You are on page 1of 35

รายงาน

เรื่อง คำทับศัพท์
เรื่อง โคลงโลกนิติ
เรื่อง คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ
จัดทำโดย
นาย ณัฐวุฒิ ยุทธวิชัย เลขที่ ๓
นาย นวพรรษ หิรัญรักษา เลขที่ ๗
นาย พีรพัฒน์ แก้วเกษศรี เลขที่ ๑๐
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
เสนอ
คุณครู มินตรา งามทรัพย์

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาภาษาไทย ภาคเรียนที่ ๒ ปีการ


ศึกษา ๒๕๖๖
โรงเรียนสมเด็จพระญาณสังวร ในพระสังฆราชูปถัมภ์

คำนำ
รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ ๓ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้จัดทำได้ฝึกการศึกษาค้นคว้า และนำสิ่งที่
ได้ศึกษาค้นคว้ามาสร้างเป็นชิ้นงานเก็บไว้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการ
สอนของตนเองและครูต่อไป การศึกษาหลักภาษาไทย เพื่อให้ได้ศึกษาหา
ความรุ้ในเรื่องราวของหลักภาษาไทย โดยได้ศึกษาผ่านแหล่งความรู้ต่างๆ
อาทิเช่น ตำรา ห้องสมุด และแหล่งความรู้จากเว็บไซต์ต่างๆ โดยรายงาน
เล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ความหมายของหลักภาษาไทย การใช้หลักภาษา
ไทยที่มา ผู้จัดทำหวังว่ารายงานฉบับนี้คงมีประโยชน์ต่อผู้ที่นำไปใช้ให้เกิด
ผลตามความคาดหวัง

สารบัญ

2
เรื่อง หน้า
คำทับศัพท์ ๔
การทับศัพท์ในภาษาไทย ๕
คำศัพท์ที่มักเขียนผิด ๑๒
โคลงโลกนิติ ๑๖
เรื่องย่อโคลงโลกนิติ ๒๐
โลกนิติคำฉันท์ ๒๒
คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ ๒๘
วิธีการนำคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย ๒๘
คำบาลีสันสกฤต ๒๙
ภาษาเขมร ๓๓
ภาษาจีน ๓๕

เรื่อง คำทับศัพท์

การทับศัพท์ คือ การถอดอักษร หรือแปลงข้อความจากระบบการเขียนหรือภาษาหนึ่งไปสู่


อีกระบบหนึ่งอย่างมีหลักการ เพื่อให้สามารถเขียนคำในภาษาต่างประเทศด้วยภาษาและ
อักษรในภาษานั้น ๆ ได้สะดวก เช่น การทับศัพท์ภาษาอังกฤษซึ่งเขียนด้วยอักษรโรมัน มา

3
เป็นอักษรไทยเพื่อใช้ในภาษาไทย หรือการทับศัพท์ภาษาไทย ไปเป็นอักษรโรมันเพื่อใช้ใน
ภาษาอังกฤษ เป็นต้น ส่วนมากใช้กับวิสามานยนาม อาทิ ชื่อบุคคล สถานที่ หรือชื่อเฉพาะที่
ไม่สามารถแปลความหมายเป็นภาษาอื่นได้โดยสะดวก
ปกติแล้วการทับศัพท์ คือการจับคู่จากระบบการเขียนหนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่งแบบคำต่อคำ
หรือตามทฤษฎีคืออักษรต่ออักษร การทับศัพท์ได้พยายามที่จะสร้างความสัมพันธ์หนึ่งต่อ
หนึ่งทั่วถึงและทำให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ เพื่อให้ผู้อ่านที่ได้รับรู้สามารถสะกดคำต้นฉบับ
จากคำทับศัพท์ได้ และเพื่อที่จะบรรลุจุดประสงค์นี้ จึงมีการกำหนดหลักการทับศัพท์ที่ซับ
ซ้อนในการจัดการกับตัวอักษรบางตัวในภาษาต้นฉบับที่ไม่สัมพันธ์กับอักษรในภาษาเป้า
หมาย ความหมายอย่างแคบของการทับศัพท์คือ การทับศัพท์แบบถอดอักษร
(transliteration) ซึ่งเคร่งครัดในการคงตัวอักษรและเครื่องหมายวรรคตอนทุกอย่าง
เอาไว้ ทั้งนี้การถอดอักษรไม่สนใจความแตกต่างของเสียงในภาษา ตัวอย่างหนึ่งของการถอด
อักษรคือการใช้แป้นพิมพ์ภาษาอังกฤษ พิมพ์แทนภาษาอื่นที่ใช้ตัวอักษรต่างออกไปเช่น
ภาษารัสเซียเนื่องจากมีข้อจำกัดทางเทคนิค หรือการถอดอักษรโบราณเพื่อให้ยังคงรักษารูป
แบบการเขียนเดิมเอาไว้
การทับศัพท์ (การถอดอักษร) ต่างจากการถอดเสียง (transcription) ซึ่งเป็นการจับคู่
เสียงอ่านของภาษาหนึ่ง ๆ ไปยังรูปแบบการเขียนของอีกภาษาที่ใกล้เคียงที่สุด ถึงแม้ว่า
ระบบการถอดอักษรส่วนใหญ่จะยังคงจับคู่อักษรต้นฉบับกับอักษรในภาษาเป้าหมายที่ออก
เสียงคล้ายกันในบางคู่ ถ้าหากความสัมพันธ์ระหว่างตัวอักษรกับเสียงเหมือนกันทั้งสองภาษา
การถอดอักษรก็อาจแทบจะเหมือนกับการถอดเสียง ในทางปฏิบัติ ก็มีการทับศัพท์บางระบบ
ที่ผสมกันระหว่างการถอดอักษรและการถอดเสียง โดยจะถอดอักษรต้นฉบับบางส่วนและ
ถอดเสียงในส่วนที่เหลือ

การทับศัพท์ในภาษาไทย
ราชบัณฑิตยสถานได้ประกาศหลักการทับศัพท์ไว้อย่างเป็นทางการ ทั้งจากภาษาอังกฤษไป
เป็นภาษาไทย ซึ่งเป็นการทับศัพท์แบบผสมทั้งถอดอักษรและถอดเสียง และจากอักษรไทย
ไปเป็นอักษรโรมัน ซึ่งเป็นการถอดเสียงเท่านั้น

4
รวมคำทับศัพท์ ภาษาอังกฤษที่เราใช้กันบ่อยๆ
 Acrylic = อะคริลิก
 Action = แอ็กชัน
 Album = อัลบั้ม
 Alcohol = แอลกอฮอล์
 Animation = แอนิเมชัน
 Apartment = อะพาร์ตเมนต์
 Apple = แอปเปิล
 Application = แอปพลิเคชัน
 Ballet = บัลเลต์
 Bank = แบงก์
 Battery = แบตเตอรี่
 Block = บล็อก
 Bowling = โบว์ลิง
 Boxer = บ๊อกเซอร์
 Brake = เบรก
 Broccoli = บรอกโคลี
 Browser = เบราว์เซอร์
 Built-in = บิวท์อิน
 Business = บิสเนส
 Caffeine = คาเฟอีน

5
 Cake = เค้ก
 Capsule = แคปซูล
 Card = การ์ด
 Carrot = แคร์รอต
 Center = เซนเตอร์
 Ceramic = เซรามิก
 Chalk = ชอล์ก
 Channel = แชนเนล
 Chat = แชต
 Check = เช็ก (ตรวจสอบ)
 Cheque = เช็ค (ตราสารการเงิน)
 Chill = ชิล
 Chocolate = ช็อกโกแลต
 Classic = คลาสสิก
 Clinic = คลินิก
 Cocktail = ค็อกเทล
 Comedy = คอมเมดี้
 Comment = คอมเมนต์
 Computer = คอมพิวเตอร์
 Concept = คอนเซ็ปต์
 Content = คอนเทนต์

6
 Cookie = คุกกี้
 Copy = ก๊อปปี้
 Course = คอร์ส
 Design = ดีไซน์
 Detox = ดีท็อกซ์
 Digital = ดิจิทัล
 Double = ดับเบิล
 Download = ดาวน์โหลด
 Effect = เอฟเฟ็กต์
 Electronics = อิเล็กทรอนิกส์
 Email = อีเมล
 Facebook = เฟซบุ๊ก
 Fashion = แฟชั่น
 French fries = เฟรนช์ฟรายส์
 Galaxy = กาแล็กซี
 Gallery = แกลเลอรี
 Game = เกม
 Gas = แก๊ส
 Gift = กิฟต์
 Golf = กอล์ฟ
 Graph = กราฟ

7
 Graphic = กราฟิก
 Guide = ไกด์
 Hand made = แฮนด์เมด
 Highlight = ไฮไลท์
 Image = อิมเมจ
 Internet = อินเทอร์เน็ต
 Lift = ลิฟต์
 Like = ไลก์
 Line = ไลน์
 Link = ลิงก์
 Lipstick = ลิปสติก
 Lock = ล็อก
 Lotion = โลชัน
 Lottery = ลอตเตอรี่
 Moment = โมเมนต์
 Necktie = เนกไท
 Network = เน็ตเวิร์ก
 Night club = ไนต์คลับ
 Notebook = โน้ตบุ๊ก
 Office = ออฟฟิศ
 Operator = โอเปอเรเตอร์

8
 Part time = พาร์ทไทม์
 Percent = เปอร์เซ็นต์
 Perfect = เพอร์เฟกต์
 Postcard = โปสต์การ์ด
 Power = พาวเวอร์
 Profile = โพรไฟล์
 Program = โปรแกรม
 Project = โปรเจกต์
 Quota = โควตา
 Remote = รีโมท
 Resort = รีสอร์ต
 Save = เซฟ
 Seafood = ซีฟู้ด
 Sensor = เซนเซอร์
 Series = ซีรีส์
 Shirt = เชิ้ต
 Shock = ช็อก
 Shopping = ชอปปิง
 Smart phone = สมาร์ทโฟน
 Social media = โซเชียลมีเดีย
 Software = ซอฟต์แวร์

9
 Spaghetti = สปาเกตตี
 Spoil = สปอยล์
 Staff = สตาฟ
 Start = สตาร์ต
 Steak = สเต๊ก
 Strawberry = สตรอว์เบอร์รี
 Style = สไตล์
 Stylist = สไตลิสต์
 Subscribe = ซับสไครบ์
 Super = ซูเปอร์
 Sweater = สเวตเตอร์
 Taxi = แท็กซี่
 Technology = เทคโนโลยี
 Update = อัปเดต
 Upload = อัปโหลด
 Vaccine = วัคซีน
 Version = เวอร์ชัน
 Video = วิดีโอ
 View = วิว
 Vintage = วินเทจ
 Wallpaper = วอลล์เปเปอร์

10
 Web browser = เว็บเบราว์เซอร์
 Work = เวิร์ก
 Workshop = เวิร์กชอป
 Yacht = ยอร์ช (เรือยอร์ช)

11
คำทับศัพท์
คือคำที่ถ่ายเสียงมาจากรูปคำในภาษาอื่น และนำมาเขียนในรูปแบบของภาษาไทย เพื่อให้
คนที่ใช้ภาษาสามารถออกเสียงได้อย่างถูกต้อง หรืออย่างน้อยก็ใกล้เคียงกับภาษาเดิม บาง
คำก็ใช้ตามความสะดวกปากในการออกเสียง จนแทบจะกลมกลืนกับภาษาไทย คำทับศัพท์
นั้นยืมมาจากภาษาต่างประเทศหลายภาษา เช่น ทมิฬ เปอร์เซียร์ อาหรับ ญี่ปุ่น โปรตุเกส
ฝรั่งเศส ฮินดี พม่า มอญ

12
หลักเกณฑ์การทับศัพท์
1. ถอดอักษรในภาษาเดิมพอควรแก่การแสดงที่มาของรูปศัพท์
2. เขียนในรูปที่อ่านได้สะดวกในภาษาไทย
3. คำทับศัพท์ที่ใช้มานานให้ใช้แบบเดิม เช่น เชิ้ต ก๊าซ แก๊ส
4. ถ้าตัว T อยู่หน้าคำแทน ตัว “ท” ถ้าตัว T อยู่ท้ายคำแทน ตัว “ต”
5. ถ้าตัว P อยู่หน้าคำแทน ตัว “พ” ถ้าตัว P อยู่ท้ายคำแทน ตัว “ป”

คำทับศัพท์ที่มักเขียนผิด
คำ = คำที่ถูกต้อง // คำที่มักเขียนผิด
Like = ไลก์ // ไลค์
Graphic = กราฟิ ก // กราฟฟิ ก/กราฟฟิ ค/กราฟิ ค
Click = คลิก // คลิ๊ก
E-mail = อีเมล // อีเมลล์/อีเมล์
Break = เบรก // เบรค
Technic = เทคนิค // เทคนิก/เทกนิค
Game = เกม // เกมส์
Video = วิดีโอ // วิดิโอ/วีดีโอ
Function = ฟังก์ชัน // ฟังก์ชั่น
Version = เวอร์ชัน // เวอร์ชั่น
Update = อัปเดต // อัพเดท/อัพเดต
Present = พรีเซนต์ // พรีเซนท์
Bank = แบงก์ // แบงค์
Topic = ทอปปิ ก // ท็อปปิ ก

13
Website = เว็บไซต์ // เวบไซต์/เว็บไซท์
Facebook = เฟซบุ๊ก // เฟสบุ๊ก/เฟสบุ๊ค/เฟสบุค

14
เรื่อง โคลงโลกนิติ
โคลงโลกนิติ เป็นวรรณกรรมประเภทคำสอน ในลักษณะของโคลงสุภาษิต คำว่า โลก
นิติ (อ่านว่า โลก-กะ-นิด) แปลว่า ระเบียบแบบแผนแห่งโลก เนื้อหาในโคลงโลกนิติจึงมุ่ง
แสดงความจริงของโลกและสัจธรรมของชีวิต เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้เท่าทันต่อโลก และเข้าใจใน
ความเป็นไปของชีวิต พร้อมเป็นแม่แบบเพื่อให้ผู้อ่านได้ดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้องดีงาม
สืบไป
โคลงโลกนิติมีความไพเราะเหมาะสมทั้งด้านรูปแบบและเนื้อหาปรัชญาสาระ ครบคุณค่าทาง
วรรณกรรม ทำให้เป็นที่แพร่หลายในหมู่คนทั่วไป บางท่านกล่าวยกย่องโคลงโลกนิติว่า
เป็น อมตะวรรณกรรมคำสอน หรือ ยอดสุภาษิตอมตะ ได้รับคัดเลือกจากกระทรวง
ศึกษาธิการให้เป็นบทอ่านในหนังสือแบบเรียนสำหรับนักเรียนนักศึกษาอยู่ทุกยุคสมัย และได้
รับการจัดให้เป็นหนึ่งในหนังสือดี๑๐๐ เล่มที่คนไทยควรอ่าน
โคลงโลกนิติเชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยนักปราชญ์ในสมัยนั้นได้คัดเลือกหา
คาถาสุภาษิตภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตที่ปรากฏในคัมภีร์ต่างๆ เช่น คัมภีร์โลกนิติ,
คัมภีร์ธรรมนีติ, คัมภีร์ราชนีติ, หิโตปเทศ, ธรรมบท และ พระไตรปิฎก เป็นต้น มาถอด
ความแล้วเรียบเรียงแต่งเป็นโคลงโลกนิติ
ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนฯ
ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรด
เกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์ฯ) ในปี พ.ศ. 2374 ก็มีดำริ
ให้จารึกวิชาการสาขาต่างๆ ไว้บนแผ่นศิลาที่ประดับไว้ตามเสาหรือกำแพงพระวิหาร ในการ
นี้จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนเดชอดิศร (ต่อมาได้
ดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร) ทรงชำระโคลงโลกนิติ
ของเก่าให้ประณีตไพเราะยิ่งขึ้น เพื่อจารึกไว้ในคราวเดียวกันจำนวนโคลงโลกนิติที่ปรากฏ
ต้นฉบับในสมุดไทยมีทั้งสิ้น 408 บท แต่ที่จารึกไว้ในวัดพระเชตุพนฯ แผ่นละบท มี 435
แผ่น (รวมโคลงนำ 2 บท) คาดว่ามีโคลงที่แต่งเพิ่มเติมเพื่อให้พอดีกับพื้นที่จารึก

15
โคลงโลกนิติ เป็นวรรณกรรม ประเภทคำสอน ในลักษณะของโคลงสุภาษิต คำว่า โลก
นิติ (อ่านว่า โลก-กะ-นิด) แปลว่า ระเบียบแบบแผนแห่งโลก
เนื้อหาในโคลงโลกนิติจึงมุ่งแสดงความจริงของโลกและสัจธรรมของชีวิต เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้
เท่าทันต่อโลก และเข้าใจในความเป็นไปของชีวิต พร้อมเป็นแม่แบบเพื่อให้ผู้อ่านได้ดำเนิน
ชีวิตไปในทางที่ถูกต้องดีงามสืบไป
โคลงโลกนิติมีความไพเราะเหมาะสมทั้งด้านรูปแบบและเนื้อหาปรัชญาสาระ ครบคุณค่าทาง
วรรณกรรม ทำให้เป็นที่แพร่หลายในหมู่คนทั่วไป บางท่านกล่าวยกย่องโคลงโลกนิติว่า
เป็น อมตะวรรณกรรมคำสอน หรือ ยอดสุภาษิตอมตะ ได้รับคัดเลือกจากกระทรวง
ศึกษาธิการให้เป็นบทอ่านในหนังสือแบบเรียนสำหรับนักเรียนนักศึกษาอยู่ทุกยุคสมัย และได้
รับการจัดให้เป็นหนึ่งในหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน
โคลงโลกนิติมีลักษณะเด่นในการประพันธ์คือ เป็นการแต่งโคลงสี่สุภาพที่เข้าใจง่าย เมื่ออ่าน
แล้วคนธรรมดาทั่วไปสามารถเข้าใจได้ทันที

เรื่องย่อของโคลงโลกนิติ
โคลงโลกนิติ เริ่มต้นโดยการเล่าถึงที่มาว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความ
ประสงค์ให้นำโคลงโลกนิติมาประพันธ์ใหม่เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนก่อนจะเข้าสู่เรื่องราว
คำสอนที่หลากหลาย ลักษณะคำสอนในโคลงโลกนิติมี 2 ลักษณะคือ สอนอย่างตรงไปตรง
มา และสอนอย่างเปรียบเทียบ โดยเนื้อหาหลัก ๆ จะเกี่ยวกับคุณและโทษจากการคบเพื่อนที่
ดีและไม่ดี ลักษณะของคนพาล พิจารณาตนและสังเกตคนรอบข้าง สอนให้ใช้ชีวิตอย่าง
ปลอดภัย สอนเรื่องการประมานตน สอนให้เห็นคุณค่าของความดี เป็นต้น สามารถจัดกลุ่ม
จริยธรรมคำสอนในเรื่องได้ดังนี้
ประวัติ
สำนวนเก่า

16
โคลงโลกนิติสำนวนเก่าเชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยนักปราชญ์ในสมัยนั้นได้
คัดเลือกหาคาถาสุภาษิตภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตที่ปรากฏในคัมภีร์ต่างๆ เช่น คัมภีร์
โลกนิติ, คัมภีร์ธรรมนีติ, คัมภีร์ราชนีติ, หิโตปเทศ, ธรรมบท และ พระไตรปิฎกเป็นต้น มา
ถอดความแล้วเรียบเรียงแต่งเป็นโคลงโลกนิติ
 ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนฯ
ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรด
เกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์ฯ) ในปี พ.ศ. 2374 ก็มีดำริให้
จารึกวิชาการสาขาต่าง ๆ ไว้บนแผ่นศิลาที่ประดับไว้ตามเสาหรือกำแพงพระวิหาร ในการนี้
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนเดชอดิศร (ต่อมาได้ดำรง
พระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร) ทรงชำระโคลงโลกนิติสำนวน
เก่าให้ประณีตไพเราะยิ่งขึ้น เพื่อจารึกไว้ในคราวเดียวกัน
จำนวนโคลงโลกนิติที่ปรากฏต้นฉบับในสมุดไทยมีทั้งสิ้น 408 บท แต่ที่จารึกไว้ในวัด
พระเชตุพนฯ แผ่นละบท มี 435 แผ่น (รวมโคลงนำ 2 บท) คาดว่ามีโคลงที่แต่งเพิ่มเติม
เพื่อให้พอดีกับพื้นที่จารึก
o โคลงโลกนิติ ฉบับถอดความ ถอดความโดย นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
อ้างจาก ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนฯ ทั้ง 435 บท แต่ละบทประกอบด้วย บท
โคลง, บทแปลคำศัพท์, บทถอดความ
รูปแบบของหนังสือประชุมโคลงโลกนิติ
หนังสือประชุมโคลงโลกนิติขึ้นต้นด้วยโคลงนำ 2 บท คือ

๏ อัญขยมบรมนเรศเรื้อง รามวงศ์
พระผ่านแผ่นไผททรง สืบไท้
แสวงยิ่งสิ่งสดับองค์ โอวาท
หวังประชาชนให้ อ่านแจ้งคำโคลง

17
๏ ครรโลงโลกนิตินี้ นมนาน
มีแต่โบราณกาล เก่าพร้อง
เป็นสุภสิตสาร สอนจิต
กลดั่งสร้อยสอดคล้อง เวี่ยไว้ในกรรณ

จากนั้น จะแยกโคลงออกเป็นชุดๆ แต่ละชุดมีส่วนประกอบดังนี้


 ตัวเลขลำดับกำกับชุด
 คาถา โดยชุดที่มีคาถา จะเขียนคาถาไว้ที่ต้นบท พร้อมชื่อคัมภีร์อันเป็นที่มาของ
คาถานั้น
o ถ้าโคลงชุดนี้ไม่มีคาถา จะเขียนว่า ไม่พบคาถา
 อ้างอิงท้ายคาถา (ถ้ามีคาถา)
o แหล่งที่มา เช่น คัมภีร์โลกนิติ, คัมภีร์ธรรมนีติ, คัมภีร์ราชนีติ, หิโตปเทศ,
ธรรมบท, พระไตรปิฎก
o ถ้าไม่พบที่มาของคัมภีร์ จะเขียนว่า ไม่ปรากฏที่มา
 ตัวโคลง
 อ้างอิงท้ายโคลง
o โคลงสำนวนเก่า จะเขียนว่า สำนวนเก่า
o โคลงพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร (จารึกวัดพระเชตุพนฯ)
จะเขียนว่า สมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร
ตัวอย่าง

18
โคลงชุดที่ ๑๗๐ เป็นดังนี้

ปฐพฺยา มธุรา ติณี อุจฺฉุ นารี สุภาสิตํ


อุจฺฉุนารีสุ ตปฺปนฺติ น ตปปติ สุภาสิตํ
ไม่ปรากฏที่มา

๏ รสหวานในโลกนี้ มีสาม
หญิงรูปบริสุทธิ์งาม อีกอ้อย
สมเสพรสกลกาม เยาวโยค
หวานไป่ปานรสถ้อย กล่าวเกลี้ยงไมตรี
สำนวนเก่า

๏ หวานใดในโลกนี้ มีสาม สิ่งนา


หวานหนึ่งคือรสกาม อีกอ้อย
สมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร

หนังสืออื่นที่มีที่มาจากคัมภีร์โลกนิติ
นอกจากโคลงโลกนิติสำนวนเก่า และโคลงโลกนิติในพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยา
เดชาดิศรแล้ว ยังมีหนังสืออีกหลายเล่มที่มีที่มาจาก คัมภีร์โลกนิติ
(กล่าวคือ มีที่มาเดียวกับโคลงโลกนิติ ไม่ใช่แต่งไปจากโคลงโลกนิติ) ได้แก่
 โลกนิติคำฉันท์

19
ประพันธ์โดยขุนสุวรรณสารวัด เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๕ เป็นคำฉันท์จำนวน ๒๖๕ บท ตามคาถา
ของคัมภีร์โลกนิติ
 โคลงโลกนิติ จากหนังสือวชิรญาณ เล่ม ๒ จ.ศ. ๑๒๔๗
เป็นการรวบรวมคัมภีร์โลกนิติ ฉบับภาษาบาลี ซึ่งมี ๗ กัณฑ์ โคลงโลกนิติ พระนิพนธ์ของสม
เด็จฯ พระยาเดชาดิศร และโคลงโลกนิติ ที่เข้าใจว่าเป็นสำนวนของพระยาศรีสุนทร
โวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เข้ามารวมพิมพ์ไว้ในเล่มเดียวกัน
 โลกนิติไตรพากย์หรือ โลกนิติคารม
 ประพันธ์และเรียบเรียงโดยพระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) โดยจัดทำเป็น ๓
ภาษา คือ ภาษาบาลี ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำแนกเนื้อหาออกเป็น ๗กัณฑ์
ตามคัมภีร์โลกนิติ รวมมีทั้งสิ้น ๑๖๗คาถา พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๑
 โลกนิติปกรณ์
ถอดคำประพันธ์ของคัมภีร์โลกนิติทั้ง ๗ กัณฑ์ ออกเป็นร้อยแก้วภาษาไทย โดย แสง มนวิทูร
มีทั้งสิ้น ๑๕๘คาถา
 โลกนิติ - สุตวัฑฒนนีติ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ราชบัณฑิตยสถานได้ชำระและแปลคัมภีร์โลกนิติและคัมภีร์สุตวัฑฒนนีติ ออกเป็น ๔ ภาษา
คือ ภาษาบาลี ภาษาบาลีเขียนเป็นอักษรโรมัน ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ รวมมีทั้งสิ้น
๑๖๗คาถา พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.
เชิงอรรถ
ประวัติ
 สำนวนเก่า
โคลงโลกนิติสำนวนเก่าเชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยนักปราชญ์ในสมัยนั้นได้
คัดเลือกหาคาถาสุภาษิตภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตที่ปรากฏในคัมภีร์ต่างๆ เช่น คัมภีโลก
ร์นิติ คัมภีร์ธรรมนีติ คัมภีร์ราชนีติหิโตปเทศ ธรรมบทและ พระไตรปิฎกเป็นต้น มาถอด
ความแล้วเรียบเรียงแต่งเป็นโคลงโลกนิติ
ศิลาจารึกวัดพระเชตุพน

20
ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรด
เกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์ฯ) ในปี พ.ศ. ๒๓๗๔ก็มีดำริให้
จารึกวิชาการสาขาต่าง ๆ ไว้บนแผ่นศิลาที่ประดับไว้ตามเสาหรือกำแพงพระวิหาร ในการนี้
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนเดชอดิศร (ต่อมาได้ดำรง
พระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศรทรงชำระโคลงโลกนิติสำนวนเก่า
ให้ประณีตไพเราะยิ่งขึ้น เพื่อจารึกไว้ในคราวเดียวกัน
จำนวนโคลงโลกนิติที่ปรากฏต้นฉบับในสมุดไทยมีทั้งสิ้น ๔๐๘ บท แต่ที่จารึกไว้ในวัด
พระเชตุพนฯ แผ่นละบท มี ๔๓๕ แผ่น (รวมโคลงนำ ๒ บท) คาดว่ามีโคลงที่แต่งเพิ่มเติม
เพื่อให้พอดีกับพื้นที่จารึก
 สำนวนอื่น
o ปี พ.ศ. ๒๓๘๕โลกนิติคำฉันท์ แต่งเป็นคำฉันท์โดย ขุนสุวรรณสารวัด
o ปี พ.ศ. ๒๔๐๘โลกนิติคำโคลง อีกสำนวน เข้าใจว่าแต่งโดย พระยาศรีสุนทร
โวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
o ฉบับชำระ ภายหลังมีการรวบรวม สอบทาน และจัดพิมพ์เผยแพร่โคลงโลก
นิติ ดังนี้
o หนังสือสอนอ่านฯ สุภาสิตโลกนิติ์คำโคลง รวบรวม สอบทาน และจัดพิมพ์
โดยกรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๗เพื่อใช้เป็นหนังสือ
แบบเรียนสำหรับนักเรียน โดยนำโคลงที่สมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร ทรง
ชำระไว้ ๔๐๘ บท ที่ปรากฏในต้นฉบับสมุดไทย (รวมโคลงนำ ๒ บท โคลงส่ง
ท้าย ๒ บท และโคลงที่ซ้ำกันอยู่ ๕ บท) มาพิมพ์ร่วมกับโคลงอีก ๓๐ บท ที่
พบในแผ่นศิลาวัดพระเชตุพนฯ
o ประชุมโคลงโลกนิติ ฉบับหอสมุดแห่งชาติ หอสมุดแห่งชาติจัดพิมพ์โคลง
โลกนิติที่เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร ร่วมกับโคลงโลก
นิติสำนวนเก่าที่มีการค้นพบเป็นจำนวนมากจากหอพระสมุดวชิรญาณพร้อม
ระบุคาถาอันเป็นที่มาของโคลง และจัดรวบรวมกันเป็นชุดๆ ได้โคลงภาษิต

21
รวม ๕๙๓ชุด จำนวน ๙๑๑ บท (ไม่รวมโคลงนำ ๒ บท และโคลงส่งท้าย
๒บท) พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐
o ประชุมโคลงโลกนิติ ฉบับกรมวิชาการ เป็นฉบับที่คณะกรรมการคัดสรร
และเผยแพร่วรรณกรรมของชาติ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ นำ
ต้นฉบับ หนังสือสอนอ่านฯ สุภาสิตโลกนิติ์คำโคลง และ ประชุมโคลงโลกนิติ
ฉบับหอสมุดแห่งชาติ มาสอบทาน แก้ไขอักขระ ตัดโคลงที่ซ้ำซ้อน เพิ่มเติม
คาถา จัดทำคำอธิบายศัพท์ และจัดหมวดหมู่ใหม่ในโคลงบางชุด ทำให้ได้
โคลงภาษิตรวม ๕๙๔ ชุด จำนวน ๙๐๒ บท (รวมโคลงนำ ๒ บท และโคลง
ส่งท้าย ๔ บท) พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก

 ฉบับคัดลอก ที่น่าสนใจ เช่น


o กระทรวงศึกษาธิการคัดโคลงบางบท บรรจุลงเป็นบทเรียนอ่านหนึ่ง
ใน หนังสือแบบเรียน วิชาภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา
o โคลงโลกนิติ ฉบับถอดความถอดความโดย นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัยอ้าง
จาก ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนฯ ทั้ง ๔๓๕ บท แต่ละบทประกอบด้วย บท
โคลง, บทแปลคำศัพท์, บทถอดความ
รูปแบบของหนังสือประชุมโคลงโลกนิติ
หนังสือประชุมโคลงโลกนิติ ขึ้นต้นด้วยโคลงนำ ๒ บท คือ

๏ อัญขยมบรมนเรศเรื้อง รามวงศ์
พระผ่านแผ่นไผททรง สืบไท้
แสวงยิ่งสิ่งสดับองค์ โอวาท
หวังประชาชนให้ อ่านแจ้งคำโคลง

22
๏ ครรโลงโลกนิตินี้ นมนาน
มีแต่โบราณกาล เก่าพร้อง
เป็นสุภสิตสาร สอนจิต
กลดั่งสร้อยสอดคล้อง เวี่ยไว้ในกรรณ

จากนั้น จะแยกโคลงออกเป็นชุดๆ แต่ละชุดมีส่วนประกอบดังนี้


 ตัวเลขลำดับกำกับชุด
 คาถา โดยชุดที่มีคาถา จะเขียนคาถาไว้ที่ต้นบท พร้อมชื่อคัมภีร์อันเป็นที่มาของ
คาถานั้น
o ถ้าโคลงชุดนี้ไม่มีคาถา จะเขียนว่า ไม่พบคาถา
 อ้างอิงท้ายคาถา (ถ้ามีคาถา)
o แหล่งที่มา เช่น คัมภีร์โลกนิติ, คัมภีร์ธรรมนีติ, คัมภีร์ราชนีติ, หิโตปเทศ,
ธรรมบท, พระไตรปิฎก
o ถ้าไม่พบที่มาของคัมภีร์ จะเขียนว่า ไม่ปรากฏที่มา
 ตัวโคลง
 อ้างอิงท้ายโคลง
o โคลงสำนวนเก่า จะเขียนว่า สำนวนเก่า
o โคลงพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร (จารึกวัดพระเชตุพนฯ) จะ
เขียนว่า สมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร
ตัวอย่าง
โคลงชุดที่ ๑๗๐ เป็นดังนี้
ปฐพฺยา มธุรา ติณี อุจฺฉุ นารี สุภาสิตํ

23
อุจฺฉุนารีสุ ตปฺปนฺติ น ตปปติ สุภาสิตํ
ไม่ปรากฏที่มา

๏ รสหวานในโลกนี้ มีสาม
หญิงรูปบริสุทธิ์งาม อีกอ้อย
สมเสพรสกลกาม เยาวโยค
หวานไป่ปานรสถ้อย กล่าวเกลี้ยงไมตรี
สำนวนเก่า

๏ หวานใดในโลกนี้ มีสาม สิ่งนา


หวานหนึ่งคือรสกาม อีกอ้อย
หวานอื่นหมื่นแสนทราม สารพัด หวานเอย
หวานไป่ปานรสถ้อย กล่าวเกลี้ยงคำหวาน
สมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร

หนังสืออื่นที่มีที่มาจากคัมภีร์โลกนิติ
นอกจากโคลงโลกนิติสำนวนเก่า และโคลงโลกนิติในพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยา
เดชาดิศรแล้ว ยังมีหนังสืออีกหลายเล่มที่มีที่มาจาก คัมภีร์โลกนิติ (กล่าวคือ มีที่มาเดียวกับ
โคลงโลกนิติ ไม่ใช่แต่งไปจากโคลงโลกนิติ) ได้แก่
โลกนิติคำฉันท์
ประพันธ์โดยขุนสุวรรณสารวัด เป็นคำฉันท์จำนวน ๒๖๕บท ตามคาถาของคัมภีร์โลกนิติ

24
เป็นการรวบรวมคัมภีร์โลกนิติ ฉบับภาษาบาลี ซึ่งมี ๗ กัณฑ์ โคลงโลกนิติ พระนิพนธ์ของสม
เด็จฯ พระยาเดชาดิศร และโคลงโลกนิติ ที่เข้าใจว่าเป็นสำนวนของพระยาศรีสุนทรโวหาร
น้อย อาจารยางกูร) เข้ามารวมพิมพ์ไว้ในเล่มเดียวกัน

โลกนิติไตรพากย์ หรือ โลกนิติคารม


ประพันธ์และเรียบเรียงโดยพระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) โดยจัดทำเป็น ๓ ภาษา คือ
ภาษาบาลี ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ จำแนกเนื้อหาออกเป็น ๗ กัณฑ์ ตามคัมภีร์โลกนิติ
รวมมีทั้งสิ้น ๑๖๗ คาถา พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๖
 โลกนิติปกรณ์
ถอดคำประพันธ์ของคัมภีร์โลกนิติทั้ง ๗กัณฑ์ ออกเป็นร้อยแก้วภาษาไทย โดย แสง มนวิทูร
มีทั้งสิ้น ๑๕๘ คาถา
โลกนิติ - สุตวัฑฒนนีติ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
๑.ราชบัณฑิตยสถานได้ชำระและแปลคัมภีร์โลกนิติและคัมภีร์สุตวัฑฒนนีติ ออกเป็น ๔
ภาษา คือ ภาษาบาลี ภาษาบาลีเขียนเป็นอักษรโรมัน ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ รวม
มีทั้งสิ้น ๑๖๗ คาถา พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐
เชิงอรรถ
1. สุปาณี พัดทอง, "โคลงโลกนิติ" อมตะวรรณกรรมคำสอน
2. ในที่นี้เป็นรูปแบบตามหนังสือประชุมโคลงโลกนิติ ฉบับกรมวิชาการ

25
เรื่อง คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ

ลักษณะของคำภาษาต่างประเทศที่ยืมมาใช้ในภาษาไทย
๑. สาเหตุที่ทำให้เกิดการยืมภาษา
๑. ด้านภูมิศาสตร์ อาณาเขตใกล้กันทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนภาษา
๒. ด้านการค้า การติดต่อกันเป็นหนึ่งในปัจจัยการรับภาษา
๓. ด้านศาสนาและวัฒนธรรม การรับศาสนาและวัฒนธรรมจะแฝงคำศัพท์จากสิ่งเหล่า
นั้นมาด้วย
๔. ด้านการศึกษา การเรียนในต่างแดน ความรู้ในแขนงต่าง ๆ ที่เพิ่มเติมเป็นที่มาของ
ศัพท์
๕. ด้านเทคโนโลยี การรับความเจริญหรือสิ่งประดิษฐ์มาใช้เป็นการรับเอาภาษาของ
ชาตินั้น ๆ มาด้วย

๒. อิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีผลต่อภาษาไทย
๑. คำไทยมีหลายพยางค์ จากเดิมที่เป็นคำพยางค์เดียวก็เพิ่มจำนวนพยางค์เพิ่มขึ้น
โดยผสมกับภาษาอื่น
๒. คำไทยเป็นคำควบกล้ำมากขึ้น ปัจจุบันมีคำควบกล้ำที่มีเสียงควบต่างจากเดิมเพิ่ม
มากขึ้น
๓. มีตัวสะกดหลายตัวที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ทำให้มีการเขียนและการออกเสียง

26
ที่หลากหลาย
๔. มีคำศัพท์ใช้ในภาษามากขึ้น ทำให้เลือกใช้ได้เหมาะสมกับโอกาส
๓. วิธีการนำคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย
๑. ใช้ตามคำเดิมที่ยืมมา เช่น เมตร (อังกฤษ) หมายถึง หน่วยวัดความยาว แข
(เขมร) หมายถึง ดวงเดือน
๒. เปลี่ยนตัวสะกดให้ผิดไปจากเดิม เพื่อให้ออกเสียงได้สะดวก เช่น เผอิลฺ (เขมร)
เปลี่ยนเป็น เผอิญ
๓. เปลี่ยนรูปและเสียงให้ผิดไปจากเดิม เพื่อให้เหมาะกับการออกเสียงภาษาไทย เช่น
ฮวงโล้ว (จีน) เป็น อั้งโล่
๔. ตัดคำให้มีเสียงสั้นลง เช่น อุโบสถ (บาลีสันสกฤต) เป็น โบสถ์
๕. แผลงสระและพยัญชนะให้ผิดไปจากเดิม เช่น กีรติ (บาลีสันสกฤต) ไทยใช้ เกียรติ
๖. เปลี่ยนความหมายไปจากเดิมให้เข้ากับความหมายของภาษาไทย เช่น โมโห (บาลี
สันสกฤต) หมายถึง ความลุ่มหลง ความโง่เขลา ไทยใช้ โกรธ
๗. บัญญัติศัพท์ขึ้นมาใหม่ คือ การสร้างศัพท์ใหม่ที่มีความหมายตรงกับภาษาเดิม เพื่อ
ไม่ทำให้ภาษาไทยวิบัติ ซึ่งการบัญญัติศัพท์มักใช้กับคำภาษาบาลีสันสกฤตและภาษา
อังกฤษ
ากภาษาต่างประเทศ
ลักษณะคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ
เมื่อคนไทยมีการติดต่อกับประเทศต่างๆ ทั้งทางด้านการค้า การทูต การสงคราม การเมือง
การศึกษา วรรณคดี ศาสนา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และอื่นๆ ทำให้มีการรับ
ภาษาต่างๆ มาใช้ในภาษาไทยด้วย เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร ภาษาจีน
ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษามาลายู ภาษาญี่ปุ่ น เป็ นต้นการยืมคำภาษาต่างประเทศ
มาใช้ในภาษาไทยทำให้ภาษามีการงอกงามและมีคำใช้ในการสื่อสารกันมากยิ่งขึ้น คำที่ยืมมา
จากภาษาต่างประเทศ มีดังนี้
๑. คำบาลีสันสกฤต

27
ภาษาไทยมีคำศัพท์ที่มีการปรุงแต่งมาจากภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาบาลี
และภาษาสันสกฤตอยู่มาก ส่วนใหญ่จะใช้เกี่ยวกับเรื่องศาสนา วรรณคดี วัฒนธรรมและ
ขนบธรรมเนียมประเพณีรวมทั้งใช้ในคำสุภาพและคำศัพท์ทั่วไป มีหลักการสังเกต ดังนี้
๑ ) เป็นคำที่มีหลายพยางค์ เช่น
บิดา มารดา ภรรยา กรุณา อนุเคราะห์

สถาปนา เมตตา นิทรา ปราโมทย์ ทนงศักดิ์

พรรณทิวา กีฬา ฤษี พิสดาร เกษียณ


๒ ) ตัวสะกดมักมีตัวการันต์อยู่ด้วย เช่น
แม่กง > องค์ รงค์ สงฆ์ วงศ์ หงส์ ณรงค์
แม่กน > สวรรค์ มนต์ ทันต์

แม่กม > พิมพ์ อารมณ์ รื่นรมย์


แม่กก > ทุกข์ พักตร์
แม่กด > ฤทธิ์ พจน์ โจทย์
แม่กบ > กาพย์ กษาปณ์
๓ ) มีคำที่ประสมด้วยพยัญนะ ฆ , ฌ , ญ , ฎ , ฏ , ฒ , ณ , ธ , ภ , ศ , ษ , ฤ , ฬ
เช่น ฆาต , มัชฌิม , สัญญา , กุฎี , โกฏิ , วุฒิ , เณร , พุทธ , โลภ , เศรษฐี , ฤดู ,จุฬา
เป็นต้น
๔ ) เป็นคำที่มีอักษรควบ คำบาลีสันสกฤต นิยมคำที่มีอักษรควบ
เช่น จักร บุตร เพชร เนตร ประสูติ ประโยชน์ ปณิธาน ปราโมทย์ ปรัชญา
ประมาท ประกาศ ปรัชญา ประสูติ เป็นต้น
๕ ) คำบาลีไม่มีวรรณยุกต์และไม้ไต่คู้

28
ภาษาบาลี
๑. พยัญชนะบาลีมี ๓๓ ตัว สระมี ๘ ตัว
๒. คำในภาษาบาลีจะต้องมีตัวสะกดและตัวตามในวรรคเดียวกันเสมอ พยัญชนะแถวที่ ๑ ,๓
, ๕ เป็นตัวสะกด ถ้าพยัญชนะแถวที่ ๑ สะกด แถวที่ ๑ หรือ ๒ เป็นตัวตามได้ เช่น
สักกะ ทุกขะ ถ้าพยัญชนะแถวที่ ๓ สะกด แถวที่ ๓ หรือ ๔ เป็นตัวตามได้ เช่น อัคคี
วิชชา ถ้าแถวที่ ๕ สะกด พยัญชนะทุกแถวในวรรคเดียวกันตามได้ เช่น องก์ สังข์ สงฆ์
องค์ ยกเว้น ง ตามตัวเองไม่ได้
๓. สังเกตจากพยัญชนะ “ ฬ ” มีใช้เฉพาะบาลี เช่น จุฬา วิฬาร์ ครุฬ
๔. บาลีมีตัวสะกดและตัวตามที่ซ้ำกัน ไทยจะตัดตัวที่ซ้ำกันออกให้เหลือตัวเดียว เช่น
รัฏ.ฐ – รัฐ ปุญ.ญ – บุญ
นิส.สิต – นิสิต กิจจ – กิจ
เขตต – เขต
ภาษาสันสกฤต
๑. สันสกฤตมีพยัญชนะ ๓๕ ตัว ( เพิ่ม ศ ษ ) สระสันสกฤตมี ๑๔ ตัว

บาลี สันสกฤต

๑. สระบาลี มี ๘ ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ ๑. สระสันสกฤตมี ๑๔ ตัว เพิ่ม ไอ เอา


โอ๒. พยัญชนะ บาลี มี ๓๓ ตัว ฤ ฤา ฦ ฦา๒. พยัญชนะสันสกฤตมี
๓. บาลีนิยม ฬ เช่น จุฬา กีฬา อาสาฬห วิฬาร์ ๔. ๓๕ ตัว เพิ่ม ศ ษ
ไม่นิยมคำควบกล้ำและอักษรนำ เช่น ปฐม
๓. สันสกฤตใช้ ฑ ฒ เช่น จุฑา กรีฑา
มัจฉา วิชชา สามี
๔.นิยมควบกล้ำ และอักษรนำ เช่น ประถม

29
๕. มีหลักเกณฑ์การใช้ตัวสะกดตัวตามแน่นอน
๖. ใช้ริ กลางคำ เช่น อริยะ จริยา อัจฉริยะ มัตสยา วิทยา สวามี

๗. บาลีใช้ อะ อิ อุ เช่น อมตะ ติณ ปุจฉา อุตุ ๕. มีหลักตัวสะกดตัวตามไม่แน่นอน

๖. ใช้ ร กลางคำ เช่น อาจารย จรรยา


อารยะ

๘. บาลีใช้ ส ทั้งหมด เช่น สงฆ์ สามัญ ๗. สันสกฤต ใช้ ฤ เช่น อมฤต ตฤณ
ปฤจฉา

๒. ตัวสะกดตัวตามของสันสกฤตจะอยู่ต่างวรรคกัน เช่น สัปดาห์ อักษร บุษบา อัศจรรย์


๓. สันสกฤตนิยมใช้ตัว “ ฑ ” เช่น กรีฑา จุฑา ครุฑ
๔. นิยมใช้อักษรควบเป็นตัวสะกด เช่น จักร อัคร บุตร จันทร
๕. มักจะมี “ ษ ” หรือ “ รร ” อยู่ในคำนั้น ๆ เช่น ราษฎร์ ฤษี ภรรยา กฤษณา
ตารางแสดงตัวสะกด ตัวตาม ในภาษาบาลี – สันสกฤต
แถว
ฐานที่เกิด วรรค ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ เศษวรรค

คอ วรรค กะ ก ข ค ฆ ง ห อ ฮ

เพดานปาก วรรค จะ จ ฉ ช ฌ ญ ย ศ

ปุ่มเหงือก วรรค ฏะ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ร ษ ฬ

ฟัน วรรค ตะ ต ถ ท ธ น ล ส

ริมฝีปาก วรรค ปะ ป ผ พ ภ ม ว

30
๒. ภาษาเขมร
ภาษาเขมรเข้ามาสู่ประทศไทยโดยทางการค้า การสงคราม การเมืองและ
วัฒนธรรม คำที่มาจากภาษาเขมรส่วนใหญ่ที่พบมักใช้ในวรรณกรรม วรรณคดี คำ
ราชาศัพท์ และใช้ในชีวิตประจำวัน มีหลักในการสังเกตดังนี้
๑ ) คำภาษาเขมรมักไม่มีวรรณยุกต์
ยกเว้น เสน่ง เขม่า เป็นต้น
๒ ) คำภาษาเขมรมักไม่ประวิสรรชนีย์
เช่น ลออ ผจง ผอบ ฉงน เป็นต้น
๓ ) มักใช้ ร ล ญ เป็นตัวสะกดในมาตรา แม่ กน เช่น
ขจร ขะ-จอน ร เหมือน น สะกด
กาล กาน ล เหมือน น สะกด
เจริญ จะ-เริน ญ เหมือน น สะกด
๔ ) มักใช้ จ ส เป็นตัวสะกดในมาตรา แม่ กด เช่น
เสด็จ เผด็จ บำเหน็จ บังอาจ ตรัส จำรัส เป็นต้น
๕ ) มักเป็นคำควบกล้ำและอักษรนำ
กระจอก กระออม ขนาด ขลัง โขมด ตรอก เฉนียน เผด็จ เป็นต้น
๖ ) คำราชาศัพท์บางคำมาจากภาษาเขมร เช่น

คำราชาศัพท์ ความหมาย

แกล หน้าต่าง

31
ปับผาสะ ปอด

ขนง คิ้ว

๗ ) คำที่ขึ้นต้นด้วย บัง บัน บำ บรร มักมาจากภาษาเขมร เช่น


บันดาล บันได บันทึก บันเทิง บันลือ บันโดย
บันโหย บันเดิน บันกวด บังเกิด บรรทัด
บรรทม บรรทัด บรรจุ บรรลุ บรรพต บรรเลง
บรรพชา บรรหาร บรรทุก บำเพ็ญ บำราศ
บำเรอ บำนาญ บำเหน็จ บำบัด บำบวม
บังคม บังเกิด บังอาจ บังเหียน บังคับ บังคล บังเหิน
๘ ) คำที่ขึ้นต้นด้วย กำ คำ จำ ชำ ดำ ตำ ทำ มักมาจากภาษาเขมร
เช่น
กำเนิด กำหนด กำจร คำนับ จำเริญ จำเนียร ชำนาญ
ดำเนิน ดำริ ดำรง ตำรวจ ตำนาน ทำนาย ทำเนียม
๙ ) คำภาษาเขมรส่วนใหญ่มักแผลงคำได้ เช่น
เกิด > กำเนิด จ่าย >
จำหน่าย
ครบ > คำรบ ชาญ > ชำนาญ
แจก > จำแนก ตรวจ > ตำรวจ

ความรู้เสริมเกี่ยวกับคำแผลง

32
แผลงพยัญชนะ คือ การเปลี่ยนพยัญชนะไปจากเดิม เช่น

ขจร เป็น กำจร ฉลุ เป็น ชำลุ รำ เป็น ระบำ

แข็ง เป็น กำแหง เฉียง เป็น เฉลียง ราญ เป็น รำบาญ


แผลงสระ คือ การเปลี่ยนสระให้ผิดไปจากเดิม
วชิระ เป็น วิเชียร
บุราณ เป็น โบราณ

๓. ภาษาจีน
ภาษาจีนเข้าสู่ประเทศไทยโดยการติดต่อค้าขาย ลักษณะภาษาจีนและภาษาไทยมี
คล้ายคลึงกัน เพราะเป็นภาษาคำโดดและมีเสียงวรรณยุกต์ โดยมากเป็นคำนามที่เป็นเรื่อง
ของ
อาหารและเครื่องใช้
คำจีนที่นำมาใช้โดยมากใช้ตามสำเนียงเดิม จะมีเพี้ยนไปบ้างก็ไม่มาก พอฟังกันรู้
เรื่อง เช่น เกาเหลา แป๊ะซะ ก๋วยเตี๋ยว เต้าหู้ เต้าส่วน พะโล้ กวยจั๊บ จับฉ่าย บะฉ่อ
เกี๊ยว ปุ้งกี๋ ตะหลิว บะหมี่ เกี๊ยะ เป็นต้น
๔. ภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษเข้ามาในภาษาไทย เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและการ
ศึกษาในยุคที่ไร้พรมแดน ทำให้คนไทยเรียนรู้ภาษาอังกฤษมากขึ้น เช่น กราฟ
กลูโคส กอล์ฟ คริสต์มาส เครดิต ( ชื่อเสียง ) เช็ค เชิ้ต โชว์ ชอล์ก เช็ค เชียร์ ซอส
ซีเมนต์ เซ็น เต็นท์ ทอฟฟี่ บล็อก บรู๊ฟ ปลั๊ก พลาสติก ฟุลสแก๊ป ฟิล์ม ฟิวส์ แฟลต
ไมโครเวฟ ไมโครโฟน ไมล์ ริบบิ้น ลิฟต์ เสิร์ฟ หรีด โหวด อิเล็กทรอนิกส์ โอลิมปิก
ไอศกรีม ฮอกกี้ เฮลิคอปเตอร์ เป็นต้น
๕. ภาษาชวา

33
ภาษาชวาเข้าปะปนในภาษาไทย เพราะอิทธิพลจากวรรณคดีเรื่องอิเหนา ซึ่งเป็นพระราช
นิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลศหล้านภาลัยเป็นที่รู้จักแพร่หลาย คนไทยจึงรู้จักภาษา
ชวา และนำภาษาชวามาใช้ในภาษาไทยมากขึ้น เช่น กระยาหงัน ( สวรรค์ ) กริช โนรี (
นกแก้ว ) ซาหริ่ม ( ขนม ) ปั้นเหน่ง ( เข็มขัด) โดม ( สูง ) บุหงา ( ดอกไม้ ) บุหรง
( นกยูง ) บุหลัน ( ดวงจันทร์ ) ยาหยี ( น้องรัก ) ยี่หว่า ( ชีวิตจิตใจ ) ตุนาหงัน ( คู่
หมั้น ) มะงุมมะงาหรา ช่าโบะ( ผ้าห่ม )
๖. ภาษาเปอร์เซีย เช่น
กะลาสี ( ลูกเรือ ) กากี กาหลิน กุหลาบ จารบิ บัลกรี ยี่หร่า สักหลาด ชาร์ ( กษัตริย์ )
๗. ภาษาโปรตุเกส
ภาษาโปรตุเกสเข้ามาในสมัยพระรามาธิบดีที่ ๒ เช่น กะละมัง กะละแม ปิ่นโต เลหลัง สบู่
เหรียญ

บรรณานุกรม

ทางคณะผู้จัดทำสามารถทำรายงานเรื่องนี้ได้สำเร็จขอขอบคุณเว็บไซต์
https://th.wikisource.org/wiki
Oxford Languages https://coined-word.orst.go.th/
https://royalsociety.go.th
https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/34240
https://dltv.ac.th/teachplan/episode/43661

34
35

You might also like