You are on page 1of 3

องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO)

องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization: IMO) เป็นทบวงการช านั ญ


พิเศษแห่งสหประชาชาติ (UN specialized agency) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2502 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นองค์กรกลาง
ในการกาหนดมาตรฐานและแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล รวมทั้ง
ส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศสมาชิก ปัจจุบันมีสมาชิกจานวน 174 ประเทศ และสมาชิกสมทบ
ได้แก่ หมู่เกาะแฟโร มาเก๊า และฮ่องกง เป็นสมาชิกสมทบ โดยสานักงานใหญ่ของ IMO ตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน สหราช
อาณาจักร
โครงสร้างองค์กรของ IMO
1. สมัชชา (Assembly) ประกอบด้วยประเทศสมาชิก IMO ทั้งหมด เป็นองค์กรที่มีอานาจสูงสุดทาหน้าที่
ให้ ความเห็นชอบแผนงาน งบประมาณและการตัดสินใจทางการเงิน และประเด็นอื่นๆ รวมทั้งการเลือกตั้งประเทศ
สมาชิกคณะมนตรี IMO โดยสมัชชาจะมีการประชุม 1 ครั้งในทุก 2 ปี
2 คณะมนตรี (Council) เป็นองค์กรบริหารงานประกอบด้วยสมาชิ กจานวน 40 ประเทศ ได้รับ
เลือกตั้งจากสมัชชาโดยอยู่ในวาระ 2 ปี โดยคณะมนตรี IMO จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่ ม A ประเทศสมาชิ ก ที่ มีผ ลประโยชน์ มากที่ สุ ด ในการให้ บ ริการด้ านการขนส่ งสิ นค้าทางเรือ
ระหว่างประเทศ จานวน 10 ประเทศ
กลุ่ ม B ประเทศสมาชิ กที่ มี ผลประโยชน์ มากที่ สุ ดในด้ านการค้ าที่ ขนส่ งทางทะเลระหว่างประเทศ
จานวน 10 ประเทศ
กลุ่ม C ประเทศสมาชิกที่มิได้อยู่ในกลุ่ม A หรือ B แต่มีผลประโยชน์เป็นพิเศษในด้านการขนส่งทาง
ทะเล หรือ การเดินเรือ และเป็นตัวแทนภูมิภาคต่างๆ ของโลก จานวน 20 ประเทศ
คณะมนตรีจะทาหน้าที่กากับดูแลงานแทนสมัชชาในระหว่างสมัยการประชุม ได้แก่ การประสานงาน
กิจกรรมของคณะกรรมการและองค์กรสาขาต่างๆ ของ IMO การพิจารณาร่างแผนงานและงบประมาณเพื่อนาเสนอ
สมัชชา รับทราบรายงาน/ข้อเสนอจากคณะกรรมการและองค์กรสาขาอื่นๆ และนาเสนอสมัชชาและประเทศสมาชิก
พร้อมกับข้อเสนอแนะ การแต่งตั้งเลขาธิการ IMO รวมทั้งการจัดทาข้อตกลงที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับองค์การอื่นๆ
โดยคณะมนตรีปกติจะประชุมปีละ 2 ครั้ง
รายชื่อประเทศสมาชิกคณะมนตรี IMO วาระปัจจุบัน (ปี 2563-2564)
การประชุมสมัชชาสมัยสามัญ ครั้งที่ 31 ของ IMO เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2562 ที่ประชุมได้เลือก
สมาชิกคณะมนตรี จานวน 40 ประเทศ ดังนี้
กลุ่ม A 10 ประเทศ ประกอบด้วย จีน กรีซ อิตาลี ญี่ปุ่น นอร์เว ปานามา สาธารณรัฐเกาหลี
รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
กลุ่ม B 10 ประเทศ ประกอบด้วย ออสเตรเลีย อาร์เจนตินา บราซิล แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี
อินเดีย เนเธอร์แลนด์ สเปน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
กลุ่ม C 20 ประเทศ ประกอบด้วย บาฮามาส เบลเยียม ชิลี ไซปรัส เดนมาร์ก อียิปต์ อินโดนีเซีย
จาไมกา เคนยา คูเวต มาเลเซีย มอลตา เม็กซิโก โมร็อกโก เปรู ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ แอฟริกาใต้ ไทย และตุรกี
-2-

3 คณะกรรมการต่ างๆ (Committees) ได้ แก่ คณะกรรมการความปลอดภั ยทางทะเล (Maritime


Safety Committee : MSC) คณะกรรมการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล (Marine Environment Protection
Committee : MEPC) คณะกรรมการด้านกฎหมาย (Legal Committee : LEG) คณะกรรมการความร่วมมือ
ทางวิชาการ (Technical Cooperation Committee : TC) คณะกรรมการอานวยความสะดวก (Facilitation
Committee : FAL) และคณะอนุกรรมการด้านต่าง ๆ อีกจานวน 7 คณะ ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด
โดยจะมีการประชุมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อพิจารณารับรองมาตรฐานและข้อบังคับต่างๆ ด้านความปลอดภัยและ
การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล รวมทั้งด้านการอานวยความสะดวกในการเดินเรือระหว่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO)
1. ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิก IMO โดยยื่นตราสารเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยองค์การทางทะเลระหว่าง
ประเทศ (Convention on International Maritime Organization: IMO) ต่อเลขาธิการสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 20
กันยายน 2516 (1973) โดยกระทรวงคมนาคทาหน้าที่เป็นหน่วยงานแห่งชาติในการประสานงานกับ IMO และกรม
เจ้าท่าทาหน้าที่เป็นหน่วยปฏิบัติงานในฐานะรัฐเจ้าของธง รัฐเจ้าของท่า และรัฐชายฝั่งตามพันธกรณีของอนุสัญญา
ระหว่างประเทศของ IMO ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. ประเทศไทยได้ รับ เลื อ กตั้งเป็น สมาชิก คณะมนตรี IMO ในกลุ่ ม C มาอย่างต่ อเนื่ องตั้ งแต่ วาระปี
2549 – 2550 มาจนถึงวาระปัจจุบัน (ปี 2563-2564) ซึ่งการเลือกตั้งมีขึ้นในช่วงการประชุมสมัชชาสมัยสามัญ
ครั้งที่ 31 เมื่อเดือนพฤศจิ กายน 2562 ทาให้ ประเทศไทยได้รับโอกาสทาหน้าที่ในคณะมนตรีซึ่งเป็น องค์กร
บริหารงานของ IMO ต่อเนื่องเป็นสมัยที่ 8 นอกจากทาให้ประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในเวที IMO แล้วเป็นผลดีต่อ
การพัฒนามาตรฐานของงานด้านการขนส่งทะเลของประเทศไทย
3. ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาของ IMO แล้วจานวน 16 ฉบับ ทั้งที่เกี่ยวข้องกับการจัดองค์กร
ของ IMO ความปลอดภั ยและการคุ้ มครองสิ่ งแวดล้ อมทางทะเล รวมทั้ งการอานวยความสะดวกในการเดินเรือ
ระหว่างประเทศ ดังนี้
1) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ ค.ศ.1948
2) ข้อแก้ไข ค.ศ .1991 ของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ
3) ข้อแก้ไข ค.ศ.1993 ของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ
4) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยกฎข้อบังคับระหว่างประเทศเพื่อป้องกันเรือโดนกันในทะเล
ค.ศ .1972
5) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ.1974
6) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการอานวยความสะดวกในการเดินเรือระหว่างประเทศ ค.ศ.1965
7) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยแนวน้าบรรทุก ค.ศ.1966
8) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยองค์การดาวเทียมทางทะเลระหว่างประเทศ ค.ศ. 1976
9) ความตกลงด้านการปฏิบัติการเกี่ยวกับอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยองค์การดาวเทียม
ทางทะเลระหว่างประเทศ ค.ศ. 1976
10) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการวัดขนาดตันเรือ ค.ศ.1969
11) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน การฝึกอบรม การออกประกาศนียบัตร และ การเข้ายาม
ของคนประจาเรือ ค.ศ.1978 ตามที่แก้ไข ค.ศ .1995

กองการต่างประเทศ สานักงานปลัดกระทรวงคมนาคม
เมษายน ๒๕๖๓
-3-

12) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการเตรียมการ การปฏิบัติการ และ ความร่วมมือในการป้องกัน


และขจัดมลพิษน้ามัน ค.ศ.1990
13) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลพิษจากเรือ ค.ศ.1973 และพิธีสาร ค.ศ.1978
ภาคผนวก 1 และ 2
14) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งสาหรับความเสียหายจากมลพิษของน้ามัน
ค.ศ. 1992
15) อนุ สัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนระหว่างประเทศเพื่อชดใช้ความเสียหายอัน
เนื่องมาจากมลพิษน้ามัน ค.ศ. ๑๙๙๒
16) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล ค.ศ. 1989
นอกจากนี้ ประเทศไทยอยู่ระหว่างดาเนินการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาของ IMO ฉบับที่สาคัญอื่นๆ เช่น
อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลพิษจากเรือ ค.ศ.1973 และพิธีสาร ค.ศ.1978 ภาคผนวก 3 – 6 และ
อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันภาวะมลพิษทางทะเลจากการทิ้งเทของเสียและวัสดุอื่นๆ ค.ศ. 1972 และ
พิธีสาร 1996

กองการต่างประเทศ สานักงานปลัดกระทรวงคมนาคม
เมษายน ๒๕๖๓

You might also like