You are on page 1of 3

ความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนประมงภายใต้องค์การการค้าโลก

ความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนประมง (Agreement on Fisheries Subsidies) เป็นการจัดทำกฎระเบียบ


เพื่อห้ามและควบคุมการอุดหนุนที่หน่วยงานภาครัฐของสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO) ให้แก่ภาคประมง
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความยั่งยืนของสัตว์น้ำทางทะเล
การเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงฯ ของสมาชิก WTO ได้เริ่มต้นในปี 2544 เนื่องจาก WTO ได้ตระหนักถึง
ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรสัตว์น้ำโลก และเห็นว่าการอุดหนุนจากสมาชิก WTO ที่ให้แก่ภาคประมงเป็น
หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการจับสัตว์น้ำมากเกินจนทรัพยากรสัตว์น้ำร่อยหรอ ที่ประชุมรัฐมนตรีองค์การ
การค้าโลกสมัย สามัญครั้งที่ 4 (MC4) จึง ได้มีปฏิญญา (Declaration) ให้ส มาชิก WTO ปรับปรุงกฎระเบียบ
เกี่ยวกับการอุดหนุนประมง อย่างไรก็ดี การเจรจาได้หยุดชะงักไปในช่วงปี 2555 – 2558 เนื่องจากท่าทีของ
สมาชิก WTO ที่แตกต่างกัน อัน เนื่องมาจากระดับการพัฒนาและเศรษฐกิจที่หลากหลาย โดยสมาชิก WTO
ได้กลับมาเริ่มเจรจาความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนประมงอีกครั้งเมื่อสหประชาชาติ (United Nations) ได้จัดทำ
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขึ้นในปี 2558 และ WTO ได้นำ SDG
ข้อที่ 14.6 ที่ระบุเกี่ยวกับ การห้ามและกำจัดการอุดหนุนประมงที่เป็นอันตรายต่อทรัพยากรสั ตว์น้ำมาเป็น
เป้าหมายในการเจรจา และในที่สุด WTO ก็สามารถสรุปผลการเจรจาความตกลงฯ ได้ในการประชุมรัฐมนตรี
องค์การการค้าโลกสมัยสามัญครั้งที่ 12 (MC12) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 17 มิถุนายน 2565 ณ สำนักเลขาธิการ
WTO นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส
ทั้งนี้ ความตกลงฯ ที่สรุปผลได้มีสาระสำคัญ ดังนี้
(1) ขอบเขตของความตกลงฯ ครอบคลุมเฉพาะการอุดหนุนการทำประมงในทะเลตามธรรมชาติ และ
กิจกรรมในทะเลที่เกี่ยวข้องกับการทำประมง (ไม่รวมถึงการอุดหนุนแก่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการทำประมงน้ำจืด)
(2) ห้ามสมาชิกให้การอุดหนุน แก่เรื อประมงหรื อผู้ประกอบการประมงหลั งจากถูก ตัดสินว่ามี ก าร
ทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing)
-2-

(3) ห้ า มสมาชิ ก ให้ ก ารอุ ด หนุ น ที ่ เ กี ่ ย วข้ อ งกั บ การทำประมงในกลุ ่ ม สั ต ว์ น ้ ำ ที ่ ถ ู ก จั บ มากเกิ น ควร
(Overfished Stocks) ยกเว้ น ในกรณี ท ี่ ส มาชิ ก มีก ารอุ ดหนุน เพื ่ อ ฟื ้ นฟู ท รั พ ยากรสัต ว์ น ้ำ หรื อ มี ก ารดำเนิน
มาตรการอื่นเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำให้อยู่ในระดับที่ยั่งยืน ก็จะสามารถให้การอุดหนุนประมงในกลุ่มที่เป็น
Overfished Stocks ต่อไปได้
(4) ห้ามสมาชิกให้ก ารอุ ดหนุ น ในพื้น ที่ ท ะเลหลวงซึ่ งไม่ มีห น่ว ยงานใดควบคุ มดูแล รวมทั้งการให้
ความระมัดระวังเป็นพิเศษสำหรับการอุดหนุน เรือประมงที่ไม่ได้ชักธงของรัฐที่ให้การอุดหนุน และการอุดหนุน
ในพื้นที่ที่ไม่ทราบสถานะของทรัพยากรสัตว์น้ำ
(5) กำหนดให้มีการปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่างสำหรับประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อย
ที่สุด (LDCs) โดยยกเว้นจากการห้ามอุดหนุนที่นำไปสู่ IUU Fishing และการอุดหนุนที่เกี่ยวข้องกับ Overfished
Stocks เป็นระยะเวลา 2 ปี ภายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ
อนึ่ง ที่ผ่านมา สมาชิก WTO มีพันธกรณีภายใต้ความตกลงว่า ด้วยการอุดหนุนและมาตรการตอบโต้
การอุ ด หนุ น (Agreement on Subsidies and Countervailing Measures: ASCM) ซึ ่ ง มี ส าระสำคั ญ คื อ
ห้ามสมาชิกให้การอุดหนุน ต้องห้าม (Prohibited Subsidy) ได้แก่ การอุดหนุน ที่มีการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับ
การส่งออก หรือการอุดหนุนที่กำหนดเงื่อนไขให้ต้องใช้วัตถุดิบภายในประเทศ สำหรับการอุดหนุนอื่น ๆ สมาชิก
WTO ยังสามารถกระทำได้ หากไม่ส่งผลกระทบต่อสมาชิก WTO รายอื่น แต่จะต้องแจ้งข้อมูลการอุดหนุนดังกล่าว
ต่อ WTO ซึ่งความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนประมงจะวางกฎระเบียบเพิ่มเติม จากความตกลง ASCM สำหรับ
การอุดหนุนที่ให้แก่ภาคประมงและกำหนดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำประมงที่สมาชิกจะต้องแจ้งเพิ่มเติม
ทั้งนี้ จากข้อมูลโครงการอุดหนุน ที่ส มาชิก WTO รายงานภายใต้ความตกลง ASCM สามารถจำแนก
โครงการอุดหนุนประมงออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ (1) การวิจัยด้านการประมงและพัฒนาด้านประมง (2) การจัดการ
และการบริ ก ารด้ า นประมง (3) การสร้ า งและปรั บ ปรุ ง เรื อ (4) การตลาด/แปรรู ป /จั ด เก็ บ /สนั บ สนุ น
โครงสร้ า งพื ้ น ฐาน และ (5) การอุ ด หนุ น น้ ำ มั น เชื ้ อ เพลิ ง โดยจากข้ อ มู ล ระหว่ า งปี 2562 – 2563 พบว่ า
สมาชิก WTO ที่มีมูลค่าการอุดหนุนประมงสูงสุด 3 รายแรก ได้แก่
(1) สหภาพยุโรปซึ่งแจ้งการอุดหนุนจำนวน 73 โครงการ เช่น the European Maritime and Fisheries
Fund ที่สนับสนุนกองทุนแก่ประเทศสมาชิก ในการจัดทำมาตรการต่าง ๆ เพื่อรักษาให้ทรัพยากรสัตว์น้ำยั่งยืน
และการให้เงินแก่ชาวประมงเพื่อปรับปรุงเรือประมงให้มีเงื่อนไขการทำงาน ความปลอดภัย และสุขลักษณะที่ดีขึ้น
รวมเป็นมูลค่าประมาณ 299,978 ล้านบาท
(2) ญี่ปุ่นซึ่งแจ้งการอุดหนุนจำนวน 3 โครงการ เช่น การให้เงินแก่ชาวประมงในการพัฒนาและปรับเปลี่ยน
เทคโนโลยีเพื่อรักษาแหล่งทำการประมงและลดผลกระทบต่อสัตว์น้ำ และการให้เงินแก่ชาวประมงเพื่อทำการประมง
อย่างยั่งยืนโดยการจัดทำมาตรการที่บริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำตามแนวปฏิบัติของภาครัฐ รวมเป็นมูลค่า
125,712 ล้านบาท
-3-

(3) จีนซึ่งแจ้งการอุดหนุนจำนวน 23 โครงการ เช่น การให้เงินแก่ชาวประมงที่ประสงค์จะเลิกทำการประมง


เพื่อลดการจับสัตว์น ้ำ และชาวประมงที่นำเรื อประมงไปทำลายเป็นปะการังเทียม และการให้เงินเพื่อพั ฒ นา
การทำประมงนอกน่านน้ำ รวมเป็นเงินมูลค่า 118,372 ล้านบาท
สำหรั บ ไทยได้ แ จ้ ง โครงการอุ ด หนุ น ในช่ ว งเวลาดั ง กล่ า วทั ้ ง หมด 3 โครงการ ได้ แ ก่ (1) โครงการ
นำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน โดยเป็นการชดเชยเยียวยาเจ้าของเรือ
ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐที่บังคับใช้ในปี 2558 (2) โครงการเพิ่มขีดความสามารถด้านการผลิตและ
การตลาดกุ้งทะเลเพื่อการบริโภค และ (3) โครงการพัฒนาอาชีพและส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนประมง
รวมเป็นมูลค่า 603,458,700 บาท1
ความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนประมงจะช่วยลดการอุดหนุนประมงและสร้างกฎระเบียบในการอุดหนุน
ประมงของสมาชิก WTO เพื่อรักษาให้ทรัพยากรสัตว์น้ำมีความยั่งยืนในอนาคต อย่างไรก็ดี ความตกลงฯ จะยังไม่มี
ผลบั ง คั บ ใช้ จ นกว่า สมาชิ ก WTO จำนวน 2 ใน 3 จากจำนวนสมาชิ กทั ้ งหมด หรือสมาชิ กจำนวน 110 ราย
จากทั้งหมด 164 รายได้ให้ส ัตยาบันเพื ่ อยอมรั บให้ ความตกลงฯ กลายมาเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของความตกลงของ
องค์การการค้าโลก โดยในปัจจุบันมีสมาชิก WTO จำนวน 2 รายที่ให้สัตยาบันแล้ว ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ และ
สิงคโปร์ ส่วนไทยอยู่ระหว่างดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สัตยาบันความตกลงฯ
----------------------------------------------------------
ส่วน RoOs
สำนักการค้าสินค้า
กุมภาพันธ์ 2566

1
ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนประมง ไทยจะยังคงดำเนินโครงการเหล่านี้ต่อไปได้ เนื่องจากไม่เข้าข่ายเป็นการอุดหนุน
ที่นำไปสู่การทำ IUU Fishing และการทำประมงในกลุ่ม Overfished Stocks

You might also like