You are on page 1of 8

การแยกสาร ม.

2 By KruJahh
1. นักเรียนจะใช้หลักการใดในการแยกกรวดออกจากทราย
ก. การทำให้ตกตะกอน ข. การใช้ตะแกรงร่อน
ค. การกรอง ง. การตกผลึก
2. การกรองควรใช้ในการแยกสารผสมชนิดใด
ก. แยกสารผสมที่เป็นของแข็งขนาดต่างกัน
ข. แยกสารผสมที่เป็นของแข็งกับของเหลวที่ไม่ได้ละลายอยู่ด้วยกัน
ค. แยกสารผสมที่เป็นของแข็งละลายในของเหลว
ง. แยกสารผสมที่เป็นของเหลวละลายในของเหลว
3. สารผสมชนิดใดเหมาะใช้กรวยในการแยกสาร
ก. น้ำและน้ำมัน ข. น้ำและเกลือ
ค. น้ำและลูกเหม็น ง. น้ำและน้ำตาล
4. สารในข้อใดระเหิดได้
ก. ผงไอโอดีน ข. การบูร
ค. แนฟทาลีน ง. ถูกทุกข้อ
5. สารในข้อใดระเหิดได้
ก. ผงไอโอดีน ข. การบูร
ค. แนฟทาลีน ง. ถูกทุกข้อ

การสกัดด้วยตัวทำละลาย

นำสารละลาย 4 ชนิดมาสกัดสี
จากดอกอัญชัน ได้ผลดังภาพสาร
ชนิดใดควรนำมาทำตัวละลายเพื่อ
สกัดสีจากดอกอัญชัน
ก. A ข. B
ค. C ง. D
การแยกสาร ม.2 By KruJahh
6. ข้อใดไม่ใช่หลักในการเลือกตัวทำละลายที่ดีในการสกัดด้วยตัวทำละลาย
ก. หากต้องการสกัดสีจากพืช ตัวทำละลายต้องไม่มีสี
ข. หากต้องการสกัดกลิ่น สารนั้นควรมีกลิ่นด้วย จะช่วยให้ได้กลิ่นหอมยิ่งขึ้น
ค. ตัวทำละลายต้องไม่ทำปฏิกิริยากับสารที่จะสกัด
ง. ตัวทำละลายต้องแยกออกจากสารที่จะสกัดได้ง่าย
7. สารใดนิยมใช้ในการสกัดเอาน้ำมันออกจากเมล็ดพืช
ก. น้ำ ข. เอทานอล ค. เฮกเซน ง. โทลูอีน
8. เมล็ดพืชใดไม่นิยมนำมาสกัดด้วยตัวทำละลาย
ก. เมล็ดดอกทานตะวัน ข. ถั่วแดง ค. รำข้าว ง. ถั่วเหลือง
9. การแยกสีเขียวออกจากใบเตยควรใช้วิธีการใด
ก. การกลั่นลำดับส่วน ข. การสกัดด้วยไอน้ำ
ค. การสกัดด้วยตัวทำละลาย ง. การตกผลึก
10. หากทดลองสกัดสารจากขมิ้นโดยให้หลอดทดลองที่ 1 และหลอดทดลองที่ 2 ใช้ปริมาณขมิ้นเท่ากัน แต่
หลอดที่ 1 ใช้ขมิ้นที่หั่นเป็นชิ้นใหญ่ ๆ หลอดที่ 2 ใช้ขมิ้นที่หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วเติมเอทานอลเข้มข้น 95
เปอร์เซ็นต์ ลงในหลอดทดลองทั้งสองหลอดละ 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร เขย่าด้วยแรงและเวลาที่เท่ากัน ผลการ
ทดลองควรเป็นอย่างไร
ก. หลอดที่ 1 ให้สารสกัดจากขมิ้นมากกว่า
ข. หลอดที่ 2 ให้สารสกัดจากขมิ้นมากกว่า
ค. หลอดที่ 1 และหลอดที่ 2 ให้สารสกัดจากขมิ้นเท่ากัน
ง. หลอดที่ 1 และ 2 ไม่ให้สารสกัดจากขมิ้นเลย
การกลั่นแบบธรรมดา (distillation)
การแยกสาร ม.2 By KruJahh
การกลั่นลำดับส่วน(fractional distillation)

ความแตกต่างการกลั่นธรรมดาและการกลั่นลำดับส่วน
การแยกสาร ม.2 By KruJahh
11. ข้อใดกล่าวถึงการกลั่นได้ไม่ถูกต้อง
ก. อาศัยคุณสมบัติของสาร: จุดเดือด
ข. สารที่มีจุดเดือดต่ำก็จะถูกแยกออกมาก่อน
ค. เมื่อสารเปลี่ยนสถานะเป็นไอจะเปลี่ยนให้กลับมาเป็นสถานะของเหลวด้วยการควบแน่น
ง. แยกสารด้วยความหนาแน่น
12. ในการแยกน้ำมันดิบในอุตสาหกรรมน้ำมัน ใช้วิธีการใด
ก. อาศัยความหนาแน่น ข. การสกัดด้วยตัวทำละลาย
ค. การกลั่นลำดับส่วน ง. การระเหิด
13. ข้อใดคือข้อดีของการกลั่นลำดับส่วน
ก. แยกสารที่มีปริมาณน้อยๆผสมอยู่
ข. สามารถแยกสารที่มีจุดเดือดต่างกันน้อยๆได้
ค. ประหยัดค่าใช้จ่าย
ง. สามารถแยกสารที่มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวที่แตกต่างกันได้
14. พืชบางชนิดมีสารที่มีกลิ่นหอม บางชนิดมีน้ำมัน เช่น ขมิ้น หั่นเป็นชิ้นเล็กๆเติมน้ำและเติมเอทานอล ซึ่งเป็น
การแยกสารจากส่วนต่างๆของพืช ด้วยวิธีการใด
ก. การกลั่น ข. การกรอง
ค. การสกัดด้วยตัวทำละลาย ง. การละลายของสาร

15. ตัวทำละลายต่างชนิดกันใช้สกัดสารได้เหมือนกันหรือต่างกัน
ก. เหมือนกันได้สารชนิดเดียวกัน
ข. ต่างกันเพราะสารแต่ละชนิดละลายได้เท่ากัน
ค. ต่างกัน เพราะสารแต่ละชนิดละลายในตัวทำละลายต่างกัน
ง. เหมือนกัน สีและกลิ่นเท่ากัน
16. การสกัดน้ำมันจากพืชบางชนิด เช่น รำข้าว ถั่วเหลือง ปาล์ม ทานตะวัน งา ละหุ่ง ตัวทำละลายที่เหมาะสม
คือสารใด
ก. เอทานอล ข. เบนซีน ค. เฮกเซน ง. น้ำ
การแยกสาร ม.2 By KruJahh
การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ (steam distillation)

17. เหตุใดจึงนิยมใช้วิธีการสกัดด้วยไอน้ำในการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืช
ก. ทำได้ง่าย ข. สารจะมีกลิ่นหอมมากขึ้น
ค. สารไม่ละลายตัวขณะสกัด ง. จุดเดือดของสารไม่แตกต่างกัน
18. สมบัติของสารที่นำมาสกัดด้วยไอน้ำคือข้อใด
ก. ต้องละลายน้ำได้ดีและมีจุดเดือดต่ำ
ข. ต้องละลายน้ำได้ดีและมีจุดเดือดสูง
ค. ต้องละลายน้ำไม่ดีและมีจุดเดือดต่ำ
ง. ต้องละลายน้ำไม่ดีและมีจุดเดือดสูง
19. การกลั่นด้วยไอน้ำจะทำไม่ได้เมื่อสารมีลักษณะอย่างไร
ก. สารระเหยได้ง่าย ข. สารละลายน้ำไม่ได้
ค. สารมีจุดเดือดต่ำกว่าน้ำ ง. สารละลายน้ำได้
20. หากต้องการสกัดเอาน้ำมันหอมระเหยออกจากมะนาวควรใช้ส่วนใดมาสกัด
ก. ใบ ข. ราก ค. เปลือกของผล ง. ลำต้น
21. ผลิตภัณฑ์ใดไม่ได้มาจากการกลั่นน้ำมันดิบ
ก. แก๊สหุงต้ม ข. ยางมะตอย ค. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ง. น้ำมันเตา
การแยกสาร ม.2 By KruJahh
22. สารละลายชนิดหนึ่งประกอบด้วยสาร X , Y และ Z ผสมกันอยู่ เมื่อนำมากลั่นลำดับส่วนพบว่า สาร Y
แยกออกมาก่อนตามด้วยสาร Z และสาร X ตามลำดับ จุดเดือดของสาร X , Y และ Zควรเป็นข้อใดตามลำดับ
ก. 85 , 100 , 120
ข. 100 , 85 , 120
ค. 85 , 120 , 100
ง. 120 , 85 , 100
23. การแยกสารด้วยวิธีการกลั่นอาศัยหลักการใดเป็นสำคัญ
ก. ความแตกต่างของจุดเดือด ข. ความสามารถในการละลาย
ค. ความสามารถในการดูดซับ ง. ความแตกต่างของจุดหลอมเหลว

การแยกสารโดยวิธีโครมาโทกราฟี (chromatography)
การแยกสาร ม.2 By KruJahh
24. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับโครมาโทกราฟี
ก. เป็นการแยกสารโดยอาศัยความแตกต่างของการดูดซับ
ข. เป็นการแยกสารโดยอาศัยความแตกต่างของความสามารถในการละลาย
ค. เป็นการแยกสารโดยอาศัยความแตกต่างของการละลายและการดูดซับ
ง. เป็นการแยกสารโดยอาศัยความแตกต่างของการเคลื่อนที่บนตัวดูดซับ
25. หากต้องการแยกองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ที่สกัดได้จากใบไม้ควรใช้วิธีใด
ก. การระเหย ข. การกลั่น ค. สกัดด้วยไอน้ำ ง. โครมาโทกราฟี
26. ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. ค่า ต้องมีค่าไม่เกิด 1
ข. ค่า ไม่มหี น่วย
ค. ค่า ของสารแต่ละชนิดจะมีค่าเฉพาะตัว
ง. ค่า มาก แสดงว่าละลายได้ดีในตัวทำละลายและถูกดูดซับได้น้อย
ใช้ข้อมูลจากการทดลองต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 27-28
เมื่อนำหมึกสีแดงมาจุดบนกระดาษกรองแล้วนำไปจุ่มในกล่องพลาสติกที่มีน้ำ ตั้งทิ้งไว้ได้ผลการทดลองดังรูป
27. หมึกสีแดงประกอบด้วยสารกี่ชนิดเป็นอย่างน้อย
ก. 1 ชนิด ข. 2 ชนิด
ค. 3 ชนิด ง. 4 ชนิด
28. ข้อใดสรุปไม่ถูกต้อง
ก. สาร A ถูกดูดซับได้ดีที่สุด
ข. หมึกสีแดงมีสารที่เป็นองค์ประกอบอย่างน้อย 3 ชนิด
ค. สาร B จะมีค่า มากกว่าสาร C
ง. สาร C มีความสามารถในการละลายน้อยกว่าสาร B
ใช้ข้อมูลจากตารางต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 29-33

29. จากตารางข้อใดสรุปถูกต้อง
ก. สาร A มีสารองค์ประกอบ 3 ชนิด
ข. สาร B เป็นสารบริสุทธิ์
ค. สีน้ำเงินถูกดูดซับได้ดีกว่าสีแดง
ง. สีเหลืองละลายในตัวทำละลายได้ดีกว่าสีแดง
30. สีที่แยกได้ สีใดละลายในตัวทำละลายได้ดีที่สุด
ก. สีน้ำเงิน ข. สีแดง I ค. สีม่วง ง. สีเหลือง
การแยกสาร ม.2 By KruJahh
31. ข้อใดกล่าวถึงสารสีเหลืองได้ถูกต้อง
ก. ละลายในตัวทำละลายได้น้อยและถูกดูดซับได้มาก
ข. ละลายในตัวทำละลายได้น้อยและถูกดูดซับได้น้อย
ค. ละลายในตัวทำละลายได้มากและถูกดูดซับได้มาก
ง. ละลายในตัวทำละลายได้มากและถูกดูดซับได้น้อย
32. ถ้าสีแดงในสี A และสี B เป็นสารตัวเดียวกัน จงหาว่า X ควรมีค่าเท่าไร
ก. 8 ข. 10 ค. 16 ง. 18

33. ถ้านักเรียนต้องการทราบว่าในหมึกสีดำประกอบด้วยสารกี่ชนิดควรใช้วิธีการใด
ก. โครมาโทกราฟี ข. สกัดด้วยไอน้ำ
ค. ใช้กรวยแยก ง. สกัดด้วยตำทำละลาย

You might also like