You are on page 1of 15

ชุดทดลองที่ 2 เครื่องเตือนฝนตกด้วยพลังงานจากผลไม้

ระดับชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 1-6

ระยะเวลา 3 ชั่วโมง

สาระสำคัญ

แบตเตอรี่คือ อุปกรณ์ที่ประกอบด้วยเซลล์ไฟฟ้ าเคมี (Electrochemical


Cells) ตัง้ แต่หนึง่ เซลล์ขน
ึ ้ ไป โดยเซลล์แต่ละเซลล์มีการต่อกันทางไฟฟ้ า
และสามารถเปลี่ยนพลังงานเคมีที่สะสมไว้ให้เป็ นพลังงานไฟฟ้ าได้
เซลล์ไฟฟ้ าเคมี (Electrochemical Cells) ประกอบด้วย ขัว้ ไฟฟ้ า
(Electrode) อย่างน้อยสองขัว้ ที่ทำจากวัสดุที่นำไฟฟ้ า และอิเล็กโทรไลต์
(Electrolyte) ซึง่ ส่วนใหญ่เป็ นของเหลว เมื่อมีการต่อขัว้ ทัง้ สองขัว้ ของ
เซลล์ไฟฟ้ าเคมีด้วยตัวนำไฟฟ้ า เช่น สายไฟ อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่จาก
ขัว้ หนึ่งไปยังอีกขัว้ หนึ่ง โดยทิศทางการเคลื่อนที่จะขึน
้ กับสมบัติของขัว้ ไฟ
ฟ้ าและอิเล็กโทรไลต์ การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอย่างต่อเนื่องระหว่าง
ขัว้ ทัง้ สองของเซลล์ไฟฟ้ าเคมีผ่านตัวนำ ทำให้เกิด “กระแสไฟฟ้ า” ที่นำ
ไปใช้งานได้
การออกแบบอุปกรณ์เพื่อผลิตให้พลังงานไฟฟ้ าจึงมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่
การเลือกใช้วัสดุเหมาะสมที่ยอมให้กระแสไฟฟ้ าไหลผ่านได้ และการวัด
ความสามารถในการผลิตกระแสไฟฟ้ าโดยที่ต่อเข้ากับเครื่องเตือนฝนตก
ด้วยไฟแอลอีดีและเสียง

ตัวชีว
้ ัด
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม คณิตศาสตร์
อธิบายหลักการ สามารถผลิต นำวัสดุ และผลไม้ สามารถคำนวณ
ของเซลล์ไฟฟ้ า พลังงาน ในท้องถิ่น พร้อม ค่าความต่างศักย์
เคมี และการต่อ ไฟฟ้ าจาก วิธีการออกแบบ ไฟฟ้ า กระแส
วงจรไฟฟ้ าได้ พลังงานเคมี ตามกระบวนการ ไฟฟ้ า และความ
เข้าใจความ และการเลือกใช้ วิศวกรรมมาสร้าง ต้านทานของ
สัมพันธ์ระหว่าง วัสดุให้เหมาะสม อุปกรณ์ที่ทำให้เกิด เซลล์
พลังงานกับการ กับการใช้งาน พลังงานไฟฟ้ าซึง่ เปรียบเทียบค่า
ดำรงชีวิต การ สามารถนำไป กระแสไฟฟ้ าของ
เปลี่ยนรูป ประยุกต์ใช้งานได้ ผลไม้ชนิดต่างๆ
พลังงาน จริง ในการ
ปฏิสัมพันธ์ ถ่ายโอน
ระหว่างสารและ อิเล็กตรอน
พลังงาน

สาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์
หลักการของเซลล์ไฟฟ้ าเคมี คือ เมื่อนำแผ่นสังกะสีและแผ่นทองแดงจุ่ม
ลงในสารละลายกรดซัลฟิ วริกเจือจาง สังกะสีและทองแดงจะแตกตัวเป็ น
อิออน (ธาตุหรือหมู่ธาตุที่มีประจุไฟฟ้ า) โดยที่สังกะสีสามารถแตกตัวและ
ให้อิเล็กตรอนได้ดีกว่าทองแดงจึงมีศักย์ไฟฟ้ าต่ำกว่า (ทำหน้าที่เป็ นขัว้ ลบ)
ส่วนทองแดงซึ่งสามารถแตกตัวและให้อิเล็กตรอนได้น้อยกว่าจึงมีศักย์
ไฟฟ้ าสูงกว่า (ทำหน้าที่เป็ นขัว้ บวก) เมื่อศักย์ไฟฟ้ าของทัง้ สองขัว้ ต่างกัน
อิเล็กตรอนจึงไหลจากขัว้ ที่มีศักย์ไฟฟ้ าต่ำไปยังขัว้ ที่มีศักย์ไฟฟ้ าสูง
วงจรไฟฟ้ า เป็ นการนำเอาสายไฟฟ้ าหรือตัวนำไฟฟ้ าที่เป็ นเส้นทางเดินให้
กระแสไฟฟ้ าสามารถไหลผ่านต่อถึงกันได้นน
ั ้ เราเรียกว่า วงจรไฟฟ้ า การ
เคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนที่อยู่ภายในวงจรจะเริ่มจากแหล่งจ่ายไฟไปยัง
อุปกรณ์ไฟฟ้ า การต่อวงจรไฟฟ้ าเบื้องต้นโดยการต่อแบตเตอรี่ต่อเข้ากับ
หลอดไฟ หลอดไฟฟ้ าสว่างได้เพราะว่ากระแสไฟฟ้ าสามารถไหลได้ตลอด
ทัง้ วงจรไฟฟ้ า และเมื่อหลอดไฟฟ้ าดับก็เพราะว่ากระแสไฟฟ้ าไม่สามารถ
ไหลได้ตลอดทัง้ วงจร เนื่องจากสวิตซ์เปิ ดวงจรไฟฟ้ าอยู่นั่นเอง

เทคโนโลยี
การสร้างอุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้ าจากปฏิกิริยาเคมี ต้องอาศัยความรู้ใน
ด้านต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น วิศวกรรมศาสตร์ อิเล็กทรอนิกส์
เทคโนโลยี การเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับการใช้งาน และคำนึงถึงผล
ของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิง่ แวดล้อม

วิศวกรรมศาสตร์
การสร้างอุปกรณ์การทดลองในการผลิตกระแสไฟฟ้ า จำเป็ นต้องใช้
กระบวนการทางด้านต่างๆ มาช่วยในการออกแบบวงจรไฟฟ้ า และการ
เลือกใช้ชนิดของผลไม้ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้ าได้

คณิตศาสตร์
การรวบรวมข้อมูลให้อยู่ในรูปของตารางมีความชัดเจนและสะดวกต่อ
การนำไปใช้งาน และการใช้หลักการทางคณิตศาสตร์เพื่อมาคำนวณหาค่า
ความต่างศักย์ไฟฟ้ า กระแสไฟฟ้ า และความต้านทานของเซลล์ รวมถึงมี
การเปรียบเทียบค่ากระแสไฟฟ้ าของผลไม้ชนิดต่างๆ ในการถ่ายโอน
อิเล็กตรอน
ผังมโนทัศน์

จุดประสงค์
1. สามารถอธิบายหลักการทำงานของเซลล์ไฟฟ้ าเคมีและวงจรไฟฟ้ าที่
เกี่ยวข้องกับการทำงานของเครื่องเตือนฝนตกได้
2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบค่ากระแสไฟฟ้ าจากผลไม้ชนิดต่างๆ
3. เพื่อสร้างเซลล์ไฟฟ้ าจากผลไม้มาใช้ประโยชน์และประยุกต์ใช้กับ
อุปกรณ์ไฟฟ้ าบางชนิดได้
วัสดุอุปกรณ์

วัสดุ ภาพประกอบ

1. แผ่นสังกะสี

2. แผ่นทองแดง

3. เทปพันสายไฟ

4. โมดูลเตือนฝนตกด้วยไฟ LED
และเสียง

5. กรรไกร

6. มัลติมิเตอร์

7. มีด
วัสดุ ภาพประกอบ

8. ผ้ากรอง

9. เครื่องปั่ นไฟฟ้ า

10. เครื่องชั่ง

11. บีกเกอร์

12. กระบอกตวง

13. สายไฟพร้อมปากคีบ
วัสดุ ภาพประกอบ

14. มะยม

15. มะเฟื อง

16. มะนาว

17. มะขาม

18. มะกรูด

แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการผลิต
กระแสไฟฟ้ าจากปฏิกิริยาเคมี การออกแบบวงจรไฟฟ้ า และการเลือกใช้
วัสดุที่ผลิตกระแสไฟฟ้ าได้ดี

1. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ขัน
้ ที่ 1 กำหนดปั ญหาหรือความต้องการ
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมอภิปรายแนวคิดในการนำปฏิกิริยาเคมีมาใช้
ประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้ า จากนัน
้ ร่วมกันสรุปขอบเขตการ
ทดลอง โดยตัง้ สมติฐานการทดลองได้ดังนี ้ “ผลไม้ต่างชนิดกัน ทำให้เกิด
ค่ากระแสไฟฟ้ าที่ต่างกัน”

ขัน
้ ที่ 2 รวบรวมข้อมูล
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มรวบรวมข้อมูลการออกแบบวงจรไฟฟ้ า และการ
เลือกใช้ผลไม้ที่ทำให้ผลิตกระแสไฟฟ้ าได้ดีที่สุด

ขัน
้ ที่ 3 เลือกวิธีการ
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกชนิดของผลไม้มาผลิตกระแสไฟฟ้ าที่ได้จาก
การรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ออกมาเพื่อหาผลไม้ที่ผลิตกระแสไฟฟ้ า
ได้มากที่สุด
ขัน
้ ที่ 4 ออกแบบและปฏิบัติการ
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำการออกแบบการต่อวงจรไฟฟ้ ากับผลไม้ลงในใบ
กิจกรรม และวางแผนการดำเนินงานให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด

ขัน
้ ที่ 5 ทดสอบ
นำชิน
้ งานของนักเรียนแต่ละกลุ่มมาทดสอบการทำงานว่าสามารถผลิต
กระแสไฟฟ้ าได้หรือไม่ โดยใช้มัลติมิเตอร์วัดค่ากระแสไฟฟ้ าที่ได้จากการ
ถ่ายโอนอิเล็กตรอน พร้อมกับบันทึกข้อมูลการทดสอบ

ขัน
้ ที่ 6 ปรับปรุงแก้ไข
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มปรับปรุงชิน
้ งานโดยใช้ผลการทดลองที่ได้มาเป็ น
ข้อมูลในการหาแนวทางการปรับปรุง เพื่อให้ผลิตกระแสไฟฟ้ าได้มากขึน

ขัน
้ ที่ 7 ประเมินผล
เมื่อนักเรียนปรับปรุงแก้ไขชิน
้ งานเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการทดลองและ
บันทึกผลการทดลองใหม่อีกครัง้ เพื่อประเมินผลชิน
้ งาน

2. กิจกรรมรวมยอด
นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อสรุปประเด็นและความรู้ที่ได้จากการทดลอง
โดยมีคำถาม ดังต่อไปนี ้
-นักเรียนได้ความรู้วิทยาศาสตร์อะไรบ้างจากการทำกิจกรรมนี ้ (สามารถ
อธิบายหลักการทำงานของเซลล์ไฟฟ้ าเคมี และการต่อวงจรไฟฟ้ าได้)
-นักเรียนได้ความรู้คณิตศาสตร์อะไรบ้างจากการทำกิจกรรมนี ้ (สามารถ
นำเสนอข้อมูลในรูปแบบตาราง และมีการนำหลักการทางคณิตศาสตร์มา
ใช้เพื่อคำนวณค่าความต่างศักย์ไฟฟ้ า กระแสไฟฟ้ าและความต้านทาน
ของเซลล์)
-นักเรียนได้ความรู้ทางวิศวกรรมอะไรบ้างจากการทำกิจกรรมนี ้ (สามารถ
สร้างชิน
้ งานผลิตกระแสไฟฟ้ าขึน
้ มาได้จากการใช้กระบวนการทาง
วิศวกรรมในการออกแบบวงจรไฟฟ้ า และการเลือกชนิดของผลไม้ที่ยอม
ให้กระแสไฟฟ้ าไหลผ่านได้ดี)
-ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึน
้ นักเรียนต้องทำอย่างไร (กำหนดปั ญหาหรือ
ความต้องการ รวบรวมข้อมูล เลือกวิธีการ ออกแบบและปฏิบัติการ
ทดสอบ ปรับปรุงแก้ไข ประเมินผล)

การวัดผลประเมินผล
1. อธิบายหลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเกิดพลังงานไฟฟ้ าจาก
ปฏิกิริยาเคมี และการต่อวงจรไฟฟ้ าได้
2. สามารถออกแบบและสร้างเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้ าจากผลไม้ได้

เอกสารอ้างอิง
1. เซลล์ไฟฟ้ าเคมี. (2553). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://fon-
fay.blogspot.com/2010/10/blog-post_01.html. (วันที่ค้นข้อมูล :
24 สิงหาคม 2561).
2. ปฏิบัติการเซลล์ไฟฟ้ าเคมี. (2556). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://www.slideshare.net/krujo/ss-16641659. (วันที่ค้นข้อมูล :
24 สิงหาคม 2561).
3. วงจรไฟฟ้ า. (2559). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://sites.google.com/site/electronicisfun/hnwy-thi-5/kd-
khxng-xohm/kar-tx-wngcr-fifa-baeb-tang. (วันที่ค้นข้อมูล : 24
สิงหาคม 2561)
ใบกิจกรรม ชุดทดลองที่ 2
STEM ศึกษา เรื่อง เครื่องเตือนฝนตกด้วยพลังงานจากผลไม้
หน่วยงานวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล

จุดประสงค์
1. สามารถอธิบายหลักการทำงานของเซลล์ไฟฟ้ าเคมีและวงจรไฟฟ้ าที่
เกี่ยวข้องกับการทำงานของเครื่องเตือนฝนตกได้
2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบค่ากระแสไฟฟ้ าจากผลไม้ชนิดต่างๆ
3. เพื่อสร้างเซลล์ไฟฟ้ าจากผลไม้มาใช้ประโยชน์และประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์
ไฟฟ้ าบางชนิดได้

วัสดุอุปกรณ์
จำนวนต่อ จำนวนต่อ
ที่ รายการ ที่ รายการ
กลุ่ม กลุ่ม
1 แผ่นสังกะสี 1 แผ่น 10 เครื่องชั่ง 1 เครื่อง
2 แผ่นทองแดง 1 แผ่น 11 บีกเกอร์ 4 ใบ
3 เทปพันสายไฟ 1 ม้วน 12 กระบอกตวง 2 อัน
โมดูลเตือนฝนตก
สายไฟพร้อม
4 ด้วยไฟ LED และ 1 ชุด 13 4 เส้น
ปากคีบ
เสียง
5 กรรไกร 1 เล่ม 14 มะยม 100 กรัม
6 มัลติมิเตอร์ 1 ชุด 15 มะเฟื อง 100 กรัม
7 มีด 1 เล่ม 16 มะนาว 100 กรัม
8 ผ้ากรอง 1 ผืน 17 มะขาม 100 กรัม
9 เครื่องปั่ นไฟฟ้ า 1 เครื่อง 18 มะกรูด 100 กรัม

คำถามก่อนทำกิจกรรม นักเรียนคิดว่าผลไม้สามารถทำให้เกิดกระแส
ไฟฟ้ าได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

สมมติฐานการทดลอง ผลไม้ต่างชนิดกัน ส่งผลให้เกิดค่ากระแสไฟฟ้ า


ที่ต่างกัน

ตัวแปรต้น ชนิดของผลไม้
ตัวแปรตาม ค่ากระแสไฟฟ้ า
ตัวแปรควบคุม น้ำหนักของผลไม้, ปริมาณของน้ำผลไม้ที่ใช้ในการทดลอง

บันทึกแนวคิดในการสร้างแบบจำลองวงจรผลิตกระแสไฟฟ้ าจากผลไม้
เป็ นภาพและระบุรายละเอียด เช่น วัสดุหรือชนิดของผลไม้ที่เลือกใช้ พร้อม
ให้เหตุผลประกอบ

ขัน
้ ตอนการทำกิจกรรม
1. กำหนดให้น้ำหนักของผลไม้เท่ากัน และใช้ปริมาณน้ำผลไม้สำหรับการ
ทดลองเท่ากัน โดยจะใช้ผลไม้ทงั ้ หมด 5 ชนิด คือ มะยม มะเฟื อง มะนาว
มะขาม และมะกรูด
2. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบวงจร
ไฟฟ้ า และการเลือกใช้ผลไม้ที่ทำให้ผลิตกระแสไฟฟ้ าได้ดีที่สุดจากอุปกรณ์ที่
กำหนดให้ เช่น ชนิดของผลไม้ วัสดุที่ใช้เป็ นขัว้ ไฟฟ้ า และให้แต่ละกลุ่มเลือก
วิธีการสร้างชิน
้ งานโดยคำนึงถึงทรัพยากรที่กำหนดให้
3. นักเรียนแต่ละกลุ่มออกแบบวงจรผลิตกระแสไฟฟ้ าจากผลไม้ตามรูปแบบ
ที่ต้องการ โดยร่างเป็ นภาพและระบุรายละเอียด เช่น วัสดุหรือชนิดของผล
ไม้ที่เลือกใช้ พร้อมให้เหตุผลประกอบ
4. ลงมือทำชิน
้ งานตามที่ออกแบบไว้ โดยทำการหั่นผลไม้ที่ต้องการเป็ นชิน

เล็กๆ ใส่ในเครื่องปั่ นไฟฟ้ า เติมน้ำที่เตรียมไว้ลงไป ปั่ นประมาณ 1 นาที นำ
มากรองด้วยผ้าขาวบาง คัน
้ เอาแต่น้ำ ทำซ้ำจนครบทุกชนิด แล้วนำน้ำใส่บีก
เกอร์ ใช้สายไฟพร้อมปากคีบ คีบแผ่นทองแดงและสังกะสีลงในน้ำผลไม้ที่
เตรียมไว้
5. นำชิน
้ งานมาทดสอบว่าสามารถผลิตกระแสไฟฟ้ าได้หรือไม่ โดยใช้มัลติ
มิเตอร์วัดค่ากระแสไฟฟ้ าที่เกิดขึน
้ จากการถ่ายโอนอิเล็อกตรอนภายในน้ำผล
ไม้ พร้อมกับบันทึกข้อมูลการทดลอง จากนัน
้ เปลี่ยนชนิดของน้ำผลไม้ตามที่
กำหนด แล้วทำการทดสอบจนครบ
6. นำผลการทดสอบการทำงานของวงจรผลิตกระแสไฟฟ้ ามาหาแนวทางใน
การปรับปรุงแก้ไขให้ดีขน
ึ ้ เพื่อให้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้ าได้มากกว่าเดิม
จากนัน
้ ลงมือปรับปรุงชิน
้ งานแล้วนำไปทดสอบการทำงานอีกครัง้ พร้อม
บันทึกข้อมูล
7. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำผลการทดสอบการทำงานมาบันทึกเป็ นข้อมูลลง
ในตารางระหว่างค่ากระแสไฟฟ้ ากับชนิดของผลไม้ แล้วอภิปรายร่วมกันใน
กลุ่ม
8. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานหรือชิน
้ งานที่สร้างขึน
้ โดยนำเสนอ
แนวคิด และเหตุผลในการเลือกใช้วัสดุหรือผลไม้ รวมทัง้ ผลการทดสอบและ
การปรับปรุงแก้ไขจนชิน
้ งานมีประสิทธิภาพมากขึน

9. ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับปั จจัยที่มีผลต่อการสร้างวงจรผลิต
กระแสไฟฟ้ าจากผลไม้ และแนวทางการสร้างชิน
้ งานนีสำ
้ หรับการใช้งานจริง
และหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่นำมาใช้ในการออกแบบและสร้างชิน
้ งาน

ตัวอย่างผลการทำกิจกรรม
ลักษณะวงจรผลิตกระแสไฟฟ้ าจากผลไม้

ค่ากระแสไฟฟ้ า (mA)
ชนิดของผลไม้
ครัง้ ที่ 1 ครัง้ ที่ 2 ครัง้ ที่ 3 เฉลี่ย
มะยม 0.53 0.55 0.42 0.50
มะเฟื อง 1.68 1.45 1.49 1.54
มะขาม 0.87 0.96 0.84 0.89
มะนาว 1.29 1.40 1.50 1.40
มะกรูด 1.28 1.09 1.10 1.16

อภิปรายผลการทำกิจกรรม
1. น้ำผลไม้ที่ให้ค่ากระแสไฟฟ้ ามากที่สุด คือ มะเฟื อง รองลงมาคือ มะนาว
2. น้ำผลไม้ที่ให้ค่ากระแสไฟฟ้ าได้ดี อาจมีสาเหตุมาจากค่าความเป็ นกรด
ด่างที่สูง

สรุปผลการทำกิจกรรม
ผลไม้ต่างชนิดกัน สามารถผลิตค่ากระแสไฟฟ้ าออกมาได้ต่างกัน และถ้ามีค่า
ความเป็ นกรดด่างสูงมาก จะทำให้ผลิตกระแสไฟฟ้ าได้มากขึน

บันทึกแนวทางการแก้ไขปรับปรุงวงจรให้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้ าได้
1. เปลี่ยนน้ำผลไม้ที่ใช้ในการทดลอง เพื่อหาสารละลายที่นำไฟฟ้ าได้ดี
2. ต่อวงจรไฟฟ้ าให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อให้วงจรทำงาน
3. เปลี่ยนลักษณะการต่อวงจรไฟฟ้ าเป็ นรูปแบบขนาน เพื่อเพิ่มกระแสไฟฟ้ า

คำถามท้ายกิจกรรม
จากการทำกิจกรรม ให้นักเรียนยกตัวอย่างอุปกรณ์ในชีวิตประจำวัน ที่ใช้
หลักการของเซลล์ไฟฟ้ าเคมี
ตอบ - แบตเตอรี่
- ถ่านไฟฉาย

You might also like