You are on page 1of 5

อุตสาหกรรมเครื่องสำอางเป็นอุตสาหกรรมประเภทหนึ่งที่ทำรายได้มูลค่าสูงให้กับ

ประเทศไทย แนวโน้มตลาดเครื่องสำอางในปัจจุบันเน้นองค์ประกอบที่มาจากธรรมชาติ
เนื่องจากมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ เท่าเทียมหรือสูงกว่าเครื่องสำอางที่ผลิตจาก
สารเคมี ประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และมี ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการ
ใช้สารจากธรรมชาติเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพและความงามมาช้านาน คนไทยสมัย
โบราณนิยมใช้สารจากธรรมชาติตบแต่งร่างกายให้มีความสวยงาม ดูเจริญตา ใช้ทาเพื่อให้
เกิดกลิ่นหอม หรือกลบกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ เช่น
(1) ใช้สำหรับขัดผิว ได้แก่ ขมิ้น มะขามเปี ยก ดินสอพอง
(2) ใช้สำหรับทาหน้า ทาตัว ได้แก่ น้ำปรุง และแป้ งร่ำอบกลิ่นดอกไม้ ทำมาจากดอกมะลิ
กุหลาบ กระดังงา สายหยุด และกำยาน โดยที่ขึ้นชื่อคือ น้ำอบไทย นิยมใช้รดน้ำผู้สูงอายุ
(3) ใช้สำหรับทาปาก ได้แก่ สีผึ้ง ทำจากการเคี่ยวน้ำมันมะพร้าวหรือไขผึ้ง
(4) ใช้สำหรับทำความสะอาดผม ได้แก่ ประคำดีควาย ใบส้มป่ อย เปลือกขี้หนอน ดอก
อัญชัน และมะกรูด
(5) ใช้สำหรับเขียนคิ้ว ได้แก่ ผงถ่านกะลามะพร้าว
(6) ใช้สำหรับทาแก้ม ได้แก่ ผงชาด
การนำสมุนไพรมาใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง ไม่ว่าจะอยู่ในรูปการใช้สด หรือใน
รูปของสารสกัด ผู้ผลิตจะต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญต่างๆ เช่น แหล่งวัตถุดิบ ลักษณะทาง
พฤกษศาสตร์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสมุนไพรในแต่ละท้องถิ่น ความยากง่ายของการสกัด
เป็นต้น เพื่อให้สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด
โดยสมุนไพรไทยที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางเครื่องสำอาง สามารถแยกได้ตามชนิดของ
เครื่องสำอาง ดังต่อไปนี้

ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัยช่องปาก การพลู สะเดาบ้าน ใบฝรั่ง ข่อย น้ำมันใบพลู ผักคราดหัวแหวน


ขมิ้น งา แตงกวา บัวบก ไพล มะขาม มะเขือเทศ ว่านหางจระเข้
ผลิตภัณฑ์ถนอมผิว
กล้วยน้ำว้า หัวไชเท้า มังคุด
มะกรูด ส้มป่ อย ประคำดีควาย ขิง บวบขม บอระเพ็ด ฟ้ าทะลายโจร
ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม
มะพร้าว มะเฟื อง ผักบุ้ง ตะไคร้ ว่านหางจระเข้ ขี้เหล็ก
ผลิตภัณฑ์ปรุงแต่งสีผม เทียนกิ่ง อัญชัน กะเม็ง ชบา ตำลึง
ผลิตภัณฑ์สุวคนธบำบัด กุหลาบ มะลิลา กระดังงา สายหยุด

นอกจากนี้ ในยุโรปกลางก็มีการใช้สมุนไพรธรรมชาติเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางเช่นเดียวกัน เช่น


(1) โรสแมรี่ (Rosemary) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Rosmarinus officinalis L. เป็น
สมุนไพรที่มีการใช้มานานนับพันปี ในแถบเมดิเตอร์เรเนียน ปัจจุบันใช้ประโยชน์ในการบำรุงผิว สมานผิว
น้ำมันโรแมรี่ (Rosemary oil) ใช้ปรับสภาพเส้นผม
(2) ดาวเรืองฝรั่ง (Marigold หรือ Calendula) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Calendula
officinalis L. เป็นสมุนไพรที่มีความสำคัญสำหรับทารก ใช้ผสมในแป้ งโรยตัวสำหรับเด้ก ผสมในน้ำ
สำหรับอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายร่วมกับสมุนไพรอื่น เช่น คาโมไมล์ (Chamomile) และคอมเฟรย์
(Comfrey)
(3) ลาเวนเดอร์ (Lavender) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Lavandula angustifolia Mill.
น้ำมันหอมระเหยจากดอกลาเวนเดอร์เป็นส่วนผสมในน้ำหอมและเครื่องสำอางหลายชนิด ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้
หลังการโกนหนวด น้ำมันลาเวนเดอร์ (Lavender oil) ใช้ปรับสภาพเส้นผม
(4) คาโมมายล์ (Chamomile) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Chamomilla recutita L. เป็น
สมุนไพรที่ใช้เป็นยาและเครื่องสำอาง ดอกคาโมมายล์มีน้ำมันหอมระเหย สารสำคัญในน้ำมันหอมระเหยคือ อะ
ซูลีน (Azulene) ในอดีตใช้ดอกคาโมมายล์ผสมน้ำอาบช่วยบรรเทาอาการโรคผิวหนังสำหรับผิวแพ้ง่าย
และยับยั้งอาการอักเสบ
(5) ฮ็อพส์ (Hops) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Humulus lupulus L. ดอกฮ็อพส์มีน้ำมันหอม
ระเหยแทนนิน ไฟโตเอสโตรเจน ดอกฮ็อพส์ใช้ผสมน้ำอาบช่วยลดการระคายเคืองผิวหนัง และใช้เป็นส่วนผสม
ในแชมพู น้ำมันใส่ผม และครีมทาผิว

You might also like