You are on page 1of 19

แบบฝึ กทักษะการแต่งกาพย์

ยานี ๑๑
เล่มที่ ๑ ความรู้เกี่ยวกับคำ
แบบทดสอบก่อนเรียน แบบฝึ กทักษะการแต่งกาพย์ยานี ๑๑
ประพันธ์
เล่มที่ ๑ เรื่องความรู้เกี่ยวกับคำประพันธ์
วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ ๑
คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน เวลา ๑๐ นาที

คำชี้แจง ๑. แบบทดสอบฉบับนี้เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย มีทั้งหมด ๑๐ ข้อ


๒. ให้อ่านคำถามแล้วเลือกคำตอบที่ถูกที่สุด แล้วเขียนเครื่องหมายกากบาท(×)
ลงในกระดาษคำตอบที่แจกให้ (ข้อละ ๑ คะแนน)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จุดประสงค์การเรียนรู้ ๑. อธิบายความหมายของร้อยกรองและฉันทลักษณ์ได้

๑. ข้อใดเป็นร้อยกรอง
2

ก. สารคดี
ข. เรื่องสั้น
ค. บทความ
ง. กาพย์ยานี ๑๑
๒. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. ร้อยแก้วเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าร้อยกรอง
ข. ร้อยกรองต้องมีสัมผัสคล้องจองเป็นหลัก
ค. ร้อยกรองมีลักษณะบังคับทั้งหมด ๘ ประการ
ง. ร้อยกรองคือถ้อยคำที่เรียงร้อยตามฉันทลักษณ์ที่กำหนดไว้
๓ . ข้อใดไม่ใช่บทร้อยกรอง
ก. โคลง ฉันท์
ข. ร่าย กลบท
ค. กาพย์ กลอน
ง. บทสัมภาษณ์ นวนิยาย

จุดประสงค์การเรียนรู้ ๒. อธิบายลักษณะบังคับของการแต่งคำประพันธ์ได้
๔. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะบังคับหรือบัญญัติในการแต่งคำประพันธ์
ก. คณะ
ข. คำคู่
ค. พยางค์
ง. คำตาย
๕. ข้อใดเป็นลักษณะบังคับที่ระบุจำนวนวรรค จำนวนคำ ของร้อยกรอง
ที่กำหนด
ก. คณะ
ข. พยางค์
ค. คำสร้อย
ง. คำเอก คำโท
๖. ข้อใดคือลักษณะบังคับการแต่งบทร้อยกรองทุกชนิด
ก. สัมผัส
ข. คำนำ
ค. คำสร้อย
ง. คำเอก คำโท
๗. ข้อใดใช้เรียกแทนพยางค์
ก. คำ
ข. คำนำ
3

ค. คำตาย
ง. คำสัมผัส
๘. กาพย์ยานี ๑๑ มีลักษณะบังคับอะไรบ้าง
ก. คณะ คำ สัมผัส
ข. พยางค์ สัมผัส คำ
ค. สัมผัส พยางค์ คำสร้อย
ง. พยางค์ สัมผัส คำเอก คำโท

๙. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะบังคับของกาพย์ยานี ๑๑
ก. คณะ
ข. พยางค์
ค. สัมผัสใน
ง. สัมผัสนอก
๑๐. ข้อใดที่เกี่ยวข้องกับคำที่มีเสียงคล้องจองกัน
ก. คำ
ข. คณะ
ค. สัมผัส
ง. พยางค์

*******************************
4

กระดาษคำตอบแบบทดสอบก่อนเรียน
แบบฝึ กทักษะการแต่งกาพย์ยานี ๑๑ เล่มที่ ๑ ความรู้เกี่ยวกับคำประพันธ์
วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ ๑
คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน เวลา ๑๐ นาที
ชื่อ – ชื่อสกุล
..................................................................ชั้น.............เล

ข้อ ก ข ค ง









๑๐
5

ใบความรู้ เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับคำประพันธ์

ความหมายของคำประพันธ์
คำประพันธ์และร้อยกรอง หมายถึง การเรียงร้อยถ้อยคำให้เป็นข้อความ โดยมีกฏเกณฑ์
ฉันทลักษณ์บังคับไว้อย่างชัดเจน ถ้อยคําที่เรียบเรียงต้องให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ให้นิยามของคำ “ร้อยกรอง” ไว้ ดังนี้


น. คําประพันธ์ ถ้อยคําที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์
คําประพันธ์ไทยนี้ สำนักวัฒนธรรมทางวรรณกรรมซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๕ ใช้เรียก
วรรณกรรมประเภทที่มีลักษณะบังคับในการแต่ง หรือมีการกำหนดคณะว่า “ร้อยกรอง” ควบคู่กันกับ
คำว่า “ร้อยแก้ว” อันเป็นความเรียง

ความหมายของฉันทลักษณ์
ฉันทลักษณ์ คือ ระเบียบ กฏเกณฑ์ ของคำประพันธ์ ระบุไว้อย่างชัดเจน ต้องแต่งตามนั้น
ซึ่งลักษณะบังคับที่คำประพันธ์แต่ละชนิดต้องมีเหมือนกัน ได้แก่
1. คณะ 5. ครุ ลหุ
2. พยางค์ 6. คำเป็น คำตาย
3. สัมผัส 7. คำนำ
4. เอก โท เสียงวรรณยุกต์ 8. คำสร้อย
ซึ่งมี คณะ พยางค์และสัมผัส เป็นลักษณะบังคับของคำประพันธ์ ทุกชนิด นอกนั้นเป็นลักษณะ
บังคับเฉพาะคำประพันธ์ แต่ละชนิดที่มีความแตกต่างกันออกไป
อนึ่งสำหรับในที่นี้จะกล่าวถึงมีรายละเอียดเพิ่มเติมเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการแต่งกาพย์ยานี ๑๑
ซึ่งจะเรียนในวิชานี้เท่านั้น ดังนี้

คณะ
6

1. คณะ คือ การระบุจำนวนคำว่ามีกี่คำในแต่ละวรรค ว่ามีกี่วรรคใน ๑ บาท หรือ


มีกี่วรรคใน ๑ บท ของคำประพันธ์
แต่ละชนิดซึ่งแยกออกได้ ดังนี้ ฉันทลักษณ์ / ฉัน- ทะ- ลัก
๑.๑ บท คือ คำประพันธ์ตอนหนึ่งๆ อาจมีมากหรือน้อยแล้วแต่ละชนิดของคำประพันธ์
๑.๒ บาท คือ ส่วนย่อยของคำประพันธ์แต่ละบทซึ่งมีมากน้อยแล้วแต่ชนิดของ
คำประพันธ์
๑.๓ วรรค คือ ส่วนย่อยของบาทอีกชั้นหนึ่ง บาทหนึ่งๆ ของคำประพันธ์แต่ละชนิด
อาจไม่เท่ากันมีตั้งแต่ ๑ วรรค หรือมากกว่านั้นแล้วแต่ชนิดของคำประพันธ์ (บรรจง ชาคริตพงศ์ ,
๒๕๕๑ : ๘)

พยางค์

2. คำ=พยางค์ คือ จังหวะเสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ หรือหน่วยเสียงที่ประกอบด้วยสระตัว


เดียว
จะมีความหมายหรือไม่ก็ตาม คำที่ใช้บรรจุในบทร้อยกรองต่างๆ หมายถึง คำ พยางค์ทั้งสิ้น คำพยางค์
นี้ถ้ามีเสียงเป็นลหุ จะรวมพยางค์ เป็นคำหนึ่งหรือหน่วยหนึ่งในการแต่งบทร้อยกรองก็ได้ แต่ถ้ามี
เสียงเป็นครุจะรวมกันไม่ได้ต้องใช้พยางค์ละคำ (กำชัย ทองหล่อ , ๒๕๕๒ : ๓๙๓)

สัมผัส
สัมผัส หมายถึง คำที่มีเสียงคล้องจองกัน อาจคล้องจองกันด้วยเสียงสระหรือคล้องจองด้วย
เสียงพยัญชนะ
๑ การแบ่งคำสัมผัสตามลักษณะของเสียงที่สัมผัสกัน
สัมผัสสระ คำที่มีเสียงสระคล้องจองกัน (เสียงสระเดียวกัน) และถ้ามีเสียงตัวสะกดต้องเป็นเสียงตัว
สะกดในมาตรเดียวกัน
สัมผัสอักษร คำที่มี (เสียงพยัญชนะต้นเดียวกัน) หรือเสียงของตัวอักษรคล้องจองกัน

๒ การแบ่งคำสัมผัสตามลักษณะตำแหน่งของเสียงที่มาสัมผัสกัน
สัมผัสใน มีตำแหน่งคำสัมผัสกันภายในวรรค
สัมผัสนอก มีตำแหน่งคำสัมผัสกันระหว่างวรรคหรือระหว่างบท
7

แบบฝึ กทักษะที่ ๑ เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับคำประพันธ์

ชื่อ ..............................................สกุล....................................... ชั้น ม.............. เลขที่ ................

คำชี้แจง ให้ตอบคำถามต่อไปนี้ (ข้อละ ๒ คะแนน)

1. คำประพันธ์ หมายถึงอะไร
ตอบ .............................................................................................................
.............................................................................................................
...............................................................................................................
.............
8

2. ฉันทลักษณ์ หมายถึงอะไร
ตอบ .............................................................................................................
.............................................................................................................
...............................................................................................................
.............

3. คำประพันธ์ แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง


ตอบ ...........................................................................................................

4. คำประพันธ์ มีลักษณะบังคับหรือบัญญัติกี่ประการอะไรบ้าง
ตอบ .............................................................................................................
.............................................................................................................
..............................................................................................................
..............

5. ลักษณะบังคับหรือบัญญัติที่ใช้กับคำประพันธ์ ทุกประเภทได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ ๕.๑....................................................................................................
๕.๒...................................................................................................

๕.๓..............................................................................................................
...
9

แบบฝึ กทักษะที่ ๒ เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับคำประพันธ์

ชื่อ ..............................................สกุล....................................... ชั้น ม. ............. เลขที่ ................


คำชี้แจง ให้เขียนเครื่องหมายถูก () หน้าข้อความที่เห็นว่าถูกต้อง และเขียนเครื่องหมายผิด ()
หน้าข้อความที่เห็นว่าผิด (ข้อละ ๑ คะแนน)

.................. ๑. คำประพันธ์ เป็นถ้อยคำที่เรียงร้อยตามระเบียบของฉันทลักษณ์


.................. ๒. ลักษณะบังคับของคำประพันธ์ แต่ละชนิดไม่เหมือนกัน
.................. ๓. การแต่งคำประพันธ์ เป็นการเรียบเรียงถ้อยคำอย่างหนึ่งโดยไม่มีรูปแบบ
.................. ๔. คำประพันธ์หรือร้อยกรองไม่จำเป็นต้องมีสัมผัสก็ได้
.................. ๕. สัมผัสเป็นลักษณะบังคับของคำประพันธ์ทุกชนิด
.................. ๖. คำประพันธ์ทุกชนิดต้องมีสัมผัสนอก
.................. ๗. คณะเป็นลักษณะบังคับของคำประพันธ์ทุกชนิด
.................. ๘. คำประพันธ์ทุกชนิดจะต้องมีคณะ พยางค์และสัมผัส
.................. ๙. การแต่งกาพย์ยานี ไม่จำเป็นต้องมีบังคับคณะ พยางค์ สัมผัส
..................๑๐. คำสร้อย คำเอก คำโท คำตาย เป็นลักษณะบังคับของคำประพันธ์ทุกชนิด
10

แบบฝึ กทักษะที่ ๓ เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับคำประพันธ์

ชื่อ ..............................................สกุล....................................... ชั้น ม. ............. เลขที่ ................


คำชี้แจง ให้นักเรียนจับคู่ข้อความที่มีความสัมพันธ์กันโดยเลือกตัวเลขมาเขียนไว้หน้าข้อความ
ที่มีความสัมพันธ์กับข้อความทางซ้ายมือ (ข้อละ ๑ คะแนน)

..........๑. ตำราที่ว่าด้วยวิธีร้อยกรองถ้อยคำตาม ก. สัมผัส


ระเบียบ
......... ๒. จังหวะเสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ ข. กาพย์ยานี ๑๑

......... ๓. ลักษณะบังคับที่เป็นคำคล้องจองกัน ค. สัมผัสนอก

......... ๔. มี ๘ อย่าง ง. คำ

......... ๕. เรียกว่าร้อยกรองก็ได้ จ. เป็นสัมผัสสระสัมผัสอักษร

......... ๖. เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ฉ. พยางค์


......... ๗. ตำแหน่งคำสัมผัสกันระหว่างวรรค ช. สัมผัสสระ

......... ๘. มีเสียงสระคล้องจองกัน ซ. ฉันทลักษณ์

......... ๙. เรียกว่าพยางค์ก็ได้ ฌ. ประเภทร้อยกรอง


11

......... ๑๐. สัมผัสใน ญ. คำประพันธ์

เฉลย / แนวการตอบ
12

แนวการตอบแบบฝึ กทักษะที่ ๑ ความรู้เกี่ยวกับคำประพันธ์

1. คำประพันธ์ หมายถึงอะไร
ตอบ คำประพันธ์ หมายถึง ถ้อยคำที่เรียงร้อยให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่ง
ฉันทลักษณ์ต้องแต่งให้จบ อย่างน้อยหนึ่งบทตามแบบแผนข้อบังคับ
ที่กำหนดไว้แต่ละชนิดของบทร้อยกรองนั้น ๆ

2. ฉันทลักษณ์ หมายถึงอะไร
ตอบ ตำราที่ว่าด้วยวิธีร้อยกรองถ้อยคำหรือเรียบเรียงถ้อยคำให้เป็นระเบียบ
ตามลักษณะบังคับและบัญญัติที่นักปราชญ์ได้วางเป็นแบบไว้ใน
คำประพันธ์แบ่งออกเป็นโคลง ร่าย ฉันท์ ลิลิต กาพย์ กลอน

3. บทคำประพันธ์ แบ่งออกเป็นอะไรบ้าง
ตอบ คำประพันธ์แบ่งออกเป็นโคลง ร่าย ฉันท์ ลิลิต กาพย์ กลอน

4. คำประพันธ์มีลักษณะบังคับหรือบัญญัติกี่ประการอะไรบ้าง
ตอบ คำประพันธ์มีลักษณะบังคับหรือบัญญัติ ๘ ประการ ดังนี้
๔.๑ คณะ ๔.๒ พยางค์ ๔.๓ สัมผัส
๔.๔ เอก โท ๔.๕ ครุ ลหุ ๔.๖ คำเป็น คำตาย
๔.๗ คำนำ ๔.๘ คำสร้อย

๕.๑ ลักษณะบังคับหรือบัญญัติที่ใช้กับคำประพันธ์ทุกประเภทได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ ๕.๑ คณะ
๕.๒ พยางค์
๕.๓ สัมผัส
13

เฉลยแบบฝึ กทักษะที่ ๒ ความรู้เกี่ยวกับคำประพันธ์

....... ...... ๑. คำประพันธ์ เป็นถ้อยคำที่เรียงร้อยตามระเบียบของฉันทลักษณ์


........ ..... ๒. ลักษณะบังคับของคำประพันธ์แต่ละชนิดไม่เหมือนกัน
...... ...... ๓. การแต่งคำประพันธ์การเรียบเรียงถ้อยคำอย่างหนึ่งโดยไม่มีรูปแบบ
.............. ๔. คำประพันธ์ไม่จำเป็นต้องมีสัมผัสก็ได้
....... ......๕. สัมผัสเป็นลักษณะบังคับของคำประพันธ์ทุกชนิด
...... ...... ๖. คำประพันธ์ทุกชนิดต้องมีสัมผัสนอก
...... ..... ๗. คณะเป็นลักษณะบังคับของคำประพันธ์ทุกชนิด
...... ..... ๘. คำประพันธ์ทุกชนิดจะต้องมีคณะ พยางค์และสัมผัส
14

เฉลยแบบฝึ กทักษะที่ ๓ ความรู้เกี่ยวกับคำประพันธ์

....ซ...๑. ตำราที่ว่าด้วยวิธีร้อยกรองถ้อยคำตาม ก. สัมผัส


ระเบียบ ข. กาพย์ยานี ๑๑
...ฉ....๒. จังหวะเสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ

....ก.... ๓. ลักษณะบังคับที่เป็นคำคล้องจองกัน ค. สัมผัสนอก

....ฌ...๔. มี ๘ อย่าง ง. คำ

....ญ...๕. เรียกว่าร้อยกรองก็ได้ จ. เป็นสัมผัสสระสัมผัสอักษร

...ข....๖. เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ฉ. พยางค์


15

...ค....๗. ตำแหน่งคำสัมผัสกันระหว่างวรรค ช. สัมผัสสระ

...ช....๘. มีเสียงสระคล้องจองกัน ซ. ฉันทลักษณ์

...ง....๙. เรียกว่าพยางค์ก็ได้ ฌ. ประเภทร้อยกรอง

...จ...๑๐. สัมผัสใน ญ. คำประพันธ์

แบบทดสอบก่อนเรียน แบบฝึ กทักษะการแต่งกาพย์ยานี ๑๑


เล่มที่ ๑ เรื่องความรู้เกี่ยวกับคำประพันธ์
วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ ๑
คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน เวลา ๑๐ นาที

คำชี้แจง ๑. แบบทดสอบฉบับนี้เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย มีทั้งหมด ๑๐ ข้อ


๒. ให้อ่านคำถามแล้วเลือกคำตอบที่ถูกที่สุด แล้วเขียนเครื่องหมายกากบาท(×)
ลงในกระดาษคำตอบที่แจกให้ (ข้อละ ๑ คะแนน)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จุดประสงค์การเรียนรู้ ๑. อธิบายความหมายของคำประพันธ์และฉันทลักษณ์ได้

๑. ข้อใดเป็นคำประพันธ์
ก. สารคดี
ข. เรื่องสั้น
ค. บทความ
ง. กาพย์ยานี ๑๑
16

๒. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. ร้อยแก้วเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าร้อยกรอง
ข. คำประพันธ์ต้องมีสัมผัสคล้องจองเป็นหลัก
ค. คำประพันธ์มีลักษณะบังคับทั้งหมด ๘ ประการ
ง. คำประพันธ์คือถ้อยคำที่เรียงร้อยตามฉันทลักษณ์ที่กำหนดไว้
๓ . ข้อใดไม่ใช่บทร้อยกรอง
ก. โคลง ฉันท์
ข. ร่าย กลบท
ค. กาพย์ กลอน
ง. บทสัมภาษณ์ นวนิยาย

จุดประสงค์การเรียนรู้ ๒. อธิบายลักษณะบังคับของการแต่งคำประพันธ์ได้
๔. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะบังคับหรือบัญญัติในการแต่งคำประพันธ์
ก. คณะ
ข. คำคู่
ค. พยางค์
ง. คำตาย
๕. ข้อใดเป็นลักษณะบังคับที่ระบุจำนวนวรรค จำนวนคำ ของคำประพันธ์
ที่กำหนด
ก. คณะ
ข. พยางค์
ค. คำสร้อย
ง. คำเอก คำโท
๖. ข้อใดคือลักษณะบังคับการแต่งคำประพันธ์ทุกชนิด
ก. สัมผัส
ข. คำนำ
ค. คำสร้อย
ง. คำเอก คำโท
๗. ข้อใดใช้เรียกแทนพยางค์
ก. คำ
ข. คำนำ
ค. คำตาย
ง. คำสัมผัส
๘. กาพย์ยานี ๑๑ มีลักษณะบังคับอะไรบ้าง
17

ก. คณะ คำ สัมผัส
ข. พยางค์ สัมผัส คำ
ค. สัมผัส พยางค์ คำสร้อย
ง. พยางค์ สัมผัส คำเอก คำโท

๙. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะบังคับของกาพย์ยานี ๑๑
ก. คณะ
ข. พยางค์
ค. สัมผัสใน
ง. สัมผัสนอก
๑๐. ข้อใดที่เกี่ยวข้องกับคำที่มีเสียงคล้องจองกัน
ก. คำ
ข. คณะ
ค. สัมผัส
ง. พยางค์

*******************************
18

กระดาษคำตอบแบบทดสอบหลังเรียน
แบบฝึ กทักษะการแต่งกาพย์ยานี ๑๑ เล่มที่ ๑ ความรู้เกี่ยวกับคำประพันธ์
วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ ๑
คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน เวลา ๑๐ นาที
ชื่อ – ชื่อสกุล
..................................................................ชั้น.............เล
ขที่ ...........
ข้อ ก ข ค ง









๑๐
19

เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน

ข้อ เฉลย
๑ ง
๒ ก
๓ ง
๔ ข
๕ ก
๖ ก
๗ ก
๘ ก
๙ ค
๑๐ ค

You might also like