You are on page 1of 2

การจัดเตรียมพื้นที่และสินค้าภายในอาคารคลังสินค้าเพื่อรมยาบรรจุภัณฑ์ก่อนส่งออก

บทความโดย คุณสำเริง อินทร์วงษ์ ผู้จัดการคลังสินค้าบางปู


วันที่ 29 ตุลาคม 2564

การรมยาสินค้า (Fumigate) เป็นเทคนิคในการควบคุม


แก้ปัญหาสำหรับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่เก็บไว้ก่อน ส่งมอบ
หรื อ ส่ ง ออกไปยั ง ต่ า งประเทศ ในปั จ จุ บ ั น ได้ ก ลายมาเป็ น
ข้อกำหนดในการส่งออก-นำเข้าสินค้าที่ต้องปฏิบัติ เพื่อป้องกัน
การแพร่ระบาดของแมลงหรือสัตว์รบกวนอื่นๆ ในพื้นที่จัดเก็บ
หรือประเทศปลายทาง โดยจะทำการรมก๊าซพิษเพื่อกำจัด
แมลงตัวเต็มวัย ตัวอ่อน ดักแด้ หรือไข่ที่อาจติดมากับสินค้า
เหล่ า นั ้ น การรมยาด้ ว ยแก๊ ส รมควั น นี ้ จ ะช่ ว ยลดการ
แพร่กระจายของสัตว์รบกวน

การทำ Fumigate คืออะไร Fumigate คือการรมยาวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ เช่น ลังไม้ทึบ , พาเลทไม้


รองรับสินค้า, ลังไม้, ถังไม้ทึบ, ลังไม้โปร่ง เป็นต้น เพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืชที่คาดว่าจะมีโอกาสติดไปกับวัสดุบรรจุภัณฑ์
ไม้เหล่านี้ โดยสารเคมีที่ใช้ในประเทศไทยมี 3 ประเภทด้วยกันได้แก่ Methyl Bromide Aluminum Phosphide
และ Eco2Fume จะต้องได้รับการอนุญาตและจดทะเบียนเป็นสารรมควันอย่างถูกต้องจากกรมวิชาการเกษตรของ
ไทย สารเคมีรมยาที่นิยมใช้มากที่สุดในประเทศ

ทำไมต้อง Fumigate ?
จากการขนส่งสินค้าออกไปต่างประเทศส่วนใหญ่จะต้องทำการแพ๊คกิ้งสินค้าเพื่อความปลอดภัย สะดวกใน
การขนส่งหรือเคลื่อนย้าย จึงมีการใช้วัสดุไม้เป็นวัสดุในการบรรจุภัณฑ์ เพราะว่าเป็นวัสดุที่หาง่าย ราคาไม่แพง และนำ
กลับมาใช้ใหม่ได้ แต่มีข้อเสียคือ อาจเป็นแหล่งที่อยู่ของแมลงศัตรูพืช จึงเป็นการแพร่ระบาดของแมลงศัตรูพืช จาก
ประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่งได้ จึงมีคณะทำงานภายใต้อนุสัญญาสำหรับการอารักขาพืชระหว่างประเทศ
หรือ ISPM (International Standards for Phytosanitary Measures) ได้จัดทำมาตรฐานมาตรการสุขอนามัยพืช
ระหว่างประเทศขึ้น นั้น คือ International Plant Protection Convention (IPPC) ซึ่งประเทศไทยได้ร่ว มภาคี
อนุสัญญา IPPC นี้ด้วย ดังนั้นเพื่อควบคุมบรรจุภัณฑ์ไม้ที่ใช้ในการค้าระหว่างประเทศให้ปราศจากศัตรูพืช และเป็น
มาตรฐานสากล จึงกำหนดให้ต้องได้รับการกำจัดแมลงศัตรูพืชก่อนการส่งออกด้วยการรมยา (Fumigation)

Page 1 of 2
V-SERVE GROUP | Logistics News & Article
วิธีการควบคุมกำจัดศัตรูพืชทำได้ 4 วิธีด้วยกัน
1. การรมด้วยความรัอน (Heat Treatment) โดยเฉพาะวัตถุดิบที่เป็นไม้ ต้องผ่านการอบด้วยความร้อน
อุณหภูมิไม่น้อยกว่า 56 องศาเซลเซียส เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 นาที เพื่อป้องกันเชื้อราซึ่งมีหลายวิธี
ด้วยกัน เช่น การอบแห้ง, การอัดน้ำยาด้วยแรงอัด, การอบด้วยคลื่นไม่โครเวฟ เป็นต้น
2. การรมด้วยเมทธิลโปรไมด์ (Methyl Bromide) ใช้เวลาในการรมประมาณ 24 ชั่วโมง
3. การรมด้วยอีโคฟูม (ECO2 FUME) เป็นสารรมยาชนิดใหม่ที่มาใช้แทนเมททธิลโปรไมด์ สามารถออกฤทธิ์
ได้ทันที ไม่ติดไฟเนื่องจากมีส่วนผสมของคาร์บอนไดออกไซด์ 98% และฟอสฟิน 2% มีประสิทธิภาพสูง
สามารถแทรกซึมได้รวดเร็ว และหลังการรมยาเสร็จแล้ว จะไม่มีสารรมตกค้างจึงปลอดภัยและไม่ มี
อั น ตราย ซึ ่ ง จะแตกต่ า งกั บ การรมก๊ า ซคาร์ บ อนไดออกไซด์ ต ้ อ งใช้ เ วลาประมาณ 14 วั น ในการ
Fumigation ถึงแม้ว่าจะปลอดภัยไม่มีอันตรายเช่นกัน
4. การรมด้วยอลูมิเนียม ฟอสไฟด์ (Aluminum Phosphide) เป็นสารรมกำจัดแมลงมอด ลักษณะเป็นเม็ด
สีเทาเปลี่ยนเป็นก๊าซโดยความชื้นในอากาศ ไม่มีสี มีกลิ่นนิดหน่อยคล้ายกระเทียมใช้เวลาในการรม 3 ถึง
7 วัน โดยประมาณ ข้อดีมีปริมาณสารตกค้างน้อยมาก ปลอดภัยไม่เป็นอันตรายต่อพืช ข้อเสียสามารถติด
ไฟได้ด้วยปริมาณความเข้มข้นมากกว่า 1.8 % ดังนั้นจึงมีสารช่วยลดการระเหย การไหม้ การระเบิด
โดยการในสารแอมโมเนียมคาร์บอเมท พาราวินแวกซ์ และโพลีไวนิลอาซีเตทจึงปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน

การรมยาหรือรมควัน สิน ค้านั้น ผู้ที่ดำเนินการหรือพนักงานต้องได้รับการฝึกอบรมและมีความรู้ ความ


เชี่ยวชาญและเทคนิคจากประสบการณ์ และต้องเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยเป็นอย่างดี

โปรดติดตามตอนต่อไปจะพูดถึงเรื่อง “การจัดเรียงสินค้าและคลุมกองสินค้าเพือ่ รมยา (Fumigation)” ครับ

Page 2 of 2
V-SERVE GROUP | Logistics News & Article

You might also like