You are on page 1of 18

บทความเรื่อง ขนาดอนุภาคนั้นสาคัญไฉน

จานวนหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต

ผศ.ดร. ศุภางค์ คนดี


หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่องแก่ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

วัตถุประสงค์ทางพฤติกรรม
หลังจากอ่านบทความเสร็จสิ้นแล้ว ผู้อ่านจะสามารถ
1. เข้าใจถึงความสาคัญของขนาดอนุภาคต่อประสิทธิภาพของเภสัชภัณฑ์
2. ทราบความหมายของเส้นผ่านศูนย์กลางสมมูลของทรงกลม (equivalent spherical diameter)
3. เข้าใจหลักการของการวัดอนุภาคด้วยวิธีต่างๆ การประยุกต์ใช้ และข้อจากัดของแต่ละวิธี

บทนา
เภสัชภัณฑ์รูปแบบผงแห้งและเภสัชภัณฑ์ระบบกระจายตัวรูปแบบของเหลวและของแข็ง มีขนาดของอนุภาคของยาและ
สารประกอบอื่นในตารับกระจายตัวในช่วงกว้างตั้งแต่ คอลลอยด์ระดับอนุภาคนาโนเมตรจนถึงแกรนูลขนาดมิลลิเมตรทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
รูปแบบของยาและช่องทางในการให้ยา ขนาดและรูปร่างของอนุภาคมีผลต่อสมบัติทางกายภาพของสาร เช่น พื้นที่ผิว ปริมาตร ความ
พรุน นอกจากนี้ยังมีผลต่อขั้นตอนการผลิต เพราะขนาดและรูปร่างของอนุภาคมีผลต่อการไหล การผสม การบรรจุ การแยกของผงยา
และที่สาคัญที่สุด ขนาดและรูปร่างของอนุภาคมีผลต่อประสิทธิภาพของเภสัชภัณฑ์ เช่น มีผลต่อความสม่าเสมอของปริมาณและขนาด
การให้ยา (content and dose uniformity) อัตราการละลาย อัตราการดูดซึม อัตราการปลดปล่อยตัวยาโดยเฉพาะในเภสัชภัณฑ์
รูปแบบออกฤทธิ์เนิ่น การสะสมและการกระจายตัวของอนุภาคในร่างกาย ชีวประสิทธิผล และการขับออกจากร่างกาย นอกจากนี้ขนาด
อนุภาคยังมีผลต่อผิวสัมผัสของเภสัชภัณฑ์จาพวกยาเม็ดแบบเคี้ยว ยาขี้ผึ้ง ยาครีม และมีผลต่อการระคายเคืองของยาตา ดังนั้นเภสัชกร
จึงควรทราบความสาคัญของขนาดอนุภาคและการวัดขนาดอนุภาคเพื่อควบคุมคุณภาพของเภสัชภัณฑ์ให้ตรงตามที่ต้องการ โดยในช่วง
ต้นของบทความนี้จะกล่าวถึงความสาคัญของขนาดอนุภาคต่อประสิทธิภาพของเภสัชภัณฑ์ชนิดต่างๆ จากนั้นจะกล่าวถึงการวัดขนาด
อนุภาคโดยวิธีต่างๆ เพื่อให้ทราบหลักการและข้อจากัดของแต่ละวิธี
หน้า 2

ความสาคัญของขนาดอนุภาคต่อประสิทธิภาพของเภสัชภัณฑ์
การนาส่งยาสู่ระบบทางเดินหายใจ
ประสิทธิภาพของยาสูดพ่นขึ้นอยู่กับการกระจายของขนาดอนุภาคแบบจีโอเมตริกและแอโรไดนามิก และรูปร่างอนุภาค กลไก
ของการกระจายตัวของแอโรซอลสาหรับการนาส่งยาสู่ระบบทางเดินหายใจ มี 3 กลไก คือ การตกกระทบด้วยแรงเฉื่อย (inertial
impaction) การตกตะกอน (sedimentation) และการแพร่กระจายแบบบราวเนียน (Brownion diffusion) โดยทั่วไปอนุภาคที่มีขนาด
อนุภาคชนิด mass-median aerodynamic diameter (MMAD, คือ เส้นผ่านศูนย์กลางของอนุภาคที่อนุภาคร้อยละ 50 โดยน้าหนัก มี
ขนาดใหญ่กว่าขนาดที่รายงานและอนุภาคร้อยละ 50 โดยน้าหนัก มีขนาดเล็กกว่าขนาดที่รายงาน) อยู่ในช่วง 1 - 5 ไมครอน ซึ่งเป็นช่วง
ขนาดอนุภาคที่มีความเหมาะสมที่จะตกในทางเดินหายใจบริเวณหลอดลมและถุงลมปอดด้วยกลไกการตกตะกอนและสามารถซึมผ่าน
เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้ดีที่สุด นอกจากนี้การมีความเข้าใจในสรีรพยาธิสภาพของโรคจะช่วยให้สามารถออกแบบอนุภาคสาหรับการ
นาส่งยาในทางเดินหายใจให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เช่น จากผลการศึกษายาที่ใช้ในการรักษาโรคหอบหืด 1 มีการใช้ยา 2 ชนิด คือ ยา

ขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์สั้น (short acting β agonist) และยาต้านการอักเสบประเภทสเตียรอยด์ พบว่าการนาส่ง short acting β

agonist ไปที่ทางเดินหายใจส่วนต้นให้ผลในการรักษาที่ดีกว่าการนาส่งไปยังถุงลมส่วนปลาย และสาหรับ short acting β agonist ที่มี


ขนาดอนุภาคที่แตกต่างกัน (1.5, 3 และ 6 ไมครอน) พบว่าถึงแม้อนุภาคขนาดเล็กมีค่าการสะสมในทางเดินหายใจมากกว่าและสามารถ
เข้าไปในทางเดินหายใจส่วนลึกได้มากกว่าแต่อนุภาคขนาดใหญ่ให้ผลการรักษาในการขยายหลอดลมได้ดีกว่า ในขณะที่อาการหอบหืดที่มี
สาเหตุจากความผิดปกติที่ทางเดินหายใจส่วนปลายที่ต้องการฤทธิ์ในการรักษาจากสเตียรอยด์ พบว่าอนุภาคขนาดเล็ก (MMAD 1.1 -
2.1 ไมครอน) สามารถไปสู่ทางเดินหายใจส่วนปลายได้ ดีกว่า ดังนั้นหากต้องการนาส่งอนุภาคสเตียรอยด์ จึงควรออกแบบให้นาส่งไปที่
ทางเดินหายใจส่วนปลายและควรมีขนาดอนุภาคเล็ก แต่ทั้งนี้ให้ระวังว่า อนุภาคที่มีขนาดเล็กเกินไป เช่น ขนาดต่ากว่า 0.5 ไมครอน จะ
ถูกขับออกมาพร้อมลมหายใจ
ข้อควรคานึงประการหนึ่งสาหรับการนาส่งยาทางปอดที่ต้องการให้ออกฤทธิ์แบบทั่วร่างกาย (systemic) คือ ความสัมพันธ์
ระหว่างเส้นผ่านศูนย์กลางแบบแอโรไดนามิคและจีโอ การตกกระจายของอนุภาคแสดงด้วยค่า fine particle fraction (FPF) ซึ่งค่านี้
ขึ้นอยู่กับการกระจายของขนาดอนุภาคชนิดแอโรไดนามิกและ MMAD ในขณะที่ค่าการกระจายของขนาดอนุภาคชนิดจีโอเมตริกจะบ่งชี้
ถึงการกระทากันระหว่างอนุภาค ขนาดยาที่พ่นออกมาและความสม่าเสมอของขนาดยา อัตราการละลายและการ uptake ของอนุภาค
เมตริก ปัจจุบันการนาส่งยาทางปอดมีแนวโน้มที่จะใช้อนุภาคที่มีความพรุนสูงและมีรูปร่างไม่สมมาตร ตัวอย่างเช่น อนุภาครูพรุนขนาด
ใหญ่ที่บรรจุโปรตีนที่มีค่า MMAD อยู่ในช่วง 1.5 - 4.0 ไมครอน และมีค่า volume mean diameter (VMD) อยู่ในช่วง 3 - 12 ไมครอน
พบว่าอนุภาคนี้มีการตกกระจายของอนุภาค (FPF) สูง อยู่ในช่วง 65 - 95% และมีชีวประสิทธิผลที่สูงเนื่องจากมีอัตรา การละลาย
หน้า 3

ที่เพิ่มขึ้นและถูกกาจัดด้วยระบบ phagocytic clearance ช้าลง 2 ซึ่งสอดคล้องกับอีกการศึกษาหนึ่ง 3 พบว่าอนุภาค poly(lactic-co-


glycolic acid) (PLGA) ที่มีรูพรุนที่บรรจุเปบไทด์ deslorelin มีค่า VMD ประมาณ 13.8 ไมครอนและ bulk density น้อยกว่า 0.1
กรัมต่อลบ.ซม. สามารถนาส่งเปปไทด์ที่ออกฤทธิ์เนิ่นในปอดของหนูได้นานถึง 7 วัน เนื่องจากอนุภาคดังกล่าวถูกนาเข้าเซลล์อิพิทีเลียลที่
ปอดได้ช้าเมื่อเปรียบเทียบกับอนุภาค PLGA ที่มีค่า MMAD เดียวกัน
ยาแขวนตะกอนอนุ ภ าคนาโนใช้ ไ ด้ ดี ใ นการน าส่ งยาทางปอดเพราะมีข นาดอนุ ภ าคที่ เ ท่ า ๆ กั น และมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพที่ดี
ยกตัวอย่าง ยาแขวนตะกอนอนุภาคนาโนของ budesonide ที่มีขนาดอนุภาค 500 นาโนเมตร มีค่า FPF เพิ่มขึ้นร้อยละ 53 - 88 เมื่อ
เทียบกับยาแขวนตะกอนอนุภาคไมโครเมตร ที่มีขนาดอนุภาค 4 ไมครอน 4 โดยรวมพบว่าอนุภาคนาโนของยาที่มีค่าการละลายต่ามี
อัตราการละลายที่สูงขึ้น ถูกกาจัดออกจากปอดได้ช้าลง มีการจับกับโปรตีนได้มากขึ้น และมีการนาส่งผ่านจากอีพิทีเลียมไปสู่ระบบ
ไหลเวียนเลือดได้เพิ่มขึ้น
สาหรับยาผงแห้งสาหรับพ่น (dry powder inhaler, DPI) มักพบการผสมผงแลคโทสเข้าไปในผงยา โดยผงแลคโทสขนาดเล็ก
(5 - 10 ไมครอน) มักจะถูกเติมลงในตารับเพื่อลดการจับตัวกันของยาระหว่างการสูดหายใจเอายาเข้า ลดประจุของอนุภาคยา และลด
การเกาะติดของอนุภาคยาขนาดเล็กกับเปลือกของเจลาตินแคปซูล แต่การเพิ่มปริมาณของผงอนุภาคขนาดเล็กในตารับสามารถเพิ่มได้
จนถึงระดับหนึ่งเท่านั้น
สาหรับยาพ่นจมูก ผลของขนาดของอนุภาคยังไม่มีผลมากและไม่ได้มีกฏที่ตายตัวเหมือนการนาส่งยาทางปอด โดยทั่วไปขนาด
อนุภาคที่ตกในช่องจมูก คือ ระดับไมครอน หรือมีขนาดอนุภาค MMAD 10 ไมครอน อย่างไรก็ตามการกระจายตัวของขนาดอนุภาค
สาหรับยาพ่นจมูกมีค่อนข้างกว้าง โดยขนาดอนุภาคอยู่ในช่วงระดับนาโนเมตรไปจนถึง 125 ไมครอน
การนาส่งยาสู่ระบบทางเดินอาหาร (ทางปาก)
ขนาดและรูปร่างอนุภาคมีความสาคัญ ต่อทุกขั้นตอนในการผลิตยาเม็ด ได้ แก่ การผสม การทาแกรนูล การตอกเม็ด และ
การเคลือบ ขนาดอนุภาคที่เหมาะสมกับการตอกยาเม็ดแบบตอกตรง คือ 100 - 200 ไมครอน เนื่องจากอนุภาคขนาดดังกล่าวมีการไหล
ที่ดีและสามารถถูกตอกอัดเม็ดได้ดี แต่อนุภาคขนาดประมาณ 20 - 50 ไมครอน เหมาะสาหรับยาเม็ดสาหรับเคี้ยวและยาเม็ดที่ต้องการ
ให้แตกตัวเร็ว นอกจากนั้นขนาดอนุภาคยังมีผลต่ออัตราการละลาย ซึ่งการละลายมีความสาคัญอย่างมากกับยาที่ อยู่ในกลุ่มชีวเภสัช
ศาสตร์ กลุ่มที่ 2 (biopharmaceutics classification system, BCS class II) ซึ่งมีค่าการละลายน้าต่า การซึมผ่านสูง การเพิ่มอัตรา
การละลายของยาในกลุ่ม BCS class II สามารถทาได้โดยการลดขนาดอนุภาคให้อยู่ในระดับไมโครเมตรและนาโนเมตร หรือทาให้
ปลดปล่อยตัวยาช้าลงโดยนามาตอกอัดโดยตรงกับพอลิเมอร์ เช่น hydroxypropyl methylcellulose อย่างไรก็ตามควรต้องระวัง
เพราะการลดขนาดอนุภาคอาจเพิ่มพื้นที่ผิวของอนุภาคจนเกิดผลเสียทาให้เกิดการเกาะกลุ่มของอนุภาคได้
หน้า 4

นอกจากนีข้ นาดอนุภาคของผงยาและสารประกอบอื่นในตารับยังมีผลกับการละลายของยาเม็ดออกฤทธิ์เนิ่นชนิดเมทริกซ์ โดย


พบว่าพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการละลาย เช่น ค่าความพรุนวิกฤติ ค่า critical time of kinetic change ค่า lag time หรือปริมาณ
ยาที่ถูกปลดปล่อยออกมาในช่วงต้น (extent of burst release) ต่างก็สัมพันธ์กับขนาดอนุภาคของยาและอัตราส่วนของขนาดอนุภาค
ของสารประกอบอื่นในตารับต่อขนาดอนุภาคยา
อนุภาคนาโนของยาแขวนตะกอนของยาที่ละลายได้น้อยที่ให้ยาทางปาก มี ความเป็นเนื้อเดียวกันสูง มี residence time ที่
เพิ่มขึ้น (มีการกาจัดที่ช้าลง) ทาให้มีชีวประสิทธิผลที่เพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น ในยาแขวนตะกอนที่ขนาดอนุภาคยาลดลง จาก 1000 นาโน
เมตรมาเป็น 400 นาโนเมตร พบว่าชีวประสิทธิผลเพิ่มขึ้นถึง 2.5 เท่า และยังมีค่า feeding/fasting effect ลดลง 3 - 4 เท่า นอกจากนี้
ยังช่วยลดขนาดการใช้ยาและทาให้ยาเริ่มออกฤทธิ์ได้เร็วขึ้น มีการเกาะติดที่ดีขึ้น เพิ่มการนาเข้าสู่ผนังลาไส้เล็กและมิวโคซาที่อักเสบของ
ลาไส้ใหญ่เพิ่มชึ้น
การนาส่งยาตา ยาทาภายนอก และยาแผ่นแปะ
ขนาดอนุภาคของยาตาที่ออกฤทธิ์เนิ่นมีผลต่ออัตราการปลดปล่อยยา ชีวประสิทธิผล ความสบาย (comfort) ของคนไข้และ
ความสะดวกในการใช้ยา ขนาดอนุภาคที่เหมาะสมสาหรับยาตาที่ต้องการให้ออกฤทธิ์เนิ่น คือ 1 - 3 ไมครอน อนุภาคขนาดเล็กที่ไม่มี
วัสดุช่วยการยึดติด เช่น ขนาด 300 นาโนเมตร นั้นถูกกาจัดออกจากบริเวณ precorneal อย่างรวดเร็ว อนุภาคที่ขนาดใหญ่เกิน 25
ไมครอน จะทาให้เกิดการระคายเคือง แต่การควบคุมการผลิตให้ได้ขนาดอนุภาคดังกล่าวในการผลิตสเกลใหญ่เป็นเรื่องที่ค่อนข้างท้าทาย
สาหรับยาใช้ภายนอกและยาแผ่นแปะ ขนาดอนุภาคมีความสาคัญในบางกรณี สาหรับตารับที่มีอนุภาคยาที่ละลายน้าได้น้อย
กระจายในน้ากระสายยา ขนาดอนุภาคจะมีความสาคัญในการปลดปล่อยยา การลดขนาดอนุภาคจะเพิ่มอัตราการนาส่งยาได้โดยการเพิม่
อัตราการละลาย ขนาดอนุภาคยังมีความสาคัญในการแทรกซึมของยาผ่านผิวหนัง อนุภาคที่ขนาดใหญ่กว่า 10 ไมครอน จะคงค้างอยู่บน
ผิวหนัง อนุภาคขนาด 3 - 10 ไมครอน จะสะสมที่รูขุมขน ส่วนอนุภาคที่ขนาดเล็กกว่า 3 ไมครอน อาจสามารถแทรกผ่านทั้งรูขุมขนและ
ชั้นหนังกาพร้า และถูกดูดซึมผ่านช่องทางฟอลลิคิวราเป็นส่วนใหญ่ จากการทดลองพบว่าการซึมผ่านผิวหนังของอนุภาคนาโนที่ทาจาก
พอลิเมอริกพอลิสไตรีน ขนาด 20 และ 200 นาโนเมตร และอนุภาคนาโนของมินอกซิดิลจากโคพอลิเมอร์ ขนาด 40 และ 130 นาโน
เมตร ผ่านทางรูขุมขน 5-7 การควบคุมขนาดอนุภาคสาหรับยาใช้ภายนอกไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเฉพาะที่ของยาแล้วยังช่วยลด
ผลข้างเคียงของยา
การนาส่งยาทางหลอดเลือดดา
เนื่องจากตารับยาที่ให้ทางหลอดเลือดดาส่วนใหญ่เป็นตารับที่เป็น ของเหลวดังนั้นการวิเคราะห์ขนาดอนุภาคจึงเน้นการหา
อนุภาคอื่นที่ปนเปื้อนเข้ามาซึ่งอาจเกิดจากการปนเปื้อน การตกตะกอนของยา หรือการไม่เข้ากันของยาในตารับ อนุภาคปนเปื้อน
หน้า 5

ดังกล่าวสามารถทาให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดและอาจทาให้เกิด pulmonary embolism ดังนั้นจึงไม่ควรมีอนุภาคขนาดใหญ่กว่า


1 ไมครอน ในตารับยาแขวนตะกอนที่ให้ทางหลอดเลือดดา นอกจากนั้นอนุภาคขนาดใหญ่ยัง เป็นอุปสรรคต่อการบริหารยาทางหลอด
เลือดดา การอุดตันของรูเข็มอาจเกิดจากอนุภาคขนาดใหญ่อนุภาคเดียวหรือการเกาะกันของอนุภาคขนาดเล็กหลาย ๆ อนุภาค ดังนั้น
ขนาดอนุภาคเดี่ยวจึงควรมีขนาดเล็กกว่า 1/3 ของเส้นผ่านศูนย์กลางภายในของเข็มฉีดยา
เนื่องจากขนาดอนุภาคสัมพันธ์กับพื้นที่ผิวเฉพาะซึ่งมีผลโดยตรงต่ออัตราการละลาย ดังนั้นขนาดอนุภาคจึงเป็นตัวชี้วัดรูปแบบ
การปลดปล่อยยาในร่างกาย จึงมีการใช้ยาแขวนตะกอนนาโนกันอย่างกว้างขวางในตารับยาฉีดไม่ว่าจะให้ทางหลอดเลือดดา ฉีดเข้ากล้าม
ฉีดใต้ผิวหนัง ฉีดเข้าใต้ชั้นไขมัน หรือฉีดเข้า ไขสันหลังหรือสมอง (intrathecal delivery) ยกตัวอย่าง เช่น ยารักษามะเร็งซึ่งส่วนใหญ่
เป็นยาที่ละลายน้าได้ต่า นิยมตั้งตารับในรูปยาแขวนตะกอนนาโนที่มีขนาดอนุภาคเล็กกว่า 1 ไมครอน ยา flurbiprofen ในรูปยาแขวน
ตะกอนนาโนสามารถกระจายตัวในเนื้อเยื่อได้ดีเทียบเท่ากับยาในรูปแบบสารละลาย นอกจากนั้น พบว่าการทายาในรูปยาแขวนตะกอน
นาโนสาหรับการฉีดเข้าใต้ชั้นไขมันสามารถปลดปล่อยตัวยาได้ดีขึ้นร้อยละ 47
สาหรับการนาส่งยาอย่างเฉพาะเจาะจงไปที่ เซลล์ฟาโกไซท์ เซลล์เดนดริติก เซลล์เอ็นโดทีเลียล และเซลล์มะเร็ง โดยทั่วไป
อนุภาคมักจะมีขนาดน้อยกว่า 100 นาโนเมตร ขนาดและการกระจายของอนุภาคเป็นสิ่งสาคัญที่จะกาหนดการถูกกาจัดออกจากร่างกาย
ผลของการรักษา การเกาะติดกับผนังเซลล์ และการแทรกผ่านผนังกั้นอื่นในร่างกาย อนุภาคนาโนที่มีขนาดอนุภาคน้อยกว่า 150 นาโน
เมตรจะมีค่าครึ่งชีวิตที่ยาวขึ้นในระบบหมุนเวียนเลือดในร่างกายเนื่องจากถูกกาจัดโดยแมคโครฟาจช้า นอกจากนี้รูปร่างยังมีผลต่อการ
กาจัดอนุภาคออกจากร่างกายอีกด้วย ไมเซลล์ ที่ทาจากพอลิเมอร์ polyethyleneglycol-poly-L-lactic acid และ polyethylene
glycol-polycapprolactone ที่มีรูปร่างยาวเหมือนตัวหนอนที่ยาวระดับไมโครเมตร (เส้นตัดขวาง 10 - 100 นาโนเมตร) สามารถคงอยู่
ในร่างกายได้หลายวัน เมื่อเทียบกับลิโปโซมที่มีรูปร่างกลม
การตั้งตารับเภสัชภัณฑ์โดยทั่วไปต้องการขนาดอนุภาคที่มีการกระจายตัวของขนาดอนุภาคสม่าเสมอ แต่ในบางครั้งการนาเอา
อนุภาคขนาดต่าง ๆ มาผสมกัน สามารถให้จลนศาสตร์การปลดปล่อยยาที่ต้อ งการได้ในการออกแบบยาที่ค วบคุม การปลดปล่ อ ย
(controlled release) หรือการออกแบบยาสาหรับคนไข้เฉพาะราย ปัจจุบันเทคโนโลยีนาโนเป็นที่นิยมกันมาก อย่างไรก็ตามควรระวัง
ความเป็นพิษที่เกิดจากการใช้อนุภาคนาโนดังกล่าว เช่น มีรายงานว่าพยาธิสภาพของปอดหนูทดลองเปลี่ยนแปลงหลังจากได้รับ ตารับ
แขวนตะกอนของอนุภาคซิลิกานาโน 8 มีข้อเสนอแนะให้การตรวจสอบการกระจายของขนาดอนุภาคและรูปร่างเป็นส่วนหนึ่งของการ
ตรวจสอบความเป็นพิษ ดังนั้นการวัดขนาดอนุภาคไม่เพียงสามารถบ่งบอกถึงคุณภาพและประสิทธิภาพของเภสัชภัณฑ์ แต่ยังเป็นส่วน
หนึ่งของการควบคุมความปลอดภัยได้ด้วย
หน้า 6

การวัดขนาดอนุภาค
โดยทั่วไปการบอกขนาดอนุภาครูปร่างปกติและสมมาตร อนุภาครูปทรงสี่เหลี่ยม แสดงเป็นความกว้าง ความยาว ความหนา
ขนาดของอนุภาคทรงกลมแสดงเป็นเส้นผ่านศูนย์กลาง แต่อนุภาคของสารที่พบในธรรมชาติมีขนาดแตกต่างกันและมีรูปร่างไม่สมมาตร
อนุภาคที่ผ่านการบดก็เช่นเดียวกัน มักมีรูปร่างไม่แน่นอนและไม่สมมาตร การวัดขนาดจึงไม่สามารถใช้วิธีทางเรขาคณิต วิธีบอกขนาด
อนุภาคจึงถูกกาหนดขึ้นมาใช้ตามความเหมาะสม การบอกขนาดอนุภาคของแข็งที่มีรูปร่างไม่สมมาตรทาโดยการเปรียบเทียบกับอนุภาค
ทรงกลมโดยบอกขนาดเป็นเส้นผ่านศูนย์กลางสมมูลของทรงกลม (equivalent spherical diameter) ซึง่ มีหลายแบบดังนี้
เส้นผ่านศูนย์กลางพื้นที่ผิวเทียบเท่า (Equivalent surface diameter, ds) คือ เส้นผ่านศูนย์กลางของทรงกลมที่มีพื้นที่ผิวที่
เท่ากับพื้นที่ผิวของอนุภาคที่ต้องการวัดขนาด
เส้นผ่านศูนย์กลางปริมาตรเทียบเท่า (Equivalent volume diameter, dv) คือ เส้นผ่านศูนย์กลางของอนุภาคทรงกลมที่มี
ปริมาตรที่เท่ากับปริมาตรของอนุภาคที่ต้องการวัดขนาด
เส้นผ่านศูนย์กลางพื้นที่เทียบเท่า (Equivalent projected area diameter, dp) คือ เส้นผ่านศูนย์กลางของอนุภาคทรงกลมที่
มีพื้นที่หน้าตัดที่เท่ากับพื้นที่ภายใต้เส้นขอบของอนุภาค (projected area) ที่ต้องการวัดขนาดเมื่ออนุภาควางอยู่ในสภาพที่มั่นคงที่สุดใน
แนวราบ
เส้นผ่านศูนย์กลางอัตราการตกตะกอนเทียบเท่า (Equivalent Stokes diameter, dst) คือ เส้นผ่านศูนย์กลางของอนุภาคทรง
กลมที่มีอัตราในการตกตะกอนในของเหลวชนิดหนึ่งเท่ากับอัตราการตกตะกอนของอนุภาคที่ต้องการวัดขนาด

วิธวี ัดขนาดอนุภาค (Methods for determining particle size)


วัตถุประสงค์ในการวัดขนาดอนุภาค คือ ต้องการทราบขนาดอนุภาคเฉลี่ย การกระจายของขนาดอนุภาค และรูปร่างของ
อนุภาค การวัดขนาดอนุภาคทาได้หลายวิธีแต่ละวิธีมีข้อจากัดแตกต่างกัน การเลือกวิธีวัดขนาดอนุภาคให้พิจารณาตามช่วงขนาดของ
สารที่ต้องการวัด อีกทั้งต้องพิจารณาความพร้อมของเครื่องมือและจุดประสงค์ของการนาข้อมูลไปใช้ประโยชน์
วิธีที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นวิธีการวัดขนาดอนุภาคที่ใช้ในการผลิตเภสัชภัณฑ์มีดังนี้
1. การวัดขนาดอนุภาคด้วยกล้องจุลทรรศน์
2. การวัดขนาดอนุภาคด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน
3. การวัดขนาดอนุภาคด้วยการแร่ง
4. การวัดขนาดอนุภาคด้วยการใช้วิธีตกตะกอน
หน้า 7

5. การวัดขนาดอนุภาคด้วยการหาปริมาตรของอนุภาค
6. การวัดขนาดอนุภาคด้วยเทคนิคการกระเจิงแสงแบบพลวัต (dynamic light scattering, DLS)
7. การวัดขนาดอนุภาคด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนของแสง (Laser diffraction, LD)
8. การวัดขนาดอนุภาคด้วย Cascade impactor (CI)
การวัดขนาดอนุภาคด้วยกล้องจุลทรรศน์ (Optical microscopy)
ใช้วัดขนาดอนุภาคในช่วง 1 - 100 ไมครอน กล้องจุลทรรศน์ที่ใช้วัดขนาดอนุภาคต้องมีอุปกรณ์วัดขนาดติดตั้งอยู่ในตัวเครื่อง
เช่น ไมโครมิเตอร์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายไม้บรรทัดเล็กๆ มีสเกล (scale) บอกขนาด นาไมโครมิเตอร์ติดตั้งเข้าไปในเลนส์ตาก่อนทาการวัด
ขนาดอนุภาคทุกครั้งต้องเทียบสเกลของไมโครมิเตอร์กับสเกลของ stage micrometer ตัวอย่างมักจะถูกเตรียมในรูปแบบอิมัลชั่นหรือ
สารแขวนตะกอนจากนั้นหยดลงบนสไลด์และส่องภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เส้นผ่านศูนย์กลางที่อ่านได้สามารถแสดงได้หลายวิธดี ังนี้ (รูปที่ 1 )
Projected area diameter คื อ เส้ น ผ่ า นศู น ย์ ก ลางของ
อนุภาคที่เท่ากับเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมที่มีพื้นที่ผิวที่เท่ากันกับ
A
อนุภาคที่วัด โดยพื้นที่นั้นต้องตั้งฉากกับผิวที่ผงยาพักอยู่
Martin's diameter คื อ เส้ น ผ่ านศูน ย์ กลางของอนุภาคที่
เท่ากับความยาวของเส้นที่ลากแบ่งครึ่งอนุภาค เส้นที่ลากนี้จะเป็นใน B
ทิศทางใดก็ได้ แต่ต้องเป็นในทิศทางเดียวกันสาหรับอนุภาคที่วัดทั้งหมด
Feret's diameter คื อ เส้ น ผ่ า นศู น ย์ ก ลางของอนุ ภ าคที่
เท่ากับระยะระหว่างเส้นสัมผัสผิวผงยาสองเส้นที่ตรงข้ามและขนานกัน C

รูปที่ 1 เส้นผ่านศูนย์กลาง (A) Projected area diameter (B) Martin's diameter (C) Feret's diameter

การวัดขนาดอนุภาคด้วยวิธีนี้ควรวัดขนาดอนุภาคจานวน 300 - 500 อนุภาคขึ้นไป จึงจะได้ข้อมูลทีถ่ ูกต้องและยอมรับได้ ข้อดี


ของการวัดขนาดอนุภาคด้วยกล้องจุลทรรศน์ คือ สามารถมองเห็นรูปร่าง ลักษณะพื้นผิวและการกระจายตัวของอนุภาค ส่วนข้อเสียของ
วิธีนี้ คือ ใช้เวลานาน อีกทั้งรูปร่างและตาแหน่งของอนุภาคมีผลอย่างมากต่อขนาดที่วัดได้สาหรับอนุภาคที่มีรูปร่างไม่สมมาตรจึงเป็นการ
ยากที่จะตัดสินใจว่าจะวัดในมิติใดจึงอาจเกิดความลาเอียงจากผู้วัด
หน้า 8

การวัดขนาดอนุภาคด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน
กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนเป็นกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้ลาอนุภาคอิเล็กตรอนพลังงานสูงในการตรวจสอบวัตถุแทนแสงธรรมดา
เนื่องจากความยาวคลื่นของลาอนุภาคอิเล็กตรอนนั้นสั้นกว่าความยาวคลื่นแสงถึง 100,000 เท่า ทาให้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
สามารถให้ ป ระสิท ธิ ภ าพของก าลั งขยายและการแจกแจงรายละเอี ย ดได้ เหนื อ กว่ ากล้ อ งจุ ลทรรศน์ แ บบใช้ แ สงโดยสามารถแยก
รายละเอียดของวัตถุที่เล็กขนาด 10 อังสตรอม หรือ 0.1 นาโนเมตร (กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงจะแจกแจงรายละเอียดได้ประมาณ 0.2
ไมโครเมตร) จึงทาให้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนมีกาลังขยายสูงมากถึง 500,000 เท่า การใช้กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนเหมาะกับ
งานวิ จั ย ที่ ต้ อ งการศึ ก ษาสมบั ติ ท างกายภาพของอนุ ภ าค กล้ อ งจุ ล ทรรศน์ อิ เ ล็ ก ตรอนมี 2 ชนิ ด ได้ แ ก่ transmission electron
microscope (TEM) และ scanning electron microscope (SEM)
Transmission electron microscope (TEM) เป็นกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ศึกษาตัวอย่างชนิดบางซึ่งเตรียมขึ้น
โดยวิธีพิเศษเพื่อให้ลาอนุภาคอิเล็กตรอนผ่านทะลุได้ การสร้างภาพจากกล้องประเภทนี้จะทาได้โดยการตรวจวัดอิเล็กตรอนที่ทะลุผ่าน
ตัวอย่างนั่นเอง เครื่อง TEM เหมาะสาหรับศึกษารายละเอียดขององค์ประกอบภายในของตัวอย่าง เช่น องค์ประกอบภายในเซลล์
ลั ก ษณะของเยื่ อ หุ้ ม เซลล์ ผนั งเซลล์ เป็ น ต้ น ซึ่ งจะให้ ร ายละเอี ย ดสู งกว่ า กล้ อ งจุ ล ทรรศน์ ช นิ ด อื่ น ๆ เนื่ อ งจากมี ก าลั งขยายและ
ประสิทธิภาพในการแจกแจงรายละเอียดสูงมาก (กาลังขยายสูงสุดประมาณ 0.1 นาโนเมตร)
Scanning electron microscope (SEM) เป็นกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่มีกาลังขยายไม่สูงเท่ากับเครื่อง TEM (เครื่อง
SEM มีกาลังขยายสูงสุดประมาณ 10 นาโนเมตร) การเตรียมตัวอย่างเพื่อที่จะดูด้วยเครื่อง SEM นี้ไม่จาเป็นต้องที่ตัวอย่างจะต้องมีขนาด
บางเท่ากับเมื่อดูด้วยเครื่อง TEM ก็ได้ (เพราะไม่ได้ตรวจวัดจากการที่อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ทะลุผ่านตัวอย่าง) การสร้างภาพทาได้โดยการ
ตรวจวัดอิเล็กตรอนที่สะท้อนจากพื้นผิวหน้าของตัวอย่างที่ทาการสารวจ ซึ่งภาพที่ได้จากเครื่อง SEM นี้จะเป็นภาพลักษณะของ 3 มิติ
ดังนั้นเครื่อง SEM จึงถูกนามาใช้ในการศึกษาสัณฐานและรายละเอียดของลักษณะพื้นผิวของตัวอย่าง เช่น ลักษณะพื้นผิวด้านนอกของ
เนื้อเยื่อและเซลล์ หน้าตัดของโลหะและวัสดุ เป็นต้น ข้อดีของเครื่อง SEM เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่อง TEM คือ ภาพโครงสร้างที่เห็นจาก
เครื่อง SEM จะเป็นภาพลักษณะ 3 มิติ ในขณะที่ภาพจากเครื่อง TEM จะให้ภาพลักษณะ 2 มิติ อีกทั้งวิธีการใช้งานเครื่อง SEM จะมี
ความรวดเร็วและใช้งานง่ายกว่าเครื่อง TEM มาก
หน้า 9

รูปที่ 2 ภาพตัวอย่างของ Magnetite (Fe3O4) spheres ถ่ายด้วยเครื่อง TEM (ซ้าย) และ gold (Au) particles ถ่ายด้วยเครื่อง SEM (ขวา)

การวัดขนาดอนุภาคโดยการแร่ง (Sieving)
แร่ง (sieve) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแยกขนาดอนุภาค มีลักษณะเป็นตารางที่เกิดจากการสานกันของเส้นใย (woven wire)
หรือเป็นแผ่นเจาะรู (perforated plate) ทาจากวัสดุหลายประเภท เช่น ใยเส้นไหม พลาสติก โลหะสัมฤทธิ์ ทองเหลือง ลวดเหล็ ก แร่ง
แต่ละอันมีขนาดช่องเปิด (aperture) ที่ไม่เท่ากันขึ้นกับจานวนเส้นใยที่มาสานกัน ซึ่งขนาดของช่องเปิด หมายถึง ระยะกึ่งกลางของลวด
เส้นหนึ่งถึงเส้นลวดอีกเส้นหนึ่ง และขนาดรูเปิด (opening) หมายถึง ระยะระหว่างขอบลวดเส้นหนึ่งถึงขอบลวดอีกเส้นหนึ่งโดยไม่รวม
ความหนาของเส้นลวด ขนาดของแร่งตามหน่วยมาตรฐานของ U.S. Tyler (U.S. Tyler standard) ระบุเป็นเมช (mesh) หมายถึง
จานวนช่องเปิดในช่วงความยาวหนึ่งนิ้ว ตัวอย่างเช่น แร่งเบอร์ 20 หมายถึงแร่งที่มีจานวนช่องเปิด 20 ช่อง ในช่วงความยาว 1 นิ้ว ขนาด
ของแร่งตามหน่วยมาตรฐานของ U.S. ASTM (American Society for Testing and Materials) ระบุเป็นมิลลิเมตรหรือไมโครเมตร ซึ่ง
วัดจากความกว้างของช่องเปิดของแร่ง

รูปที่ 3 ช่องเปิด (aperture) และรูเปิด (opening) ของแร่ง

การวัดขนาดอนุภาควิธีนี้ใช้ได้กับผงยาช่วง 40 - 1000 ไมครอน ตามมาตรฐานของ International Standards Organization


(ISO) แต่ในทางปฏิบัติมีแร่งให้เลือกใช้ในช่วง 5 - 125,000 ไมครอน วิธีนี้ใช้แร่งหลายอันซ้อนกันอยู่ โดยจัดเรียงให้แร่งที่มี ขนาดรูเปิด
ใหญ่สุดอยู่บน และขนาดรูเปิดที่เล็กกว่าวางซ้อนถัดลงไปตามลาดับ จากนั้นนาผงยาอย่างน้อย 25 กรัมขึ้นไป (โดยรู้น้าหนักที่แน่นอน) ใส่
หน้า 10

แร่งอันบนสุด เขย่าด้วยเครื่องเขย่า (sieve shaker) เป็นระยะเวลา 5 - 10 นาที อนุภาคจะลอดรูเปิดของแร่งที่มีขนาดใหญ่กว่าลงไปและ


ค้างบนแร่งที่มีรูเปิดเล็กกว่า อนุภาคที่ตกค้างอยู่บนแร่งขนาดต่างๆจะถูกรวบรวมและชั่งน้าหนัก
ข้อดีของการวัดขนาดอนุภาคโดยวิธีแร่ง ได้แก่ ทาได้ง่าย ใช้เวลาน้อย ราคาถูก สามารถวัดขนาดผงยาได้ในช่วงกว้างและเป็น
การวัดการกระจายขนาดโดยน้าหนัก (weight distribution)
ปัจจัยที่มีผลต่อการวัดขนาดอนุภาคโดยวิธีนี้ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงขนาดรูเปิด ปริมาณสารที่ใส่ในแร่ง ความแรงของการเขย่า
ระยะเวลาในการแร่ง และชนิดของผงยา ผงยาบางชนิดที่ไม่ควรวัดขนาดและการกระจายขนาดของอนุภาคโดยวิธีแร่ ง ได้แก่ ผงยาที่
เปราะบาง แตกหักง่าย อนุภาครูปร่างแบนหรือรูปเข็ม ผงยาที่เกิดประจุไฟฟ้าได้ง่าย ผงยาที่ชื้นและผงยาที่ประกอบด้วยอนุภาคละเอียด
ที่มีขนาดเล็กกว่า 75 ไมครอน อยู่เป็นจานวนมาก
การวัดขนาดอนุภาคโดยใช้การตกตะกอน (Sedimentation)
ความเร็วในการตกตะกอนของอนุภาคโดยแรงโน้มถ่วงโลก (gravity sedimentation) มีความสัมพันธ์กับขนาดของอนุภาค
ตาม Stokes's law ดังนี้

h d st2 (  s   0 ) g
V 
t 18o
v คือ อัตราเร็วในการตกตะกอน
h คือ ระยะทางในการตกตะกอน
t คือ เวลาที่ใช้ในการตกตะกอน
dst คือ เส้นผ่านศูนย์กลางของอนุภาค

ρs คือ ความหนาแน่นของอนุภาค

ρ0 คือ ความหนาแน่นของของเหลวตัวกลาง

η0 คือ ความหนืดของของเหลวตัวกลาง
g = 981 (cm/sec2)

กฎนี้ใช้ได้กับทรงกลมที่ตกตะกอนอย่างอิสระและด้วยอัตราเร็วคงที่ และกฎนี้ยังใช้ได้กับอนุภาคที่มีรูปร่างไม่สมมูลย์ โดยเส้น


ผ่านศูนย์กลางที่ได้ คือ เส้นผ่านศูนย์กลางสัมพัทธ์ของอนุภาคทรงกลมที่ตกตะกอนด้วยความเร็วที่เท่ากับอนุภาคที่มีรูปร่างไม่สมมูลย์
(dst) วิธีนี้ใช้ได้กับผงยาช่วง 0.1 - 300 ไมครอน ข้อจากัดของวิธีนี้ คือ ผงยาต้องไม่ละลายในของเหลวที่ใช้ อนุภาคต้องไม่จับกันเป็นก้อน
ในบางกรณีอาจต้องใช้สารป้องกันการจับตัว (deflocculating agent) ที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ผลที่ถูกต้อง การไหลของตัวกลางของเหลว
หน้า 11

ต้องเป็นแบบ laminar หรือ streamline และอัตราการตกตะกอนต้องไม่เร็วเกินไปจนเกิดการไหลวน (turbulent flow) และขนาดของ


อนุภาคไม่ควรต่ากว่า 1 ไมครอน ซึ่งขนาดดังกล่าวอาจเกิดการเคลื่อนที่แบบ Brownian movement ได้
วิธีที่ใช้หลักการของการตกตะกอนเพื่อใช้ในการหาขนาดอนุภาคมีหลายวิธี ได้แก่ วิธีการใช้ปิเปต วิธีการใช้เครื่องชั่ง และ
วิธกี ารใช้ไฮโดรมิเตอร์ ในที่นี้จะกล่าวถึงวิธีการใช้ปิเปตเท่านั้น เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่าย มีความถูกต้องสูงและประหยัด

รูปที่ 4 Andreason pipette

วิธีการเตรียมตัวอย่าง นาผงยามาเตรียมเป็นสารแขวนตะกอน (ความเข้มข้นร้อยละ 1 - 2) แล้วบรรจุใน Andreasen pipette


เขย่าให้ผงยากระจายสม่าเสมอ ก่อนจะตั้งทิ้งไว้ จากนั้นปิเปตสารแขวนตะกอนปริมาตร 10 มิลลิลิตร ที่ช่วงเวลาต่าง ๆ และระเหยเอา
ของเหลวออกแล้วชั่งผงยาที่ได้ การกระจายขนาดที่วัดได้จะเป็นการกระจายโดยน้าหนัก (weight distribution) และเส้นผ่านศูนย์กลาง
ที่วัดได้จะเป็น stokes diameter (dst)
ข้อควรระวังของการวัดขนาดอนุภาคด้วยวิธีนี้ คือ 1) อุณหภูมิต้องคงที่เนื่องจากอุณหภูมิมีผลต่อความหนืดของของเหลว 2) ไม่
เหมาะกับการวัดขนาดอนุภาคของตารับที่มี ความเข้มข้นสูง เนื่องจากถ้าหากสารมีความเข้มข้น สูงอนุภาคจะชนกันเองและเกิดการ
ตกตะกอนแบบไม่อิสระ 3) ตัวกลางจะต้องไหลแบบ laminar เท่านั้น (อนุภาคจะต้องไม่ตกตะกอนเร็วเกินไป จนทาให้ตัวกลางของเหลว
เกิดการไหลวนแบบ turbulent) โดยค่าที่จะบอกว่าเกิดการไหลวนแบบ turbulent หรือไม่คือ Reynolds number (Re) โดยสามารถ
หา Reynolds number จากสมการข้างล่าง
vd o
Re 
o

Stokes' law ไม่สามารถใช้ได้ถ้าค่า Re มากเกิน 0.2


หน้า 12

การวัดขนาดอนุภาคด้วยการหาปริมาตรของอนุภาค
เครื่องมือที่นิยมใช้ในการวัดปริมาตรอนุภาค คือ Coulter counter หรือ electron stream sensing zone method ใช้ใน
การวัดขนาดอนุภาคช่วง 0.7 - 500 ไมครอน นาอนุภาคมาเตรียมเป็นสารแขวนลอยในของเหลวที่นาไฟฟ้า เช่น โซเดียมคลอไรด์ ไตร
โซเดียมฟอสเฟต โซเดียมอะซิเทต โดยสารแขวนตะกอนปริมาตรที่แน่นอนจะถูกปั๊มผ่านช่องว่างเล็กๆ (pinhole หรือ orifice) ของ
อิเล็กโทรดซึ่งมีหลายขนาด ผู้ใช้ต้องเลือกขนาด pinhole ให้เหมาะสมกับขนาดอนุภาค ให้อนุภาคผ่านได้ครั้งละ 1 อนุภาคเท่านั้น ปกติ
จะมีความต่างศักย์คงที่ที่ไหลผ่านขั้วอิเล็กโทรดเพื่อให้เกิดกระแสไฟฟ้า ขณะที่อนุภาคผ่าน pinhole ของอิเล็กโทรดจะทาให้เกิดการเพิ่ม
ความต้านทานไฟฟ้าตามปริมาตรของอนุภาค ความต้านทานที่เพิ่มขึ้นก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของความต่างศักย์ และจะถูกขยาย
สัญญาณ และส่งเข้าเครื่องวิเคราะห์ความต่างศักย์ แล้วแปลผลออกมาเป็นขนาดอนุภาคเส้นผ่านศูนย์กลางที่วัดได้จะเป็น dv

รูปที่ 5 แผนภูมิการทางานของเครื่อง coulter counter

เครื่อง coulter counter สามารถนับอนุภาคในอัตราประมาณ 4000 อนุภาคต่อวินาที เครื่องนีไ้ ด้ถูกนาไปใช้ในการศึกษาการ


เติบโตและการละลายตัวของอนุภาค และการศึกษาผลของยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียต่อการเจริญเติบโตของเชื้อ
ข้อดีของการวัดวิธีนี้ คือ การวัดขนาดอนุภาคไม่ขึ้นกับรูปร่าง สี ความหนาแน่น และดัชนีการหักเหของอนุภาค
ข้อจากัดของการวัดวิธีนี้ คือ ต้องเลือกขนาดช่องเปิดให้เหมาะสม ต้องเตรียมสารแขวนลอยของตัวอย่างให้มีความเจือจางมาก
เพื่อลดการนับอนุภาคซ้า ต้องเตรียมสารแขวนลอยของตัวอย่างในสารละลายอิเล็กโทรไลต์และต้องกรองอนุภาคที่ไม่ละลายหรือเจือปน
ออกก่อน
หน้า 13

การวัดขนาดอนุภาคด้วยเทคนิคการกระเจิงแสงแบบพลวัต (dynamic light scattering, DLS)


เทคนิค DLS เป็นเทคนิควัดการกระเพื่อมของความเข้มแสง หรือเรียกว่า photo correlation spectroscopy (PCS) โดยใช้
แสงจากแหล่งกาเนิดแสงอาพันธ์ (coherent light source) ฉายลงบนอนุภาคที่แขวนลอยในของเหลว ความถี่ของการกระเพื่อมขึ้น-ลง
สามารถตรวจจั บ โดยใช้ ห ลอดทวี พ ลั ง แสง (photomultiplier) และความถี่ นี้ จ ะถู ก ส่ ง ไปยั ง correlator เพื่ อ น าไปค านวณหาค่ า
สัมประสิทธิ์การแพร่เลื่อนตาแหน่ง (translational diffusion coefficient, DT) ของอนุภาค และนาไปหาขนาดอนุภาคต่อไป
เทคนิคนี้ใช้วัดขนาดของสารตัวอย่าง ได้ตั้งแต่ 5 นาโนเมตร–5 ไมครอน สาหรับอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอนจะเกิดการ
เคลื่อนที่แบบสุ่มอย่างสม่าเสมอ (Brownian motion) ไปทั่วตัวกลาง การเคลื่อนที่แบบบราวน์เนียนนี้ส่งผลกระทบต่อความเข้มของแสง
ที่กระเจิงจากอนุภาค อนุภาคขนาดใหญ่ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์การแพร่เลื่อนตาแหน่งต่า จะเคลื่อนที่ช้ากว่าอนุภาคขนาดเล็ก หรืออาจกล่าว
ได้ว่า อนุภาคขนาดใหญ่เคลื่อนที่ช้าทาให้เกิดการความถี่ในการกระเพื่อมขึ้น-ลงของแสงที่กระเจิงต่า และอนุภาคขนาดเล็กเคลือ่ นที่ได้เร็ว
มีความถี่ในการกระเพื่อมของแสงที่กระเจิงสูงกว่า ดังนั้นอัตราการเปลี่ยนแปลงของแสงที่กระเจิง จากอนุภาคขนาดใหญ่จะช้ากว่า
สัญญาณที่ได้จากการวัดความเข้มแสงในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ของอนุภาคขนาดเล็ก
ขนาดของอนุภาคสามารถคานวณได้จากความถี่โดยใช้สมการสโตกสและไอสไตน์ (Stokes- Einstein equation) ด้วยการหาค่า
สัมประสิทธิ์การแพร่เลื่อนตาแหน่งของอนุภาค ซึ่งสัมพันธ์กับขนาดของอนุภาค ดังนั้นหากวัดการเคลื่อนที่อนุภาคในของเหลวที่รู้อุณหภูมิ
และความหนืด จะสามารถคานวณขนาดของอนุภาคได้ โดยขนาดอนุภาคที่ความเข้มข้นต่าจะเป็นขนาดอนุภาคแบบไฮโดรไดนามิก
kT
𝐷=
6πηR
D คือ สัมประสิทธิ์การแพร่
k คือ ค่าคงที่โบลซ์แมน
T คือ อุณหภูมิ

η คือ ความหนืดของตัวกลาง

R คือ รัศมีของอนุภาค

ตัวอย่างที่นามาทดสอบต้องกระจายตัวในของเหลวได้ดี โดยของเหลวตัวกลางต้องมีสมบัติดังนี้ ไม่ละลายอนุภาคหรือทาให้


อนุภาคบวมหรือหดตัวหรือรวมกัน ใสและไม่ดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่นที่ใช้ ผ่านการกรอง มีค่าดัชนีหักเหของของเหลวต่างจากของ
อนุภาค ค่าดัชนีหักเหและค่าความหนืดมีค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกินร้อยละ 0.5 จากค่าที่แท้จริง ให้สัญญาณความเข้มต่าเมื่อตรวจสอบ
หน้า 14

การปนเปื้อนของเครื่องมือ ข้อจากัดของเทคนิคนี้ คือ สารตัวอย่างต้องผ่านการเตรียมเพื่อให้ได้ความเข้มข้นที่เจือจางอย่างเหมาะสม


นอกจากนั้นเทคนิคนี้ยังต้องการความสะอาดสูง เพื่อป้องกันการรบกวนจากการกระเจิงของอนุภาคฝุ่นหรือสิ่งสกปรก
การวัดขนาดอนุภาคด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนของแสง (Laser diffraction, LD)
เทคนิคการเลี้ยวเบนของแสงได้กลายเป็นเทคนิคมาตรฐานในการวัดขนาดอนุภาคสาหรับยาผงและแกรนูล เนื่องจากเทคนิคนี้
ใช้เวลาในการวิเคราะห์สั้น มีความแม่นยาสูง สามารถวิเคราะห์ซ้าได้แม่นยา มีช่วงการวัดที่กว้างและสามารถใช้ได้กับทั้งตัวอย่างที่เป็ น
ของเหลว สเปรย์ หรือผงแห้ง หลักการของเทคนิคการเลี้ยวเบนของแสง คือ เมื่อแสงเดินทางผ่านอนุภาคที่แขวนลอยอยู่ในตัวกลางที่เป็น
ของไหลจะทาให้เกิดการเลี้ยวเบนแสง แสงที่เลี้ยวเบนจากอนุภาคจะมีรูปแบบของความเข้มที่เป็นรูปแบบเฉพาะ โดยความเข้ มของแสง
ขึ้นกับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของอนุภาคและความถี่ของคลื่นแสง นอกจากนี้ลาแสงที่ส่องผ่านอนุภาคที่แขวนลอยอยู่ในของเหลวจะถูก
กระเจิงโดยอนุภาคทาให้เกิดภาพปรากฏเป็นรูปแบบการเลี้ยวเบนแสงแบบพาร์ฟิลด์ที่อุปกรณ์วัดแสง ซึ่งมีลักษณะเป็นวงมืดและสว่างทีม่ ี
ความเข้มสัมพัทธ์กับขนาดอนุภาค เครื่องมือที่ใช้เทคนิคการเลี้ยวเบนของแสงส่วนใหญ่จะใช้แหล่งกาเนิดแสงฮีเลียม-นีออน ที่ความยาว
คลื่น 632.8 นาโนเมตร และประกอบด้วยอุปกรณ์ออพติคที่ สามารถแปลงข้อมูลแสงที่เบี่ยงเบน (diffracted light) ไปสู่ดีเทคเตอร์
เทคนิคนี้ใช้ในการวัดขนาดอนุภาคช่วง 0.02 - 2,000 ไมครอน
ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ขนาดอนุภาคด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนของแสง มีอยู่ 2 ทฤษฏี คือ ทฤษฏีของ Mie และ
ทฤษฏีของ Fraunhofer
การคานวณตามทฤษฏีของ Mie นั้นจะต้องรู้ความยาวคลื่นของแหล่งกาเนิดแสงเลเซอร์ที่ใช้ ค่าดัชนีการหักเหแสง (refractive
index) ของอนุภาคและตัวกลางที่ใช้ การคานวณด้วยทฤษฏีของ Mie จะมีความถูกต้องแม่นยาและให้ผลการวิเคราะห์ที่ดีกว่าทฤษฏีของ
Fraunhofer หากขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของอนุภาคมีขนาดเล็กกว่า 25 ไมครอน ส่วนทฤษฏีของ Fraunhofer นั้นไม่ยึดปัจจัยอย่าง
ทฤษฏีของ Mie แต่จะคานึงว่าต้องใช้น้าเป็นตัวกลางในการวิเคราะห์ ไม่ได้คานึงถึงค่าดัชนีการหักเหแสงของอนุภาค ดังนั้นจึงมีข้อจากัด
ในการวิเคราะห์ตัวอย่างที่มีขนาดอนุภาคเล็กกว่า 25 ไมครอน
สิ่งสาคัญในการวิเคราะห์หาขนาดด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนของแสง คือ ต้องทราบค่าดัชนีหักเหแสงของตัวอย่างนั้นๆ ต้อง
ทราบตัวกลางที่เหมาะสมสาหรับตัวอย่างนั้นๆ จาเป็นต้องเติมสารที่ช่วยในการกระจายตัวของตัวอย่างหรือไม่ ต้องมีการใช้ระบบอัลตร้า
โซนิคด้วยหรือไม่
การเตรียมตัวอย่างสาหรับการวิเคราะห์แบบแห้ง ทาได้โดย สุ่มตัวอย่างมาแล้วนามาอบเพื่อไล่ความชื้น ทิ้ง ให้ตัวอย่างเย็นใน
desiccator จากนั้นนาไปวิเคราะห์ โดยตัวกลางที่ใช้ คือ อากาศ สาหรับการเตรียมตัวอย่างสาหรับการวิเคราะห์แบบเปียก ทาได้โดย
หน้า 15

เลือกตัวกลางและสภาวะที่เหมาะสมกับตัวอย่าง จากนั้นนาตัวอย่างมากระจายตัวในตัวกลาง โดยใช้ตัวอย่างอัตราส่วน 0.2 - 1 กรัม หรือ


1 - 5 มิลลิลิตร ต่อตัวกลาง 20 - 40 มิลลิลิตร จากนั้นนาตัวอย่างไปวิเคราะห์โดยใช้อุปกรณ์วิเคราะห์แบบเปียก
สิ่งที่ควรระวังสาหรับการวิเคราะห์หาขนาดด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนของแสง คือ ความสะอาดของหน้าต่างเซลล์ ซึ่งหาก
สกปรกหรือเกิดรอยขีดข่วนอาจทาให้สัญญาณ background ที่ได้ไม่ดี อาจทาให้ผลของการวิเคราะห์ขนาดอนุภาคผิดพลาดได้
การวัดขนาดอนุภาคด้วย Cascade impactor (CI)
Anderson Cascade Impactor (ACI) และ Next Generation Impactor (NGI) เป็นเทคนิคหลักที่ใช้ในการพัฒนาตารับและ
ควบคุมคุณภาพของเภสัชภัณฑ์ยาสูดพ่นในปัจจุบัน
ACI เป็นอุปกรณ์ตรวจวัดขนาดอนุภาคที่จาลองระบบการทางานของปอด ประกอบไปด้วยชั้น (stage) วางเรียงกัน โดยแต่ละ
ชั้นจะมีแผ่นจานบางประกบอยู่ด้านล่างของชั้น จานแต่ละชั้นจะมีรูพรุนขนาดต่างๆ โดยเรียงจากใหญ่ไปเล็ก รูป 6A แสดงหลักการ
ทางานของ ACI คือ ใช้ลมดูดอากาศจากปั๊มเทียบได้กับการสูดลมหายใจเข้า แล้วอาศัยหลักการตกกระทบด้วยแรงเฉื่อยของอนุภาค
(inertial impaction) โดยอนุภาคขนาดต่างๆจะตกกระทบและตกค้างอยู่บนแผ่นจานของแต่ละชั้น โดยขนาดอนุภาคที่ตกค้างในแต่ละ
ชั้นสามารถเดินทางไปตกในระบบทางเดินหายใจชั้นต่างๆ ดังแสดงในรูป 6B

รูปที่ 6 (A) รูปแบบของ Anderson Cascade Impactor (ACI) และ (B) ระดับขั้นของขนาดอนุภาคที่ตกในระบบทางเดินหายใจ
โดยแต่ละชั้นของ ACI สามารถกักเก็บอนุภาคขนาดต่างๆดังแสดงในตาราง โดยการเลือกระดับอัตราการดูดอากาศของปั๊ม เป็น
ดังนี้ อัตราการดูดอากาศ 28.3 ลิตรต่อนาที ใช้สาหรับวัดขนาดอนุภาคจากอุปกรณ์ประเภท metered-dose inhalers (MDI) และ
หน้า 16

nebulizer อัตราการดูดอากาศ 60 ลิตรต่อนาที ใช้สาหรับวัดขนาดอนุภาคจากอุปกรณ์ประเภท dry powder inhalers (DPI) ส่วน


อัตราการดูดอากาศ 90 ลิตรต่อนาที เป็นค่าที่ถูกปรับแต่งขึ้นใหม่ทางอุตสาหกรรมใช้สาหรับวัดขนาดอนุภาคจากอุปกรณ์ชนิดอื่น

ตารางที่ 1 แสดงขนาดอนุภาค (ไมครอน) เมื่อเทียบกับระดับชั้นของ ACI


ชั้น (stage) อัตราการดูดอากาศ (ลิตรต่อนาที)
28.3 60 90
-1 8.6 6.2
0 9.0 6.5 4.0
1 5.8 4.4 3.2
2 4.7 3.2 2.3
3 3.3 1.9 1.4
4 2.1 1.2 0.8
5 1.1 0.55 0.5
6 0.7 0.26
7 0.4 0.13

NGI เป็นอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งที่ใช้ตรวจวัดขนาดอนุภาคโดยจาลองระบบการทางานของปอด โดยประกอบไปด้วยช่องต่างๆ 8


ช่อง (nozzle pieces) ซึ่งเทียบได้กับการทางานของแต่ละชั้นของ ACI โดยโครงสร้างของเครื่องดังแสดงในรูป 7A และจานวนรู (hole)
และขนาดของรูผ่านแสดงในรูป 7B โดยมี micro-orifice collector เป็นเหมือนฟิลเตอร์ตัวสุดท้ายที่ดักจับอนุภาคขนาดเล็กมาก NGI
สามารถทางานภายใต้อัตราการดูดอากาศ 30-100 ลิตรต่อนาที ข้อได้เปรียบของ NGI เมื่อเทียบกับ ACI คือ ถาด (collection cup หรือ
impaction cup) สามารถถอดแยกออกจากเครื่องได้ ดังนั้นจึงสามารถเก็บตัวอย่างที่ค้างอยู่บนถาดได้รวดเร็วและสามารถนาถาด
กลับมาใช้อีกครั้ง

รูปที่ 7 (A) โครงสร้างของเครื่อง New Generation Impactor (NGI) และ (B) จานวนรู (hole) และขนาดของรูผ่านของช่อง (nozzle
pieces) ต่างๆ
หน้า 17

ในภาพรวมสาเหตุของความผิดพลาดในการวัดขนาดอนุภาคที่มักพบบ่อย ได้แก่
1. ความคลาดเคลื่อนจากเครื่องมือ เกิดจากข้อจากัดของวิธีวิเคราะห์นนั้ ๆ ซึ่งจะส่งผลถึงความถูกต้องของการวิเคราะห์
2. ความคลาดเคลื่อนจากสถิติที่ใช้ ซึ่งขึ้นอยู่กับการสุ่มตัวอย่างและการกระจายของตัวอย่างด้วย
3. ความคลาดเคลื่อนจากซอฟแวร์ที่ใช้ในการประมวลผล เกิดจากการใช้อัลกอริทึมที่น้อยหรือมากเกินไปในการวิเคราะห์และ
ประมวลผล
4. ความคลาดเคลื่อนจากผู้วดั มักเกิดจากการสอบเทียบที่ไม่ถูกต้อง การตั้งค่าเครื่องที่ไม่ถูกต้อง หรือการวัดที่ไม่ถูกต้อง

สรุป
จะเห็นได้ว่าขนาดของอนุภาคของยาและสารประกอบอื่นในเภสัชภัณฑ์มีความสาคัญต่อประสิทธิภาพของเภสัชภัณฑ์ ไม่ว่าจะ
เป็นเภสัชภัณฑ์สาหรับนาส่งยาสูร่ ะบบทางเดินหายใจ เภสัชภัณฑ์สาหรับนาส่งยาสู่ระบบทางเดินอาหาร เภสัชภัณฑ์สาหรับนาส่งยาตา ยา
ทาภายนอก และยาแผ่นแปะ เภสัชภัณฑ์สาหรับนาส่งยาทางหลอดเลือดดา ดังนั้นการควบคุมขนาดอนุภาคจึงเป็นสิ่งทีส่ าคัญ นอกจากนี้
อนุภาคของสารที่พบในธรรมชาติหรืออนุภาคที่ผา่ นกระบวนการบางอย่าง เช่น การบด การทาแกรนูล หรือ การทา solid dispersion
มักมีรูปร่างไม่สมมาตร การบอกขนาดอนุภาคจึงบอกเป็นเส้นผ่านศูนย์กลางสมมูลของทรงกลม ได้แก่ เส้นผ่านศูนย์กลางพื้นที่ผิว
เทียบเท่า เส้นผ่านศูนย์กลางปริมาตรเทียบเท่า เส้นผ่านศูนย์กลางพื้นที่เทียบเท่า เส้นผ่านศูนย์กลางอัตราการตกตะกอนเทียบเท่า
ประกอบกับเทคนิคต่าง ๆ ในการวิเคราะห์ขนาดอนุภาคมีให้เลือกใช้หลากหลาย ผู้ทาการวิเคราะห์ขนาดอนุภาคควรเข้าใจหลักการและ
ข้อจากัดของแต่ละเทคนิค เพื่อที่จะเลือกใช้เทคนิคที่เหมาะสมกับเภสัชภัณฑ์นั้นๆ เพื่อให้ได้ผลการวิเคราะห์ขนาดอนุภาคและการ
กระจายตัวของอนุภาคที่ถูกต้องและมีความแม่นยา
เอกสารอ้างอิง12 13 14
1. Usmani OS, Biddiscombe MF, Barnes PJ. Regional lung deposition and bronchodilator response as a function of
β2-agonist particle size. American journal of respiratory and critical care medicine. 2005;172(12):1497-1504.
2. Duddu SP, Sisk SA, Walter YH, et al. Improved lung delivery from a passive dry powder inhaler using an
engineered PulmoSphere® powder. Pharmaceutical research. 2002;19(5):689-695.
3. Koushik K, Dhanda DS, Cheruvu NP, Kompella UB. Pulmonary delivery of deslorelin: large-porous PLGA particles
and HPβCD complexes. Pharmaceutical research. 2004;21(7):1119-1126.
4. Wiedmann TS, DeCastro L, Wood RW. Nebulization of NanoCrystals: production of a respirable solid-in-liquid-in-
air colloidal dispersion. Pharmaceutical research. 1997;14(1):112-116.
5. Alvarez-Roman R, Naik A, Kalia Y, Guy RH, Fessi H. Skin penetration and distribution of polymeric nanoparticles.
Journal of Controlled Release. 2004;99(1):53-62.
หน้า 18

6. Rolland A. Particulate carriers in dermal and transdermal drug delivery: myth or reality? Drugs and the
pharmaceutical sciences. 1993;61:367-421.
7. Shim J, Kang HS, Park W-S, Han S-H, Kim J, Chang I-S. Transdermal delivery of mixnoxidil with block copolymer
nanoparticles. Journal of Controlled Release. 2004;97(3):477-484.
8. Kaewamatawong T, Kawamura N, Okajima M, Sawada M, Morita T, Shimada A. Acute pulmonary toxicity caused
by exposure to colloidal silica: particle size dependent pathological changes in mice. Toxicologic pathology.
2005;33(7):745-751.
9. Allen LV, Ansel HC. Ansel's pharmaceutical dosage forms and drug delivery systems (10th edition)2014.
10. Martin AN, Sinko PJ, Singh Y. Martin's physical pharmacy and pharmaceutical sciences physical chemical and
biopharmaceutical principles in the pharmaceutical sciences. Baltimore, MD: Lippincott Williams & Wilkins; 2011.
11. United States Pharmacopeial C. The United States pharmacopeia ; The national formulary2016.
12. Shekunov BY, Chattopadhyay P, Tong HH, Chow AH. Particle size analysis in pharmaceutics: principles, methods
and applications. Pharmaceutical research. 2007;24(2):203-227.
13. Pecora R. Dynamic light scattering: applications of photon correlation spectroscopy: Springer Science & Business
Media; 2013.
14. Larsson M, Hill A, Duffy J. Suspension stability; why particle size, zeta potential and rheology are important.
Annual transactions of the Nordc Rheology Society. 2012;20:209-214.

You might also like