You are on page 1of 27

ความรู้ทั่วไปของการให้การปรึกษา (Counseling)

หัวข้อ : ความรู้ทั่วไปของการให้การปรึกษา

1. ความหมายของการให้การปรึกษา
2. ความสาคัญของการให้การปรึกษา
3. จุดมุ่งหมายของการให้การปรึกษา
4. หลักการของการให้การปรึกษา
5. ประเภทของการให้การปรึกษา
6. ความแตกต่างระหว่างการให้การปรึกษากับจิตบาบัด
7. ประโยชน์ของการให้การปรึกษา
1. ความหมายของการให้การปรึกษา

The American Association, Division of Counseling Psychology


(Thompson, Rudolph and Henderson, 2004)
• กระบวนการช่วยเหลือบุคคลให้เอาชนะอุปสรรค เพื่อการเจริญเติบโตส่วนบุคคล
ด้วยการเผชิญกับอุปสรรคและพัฒนาศักยภาพในตัวบุคคล
1. ความหมายของการให้การปรึกษา

Pietrofesa (1978)
• กระบวนการของสัมพันธภาพในการให้ความช่วยเหลือ ซึ่งเต็มไปด้วยความ
อบอุ่น การยอมรับและความเข้าใจ ระหว่างผู้ให้บริการปรึกษากับผู้รับบริการ
เพื่อช่วยให้ผู้รับบริการได้เข้าใจตนเองเพิ่มขึ้น ได้เรียนรู้พฤติกรรมใหม่ ๆ
ตลอดจนเพื่อพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ
1. ความหมายของการให้การปรึกษา (ต่อ)

Burks and Stefflre (1979)


• การให้บริการปรึกษาเป็นสัมพันธภาพทางวิชาชีพระหว่างผู้ให้บริการ
ปรึกษากับผู้รับบริการ มีจุดหมายเพื่อช่วยให้ผู้รับบริการเข้าใจตนเองและ
สิ่งแวดล้อม ให้สามารถตัดสินใจและแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง
1. ความหมายของการให้การปรึกษา (ต่อ)

Ivey (2007)
• กระบวนการให้ความช่วยเหลือบุคคลปกติ ให้สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาหรือ
สามารถพัฒนาตนเองได้
1. ความหมายของการให้การปรึกษา (ต่อ)

George and Cristiani (1990)


• การให้บริการปรึกษาเป็นความร่วมมือกันระหว่างผู้ให้บริการปรึกษา กับ
ผู้รับบริการ เพื่อให้ผู้รับบริการรู้จักตนเองและสิ่งแวดล้อม เพื่อจะได้นาไปใช้ใน
การตัดสินแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
สรุป ความหมายของการให้การปรึกษา

การให้การปรึกษา หมายถึง กระบวนการของสัมพันธภาพระหว่างผู้ให้บริการ


ปรึกษา กับผู้รับบริการ เพื่อให้ผู้รับบริการเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น และเข้าใจสิ่งเวดล้อม
เพิ่มขึ้น ได้ปรับปรุงทักษะในการตัดสินใจและทักษะในการแก้ปัญหา ตลอดจนปรับปรุง
ความสามารถในการพัฒนาตนเอง
2. ความสาคัญของการให้การปรึกษา

2.1 ช่วยให้ผู้ที่เผชิญกับปัญหาหรืออุปสรรค เกิดแรงจูงใจที่จะแสวงหาแนวทางแก้ไข


ด้วยการที่ได้พูดคุยกัน
2.2 ช่วยให้ผู้รับการปรึกษา เข้าใจ และ เห็นปัญหาของตนเอง
2.3 เอื้อให้ผู้รับการปรึกษา วิเคราะห์ ทาความกระจ่างในปัญหาและตรวจสอบ
แนวคิดการแก้ปัญหาของเขาเอง
2. ความสาคัญของการให้การปรึกษา (ต่อ)

2.4 ช่วยให้ผู้รับการปรึกษา มองเห็นแนวทางแก้ไขและดาเนินการแก้ไขปัญหาได้ด้วย


ตนเอง
2.5 เอื้อให้ผู้รับการปรึกษา มีอิสระในการเลือกและสามารถปฏิเสธความช่วยเหลือ
ของผู้ให้การปรึกษาได้
2.6 ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่สาคัญ คือ ผู้รับการปรึกษาเจริญงอกงามและได้
พัฒนาตนเองได้
3. จุดมุ่งหมายของการให้การปรึกษา

3.1 จุดมุ่งหมายระยะสั้น
3.1.1 ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม คือ การส่งเสริมให้ผู้รับบริการ
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปสู่แนวทางที่พึงปรารถนา โดยมีกระบวนการช่วยให้ผู้รับบริการ
เปลี่ยนพฤติกรรมที่แตกต่างกันไปตามทฤษฎีการให้บริการปรึกษาแบบต่าง ๆ
ที่ผู้ให้บริการปรึกษายึดถือ

(George and Cristiani, 1990)


3. จุดมุ่งหมายของการให้การปรึกษา (ต่อ)

3.1 จุดมุ่งหมายระยะสั้น (ต่อ)


3.1.2 ส่งเสริมความสามารถในการตัดสินใจ คือ การส่งเสริมให้ผู้รับบริการ
ตัดสินใจได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ โดยประหยัดเวลา และมีการเสี่ยงน้อยที่สุด
ตลอดจนพัฒนาความสามารถที่จะวางโครงการอนาคตของตนทั้งระยะสั้นและระยะยาว
โดยใช้เหตุผลพิจารณาสภาพการณ์ต่าง ๆ อย่างรอบคอบ
3. จุดมุ่งหมายของการให้การปรึกษา (ต่อ)

3.1 จุดมุ่งหมายระยะสั้น (ต่อ)


3.1.3 ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา คือ การส่งเสริมให้บุคคลเรียนรู้วิธีการและมี
ทักษะในการแก้ปัญหา จะช่วยให้ผู้รับบริการนาไปใช้กับสภาพการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตของ
เขาได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในโรงเรียน ในครอบครัว หรือในชีวิตการทางาน
3. จุดมุ่งหมายของการให้การปรึกษา (ต่อ)

3.2 จุดมุ่งหมายระยะยาว
3.2.1 มีการตระหนักรู้ คือ ตระหนักในส่วนดีและส่วนบกพร่อง แรงจูงใจ ความเชื่อ
ค่านิยม และความรู้สึกของตนเอง
3.2.2 มีพฤติกรรมที่สม่าเสมอ ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
3.2.3 ควบคุมตนเองได้ ไม่วู่วาม หรือวิตกกังวลเกินกว่าเหตุ ไม่ท้อแท้ สิ้นหวัง

(Rogers, 1961)
3. จุดมุ่งหมายของการให้การปรึกษา (ต่อ)

3.2 จุดมุ่งหมายระยะยาว (ต่อ)


3.2.4 มีความสามารถในการแก้ปัญหา ดาเนินการกับสภาพการณ์ที่เป็นปัญหาได้
อย่างมีเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ ไม่หนีปัญหา
3.2.5 มีความมุ่งมั่น ทั้งการกระทาและความคิด ไม่จับจด เมื่อตัดสินใจที่จะทาสิ่งใด
แล้วก็มีใจจดจ่อ
4. หลักการของการให้การปรึกษา

4.1 ยึดผู้รับการปรึกษาเป็นหลัก
4.2 เน้นอารมณ์ความรูส้ ึกของผู้รับการปรึกษา
4.3 เข้าใจและยอมรับในอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดของผู้รับการปรึกษา
4.4 ไม่ด่วนสรุปหรือตัดสินผู้รับการปรึกษา
4.5 เน้นที่ความเป็นจริงตามเหตุการณ์และสถานการณ์
4. หลักการของการให้การปรึกษา (ต่อ)

4.6 มีการโต้ตอบที่เหมาะสมและเป็นจริงตามเหตุการณ์และสถานการณ์
4.7 ปัญหาแต่ละปัญหามีความสัมพันธ์กัน ไม่สามารถแยกขาดจากกันได้
4.8 ต้องคานึงเสมอว่าปัญหาอย่างเดียวกัน แต่ต่างบุคคล และต่างสิ่งแวดล้อมกัน วิธี
แก้ปัญหาย่อมแตกต่างกัน
4.9 ผู้รับการปรึกษาจะต้องค้นหาสาเหตุของปัญหา ตลอดจนหาแนวทางแก้ไขและ
ตัดสินใจเลือกทางแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง
4. หลักการของการให้การปรึกษา (ต่อ)

4.10 การปรึกษาจะต้องทาโดยความสมัครใจ
4.11 ต้องยึดหลักในการให้บุคคลสามารถปรับตัวได้ ปัญหาบางอย่างที่ไม่สามารถช่วย
แก้ไขได้ ก็ไม่ควรกระทาโดยขาดความมั่นใจ ต้องส่งให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยเหลือต่อไป
4.12 การให้การปรึกษา ต้องให้แก่ทุกคนที่มีปัญหา โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
5. ประเภทของการให้การปรึกษา

5.1 การปรึกษาเชิงจิตวิทยารายบุคคล (Individual Counseling)


คือ กระบวนการที่ช่วยให้มีการสารวจและหาข้อสรุปเกี่ยวกับปญหาส่วนตัวและ
สถานการณ์ที่เปนความต้องการของแต่ละบุคคล โดยผู้ให้บริการปรึกษาทาหน้าที่เปนผู้
เอื้ออานวยให้ผู้ที่มาขอรับบริการปรึกษาเข้าใจตัวเองและเผชิญโลกอย่างถูกต้อง ชัดเจน
และยอมรับตนเองได้

(Gibson & Mitchell, 1986)


5. ประเภทของการให้การปรึกษา (ต่อ)

5.2 การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม (Group Counseling)


คือ กระบวนการให้การช่วยเหลือแก่กลุ่มคนที่มีปญหาในชีวิตที่คล้ายคลึงกัน
ผู้ให้บริการปรึกษา มุ่งประเด็นความแตกต่างระหว่างบุคคลและปญหาของสมาชิก
โดยสมาชิกในกลุ่มมีบทบาทในการพยายามช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อให้การปรึกษาเกิด
ประสิทธิภาพ และจานวนสมาชิกควรอยู่ระหว่าง 5-8 คน

(Jacobs, Masson & Harvill, 1998)


5. ประเภทของการให้การปรึกษา (ต่อ)

5.3 การปรึกษาเชิงจิตวิทยาครอบครัว (Family Counseling)


คือ กระบวนการให้ความช่วยเหลือครอบครัว ไม่เฉพาะสมาชิกคนใดคนหนึ่งที่มี
พฤติกรรมเป็นปญหา ซึ่งทุกคนในครอบครัวต้องร่วมมือกันหาทางแก้ไข โดยความช่วยเหลือ
ของผู้ให้บริการปรึกษา เพื่อให้ครอบครัวอยู่ในสภาวะที่สมดุล และทาหน้าที่ของครอบครัวได้
อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างสัมพันธภาพและปรับตัวได้ดีทั้งในครอบครัว และสังคม

(เมธินินทร์ ภิณ ูชน, 2539)


6. ความแตกต่างระหว่าง
การให้การปรึกษา (Counseling) กับ จิตบาบัด (Psychotherapy)
6.1 จุดมุ่งหมาย
• ผู้รับบริการจิตบาบัด มีความผิดปกติด้านจิตใจ
จุดมุ่งหมาย คือ การปรับปรุงโครงสร้างบุคลิกภาพของผู้มารับบริการ

• ผู้รับบริการปรึกษา เป็นบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือในการตัดสินใจหรือ
แก้ปัญหา ตลอดจนการเปลี่ยนพฤติกรรม
จุดมุ่งหมาย คือ การช่วยให้ผู้รับบริการได้ดาเนินบทบาทในชีวิต อย่างมี
ประสิทธิภาพสามารถตัดสินใจได้อย่างหมาะสม
6. ความแตกต่างระหว่าง
การให้การปรึกษา (Counseling) กับ จิตบาบัด (Psychotherapy) (ต่อ)
6.2 ลักษณะปัญหา
• ปัญหาของผู้รับบริการจิตบาบัด เป็นปัญหาทางอารมณ์ที่ลึกซึ้งกว่าปัญหากว่า
ของผู้รับบริการปรึกษา
6.3 ระยะเวลา
• การให้บริการจิตบาบัดใช้ระยะเวลานานกว่าการให้บริการปรึกษา
6. ความแตกต่างระหว่าง
การให้การปรึกษา (Counseling) กับ จิตบาบัด (Psychotherapy) (ต่อ)

6.4 สถานที่
• การบริการจิตบาบัด จะอยู่ในโรงพยาบาล หรือ สถาบันบาบัดทางจิต
• การบริการปรึกษา มักดาเนินการอยู่ในสถาบันการศึกษา สถานสังคม
สงเคราะห์ สถานดูแลเยาวชนที่ประพฤติผิด หรือตามฝ่ายสวัสดิการของบริษัท
7. ประโยชน์ของการให้การปรึกษา

7.1 ผู้รับการปรึกษายอมรับความจริงได้ว่าตนเองมีส่วนทาให้เกิดปัญหาและช่วย
หาทางแก้ไขได้

7.2 ผู้รับการปรึกษาเข้าใจปัญหาและสาเหตุ เพื่อนาไปสู่การปรับเปลี่ยนความคิด


ความเชื่อ พฤติกรรม
7. ประโยชน์ของการให้การปรึกษา (ต่อ)

7.3 ผู้รับการปรึกษาเข้าใจปัญหาและตัดสินใจเองได้ว่า เขาควรทาสิ่งใดในการ


แก้ปัญหา

7.4 ผู้รับการปรึกษาเกิดผลลัพธ์ในการตัดสินใจ เช่น การปฏิเสธความช่วยเหลือ


การยอมรับความช่วยเหลือ
7. ประโยชน์ของการให้การปรึกษา (ต่อ)

7.5 ผู้รับการปรึกษาสามารถคิดและตัดสินใจด้วยตนเอง เผชิญหน้ากับความเป็นจริง


และมีอิสระในการเลือกที่จะตัดสินใจด้วยตนเอง

7.6 ผู้รับการปรึกษาปรับตัวเองเข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป และมุ่งเน้นให้


คนรอบข้างของผู้รับการปรึกษา ได้ร่วมคิดและพัฒนา ลดปัญหาการต่อต้านและไม่เห็นด้วย
ทาให้เกิดความร่วมมือ

You might also like