You are on page 1of 70

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายผังเมือง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อารยา สุขสม


คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ประเด็นการศึกษา

1. ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายผังเมือง
2. การวางและจัดทำผังเมืองตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562
3. ปัญหาทางกฎหมายที่น่าสนใจเกี่ยวกับการใช้บงั คับกฎหมายผังเมือง
ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายผังเมือง
เซ็นทรัลพาร์ก (Central Park),
นิวยอร์ก (New York City), USA

เซ็ น ทรั ล พาร์ ก คื อ สวนสาธารณะ


ขนาด 843 เอเคอร์ ซึ่งตั้งอยู่ในเขต
แมนฮั ต ตั น กลางใจเมื อ งของนคร
นิ ว ยอร์ ก เปรี ย บเสมื อ นโอเอซิ ส
สำหรั บ ชาวแมนฮั ต ตั น มี แ หล่ ง
อำนวยความสะดวก ร้านอาหาร ม้า
หมุน อ่างเก็บน้ำ เรือปั่น จักรยานน้ำ
สวนสัตว์ โรงละครกลางแจ้ง กอล์ฟ
ลานสเก็ตน้ำแข็ง

ที่มา : https://travel.mthai.com/world-travel/141867.html
อิปามาเน บีช (Ipanema Beach)
เมืองรีโอเดจาเนโร (Rio de Janeiro) ประเทศบราซิล

อิปามาเน บีช เป็นอีกหนึ่งชายหาดที่ได้รับขนานนามว่า


สวยที ่ ส ุ ด ในโลก ซึ ่ ง ความยาวกว่ า 2.25 ไมล์ พื ้ น ที ่
ชายหาดแห่งนี้จะมีหาดทรายขาวอยู่ตรงกลางแบ่งแยก
อาคารที่เป็นสัดส่วนอีกฝั่ง

ที่มา : https://travel.mthai.com/world-
travel/141867.html
กรุงอัมสเตอร์ดัมส์
(Amsterdam)
ประเทศเนเธอร์แลนด์

กรุงอัมสเตอร์ดัม ส์ ตั้งอยู่ริมฝั่ง แม่น้ำ


อัมสเติล (Amstel) โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อ
ประมาณคริ ส ต์ ศ ตวรรษที ่ 12 เมื อ ง
แห่งนี้เป็นศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์
ที ่ ส ำคั ญ แห่ ง หนึ ่ ง ของทวี ป ยุ โ รป
อย่างไรก็ตาม กรุงอัมสเตอร์ดัมส์เป็น
พื้นที ่ซึ่ง ตั้งอยู่ ต่ำ กว่าระดับน้ำ ทะเล
ดังนั้น วิศกรชาวดัทช์ในสมัยก่อนจึงได้
ขุ ด คู ค ลองเพื ่ อ ระบายน้ ำ และเป็ น
เส้นทางคมนาคม บ้านเรือนริมคลองใน
เมืองเก่าของกรุงอัมสเตอร์ดัมส์ได้รับ
การยกย่องให้เป็นมรดกโลก และได้รับ
การขนานนามว่าเวนิสแห่งยุโรปเหนือ
ในเวลาต่อมา

ที่มา : https://travel.mthai.com/world-travel/141867.html
กรุงปารีส (Paris)
ประเทศฝรัง่ เศส (France)

กรุงปารีส เป็นเมืองที่ ได้รับการวางผั ง


เมืองดีที่สุดเมืองหนึ่งของโลก โดยเป็น
การผสมระหว่ า งผั ง เมื อ งแบบตาราง
และวงเวียน และเป็นหนึ่งในศูนย์กลาง
ทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่ล้ำสมัย
แห่งหนึ่งของโลก

ที่มา : https://travel.mthai.com/world-travel/141867.html
เมืองบาร์เซโลน่า (Barcelona)
ประเทศสเปน (Spain)

เมืองบาร์เซโลน่า มีฐานะเป็นเมืองหลวงของ
แคว้นกาตาลุญญา ซึ่งตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเล
เมดิเตอร์เรเนียนของคาบสมุทรไอบีเรีย เมือง
แห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นผั งเมืองดีที่สุดเมื องหนึ่ง
ของโลก และเป็นต้นแบบของการวางผังเมือง
แบบตารางของหลายๆ เมืองทั ่วโลกในเวลา
ต่อมา

ที่มา : https://travel.mthai.com/world-travel/141867.html
1. ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายผังเมือง

1.1 ความหมายและวัตถุประสงค์ของกฎหมายผังเมือง
1.2 เหตุผลและความจำเป็นของการมีกฎหมายผังเมือง
1.3 ลักษณะสำคัญของกฎหมายผังเมือง
1.4 ความสัมพันธ์ของกฎหมายผังเมืองกับกฎหมายอื่นๆ
1.5 พัฒนาการของกฎหมายผังเมืองในประเทศไทย
1.1 ความหมายและวัตถุประสงค์ของกฎหมายผังเมือง

▪ กฎหมายผังเมือง หมายถึง กฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์ทางกฎหมายและหน่ว ยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการ


บริหารจัดการและการพัฒนาที่ดินหรือพื้นที่ของความเป็นความเมือง หรือการพัฒนาทางด้านกายภาพของเมือง
▪ ในแง่นี้ กฎหมายผังเมือง จึงเป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นเพื่อจัดการปัญหาต่างๆ อันเป็นผลกระทบที่เกิดมาจากการใช้
ประโยชน์ในที่ดิน โดยมุ่งกำหนดกรอบการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื ่อแก้ปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาความปลอดภัย
สาธารณะ ความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การอนุรักษ์มรดกทางธรรมชาติหรือที่
มนุษย์ได้ก่อสร้างไว้ การทำประโยชน์จากการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ การทำประโยชน์เกี่ยวกับป่าไม้ เป็นต้น
▪ ด้วยวัตถุประสงค์ของกฎหมายผังเมืองในข้างต้น ทำให้กฎหมายผังเมืองมีความแตกต่างจากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กับการใช้ประโยชน์ในที่ดินฉบับอื่นๆ ซึ่งมุ่งกำหนดหลักเกณฑ์เรื่องใดเรื่องหนึ่งไว้เป็นการเฉพาะ เช่น กฎหมาย
เกี่ยวกับการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย ฯลฯ เพราะกฎหมายผังเมื องเป็นกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์ใ น
การดำเนินการหลายๆ เรื่องไปพร้อมกันเพื่อการบริหารจัดการหรือการพัฒนาของเมืองบนพื้นฐานของความ
ประสานกลมกลืนของเมืองโดยภาพรวม
1.2 เหตุผลและความจาเป็นของการมีกฎหมายผังเมือง
1) เกิดการพัฒนาความเป็นเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
▪ ผลพวงจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการอพยพกลุ่มประชากรจากชนบทสู่เมือง ทำให้เกิดผลกระทบต่อ
สังคมทั้งในเรื่องภูมิศาสตร์และเศรษฐกิจ ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัด เจนในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา โดยพบว่า
ในปีค.ศ. 1900 นั้น ประชากรในโลกไม่ถึง 10% อาศัยอยู่ในเมือง ต่อมาในช่วงปีค.ศ. 2000 อัตราดังกล่าวได้
เปลี่ยนไปโดยพบว่ามีประชากรโลกอาศัยอยู่ในเขตเมืองมากกว่า 50%
▪ หากพิจารณาจากลักษณะของการพัฒนาความเป็นเมืองในช่วงศตวรรษที่ 20 จะพบว่าการพัฒนาเมืองนั้น มิได้
เป็นการพัฒนาเมืองขึ้นมาใหม่ หากแต่มีลักษณะเป็นการพัฒนาความเป็นเมืองโดยการขยายตัวของเมืองไปยังเขต
พื้นที่เกษตรกรรมหรือเขตชนบทที่อยู่โดยรอบมากกว่า ทั้งนี้เพราะความต้องการพื้นที่เพิ่มขึ้นของประชากรและใน
ขณะเดียวกันการทำเกษตรกรรมเริ่มลดน้อยลง จึงทำให้ความเป็นเมืองได้ขยายไปยังพื้นที่ชนบทนอกเมือง เกิด
กลายเป็นชุมชนเมืองร่วมกันในลักษณะที่เป็นเมืองศูนย์กลาง และบริเวณชานเมือง ซึ่งบริเวณชานเมืองเหล่ านี้
มักจะไม่ได้เป็นพื้นที่ติดต่อกันโดยตรง แต่จะมีพื้นที่ชนบทขั้นไว้
▪ กฎหมายผังเมือง จึงไม่ได้เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเมืองแต่เพียงอย่างเดียว แต่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ ซึ่งอยู่รอบนอก
เขตเมืองและชานเมือง จึงทำให้กฎหมายผังเมืองต้องครอบคลุมไปยังพื้นที่ดังกล่าวด้วย
1.2 เหตุผลและความจาเป็นของการมีกฎหมายผังเมือง (ต่อ)
2) การเปลี่ยนแปลงของเมืองส่งผลทาให้เกิดการปรับตัวใหม่ของการผังเมือง
▪ ในแง่เป้าหมายของการผังเมือง : เป้าหมายมุ่งเน้นตอบโจทย์ความต้องการร่วมกันของประชากรภายในรัฐ คือ
(1) ด้านการสาธารณสุข คือ การทำให้ประชากรเมืองอาศัยอยู่ในเมืองสะอาด มีสุขภาพกายและจิตใจที่ดี
(2) ด้านทางสังคม คือ การจัดสรรให้ประชากรเมืองอยู่ร่วมกันโดยหลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติทางสังคม สร้าง
หลักประกันหรือเงื่อนไขในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานที่ดีสำหรับประชากรทุกกลุ่มที่อาศัยร่วมกัน
(3) ด้านเศรษฐกิจ คือ การทำให้ประชากรเมืองได้รับบริการสิ่งสาธารณู ปโภคและสาธารณูปการ และบริการต่างๆ
จากรัฐที่มีประสิทธิภาพ
(4) ด้านวัฒนธรรมและความสวยงามกลมกลืนของเมือง คือ มุ่งสร้างหลักประกันว่าประชากรเมืองจะได้อาศัยอยู่ ใน
เมืองที่มีทัศนวิสัยที่ควรค่าแก่การมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความกลมกลืนสอดคล้องระหว่างธรรมชาติกับสิ่งปลูกสร้าง
1.2 เหตุผลและความจาเป็นของการมีกฎหมายผังเมือง (ต่อ)

▪ ในแง่วิธีการหรือมาตรการในการดาเนินงานเกี่ยวกับการผังเมือง
แต่เดิมนั้น การผังเมืองจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินการสร้างเมือ งใหม่โดยอาศัยมาตรการทางผังเมืองที่มีลัก ษณะเป็น
เรื่องๆ หรือแยกส่วนกันไป เช่น การวางผังเมืองเพื่อแก้ไขปัญหาจราจร ป้องกันภยันตรายหรือรักษาความสะอาดของเมือง เป็น
ต้น
ปัจจุบัน การผังเมือง เป็นความพยายามในการวางผังเมืองเพื่อแก้ไขปัญ หาหลายๆ เรื่องในเวลาเดียวกันบนพื้นฐานของ
การบริหารจัดการเมืองโดยภาพรวม ด้วยวิธีการจัดทำแผนที่และแผนผังที่พิจารณาองค์ประกอบของการบริหารจัดการเมืองใน
ทุกๆ ด้านให้มีความสอดคล้องกัน
1.2 เหตุผลและความจาเป็นของการมีกฎหมายผังเมือง (ต่อ)
▪ ในแง่ของพื้นที่การวางผังเมือง
แต่เดิมการผังเมืองจะถูกจำกัดขอบเขตอยู่เพียงแค่การบริหารจัดการภายในเมือง แต่ผลพวงจากการพัฒนาความเป็น
เมืองแบบก้าวกระโดดโดยปราศจากการควบคุมที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนภายหลั งสงครามโลก ทำให้การพัฒนาความเป็นเมืองได้
ขยายขอบเขตจากเมืองสู่ชนบท ดังนั้น ขอบเขตของกฎหมายผังเมืองจึงพิจารณาทั้งพื้นที่ของเมือง รวมถึงพื้นที่ชนบทหรือ
เกษตรกรรมที่รองรับ การขยายตัวของเมืองในอนาคต หรือการเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน รวมถึง พื้นที่
เกษตรกรรมที่ควรค่าแก่การบำรุงรักษาหรือสงวนไว้ด้วย
ความเชื่อมโยงของพื้นที่เหล่านี้ ทำให้การบริหารจัดการเมืองไม่อาจเกิดความเป็นเอกภาพได้โดยลำพัง แต่จะต้อ งทำ
แผนผังการบริหารจัดการพื้นที่เมืองและบริเวณโดยรอบในภาพรวมเสียก่อน ด้วยการอาศัยความรู้ที่เป็นสหวิทยาการเช่น
สถาปัตย์ สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น นอกจากนั้น ยังต้องอาศัยเรื่องทางเทคนิค การบริหาร
การเงินการคลังเป็นเครื่องมือในการดำเนินการอีกด้วย
1.3 ลักษณะของกฎหมายผังเมือง

1) กฎหมายผังเมืองเป็นกฎหมายมหาชน
เนื่องจากรัฐ มีภารกิจสำคัญคือ การกำหนดนโยบายและดำเนินกิจ กรรมต่างๆ ตามนโยบายเหล่านั้นเพื่อ
ประโยชน์สาธารณะ ดังนั้น กรณีจึงมีความเป็นไปได้ที่การกำหนดนโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดินตามโครงการบริ หาร
จัดการเมืองโดยหน่วยงานของรัฐจะไม่สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ ดินซึ่งผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองประโยชน์
ที่ดินนั้นประสงค์จะใช้
เพื่อให้การดำเนินภารกิจของรัฐเกิดขึ้นได้ รัฐจึงจำเป็นต้องมีอำนาจมหาชน หรือที่เรียกว่า “อำนำจพิเศษในกำร
ควบคุมทำงผังเมือง” ซึ่งเป็นอำนาจในการกำหนดกฎเกณฑ์ทางกฎหมายเกี่ยวกับ การใช้สิทธิของผู้ซึ่งเป็นเจ้าของหรือ
ผู้ครอบครองที่ดิน ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการบริหารจัด การเมืองดังกล่าว ในแง่นี้ กฎหมายผังเมื องจึง
เป็นกฎหมายมหาชนเพราะมีการใช้อำนาจมหาชนดำเนินการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์มหาชน
1.3 ลักษณะของกฎหมายผังเมือง (ต่อ)
2) กฎหมายผังเมืองเป็นกฎหมายที่มีลักษณะเป็นพลวัตร
▪ การบริหารจัดการเพื่อแก้ปัญหาของเมืองจะพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ซึ่งหมายความว่า กฎหมายของ
รัฐจะต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นๆ
▪ การกำหนดเนื้อหาของการผังเมือง เป็นการกำหนดในเชิงเอกสาร หรือ ที่เรียกว่า “เอกสารทางผังเมือง” ซึ่งเป็น
เอกสารที่จัดทำขึ้นภายในกรอบของการวางแผนในช่วงเวลาหนึ่งๆ ในแง่นี้ เอกสารทางผังเมืองจึงเป็นเอกสารที่มี
ความเหมาะสมกับการพัฒนาเมืองเพียงแค่ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น หรืออาจมีผลอยู่ในระยะเวลาที่คาดการณ์
ไว้เช่นระหว่าง 5 ปีถึง 30 ปี ดังนั้น กฎหมายผังเมืองจึงเป็นกฎหมายที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงบ่อย
▪ ในทางปฏิบัติ กฎหมายผังเมืองนั้นเองจะมีบทบัญญัติให้สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงผังเมืองได้เมื่อเมืองมีการ
เปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ เช่น การกำหนดให้มีการทบทวนผังเมื องด้วยการกำหนดอายุการใช้บังคับของผัง
เมืองนั้นๆ เป็นต้น
1.3 ลักษณะของกฎหมายผังเมือง (ต่อ)
3) กฎหมายผังเมืองเป็นกฎหมายที่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติ
▪ เนื่องจากภารกิจของกฎหมายผังเมืองคือ การกำหนดกฎเกณฑ์ที่มีผลกระทบต่อที่ดิน ซึ่งการกระทบดังกล่าวนั้นไม่
อาจทำให้เหมือนกันในทุกกรณีและทุกพื้นที่ได้ ดังนั้น กฎหมายผังเมืองจึงต้องเลือกปฏิบัติ เช่น เมื่อการกำหนดข้อ
ห้ามหรือจำกัดการใช้สิทธิในการก่อสร้างอาคารบริเวณใด ข้อกำหนดดังกล่าวจะส่งผลอย่างยิ่งต่อมูลค่าที ่ดินนั้น ซึ่ง
จะทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันอย่างมากต่อเจ้าของที่ดิน ซึ่งในทางปฏิบัตินั้น มักจะเป็นการกำหนดโดยไม่มีการ
เยียวยาความเสียหายใดๆ เลย ทั้งนี้เป็นเพราะรัฐเห็นว่า หากจะต้องเยี ยวยาแล้วรัฐย่อมไม่อาจอยู่ในวิสัยที่ จะมี
หลักประกันทางการเงินที่จะเยียวยาได้
▪ ในทางผังเมืองนั้น หากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว รัฐจะต้องอาศัยมาตรการต่างๆ เพื่อเรียกประโยชน์จากเจ้าของ
ทรัพย์สินที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากข้อกำหนดดังกล่าว และสร้างสมดุลระหว่างเจ้าของทรัพย์สินที่มูลค่าเพิ่มขึ้นกับเจ้าของ
ทรัพย์สินที่มูลค่าลดลงอันเป็นผลมาจากข้อกำหนดนั้น
1.3 ลักษณะของกฎหมายผังเมือง (ต่อ)
4) กฎหมายผังเมืองเป็นกฎหมายที่มีลักษณะเป็นภูมินิติศาสตร์
▪ โดยทั่วไปแล้ว กฎหมายผังเมืองจะกำหนดกระบวนการวางผังเมืองที่เหมือนกันตลอดทั้งประเทศ แต่ในส่วน
เนื้อหาของกฎเกณฑ์ในผังเมืองนั้นจะมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้เพราะกฎหมายผังเมืองเป็นกฎหมายที่คาดการณ์
เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เป็นปัจจุบันของพื้นที่ที่วางผังเมือง ดังนั้น กฎหมายผังเมืองจึงต้องปรับเปลี่ยน
กฎเกณฑ์ไปตามพื้นที่ที่วางผังเมืองเช่นกัน
▪ การวางผังเมืองจึงจำเป็นต้องพิจารณาถึงลักษณะพิเศษของพื้นที่ที่วางผังเมืองด้วย เช่น การแบ่งพื้นที่ออกเป็น
“ย่าน” ที่มีผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์พื้นที่ซึ่งมีความแตกต่างกัน และกำหนดกฎเกณฑ์ทางผังเมืองให้
สอดคล้องกับกับแต่ละย่านนั้น
▪ ในบางกรณี รัฐอาจมอบอำนาจให้องค์กรเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจออกใบอนุญาตการใช้ประโยชน์ในที่ดินมีอำนาจ
ในการพิจารณากฎเกณฑ์ให้เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของพื้นที่ได้ ด้วยการกำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ให้
องค์กรเจ้าหน้าที่นั้นได้เลือกเอง ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการนำไปสู่การใช้อำนาจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ง่ายขึ้นด้วย
1.4 ความสัมพันธ์ของกฎหมายผังเมืองกับกฎหมายอื่นๆ
รัฐธรรมนูญ

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
1) กฎหมายผังเมืองกับรัฐธรรมนูญ
2) กฎหมายผังเมืองกับกฎหมายอื่นๆ
➢กฎหมายผังเมืองกับกฎหมายควบคุมอาคาร
พระราชบัญญัติ
➢กฎหมายผังเมืองกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม
➢กฎหมายผังเมืองกับกฎหมายที่เกี่ยวกับการประกอบกิจการ
พระราชกฤษฎีกา

กฎกระทรวง
ประกาศกระทรวง / ข้อบังคับ/ ระเบียบ
/ ข้อบัญญัติท้องถิ่น/ ข้อบังคับขององค์การต่างๆ
1) กฎหมายผังเมืองกับรัฐธรรมนูญ
▪ เนื่องจากกฎหมายผังเมือง เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการภาพรวมของที่ดินหรือพื้นที่เมืองและบริเ วณที่
เกี่ยวข้อง โดยพยายามประสานผลประโยชน์มหาชนและประโยชน์เอกชนในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อแก้ ไข
ปัญหาความขัดแย้งและความเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการใช้ท ี่ดิน โดยการวางโครงการการใช้ประโยชน์
ที่ดินทั้งในปัจจุบันและอนาคต ดังนั้น เพื่อให้บรรลุซึ่งวัต ถุประสงค์ดังกล่าว รัฐจึงต้องใช้อำนาจมหาชนจำกัด
สิทธิและเสรีภาพของบุค คลในบางเรื่อง ซึ่งจะกระทำได้แค่ไหนเพียงใด ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของ
รัฐธรรมนูญที่วางหลักเกณฑ์การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการผังเมืองเอาไว้
▪ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เริ่มมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการผังเมืองเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2511 และได้รับ
การบัญญัติต่อเนื่องมาจนถึงรัฐธรรมนูญฉบับปีพ .ศ. 2560 โดยมีการบัญญัติรับรองไว้ 2 ส่วนคือ ในส่วนที่
เกี่ยวข้องกับสิทธิและเสรีภาพ และในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
1) กฎหมายผังเมืองกับรัฐธรรมนูญ (ต่อ)
สิทธิและเสรีภาพที่เกี่ยวข้องกับการผังเมือง แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐที่เกี่ยวข้องกับการผังเมือง
เริ่มครั้งแรกในรัฐธรรมนูญฉบับปีพ.ศ. 2511 ในเรื่องการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อการผังเมือง การผังเมืองในแนวนโยบายฯ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญฉบับปี
▪ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อการผังเมือง :รัฐธรรมนูญให้ความคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล พ.ศ. 2550
แต่รัฐอาจตรากฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลเพื่อ ประโยชน์แก่การผังเมืองก็ได้ โดยถื อว่า ▪ ก่อนหน้าปีพ.ศ. 2550 นโยบายของรัฐเกี่ยวกับการผั งเมืองจะแฝงไว้
เป็นประโยชน์สาธารณะอย่างหนึ่ง (ม. 37 วรรคสาม รธน. 2560) ภายใต้ น โยบายอื ่ น ๆ ของรั ฐ เช่ น นโยบายเกี ่ ย วกั บ การรั ก ษา
▪ เสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ :รัฐธรรมนูญให้ความคุ้มครองเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ของบุคคล แต่ สภาพแวดล้อ ม นโยบายการรักษาสถานที่แ ละวัต ถุที่ มีค ่า ในทาง
รัฐอาจตรากฎหมายจำกัดเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่เพื่ อการผังเมืองได้ เช่น การกำหนดพื้นที่บาง ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และศิลปกรรม หรือนโยบายเกี่ยวกับการใช้
แห่งให้เน้นใช้ประโยชน์เพื่อการอื่น ที่มิใช่เพื่อการอยู่อาศัย เพื่อความเป็นสัดส่วนและความเป็น ประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งถือว่าเป็นการกล่าวถึงการผังเมืองโดยทางอ้อม
ระเบียบเรียบร้อย (ม. 38 วรรคสอง รธน. 2560) ▪ หลังปีพ.ศ. 2550 มีการบัญญัติเรื่องการผังเมือ งให้เป็นส่วนหนึ่งของ
▪ เสรีภาพในการเดินทาง :รัฐธรรมนูญให้ความคุ้มครองเสรีภาพในการเดินทางของบุคคล แต่รัฐอาจ แนวนโยบายพื้นฐานของรัฐอย่างชัดเจน
ตรากฎหมายจำกัดเสรีภาพในการเดินทางเพื่อการผังเมืองได้ เพราะการผังเมืองเป็นเรื่องเกี่ยวกั บการ ▪ ม. 85(3) รธน. 2550 บัญญัติว่า “รัฐต้องจัดให้ให้มีการวางผังเมือง
คมนาคมและการขนส่ง ดังนั้น รัฐอาจกำหนดหลักเกณฑ์บางอย่างได้เช่น การกำหนดระบบการเดินรถ พั ฒ นา และดำเนิ น การตามผั ง เมื อ งอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและ
ทางเดียวของถนน การกำหนดระบบการจัดเก็บค่าใช้ถนนในพื้นทีการจราจรหนาแน่นเพื่อลดปัญหา ประสิทธิผล เพื่อประโยชน์ในการดูแลรักษาทรัพยกรธรรมชาติอย่าง
การจราจร เป็นต้น (ม. 38 วรรคสอง รธน. 2560) ยั่งยืน”
▪ เสรีภาพในการประกอบอาชีพ : รัฐธรรมนูญให้ความคุ้มครองเสรีภาพในการประกอบอาชีพแก่บุคคล ▪ มาตรา 72(2) รธน. 2560 บัญญัติว่า “รัฐต้องจัดให้มีการวางผังเมือง
แต่รัฐอาจตรากฎหมายจำกัดเสรีภาพในการประกอบอาชีพเพื่อการผังเมืองได้ โดยถือว่าเป็นประโยชน์ ทุกระดับและบังคับการให้เป็นไปตามผังเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ
สาธารณะอย่างหนึ่ง เช่น การประกอบอาชีพเลี้ยงไก่หรือสุกรอาจก่อให้เกิดปัญหามลภาวะทางกลิ่นทำ รวมตลอดทั้ง พัฒนาเมือ งให้มีค วามเจริญ โดยสอดคล้อ งกับความ
ให้จำเป็นต้องจำกัดเสรีภาพในการประกอบอาชีพในบริเวณพื้นที่นั้น (ม.40 วรรคสอง รธน. 2560) ต้องการของประชาชนในพื้นที่
2) กฎหมายผังเมืองกับกฎหมายอื่นๆ

▪ เนื่องจากกฎหมายผังเมือง เป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์สำคั ญเพื่อบริหารจัดการความประสานกลมกลืน


ของเมืองโดยภาพรวม ซึ่งจะต้องไปเกี่ยวพันกับการกำหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ
ซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมายเฉพาะเรื่อง ดังนั้น กฎหมายผังเมืองจึง มีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมการใช้กฎหมาย
เฉพาะเรื่องที่มีผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ในที่ดิน
▪ มีข้อสังเกตว่า ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายผังเมืองกับกฎหมายเฉพาะเรื่องแต่ละฉบับจะอยู่ภายใต้ห ลัก
ความเป็นอิสระจากกันของกฎหมาย หมายถึง การอนุญาตภายใต้กฎหมายฉบับหนึ่งไม่ได้หมายความว่าจะ
เป็นการอนุญาตตามกฎหมายอีกฉบับหนึ่งด้วย ดังนั้น เพื่อแก้ ไขปัญหาเหล่านี้ มักจะมีการกำหนดความ
เชื่อมโยงระหว่างกฎหมายผังเมืองกับกฎหมายเฉพาะเรื่องแต่ละฉบับ เช่น กรณีกฎหมายควบคุมอาคาร จะมี
บทบัญญัติว่า หากมีกรณีที่กฎหมายผังเมืองขัดหรือแย้งกับ กฎหมายควบคุมอาคาร ให้ใช้กฎหมายผังเมื อง
บังคับ (ม. 12 พรบ.ควบคุมอำคำร พ.ศ. 2522) เป็นต้น
กฎหมายผังเมืองกับกฎหมายควบคุมอาคาร
▪ เนื่องจากการก่อสร้างอาคาร จะต้องกระทำลงบนที่ดิน ซึ่งการใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้นจะถูกกำหนดโดยกฎหมายผัง
เมือง ขณะเดียวกัน การกำหนดเรื่องสถานที่หรือบริเวณก่อสร้างอาคาร ตลอดจนรูปร่างหน้าตาภายนอกของอาคาร
ย่อมถูกกำหนดโดยกฎหมายผังเมืองเช่นกัน ดังนั้น กฎหมายผังเมืองกับกฎหมายควบคุมอาคารจึงมีความสัมพันธ์กันใน
ลักษณะมีการทับซ้อนกันบางส่วน เพราะกฎหมายควบคุมอาคารเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งปลูกสร้างถาวรที่มีการ
ก่อสร้างอันได้กระทำลงบนที่ดินนั่นเอง
▪ หากพิจารณา พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 พบว่ากฎหมายฉบับนี้ตราขึ้นโดยมีเหตุผลว่า “....เพื่อให้
เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเพื่อเพิ่มประสิทธิ ภาพในด้านการควบคุมเกี่ยวกับความมั่นคง
แข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกัน อัคคีภัย การสาธารณสุข การรักษาคุณ ภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การ
สถาปั ต ยกรรม และการอำนวยความสะดวกแก่ ก ารจราจร...” ซึ ่ ง แสดงให้ เ ห็ น ว่ า กฎหมายควบคุ ม อาคารมี
ความสัมพันธ์ในลักษณะทับซ้อนกับกฎหมายการผังเมืองด้วย
▪ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันในบางประเทศมีการกำหนดกฎเกณฑ์ในกฎหมายควบคุมอาคารใหม่ โดยจำกัดเพียงการเป็น
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการก่อสร้างอาคารโดยเน้นไปที่เรื่องโครงสร้างของอาคาร ความมั่นคงแข็งแรงของ
อาคารตลอดจนควบคุมการก่อสร้างอาคารเป็นสำคัญ ซึ่งถือว่าเป็นการกำหนดขอบเขตการใช้กฎหมายควบคุมอาคาร
ให้แคบลง จนบางครั้งอาจไม่ได้มีความเกี่ยวกับกฎหมายผังเมืองแต่อย่างใด
กฎหมายผังเมืองกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม

▪ กฎหมายสิ่งแวดล้อม เป็นกฎหมายที่มีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองสภาพแวดล้อมของการดำรงชีวิต
ครอบคลุมทั้งเรื่องธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ส่วนกฎหมายผังเมืองเป็นกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองสภาพ
ธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเช่นกัน ในแง่นี้กฎหมายทั้งสองฉบับจึงมีความสัมพันธ์กันในลั กษณะที่
กฎหมายสิ่งแวดล้อมเป็นกฎหมายหลักในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมโดยมีกฎหมายผังเมืองเป็นกฎหมายที่ มี
ความสำคัญรองลงมา
▪ แต่หากพิจารณาเฉพาะเรื่องการผังเมืองแล้ว จะพบว่า กฎหมายผังเมืองจะเป็นกฎหมายกำหนดในเรื่อง
สิ่งแวดล้อมที่มีความลักษณะที่เป็นมหภาค (macro) ส่วนกฎหมายสิ่งแวดล้อมจะเป็นมีลักษณะเป็นจุ ลภาค
(micro) หรือเป็นกฎหมายเฉพาะเรื่องที่กำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายผังเมือง
กฎหมายผังเมืองกับกฎหมายที่เกี่ยวกับการประกอบกิจการ

▪ เนื่องจากกฎหมายผังเมือง จะเป็นกฎหมายที่กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยจะกำหนดว่าผู้เป็นเจ้าของ


หรือผู้ครอบครองที่ดินนั้นจะสามารถใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการใด ได้หรือไม่ เพียงใด ดังนั้น การกำหนดการ
ใช้ประโยชน์ที่ดินของผังเมืองจึงเป็นการกำหนดเกี่ยวกับกิจ กรรมหรือกิจการที่จะอนุญาตหรือไม่อนุ ญาต
โดยตรง เช่น การกำหนดพื้นที่ในบริเวณหนึ่งเป็นพื้นที่สำหรับการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ก็จะกำหนด
ห้ามมิให้มีการประกอบกิจการโรงแรม เป็นต้น
▪ กฎหมายผังเมืองจึงมีความสัมพันธ์กับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกั บการประกอบกิจการต่างๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู ่กับ
ข้อกำหนดของผังเมืองเป็นสำคัญ เช่น กฎหมายว่าด้วยโรงงาน กฎหมายว่าด้วยโรงแรม กฎหมายว่าด้วยการ
สาธารณสุข กฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน กฎหมายว่าด้วยการรั กษาความสะอาดและความเป็นระเบียบ
เรียบร้อยของบ้านเมือง เป็นต้น
1.5 พัฒนาการของกฎหมายผังเมืองในประเทศไทย

▪ พระราชบัญญัติการผังเมืองและผังชนบท พ.ศ. 2495


▪ พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518
▪ พระราชบัญญัติการผังเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2525
▪ พระราชบัญญัติการผังเมือง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535
▪ พระราชบัญญัติการผังเมือง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558
▪ พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562
1.5 พัฒนาการของกฎหมายผังเมืองในประเทศไทย
กฎหมายผังเมือง จุดเด่น / สาเหตุของการยกเลิก
พระราชบัญญัติการ ▪ การบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เพราะในพระราชบัญญัตินั้นเองกำหนดว่า การจะใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ในท้องถิ่นใด จะต้อง
ผังเมืองและผัง ดำเนินการประกาศโดยพระราชกฤษฎีกาอีกชั้นหนึ่ง แล้วจัดให้มีการทำโครงการต่างๆ ขึ้นเพื่อการผัง หรือการบูรณะแห่งที่ดินเมือง หรือที่ดินชนบท
ชนบท พ.ศ. 2495 ตลอดจนรายละเอียดต่างๆ ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
▪ เมื่อมีการตราพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับพระราชบัญญัติการผังเมืองฯ ในท้องถิ่นใดแล้ว ก็ต้องมีการทำโครงการตามวัตถุประสงค์และภายในเวลาที่กำหนดไว้
ในพระราชกฤษฎีกา ซึ่งโครงการดังกล่าวจะต้องได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หลังจากนั้นโครงการดังกล่าวจะบังคับได้ต้องตราเป็น
พระราชบัญญัติ และให้บังคับโครงการดังกล่าวเป็นเวลาไม่เกิน 10 ปี
▪ จุดเด่นของกฎหมายผังเมืองฉบับนี้คือ การกำหนดมาตรการเรียกค่าใช้จ่ายในการสร้างถนนจากเอกชน และการจัดแบ่งที่ดินใหม่ที่มีลักษณะทำนองเดียวกับ
การจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่
▪ ที่ผ่านมามีการประกาศพระราชกฤษฎีกาเพียงฉบับเดียวคือในปีพ.ศ. 2479 ในท้องที่ตำบลในเมือง อำเภอสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ กล่าวได้ว่า กฎหมายผัง
เมืองฉบับนี้แทนไม่ได้มีผลบังคับใช้อย่างแท้จริง และยากแก่การปฏิบัติมาก
พระราชบัญญัติการ ▪ แม้ว่าชื่อกฎหมายจะมีการตัดคำว่า “ผังชนบท” ออกไป แต่คำว่า “ผังเมือง” ตามกฎหมายนี้เน้นทั้งในบริเวณเมือง และรวมถึงพื้นที่ชนบทหรือเกษตรกรรม
ผังเมือง พ.ศ. 2518 ที่สามารถรองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคตด้วย นอกจากนั้น ยังมีการแบ่งประเภทผังเมืองออกเป็น ผังเมืองรวม และผังเมืองเฉพาะ
▪ ผังเมืองรวม เป็นผังที่เน้นการกำหนดนโยบายและมาตรการควบคุมทั่วไปเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมือง ผังเมืองรวมจึงกำหนด
เพียงแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภท
▪ ผังเมืองเฉพาะ เป็นผังที่จะนำไปสู่การดำเนินการเพื่อพัฒนาหรือดำรงรักษาบริเวณเฉพาะแห่งหรือกิจการที่เกี่ยวข้องในเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้อง หรือ
ชนบทเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการผังเมือง ผังเมืองเฉพาะจึงเป็นแผนผังแสดงการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินซึ่งจำแนกตามประเภทกิจการ พร้อมทั้ง
แนวเขตการแบ่งที่ดินออกเป็นประเภทและย่าน
ระดับของการจัดทาผังเมืองรวม ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518

▪ ผังเมืองรวมจังหวัด เป็นการวางผังเมืองในภาพใหญ่ระดับจังหวัด มักไม่ลงรายละเอียดมากนัก แต่


เป็นการวางข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างกว้างๆ ในภาพรวม
▪ ผังเมืองรวมเมือง เป็นการวางผังเมืองในระดับเมือง มีอาณาบริเวณแคบกว่า แต่ลงรายละเอียด
มากกว่า
▪ ผังเมืองรวมชุมชน มีลักษณะเหมือนผังเมืองรวมเมือง แต่จัดทำในชุมชนที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก
และมีความซับซ้อนของกิจกรรมน้อยกว่าเมือง
กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2559

▪ สีชมพู ให้เป็นที่ดินประเภทชุมชน
▪ สีม่วง ให้เป็นที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า
▪ สีเขียว ให้เป็นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
▪ สีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีขาว ให้เป็นที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้
▪ สีฟ้า ให้เป็นพื้นที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ผังเมืองรวมจังหวัดสงขลา
https://www.yotasongkhla.go.th/files/com_news_cityplan/20170606_ckzhmdow.pdf
ตัวอย่างข้อกาหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในผังเมืองรวมจังหวัดสงขลา
ที่ดินประเภทชุมชน ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและ ทิด่ ินประเภทชนบทและ ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้ ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษา
คลังสินค้า เกษตรกรรม คุณภาพสิ่งแวดล้อม
▪ ให้ใช้ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย ▪ ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อ ▪ ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินที่ ▪ ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อสงวน ▪ ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการ
พาณิชยกรรม เกษตรกรรม อุตสาหกรรมและคลังสินค้า เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมการ และคุ้มครอง รักษาหรือบำรุง รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
สถาบันการศึกษา สถาบัน ตามกฎหมายว่าด้วยการนิคม การอยู่อาศัย พาณิชยกรรม ป่าไม้ สัตว์ป่า ต้นน้ำ ลำธาร การประมวง ท่าเรือเพื่อการ
ศาสนา สถาบันราชการ การ อุตสาหกรรมในประเทศไทย สถาบันการศึกษา สถาบัน และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ท่องเที่ยว สถาบันราชการ
สาธารณูปโภคและ ศาสนา สถาบันราชการ..... ... หรือสาธารณประโยชน์
สาธารณูปการ..... เท่านั้น

▪ ห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อ ▪ ห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อ ▪ ห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อ


กิจการตามที่กำหนด ดัง กิจการตามที่กำหนด กิจการตามที่กำหนด
ต่อไปนี.้ ..(1) โรงงานตาม ดังต่อไปนี้ (1) โรงงานตาม ดังต่อไปนี้ (1) จัดสรรที่ดิน
กฎหมายว่าด้วยโรงงาน...(2) กฎหมายว่าด้วยโรงงาน...(2) เพื่อประกอบอุตสาหกรรม
คลังน้ำมันและสถานที่เก็บ คลังน้ำมันและสถานที่เก็บ (2) จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบ
รักษาน้ำมัน...(3) คลังก๊าซ รักษาน้ำมัน...(3) คลังก๊าซ พาณิชยกรรม (3) จัดสรร
ปิโตรเลียมเหลว...(4) การ ปิโตรเลียมเหลว...(4) โรงแรม ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย (4)
ประกอบพาณิชยกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม การอยู่อาศัยประเภทอาคาร
ประเภทอาคารสูงหรืออาคาร .... (5) จัดสรรที่ดินเพื่อ สูงหรืออาคารขนาดใหญ่....
ขนาดใหญ่..... ประกอบอุตสาหกรรม
ผังเมืองรวมเมืองสงขลา
กฎกระทรวง ฉบับที่ 321 (พ.ศ.2540)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518

ผังเมืองรวมเมืองสงขลา
https://www.yotasongkhla.go.th/files/com_news_cityplan/2018-10/20181001_qsansysq.pdf
กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชน
กาแพงเพชร-นาสีทอง จังหวัดสงขลา พ.ศ. 2558

ผังเมืองรวมชุมชนกาแพงเพชร-นาสีทอง จังหวัดสงขลา
https://www.yotasongkhla.go.th/files/com_news_cityplan/2017-11/20171127_kawaajwq.pdf
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้ผังเมืองรวม
สภาพปัญหา แนวทางการแก้ไข
▪ ผังเมืองรวม มีกำหนดใช้ได้เพียงไม่เกิน 5 ปี แต่ถ้าสภาพการณ์และ ▪ ในปีพ.ศ.2558 ได้มีการแก้ไขกฎหมาย โดยไม่กำหนดระยะเวลาใช้บังคับของผังเมืองรวม
สิ่งแวดล้อมไม่เปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญ อาจให้ใช้ต่อไปอีก 5 ปีได้ แต่ แต่ให้มีการประเมินผลการเปลี่ยนแปลงของสภาพการณ์และสภาพแวดล้อมเป็นระยะ
เนื่องจากกระบวนการจัดทำผังเมืองมีความยุ่งยากและใช้ระยะเวลามาก อย่างช้าต้องไม่เกินทุกๆ 5 ปี หากเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญทำให้ผังเมือง
ทำให้เมื่อผังเมืองหมดอายุแล้ว ไม่สามารถจัดทำผังเมืองฉบับใหม่ขึ้น ไม่เหมาะสมอีกต่อไป ก็อาจวางและจัดทำผังเมืองขึ้นใหม่ให้เหมาะสมได้ โดยต้องคำนึงถึง
แทนที่ได้ทันเวลา จึงกลายเป็นช่องว่างของกฎหมายในช่วงเวลานั้น การมีส่วนร่วมของประชาชนด้วย
▪ อาจมีการแก้ไขผังเมืองรวมในเฉพาะบริเวณหรือเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งได้ เพื่อความ
สะดวกในการปรับปรุงแก้ไขผังเมือง โดยไม่จำเป็นต้องแก้ทั้งหมด ซึ่งจะสะดวกและทำได้
รวดเร็วกว่าการจัดทำใหม่ทั้งฉบับ

▪ ในปีพ.ศ. 2518 ได้กำหนดว่า เมื่อได้ใช้บังคับผังเมืองรวม ณ ท้องที่ใด ให้ ▪ ในปีพ.ศ. 2535 ได้แก้ไขกฎหมายผังเมือง และกำหนดใหม่ว่า เมื่อได้ใช้บังคับผังเมืองรวม
เจ้าพนักงานท้องถิ่นของท้องที่นั้นจัดให้มีการวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะ ณ ท้องที่ใดแล้ว ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นของท้องที่นั้นเห็นสมควรจะจัดให้มีการวางและ
ขึ้น.... จัดทำผังเมืองเฉพาะขึ้นหรือจะขอให้สำนักผังเมือง (ปัจจุบันคือกรมโยธาธิการและผังเมือง)
เป็นผู้วางและจัดทำผังเมืองเฉพาะก็ได้
▪ ในปีพ.ศ. 2558 ได้แก้ไขกฎหมายผังเมือง ด้วยการเพิ่มให้ผังเมืองรวม โดยนำข้อกำหนดที่
กำหนดในผังเมืองเฉพาะมาเพิ่มเติมให้กำหนดในผังเมืองรวมได้ ส่งผลทำให้ผังเมืองรวมเป็น
ผังที่กำหนดรายละเอียดต่างๆ ได้ โดยที่ไม่มีการแก้ไขนิยามความหมายของผังเมืองแต่
อย่างใด
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้ผังเมืองเฉพาะ
สภาพปัญหา แนวทางการแก้ไข

▪ เนื่องจากผังเมืองเฉพาะ สามารถระบุรายละเอียดเกี่ยวกับแผนที่ แผนผัง เพื่อ ▪ แม้ ว ่ า ประเทศไทยมี ก ารประกาศใช้ ผ ั งเมื อ งรวมหลายฉบั บ แต่ ก ารบั ง คั บ ใช้
กำหนดรายละเอียดการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดิน มาตรการทางผังเมืองไม่บรรลุผล เพราะไม่เคยมีการประกาศใช้ผังเมืองเฉพาะ
โครงการคมนาคม กิจการสาธารณูปโภค สถานที่สำคัญ ทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ (ต้องทำเป็นพระราชบัญญัติ) เพื่อดำเนินการไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ของการผัง
ที่ลงไปในรายละเอียดและอย่างเฉพาะเจาะจง และสามารถวางข้อกำหนด เมืองอย่างแท้จริงแต่อย่างใด
เกี่ยวกับการปฏิบัติหรือห้ามปฏิบัติได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมยิ่งกว่าผังเมือง ▪ ด้วยเหตุนี้ จึงมีการปรับปรุงกฎหมายผังเมืองใหม่ และใช้ชื่อว่า “พระราชบัญญัติ
รวม นอกจากนั้น ผังเมืองเฉพาะ อาจกำหนดรายละเอียดของที่ดิน/ทรัพย์สินที่ การผังเมือง พ.ศ. 2562”
จะต้องเวนคืน เพื่อประโยชน์แก่การผังเมือง รวมถึงการนำทรัพย์สินของรัฐ
ประเภทต่างๆ มาใช้ประโยชน์เพื่อการผังเมืองด้วย จึงมีอำนาจมากกว่าผังเมือง
รวม
▪ การบังคับใช้ผังเมืองเฉพาะ ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ จึงมีกระบวนการยุ่งยาก
และซับซ้อนกว่าผังเมืองรวมซึ่งกระทำในรูปของการออกกฎกระทรวง
▪ พระราชบัญญัติให้ใช้ผังเมืองเฉพาะ ถ้าไม่กำหนดระยะเวลาไว้เป็นอย่างอื่น ให้มี
กำหนดระยะเวลา 5 ปี
▪ การขยายระยะเวลาการใช้บังคับ ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ
▪ การแก้ไขปรับปรุงผังเมืองเฉพาะ ถ้าไม่ต้องมีการเวนคืนเพิ่มเติม หรือต้องรื้อย้าย
อาคาร สามารถกระทำได้โดยการออกกฎกระทรวง ซึ่งง่ายกว่าการตราเป็น
พระราชบัญญัติ
การวางและจัดทาผังเมือง
ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562
เหตุผลของการประกาศใช้พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ระบบการผังเมืองของประเทศจำเป็นต้องมีกรอบนโยบายการ
ใช้ประโยชน์พื้นที่ ตั้งแต่ระดับประเทศ ระดับภาค และระดับจังหวัด เพื่อ เป็นกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ของการพัฒนา
ประเทศในด้านการใช้พื้นที่เพื่อให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการ โดยการนำไปสู่การปฏิบัติในรูปแบบของผังกำหนดการใช้
ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งเป็นแนวทางและแผนงานการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่หนึ่งพื้นที่ใดเพื่อการพัฒนาทางด้านกายภาพและการ
ดำรงรักษาเมือง กรณีจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายเพื่อ กำหนดรูปแบบการวางและจัดทำผังเมืองทุกระดับ พร้อมทั้ง
บริหารจัดการผังเมืองให้มีรูปแบบการดำเนินการและการบริหารจัดการที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการวางกรอบนโยบายการพัฒนาพื้นที่ และการใช้ประโยชน์ที่ดินระดับประเทศ ระดับ
ภาค ระดับจังหวัด ระดับเมือง และระดับชนบท ตลอดจนกระจายอำนาจในการวางและจัดทำผังเมืองให้แก่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนผ่านกระบวนการรับ ฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน และโดยที่การ
กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์พื้นที่และการใช้ประโยชน์ที่ดินต้องสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒ นา
ประเทศ กรณีจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมี คณะกรรมการที่เป็นผู้กำหนดนโยบายในภาพรวม และคณะกรรมการที่เป็นผู้กำกับ
ดูแลหน่วยงานภาครัฐให้ปฏิบัติการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการผังเมือง ประกอบกับในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุ
วัตถุประสงค์ของการผังเมืองบางกรณีจำเป็นที่ รัฐต้องใช้สิทธิเหนือเคหสถานและทรัพย์สิน รวมถึงการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์
ของเอกชนเพื่อประโยชน์สาธารณะ และการจำกัดขอบเขตในการเลือกถิ่นที่อยู ่หรือการประกอบกิจการของบุคคล อีกทั้ง
กฎหมายว่าด้วยการผังเมืองที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาพื้นที่หรือการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของ
ประเทศกับนานาประเทศ สมควรปรับปรุงเสียในคราวเดียวกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
การวางและจัดทาผังเมืองตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562

▪ ความหมายและประเภทของผังเมือง
▪ องค์กรตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562
▪ ผู้มีอำนาจจัดทำผังเมือง
▪ กระบวนการวางผังนโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดิน
▪ กระบวนการวางผังเมืองรวม
▪ กระบวนการวางผังเมืองเฉพาะ
▪ การใช้บังคับผังเมือง
ความหมายและประเภทของผังเมือง
ความหมายของ “ผังเมือง”
“การผังเมือง” หมายความว่า การวาง จัดทำ และการดำเนินการให้เป็นไปตามผังเมืองใน
ระดับต่าง ๆ สำหรับเป็นกรอบชี้นำการพัฒนาทางด้านกายภาพในระดับประเทศ ระดับภาค
ระดับจังหวัด ระดับเมือง ระดับชนบท และพื้นที่เฉพาะควบคู่กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่ ง ชาติ เพื่ อ การพั ฒ นาเมื อ ง บริ เ วณที ่ เ กี ่ ย วข้ อ ง หรื อ ชนบท ให้ ม ี ห รื อ ทำให้ ด ี ย ิ ่ ง ขึ ้ น ซึ ่ ง
สุขลักษณะ ความสะดวกสบาย ความเป็นระเบียบ ความสวยงาม การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน
การคมนาคมและการขนส่ง ความปลอดภัยของประชาชน สวัสดิภ าพของสังคม การป้องกันภัย
พิบัติ และการป้องกันความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์ที่ ดิน เพื่อส่งเสริมการเศรษฐกิจ สังคม
และสภาพแวดล้อม เพื่อดำรงรักษาหรือบูรณะสถานที่และวัตถุที่มีประโยชน์หรือคุณค่าในทาง
ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์หรือโบราณคดี หรือบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม ภูมิประเทศที่งดงามหรือมีคุณค่าในทางธรรมชาติ
ผังเมืองรวม และ ผังเมืองเฉพาะ

“ผังเมืองรวม” หมายความว่า แผนผัง นโยบาย และโครงการ รวมทั้งมาตรการควบคุมโดยทั่วไปในพื้นที่


หนึ่งพื้นที่ใด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเมืองและการดำรงรักษาเมือง บริเวณที่เกี่ยวข้อง หรือชนบท ใน
ด้านการใช้ป ระโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูป โภค สาธารณูป การ บริการ
สาธารณะ และสภาพแวดล้อม เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการผังเมือง

“ผังเมืองเฉพาะ” หมายความว่า แผนผังและโครงการดำเนินการเพื่อพัฒนาหรือดำรงรักษาบริเวณเฉพาะ


แห่งหรือกิจการที่เกี่ยวข้องในเมือง บริเวณที่เกี่ยวข้อง หรือ ชนบท เพื่อประโยชน์ในการสร้างเมืองใหม่ การ
พัฒนาเมือง การอนุรักษ์เมือง หรือการฟื้นฟูเมือง
ประเภทของผังเมือง
ผังนโยบายการใช้ ผังกาหนดการใช้
ประโยชน์พื้นที่ ประโยชน์ที่ดิน
แผนผัง มาตรการ ข้อกาหนด ผังเมืองรวม
กรอบนโยบายการพัฒนาพื้นที่ประเทศ จังหวัด และผังเมืองรวมเมือง/ชุมชน
ด้านการใช้พื้นที่ การพัฒนาเมืองและชนบท ผังนโยบาย ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่โล่ง โครงการ
โครงสร้างพื้นฐานหลักการพัฒนาพื้นที่พิเศษ ฯลฯ ผังเมืองรวม
ระดับประเทศ คมนาคมขนส่ง กิจการสาธารณูปโภค
สาธารณูปการ และบริการสาธารณะ
แผนผัง นโยบายการพัฒนาพื้นที่
ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและดำรงรักษาพื้นที่ ผังนโยบาย แผนผังและโครงการดาเนินการ
ระดับภาคและกลุ่มจังหวัด ด้านการใช้ประโยชน์ ผังเมืองเฉพาะ เพื่อพัฒนาหรือดำรงรักษาบริเวณเฉพาะแห่งหรือ
ที่ดินการพัฒนาเมืองและชนบท ฯลฯ ระดับภาค กิจการที่เกี่ยวข้องในเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้อง
หรือชนบท
แผนผัง ยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่จังหวัด
ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาด้านการใช้ประโยชน์ ผังนโยบาย
ที่ดินการพัฒนาเมืองและชนบท การคมนาคมและ ระดับจังหวัด
การขนส่ง การสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และ
ดำรงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
องค์กรตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562
องค์กรตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562
คณะกรรมการนโยบาย
คณะกรรมการผังเมือง คณะกรรมการผังเมืองจังหวัด
การผังเมืองแห่งชาติ

• นายกรัฐมนตรี (ประธาน) • ปลัดกระทรวงมหาดไทย • จังหวัดอื่น ได้แก่ ผู้ว่าราชการ


(ประธาน) จังหวัด (ประธาน)และ โยธาธิ
• ปลัดกระทรวงมหาดไทย การและผังเมืองจังหวัด
(กรรมการและเลขานุการ) • อธิบดีกรมโยธาธิการและ
(กรรมการและเลขานุการ)
ผังเมือง (กรรมการและ
• กรุงเทพมหานคร ได้แก่
เลขานุการ)
ปลัดกระทรวงมหาดไทย
▪ กำหนดนโยบาย/
(ประธาน) และ ผู้อำนวยการ
เป้าหมายการผังเมืองของ สำนักผังเมือง กทม. (กรรมการ
▪ ให้ความเห็นชอบผังนโยบายระดับ
ประเทศ และเลขานุการ)
จังหวัด ผังเมืองรวมที่กรมโยธาฯ
▪ ให้ความเห็นชอบผัง
ทำ และผังเมืองเฉพาะ ▪ ให้ความเห็นชอบผังเมืองรวมที่ อปท.ทำ
นโยบายระดับประเทศ
▪ ให้ความเห็นด้านวิชาการผังเมือง ▪ ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ
และผังนโยบายระดับภาค
ต่อคณะกรรมการนโยบาย ผังเมืองในส่วนที่เกี่ยวกับผังนโยบายระดับจังหวัด
การผังเมืองแห่งชาติ ผังเมืองรวม (กรมโยธาฯ จัดทำ) ผังเมืองรวมที่
คาบเกี่ยวตั้งแต่ 2จังหวัดขึ้นไป และผังเมืองเฉพาะ
ผู้มีอานาจจัดทาผังเมือง
ผู้มีอานาจจัดทาผังเมือง

กรมโยธาธิการและผังเมือง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
▪ ผังนโยบายระดับประเทศ ▪ ผังเมืองรวม
▪ ผังนโยบายระดับภาค ▪ ผังเมืองเฉพาะ
▪ ผังนโยบายระดับจังหวัด
▪ ผังเมืองรวม ****ทั้งนี้ ภายใต้การตรวจสอบและการถ่วงดุลของกรม
▪ ผังเมืองเฉพาะ โยธาธิการและผังเมือง****
➢องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร้องขอ
➢รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งกรณีมีเหตุจำเป็น
➢คณะกรรมการผังเมืองสั่งในบางกรณี
กระบวนการวางผังนโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดิน
กระบวนการวางผังนโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดิน

กรมโยธาฯ รับฟังความคิดเห็นตาม เสนอ


ผังนโยบาย หลักเกณฑ์และวิธีการที่ คณะกรรมการนโยบาย ประกาศใน
ระดับประเทศ ดาเนินการวางผัง คณะกรรมการการผังเมือง การผังเมืองแห่งชาติให้ ราชกิจจานุเบกษา
เมืองประเทศ กาหนด ความเห็นชอบ

กรมโยธาฯ รับฟังความคิดเห็นตาม เสนอ


ผังนโยบาย หลักเกณฑ์และวิธีการที่ คณะกรรมการนโยบาย ประกาศใน
ดาเนินการวางผัง คณะกรรมการการผังเมือง การผังเมืองแห่งชาติให้ ราชกิจจานุเบกษา
ระดับภาค
เมืองภาค กาหนด ความเห็นชอบ

กรมโยธาฯ รับฟังความคิดเห็นตาม เสนอคณะกรรมการผัง


ผังนโยบาย หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ประกาศใน
ดาเนินการวางผัง คณะกรรมการการผังเมือง
เมืองพิจารณาให้ความ
ราชกิจจานุเบกษา
ระดับจังหวัด เห็นชอบ
จังหวัด กาหนด
กระบวนการวางผังเมืองรวม
กระบวนการวางผังเมืองรวม

แจ้งอปท.ให้ รับฟังความคิดเห็นตาม เสนอคณะกรรมการ


กรมโยธาฯ วางและ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ปิดประกาศให้ทราบ
ความเห็นผังเมือง ผังเมืองให้ ไม่น้อยกว่า 90 วัน
จัดทาผังเมืองรวม คณะกรรมการผังเมือง
รวม กำหนด ความชอบ

อปท. ไม่เห็นด้วย และ คณะกรรมการ


ไม่อาจตกลงกันได้ ผังเมืองให้ความ
เห็นชอบ
รมต.ชี้ขาดตามคำแนะนำ
ของคณะกรรมการผังเมือง จัดทำประกาศ
ประกาศในราช กระทรวงมหาดไทยโดย
กิจจานุเบกษา ความเห็นชอบของ
การวางผังเมืองรวมโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง คณะรัฐมนตรี
การวางผังเมืองรวมโดย ไม่เห็นชอบ
กระบวนการวางผังเมืองรวม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เสนอคณะกรรมการผัง
เมืองจังหวัดพิจารณา
แจ้งกรมโยธาฯ ให้ รับฟังความคิดเห็นตาม
อปท. วางและ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ เสนอกรมโยธาฯ ไม่เห็นด้วย เสนอ
ความเห็นผังเมือง คณะกรรมการ
จัดทาผังเมืองรวม คณะกรรมการผังเมือง พร้อมเหตุผล
รวม กำหนด ผังเมืองพิจารณา

เห็นชอบ ปิดประกาศ 90 วัน


กรมโยธาฯ ไม่เห็นด้วย และ
ไม่อาจตกลงกันได้ ปิดประกาศ 90 วัน คณะกรรมการผังเมือง
คณะกรรมการผังเมือง จังหวัดให้ความเห็นชอบ
รมต.ชี้ขาดตามคำแนะนำ จังหวัดให้ความเห็นชอบ เสนอกรมโยธาฯ
ของคณะกรรมการผังเมือง
เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ
ประกาศในราช เสนอคณะกรรมการ
จัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่น
กิจจานุเบกษา ผังเมืองพิจารณา
กระบวนการวางผังเมืองเฉพาะ
กระบวนการวางผังเมืองเฉพาะ
เสนอคณะกรรมการ ปิดประกาศให้เจ้าของ รับฟังความคิดเห็น
เสนอให้ อปท.
▪ อปท. ทา ผังเมืองให้ความ หรือผู้ครอบครอง ตามหลักเกณฑ์วิธีการ
พิจารณา
▪ อปท.ขอให้กรม เห็นชอบ แสดงความเห็น ที่อธิบดีกำหนด
โยธาฯ ทา
▪ รมต. สั่งให้กรม
โยธาฯ ทา เสนอให้
▪ คณะกรรมการ คณะกรรมการผังเมือง
ผังเมืองสั่งให้ ชี้ขาด
กรมโยธาฯ ทา
เสนอรัฐมนตรีว่าการ
ตราพระราชบัญญัติ
กระทรวงมหาดไทยให้
/ พระราชกฤษฎีกา
ความเห็นชอบ
การใช้บังคับผังเมืองและการทบทวนผังเมือง
การทบทวนผังนโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ผังนโยบาย ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองจัดให้มีการทบทวนผังนโยบายการใช้ประโยชน์พื้นที่ทุก 5 ปี
ระดับประเทศ ประกาศ หรือในกรณีที่มีความจำเป็นจะจัดให้มีการทบทวนผังนโยบายการใช้ประโยชน์พื้นที่ก่อน
คณะกรรมการนโยบาย ระยะเวลาดังกล่าวก็ได้ (ม.10)

ผังนโยบาย การผังเมืองแห่งชาติ
การทบทวนผังเมืองรวม
ระดับภาค ให้กรมโยธาธิการและผังเมือง หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น แล้วแต่กรณี จัดทำรายงานการ
ประเมินผลการเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมการใช้บังคับผังเมืองรวมตาม
ผังนโยบาย ประกาศคณะกรรมการ ระยะเวลาที่คณะกรรมการผังเมืองหรือคณะกรรมการผังเมืองจังหวัดกำหนด แล้วแต่
กรณี แต่ไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือข้อบัญญัติท้องถิ ่นให้ใช้
ระดับจังหวัด ผังเมือง
บังคับผังเมืองรวมใช้บังคับ หรือนับแต่วันที่คณะกรรมการผังเมืองหรือคณะกรรมการผัง
เมืองจังหวัดพิจารณารายงานการประเมินผลครั้งที่ผ่านมาเสร็จสิ้น (ม.34)
ประกาศกระทรวงมหาดไทยโดย
ผังเมืองรวม ความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี การทบทวนผังเมืองเฉพาะ
หรือข้อบัญญัติท้องถิ่น ในระหว่างที่ใช้บังคับพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บังคับผังเมืองเฉพาะใน
ท้ อ งที ่ ใ ด ถ้ า องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ ่ น หรื อ กรมโยธาธิ ก ารและผั ง เมื อ งเห็ น ว่ า
สภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมในเขตของผังเมืองเฉพาะได้เปลี่ยนแปลงไป สมควรแก้ไข
ผังเมืองเฉพาะ พระราชบัญญัติ / ปรับปรุงข้อกำหนดหรือรายละเอียดของผังเมืองเฉพาะที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติหรือ
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บังคับผังเมืองเฉพาะเสียใหม่ ให้เหมาะสม ให้องค์กรปกครองส่ว น
ท้ อ งถิ ่ น หรื อ กรมโยธาธิ ก ารและผั ง เมื อ งเสนอขอแก้ ไ ขปรั บ ปรุ ง ผั ง เมื อ งเฉพาะต่ อ
คณะกรรมการผังเมือง (ม.49)
สรุปสาระสาคัญของการแก้ไขกรณี ผังเมืองรวม
▪ เพิ่มองค์ประกอบหลักที่ต้องมีในผังเมืองรวม เช่น เพิ่มแผนผังแสดงแหล่งทรัพยากรธรรมชาติฯ
แผนผังแสดงผังน้ำ และผังอื่นๆ
▪ ปรับปรุงข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินให้ยืนหยุ่นมากขึ้น
▪ เปลี่ยนรูปแบบการประกาศใช้ผังเมืองรวม เป็น ทำโดย “ประกาศกระทรวงมหาดไทย” หรือ
“ข้อบัญญัติท้องถิ่น” (เดิมต้องทำเป็นกฎกระทรวง – ทำให้ขั้นตอนรวดเร็วมากขึ้น)
▪ ปรับปรุงช่องทางการเผยแพร่ร่างผังเมืองให้ประชาชนได้ทราบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์และ
สื่ออื่นๆ
▪ อายุการใช้บังคับผังเมืองรวมยังคงเป็นไปตามหลักการเดิม คือไม่มีการกำหนดอายุ แต่ให้
ประเมินผลการเปลี่ยนแปลงทุกๆ 5 ปี
สรุปสาระสาคัญของการแก้ไขกรณี ผังเมืองเฉพาะ
▪ ปรับปรุงองค์ประกอบที่ต้องมีในผังเมืองเฉพาะ เช่น เพิ่ มแผนผังแสดงพื้นที่สีเขียวและพื้นที่
อนุรักษ์ ปรับปรุง ข้อกำหนดที่จ ะให้ปฏิบัติหรือไม่ใ ห้ปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวกับอาคาร เพิ่ม
ข้อกำหนดประเภท ขนาดของกิจการที่จะอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้ดำเนินการ เป็นต้น
▪ ปรับปรุงรูปแบบการประกาศใช้ผังเมืองเฉพาะเป็นให้ทำโดยตราขึ้นเป็น “พระราชบัญญัติ” หรือ
“พระราชกฤษฎีกา” (ในกรณีไม่มีการเวนคืน การดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ฯลฯ)
▪ เปลี่ยนแปลงระยะเวลาการใช้บังคับ โดยไม่กำหนดระยะเวลาใช้บังคับของผังเมืองเฉพาะ แต่
องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ ่ น หรื อ กรมโยธาธิ ก ารฯ เห็ น ว่ า สภาพการณ์ แ ละสิ ่ ง แวดล้ อ ม
เปลี่ยนแปลงไป ก็ให้เสนอขอปรับปรุงแก้ไขผังเมืองเฉพาะต่อคณะกรรมการผังเมือง
ปัญหาทางกฎหมายที่น่าสนใจเกี่ยวกับ
การใช้บังคับกฎหมายผังเมือง

ปรับปรุงจากเอกสารประกอบการบรรยายของ ผศ.ธีรวัฒน์ ขวัญใจ


วิชากฎหมายอุตสาหกรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กรณีศึกษาที่ 1
การใช้อำนาจตามมาตรา 44
ของ คสช. กับ ผลกระทบต่อ
กฎหมายผังเมือง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) 2557

มาตรา 44 ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูป
ในด้านต่าง ๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือ
ปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อย หรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลัง ก์
เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรื อภายนอกราชอาณาจักร ให้หัวหน้ำคณะ
รักษำควำมสงบแห่งชำติโดยควำมเห็นชอบของคณะรักษำควำมสงบแห่งชำติมีอำนำจสั่งกำร ระงับยับยั้ง หรือ
กระทำกำรใด ๆ ได้ ไม่ว่ำกำรกระทำนั้นจะมีผลบังคับในทำงนิติบัญญัติ ในทำงบริหำร หรือในทำงตุลำกำร และ
ให้ถือว่ำคำสั่งหรือกำรกระทำ รวมทั้งกำรปฏิบัติตำมคำสั่งดังกล่ำว เป็นคำสั่งหรือกำรกระทำหรือกำรปฏิบัติที่
ชอบด้วยกฎหมำยและรัฐธรรมนูญนี้ และเป็นที่สุด ทั้งนี้ เมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภา
นิติบัญญัติแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว
คาสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2559 และ 4/2559
คาสั่งที่ 3/2559
ให้ยกเว้นการใช้บังคับกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม และกฎกระทรวงและข้อบัญญัติท้องถิ่น
ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมในพื้นที่ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ตามนโยบาย คสช. 10 พื้นที่
ได้แก่ ในจังหวัดตาก, มุกดาหาร, สระแก้ว, สงขลา, ตราด, หนองคาย, นราธิวาส, เชียงราย, นครพนม,
กาญจนบุรี จนกว่าจะมีการออกกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม และกฎกระทรวงและข้อบัญญัติ
ท้องถิ่นตามกฎหมายควบคุมอาคารเสียใหม่ให้สอดคล้องกับนโยบายของเขตเศรษฐกิจพิเศษ

หมายเหตุ : คำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 3/2559 ฉบับนี้มีผลไปยกเว้นกฎหมายผังเมืองและควบคุมอาคารใน


พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อเปิดทางให้โรงงานอุตสาหกรรมเข้าไปทำกิจกรรมได้โดยไม่ต้องดูผั งเมือง
โดยคำสั่งดังกล่าวมุ่งหมายที่จะยกเว้นผังเมืองในเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเปลี่ยนพื้นที่ที่ชุม ชนร่วมกัน
กำหนดให้เป็นพื้นที่พัฒนาชนบทและเกษตรกรรมให้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรม
คาสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2559 และ 4/2559
คาสั่งที่ 4/2559
ให้ยกเว้นการบังคับใช้กฎกระทรวงฯ ผังเมืองรวม ทุกฉบับในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ สำหรับการอนุมัติ
อนุญาตให้ประกอบกิจการดังต่อไปนี้ เช่น คลังน้ำมัน , กิจการโรงงานผลิต ส่ง หรือจำหน่ายพลังงาน
ไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าและสถานีส่งไฟฟ้า ), กิจการโรงผลิตก๊าซซึ่งมิใช่ก๊าซธรรมชาติ (เช่น โรงงานผลิตก๊ าซ
ชีวภาพ), กิจการโรงงานปรับปรุงคุณภาพของเสียรวม (เช่น โรงบำบัดน้ำเสีย เตาเผาขยะ), กิจการ
โรงงานคัดแยกและฝังกลบสิ่งปฏิกูล วัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (เช่น หลุมฝังกลบขยะ), กิจการโรงงานประกอบ
กิจการเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้ ว หรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบ
หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม (โรงงานรีไซเคิล) เป็นต้น
หมายเหตุ คำสั่ง คสช. ที่ 4/2559 มีผลเป็นการยกเว้นการบังคับใช้ผ ังเมืองทั้งประเทศ โดยเปลี่ยนพื้นที่
เกษตรกรรมให้กลายเป็นพื้นที่ซึ่งสามารถตั้งโรงไฟฟ้าขยะ โรงไฟฟ้าชีวะมวล โรงงานกำจัดขยะได้ ซึ่ง
กระทบต่อสิทธิขุมชนและมาตรการคุ้มครองประชาชนและสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง
เครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบ
ฟ้องคดีต่อศาลปกครองขอให้เพิกถอนคาสั่ง คสช. ที่ 4/2559
คาสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ฟส. 8/2559
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2559 ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา โดยศาล
ปกครองสูงสุดวินิจฉัยโดยสรุปว่า
แม้เนื้อหาของคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 4/2559 มีสถานะเป็นกฎ ที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดย
ความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งโดยทั่วไปอยู่ในอำนาจของศาลปกครองสูงสุด (ตามมาตรา 3 และ
มาตรา 11 (2) พระราชบัญญัติจ ัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจ ารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542) แต่
เนื่องจากการออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ดังกล่าว อาศัยอำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว)
พ.ศ.2557 มาตรา 44 มิได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่า ด้วยการผัง เมือง ประกอบกับ
รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 44 บัญญัติให้ค ำสั่ง หัวหน้า คสช. ที่อ อกมาถือว่า ชอบด้วยกฎหมายและ
รัฐธรรมนูญและเป็นที่สุด ศาลปกครองสูงสุดจึงไม่อาจรับคาฟ้องไว้พิจารณาเพื่อควบคุ มตรวจสอบ
ความชอบด้วยกฎหมายของคาสั่งดังกล่าวได้
ผลกระทบของคาสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2559 และ 4/2559

▪ ผังเมืองเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อส่วนได้เสียของทุกคน ดังนั้น ทุกภาคส่วนควรมีส่ว นร่วมใน


การกำหนดว่าผังเมืองควรเป็นอย่างไร
▪ กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมในพื้นที่ต่างๆ จึ งเป็นผลลัพธ์ของกระบวนการมีส่วนร่วม
ของประชาชนและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ เป็นเสมือน “ข้อตกลงร่วมกัน”ของสังคม
▪ การกำหนดให้ยกเว้นกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจึงเป็นการจำกัดสิทธิและตัด
กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนออกไปโดยสิ้นเชิง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อความสมดุลของ
สิทธิในด้านต่างๆ เช่น สิทธิในการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในการพัฒนา
เป็นต้น โดยไม่เปิดโอกาสให้มีกระบวนการตรวจสอบใดๆ
กรณีศึกษาที่ 2
การแก้ไขผังเมืองรวมจังหวัดสงขลาเพื่อรองรับ
“เมืองอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต”
ในอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ที่มา : มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw) https://enlawfoundation.org
ที่มา : มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw) https://enlawfoundation.org
พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562
มาตรา 35 การแก้ไขผังเมืองรวมเฉพาะบริเวณหรือเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และ
สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองหรือเจ้า พนักงานท้องถิ่น
แล้วแต่กรณี เสนอคณะกรรมการผังเมืองหรือคณะกรรมการผังเมืองจังหวั ดพิจารณา กรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ ่น
ดำเนินการแก้ไข ให้นำความในมาตรา 27 วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
เมื่อคณะกรรมการผังเมืองหรือคณะกรรมการผังเมืองจังหวัดพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว ให้มีการปิดประกาศ
แผนที่แสดงเขตของผังเมืองรวมที่แก้ไขและรายละเอียดของการแก้ไขไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานเขตหรือที่ ว่าการ
อำเภอ และที่ทำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายในเขตของผังเมืองรวมนั้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิ บวันนับ
แต่วันปิดประกาศ โดยให้ลงวันที่ที่ปิดประกาศไว้ในประกาศนั้นด้ว ย และในประกาศนั้นให้มีคำเชิญชวนให้ผู ้มีส่วนได้
เสียแสดงข้อคิดเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรภายในระยะเวลาที่ระบุในประกาศ
ให้นำความในมาตรา 31 มาใช้บังคับกับการพิจารณาข้อคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียตามวรรคสองด้วยโดยอนุโลม
พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562

มาตรา 9 การวางและจัดทำผังนโยบายการใช้ประโยชน์พื้นที่ตามมาตรา 8 (1) และผังกำหนดการ


ใช้ประโยชน์ที่ดินตามมาตรา 8 (2) ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น การปรึกษาหารือ และการมี
ส่วนร่วมของประชาชน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการผังเมืองกำหนดโดยความ
เห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ โดยให้คำนึงถึงผู้ที่จะได้รับผลกระทบในผังแต่
ละประเภท และต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ทราบด้วยวิธีการที่ หลากหลายและทั่วถึง โดยมีข้อมูล
เพียงพอต่อการที่ประชาชนจะเข้าใจถึงผลกระทบต่อประชาชน ชุมชน สิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทาง
ชีวภาพ และแนวทางการเยียวยาความเดือดร้อน หรือความเสียหายแก่ประชาชนหรือชุมชน...
มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 14 ธันวาคม 2564
เรื่อง การดาเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการดาเนินการขยายผลโครงการ เมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ”
ไปสู่เมืองต้นแบบที่ 4 อาเภอจะนะ จังหวัดสงขลา “เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต”
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
1. รับทราบข้อเรียกร้องของเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นตามที่คณะกรรมการ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการดำเนินการขยายผลโครงการเมือง
ต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ไปสู่เมืองต้นแบบที่ 4 อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา “เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้า แห่งอนาคต” เสนอ
2. มอบหมายให้ ส ำนั ก งานสภาพั ฒ นาการเศรษฐกิ จและสั ง คมแห่ งชาติ และหน่ วยงานที ่ เกี ่ ย วข้ อ ง เช่ น สำนั กงานปลั ด สำนั ก
นายกรัฐมนตรี สถาบันการศึกษาในพื้นที่ ฯลฯ ร่วมกันจัดให้มีการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment: SEA)
และแผนแม่บทต่าง ๆ โดยให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องรับข้อเสนอของภาคประชาชน เช่น เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ฯลฯ รวมถึงผลการดำเนิ นการของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการ
ดำเนินการขยายผลโครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ไปสู่เมืองต้นแบบที่ 4 อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา “เมืองต้นแบบอุตสาหกรรม
ก้าวหน้าแห่งอนาคต” ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง และให้หน่วยงานของรัฐและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องรอผลการประเมิ น
สิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) ให้เป็นที่ยุติก่อนการดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ การดำเนินการให้เป็นตามกฎหมายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่ งแวดล้อม
แห่งชาติและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดด้วย
3. ให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการดำเนินการขยายผลโครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ” ไปสู่เมือง
ต้นแบบที่ 4 อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา “เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที ่ 24
พฤศจิกายน 2558 (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้

You might also like