You are on page 1of 10

ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity)

ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) คือ ความหลากหลายของสิง่


มีชวี ต
ิ บนโลกไม่วา่ จะเป็ นการดำรงอยู่ ของพืช สัตว์ แบคทีเรีย เชื้อรา หรือ
มนุษย์ ต่างล้วนอาศัยในถิ่นฐานเฉพาะของตนตามภูมิภาคต่างๆทั่วโลก
โดยดำเนินชีวิตอยู่ภายใต้ระบบนิเวศที่มีสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศและ
สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไป
ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพที่เราเห็นกันอยู่ในปั จจุบัน เป็ นผลผลิตจาก
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่เกิดต่อเนื่องมานับพันล้านปี โดยมีกระบวนการ
ทางธรรมชาติเป็ นตัวควบคุม ทรัพยากรชีวภาพของโลก จึงเป็ นสิ่งสำคัญใน
การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของมนุษย์ ดังนัน
้ ประชาคมโลก จึงมีความ
ตระหนักว่าความหลากหลายทางชีวภาพเปรียบเสมือนขุมทรัพย์ของโลกที่มี
คุณค่าต่อคนรุ่นปั จจุบันสู่คนในรุ่นอนาคต ในขณะเดียวกันการคุกคามต่อ
ชนิดพันธุ์และระบบนิเวศในปั จจุบันทวีความรุนแรงมากยิ่งขึน
้ เช่น การ
บุกรุกยึดถือครอบครองที่ดิน การเกิดไฟป่ าในป่ าดงดิบหรือป่ าที่ไม่เคยมี
วิวัฒนาการร่วมกับไฟป่ าตามธรรมชาติมาก่อน การทำเหมืองแร่ การทำถนน
และสิ่งก่อสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เป็ นต้น เพื่อตอบสนองต่อ
เหตุการณ์ดังกล่าว องค์การสหประชาชาติ ได้เปิ ดให้มีการ
ลงนามอนุสญ
ั ญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on
Biological Diversity : CBD) ในวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1992 ในการ
ประชุมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (United
Nations Conference on Environment and Development) ณ นครริ
โอ เดอ จานาโร (the Rio “Earth Summit”) ซึง่ ในปั จจุบันมีประเทศภาคี
196 ประเทศ (https://www.cbd.int/information/parties.shtml)
อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ได้รับแรงสนับสนุนจากคำมั่น
สัญญาที่เพิ่มมากขึน
้ เรื่อยๆ ของประชาคมโลก
ในการที่พัฒนาอย่างยั่งยืน เป้ าประสงค์หลักของอนุสัญญาฯ เพื่อส่งเสริมการ
อนุรักษ์ และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ โดย
เน้นว่า ความหลากหลายทางชีวภาพเป็ นหน้าที่รับผิดชอบร่วมกัน
ของทุกคน และตระหนักว่าแต่ละประเทศย่อมมีสิทธิอธิปไตยเหนือ
ทรัพยากรชีวภาพในเขตแดนของตน จำเป็ นต้องคำนึงถึงความสำคัญของการ
พัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการขจัดความยากจนที่ไม่ส่งผลกระ
ทบต่อ
ความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งอนุสัญญาฯ เป็ นเหมือนเครื่องมือในการ
อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ตามแนวทางและกรอบการดำเนินงาน
เพื่อการอนุรก
ั ษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยัง่ ยืนที่
ได้มก
ี ารกำหนดไว้ ทัง้ นี ้ อาจมีการจัดทำความตกลงเพิ่มเติมเพื่อใช้กับประเด็น
เฉพาะด้าน โดยประเทศภาคีอนุสัญญาฯ
จะตัดสินใจเองว่าจะนำข้อมติ แนวทาง และเป้ าหมายหรือเป้ าประสงค์ต่างๆ
ภายใต้อนุสัญญาฯ ไปปรับใช้กับ
การดำเนินงานภายในประเทศ

วัตถุประสงค์ของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
(CBD) ดำเนินการโดยสอดคล้องกับบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เพื่อการ
อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อการใช้ประโยชน์องค์ประกอบของ
ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และเพื่อการแบ่งปั นผลประโยชน์ที่
ได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม กล่าวคือการ
เข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงสิทธิทงั ้ หมดเหนือ
ทรัพยากรและแทคโนโลยี และต้องมีการสนับสนุนทุนอย่างเหมาะสม

พันธกรณีของภาคี

1. เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ อนุสัญญาฯ กำหนดให้แต่ละ


ประเภทภาคีต้องดำเนินการ ดังนี ้
1.1มีการดำเนินการให้มากและเหมาะสมที่สุด เพื่ออนุรักษ์ความหลาก
หลายทางชีวภาพในถื่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ ได้แก่ การจัดตัง้ พื้นที่
คุ้มครองหรือพื้นที่ที่ต้องการมาตรการพิเศษมาดูแล เพื่อปกป้ อง รักษาความ
หลากหลายทางชีวภาพ และกำหนดมาตรการเฉพาะเรื่อง
1.2การอนุรักษ์นอกถื่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ โดยการวางมาตรการบัง
รุง และฟื้ นฟู ชนิดพันธุ์ที่ใกล้จะสูญพันธ์ และนำกลับมายังถิ่นที่อยู่อาศํยตาม
ธรรมชาติ
2. เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์องค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพ
อย่างยั่งยืน อนุสัญญาฯ จึงกำหนดให้แต่ละภาคีต้องปฏิบัติ ดังนี ้
2.1ต้องผสานการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพอย่าง
ยั่งยืน ให้เข้ากับนโยบายและแผนชาติ
2.2ต้องสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นในการจัดทำและปฏิบัติตามมาตรการ
แก้ไขฟื้ นฟูในพื้นที่เสื่อมโทรม
2.3ต้องส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัญและภาคเอกชนใน
การพัฒนาวิธีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน
3. เพื่อแบ่งปั นผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่าง
ยุติธรรมและเท่าเทียม อนุสญ
ั ญาฯ ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า “อำนาจในการ
พิจารณากำหนดการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรม ขึน
้ อยู่กับรัฐบาลลแห่งชาติ”
และกำหนดให้ภาคีต้องปฏิบัติ ดังนี ้
3.1พยายามสร้างเงื่อนไข เพื่ออำนวยแก่การเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรม
หากเป็ นการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมต่อสิ่งแวดล้อม
3.2วางกลไกในการต่อรองผลประโยชน์บนเงื่อนไขการตกลงร่วมกัน
ระหว่างผู้ให้และผู้ข้อใช้พันธุกรรม
3.3ให้ประเทศซึ่งเป็ นผู้ให้ทรัพยากรพันธุกรรมได้รับการถ่ายทอด
เทคโนโลยีซึ่งใช้ทรัพยากรพันธุกรรมนัน
้ จากประเทศผู้รับ ทัง้ นีต
้ ้องอยู่บนพื้น
ฐานแห่งความยุติธรรมและความเสมอภาค
4. ประเทศสมาชิกต้องสนับสนุนทางการเงิน
อนุสัญญาฯ มีสถานะเป็ นกฎหมายระหว่างประเทศ ที่จัดตัง้ ขึน
้ เพื่อสร้าง
ความร่วมมือของประชาคมโลกในการอนุรักษ์ และใชประโยชน์ความหลาก
หลายทางชีวภาพ ให้เกิดความยั่งยืนและเป็ นธรรม เนื่องจากปั ญหาในด้าน
ต่างๆ ของความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น การทำลายระบบนิเวศน์ป่าเขต
ร้อนอันเป็ นแหล่งกำเนิดและถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตจำนวนมาก การสูญ
พันธ์ของสิง่ มีชิต การค้าขายพืชและสัตว์ที่ใก้ลสูญพันธ์ และอื่นๆ ล้วนเป็ น
ปั ญหาที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากประเทศต่างๆในการดำเนินงาน ถ้า
ประเทศใดประเทศหนึ่งดำเนินการเพียงลำพังก็ไม่อาจแก้ไขปั ญหาดังกล่าวนี ้
ให้ลุล่วงไปได้

สาระสำคัญของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (CBD)
แบ่งออกเป็ น 3 ประเด็นหลัก
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี ้

1. ด้านการอนุรักษ์ สัญญากำหนดให้ภาคีต้องดำเนินการอนุรักษ์ในถิ่นที่อยู่
อาศัยตามธรรมชาติและการอนุรักษ์นอกถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ เช่น ใน
ธนาคารพันธุกรรม สวนพฤกษศาสตร์ สวนสัตว์ โดยมีมาตรการต่างๆ เช่น
การจัดตัง้ ระบบพื้นที่อนุรักษ์ การฟื้ นฟูระบบนิเวศน์ที่เสื่อมโทรม เป็ นต้น

2. ด้านการเข้าถึงทรัพยากร กำหนดให้ภาคีสมาชิกพยายามสร้างเงื่อนไขเพื่อ
เอื้ออำนวยในการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรม สำหรับการใช้ประโยชน์อย่าง
เหมาะสมต่อสิ่งแวดล้อมโดยภาคีอ่ น
ื ๆ และไม่วางข้อจำกัดซึ่งขัดแย้งต่อ
วัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฯ และกำหนดให้การเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรม
ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ได้รับการตกลงร่วมกัน

3. ด้านการแบ่งปั นผลประโยชน์ ให้มีการแบ่งปั นผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้


ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรม และเท่าเทียม ภายใต้เงื่อนไขที่ตกลงร่วม
กัน ทัง้ ผลประโยชน์ กลไกทางการเงิน หรือการถ่ายทอดเทคโนโลยี
การดำเนินงานของประเทศไทย
ประเทศไทยได้ย่ น
ื สัตยาบันสารเข้าเป็ นภาคีอนุสญ
ั ญาว่าด้วยความ
หลากหลายทางชีวภาพ (CBD)
ในวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2003 และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทยตัง้ แต่วันที่
29 มกราคม ค.ศ. 2004 ซึง่ ประเทศไทยเป็ นภาคีลำดับที่ 175
ในการประชุมสมัชชาภาคีอนุสญ
ั ญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
ครัง้ ที่ 10 (COP 10) ณ เมืองนาโงยา ประเทศญี่ปุ่น วันที่ 18 - 29 ตุลาคม
พ.ศ. 2553 คณะผู้แทนประเทศไทย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็ นหัวหน้าคณะ ประกอบด้วยผู้แทน
จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวง
เกษตรฯ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ สภาบันการศึกษา และภาคธุรกิจ

การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
ครัง้ ที่ 10 (COP 10) มีข้อตัดสินใจในประเด็นสำคัญ ดังนี ้

1. รับรองพิธีสารนาโงยาว่าด้วยการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและ
การแบ่งปั นผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียม
(Nagoya Protocol on access to genetic resources and the fair
and equitable sharing of benefit from their utilization)

2. รับรองแผนกลยุทธ์ไอจิ นาโงยา (Aichi-Nagoya strategic plan


2011 - 2020) เพื่อหยุดยัง้ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อให้
หลักประกันว่าภายในปี 2020 ระบบนิเวศที่สำคัญจะยังคงอยู่ และเกื้อกูล
ต่อความกินดีอยู่ดีของมนุษย์ และช่วยในการขจัดความยากจน

ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ

พิธีสารนาโงยาฯ พิธีสารเสริมฯ และแผนกลยุทธ์ไอจิ - นาโงยา จะใช้


เป็ นกรอบในการจัดทำแผน กฎ ระเบียบและข้อบังคับ การดำเนินงานด้าน
การอนุรักษ์ใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และการ
แบ่งปั นผลประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม
เพื่อความมั่นคงทางนิเวศและฐานทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็ นทุนการพัฒนา
สังคมไทยอย่างยั่งยืน เพิ่มพูนความร่วมมือกับนานาประเทศในด้านวิชาการ
และเทคโนโลยี อันจะก่อให้เกิดความก้าวหน้าในการศึกษาและวิจัยความ
หลากหลายทางชีวภาพ

งานที่ประเทศไทยจะต้องดำเนินงาน

1.ดำเนินงานเพื่อให้มีการลงนามในพิธีสารเสริมนาโงยา - กัวลา
ลัมเปอฯ ว่าด้วยการรับผิดและการชดใช้ของพิธีสารคาร์ตาเฮนว่าด้วยความ
ปลอดภัยทางชีวภาพ และจัดเตรียกระบวนการเพื่อเข้าเป็ นภาคีพิธีสารเสริม
นาโงยา - กัวลาลัมเปอฯ
2.ดำเนินงานเพื่อให้มีการลงนามในพิธีสารในนาโงยา ว่าด้วยการเข้าถึง
ทรัพยากรพันธุกรรมและการแบ่งปั นผลประโยชน์ที่เกิดขึน
้ จากการใช้
ประโยชน์ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม และจัดเตรียม
กระบวนการเพื่อเข้าเป็ นภาคี พิธีสารนาโงยาว่าด้วยการเข้าถึงทรัพยากร
พันธุกรรมฯ

3.จัดทำแผนระยะสัน
้ ในระหว่างปี พ.ศ. 2553 - 2555 เพื่อเป็ นกรอบ
การดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และดำเนินการตามมติ
สมัชชาภาคีอนุสญ
ั ญาฯ ครัง้ ที่ 10 years เพื่อนำเสนอผลการดำเนินการฯ
ต่อสมัชชาภาคอนุสัญญาฯ ครัง้ ที่ 11 ในปี 2555 (ณ ประเทศอินเดีย)

4.นำเสนอสาระแผนกลยุทธ์ไอจิ - นาโงยาฯ ต่อคณะกรรมการ


พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทัง้ นี ้ เพื่อเป็ นกรอบในการจัดทำ
แผนการดำเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนา
อย่างยั่งยืนของประเทศและบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559) และปรับปรุงนโยบาย มาตรการ และ
แผนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน

การดำเนินการของประเทศไทยที่ผ่านมา
ประเทศไทยมีการจัดทำนโยบายและมาตรการระดับชาติดา้ นความ
หลากหลายทางชีวภาพ เพื่อเป็ นกรอบและทิศทางการดำเนินงานเกี่ยวกับ
ความหลากหลายทางชีวภาพในภาพรวมของประเทศ ทัง้ นี ้ การจัดทำแผน
นโยบาย มาตรการ และแผนการอนุรก
ั ษ์ มีวต
ั ถุประสงค์เพื่อให้มน
ี บายระดับชาติ
ในการอนุรก
ั ษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพที่ครอบคลุม
ตลาดจนสอดคล้องกับมาตรา 6 ของอนุสัญญาฯ ที่กำหนดให้จัดทำนโยบาย
และกลยุทธ์ระดับชาติ เพื่ออนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทาง
ชีวภาพอย่างยั่งยืน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี ้

 แผนแม่บท

- ประเทศไทยมีการจัดประชุมวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพวัน
ที่ 22 พฤษภาคม ของทุกปี (International Day for Biodiversity
Meeting)
- จัดทำนโยบาย มาตรการและแผน การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลาก
หลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน 3 ฉบับ และอยู่ระหว่างจัดทำฉบับที่ 4
- จัดทำมาตรการป้ องกัน ควบคุมและกำจัดชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (มติ ครม. เมื่อ
วันที่ 28 เมษายน 2552)
- จัดทำรายงานแห่งชาติ (Biodiversity Conservation in Thailand
national report)
- คู่มือทางเทคนิคเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ (Technical series
on Biological Diversity) - ONEP Biodiversity ,Thailand Red
Data ,Meeting Report (รายงานการประชุมวันสากลแห่งความหลาก
หลายทางชีวภาพ)
- การสำรวจข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่วิกฤติทางความ
หลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity survey and Data establishment
in Biodiversity Hotspot)
- กลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความหลากหลายทางชีวภาพ และความ
ปลอดภัยทางชีวภาพ (Clearing House Mechanism)
- การเข้าร่วมประชุมระดับโลก - SBSTTA ,COP และคณะทำงานอื่นๆที่
เกี่ยวข้อง

You might also like