You are on page 1of 16

แบบรายงานผลปฏิบัติการที่ 10

เรื่อง Hydraulic I
Sec 11 Group J
จัดทำโดย
นายธราเทพ ริมชัยสิทธิ์ รหัสนิสิต 6410505001
นายธีรเดช ต่อตระกูล รหัสนิสิต 6410505019
นายธีรพัฒน์ ศักดิ์ดีชุมพล รหัสนิสิต 6410505027
นายธีรภัทร จตุวิมล รหัสนิสิต 6410505035
นายนราวิชญ์ สุนทราจารย์ รหัสนิสิต 6410505043
นายปองพล ธนกฤติกาญจนา รหัสนิสิต 6410505051
นางสาวพรรณกาญจน์ พิภักดี รหัสนิสิต 6410505060
นางสาวพัชพร บุญชุ่ม รหัสนิสิต 6410505078
เสนอ
ผศ.ดร. อรรถพร วิเศษสินธุ์
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ปฏิบัติการวิศกรรมเครื่องกล I รหัสวิชา 01208381
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีการศึกษา 2566
วิจารณ์ผลการทดลอง
1. กำหนดให้ความดัน P1 มีค่าเท่ากับ 30 bar ขณะที่วาล์ว 4/2 อยู่ที่ตำแหน่ง b ทิศทางการไหลของความดัน P
จะไปยังตำแหน่ง B ของวาล์ว4/2 ทำให้สามารถวัดความดัน P2 ซึ่งต่ออยู่กับรู B ได้มีค่าประมาณ 28.5 bar และ
ความดัน P3 มีค่าเป็น 0 โดยที่ตำแหน่ง A จะมีน้ำมันไหลลงท่อที่ตำแหน่ง T
2. ขณะที่กำลังเลื่อนวาล์ว 4/2 ไปที่ตำแหน่ง a ความดันของทั้ง P2 และ P3 จะมีค่าเป็น 0 bar โดยใช้เวลา
ประมาณ 5.08 s ในการเคลื่อนที่กระบอกสูบสองทางไปยังตำแหน่งด้านหน้า
3. เมื่อวาล์ว 4/2 อยู่ที่ตำแหน่ง a และตำแหน่งของกระบอกสูบอยู่ด้านหน้าสามารถวัดความดัน P3 ได้ประมาณ
29 bar เนื่องจากที่ตำแหน่งa ของวาล์ว 4/2 ทิศทางการไหลของความดัน P จะไปยังตำแหน่ง A ของวาล์ว 4/2
ทำให้สามารถวัดความดันที่ P3 ได้ซึ่งมีค่าประมาณ 29 bar และความดัน P2 มีค่าเป็น 0 โดยที่ตำแหน่ง B จะมี
น้ำมันไหลลงท่อที่ตำแหน่ง T
4. เมื่อเปลี่ยนวาล์ว 4/2 ให้กลับมาที่ตำแหน่ง b จะสามารถวัดความดันของ P2 และ P3 ได้ประมาณ 10 และ 2
bar ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าการที่ P2 มีค่ามากกว่า P3 เนื่องจากทิศทางการไหลของความดัน P จะไปยังตำแหน่ง
B ของวาล์ว 4/2 ทำให้ความดันมากกว่าที่ตำแหน่ง A และใช้เวลาประมาณ 3.82 s ในการไปยังตำแหน่งด้าน
หลั ง สุ ด ของกระบอกลู ก สู บ เหตุ ผ ลที ่ ท ำให้ เวลาในการเปลี ่ ย นตำแหน่ ง ของกระบอกลู ก สู บ ต่ า งกั น มาจาก
พื้นที่หน้าตัดของตัวกระบอกลูกสูบ ส่งผลกับปริมาตรของการไหลของน้ำมัน
กราฟแสดงผลการทดลอง
01208381 (Hydraulic 1) คำถามเพื่อความเข้าใจในเนื้อหา
1. Pressure Relief Valve (P.R.V.) ทำหน้าที่อะไรในระบบ Power Unit?
ตอบ วาล์วระบายแรงดันหรือรีลีฟวาล์วเป็น อุปกรณ์ทำความเย็นที่ป้องกันไม่ให้ระบบของเครื่องทำความเย็นเกิด
ความเสียหาย ในกรณีเมื่ออุณหภูมิและความดันของสารทำความเย็นภายในระบบด้าน High side สูงเกินกว่าปกติ
2.Directional Control Valve (D.C.V.) มีกี่ประเภททำหน้าที่อะไร
ตอบ 3 ประเภท
-วาล์วควบคุมทิศทาง แบบ Manual valve
วาล์วควบคุมทิศทางประเภทนี้เวลาใช้งาน ผู้ใช้งานต้องเป็นผู้ควบคุมการเปิด -ปิด ด้วยตัวเอง นิยมนำไปใช้กับการ
ออกแบบเครื่องจักร ที่ผู้ใช้งานต้องกดปุ่มหรือเหยียบสวิตซ์เพื่อใช้งาน เช่น เครื่องตัด เป็นต้น อุปกรณ์ที่ใช้ในการ
ควบคุมการเปิด-ปิดของ วาล์วประเภทนี้ เช่น สวิ ตซ์แบบเหยียบ (foot pedal), ก้านคันโยก (Toggle actuator),
คันโยน(handle), น๊อปหมุน (knob) และ สวิตซ์แบบกดติดปล่อยดับ (Push switch)
-วาล์วควบคุมทิศทาง แบบ Air piloted valve
วาล์วควบคุมทิศทางประเภทนี้ใช้วิธีการเปลี่ยนทิศทาง โดยอาศัยลมอัดที่ถูกป้อนเข้าไปดัน spool ที่อยู่ภายในของ
ตัวอุปกรณ์ชิ้นนี้
-วาล์วควบคุมทิศทาง แบบโซลินอยด์ (Solenoid valve)
วาล์วควบคุมทิศทางประเภทนี้สั่งงานด้วย ขดลวดโซลินอยด์ นิยมใช้กันมากในงานอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรม
ยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย
3. (D.C.V) ที่ใช้ในการทดลองที่สองเป็นชนิดใด ใช้กับกระบอกสูบแบบใด และจงบอกหน้าที่การทำงานของ
ตำแหน่ง Way. ตามอักษร P,T,A,B ให้เข้าใจตามหลักการทำงาน
ตอบ เป็นแบบ 4-way / 2-direction (4/2 DCV) ทำงานกับกระบอกสูบแบบ Double-acting โดยทำงานอยู่ 2
แบบ
-น้ำมันไหลเข้า P ออก A เข้ากระบอกสูบแล้วดันลูกสูบออก แล้วน้ำมันไหลจากกระบอกสูบเข้า B แล้วออก T
-น้ำมันไหลเข้า P ออก B เข้ากระบอกสูบแล้วดันลูกสูบเข้า แล้วน้ำมันไหลจากกระบอกสูบเข้า A แล้วออก T
4. จงอธิบายการทำงานของกระบอกสูบแบบ Double Acting Cylinder การเข้า-ออกของน้ำมันไฮดรอ
ลิคผ่าน (D.V.C) โดยใช้วาล์ว 4/2
ตอบ กระบอกสูบทำงาน 2 แบบ
-น้ำมันจะเข้า DCV ที่ P แล้วออกจาก A แล้วเข้ากระบอกสูบเพื่อดันลูกสูบออก
-น้ำมันจะไหลออกจากลูกสูบทำให้ลูกสูบถูกดันกลับ แล้วน้ำมันไหลกลับไปเข้า A ของ DCV แล้วออก T
5. จงอธิบายการทำงานของกระบอกสูบแบบ Double Acting Cylinder การเข้า-ออกของน้ำมันไฮดรอ
ลิคผ่าน (D.C.V) โดยใช้วาล์ว 4/2
ตอบ เป็นแบบ 4-way / 2-direction (4/2 DCV) ทำงานกับกระบอกสูบแบบ Double-acting โดยทำงานอยู่ 2
แบบ
6. Motor Hydraulic แบ่งตามการทิศทางการหมุนได้กี่แบบ เอาไปใช้งานกับเครื่องจักรประเภทใด?
ตอบ แบ่งตามการหมุนได้ ดังนี้คือ แบบหมุนได้ทางเดียว และแบบหมุนได้สองทาง และแบบที่สามารถปรับค่า
ปริมาตรจุได้ และชนิดปริมาตรจุ นิยมเอาไปใช้งานกับเครื่องจักรประเภท เครื่องตัก เครื่องขุดและเครื่องไถ ระบบ
เบรก เกียร์ออโต้ เกียร์กระปุก ระบบเลี้ยว เป็นต้น
7. หน่วยวัดความดันของ Pressure Gauge ที่ใช้กับ Hydraulic Oil ที่นิยมใช้คือหน่วยใด?
ตอบ Bar บาร์ (ระบบ SI)
8. Store Tank ทำหน้าที่อะไรในระบบไฮดรอลิค?
ตอบ กักเก็บน้ำมันไฮดรอลิคเพื่อใช้หมุนเวียนในระบบ
9. Hydraulic Pump ถือว่าเป็นหัวใจหลักของระบบเครื่องจักรกลไฮดรอลิค มีกี่ชนิด
ตอบ โดยทั่วไปแล้วปั๊มไฮดรอลิก (Hydraulic pump) สามารถแบ่งเป็น 2 แบบ คือ
1. ชนิดปริมาตรคงที่ (Fix displacement) คือ ชนิดที่ปริมาตรของของเหลวที่ถูก ส่งออกจากปั๊มแต่ละวงจรของ
การเคลื่อนที่จะคงที่ตลอดเวลา ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
2. ชนิดปริมาตรเปลี่ยนแปลง (Variable displacement) คือ ชนิดที่ปริมาตรของ ของเหลวที่ถูกส่งออกจากปั๊มแต่
ละวงจรของการเคลื่อนที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยการปรับตั้งกลไกภายในของปั๊ม
ปั๊มไฮดรอลิกที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันจะมีทั้งชนิดปริมาตรคงที่และ ชนิดปริมาตรเปลี่ยนแปลงโดยทั่วๆไปแล้ว
ปั๊มไฮดรอลิกนิยม แบ่งตามลักษณะโครงสร้างของปั๊ม ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ Gear pump, Vane pump
และ Piston pump
10. จงบอกสาเหตุที่ทำให้ Hydraulic Oil เสื่อมสภาพเร็ว
ตอบ อุณหภูมิของน้ำมันในระบบ ควรหมั่นตรวจสอบระบบระบายความร้อนว่ายังทำงานเป็นปกติ และสามารถ
รักษาระดับอุณหภูมิของน้ำมันไฮดรอลิคในระบบไม่ให้สูงเกินไป เพราะหากอุณหภูมิสูงมากน้ำมันจะเสื่อมสภาพเร็ว
11. อุปกรณ์ควบคุมทำงานในระบบไฮดรอลิคมีกี่แบบ อะไรบ้าง
ตอบ
1.ควบคุมทิศทางการไหลของน้ำมันไฮดรอลิค ทำให้กระบอกเคลื่อนที่ เข้า-ออก ได้ เช่น โซลินอยด์วาล์ว เป็นต้น
2.ควบคุมความดันของน้ำมันไฮดรอลิคในระบบ เพื่อจำกัดความดันให้เป็นไปตามต้องในการใช้งานต่างๆ อุปกรณ์ที่
ใช้ควบคุมความดัน ได้แก่
-วาล์วลดความดัน
-วาล์วควบคุมลำดับการทำงาน
-วาล์วลัดวงจร
3.ควบคุมปริมาณการไหล เพื่อควบคุมปริมาณการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคให้เหมาะสม ทำให้สามารถควบคุม
ความเร็วของอุปกรณ์ทำงานได้ชึ่งมีอยู่ 2 ซนิด คือ
-ชนิดปรับช่องทางออก
-ชนิดเปิดออกช่องทางผ่าน
12. อุปกรณ์ทำงานในระบบไฮดรอลิคมีกี่แบบ อะไรบ้าง
ตอบ มี 2 แบบ คือ
1.กระบอกสูบ จะส่งถ่ายพลังงานในแนวเชิงเส้น
2.มอเตอร์ไฮดรอลิค จะส่งถ่ายพลังงานในแนวรัศมี
13. จงเขียนรูปสัญลักษณ์ของวงจรไฮดรอลิคให้ถูกต้องตามที่กำหนด
1) Oil filter หรือ ตัวกรองละเอียด (Treatment componet)

2) Pump(Transferring component)

3) Pressure relief valve (Pressure control component)

4) Directional control valve (Direction control component)

5) Non-return valve (Direction preventing component)

6) Flow control valve (Flow rate control component)


7) Hydraulic cylinder (Linear actuator or linear working component)

8) Hydraulic motor (Rotary actuator or working component)

9) Electric motor (Primary energy supply component)

10) Storage tank (Treatment and storage component)

11) Strainer หรือตัวกรองหยาบ (Treatment component)


สรุปผลการทดลอง

ธราเทพ ริมชัยสิทธิ์ 6410505001


สรุปผลการทดลอง
การทดลอง 1
1.ยิ่งเปิดวาล์วมาก ความดันก็จะเพิ่มมากตาม เนื่องจาก อัตราการไหลสม่ำเสมอ ความดันจึงต้องเพิ่ม เพราะ
พื้นที่หน้าตัดท่อไหลออกมากกว่า
2.ความดันแทบจะไม่สงผลกับอัตราการไหล แต่ความดันไปเพิ่มปริมาตรน้ำที่ไหลผ่านแทน
การทดลอง 2
กระบอกสูบหดเข้าใช้เวลาน้อยกว่า ตอนวิ่งขยายเพราะการหดเข้ามีทั้งน้ำหนักของลูกสูบ และปริมาตรของกระบอก
สูบเองหรือ พื้นที่หน้าตัด เพราะใช้เวลา 5.08 วิในการวิ่งออก และ3.82 วินาทีในหารหดคืน
ธีรเดช ต่อตระกูล 6410505019
สรุปผลการทดลอง
ผลการทดลองที่ 1 – จากการทดลองพบว่าการทำงานของวาล์วในมุมที่ 90 องศานั้นจะส่งผลให้เกิดความดันที่มาก
ที่สุดจึงสรุปได้ว่าการวางตำแหน่งของวาล์วนั้นจะส่งผลต่อความดันที่น้อยหรือมากอย่างแน่นอน และจากการสังเกตุ
ค่าอัตราการไหลจะทำให้ผู้ทดลองรู้อีกอย่างก็คือการที่ความดันนั้นน้อยหรือมากจะไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อเวลาเลย
สังเกตุจากค่าของเวลาที่เมื่อความดันเพิ่มขึ้นหรือลดลง เวลาในการไหลก็จะมีค่าที่เท่าเดิมหรือใกล้เคียงเวลาเดิม
มากๆ
ผลการทดลองที่ 2 – จากการทดลองนี้จะพบว่าเมื่อการไหลเกิดขึ้นจะส่งผลให้ค่า P1 ซึ่งเป็นค่าความดันนั้นมีค่าที่
ลดลงและจากการสังเกตุการทดลองจะพบอีกว่ารูปลักษณ์ของลูกสูบจะส่งผลต่อเวลาในการทดลองโดยสังเกตุจาก
ด้านขาเข้าและขาออกของลูกสูบโดยที่ลูกสูบฝั่งขาออกจะมีลักษณะเป็นวงกลมซึ่งใหญ่กว่าฝั่งขาเข้าจึงส่งผลให้เวลา
ที่ใช้ขาออกน้อยลงกว่าขาเข้านั่นเอง
ธีรพัฒน์ ศักดิ์ดีชุมพล 6410505027
สรุปผลการทดลอง
การทดลองที่ 1 :
จากผลการทดลองตารางที่ 1 พบว่า ถ้าองศาของการเปิดวาล์วเพิ่มขึ้น ความดันจะเพิ่มมากขึ้นด้ว ย
เนื่องจากตามหลักการความสมดุลของมวลที่ไหล ปริมาณของน้ำที่เข้าท่อต้องมีมวลเท่ากับปริมาณของน้ำที่ออก
จากท่อ และเมื่อวาล์วเปิดขึ้น น้ำหล่อเลี้ยงที่อยู่ในท่อมีโอกาสไหลผ่านวาล์วไปยังท่อที่มีพื้นที่ที่ใหญ่ขึ้น ความดันใน
ท่อต้องเพิ่มขึ้นเพื่อทำให้การไหลของน้ำเป็นไปได้อย่างสมดุลและเสถียร
จากผลการทดลองตารางที่ 2 พบว่า ความดันที่มากขึ้น ส่งผลเล็กน้อยกับการเปลี่ยนแปลงของอัตราไหล
(Q) เนื่องจากการเปิดวาล์วเป็นการเพิ่มปริมาณน้ำที่ไหลผ่าน แต่ความดันจะเพิ่มขึ้นเพื่อให้มวลที่ไหลเพิ่มขึ้น
การทดลองที่ 2 :
จากผลการทดลอง พบว่าเมื่อสับวาล์ว 4/2 ไปที่ห้อง b จะทำให้กระบอกสูบเคลื่อนที่จากตำแหน่งแรกเริ่ม
ไปตำแหน่งสุดท้าย ใช้เวลา 5.08 วินาที มีความดันที่เกจ P2 = 10 bar , P3 = 2 bar ขณะเคลื่อนที่ และความดัน
ที่เกจ P2 = 28.5 bar ขณะยืดสุด และเมื่อสับวาล์วกลับมาที่ห้อง a จะทำให้กระบอกสูบเคลื่อนที่จากตำแหน่งแรก
สุดท้าย ไปตำแหน่งเริ่ม ใช้เวลา 3.82 วินาที และความดันที่เกจ P2 = 29 bar ขณะหดสุด สามารถสรุปได้ว่าจาก
การที่กระบอกสูบหดเข้าใช้เวลาน้อยกว่ายืดออกเป็นเพราะว่าการหดเข้ามีผลจากน้ำหนักของลูกสูบช่วยอยู่
ธีรภัทร จตุวิมล 6410505035
สรุปผลการทดลอง
สรุปผลการทดลองที่ 1
จากการทดลองที่ 1 พบว่าเมื่อตำแหน่งของวาล์วเปิด-ปิดมากขึ้น ค่าความดัน P1 จะมากขึ้น แต่ขณะที่ความดัน
เพิ่มขึ้น ยิ่งมาก ความดัน ก็จะยิ่งมากตามโดยในมุมองศาที่ 90 จะมีความดันมากสุด ใช้ในการไหลสู่กระบอกสูบ
และอัตราการไหลจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ตำแหน่งของวาล์วมีผลต่อความดัน แต่ความดันไม่มีผลต่อเวลา
และอัตราการไหลหากต้องการเพิ่มหรือลดอัตราการไหลต้องเปลี่ยนความเร็วรอบของมอเตอร์
สรุปผลการทดลองที่ 2
จากการทดลองที่ 2 เมื่อสับวาล์วความดันที่ P1 มีค่าลดลงทำให้กระบอกสูบเกิดการไหลจากที่ตำแหน่งเริ่มถึงท้าย
ได้ใช้เวลาไปที่ 5.08 วินาทีจากนั้นเมื่อสับวาล์วกลับมาห้อง a จะทำให้เกิดการไหลสลับกันที่ 3.82 วินาที ดังนั้นเรา
สามารถรู้ได้ว่าการหดเข้าของกระบอกสูบใช้เวลาที่น้อยกว่ายืดออกของกระบอกสูบ
นายนราวิชญ์ สุนทราจารย์ 6410505043
สรุปผลการทดลอง
การทดลองที่ 1 จากการทดลองพบว่า
1. องศาของตำแหน่งเปิด-ปิดวาล์วที่ยังเปิดไม่ถึงประมาณ 90 องศาจะแทบไม่ปล่อยให้เกิดการไหลผ่านเลย
โดยตั้งแต่ 0° ถึง 60° มีวัดควานดันไม่ถึง 10 bar แต่เมื่อถึง 90° แล้ว ความดันกระโดดไปถึง 60 bar
2. ความดันนั้นแทบไม่มีผลถึงเวลาที่น้ำมันที่มีปริมาณเท่ากันไหลสู่กระบอกวัด หรืออัตราการไหลที่เมื่อวัดค่า
ในความดันที่ต่างกันยังคงมีค่าใกล้เคียงเดิม โดยอยู่ที่ 14 วินาทีและ 4.3 ลิตรต่อนาที
การทดลองที่ 2 จากการทดลองพบว่า
1. ความดัน P1 จะมีค่าลดลงระหว่างจังหวะที่กระบอกสูบเคลื่อนที่เพราะเกิดการไหลขึ้น
2. ตำแหน่ง a คือตำแหน่งที่ P ไหลเข้า A และ B ไหลออก T ส่วนตำแหน่ง b จะสลับกันโดย P ไหลเข้า B
แล้ว A ไหลออก T
3. ในช่วงตำแหน่งดันเข้าสุด P2 จะมีค่ามาก แต่ P3 จะไม่มีแรงดัน และจะกลับกันในตำแหน่งดันออกสุด แต่
ในช่วงลูกสูบขยับจะมีความดันน้อยทั้งคู่
4. เวลาที่ลูกสูบใช้ในช่วงเลื่อนเข้ามีค่ามากกว่าในช่วงเลื่อนออก เพราะในด้านดันเข้าลูกสูบมีพื้นที่หน้าตัดเป็น
รูปวงแหวนซึ่งมีพื้นที่น้อยกว่าด้านดันออกที่เป็นรูปวงกลม
ปองพล ธนกฤติกาญจนา 6410505051
สรุปผลการทดลอง
การทดลองที่ 1
จากการทดลองที่ 1 พบว่า ยิ่งมีการปรับตำแหน่งของวาร์ลปิด -เปิดทำมุมมากขึ้นจะทำให้ความดัน
𝑃1 มีค่ามากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งค่าความดันที่มากขึ้นไม่มีผลต่อเวลาที่น้ำมัน 1,000 ลบ.ซม. ใช้ในการไหลสู่กระบอก
วัดและอัตราไหล นั่นคือ เวลาที่น้ำมัน 1,000 ลบ.ซม. ใช้ในการไหลสู่กระบอกวัดและอัตราไหลมีค่าเท่าเดิมและ
คงที่
การทดลองที่ 2
จากการทดลองที่ 2 พบว่า พื้นที่หน้าตัดและความดันของกระบอกสูบมีผลต่อเวลาการเลื่อนเข้าและ
เลื่อนออก ซึ่งการเลื่อนของกระบอกสูบเข้าใช้เวลาน้อยกว่าการเลื่อนออกของกระบอกสูบ
พรรณกาญจน์ พิภักดี 6410505060
สรุปผลการทดลอง
สรุปผลการทดลองที่ 1
จากตารางที่ 1 สามารถสรุปได้ว่า ถ้าหากองศาของการปิด -เปิดวาล์วเพิ่มมากขึ้น จะส่งผลให้ค่าความดัน
P1 มีค่าเพิ่มขึ้นด้วย และในตำแหน่งที่มีความดันมากสุดจะอยู่ที่องศาที่ 90
จากตารางที่ 2 สามารถสรุปได้ว่าความดันส่งผลถึงเวลาที่น้ำมัน 1,000 ลบ.ซม. ใช้ในการไหลสู่กระบอกวัด
และอัตราการไหลน้อยมากหรือแทบจะไม่ส่งผลเลย สังเกตได้จากที่ค่าจากผลการทดลองที่ได้มีการเปลี่ยนความดัน
ไปเรื่อย ๆ มีผลที่ใกล้เคียงเดิม
สรุปผลการทดลองที่ 2
จากการทดลองกระบอก Hydraulic แบบ 2 ทาง ที่ตำแหน่งเลื่อนออก เลื่อนเข้า และระหว่างการเลื่อน
เข้า และเลื่อนออก เมื่อวัดความดันแล้ว สรุปได้ว่าเมื่อตำแหน่งและความดัน P1 ต่างกัน ส่งผลให้ความดัน P2 และ
P3 มีค่าที่เปลี่ยนแปลงไปดังตาราง และเวลาที่ใช้ในช่วงกระบอกเลื่อนเข้ามีค่ามากกว่าในช่วงเลื่อนออก
พัชรพร บุญชุ่ม 6410505078
สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองครั้งแรกโดยลองปรับค่าความดันไปยังที่ตำแหน่งต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบอัตราการไหลของ
น้ำมัน สามารถสังเกตได้ว่าที่ความดันต่างๆ เวลาการไหลของน้ำมัน 1 ลิตร ตามที่แสดงในตารางที่2 มีค่าใกล้เคียง
กันโดยมีเวลาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 13.875 วินาทีต่อน้ำมัน 1 ลิตร และอัตราการไหลมีค่าเฉลี่ยประมาณ 4.325 ลิตร
ต่อนาที แสดงให้เห็นว่าความดันที่เปลี่ยนแปลงไปไม่มีผลกับอัตราการไหลของน้ำมัน
จากการทดลองการวัดกระบอกไฮดรอลิคแบบสองทาง โดยการใช้วาล์ว ควบคุมทิศทางแบบ 4/2 เพื่อ
ควบคุมทิศทางการไหล เมื่อวาล์ว 4/2 อยู่ที่ตำแหน่ง a ทิศทางการไหลของความดัน P จะมีทิศไปยังตำแหน่ง A
ของวาล์วทำให้สามารถวัดความดัน P3 ได้และตำแหน่งของกระบอกลูกสูบจะค่อยๆเคลื่อนที่ขึ้นไปยังตำแหน่ง
ด้านหน้า เมื่อเปลี่ยนให้วาล์ว 4/2 อยู่ที่ตำแหน่ง b ทิศทางการไหลของความดัน P จะมีทิศไปยังตำแหน่ง B แทน
ทำให้กระบอกลูกสูบจะค่อยๆมีทิศเคลื่อนที่ลงไปยังตำแหน่งด้านหลังแทน

You might also like