 10 × 20 = 200 เซนติเมตร


25

ยาวอย่างน้อยเท่าใด เหล็กเส้นยาว 25 เซนติเมตร มีทั้งหมด 8 เส้น มีความยาวรวม 8 × 25 = 200 เซนติเมตร


ความยาวของเหล็กเส้นที่ใช้ทั้งหมด 180 + 200 + 200 = 580 เซนติเมตร
ดังนั้น มนัสจะต้องใช้เหล็กเส้นเพื่อทําเหล็กดัด ยาวอย่างน้อย 580 เซนติเมตร
ตอบ ๕๘๐ เซนติเมตร

แบบฝึกหัด 7.10

122 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 105
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

2. การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
หน้า 123-125 ครูอาจจัดกิจกรรมทำ�นองเดียวกัน
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

กับการแก้โจทย์ปญั หาเกีย
่ วกับความยาวรอบรูปของรูปสีเ่ หลีย ่ ม โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

หน้า 121-122 จากนั้นให้นักเรียนร่วมกันทำ�กิจกรรม พิจารณาการวิเคราะห์โจทย์และหาคำาตอบ


27 ซม.

แผ่นป้ายเตือนแนวทางมีลักษณะและขนาด ดังรูป
หน้า 125 แล้วทำ�แบบฝึกหัด 7.11 เป็นรายบุคคล ส่วนที่เป็นสีดำาสามารถแบ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

68 ซม.
ที่มีขนาดเท่ากัน 2 รูป ส่วนที่เป็นสีดำามีพื้นที่เท่าใด

สิ่งที่โจทย์ถาม พื้นที่ส่วนที่เป็นสีดำา

สิ่งที่โจทย์บอก ส่วนทีเ่ ป็นสีดาำ สามารถแบ่งเป็นรูปสีเ่ หลีย่ มด้านขนาน


ขนาดเดียวกัน 2 รูป แต่ละรูปมีฐานยาว 27 เซนติเมตร
และผลรวมของความสูงของทัง้ สองรูปเป็น 68 เซนติเมตร

เนื่องจากส่วนที่เป็นสีดำาสามารถแบ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานขนาดเดียวกัน 2 รูป
โดยแต่ละรูปมีฐานยาว 27 เซนติเมตร และผลรวมของความสูงของทั้งสองรูปเป็น 68 เซนติเมตร
แสดงว่าแต่ละรูปมีความสูง 68 ÷ 2 = 34 เซนติเมตร
27 ซม.
พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน = ความสูง × ความยาวของฐาน

34 ซม.
รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน 1 รูป มีพื้นที่ 34 × 27 = 918 ตารางเซนติเมตร
รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน 2 รูป มีพื้นที่ 2 × 918 = 1,836 ตารางเซนติเมตร

ดังนั้น ส่วนที่เป็นสีดำามีพื้นที่ 1,836 ตารางเซนติเมตร

1,836 ตร.ซม. เป็นคำาตอบที่สมเหตุสมผลหรือไม่ มีวิธีพิจารณาอย่างไร

รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน 1 รูป มีฐานยาวประมาณ 30 ซม. เเละสูงประมาณ 30 ซม.


จะได้ว่า รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน 1 รูป มีพื้นที่ประมาณ 30 × 30 = 900 ตร.ซม.
ดังนั้น ส่วนที่เป็นสีดำามีพื้นที่ประมาณ 2 × 900 = 1,800 ตร.ซม.
ซึ่งใกล้เคียง 1,836 ตร.ซม. แสดงว่า 1,836 ตร.ซม. เป็นคำาตอบที่สมเหตุสมผล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 123

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

พิจารณาการวิเคราะห์โจทย์และหาคำาตอบ
ไม้อัดแผ่นหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานมีฐานยาว 110 เซนติเมตร และสูง 60 เซนติเมตร
120 ซม. นิดาต้องการทาสีไม้อัดทั้งสองด้าน ส่วนที่ทาสีคิดเป็นพื้นที่เท่าใด
ธงผืนหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 84 เซนติเมตร
ยาว 120 เซนติเมตร ตรงกลางเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน วิธีทำา
.

84 ซม.
ซม

ยาวด้าวละ 60 เซนติเมตร ด้านคู่ที่ขนานกันห่างกัน


พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน = ความสูง × ความยาวของฐาน
42

42 เซนติเมตร ส่วนที่เป็นสีเขียวมีพื้นที่เท่าใด 60
60 ซม.

ซม
. ไม้อัด 1 ด้าน มีพื้นที่ 60 × 110 = 6,600 ตารางเซนติเมตร
ดังนั้น ส่วนที่ทาสีคิดเป็นพื้นที่ 2 × 6,600 = 13,200 ตารางเซนติเมตร
110 ซม.
สิ่งที่โจทย์ถาม พื้นที่ส่วนที่เป็นสีเขียว
ตอบ ๑๓,๒๐๐ ตารางเซนติเมตร
สิ่งที่โจทย์บอก ธงเป็นรูปสีเ่ หลีย่ มผืนผ้ากว้าง 84 ซม. ยาว 120 ซม.
ตรงกลางเป็นรูปสีเ่ หลีย่ มขนมเปียกปูน ยาวด้านละ 60 ซม.
ด้านคูท
่ ข
่ี นานกันห่างกัน 42 ซม. แสดงวิธีหาคำาตอบ

พื้นที่ส่วนที่เป็นสีเขียว หาได้จาก 1 แผ่นป้ายรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานมีฐานยาว 20 เซนติเมตร สูง 15 เซนติเมตร


พื้นที่ของธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลบด้วย พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนสีม่วง ด้านหน้าของแผ่นป้ายแผ่นนี้มีพื้นที่เท่าใด

พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า = ความกว้าง × ความยาว


กระดาษรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนแผ่นหนึ่ง แต่ละด้านมีความยาว 12.6 เซนติเมตร
2
ธงมีพื้นที่ 84 × 120 = 10,080 ตารางเซนติเมตร และมีระยะห่างระหว่างด้านที่อยู่ตรงข้ามกัน 6.8 เซนติเมตร กระดาษแผ่นนี้มีพื้นที่เท่าใด
จาก พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = ความสูง × ความยาวของฐาน
3 อารีรัตน์จ้างช่างปูพื้นด้วยแผ่นคอนกรีตรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน 300 แผ่น ซึ่งแต่ละแผ่น
ส่วนที่เป็นสีม่วงมีพื้นที่ 42 × 60 = 2,520 ตารางเซนติเมตร ยาวด้านละ 0.5 เมตร ด้านที่อยู่ตรงข้ามกันห่างกัน 0.4 เมตร ช่างคิดค่าจ้างตารางเมตรละ
ดังนั้น ส่วนที่เป็นสีเขียวมีพื้นที่ 10,080 − 2,520 = 7,560 ตารางเซนติเมตร 490 บาท อารีรัตน์ต้องจ่ายค่าจ้างเท่าใด

4 ด้านหน้าของอาคารแห่งหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานมีฐานยาว 60 เมตร และสูง 15 เมตร


ด้านหน้าของอาคารนี้มีพื้นที่เท่าใด
7,560 ตร.ซม. เป็นคำาตอบที่สมเหตุสมผลหรือไม่ มีวิธีพิจารณาอย่างไร

ธงกว้างประมาณ 80 ซม. เเละยาว 120 ซม. มีพื้นที่ประมาณ 80 × 120 = 9,600 ตร.ซม.


รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนสีม่วง สูงประมาณ 40 ซม. เเละฐานยาว 60 ซม.
มีพื้นที่ประมาณ 40 × 60 = 2,400 ตร.ซม.
ดังนั้น ส่วนที่เป็นสีเขียวมีพื้นที่ประมาณ 9,600 - 2,400 = 7,200 ตร.ซม.
ซึ่งใกล้เคียง 7,560 ตร.ซม. แสดงว่า 7,560 ตร.ซม. เป็นคำาตอบที่สมเหตุสมผล
DOCKLAND เป็นอาคารสำานักงานในมืองฮัมบวร์ค สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ที่มา : https://www.haditeherani.com/de/works/dockland แบบฝึกหัด 7.11

124 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 125

106 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

เฉลยหน้า 125

1 วิธีทำ� พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน = ความสูง × ความยาวของฐาน


ด้านหน้าของแผ่นป้ายรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานมีพื้นที่ 15 × 20 = 300 ตารางเซนติเมตร
ดังนั้น ด้านหน้าของแผ่นป้ายแผ่นนี้มีพื้นที่ 300 ตารางเซนติเมตร
ตอบ ๓๐๐ ตารางเซนติเมตร

2 วิธีทำ� พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = ความสูง × ความยาวของฐาน


กระดาษรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนมีพื้นที่ 6.8 × 12.6 = 85.68 ตารางเซนติเมตร
ดังนั้น กระดาษแผ่นนี้มีพื้นที่ 85.68 ตารางเซนติเมตร
ตอบ ๘๕.๖๘ ตารางเซนติเมตร

3 วิธีทำ� พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = ความสูง × ความยาวของฐาน


แผ่นคอนกรีตรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนมีพื้นที่ 0.4 × 0.5 = 0.2 ตารางเมตร
แผ่นคอนกรีต 300 แผ่น มีพื้นที่ 300 × 0.2 = 60 ตารางเมตร
ช่างคิดค่าจ้างปูพื้นคอนกรีตทั้งหมด 60 × 490 = 29,400 บาท
ดังนั้น อารีรัตน์ต้องจ่ายค่าจ้าง 29,400 บาท
ตอบ ๒๙,๔๐๐ บาท

4 วิธีทำ� พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน = ความสูง × ความยาวของฐาน


ด้านหน้าของอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานมีพื้นที่ 15 × 60 = 900 ตารางเมตร
ดังนั้น ด้านหน้าของอาคารนี้มีพื้นที่ 900 ตารางเมตร
ตอบ ๙๐๐ ตารางเมตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 107
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

3. เพื่อตรวจสอบความเข้าใจและสรุปความรู้ที่ได้
ให้นักเรียนทำ�กิจกรรมหน้า 126 เป็นรายบุคคล
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

ตรวจสอบความเข้าใจ

แสดงวิธีคิดและหาคำาตอบ

1 น้องปรายมีลวดยาว 720 เซนติเมตร นำามาตัดแล้วดัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน


ที่มีความยาวด้านละ 15 เซนติเมตร ได้ทั้งหมดกี่ชิ้น

2 กระดาษแผ่นหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ที่มีด้านคู่ที่ขนานกันคู่หนึ่งยาวด้านละ
15 เซนติเมตร อีกคู่หนึ่งยาวด้านละ 20 เซนติเมตร โดยด้านคู่ที่ยาวกว่า อยู่ห่างกัน
12 เซนติเมตร กระดาษแผ่นนี้มีความยาวรอบรูปเท่าใด และมีพื้นที่เท่าใด

สิ่งที่ได้เรียนรู้

โจทย์ปัญหาต่อไปนี้มีวิธีหาคำาตอบเเละตรวจสอบความถูกต้องของคำาตอบอย่างไร

1 แปลงปลูกไม้ดอกเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนมีด้านแต่ละด้านยาว 25 เมตร
ถ้าวางท่อสำาหรับรดน้ำาโดยรอบ จะต้องใช้ท่อยาวอย่างน้อยเท่าใด

2 แผ่นโลหะรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานมีด้านหนึ่งยาว 24 เซนติเมตร อีกด้านหนึ่งสั้นกว่าอยู่


6 เซนติเมตร ด้านที่สั้นกว่ามีด้านตรงข้ามห่างกัน 12 เซนติเมตร ด้านหน้าของ
แผ่นโลหะนี้มีพื้นที่เท่าใด

1 หาความยาวรอบรูปของแปลงไม้ดอกรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน จาก 4 คูณกับ ความยาวของด้าน


แล้วตรวจสอบความถูกต้องโดยนำาความยาวรอบรูปหารด้วย 4 ซึ่งผลหารต้องเท่ากับความยาวของด้าน
ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

2 เขียนรูปคร่าว ๆ เพื่อช่วยในการหาความยาวของฐานและความสูงของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
แล้วจึงหาพื้นที่โดยนำาความสูง คูณกับ ความยาวของฐาน
แล้วตรวจสอบความถูกต้องโดยนำาพื้นที่ หารด้วย ความสูง ผลหารต้องเท่ากับความยาวของฐาน หรือ
พื้นที่ หารด้วย ความยาวของฐาน ผลหารต้องเท่ากับความสูง
หมายเหตุ อาจเขียนแสดงวิธีหาคำาตอบ พร้อมตรวจสอบความถูกต้องของคำาตอบ

126 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

เฉลยหน้า 126

1 วิธีทำ� ความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = 4 × ความยาวของด้าน


ลวดที่ดัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน 1 ชิ้น มีความยาว 4 × 15 = 60 เซนติเมตร
น้องปรายมีลวดยาว 720 เซนติเมตร จะดัดได้ทั้งหมด 720 ÷ 60 = 12 ชิ้น
ดังนั้น น้องปรายนําลวดมาดัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนได้ทั้งหมด 12 ชิ้น

ตอบ ๑๒ ชิ้น

2
15 ซม.

12 ซม.

20 ซม.

วิธีทำ� ความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน = 2 × ผลบวกของความยาวของด้าน 2 ด้านที่อยู่ติดกัน


กระดาษรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานมีความยาวรอบรูป 2 × (15 + 20) = 70 เซนติเมตร
พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน = ความสูง × ความยาวของฐาน
กระดาษรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานมีพื้นที่ 12 × 20 = 240 ตารางเซนติเมตร
ดังนั้น กระดาษแผ่นนี้มีความยาวรอบรูป 70 เซนติเมตร และมีพื้นที่ 240 ตารางเซนติเมตร
ตอบ ความยาวรอบรูป ๗๐ เซนติเมตร และมีพื้นที่ ๒๔๐ ตารางเซนติเมตร

108 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

4. การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่และความยาวรอบรูป
ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ครูนำ�สถานการณ์ปัญหา
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

หน้า 127-128 ให้นักเรียนร่วมกันพิจารณา โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่และความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

และเพื่อช่วยให้การทำ�ความเข้าใจปัญหา พิจารณาการวิเคราะห์โจทย์และหาคำาตอบ

และการวางแผนแก้ปัญหาได้ง่ายยิ่งขึ้น สวนหย่อมแห่งหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนมีความยาวโดยรอบ 80 เมตร


ด้านที่อยู่ตรงข้ามกันห่างกัน 10 เมตร ส่วนหย่อมแห่งนี้มีพื้นที่เท่าใด

ครูควรเน้นย้ำ�เกี่ยวกับการตีความหมายของคำ�หรือ
สิ่งที่โจทย์ถาม พื้นที่ของสวนหย่อม

ข้อความที่ใช้ในโจทย์ปัญหา และเขียนรูปคร่าว ๆ สิ่งที่โจทย์บอก สวนหย่อมเป็นรูปสีเ่ หลีย่ มขนมเปียกปูน มีความยาวโดยรอบ

ประกอบการคิด จากนั้นครูใช้การถาม-ตอบ 80 เมตร และด้านทีอ


่ ยูต
่ รงข้ามกันห่างกัน 10 เมตร

ประกอบการอธิบายตามขั้นตอนการแก้ปัญหา วิธีคิด
• ความยาวโดยรอบสวนหย่อม เป็นความยาว
รอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

10 ม.
ครูใช้การถาม-ตอบประกอบการอธิบาย • ระยะห่างของด้านที่อยู่ตรงข้ามกันเป็นความสูง

เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความยาวรอบรูป ฐาน

กับความยาวของด้านของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน สวนหย่อมรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนยาวด้านละ
พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
80 ÷ 4 = 20 เมตร
= ความสูง × ความยาวของฐาน

ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ดังนั้น สวนหย่อมมีพื้นที่ 10 × 20 = 200 ตารางเมตร

กับความสูงและความยาวของฐานเพื่อนำ�ไปใช้
ในการแก้โจทย์ปัญหา จะตรวจสอบได้อย่างไรว่า 200 ตร.ม. เป็นคำาตอบที่ถูกต้อง

ต้องหาว่า รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนมีความยาวรอบรูปเท่าใด ซึ่งหาได้จาก


4 คูณกับความยาวของด้าน โดยความยาวของด้านหาได้จาก
พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หารด้วย ความสูง จะได้ 200 ÷ 10 = 20 ม.
ดังนั้น รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนมีความยาวรอบรูป 4 × 20 = 80 ม.
พบว่าสอดคล้องกับโจทย์ แสดงว่า 200 ตร.ม. เป็นคำาตอบที่ถูกต้อง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 127

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

พิจารณาการวิเคราะห์โจทย์และหาคำาตอบ

สนามแห่งหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานมีพื้นที่ 120 ตารางเมตร ด้านที่ขนานกันกับฐาน


ยาว 12 เมตร ระยะห่างระหว่างฐานกับด้านที่ขนานกันกับฐานยาวเท่าใด

สิ่งที่โจทย์ถาม ระยะห่างระหว่างฐานกับด้านที่ขนานกันกับฐาน

สิ่งที่โจทย์บอก สนามเป็นรูปสีเ่ หลีย่ มด้านขนาน มีพน


้ื ที่ 120 ตารางเมตร
ด้านทีข
่ นานกันกับฐานยาว 12 เมตร

วิธีคิด

• ความยาวของฐานเท่ากับความยาว
พื้นที่ ของด้านที่ขนานกันกับฐาน
ส่วนสูง

120 ตร.ม.
• ระยะห่างระหว่างฐานกับด้านที่ขนานกันกับฐาน
เป็นความสูงของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
12 ม.

พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน = ความสูง × ความยาวของฐาน


ความสูง = พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ÷ ความยาวของฐาน
= 120 ÷ 12 เมตร
= 10 เมตร
ดังนั้น ระยะห่างระหว่างฐานกับด้านที่ขนานกันกับฐานยาว 10 เมตร

จะตรวจสอบได้อย่างไรว่า 10 ม. เป็นคำาตอบที่ถูกต้อง

ต้องหาว่า รูปสี่เหลี่ยมด้านขนานมีพื้นที่เท่าใด ซึ่งหาได้จาก


ความสูง คูณกับความยาวของฐาน จะได้ 10 × 12 = 120 ตร.ม.
พบว่าสอดคล้องกับโจทย์ แสดงว่า 10 ม. เป็นคำาตอบที่ถูกต้อง

128 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 109
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

5. ให้นักเรียนพิจารณาสถานการณ์ปัญหาจากตัวอย่าง
หน้า 129 และเขียนรูปคร่าว ๆ ประกอบ จากนั้น
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

ใช้การซักถามเพื่อนำ�ไปสู่การวางแผนแก้ปัญหา
กระดาษรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานแผ่นหนึ่งมีพื้นที่ 600 ตารางเซนติเมตร ด้านขนานคู่หนึ่ง
แล้วให้นักเรียนช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง หรือพิจารณา มีความยาวด้านละ 25 เซนติเมตร ด้านคู่ที่เหลือห่างกัน 20 เซนติเมตร
กระดาษแผ่นนี้มีความยาวรอบรูปเท่าใด
ความสมเหตุสมผลของคำ�ตอบ และร่วมกันทำ�กิจกรรม
หน้า 129 แล้วทำ�แบบฝึกหัด 7.12 เป็นรายบุคคล

20 ซม.
ม.
ความยาวรอบรูปของรูปสีเ่ หลีย่ มด้านขนาน หาได้จาก

. ม
25 ซ

25 ซ
2 × ผลบวกของความยาวของด้าน 2 ด้านทีอ
่ ยูต
่ ด
ิ กัน
ด้านที่เหลือ หรือ ฐาน

วิธีทำา พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน = ความสูง × ความยาวของฐาน


ความยาวของฐาน = พื้นที่ ÷ ความสูง
= 600 ÷ 20 เซนติเมตร
= 30 เซนติเมตร
เเสดงว่า ด้านที่เหลือยาวด้านละ 30 เซนติเมตร
ดังนั้น กระดาษแผ่นนี้มีความยาวรอบรูป 2 × (25 + 30) = 110 เซนติเมตร
ตอบ ๑๑๐ เซนติเมตร

เเสดงวิธีหาคำาตอบ

1 แผ่นไม้รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนมีความยาวรอบรูป 100 เซนติเมตร ด้านที่อยู่ตรงข้ามกันคู่หนึ่ง


ห่างกัน 20 เซนติเมตร ไม้แผ่นนี้มีพื้นที่เท่าใด

2 แผ่นพลาสติกรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานมีพื้นที่ 160 ตารางเซนติเมตร มีฐานยาว 20 เซนติเมตร


ระยะห่างระหว่างฐานกับด้านที่อยู่ตรงกันข้ามกับฐานยาวเท่าใด

3 สนามหญ้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนมีพื้นที่ 4,000 ตารางเมตร ด้านที่อยู่ตรงข้ามกันคู่หนึ่ง


ห่างกัน 50 เมตร มุกเดินรอบสนามหญ้านี้ 8 รอบ ได้ระยะทางเท่าใด

แบบฝึกหัด 7.12

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 129

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

เฉลยหน้า 129

1 วิธีทำ� ความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = 4 × ความยาวของด้าน


ความยาวของด้านของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = ความยาวรอบรูป ÷ 4
จะได้ว่า รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนมีความยาวด้านละ 100 ÷ 4 = 25 เซนติเมตร
เนื่องจาก รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนมีด้านทุกด้านยาวเท่ากัน
ดังนั้น ความยาวของฐานของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเท่ากับ 25 เซนติเมตร
พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = ความสูง × ความยาวของฐาน
เนื่องจากด้านที่อยู่ตรงข้ามกันคู่หนึ่งห่างกัน 20 เซนติเมตร แสดงว่าแผ่นไม้นี้มีความสูง 20 เซนติเมตร
ดังนั้น ไม้แผ่นนี้มีพื้นที่ 20 × 25 = 500 ตารางเซนติเมตร
ตอบ ๕๐๐ ตารางเซนติเมตร

2 วิธีทำ� พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน = ความสูง × ความยาวของฐาน


ความสูง = พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ÷ ความยาวของฐาน
= 160 ÷ 20 เซนติเมตร
= 8 เซนติเมตร
เนื่องจาก ระยะห่างระหว่างฐานกับด้านที่อยู่ตรงกันข้ามกับฐานเท่ากับความสูงของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
ดังนั้น ระยะห่างระหว่างฐานกับด้านที่อยู่ตรงกันข้ามกับฐานยาว 8 เซนติเมตร
ตอบ ๘ เซนติเมตร

3 วิธีทำ� เนื่องจากด้านที่อยู่ตรงข้ามกันคู่หนึ่งห่างกัน 50 เมตร แสดงว่าสนามหญ้านี้มีความสูง 50 เมตร


พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = ความสูง × ความยาวของฐาน
ความยาวของฐาน = พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมด้านขนาน ÷ ความสูง
= 4,000 ÷ 50 เมตร
= 80 เมตร
แสดงว่า สนามหญ้ารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนยาวด้านละ 80 เมตร
จาก ความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = 4 × ความยาวของด้าน
จะได้ว่า สนามหญ้ารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนมีความยาวรอบรูป 4 × 80 = 320 เมตร
ดังนั้น มุกเดินรอบสนามหญ้านี้ 8 รอบ ได้ระยะทาง 8 × 320 = 2,560 เมตร
ตอบ ๒,๕๖๐ เมตร

110 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

6. เพื่อตรวจสอบความเข้าใจและสรุปความรู้ที่ได้
ให้นักเรียนทำ�กิจกรรมหน้า 130 เป็นรายบุคคล
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

ตรวจสอบความเข้าใจ
หมายเหตุ หน้า 30 ตรวจสอบความเข้าใจ ข้อ 3
โจทย์ที่ถูกต้องคือ ที่ดินแปลงหนึ่งรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
แสดงวิธีคิดและหาคำาตอบ

มีความยาวโดยรอบ 120 วา ด้านที่อยู่ตรงข้ามกัน


1 บัญชานำาลวดมาดัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีความยาวรอบรูป 200 เซนติเมตร
และมีด้านด้านหนึ่งยาว 60 เซนติเมตร ด้านที่อยู่ติดกันกับด้านนี้ยาวเท่าใด

ห่างกัน 22 วา ที่ดินแปลงนี้มีพื้นที่เท่าใด 2 กระเบื้องปูพื้นแผ่นหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนมีพื้นที่ 800 ตารางเซนติเมตร


ด้านที่อยู่ตรงข้ามกันห่างกัน 20 เซนติเมตร กระเบื้องแผ่นนี้มีความยาวรอบรูปเท่าใด

3 ที่ดินแปลงหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนมีความยาวโดยรอบ 120 วา
ด้านที่อยู่ตรงข้ามกันห่างกัน 22 วา ที่ดินแปลงนี้มีพื้นที่เท่าใด

สิ่งที่ได้เรียนรู้

บอกลำาดับขั้นการหาคำาตอบของโจทย์ปัญหาต่อไปนี้

1 ล้อมรั้วตาข่ายรอบสนามรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนใช้ตาข่ายไป 240 เมตร


ถ้าสนามมีพื้นที่ 1,800 ตารางเมตร ด้านที่อยู่ตรงข้ามกันของสนามห่างกันเท่าใด

2 รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ABDC มีฐานยาว 30 เซนติเมตร สูง 20 เซนติเมตร


และรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน PQRS มีความยาวของฐานและความสูงเป็น 2 เท่า
ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ABDC รูปสี่เหลี่ยมทั้งสองรูปมีพื้นที่ต่างกันเท่าใด

130 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

เฉลยหน้า 130 เฉลยหน้า 130

ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้

1 วิธีทำ� ความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน = 2 × ผลบวกของความยาวของด้าน 2 ด้านที่อยู่ติดกัน 1 ขั้นที่ 1 เขียนรูปคร่าว ๆ เพื่อช่วยในการหาความยาวของด้านแต่ละด้านและความสูง


ผลบวกของความยาวของด้าน 2 ด้านที่อยู่ติดกันของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน = ความยาวรอบรูป ÷ 2 ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
= 200 ÷ 2 เซนติเมตร ขั้นที่ 2 หาความยาวของด้านแต่ละด้านของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน โดยนําความยาวรอบรูปหารด้วย 4
= 100 เซนติเมตร ขั้นที่ 3 หาความสูงของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน โดยนําพื้นที่ หารด้วย ความยาวของด้าน
เนื่องจากรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานมีด้านด้านหนึ่งยาว 60 เซนติเมตร ขั้นที่ 4 ตรวจสอบความถูกต้อง โดยหาความยาวของฐานของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งคิดจาก
ดังนั้น ด้านที่อยู่ติดกันกับด้านนี้ยาว 100 − 60 = 40 เซนติเมตร พื้นที่ หารด้วย ความสูง จากนั้น นํา 4 คูณกับความยาวของฐาน ซึ่งผลคูณต้องเท่ากับ
ตอบ ๔๐ เซนติเมตร ความยาวรอบรูป

2 วิธีทำ� ด้านที่อยู่ตรงข้ามกันห่างกัน 20 เซนติเมตร เป็นความสูงของกระเบื้องรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน 2 ขั้นที่ 1 เขียนรูปคร่าว ๆ ของรูปสี่เหลี่ยมทั้งสองรูป

พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = ความสูง × ความยาวของฐาน ขั้นที่ 2 หาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมทั้งสองรูป โดยนําความยาวของฐาน คูณกับ ความสูง


ขั้นที่ 3 หาผลต่างของพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมทั้งสองรูป
ความยาวของฐาน = พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ÷ ความสูง
ขั้นที่ 4 ตรวจสอบความถูกต้อง โดยหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ABCD แล้วรวมกับ
= 800 ÷ 20 เซนติเมตร
= 40 เซนติเมตร พื้นที่ส่วนที่ต่างกัน ผลรวมที่ได้ต้องเท่ากับพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน PQRS

แสดงว่า กระเบื้องรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ยาวด้านละ 40 เซนติเมตร หม�ยเหตุ อาจเขียนแสดงวิธีหาคําตอบ พร้อมตรวจสอบความถูกต้องของคําตอบ

ความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = 4 × ความยาวของด้าน
ดังนั้น กระเบื้องรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนมีความยาวรอบรูป 4 × 40 = 160 เซนติเมตร
ตอบ ๑๖๐ เซนติเมตร

3 วิธีทำ� ความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = 4 × ความยาวของด้าน


ความยาวของด้านของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = ความยาวรอบรูป ÷ 4
ความยาวของด้านของที่ดิน = 120 ÷ 4 วา
= 30 วา
จะได้ว่า ที่ดินรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนยาวด้านละ 30 วา
และด้านที่อยู่ตรงข้ามกันห่างกัน 22 วา แสดงว่าที่ดินรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
มีฐานยาว 30 วา และมีความสูง 22 วา
พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = ความสูง × ความยาวของฐาน
ดังนั้น ที่ดินแปลงนี้มีพื้นที่ 22 × 30 = 660 ตารางวา
ตอบ ๖๖๐ ตารางวา

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 111
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

ร่วมคิดร่วมทำ�

ร่วมคิดร่วมทำ�เป็นกิจกรรมกลุ่มที่มุ่งให้นักเรียน
นำ�ความรู้เกี่ยวกับความยาวรอบรูปและพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

ด้านขนานและรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน และเรื่องอื่น ๆ ร่วมคิดร่วมทำา

ที่เรียนมาแล้ว ไปใช้ในการแก้ปัญหาผ่านกิจกรรม สร้างรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีความยาวของฐานและความสูงเป็นจำานวนนับ


และมีพื้นที่ 12 ตารางเซนติเมตร ให้ได้จำานวนแบบมากที่สุด
โดยครูอาจแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน 1 ซม.

1 ซม.
ช่วยกันปฏิบัติกิจกรรมแล้วนำ�เสนอผลงาน
ครูและเพื่อนในชั้นร่วมกันอภิปราย แสดงความคิดเห็น
ในประเด็นต่าง ๆ เช่น
- รูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีความยาวของฐาน
และความสูงเป็นจำ�นวนนับ และมีพื้นที่
12 ตารางเซนติเมตร มีกี่แบบ อะไรบ้าง
- รูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีพื้นที่ 12 ตารางเซนติเมตร
ความยาวรอบรูปจะเท่ากันหรือไม่
- รูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีความยาวรอบรูปเท่ากัน
จะมีพื้นที่เท่ากันหรือไม่
- สามารถสร้างรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
ที่มีพื้นที่ 12 ตารางเซนติเมตร ได้หรือไม่อย่างไร
อยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 131

112 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

ตัวอย่างข้อสอบ บทที่ 7 รูปสี่เหลี่ยม

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 1 นักเรียนสามารถบอกชนิดและสมบัติของรูปสี่เหลี่ยม

1. ตอบคำ�ถาม
^ ^ ^ ^
1) ถ้า FGCL มี F = C และ G = L ด้านตรงข้ามยาวเท่ากัน แต่ด้านที่อยู่ติดกันยาวไม่เท่ากัน
FGCL เป็นรูปสี่เหลี่ยมชนิดใดได้บ้าง

2) ถ้า MDBK มี MD // BK และมุมที่อยู่ตรงข้ามกันมีขนาดไม่เท่ากัน


MDBK เป็นรูปสี่เหลี่ยมชนิดใดได้บ้าง

3) ถ้า PUNS เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน มุมคู่ใดบ้างที่มีขนาดเท่ากัน

4) กำ�หนด พทอน เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่มีเส้นทแยงมุมตัดกันที่จุด ก


^
มุมใดบ้างที่มีขนาดเท่ากับ พกท
^ ^
5) ถ้า QPST เป็นรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าวที่มี T = P ด้านคู่ใดบ้างที่มีความยาวเท่ากัน

2. ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด ถ้าผิด ผิดเพราะเหตุใด ให้เขียนรูปคร่าว ๆ ประกอบการอธิบาย

1) รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก เป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเส้นทแยงมุมตัดกันเป็นมุมฉาก

2) รูปสี่เหลี่ยมที่มีด้านตรงข้ามขนานกัน 2 คู่ เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

3) รูปสี่เหลี่ยมทุกรูปที่ด้านทุกด้านยาวเท่ากัน เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส

4) รูปสี่เหลี่ยมทุกรูปที่มีมุมที่อยู่ตรงข้ามกันมีขนาดเท่ากัน 1 คู่ เป็นรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว

5) รูปสี่เหลี่ยมที่มีเส้นทแยงมุมแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 113
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 2 นักเรียนสามารถสร้างรูปสี่เหลี่ยมตามข้อกำ�หนด

1. สร้างรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีความยาวของแต่ละด้านเป็นจำ�นวนนับ และผลรวมของความยาวของด้าน
2 ด้านที่อยู่ติดกันเป็น 10 เซนติเมตร มุมมุมหนึ่งมีขนาด 125 ํ พร้อมกำ�หนดชื่อและเขียนความยาว
ของด้านกำ�กับ

2. สร้างรูปสี่เหลี่ยมคางหมูให้ด้านตรงข้ามที่ไม่ขนานกันมีความยาวเท่ากัน และมุมมุมหนึ่งมีขนาด 70 ํ
พร้อมกำ�หนดชื่อและเขียนความยาวของด้านกำ�กับ

3. สร้างรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว ABCD ที่เส้นทแยงมุมมีความยาวเป็นจำ�นวนนับ และมีความยาวต่างกัน


2 เซนติเมตร

4. สร้างรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน DTPM ที่มีเส้นทแยงมุมตัดกันที่จุด O และ m(TO) = 3 เซนติเมตร


m(OP) = 4 เซนติเมตร

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 3 นักเรียนสามารถหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานและรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

แสดงวิธีหาคำ�ตอบ

1. 2.
3.5 ม.
ม.
2.5 ซม.

2.8 ม.

.
4

ซม
3.0

1.18 ม.

114 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 4 นักเรียนสามารถแสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยม

แสดงวิธีหาคำ�ตอบ

1. รามต้องการนำ�ลวดมาดัดให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่มีความยาวด้านละ 10 เซนติเมตร
จำ�นวน 5 ชิ้น เขาจะต้องเตรียมลวดยาวอย่างน้อยเท่าใด

2. สมพรต้องการทำ�โครงว่าวด้วยไม้ไผ่ที่มีลักษณะดังรูป เขาจะต้องเตรียมไม้ไผ่ยาวอย่างน้อยเท่าใด

. 65
ซม.
ซม
39
50 ซม.

90 ซม.

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 5 นักเรียนสามารถแสดงวิธีหาคำ�ตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
และรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

แสดงวิธีหาคำ�ตอบ

1. แผ่นกระเบื้องปูพื้นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนยาวด้านละ 0.3 เมตร ด้านตรงข้ามห่างกัน


0.25 เมตร จำ�นวน 200 แผ่น จะใช้ปูพื้นที่ได้มากที่สุดกี่ตารางเมตร

2. แผ่นป้ายเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานมีฐานยาว 50 เซนติเมตร ฐานกับด้านตรงข้ามกับฐานห่างกัน 20 เซนติเมตร


ถ้าต้อมทาสีทั้งสองด้านคิดเป็นพื้นที่กี่ตารางเซนติเมตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 115
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 6 นักเรียนสามารถแก้โจทย์ปญั หาเกีย่ วกับพืน


้ ทีแ่ ละความยาวรอบรูปของรูปสีเ่ หลีย่ มด้านขนาน
และรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

แสดงวิธีหาคำ�ตอบ

1. พีระใช้เชือกทั้งหมด 30 เมตร ขึงล้อมรอบบริเวณเพื่อทำ�สวนหย่อมรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน


โดยให้ด้านที่อยู่ตรงข้ามกันคู่หนึ่งยาว 6 เมตร และด้านอีกคู่หนึ่งห่างกัน 5 เมตร สวนหย่อมนี้มีพื้นที่เท่าใด

2. กระดาษรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนแผ่นหนึ่งมีพื้นที่ด้านหน้า 300 ตารางเซนติเมตร


ถ้าด้านที่อยู่ตรงข้ามกันห่างกัน 15 เซนติเมตร กระดาษแผ่นนี้มีความยาวรอบรูปเท่าใด

116 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

เฉลยตัวอย่างข้อสอบ บทที่ 7 รูปสี่เหลี่ยม

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 1

1. 1) รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

2) รูปสี่เหลี่ยมคางหมู

^ ^ ^ ^
3) P = N และ U = S

^ ^ ^
4) ทกอ นกอ และ พกน

5) m(QT) = m(QP) และ m(TS) = m(PS)

2. 1) ผิด เพราะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก มีเส้นทแยงมุมตัดกันไม่เป็นมุมฉาก เช่น


ก ข

ง ค

2) ถูก

3) ผิด เพราะรูปสี่เหลี่ยมที่มีด้านทุกด้านยาวเท่ากันบางรูป อาจเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เช่น


A D

B C

4) ผิด เพราะมีรูปสี่เหลี่ยมบางรูปที่มีมุมที่อยู่ตรงข้ามกันมีขนาดเท่ากัน 1 คู่ แต่ไม่เป็นรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว


เช่น
F

K M

5) ถูก

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 117
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 2

1. ตัวอย่าง
A D

ม.
4ซ

125 ํ
K 6 ซม. E

2. ตัวอย่าง
M 4.6 ซม. X
ซม.
3.5

70 ํ
J 7 ซม. Y

3. ตัวอย่าง
B
2 ซม.

O
A C
6 ซม.

4.
T
3 ซม.

D P
O 4 ซม.

118 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 3

1. 10 ตารางเซนติเมตร

2. 9.8 ตารางเมตร

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 4

1. 200 เซนติเมตร

2. 348 เซนติเมตร

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 5

1. 15 ตารางเมตร

2. 2,000 ตารางเซนติเมตร

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 6

1. 45 ตารางเมตร

2. 80 เซนติเมตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 119
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

บทที่ มุม
8 ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

จุดประสงค์การเรียนรู้ และสาระสำ�คัญ

จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระสำ�คัญ
นักเรียนสามารถ

1. บอกลักษณะและส่วนต่าง ๆ ของปริซึม ••ปริซึมเป็นรูปเรขาคณิตสามมิติ ทรงตัน มีหน้าตัดหรือฐาน 2 หน้า


อยู่บนระนาบที่ขนานกัน และหน้าตัดหรือฐานเป็นรูปหลายเหลี่ยม
ที่เท่ากันทุกประการ หน้าข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
••ชนิดของปริซึม จำ�แนกตามรูปหลายเหลี่ยมที่เป็นหน้าตัดหรือฐาน
••ปริซึมสี่เหลี่ยม ที่มีหน้าทุกหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก เรียกว่า
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
••ปริซมึ สีเ่ หลีย่ มหรือทรงสีเ่ หลีย่ มมุมฉาก ทีม่ หี น้าทุกหน้าเป็นรูปสีเ่ หลีย่ มจัตรุ สั
เรียกว่า ลูกบาศก์

2. หาปริมาตรและความจุ ••ลูกบาศก์ที่เป็นทรงตัน ที่มีความกว้าง ความยาว และความสูง


ของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ด้านละ 1 หน่วย มีปริมาตร 1 ลูกบาศก์หน่วย
••ลูกบาศก์ที่เป็นทรงตัน ที่มีความกว้าง ความยาว และความสูง
ด้านละ 1 เซนติเมตร มีปริมาตร 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร
••ลูกบาศก์ที่เป็นทรงตัน ที่มีความกว้าง ความยาว และความสูง
ด้านละ 1 เมตร มีปริมาตร 1 ลูกบาศก์เมตร
••ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง
หรือ ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = พื้นที่ฐาน × ความสูง
••การหาความจุของภาชนะทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากเป็นการหาปริมาตรภายใน
ของภาชนะนั้น

3. บอกความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยปริมาตร 1 ลิตร เท่ากับ 1,000 มิลลิลิตร


หรือหน่วยความจุ 1 ลิตร เท่ากับ 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
1 ลูกบาศก์เซนติเมตร เท่ากับ 1 มิลลิลิตร
1 ลูกบาศก์เมตร เท่ากับ 1,000 ลิตร

4. แก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับปริมาตร การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากและความจุของ
ของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากและความจุ ภาชนะทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก เริ่มจาก ทำ�ความเข้าใจปัญหา วางแผนแก้ปัญหา
ของภาชนะทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ดำ�เนินการตามแผน และตรวจสอบ

120 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

ตารางวิเคราะห์เนื้อหากับทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรม

เวลา ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
หัวข้อ เนื้อหา
(ชั่วโมง) j k l m n
เตรียมความพร้อม 1 - - - - -

8.1 ปริซึม 2 -  -  -
••รูปเรขาคณิตสองมิติ และรูปเรขาคณิตสามมิติ
••ลักษณะและส่วนต่าง ๆ ของปริซึม
••ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
8.2 ปริมาตรและความจุ 4 -  -  -
••หน่วยของปริมาตรและการหาปริมาตร
••ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
••ความจุของภาชนะทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

8.3 ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยปริมาตร หรือ


2 -  -  -
หน่วยความจุ
8.4 โจทย์ปัญหา 7   -  -

ร่วมคิดร่วมทำ� 1   -  -

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

j การแก้ปัญหา k การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
l การเชื่อมโยง m การให้เหตุผล n การคิดสร้างสรรค์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 121
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

คำ�ใหม่
รูปหลายเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ ทรงตัน พีระมิด ปริซึม ปริซึมสามเหลี่ยม ปริซึมสี่เหลี่ยม ลูกบาศก์
หน้าข้าง หน้าตัดหรือฐาน

ความรู้หรือทักษะพื้นฐาน
1. รูปเรขาคณิตสองมิติ และรูปเรขาคณิตสามมิติ
2. การคูณ การหาร และความสัมพันธ์ระหว่างการคูณกับการหาร

สื่อการเรียนรู้
1. แบบจำ�ลองรูปเรขาคณิตสามมิติชนิดต่าง ๆ
2. หลอดดูด
3. ลวดกำ�มะหยี่
4. กระดาษจุดไอโซเมตริก
5. กระดาษจุด
6. ลูกบาศก์หน่วย
7. ลูกบาศก์เซนติเมตร
8. ลูกบาศก์เมตร
9. ยางลบ
10. เชือก
11. ตลับเมตร หรือ ไม้เมตร
12. ดินน้ำ�มัน

แหล่งเรียนรู้
1. หนังสือเรียนหน้า 132–173
2. แบบฝึกหัดหน้า 96–119

เวลาที่ใช้จัดการเรียนรู้
17 ชั่วโมง

122 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

แนวการจัดการเรียนรู้
การเตรียมความพร้อม

บทที่
8 ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

เรียนจบบทนี้แล้ว นักเรียนสามารถ ตู้ปลาของต้นกล้าและขุนเป็นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

บอกลักษณะและส่วนต่าง ๆ ของปริซึม ตู้ปลาของใครมีน้ำามากกว่ากัน

หาปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
บอกความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยปริมาตรหรือหน่วยความจุ
แก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
และความจุของภาชนะทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
35 ซม.
15 ซม.

25 ซม.
5 ซม.

.
ซม
.
ซม

25
30

50 ซม. 60 ซม.

1. ครูใช้สถานการณ์หน้าเปิดบทนำ�สนทนาเกี่ยวกับลักษณะและขนาดของตู้ปลาของต้นกล้าและขุน ว่ามีลักษณะ
และขนาดเป็นอย่างไร ถามนักเรียนเกี่ยวกับปริมาตรน้ำ�ในตู้ปลาของต้นกล้าและขุน ว่าตู้ปลาของใครมีน้ำ�มากกว่ากัน
กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสงสัยในการหาคำ�ตอบ และให้นักเรียนค้นหาคำ�ตอบด้วยตนเองหลังจากเรียนเรื่องปริมาตร
และความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากแล้ว

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 123
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

2. เตรียมความพร้อมเป็นการตรวจสอบความรูพ ้ น
้ื ฐาน
ทีจ่ �ำ เป็นสำ�หรับการเรียนบทนี้ ได้แก่ ชนิดของรูปเรขาคณิต-
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

สองมิติ และการหาพืน ้ ทีข่ องรูปสีเ่ หลีย่ มมุมฉาก ถ้าพบว่า เตรียมความพร้อม

นักเรียนยังมีความรูพ ้ น้ื ฐานไม่เพียงพอ ควรทบทวนก่อน


1 บอกชนิดของรูปเรขาคณิตสองมิติ พร้อมระบุเหตุผล

แล้วให้ท�ำ แบบฝึกหัด 8.1 เป็นรายบุคคล 1) 2) 3)

4) 5) 6)

7) 8) 9)

2 แสดงวิธีหาพื้นที่
ย 12 ม.
20 หน่ว
1) 2) 3)

14 หน่ว
7 ม.

3.8 ม.
4) 5) .
6)
8.5 ซม 6 ซม.

14.6 ซ
13 ม.

10 ซม.
2.7 ม.

ม.

5 ซม.
12 ซม.

แบบฝึกหัด 8.1

134 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

เฉลยหน้า 134 เฉลยหน้า 134

1 6) แบ่งรูปหลายเหล่ียมเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก 2 รูป
6 ซม.
1) รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพราะมีมุมทุกมุมเป็นมุมฉาก ด้านตรงข้ามขนานกัน 2 คู่ และด้านตรงข้าม ดังนี้
ยาวเท่ากัน แต่ด้านที่อยู่ติดกันยาวไม่เท่ากัน
6 ซม. รูป 1 เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 6 เซนติเมตร
10 ซม.

2) รูปสี่เหลี่ยมคางหมู เพราะมีด้านตรงข้ามขนานกัน 1 คู่ 1


ยาว 10 เซนติเมตร
5 ซม.

2
3) รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เพราะมีมุมทุกมุมเป็นมุมฉาก ด้านตรงข้ามขนานกัน 2 คู่
และด้านทุกด้านยาวเท่ากัน รูป 2 เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 5 เซนติเมตร
12 ซม.
4) รูปสามเหลี่ยม เพราะมีด้าน 3 ด้าน และมีมุม 3 มุม ยาว 12 − 6 = 6 เซนติเมตร

5) วงกลม เพราะมีขอบเป็นเส้นโค้ง ไม่มีด้าน ไม่มีมุม พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า = ความกว้าง × ความยาว

6) รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน เพราะมีด้านตรงข้ามขนานกัน 2 คู่ และยาวเท่ากัน รูป 1 มีพื้นที่ 6 × 10 = 60 ตารางเซนติเมตร


มุมที่อยู่ตรงข้ามกันมีขนาดเท่ากัน รูป 2 มีพื้นที่ 5 × 6 = 30 ตารางเซนติเมตร
7) รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เพราะมีด้านตรงข้ามขนานกัน 2 คู่ ด้านทุกด้านยาวเท่ากัน ดังนั้น รูปหลายเหลี่ยมนี้มีพื้นที่ 60 + 30 = 90 ตารางเซนติเมตร
และมุมทุกมุมไม่เป็นมุมฉาก มุมที่อยู่ตรงข้ามกันมีขนาดเท่ากัน
8) รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว เพราะมีด้านที่อยู่ติดกันยาวเท่ากัน 2 คู่ และมุมที่อยู่ตรงข้ามกันมีขนาด
เท่ากัน 1 คู่
9) รูปหกเหลี่ยม เพราะมีด้าน 6 ด้าน และมีมุม 6 มุม

2
1) พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า = ความกว้าง × ความยาว
ดังนั้น รูปสี่เหลี่ยมนี้มีพื้นที่ 14 × 20 = 280 ตารางหน่วย
2) พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส = ความยาวด้าน × ความยาวด้าน
ดังนั้น รูปสี่เหลี่ยมนี้มีพื้นที่ 12 × 12 = 144 ตารางเมตร
3) พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า = ความกว้าง × ความยาว
ดังนั้น รูปสี่เหลี่ยมนี้มีพื้นที่ 3.8 × 7 = 26.6 ตารางเมตร
4) พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า = ความกว้าง × ความยาว
ดังนั้น รูปสี่เหลี่ยมนี้มีพื้นที่ 2.7 × 13 = 35.1 ตารางเมตร
5) พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า = ความกว้าง × ความยาว
ดังนั้น รูปสี่เหลี่ยมนี้มีพื้นที่ 8.5 × 14.6 = 124.1 ตารางเซนติเมตร

124 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

8.1 ปริซึม

จุดประสงค์การเรียนรู้ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

นักเรียนสามารถบอกลักษณะและส่วนต่าง ๆ 8.1 ปริซึม

ของปริซึม รูปเรขาคณิตสองมิติ และรูปเรขาคณิตสามมิติ

รูปเรขาคณิตสองมิติ รูปเรขาคณิตสามมิติ

สื่อการเรียนรู้
1. แบบจำ�ลองรูปเรขาคณิตสามมิติชนิดต่าง ๆ

2. หลอดดูด

3. ลวดกำ�มะหยี่

4. กระดาษจุดไอโซเมตริก

5. กระดาษจุด รูปเรขาคณิตสองมิติ รูปเรขาคณิตสามมิติ


2 รูปนี้ต่างกันอย่างไร

ด้านกว้าง

ส่วนสูง
แนวการจัดการเรียนรู้


ด้านยาว

ว้า
นก
ด้านยาว

ด้า
1. ครูนำ�ภาพของรูปเรขาคณิตสองมิติและรูปเรขาคณิตสามมิติ
ให้นักเรียนพิจารณาและร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ ในบางกรณี ส่วนสูง หรือ ความสูง อาจเรียกว่า ความลึก หรือ ความหนา
เช่น กระจกมีความหนา 5 มิลลิเมตร สระว่ายน้ำาลึก 1.8 เมตร
ความแตกต่างระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติกับรูปเรขาคณิต-
สามมิติ ครูแนะนำ�ว่า ความสูงของรูปเรขาคณิตสามมิติ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 135
ในบางกรณีอาจเรียกว่า ความลึก หรือ ความหนา เช่น
กระจกหนา 5 มิลลิเมตร บ่อน้ำ�บาดาลลึก 12 เมตร หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

จากนั้นร่วมกันทำ�กิจกรรมหน้า 136 และให้ทำ�แบบฝึกหัด 8.2


รูปใดเป็นรูปเรขาคณิตสองมิติ และรูปใดเป็นรูปเรขาคณิตสามมิติ
เป็นรายบุคคล 1 2

3 4

5 6

7 8

9 10

รูปเรขาคณิตสองมิติ ได้เเก่รูปในข้อ เเละ


1 4 7 10
แบบฝึกหัด 8.2
รูปเรขาคณิตสามมิติ ได้เเก่รูปในข้อ เเละ
2 3 5 6 8 9
136 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 125
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

2. ในการอธิบายเกี่ยวกับรูปเรขาคณิตสามมิติแต่ละชนิด
ครูควรใช้แบบจำ�ลองของรูปเรขาคณิตสามมิติประกอบการ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

อธิบาย และควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้สัมผัสกับแบบจำ�ลอง
รูปเรขาคณิตสามมิติ
เหล่านั้น ครูแนะนำ�รูปเรขาคณิตสามมิติที่เป็นทรงตัน พร้อม
ยกตัวอย่างสิ่งที่อยู่รอบตัวที่มีลักษณะเป็นทรงตัน เช่น ยางลบ
ทรงกลม
ลูกเหล็ก ชอล์ค จากนั้นครูควรใช้คำ�ถามเพื่อให้นักเรียนบอก
ลักษณะสำ�คัญของรูปเรขาคณิตสามมิติแต่ละชนิด

ทรงกระบอก

ปริซึม

กรวย

พีระมิด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 137

3. ครูนำ�แบบจำ�ลองของปริซึมหรือสิ่งที่มีลักษณะคล้าย
ปริซึมชนิดต่าง ๆ เช่น กล่องบรรจุภัณฑ์ ให้นักเรียนสังเกต หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

ลักษณะที่เหมือนกันและต่างกัน เพื่อสร้างความคิดรวบยอด ลักษณะและส่วนต่าง ๆ ของปริซึม

เกี่ยวกับลักษณะของปริซึม ซึ่งควรจะได้ว่า ปริซึมจะมี


ปริซึม สิ่งที่มีลักษณะคล้ายปริซึม
รูปเรขาคณิตสองมิติ 2 รูป อยู่ตรงข้ามกัน มีรูปร่าง
เหมือนกันและขนาดเท่ากัน มีด้านข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม
ด้านขนาน

ครูอาจให้นักเรียนทำ�กิจกรรมสร้างโครงสร้างของ
ปริซึมชนิดต่าง ๆ โดยใช้หลอดดูดและลวดกำ�มะหยี่
เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจลักษณะของปริซึมมากขึ้น
CAKE

ปริซึมต่อไปนี้ มีลักษณะเหมือนกันและต่างกันอย่างไร

138 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

126 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

4. ครูแนะนำ�ลักษณะของปริซึมสามเหลี่ยมและ
ปรึซึมสี่เหลี่ยม หน้า 139 พร้อมใช้แบบจำ�ลองประกอบ
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

การอธิบาย แล้วร่วมกันสรุปให้ได้ว่า พิจารณาลักษณะและส่วนต่าง ๆ ของปริซึม

ปริซึมสามเหลี่ยม หน้าข้าง
••ปริซึมที่มีหน้าตัดหรือฐานเป็นรูปสามเหลี่ยม
และมีหน้าข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน หน้าตัด หรือ ฐาน

เรียกว่า ปริซึมสามเหลี่ยม
ปริซึมที่มีหน้าตัดหรือฐานเป็นรูปสามเหลี่ยม และมีหน้าข้าง
เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน เรียกว่า ปริซึมสามเหลี่ยม
••ปริซึมที่มีหน้าตัดหรือฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม
ปริซม
ึ สี่เหลี่ยม หน้าข้าง
และมีหน้าข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
เรียกว่า ปริซึมสี่เหลี่ยม หน้าตัด หรือ ฐาน

••ปริซึมเป็นรูปเรขาคณิตสามมิติ ทรงตัน มีหน้าตัดหรือฐาน ปริซึมที่มีหน้าตัดหรือฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม และมีหน้าข้าง

2 หน้า อยู่บนระนาบที่ขนานกัน และหน้าตัดหรือฐาน เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน เรียกว่า ปริซึมสี่เหลี่ยม

เป็นรูปหลายเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ หน้าข้าง ปริซึมเป็นรูปเรขาคณิตสามมิติ ทรงตัน มีหน้าตัดหรือฐาน 2 หน้า อยู่บนระนาบที่ขนานกัน


และหน้าตัดหรือฐานเป็นรูปหลายเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ หน้าข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ชนิดของปริซึม จำาแนกตามรูปหลายเหลี่ยมที่เป็นหน้าตัดหรือฐาน

••ชนิดของปริซึม จำ�แนกตามรูปหลายเหลี่ยม
ที่เป็นหน้าตัดหรือฐาน 2 รูปนี้เป็นปริซึมชนิดใด เพราะเหตุใด

จากนั้นให้ร่วมกันตอบคำ�ถามหน้า 139 แล้วร่วมกันทำ�


จำานวนหน้าข้างของปริซึมกับจำานวนด้านของหน้าตัดหรือฐาน
กิจกรรมหน้า 140 และให้ทำ�แบบฝึกหัด 8.3 เป็นรายบุคคล มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 139

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

รูปเรขาคณิตสามมิติต่อไปนี้เป็นปริซึมหรือไม่ ถ้าเป็น ให้ระบุชนิดของปริซึม


ถ้าไม่เป็น ให้ระบุเหตุผล

1 2

ไม่เป็นปริซึม เพราะหน้าตัดหรือฐานไม่เป็น
รูปหลายเหลี่ยม เเละหน้าข้างไม่เป็น
รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน เป็นปริซึมสามเหลี่ยม

3 4

ไม่เป็นปริซึม เพราะมีหน้าตัดหรือฐาน 1 หน้า เป็นปริซึมสี่เหลี่ยม


เเละหน้าข้างไม่เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

5 6

ไม่เป็นปริซึม เพราะมีหน้าตัดหรือฐาน 1 หน้า เป็นปริซึมสี่เหลี่ยม


เเละหน้าข้างไม่เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

7 8

ไม่เป็นปริซึม เพราะหน้าข้างไม่เป็น ไม่เป็นปริซึม เพราะหน้าตัดไม่เท่ากันทุกประการ


รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน และหน้าข้างไม่เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

9 10
เป็นปริซึมหกเหลี่ยม

เป็นปริซึมสามเหลี่ยม

แบบฝึกหัด 8.3

140 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 127
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

5. ในการสอนทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ครูอาจจัดกิจกรรม
โดยให้นักเรียนพิจารณาหน้า 141 แล้วใช้แบบจำ�ลอง
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากร่วมกับการถาม-ตอบประกอบการ ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

อธิบายหน้าตัดหรือฐาน และหน้าข้างของปริซึมสี่เหลี่ยม พิจารณาปริซึมสี่เหลี่ยม


หน้าข้าง
จากนั้นอธิบายเชื่อมโยงไปสู่ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากและ
หน้าตัด หรือ ฐาน
ลูกบาศก์ซึ่งจะได้ว่า
••ปริซึมสี่เหลี่ยม ที่มีหน้าทุกหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก
มีหน้าตัดกี่หน้า หน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมชนิดใด
อาจเรียกว่า ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
2 หน้า เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก
••ปริซึมสี่เหลี่ยมหรือทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ที่มีหน้าทุกหน้า
เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เรียกว่า ลูกบาศก์ มีหน้าข้างกี่หน้า หน้าข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมชนิดใด

4 หน้า เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก

มีหน้าทั้งหมดกี่หน้า แต่ละหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมชนิดใด

6 หน้า แต่ละหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก

ปริซึมสี่เหลี่ยม ที่มีหน้าทุกหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก
อาจเรียกว่า ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

ปริซึมสี่เหลี่ยมหรือทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ที่มีหน้าทุกหน้า
เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เรียกว่า ลูกบาศก์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 141

128 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

6. การเขียนรูปของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากบนกระดาษจุด
ไอโซเมตริก หน้า 142-143 ครูควรเตรียมกระดาษจุด
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

ไอโซเมตริกให้เพียงพอกับจำ�นวนนักเรียน โดยสามารถ การเขียนรูปของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

ดาวน์โหลดได้จาก QR code หน้า 143 ให้นักเรียนสังเกต การเขียนส่วนของเส้นตรงให้มีความยาว 1 หน่วย บนกระดาษจุดไอโซเมตริก

ลักษณะการเรียงจุดบนกระดาษ แล้วทดลองเขียน
เขียนได้ 3 ทิศทางตามแนวจุด ดังนี้

ส่วนของเส้นตรงเชื่อมจุด 2 จุด ที่อยู่ใกล้กัน 3 ทิศทาง


ดังภาพแรกหน้า 142 แล้วตรวจสอบความยาว
1ห ย 1 หน่วย
น่ว น่ว
ย 1ห

ของส่วนของเส้นตรงแต่ละเส้น ซึ่งจะพบว่ามีความยาวเท่ากัน
และให้พิจารณาการเขียนส่วนของเส้นตรงให้มีความยาว การเขียนส่วนของเส้นตรงให้มีความยาว 3 หน่วย บนกระดาษจุดไอโซเมตริก
เขียนได้ 3 ทิศทางตามแนวจุด ดังนี้
3 หน่วย และ 5 หน่วย จากภาพถัดมาในหน้า 142
ครูควรให้นักเรียนเขียนส่วนของเส้นตรงที่มีความยาวอื่น ๆ
3 หน่วย
เพิ่มเติมบนกระดาษจุดไอโซเมตริก เช่น 4 หน่วย 6 หน่วย
3ห ย
น่วย น่ว
3ห

7 หน่วย 8 หน่วย แล้วร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง


การเขียนส่วนของเส้นตรงให้มีความยาว 5 หน่วย บนกระดาษจุดไอโซเมตริก
ครูสาธิตประกอบการอธิบายการเขียนรูป เขียนได้ 3 ทิศทางตามแนวจุด ดังนี้

ของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากบนกระดาษจุดไอโซเมตริกหน้า 143
และให้นักเรียนปฏิบัติตามทีละขั้น พร้อมแนะนำ� ความกว้าง 5ห ย
5 หน่วย
น่วย น่ว
5ห
ความยาว และความสูงของรูป ครูควรให้นักเรียนเขียนรูป
ของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากอื่นเพิ่มเติม โดยกำ�หนดความกว้าง
ความยาว และความสูง 142 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

พิจารณาการเขียนรูปของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากบนกระดาษจุดไอโซเมตริก ต่อไปนี้

ลูกบาศก์กว้าง 3 หน่วย ยาว 3 หน่วย สูง 3 หน่วย


3 หน่วย

3ห ย
น่วย น่ว
3ห

ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากกว้าง 3 หน่วย ยาว 4 หน่วย สูง 2 หน่วย


2 หน่วย

3ห
น่วย น่วย
4ห

ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากกว้าง 2 หน่วย ยาว 4 หน่วย สูง 5 หน่วย


5 หน่วย

2ห น่วย
น่ว 4ห

กระดาษจุดไอโซเมตริก

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 143

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 129
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

7. การเขียนรูปของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากบนกระดาษจุด
หน้า 144 ครูควรเตรียมกระดาษจุดให้เพียงพอกับจำ�นวน
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

นักเรียน โดยสามารถดาวน์โหลดได้จาก QR code หน้า 144 การเขียนรูปของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากบนกระดาษจุด เป็นการเขียนรูปอย่างคร่าว ๆ

ให้นักเรียนสังเกตลักษณะการเรียงจุดบนกระดาษจุด โดยความกว้าง ความยาว และ ความสูง ต้องมีความสมเหตุสมผล

เปรียบเทียบกับการเรียงจุดบนกระดาษจุดไอโซเมตริก พิจารณาการเขียนรูปของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากบนกระดาษจุด ต่อไปนี้

ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากกว้าง 3 หน่วย ยาว 4 หน่วย สูง 2 หน่วย


จากนั้นทดลองเขียนส่วนของเส้นตรงเชื่อมจุด 2 จุด
ที่อยู่ใกล้กัน 3 ทิศทาง บนกระดาษจุด พร้อมตรวจสอบ
ความยาวของส่วนของเส้นตรงแต่ละเส้น ซึ่งจะพบว่า

2 หน่วย

2 หน่วย
่วย ่วย
หน หน
4 4

ส่วนของเส้นตรงที่อยู่ในแนวตั้งกับแนวนอน จะมีความยาว
3 หน่วย 3 หน่วย

เท่ากัน ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากกว้าง 6 เซนติเมตร ยาว 8 เซนติเมตร สูง 5 เซนติเมตร

ครูแนะนำ�ว่า การเขียนรูปของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
บนกระดาษจุด เป็นการเขียนรูปอย่างคร่าว ๆ ซึ่งควรคำ�นึงถึง
ความสมเหตุสมผลของการเขียนส่วนของเส้นตรงแทน

5 ซม.
.
ซม
ความกว้าง ความยาว และความสูง 8

6 ซม.

ครูสาธิตประกอบการอธิบายการเขียนรูปของ
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากบนกระดาษจุดหน้า 144 และให้นักเรียน
กระดาษจุด

ปฏิบัติตามทีละขั้น พร้อมแนะนำ� ความกว้าง ความยาว


และความสูงของรูป ครูควรให้นักเรียนเขียนรูปของ แบบฝึกหัด 8.4

ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากอื่นเพิ่มเติม โดยกำ�หนดความกว้าง 144 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ความยาว และความสูง จากนั้นให้ทำ�แบบฝึกหัด 8.4


เป็นรายบุคคล

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู

ความแตกต่างระหว่างกระดาษจุดไอโซเมตริกกับกระดาษจุด คือ การเรียงจุดบนกระดาษ กล่าวคือ เมื่อเขียน


ส่วนของเส้นตรงเชื่อมจุด 2 จุด ที่อยู่ติดกันบนกระดาษจุดไอโซเมตริก ทั้ง 3 ทิศทาง จะได้ส่วนของเส้นตรง
ที่มีความยาวเท่ากันทุกทิศทาง ทำ�ให้เมื่อเขียนรูปของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากบนกระดาษจุดไอโซเมตริก จะได้รูปที่มี
ความกว้าง ความยาว และความสูง ตามสัดส่วนที่เป็นจริง

แต่การเขียนส่วนของเส้นตรงเชื่อมจุด 2 จุด ที่อยู่ติดกันบนกระดาษจุด ทั้ง 3 ทิศทาง จะมีเพียงส่วนของเส้นตรง


ที่อยู่ในแนวตั้งกับแนวนอนเท่านั้นที่มีความยาวเท่ากัน ดังนั้นรูปของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากที่เขียนบนกระดาษจุด
จะเป็นรูปคร่าว ๆ

130 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

8. เพื่อตรวจสอบความเข้าใจและสรุปความรู้ที่ได้ ให้นักเรียน
ทำ�กิจกรรมหน้า 145 เป็นรายบุคคล
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

ตรวจสอบความเข้าใจ

สิ่งต่อไปนี้ มีลักษณะใกล้เคียงกับรูปเรขาคณิตสามมิติชนิดใด เพราะเหตุใด

1 2

3 4

5 6

สิ่งที่ได้เรียนรู้

1 ปริซึม กับ ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก มีลักษณะเหมือนกันและต่างกันอย่างไร

2 ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กับ ลูกบาศก์ มีลักษณะเหมือนกันและต่างกันอย่างไร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 145

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

เฉลยหน้า 145
ตรวจสอบความเข้าใจ

1 ปริซึมหกเหลี่ยม เพราะมีหน้าตัดหรือฐานเป็นรูปหกเหลี่ยม และหน้าข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

2 ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก เพราะมีหน้าทุกหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก

3 ลูกบาศก์ เพราะมีหน้าทุกหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส

4 ปริซึมสามเหลี่ยม เพราะมีหน้าตัดหรือฐานเป็นรูปสามเหลี่ยม และมีหน้าข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

5 ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก เพราะมีหน้าทุกหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก

6 ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก เพราะมีหน้าทุกหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก

สิ่งที่ได้เรียนรู้

1 ปริซึม กับ ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก มีลักษณะที่เหมือนกันคือ มีหน้าตัดหรือฐาน 2 หน้า ที่เท่ากันทุกประการ


และอยู่บนระนาบที่ขนานกัน หน้าข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
ลักษณะที่ต่างกันคือ ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากจะมีหน้าทุกหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก
2 ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กับ ลูกบาศก์ มีลักษณะที่เหมือนกันคือ ทุกหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากจำานวน 6 หน้า
ลักษณะที่ต่างกันคือ ลูกบาศก์มีหน้าทุกหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 131
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

8.2 ปริมาตรและความจุ

จุดประสงค์การเรียนรู้ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

นักเรียนสามารถหาปริมาตรและความจุ 8.2 ปริมาตรและความจุ


4
ของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก หน่วยของปริมาตรและการหาปริมาตร

พิพิจจารณาปริ
ารณาปริมมาตร
าตร11ลูลูกกบาศก์
บาศก์หหน่น่ววยย

สื่อการเรียนรู้

1 หน่วย
1. ลูกบาศก์หน่วย

่วย
หน
1 หน่วย

1
ลูกบาศก์ที่เป็นทรงตัน เป็นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีความกว้าง ความยาว และความสูง
2. ลูกบาศก์เซนติเมตร ด้านละ 1 หน่วย มีปริมาตร 1 ลูกบาศก์หน่วย

3. ลูกบาศก์เมตร
พิจารณาการหาปริมาตรโดยการนับลูกบาศก์ เมื่อกำาหนด มีปริมาตร 1 ลูกบาศก์หน่วย
4. ยางลบ
มีลูกบาศก์ 6 ลูก

5. เชือก แสดงว่า มีปริมาตร 6 ลูกบาศก์หน่วย

6. ตลับเมตร หรือ ไม้เมตร มีลูกบาศก์ 4 ลูก


แสดงว่า มีปริมาตร 4 ลูกบาศก์หน่วย

แนวการจัดการเรียนรู้
ในการสอนเนื้อหาเกี่ยวกับปริมาตรและความจุของ
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ควรเริ่มจากแนะนำ�ให้รู้จักหน่วยของ
ปริมาตร การหาปริมาตรโดยการนับลูกบาศก์ และการหา
มีลูกบาศก์ 8 ลูก แสดงว่า มีปริมาตร 8 ลูกบาศก์หน่วย

ปริมาตรโดยการใช้สูตร โดยอาจจัดกิจกรรมดังนี้ 146 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

1. ครูแนะนำ� ปริมาตร 1 ลูกบาศก์หน่วย โดยใช้สื่อ


หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

ประกอบการอธิบายหน้า 146 ครูอาจเรียงลูกบาศก์ หาปริมาตร เมื่อกำาหนด มีปริมาตร 1 ลูกบาศก์หน่วย

เพิ่มเติม แล้วให้นักเรียนหาปริมาตร และตรวจสอบ


1 2
โดยการนับ จากนั้นร่วมกันทำ�กิจกรรมหน้า 147
6 ลูกบาศก์หน่วย 6 ลูกบาศก์หน่วย

ข้อควรระวัง ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ที่มีความยาวด้านละ


1 หน่วย มีปริมาตร 1 ลูกบาศก์หน่วย 3 4

แต่ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ที่มีปริมาตร 1 ลูกบาศก์หน่วย 13 ลูกบาศก์หน่วย 10 ลูกบาศก์หน่วย

ไม่จำ�เป็นต้องมีความยาวด้านละ 1 หน่วย เช่น


5 6
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ที่มีความกว้าง 1 หน่วย
ความยาว 2 หน่วย และความสูง 0.5 หน่วย 9 ลูกบาศก์หน่วย 12 ลูกบาศก์หน่วย

มีปริมาตร 1 × 2 × 0.5 = 1 ลูกบาศก์หน่วย


7 8

24 ลูกบาศก์หน่วย 15 ลูกบาศก์หน่วย

9 10

15 ลูกบาศก์หน่วย 14 ลูกบาศก์หน่วย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 147

132 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

2. ครูแนะนำ� ปริมาตร 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร โดยใช้สื่อ


หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5

ประกอบการอธิบายหน้า 148 และแนะนำ�การใช้อักษรย่อ บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

ของลูกบาศก์เซนติเมตร พิจารณาปริมาตร 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร

••ซม.3 หรือ cm3 อ่านว่า เซนติเมตรยกกำ�ลังสาม

1 ซม.
••cc อ่านว่า ซีซี ย่อมาจาก Cubic Centimeter

.
ซม
1 ซม.

1
ลูกบาศก์ที่เป็นทรงตัน เป็นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีความกว้าง ความยาว และความสูง

จากนั้นร่วมกันปฏิบัติกิจกรรม เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้สึก
ด้านละ 1 เซนติเมตร มีปริมาตร 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ลูกบาศก์เซนติเมตร ใช้อักษรย่อ ลบ.ซม.

เชิงปริภูมิ (Spatial Sense) เกี่ยวกับ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร


จากของจริง ลูกบาศก์เซนติเมตร อาจเขียนแทนด้วย ซม.3 หรือ cm3 หรือ cc

3. ครูแนะนำ� ปริมาตร 1 ลูกบาศก์เมตร โดยใช้สื่อ


ประกอบการอธิบายหน้า 149 และแนะนำ�การใช้
ปฏิบัติกิจกรรม
อักษรย่อของลูกบาศก์เมตร เขียนแทนด้วย ม.3 หรือ
ตัดยางลบให้เป็นลูกบาศก์ที่มีปริมาตร 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร

m3 อ่านว่า เมตรยกกำ�ลังสาม

ครูอาจจัดกิจกรรมเพิ่มเติม โดยให้นักเรียนสร้าง
โครงสร้างของลูกบาศก์ที่มีปริมาตร 1 ลูกบาศก์เมตร
โดยใช้เชือก เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้สึกเชิงปริภูมิ
เกี่ยวกับ 1 ลูกบาศก์เมตร

148 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

พิจารณาปริมาตร 1 ลูกบาศก์เมตร
1 ม.
ม.

1 ม.
1

ลูกบาศก์ที่เป็นทรงตัน เป็นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีความกว้าง ความยาว และความสูง


ด้านละ 1 เมตร มีปริมาตร 1 ลูกบาศก์เมตร
ลูกบาศก์เมตร ใช้อักษรย่อ ลบ.ม.

ลูกบาศก์เมตร อาจเขียนแทนด้วย ม.3 หรือ m3

จากนั้นร่วมกันทำ�กิจกรรมหน้า 150 และให้ทำ�


แบบฝึกหัด 8.5 เป็นรายบุคคล
ลูกบาศก์ที่มีปริมาตร 1 ลูกบาศก์เมตร

ปริมาตร 1 ลูกบาศก์เมตร เท่ากับกี่ลูกบาศก์เซนติเมตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 149

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 133
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

ปฏิบัติกิจกรรม ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

1 หาปริมาตร เมื่อกำาหนด มีปริมาตร 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร

2 หน่วย

่วย
1) 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร 2) 8 ลูกบาศก์เซนติเมตร

หน
4 หน่วย

3
เรียงลูกบาศก์ที่มีปริมาตร 1 ลูกบาศก์หน่วย ให้เป็นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
กว้าง 3 หน่วย ยาว 4 หน่วย และสูง 2 หน่วย

จากรูป มีลูกบาศก์ 2 ชั้น ชั้นละเท่า ๆ กัน


3) 4) แต่ละชั้นมีปริมาตรกี่ลูกบาศก์หน่วย คิดได้อย่างไร
12 ลูกบาศก์เซนติเมตร 18 ลูกบาศก์เซนติเมตร

12 ลูกบาศก์หน่วย คิดได้จาก

5) 6)
10 ลูกบาศก์เซนติเมตร
แต่ละชั้น กว้าง 3 หน่วย ยาว 4 หน่วย

13 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีปริมาตร 3 × 4 = 12 ลูกบาศก์หน่วย

2 หาปริมาตร เมื่อกำาหนด มีปริมาตร 1 ลูกบาศก์เมตร


ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากนี้มีปริมาตรเท่าใด คิดได้อย่างไร

1) 2)
18 ลูกบาศก์เมตร 21 ลูกบาศก์เมตร

(3 × 4)

3)
(3 × 4)
13 ลูกบาศก์เมตร

ลูกบาศก์ 2 ชั้น มีปริมาตร 2 × (3 × 4) = 2 × 12 = 24 ลูกบาศก์หน่วย


ดังนั้น ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากนี้มีปริมาตร 2 × 3 × 4 = 24 ลูกบาศก์หน่วย
แบบฝึกหัด 8.5

150 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 151

4. ครูใช้ลูกบาศก์เรียงให้เป็นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ดังหน้า
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

151-152 แล้วใช้การถาม-ตอบประกอบการอธิบาย
3 หน่วย

เกีย่ วกับการหาปริมาตรของทรงสีเ่ หลีย่ มมุมฉาก โดยการนับ เรียงลูกบาศก์ที่มีปริมาตร 1 ลูกบาศก์หน่วย ให้เป็นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก


กว้าง 2 หน่วย ยาว 5 หน่วย และสูง 3 หน่วย
่วย

จำ�นวนลูกบาศก์อย่างเป็นระบบ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่
หน
5

2 หน่วย

การหาปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากโดยการใช้สูตร จากรูป มีลูกบาศก์ 3 ชั้น ชั้นละเท่า ๆ กัน

ครูควรจัดเรียงลูกบาศก์ให้เป็นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มี
แต่ละชั้นมีปริมาตรกี่ลูกบาศก์หน่วย คิดได้อย่างไร

ขนาดอื่นเพิ่มเติม หรืออาจใช้สื่อดิจิทัลจาก QR code 10 ลูกบาศก์หน่วย คิดได้จาก

หน้า 152 ให้นักเรียนหาปริมาตรโดยการนับจำ�นวน


ลูกบาศก์ ทั้งนี้ให้นักเรียนสังเกตความสัมพันธ์ระหว่าง
แต่ละชั้น กว้าง 2 หน่วย ยาว 5 หน่วย
มีปริมาตร 2 × 5 = 10 ลูกบาศก์หน่วย

ความกว้าง ความยาว และความสูง กับ ปริมาตรที่ได้


ในแต่ละข้อ แล้วร่วมกันอภิปรายเพื่อนำ�ไปสู่ข้อสรุป
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากนี้มีปริมาตรเท่าใด คิดได้อย่างไร

เกี่ยวกับสูตรการหาปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก 10 ลูกบาศก์หน่วย คิดได้จาก


(2 × 5)
หน้า 153
(2 × 5)
ครูใช้การถาม-ตอบประกอบการอธิบายตัวอย่าง
หน้า 153-154 แล้วร่วมกันทำ�กิจกรรมหน้า 154 และ (2 × 5)

ให้ทำ�แบบฝึกหัด 8.6 เป็นรายบุคคล ลูกบาศก์ 3 ชั้น มีปริมาตร 3 × (2 × 5) = 3 × 10 = 30 ลูกบาศก์หน่วย


ดังนั้น ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากนี้มีปริมาตร 3 × 2 × 5 = 30 ลูกบาศก์หน่วย

ปริมาตรของ
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
152 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

134 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

2
จะหาปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ได้อย่างไร หาปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

นำาความกว้าง ความยาว และความสูง มาคูณกัน

ม. 4 ม.
8 ม.

3
ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง

วิธีทำา ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง


= 3×8×4 ลูกบาศก์เมตร
3 ซม.

= 96 ลูกบาศก์เมตร
ตอบ ๙๖ ลูกบาศก์เมตร
.
ซม
5

2 ซม.
หาปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากนี้มีปริมาตรกี่ลูกบาศก์เซนติเมตร

1 2

5 ซม.
ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง

1 ซม.

.
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากนี้มีปริมาตร 2 × 5 × 3 = 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร

ซม
10 ซม.

.
ซม
9 ซม.
40 ลูกบาศก์เซนติเมตร

3
135 ลูกบาศก์เซนติเมตร
1
หาปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
3 4
5 ซม.

3 ม.
9 ม.
.
ซม

ม.
7 ซม.
3

11
5 ม.
วิธีทำา ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง 6 ม.
2
ม.
= 3×7×5 ลูกบาศก์เซนติเมตร
108 ลูกบาศก์เมตร 165 ลูกบาศก์เมตร
= 105 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ตอบ ๑๐๕ ลูกบาศก์เซนติเมตร
แบบฝึกหัด 8.6

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 153 154 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

5. ครูให้นักเรียนพิจารณาการหาปริมาตรของ
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก หน้า 155 แล้วใช้การถาม-ตอบ
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

เพื่อเชื่อมโยงไปยังสูตรการหาปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก พิจารณาการหาปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กว้าง 6 เซนติเมตร ยาว 8 เซนติเมตร


และสูง 5 เซนติเมตร
ว่าสามารถหาได้จาก ความกว้าง × ความยาว × ความสูง
หรือ พื้นที่ฐาน × ความสูง จากนั้นใช้การถาม-ตอบ
5 ซม.

ประกอบการอธิบายตัวอย่างหน้า 155 แล้วร่วมกันทำ�กิจกรรม


.
ซม
8

6 ซม.

หน้า 156 และให้ทำ�แบบฝึกหัด 8.7 เป็นรายบุคคล ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง


ดังนั้น ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากนี้มีปริมาตร 6 × 8 × 5 = 240 ลูกบาศก์เซนติเมตร
จากรูปพบว่า 6 × 8 ตารางเซนติเมตร เป็นพื้นที่ฐานของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
ที่กว้าง 6 เซนติเมตร ยาว 8 เซนติเมตร
าน
ที่ฐ

.
ซม
พื้น

ดังนั้น 6 ซม.

ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง


หรือ ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = พื้นที่ฐาน × ความสูง

แท่งเหล็กทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก มีพื้นที่ฐาน 32 ตารางเซนติเมตร สูง 4 เซนติเมตร


แท่งเหล็กนี้มีปริมาตรเท่าใด
4 ซม.
4 ซม.

32 ตร.ซม.

วิธีทำา ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = พื้นที่ฐาน × ความสูง


ดังนั้น แท่งเหล็กนี้มีปริมาตร 32 × 4 = 128 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ตอบ ๑๒๘ ลูกบาศก์เซนติเมตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 155

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 135
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

หาปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ความจุของภาชนะทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

พิจารณาการหาความจุของกล่องทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
1
1,560 ลูกบาศก์เมตร

10 ม.
156 ตร.ม.
ต้องการใส่ลูกบาศก์ที่มีปริมาตร 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร

3 ซม.
ให้เต็มกล่องพอดี ต้องใส่ลูกบาศก์กี่ลูก
2

.
ซม
4 ซม.

2
3,240 ลูกบาศก์เซนติเมตร

กำาหนด มีปริมาตร 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร


.
ซม

108 ตร.ซม.
30

3 11 ซม.

พบว่า ต้องนำาลูกบาศก์ที่มีปริมาตร 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใส่กล่องใบนี้ 24 ลูก จึงเต็มกล่องพอดี


2 × 4 × 1 = 8 ลูก 2 × 4 × 2 = 16 ลูก 2 × 4 × 3 = 24 ลูก
แสดงว่า กล่องใบนี้มีความจุ 24 ลูกบาศก์เซนติเมตร
2,460 ตร.ซม.
พบว่า ต้องนำาลูกบาศก์ที่มีปริมาตร 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใส่กล่องใบนี้ 24 ลูก จึงเต็มกล่องพอดี
27,060 ลูกบาศก์เซนติเมตร
แสดงว่า กล่องใบนี้มีความจุ 24 ลูกบาศก์เซนติเมตร

การหาความจุของภาชนะทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
เป็นการหาปริมาตรภายในของภาชนะนั้น

4 กล่องทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก มีพื้นที่ฐาน 240 ตารางเซนติเมตร สูง 16 เซนติเมตร


3,840 ลูกบาศก์เซนติเมตร
5 ดังนั้น สรุปได้ว่า
แท่งเหล็กทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก มีพื้นที่ฐาน 450 ตารางเซนติเมตร สูง 21 เซนติเมตร
9,450 ลูกบาศก์เซนติเมตร
6 กระจกทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก มีพื้นที่ฐาน 738 ตารางเซนติเมตร หนา 0.9 เซนติเมตร ความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง
664.2 ลูกบาศก์เซนติเมตร หรือ ความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = พื้นที่ฐาน × ความสูง

แบบฝึกหัด 8.7

156 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 157

6. ครูใช้สถานการณ์หน้า 157 ประกอบการอธิบาย


หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

ความหมายของความจุของภาชนะทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
หาความจุของกระถางปลูกไม้น้ำาทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ซึ่งวัดขนาดภายในได้ดังรูป
และสูตรการหาความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก แล้วใช้ 30
ซม. 30
ซม
.

การถาม-ตอบประกอบการอธิบายตัวอย่างหน้า 158
25 ซม.

แล้วร่วมกันทำ�กิจกรรม และให้ทำ�แบบฝึกหัด 8.8


เป็นรายบุคคล วิธีทำา ความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง
ดังนั้น กระถางปลูกไม้น้ำามีความจุ 30 × 30 × 25 = 22,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร

ตอบ ๒๒,๕๐๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร

หาความจุของภาชนะทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

1 ตู้คอนเทนเนอร์ วัดขนาดภายในได้ดังรูป
2.6 ม.

39 ลูกบาศก์เมตร

2.5 ม. 6 ม.

2 ตู้ปลาวัดขนาดภายในได้ดังรูป
35 ซม.

49,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
.
ซม

50 ซม
.
28

3 สระน้ำาทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก มีพื้นที่ฐาน 12 ตารางเมตร และลึก 1.5 เมตร 18 ลูกบาศก์เมตร

แบบฝึกหัด 8.8

158 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

136 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

7. เพื่อตรวจสอบความเข้าใจและสรุปความรู้ที่ได้ ให้นักเรียน
ทำ�กิจกรรมหน้า 159 เป็นรายบุคคล
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

ตรวจสอบความเข้าใจ

แสดงวิธีหาคำาตอบ

1 เสาปูนยาว 150 เซนติเมตร หน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 10 เซนติเมตร


เสาปูนมีปริมาตรเท่าใด

2 สระว่ายน้ำาทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก วัดขนาดภายในได้กว้าง 6 เมตร ยาว 8 เมตร


และลึก 1.5 เมตร สระว่ายน้ำานี้มีความจุเท่าใด

3 ตู้ปลาทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก วัสิด่ง ที่ได้งเภายในได้


ความสู รียนรู้ 50 เซนติเมตร และมีพื้นที่ฐาน
2,400 ตารางเซนติเมตร ตู้ปลานี้มีความจุเท่าใด

สิ่งที่ได้เรียนรู้

ถ้าต้องการหาปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก หรือความจุของภาชนะทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
จะต้องรู้ข้อมูลอะไรบ้าง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 159

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

เฉลยหน้า 159
ตรวจสอบความเข้าใจ

1 วิธีทำา ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง


ดังนั้น เสาปูนมีปริมาตร 10 × 10 × 150 = 15,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ตอบ ๑๕,๐๐๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร

2 วิธีทำา ความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง


ดังนั้น สระว่ายน้ำานี้มีความจุ 6 × 8 × 1.5 = 72 ลูกบาศก์เมตร
ตอบ ๗๒ ลูกบาศก์เมตร

3 วิธีทำา ความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = พื้นที่ฐาน × ความสูง


ดังนั้น ตู้ปลานี้มีความจุ 2,400 × 50 = 120,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ตอบ ๑๒๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร

สิ่งที่ได้เรียนรู้

รู้ความกว้าง ความยาว และความสูง หรือ พื้นฐานกับความสูงของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก


หรือภาชนะทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากนั้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 137
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

8.3 ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยปริมาตร หรือหน่วยความจุ

จุดประสงค์การเรียนรู้ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

นักเรียนสามารถบอกความสัมพันธ์ระหว่าง 8.3 ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยปริมาตร หรือหน่วยความจุ 2

หน่วยปริมาตรหรือหน่วยความจุ ความสัมพันธ์ระหว่างลูกบาศก์เซนติเมตร กับ ลูกบาศก์เมตร

สื่อการเรียนรู้
-

1 เมตร
ปริมาตร 1 ลูกบาศก์เมตร

แนวการจัดการเรียนรู้ 1
เม
ตร

1 เมตร

1. ครูใช้การถาม-ตอบประกอบการอธิบายความสัมพันธ์ 1 เมตร = 100 เซนติเมตร

ระหว่างลูกบาศก์เซนติเมตร ลูกบาศก์เมตร มิลลิลิตร ลิตร ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก


ปริมาตร 1 ลูกบาศก์เมตร
= ความกว้าง × ความยาว × ความสูง
= 1×1×1 ลูกบาศก์เมตร

หน้า 160-161 จากนั้นให้พิจารณาตัวอย่างหน้า 162 แล้ว = 100 × 100 × 100


= 1,000,000
ลูกบาศก์เซนติเมตร
ลูกบาศก์เซนติเมตร

ร่วมกันทำ�กิจกรรม และให้ทำ�แบบฝึกหัด 8.9 เป็นรายบุคคล

ลูกบาศก์ที่ยาวด้านละ 1 เมตร
ลูกบาศก์ที่ยาวด้านละ 1 เซนติเมตร
มีปริมาตร 1 ลูกบาศก์เมตร
มีปริมาตร 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร
หรือ 1,000,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร

160 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

ความสัมพันธ์ระหว่างมิลลิลิตร ลิตร ลูกบาศก์เซนติเมตร ลูกบาศก์เมตร

พิจารณากล่องทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีขนาดภายในยาวด้านละ 10 เซนติเมตร

กล่องทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากมีความจุ 10 × 10 × 10 = 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร

เมื่อเทน้ำาปริมาตร 1 ลิตร ใส่กล่องใบนี้ จะเต็มกล่องพอดี


แสดงว่า กล่องใบนี้มีความจุ 1 ลิตร หรือ 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร

ดังนั้น 1 ลิตร = 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร

เนื่องจาก 1 ลิตร = 1,000 มิลลิลิตร


แสดงว่า 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร = 1,000 มิลลิลิตร

ดังนั้น 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร = 1 มิลลิลิตร

เนื่องจาก 1 ลูกบาศก์เมตร = 1,000,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร


และ 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร = 1 ลิตร
แสดงว่า 1,000,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร = 1,000,000 ÷ 1,000 = 1,000 ลิตร

ดังนั้น 1 ลูกบาศก์เมตร = 1,000 ลิตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 161

138 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

1 เฉลยหน้า 162

น้ำาเต็มถังมีปริมาตร 6 ลูกบาศก์เมตร ถังใบนี้มีความจุกี่ลิตร 1 วิธีทำา เนื่องจาก 1,000 มิลลิลิตร = 1 ลิตร


ดังนั้น น้ำายาล้างจาน 4,000 มิลลิลิตร คิดเป็น 4,000 ÷ 1,000 = 4 ลิตร
วิธีทำา น้ำาเต็มถังมีปริมาตร 6 ลูกบาศก์เมตร
ตอบ ๔ ลิตร
เนื่องจาก 1 ลูกบาศก์เมตร = 1,000 ลิตร
ดังนั้น ถังใบนี้มีความจุ 6 × 1,000 = 6,000 ลิตร
2 วิธีทำา เนื่องจาก 1 ลิตร = 1,000 มิลลิลิตร
ตอบ ๖,๐๐๐ ลิตร ดังนั้น น้ำามัน 18 ลิตร คิดเป็น 18 × 1,000 = 18,000 มิลลิลิตร
ตอบ ๑๘,๐๐๐ มิลลิลิตร
2
กล่องใบหนึ่งมีความจุ 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร กล่องใบนี้มีความจุกี่ลิตร
3 วิธีทำา เนื่องจาก 1 ลูกบาศก์เมตร = 1,000 ลิตร
วิธีทำา กล่องใบหนึ่งมีความจุ 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร ดังนั้น น้ำาประปา 5 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 5 × 1,000 = 5,000 ลิตร
เนื่องจาก 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร = 1 ลิตร ตอบ ๕,๐๐๐ ลิตร
ดังนั้น กล่องใบนี้มีความจุ 3,000 ÷ 1,000 = 3 ลิตร
4 วิธีทำา เนื่องจาก 1 ลิตร = 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ตอบ ๓ ลิตร
ดังนั้น น้ำาผลไม้ 2.75 ลิตร คิดเป็น 2.75 × 1,000 = 2,750 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ตอบ ๒,๗๕๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร
แสดงวิธีหาคำาตอบ
5 วิธีทำา เนื่องจาก 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร = 1 มิลลิลิตร

1 น้ำายาล้างจาน 4,000 มิลลิลิตร คิดเป็นกี่ลิตร ดังนั้น นมสด 630 ลูกบาศก์เซนติเมตร คิดเป็น 630 × 1 = 630 มิลลิลิตร
ตอบ ๖๓๐ มิลลิลิตร
2 น้ำามัน 18 ลิตร คิดเป็นกี่มิลลิลิตร
6 วิธีทำา เนื่องจาก 1,000 ลิตร = 1 ลูกบาศก์เมตร
3 น้ำาประปา 5 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นกี่ลิตร ดังนั้น ถังใบนี้มีความจุ 5,000 ลิตร คิดเป็น 5,000 ÷ 1,000 = 5 ลูกบาศก์เมตร
ตอบ ๕ ลูกบาศก์เมตร
4 น้ำาผลไม้ 2.75 ลิตร คิดเป็นกี่ลูกบาศก์เซนติเมตร

5 นมสด 630 ลูกบาศก์เซนติเมตร คิดเป็นกี่มิลลิลิตร

6 ถังเก็บน้ำาใบหนึ่งเก็บน้ำาได้ 5,000 ลิตร ถังใบนี้มีความจุกี่ลูกบาศก์เมตร

แบบฝึกหัด 8.9

162 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2. เพื่อตรวจสอบความเข้าใจและสรุปความรู้ที่ได้ ให้นักเรียน
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5

ทำ�กิจกรรมหน้า 163 เป็นรายบุคคล บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

ตรวจสอบความเข้าใจ

แสดงวิธีหาคำาตอบ

1 น้ำาหวาน 1.25 ลิตร คิดเป็นกี่มิลลิลิตร

2 น้ำายางดิบ 13,600 มิลลิลิตร คิดเป็นกี่ลิตร

3 ถังบำาบัดน้ำาเสียมีความจุ 27,000 ลิตร คิดเป็นกี่ลูกบาศก์เมตร

4 ในตู้ปลามีน้ำา 96,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร คิดเป็นกี่ลิตร

5 แท็งก์น้ำาใบหนึ่งบรรจุน้ำา 2.5 ลูกบาศก์เมตรได้เต็มแท็งก์พอดี แท็งก์ใบนี้มีความจุกี่ลิตร

6 น้ำา 1.5 ลิตร คิดเป็นกี่ลูกบาศก์เซนติเมตร

7 แก้วน้ำามีความจุ 310 ลูกบาศก์เซนติเมตร คิดเป็นกี่มิลลิลิตร

8 ยาน้ำาแก้ไอ 80 มิลลิลิตร คิดเป็นกี่ลูกบาศก์เซนติเมตร

สิ่งที่ได้เรียนรู้

แสดงวิธีตรวจสอบว่า ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด

1 น้ำาดื่ม 35 ลิตร เท่ากับ 3,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร

2 แท็งก์เก็บน้ำามีความจุ 3,200 ลิตร เท่ากับ 3.2 ลูกบาศก์เมตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 163

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 139
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

เฉลยหน้า 163 เฉลยหน้า 163


ตรวจสอบความเข้าใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้

1 วิธีทำา เนื่องจาก 1 ลิตร = 1,000 มิลลิลิตร 1 ผิด


ดังนั้น น้ำาหวาน 1.25 ลิตร คิดเป็น 1.25 × 1,000 = 1,250 มิลลิลิตร เนื่องจาก 1 ลิตร = 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ตอบ ๑,๒๕๐ มิลลิลิตร ดังนั้น น้ำาดื่ม 35 ลิตร คิดเป็น 35 × 1,000 = 35,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
หรืออาจเปลี่ยน 3,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ให้มีหน่วยเป็นลิตร
2 วิธีทำา เนื่องจาก 1,000 มิลลิลิตร = 1 ลิตร
ดังนั้น น้ำายางดิบ 13,600 มิลลิลิตร คิดเป็น 13,600 ÷ 1,000 = 13.6 ลิตร 2 ถูก
ตอบ ๑๓.๖ ลิตร เนื่องจาก 1,000 ลิตร = 1 ลูกบาศก์เมตร
ดังนั้น แท็งก์เก็บน้ำามีความจุ 3,200 ลิตร คิดเป็น 3,200 ÷ 1,000 = 3.2 ลูกบาศก์เมตร
3 วิธีทำา เนื่องจาก 1,000 ลิตร = 1 ลูกบาศก์เมตร หรืออาจเปลี่ยน 3.2 ลูกบาศก์เมตร ให้มีหน่วยเป็นลิตร
ดังนั้น ถังบำาบัดน้ำาเสียมีความจุ 27,000 ลิตร
คิดเป็น 27,000 ÷ 1,000 = 27 ลูกบาศก์เมตร
ตอบ ๒๗ ลูกบาศก์เมตร

4 วิธีทำา เนื่องจาก 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร = 1 ลิตร


ดังนั้น ในตู้ปลามีน้ำา 96,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
คิดเป็น 96,000 ÷ 1,000 = 96 ลิตร
ตอบ ๙๖ ลิตร

5 วิธีทำา เนื่องจาก 1 ลูกบาศก์เมตร = 1,000 ลิตร


ดังนั้น แท็งก์ใบนี้มีความจุ 2.5 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 2.5 × 1,000 = 2,500 ลิตร
ตอบ ๒,๕๐๐ ลิตร

6 วิธีทำา เนื่องจาก 1 ลิตร = 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร


ดังนั้น น้ำา 1.5 ลิตร คิดเป็น 1.5 × 1,000 = 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ตอบ ๑,๕๐๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร

7 วิธีทำา เนื่องจาก 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร = 1 มิลลิลิตร


ดังนั้น แก้วน้ำามีความจุ 310 ลูกบาศก์เซนติเมตร คิดเป็น 310 × 1 = 310 มิลลิลิตร
ตอบ ๓๑๐ มิลลิลิตร

8 วิธีทำา เนื่องจาก 1 มิลลิลิตร = 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร


ดังนั้น ยาน้ำาแก้ไอ 80 มิลลิลิตร คิดเป็น 80 × 1 = 80 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ตอบ ๘๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร

140 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

8.4 โจทย์ปัญหา

จุดประสงค์การเรียนรู้ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

นักเรียนสามารถแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับปริมาตร 8.4 โจทย์ปัญหา 7

ของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากและความจุของภาชนะ พิจารณาการแก้โจทย์ปัญหา

ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

25 ซม.
กล่องพลาสติกทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก วัดขนาดภายใน
ได้กว้าง 20 เซนติเมตร ยาว 35 เซนติเมตร สูง 25 เซนติเมตร

สื่อการเรียนรู้
ถ้าใส่น้ำาให้เต็ม ต้องใส่น้ำากี่ลูกบาศก์เซนติเมตร

.
ซม
35
20 ซม.

สิ่งที่โจทย์ถาม ปริมาณน้ำาที่ต้องใส่ให้เต็มกล่อง
-
สิ่งที่โจทย์บอก กล่องทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก วัดขนาดภายในได้กว้าง 20 เซนติเมตร

แนวการจัดการเรียนรู้
ยาว 35 เซนติเมตร สูง 25 เซนติเมตร

หาปริมาตรของน้ำาที่ใส่เต็มกล่องพลาสติกทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากได้
อย่างไร
1. การแก้โจทย์ปญ
ั หาเกีย่ วกับปริมาตรหรือความจุ
หาจากความจุของกล่องทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
ควรเริม
่ จากสถานการณ์ปญ ั หาทีใ่ ห้หาปริมาตรหรือความจุ
หน้า 164-167 ทัง้ นีค ้ วรพิจารณาหน่วยปริมาตรทีใ่ ช้ ความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง
ความจุของกล่องพลาสติก = 20 × 35 × 25 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ซึง่ ในบางสถานการณ์ปญ ั หาอาจต้องอาศัยการเปลีย่ นหน่วย = 17,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร

ครูควรเน้นย้�ำ ให้มก
ี ารตรวจสอบความถูกต้องของคำ�ตอบ
ดังนั้น ต้องใส่น้ำา 17,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร จึงจะเต็มกล่อง
ทุกครัง้ แล้วร่วมกันทำ�กิจกรรมหน้า 167 และให้ท�ำ
แบบฝึกหัด 8.10 เป็นรายบุคคล
การหาความจุของภาชนะทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
เป็นการหาปริมาตรภายในของภาชนะนั้น

จากนัน
้ ต่อด้วยสถานการณ์ปญ ั หาทีใ่ ห้หาความกว้าง
ความยาว ความสูง หรือพืน ้ ทีฐ่ าน เมือ
่ กำ�หนดปริมาตรเต็ม 164 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ภาชนะหรือความจุ หน้า 168-169 แล้วร่วมกันทำ�กิจกรรม หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5

หน้า 169 และให้ท�ำ แบบฝึกหัด 8.11 เป็นรายบุคคล


บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

แล้วจึงต่อด้วยสถานการณ์ปญ ั หาทีใ่ ห้หาความกว้าง ความยาว พิจารณาการแก้โจทย์ปัญหา

ความสูง หรือพืน้ ทีฐ่ าน เมือ


่ กำ�หนดปริมาตรไม่เต็มภาชนะ กระบะใส่อาหารทะเลสดทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก วัดขนาดภายใน 30 ซม.

ได้กว้าง 40 เซนติเมตร ยาว 80 เซนติเมตร


หน้า 170-171 แล้วร่วมกันทำ�กิจกรรมหน้า 172 และ
.
ซม

และสูง 30 เซนติเมตร กระบะนี้มีความจุกี่ลิตร


40

80 ซม.

ให้ท�ำ แบบฝึกหัด 8.12 เป็นรายบุคคล


สิ่งที่โจทย์ถาม ความจุของกระบะ

สิ่งที่โจทย์บอก กระบะทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก วัดขนาดภายในได้กว้าง 40 เซนติเมตร


ยาว 80 เซนติเมตร และสูง 30 เซนติเมตร

หาความจุของกระบะทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากให้มีหน่วยเป็นลิตรได้อย่างไร

หาความจุหน่วยเป็นลูกบาศก์เซนติเมตรก่อน
แล้วจึงเปลี่ยนหน่วยให้เป็นลิตร

ความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง


ความจุของกระบะ = 40 × 80 × 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร
= 96,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
เนื่องจาก 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร เท่ากับ 1 ลิตร
ดังนั้น กระบะมีความจุ 96,000 ÷ 1,000 = 96 ลิตร

ความสัมพันธ์ของหน่วยปริมาตร

1 ลิตร เท่ากับ 1,000 มิลลิลิตร

1 ลิตร เท่ากับ 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร

1 มิลลิลิตร เท่ากับ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 165

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 141
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

1 2
สระน้ำาทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กว้าง 4 เมตร ยาว 5 เมตร ลึก 1.2 เมตร
อิฐทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก 2 ก้อน ก้อนเล็ก มีปริมาตร 420 ลูกบาศก์เซนติเมตร
สระน้ำานี้มีความจุกี่ลิตร
ก้อนใหญ่ มีขนาดกว้าง 8 เซนติเมตร ยาว 15 เซนติเมตร และหนา 5 เซนติเมตร
อิฐ 2 ก้อนนี้มีปริมาตรต่างกันกี่ลูกบาศก์เซนติเมตร วิธีคิด หาความจุให้มีหน่วยเป็นลูกบาศก์เมตรก่อน แล้วจึงเปลี่ยนหน่วยให้เป็นลิตร

วิธีคิด
วิธีทำา ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง
ก้อนใหญ่
สระน้ำามีความจุ 4 × 5 × 1.2 = 24 ลูกบาศก์เมตร

ก้อนเล็ก เนื่องจาก 1 ลูกบาศก์เมตร เท่ากับ 1,000 ลิตร


420 ลบ.ซม. ปริมาตรต่างกัน
ดังนั้น สระน้ำามีความจุ 24 × 1,000 = 24,000 ลิตร

ตอบ ๒๔,๐๐๐ ลิตร

วิธีทำา ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง


อิฐก้อนใหญ่มีปริมาตร 8 × 15 × 5 = 600 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ตรวจสอบได้อย่างไรว่า 24,000 ล. เป็นคำาตอบที่ถูกต้อง
อิฐก้อนเล็กมีปริมาตร 420 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ดังนั้น อิฐ 2 ก้อนมีปริมาตรต่างกัน 600 – 420 = 180 ลูกบาศก์เซนติเมตร

ตอบ ๑๘๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร ต้องหาว่า สระน้ำาลึกเท่าใด ซึ่งหาได้จาก ความจุของสระ หารด้วย พื้นที่ก้นสระ


สระน้ำามีความจุ 24,000 ล. คิดเป็น 24,000 ÷ 1,000 = 24 ลบ.ม.
ก้นสระมีพื้นที่ 4 × 5 = 20 ตร.ม.
ดังนั้น สระน้ำาลึก 24 ÷ 20 = 1.2 ม. พบว่าสอดคล้องกับโจทย์
ตรวจสอบได้อย่างไรว่า 180 ลบ.ซม. เป็นคำาตอบที่ถูกต้อง
แสดงว่า 24,000 ล. เป็นคำาตอบที่ถูกต้อง

ต้องหาว่า อิฐก้อนใหญ่หนาเท่าใด ซึ่งหาได้จาก ปริมาตรของอิฐก้อนใหญ่


หารด้วย พื้นที่ฐาน สิ่งธทีีห่ไาคำ
แสดงวิ ด้าเรีตอบ
ยนรู้
ซึ่งปริมาตรของอิฐก้อนใหญ่ หาได้จาก 180 + 420 = 600 ลบ.ซม.
จากโจทย์ อิฐก้อนใหญ่มีพื้นที่ฐาน 8 × 15 = 120 ซม. 1 แผ่นปูนทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก มีพื้นที่ฐาน 225 ตารางเซนติเมตร และหนา 2 เซนติเมตร
ดังนั้น อิฐก้อนใหญ่หนา 600 ÷ 120 = 5 ซม. พบว่าสอดคล้องกับโจทย์ เมื่อนำามาวางซ้อนกัน 10 แผ่น จะมีปริมาตรทั้งหมดกี่ลูกบาศก์เซนติเมตร
แสดงว่า 180 ลบ.ซม. เป็นคำาตอบที่ถูกต้อง
2 ถังน้ำาทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ที่มีขนาดภายในกว้าง 80 เซนติเมตร ยาว 120 เซนติเมตร
และสูง 90 เซนติเมตร มีความจุกี่ลิตร
แบบฝึกหัด 8.10

166 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 167

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

เฉลยหน้า 167
พิจารณาการแก้โจทย์ปัญหา
1 วิธีทำา ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = พื้นที่ฐาน × ความสูง
หินอ่อนถูกสกัดเป็นแท่งทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก มีฐานกว้าง 20 เซนติเมตร ยาว 45 เซนติเมตร
แผ่นปูนมีปริมาตร 225 × 2 = 450 ลูกบาศก์เซนติเมตร และมีปริมาตร 19,800 ลูกบาศก์เซนติเมตร จะมีความสูงกี่เซนติเมตร
นำาแผ่นปูนวางซ้อนกัน 10 แผ่น
ดังนั้น มีปริมาตรทั้งหมด 10 × 450 = 4,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร สิ่งที่โจทย์ถาม ความสูงของแท่งหินอ่อน
ตอบ ๔,๕๐๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร
แท่งหินอ่อนทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก มีฐานกว้าง 20 เซนติเมตร
สิ่งที่โจทย์บอก
2 วิธีทำา ความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง ยาว 45 เซนติเมตร และมีปริมาตร 19,800 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ถังน้ำามีความจุ 80 × 120 × 90 = 864,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ปริมาตร 19,800 ลบ.ซม.
เนื่องจาก 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร = 1 ลิตร
ดังนั้น ถังน้ำามีความจุ 864,000 ÷ 1,000 = 864 ลิตร
.
ซม

ตอบ ๘๖๔ ลิตร


20

45 ซม.

หาความสูงของแท่งหินอ่อนทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากได้อย่างไร

หาพื้นที่ฐานของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากก่อน แล้วหาความสูง
เนื่องจาก ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = พื้นที่ฐาน × ความสูง
ดังนั้น ความสูง = ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ÷ พื้นที่ฐาน

พื้นที่ฐานของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว


พื้นที่ฐานของแท่งหินอ่อน = 20 × 45 ลูกบาศก์เซนติเมตร
= 900 ลูกบาศก์เซนติเมตร
เนื่องจาก ความสูง = ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ÷ พื้นที่ฐาน
ดังนั้น แท่งหินอ่อนมีความสูง 19,800 ÷ 900 = 22 เซนติเมตร

หินอ่อน แปรสภาพมาจากหินปูน มีสีขาว วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร


หรือ สีเทาขาว ในประเทศไทยพบมากที่จังหวัดสระบุรี และพระที่นั่งอนันตสมาคม สร้างด้วยหินอ่อน
นครราชสีมา กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และยะลา

168 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

142 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

เฉลยหน้า 169

แผ่นคอนกรีตสำาเร็จรูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก หนา 5 เซนติเมตร 1 วิธีทำา กระดาษวางซ้อนกันมีปริมาตร 2,520 ลูกบาศก์เซนติเมตร


มีปริมาตร 180,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร จะมีพื้นที่ฐานเท่าใด มีพื้นที่ หรือ พื้นที่ฐาน 420 ตารางเซนติเมตร
เนื่องจาก ความสูง = ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ÷ พื้นที่ฐาน
วิธีคิด หาพื้นที่ฐานของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
ดังนั้น กระดาษที่วางซ้อนกันสูง 2,520 ÷ 420 = 6 เซนติเมตร
เนื่องจาก ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = พื้นที่ฐาน × ความสูง ตอบ ๖ เซนติเมตร
ดังนั้น พื้นที่ฐาน = ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ÷ ความสูง
2 วิธีทำา พื้นที่ฐานของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว
วิธีทำา แผ่นคอนกรีตสำาเร็จรูปมีปริมาตร 180,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร ถังน้ำามีพื้นที่ฐาน 50 × 60 = 3,000 ตารางเซนติเมตร

มีความหนา หรือ ความสูง 5 เซนติเมตร ออมเทน้ำาใส่ถัง 60,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร


เนื่องจาก ความสูง = ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ÷ พื้นที่ฐาน
เนื่องจาก พื้นที่ฐาน = ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ÷ ความสูง
ดังนั้น ระดับน้ำาในถังสูง 60,000 ÷ 3,000 = 20 เซนติเมตร
ดังนั้น แผ่นคอนกรีตนี้มีพื้นที่ฐาน 180,000 ÷ 5 = 36,000 ตารางเซนติเมตร
ตอบ ๒๐ เซนติเมตร
ตอบ ๓๖,๐๐๐ ตารางเซนติเมตร

ตรวจสอบได้อย่างไรว่า 36,000 ตร.ซม. เป็นคำาตอบที่ถูกต้อง

ต้องหาว่า แผ่นคอนกรีตที่มีพื้นที่ฐาน 36,000 ตร.ซม. และหนา 5 ซม.


มีปริมาตรเท่าใด
ซึ่งหาได้จาก 36,000 × 5 = 180,000 ลบ.ซม. พบว่า สอดคล้องกับโจทย์
แสดงว่า 36,000 ตร.ซม. เป็นคำาตอบที่ถูกต้อง

แสดงวิธีหาคำาตอบ

1 กระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพื้นที่ 420 ตารางเซนติเมตร วางซ้อนกันเป็นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก


ที่มีปริมาตร 2,520 ลูกบาศก์เซนติเมตร จะมีความสูงกี่เซนติเมตร

2 ออมเทน้ำา 60,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใส่ถังน้ำาทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีฐานกว้าง 50 เซนติเมตร


ยาว 60 เซนติเมตร ระดับน้ำาในถังสูงกี่เซนติเมตร

แบบฝึกหัด 8.11

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 169

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

พิจารณาการแก้โจทย์ปัญหา
ตู้ปลาทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก วัดขนาดภายในได้กว้าง 25 เซนติเมตร ยาว 50 เซนติเมตร
ถังพลาสติกทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก วัดขนาดภายในได้กว้าง 40 เซนติเมตร ยาว 60 เซนติเมตร
สูง 30 เซนติเมตร ระดับน้ำาในตู้ปลาสูง 12 เซนติเมตร ตู้ปลานี้มีน้ำากี่ลิตร
และสูง 50 เซนติเมตร ระดับน้ำาสีย้อมผ้าในถังสูง 30 เซนติเมตร มีน้ำาสีย้อมผ้าในถัง
กี่ลูกบาศก์เซนติเมตร
วิธีคิด

ปริมาณน้ำาสีย้อมผ้าในถัง 30 ซม.
สิ่งที่โจทย์ถาม

สิ่งที่โจทย์บอก ถังทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก วัดขนาดภายในได้กว้าง 40 เซนติเมตร


ยาว 60 เซนติเมตร และสูง 50 เซนติเมตร ระดับน้ำาสีย้อมผ้า
.
ซม

12 ซม.
50

ในถังสูง 30 เซนติเมตร 25 ซม.

น้ำาในตู้ปลานี้ มีรูปร่างเป็นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ซึ่งกว้าง 25 ซม.


เนื่องจากน้ำาเป็นของเหลว
50 ซม. ยาว 50 ซม. และสูง 12 ซม. จึงหาปริมาตรของน้ำาโดยใช้วิธีเดียวกันกับ
จะมีรูปร่างตามภาชนะที่บรรจุ
การหาปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
จากนั้น เปลี่ยนหน่วยลูกบาศก์เซนติเมตรให้เป็นลิตร
30 ซม.
.
ซม
60

40 ซม.
วิธีทำา ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง
น้ำาในตู้ปลามีปริมาตร 25 × 50 × 12 = 15,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
หาปริมาตรของน้ำาสีย้อมผ้าในถังได้อย่างไร เนื่องจาก 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร เท่ากับ 1 ลิตร
ดังนั้น ตู้ปลานี้มีน้ำา 15,000 ÷ 1,000 = 15 ลิตร

น้ำาสีย้อมผ้าในถังนี้ จะมีรูปร่างเป็นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ตอบ ๑๕ ลิตร


ซึ่งกว้าง 40 เซนติเมตร ยาว 60 เซนติเมตร และสูง 30 เซนติเมตร
จึงหาปริมาตรของน้ำาสีย้อมผ้าโดยใช้วิธีเดียวกันกับการหาปริมาตรของ
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ตรวจสอบได้อย่างไรว่า 15 ล. เป็นคำาตอบที่ถูกต้อง

ต้องหาว่า ระดับน้ำาในตู้ปลาสูงเท่าใด ซึ่งหาได้จาก


ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง
ปริมาตรของน้ำา หารด้วย พื้นที่ฐานของตู้ปลา
ปริมาตรของน้ำาสีย้อมผ้าในถัง = 40 × 60 × 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร
น้ำาในตู้ปลามีปริมาตร 15 ล. คิดเป็น 15 × 1,000 = 15,000 ลบ.ซม.
= 72,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ตู้ปลามีพื้นที่ฐาน 25 × 50 = 1,250 ตร.ซม.
จะได้ว่า ระดับน้ำาในตู้ปลาสูง 15,000 ÷ 1,250 = 12 ซม. พบว่าสอดคล้องกับโจทย์

มีน้ำาสีย้อมผ้าในถัง 72,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร แสดงว่า 15 ล. เป็นคำาตอบที่ถูกต้อง

170 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 171

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 143
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

2. เพื่อตรวจสอบความเข้าใจและสรุปความรู้ที่ได้ ให้นักเรียน
ทำ�กิจกรรมหน้า 172 เป็นรายบุคคล
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

แสดงวิธีหาคำาตอบ
หมายเหตุ หน้า 172 ตรวจสอบความเข้าใจข้อ 1
1 แท็งก์น้ำาทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก วัดขนาดภายในได้กว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร สูง 1.2 เมตร
โจทย์ที่ถูกต้องคือ บ่ออนุบาลเต่าทะเลเป็นทรงสี่เหลี่ยม มีน้ำาอยู่ครึ่งแท็งก์ ในแท็งก์มีน้ำากี่ลูกบาศก์เมตร

มุมฉาก วัดขนาดภายในได้กว้าง 5 เมตร ยาว 6 เมตร 2 บ่อน้ำาทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร ลึก 1.5 เมตร มีระดับน้ำาสูง 1 เมตร
ในบ่อมีน้ำากี่ลิตร

และลึก 0.8 เมตร ถ้าต้องการเทน้ำ�ลงในบ่อให้ระดับน้ำ�สูง 3 กระถางต้นไม้ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก วัดขนาดภายในได้สูง 50 เซนติเมตร และมีพื้นที่ฐาน

0.2 เมตร จะต้องใช้น้ำ�กี่ลิตร 2,100 ตารางเซนติเมตร เมื่อเทดิน 1 ถุง ลงในกระถาง พบว่า ระดับผิวดินสูงจากก้นกระถาง
40 เซนติเมตร ดินถุงนี้มีปริมาตรกี่ลูกบาศก์เซนติเมตร

แบบฝึกหัด 8.12

ตรวจสอบความเข้าใจ

แสดงวิธีหาคำาตอบ

1 บ่ออนุบาลเต่าทะเลเป็นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก วัดขนาดภายในได้กว้าง 5 เมตร ยาว 6 เมตร


และลึก 0.8 เมตร ถ้าต้องการเทน้ำาลงในบ่อให้ระดับน้ำาสูง 0.2 เมตร จะต้องใช้น้ำากี่ลิตร

2 แท็งก์น้ำาทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากใบหนึ่งบรรจุน้ำาเต็ม วัดขนาดภายในได้กว้าง 80 เซนติเมตร


และยาว 100 เซนติเมตร เมื่อกรอกน้ำาจากแท็งก์ใส่ขวด ขวดละ 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ได้ 480 ขวดพอดี แท็งก์น้ำาใบนี้สูงกี่เซนติเมตร

สิ่งที่ได้เรียนรู้

บอกลำาดับขั้นการแก้ปัญหาของโจทย์นี้
“กล่องสีขาว มีความจุมากกว่ากล่องสีแดง 1.4 ลิตร ถ้ากล่องสีแดง เป็นกล่อง
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก วัดขนาดภายในได้กว้าง 12 เซนติเมตร ยาว 15 เซนติเมตร
และสูง 10 เซนติเมตร กล่องสีขาว มีความจุกี่ลิตร”

172 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5


บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

เฉลยหน้า 172 เฉลยหน้า 172


ตรวจสอบความเข้าใจ
1 วิธีทำา 1 แท็งก์น้ำาสูง 1.2 เมตร มีน้ำาอยู่ครึ่งแท็งก์
แสดงว่า มีระดับน้ำาสูง 1.2 ÷ 2 = 0.6 เมตร 1 วิธีทำา ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง
ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง ต้องเทน้ำาลงในบ่อปริมาตร 5 × 6 × 0.2 = 6 ลูกบาศก์เมตร
ดังนั้น ในแท็งก์มีน้ำา 1 × 1 × 0.6 = 0.6 ลูกบาศก์เมตร เนื่องจาก 1 ลูกบาศก์เมตร = 1,000 ลิตร
ตอบ ๐.๖ ลูกบาศก์เมตร ดังนั้น ต้องใช้น้ำา 6 × 1,000 = 6,000 ลิตร
ตอบ ๖,๐๐๐ ลิตร
วิธีทำา 2 ความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง
แท็งก์น้ำามีความจุ 1 × 1 × 1.2 = 1.2 ลูกบาศก์เมตร 2 วิธีทำา กรอกน้ำาจากแท็งก์ใส่ขวด ขวดละ 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร ได้ 480 ขวด
มีน้ำาอยู่ครึ่งแท็งก์ แสดงว่า แท็งก์น้ำามีความจุ 480 × 1,000 = 480,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ดังนั้น ในแท็งก์มีน้ำา 1.2 ÷ 2 = 0.6 ลูกบาศก์เมตร พื้นที่ฐานของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว
ตอบ ๐.๖ ลูกบาศก์เมตร
แท็งก์น้ำามีพื้นที่ฐาน 80 × 100 = 8,000 ตารางเซนติเมตร
เนื่องจาก ความสูง = ความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ÷ พื้นที่ฐาน
2 วิธีทำา ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง
ดังนั้น แท็งก์น้ำาใบนี้สูง 480,000 ÷ 8,000 = 60 เซนติเมตร
น้ำาในบ่อมีปริมาตร 4 × 6 × 1 = 24 ลูกบาศก์เมตร
ตอบ ๖๐ เซนติเมตร
เนื่องจาก 1 ลูกบาศก์เมตร = 1,000 ลิตร
ดังนั้น ในบ่อมีน้ำา 24 × 1,000 = 24,000 ลิตร
ตอบ ๒๔,๐๐๐ ลิตร
สิ่งที่ได้เรียนรู้
3 วิธีทำา เทดิน 1 ถุง ใส่กระถางต้นไม้ที่มีพื้นที่ฐาน 2,100 ตารางเซนติเมตร
ขั้นที่ 1 หาความจุของกล่องสีแดง โดยนำาความกว้าง ความยาว และความสูงมาคูณกัน ซึ่งมีหน่วยเป็น
ระดับผิวดินสูงจากก้นกระถาง 40 เซนติเมตร ลูกบาศก์เซนติเมตร
ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = พื้นที่ฐาน × ความสูง
ขั้นที่ 2 เปลี่ยนหน่วยของความจุของกล่องสีแดง จากลูกบาศก์เซนติเมตรเป็นลิตร
ดังนั้น ดินถุงนี้มีปริมาตร 2,100 × 40 = 84,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ขั้นที่ 3 หาความจุของกล่องสีขาว โดยนำาความจุของกล่องสีแดง รวมกับ ความจุที่กล่องสีขาวมีมากกว่า
ตอบ ๘๔,๐๐๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร
กล่องสีแดง

144 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

ร่วมคิดร่วมทำ�

ร่วมคิดร่วมทำ�เป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนนำ�ความรู้
ที่ได้จากการเรียนในบทเรียนนี้มาช่วยกันแก้ปัญหา โดยครู
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

อาจแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน แล้วให้นักเรียน ร่วมคิดร่วมทำา 1


ปฏิบัติกิจกรรมตามหน้า 173
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมต่อไปนี้

1. เขียนรูปของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ที่มีปริมาตร 24 ลูกบาศก์เซนติเมตร


บนกระดาษจุดไอโซเมตริก จำานวน 6 แบบที่ไม่ซ้ำากัน โดยแต่ละด้าน
มีความยาวเป็นจำานวนนับ พร้อมระบุความยาวด้าน
2. ใช้ดินน้ำามันสร้างทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ให้มีขนาดตามข้อ 1.
3. นำาเสนอผลงาน แล้วร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับปริมาตรและขนาด
ของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากที่สร้าง ในประเด็นต่อไปนี้
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีปริมาตรเท่ากัน จะมีขนาดเท่ากันหรือไม่
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีขนาดเท่ากัน จะมีปริมาตรเท่ากันหรือไม่

กระดาษจุดไอโซเมตริก

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 173

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 145
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

ตัวอย่างข้อสอบ บทที่ 8 ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 1 นักเรียนสามารถบอกลักษณะและส่วนต่าง ๆ ของปริซึม

เติมคำ�ตอบ

1. ปริซึมหกเหลี่ยม มีหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ........................ หน้า

2. ปริซึมที่มีหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก มีหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ........................ หน้า

3. ปริซึมที่มีจำ�นวนหน้าน้อยที่สุด คือ ปริซึม ................................. มีทั้งหมด ........................ หน้า

4. ลูกบาศก์มีจำ�นวนหน้ามากกว่าปริซึมสามเหลี่ยม อยู่ ........................ หน้า

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 2 นักเรียนสามารถหาปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

เติมคำ�ตอบ

1. ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีความกว้าง 24 เซนติเมตร ความยาว 50 เซนติเมตร และความสูง 32 เซนติเมตร

มีปริมาตร ……………………………………………………….

2. ตู้ปลาใบหนึ่งวัดขนาดภายในได้สูง 42 เซนติเมตร มีพื้นที่ฐาน 1,750 ตารางเซนติเมตร


ตู้ปลาใบนี้มีความจุ ……………………………………………………….

3. อ่างน้ำ�ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก วัดขนาดภายในได้กว้าง 0.7 เมตร ยาว 1.2 เมตร และสูง 0.8 เมตร

อ่างใบนี้จุน้ำ�ได้ ……………………………………………………….

4. แท่งปูนทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก มีฐานยาวด้านละ 25 เซนติเมตร และสูง 40 เซนติเมตร

มีปริมาตร ……………………………………………………….

146 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 3 นักเรียนสามารถบอกความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยปริมาตรหรือหน่วยความจุ

ตอบคำ�ถาม

1. น้ำ�ประปา 3.2 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นกี่ลิตร

2. ใบบัวมีน้ำ�ส้มคั้น 650 ลูกบาศก์เซนติเมตร คิดเป็นกี่ลิตร

3. ขุนกินนมไป 254 มิลลิลิตร คิดเป็นกี่ลิตร

4. ขวดใบหนึ่งมีความจุ 1.25 ลิตร คิดเป็นกี่ลูกบาศก์เซนติเมตร

5. ถังใบหนึ่งมีน้ำ�มันอยู่ 200 ลิตร ถังใบนี้มีน้ำ�มันอยู่กี่ลูกบาศก์เมตร

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 4 นักเรียนสามารถแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากและความจุ
ของภาชนะทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

แสดงวิธีหาคำ�ตอบ

1. บ่อเลี้ยงปลาทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ลึก 1.5 เมตร และมีพื้นที่ฐาน 20 ตารางเมตร ต้องการเติมน้ำ�

ให้ระดับน้ำ�ต่ำ�กว่าขอบบ่อ 30 เซนติเมตร จะต้องเติมน้ำ�ลงในบ่อกี่ลูกบาศก์เมตร

2. แก้วตาเติมน้ำ� 6 ลิตร ใส่ในตู้ปลาทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีพื้นที่ฐาน 300 ตารางเซนติเมตร

จะได้ระดับน้ำ�สูงเท่าใด

3. ถังทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก 2 ใบ ใบเล็กมีขนาดภายในกว้าง 12 เซนติเมตร ยาว 25 เซนติเมตร

และสูง 30 เซนติเมตร ใบใหญ่ภายในมีพื้นที่ฐาน 400 ตารางเซนติเมตร สูง 35 เซนติเมตร

และมีน้ำ�อยู่เต็มถัง ถ้าเทน้ำ�จากถังใบใหญ่ใส่ถังใบเล็กจนเต็ม จะเหลือน้ำ�อยู่ในถังใบใหญ่กี่ลิตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 147
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2 บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

เฉลยตัวอย่างข้อสอบ บทที่ 8 ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 1

1. 6 หน้า

2. 6 หน้า

3. ปริซึมสามเหลี่ยม, 5 หน้า

4. 1 หน้า

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 2

1. 38,400 ลูกบาศก์เซนติเมตร

2. 73,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร

3. 0.672 ลูกบาศก์เมตร

4. 25,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 3

1. 3,200 ลิตร

2. 0.65 ลิตร

3. 0.254 ลิตร

4. 1,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร

5. 0.2 ลูกบาศก์เมตร

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 4

1. 24 ลูกบาศก์เมตร

2. 20 เซนติเมตร

3. 5 ลิตร

148 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เฉลยแบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน

สารบัญเฉลยแบบฝึกหัด

บทที่
บัญญัติไตรยางศ์ (หน้า 150)
4

รานคา OTOP บทที่


ร้อยละ (หน้า 157)
5

บทที่
เส้นขนาน (หน้า 166)
6
จุดชำระสินคา
บทที่
รูปสี่เหลี่ยม (หน้า 182)
7

บทที่
ปริมาตรและความจุของทรงสีเ่ หลีย
่ มมุมฉาก (หน้า 198)
8
150 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

แบบฝึกหัด 3 เติมคำาตอบ

บทที่ 4 บัญญัติไตรยางศ์
1) ณรงค์ซื้อปากกาชนิดเดียวกัน 8 ด้าม จ่ายเงิน 96 บาท ปากการาคาด้ามละเท่าใด

แบบฝึกหัด 4.1 ๑๒ บาท


ตอบ ................................................................................................................................

1 โยงเส้นจับคู่โจทย์ที่มีผลลัพธ์เท่ากัน
2) อารีปั่นจักรยาน 3 ชั่วโมง ได้ระยะทาง 45 กิโลเมตร อารีใช้เวลาปั่นจักรยาน
45 × 3 = …...…...…....
27 เฉลี่ยชั่วโมงละกี่กิโลเมตร
5
๑๕ กิโลเมตร
ตอบ ................................................................................................................................
1) 4 16 45
20 × = ………..…...... 75
× 5 = ………..........
5 3

25 3) เบญวิ่งรอบสนามกีฬาแห่งหนึ่ง 8 รอบ แต่ละรอบวิ่งได้ระยะทาง 400 เมตร


2) 20 × 5 ÷ 4 = ………..... 16
20 × 4 ÷ 5 = ………....
เบญวิ่งได้ระยะทางทั้งหมดเท่าใด

3) 3 18 36 72 ๓,๒๐๐ เมตร
ตอบ ................................................................................................................................
24 × = ………...…..... × 6 = ………..........
4 3

4) 72
36 ÷ 3 × 6 = ………..... 18
24 × 3 ÷ 4 = …….…... 4) ปรายแบ่งถัว่ เขียว 35 กิโลกรัม ใส่ถงุ ถุงละ 5 กิโลกรัม ปรายจะต้องใช้ถงุ ทัง้ หมดกีใ่ บ

36 = ………...…....... ๗ ใบ
ตอบ ................................................................................................................................
2
5) 27
45 ÷ 5 × 3 = …...…….. 3×6

5 25 5) กอล์ฟซื้อน้ำาหวาน 6 ขวด ขวดละ 0.75 ลิตร กอล์ฟซื้อน้ำาหวานกี่ลิตร


20 × = ……….…......
4
๔.๕ ลิตร หรือ ๔.๕๐ ลิตร
ตอบ ................................................................................................................................
32
24 × 4 ÷ 3 = ……….....

6) ปลากระป๋อง 1 แพ็ค มี 5 กระป๋อง ราคา 85 บาท คิดเป็นราคากระป๋องละกี่บาท

2 เติมผลคูณ ๑๗ บาท
ตอบ ................................................................................................................................

12 60 400 200
1) × 100 = ……….........….. 2) 50 × = ……….........….
20 100
7) ป้าติ๋วมีที่ดิน 150 ตารางวา ซึ่งกรมที่ดินกำาหนดราคาประเมินตารางวาละ 4,000 บาท
3 15 7 42 ที่ดินผืนนี้เมื่อคิดตามราคาประเมินจะมีราคาเท่าใด
3) 40 × = ……….........….. 4) × 90 = ……….........….
8 15
24 4 ๖๐๐,๐๐๐ บาท
ตอบ ................................................................................................................................
5) 132
× 88 = ……….........….. 6) 125 × 100
= ……….........….
16 5

2| สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |3
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 151 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์ บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

4 แสดงวิธีหาคำาตอบ แบบฝึกหัด 4.2

1 แสดงวิธีหาคำาตอบ * ข้อ 1) - 11) บรรทัดที่ 1 และบรรทัดที่ 2 ของการเขียนแสดงวิธีทำา


2
1) โก้มีมะม่วง 45 ผล ขายมะม่วงไป ของจำานวนมะม่วงทัง้ หมด อาจเขียนสลับที่กันได้
3
โก้ขายมะม่วงกี่ผล
1) น้ำาซอสปรุงรส 7 ลิตร บรรจุขวดให้มีปริมาณเท่ากันได้ 14 ขวด
วิธีทำา โก้มม ี ะม่วง 45 ผล
............................................................................................................................................... น้ำาซอสปรุงรส 1 ลิตร บรรจุขวดได้กี่ขวด

ขายมะม่วงไป 2 ของจำานวนมะม่วงทัง้ หมด


............................................................................................................................................... วิธีทำา บรรจุน้ำาซอสปรุงรสปริมาณเท่ากันได้ 14 ขวด
.....................................................................................................................................
3
2 ใช้น้ำาซอสปรุงรส 7 ลิตร
ดังนัน ้ โก้ขายมะม่วง × 45 = 30 ผล
............................................................................................................................................... .....................................................................................................................................
3
ตอบ ๓๐ ผล
............................................................................................................................................... ดังนัน ้ น้ำาซอสปรุงรส 1 ลิตร บรรจุขวดได้ 14 ÷ 7 = 2 ขวด
.....................................................................................................................................

ตอบ ๒ ขวด
.....................................................................................................................................
2) ป้าแก้วแบ่งที่ดิน 6,000 ตารางวา เป็นพื้นที่สำาหรับปลูกข้าว ปลูกพืชไร่
7 .....................................................................................................................................
และผักสวนครัว คิดเป็น ของที่ดินทั้งหมด ส่วนที่เหลือทั้งหมดขุดเป็นสระน้ำา
10
บริเวณที่เป็นสระน้ำามีพื้นที่กี่ตารางวา
2) ติ๋มซื้อเนื้อไก่สด 5 กิโลกรัม จ่ายเงิน 400 บาท เนื้อไก่สด 1 กิโลกรัม ราคาเท่าใด
วิธีทำา ป้าแก้วแบ่งที่ดิน 6,000 ตารางวา
...............................................................................................................................................
วิธีทำา ติ๋มจ่ายเงินซื้อเนื้อไก่สด 400 บาท
.....................................................................................................................................
แบ่งเป็นพื้นที่สำาหรับปลูกข้าว ปลูกพืชไร่ และผักสวนครัว 7 ของที่ดินทั้งหมด
...............................................................................................................................................
10 ได้เนื้อไก่สด 5 กิโลกรัม
.....................................................................................................................................
หรื อ คิ ด เป็ น 7 × 6,000 = 4,200 ตารางวา
...............................................................................................................................................
10 ดังนัน ้ เนื้อไก่สด 1 กิโลกรัม ราคา 400 ÷ 5 = 80 บาท
.....................................................................................................................................
ดังนั้น บริเวณที่เป็นสระน้ำามีพื้นที่ 6,000 − 4,200 = 1,800 ตารางวา
...............................................................................................................................................
ตอบ ๘๐ บาท
.....................................................................................................................................
ตอบ ๑,๘๐๐ ตารางวา
...............................................................................................................................................
.....................................................................................................................................
4
3) ก้องซื้อเสื้อ 1 ตัว ราคา 480 บาท และซื้อกางเกง 1 ตัว ซึ่งมีราคาเป็น ของราคาเสื้อ
5
ก้องจ่ายเงินค่าเสื้อและกางเกงทั้งหมดกี่บาท 3) วันดีซื้อสมุด 9 เล่ม ราคาเล่มละ 25 บาท วันดีต้องจ่ายเงินเท่าใด
วิธีทำา ก้องซื้อเสื้อ 1 ตัว ราคา 480 บาท
............................................................................................................................................... วิธีทำา สมุดราคาเล่มละ 25 บาท
.....................................................................................................................................
และซื้อกางเกง 1 ตัว ซึ่งมีราคาเป็น 4 ของราคาเสื้อ
............................................................................................................................................... วันดีซื้อสมุด 9 เล่ม
.....................................................................................................................................
5
แสดงว่า กางเกง 1 ตัว ราคา 4 × 480 = 384 บาท
............................................................................................................................................... ดังนั้น วันดีต้องจ่ายเงิน 9 × 25 = 225 บาท
.....................................................................................................................................
5
ดั ง นั น
้ ก้ อ งจ่ า ยเงิ น ค่ า เสื อ
้ และกางเกงทั ง
้ หมด 480 + 384 = 864 บาท
............................................................................................................................................... ตอบ ๒๒๕ บาท
.....................................................................................................................................
ตอบ ๘๖๔ บาท
............................................................................................................................................... .....................................................................................................................................

4| สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |5
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 152 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์ บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

4) ท่อน้ำายาว 3.6 เมตร นำามาตัดเป็นท่อน ยาวท่อนละเท่า ๆ กัน ได้ 4 ท่อน 7) สหกรณ์โรงเรียนมีดินสอ 10 โหล สหกรณ์โรงเรียนมีดินสอกี่แท่ง
ท่อน้ำาแต่ละท่อนยาวเท่าใด วิธีทำา สหกรณ์โรงเรียนมีดินสอ 10 โหล
.....................................................................................................................................
วิธีทำา ท่อน้ำายาว 3.6 เมตร
..................................................................................................................................... ดินสอ 1 โหล มี 12 แท่ง
.....................................................................................................................................
นำามาตัดเป็นท่อน ยาวท่อนละเท่า ๆ กันได้ 4 ท่อน
..................................................................................................................................... ดังนัน ้ สหกรณ์โรงเรียนมีดินสอ 10 × 12 = 120 แท่ง
.....................................................................................................................................

ดังนัน ้ ท่อน้ำาแต่ละท่อนยาว 3.6 ÷ 4 = 0.9 เมตร


..................................................................................................................................... ตอบ ๑๒๐ แท่ง
.....................................................................................................................................

ตอบ ๐.๙ เมตร


..................................................................................................................................... .....................................................................................................................................

.....................................................................................................................................
8) ตุ๊กจัดโต๊ะประชุม 15 ตัว ใช้เก้าอี้ 90 ตัว โต๊ะแต่ละตัวใช้เก้าอี้กี่ตัว
5) จอยจ่ายค่าจ้างปูกระเบื้อง 40 ตารางเมตร เป็นเงิน 10,000 บาท วิธีทำา ตุ๊กจัดโต๊ะประชุม 15 ตัว
.....................................................................................................................................
ช่างคิดค่าจ้างปูกระเบื้องตารางเมตรละเท่าใด
ใช้เก้าอี้ทั้งหมด 90 ตัว
.....................................................................................................................................
วิธีทำา จ่ายค่าจ้างปูกระเบื้อง 10,000 บาท
.....................................................................................................................................
ดังนั้น โต๊ะแต่ละตัวใช้เก้าอี้ 90 ÷ 15 = 6 ตัว
.....................................................................................................................................
ปูกระเบื้องพื้นที่ 40 ตารางเมตร
.....................................................................................................................................
ตอบ ๖ ตัว
.....................................................................................................................................
ดังนัน ้ ช่างคิดค่าจ้างปูกระเบื้องตารางเมตรละ 10,000 ÷ 40 = 250 บาท
.....................................................................................................................................
.....................................................................................................................................
ตอบ ๒๕๐ บาท
.....................................................................................................................................

.....................................................................................................................................
9) นัทขับรถยนต์ 9 ชั่วโมง ได้ระยะทาง 675 กิโลเมตร นัทขับรถยนต์ด้วยความเร็ว
เฉลี่ยชั่วโมงละกี่กิโลเมตร
6) ขนมกล่องหนึ่งมี 8 ชิ้น อารีรัตน์ซื้อขนม 7 กล่อง ได้ขนมกี่ชิ้น
วิธีทำา นัทขับรถยนต์ได้ระยะทาง 675 กิโลเมตร
.....................................................................................................................................
วิธีทำา ขนมหนึ่งกล่องมี 8 ชิ้น
.....................................................................................................................................
ใช้เวลาขับรถ 9 ชั่วโมง
.....................................................................................................................................
อารีรัตน์ซื้อขนม 7 กล่อง
.....................................................................................................................................
ดังนั้น อารีรัตน์ได้ขนม 7 × 8 = 56 ชิ้น ดังนัน ้ นัทขับรถยนต์ด้วยความเร็วเฉลี่ยชั่วโมงละ 675 ÷ 9 = 75 กิโลเมตร
.....................................................................................................................................
.....................................................................................................................................

ตอบ ๕๖ ชิ้น
..................................................................................................................................... ตอบ ๗๕ กิโลเมตร
.....................................................................................................................................

..................................................................................................................................... .....................................................................................................................................

6| สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |7
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 153 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์ บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

แบบฝึกหัด 4.3
10) น้ำายาปรับผ้านุ่ม 1 ถุง มีปริมาตร 0.6 ลิตร แอนมีน้ำายาปรับผ้านุ่ม 20 ถุง
แสดงวิธีหาคำาตอบ
แอนมีน้ำายาปรับผ้านุ่มกี่ลิตร
วิธีทำา น้ำายาปรับผ้านุ่ม 1 ถุง มีปริมาตร 0.6 ลิตร
.....................................................................................................................................
1 ลูกพลับ 3 ถุง แต่ละถุงบรรจุลูกพลับจำานวนเท่า ๆ กัน นับรวมได้ 12 ผล
แอนมีน้ำายาปรับผ้านุ่ม 20 ถุง
.....................................................................................................................................
โหน่งซื้อลูกพลับ 5 ถุง จะได้ลูกพลับกี่ผล
ดังนั้น แอนมีน้ำายาปรับผ้านุ่มทั้งหมด 20 × 0.6 = 12.0 ลิตร หรือ 12 ลิตร
.....................................................................................................................................
วิธีทำา ลูกพลับ 3 ถุง นับรวมได้ 12 ผล
.......................................................................................................................................
ตอบ ๑๒ ลิตร
.....................................................................................................................................
ลูกพลับ 1 ถุง นับรวมได้ 12 ผล
.......................................................................................................................................
..................................................................................................................................... 3
ลูกพลับ 5 ถุง นับรวมได้ 5 × 12 = 20 ผล
.......................................................................................................................................
3
11) ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ถึง 31 สิงหาคม ของปีเดียวกัน ดวงใจออมเงินทุกวัน วันละ 60 บาท ดังนัน ้ โหน่งซือ ้ ลูกพลับ 5 ถุง จะได้ลก ู พลับ 20 ผล
.......................................................................................................................................
ดวงใจออมเงินได้ทั้งหมดเท่าใด
ตอบ ๒๐ ผล
........................................................................................................................
วิธีทำา ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ถึง 31 สิงหาคม มี 30 + 31 + 31 = 92 วัน
.....................................................................................................................................
ดวงใจออมเงินวันละ 60 บาท
.....................................................................................................................................
2 ตุลย์ซื้อปลาเทวดา 4 ตัว จ่ายเงินไป 48 บาท ต่อมาซื้อเพิ่มอีก 9 ตัว จากร้านเดิม
ดังนัน ้ ดวงใจออมเงินได้ทั้งหมด 92 × 60 = 5,520 บาท
..................................................................................................................................... ตุลย์ต้องจ่ายเงินอีกเท่าใด
ตอบ ๕,๕๒๐ บาท
..................................................................................................................................... วิธีทำา ตุลย์ซื้อปลาเทวดา 4 ตัว จ่ายเงิน 48 บาท
.......................................................................................................................................
..................................................................................................................................... 48 บาท
ตุลย์ซื้อปลาเทวดา 1 ตัว จ่ายเงิน
.......................................................................................................................................
4
ตุลย์ซื้อปลาเทวดา 9 ตัว จ่ายเงิน 9 × 48 = 108 บาท
.......................................................................................................................................
4
2 เติมคำาตอบ
ดังนัน ้ ตุลย์ต้องจ่ายเงินอีก 108 บาท
......................................................................................................................
1) ต้อยซื้อข้าวสาร 6 ถุง ถุงละเท่า ๆ กัน ได้ข้าวสารทั้งหมด 90 กิโลกรัม ข้าวสารหนัก
ตอบ ๑๐๘ บาท
......................................................................................................................
ถุงละกี่กิโลกรัม
๑๕ กิโลกรัม
ตอบ ...................................................................................................................................... 3 เดือนที่แล้วครอบครัวของเดชใช้น้ำาประปา 20 หน่วย จ่ายค่าน้ำา* 300 บาท
เดือนนี้ครอบครัวของเดชใช้น้ำาประปา 15 หน่วย จะต้องจ่ายค่าน้ำาเท่าใด
2) พื้นที่ 1 ไร่ เท่ากับ 400 ตารางวา มธุรสมีที่ดิน 15 ไร่ คิดเป็นกี่ตารางวา
วิธีทำา ใช้น้ำาประปา 20 หน่วย จ่ายค่าน้ำา 300 บาท
.......................................................................................................................................
๖,๐๐๐ ตารางวา
ตอบ ......................................................................................................................................
ใช้น้ำาประปา 1 หน่วย จ่ายค่าน้ำา 300 บาท
.......................................................................................................................................
3) น้ำา 1 ขวด มีปริมาตร 0.5 ลิตร ทองดีซื้อน้ำา 5 โหล ได้น้ำากี่ลิตร 20
ใช้น้ำาประปา 15 หน่วย จ่ายค่าน้ำา 15 × 300 = 225 บาท
.......................................................................................................................................
๓๐ ลิตร หรือ ๓๐.๐ ลิตร
ตอบ ...................................................................................................................................... 20
ดังนัน ้ เดือนนีค ้ รอบครัวของเดชใช้น้ำาประปา 15 หน่วย จะต้องจ่ายเงิน 225 บาท
.......................................................................................................................................
4) อรอุมาทำางาน 24 วัน ได้รับค่าจ้างทั้งหมด 8,280 บาท อรอุมาได้รับค่าจ้างวันละเท่าใด
ตอบ ๒๒๕ บาท
.......................................................................................................................................
๓๔๕ บาท
ตอบ ...................................................................................................................................... * ค่าน้ำาประปาแต่ละเดือนประกอบด้วย ค่าน้ำา ค่าบริการ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และอื่น ๆ

8| สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |9
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 154 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์ บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

4 จอยเทนมสด 2 ลิตร ใส่แก้ว แก้วละเท่า ๆ กันได้ 8 แก้ว ถ้าจอยต้องการเทนมสด 7 ในการสอบวิชาคณิตศาสตร์ครั้งหนึ่ง คะแนนเต็ม 60 คะแนน ดาสอบได้ 51 คะแนน
5 ลิตร ใส่แก้ว โดยให้แต่ละแก้วมีปริมาณเท่าเดิม จอยจะเทนมสดได้กแ่ี ก้ว ถ้าครูคิดคะแนนเต็ม 100 คะแนน ดาจะได้กี่คะแนน

วิธีทำา นมสด 2 ลิตร เทใส่แก้วได้ 8 แก้ว


....................................................................................................................................... วิธีทำา คะแนนเต็ม 60 คะแนน ดาสอบได้ 51 คะแนน
.......................................................................................................................................

นมสด 1 ลิตร เทใส่แก้วได้ 8 แก้ว


....................................................................................................................................... คะแนนเต็ม 1 คะแนน ดาจะได้ 51 คะแนน
.......................................................................................................................................
2 60
นมสด 5 ลิตร เทใส่แก้วได้ 5 × 8 = 20 แก้ว
....................................................................................................................................... ถ้าคะแนนเต็ม 100 คะแนน ดาจะได้ 100 × 51 = 85 คะแนน
.......................................................................................................................................
2 60
ดังนัน ้ ถ้าจอยต้องการเทนมสด 5 ลิตร ใส่แก้ว จอยจะเทได้ 20 แก้ว
....................................................................................................................................... ดังนัน้ ถ้าครูคิดคะแนนเต็ม 100 คะแนน ดาจะได้ 85 คะแนน
.......................................................................................................................................
กระดาษคำตอบ

ตอบ ๒๐ แก้ว
....................................................................................................................................... ตอบ ๘๕ คะแนน
.......................................................................................................................................

5 น้ำาเชื่อม 8 ขวด ใช้ผสมเพื่อทำาน้ำาผลไม้ได้ 200 แก้ว น้ำาเชื่อม 18 ขวด 8 สมุนไพร 490 กรัม เพ็ญนำามาแบ่งใส่ถุง ถุงละเท่า ๆ กันได้ 70 ถุง สมุนไพร 210 กรัม
ใช้ผสมทำาน้ำาผลไม้ได้กี่แก้ว เพ็ญนำามาแบ่งใส่ถุงในปริมาณเท่าเดิมได้กี่ถุง

วิธีทำา น้ำาเชื่อม 8 ขวด ใช้ผสมทำาน้ำาผลไม้ได 200 แก้ว


....................................................................................................................................... วิธีทำา สมุนไพร 490 กรัม แบ่งใส่ถุง ถุงละเท่า ๆ กันได้ 70 ถุง
.......................................................................................................................................

น้ำาเชื่อม 1 ขวด ใช้ผสมทำาน้ำาผลไม้ได้ 200 แก้ว


....................................................................................................................................... สมุนไพร 1 กรัม แบ่งใส่ถุง ถุงละเท่า ๆ กันได้ 70 ถุง
.......................................................................................................................................
8 490
น้ำาเชื่อม 18 ขวด ใช้ผสมทำาน้ำาผลไม้ได้ 18 × 200 = 450 แก้ว
....................................................................................................................................... สมุนไพร 210 กรัม แบ่งใส่ถุง ถุงละเท่า ๆ กันได้ 210 × 70 = 30 ถุง
.......................................................................................................................................
8 490
ดังนัน ้ น้ำาเชื่อม 18 ขวด ใช้ผสมทำาน้ำาผลไม้ได้ 450 แก้ว
....................................................................................................................................... ดังนัน้ สมุนไพร 210 กรัม เพ็ญนำามาแบ่งใส่ถุงในปริมาณเท่าเดิมได้ 30 ถุง
.......................................................................................................................................

ตอบ ๔๕๐ แก้ว


....................................................................................................................................... ตอบ ๓๐ ถุง
.......................................................................................................................................

6 ดินสอ 6 แท่ง ราคา 15 บาท ถ้าหน่อยซื้อดินสอ 24 แท่ง ต้องจ่ายเงินกี่บาท 9 ปลาดุก 8 กิโลกรัม ราคา 420 บาท ถ้าแดงซื้อปลาดุก 10 กิโลกรัม ต้องจ่ายเงินเท่าใด

วิธีทำา ดินสอ 6 แท่ง ราคา 15 บาท


....................................................................................................................................... วิธีทำา ปลาดุก 8 กิโลกรัม ราคา 420 บาท
.......................................................................................................................................

ดินสอ 1 แท่ง ราคา 15 บาท


....................................................................................................................................... ปลาดุก 1 กิโลกรัม ราคา 420 บาท
.......................................................................................................................................
6 8
ดินสอ 24 แท่ง ราคา 24 × 15 = 60 บาท
....................................................................................................................................... ปลาดุก 10 กิโลกรัม ราคา 10 × 420 = 525 บาท
.......................................................................................................................................
6 8
ดังนัน ้ ถ้าหน่อยซื้อดินสอ 24 แท่ง ต้องจ่ายเงิน 60 บาท
....................................................................................................................................... ดังนัน ้ ถ้าแดงซื้อปลาดุก 10 กิโลกรัม ต้องจ่ายเงิน 525 บาท
.......................................................................................................................................

ตอบ ๖๐ บาท
...................................................................................................................................... ตอบ ๕๒๕ บาท
.......................................................................................................................................

10 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 11
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 155 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์ บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

แบบฝึกหัด 4.4

แสดงวิธีหาคำาตอบ 4 ถ้าเงินญี่ปุ่น 100 เยน แลกเป็นเงินไทยได้ 33 บาท แจ๋วมีเงิน 13,200 บาท


จะแลกเป็นเงินญี่ปุ่นได้กี่เยน

1 ช่างตัดกางเกงใช้ผ้า 5 เมตร ตัดกางเกงขนาดเดียวกันได้ 2 ตัว วิธีทำา เงินไทย 33 บาท แลกเงินญี่ปุ่นได้ 100 เยน
......................................................................................................................................
ถ้าช่างต้องการตัดกางเกงขนาดเดียวกันนี้ 30 ตัว จะต้องใช้ผ้าอย่างน้อยกี่เมตร เงินไทย 1 บาท แลกเงินญี่ปุ่นได้ 100 เยน
......................................................................................................................................
33
วิธีทำา ตัดกางเกง 2 ตัว ใช้ผ้า 5 เมตร
...................................................................................................................................... เงินไทย 13,200 บาท แลกเงินญี่ปุ่นได้ 13,200 × 100 = 40,000 เยน
......................................................................................................................................
33
ตัดกางเกง 1 ตัว ใช้ผ้า 5 เมตร
...................................................................................................................................... ดังนัน ้ แจ๋วมีเงิน 13,200 บาท จะแลกเป็นเงินญี่ปุ่นได้ 40,000 เยน
......................................................................................................................................
2
ตัดกางเกง 30 ตัว ใช้ผ้า 30 × 5 = 75 เมตร
...................................................................................................................................... ตอบ ๔๐,๐๐๐ เยน
......................................................................................................................................
2
ดังนัน้ ถ้าช่างต้องการตัดกางเกงขนาดเดียวกันนี้ 30 ตัว จะต้องใช้ผ้าอย่างน้อย 75 เมตร
......................................................................................................................................
ตอบ ๗๕ เมตร
...................................................................................................................................... 5 มะนาวขนาดเดียวกัน 50 ผล นำามาคั้นได้น้ำามะนาว 4 ขวด ถ้าสันต์ต้องการ
น้ำามะนาว 32 ขวด จะต้องใช้มะนาวกี่ผล
2 มะม่วง 10 ผล ราคา 60 บาท อุ๊ซื้อมะม่วง 36 บาท จะได้กี่ผล วิธีทำา น้ำามะนาว 4 ขวด ต้องใช้มะนาว 50 ผล
......................................................................................................................................
วิธีทำา ซื้อมะม่วง 60 บาท ได้มะม่วง 10 ผล
...................................................................................................................................... น้ำามะนาว 1 ขวด ต้องใช้มะนาว 50 ผล
......................................................................................................................................
4
ซื้อมะม่วง 1 บาท ได้มะม่วง 10 ผล
...................................................................................................................................... น้ำามะนาว 32 ขวด ต้องใช้มะนาว 32 × 50 = 400 ผล
......................................................................................................................................
60 4
ซื้อมะม่วง 36 บาท ได้มะม่วง 36 × 10 = 6 ผล
...................................................................................................................................... ดังนัน ้ ถ้าสันต์ต้องการน้ำามะนาว 32 ขวด จะต้องใช้มะนาว 400 ผล
......................................................................................................................................
60
ดังนัน้ อุ๊ซื้อมะม่วง 36 บาท จะได้ 6 ผล
...................................................................................................................................... ตอบ ๔๐๐ ผล
......................................................................................................................................
ตอบ ๖ ผล
......................................................................................................................................

6 น้ำาดื่ม 12 ขวด ราคา 65 บาท แดนจ่ายเงินซื้อน้ำาดื่ม 195 บาท จะได้น้ำาดื่มกี่ขวด


3 เงินไทย 100 บาท แลกเป็นเงินสหรัฐอเมริกาได้ 3 ดอลลาร์ ถ้าแววต้องการ
วิธีทำา แดนจ่ายเงินซื้อน้ำาดื่ม 65 บาท ได้นาำ้ ดืม ่ 12 ขวด
......................................................................................................................................
แลกเงินสหรัฐอเมริกา 300 ดอลลาร์ ต้องเตรียมเงินไทยไปแลกกี่บาท
แดนจ่ายเงินซื้อน้ำาดื่ม 1 บาท ได้นาำ้ ดืม ่ 12 ขวด
......................................................................................................................................
วิธีทำา เงินสหรัฐอเมริกา 3 ดอลลาร์ แลกเงินไทยได้ 100 บาท
...................................................................................................................................... 65
100 บาท แดนจ่ายเงินซื้อน้ำาดื่ม 195 บาท ได้นาำ้ ดืม ่ 195 × 12 = 36 ขวด
......................................................................................................................................
เงินสหรัฐอเมริกา 1 ดอลลาร์ แลกเงินไทยได้
..................................................................................................................................... 65
3
ดังนัน ้ แดนจ่ายเงินซื้อน้ำาดื่ม 195 บาท จะได้น้ำาดื่ม 36 ขวด
......................................................................................................................................
เงินสหรัฐอเมริกา 300 ดอลลาร์ แลกเงินไทยได้ 300 × 100 = 10,000 บาท
......................................................................................................................................
3
ตอบ ๓๖ ขวด
......................................................................................................................................
ดังนัน้ ถ้าแววต้องการแลกเงินสหรัฐอเมริกา 300 ดอลลาร์
......................................................................................................................................
ต้องเตรียมเงินไทยไปแลก 10,000 บาท
......................................................................................................................................
ตอบ ๑๐,๐๐๐ บาท

12 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 13
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 156 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์ บทที่ 4 | บัญญัติไตรยางศ์

7 ขนม 4 ถุง ราคา 78 บาท มินตราซื้อขนม 39 บาท จะได้ขนมกี่ถุง 10 เม็ดมะม่วงหิมพานต์ 15 กิโลกรัม กลุ่มแม่บ้านนำามาบรรจุถุงได้ 50 ถุง
วิธีทำา จ่ายเงินซื้อขนม 78 บาท ได้ขนม 4 ถุง
...................................................................................................................................... ถ้ามีผู้สั่งซื้อ 140 ถุง กลุ่มแม่บ้านต้องใช้เม็ดมะม่วงหิมพานต์กี่กิโลกรัม

จ่ายเงินซื้อขนม 1 บาท ได้ขนม 4 ถุง วิธีทำา เม็ดมะม่วงหิมพานต์ 50 ถุง ต้องใช้เม็ดมะม่วงหิมพานต์ 15 กิโลกรัม


......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
78
จ่ายเงินซื้อขนม 39 บาท ได้ขนม 39 × 4 = 2 ถุง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ 1 ถุง ต้องใช้เม็ดมะม่วงหิมพานต์ 15 กิโลกรัม
......................................................................................................................................
...................................................................................................................................... 50
78
ดังนัน ้ มินตราซื้อขนม 39 บาท จะได้ขนม 2 ถุง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ 140 ถุง ต้องใช้เม็ดมะม่วงหิมพานต์ 140 × 15 = 42 กิโลกรัม
......................................................................................................................................
......................................................................................................................................
Snack
Snack
50
ดังนัน ้ ถ้ามีผู้สั่งซื้อ 140 ถุง กลุ่มแม่บ้านต้องใช้เม็ดมะม่วงหิมพานต์ 42 กิโลกรัม
Snack

ตอบ ๒ ถุง
Snack

...................................................................................................................................... ......................................................................................................................................

ตอบ ๔๒ กิโลกรัม
......................................................................................................................................

8 เชือกยาว 75 เมตร สุนัยนำามาตัดเป็น 6 เส้น โดยแต่ละเส้นยาวเท่า ๆ กัน


11 แป้งขีจ่ ก
ั รยานรอบสนาม 3 รอบ ใช้เวลา 5 นาที ถ้าแป้งต้องการขีจ่ ก
ั รยาน
ถ้าสุนัยต้องการเชือกที่ยาวเท่ากันนี้อีก 20 เส้น จะต้องใช้เชือกอีกเท่าใด
ด้วยความเร็วเท่าเดิมเป็นเวลา 40 นาที แป้งจะต้องขี่จักรยานรอบสนามกี่รอบ
วิธีทำา ตัดเชือก 6 เส้น ใช้เชือกยาว 75 เมตร
......................................................................................................................................
ธีทำา เวลา 5 นาที แป้งขี่จักรยานรอบสนามได้ 3 รอบ
วิ......................................................................................................................................
ตัดเชือก 1 เส้น ใช้เชือกยาว 75 เมตร
......................................................................................................................................
6 เวลา 1 นาที แป้งขี่จักรยานรอบสนามได้ 3 รอบ
......................................................................................................................................
ตัดเชือก 20 เส้น ใช้เชือกยาว 20 × 75 = 250 เมตร
...................................................................................................................................... 5
6 เวลา 40 นาที แป้งขี่จักรยานรอบสนามได้ 40 × 3 = 24 รอบ
......................................................................................................................................
ดังนัน ้ ถ้าสุนัยต้องการเชือกที่ยาวเท่ากันนี้อีก 20 เส้น จะต้องใช้เชือกยาว 250 เมตร
...................................................................................................................................... 5
ดังนัน ้ ถ้าแป้งต้องการขีจ่ ก ั รยาน 40 นาที แป้งจะต้องขี่จักรยานรอบสนาม 24 รอบ
......................................................................................................................................
ตอบ ๒๕๐ เมตร
......................................................................................................................................
ตอบ ๒๔ รอบ
......................................................................................................................................

9 เมล็ดถั่วเขียว 45 ลิตร ปกรณ์นำามาบรรจุถุง ถุงละเท่า ๆ กันได้ 12 ถุง 12 กุหลาบ 128 ดอก นำามาจัดแจกัน แจกันละเท่า ๆ กัน ได้ 16 ใบ
ถ้าเขาต้องการเมล็ดถั่วเขียว 200 ถุง ต้องใช้เมล็ดถั่วเขียวกี่ลิตร ถ้าจุ๋มต้องการจัดแจกันเพิ่มอีก 9 ใบ ต้องใช้กุหลาบเพิ่มอีกกี่ดอก
วิธีทำา เมล็ดถั่วเขียว 12 ถุง ใช้ถั่วเขียว 45 ลิตร
...................................................................................................................................... วิธีทำา จัดกุหลาบใส่แจกัน 16 ใบ ใช้กุหลาบ 128 ดอก
......................................................................................................................................
เมล็ดถั่วเขียว 1 ถุง ใช้ถั่วเขียว 45 ลิตร
...................................................................................................................................... 128 ดอก
จัดกุหลาบใส่แจกัน 1 ใบ ใช้กุหลาบ
......................................................................................................................................
12 16
เมล็ดถั่วเขียว 200 ถุง ใช้ถั่วเขียว 200 × 45 = 750 ลิตร
...................................................................................................................................... จัดกุหลาบใส่แจกัน 9 ใบ ใช้กุหลาบ 9 × 128 = 72 ดอก
......................................................................................................................................
12 16
ดังนัน ้ ถ้าปกรณ์ต้องการเมล็ดถั่วเขียว 200 ถุง ต้องใช้เมล็ดถั่วเขียว 750 ลิตร
...................................................................................................................................... ดังนัน ้ ถ้าจุ๋มต้องการจัดเพิ่มอีก 9 แจกัน ต้องใช้กุหลาบเพิ่มอีก 72 ดอก
......................................................................................................................................
ตอบ ๗๕๐ ลิตร
...................................................................................................................................... ตอบ ๗๒ ดอก
......................................................................................................................................

14 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 15
157 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 5 | ร้อยละ

แบบฝึกหัด
บทที่ 5 ร้อยละ 3 โยงเส้นจับคู่โจทย์กับผลคูณที่เท่ากัน

25
× 40 19
100
แบบฝึกหัด 5.1
38 9
1 เขียนเศษส่วนใน เพื่อแสดงส่วนที่ระบายสี × 25
50
24
1) 7 2) 45
× 90
10 11 150
36
20
15
× 60
100 10
3) 4)
30
× 120 27
29 100
55
50
100

4 หาคำาตอบ

2 ระบายสีแสดงเศษส่วนที่กำาหนด โจทย์ คำาตอบ

7 14
1) 2)
15 20 1) กระเป๋าชนิดเดียวกันและขนาดเดียวกัน 14 ใบ ราคารวม 2,100 บาท 1,500 บาท
ถ้าแก้วตาซื้อกระเป๋า 10 ใบ ต้องจ่ายเงินกี่บาท

2) ปุ๋ย 12 ถุง ใส่ต้นมะม่วง ต้นละเท่า ๆ กันได้ 100 ต้น 21 ถุง


25 64
3) 4) ถ้าในสวนมีต้นมะม่วง 175 ต้น แต่ละต้นใส่ปุ๋ยในปริมาณเท่าเดิม
50 100
ต้องใช้ปุ๋ยกี่ถุง

3) ลูกปัดแต่ละห่อมี 50 เม็ด เป็นสีแดง 20 เม็ด ที่เหลือเป็นสีขาว 240 เม็ด


ถ้าจิ๊บซื้อลูกปัด 400 เม็ด จะมีลูกปัดสีขาวกี่เม็ด

16 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 17
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 158 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 5 | ร้อยละ บทที่ 5 | ร้อยละ

แบบฝึกหัด 5.2
3 เขียนในรูปร้อยละและเปอร์เซ็นต์

20 80
1 เขียนแสดงส่วนที่ระบายสีในรูปเศษส่วน ร้อยละ และเปอร์เซ็นต์์ 1) 20 หรือ..........%
คิดเป็น ร้อยละ ........... 20 2) 80 หรือ..........%
คิดเป็น ร้อยละ ........... 80
100 100

1) 2)
64 48
3) 64 หรือ..........%
คิดเป็น ร้อยละ ........... 64 4) 48 หรือ..........%
คิดเป็น ร้อยละ ........... 48
100 100

35 72
5) 35 หรือ..........%
คิดเป็น ร้อยละ ........... 35 6) 72 หรือ..........%
คิดเป็น ร้อยละ ........... 72
100 100

7 18
7) 7 หรือ..........%
คิดเป็น ร้อยละ ........... 7 8) 18 หรือ..........%
คิดเป็น ร้อยละ ........... 18
100 100
65
....................................................... 37
.......................................................
100 100 3 99
ร้อยละ 65
....................................................... ร้อยละ 37
....................................................... 9) 3 หรือ..........%
คิดเป็น ร้อยละ ........... 3 10) 99 หรือ..........%
คิดเป็น ร้อยละ ........... 99
100 100
65 เปอร์เซ็นต์ หรือ 65%
....................................................... 37 เปอร์เซ็นต์ หรือ 37%
.......................................................

4 เขียนในรูปเศษส่วน
2 ระบายสีในตารางร้อย เพื่อแสดงร้อยละ หรือ เปอร์เซ็นต์

1) 2) 1) 42% 42
= ........................................... 2) 8% 8
= ...........................................
100 100

ร้อยละ 1 ร้อยละ 28
3) 55% 55
= ........................................... 4) 6% 6
= ...........................................
100 100

5) 79% 79
= ........................................... 85
6) ร้อยละ 85 = ...........................................
100 100
3) 4)
37
7) ร้อยละ 37 = ........................................... 8) ร้อยละ 2 2
= ...........................................
72% 100%
100 100

21
9) ร้อยละ 21 = ........................................... 95
10) ร้อยละ 95 = ...........................................
100 100

18 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 19
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 159 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 5 | ร้อยละ บทที่ 5 | ร้อยละ

แบบฝึกหัด 5.3 แบบฝึกหัด 5.4


ตอบคำาถาม
1 คำานวณโดยใช้เครื่องคิดเลข แล้วเติมคำาตอบใน

1 นักเรียนชั้น ป.5 มี 100 คน เป็นสมาชิกของชมรมศิลปะ 27 คน นักเรียนที่เป็นสมาชิก 1) ร้อยละ 75 ของ 560 2) 39% ของ 2,360
ของชมรมศิลปะคิดเป็นร้อยละเท่าใดของนักเรียนชั้น ป.5

420 920.4
วิธีคิด
นักเรียนชั้น ป.5 มี 100 คน เป็นสมาชิกของชมรมศิลปะ 27 คน
ดังนั้น มีสมาชิกชมรมศิลปะร้อยละ 27 ของนักเรียนชั้น ป.5 3) 24% ของ 1,720 4) 7 เปอร์เซ็นต์ ของ 3,590

ร้อยละ ๒๗ ของนักเรียนชั้น ป.๕


ตอบ ...................................................................................................................................... 412.8 251.3

2 ลุงพันปลูกต้นส้มโอกับต้นมะนาวรวมกัน 100 ต้น เป็นต้นมะนาว 38 ต้น


ต้นส้มโอคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของต้นไม้ที่ลุงพันปลูก
100 ต้น
วิธีคิด 2 แสดงวิธีทำา
38 ต้น
มะนาว ส้มโอ
1) ร้อยละ 59 ของรถยนต์ 4,500 คัน คิดเป็นรถยนต์กี่คัน
ลุงพันปลูกต้นไม้ 100 ต้น เป็นต้นส้มโอ 100 − 38 = 62 ต้น
59
ดังนั้น มีต้นส้มโอ 62 เปอร์เซ็นต์ของต้นไม้ที่ลุงพันปลูก วิธีทำา ร้อยละ 59 ของรถยนต์ 4,500 คัน คิดเป็น × 4,500 = 2,655 คัน
................................................................................................................................................
100
๖๒ เปอร์เซ็นต์ของต้นไม้ที่ลุงพันปลูก
ตอบ ...................................................................................................................................... ดังนั้น ร้อยละ 59 ของรถยนต์ 4,500 คัน คิดเป็น 2,655 คัน
................................................................................................................................................
ตอบ ๒,๖๕๕ คัน
................................................................................................................................................

3 ลูกปิงปองมีทั้งหมด 100 ลูก มีลูกปิงปองสีขาว 42 ลูก ลูกปิงปองสีส้ม 36 ลูก ที่เหลือเป็น ................................................................................................................................................


ลูกปิงปองสีเขียว ลูกปิงปองสีเขียวคิดเป็นร้อยละเท่าใดของลูกปิงปองทั้งหมด
100 ลูก 2) 20% ของที่ดิน 1,425 ตารางวา คิดเป็นที่ดินกี่ตารางวา
วิธีคิด 20
42 ลูก 36 ลูก วิธีทำา 20% ของที่ดิน 1,425 ตารางวา คิดเป็น × 1,425 = 285 ตารางวา
................................................................................................................................................
100
สีขาว สีส้ม สีเขียว
ดังนั้น 20% ของที่ดิน 1,425 ตารางวา คิดเป็น 285 ตารางวา
................................................................................................................................................
ลูกปิงปองทั้งหมด 100 ลูก เป็นลูกปิงปองสีเขียว 100 − 42 − 36 = 22 ลูก
ดังนั้น มีลูกปิงปองสีเขียวร้อยละ 22 ของลูกปิงปองทั้งหมด ตอบ ๒๘๕ ตารางวา
................................................................................................................................................

ร้อยละ ๒๒ ของลูกปิงปองทั้งหมด
ตอบ ...................................................................................................................................... ................................................................................................................................................

20 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 21
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 160 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 5 | ร้อยละ บทที่ 5 | ร้อยละ

แบบฝึกหัด 5.5
3) 75% ของระยะทาง 1,924 กิโลเมตร คิดเป็นระยะทางกี่กิโลเมตร
75 แสดงวิธีทำา
วิธีทำา 75% ของระยะทาง 1,924 กิโลเมตร คิดเป็น × 1,924 = 1,443 กิโลเมตร
................................................................................................................................................
100
ดังนั้น 75% ของระยะทาง 1,924 กิโลเมตร คิดเป็น 1,443 กิโลเมตร
................................................................................................................................................ 1 ทุก ๆ เดือนพ่อแบ่งเงิน 20% ของเงินเดือน ไปฝากธนาคาร ถ้าพ่อมีเงินเดือน 38,500 บาท
พ่อฝากเงินเดือนละกี่บาท
ตอบ ๑,๔๔๓ กิโลเมตร
................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................
วิธีทำา พ่อแบ่งเงิน 20% ของเงินเดือนไปฝากธนาคาร
................................................................................................................................................

4) 12% ของเงิน 900 บาท มากกว่าหรือน้อยกว่า 15% ของเงิน 800 บาท อยู่เท่าใด พ่อมีเงินเดือน 38,500 บาท
................................................................................................................................................
12 20
วิธีทำา 12% ของเงิน 900 บาท คิดเป็น × 900 = 108 บาท
................................................................................................................................................ พ่อฝากเงินเดือนละ × 38,500 = 7,700 บาท
................................................................................................................................................
100 100
15 ตอบ ๗,๗๐๐ บาท
15% ของเงิน 800 บาท คิดเป็น × 800 = 120 บาท
................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................
100
ดังนั้น 12% ของเงิน 900 บาท น้อยกว่า 15% ของเงิน 800 บาท
................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................

อยู่ 120 − 108 = 12 บาท


................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................

ตอบ น้อยกว่าอยู่ ๑๒ บาท


................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................

................................................................................................................................................

................................................................................................................................................
2 ค่าไฟฟ้าเดือนสิงหาคมของครอบครัวใบบัวเพิม
่ ขึน
้ จากเดือนทีแ่ ล้ว ร้อยละ18 ถ้าเดือนกรกฎาคม
5) ร้อยละ 35 ของนักเรียนชาย 240 คน กับ ร้อยละ 25 ของนักเรียนหญิง 336 คน ครอบครัวนี้จ่ายค่าไฟฟ้า 1,350 บาท เดือนสิงหาคมต้องจ่ายค่าไฟฟ้ากี่บาท
เท่ากันหรือไม่ ถ้าไม่เท่ากัน มีจำานวนต่างกันกี่คน
35 วิธีทำา ค่าไฟฟ้าเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม ร้อยละ 18
................................................................................................................................................
วิธีทำา ร้อยละ 35 ของนักเรียนชาย 240 คน คิดเป็น × 240 = 84 คน
................................................................................................................................................
100
25 เดือนกรกฎาคมจ่ายค่าไฟฟ้า 1,350 บาท
ร้อยละ 25 ของนักเรียนหญิง 336 คน คิดเป็น × 336 = 84 คน
................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................
100
18
ดังนั้น ร้อยละ 35 ของนักเรียนชาย 240 คน กับ ร้อยละ 25 ของนักเรียนหญิง
................................................................................................................................................ ค่าไฟฟ้าเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม × 1,350 = 243 บาท
................................................................................................................................................
100
336 คน มีจำานวนเท่ากัน
................................................................................................................................................ ดังนั้น เดือนสิงหาคมต้องจ่ายค่าไฟฟ้า 1,350 + 243 = 1,593 บาท
................................................................................................................................................
ตอบ เท่ากัน
................................................................................................................................................ ตอบ ๑,๕๙๓ บาท
................................................................................................................................................

................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................
................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................

................................................................................................................................................

22 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 23
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 161 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 5 | ร้อยละ บทที่ 5 | ร้อยละ

แบบฝึกหัด 5.6
3 วันนี้ ราคายางแผ่นรมควันเพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 5 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเมื่อวานยางแผ่นรมควัน
ราคากิโลกรัมละ 40 บาท วันนี้ยางแผ่นรมควันราคากิโลกรัมละกี่บาท หาคำาตอบโดยใช้บัญญัติไตรยางศ์

วิธีทำา วันนี้ ราคายางแผ่นรมควันเพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 5 เปอร์เซ็นต์


................................................................................................................................................
เมื่อวานยางแผ่นรมควันราคากิโลกรัมละ 40 บาท
................................................................................................................................................ 1 แม่ค้ามีส้มโอ 180 ผล ขายไปแล้ว 20% ของส้มโอที่มีอยู่ แม่ค้าขายส้มโอไปกี่ผล
5 วิธีทำา ถ้าแม่ค้ามีส้มโอ 100 ผล ขายไปแล้ว 20 ผล
................................................................................................................................................
วันนี้ราคายางแผ่นรมควันเพิ่มขึ้น × 40 = 2 บาท
................................................................................................................................................
100 20
ถ้าแม่ค้ามีส้มโอ 1 ผล ขายไปแล้ว ผล
................................................................................................................................................
ดังนั้น วันนี้ยางแผ่นรมควันราคากิโลกรัมละ 40 + 2 = 42 บาท
................................................................................................................................................ 100
20
แม่ค้ามีส้มโอ 180 ผล ขายไปแล้ว 180 × = 36 ผล
................................................................................................................................................
ตอบ ๔๒ บาท
................................................................................................................................................ 100
ดังนั้น แม่ค้าขายส้มโอไป 36 ผล
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
ตอบ ๓๖ ผล
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................

................................................................................................................................................
2 แต่ละเดือนปิ่นออมเงินร้อยละ 12 ของเงินเดือนที่ได้รับ ถ้าปิ่นได้รับเงินเดือน
เดือนละ 18,500 บาท ปิ่นออมเงินเดือนละเท่าใด
วิธีทำา ถ้าปิ่นได้รับเงินเดือน 100 บาท จะออมเงิน 12 บาท
................................................................................................................................................
12
ถ้าปิ่นได้รับเงินเดือน 1 บาท จะออมเงิน บาท
................................................................................................................................................
4 เดือนนี้บริษัทศิริทรัพย์มียอดขายสินค้าลดลงจากเดือนที่แล้ว ร้อยละ 28 ถ้าเดือนที่แล้ว 100
12
ปิ่นได้รับเงินเดือน 18,500 บาท จะออมเงิน 18,500 × = 2,220 บาท
................................................................................................................................................
มียอดขาย 34,900 ชิ้น เดือนนี้บริษัทศิริทรัพย์จะมียอดขายกี่ชิ้น 100
วิธีทำา เดือนนี้บริษัทมียอดขายลดลงจากเดือนที่แล้ว ร้อยละ 28 ดังนั้น ปิ่นออมเงินเดือนละ 2,220 บาท
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................

เดือนที่แล้วมียอดขาย 34,900 ชิ้น ตอบ ๒,๒๒๐ บาท


................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
28
เดือนนี้มียอดขายลดลง × 34,900 = 9,772 ชิ้น
................................................................................................................................................
100
3 โรงเรียนแห่งหนึ่งมีนักเรียน 925 คน วันนี้มีนักเรียนมาเรียนร้อยละ 96 ของนักเรียนทั้งหมด
ดังนั้น เดือนนี้บริษัทมียอดขาย 34,900 − 9,772 = 25,128 ชิ้น
................................................................................................................................................
วันนี้มีนักเรียนไม่มาเรียนกี่คน ตัวอย่าง
ตอบ ๒๕,๑๒๘ ชิ้น
................................................................................................................................................
วิธีทำา ถ้าโรงเรียนมีนักเรียน 100 คน วันนี้มาเรียน 96 คน
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................ 96
ถ้าโรงเรียนมีนักเรียน 1 คน วันนี้มาเรียน คน
................................................................................................................................................
100
................................................................................................................................................ 96
โรงเรียนมีนักเรียน 925 คน วันนี้มาเรียน 925 × = 888 คน
................................................................................................................................................
100
................................................................................................................................................
ดังนั้น วันนี้มีนักเรียนไม่มาเรียน 925 − 888 = 37 คน
................................................................................................................................................
................................................................................................................................................
ตอบ ๓๗ คน
................................................................................................................................................

24 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 25
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 162 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 5 | ร้อยละ บทที่ 5 | ร้อยละ

แบบฝึกหัด 5.7
4 ในการสอบวิชาคณิตศาสตร์ครั้งหนึ่ง มีนักเรียน 75% ของนักเรียนที่เข้าสอบ สอบผ่านเกณฑ์
ถ้ามีนักเรียนเข้าสอบ 264 คน การสอบครั้งนี้มีนักเรียนที่สอบไม่ผ่านเกณฑ์กี่คน แสดงวิธีทำา
ตัวอย่าง
วิ................................................................................................................................................
ธีทำา ถ้ามีนักเรียนเข้าสอบ 100 คน สอบไม่ผ่านเกณฑ์ 100 − 75 = 25 คน
25 ร้านค้าประกาศลดราคาสินค้า 15% - 30% ของราคาที่ติดไว้
ถ้ามีนักเรียนเข้าสอบ 1 คน สอบไม่ผ่านเกณฑ์ คน
................................................................................................................................................
100
25
มีนักเรียนเข้าสอบ 264 คน สอบไม่ผ่านเกณฑ์ 264 × = 66 คน
................................................................................................................................................
100
15%
ดังนั้น การสอบครั้งนี้มีนักเรียนที่สอบไม่ผ่านเกณฑ์ 66 คน
................................................................................................................................................ 30%
ตอบ ๖๖ คน
................................................................................................................................................ 2,80
0 บา
25,520 บาท

5 สนามกีฬาศุภชลาศัย กรุงเทพมหานคร จุคนได้ 35,000 ที่นั่ง ถ้าการแข่งขันกีฬาครั้งหนึ่ง


390 บาท
มีผู้เข้าชม 76 เปอร์เซ็นต์ ของจำานวนที่นั่งทั้งหมด ยังเหลือที่นั่งว่างอีกกี่ที่นั่ง
ตัวอย่าง
20%
วิ................................................................................................................................................
ธีทำา ถ้าสนามกีฬามี 100 ที่นั่ง จะเหลือที่นั่งว่าง 100 − 76 = 24 ที่นั่ง
24
ถ้าสนามกีฬามี 1 ที่นั่ง จะเหลือที่นั่งว่าง ที่นั่ง
................................................................................................................................................
100 ใช้ข้อมูลจากรูปหาคำาตอบข้อ 1 - 3
24
สนามกีฬามี 35,000 ที่นั่ง จะเหลือที่นั่งว่าง 35,000 × = 8,400 ที่นั่ง
................................................................................................................................................
100
1 ร้านค้าลดราคาเครื่องคิดเลข 20% ร้านค้าลดราคาเครื่องคิดเลขกี่บาท
ดังนั้น ยังเหลือที่นั่งว่างอีก 8,400 ที่นั่ง
................................................................................................................................................ ตัวอย่าง
ตอบ ๘,๔๐๐ ที่นั่ง
................................................................................................................................................ วิธีทำา ลดราคาเครื่องคิดเลข 20% ของราคาที่ติดไว้
................................................................................................................................................

ติดราคาเครื่องคิดเลข 390 บาท


................................................................................................................................................
6 ชาวสวนปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง 85 ต้น ปลูกทุเรียนพันธุ์ก้านยาว 80% ของทุเรียน 20
ลดราคา × 390 = 78 บาท
................................................................................................................................................
100
พันธุ์หมอนทอง ชาวสวนปลูกทุเรียนทั้งหมดกี่ต้น
ดังนั้น ร้านค้าลดราคาเครื่องคิดเลข 78 บาท
................................................................................................................................................

วิ................................................................................................................................................
ธีทำา ถ้าปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง 100 ต้น จะปลูกทุเรียนพันธุ์ก้านยาว 80 ต้น ตอบ ๗๘ บาท
................................................................................................................................................
80
ถ้าปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง 1 ต้น จะปลูกทุเรียนพันธุ์ก้านยาว
................................................................................................................................................ ต้น ................................................................................................................................................
100
80
ชาวสวนปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง 85 ต้น จะปลูกทุเรียนพันธุ์ก้านยาว 85 ×
................................................................................................................................................= 68 ต้น ................................................................................................................................................
100
ดังนั้น ชาวสวนปลูกทุเรียนทั้งหมด 85 + 68 = 153 ต้น
................................................................................................................................................ .......................................................................................................................

ตอบ ๑๕๓ ต้น


................................................................................................................................................ ..............................................................................................................

26 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 27
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 163 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 5 | ร้อยละ บทที่ 5 | ร้อยละ

2 ร้านค้าลดราคากีตาร์ 30% ผู้ซื้อจะต้องจ่ายเงินกี่บาท 4 ร้านค้าติดราคารองเท้าคู่หนึ่งไว้ 1,750 บาท ลดราคา 8% ถ้านพซื้อรองเท้าคู่นี้


ตัวอย่าง
นพต้องจ่ายเงินเท่าใด
วิธีทำา ลดราคากีตาร์ 30% ของราคาที่ติดไว้
................................................................................................................................................ ตัวอย่าง
วิธีทำา ลดราคารองเท้า 8% ของราคาที่ติดไว้
................................................................................................................................................
ติดราคากีตาร์ 2,800 บาท
................................................................................................................................................
30 ร้านค้าติดราคารองเท้า 1,750 บาท
................................................................................................................................................
ลดราคา × 2,800 = 840 บาท
................................................................................................................................................
100 8
ลดราคา × 1,750 = 140 บาท
................................................................................................................................................
ดังนั้น ผู้ซื้อจะต้องจ่ายเงิน 2,800 − 840 = 1,960 บาท
............................................................................................................................ 100
ดังนั้น นพต้องจ่ายเงิน 1,750 − 140 = 1,610 บาท
................................................................................................................................................
ตอบ ๑,๙๖๐ บาท
............................................................................................................................
ตอบ ๑,๖๑๐ บาท
................................................................................................................................................
............................................................................................................................

......................................................................................................................... 5 โต๊ะรับแขกชุดหนึ่งราคา 14,900 บาท ร้านค้าประกาศลดราคา ร้อยละ 30


......................................................................................................................... ร้านค้าจะขายโต๊ะรับแขกชุดนี้ราคาเท่าใด
ตัวอย่าง
.........................................................................................................................
วิธีทำา ลดราคาชุดโต๊ะรับแขกร้อยละ 30 ของราคาที่ติดไว้
................................................................................................................................................

3 ร้านค้าลดราคาคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค 15% ร้านค้าขายคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คกี่บาท ร้านค้าติดราคาชุดโต๊ะรับแขก 14,900 บาท


................................................................................................................................................
ตัวอย่าง 30
ลดราคา × 14,900 = 4,470 บาท
................................................................................................................................................
100
วิธีทำา ลดราคาคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค 15% ของราคาที่ติดไว้
................................................................................................................................................ ดังนั้น ร้านค้าจะขายโต๊ะรับแขกชุดนี้ราคา 14,900 − 4,470 = 10,430 บาท
................................................................................................................................................
ติดราคาคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค 25,520 บาท
................................................................................................................................................ ตอบ ๑๐,๔๓๐ บาท
................................................................................................................................................
15
ลดราคา × 25,520 = 3,828 บาท
................................................................................................................................................
100
ดังนั้น ร้านค้าขายคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค 25,520 − 3,828 = 21,692 บาท 6 ร้านค้าติดราคาขายจักรยานคันหนึ่งไว้ 6,480 บาท แต่ลดราคาให้ผู้ซื้อ 25%
................................................................................................................................................
ผู้ที่ซื้อจักรยานคันนี้ ต้องจ่ายเงินเท่าใด
ตอบ ๒๑,๖๙๒ บาท
................................................................................................................................................
ตัวอย่าง
................................................................................................................................................ วิธีทำา ลดราคาจักรยาน 25% ของราคาที่ติดไว้
................................................................................................................................................

.............................................................................................................. ร้านค้าติดราคาจักรยาน 6,480 บาท


................................................................................................................................................
25
.............................................................................................. ลดราคา × 6,480 = 1,620 บาท
................................................................................................................................................
100
.............................................................................................. ดังนั้น ผู้ซื้อจักรยานต้องจ่ายเงิน 6,480 − 1,620 = 4,860 บาท
................................................................................................................................................

.............................................................................................. ตอบ ๔,๘๖๐ บาท


................................................................................................................................................

28 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 29
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 164 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 5 | ร้อยละ บทที่ 5 | ร้อยละ

แบบฝึกหัด 5.8
2 เขียน ใน ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่กำาหนด พร้อมเติมคำาตอบ

1 บอกความหมาย 1) ซื้อมา 1,200 บาท ขายไป 1,600 บาท

1) ขาดทุน 20 เปอร์เซ็นต์ 400


ได้กำาไร .......................................... บาท
ขาดทุน 20 เปอร์เซ็นต์ หมายความว่า 20
ทุน 100 บาท ขายขาดทุน ........................บาท ขาดทุน .......................................... บาท
หรือ 100 − 20 = 80
ทุน 100 บาท ขายไป.................................บาท

2) กำาไร 45% 2) ทุน 250 บาท ขายไป 200 บาท

กำาไร 45% หมายความว่า 45


ทุน 100 บาท ขายได้กำาไร ........................บาท ได้กำาไร .......................................... บาท
หรือ 100 + 45 = 145
ทุน 100 บาท ขายไป.................................บาท 50
ขาดทุน .......................................... บาท

3) ขาดทุน 72%

ขาดทุน 72% หมายความว่า ทุน 100 บาท ขายขาดทุน 72 บาท


.................................................................................................................................................... 3) ซื้อมา 350 บาท ขายไป 590 บาท
หรือ ทุน 100 บาท ขายไป 100 − 72 = 28 บาท
.................................................................................................................................................... 240
ได้กำาไร .......................................... บาท

ขาดทุน .......................................... บาท


4) กำาไรร้อยละ 5

กำาไรร้อยละ 5 หมายความว่า ทุน 100 บาท ขายได้กำาไร 5 บาท


....................................................................................................................................................
หรือ ทุน 100 บาท ขายไป 100 + 5 = 105 บาท
.................................................................................................................................................... 4) ทุน 1,850 บาท ขายไป 1,500 บาท

ได้กำาไร .......................................... บาท


5) ขาดทุนร้อยละ 61
350
ขาดทุน .......................................... บาท
ขาดทุนร้อยละ 61 หมายความว่า ทุน 100 บาท ขายขาดทุน 61 บาท
....................................................................................................................................................
หรือ ทุน 100 บาท ขายไป 100 − 61 = 39 บาท
....................................................................................................................................................

5) ทุน 2,100 บาท ขายไป 2,540 บาท


6) กำาไร 80 เปอร์เซ็นต์
440
ได้กำาไร .......................................... บาท
กำาไร 80 เปอร์เซ็นต์ หมายความว่า ทุน 100 บาท ขายได้กำาไร 80 บาท
....................................................................................................................................................
ขาดทุน .......................................... บาท
หรือ ทุน 100 บาท ขายไป 100 + 80 = 180 บาท
....................................................................................................................................................

30 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 31
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 165 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 5 | ร้อยละ บทที่ 5 | ร้อยละ

แบบฝึกหัด 5.9
4 แม่ค้าขายหมูปิ้งลงทุนซื้อวัตถุดิบในการขาย 3,900 บาท ขายหมูปิ้งได้กำาไร 48%
แสดงวิธีทำา
แม่ค้าขายหมูปิ้งได้กำาไรกี่บาท ตัวอย่าง

วิธีทำา ขายหมูปิ้งได้กำาไร 48%


...............................................................................................................................................
1 ร้านค้าซื้อพัดลมราคา 650 บาท ต้องการขายให้ได้กำาไร 40 เปอร์เซ็นต์ ร้านค้าต้องขายพัดลม
ราคาเท่าใด และได้กำาไรกี่บาท ตัวอย่าง แม่ค้าขายหมูปิ้งลงทุนซื้อวัตถุดิบในการขาย 3,900 บาท
...............................................................................................................................................
48
ขายหมูปิ้งได้กำาไร × 3,900 = 1,872 บาท
...............................................................................................................................................
วิธีทำา ร้านค้าต้องการขายให้ได้กำาไร 40 เปอร์เซ็นต์
............................................................................................................................................... 100
ดังนั้น แม่ค้าขายหมูปิ้งได้กำาไร 1,872 บาท
...............................................................................................................................................
ร้านค้าซื้อพัดลมราคา 650 บาท
...............................................................................................................................................
40 ตอบ ๑,๘๗๒ บาท
...............................................................................................................................................
ร้านค้าต้องการกำาไร × 650 = 260 บาท
...............................................................................................................................................
100
ดังนั้น ร้านค้าได้กำาไร 260 บาท ต้องขายพัดลมราคา 650 + 260 = 910 บาท
...............................................................................................................................................
5 ออมสินซื้อเสื้อราคา 160 บาท ขายต่อให้ติ๊ก ขาดทุนร้อยละ 10 ออมสินขาดทุนกี่บาท
ตอบ ขายราคา ๙๑๐ บาท ได้กำาไร ๒๖๐ บาท
............................................................................................................................................... และติ๊กซื้อเสื้อไปราคาเท่าใด ตัวอย่าง

2 ขุนซื้อหูฟังราคา 850 บาท ขายต่อให้ต้นกล้า ขุนขาดทุน 20% ต้นกล้าซื้อหูฟังราคาเท่าใด ตัวอย่าง วิธีทำา ออมสินขายเสื้อขาดทุนร้อยละ 10
...............................................................................................................................................

วิธีทำา ขายขาดทุน 20% ออมสินซื้อเสื้อราคา 160 บาท


...............................................................................................................................................
...............................................................................................................................................
10
ขุนซื้อหูฟังราคา 850 บาท ออมสินขายเสื้อขาดทุน × 160 = 16 บาท
...............................................................................................................................................
............................................................................................................................................... 100
20 ดังนั้น ออมสินขาดทุน 16 บาท และติ๊กซื้อเสื้อไปราคา 160 − 16 = 144 บาท
...............................................................................................................................................
ขายขาดทุน × 850 = 170 บาท
...............................................................................................................................................
100
ดังนั้น ต้นกล้าซื้อหูฟังราคา 850 − 170 = 680 บาท ตอบ ออมสินขาดทุน ๑๖ บาท และติ๊กซื้อเสื้อ ๑๔๔ บาท
...............................................................................................................................................
...............................................................................................................................................

ตอบ ๖๘๐ บาท


...............................................................................................................................................
6 ร้านค้าขายเครื่องทำาน้ำาอุ่นเครื่องหนึ่งได้กำาไร 35% ถ้าทุนของเครื่องทำาน้ำาอุ่นเครื่องนี้เป็น

3 ร้านค้าซื้อเตาอบราคา 4,700 บาท ถ้าต้องการขายให้ได้กำาไร 35% ร้านค้าต้องติดราคาขาย 3,400 บาท ร้านค้าขายเครื่องทำาน้ำาอุ่นราคาเท่าใด ตัวอย่าง

เตาอบเท่าใด ตัวอย่าง วิธีทำา ขายเครื่องทำาน้ำาอุ่นได้กำาไร 35%


...............................................................................................................................................

วิธีทำา ร้านค้าต้องการขายให้ได้กำาไร 35%


............................................................................................................................................... ทุนของเครื่องทำาน้ำาอุ่น 3,400 บาท
...............................................................................................................................................
35
ร้านค้าซื้อเตาอบราคา 4,700 บาท
............................................................................................................................................... ร้านค้าขายได้กำาไร × 3,400 = 1,190 บาท
...............................................................................................................................................
100
35
ร้านค้าต้องการกำาไร × 4,700 = 1,645 บาท
............................................................................................................................................... ดังนั้น ร้านค้าขายเครื่องทำาน้ำาอุ่นราคา 3,400 + 1,190 = 4,590 บาท
...............................................................................................................................................
100
ดังนั้น ร้านค้าต้องติดราคาขายเตาอบ 4,700 + 1,645 = 6,345 บาท
............................................................................................................................................... ตอบ ๔,๕๙๐ บาท
...............................................................................................................................................

ตอบ ๖,๓๔๕ บาท


...............................................................................................................................................

32 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 33
166 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน

แบบฝึกหัด
บทที่ 6 เส้นขนาน 2 เขียนรูปตามข้อกําหนด

1) AB ตัดกับ MN ที่จุด G
ตัวอย่าง
แบบฝึกหัด 6.1 N
1 วัดและบอกขนาด พร้อมระบุชนิดของมุม
A G B

1) M
^ 140 ํ
m(ABC) = .............................
^ ป้าน
A B ABC เป็นมุม .............................
2) จุด C อยู่บน ST และ GH ผ่านจุด C
G
^ 40 ํ ตัวอย่าง
m(BCD) = ............................. S
D C
^ แหลม
BCD เป็นมุม ............................ C

^ 140 ํ ^ 40 ํ
m(CDA) = ............................. m(DAB) = ............................. T
H
^ ป้าน ^ แหลม
CDA เป็นมุม ............................ DAB เป็นมุม ............................

3) ลาก AB ให้ตัด PQ และ RS ที่จุด X และ จุด Y ตามลําดับ


2)
ตัวอย่าง
Q
^ 60 ํ A X
m(CAD) = .............................
A
^ แหลม
CAD เป็นมุม ............................ P

B C D E Y
^ R S
F G H I 150 ํ
m(CDH) = ............................. B
^ ป้าน
CDH เป็นมุม ............................
^
4) FGH มีขนาด 115 ํ
^ 90 ํ ^
m(BCG) = ............................. 30 ํ
m(DHG) = ............................. ตัวอย่าง F
^ ฉาก ^
BCG เป็นมุม ............................ แหลม
DHG เป็นมุม ............................

^ 90 ํ ^ 150 ํ
m(CGH) = ............................. m(DHI) = ............................. 115 ํ
^ ฉาก ^ ป้าน G H
CGH เป็นมุม ............................ DHI เป็นมุม ............................

34 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 35
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 167 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน บทที่ 6 | เส้นขนาน

แบบฝึกหัด 6.2 2 ตรวจสอบเส้นตรง รังสี หรือส่วนของเส้นตรงที่กําหนดให้ว่าตั้งฉากกันหรือไม่ เพราะเหตุใด


ถ้าตั้งฉากกัน ให้เขียนสัญลักษณ์แสดงการตั้งฉาก
1 สร้างเส้นตั้งฉากตามข้อกําหนด
1) F CD ไม่ตั้งฉากกับ EF
.................................................................................
เพราะ CD ตัด EF ที่จุด H ไม่เป็นมุมฉาก
.................................................................................
1) สร้าง จฉ บป ที่จุด จ C H D
ฉ .................................................................................
.................................................................................
E
.................................................................................


2) MO IK
.................................................................................
ป M
เพราะ MO ตัด IK ที่จุด R เป็นมุมฉาก
.................................................................................
.................................................................................
2) สร้าง NL MP R
M I K .................................................................................
ตัวอย่าง O
.................................................................................

L N
PQ ไม่ตั้งฉากกับ TV
.................................................................................
3)
T
เพราะ PQ ตัด TV ที่จุด Y ไม่เป็นมุมฉาก
.................................................................................
P Y .................................................................................
P
Q .................................................................................

V .................................................................................
3) สร้าง AE KM ที่จุด S A
ตัวอย่าง
4) QR NP
.................................................................................
Q P เพราะ QR ตัด NP ที่จุด S เป็นมุมฉาก
.................................................................................
S .................................................................................
K S M
N .................................................................................
E
.................................................................................
R
4) สร้าง บย วศ ที่จุด ก 5) E BD EG
.................................................................................
ตัวอย่าง ศ
B K เพราะ BD ตัด EG ที่จุด K เป็นมุมฉาก
.................................................................................
.................................................................................
บ D
.................................................................................

G .................................................................................

36 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 37
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 168 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน บทที่ 6 | เส้นขนาน

แบบฝึกหัด 6.3 แบบฝึกหัด 6.4


(ความยาวที่วัดได้ คลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 1 มิลลิเมตร)
1 เขียนส่วนของเส้นตรงแสดงระยะห่างระหว่างจุดกับเส้นตรงที่กําหนด พร้อมวัดระยะห่างระหว่างจุด 1 ตรวจสอบว่าเส้นตรง หรือส่วนของเส้นตรงคู่ใดขนานกัน แล้วระบุชื่อเส้นตรง
กับเส้นตรงนั้น หรือส่วนของเส้นตรงที่ขนานกัน โดยใช้สัญลักษณ์แสดงการขนาน
1)
1) 2) ก ค จ ช กข // จฉ และ คง // ชซ
.................................................................................

ก .................................................................................

ค .................................................................................
ข ง ฉ ซ .................................................................................


จ 2)

ด ดต // วศ และ นบ // ยร
.................................................................................
จุด ค อยู่ห่างจาก กข 3.3 ซม.
..................................................................... จุด ฉ อยู่ห่างจาก งจ 2.8 ซม.
.....................................................................
น ต .................................................................................
ย บ .................................................................................
2 เติมคําตอบ พร้อมเขียน ใน ว ร .................................................................................

D 3)
1) 2
จุด C กับ AB มีระยะห่าง ..................... ซม.
C F AB // CD
.................................................................................
C
2
จุด D กับ AB มีระยะห่าง ..................... ซม. A .................................................................................
E
H
ระยะห่างระหว่างจุด C กับ AB และ จุด D กับ AB .................................................................................
B
D .................................................................................
เท่ากัน ไม่เท่ากัน G B
A

4) X Y
XK // YL และ XL // YM
.................................................................................
.................................................................................
2)
.................................................................................
S Q 1.5
จุด R กับ PQ มีระยะห่าง ..................... ซม. .................................................................................
K L M
1.8
จุด S กับ PQ มีระยะห่าง ..................... ซม.
5)
ระยะห่างระหว่างจุด R กับ PQ และ จุด S กับ PQ N P
NO // PQ, NO // RS, NQ // PT
.................................................................................
R P Q
เท่ากัน ไม่เท่ากัน และ OR // ST
.................................................................................
T
R .................................................................................
.................................................................................
O S

38 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 39
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 169 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน บทที่ 6 | เส้นขนาน

2 ติดภาพสิ่งของที่มีส่วนใดส่วนหนึ่งขนานกัน พร้อมเขียนส่วนของเส้นตรงแสดงส่วนที่ขนานกัน
6)
A B AB // DC และ AD // BC
.................................................................................
.................................................................................
.................................................................................
.................................................................................
D C

7) ข

กข // งค และ กง // ขค
.................................................................................
.................................................................................
.................................................................................
ง ค .................................................................................

8) I
IL // JK
.................................................................................

L .................................................................................
J .................................................................................
.................................................................................
K

9)

จฉ // ซช และ จซ // ฉช
.................................................................................
.................................................................................
จ ช
.................................................................................

ซ .................................................................................

10) Q R
QR // UT, QV // ST และ VU // RS
.................................................................................
.................................................................................
V S
.................................................................................
.................................................................................
U T

อยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน
40 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 41
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 170 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน บทที่ 6 | เส้นขนาน

แบบฝึกหัด 6.5 แบบฝึกหัด 6.6

เส้นตรง รังสี หรือส่วนของเส้นตรงเส้นใดเป็นเส้นตัดขวาง มุมใดบ้างเป็นมุมที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง


1 2 H
1 E EF
................................................................................. K
C E
A P ................................................................................. 12
B
A 1 2 3 4 B 34
................................................................................. G
5 6 7 8 J
Q
D ................................................................................. 56
C 78
F ................................................................................. D F
I L

2 KL
................................................................................. ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
L 1, 2, 3 และ 4
..................................................................... 1, 3, 5 และ 7
.....................................................................
G ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
S ................................................................................. กับ 5, 6, 7 และ 8
..................................................................... กับ 2, 4, 6 และ 8
.....................................................................
H
R ................................................................................. ..................................................................... .....................................................................
I
K .................................................................................
Y 3 4
................................................................................. S
Q V
M M 1 3
3 Q MP
................................................................................. 3 4
N
N 1 2 U 2 4
.................................................................................
6 5
O 8 7 5 7
................................................................................. P W 6 8 X
R
O R
................................................................................. T
P ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
................................................................................. 1, 3, 6 และ 8
..................................................................... 1, 2, 5 และ 6
.....................................................................
^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
กับ 2, 4, 5 และ 7
..................................................................... กับ 3, 4, 7 และ 8
.....................................................................
4 AN, AO, BE, FI และ JM
.................................................................................
..................................................................... .....................................................................
.................................................................................

A ................................................................................. 5 A C 6 I K
B C D E ................................................................................. G
E 6 1
F G H 1 4
I ................................................................................. 5 8 F 5 2
2 3 6 7 4 7
J K L M 3 8 H
.................................................................................
B D J L
N O .................................................................................
................................................................................. ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
1, 4, 5 และ 8
..................................................................... 1, 4, 6 และ 7
.....................................................................
................................................................................. ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
กับ 2, 3, 6 และ 7
..................................................................... กับ 2, 3, 5 และ 8
.....................................................................
.................................................................................
..................................................................... .....................................................................

42 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 43
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 171 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน บทที่ 6 | เส้นขนาน

แบบฝึกหัด 6.7 แบบฝึกหัด 6.8

มุมใดบ้างเป็นมุมภายใน มุมใดบ้างเป็นมุมภายนอก มุมใดบ้างเป็นมุมแย้งภายใน และมุมใดบ้างเป็นมุมแย้งภายนอก


1 2 1 2
A C I E I
G L A K
5 6 G 1 2
5 7 8 7 B
1 2 5 6 5 6
6 8
E 4 3 8 7 F 1 34
3 4
K 2 1 2
C 4 3 78

B D H J F D R L H

^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
2, 3, 5 และ 8 เป็นมุมภายใน
..................................................................... 3, 4, 5 และ 6 เป็นมุมภายใน
..................................................................... 1 กับ 7 และ 2 กับ 8 เป็นมุมแย้งภายใน
..................................................................... 2 กับ 7 และ 3 กับ 6 เป็นมุมแย้งภายใน
.....................................................................
^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
1, 4, 6 และ 7 เป็นมุมภายนอก
..................................................................... 1, 2, 7 และ 8 เป็นมุมภายนอก
..................................................................... 3 กับ 5 และ 4 กับ 6 เป็นมุมแย้งภายนอก
..................................................................... 1 กับ 8 และ 4 กับ 5 เป็นมุมแย้งภายนอก
.....................................................................
..................................................................... ..................................................................... ..................................................................... .....................................................................

3 4 3 4
Q W Q Y
T O T
N S 1 2
M 1 5 5 3 4
26 8 6 M
U 7 1 4
1 X 2 3 5 8
3 7 4 2 N 5 6 V
P 3 6 7
4 8 S 7 8
O U
R V Z
P R
^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
2, 3, 6 และ 7 เป็นมุมภายใน
..................................................................... 1, 2, 7 และ 8 เป็นมุมภายใน
..................................................................... 3 กับ 5 และ 4 กับ 6 เป็นมุมแย้งภายใน
..................................................................... 3 กับ 6 และ 4 กับ 5 เป็นมุมแย้งภายใน
.....................................................................
^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
1, 5, 4 และ 8 เป็นมุมภายนอก
..................................................................... 3, 4, 5 และ 6 เป็นมุมภายนอก
..................................................................... 1 กับ 7 และ 2 กับ 8 เป็นมุมแย้งภายนอก
..................................................................... 1 กับ 8 และ 2 กับ 7 เป็นมุมแย้งภายนอก
.....................................................................
..................................................................... ..................................................................... ..................................................................... .....................................................................

5 6 5 6 I J
F J D
B M Y 8
1
6 7 A G 72
5 8 C 1 2
H 1 2 3 4 O K
5 6 7 8 4 3 5 6 3
8 7 6 4
2 3 C 5
D 1 4 E
K E Z H L
N
^ ^ ^ G ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
2, 3, 5 และ 8 เป็นมุมภายใน
..................................................................... 2, 3, 6 และ 7 เป็นมุมภายใน
..................................................................... 2 กับ 8 และ 3 กับ 5 เป็นมุมแย้งภายใน
..................................................................... 2 กับ 6 และ 3 กับ 7 เป็นมุมแย้งภายใน
.....................................................................
^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^ ^
1, 4, 6 และ 7 เป็นมุมภายนอก
..................................................................... 1, 4, 5 และ 8 เป็นมุมภายนอก
..................................................................... 1 กับ 7 และ 4 กับ 6 เป็นมุมแย้งภายนอก
..................................................................... 1 กับ 5 และ 4 กับ 8 เป็นมุมแย้งภายนอก
.....................................................................
..................................................................... ..................................................................... ..................................................................... .....................................................................

44 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 45
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 172 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน บทที่ 6 | เส้นขนาน

แบบฝึกหัด 6.9 5 1) มุมคู่ใดบ้างเป็นมุมแย้ง


^ ^
ทงย กับ ทบล
.................................................................................
ตอบคำาถาม ง ^ ^
และ ทลบ กับ ทยง
.................................................................................
50 ํ ^
1 GI // KM 2) ทบล มีขนาดเท่าใด
1) มุมคู่ใดบ้างเป็นมุมแย้ง ย
^ ^ 50 ํ
.................................................................................
G N GOQ กับ OQM
................................................................................. ท
O ^ ^ ล .................................................................................
137 ํ
และ IOQ กับ KQO
................................................................................. 30 ํ
^
I ^ 3) ทยง มีขนาดเท่าใด
2) OQM มีขนาดเท่าใด
K 30 ํ
.................................................................................
Q 137 ํ
................................................................................. บ
.................................................................................
R .................................................................................
M

2 HJ // LN 1) มุมคู่ใดบ้างเป็นมุมแย้ง 6 1) มุมคู่ใดบ้างเป็นมุมแย้ง
L ^ ^ ^ ^ ^ ^
HPR กับ NRP
................................................................................. C E AIM กับ HMI และ BIM กับ GMI
.................................................................................
H ^ ^
และ JPR กับ LRP A B ^ ^ ^ ^
................................................................................. GLX กับ BXL และ AXL กับ HLX
.................................................................................
S ^ I X
R ^
2) NRP มีขนาดเท่าใด 2) AIM มีขนาดเท่าใด
P 85 ํ
O 85 ํ
N ................................................................................. 100 ํ
.................................................................................
J ................................................................................. .................................................................................
^
3) BXL มีขนาดเท่าใด
3 KM // OQ G 125 ํ 100 ํ H
1) มุมคู่ใดบ้างเป็นมุมแย้ง 125 ํ
.................................................................................
L M
M ^ ^
K S OUS กับ USM
................................................................................. F D .................................................................................
^ ^
และ KSU กับ QUS
.................................................................................
^
105 ํ 2) USM มีขนาดเท่าใด
O U Q 105 ํ
................................................................................. 7 1) มุมคู่ใดบ้างเป็นมุมแย้ง
^ ^
P NOQ กับ OQR
.................................................................................
.................................................................................
^ ^
R และ MNQ กับ NQR
.................................................................................
O ^
4 PR // WY 1) มุมคู่ใดบ้างเป็นมุมแย้ง 2) OQR มีขนาดเท่าใด
R 60 ํ
K ^
PLN กับ LNY
^
................................................................................. 60 ํ
.................................................................................
Y ^ ^ ^
และ RLN กับ WNL
................................................................................. 3) NQR มีขนาดเท่าใด
L
60 ํ ^
2) LNY มีขนาดเท่าใด N 125 ํ
.................................................................................
N 125 ํ Q S ^
P 60 ํ
................................................................................. 4) NQO มีขนาดเท่าใด
.................................................................................
M 65 ํ
.................................................................................
W O

46 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 47
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 173 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน บทที่ 6 | เส้นขนาน

แบบฝึกหัด 6.10 2 ส่วนของเส้นตรงคู่ใดขนานกัน เพราะเหตุใด

1) PQ // RS เพราะ มุมแย้งมีขนาดเท่ากัน
.................................................................................
1 เส้นตรงหรือส่วนของเส้นตรงแต่ละคู่ขนานกันหรือไม่ เพราะเหตุใด P Q
45 ํ .................................................................................
1) A AF // GL เพราะ มุมแย้งมีขนาดเท่ากัน
................................................................................. .................................................................................
M
................................................................................. .................................................................................
O
75 ํ ................................................................................. 45 ํ .................................................................................
F R S
G 75 ํ ................................................................................. .................................................................................
X
.................................................................................
R
L .................................................................................
2) AB // DC เพราะ มุมแย้งมีขนาดเท่ากัน
.................................................................................
A B
32 ํ .................................................................................
2) L GL ไม่ขนานกับ MR เพราะ
.................................................................................
S .................................................................................
U มุมแย้งมีขนาดไม่เท่ากัน
.................................................................................
G 110 ํ
.................................................................................
.................................................................................
32 ํ .................................................................................
105 ํ R ................................................................................. D C
P .................................................................................
.................................................................................
X
M .................................................................................
^ ^
3) EH // FG เพราะมี HEG และ EGF
.................................................................................
3) PV ไม่ขนานกับ WX เพราะ
................................................................................. E
V F เป็นมุมแย้งที่มีขนาดเท่ากัน
.................................................................................
60 ํ
มุมแย้งมีขนาดไม่เท่ากัน
................................................................................. 54 ํ
X .................................................................................
K 138 ํ .................................................................................
Q .................................................................................
135 ํ 54 ํ
................................................................................. 65 ํ
P .................................................................................
................................................................................. H G
W .................................................................................
.................................................................................

G DI // GL เพราะ มุมแย้งมีขนาดเท่ากัน
................................................................................. I ^ ^
4) N 4) 1) IL // OK เพราะมี LIK และ OKI
.................................................................................
30 ํ L
D T ................................................................................. เป็นมุมแย้งที่มีขนาดเท่ากัน
25 ํ .................................................................................
................................................................................. ^ ^
45 ํ 2) IO // LK เพราะมี OIK และ IKL
.................................................................................
45 ํ ................................................................................. เป็นมุมแย้งที่มีขนาดเท่ากัน
.................................................................................
H .................................................................................
25 ํ .................................................................................
R L
I ................................................................................. O 30 ํ .................................................................................
K

48 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 49
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 174 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน บทที่ 6 | เส้นขนาน

แบบฝึกหัด 6.11
5
^
1) EMI มีขนาดเท่าใด
ตอบคำาถาม G
A B 105 ํ
.....................................................................................
1 AC // EG 1) มุมคู่ใดบ้างเป็นมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกัน 75 ํ H ^
H
C 2) IMF มีขนาดเท่าใด
D
ของเส้นตัดขวาง 80 ํ I
A I 75 ํ
.....................................................................................
135 ํ ^ ^ ^ ^ E F
AIK กับ EKI และ CIK กับ GKI
..................................................................................... ^
C M 3) BHM มีขนาดเท่าใด
^
E 2) EKI มีขนาดเท่าใด 105 ํ
.....................................................................................
K
K
45 ํ
.....................................................................................
L G

2 BD // FH D
1) มุมคู่ใดบ้างเป็นมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกัน 6
I ของเส้นตัดขวาง ^
O 100 ํ H 1) MNO มีขนาดเท่าใด
^ ^ ^ ^
DOL กับ HLO และ BOL กับ FLO
..................................................................................... L M
30 ํ
85 ํ
.....................................................................................
^ 95 ํ
B L 2) HLO มีขนาดเท่าใด ^
2) LNO มีขนาดเท่าใด
M 80 ํ
..................................................................................... 30 ํ
.....................................................................................
F
^
N 3) LNM มีขนาดเท่าใด
O
3 FE // LO
1) มุมคู่ใดบ้างเป็นมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกัน 55 ํ
.....................................................................................
Q E
F
ของเส้นตัดขวาง
R ^ ^ ^ ^
FRU กับ LUR และ ERU กับ OUR
.....................................................................................
^
70 ํ O
2) FRU มีขนาดเท่าใด 7
U ^
L 110 ํ
..................................................................................... 1) QRS มีขนาดเท่าใด
V P S
60 ํ
.....................................................................................
4 CE // GU 1) มุมคู่ใดบ้างเป็นมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกัน ^
2) RSP มีขนาดเท่าใด
G ของเส้นตัดขวาง
C 120 ํ
.....................................................................................
^ ^ ^ ^
CKM กับ GMK และ EKM กับ UMK
..................................................................................... ^
P
120 ํ
3) SPQ มีขนาดเท่าใด
K 60 ํ M ^
2) CKM มีขนาดเท่าใด Q R 60 ํ
.....................................................................................
N
E U 120 ํ
.....................................................................................

50 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 51
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 175 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน บทที่ 6 | เส้นขนาน

แบบฝึกหัด 6.12 5
^ ^
A BC // DE เพราะมี NMO และ MOP
.................................................................................
เส้นตรงหรือส่วนของเส้นตรงที่กำาหนดขนานกันหรือไม่ เพราะเหตุใด เป็นมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกัน
.................................................................................
J ของเส้นตัดขวาง ซึ่งขนาดของมุม
.................................................................................
1 HJ ไม่ขนานกับ LN
.................................................................................
N B M N C รวมกันได้ 180 ํ
.................................................................................
D เพราะ ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกัน
................................................................................. 120 ํ
.................................................................................
A
92 ํ ของเส้นตัดขวางรวมกันไม่เท่ากับ 180 ํ
.................................................................................
102 ํ D 60 ํ E .................................................................................
.................................................................................
B O P
F .................................................................................
.................................................................................
H F G .................................................................................
.................................................................................
L

2 R PR // WY
.................................................................................
6 ^ ^
Y เพราะ ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกัน
................................................................................. กข // งค เพราะมี ขกง และ คงก
.................................................................................
L ของเส้นตัดขวางรวมกันได้ 180 ํ
................................................................................. เป็นมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกัน
M .................................................................................
ก ข ของเส้นตัดขวาง ซึ่งขนาดของมุม
104 ํ O ................................................................................. .................................................................................
125 ํ
76 ํ
N ................................................................................. รวมกันได้ 180 ํ
.................................................................................
P
W ................................................................................. .................................................................................
55 ํ 120 ํ
ง ค .................................................................................
AE ไม่ขนานกับ FG
................................................................................. .................................................................................
3
X
A เพราะ ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกัน
................................................................................. .................................................................................
C
E
100 ํ ของเส้นตัดขวางรวมกันไม่เท่ากับ 180 ํ
.................................................................................
.................................................................................
F D 75 ํ G 7
................................................................................. ^ ^
Y 1) จฉ // ซช เพราะมี จฉช และ ซชฉ
.................................................................................
.................................................................................
เป็นมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกัน
.................................................................................
ของเส้นตัดขวาง ซึ่งขนาดของมุม
.................................................................................
ฉ ช
4 PV ไม่ขนานกับ WX
................................................................................. 45 ํ
V 135 ํ รวมกันได้ 180 ํ
.................................................................................
X เพราะ ขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกัน ^ ^
.................................................................................
45 ํ 2) ฉช // จซ เพราะมี จฉช และ ซจฉ
.................................................................................
K U Q ของเส้นตัดขวางรวมกันไม่เท่ากับ 180 ํ
................................................................................. จ ซ
40 ํ Z เป็นมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกัน
.................................................................................
135 ํ
.................................................................................
ของเส้นตัดขวาง ซึ่งขนาดของมุม
.................................................................................
P .................................................................................
W รวมกันได้ 180 ํ
.................................................................................
.................................................................................

52 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 53
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 176 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน บทที่ 6 | เส้นขนาน

แบบฝึกหัด 6.13
5
O .................................................................................
เส้นตรงหรือส่วนของเส้นตรงคู่ใดขนานกัน เพราะเหตุใด .................................................................................
75 ํ
N
H ^ ^ .................................................................................
1 GH // KP เพราะมี GHK และ PKH
.................................................................................
40 ํ .................................................................................
เป็นมุมแย้งที่มีขนาดเท่ากัน
.................................................................................
.................................................................................
................................................................................. P
G 100 ํ I 70 ํ
35 ํ .................................................................................
P ................................................................................. 35 ํ R
75 ํ .................................................................................
M
.................................................................................
40 ํ Q .................................................................................
.................................................................................
K
G Y K M ^ ^
2 IY // HM เพราะมี YRH และ SHR
.................................................................................
6 T
เป็นมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกัน S
................................................................................. .................................................................................
45 ํ
150 ํ S ของเส้นตัดขวาง ซึ่งขนาดของมุม
................................................................................. 45 ํ U .................................................................................
R 140 ํ
รวมกันได้ 180 ํ
................................................................................. .................................................................................
40 ํ ................................................................................. .................................................................................
L ................................................................................. .................................................................................
I H
.................................................................................
^ ^
3 1) AC // FD เพราะมี CBD และ FDB
................................................................................. V
45 ํ
.................................................................................
A
เป็นมุมแย้งที่มีขนาดเท่ากัน
................................................................................. .................................................................................
W
B ^ ^
2) AE // BD เพราะมี EFD และ BDF
.................................................................................
F 85 ํ
เป็นมุมแย้งที่มีขนาดเท่ากัน
.................................................................................
85 ํ
85 ํ C ................................................................................. 7
.................................................................................
E D .................................................................................
.................................................................................
ช ซ
105 ํ .................................................................................
4 บม // วศ เพราะ มุมแย้งที่เกิดจาก
.................................................................................
.................................................................................
บ ม เส้นตัดขวาง บว มีขนาดเท่ากัน
................................................................................. จ
105 ํ

100 ํ .................................................................................
.................................................................................
75 ํ 75 ํ .................................................................................
................................................................................. ก ข ค ง .................................................................................
100 ํ 95 ํ .................................................................................
.................................................................................
ว ศ .................................................................................

54 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 55
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 177
บทที่ 6 | เส้นขนาน

เฉลยหน้า 55
^ ^
5 1) MO // QP เพราะมี QPR และ NMR เป็นมุมแย้งที่มีขนาดเท่ากัน
2) NQ // OP
วิธีคิด 1 เนื่องจาก MO // QP และ NQ เป็นเส้นตัดขวาง
^ ^
จะได้ PQR และ MNR เป็นมุมแย้งที่มีขนาดเท่ากัน ซึ่งเท่ากับ 75 ํ
^ ^ ^
และจาก m(MNR) = 75 ํ แสดงว่า m(ONR ) = 105 ํ เพราะ ONM เป็นมุมตรง
จึงทําให้ผลบวกของขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกัน
ของเส้นตัดขวาง ON รวมกันได้ 180 ํ
วิธีคิด 2 เนื่องจาก MO // QP และ NQ เป็นเส้นตัดขวาง
^ ^ ^
จะได้ m(ONQ ) + m(NQP) = 180 ํ แต่ m(NQP ) = 75 ํ
^
จะได้ m(ONQ) = 180 − 75 = 105 ํ
แต่ MO เป็นเส้นตัดขวางของ NQ กับ OP
^ ^
และ QNO กับ NOP อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง
^ ^
ซึ่ง m(QNO) + m(NOP) = 105 + 75 = 180 ํ

^ ^
6 1) TV // UW เพราะมี VTW และ UWT เป็นมุมแย้งที่มีขนาดเท่ากัน
2) SU // VW
วิธีคิด 1 เนื่องจาก SU และ VW มี TV เป็นเส้นตัดขวาง
^ ^
UTV และ TVW เป็นมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง
^ ^ ^
ซึ่ง m(UTV ) = 45 + 45 = 90 ํ และ m(UTV ) + m(TVW ) = 90 + 90 = 180 ํ
วิธีคิด 2 เนื่องจาก TV // UW และ VW เป็นเส้นตัดขวาง
^ ^
จะได้ TVW และ UWV เป็นมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง
^ ^
ซึ่งรวมกันได้ 180 ํ ดังนั้น m(UWV ) = 90 ํ และ m(VWT ) = 90 − 45 = 45ํ
^ ^
จึงทําให้ UTW และ VWT เป็นมุมแย้งที่มีขนาดเท่ากัน

^ ^
7 1) ชซ // จฉ เพราะมี ซชฉ และ จฉช เป็นมุมแย้งที่มีขนาดเท่ากัน
^ ^
2) ชซ // กง เพราะมี ซชข และ คขช เป็นมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง
ซึ่งรวมกันได้ 180 ํ
^ ^
3) จฉ // กง เนื่องจาก ชฉข เป็นมุมตรง แสดงว่า m(จฉข) = 180 − 105 = 75 ํ
^ ^
จะได้ จฉข และ คขฉ เป็นมุมแย้งที่มีขนาดเท่ากัน
^ ^
4) ขช // คซ เนื่องจาก กคง เป็นมุมตรง แสดงว่า m(ขคซ) = 180 − 75 = 105 ํ
^ ^
จะได้ ชขค และ ขคซ เป็นมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง ซึ่งรวมกันได้ 180 ํ
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 178 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน บทที่ 6 | เส้นขนาน

แบบฝึกหัด 6.14
4 สร้าง ON ให้ขนานกับ GH โดยให้มีระยะห่างจาก GH 3 เซนติเมตร
สร้างเส้นตรงตามข้อกำาหนด
G
1 สร้าง XY ให้ขนานกับ AB โดยให้มีระยะห่างจาก AB 2 เซนติเมตร 3 ซม.
O
A B

2 ซม.

2 ซม.
3 ซม.
N
X Y
H
2 สร้าง RS ให้ขนานกับ CD โดยให้มีระยะห่างจาก CD 4.5 เซนติเมตร
C
5 สร้าง HK ให้ขนานกับ PQ โดยให้มีระยะห่างจาก PQ 2.6 เซนติเมตร

Q
.
ซม
4.5

2.6 ซม.
D

2.6 ซม.
R K
.
ซม
4.5

S
3 สร้าง UV ให้ขนานกับ EF โดยให้มีระยะห่างจาก EF 6 เซนติเมตร 6 สร้าง MN ให้ขนานกับ KL โดยให้มีระยะห่างจาก KL 4 เซนติเมตร

M
K .
E 4 ซม

6ซ
ม. N

ม.
4ซ
U

6ซ
F ม. L

56 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี V สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 57
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 179 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน บทที่ 6 | เส้นขนาน

แบบฝึกหัด 6.15
4 ขนานกับ ST และผ่านจุด D
C
สร้างเส้นตรงตามข้อกำาหนด โดยใช้ระยะห่าง ตัวอย่าง
S

1 ขนานกับ MN และผ่านจุด A
D
ตัวอย่าง
A B

M N

5 ขนานกับ UV และผ่านจุด E
2 ขนานกับ OP และผ่านจุด B
ตัวอย่าง
ตัวอย่าง D
B
E
P

U
A
V

O
6 ขนานกับ WX และผ่านจุด F

ตัวอย่าง
X
3 ขนานกับ QR และผ่านจุด C
ตัวอย่าง
Q

F
C R
W
G
D

58 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 59
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 180 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน บทที่ 6 | เส้นขนาน

แบบฝึกหัด 6.16
4 ขนานกับ YK และผ่านจุด L

สร้างเส้นตรงตามข้อกำาหนด โดยใช้มุมแย้ง ตัวอย่าง N L


45 ํ
1 ขนานกับ AB และผ่านจุด C
C E
ตัวอย่าง 110 ํ

45 ํ
Y M K
B
110 ํ D
A 5 ขนานกับ MN และผ่านจุด O
ตัวอย่าง

2 ขนานกับ DE และผ่านจุด F M
ตัวอย่าง H O
D 100 ํ
100 ํ
P Q
65 ํ
65 ํ G
F
N

E
6 ขนานกับ PQ และผ่านจุด R
ตัวอย่าง
Q
3 ขนานกับ GH และผ่านจุด K M
ตัวอย่าง

50 ํ
K
G 70 ํ
S
L
50 ํ 70 ํ R
P

H
T

60 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 61
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 181 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 6 | เส้นขนาน บทที่ 6 | เส้นขนาน

แบบฝึกหัด 6.17
4 ขนานกับ MN และผ่านจุด P
ตัวอย่าง M
สร้างเส้นตรงตามข้อกำาหนด โดยใช้มุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง
O
75 ํ
N
1 ขนานกับ AB และผ่านจุด D
ตัวอย่าง D 105 ํ
E P
140 ํ Q

40 ํ
A
C
B

5 ขนานกับ QR และผ่านจุด T
2 ขนานกับ EF และผ่านจุด H
ตัวอย่าง
ตัวอย่าง U
K T
E 120 ํ
R
85 ํ
H S 60 ํ
95 ํ Q
G

6 ขนานกับ UV และผ่านจุด X
3 ขนานกับ MN และผ่านจุด L ตัวอย่าง V
ตัวอย่าง
L
55 ํ Z
N
97 ํ
W 125 ํ

P O X
83 ํ
U

62 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 63
182 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

แบบฝึกหัด 3 สร้างรูปตามข้อกำาหนด
บทที่ 7 รูปสี่เหลี่ยม
1) สร้าง คง ให้ผ่านจุด จ และขนานกับ กข 2) สร้าง KM ให้ขนานกับ SC
ข และ มีระยะห่าง 1.5 เซนติเมตร
แบบฝึกหัด 7.1 K M

1.5

1.5 ซม.

1.5 ซม.
ซม.
1.5
1 เขียน ในตาราง ก ง

ซม.

S C
สมบัติของรูปสี่เหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ค
1) มุมทุกมุมเป็นมุมฉาก
3) สร้างรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก 2 รูป ที่แตกต่างกัน ให้มีความยาวรอบรูป 16 เซนติเมตร
2) ด้านตรงข้ามยาวเท่ากัน 2 คู่ ตัวอย่าง ม ป
3) ด้านทุกด้านยาวเท่ากัน 6 ซม.
A B
4) ด้านที่อยู่ติดกันยาวไม่เท่ากัน
5) เส้นทแยงมุมยาวเท่ากัน 2 ซม. 4 ซม.

6) เส้นทแยงมุมแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน
F D
7) เส้นทแยงมุมตัดกันเป็นมุมฉาก
ส ต
8) เส้นทแยงมุมตัดกันไม่เป็นมุมฉาก

2 ตรวจสอบรูปสี่เหลี่ยมที่กำาหนดให้ แล้วตอบคำาถาม 4 ตอบคำาถามโดยใช้ข้อมูลที่กำาหนดให้


A E

ลุงมั่นมีที่ดิน 2 แปลงอยู่ติดกันดังรูป 2 วา
F
H แปลงที่ 1 เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีพื้นที่ 81 ตารางวา แปลงที่ 1

9 วา

7 วา
G แปลงที่ 2
แปลงที่ 2 เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 7 วา ยาว 12 วา
B C D
9 วา 12 วา

1) ABDE เป็นรูปสี่เหลี่ยมชนิดใด
1) ที่ดินแปลงที่ 1 มีความยาวด้านละเท่าใด
รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
..................................................................................................................................................
9 วา
......................................................................................................................................
2) ส่วนของเส้นตรงใดเป็นเส้นทแยงมุมของ ABDE
2) ที่ดินแปลงใดมีพื้นที่มากกว่า และมากกว่ากันเท่าใด
AD และ BE
..................................................................................................................................................
ที่ดินแปลงที่ 2 มีพื้นที่มากกว่าแปลงที่ 1 และมากกว่ากัน 3 ตารางวา
......................................................................................................................................
3) ถ้า AF ยาว 15 เซนติเมตร BE จะยาวเท่าใด
3) ถ้าลุงมั่นต้องการทำารั้วล้อมรอบที่ดินทั้งสองแปลงเพื่อให้เป็นแปลงเดียวกัน
30 เซนติเมตร
..................................................................................................................................................
ลุงมั่นต้องทำารั้วยาวเท่าใด
4) มีส่วนของเส้นตรงใดบ้างที่ขนานกัน 9 + 9 + 9 + 12 + 7 + 12 + 2 = 60 วา
......................................................................................................................................
AE // BD AB // ED AE // BC และ AE // CD
..................................................................................................................................................

64 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 65
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 183 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

แบบฝึกหัด 7.2
4) คางหมู
EFGH เป็นรูปสี่เหลี่ยม .......................................
1 E F
ตรวจสอบขนาดของมุม ความยาวด้าน และการขนานกันของด้านของรูปสี่เหลี่ยมที่กำาหนด มีด้านขนานกัน 1 คู่ คือ EF // HG
เพราะ......................................................................
แล้วเติมคำาตอบ
................................................................................

ด้านขนาน ................................................................................
1) A ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยม .......................................
D m(DA) = m(CB) และ m(DC) = m(AB) ................................................................................
เพราะ...................................................................... H G
มี DA // CB และ DC // AB ................................................................................
................................................................................
^ ^ ^ ^
มี D = B และ A = C
................................................................................ N
จัตุรัส
5) QPUN เป็นรูปสี่เหลี่ยม ......................................
................................................................................ m(NQ) = m(OP) = m(PU) = m(UN)
เพราะ......................................................................
Q
B ................................................................................ มี NQ // UP และ NU // QP
................................................................................
C มีมุมทุกมุมเป็นมุมฉาก
................................................................................
U
................................................................................
2) K รูปว่าว
SMOK เป็นรูปสี่เหลี่ยม ......................................
P ................................................................................
S m(SM) = m(SK) และ m(MO) = m(KO)
เพราะ......................................................................
^ ^ 6) K ขนมเปียกปูน
KOST เป็นรูปสี่เหลี่ยม .......................................
มี M = K
................................................................................
m(KO) = m(OS) = m(TS) = m(KT)
เพราะ......................................................................
................................................................................
T มี KO // TS และ KT // OS
................................................................................
................................................................................
^ ^
มีมุมทุกมุมไม่เป็นมุมฉาก โดยมี K = S
................................................................................
M ................................................................................
O ^ ^
O และ T = O
................................................................................
................................................................................
U ผืนผ้า S
3) NURP เป็นรูปสี่เหลี่ยม ......................................
R
m(UR) = m(NP) และ m(UN) = m(RP)
เพราะ...................................................................... 7) คางหมู
WXYZ เป็นรูปสี่เหลี่ยม ......................................
W X มีด้านขนานกัน 1 คู่ คือ WX // ZY
มี UR // NP และ UN // RP
................................................................................ เพราะ......................................................................

มีมุมทุกมุมเป็นมุมฉาก
................................................................................ ................................................................................

................................................................................ ................................................................................

................................................................................ ................................................................................
N Z Y ................................................................................
P

66 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 67
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 184 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

2 ลากส่วนของเส้นตรงเชื่อมจุดให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมตามกำาหนด
แบบฝึกหัด 7.3
1) รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 2) รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สร้างรูปสี่เหลี่ยมจากเส้นทแยงมุมที่กำาหนด พร้อมเติมคำาตอบ
ตัวอย่าง ตัวอย่าง
1

ก ข

ง ค

ผืนผ้า
กขคง เป็นรูปสี่เหลี่ยม .......................................................
3) รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน 4) รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
ตัวอย่าง ตัวอย่าง
2 D G

O N

คางหมู
DONG เป็นรูปสี่เหลี่ยม .......................................................

5) รูปสี่เหลี่ยมคางหมู 6) รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว
ตัวอย่าง ตัวอย่าง 3 B

L A

รูปว่าว
BAWL เป็นรูปสี่เหลี่ยม .......................................................

68 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 69
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 185 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

4 จ แบบฝึกหัด 7.4

สร้างรูปสี่เหลี่ยมตามข้อกำาหนด

^
1 รูปสีเ่ หลีย่ มขนมเปียกปูน ABCD ทีม ี า้ นยาวด้านละ 3.5 เซนติเมตร และ ADC มีขนาด 100°
่ ด
ส ม
A B
80°

ด้านขนาน
จทมส เป็นรูปสี่เหลี่ยม ......................................................

3.5 ซม.
100°
5 รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส THAY ที่เส้นทแยงมุมตัดกันที่จุด O
D C

2 รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว EFGH ที่มี EF ยาว 2.5 เซนติเมตร FG ยาว 5 เซนติเมตร


H Y ^
O และ EFG มีขนาด 140°

A H

E G
^ 90 140°
HOA มีขนาด ................................ องศา 5 ซม.
F

6 รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน FUND ที่เส้นทแยงมุมตัดกันที่จุด M

F 3 รูปสี่เหลี่ยมคางหมู ที่มีความยาวของด้านคู่ที่ขนานกันรวมกันได้ 11 เซนติเมตร


และมุมมุมหนึ่ง มีขนาด 65° พร้อมกำาหนดชื่อรูปสี่เหลี่ยม
ตัวอย่าง
D U G 4 ซม. T
M
115°

65°
I 7 ซม. F
4
DM ยาว ....................................... หน่วย

70 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 71
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 186 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

^ ^
4 รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ที่มี MA เป็นด้านด้านหนึ่ง ด้าน 2 ด้านที่อยู่ติดกันมีความยาวต่างกัน 6 รูปสี่เหลี่ยมคางหมู MNOP ที่มี MN ยาว 8 เซนติเมตร PMN และ MNO มีขนาด 120°
1.5 เซนติเมตร และมุมมุมหนึ่งมีขนาด 135° พร้อมกำาหนดชื่อรูปสี่เหลี่ยม MP และ NO ยาวเป็นครึ่งหนึ่งของ MN
และเขียนความยาวของด้านกำากับ
ตัวอย่าง
M P O

45 ํ

ม.
H

4ซ
ม.
5ซ

120° 120°

M 8 ซม. N
135 ํ

A
6.5 ซ
ม.
T

^ W
5 รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว RTVS ที่มี TRS เป็นมุมฉาก RT ยาว 5 เซนติเมตร 7 3.5 ซ สร้าง GATE ให้แต่ละด้านมีความยาวเป็น 2 เท่า
ม.
และ TV ยาว 8 เซนติเมตร X ของ WXYZ และมุมทุกมุมมีขนาดเท่าเดิม

2.5 ซม.
พร้อมเขียนความยาวของด้านกำากับ
V 1.5 ซม.
95 ํ
Z 3 ซม. Y
.
8 ซม

G
T
7 ซม
.
A

5 ซม.
5 ซม.

3 ซม.
95°
E 6 ซม. T
R S

72 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 73
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 187 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

8 ^
รูปสี่เหลี่ยม SAVE ที่มี SEV เป็นมุมฉาก SA และ SE ยาว 3.5 เซนติเมตร
แบบฝึกหัด 7.5
VA และ VE ยาว 6.5 เซนติเมตร แล้วระบุชนิดของรูปสี่เหลี่ยม SAVE พร้อมอธิบายเหตุผล
สร้างรูปสี่เหลี่ยมตามข้อกำาหนด
S
.
ซม 1 รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่มีเส้นทแยงมุมยาว 4.4 เซนติเมตร พร้อมกำาหนดชื่อรูปสี่เหลี่ยม
3.5
ตัวอย่าง T
E A

รูปสี่เหลี่ยม SAVE เป็นรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว


เพราะด้านที่อยู่ติดกันยาวเท่ากัน 2 คู่ G F
4.4 ซม.
.

คือ m(SA) = m(SE) และ m(VA) = m(VE)


ซม
6.5

และมุมที่อยู่ตรงข้ามกันมีขนาดเท่ากัน 1 คู่
^ ^
คือ m(SEV) = m(SAV)
I

V 2 รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว ที่มีเส้นทแยงมุมยาว 4 เซนติเมตร และ 5 เซนติเมตร


พร้อมกำาหนดชื่อรูปสี่เหลี่ยม ล

ตัวอย่าง
ค อ
^ 2 ซม.
9 รูปสี่เหลี่ยม TUMB ที่มี TUM มีขนาด 50° TU และ BM ยาว 9 เซนติเมตร

5 ซม.
UM และ TB ยาว 4.5 เซนติเมตร แล้วระบุชนิดของรูปสี่เหลี่ยม TUMB พร้อมอธิบายเหตุผล
ตัวอย่าง

B M

4.5

3 รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน LONG ที่มีเส้นทแยงมุม LN ยาวเป็น 2 เท่าของเส้นทแยงมุม OG


ซม
.

และมุมที่จุดตัดของเส้นทแยงมุมมุมหนึ่งมีขนาด 75 °
50° G
ตัวอย่าง
T 9 ซม. U

รูปสี่เหลี่ยม TUMB เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน


75°
L N
เพราะด้านตรงข้ามยาวเท่ากัน คือ m(UM) = m(TB) และ m(TU) = m(BM) 4 ซม.
ด้านตรงข้ามขนานกัน 2 คู่ คือ UM // TB และ TU // BM

2 ซม.
^ ^ ^ ^
และมุมที่อยู่ตรงข้ามกันมีขนาดเท่ากัน คือ m(TUM) = m(TBM) และ m(BTU) = m(BMU)
O

74 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 75
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 188 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

4 รูปสี่เหลี่ยมที่มีเส้นทแยงมุมยาว 6 เซนติเมตร และ 11 เซนติเมตร โดยให้เส้นทแยงมุม 6 รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน JUMP ที่มี JU และ PM ยาว 4.5 เซนติเมตร เส้นทแยงมุมยาว
แบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน และตัดกันเป็นมุมฉาก พร้อมกำาหนดชื่อและระบุชนิดของรูปสี่เหลี่ยม 6 เซนติเมตร และ 9 เซนติเมตร
ตัวอย่าง

ข U

.
ซม
4.5

3ซ
3 ซม.

ม.
J M
ก ค 4.5 ซม.
5.5 ซม.
.
ซม
4.5

P

รูปสี่เหลี่ยม กขคง เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

5 รูปสี่เหลี่ยมที่มีเส้นทแยงมุมยาวเส้นละ 10 เซนติเมตร โดยให้เส้นทแยงมุมแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน 7 รูปสี่เหลี่ยมคางหมู ที่มีเส้นทแยงมุมยาว 7 เซนติเมตร และ 10 เซนติเมตร


และตัดกันไม่เป็นมุมฉาก พร้อมกำาหนดชื่อและระบุชนิดของรูปสี่เหลี่ยม พร้อมกำาหนดชื่อรูปสี่เหลี่ยม
ตัวอย่าง ตัวอย่าง

D C D R

.
5 ซม
10
ม. ซม.
7ซ
A B

M U
รูปสี่เหลี่ยม ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

76 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 77
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 189 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

แบบฝึกหัด 7.6 (ความยาวที่วัด คลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 1 มิลลิเมตร) แบบฝึกหัด 7.7

1 วัดแล้วระบุความยาวของฐานและความสูงของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน 1 หาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

1) 2)
A J D ด ส 1) วิธีทำา

2.5 ซม.
พื้น................................................................................
ที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน = ความสูง × ความยาวของฐาน
2.5 ซม.

ส 4 ซม. ม

................................................................................
พื้นที่ของ สมพร = 2.8 × 4 ตารางเซนติเมตร

2.8 ซม.
.
B 4 ซม. C ช 2.5 ซม. ม ย

3 ซม
................................................................................
= 11.2 ตารางเซนติเมตร

DCBA 4
มีฐานยาว ................. ซม. 2.5
สมชด มีฐานยาว ................. ซม. ดัง................................................................................
นั้น สมพร มีพื้นที่ 11.2 ตารางเซนติเมตร
ร พ
2.5
มีความสูง ................. ซม. 2.5
มีความสูง ................. ซม.
ตอบ ๑๑.๒ ตารางเซนติเมตร
................................................................................

2 เขียนส่วนของเส้นตรงแสดงส่วนสูง วัดและระบุความยาวของฐานและความสูงของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

2) วิธีทำา
พ ก ท พื้น................................................................................
ที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน = ความสูง × ความยาวของฐาน
D ฐาน A
1) 2) .
4.7 ม
3.8 พื้นที่ของ ดปรท = 3.6 × 4.7 ตารางเมตร
ซม ................................................................................

4.
ฐาน


2.2 ซม.
.

4
ม.

ม.
3ซ

= 16.92 ตารางเมตร
................................................................................

3.6 ม

ม ล K 4.5 ซม. R

.
ดัง................................................................................
นั้น ดปรท มีพื้นที่ 16.92 ตารางเมตร
3
พกลม มีฐานยาว .................. ซม. 4.5 ซม.
KRAD มีฐานยาว .................. ป
................................................................................
ตอบ ๑๖.๙๒ ตารางเมตร
3.8
มีความสูง ................. ซม. 2.2
มีความสูง ................. ซม.

E
3) 4) ง 3) วิธีทำา

E 4.6 ม. H พื้น................................................................................
ที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน = ความสูง × ความยาวของฐาน
U
2.1


3ซ

ล ................................................................................
พื้นที่ของ EPGH = 3.8 × 4.6 ตารางเมตร
ซม.

T
ม.

3.3

4.1
ซม. ซม. 3.8 ม. ................................................................................
= 17.48 ตารางเมตร
5.1

ม.6

ดัง................................................................................
นั้น EPGH มีพื้นที่ 17.48 ตารางเมตร
R

TRUE 5.1 ซม.


มีฐานยาว .................. งมนล 3.3 ซม.
มีฐานยาว .................. ตอบ ๑๗.๔๘ ตารางเมตร
................................................................................
K 1.7 ม. P G
2.1
มีความสูง ................. ซม. 3
มีความสูง ................. ซม.

78 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 79
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 190 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

2 กำาหนดฐาน วัดความยาวของฐานและส่วนสูง แล้วหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน


4)
วิธีทำา (ความยาวที่วัด คลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 1 มิลลิเมตร)
พื้นที่ข................................................................................
องรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน = ความสูง × ความยาวของฐาน
K 4 ซม. L 1) ตัวอย่าง วิธีทำา
พื้นที่ของ AKLD = 2.9 × 4 ตารางเซนติเมตร
................................................................................
K O พื้น................................................................................
ที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน = ความสูง × ความยาวของฐาน
ซม.

2.9 ซม.
3.07

= 11.6 ตารางเซนติเมตร
................................................................................
................................................................................
พื้นที่ของ KODE = 4 × 3 ตารางเซนติเมตร

ดังนั้น ................................................................................
AKLD มีพื้นที่ 11.6 ตารางเซนติเมตร
................................................................................
= 12 ตารางเซนติเมตร

4 ซม.
A D 1 ซม. F
ตอบ ................................................................................
๑๑.๖ ตารางเมตร
ดังนั................................................................................
้น KODE มีพื้นที่ 12 ตารางเซนติเมตร

ตอบ ๑๒ ตารางเซนติเมตร
................................................................................
E 3 ซม. D

5)
ม วิธีทำา

8 ม. พื้นที่ข................................................................................
องรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน = ความสูง × ความยาวของฐาน 2) ตัวอย่าง วิธีทำา
4.1
3.3

ภ พื้นที่ของ ภจยม = 3 × 4.18 ตารางเมตร


................................................................................ ก ส พื้น................................................................................
ที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน = ความสูง × ความยาวของฐาน
ม.
3 ม.

ย = 12.54 ตารางเมตร
................................................................................ ................................................................................
พื้นที่ของ กสทช = 3.5 × 4.5 ตารางเซนติเมตร

3.5 ซม.
ดังนั้น ................................................................................
ภจยม มีพื้นที่ 12.54 ตารางเมตร ................................................................................
= 15.75 ตารางเซนติเมตร
จ ม.
3.8 ดังนั................................................................................
้น กสทช มีพื้นที่ 15.75 ตารางเซนติเมตร
ตอบ ................................................................................
๑๒.๕๔ ตารางเมตร
1.7
5


ม.

ช 4.5 ซม. ท ตอบ


................................................................................
๑๕.๗๕ ตารางเซนติเมตร

6) วิธีทำา
3) ตัวอย่าง วิธีทำา
พื้นที่ข................................................................................
องรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน = ความสูง × ความยาวของฐาน
F
H P พื้น................................................................................
ที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน = ความสูง × ความยาวของฐาน
. ................................................................................
พื้นที่ของ PLMH = 1.76 × 3.4 ตารางเมตร
6ม
1.7 ................................................................................
พื้นที่ของ FOUR = 2.3 × 5 ตารางเซนติเมตร

2.3
................................................................................
= 12.54 ตารางเมตร
3.4

R
3 ม.

................................................................................
= 11.5 ตารางเซนติเมตร

ซม.
O
ม.

ดังนั้น ................................................................................
PLMH มีพื้นที่ 5.984 ตารางเมตร
5ซ
ม. ดังนั................................................................................
้น FOUR มีพื้นที่ 11.5 ตารางเซนติเมตร
V 1.6 ม. M L ตอบ ................................................................................
๕.๙๘๔ ตารางเมตร
U ตอบ ๑๑.๕ ตารางเซนติเมตร
................................................................................

80 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 81
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 191 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

แบบฝึกหัด 7.8 4) วิธีทำา

1 หาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ................................................................................
พื้นที่ของรู ปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = ความสูง × ความยาวของฐาน
พ 3.7 ม. ว
................................................................................
พื้นที่ของ พวจม = 2.1 × 3.7 ตารางเมตร
1) วิธีทำา

2.1 ม.
พื้นที่ข................................................................................
องรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = ความสูง × ความยาวของฐาน ................................................................................
= 7.77 ตารางเมตร

อ 8 ม. ต ดังนั้น ................................................................................
พวจม มีพื้นที่ 7.77 ตารางเมตร
................................................................................
พื้นที่ของ หอตช = 6 × 8 ตารางเมตร ม จ

................................................................................
= 48 ตารางเมตร ตอบ ๗.๗๗ ตารางเมตร
................................................................................
6 ม.

ดังนั้น ................................................................................
หอตช มีพื้นที่ 48 ตารางเมตร

ห ว ช ตอบ ................................................................................
๔๘ ตารางเมตร
5) วิธีทำา

. พื้นที่ของรู ปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = ความสูง × ความยาวของฐาน
................................................................................
5.4 ม
วิธีทำา
2) ว
พื้นที่ข................................................................................
องรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = ความสูง × ความยาวของฐาน
พื้นที่ของ วยจร = 5.02 × 5.4 ตารางเมตร
................................................................................
H F
พื้นที่ของ HFGD = 3.5 × 4 ตารางเซนติเมตร ................................................................................
= 27.108 ตารางเมตร
................................................................................

ม.
5.02
ดังนั้น ................................................................................
วยจร มีพื้นที่ 27.108 ตารางเมตร
= 14 ตารางเซนติเมตร
................................................................................
ม.

3.5 ซม.
4ซ

จ ตอบ ๒๗.๑๐๘ ตารางเมตร


................................................................................
HFGD มีพื้นที่ 14 ตารางเซนติเมตร
ดังนั้น ................................................................................

ตอบ ................................................................................
๑๔ ตารางเซนติเมตร ร
D G 1.94 ซม. J

6) วิธีทำา
3) วิธีทำา
Z ................................................................................
พื้นที่ของรู ปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = ความสูง × ความยาวของฐาน
พื้นที่ข................................................................................
องรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = ความสูง × ความยาวของฐาน
S 3.6
K M ซม ................................................................................
พื้นที่ของ ZVMS = 2.7 × 3.6 ตารางเซนติเมตร
................................................................................
พื้นที่ของ KMOP = 3 × 2.75 ตารางเมตร .
................................................................................
= 9.72 ตารางเซนติเมตร
................................................................................
= 8.25 ตารางเมตร V
.
5ม
3 ม.

ดังนั้น ................................................................................
ZVMS มีพื้นที่ 9.72 ตารางเซนติเมตร
2.7

.
ดังนั้น ................................................................................
KMOP มีพื้นที่ 8.25 ตารางเมตร

ซม
2.4
ซม

2.7
P V O . ................................................................................
ตอบ ๙.๗๒ ตารางเมตร
ตอบ ................................................................................
๘.๒๕ ตารางเมตร L

82 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 83
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 192 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

2 ลากแล้ววัดความสูง และความยาวของฐาน พร้อมหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน แบบฝึกหัด 7.9


(ความยาวที่วัด คลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 1 มิลลิเมตร)
1) ตัวอย่าง วิธีทำา หาพื้นที่ของส่วนที่ระบายสี
................................................................................
พื้นที่ของรู ปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = ความสูง × ความยาวของฐาน
1
E R
................................................................................
พื้นที่ของ MORE = 2.8 × 3 ตารางเซนติเมตร จ ด วิ...........................................................................
ธีทำา เนื่องจาก จรอม และ รดยอ เป็นรูปสี่เหลี่ยม

2.8 ซม.

................................................................................
= 8.4 ตารางเซนติเมตร 5 ซม. ด้...........................................................................
านขนานที่มีพื้นที่เท่ากัน

13 ซม.
ดังนั้น ................................................................................
MORE มีพื้นที่ 8.4 ตารางเซนติเมตร และพื ้นที่ส่วนที่ระบายสี = 2 × พื้นที่ของ จรอม
...........................................................................

M 3 ซม. O ตอบ ๘.๔ ตารางเซนติเมตร ...........................................................................


เนื ่องจาก จรอม มีพื้นที่ 5 × 13 = 65 ตร.ซม.
................................................................................ 5 ซม.
ดั...........................................................................
งนั้น ส่วนที่ระบายสีมีพื้นที่ 2 × 65 = 130 ตร.ซม.
ม ย

ตอบ ๑๓๐ ตารางเซนติเมตร
2) ตัวอย่าง วิธีทำา
ส พื้นที่ของรู ปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = ความสูง × ความยาวของฐาน
................................................................................ 2
วิ...........................................................................
ธีทำา เนื่องจาก FIVE และ LONG เป็นรูปสี่เหลี่ยม
ก พื้นที่ของ ชกสท = 2.6 × 4 ตารางเซนติเมตร
................................................................................ E V
G 1 ม. ขนมเปี ยกปูน และพื้นที่ของส่วนที่ระบายสีหาได้จาก
...........................................................................
2.6 ซ

= 10.4 ตารางเซนติเมตร
................................................................................ N

ม.

2.1 ม.
ม.

พื...........................................................................
้นที่ของ FIVE ลบด้วยพื้นที่ของ LONG

6
ดังนั้น ................................................................................
ชกสท มีพื้นที่ 10.4 ตารางเซนติเมตร
L O
ท 1 ม. 3 ม. เนื ่องจาก FIVE มีพื้นที่ 4.1 × 6 = 24.6 ตร.ม.
...........................................................................
. ตอบ ๑๐.๔ ตารางเซนติเมตร
................................................................................
4 ซม F I
ช และ LONG มีพื้นที่ 2.1 × 3 = 6.3 ตร.ม.
...........................................................................
ดังนั้น ส่วนที่ระบายสีมีพื้นที่ 24.6 − 6.3 = 18.3 ตร.ม.
ตอบ ๑๘.๓ ตารางเมตร
3) ตัวอย่าง วิธีทำา
3
................................................................................
พื้นที่ของรู ปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = ความสูง × ความยาวของฐาน C D F G
F วิ...........................................................................
ธีทำา เนื่องจาก BEDC EHGF KIHE
O
................................................................................
พื้นที่ของ FORD = 3.9 × 4.2 ตารางเซนติเมตร

4ม
...........................................................................
และ AMEB เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีพื้นที่เท่ากัน

.
= 16.38 ตารางเซนติเมตร
................................................................................
3.9 ซม.

B H และพื ้นที่ของส่วนที่ระบายสี = 4 × พื้นที่ของ BEDC


...........................................................................
ดังนั้น ................................................................................
FORD มีพื้นที่ 16.38 ตารางเซนติเมตร E
เนื ่องจาก BEDC มีพื้นที่ 1.17 × 4 = 4.68 ตร.ม.
...........................................................................
ตอบ ๑๖.๓๘ ตารางเซนติเมตร
................................................................................ 1.1
7ม ดั...........................................................................
งนั้น ส่วนที่ระบายสีมีพื้นที่ 4 × 4.68 = 18.72 ตร.ม.
D .
4.2 ซม.
R A M K 2 ม. I ตอบ ๑๘.๗๒ ตารางเมตร

84 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 85
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 193 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

4 6
ง ..................................................................... V T
W S
วิ.....................................................................
ธีทำา เนื่องจาก กดพข ตชฉพ และ พจงค
U

2.
8
ซม
เป็ นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่มีพื้นที่เท่ากัน
.....................................................................

.
ค จ
.....................................................................
และพื ้นที่ของส่วนที่ระบายสี = 3 × พื้นที่ของ กดพข
Y R
.
เนื่องจาก กดพข มีพื้นที่ 3.46 × 4 = 13.84 ตร.ซม.
..................................................................... ซม

3
ซม
2
5.

.
ข ฉ
ดังนั้น ส่วนที่ระบายสีมีพื้นที่ 3 × 13.84 = 41.52 ตร.ซม.
.....................................................................

3.46 ซม.

O
ตอบ ๔๑.๕๒ ตารางเซนติเมตร
.....................................................................
M Q
..................................................................... N P 3.85 ซม.
ก ด ต 4 ซม. ช
.....................................................................

...........................................................................................................................................
วิธีทำา เนื่องจาก PQVW และ MNST เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีพื้นที่เท่ากัน
........................................................................................................................................
...........................................................................................................................................
........................................................................................................................................
และรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานทั้งสองรูปมีส่วนที่ซ้อนทับกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ORUY

........................................................................................................................................
ดังนั้นพื้นที่ของส่วนที่ระบายสี = (2 × พื้นที่ของ PQVW) − (พื้นที่ของ ORUY)

5 เนื่องจาก PQVW มีฐานยาว 5.2 + 3 + 2.8 = 11 ซม. และสูง 3 ซม.


........................................................................................................................................
พ ล ........................................................................................................................................
จะได้ว่า PQVW มีพื้นที่ 3 ×11 = 33 ตร.ซม.
ม. .....................................................................
4.5 ........................................................................................................................................
และ ORUY มีพื้นที่ 3 × 3 = 9 ตร.ซม.
.....................................................................
วิธีทำา เนื่องจาก ยวมพ และ วสลม
ม ........................................................................................................................................
ดังนั้น ส่วนที่ระบายสีมีพื้นที่ (2 × 33) − 9 = 57 ตร.ซม.
.....................................................................
เป็ นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่มีพื้นที่เท่ากัน
ตอบ ๕๗ ตารางเซนติเมตร
........................................................................................................................................
.....................................................................
และพื ้นที่ของส่วนที่ระบายสี = 2 × พื้นที่ของ ยวมพ
ม.
1.5 ม.

5.1

........................................................................................................................................
.....................................................................
เนื่องจาก ยวมพ มีพื้นที่ 5.1 × 4.5 = 22.95 ตร.ม.
ย ส
........................................................................................................................................
.....................................................................
ดังนั้น ส่วนที่ระบายสีมีพื้นที่ 2 × 22.95 = 45.9 ตร.ม
........................................................................................................................................
.....................................................................
ตอบ ๔๕.๙ ตารางเมตร
ว ........................................................................................................................................
.....................................................................

.....................................................................
...........................................................................................................................................

...........................................................................................................................................

86 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 87
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 194 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

แบบฝึกหัด 7.10 3 กระดาษรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากแผ่นหนึ่งมีความยาวรอบรูป 56 เซนติเมตร มีด้านหนึ่งยาว


12.5 เซนติเมตร อีกด้านหนึ่งยาวเท่าใด
แสดงวิธีหาคำาตอบ
วิธีทำา เนื่องจากกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก มีความยาวรอบรูป 56 เซนติเมตร
............................................................................................................................................
1 พื้นโต๊ะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสยาวด้านละ 50.25 เซนติเมตร ต้นต้องการ ความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก = 2 × (ความกว้าง + ความยาว)
............................................................................................................................................
ติดแผ่นกันกระแทกรอบขอบโต๊ะ เขาต้องเตรียมแผ่นกันกระแทก
เเผ่นกันกระเเทก แสดงว่า ด้านกว้าง + ด้านยาว คิดเป็น 56 ÷ 2 = 28 เซนติเมตร
............................................................................................................................................
ยาวอย่างน้อยกี่เซนติเมตร
เนื่องจาก มีด้านหนึ่งยาว 12.5 เซนติเมตร
............................................................................................................................................
วิ............................................................................................................................................
ธีทำา ความยาวของแผ่นกันกระแทกรอบขอบโต๊ะเป็นความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
แสดงว่า อีกด้านหนึ่งยาว 28 − 12.5 = 15.5 เซนติเมตร
............................................................................................................................................
ความยาวรอบรู ปของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส = 4 × ความยาวของด้าน
............................................................................................................................................
ดังนั้น กระดาษรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ถ้ามีด้านหนึ่งยาว 12.5 เซนติเมตร อีกด้านหนึ่งยาว 15.5 เซนติเมตร
............................................................................................................................................
ความยาวของแผ่ นกันกระแทกรอบขอบโต๊ะ = 4 × 50.25 เซนติเมตร
............................................................................................................................................
ตอบ ๑๕.๕ เซนติเมตร
............................................................................................................................................
= 201 เซนติเมตร
............................................................................................................................................
............................................................................................................................................
ดั............................................................................................................................................
งนั้น เขาต้องเตรียมแผ่นกันกระแทกยาวอย่างน้อย 201 เซนติเมตร
ตอบ ๒๐๑ เซนติเมตร
............................................................................................................................................
............................................................................................................................................
4 ช่างอ้นต้องการทำาพื้นหินขัด และใช้เส้นแบ่งแนวทองเหลืองทำาเป็นลวดลาย
ที่ประกอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน 6 รูป เท่า ๆ กัน ดังรูป
ซึ่งแต่ละรูปมีความยาวรอบรูป 3.2 เมตร
ช่างอ้นต้องใช้เส้นแบ่งแนวทองเหลืองยาวอย่างน้อยกี่เซนติเมตร
2 ขอบบ่อเลี้ยงปลาเเห่งหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากกว้าง 25.5 เมตร เส้นแบ่งแนว
ยาว 60.25 เมตร วิชัยทำารั้วลวดหนามรอบขอบบ่อ 3 ชั้น วิธีทำา เนื่องจากเส้นแบ่งแนวทองเหลืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
............................................................................................................................................
ต้องใช้ลวดหนามยาวอย่างน้อยเท่าใด ซึ่งแต่ละรูปมีความยาวรอบรูป 3.2 เมตร
............................................................................................................................................

............................................................................................................................................ ความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = 4 × ความยาวของด้าน


............................................................................................................................................
วิ............................................................................................................................................
ธีทำา ความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก = 2 × (ความกว้าง + ความยาว) แสดงว่า รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ยาวด้านละ 3.2 ÷ 4 = 0.8 เมตร
............................................................................................................................................
ความยาวรั ้วลวดหนาม 1 ชั้น คิดเป็น 2 × (25.5 + 60.25) = 171.5 เมตร
............................................................................................................................................ เนื่องจากด้านของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่เป็นแนวทองเหลืองมี 18 ด้าน
............................................................................................................................................
ความยาวรั ้วลวดหนาม 3 ชั้น คิดเป็น 3 × 171.5 = 514.5 เมตร
............................................................................................................................................ ดังนั้น ช่างอ้นต้องใช้เส้นแบ่งแนวทองเหลืองยาว 18 × 0.8 = 14.4 เมตร
............................................................................................................................................
ดั............................................................................................................................................
งนั้น ต้องใช้ลวดหนามยาวอย่างน้อย 514.5 เมตร ตอบ ๑๔.๔ เมตร
............................................................................................................................................
ตอบ ๕๑๔.๕ เมตร
............................................................................................................................................ ............................................................................................................................................

............................................................................................................................................ ............................................................................................................................................

88 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 89
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 195 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

แบบฝึ
แบบฝึกกหัหัดด7.11
7.5 3 กระดาษแผ่นหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ด้านหนึ่งยาว 16 เซนติเมตร

10 ซม.
ม.
16 ซ
ด้านที่อยู่ติดกันยาวกว่าด้านนี้ 8 เซนติเมตร และด้านคู่ที่ยาวกว่าอยู่ห่างกัน
แสดงวิธีหาคำาตอบ 10 เซนติเมตร กระดาษแผ่นนี้มีพื้นที่เท่าใด
16 + 8 = 24 ซม.

1 ป๋องต้องการทาสีแผ่่นเหล็กด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่มีความยาวรอบรูป วิ............................................................................................................................................


ธีทำา จากรูป ด้านหนึ่งยาว 16 เซนติเมตร ด้านที่อยู่ติดกันยาวกว่าด้านนี้ 8 เซนติเมตร
60 เซนติเมตร และด้านที่อยู่ตรงข้ามกันห่างกัน 10 เซนติเมตร แสดงว่ า อีกด้านหนึ่งที่อยู่ติดกันยาว 16 + 8 = 24 เซนติเมตร
............................................................................................................................................
ป๋องต้องทาสีแผ่นเหล็กคิดเป็นพื้นที่เท่าใด
ด้............................................................................................................................................
านคู่ที่ยาวกว่าอยู่ห่างกัน 10 เซนติเมตร แสดงว่ากระดาษรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานสูง 10 เซนติเมตร
วิธีทำา แผ่นเหล็กรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีความยาวรอบรูป 60 เซนติเมตร
............................................................................................................................................ พื ้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน = ความสูง × ความยาวของฐาน
............................................................................................................................................
แสดงว่า แผ่นเหล็กยาวด้านละ 60 ÷ 4 = 15 เซนติเมตร
............................................................................................................................................ ดั............................................................................................................................................
งนั้น กระดาษแผ่นนี้มีพื้นที่ 10 × 24 = 240 ตารางเซนติเมตร
มีด้านที่อยู่ตรงข้ามกัน ห่างกัน 10 เซนติเมตร
............................................................................................................................................ ตอบ ๒๔๐ ตารางเซนติเมตร
............................................................................................................................................
แสดงว่า แผ่นเหล็กรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนมีความสูง 10 เซนติเมตร
............................................................................................................................................ ............................................................................................................................................
พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = ความสูง × ความยาวของฐาน
............................................................................................................................................ ............................................................................................................................................
ดังนั้น ป๋องต้องทาสีแผ่นเหล็กคิดเป็นพื้นที่ 10 × 15 = 150 ตารางเซนติเมตร
............................................................................................................................................ ............................................................................................................................................
ตอบ ๑๕๐ ตารางเซนติเมตร
............................................................................................................................................
............................................................................................................................................

4 ผ้าชิ้นหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 50 เซนติเมตร ต้อยนำามาตัด


เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน 4 ผืน ที่มีฐานยาว 20 เซนติเมตร และสูง 15 เซนติเมตร
2 แผ่นป้ายรูปสีเ่ หลีย่ มขนมเปียกปูน มีแต่ละด้านยาว 40 เซนติเมตร ด้านทีอ
่ ยูต
่ รงข้ามกัน
เศษผ้าที่เหลือมีพื้นที่เท่าใด
ห่างกัน 20 เซนติเมตร มานะทาสีทั้งสองด้านของแผ่นป้ายแผ่นนี้
เขาต้องทาสีเป็นพื้นที่เท่าใด วิ............................................................................................................................................
ธีทำา เศษผ้าที่เหลือหาได้จาก พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าลบด้วยพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน 4 รูป

วิธีทำา แผ่นป้ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ยาวด้านละ 40 เซนติเมตร


............................................................................................................................................ พื ้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า = ความกว้าง × ความยาว
............................................................................................................................................

และด้านที่อยู่ตรงข้ามกันห่างกัน 20 เซนติเมตร
............................................................................................................................................ ผ้ ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีพื้นที่ 30 × 50 = 1,500 ตารางเซนติเมตร
............................................................................................................................................

แสดงว่า รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนสูง 20 เซนติเมตร


............................................................................................................................................ พื ้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน = ความสูง × ความยาวของฐาน
............................................................................................................................................

พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = ความสูง × ความยาวของฐาน


............................................................................................................................................ ผ้ ารูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน 1 ผืน มีพื้นที่ 20 × 15 = 300 ตารางเซนติเมตร
............................................................................................................................................

ด้านหน้าของแผ่นป้ายมีพื้นที่ 20 × 40 = 800 ตารางเซนติเมตร


............................................................................................................................................ ผ้ ารูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน 4 ผืน มีพื้นที่ 4 × 300 = 1,200 ตารางเซนติเมตร
............................................................................................................................................

ดังนั้น มานะทาสีแผ่นป้าย 2 ด้าน คิดเป็นพื้นที่ 2 × 800 = 1,600 ตารางเซนติเมตร


............................................................................................................................................ ดั............................................................................................................................................
งนั้น เศษผ้าที่เหลือมีพื้นที่ 1,500 − 1,200 = 300 ตารางเซนติเมตร

ตอบ ๑,๖๐๐ ตารางเซนติเมตร


............................................................................................................................................ ตอบ ๓๐๐ ตารางเซนติเมตร
............................................................................................................................................

............................................................................................................................................

90 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 91
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 196 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

5 แผ่นยางปูพื้นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ยาวด้านละ 0.2 เมตร ด้านที่อยู่ตรงข้ามกัน แบบฝึกหัด 7.12


ห่างกัน 0.18 เมตร แผ่นยางชนิดนี้ 500 แผ่น ใช้ปูพื้นที่ได้กี่ตารางเมตร
แสดงวิธีหาคำาตอบ
วิธีทำา ด้านที่อยู่ตรงข้ามกันห่างกัน 0.18 เมตร
............................................................................................................................................
แสดงว่า แผ่นยางรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนสูง 0.18 เมตร
............................................................................................................................................ 1 กระเบื้องปูพื้นแผ่นหนึ่ง ผิวหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีพื้นที่ 340 ตารางเซนติเมตร
พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = ความสูง × ความยาวของฐาน
............................................................................................................................................ และยาวด้านละ 20 เซนติเมตร ด้านที่อยู่ตรงข้ามกันห่างกันเท่าใด

แผ่นยางปูพื้น 1 แผ่น มีพื้นที่ 0.18 × 0.2 = 0.036 ตารางเมตร


............................................................................................................................................ วิธีทำา เนื่องจากระยะห่างระหว่างด้านที่อยู่ตรงข้ามกันเป็นความสูงของผิวหน้าของกระเบื้อง
.................................................................................................................................................
แผ่นยางปูพื้น 500 แผ่น มีพื้นที่ 500 × 0.036 = 18 ตารางเมตร
............................................................................................................................................ รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
.................................................................................................................................................
ดังนั้น แผ่นยางชนิดนี้ 500 แผ่น ใช้ปูพื้นที่ได้ 18 ตารางเมตร
............................................................................................................................................ พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = ความสูง × ความยาวของฐาน
.................................................................................................................................................
ตอบ ๑๘ ตารางเมตร
............................................................................................................................................ ความสูง = พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ÷ ความยาวของฐาน
.................................................................................................................................................
ผิวหน้าของกระเบื้องปูพื้นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีความสูง 340 ÷ 20 = 17 เซนติเมตร
.................................................................................................................................................
ดังนั้น ผิวหน้าของกระเบื้องปูพื้นมีด้านที่อยู่ตรงข้ามกันห่างกัน 17 เซนติเมตร
.................................................................................................................................................
ตอบ ๑๗ เซนติเมตร
.................................................................................................................................................
6 อุ้มทำามู่ลี่โดยตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนยาวด้านละ
.................................................................................................................................................
5 เซนติเมตร จำานวน 400 แผ่น อุ้มใช้กระดาษทั้งหมด
6,000 ตารางเซนติเมตร กระดาษรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนแต่ละรูป
มีด้านที่อยู่ตรงข้ามกันห่างกันเท่าใด
กระดาษที่ม้วนแล้ว
วิธีทำา ระยะห่างของด้านที่อยู่ตรงข้ามกันของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
............................................................................................................................................ 2 กระดาษรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนแผ่นหนึ่ง มีพื้นที่ 360 ตารางเซนติเมตร
ด้านที่อยู่ตรงข้ามกันห่างกัน 12 เซนติเมตร กระดาษแผ่นนี้มีความยาวรอบรูปเท่าใด
เป็นความสูงของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
............................................................................................................................................
กระดาษทำามู่ลี่ 1 แผ่น มีพื้นที่ 6,000 ÷ 400 = 15 ตารางเซนติเมตร
............................................................................................................................................ วิธีทำา เนื่องจากระยะห่างระหว่างด้านที่อยู่ตรงข้ามกันเป็นความสูงของกระดาษรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
.................................................................................................................................................

พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = ความสูง × ความยาวของฐาน


............................................................................................................................................ พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = ความสูง × ความยาวของฐาน
.................................................................................................................................................

ความสูง = พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ÷ ความยาวของฐาน


............................................................................................................................................ ความสูง = พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ÷ ความยาวของฐาน
.................................................................................................................................................

กระดาษทำามู่ลี่รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีความสูง 15 ÷ 5 = 3 เซนติเมตร


............................................................................................................................................ กระดาษรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนมีความยาวด้านละ 360 ÷ 12 = 30 เซนติเมตร
.................................................................................................................................................

ดังนั้น กระดาษทำามู่ลี่แต่ละแผ่นมีด้านที่อยู่ตรงข้ามกันห่างกัน 3 เซนติเมตร


............................................................................................................................................ ความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = 4 × ความยาวของด้าน
.................................................................................................................................................
ตอบ ๓ เซนติเมตร
............................................................................................................................................ ดังนั้น กระดาษแผ่นนี้มีความยาวรอบรูป 4 × 30 = 120 เซนติเมตร
.................................................................................................................................................

............................................................................................................................................ ตอบ ๑๒๐ เซนติเมตร


.................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................

92 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 93
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 197 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม บทที่ 7 | รูปสี่เหลี่ยม

3 แผ่นป้ายรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน มีพื้นที่ 300 ตารางเซนติเมตร มีความยาวรอบรูป 5 กระดาษรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานแผ่นหนึ่ง มีด้านที่อยู่ติดกันยาว 20 เซนติเมตร และ


100 เซนติเมตร และมีด้านด้านหนึ่งยาว 20 เซนติเมตร ด้านคู่ที่ยาวกว่า อยู่ห่างกันเท่าใด 55 เซนติเมตร โดยด้านที่ยาวกว่า อยู่ห่างกัน 15 เซนติเมตร ถ้านิกตัดกระดาษแผ่นนี้
เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่มีด้านแต่ละด้านยาว 20 เซนติเมตร และด้านที่อยู่ตรงข้ามกัน
วิธีทำา แผ่นป้ายเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานมีความยาวรอบรูป 100 เซนติเมตร
................................................................................................................................................. อยู่ห่างกัน 15 เซนติเมตร นิกตัดได้มากที่สุดกี่แผ่น
ความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน = 2 × (ผลบวกของความยาวของด้าน 2 ด้านที่อยู่ติดกัน)
.................................................................................................................................................
55 ซม.
วิ.................................................................................................................................................
ธีทำา
ผลบวกของความยาวของด้าน 2 ด้าน ที่อยู่ติดกันเป็น 100 ÷ 2 = 50 เซนติเมตร
.................................................................................................................................................

.
ซม

15 ซม.
.................................................................................................................................................

20
รูปสี่เหลี่ยมด้านขนานมีด้านด้านหนึ่งยาว 20 เซนติเมตร
.................................................................................................................................................

ความสูง

.................................................................................................................................................

20 ซ
แสดงว่าอีกด้านหนึ่งของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานยาว 50 − 20 = 30 เซนติเมตร
................................................................................................................................................. 20 ซม. 20 ซม. 15 ซม.
.................................................................................................................................................
พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน = ความสูง × ความยาวของฐาน 30 ซม.
.................................................................................................................................................
จากภาพ กระดาษรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีด้านที่อยู่ติดกันยาว 20 เซนติเมตร และ 55 เซนติเมตร
.................................................................................................................................................
ความสูง = พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ÷ ความยาวของฐาน
.................................................................................................................................................
และสู ง 15 เซนติเมตร นำามาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่ยาวด้านละ 20 เซนติเมตร
.................................................................................................................................................
แผ่นป้ายรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานมีความสูง 300 ÷ 30 = 10 เซนติเมตร
.................................................................................................................................................
และ สูง 15 เซนติเมตร ได้มากที่สุด 2 แผ่น และเหลือ 15 เซนติเมตร
.................................................................................................................................................
ดังนั้น แผ่นป้ายรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน มีด้านคู่ที่ยาวกว่า อยู่ห่างกัน 10 เซนติเมตร
.................................................................................................................................................
ดั งนั้น นิกตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนได้มากที่สุด 2 แผ่น
.................................................................................................................................................
ตอบ ๑๐ เซนติเมตร
ตอบ ๒ แผ่น

4 กระจกเงาแผ่นหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีความยาวรอบรูป 64 เซนติเมตร 6 สวนหย่อมแห่งหนึ่งมีแปลงปลูกหญ้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีพื้นที่ 60 ตารางเมตร


ด้านที่อยู่ตรงข้ามกัน ห่างกัน 12 เซนติเมตร ด้านหน้าของกระจกเงาแผ่นนี้มีพื้นที่เท่าใด และมีความยาวรอบแปลง 28 เมตร ถ้าแปลงปลูกหญ้ามีด้านด้านหนึ่งยาว 10 เมตร
ด้านคู่ที่อยู่ติดกันกับด้านนี้ ห่างกันเท่าใด
วิ.................................................................................................................................................
ธีทำา กระจกเงารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนมีความยาวรอบรูป 64 เซนติเมตร
ความยาวรอบรู ปของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = 4 × ความยาวของด้าน วิ.................................................................................................................................................
ธีทำา แปลงปลูกหญ้ารูปสี่เหลี่ยมด้านขนานมีความยาวรอบแปลง 28 เมตร และมีพื้นที่ 60 ตารางเมตร
.................................................................................................................................................
ความยาวของด้ านแต่ละด้าน = ความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ÷ 4 ความยาวรอบรู ปของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน = 2 × (ผลบวกของความยาวของด้าน 2 ด้านที่อยู่ติดกัน)
.................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................
แสดงว่ า แต่ละด้านของกระจกเงามีความยาว 64 ÷ 4 = 16 เซนติเมตร แสดงว่ า ผลบวกของความยาวของด้าน 2 ด้าน ที่อยู่ติดกันเป็น 28 ÷ 2 = 14 เมตร
..................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................

ม.
ด้ านที่อยู่ตรงข้ามกัน ห่างกัน 12 เซนติเมตร แสดงว่ากระจกเงารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน รู.................................................................................................................................................
ปสี่เหลี่ยมด้านขนาน มีด้านด้านหนึ่งยาว 10 เมตร
.................................................................................................................................................

= 4
ความส
มี ความสูง 12 เซนติเมตร แสดงว่ าอีกด้านหนึ่งยาว 14 – 10 = 4 เมตร
................................................................................................................................................. ูง

10
.................................................................................................................................................

14 −
พื ้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = ความสูง × ความยาวของฐาน พื.................................................................................................................................................
้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน = ความสูง × ความยาวของฐาน
................................................................................................................................................. 10 ม.

ดั งนั้น ด้านหน้าของกระจกเงาแผ่นนี้มีพื้นที่ 12 × 16 = 192 ตารางเซนติเมตร ความสูง = พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ÷ ความยาวของฐาน


.................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................
ตอบ ๑๙๒ ตารางเซนติเมตร แปลงปลู กหญ้ารูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน มีความสูง 60 ÷ 4 = 15 เมตร
.................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................
ดังนั้น ถ้าแปลงปลูกหญ้ามีด้านด้านหนึ่งยาว 10 เมตร ด้านคู่ที่อยู่ติดกันกับด้านนี้ห่างกัน 15 เมตร
ตอบ ๑๕ เมตร
94 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 95
198 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

แบบฝึกหัด 2 แสดงวิธีหาพื้นที่
บทที่ 8 ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
1) พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจััตุรัส = ความยาวด้าน × ความยาวด้าน
………………………………………………………………………………………
แบบฝึกหัด 8.1 = 13 × 13 ตร.ซม.
………………………………………………………………………………………
= 169 ตร.ซม.
………………………………………………………………………………………
1 แสดงวิธีหาผลลัพธ์
ดังนั้น รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสนี้มีพื้นที่ 169 ตร.ซม.
……………………………………………………………………………………...

1) 862 × 14 2) 35 × 7 × 1.2 13 ซม. ...................................................................................................

862 × 14 = 12,068
.......................................................................... 35 × 7 = 245
.......................................................................... 2) 15 ซม. พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า = ความกว้าง × ความยาว
………………………………………………………………………………………
.......................................................................... 245 × 1.2 = 294.0
..........................................................................
= 15 × 18 ตร.ซม.
………………………………………………………………………………………
.......................................................................... ดังนั้น 35 × 7 × 1.2 = 294
..........................................................................
= 270 ตร.ซม.
………………………………………………………………………………………

18 ซม.
.......................................................................... ..........................................................................
.......................................................................... .......................................................................... ดังนั้น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้านี้มีพื้นที่ 270 ตร.ซม.
……………………………………………………………………………………...
...................................................................................................

3) 1.4 × 3 × 2.5 4) 20,400 ÷ 600


8 ซม.
3) พื้นที่ของรูปนี้หาได้จาก พื้นที่ของรูป 1 รวมกับพื้นที่
………………………………………………………………………………………
1.4 × 3 = 4.2
.......................................................................... 20,400 ÷ 600 = 34
..........................................................................

4 ซม.
1
4.2 × 2.5 = 10.50
.......................................................................... .......................................................................... ของรูป 2
………………………………………………………………………………………
ดังนั้น 1.4 × 3 × 2.5 = 10.5
.......................................................................... .......................................................................... รูป 1 เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 4 ซม. ยาว 8 ซม.
………………………………………………………………………………………

8 ซม.
2
.......................................................................... .......................................................................... มีพื้นที่ 4 × 8 = 32 ตร.ซม.
……………………………………………………………………………………...
.......................................................................... ..........................................................................
16 ซม. รูป 2 เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 8 ซม. ยาว 16 ซม.
...................................................................................................
มีพื้นที่ 8 × 16 = 128 ตร.ซม.
………………………………………………………………………………………………………………………………………
5) 4,500 ÷ 1,000 6) 90 × 91 ÷ 300 ดังนั้น รูปนี้มีพื้นที่ 32 + 128 = 160 ตร.ซม.
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
4,500 ÷ 1,000 = 4.5
.......................................................................... 90 × 91 = 8,190
..........................................................................
………………………………………………………………………………………………………………………………………
.......................................................................... 8,190 ÷ 300 = 27.3
..........................................................................
ดั งนั้น 90 × 91 ÷ 300 = 27.3 ………………………………………………………………………………………………………………………………………
.......................................................................... ..........................................................................
.......................................................................... .......................................................................... ………………………………………………………………………………………………………………………………………
.......................................................................... .......................................................................... ………………………………………………………………………………………………………………………………………

96 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 97
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 199 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

แบบฝึกหัด 8.2 แบบฝึกหัด 8.3


เขียน ใน เพื่อระบุประเภทของรูปที่กำาหนด รูปเรขาคณิตสามมิติต่อไปนี้เป็นปริซึมหรือไม่ ให้เขียน ใน
ถ้าเป็นปริซึม ให้ระบุชนิด ถ้าไม่เป็นปริซึม ให้ระบุเหตุผล
1 2
1
เป็น เรียกว่า ปริ ซึมห้าเหลี่ยม
...........................................................

รูปเรขาคณิตสองมิติ รูปเรขาคณิตสองมิติ ไม่เป็น เพราะ..........................................................

รูปเรขาคณิตสามมิติ รูปเรขาคณิตสามมิติ .......................................................................................

3 4
2
เป็น เรียกว่า ปริ ซึมสี่เหลี่ยม
...........................................................
ไม่เป็น เพราะ..........................................................
รูปเรขาคณิตสองมิติ รูปเรขาคณิตสองมิติ
.......................................................................................
รูปเรขาคณิตสามมิติ รูปเรขาคณิตสามมิติ

5 6
3
เป็น เรียกว่า ...........................................................
หน้าตัดไม่เป็นรูปหลายเหลี่ยม
ไม่เป็น เพราะ..........................................................
รูปเรขาคณิตสองมิติ รูปเรขาคณิตสองมิติ
และหน้าข้างไม่เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
.......................................................................................
รูปเรขาคณิตสามมิติ รูปเรขาคณิตสามมิติ

7 8
4
เป็น เรียกว่า ปริ ซึมสามเหลี่ยม
...........................................................
ไม่เป็น เพราะ..........................................................
รูปเรขาคณิตสองมิติ รูปเรขาคณิตสองมิติ
.......................................................................................
รูปเรขาคณิตสามมิติ รูปเรขาคณิตสามมิติ

9 10
5 เป็น เรียกว่า ...........................................................
หน้าตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมที่ไม่เท่ากัน
ไม่เป็น เพราะ..........................................................
รูปเรขาคณิตสองมิติ รูปเรขาคณิตสองมิติ ทุกประการและหน้าข้างไม่เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
.......................................................................................
รูปเรขาคณิตสามมิติ รูปเรขาคณิตสามมิติ

98 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 99
แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 200 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

แบบฝึกหัด 8.4 2 เขียนทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากตามที่กำาหนด บนกระดาษจุด

1 เขียนทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากตามที่กำาหนด บนกระดาษจุดไอโซเมตริก 1)

1)

4 หน่วย
4 หน่วย

่วย
หน
4 หน่วย

4
4ห ย
น่ว น่ว
ย 4ห
2)

2)
4 หน่วย

4 หน่วย

่วย
หน
6
2 หน่วย
น่วย
2ห 6ห
น่วย

3)
3)
2 หน่วย

2ห
น่วย
2 หน่วย

่วย
3 หน่วย

หน
12
2ห
น่วย
4ห ย 9 หน่วย
น่วย น่ว
5ห

4) ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ซึ่งกว้าง 6 หน่วย ตัวอย่าง


4) ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ซึ่งกว้าง 4 หน่วย
ยาว 8 หน่วย และสูง 4 หน่วย
ยาว 6 หน่วย และสูง 3 หน่วย
3 หน่วย

4 หน่วย


่ว
หน
4ห น่วย

8
น่วย 6ห 6 หน่วย

100 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 101


แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 201 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

แบบฝึกหัด 8.5 2 หาปริมาตร เมื่อกำาหนด มีปริมาตร 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร

1 หาปริมาตร เมื่อกำาหนด มีปริมาตร 1 ลูกบาศก์หน่วย 1)

1)
10
ปริมาตร..................ลู กบาศก์เซนติเมตร

11
ปริมาตร..................ลู กบาศก์หน่วย

2)

2)
17
ปริมาตร..................ลู กบาศก์เซนติเมตร

21
ปริมาตร..................ลู กบาศก์หน่วย

3)

3)
16
ปริมาตร..................ลู กบาศก์เซนติเมตร

18
ปริมาตร..................ลู กบาศก์หน่วย

4)

4)
17
ปริมาตร..................ลู กบาศก์เซนติเมตร

15
ปริมาตร..................ลู กบาศก์หน่วย

102 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 103


แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 202 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

3 หาปริมาตร เมื่อกำาหนด มีปริมาตร 1 ลูกบาศก์เมตร แบบฝึกหัด 8.6

แสดงวิธีหาปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
1)
1

4 ซม.
14
ปริมาตร..................ลู กบาศก์เมตร 1

.
ซม
8
10 ซม.
………………………………………………………………………………………………………………………………….

วิธีทำา ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง


………………………………………………………………………………………………………………………………….

2) = 8 × 10 × 4 ลูกบาศก์เซนติเมตร
………………………………………………………………………………………………………………………………….

= 320 ลูกบาศก์เซนติเมตร
………………………………………………………………………………………………………………………………….
16
ปริมาตร..................ลู กบาศก์เมตร
ตอบ ๓๒๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร
………………………………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………………………………….

3)

2
22
ปริมาตร..................ลู กบาศก์เมตร

15

3 ซม.
ซม
.
7 ซม.
………………………………………………………………………………………………………………………………….

วิธีทำา ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง


………………………………………………………………………………………………………………………………….
4)
= 7 × 15 × 3 ลูกบาศก์เซนติเมตร
………………………………………………………………………………………………………………………………….

16
ปริมาตร..................ลู กบาศก์เมตร = 315 ลูกบาศก์เซนติเมตร
………………………………………………………………………………………………………………………………….

ตอบ ๓๑๕ ลูกบาศก์เซนติเมตร


………………………………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………………………………….

104 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 105


แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 203 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

1 แบบฝึกหัด 8.7

5 ม.
3
แสดงวิธีหาปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

ม.
8
14 ม. 4
1
………………………………………………………………………………………………………………………………….

วิ………………………………………………………………………………………………………………………………….
ธีทำา ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง

8 ม.
63 ตร.ม.
= 8 × 14 × 5 ลูกบาศก์เมตร
………………………………………………………………………………………………………………………………….
วิธีทำา ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = พื้นที่ฐาน × ความสูง
………………………………………………………………………………………………………………………………….
= 560 ลูกบาศก์เมตร
………………………………………………………………………………………………………………………………….
= 63 × 8 ลูกบาศก์เมตร
………………………………………………………………………………………………………………………………….
ตอบ ๕๖๐ ลูกบาศก์เมตร
………………………………………………………………………………………………………………………………….
= 504 ลูกบาศก์เมตร
………………………………………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………………………….
ตอบ ๕๐๔ ลูกบาศก์เมตร
………………………………………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………………………….
2

4 100 ตร.ซม.
10 ม.

.
ซม
10
วิธีทำา ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = พื้นที่ฐาน × ความสูง
………………………………………………………………………………………………………………………………….
5
ม.

12 ม. = 100 × 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร
………………………………………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………………………….
= 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
………………………………………………………………………………………………………………………………….
วิ………………………………………………………………………………………………………………………………….
ธีทำา ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง
ตอบ ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร
………………………………………………………………………………………………………………………………….
= 5 × 12 × 10 ลูกบาศก์เมตร
………………………………………………………………………………………………………………………………….
3
= 600 ลูกบาศก์์เมตร
…………………………………………………………………………………………………………………………………. 36 ตร.ซม.

ตอบ ๖๐๐ ลูกบาศก์เมตร


…………………………………………………………………………………………………………………………………. 20 ซม.
วิธีทำา ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = พื้นที่ฐาน × ความสูง
………………………………………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………………………….
= 36 × 20 ลูกบาศก์เซนติเมตร
………………………………………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………………………….
= 720 ลูกบาศก์เซนติเมตร
………………………………………………………………………………………………………………………………….

ตอบ ๗๒๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร


………………………………………………………………………………………………………………………………….

106 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 107


แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 204 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

4 แท่งคอนกรีตทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก มีพื้นที่ฐาน 124 ตารางเซนติเมตร สูง 80 เซนติเมตร แบบฝึกหัด 8.8

วิ………………………………………………………………………………………………………………………………….
ธีทำา ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = พื้นที่ฐาน × ความสูง แสดงวิธีหาความจุของภาชนะทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

ดังนั้น แท่งคอนกรีตนี้มีปริมาตร 124 × 80 = 9,920 ลูกบาศก์เซนติเมตร


…………………………………………………………………………………………………………………………………. 1
4 กล่องพลาสติกทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก วัดขนาดภายในได้ดังรูป

ตอบ ๙,๙๒๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร


………………………………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………………………………….

25 ซม.
………………………………………………………………………………………………………………………………….
.
ซม
20 ซม. 10
5 แท่งไม้ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก มีพื้นที่ฐาน 486 ตารางเซนติเมตร สูง 18 เซนติเมตร
วิธีทำา ความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง
....................................................................................................................................................
วิ………………………………………………………………………………………………………………………………….
ธีทำา ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = พื้นที่ฐาน × ความสูง
ดังนั้น กล่องพลาสติกมีความจุ 10 × 20 × 25 = 5,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
....................................................................................................................................................
ดังนั้น แท่งไม้นี้มีปริมาตร 486 × 18 = 8,748 ลูกบาศก์เซนติเมตร
………………………………………………………………………………………………………………………………….
ตอบ ๕,๐๐๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร
....................................................................................................................................................
ตอบ ๘,๗๔๘ ลูกบาศก์เซนติเมตร
………………………………………………………………………………………………………………………………….
....................................................................................................................................................
………………………………………………………………………………………………………………………………….
....................................................................................................................................................
………………………………………………………………………………………………………………………………….
2 ถาดทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก วัดขนาดภายในได้ดังรูป

6 อิฐมอญ มีพื้นที่ฐาน 90 ตารางเซนติเมตร หนา 6 เซนติเมตร

45
วิ………………………………………………………………………………………………………………………………….
ธีทำา ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = พื้นที่ฐาน × ความสูง

ซม
.
5 ซม.
ดังนั้น อิฐมอญนี้มีปริมาตร 90 × 6 = 540 ลูกบาศก์เซนติเมตร
…………………………………………………………………………………………………………………………………. 30 ซม.

ตอบ ๕๔๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร


………………………………………………………………………………………………………………………………….
วิธีทำา ความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง
....................................................................................................................................................
………………………………………………………………………………………………………………………………….
ดังนั้น ถาดมีความจุ 30 × 45 × 5 = 6,750 ลูกบาศก์เซนติเมตร
....................................................................................................................................................
…………………………………………………………………………………………………………………………………. ตอบ ๖,๗๕๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร
....................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................

108 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 109


แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 205 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

4
3 ถังน้ำาทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กว้าง 1.2 เมตร ยาว 1.5 เมตร และสูง 1 เมตร แบบฝึกหัด 8.9

วิธีทำา ความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง


.................................................................................................................................................... แสดงวิธีหาคำาตอบ

ดังนั้น ถังน้ำามีความจุ 1.2 × 1.5 × 1 = 1.8 ลูกบาศก์เมตร


.................................................................................................................................................... 14 น้าหน่อยมีน้ำาลำาไย 5,400 มิลลิลิตร คิดเป็นกี่ลิตร

ตอบ ๑.๘ ลูกบาศก์เมตร


.................................................................................................................................................... วิ....................................................................................................................................................
ธีทำา เนื่องจาก 1,000 มิลลิลิตร = 1 ลิตร

.................................................................................................................................................... ดังนั้น น้าหน่อยมีน้ำาลำาไย 5,400 ÷ 1,000 = 5.4 ลิตร


....................................................................................................................................................

ตอบ ๕.๔ ลิตร


....................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................... 2 ป้าเพ็ญทำาน้ำาหมักชีวภาพ 12 ลิตร คิดเป็นกี่มิลลิลิตร

4 สระน้ำาทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก มีพื้นที่ฐาน 20 ตารางเมตร และลึก 1.20 เมตร วิธีทำา เนื่องจาก 1 ลิตร = 1,000 มิลลิลิตร
....................................................................................................................................................

วิธีทำา ความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = พื้นที่ฐาน × ความสูง ดังนั้น ป้าเพ็ญทำาน้ำาหมักชีวภาพ 12 × 1,000 = 12,000 มิลลิลิตร


....................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................
ตอบ ๑๒,๐๐๐ มิลลิลิตร
....................................................................................................................................................
ดังนั้น สระน้ำามีความจุ 20 × 1.20 = 24 ลูกบาศก์เมตร
....................................................................................................................................................

ตอบ ๒๔ ลูกบาศก์เมตร
.................................................................................................................................................... 3 แก้วน้ำาจุ 250 มิลลิลิตร คิดเป็นกี่ลูกบาศก์เซนติเมตร

.................................................................................................................................................... วิธีทำา เนื่องจาก 1 มิลลิลิตร = 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร


...................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................... ดังนั้น แก้วน้ำาจุ 250 × 1 = 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร


....................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................... ตอบ ๒๕๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร


....................................................................................................................................................

5 กระถางทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก วัดขนาดภายในได้พื้นที่ฐาน 196 ตารางเซนติเมตร 4 ถังน้ำามีความจุ 10,000 ลิตร คิดเป็นกี่ลูกบาศก์เมตร


และสูง 42 เซนติเมตร
วิธีทำา เนื่องจาก 1,000 ลิตร = 1 ลูกบาศก์เมตร
....................................................................................................................................................
วิธีทำา ความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = พื้นที่ฐาน × ความสูง
....................................................................................................................................................
ดังนั้น ถังน้ำามีความจุ 10,000 ÷ 1,000 = 10 ลูกบาศก์เมตร
....................................................................................................................................................
ดังนั้น กระถางมีความจุ 196 × 42 = 8,232 ลูกบาศก์เซนติเมตร
....................................................................................................................................................
ตอบ ๑๐ ลูกบาศก์เมตร
....................................................................................................................................................
ตอบ ๘,๒๓๒ ลูกบาศก์เซนติเมตร
....................................................................................................................................................
5 น้ำาปลา 0.8 ลิตร คิดเป็นกี่ลูกบาศก์เซนติเมตร
....................................................................................................................................................
วิธีทำา เนื่องจาก 1 ลิตร = 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
....................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................
ดังนั้น น้ำาปลามีปริมาตร 0.8 × 1,000 = 800 ลูกบาศก์เซนติเมตร
....................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................
ตอบ ๘๐๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร
....................................................................................................................................................

110 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 111


แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 206 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

64 น้ำายาล้างจาน 1,700 ลูกบาศก์เซนติเมตร คิดเป็นกี่ลิตร แบบฝึกหัด 8.10


วิ....................................................................................................................................................
ธีทำา เนื่องจาก 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร = 1 ลิตร
แสดงวิธีหาคำาตอบ
ดังนั้น น้ำายาล้างจานมีปริมาตร 1,700 ÷ 1,000 = 1.7 ลิตร
....................................................................................................................................................
1
4 ถังน้ำาทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก 2 ขนาด ถังเล็กวัดขนาดภายในได้กว้าง 20 เซนติเมตร
ตอบ ๑.๗ ลิตร
.................................................................................................................................................... ยาว 45 เซนติเมตร และสูง 30 เซนติเมตร ถังใหญ่มีความจุ 72,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ถังใหญ่และถังเล็กมีความจุต่างกันกี่ลูกบาศก์เซนติเมตร

7 แท็งก์น้ำามีความจุ 1.5 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นกี่ลิตร


วิ……………………………………………………………………………………………………………………………………
ธีทำา ความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง
วิ....................................................................................................................................................
ธีทำา เนื่องจาก 1 ลูกบาศก์เมตร = 1,000 ลิตร
ถังเล็กมีความจุ 20 × 45 × 30 = 27,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
ดังนั้น แท็งก์น้ำามีความจุ 1.5 × 1,000 = 1,500 ลิตร
....................................................................................................................................................
ถังใหญ่มีความจุ 72,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
ตอบ ๑,๕๐๐ ลิตร
.................................................................................................................................................... ดังนั้น ถังใหญ่และถังเล็กมีความจุต่างกัน 72,000 − 27,000 = 45,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………

8 นมรสจืด 225 ลูกบาศก์เซนติเมตร คิดเป็นกี่มิลลิลิตร ตอบ ๔๕,๐๐๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร


……………………………………………………………………………………………………………………………………

วิ....................................................................................................................................................
ธีทำา เนื่องจาก 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร = 1 มิลลิลิตร ……………………………………………………………………………………………………………………………………

ดังนั้น นมรสจืดมีปริมาตร 225 × 1 = 225 มิลลิลิตร


.................................................................................................................................................... ……………………………………………………………………………………………………………………………………

ตอบ ๒๒๕ มิลลิลิตร


.................................................................................................................................................... ……………………………………………………………………………………………………………………………………

2 แท็งก์น้ำาทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก วัดขนาดภายในได้กว้าง 1.5 เมตร ยาว 2 เมตร และสูง 1.2 เมตร


9 สระน้ำาสำาเร็จรูปจุน้ำาได้ 4,200 ลิตร คิดเป็นกี่ลูกบาศก์เมตร
แท็งก์น้ำามีความจุกี่ลิตร
วิ....................................................................................................................................................
ธีทำา เนื่องจาก 1,000 ลิตร = 1 ลูกบาศก์เมตร
วิ……………………………………………………………………………………………………………………………………
ธีทำา ความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง
ดังนั้น สระน้ำาสำาเร็จรูปจุน้ำาได้ 4,200 ÷ 1,000 = 4.2 ลูกบาศก์เมตร
....................................................................................................................................................
แท็งก์น้ำามีความจุ 1.5 × 2 × 1.2 = 3.6 ลูกบาศก์เมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
ตอบ ๔.๒ ลูกบาศก์เมตร
....................................................................................................................................................
เนื่องจาก 1 ลูกบาศก์เมตร = 1,000 ลิตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
10 น้ำามันพืช 4.5 ลิตร คิดเป็นกี่ลูกบาศก์เซนติเมตร
ดังนั้น แท็งก์น้ำามีความจุ 3.6 × 1,000 = 3,600 ลิตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
วิ....................................................................................................................................................
ธีทำา เนื่องจาก 1 ลิตร = 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ตอบ ๓,๖๐๐ ลิตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
ดังนั้น น้ำามันพืชมีปริมาตร 4.5 × 1,000 = 4,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร
.................................................................................................................................................... ……………………………………………………………………………………………………………………………………
ตอบ ๔,๕๐๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร
.................................................................................................................................................... ……………………………………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………………………………

112 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 113


แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 207 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

4
3 แผ่นกระเบื้องปูพื้นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กว้าง 16 เซนติเมตร ยาว 16 เซนติเมตร แบบฝึกหัด 8.11
และหนา 0.5 เซนติเมตร วางซ้อนกัน 6 แผ่น มีปริมาตรกี่ลูกบาศก์เซนติเมตร
แสดงวิธีหาคำาตอบ
วิ……………………………………………………………………………………………………………………………………
ธีทำา ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง
1
4 คอนกรีตผสมเสร็จ 1 ลูกบาศก์เมตร เททำาทางเดินที่มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก
แผ่นกระเบื้องปูพื้น 1 แผ่น มีปริมาตร 16 × 16 × 0.5 = 128 ลูกบาศก์เซนติเมตร
…………………………………………………………………………………………………………………………………… กว้าง 2 เมตร ยาว 5 เมตร จะได้ทางเดินคอนกรีตหนากี่เมตร

วางแผ่นกระเบื้องปูพื้นซ้อนกัน 6 แผ่น
……………………………………………………………………………………………………………………………………
วิ……………………………………………………………………………………………………………………………………
ธีทำา คอนกรีตผสมเสร็จ 1 ลูกบาศก์เมตร
ดังนั้น มีปริมาตรทั้งหมด 6 × 128 = 768 ลูกบาศก์เซนติเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
เททำาทางเดินที่มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก กว้าง 2 เมตร ยาว 5 เมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
ตอบ ๗๖๘ ลูกบาศก์เซนติเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
เนื่องจาก พื้นที่ฐานของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว
……………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………
จะได้ว่า ทางเดินมีพื้นที่ฐาน 2 × 5 = 10 ตารางเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………
เนื่องจาก ความหนา หรือ ความสูง = ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ÷ พื้นที่ฐาน
……………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………
ดังนั้น ทางเดินคอนกรีตหนา 1 ÷ 10 = 0.1 เมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………
ตอบ ๐.๑ เมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………………………………
4 กล่องใบหนึ่งมีความจุ 19,800 ลูกบาศก์เซนติเมตร บรรจุกระดาษถ่ายเอกสารเป็นรีมเต็มกล่อง
ถ้ากระดาษถ่ายเอกสารแต่ละรีมมีขนาดกว้าง 22 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร
2 เมื่อขุนเทน้ำา 72 ลิตร ใส่ถังเปล่าทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทำาให้ระดับน้ำาสูง 40 เซนติเมตร
หนา 6 เซนติเมตร กล่องใบนี้บรรจุกระดาษกี่รีม
ถังใบนี้มีพื้นที่ฐานเท่าใด

วิ……………………………………………………………………………………………………………………………………
ธีทำา ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง
วิ……………………………………………………………………………………………………………………………………
ธีทำา ขุนเทน้ำา 72 ลิตร ใส่ถังเปล่าทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
กระดาษแต่ละรีมมีปริมาตร 22 × 30 × 6 = 3,960 ลูกบาศก์เซนติเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
เนื่องจาก 1 ลิตร = 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
กล่องมีความจุ 19,800 ลูกบาศก์เซนติเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
จะได้ว่า ขุนเทน้ำา 72 × 1,000 = 72,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
ดังนั้น กล่องใบนี้บรรจุกระดาษ 19,800 ÷ 3,960 = 5 รีม
……………………………………………………………………………………………………………………………………
ระดับน้ำาสูง 40 เซนติเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
ตอบ ๕ รีม
……………………………………………………………………………………………………………………………………
เนื่องจาก พื้นที่ฐาน = ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ÷ ความสูง
……………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………
ดังนั้น ถังใบนี้มีพื้นที่ฐาน 72,000 ÷ 40 = 1,800 ตารางเซนติเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………
ตอบ ๑,๘๐๐ ตารางเซนติเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………

114 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 115


แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 208 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

4
3 ถังเปล่าทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก วัดขนาดภายในได้ยาวด้านละ 150 เซนติเมตร แบบฝึกหัด 8.12
ภีมม์เปิดน้ำาใส่ถัง 2,250 ลิตร ระดับน้ำาในถังสูงเท่าใด
แสดงวิธีหาคำาตอบ
วิธีทำา ถังทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก วัดขนาดภายในได้ยาวด้านละ 150 เซนติเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
1
4 ลังไม้ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก เมื่อใส่ดินลงไป 15,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร ทำาให้ระดับผิวดิน
เนื่องจาก พื้นที่ฐานของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว
…………………………………………………………………………………………………………………………………… สูงจากก้นลัง 20 เซนติเมตร ลังไม้มีพื้นที่ก้นลังเท่าใด

จะได้ว่า ถังใบนี้มีพื้นที่ฐาน 150 × 150 = 22,500 ตารางเซนติเมตร


……………………………………………………………………………………………………………………………………
วิ……………………………………………………………………………………………………………………………………
ธีทำา ดินในลังทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากมีปริมาตร 15,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ภีมม์เปิดน้ำาใส่ถัง 2,250 ลิตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
ระดับผิวดินสูงจากก้นลัง 20 เซนติเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
เนื่องจาก 1 ลิตร = 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
เนื่องจาก พื้นที่ฐาน = ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ÷ ความสูง
……………………………………………………………………………………………………………………………………
ภีมม์เปิดน้ำาใส่ถัง 2,250 × 1,000 = 2,250,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
ดังนั้น ลังไม้มีพื้นที่ก้นลัง 15,000 ÷ 20 = 750 ตารางเซนติเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
เนื่องจาก ความสูง = ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ÷ พื้นที่ฐาน
……………………………………………………………………………………………………………………………………
ตอบ ๗๕๐ ตารางเซนติเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
ดังนั้น ระดับน้ำาในถังสูง 2,250,000 ÷ 22,500 = 100 เซนติเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………
ตอบ ๑๐๐ เซนติเมตร
…………………………………………………………………………………………………………………………………...
……………………………………………………………………………………………………………………………………

4 กล่องทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก วัดขนาดภายในได้สูง 6 เซนติเมตร ใส่ลูกบาศก์ที่มีปริมาตร ……………………………………………………………………………………………………………………………………


ลูกละ 27 ลูกบาศก์เซนติเมตร ได้ 24 ลูกพอดี กล่องใบนี้มีพื้นที่ฐานเท่าใด
2 ถังน้ำาทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก วัดขนาดภายในได้กว้าง 0.8 เมตร ยาว 1 เมตร สูง 0.5 เมตร
วิธีทำา กล่องใบหนึ่งใส่ลูกบาศก์ที่มีปริมาตรลูกละ 27 ลูกบาศก์เซนติเมตร ได้ 24 ลูกพอดี
…………………………………………………………………………………………………………………………………… ในถังมีน้ำา 160 ลิตร ระดับน้ำาในถังสูงกี่เซนติเมตร

จะได้ว่า กล่องใบนี้มีความจุ 24 × 27 = 648 ลูกบาศก์เซนติเมตร


…………………………………………………………………………………………………………………………………… วิ……………………………………………………………………………………………………………………………………
ธีทำา ในถังน้ำาทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากมีน้ำา 160 ลิตร
วัดขนาดภายในกล่องได้สูง 6 เซนติเมตร
…………………………………………………………………………………………………………………………………… เนื่องจาก 1,000 ลิตร = 1 ลูกบาศก์เมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
เนื่องจาก พื้นที่ฐาน = ความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ÷ ความสูง
…………………………………………………………………………………………………………………………………… ในถังมีน้ำา 160 ÷ 1,000 = 0.16 ลูกบาศก์เมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
ดังนั้น กล่องใบนี้มีพื้นที่ฐาน 648 ÷ 6 = 108 ตารางเซนติเมตร
…………………………………………………………………………………………………………………………………… เนื่องจาก พื้นที่ฐานของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว
……………………………………………………………………………………………………………………………………
ตอบ ๑๐๘ ตารางเซนติเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
ถังน้ำามีพื้นที่ฐาน 0.8 × 1 = 0.8 ตารางเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………
เนื่องจาก ความสูง = ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ÷ พื้นที่ฐาน
……………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………
ดังนั้น ระดับน้ำาในถังสูง 0.16 ÷ 0.8 = 0.2 เมตร หรือ 20 เซนติเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………...
ตอบ ๒๐ เซนติเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………

116 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 117


แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5 209 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน | คณิตศาสตร์ ป.5
บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก บทที่ 8 | ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

4
3 ป้าทำาวุ้นหน้ากะทิในถาดทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก วัดขนาดภายในได้สูง 5 เซนติเมตร และฐาน 4
5 ตู้ปลาทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก วัดขนาดภายในได้สูง 80 เซนติเมตร และมีพื้นที่ฐาน
เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีพื้นที่ 400 ตารางเซนติเมตร ในถาดมีวุ้นอยู่ 1,600 ลูกบาศก์เซนติเมตร 30,000 ตารางเซนติเมตร ต้องการใส่น้ำาให้ระดับน้ำาต่ำากว่าขอบตู้ปลา 10 เซนติเมตร
ป้าต้องเทกะทิสูงกี่เซนติเมตรจึงจะเต็มถาดพอดี จะต้องใส่น้ำากี่ลิตร

วิธีทำา ในถาดที่มีพื้นที่ฐาน 400 ตารางเซนติเมตร มีวุ้นอยู่ 1,600 ลูกบาศก์เซนติเมตร


…………………………………………………………………………………………………………………………………… วิธีทำา ตู้ปลาสูง 80 เซนติเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………

เนื่องจาก ความสูง = ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ÷ พื้นที่ฐาน


…………………………………………………………………………………………………………………………………… ต้องการใส่น้ำาให้ระดับน้ำาต่ำากว่าขอบตู้ 10 เซนติเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………

จะได้ว่า ในถาดมีวุ้นสูง 1,600 ÷ 400 = 4 เซนติเมตร


…………………………………………………………………………………………………………………………………… แสดงว่า ระดับน้ำาในตู้ปลาสูง 80 − 10 = 70 เซนติเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………

วัดขนาดภายในของถาดได้สูง 5 เซนติเมตร
…………………………………………………………………………………………………………………………………… เนื่องจาก ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = พื้นที่ฐาน × ความสูง
……………………………………………………………………………………………………………………………………

ดังนั้น ป้าต้องเทกะทิสูง 5 − 4 = 1 เซนติเมตร จึงจะเต็มถาดพอดี


…………………………………………………………………………………………………………………………………… ต้องใส่น้ำาปริมาณ 30,000 × 70 = 2,100,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………

ตอบ ๑ เซนติเมตร
…………………………………………………………………………………………………………………………………… เนื่องจาก 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร = 1 ลิตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………… ดังนั้น จะต้องใส่น้ำา 2,100,000 ÷ 1,000 = 2,100 ลิตร


……………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………… ตอบ ๒,๑๐๐ ลิตร


……………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………...

4 กะทิกล่องทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 10 เซนติเมตร สูง 12.5 เซนติเมตร 6 ภาชนะทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก มีน้ำาอยู่ 8 ลิตร ถ้าระดับน้ำาสูง 10 เซนติเมตร และภาชนะนี้
มีปริมาณกะทิอยู่ 4 กล่อง มีกะทิอยู่กี่ลิตร วัดขนาดภายในได้ยาว 40 เซนติเมตร ภาชนะนี้กว้างเท่าใด
5

วิธีทำา ความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก = ความกว้าง × ความยาว × ความสูง


…………………………………………………………………………………………………………………………………… วิธีทำา เนื่องจาก 1 ลิตร = 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………

กล่องกะทิมีความจุ 10 × 10 × 12.5 = 1,250 ลูกบาศก์เซนติเมตร


…………………………………………………………………………………………………………………………………… ภาชนะนี้มีน้ำาอยู่ 8 × 1,000 = 8,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………

มีปริมาณกะทิอยู่ 4 กล่อง
…………………………………………………………………………………………………………………………………… ภาชนะนี้ยาว 40 เซนติเมตร และมีระดับน้ำาสูง 10 เซนติเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………
5
มีกะทิอยู่ 4 × 1,250 = 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
…………………………………………………………………………………………………………………………………… เนื่องจาก พื้นที่ฐาน = ปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ÷ ความสูง
……………………………………………………………………………………………………………………………………
5
เนื่องจาก 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร = 1 ลิตร
…………………………………………………………………………………………………………………………………… จะได้ว่า ภาชนะนี้มีพื้นที่ฐาน 8,000 ÷ 10 = 800 ตารางเซนติเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………

ดังนั้น มีกะทิอยู่ 1,000 ÷ 1,000 = 1 ลิตร


…………………………………………………………………………………………………………………………………… เนื่องจาก ความกว้าง = พื้นที่ฐาน ÷ ความยาว
……………………………………………………………………………………………………………………………………

ตอบ ๑ ลิตร
…………………………………………………………………………………………………………………………………… ดังนั้น ภาชนะนี้กว้าง 800 ÷ 40 = 20 เซนติเมตร
……………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………… ตอบ ๒๐ เซนติเมตร


……………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………

118 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 119


คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู
หลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดผลและการประเมินผล เป็นองค์ประกอบสำ�คัญในการออกแบบ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หากมีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบหนึ่ง จะส่งผลกระทบต่อองค์ประกอบอื่น
เพื่อความสอดคล้องและเกิดประสิทธิผลในการนำ�หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ไปใช้ ครูควรศึกษาเพิ่มเติม และทำ�ความเข้าใจ
ในเรื่องต่อไปนี้ี

1. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์เป็นความสามารถในการนำ�ความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อการเรียนรู้
สิ่งต่าง ๆ และนำ�ไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่ต้องการให้เกิดขึ้น
กับผู้เรียน ได้แก่

1) การแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการทำ�ความเข้าใจปัญหา คิดวิเคราะห์ วางแผนแก้ปัญหา และเลือกใช้


วิธีการที่เหมาะสม โดยคำ�นึงถึงความสมเหตุสมผลของคำ�ตอบ พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้อง

2) การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ เป็นความสามารถในการใช้รูป ภาษาและสัญลักษณ์


ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร สื่อความหมาย สรุปผล และนำ�เสนอได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน

3) การเชื่อมโยง เป็นความสามารถในการใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เนื้อหาต่าง ๆ หรือศาสตร์อื่น ๆ และนำ�ไปใช้ในชีวิตจริง

4) การให้เหตุผล เป็นความสามารถในการให้เหตุผล รับฟังและให้เหตุผลสนับสนุน หรือโต้แย้ง เพื่อนำ�ไปสู่การสรุป


โดยมีข้อเท็จจริงทางคณิตศาสตร์รองรับ

5) การคิดสร้างสรรค์ เป็นความสามารถในการขยายแนวคิดที่มีอยู่เดิม หรือสร้างแนวคิดใหม่ เพื่อปรับปรุง


พัฒนาองค์ความรู้

2. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์ เป็นคุณภาพของนักเรียนที่เกิดขึ้นภายในตัวเองที่ไม่สามารถ
แสดงออกให้เห็นอย่างชัดเจนได้ เช่นเดียวกับคุณลักษณะด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จากสภาพของสังคม
และการเปลีย่ นแปลงของโลกยุคปัจจุบน ั ทำ�ให้มค
ี วามจำ�เป็นต้องเน้นและปลูกฝังลักษณะดังกล่าวให้เกิดขึน
้ ในตัวผูเ้ รียนทุกคน
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาในองค์รวมทั้งด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ อันจะนำ�ไปสู่ความเจริญ
ก้าวหน้าและความมั่นคงสงบสุขในสังคม ซึ่งการวัดและประเมินผลด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ครอบคลุมประเด็น
ที่ต้องประเมิน ดังนี้
1) การทำ�งานอย่างเป็นระบบ
2) ความมีระเบียบวินัย
3) ความรอบคอบ
4) ความรับผิดชอบ
5) การมีวิจารณญาณ
6) ความเชื่อมั่นในตนเอง
7) การตระหนักในคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์

210 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

ตัวอย่างเกณฑ์การให้คะแนนด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์แบบแยกองค์ประกอบ

คุณลักษณะ การทำ�งานอย่างเป็นระบบ

คะแนน/ความหมาย คุณลักษณะที่ปรากฏให้เห็น

3 ••มีการวางแผนการดำ�เนินงานเป็นระบบ
ดีมาก ••การทำ�งานมีครบทุกขั้นตอน ตัดขั้นตอนที่ไม่สำ�คัญออก
••จัดเรียงลำ�ดับความสำ�คัญก่อน – หลัง ถูกต้องครบถ้วน
2 ••มีการวางแผนการดำ�เนินงาน
ดี ••การทำ�งานไม่ครบทุกขั้นตอน และผิดพลาดบ้าง
••จัดเรียงลำ�ดับความสำ�คัญก่อน – หลังได้เป็นส่วนใหญ่
1 ••ไม่มีการวางแผนการดำ�เนินงาน
พอใช้ ••การทำ�งานไม่มีขั้นตอน มีความผิดพลาดต้องแก้ไข
••ไม่จัดเรียงลำ�ดับความสำ�คัญ

คุณลักษณะ ความมีระเบียบวินัย

คะแนน/ความหมาย คุณลักษณะที่ปรากฏให้เห็น

3 ••สมุดงาน ชิ้นงาน สะอาดเรียบร้อย


ดีมาก ••ปฏิบัติตนอยู่ในข้อตกลงที่กำ�หนดให้ร่วมกันทุกครั้ง

2 ••สมุดงาน ชิ้นงาน ส่วนใหญ่สะอาดเรียบร้อย


ดี ••ปฏิบัติตนอยู่ในข้อตกลงที่กำ�หนดให้ร่วมกันเป็นส่วนใหญ่

1 ••สมุดงาน ชิ้นงาน ไม่ค่อยเรียบร้อย


พอใช้ ••ปฏิบัติตนอยู่ในข้อตกลงที่กำ�หนดให้ร่วมกันเป็นบางครั้ง ต้องอาศัยการแนะนำ�

คุณลักษณะ ความรับผิดชอบ

คะแนน/ความหมาย คุณลักษณะที่ปรากฏให้เห็น

3 ••ส่งงานก่อนหรือตรงกำ�หนดเวลานัดหมาย
ดีมาก ••รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายและปฏิบัติเองจนเป็นนิสัย เป็นระบบ
และแนะนำ�ชักชวนให้ผู้อื่นปฏิบัติ

2 ••ส่งงานช้ากว่ากำ�หนด แต่ได้มีการติดต่อชี้แจงครูผู้สอน มีเหตุผลที่รับฟังได้


ดี ••รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ปฏิบัติเองจนเป็นนิสัย

1 ••ส่งงานช้ากว่ากำ�หนด
พอใช้ ••ปฏิบัติงานโดยต้องอาศัยการชี้แนะ แนะนำ� ตักเตือนหรือให้กำ�ลังใจ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 211
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

ตัวอย่างเกณฑ์การให้คะแนนด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์แบบองค์รวม

คุณลักษณะ การทำ�งานอย่างเป็นระบบ

คะแนน/ความหมาย คุณลักษณะที่ปรากฏให้เห็น

สามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเองหรือเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ในการปฏิบัติงาน
3
ทางคณิตศาสตร์อย่างมีระบบ มีระเบียบวินัย มีความรอบคอบ มีความรับผิดชอบ
ดีมาก
มีวิจารณญาณ มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง

2 สามารถปฏิบัติตนตามคำ�แนะนำ�หรือชี้แนะในการปฏิบัติงานทางคณิตศาสตร์อย่างมีระบบ
ดี มีระเบียบวินัย มีความรอบคอบ มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณ มีความเชื่อมั่นในตนเอง

ไม่สามารถปฏิบัติตนตามคำ�แนะนำ�หรือชี้แนะด้วยตนเอง แต่ต้องมีการกำ�กับ
1
และติดตามอยู่เสมอ การปฏิบัติงานทางคณิตศาสตร์ไม่เป็นระบบ ไม่มีระเบียบวินัย
พอใช้
ขาดความรอบคอบ ขาดความรับผิดชอบ ไม่มีวิจารณญาณ และไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง

3. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์
สภาพและแนวโน้มด้านการประเมินผลในปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นถึงความสำ�คัญของการประเมิน
ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยเฉพาะการประเมินผลในชั้นเรียนที่ไม่ได้เป็นเพียงการกำ�กับดูแล
การเรียนรู้ของผู้เรียนเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นว่าการนำ�ผลการประเมินในชั้นเรียนไปใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้
ของผู้เรียน สามารถทำ�ให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียนก้าวหน้าขึ้นกว่าเดิม

1) หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ต้องกระทำ�อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ที่สอดคล้องกับคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำ�หนดในหลักสูตร โดยต้องวัดและประเมิน
ให้ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ความคิด ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ คุณลักษณะอันพึงประสงค์
และคุณลักษณะเฉพาะทางคณิตศาสตร์ ซึ่งการวัดและประเมินผลนั้น ควรยึดหลักของการวัดและประเมินผล
เพื่อการค้นหาและพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน โดยให้ความสำ�คัญกับความก้าวหน้า และการพัฒนาผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนมากกว่าให้ความสำ�คัญกับความล้มเหลว เน้นการนำ�ข้อมูลจากการประเมินป้อนกลับไปยังผู้เรียน
เพื่อขับเคลื่อนให้การเรียนรู้ของผู้เรียนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ทางคณิตศาสตร์นั้น มีวิธีการที่หลากหลาย ซึ่งมีความแตกต่างกันตามจุดมุ่งหมายและความต้องการของผู้ประเมิน

212 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

2) ขั้นตอนของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ประกอบด้วยขั้นตอนสำ�คัญดังนี้
ขั้นที่ 1 กำ�หนดสิ่งที่ต้องการจะนำ�มาวัดหรือประเมินผล ซึ่งในทางคณิตศาสตร์จะกำ�หนดไว้ 3 ด้าน คือ
ด้านความรู้หรือเนื้อหา ด้านทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และด้านคุณลักษณะ
ขั้นที่ 2 กำ�หนดเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผล เช่น แบบทดสอบ แบบสังเกต
แบบประเมินเชิงคุณภาพ (Rubrics Scoring)
ขั้นที่ 3 ออกแบบสถานการณ์ในการประเมิน เช่น สถานการณ์จำ�ลอง เหตุการณ์ในชีวิตจริง กรณีตัวอย่าง
ขั้นที่ 4 กำ�หนดวิธีการให้คะแนนและเกณฑ์การให้คะแนน เช่น ถูกได้ 1 ผิดได้ 0
ขั้นที่ 5 กำ�หนดเงื่อนไขในการวัดและประเมินผล เช่น เวลาที่ใช้ ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน

3) คำ�ที่เกี่ยวข้องกับการวัดและประเมินผล
การวัด (Measurement) เป็นกระบวนการกำ�หนดตัวเลขให้กับสิ่งที่ต้องการวัดตามเกณฑ์ที่กำ�หนดใน
กระบวนการวัด โดยผู้ทำ�การวัดต้องดำ�เนินการดังนี้
1. กำ�หนดจุดมุ่งหมายของการวัด
2. เลือกเครื่องมือที่ใช้วัดให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการวัด เพื่อให้ผลของการวัดมีความแม่นตรงมากที่สุด
เช่น ครูอมรกำ�หนดโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคนของจำ�นวนนับ จำ�นวน 5 ข้อ และกำ�หนด
เกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
คำ�ตอบถูก 2 คะแนน
แสดงวิธีทำ�ถูกต้อง 5 คะแนน
ความเป็นระเบียบเรียบร้อย 1 คะแนน
ครูอมรตรวจผลงานและให้คะแนนดังนี้
กล้า ได้ 15 คะแนน
ตุลย์ ได้ 38 คะแนน
ธันว์ ได้ 25 คะแนน
การประเมินผล (Assessment) เป็นการประเมินผลย่อย ๆ ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน เพื่อดูความก้าวหน้า
ของผู้เรียน โดยผู้สอนเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อนำ�มาเป็นข้อมูลในการวินิจฉัยคุณภาพ
ของผู้เรียน มีการให้ข้อมูลป้อนกลับไปยังผู้เรียน พร้อมเสนอแนวทางในการปรับปรุงหรือพัฒนาความสามารถของผู้เรียน
เช่น เมื่อครูอมรตรวจผลงานแล้ว ได้นำ�คะแนนไปเทียบกับเกณฑ์และจัดระดับคุณภาพ ดังนี้
31-40 คะแนน หมายถึง ความรู้ความสามารถอยู่ในระดับดีมาก
20-30 คะแนน หมายถึง ความรู้ความสามารถอยู่ในระดับปานกลาง
0-19 คะแนน หมายถึง ความรู้ความสามารถอยู่ในระดับที่ควรปรับปรุง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 213
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

และผลการจัดอันดับคุณภาพ พบว่า
- ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคนของจำ�นวนนับ
อยู่ในระดับดีมาก คือ ตุลย์
- ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคนของจำ�นวนนับ
อยู่ในระดับปานกลาง คือ ธันว์
- ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคนของจำ�นวนนับ
อยู่ในระดับที่ควรปรับปรุง คือ กล้า
ตัวอย่างดังกล่าวนี้เป็น การประเมินผล (Assessment) เพราะเป็นการนำ�คะแนนที่ได้จากการวัดมาจัดระดับ
คุณภาพ ซึ่งเป็นการประเมินผลระหว่างเรียน ที่สามารถปฏิบัติได้หลาย ๆ ครั้งในการจัดการเรียนการสอน โดยข้อมูลที่ได้
จากการประเมินนี้ ครูอมรต้องให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ไปยังผู้เรียน เพื่อให้แก้ไขส่วนที่บกพร่อง ทั้งนี้การให้
ข้อมูลป้อนกลับ ผู้สอนอาจใช้การพูดหรือเขียนเชิงสร้างสรรค์ เพื่อสร้างกำ�ลังใจให้ผู้เรียนปรับปรุงข้อบกพร่องของตนเอง
การประเมินผล (Evaluation) เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องจากการวัด เป็นการประเมินรวบยอด เพื่อตัดสิน
คุณภาพของผู้เรียน โดยการให้ระดับผลการเรียน
เช่น กล้า ได้ 53 คะแนน มีระดับผลการเรียน 1
ตุลย์ ได้ 85 คะแนน มีระดับผลการเรียน 4
ธันว์ ได้ 61 คะแนน มีระดับผลการเรียน 2

4) ประเภทของการประเมินผลการเรียนรู้
การประเมินผลการเรียนรู้ จำ�แนกตามวัตถุประสงค์ มี 3 ประเภท ดังนี้

(1) การประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (Assessment for Learning) หมายถึง กระบวนการประเมิน


ที่ดำ�เนินอย่างต่อเนื่อง โดยใช้รูปแบบการประเมินอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการโดยผู้สอนและผู้เรียน เพื่อให้ได้
สารสนเทศสำ�หรับเป็นข้อมูลป้อนกลับในการระบุและวินิจฉัยปัญหาของผู้เรียน ซึ่งจะนำ�ไปสู่การปรับปรุงการเรียนรู้
หรือการทำ�งานของผู้เรียน จนผู้เรียนสามารถควบคุม วางแผน และปรับปรุงวิธีการเรียนรู้ เพื่อไปสู่เป้าหมายการเรียนรู้
ได้ด้วยตนเอง ในการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้นั้น จะต้องนำ�คะแนนที่ผู้เรียนทำ�ได้มาวิเคราะห์เพื่อเป็นสารสนเทศที่
แสดงถึงพัฒนาการของผู้เรียนและคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน

214 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

เช่น ครูอมรให้ผู้เรียนแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคนของจำ�นวนนับ เป็นระยะ ๆ แล้วบันทึกคะแนน


พร้อมให้ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เป็นรายบุคคล ดังนี้

ชื่อ ครั้งที่ คะแนน ข้อเสนอแนะ หมายเหตุ

ควรปรับปรุงเรื่องการตีความโจทย์ปัญหาเพื่อนำ�ไปสู่
1 3
การวางแผนแก้โจทย์ปัญหา
ควรทำ�วิจัย
กล้า มีการพัฒนาดีขึ้น การตีความโจทย์ปัญหาบางประเด็น ในชั้นเรียน
2 5 ยังไม่ถูกต้อง การเขียนแสดงขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหา
ยังขาดความต่อเนื่องและความชัดเจน

การเขียนแสดงวิธีคิดและขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหา
1 8
ยังขาดความต่อเนื่องและความสมบูรณ์ แต่ยังพอเข้าใจได้
ตุลย์
การเขียนแสดงวิธีคิดและขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหา
2 10
มีความกระชับ ถูกต้อง ชัดเจน

ควรปรับปรุงเรื่องการตีความโจทย์ปัญหา ควรฝึกตีความ
โจทย์ปัญหาที่แตกต่างกันให้มากกว่าเดิม การเขียนแสดง
1 5
ขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหาขาดความต่อเนื่อง
ธันว์ และความชัดเจน

มีการพัฒนาดีขึ้น การเขียนแสดงขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหา
2 7
ยังขาดความต่อเนื่อง แต่ยังพอเข้าใจได้ ควรปรับปรุง

จากข้อมูลสารสนเทศดังกล่าว ทำ�ให้ครูอมรรู้ว่า ผู้เรียนทั้งสามคน มีการพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์


ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคนของจำ�นวนนับดีขึ้น แต่สำ�หรับกล้า ควรทำ�วิจัยในชั้นเรียนเพื่อหาสาเหตุและหาวิธี
ช่วยเหลือเกี่ยวกับการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา การวางแผนแก้โจทย์ปัญหา และการเขียนแสดงวิธีคิดและขั้นตอน
การแก้โจทย์ปัญหา

การประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้นี้ เป็นการประเมินที่เกิดขึ้นในระหว่างการเรียนการสอน จึงจัดเป็น


Formative Assessment

(2) การประเมินเพื่อทำ�ให้เกิดการเรียนรู้ (Assessment as Learning) หมายถึง กระบวนการประเมิน


ที่มุ่งเน้นการให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียน ด้วยวิธีการต่าง ๆ ในเชิงสร้างสรรค์ พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไข
ปรับปรุง และพัฒนา ใช้รูปแบบการประเมินอย่างไม่เป็นทางการ โดยผู้มีส่วนร่วมในการประเมินและให้ข้อมูลป้อนกลับ
ได้แก่ ตัวผู้เรียนเอง เพื่อนร่วมชั้น ผู้สอน และผู้ปกครอง ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนนำ�ข้อมูลมาปรับปรุงและพัฒนาความรู้
ความสามารถของตนเอง จนทำ�ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และบรรลุเป้าหมายตามหลักสูตร

การประเมิน เพื่อทำ�ให้เกิดการเรียนรู้นี้ เป็นการประเมินที่เกิดขึ้นในระหว่างการเรียนการสอน จึงจัดเป็น


Formative Assessment เช่นกัน

(3) การประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียนรู้ (Assessment of Learning) หมายถึง กระบวนการประเมินผล


ที่ใช้สำ�หรับยืนยันสิ่งที่ผู้เรียนรู้และทำ�ได้ตามเป้าหมายของหลักสูตรหรือรายวิชา เพื่อตัดสินผลการเรียนของผู้เรียน
โดยใช้รูปแบบการประเมินอย่างเป็นทางการ มีการนำ�คะแนนประเมินผลระหว่างเรียน ซึ่งได้จากหลายแหล่งเพื่อยืนยัน
ความสำ�เร็จ รวมกับผลการสอบปลายภาค/ปลายปี แล้วนำ�ไปตัดสินผลการเรียน
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 215
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

การประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียนรู้นี้ เป็นการประเมินที่เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน จึงจัดเป็น


Summative Assessment นอกจากนี้ยังมีการประเมินผลในลักษณะอื่นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น

การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) หมายถึง การประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ


ความสามารถหรือคุณลักษณะตามสภาพที่แท้จริงของผู้เรียน เน้นการประเมินความรู้ ทักษะการคิดขั้นสูงในการปฏิบัติ
งาน ความสามารถในการแก้ปัญหา และพฤติกรรมการแสดงออกที่เกิดจากการปฏิบัติงานที่เป็นสถานการณ์ในชีวิตจริง
หรือใกล้เคียงกับชีวิตจริง ด้วยเครื่องมือประเมินที่หลากหลาย โดยลักษณะงานที่ให้ผู้เรียนปฏิบัติต้องเป็นงานที่มี
ความหมาย มีความซับซ้อน ผู้เรียนต้องบูรณาการความรู้ ความสามารถ และทักษะหลากหลายมาใช้ในการแก้ปัญหา
หรือปฏิบัติงาน เช่น ให้ผู้เรียนวางแผนตัดกระดาษแข็งรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ขนาดกว้าง 44 เซนติเมตร
ยาว 48 เซนติเมตร ให้เป็นบัตรคำ�รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 14 เซนติเมตร ให้ได้จำ�นวนแผ่น
บัตรคำ�มากที่สุด พร้อมเขียนภาพแสดงแนวการตัดประกอบ

การประเมินจากการปฏิบัติ (Performance - standard Assessment) หมายถึง การประเมินผล


ที่มุ่งตรวจสอบความสามารถในการนำ�ความรู้และทักษะเฉพาะศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา ด้วยการปฏิบัติงานจริง
เป็นการแสดงถึงผลรวมของความรู้ความสามารถด้านพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย ของผู้เรียนพร้อมกัน
โดยประเมินจากกระบวนการทำ�งาน กระบวนการคิดขั้นสูง และผลงานที่ได้ ตลอดจนลักษณะนิสัยในการทำ�งาน
ของผู้เรียน ซึ่งลักษณะสำ�คัญของการประเมินจากการปฏิบัตินั้น จะต้องมีการกำ�หนดวัตถุประสงค์ของงานที่กำ�หนด
ให้ปฏิบัติ วิธีการปฏิบัติงานหรือขั้นตอนการปฏิบัติงาน และผลสำ�เร็จของงานที่ชัดเจน โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน
เชิงคุณภาพที่ชัดเจน ตัวอย่างงานที่มอบหมายให้ปฏิบัติ เช่น

••การออกแบบที่จอดรถหน้าอาคารเรียน โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับเส้นขนาน เขียนภาพประกอบ


พร้อมนำ�เสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
••การออกแบบลวดลายโดยใช้รูปเรขาคณิตสองมิติ ให้เชื่อมโยงกับธรรมชาติหรือชีวิตจริง พร้อมนำ�เสนอ
ผลงานหน้าชั้นเรียน
••การสำ�รวจความสนใจในกิจกรรมพิเศษ หรือ ชุมนุมต่าง ๆ ของผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาของโรงเรียน
แห่งหนึ่ง พร้อมนำ�เสนอด้วยรูปแบบการนำ�เสนอข้อมูลที่เหมาะสม

5) วิธีการประเมินความสามารถทางคณิตศาสตร์

ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างมีคุณภาพได้นั้น ต้องมีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ทักษะและกระบวนการ


ควบคู่ไปกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม การประเมินความสามารถของผู้เรียน
ด้านความรู้นั้น เป็นการประเมินกระบวนการทางสมองของผู้เรียน ว่ามีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระหรือไม่ เพียงใด
โดยผู้เรียนจะแสดงออกด้วยพฤติกรรมขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นที่ซับซ้อน ได้แก่ จำ� เข้าใจ ประยุกต์ใช้ วิเคราะห์ ประเมินค่า
และคิดสร้างสรรค์ ส่วนการประเมินความสามารถของผู้เรียนด้านทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เป็นการ
ประเมินความสามารถที่จำ�เป็นต่อการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียน ประกอบด้วย ความสามารถในการแก้ปัญหา
ความสามารถในการสื่อสารและสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ ความสามารถในการเชื่อมโยง ความสามารถ
ในการให้เหตุผล และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ สำ�หรับการประเมินความสามารถของผู้เรียนด้านคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมนั้น เป็นการประเมินเกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึกทางจิตใจของผู้เรียน
ที่เป็นพฤติกรรมการแสดงออกหรือเป็นลักษณะนิสัยของผู้เรียนที่ตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ

216 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

6) แนวทางการกำ�หนดวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลความสามารถทางคณิตศาสตร์
ของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ

สิ่งที่ต้องการประเมิน วิธีการประเมิน ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน


1. ความรู้ การสื่อสารส่วนบุคคล •• แบบบันทึกการถาม-ตอบระหว่างทำ�กิจกรรมการเรียนรู้
•• แบบบันทึกพฤติกรรมของผู้เรียน
•• แบบรายงานสรุปผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
•• อนุทินการเรียนรู้ (Learning Journals)
ฯลฯ

การทำ�แบบฝึกหัด •• แบบบันทึกหรือแบบประเมินผลการทำ�แบบฝึกหัด
พร้อมข้อมูลป้อนกลับ
•• เกณฑ์การให้คะแนนเชิงคุณภาพ (Rubrics Scoring)
- ความครบถ้วน ความถูกต้อง
- ความสมบูรณ์ของการแสดงขัน
้ ตอนวิธค
ี ด
ิ กรณีตอ้ งปรับปรุงแก้ไข
- แบบตรวจสอบรายการ
ฯลฯ

การทดสอบ •• แบบทดสอบ
- แบบเลือกตอบ (Selected Response)
- แบบสร้างคำ�ตอบ (Constructed Response)

- การปฏิบัติภาระงาน/ •• แบบสังเกต (แบบสำ�รวจรายการ/แบบมาตรประมาณค่า)


ชิ้นงาน (Task) •• แบบสอบถาม
- แฟ้มสะสมผลงาน •• แบบประเมินเชิงคุณภาพ (Rubrics Scoring)
(Portfolio) ฯลฯ

2. ทักษะ การสื่อสารส่วนบุคคล •• แบบบันทึกการถาม-ตอบระหว่างทำ�กิจกรรมการเรียนรู้


และกระบวนการทาง •• แบบบันทึกพฤติกรรมของผู้เรียน
คณิตศาสตร์ •• แบบสอบถาม
•• แบบบันทึกการสัมภาษณ์
•• แบบสังเกต (แบบสำ�รวจรายการ/แบบมาตรประมาณค่า)
•• แบบบันทึกหรือแบบประเมินผลการทำ�แบบฝึกหัด
พร้อมข้อมูลป้อนกลับ
ฯลฯ

การปฏิบัติภาระงาน/ •• แบบสังเกต (แบบสำ�รวจรายการ/แบบมาตรประมาณค่า)


ชิ้นงาน (Task) •• แบบสอบถาม
•• แบบประเมินเชิงคุณภาพ (Rubrics Scoring)
ฯลฯ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 217
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

สิ่งที่ต้องการประเมิน วิธีการประเมิน ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน


3. คุณลักษณะ การสื่อสารส่วนบุคคล •• บันทึกการอภิปรายในชั้นเรียน
อันพึงประสงค์ •• บันทึกพฤติกรรมของผู้เรียน
และเจตคติ •• อนุทน
ิ การเรียนรู้ (Learning Journals)
ฯลฯ

- การปฏิบัติภาระงาน/ •• แบบสังเกต (แบบสำ�รวจรายการ/แบบมาตรประมาณค่า)


ชิ้นงาน (Task) •• แบบสอบถาม
- แฟ้มสะสมผลงาน •• แบบประเมินเชิงคุณภาพ (Rubrics Scoring)
(Portfolio) ฯลฯ

การสอบถาม •• แบบสอบถาม
ความคิดเห็น •• แบบสำ�รวจ
ความพึงพอใจ •• แบบวัดเจตคติ
ความสนใจ และ ฯลฯ
เจตคติต่อคณิตศาสตร์

ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ ผู้สอนต้องทำ�ความเข้าใจวัตถุประสงค์ในการวัดและประเมินผล
ให้ชัดเจน เพื่อเลือกวิธีการและเครื่องมือวัดและประเมินผลให้เหมาะสมและให้มีความหลากหลาย เพื่อยืนยันความรู้
ความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน

4. การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21
ในศตวรรษที่ 21 (1 มกราคม ค.ศ. 2001 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 2100) โลกมีการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ด้าน
ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ส่งผลให้จำ�เป็นต้องมีการเตรียมผู้เรียนให้พร้อมรับ
การเปลี่ยนแปลงของโลก ผู้สอนจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความรู้

ในวิชาหลัก (Core subjects) มีทักษะการเรียนรู้ (Learning skills) และพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะที่จำ�เป็น


ในศตวรรษที่ 21 ไม่ว่าจะเป็นทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการคิดและการแก้ปัญหา ทักษะการสื่อสาร
st
และทักษะชีวิต ทั้งนี้เครือข่าย P21 (Partnership for 21 Century Skills) ได้จำ�แนกทักษะที่จำ�เป็นในศตวรรษที่ 21
ออกเป็น 3 หมวด ได้แก่

1) ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) ได้แก่ การคิดสร้างสรรค์


(Creativity) การคิดแบบมีวิจารณญาณ/การแก้ปัญหา (Critical thinking/Problem-solving)
การสื่อสาร (Communication) และ การร่วมมือ (Collaboration)
2) ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (Information, Media, and Technology Skills) ได้แก่
การรู้เท่าทันสารสนเทศ (Information literacy) การรู้เท่าทันสื่อ (Media literacy) การรู้ทันเทคโนโลยี
และการสื่อสาร (Information, Communications and Technology literacy)
3) ทักษะชีวิตและอาชีพ (Life and Career Skills) ได้แก่ ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว
(Flexibility and Adaptability) มีความคิดริเริ่มและกำ�กับดูแลตัวเองได้ (Initiative and Self-direction)
ทักษะสังคมและเข้าใจในความต่างระหว่างวัฒนธรรม (Social and Cross-cultural skills) การเป็นผู้สร้าง
ผลงานหรือผู้ผลิตและมีความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Productivity and Accountability) มีภาวะผู้นำ�
และความรับผิดชอบ (Leadership and Responsibility)
218 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสภาพแวดล้อม บริบททางสังคม


และเทคโนโลยีทเ่ี ปลีย่ นแปลงไป ผูส้ อนต้องออกแบบการเรียนรูท
้ เ่ี น้นผูเ้ รียนเป็นสำ�คัญ โดยให้ผเู้ รียนได้เรียนจากสถานการณ์
ในชีวิตจริงและเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยมีผู้สอนเป็นผู้จุดประกายความสนใจใฝ่รู้ อํานวยความสะดวก และ
สร้างบรรยากาศให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

5. การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษา
การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เป็นกระบวนการที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนใช้ความรู้ที่หลากหลายและยุทธวิธีที่เหมาะสม
ในการหาคำ�ตอบของปัญหา ผู้เรียนต้องได้รับการพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง สามารถแก้ปัญหา
ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ

กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลาย คือ กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิด


ของโพลยา (Polya) ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนสำ�คัญ 4 ขั้น ดังนี้

ขั้นที่ 1 ทำ�ความเข้าใจปัญหา

ขั้นที่ 2 วางแผนแก้ปัญหา

ขั้นที่ 3 ดำ�เนินการตามแผน

ขั้นที่ 4 ตรวจสอบ

ขั้นที่ 1 ทำ�ความเข้าใจปัญหา ขั้นตอนนี้เป็นการพิจารณาว่าสถานการณ์ที่กำ�หนดให้เป็นปัญหาเกี่ยวกับอะไร


ต้องการให้หาอะไร กำ�หนดอะไรให้บ้าง เกี่ยวข้องกับความรู้ใดบ้าง การทำ�ความเข้าใจปัญหา ซึ่งอาจใช้วิธีการต่าง ๆ
เพื่อช่วยให้เข้าใจมากขึ้น เช่น การวาดภาพ การเขียนตาราง การบอกหรือเขียนสถานการณ์ปัญหาด้วยภาษาของตนเอง

ขั้นที่ 2 วางแผนแก้ปัญหา ขั้นตอนนี้เป็นการพิจารณาว่าจะแก้ปัญหานั้นด้วยวิธีใด แก้อย่างไร รวมถึงพิจารณา


ความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ในปัญหา ผสมผสานกับประสบการณ์การแก้ปัญหาที่ผู้เรียนมีอยู่ เพื่อกำ�หนดแนวทาง
และเลือกยุทธวิธีในการแก้ปัญหาที่เหมาะสม

ขั้นที่ 3 ดำ�เนินการตามแผน ขั้นตอนนี้เป็นการลงมือปฏิบัติตามแผนหรือแนวทางที่วางไว้ จนสามารถหา


คำ�ตอบได้ ถ้าแผนหรือยุทธวิธีที่เลือกไว้ไม่สามารถหาคำ�ตอบได้ ผู้เรียนต้องเลือกยุทธวิธีใหม่จนกว่าจะได้คำ�ตอบ

ขั้นที่ 4 ตรวจสอบ ขั้นตอนนี้เป็นการพิจารณาความถูกต้องและความสมเหตุสมผลของคำ�ตอบ ตรวจสอบ


ความถูกต้องของแต่ละขั้นตอน ผู้เรียนอาจพิจารณายุทธวิธีอื่น ๆ ที่สามารถใช้หาคำ�ตอบได้ รวมทั้งนำ�แนวคิดในการ
แก้ปัญหานี้ไปใช้กับสถานการณ์ปัญหาอื่น

การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ต้องใช้ยุทธวิธีหรือวิธีการต่าง ๆ มาช่วยหาคำ�ตอบ ยุทธวิธีเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้


ผู้เรียนประสบความสำ�เร็จในการแก้ปัญหา ผู้สอนต้องจัดประสบการณ์การแก้ปัญหาที่หลากหลายและเพียงพอให้กับ
ผู้เรียน โดยยุทธวิธีที่เลือกใช้ในการแก้ปัญหา ต้องเหมาะสมและสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน ซึ่งยุทธวิธี
การแก้ปัญหาที่ผู้เรียนในระดับประถมศึกษาควรได้รับการพัฒนาและฝึกฝน ได้แก่

1) การวาดภาพ (Draw a Picture)

การวาดภาพ เป็นการอธิบายสถานการณ์ปญ ั หาด้วยการวาดภาพจำ�ลอง หรือเขียนแผนภาพ จะช่วยให้เข้าใจปัญหา


ได้ง่ายขึ้น และเห็นแนวทางการแก้ปัญหานั้น ๆ ซึ่งในบางครั้งอาจได้คำ�ตอบจากการวาดภาพนั้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 219
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

ตัวอย่าง
โต้งมีเงินอยู่จำ�นวนหนึ่ง วันเสาร์ใช้ไป 1 ของเงินที่มีอยู่ วันอาทิตย์ใช้ไป 2 ของเงินที่เหลือ แล้วยังมีเงินเหลืออยู่
4 3
300 บาท เดิมโต้งมีเงินอยู่กี่บาท

แนวคิด
เงินที่มีอยู่เดิม

เงินที่เหลือจากวันเสาร์

300 บาท

วันเสาร์ใช้ไป วันอาทิตย์ใช้ไป 2 ของเงินที่เหลือ เงินที่เหลืออยู่


1 ของเงินที่มีอยู่ 3
4

แสดงว่า เงิน 1 ส่วน เท่ากับ 300 บาท

เงิน 4 ส่วน เท่ากับ 4 × 300 = 1,200 บาท

ดังนั้น เดิมโต้งมีเงินอยู่ 1,200 บาท

2) การหาแบบรูป (Find a Pattern)

การหาแบบรูป เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ปญ ั หา โดยค้นหาความสัมพันธ์ของข้อมูลทีเ่ ป็นระบบ หรือทีเ่ ป็นแบบรูป


แล้วนำ�ความสัมพันธ์หรือแบบรูปที่ได้นั้นไปใช้ในการหาคำ�ตอบของสถานการณ์ปัญหา

ตัวอย่าง ในงานเลี้ยงแห่งหนึ่ง เจ้าภาพจัดโต๊ะและเก้าอี้ตามแบบรูป ดังนี้

รูปที่ 1 รูปที่ 2 รูปที่ 3 รูปที่ 4

ถ้าจัดโต๊ะและเก้าอี้ตามแบบรูปนี้จนมีโต๊ะ 10 ตัว จะต้องใช้เก้าอี้ทั้งหมดกี่ตัว

แนวคิด
1) ยุทธวิธีที่ใช้แก้ปัญหา คือ การหาแบบรูป
2) พิจารณาการจัดโต๊ะและเก้าอี้จาก รูปที่ 1 รูปที่ 2 รูปที่ 3 และรูปที่ 4 แล้วเขียนจำ�นวนโต๊ะ
และจำ�นวนเก้าอี้ของแต่ละรูป ดังนี้

220 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

โต๊ะ 1 ตัว เก้าอี้ที่อยู่ด้านหัวกับด้านท้าย 2 ตัว


รูปที่ 1 เก้าอี้ด้านข้าง 2 = 1 × 2 ตัว

โต๊ะ 2 ตัว เก้าอี้ที่อยู่ด้านหัวกับด้านท้าย 2 ตัว


รูปที่ 2 เก้าอี้ด้านข้าง 2 + 2 = 2 × 2 ตัว

โต๊ะ 3 ตัว เก้าอี้ที่อยู่ด้านหัวกับด้านท้าย 2 ตัว


รูปที่ 3 เก้าอี้ด้านข้าง 2 + 2 + 2 = 3 × 2 ตัว

โต๊ะ 4 ตัว เก้าอี้ที่อยู่ด้านหัวกับด้านท้าย 2 ตัว


รูปที่ 4
เก้าอี้ด้านข้าง 2 + 2 + 2 + 2 = 4 × 2 ตัว

3) พิจารณาจำ�นวนเก้าอีท ้ เ่ี ปลีย่ นแปลงเทียบกับจำ�นวนโต๊ะ จากแบบรูปพบว่า จำ�นวนเก้าอีท


้ อ
่ี ยูด
่ า้ นหัวกับด้านท้าย
มี 2 ตัว ไม่เปลี่ยนแปลง แต่เก้าอี้ด้านข้างมีจำ�นวนเท่ากับ จำ�นวนโต๊ะคูณด้วย 2 ดังนั้นเมื่อจัดโต๊ะและเก้าอี้
ตามแบบรูปนี้ไปจนมีโต๊ะ 10 ตัว จะต้องใช้เก้าอี้ทั้งหมด 10 × 2 + 2 = 22 ตัว

3) การคิดย้อนกลับ (Work Backwards)


การคิดย้อนกลับ เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ปญ ั หาทีท่ ราบผลลัพธ์ แต่ไม่ทราบข้อมูลในขัน
้ เริม
่ ต้น โดยเริม
่ คิดจาก
ข้อมูลที่ได้ในขั้นสุดท้าย แล้วคิดย้อนกลับทีละขั้นมาสู่ข้อมูลในขั้นเริ่มต้น

ตัวอย่าง

เพชรมีเงินจำ�นวนหนึ่ง ให้น้องชายไป 35 บาท ให้น้องสาวไป 15 บาท ได้รับเงินจากแม่อีก 20 บาท


ทำ�ให้ขณะนี้เพชรมีเงิน 112 บาท เดิมเพชรมีเงินกี่บาท

แนวคิด

จากสถานการณ์เขียนแผนภาพได้ ดังนี้
เงินที่มีอยู่เดิม เงินที่มีขณะนี้
- - +
112
35 15 20
ให้น้องชาย ให้น้องสาว แม่ให้
คิดย้อนกลับจากจำ�นวนเงินที่เพชรมีขณะนี้ เพื่อหาจำ�นวนเงินเดิมที่เพชรมี

เงินที่มีอยู่เดิม เงินที่มีขณะนี้
+ + -
142 107 92 112
35 15 20
ให้น้องชาย ให้น้องสาว แม่ให้
ดังนั้น เดิมเพชรมีเงิน 142 บาท
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 221
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

4) การเดาและตรวจสอบ (Guess and Check)


การเดาและตรวจสอบ เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและเงื่อนไขต่าง ๆ ผสมผสานกับความรู้ และ
ประสบการณ์เดิม เพื่อคาดเดาคำ�ตอบที่น่าจะเป็นไปได้ แล้วตรวจสอบความถูกต้อง จากเงื่อนไขหรือข้อกำ�หนดของ
สถานการณ์ปัญหา ถ้าไม่ถูกต้อง ให้คาดเดาใหม่โดยใช้ข้อมูลจากการคาดเดาครั้งก่อนเป็นกรอบในการคาดเดาคำ�ตอบ
ครั้งต่อ ๆ ไป จนกว่าจะได้คำ�ตอบที่ถูกต้องและสมเหตุสมผล

ตัวอย่าง

จำ�นวนนับ 2 จำ�นวน ถ้านำ�มาบวกกันจะได้ 136 แต่ถ้านำ�มาลบกันจะได้ 36 จำ�นวนนับทั้งสองจำ�นวนนั้น


คือจำ�นวนใด

แนวคิด คาดเดาว่าจำ�นวน 2 จำ�นวนนั้นคือ 100 กับ 36 (ซึ่งมีผลบวก เป็น 136)


ตรวจสอบ 100 + 36 = 136 เป็นจริง
แต่ 100 – 36 = 64 ไม่สอดคล้องกับเงื่อนไข
เนื่องจากผลลบมากกว่า 36 จึงควรลดตัวตั้ง และเพิ่มตัวลบด้วยจำ�นวนที่เท่ากัน
จึงคาดเดาว่าจำ�นวน 2 จำ�นวนนั้นคือ 90 กับ 46 (ซึ่งมีผลบวกเป็น 136 )
ตรวจสอบ 90 + 46 = 136 เป็นจริง
แต่ 90 – 46 = 44 ไม่สอดคล้องกับเงื่อนไข
เนื่องจากผลลบมากกว่า 36 จึงควรลดตัวตั้ง และเพิ่มตัวลบด้วยจำ�นวนที่เท่ากัน
จึงคาดเดาว่าจำ�นวน 2 จำ�นวนนั้นคือ 80 กับ 56 (ซึ่งผลบวกเป็น 136 )
ตรวจสอบ 80 + 56 = 136 เป็นจริง
แต่ 80 – 56 = 24 ไม่สอดคล้องกับเงื่อนไข
เนื่องจากผลลบน้อยกว่า 36 จึงควรเพิ่มตัวตั้ง และลดตัวลบด้วยจำ�นวนที่เท่ากัน โดยที่ตัวตั้ง
ควรอยู่ ระหว่าง 80 และ 90
จึงคาดเดาว่าจำ�นวน 2 จำ�นวนนั้น คือ 85 กับ 51
ตรวจสอบ 85 + 51 = 136 เป็นจริง
แต่ 85 – 51 = 34 ไม่สอดคล้องกับเงื่อนไข
เนื่องจากผลลบน้อยกว่า 36 เล็กน้อย จึงควรเพิ่มตัวตั้ง และลดตัวลบด้วยจำ�นวนที่เท่ากัน
จึงคาดเดาว่าจำ�นวน 2 จำ�นวนนั้น คือ 86 กับ 50
ตรวจสอบ 86 + 50 = 136 เป็นจริง
และ 86 – 50 = 36 เป็นจริง
ดังนั้น จำ�นวนนับ 2 จำ�นวนนั้น คือ 86 กับ 50

222 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

5) การทำ�ปัญหาให้ง่าย (Simplify the problem)


การทำ�ปัญหาให้ง่าย เป็นการลดจำ�นวนที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์ปัญหา หรือเปลี่ยนให้อยู่ในรูปที่คุ้นเคย
ในกรณีที่สถานการณ์ปัญหามีความซับซ้อนอาจแบ่งปัญหาเป็นส่วนย่อย ๆ ซึ่งจะช่วยให้หาคำ�ตอบของสถานการณ์ปัญหา
ได้ง่ายขึ้น

ตัวอย่าง

รูปสามเหลี่ยมที่ระบายสีอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีพื้นที่เท่าใด
10 ซม.

7 ซม.

3 ซม.

แนวคิด 6 ซม.
1
ถ้าคิดโดยการหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมจากสูตร พื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม =
× ความสูง × ความยาวของฐาน
2
ซึ่งในระดับประถมศึกษาไม่สามารถหาได้เพราะไม่ทราบความยาวของฐานและความสูง แต่ถ้าเปลี่ยนมุมมองใหม่ก็จะ

สามารถหาคำ�ตอบได้ ดังนี้

วิธีที่ 1 จากรูป สามารถหาพื้นที่ A + B + C + D แล้วลบออกจากพื้นที่ทั้งหมด ก็จะได้พื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม


ที่ต้องการได้ F
10 ซม.

7 ซม. A
D

B C 3 ซม.

6 ซม.
1
รูปสามเหลี่ยม A มีพื้นที่ × 16 ÷ 2 = 80 ตารางเซนติเมตร
2
1
รูปสามเหลี่ยม B มีพื้นที่ × 16 ÷ 2 = 15 ตารางเซนติเมตร
2
รูปสี่เหลี่ยม C มีพื้นที่ 3 × 6 = 18 ตารางเซนติเมตร
1
รูปสามเหลี่ยม D มีพื้นที่ × 6 × 7 = 21 ตารางเซนติเมตร
2
จะได้พื้นที่ A + B + C + D เท่ากับ 80 + 15 + 18 + 21 = 134 ตารางเซนติเมตร
ดังนั้น รูปสามเหลี่ยมที่ต้องการมีพื้นที่ (10 × 16) – 134 = 26 ตารางเซนติเมตร
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 223
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

วิธีที่ 2 จากรูปสามารถหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมที่ต้องการได้ดังนี้

F
G 10 ซม. E

7 ซม.

H D

3 ซม.

A 6 ซม.
B C
1
รูปสามเหลี่ยม AEG มีพื้นที่ × 16 × 10 = 80 ตารางเซนติเมตร
2
จากรูปจะได้ว่า รูปสามเหลี่ยม AEG มีพื้นที่เท่ากับรูปสามเหลี่ยม ACE
ดังนั้น รูปสามเหลี่ยม ACE มีพื้นที่ 80 ตารางเซนติเมตร
1
รูปสามเหลี่ยม ABH มีพื้นที่ × 10 × 3 = 15 ตารางเซนติเมตร
2
1
รูปสามเหลี่ยม HDE มีพื้นที่ × 6 × 7 = 21 ตารางเซนติเมตร
2
และรูปสี่เหลี่ยม BCDH มีพื้นที่ 3 × 6 = 18 ตารางเซนติเมตร
ดังนั้น รูปสามเหลี่ยม AHE มีพื้นที่ 80 – (15 + 21 + 18) = 26 ตารางเซนติเมตร

6) การแจกแจงรายการ (Make a list)


การแจกแจงรายการ เป็นการเขียนรายการหรือเหตุการณ์ทเ่ี กิดขึน
้ จากสถานการณ์ปญ
ั หาต่าง ๆ การแจกแจงรายการ
ควรทำ�อย่างเป็นระบบ โดยอาจใช้ตารางช่วยในการแจกแจงหรือจัดระบบของข้อมูลเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างชุด
ของข้อมูลที่นำ�ไปสู่การหาคำ�ตอบ

ตัวอย่าง

นักเรียนกลุ่มหนึ่งต้องการซื้อไม้บรรทัดอันละ 8 บาท และดินสอแท่งละ 4 บาท เป็นเงิน 100 บาท ถ้าต้องการ


ไม้บรรทัดอย่างน้อย 5 อัน และ ดินสออย่างน้อย 4 แท่ง จะซื้อไม้บรรทัดและดินสอได้กี่วิธี

แนวคิด เขียนแจกแจงรายการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างจำ�นวนและราคาไม้บรรทัดกับดินสอ ดังนี้

ถ้าซื้อไม้บรรทัด 5 อัน ราคาอันละ 8 บาท เป็นเงิน 5 × 8 = 40 บาท


เหลือเงินอีก 100 – 40 = 60 บาท จะซื้อดินสอราคาแท่งละ 4 บาท ได้ 60 ÷ 4 = 15 แท่ง
ถ้าซื้อไม้บรรทัด 6 อัน ราคาอันละ 8 บาท เป็นเงิน 6 × 8 = 48 บาท
เหลือเงินอีก 100 – 48 = 52 บาท จะซื้อดินสอราคาแท่งละ 4 บาท ได้ 52 ÷ 4 = 13 แท่ง
สังเกตได้ว่า เมื่อซื้อไม้บรรทัดเพิ่มขึ้น 1 อัน จำ�นวนดินสอจะลดลง 2 แท่ง
เขียนแจกแจงในรูปตาราง ได้ดังนี้

224 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

ไม้บรรทัด เหลือเงิน ดินสอ


(บาท)
จำ�นวน (อัน) ราคา (บาท) จำ�นวน (แท่ง)

5 5 × 8 = 40 100 – 40 = 60 60 ÷ 4 = 15
6 6 × 8 = 48 100 – 48 = 52 52 ÷ 4 = 13
7 7 × 8 = 56 100 – 56 = 44 44 ÷ 4 = 11
8 8 × 8 = 64 100 – 64 = 36 36 ÷ 4 = 9
9 9 × 8 = 72 100 – 72 = 28 28 ÷ 4 = 7
10 10 × 8 = 80 100 – 80 = 20 20 ÷ 4 = 5

ดังนั้น นักเรียนจะซื้อไม้บรรทัดและดินสอให้เป็นไปตามเงื่อนไขได้ 6 วิธี

7) การตัดออก (Eliminate)
การตัดออก เป็นการพิจารณาเงื่อนไขของสถานการณ์ปัญหา แล้วตัดสิ่งที่กำ�หนดให้ในสถานการณ์ปัญหา
ที่ไม่สอดคล้องกับเงื่อนไข จนได้คำ�ตอบที่ตรงกับเงื่อนไขของสถานการณ์ปัญหานั้น

ตัวอย่าง

จงหาจำ�นวนที่หารด้วย 5 และ 6 ได้ลงตัว

4,356 9,084 5,471 9,346 4,782 7,623

2,420 3,474 1,267 12,678 2,094 6,540

4,350 4,140 5,330 3,215 4,456 9,989

แนวคิด พิจารณาจำ�นวนที่หารด้วย 5 ได้ลงตัว จึงตัดจำ�นวนที่หลักหน่วยไม่เป็น 5 หรือ 0 ออก

จำ�นวนที่เหลือได้แก่ 2,420 6,540 4,350 4,140 5,330 และ 3,215

จากนั้นพิจารณาจำ�นวนที่หารด้วย 6 ได้ลงตัว ได้แก่ 6,540 4,350 และ 4,140

ดังนั้น จำ�นวนที่หารด้วย 5 และ 6 ได้ลงตัว ได้แก่ 6,540 4,350 และ 4,140

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 225
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

8) การเปลี่ยนมุมมอง
การเปลี่ยนมุมมอง เป็นการแก้สถานการณ์ปัญหาที่มีความซับซ้อน ไม่สามารถใช้ยุทธวิธีอื่นในการหาคำ�ตอบได้
จึงต้องเปลี่ยนวิธีคิด หรือแนวทางการแก้ปัญหาให้แตกต่างไปจากที่คุ้นเคยเพื่อให้แก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น
ตัวอย่าง

จากรูป เส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมยาว 30 หน่วย แบ่งเป็น 3 ส่วน เท่า ๆ กัน

ส่วนที่แรเงามีพื้นที่เท่าใด (กำ�หนด = 3.14)

แนวคิด พลิกครึ่งวงกลมส่วนล่างจากขวาไปซ้าย จะได้วงกลม 1 วงกลม 2 และวงกลม 3 ดังรูป

พื้นที่ส่วนที่แรเงา เท่ากับ พื้นที่ของวงกลม 2 ลบด้วยพื้นที่ของวงกลม 1

ซึ่งวงกลม 2 รัศมียาว 10 หน่วย และวงกลม 1 รัศมียาว 10 ÷ 2 = 5 หน่วย

ดังนั้น ส่วนที่แรเงามีพื้นที่ (3.14 × 10 × 10) - (3.14 × 5 × 5) = 235.5 ตารางหน่วย

จากยุทธวิธขี า้ งต้นเป็นยุทธวิธพ
ี น
้ื ฐานสำ�หรับผูเ้ รียนชัน
้ ประถมศึกษา ผูส้ อนจำ�เป็นต้องสอดแทรกยุทธวิธกี ารแก้ปญ
ั หา
ที่เหมาะสมกับพัฒนาการของผู้เรียน เช่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 2 ผู้สอนอาจเน้นให้ผู้เรียนใช้การวาดรูป
หรือการแจกแจงรายการช่วยในการแก้ปัญหา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – 6 ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนใช้การแจกแจงรายการ
การวาดรูป การหาแบบรูป การเดาและตรวจสอบ การคิดย้อนกลับ การตัดออก หรือการเปลี่ยนมุมมอง

ปัญหาทางคณิตศาสตร์บางปัญหานั้นอาจมียุทธวิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหาได้หลายวิธี ผู้เรียนควรเลือกใช้ยุทธวิธี
ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัญหา และในบางปัญหาผู้เรียนอาจใช้ยุทธวิธีมากกว่า 1 ยุทธวิธี เพื่อแก้ปัญหานั้น

226 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

6. การใช้เทคโนโลยีในการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา
ในศตวรรษที่ 21 ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำ�ให้
การติดต่อสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางช่องทางต่าง ๆ สามารถทำ�ได้อย่างสะดวก ง่ายและรวดเร็ว โดยใช้สื่ออุปกรณ์
ที่ทันสมัย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ก็เช่นกัน ต้องมีการปรับปรุงและปรับตัวให้เข้ากับบริบททางสังคมและ
เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจำ�เป็นต้องอาศัยสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ให้น่าสนใจ สามารถนำ�เสนอเนื้อหาได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้และช่วยลดภาระงาน
บางอย่างทั้งผู้เรียนและผู้สอนได้ เช่น การใช้เครือข่ายสังคม (Social network : Line, Facebook, Twitter)
ในการสั่งการบ้าน ติดตามภาระงานที่มอบหมาย หรือใช้ติดต่อสื่อสารกันระหว่างผู้เรียน ผู้สอน และผู้ปกครอง
ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทุกที่ทุกเวลา ทั้งนี้ผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาควรบูรณาการและประยุกต์ใช้สื่อ
เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ มีความสามารถในการประยุกต์ใช้
เทคโนโลยีเพื่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและหลากหลาย ตลอดจนพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

สถานศึกษามีบทบาทอย่างยิ่งในการจัดสิ่งอำ�นวยความสะดวก ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้สอนและผู้เรียนได้มีโอกาส
ในการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ให้มากที่สุด เพื่อจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำ�นวย
ต่อการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศให้มากที่สุด สถานศึกษาควรดำ�เนินการ ดังนี้

1) จัดให้มีห้องปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์ที่มีสื่อ อุปกรณ์ เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น ระบบอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์


โปรเจคเตอร์ ให้เพียงพอกับจำ�นวนผู้เรียน
2) จัดเตรียมสื่อ เครื่องมือประกอบการสอนในห้องเรียนเพื่อให้ผู้สอนได้ใช้ในการนำ�เสนอเนื้อหาในบทเรียน เช่น
คอมพิวเตอร์ โปรเจคเตอร์ เครื่องฉายทึบแสง เครื่องขยายเสียง เป็นต้น
3) จัดเตรียมระบบสื่อสารแบบไร้สายที่ปลอดภัยโดยไม่มีค่าใช้จ่าย (Secured-free WIFI) ให้เพียงพอ กระจาย
ทั่วถึงครอบคลุมพื้นที่ในโรงเรียน
4) ส่งเสริมให้ผู้สอนนำ�สื่อเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รวมทั้งสนับสนุนให้ผู้สอน เข้ารับการอบรม
อย่างต่อเนื่อง
5) ส่งเสริมให้ผู้เรียนและผู้ปกครองได้ตรวจสอบ ติดตามผลการเรียน การเข้าชั้นเรียนผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น
ผู้ปกครองสามารถเข้าเว็บมาดูกล้องวิดีโอวงจรปิด (CCTV) การเรียนการสอนของห้องเรียนที่บุตรของตนเอง
เรียนอยู่ได้
ผู้สอนในฐานะที่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียน จำ�เป็นต้องศึกษาและนำ�สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์
ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้อง เหมาะสม กับสภาพแวดล้อม และความพร้อมของโรงเรียน ผู้สอนควร
มีบทบาท ดังนี้
1) ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสื่อ เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อนำ�มาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
2) จัดหาสื่อ อุปกรณ์ โปรแกรม แอปพลิเคชันต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสม เพื่อนำ�เสนอเนื้อหาให้ผู้เรียน
สนใจและเข้าใจมากยิ่งขึ้น
3) ใช้สื่อ เทคโนโลยีประกอบการสอน เช่น ใช้โปรแกรม PowerPoint ในการนำ�เสนอเนื้อหา ใช้ Line
และ Facebook ในการติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนและผู้ปกครอง
4) ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้สื่อ เทคโนโลยีในการเรียน เช่น เครื่องคิดเลข โปรแกรม The Geometer’s
Sketchpad (GSP) และ GeoGebra เป็นต้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 227
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

5) ปลูกจิตสำ�นึกให้ผู้เรียนรู้จักใช้สื่อเทคโนโลยีอย่างถูกต้อง เหมาะสมกับเวลาและสถานที่ การใช้งานอย่างประหยัด


เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เพื่อส่งเสริมการนำ�สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับ
ชั้นประถมศึกษา ให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะ บรรลุผลตามจุดประสงค์ของหลักสูตร และสามารถนำ�ความรู้ที่ได้ไป
ประยุกต์ใช้ทั้งในการเรียนและใช้ในชีวิตจริง ผู้สอนควรจัดหาและศึกษาเกี่ยวกับสื่อ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ควรมีไว้ใช้
ในห้องเรียน เพื่อนำ�เสนอบทเรียนให้น่าสนใจ สร้างเสริมความเข้าใจให้แก่ผู้เรียน ทำ�ให้การสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

7. สถิติในระดับประถมศึกษา
ในปัจจุบัน เรามักได้ยินหรือได้เห็นคำ�ว่า “สถิติ” อยู่บ่อยครั้ง ทั้งจากโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรืออินเทอร์เน็ต
ซึ่งมักจะมีข้อมูลหรือตัวเลขเกี่ยวข้องอยู่ด้วยเสมอ เช่น สถิติจำ�นวนนักเรียนในโรงเรียน สถิติการมาโรงเรียนของนักเรียน
สถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วงเทศกาลต่าง ๆ สถิติการเกิดการตาย สถิติผู้ป่วยโรคเอดส์ เป็นต้น จนทำ�ให้
หลายคนเข้าใจว่า สถิติ คือข้อมูลหรือตัวเลข แต่ในความเป็นจริง สถิติยังรวมไปถึงวิธีการที่ว่าด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล
การนำ�เสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการตีความหมายข้อมูลด้วย ซึ่งผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถิติจะ
สามารถนำ�สถิติไปช่วยในการตัดสินใจ การวางแผนดำ�เนินงาน และการแก้ปัญหาในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการดำ�เนินชีวิต
ธุรกิจ ตลอดจนถึงการพัฒนาประเทศ เช่น ถ้ารัฐบาลต้องการเพิ่มรายได้ของประชากร จะต้องวางแผนโดยอาศัยข้อมูล
สถิติประชากร สถิติการศึกษา สถิติแรงงาน สถิติการเกษตร และสถิติอุตสาหกรรม เป็นต้น

ดังนั้นสถิติจึงเป็นเรื่องสำ�คัญและมีความจำ�เป็นที่ต้องจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ
และสามารถนำ�สถิติไปใช้ในชีวิตจริงได้ ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง
พ.ศ. 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา จึงจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเก็บรวบรวม
ข้อมูลและการนำ�เสนอข้อมูล ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานสำ�หรับการเรียนสถิติในระดับที่สูงขึ้น โดยในการเรียนการสอน
ควรเน้นให้ผู้เรียนใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมด้วย

การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting Data)

ในการศึกษาหรือตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ จำ�เป็นต้องอาศัยข้อมูลประกอบการตัดสินใจทั้งสิ้น จึงจำ�เป็นที่ต้องมีการเก็บ


รวบรวมข้อมูล ซึ่งมีวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสำ�รวจ การสังเกต การสอบถาม การสัมภาษณ์ หรือการทดลอง ทั้งนี้
การเลือกวิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจะขึ้นอยู่กับสิ่งที่ต้องการศึกษา

การนำ�เสนอข้อมูล (Representing Data)

การนำ�เสนอข้อมูลเป็นการนำ�ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาจัดแสดงให้มีความน่าสนใจ และง่ายต่อการทำ�ความเข้าใจ
ซึ่งการนำ�เสนอข้อมูลสามารถแสดงได้หลายรูปแบบ โดยในระดับประถมศึกษาจะสอนการนำ�เสนอข้อมูลในรูปแบบของ
แผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิแท่ง แผนภูมิรูปวงกลม กราฟเส้น ตาราง ซึ่งในหลักสูตรนี้ได้มีการจำ�แนกตารางออกเป็น
ตารางทางเดียวและตารางสองทาง

228 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

ตาราง (Table)
การบอกความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ กับจำ�นวนในรูปตาราง เป็นการจัดตัวเลขแสดงจำ�นวนของสิ่งต่าง ๆ
อย่างมีระเบียบในตาราง เพื่อให้อ่านและเปรียบเทียบง่ายขึ้น

- ตารางทางเดียว (One - Way Table)


ตารางทางเดียวเป็นตารางที่มีการจำ�แนกรายการตามหัวเรื่องเพียงลักษณะเดียว เช่น จำ�นวนนักเรียนของ
โรงเรียนแห่งหนึ่งโดยจำ�แนกตามชั้น

จำ�นวนนักเรียนของโรงเรียนแห่งหนึ่ง

ชั้น จำ�นวน (คน)

ประถมศึกษาปีที่ 1 65
ประถมศึกษาปีที่ 2 70
ประถมศึกษาปีที่ 3 69
ประถมศึกษาปีที่ 4 62
ประถมศึกษาปีที่ 5 72
ประถมศึกษาปีที่ 6 60

รวม 398

- ตารางสองทาง (Two – Way Table)


ตารางสองทางเป็นตารางที่มีการจำ�แนกรายการตามหัวข้อเรื่อง 2 ลักษณะ เช่น จำ�นวนนักเรียนของ
โรงเรียนแห่งหนึ่งจำ�แนกตามชั้นและเพศ

จำ�นวนนักเรียนของโรงเรียนแห่งหนึ่ง

เพศ
ชั้น รวม (คน)
ชาย (คน) หญิง (คน)

ประถมศึกษาปีที่ 1 38 27 65
ประถมศึกษาปีที่ 2 33 37 70
ประถมศึกษาปีที่ 3 32 37 69
ประถมศึกษาปีที่ 4 28 34 62
ประถมศึกษาปีที่ 5 32 40 72
ประถมศึกษาปีที่ 6 25 35 60

รวม 188 210 398

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 229
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

บรรณานุกรม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์


(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร.
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำ�กัด.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. พิมพ์ครั้งที่ 4.


กรุงเทพมหานคร. องค์การค้าของ สกสค.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). แบบฝึกทักษะรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ เล่ม 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.


พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร. องค์การค้าของ สกสค.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). แบบฝึกทักษะรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ เล่ม 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.


พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร. องค์การค้าของ สกสค.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. พิมพ์ครั้งที่ 2.


กรุงเทพมหานคร. องค์การค้าของ สกสค.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. พิมพ์ครั้งที่ 3.


กรุงเทพมหานคร. องค์การค้าของ สกสค.
Charlotte Collars; Kody Phong Lee; Lee Ngan Hoe; Ong Bee Leng; Tan Cheow Seng. (2014).
nd
Sharping Maths Coursebook 5A. 2 Edition. Singapore.
Charlotte Collars; Kody Phong Lee; Lee Ngan Hoe; Ong Bee Leng; Tan Cheow Seng. (2014).
nd
Sharping Maths Coursebook 5B. 2 Edition. Singapore.
nd
Lai Chee Chong; Tan Kim Lian. (2011). Discovery Maths Textbook 5A. 2 Edition. Times Printers. Singapore.
nd
Lai Chee Chong; Tan Kim Lian. (2011). Discovery Maths Textbook 5B. 2 Edition. Times Printers. Singapore.
th
Gakko Tosho Co.Ltd. (2016). Mathematics for The Elementary School 5 Grade. Japan. Gakko Tosho
th
Gakko Tosho Co.Ltd. (2016). Mathematics for The Elementary School 6 Grade. Japan. Gakko Tosho.
KEIRINKAN Co., Ltd. (2013). Fun with MATH 5A for Elementary School. Osaka. Japan. Shinko Shuppansha
KEIRINKAN.
KEIRINKAN Co., Ltd. (2013). Fun with MATH 5B for Elementary School. Osaka. Japan. Shinko Shuppansha
KEIRINKAN.

230 | สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2

คณะผู้จัดทำ� คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ เล่ม ๒ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕


กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑

คณะผู้จัดทำ�

คณะทีป
่ รึกษา
ศาสตราจารย์ชก
ู จิ ลิมปิจ�ำ นงค์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นายประสาท สอ้านวงศ์ ข้าราชการบำ�นาญ กระทรวงศึกษาธิการ

คณะผูย
้ กร่างคูม
่ อ
ื ครู
นายนนท์วริศ เกียรติศรุตสกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
นางสาวศิรวิ รรณ จันทร์แก่น มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
นายสมเกียรติ เพ็ญทอง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นายภีมวัจน์ ธรรมใจ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวอุษณีย์ วงศ์อามาตย์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวกชพร วงศ์สว่างศิร
ิ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะผูพ
้ จ
ิ ารณาคูม
่ อ
ื ครู
รองศาสตราจารย์นพพร แหยมแสง ข้าราชการบำ�นาญ มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง
นายนิรน
ั ดร์ ตัณฑัยย์ ข้าราชการบำ�นาญ โรงเรียนวัดหงส์รต
ั นาราม กรุงเทพมหานคร
นางสาวจิราพร พรายมณี ข้าราชการบำ�นาญ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนน
ั ทา
นางสาวจินดา พ่อค้าชำ�นาญ ข้าราชการบำ�นาญ โรงเรียนศึกษานารีวท
ิ ยา กรุงเทพมหานคร
นายณัฐ จัน
่ แย้ม ข้าราชการบำ�นาญ โรงเรียนไชยฉิมพลีวท
ิ ยาคม กรุงเทพมหานคร
นายสมเกียรติ เพ็ญทอง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นายภีมวัจน์ ธรรมใจ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวอุษณีย์ วงศ์อามาตย์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวกชพร วงศ์สว่างศิร
ิ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะบรรณาธิการ
นายนิรน
ั ดร์ ตัณฑัยย์ ข้าราชการบำ�นาญ โรงเรียนวัดหงส์รต
ั นาราม กรุงเทพมหานคร
นางสาวจิราพร พรายมณี ข้าราชการบำ�นาญ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนน
ั ทา
นายสมเกียรติ เพ็ญทอง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ
นางพรนิภา เหลืองสฤษดิ
์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นางสาวละออ เจริญศรี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ออกแบบรูปเล่ม
บริษท
ั ดิจต
ิ อล เอ็ดดูเคชัน
่ จำ�กัด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 231

You might also like