You are on page 1of 7

เรียงลำดับเนื้อหา

• การป้องกันและควบคุมยุง

(ตอบคำถามข้อ20.,43.) มีวิธีการป้องกันหลากหลายวิธี ได้แก่


1. ฉีดพ่นยาแบบควัน สามารถเรียกทางเทศบาลหรือหน่วยงานทางสาธารณสุขเพื่อให้บริการ
2. ฉีดยากำจัดยุง จากร้านสะดวกซื้อทั่วไป หรือใช้สารเคมี เช่น สารไพรีทรอยด์
3. ใช้ไฟไล่ยุง ตามร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าจะมีเครื่องฉายไฟล่อยุงให้เข้ามาติดกับ
(คำตอบข้อ 23) การใช้เครื่องกับดักจับยุงใช้งานได้ครอบคลุมพื้นที่ 50-100 ตรม. ในพื้นทีท่ ี่มียงุ ชุม
4. ไม้ช็อตยุง ใช้งานได้ดีและมีประสิทธิภาพในการกำจัด
5. วิธีเชิงกล เช่น (ตอบคำถามข้อ 32.) การใช้มุ้งประเภทเก็บรางเพื่อไม่ให้ยุงมุดเข้ามุ้งได้
6. การควบคุมโดยวิธีพันธุกรรม เช่น ทำให้โครโมโซมของยุงพาหะเปลี่ยนไปไม่สามารถนำเชื้อได้ ทำให้ยุง
เป็นหมันโดยใช้สารกัมมันตรังสีหรือใช้วัตถุอันตราย
7. การใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของแมลง โดยใช้สารที่มีชื่อย่อว่า IGRs แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
7.1 สารคล้ายจูวิไนล์ฮอร์โมน (Juvenile analogues) เช่น สารเม็ทโทปรีน(methoprene)
7.2 สารยับยั้งการสร้างผนังลำตัวแมลง (Chitin synthesis inhbitors)
เช่น สารไดฟลูเบนซูรอน (diflubenzuron) ไทรทูมรู อน (triumuron) เป็นต้น
(ตอบคำถามข้อ 40.) อีกทั้งยังมีวิธีป้องกันยุงจากแหล่งเพาะพันธุ์ ได้แก่
1. สำรวจแหล่งที่มีน้ำขังไม่มีประโยชน์ และกำจัดแหล่งน้ำขังในบ้านและนอกบ้าน
2. กำจัดยุงในแหล่งน้ำที่สร้างประโยชน์
• โดยใช้ทรายอะเบท เป็นทรายทีม ่ ีพิษรุนแรงต่อลูกน้ำของยุง (ตอบคำถามข้อ 33.) ทรายอะเบท
เป็นเม็ดทรายที่ถูกเคลือบด้วยสารทีมี ในปัจจุบันเราจะใช้คำว่าทรายกำจัดลูกน้ำยุงลายหรือทราย
ทีมีฟอส แทนคำว่า ทรายอะเบท สารทีมีฟอสเป็นสารเคมีสังเคราะห์โดยมีฟอสฟอรัสเป็น
องค์ประกอบสำคัญ สารทีมีฟอสออกพิษรุนแรงแรงต่อลูกน้ำของยุง แต่ทรายอะเบทมีฤทธิ์ฆ่า
ลูกน้ำตัวเต็มวัยของยุงไม่ได้ หากมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกการใช้ทรายอะเบทจะแก้ปัญหา
ไม่ทันต่อเหตุการณ์ จะต้องฉีดพ่นสารเคมีอื่นจึงจะทำลายยุงทีม่ ีไวรัสได้
• การควบคุมโดยวิธีชีววิทยาจะให้เลี้ยงปลากินลูกน้ำ มีด้วยกันหลายชนิด ได้แก่ ปลาหางนกยูง

ปลาสอด ปลากัด เป็นต้น


(ตอบคำถามข้อ 36.) ซึ่งการกำจัดยุงลายโดยปล่อยให้ปลากินลูกน้ำถือว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ
มากพอที่สามารถใช้ควบคุมการเพาะพันธุ์ของยุงโดยสามารถใช้แทนสารเคมีเช่น สารทีมีฟอส ที่
เป็นสารเคมีที่ใช้ในการกำจัดลูกน้ำ โดยการเลือกใช้ปลาก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งทีม่ ีประสิทธิภาพ
ในการกำจัดลูกน้ำที่ดี
(ตอบคำถามข้อ 21.)โดยจากการฉีดพ่นยาแบบควันตามบ้านเรือนโดยเทศบาล พบว่าอันตรายจาก
ยากันยุงที่ฉีดพ่นมีหลายข้อ นั่นก็คือ
1. ทำให้หายใจติดขัด หายใจไม่สะดวก หรือหายใจไม่เต็มปอด
2. หากมีการสัมผัสทางผิวหนังจะก่อให้เกิดการระคายเคืองอย่างรุนแรง อาจเกิดอาการแพ้ทางผิวหนัง คัน มร
ผื่นแดง เพราะสารระเหยจากยากันยุงสามารถซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกายได้
3. หากกลืนหรือกินเข้าไป จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตในที่สุด
4. หากสารจากยากันยุงเข้าตา จะก่อให้เกิดการระคายเคือง เกิดภาวะตาแดง รู้สึกเจ็บในลูกตาและมีน้ำตา
ไหล
5. หากสูดดมควันจากยาจุดกันยุงติดต่อกันเป็นเวลานานจนเกิดการสะสมในร่างกาย สารระเหยจากยากันยุง
จะเข้าไปทำลายเยื่อบุเมือกบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้หลอดลมและกล่องเสียงอักเสบ อีกทั้งมัน
ยังสามารถเข้าไปทำลายปอด ทรวงอก ทางเดินอาหาร ไต ท่อไต และกระเพาะปัสสาวะ นอกจากนี้ยังทำ
ให้เกิดอาการหายใจถี่รัว รู้สึกวิงเวียนปวดศีรษะ คลื่นไส้และอาเจียนอีกด้วย
6. หากได้รับสารระเหยจากยากันยุงในปริมาณมาก จะมีอาการพิษกำเริบเฉียบพลัน ส่งผลให้รู้สึกมึนงง ปวด
ศีรษะ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก อ่อนเพลีย ชัก หรืออาจถึงขั้นหมดสติในบางราย
7. สารระเหยจากยากันยุงเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์มารดา ดังนั้นจึงไม่ควรจุดยากันยุงในบ้านที่มีหญิง
ตั้งครรภ์
อาการและความรุนแรงของผลจากยากันยุงก็ขึ้นอยู่กับอายุและสุขภาพของแต่ละคน เด็กจะได้รับ
ผลกระทบมากกว่าผู้ใหญ่
(คำตอบข้อ26,24.) สารที่ใช้พ่นป้องกันกำจัดยุง:กรมควบคุมโรคได้ใช้สารเคมีไพรีทรอยด์ชนิดต่างๆในการ
จำกัดยุงลาย ได้แก่ เดลต้ามิทริน (deltamethrin) ซีต้าไซเปอร์มิทริน (zetacypermethrin) สูตรผสม
จากการทดสอบประสิทธิภาพพบว่ามีประสิทธิภาพสูงในการควบคุม ส่วนการควบคุมยุงพาหะนำไข้
มาลาเรีย กรมควบคุมโรคได้ใช้สารเคมีไพรีทรอยด์ชนิดต่างๆ ได้แก่ เดลต้ามิทริน (deltamethrin) ไบเฟ
นทริน (bifenthrin) มาใช้พ่นเพือ่ การควบคุม ,ยกตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดยุงในบ้านเรือน อาคาร
สถานที่ใช้เป็น น้ำยาพ่นยุง เอส-ต้า 100 มีความเป็นพิษต่ำ ความปลอดภัยสูงต่อคน สัตว์เลี้ยง และพืช มี
ประสิทธิภาพในการกำจัดสูงกว่าสารชนิดอื่น น้ำยาพ่นยุงเป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์กว้าง สามารถควบคุม
แมลงได้หลายชนิด ย่อยสลายในธรรมชาติ
(คำตอบข้อ 35.) การฉีดพ่นยาแบบควันตามบ้านเรือนโดยเทศบาลผู้ที่ทำหน้าที่ควรมีการสวมใส่ชุดป้องกัน
ขณะพ่นกำจัด ควรมีลักษณะดังนี้
:อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ เพื่อป้องกันการชน กระแทก หรือตกจากที่สูง
:แว่นครอบตา เพื่อป้องกันสารเคมี
:อุปกรณ์ป้องกันหู เพื่อกั้นความดังของเสียงที่มากระทบต่อแก้วหู เช่น Ear plug, ear muffs
:อุปกรณ์ป้องกันทางการหายใจ ป้องกันมลพิษเข้าสู่ร่างกาย
:ชุดป้องกันสารเคมี
:อุปกรณ์ป้องกันมือ เช่น ถุงมือป้องกันสารเคมี
:อุปกรณ์ป้องกันเท้า

(คำตอบข้อ 25) การฉีดพ่นยุงตามหมู่บ้านมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร

(คำตอบข้อ 30.) สารทดแทนสารที่ใช้พ่นยุง


โดยคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) สูตรผสม-3 (zeta cypermethrin, tetramethrin, PBO)
มีประสิทธิภาพดีที่สุดสามารถฆ่ายุงลายได้มากกว่าร้อยละ 90 ทั้ง 4 สายพันธุ์ สูตรผสม-
1[(deltamethrin, s-bioallethrin, piperonyl butoxide (PBO)] และสูตรผสม-2(lambda-
cyhalothrin, tetramethrin, PBO) เมื่อใช้อัตราการผสมที่ระบุไว้ที่ฉลากมีประสิทธิภาพฆ่ายุงลายได้
มากกว่าร้อยละ 90 ได้ 3 สายพันธุ์ (LS, CMS, TKS)
(คำตอบข้อ 31.,42.) สารสกัดจากธรรมชาติที่ช่วยไล่ยุงได้
พบว่าการใช้สารสกัดจากพืช เช่น สารสกัดจากนิโคตินที่ได้จากใบยาสูบซึ่งเป็นความร่วมมือกับองค์การ
สุรา กรมสรรพสามิต ในการนำมาใช้ควบคุมลูกน้ำยุงในแหล่งเพาะพันธุ์ธรรมชาติ รวมทั้งมีการใช้น้ำมัน
หมอระเหยจากพืชสมุนไพร เช่น ตระไคร้หอม เปลือกส้ม ยูคาลิปตัส ซึ่งพบว่าสามารถนำมาไล่ยุงได้
นอกจากนี้ยังมีกับดักยุงลีโอแทรป(LeO-Trap) ทีไ่ ด้พัฒนาและเป็นต้นแบบในการผลิตและพบว่ามี
ประสิทธิภาพสูงในการกำจัดลูกน้ำยุง
แล้วทำไมสารจากธรรมชาติจึงช่วยไล่ยุงได้ เนื่องมาจาก
- สารสกัดจากส้ม ผิวส้มมีน้ำมันหอมระเหยที่ช่วยไล่ยุงได้เพียบ ไม่ว่าจะเป็น P-Cymene, B-Pinene,
Ocimene, Citral และ Limonene อีกทั้งน้ำมันหอมระเหยจากส้มช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย
กระตุ้นระบบน้ำเหลือง พร้อมทัง้ ช่วยเสริมสร้างการสร้างคอลาเจนในชั้นผิวอีกด้วย
- สารสกัดจากมะกรูด มะกรูดเป็นพืชที่มีประโยชน์รอบด้าน โดยน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดมีฤทธิ์
ป้องกันยุงได้นาน 95 นาที สามารถจัดการได้ทั้งยุงลาย ยุงเสือ ยุงก้นปล่อง และยุงรำคาญ ซึ่งสามารถนำ
ใบหรือผิวมะกรูดมาบีบให้กลิ่นน้ำมันหอมระเหยฟุ้งเพือ่ กำจัดยุงได้อีกด้วย นอกจากนี้สามารถเห็นสารสกัด
จากมะกรูดไปสกัดร่วมกับตะไคร้หอมเป็นสเปรย์ฉีดยุงตามท้องตลาดมากมาย
(คำตอบข้อ 34.) ประสิทธิภาพของการใช้กลิ่นเพื่อป้องกันยุง
การใช้กลิ่นเพื่อป้องกันยุงถือเป็นการกำจัดยุงทีม่ ีประสิทธิภาพที่ดีอีกวิธีหนึ่งเนื่องจาก ผลิตภัณฑ์ป้องกันยุง
เช่น สเปรย์กันยุง ครีมทากันยุงก็ได้นำกลิ่นของสมุนไพรหรือพืชต่างๆที่มีสรรพคุณในการไล่ยุงได้นำมาใช้
เป็นกลิ่นของตัวผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ไล่ยุง เช่น การใช้สารสกัดเมล็ดสะเดาช้าง มะกรูด โหระพา และดอกมะลิ
มีความสามารถในการไล่ยุงได้เท่ากับ 79.11 %, 68.87%, 65.15% และ 62.77 % ตามลำดับ
(คำตอบข้อ 44) สารที่ใช้ในผลิตภัณฑ์สารทาป้องกันยุง
1. DEET (ชื่อทางเคมี N,N-diethyl-meta-toluamide or N,N-diethyl-3-methylbenzamide) เป็น
สารสำคัญที่นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ไล่แมลง ซึ่งผลิตออกมาในหลายรูปแบบ เช่น โลชั่นสเปรย์ โดย
ปริมาณ DEET ที่ใช้ทาผิวหนังและใช้ในผลิตภัณฑ์ไล่แมลงคือ 4-100% โดยปกติร่างกายของคนเราจะ
ส่งกลิ่นออกมามาก ซึ่งจะปล่อยสารประกอบต่าง ๆ ออกมาเป็นจำนวนมากเช่นกัน กลิ่นเหล่านี้ก็จะ
เป็นตัวล่อให้ยุงเข้ามากัด นักวิทยาศาสตร์ได้ติดตามปฏิกิริยาทางไฟฟ้าของเซลล์ประสาทรับกลิ่นของ
ยุงเมื่อปล่อยให้มันได้กลิ่นของ DEET และพบว่า DEET ช่วยปกปิดกลิ่นเหงื่อของร่างกายจากยุงได้ แต่
ไม่สามารถปกปิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากลมหายใจได้
2. Icaridin หรือ Picaridin (ชื่อทางเคมี 2-(2-hydroxyethyl)-1-piperidine carboxylic acid 1-
methylpropyl ester) เป็นสารสำคัญที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ไล่แมลง โดยปริมาณที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ไล่แมลง
คือ 5-20%
3. Ethyl butylacetylamino propionate มีฤทธิ์ไล่ยุงและแมลงอื่น ๆ เช่น มด แมลงวัน เห็บ หมัด
โดยปริมาณที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ไล่แมลง ถ้ามีปริมาณมากกว่า 12.5% ห้ามใช้ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 4 ปี
แต่ถ้ามีปริมาณน้อยกว่า 12.5% ห้ามใช้ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี
4. IR3535 (ชื่อทางเคมี 3-[N-Butyl-N-acetyl]-aminopropionic acid, ethyl ester) เป็นสารไล่แมลง
ที่ผลิตโดยวิธีชีวสังเคราะห์ โดยไม่พบผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายรุนแรงในมนุษย์ โดยปริมาณที่ใช้ใน
ผลิตภัณฑ์ไล่แมลงคือ 7.5-20.07%
5. Oil of Citronella หรือน้ำมันตะไคร้หอม ซึ่งใช้เป็นสารไล่ยุงและแมลงมากว่า 50 ปี ซึ่งนอกจากจะ
ใช้ในผลิตภัณฑ์ไล่แมลงชนิดของเหลวแล้ว ยังสามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบอื่น เช่น ธูป
หอม เทียนหอมกันยุง เป็นต้น โดยปริมาณที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ไล่แมลงคือ 6-20%
6. Oil of Lemon Eucalyptus ได้จากใบและกิ่งของต้นยูคาลิปตัส ใช้เป็นผลิตภัณฑ์ไล่แมลงในรูปแบบ
โลชั่น และสเปรย์ ซึ่งยังไม่พบผลข้างเคียงในมนุษย์ โดยปริมาณที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ไล่แมลงคือ 30-40%
7. p-Menthane-3,8-diol เป็นสารสังเคราะห์ทางเคมีของ Oil of Lemon Eucalyptus ซึง่ ใช้ทาบน
ผิวหนังหรือเสื้อผ้า เพื่อไล่ยุงและแมลงบางชนิด โดยปริมาณที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ไล่แมลงคือ 8-10%
(คำตอบข้อ 37.) การป้องกันตนเองในฤดูที่มีการระบาดของยุง เพื่อลดอัตราการเกิดโรค ได้แก่
1. ควรนอนในมุ้งหรือติดมุ้งลวดเพื่อป้องกันยุงเข้ามาในบ้าน และหลีกเลี่ยงการอยู่บริเวณมุมอับชื้นแต่ง
กายมิดชิด สวมเสื้อและกางเกงขายาวเมื่อออกนอกบ้าน
2. ทำลายภาชนะที่ไม่จำเป็น เพราะอาจมีน้ำขังได้ และภาชนะที่ใช้เก็บน้ำต้องมีฝาปิดให้มิดชิด ปรับปรุง
สิ่งแวดล้อมในบ้านและรอบบ้านให้เป็นระเบียบ
3. รับวัคซีนไข้เลือดออก เป็นวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ
เดงกี่ หากติดเชื้อก็จะช่วยลดความรุนแรงและความอันตรายของโรคได้
(คำตอบข้อ 41.) การป้องกันตนเองจากยุงเมื่อต้องเดินทางเข้าป่า
ปกติมียุงก้นปล่องเป็นตัวนำเชื้อและมักออกหากินในช่วงเวลาหัวค่ำถึงใกล้รุ่งเช้า และมีอยู่ชุกชุม
ในบริเวณป่าเขา โดยป้องกันตนเองให้ปลอดภัย แต่ไม่ควรกินยาป้องกัน เนื่องจากในปัจจุบันมีปัญหาเรื่อง
เชื้อมาลาเรียดื้อยา จึงไม่แนะนำให้กินยาป้องกัน จึงแนะนำดังนี้
1.นอนในมุ้ง ยุงนำเชื้อมาลาเรียชอบกัดกินเลือดคนในเวลากลางคืน จึงจำเป็นต้องนอนในมุ้งเสมอ
ถึงแม้ว่ายุงจะมีไม่มากในบางคืนก็ตาม
2.ใช้ยาทากันยุง ทาตามบริเวณผิวหนังที่อยู่นอกเสื้อผ้า เมื่อยังไม่เข้ามุ้งนอนจะป้องกันยุงกัดได้3 - 4
ชั่วโมง ยาทากันยุงมีจำหน่ายทั่วไป
3.สวมใส่เครื่องปกคลุมร่างกาย เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว หมวก ผ้าคลุมใบหน้าเมื่อจำเป็นต้องเข้า
ไปในป่าเชิงเขา
4.เจาะเลือดตรวจ เพื่อหาเชื้อมาลาเรีย เมื่อกลับจากป่าเขาและมีอาการไข้ภายใน 15 วัน รีบไปเจาะเลือด
ตรวจที่ อาสาสมัครสาธารณสุขในหมู่บ้าน สถานีอนามัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาล
(คำตอบข้อ 48) การประยุกต์ใช้จากการทดลองการตัดต่อพันธุกรรมของยุงในประเทศสิงคโปร์
ทางการสิงคโปร์เปิดตัวเครื่องปล่อยยุงตัวผู้ที่ถูกเพาะพันธุ์ในห้องแล็ป หวังคุมกำเนิดยุงลาย
ลดการระบาดของไข้เลือดออกในประเทศ ยุงตัวผู้ที่ถูกเพาะพันธุ์ในห้องปฏิบัติการ 150 ตัว ก็จะถูกปล่อย
ออกไปสู่ธรรมชาติ ซึ่งแม้ว่ายุงจะมีการสืบพันธุ์กันได้ แต่ยุงตัวผู้ที่ถูกเลี้ยงไว้ในห้องแล็บนี้ จะปล่อยเชื้อ
แบคทีเรียใส่ยุงตัวเมีย ทำให้ไข่ยุงตัวเมียไม่ฟักตัว จนจำนวนยุงเกิดใหม่ลดลงในที่สุด ซึ่งจากการทดลองใช้
เทคนิคนี้ในบางพื้นที่ทมี่ ียุงชุกชุมในช่วงที่ผ่านมา พบว่าจำนวนของยุงลดลงถึง 90 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
เทคนิคการปล่อยยุงตัวผู้แบบนี้ มีการนำไปใช้ในออสเตรเลียมาแล้ว และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
ดังนั้นวิธีนี้น่าจะใช้กับประเทศไทยได้ผลเช่นกัน
อีกทั้งในประเทศไทย มีการควบคุมทางชีววิธี โดยใช้แบคทีเรียกำจัดลูกน้ำยุงชนิด
Bacillus thuringiensis var.israelensis (Bti) ซึ่งผลึกโปรตีนภายในเซลล์แบคทีเรียจะเข้าไปทำลายระบบ
ทางเดินอาหารทำให้ลูกน้ำยุงตายอย่างรวดเร็วหลังจากที่กินแบคทีเรียเข้าไป หรือการใช้แบคทีเรียชนิดโวล
บาเกีย (Wolbachia) มาใส่ในยุงตัวผู้ซึ่งเป็นยุงที่ไม่กินเลือด จากนั้นปล่อยสู่ธรรมชาติเพื่อให้ไปผสมพันธุ์
กับยุงตัวเมียที่ไม่มีโวลบาเกีย ทำให้เกิดการไม่เข้ากันของโครโมโซมซึ่งยุงจะไม่สามารถสร้างตัวอ่อนได้โดย
ไข่ยุงจะฝ่อในที่สุด ซึ่งวิธีการนี้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้
ทำการศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(คำตอบข้อ 22,28,29,38,39,46) สรุป สำหรับวิธีการกำจัดยุงด้วยวิธี”การกำจัดลูกน้ำยุงลาย”ในบ้าน


ตนเองทำได้โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายไม่ว่าจะเป็นการกำจัดแหล่งน้ำขัง ควรหมั่นขัดทำความ
สะอาดภาชนะที่บรรจุน้ำทุกสัปดาห์ หรือคว่ำภาชนะที่เป็นแหล่งขังน้ำ การจัดการข้าวของเครื่องใช้ที่ไม่ได้
ใช้งานหรือไม่จำเป็นทิ้งไป การจัดการขยะตามแหล่งน้ำอย่างคู คลอง หรือท่อน้ำต่างๆ ที่ใกล้บ้านเพื่อให้
น้ำสามารถไหลได้ตามธรรมชาติไม่ให้เป็นแหล่งน้ำนิ่งที่เหมาะสมต่อการวางไข่ของยุงชนิดต่างๆ ซึ่งถือว่า
เป็นวิธีที่ตัดวงจรการเกิดยุงก่อนที่จะถึงฤดูที่ยุงชุกชุม และเป็นวิธีที่ป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ดที ี่สุด เพราะ
การพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัยมีประสิทธิภาพลดความหนาแน่นของยุงได้ประมาณ 3-5 วันเท่านั้น
และหากพ่นสารเคมีบ่อยๆโดยไม่จำเป็นจะทำให้ยุงดื้อต่อสารกำจัดแมลงซึ่งจะทำให้ส่งผลเสียต่อการ
ควบคุมการระบาดของโรคอีกด้วย(คำตอบข้อ 47) ซึ่งการกำจัดจะเป็นการกำจัดรวม ไม่มีความแตกต่าง
กันในยุงตัวผู้หรือตัวเมีย

You might also like