You are on page 1of 14

29

บทที่ 3
อุปกรณ์และการทดลอง
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาคุณลักษณะการเผาไหม้ในหัวเผาวัสดุพรุนแบบไฮบริด โดยมีรายละเอียด
อุปกรณ์ และขั้นตอนวิธีการทดลองดังนี้

3.1 เครื่องมืออุปกรณ์การทดลอง
3.1.1 หัวเตาแก๊สความดันสูง (High Pressure)
หัวเตาแก๊สความดันสูง (High Pressure) เป็นแบบที่นิยมใช้มากที่สุดในร้านขายอาหารทั่วไป
และใช้ในอุตสาหกรรมขนาดย่อม ข้อดีของหัวเตาชนิดนี้คือ มีอายุการใช้งานนาน และทนความร้อนสูง
ชนิดของหัวเตาแก๊สความดันสูงเช่น KB-4, KB-5 , KB-8 , KB-10 , KB-15 และ KB-20 มีลักษณะการ
ทำงานแบบพ่นแก๊สโดยตรง ไม่มีการกักแก๊สไว้ จึงใช้ปริมาณแก๊สมาก ลักษณะเปลวไฟจะพุ่งสูงขึ้นมา
จากหัวเตาแก๊ส เพราะเป็นการเผาไหม้โดยตรง ดังแสดงในรูปที่ 3.1

รูปที่ 3.1 หัวเตาแก๊สความดันสูง (High Pressure)

3.1.2 อุปกรณ์ควบคุมความดันของแก๊ส LPG (Pressure Regulator)


เป็ น อุ ป กรณ์ ค วบคุ ม ความดั น และอั ต ราการไหลของแก๊ ส LPG พิ จ ารณาเลื อ กใช้ ย ี ่ ห้ อ
Longwell รุ่น YR-80 ดังรูป 3.2 ตัวเกจทำจากวัสดุทองเหลืองแท้จำนวน 1 ตัว โดยมีรายละเอียดของ
อุปกรณ์ ดังตารางที่ 3.1
34

รูปที่ 3.2 อุปกรณ์ความควบคุมความดัน

ตารางที่ 3.1 รายละเอียดอุปกรณ์ควบคุมความดันของแก๊ส LPG


Description
Gas Service: LPG (Propane)
Input pressure: 150 kg/cm2
Output pressure: 15 kg/cm2
Inlet Connection: G5/8"-LH
Outlet Connection: G3/8"-LH (M16×1.5)
Weight: 1200 g

3.1.3 เครื่องชั่งน้ำหนักขนาด 150 กิโลกรัม แบบดิจิตอล


เครื่องชั่งน้ำหนักใช้สำหรับชั่งถังบรรจุแก๊ส LPG ในขณะทำการทดลอง เพื่อคำนวณหาอัตรา
การไหลเชิงมวลของแก๊ส LPG พิจารณาเลือกใช้เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล ACCURA ขนาด 150 kg รุ่น
SB730-731 มีค่าความละเอียด 10 g ดังรูปที่ 3.3 โครงสร้างแท่นชั่งทำจากเหล็ก (แท่นนอก) และมีฝา
ครอบสแตนเลสใช้พลังงานแบตเตอรี่ชาร์จได้ในตัวเครื่อง 6V AC/DC (220 V 50/60 Hz) จอแสดง
ตัวเลขสีดำ (LCD) พร้อม Backlight เรืองแสง มีแสงสว่างขณะชั่ง
35

รูปที่ 3.3 เครื่องชั่งน้ำหนักขนาด 150 kg แบบดิจิตอล

3.1.4 เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple)


อุป กรณ์ว ั ด อุ ณ หภู มิ (Thermocouple) ชนิด K สามารถวัด อุ ณ หภู มิ ไ ด้ จาก -180 °C ถึง
ประมาณ 1,350 °C และอุปกรณ์เก็บบันทึกค่าอุณหภูมิ ใช้ Data-Logger รุ่น Midi Logger GL220
ในการเก็บบันทึกค่าอุณหภูมิของน้ำ ณ เวลาใดๆ ดังรูปที่ 3.4

รูปที่ 3.4 อุปกรณ์วัดอุณหภูมิ (Thermocouple) ชนิด K

3.1.5 เครื่องวิเคราะห์แก๊สไอเสีย (Exhaust Analyzer)


เครื่องวิเคราะห์แก๊สไอเสีย (Exhaust Analyzer) ใช้ในการวิเคราะห์แก๊สไอเสียที่ปลดปล่อย
ออกมาจากการเผาไหม้ และวัดปริมาณอากาศส่วนแรกที่ใช้ในการเผาไหม้ พิจารณาเลือกใช้ยี่ห้อ
Testo รุ่น 350-XL ดังรูปที่ 3.5 สามารถวัดค่า CO, CO2, O2, NOx มาตรฐานแห้ง ซึ่งค่าที่วัดได้จะมี
ความคลาดเคลื่อน 0.05%
36

รูปที่ 3.5 เครื่องวิเคราะห์แก๊สไอเสีย (Exhaust Analyzer)

3.1.6 อุปกรณ์ดักไอเสีย (Hood)


อุปกรณ์ดักไอเสีย ออกแบบให้มีลักษณะและขนาดตามมาตรฐานอ้างอิง DIN EN 203-2 ซึ่ง
จะวางครอบด้านบนของหม้อ เพื่อป้องกันการรบกวนจากอากาศภายนอกในขณะที่ทำการวัดไอเสีย
โดยจะมีรูปร่างลักษณะดังรูปที่ 3.6

รูปที่ 3.6 อุปกรณ์ดักไอเสีย (Hood)

3.1.7 นาฬิกาจับเวลา
นาฬิกาจับเวลาแบบดิจิตอล ใช้เพื่อจับเวลาในการทดสอบวัดอัตราการไหลเชิงมวลของแก๊ส
เชื้อเพลิง พิจารณาเลือกใช้นาฬิ กาจับเวลา SEIKO STOPWATCH S23601 ดังรูปที่ 3.7 จับเวลาได้
37

นานถึง 100 hr ด้วยความละเอียด 1/100 s กันน้ำได้ลึก 50 in หรือด้วยแรงดันน้ำประมาณ 5 bar


สามารถเรียกดูค่าการจับเวลาจากหน่วยความจำได้แม้ขณะที่กำลังจับเวลาอยู่

รูปที่ 3.7 นาฬิกาจับเวลาแบบดิจิตอล

3.1.8 ภาชนะบรรจุน้ำ (หม้อ)


หม้ออะลูม ิเ นี ย มเบอร์ 45 (ขนาดเส้นผ่ านศูน ย์ กลาง 45 cm) ใช้บรรจุน้ำ 30.6 kg ตาม
มาตรฐานอ้างอิง DIN EN 203-2 ดังรูปที่ 3.8 เพื่อทดสอบวัดประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเตาแก๊ส
โดยฝาหม้อจะมีการเจาะรูเพื่อติดตั้ง Thermocouple เพื่อวัดอุณหภูมิของน้ำ จากอุณหภูมิเริ่มต้น
จนถึง 90 °C
38

รูปที่ 3.8 หม้ออะลูมิเนียมเบอร์ 45

3.1.9 ส่วนประกอบเตาวัสดุพรุน
ชิ้นส่วนที่ใช้ประกอบเตาวัสดุพรุนประกอบด้วยส่วนหลักๆ 5 ส่วนด้วยกันดังแสดงในรูปที่ 3.9

หัวเผาชนิดวัสดุพรุน แผ่นรองวัสดุพรุน
39

ห้องส่วนผสม

ท่อผสม หัวฉีด

รูปที่ 3.9 ชิ้นส่วนประกอบเตาวัสดุพรุน

3.1.10 เตาเผาวัสดุพรุนแบบหนึ่งชั้น
หลักการทำงานของเตาเผาวัสดุพรุนแบบหนึ่งชั้น ดังรูปที่ 3.10 เริ่มต้นจุดเตาด้วยแก๊ส LPG
ทำการเปิดวาล์วแก๊ส LPG ด้วยความดัน 1 บาร์ โดยที่ช่องของอากาศจะต้องปิดสนิทเพื่อที่จะให้แก๊ส
LPG วิ่งเข้าในห้องเผาเชื้อเพลิงเพื่อให้เปลวไฟติดแบบแพร่ (Diffused Flame) ดังรูปที่ 3.11 ใช้เวลา
2 นาทีเพื่อเป็นการอุ่นเตาหลังจากนั้นทำการเปิดวาล์วทางเข้าอากาศส่วนแรกเพื่อให้อากาศได้ผสมกับ
เชื้อเพลิงจนเกิดเป็นเปลวไฟแบบ (Premixed Flame) แล้วสังเกตดูว่าเปลวไฟสามารถมุดลงไปติดใน
ชั้นวัสดุพรุนได้หรือไม่โดยใช้เวลาสักพักจนกว่าจะได้ เปลวไฟแบบ (Premixed Flame) ดังรูปที่ 3.12
40

รูปที่ 3.10 โครงสร้างเตาเผาวัสดุพรุน

รูปที่ 3.11 เปลวไฟแบบแพร่ รูปที่ 3.12 เปลวไฟแบบผสมกันมาก่อน

3.2 วิธีการทดลอง
3.2.1 การสอบเทียบปริมาณการใช้เชื้อเพลิงเตา KB-5 ดังเดิม
อุป กรณ์ส ำหรับ การสอบเทียบปริมาณการใช้เชื้อเพลิงของเตามาตรฐานขนาด KB-5 ใช้
เชื้อเพลิง LPG วัดความดันของเชื้อเพลิงด้วยมานอมิเตอร์ชนิดปรอท และใช้เครื่องชั่งน้ำหนักแบบ
ดิจิตอลสำหรับวัดน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงไปของ LPG ดังรูปที่ 3.13
41

รูปที่ 3.13 แผนผังอุปกรณ์การสอบเทียบปริมาณการใช้เชื้อเพลิง

ทำการสอบเทียบปริมาณการใช้เชื้อเพลิง โดยกำหนดปริมาณเชื้อเพลิงด้วยการอ่านค่าความ
ดันจากมานอมิเตอร์ชนิดปรอท อ่านค่าน้ำหนักเริ่มต้นของ LPG จากเครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล จุด
เตาไว้ประมาณ 10 นาที จากนั้นอ่านค่าน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อคำนวณหาอัตราการไหลเชิงมวล
ของแก๊สเชื้อเพลิงและอัตราการป้อนเชื้อเพลิงที่ได้แต่ละความดันแก๊ส
3.2.2 การทดสอบประสิทธิภาพเตาดั้งเดิม
อุปกรณ์การทดสอบประสิทธิภาพเชิงความร้อนและตรวจวัดมลพิษของเตามาตรฐานขนาด
KB-5 ใช้เชื้อเพลิง LPG วัดความดันของเชื้อเพลิงด้วยมานอมิเตอร์ ชนิดปรอท วัดอุณหภูมิด้วยเทอร์
โมคัปเปิลชนิด K และวัดมลพิษด้วยเครื่องวัดไอเสียโดยมีเครื่องดักไอเสียใช้ร่วมด้วย ดังรูปที่ 3.14

รูปที่ 3.14 แผนผังอุปกรณ์การทดสอบประสิทธิภาพเชิงความร้อนและตรวจวัดมลพิษของเตา


มาตรฐานขนาด KB-5

ทำการทดสอบประสิทธิภาพเชิงความร้อนโดยวัดอุณหภูมิเริ่มต้นของน้ำ จากนั้นจุดเตาต้มน้ำ
แล้วเริ่มจับเวลา ต้มน้ำจนอุณหภูมิถึงประมาณ 70 °C เริ่มทำการวัดไอเสีย ต้มน้ำต่อไปจนมีอุณหภูมิ
90 °C หยุดเวลาโดยจะมีเงื่อนไขการทดลอง ดังนี้
1. ปริมาณน้ำที่ใช้ต้ม : 30.6 kg
42

2. ระยะความสูงก้นหม้อ : 6.7 cm
3. อัตราการป้อนเชื้อเพลิง : 1, 3, 5, 7, 9, 11, 13, 15, 18, 21 และ 24 kW

3.2.3 การทดสอบค่าความพรุน (𝜀)


วัสดุพรุนที่ใช้ในการทดลองมี 2 ชนิดคือ เม็ดอะลูมินา โดยการหาค่าความพรุน (𝜀) ของแต่
ละวัสดุพรุน หาได้ดังนี้
3.2.3.1 การทดสอบหาค่าความพรุนของเม็ดอะลูมินา
1. หาค่าความพรุนของเม็ดอะลูมินาจากวิธีการแทนที่น้ำ (วัดปริมาตรน้ำที่เติม)
2. หาค่าความพรุนของเม็ดอะลูมินาจากการคำนวณปริมาตรเม็ดอะลูมินา
3. หาค่าความพรุนของเม็ดอะลูมินาโดยการคำนวณจากสมการทางทฤษฎี
วิธีที่ 1 : การหาค่าความพรุนของเม็ดอะลูมินาจากวิธีการแทนที่น้ำ (วัดปริมาตรน้ำที่เติม)
อุปกรณ์การทดลองแสดงดังรูปที่ 3.16 ประกอบด้วยดังนี้
1. บีกเกอร์ขนาด 1,000 ml
2. เม็ดอะลูมินาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10, 15, 20, 25 และ 30 mm
3. สลิ้ง (เข็มฉีดยา) ขนาด 50 ml
4. ภาชนะบรรจุน้ำ
5. เวอร์เนียดิจิตอลเพื่อวัดขนาดเม็ดอะลูมินา
6. ไม้บรรทัด

รูปที่ 3.15 อุปกรณ์การทดลองวัดค่าความพรุนแบบการแทนที่น้ำ

วิธีการทดลองหาค่าความพรุนของเม็ดอะลูมินาจากการทดลองโดยการแทนที่น้ำแสดงดังรูปที่
3.17 มีขั้นตอนการทดลองดังนี้
1. นำเม็ดอะลูมินาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10, 15, 20, 25 และ 30 mm ใส่ในบีกเกอร์ที่มี
ปริมาตร1,000 ml ให้เต็ม
43

2. เตรียมน้ำเพื่อวัดปริมาตรช่องว่างเม็ดอะลูมินาในบีกเกอร์โดยใช้สลิ้งขนาด 50 ml ดูดน้ำ
แล้วเติมลงไปในบีกเกอร์ที่มีเม็ดอะลูมินา
3. อ่านค่าปริมาตรของน้ำที่ใช้สลิ้งเติมลงไปในบีกเกอร์จนเต็มภาชนะแล้วบันทึกปริมาตรของ
น้ำที่ได้
4. คำนวณหาค่าความพรุนของเม็ดอะลูมินาจากสมการ (3.1) ดังนี้
𝑣ช่องว่าง
𝜀= (3.1)
𝑣ทั้งหมด

เมื่อ 𝜀 คือ ค่าความพรุน


𝑣ช่องว่าง คือ ปริมาตรช่องว่างวัสดุพรุนโดยได้จากปริมาตรของน้ำที่เติม
𝑣ทั้งหมด คือ ปริมาตรของภาชนะที่บรรจุวัสดุพรุนเท่ากับ 1,000 ml

รูปที่ 3.16 การทดลองหาค่าความพรุนโดยวิธีการแทนที่น้ำ


44

วิธีที่ 2 : การหาค่าความพรุนของเม็ดอะลูมินาจากการคำนวณปริมาตรเม็ดอะลูมินา
อุปกรณ์การทดลองแสดงดังรูปที่ 3.18 ประกอบด้วยดังนี้
1. บีกเกอร์ขนาด 1,000 ml
2. เม็ดอะลูมินาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10, 15, 20, 25 และ 30 mm

รูปที่ 3.17 อุปกรณ์การทดลองหาค่าความพรุนแบบวัดปริมาตรเม็ดอะลูมินา

วิธีการทดลองหาค่าความพรุนของเม็ดอะลูมินาจากการคำนวณเม็ดอะลูมินาแสดงดังรูปที่
3.18 มีขั้นตอนดังนี้
1. บรรจุเม็ดอะลูมินาลงในภาชนะทดลองขนาด 1,000 ml จนเต็มภาชนะ
2. นับจำนวนเม็ดอะลูมินาที่บรรจุในภาชนะ
3. คำนวณปริมาตรของเม็ดอะลูมินาทั้งหมดจากสมการ (3.2) ดังนี้

𝑣วัสดุพรุน = n𝑣i (3.2)


4
𝑣i = × π × r3
3
45

เมื่อ n คือ จำนวนเม็ดอะลูมินา


r คือ รัศมีของเม็ดอะลูมินา
𝑣i คือ ปริมาตรของเม็ดอะลูมินา 1 เม็ด
𝑣วัสดุพรุน คือ ปริมาตรรวมทั้งหมดของเม็ดอะลูมินา

4. คำนวณค่าความพรุนของเม็ดอะลูมินาจากสมการ (3.3) ดังนี้

𝑣
𝜀 = 𝑣ช่องว่าง (3.3)
ทั้งหมด

𝑣ทั้งหมด −𝑣วัสดุพรุน
= 𝑣ทั้งหมด

รูปที่ 3.18 การทดลองหาค่าความพรุนโดยวิธีการคำนวณจากปริมาตรเม็ดอะลูมินา

วิธีที่ 3 : การหาค่าความพรุนของเม็ดอะลูมินาโดยการคำนวณจากสมการทางทฤษฎี
46

การคำนวณหาค่าความพรุนจากสมการทางทฤษฎี สามารถคำนวณได้จากทฤษฎีของ Zou


และ Yu ดังสมการที่ 3.4 คือ
10.686
𝐷⁄
𝜀 = 0.4 +0.01(𝑒 𝑑 – 1) (3.4)

เมื่อ D คือ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเตา (จากการทดลอง D = 20.9 cm)


d คือ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเม็ดอะลูมินา
ที่มา ; Zou, R.P., and Yu, A.B., “The Packing of Spheres in a Cylindrical Container: The
Thickness effect”, Chemical Engineering Science, Vol. 50, 1504-1507, 1995.

You might also like