You are on page 1of 79

1

ภูมิปัญญาทางภาษา

สาระสําคัญ
ภูมิปัญญาทางภาษาเป็ นผลงานด้านภาษาไทย ทัง้ ภาษาถิ่น ภาษา
โบราณ ภาษาพูด และการใช้ภาษา ตลอดจนวรรณกรรมทุกประเภทที่แสดง
ถึงเอกลักษณ์ วิถีชีวิตและความเป็ นไทยที่มีคุณค่ายิ่ง

๑. ความหมายของภูมิปัญญาและภูมิปัญญาทางภาษา

๑.๑ ความหมายของภูมิปัญญา
จากการประชุมเชิงปฏิบัติการสังเคราะห์และการถ่ายทอดภูมิปัญญา
ไทยเพื่อการศึกษา ภูมิปัญญา หมายถึง ภูมิรู้ ปฏิภาณ ความเฉลียวฉลาด
ไหวพริบ ความคิด ได้กล่าวไว้ว่าภูมิปัญญาไทยทางด้านภาษามีอยู่ด้วยกัน
๑๐ สาขา คือ
๑. ภูมิปัญญาไทยในการต้อนรับเชื้อเชิญ
๒. ภูมิปัญญาไทยในการเจริญไมตรี
๓. ภูมิปัญญาไทยในประเพณีสบ
ื มานาน
๔. ภูมิปัญญาไทยในการจารกฎหมายบ้านเมือง
๕. ภูมิปัญญาไทยในเรื่องสดับภาษาธรรม
๖. ภูมิปัญญาไทยในวรรณกรรมท้องถิ่น
๗. ภูมิปัญญาไทยในวรรณศิลป์ ไพจิตร
2

๘. ภูมิปัญญาไทยในภาษิตภาษาสื่อสาร
๙. ภูมิปัญญาไทยในเพลงพื้นบ้าน
๑๐. ภูมิปัญญาไทยในการใช้คําราชาศัพท์
ภูมิปัญญาทางภาษา หมายถึงความสามารถทางภาษา ปฏิญาณทางภาษา
หรือภูมิร้ท
ู างภาษาที่

๑.๒ ความหมายของภูมิปัญญาทางภาษา
แสดงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน ด้วยภาษาโบราณ ภาษาถิ่น ภาษา
ไทยปั จจุบัน รวมทัง้ การใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรมทุกประเภท

๒. ลักษณะภูมิปัญญาทางภาษาของไทย
๒.๑ ภูมิปัญญาไทยในการต้อนรับเชื้อเชิญ
วัฒนธรรมไทย จัดลักษณะภาษาของการต้อนรับ เชื้อเชิญไว้ ๓
ลักษณะ ได้แก่
๒.๑.๑ การเอื้อเฟื้ อเผื่อแผ่ แบ่งปั นด้วยไมตรีและความเต็มใจ เช่น
- เลีย
้ งดูปูเสื่อ
- ต้อนรับขับสู้
- ก้นถึงฟาก ปากถึงน้ํา
- เป็ นธรรมเนียมไทยแท้แต่โบราณ ใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับอย่างดี
เลิศ ให้เพลินเพลิดกายา กว่าจะกลับ
๒.๑.๒ การพูดจาที่แสดงความอ่อนหวาน ทักทายด้วยความเต็มใจ เช่น
3

- มาหาใครครับ เชิญนั่งก่อนซิคะ
- ตามสบายเลยนะ อย่าได้เกรงใจ
- เชิญรับประทานอาหารด้วยกันก่อนนะคะ
- คอยสักครู่ เดี๋ยวจะไปตามให้นะครับ
๒.๑.๓ แสดงความเอื้ออาทร ห่วงใยและทําพิธีต้อนรับ อันเป็ นกิจกรรมความ
เชื่อของคนใน ท้องถิ่น เช่น พิธีบายศรีสู่ขวัญ เชิญชวนด้วยภาษาอันไพเราะ

- มากิ๋นข้าว กิ๋นน้ําก่อนเต๊อะ (ภาคเหนือ)


- ขวัญเอยขวัญจงมา ชมแก้ว แหวน เงินทอง อันผ่องใส (ภาคกลาง)
- นั่งตามสบายโลด (ภาคอีสาน)
4

- บายดีร้อ
ื (ภาคใต้)

๒.๒ ภูมิปัญญาไทยในการเจริญไมตรี
จากเรื่องสมเด็จพระปิ ยมหาราชทรงรักษาเอกราชของชาติไว้ได้อย่างไร
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จไปเยือนต่างประเทศ
เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอํานาจต่าง ๆ ทําให้ไทยผ่านพ้นภัย
พิบัติ จากการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกได้
ตัวอย่าง คําประพันธ์ภูมิปัญญาไทยในการเจริญไมตรี

จึงหลายประเทศทัง้ ใกล้ไกล
พระเสด็จเยือนไป หลากแคว้น
หวังผลเพื่อผูกไม ตรีต่อ
เกลื่อนกลบลบเรื่องแค้น ขุ่นน้ํ าใจเคย

หรือแม้แต่ภาษาในวรรณคดีเช่นสุภาษิตพระร่วง ก็มุ่งสอนให้คนไท
ยมีนํ า้ ใจไมตรีต่อกัน ใช้วาจาสุภาพ อ่อนหวาน ไพเราะ ไม่นิยมความขัดแย้ง
เช่น
- ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง สร้างกุศลอย่ารู้โรย
- ปลูกอื่นใดปลูกไมตรีดีกว่าพาล
5

ประเพณี หมายถึง แบบแผนและการปฏิบัติที่สืบเนื่องกันมาเป็ นเวลาช้านาน

๒.๓ ภูมิปัญญาไทยในประเพณีสืบมานาน จนเป็ นลักษณะของคนกลุ่มนัน



ซึ่งจําแนกเป็ นขนบประเพณี ธรรมเนียมประเพณี และจารีตประเพณี
ประเพณีไทยแสดงถึงความฉลาดในการใช้ภาษาของบรรพชนในลักษณะการ
อวยพรต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสุขและกําลังใจ ให้คติข้อคิด เช่น อวยพรวัน
เกิด งานขึน
้ ปี ใหม่ งานมงคลสมรส งานทําบุญขึน
้ บ้านใหม่ เช่น ขอให้มีความ
สุข อายุมั่นขวัญยืน ความเจ็บอย่าได้ใกล้ ความไข้อย่าได้มีตลอดปี และตลอด
ไปเทอญ

อวยพรปี ใหม่
ในวารดิถีขน
ึ ้ ปี ใหม่ ขออวยพรให้ท่านนัน
้ สุขศรี นิราศนิทุกข์ สุขภาพ
แข็งแรงดี ทรัพย์ทวีปราศจากโรคมีโชคชัย แม้นคิดหวังสิ่งใดที่บรรเจิด ขอให้
เกิดตามที่คิดจิตแจ่มใส ทัง้ งานดี เงินดี ตลอดไป อวยพรให้สุขอย่างนีท
้ งั ้ ปี
เอย
6

ภาพ ๒.๒ การกราบคารวะขอพรผู้ใหญ่


ที่มา : สมศรี ศรีเกียรติ. ๒๕๕๑.

ประเพณีแต่งงาน เมื่อบุตรธิดา ถึงวัยอันสมควรและรักใคร่ชอบพอกัน


บิดามารดาจะจัดให้มีพิธีสู่ขอแต่งงาน เพื่อสร้างสถาบันครอบครัวที่อบอุ่น
และเป็ นหลักฐานที่มั่นคงให้กับชีวิต ฝึ กปฏิบัติตนให้เป็ นผู้มีความรู้และได้
ตอบแทนพระคุณของพ่อแม่
ประเพณีลอยกระทง ประเพณีแข่งเรือ ประเพณีแห่บงั ้ ไฟ ประเพณีแห่นาง
แมว ประเพณีทําบุญวันขึน
้ บ้านใหม่ วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา และประ
เพณีทําบุญเวียนเทียนในวันสําคัญทางพุทธศาสนา

๒.๔ ประเพณีไทยในการจารกฎหมายบ้านเมือง
ประเพณีการบวช มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บุตรชายได้ศึกษาพระธรรมวินัย
นอกจากนีย
้ ังมีประเพณีอ่ น
ื ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนและศาสนา เช่น
ประเพณีสงกรานต์ กฎหมายเป็ นเครื่องมือในการดูแลบ้านเมืองให้สงบ
7

เรียบร้อย มีความสุข ภูมิปัญญาไทย ภาษาและความคิดที่เป็ นข้อกําหนดกฎ


หมาย ที่จารึกไว้ตงั ้ แต่สมัยโบราณมาแล้ว มีทงั ้ ข้อปฏิบัติที่สืบทอดกันมาเป็ น
กฎของศีลธรรม และกฎหมายปั จจุบันที่จารึกไว้เป็ นลายลักษณ์อักษร
โดยมีรัฐธรรมนูญเป็ นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เมื่อประชาชนจะทําสิง่ ใดก็
ต้องคํานึงถึงความถูกต้องไม่ไปละเมิดสิทธิของผู้อ่ น
ื ดังคํากล่าวที่ว่า ตัวอย่าง
ข้อความในหลักศิลาจารึก พ่อขุนรามคําแหง ที่แสดงเสรีภาพของประชาชน
เช่น ตัวอย่าง เรื่องการพิจารณาคดีความเช่น
“เจ้าเมืองบ่เอาจังจอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย
ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจะใคร่ค้าวัวค้าควายค้า”
“ในปากปตูมีกระดิ่ง อันหนึ่งแขวนไว้หน
ั ้ ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมือง
มีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวถึงเจ้า ถึงขุนบ่ไร้ไปลั่นกระดิ่งอัน
ท่านแขวนไว้
...เมื่อถามสวนความแก่มัน ด้วยชื่อไพร่ในเมืองนีจ
้ ึ่งชม...”

ส่วนในสมัยอยุธยานัน
้ ถือว่าพระบรมราชโองการของกษัตริย์เป็ นกฎหมาย
สูงสุด และนับถือกันว่า พระมหากษัตริย์เป็ นสมมุติเทพ มีอํานาจเหนือผู้ใด
ใช้การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาท
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้ าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ได้กํา
หนดกฎหมายตราสามดวงขึน
้ คือ ตราราชสีห์ คชสีห์ และบัวแก้ว ครัน
้ ถึง
สมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการปฏิรูป
การปกครองครัง้ ยิ่งใหญ่ คือออกกฎหมายเลิกทาส ให้สิทธิเสรีแก่ประชาชน
8

เท่าเทียมกัน จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗


ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็ นระบอบประชาธิปไตยมาจนถึงปั จจุบันนี ้

๒.๕ ภูมิปัญญาไทยในเรื่องสดับภาษาธรรม

การสดับ คือ การฟั ง, รับฟั ง การสดับภาษาธรรม คือการรับฟั งปาฐกถาใน


วันธรรมสวนะ
ตัวอย่าง ภาษาธรรมจะพบได้ในพุทธภาษิต หนังสือธรรมะต่าง ๆ เช่น
- ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์
- ความสุขอื่น เสมอด้วยความสงบไม่มี
- ตนเป็ นทีพ
่ ึ่งแห่งตน
- ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
- คบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล
มองในแง่ดี
เขามีส่วนเลวบ้างช่างหัวเขา จงเลือกเอาส่วนดีเขามีอยู่
เป็ นประโยชน์โลกบ้างยังน่าดู ส่วนที่ชั่วอย่าไปรู้ของเขาเลย
เหมือนเที่ยวหาหนวดเต่าตายเปล่าเลย ฝึ กให้เคยมองแต่ดีมีคุณจริง

๒.๖ ภูมิปัญญาไทยในวรรณกรรมท้องถิ่น
วรรณกรรม หมายถึง การเขียน การแต่งหนังสือ บทประพันธ์ และกวีนิพนธ์
9

วรรณกรรมท้องถิ่น หมายถึง บทประพันธ์ที่เป็ นของกวีชาวบ้าน ปราชญ์ใน


ท้องถิ่นที่ถ่ายทอดภูมิรู้
ภูมิปัญญา ผ่านการบอกเล่าปากต่อปาก (มุขปาฐะ) หรือผ่านการจารึกไว้เป็ น
ลายลักษณ์อก
ั ษร เช่น
บทเพลงสําหรับเด็ก เพลงพื้นบ้าน นิทานท้องถิ่น ปริศนาคําทาย

๒.๖.๑ ภูมิปัญญาไทยในนิทานท้องถิ่น
แต่เค้าโครงเรื่องเหมือนกัน เช่น เรื่องปลาบู่ทอง, นางสิบสอง, โสนน้อยเรือน
งาม, ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่,
ตาม่องล่าย, พญากงพญาพาน, ไกรทอง เป็ นต้น นิทานเหล่านีม
้ ักให้คติสอน
ใจชีแ
้ นะให้ทําความดี
สอดแทรกความคิด คุณธรรมและความเชื่อต่าง ๆ

๒.๖.๒ ภูมิปัญญาไทยในบทเพลงสําหรับเด็ก จะหาคนมีดีเพียงส่วนเดียว


อย่ามัวเที่ยวค้นหาสหายเอย ภูมิปัญญาไทยในนิทานท้องถิ่น ซึ่งในแต่ละภาค
จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันบ้าง
บทเพลงสําหรับเด็กมี ๓ ประการ คือ
๒.๖.๒.๑ เพลงกล่อมเด็ก
๒.๖.๒.๒ เพลงร้องเล่นของเด็ก
๒.๖.๒.๓ เพลงประกอบการละเล่นของเด็ก
10

๒.๖.๒.๑ เพลงกล่อมเด็ก แสดงให้เห็นถึงความรัก ความห่วงใยที่พ่อแม่มีให้


แก่ลก
ู เสียงขับกล่อมทําให้เด็กรู้สึกอบอุ่น นุ่มนวล ชวนให้ง่วงนอน
เพลิดเพลินจากการไกวเปลของแม่ รู้สึกปลอดภัยเด็กจึงหลับสบาย เช่น
เพลงจันทร์เจ้า เพลงเจ้านกกาเหว่า
วัดเอ๋ยวัดโบสถ์ ปลูกข้าวโพดสาลี
ลูกเขยตกยาก แม่ยายก็พรากลูกสาวหนี
โอ้ข้าวโพดสาลี ป่ านฉะนีจ
้ ะโรยรา
-----------------
เจ้าเนื้อละมุนเอย เจ้าเนื้ออุ่นดังสาลี
แม่มิให้ผู้ใดต้อง เนื้อเจ้าจะหมองศรี
ทองดีเจ้าคนเดียวเอย
----------------
นอนซะหล่า หลับตาแม่ซิก่อม
เจ้าบ่นอนบ่ให้กินกล้วย แม่ไปฮ่วยหาส่อนปลาซิว
เก็บผักติว้ มาใส่แกงเห็ด ไปใส่เบ็ดเอาปลาค่อตัวใหญ่
ติ่ง...ลิ่ง...ติง...ลิ่ง...ติ่ง...ลิ่ง...ติง
---------------------------------------

๒.๖.๒.๒ เพลงร้องเล่นของเด็ก เมื่อยุคของเล่นยังไม่มากและต้องคิด


ประดิษฐ์ ทําเอง เด็ก ๆจะวิ่งเล่น ร้องเพลงและไล่จับ จึงคิดคําสัมผัสคล้อง
จองนํามาร้องเล่น เพื่อความสนุกสนาน ทัง้ เป็ นการออกกําลังกาย บางครัง้
11

เกี่ยวข้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบในการทํางาน เช่น การเลีย


้ งควาย
เด็กรู้จักสังเกตธรรมชาติที่อยู่รอบตัว พฤติกรรมของสัตว์อ่ น
ื ๆ เช่น

เพลงนกเอีย
้ ง
นกเอีย
้ งเอย มาเลีย
้ งควายเฒ่า
ควายกินข้าว นกเอีย
้ งหัวโต
หัวโตโต กิโลห้าบาท
หัวขาดขาด กิโลบาทเดียว
เพลงโยกเยกเอย
โยกเยกเอย น้ําท่วมเมฆ
กระต่ายลอยคอ หมาหางงอ
กอดคอโยกเยก
------------------------------------
๒.๖.๒.๓ เพลงประกอบการละเล่นของเด็ก เด็ก ๆ มักรวมกลุ่มกันเล่นโดย
หาวัสดุในท้องถิ่นตามพื้นบ้าน เช่นม้าก้านกล้วย หมากเก็บ มอญซ่อนผ้า แม่
งู รีรีข้าวสาร จ้ําจี ้ เพลงเล่นเหล่านีจ
้ ะปลูกฝั งความสามัคคีมีนา้ํ ใจ ช่วยให้
รู้จักการแบ่งปั น
รอคอยและความมีสมาธิ เช่น

เพลงมอญซ่อนผ้า
มอญซ่อนผ้าตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง ไว้โน่นไว้นี ้ ฉันจะตีก้นเธอ
12

เพลงจ้ําจี ้
จ้ําจีม
้ ะเขือเปราะ กระเทาะหน้าแว่น พายเรืออกแอ่น กระแท่นต้นกุ่ม
สาว ๆ หนุ่ม ๆ อาบน้ําท่าไหน อาบน้ํ าท่าวัด เอากระจกที่ไหนส่อง เอาแป้ ง
ที่ไหนผัด
เยี่ยม ๆ มอง ๆ นกขุนทองร้องวู้

เพลงแม่งู
พ่องู แม่งูเอ๋ย กินน้ําบ่อไหน
แม่งู กินน้ําบ่อโศก โยกไปก็โยกมา
พ่องู แม่งูเอ๋ย กินน้ําบ่อไหน
แม่งู กินน้ําบ่อหิน บินไปก็บินมา
พ่องู แม่งูเอ๋ย กินน้ําบ่อไหน
แม่งู กินน้ําบ่อทราย ย้ายไปก็ย้ายมา
พ่องู แม่งูเอ๋ย กินน้ําบ่อไหน กินหัวหรือกินหาง
แม่งู กินกลางตลอดตัว (แม่พาลูกงูวิ่งหนี)
(พ่องูพยายามใช้มือตีไล่จับลูกงูมาเป็ นฝ่ ายของตนเอง)
13

ภาพ ๒.๔ การละเล่นของเด็กไทยที่มา : หนังสือของเล่นเด็กไทย.

๒.๖.๓ ภูมิปัญญาไทยในปริศนาคําทาย
ให้คิด ทดสอบความรู้ ภูมิปัญญา มักใช้คําคล้องจอง มีทงั ้ ปริศนาคํา ปริศนา
ภาพ และปริศนาท่าทาง เช่น ปริศนาคําทายเป็ นวรรณกรรมท้องถิ่นที่ผูก
เรื่อง ไว้เป็ นเงื่อนไขสําหรับการเล่น
- อะไรเอ่ย ชื่ออยู่ในครัวตัวอยู่ในป่ า (กระต่ายขูดมะพร้าว)
- อะไรเอ่ย ต้นเท่าขาใบวาเดียว (ต้นกล้วย)
- อะไรเอ่ย เมื่อมีแสงชอบเดินตาม ถามเท่าไรก็ไม่พูด (เงา)
- อะไรเอ่ย เมื่อเด็กชอบห่มผ้า เติบโตมากลับเอาผ้าคลุมหัว (มะเขือ)
- อะไรเอ่ย มีหนวดรุ่มร่าม พ่นน้ํ าสีดําป้ องกันตัว มีอยู่ทั่วไปในทะเล
(ปลาหมึก)
- อะไรเอ่ย มี ก สอง ก ใช้ทอเป็ นเสื่อ (กก)
- อะไรเอ่ย แม่เฝ้ าบ้าน ลูกโปรดปรานการออกไปเที่ยว (ลูกกุญแจ)
14

๒.๗ ภูมิปัญญาไทยในวรรณศิลป์ ไพจิตร

๒.๗.๑ วรรณกรรม
ที่ได้รับการยกย่อง ว่าแต่งดี ซึ่งจะมีการคัดเลือกและยกย่องผลงานของ
กวี เพื่อรับรางวัล กวีบัวหลวง,
เป็ นการส่งเสริมให้มีนักเขียนรุ่นใหม่ ๆ และปลูกฝั งเยาวชนให้มาสนใจด้าน
การอ่านและงานประพันธ์ให้มากขึน

๒.๗.๒ วรรณศิลป์
กระทบใจผู้อ่าน เกิดอารมณ์ร่วม และคล้อยตาม ทัง้ ด้านสํานวน ภาพ
เสียง และการเล่นคํา ผู้อ่านจะได้ความประทับใจและอรรถรสด้าน
วรรณศิลป์ ของกวีนิพนธ์ เช่น

วรรณกรรม หมายถึง การแต่งคําประพันธ์ซึ่งมีทงั ้ ร้อยแก้ว และร้อยกรอง


วรรณศิลป์ หมายถึง ศิลปะในการเลือกใช้ถ้อยคําให้มีเสียงไพเราะ

๒.๗.๒.๑ ความสามารถในการเรียบเรียงถ้อยคําให้เกิดเสียงเสนาะ
- มีการเล่นคําเล่นความหมายเพื่อให้เกิดเสียงที่ไพเราะ เช่น

ไม่เมาเหล้าแล้วเรายังเมารัก สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน
15

ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป แต่เมาใจนีป
้ ระจําทุกค่ําคืน (“นิราศ
ภูเขาทอง” สุนทรภู่)

จะว่าโศกโศกอะไรที่ในโลก ไม่เท่าโศกใจหนักเพราะรักสมร
จะว่าหนักหนักอะไรดินดอน ถึงสังขรก็ไม่หนักเหมือนรักกัน (“นิราศเดือน”
นายมี)

- มีการสัมผัสเสียงพยัญชนะ และวรรณยุกต์ เช่น


เป็ นชะวากวุ้งเวิง้ ตะเพิงพัก แง่ชะงักเงื้อมชะง่อนล้วนก้อนหิน
บ้างใสสดหยดย้อยเหมือนพลอยนิล บ้างเหมือนกลิ่นพู่ร้อยห้อยเรียงราย

๒.๗.๒.๒ การใช้คําให้ผู้อ่านเห็นภาพเด่นชัด
ดูผิวซินวลละอองอ่อน มะลิซ้อนดูดําไปหมดสิน

สองเนตรงามกว่ามฤคิน นางนีเ้ ป็ นปิ่ นโลกา

๒.๗.๒.๓ การใช้คําให้เกิดภาพในจิต
กวีจะไม่กล่าวคําตรงๆ แต่จะใช้โวหารให้ผู้อ่านคิดตีความ ใช้จินตนาการให้
เกิดอรรถรส เช่น

โอ้ว่าอนิจจาความรัก เพิ่งประจักษ์ดังสายน้ํ าไหล


มีแต่จะเชี่ยวเป็ นเกลียวไป ไหนเลยจะหวนคืนมา
16

๒.๗.๒.๔ การใช้คําที่กระทบอารมณ์ซ่อนเร้นสะเทือนใจ
ลูกก็แลดูแม่แม่ดูลูก ต่างพันผูกแทบว่าเลือดตาไหล
สะอื้นร่ําอําลาด้วยอาลัย แล้วแข็งใจจากนางตามทางมา (ขุนช้างขุนแผน)

เอออุเหม่นะมึงชิช่างกระไร ทุทาสสถุลฉะนีไ้ ฉนก็มาเป็ น


ศึกบ่ถงึ และมึงก็ยังมิเห็น จะน้อยจะมากจะยากจะเย็นประการใด

๒.๗.๒.๕ แทรกคําสอนในเนื้อหา น่าติดตาม

- อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั ้ นวัวปั ้ นควายให้ลูกท่านเล่น


- อันความรู้ร้ก
ู ระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล

๒.๗.๒.๖ ปลูกจิตสํานึกที่ดีงามตามสมัย
ตามธรรมเนียมการแต่งคําประพันธ์ กวีจะมีบทไหว้ครู บทชมบ้านเมือง
ชมสวน
ชมธรรมชาติ เพื่อปลูกจิตสํานึก ความรัก เคารพ กตัญญู และการอนุรักษ์
ธรรมชาติ
นโมจะข้าไหว้ วรไตรรตนา พ่อแม่แลครูบา ทุกเทวาในราศี (สามัคคีเภทคํา
ฉันท์) (ปฐม ก.กา)
17

๒.๗.๒.๗ สะท้อนให้เห็นภาพสังคม วิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อของคนใน


สังคม

เป็ นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา


แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ (นิราศ
ภูเขาทอง)

๒.๗.๒.๘ ให้ความรู้ฝากฝี ปากไว้ในแผ่นดิน

กวีแสดงภูมิปัญญาให้ผู้อ่านติดใจ จําจํา แม้เวลาจะผ่านไปนาน


ผลงานก็ยังทรงคุณค่าอยู่มิร้ล
ู ืม ด้วยความภาคภูมิใจที่จะฝากชื่อเสียงไว้
อนึ่งของฝากปากคําทําหนังสือ ให้สืบชื่อชั่วฟ้ าสุธาสถาน
สุนทรอาลักษณ์เจ้าจักรวาล พระทรงสารศรีเสวตเกศกุญชร (นิราศพระประ
ธม สุนทรภู่)

๒.๘ ภูมิปัญญาไทยในภาษิตภาษาสื่อสาร
เปรียบเปรยให้คิด รู้จักสังเกตธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และนํามาเปรียบ
เทียบกับการกระทํา ผู้ฟังจะรู้สึกสุภาพ นุ่มนวล ไม่รุนแรง เหมือนคําบอก
กล่าวหรือตําหนิตรง ๆ ถือเป็ นกุศโลบายในการใช้ภาษาที่ลดความรุนแรง
กระทบกระทั่งกันได้ ซึ่งส่วนมากจะเป็ นสํานวน สุภาษิต คําพังเพย ที่ให้คติ
ข้อคิด และแนะทางปฏิบัติ คําสอนที่ดี เช่น
18

- ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม (พุทธภาษิต)
- ไฟในอย่านําออก ไฟนอกอย่านําเข้า (สุภาษิตพระร่วง)

๒.๘.๑ สํานวน ถือว่าไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ แต่รับใช้ไว้ เป็ นข้อความ


ที่ใช้ส่ อ
ื ความหมายได้ เช่น คนไทยมักเกรงใจ การว่ากล่าวตักเตือนจะไม่ว่า
กันตรงๆ แต่มักพูดเป็ นสํานวนโวหาร สํานวน หมายถึง กลุ่มคําที่มีความ
หมายเชิงเปรียบเทียบ สละสลวยถือว่าไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ แต่รับ
ใช้ไว้ เป็ นข้อความที่ใช้ส่ อ
ื ความหมายได้ เช่น
ตัวอย่าง สํานวน
ลูกไก่ในกํามือ หมายถึง ตกอยู่ในอํานาจ
เกลือเป็ นหนอน หมายถึง คนพวกเดียวกันคิดทรยศ
น้ําท่วมปาก หมายถึง ไม่กล้าพูดเพราะเกรงภัยจะถึงตัว
กินบนเรือนขีบ
้ นหลังคา หมายถึง ไม่ร้จ
ู ักบุญคุณ
ฝนตกไม่ทั่วฟ้ า หมายถึง ทําอะไรไม่ทั่วถึง
ตัดหางปล่อยวัด หมายถึง เลิกยุ่งเกี่ยว ไม่สนใจ
คว่ําบาตร หมายถึง ไม่ให้ความช่วยเหลือ

๒.๘.๒ คําพังเพย
คําพังเพย หมายถึง คําที่กล่าวขึน
้ ลอย ๆ กลาง ๆ มีความหมายเป็ นคติให้
ข้อคิด เช่น
19

- ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง หมายถึง คนจะสวยงามอยู่ที่การแต่ง


ตัว
- เข็นครกขึน
้ ภูเขา หมายถึง ความเพียรพยายามทําสิ่งที่ยาก
- ขวานผ่าซาก หมายถึง พูดจาตรงไม่เกรงใจใคร
คําอุปมาอุปไมย เป็ นสํานวนอย่างหนึ่ง กล่าวในทํานองเปรียบเทียบ

๒.๘.๓ คําอุปมาอุปไมย
ทําให้เกิดภาพชัดเจนเห็นจริง มีความไพเราะ สละสลวย เช่น ใจดีเหมือน
พระเวสสันดร ,
สวยราวกับนางฟ้ า ,ดําเป็ นตอตะโก , ลูกเป็ นดั่งแก้วตาดวงใจของพ่อแม่

๒.๘.๔ คําคม
คําคม คือ คําพูดที่เรียบเรียงไว้ ให้มีคติข้อคิด เช่น
- มีรักในวัยเรียน เหมือนจุดเทียนกลางสายฝน
- โกรธคือโง่ โมโหคือบ้า
- รักไม่ยุ่งมุ่งแต่เรียน

๒.๙ ภูมิปัญญาไทยในเพลงพื้นบ้าน
เพลงพื้นบ้าน หมายถึง เพลงที่ชาวบ้านแต่งและขับร้องเฉพาะถิ่น มักจะร้อง
รําในงานเทศกาลต่าง ๆ เพื่อความบันเทิง สนุกสนาน มีประจําทุกภาค เช่น
20

เพลงค่าวซอ หมอลํา กันตรึม เพลงเรือ เพลงอีแซว เพลงเกี่ยวข้าว เพลง


ตะลุง เพลงบอก

๒.๙.๑ ลักษณะเพลงพื้นบ้าน
การเล่น หรือ เครื่องประกอบจังหวะ ง่าย เช่น ฉิง่ กรับ กลอง เล่นตาม ลาน
วัด ลานบ้าน ท้องน้ํา
๒.๙.๑.๑ เรียบง่ายในการใช้ถ้อยคํา นิยมคําไทยแท้ ฟั งแล้วเข้าใจทันที การ
ร้อง
๒.๙.๑.๒ เน้นความสนุกสนาน รื่นเริงเป็ นหลัก
๒.๙.๑.๓ เพลงพื้นบ้านแต่ละชนิดมีรูปแบบ เนื้อหา การเรียบเรียงคล้ายกัน
มีบทร้องเล่น ไหว้ครู บทเชิงชู้ บทพูดรัก บทจากลา เพลงสงฟาง เพลง
กลองยาว

มาแล้วโหวย มาแล้ววา
มาแต่ของเขา ของเราไม่มา ตะละล้า
ใครมีมะกรูด มาแลกมะนาว
ใครมีลูกสาว มาแลกลูกเขย
เอาวะเอาเหวย ลูกเขยกลองยาว (ฮา)

ชาย : มาเถิดหนาแม่มา อย่าให้เสียเวลา มาช่วยกันสงฟางเอย


หญิง : มาเถิดมาพ่อมา อย่าให้เสียเวลา มาช่วยกันสงฟางเอย
21

(นายหยดสาระธรรม)

๒.๑๐ ภูมิปัญญาไทยในการใช้คําราชาศัพท์
คําราชาศัพท์ หมายถึง คําเฉพาะที่ใช้สําหรับพระเจ้าแผ่นดิน และเจ้านาย
ปั จจุบันหมายรวมไปถึงคําที่ใช้กับพระภิกษุ และสุภาพชนทั่วไป

๒.๑๐.๑ ความเป็ นมาของราชาศัพท์ เพราะก่อนกรุงสุโขทัยเป็ นราชธานีไม่


สามารถหาหลักฐานได้ แม้ในศิลาจารึกพ่อขุนราคําแหงก็ไม่ปรากฏว่ามีคํา
ราชาศัพท์อยู่เลย แต่ในหลักศิลาจารึกหลักที่ ๒ (จารึกวัดศรีชุม) ซึง่ จารึกใน
สมัยพระยาลิไทปรากฏว่ามีคําราชาศัพท์ เช่น พระสหาย สมเด็จ ทรงพระ
กุมาร แสดงว่าสมัยนัน
้ มีการใช้ราชาศัพท์กันแล้ว
สมัยกรุงศรีอยุธยามีการใช้ราชาศัพท์ เช่น ในสมัย สมเด็จพระเจ้า
อู่ทองปรากฏหลักฐานในกฎหมายตราสามดวง แต่ยังไม่ประกาศใช้เป็ น
ทางการ จนกระทั่งสมัยสมเด็กพระบรมไตรโลกนาถทรงตัง้ กฎมณเทียรบาล
จึงมีการประกาศใช้ราชาศัพท์เป็ นลายลักษณ์อักษรครัง้ แรก การใช้
ราชาศัพท์เริ่มมีมาแต่สมัยใดเป็ นปั ญหาที่ตอบได้ยาก พระราชหัตถเลขา
พระราชอิสริยยศ พระราชสมัญญา พระสารีริกธาตุ พระบรมวงศานุวงศ์
พระโกศ พระศาสดา พระฉายาลักษณ์ พระบรมศพ บรรทม พระราชดําริ
ทรงพระเจริญ เสวย ประทับ ประพาส ทอดพระเนตร
ทรงถือ ทรงกีฬา ทรงวาง
22

๒.๑๐.๒ ที่มาของคําราชาศัพท์
๒.๑๐.๒.๑ คําราชาศัพท์ที่มาจากภาษาบาลี เช่น โอรส นัดดา อัยกา
๒.๑๐.๒.๒ คําราชาศัพท์ที่มาจากภาษาสันสกฤต เช่น พงศาวดาร
๒.๑๐.๒.๓ คําราชาศัพท์ที่มาจากภาษาเขมร เช่น ตรัส เสด็จพระราชดําเนิน
๒.๑๐.๒.๔ คําไทยแท้ที่เป็ นราชาศัพท์ เช่น
- เติมคําว่า ทรงหน้าคําไทยแท้ เช่น ทรงมีไข้ ทรงมีเงิน ทรงมีเหตุผล ทรงวิ่ง
- เติมคําว่า หลวงท้ายคํา เช่น ลูกหลวง เรือหลวง ข้าหลวง เขื่อนหลวง
- เติมคําว่า พระข้างหน้าคํา เช่น พระอู่ พระเก้าอี ้ พระที่ พระแท่น
- เติมคําว่า ต้นท้ายคํา เช่น ข้างต้น ม้าต้น เรือนต้น
- เติมคําว่า พระที่นั่งท้ายคํา เช่น เรือพระที่นั่ง รถยนต์พระที่นั่ง รถไฟ
พระที่นั่ง
๒.๑๐.๓ วิธีใช้ราชาศัพท์ที่ควรสังเกต
๒.๑๐.๓.๑ การใช้คําว่า “ทรง” มีหลักที่สําคัญ ๓ ประการ คือ
ใช้ “ทรง” นําหน้าคํากริยาสามัญบางคํา ทําให้เป็ นกริยาราชาศัพท์ได้ เช่น
ทรงเล่น ทรงใช้
ใช้ “ทรง” นําหน้าคํานามสามัญบางคํา ทําให้เป็ นกริยาราชาศัพท์ได้ เช่น
ทรงดนตรี ทรงช้าง
ใช้ “ทรง” นําหน้าคํานามราชาศัพท์ ทําให้เป็ นกริยาราชาศัพท์ได้ เช่น ทรง
พระอักษร ทรงพระราชนิพนธ์
ทรงพระดําเนิน
23

การใช้คํา “พระบรม” ใช้เฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเท่านัน


้ เช่น
พระบรมราโชวาท
คํา “พระราช” ใช้ได้กับพระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
และอุปราช เช่น
พระราชหัตถเลขา พระราชโทรเลข คํา “พระ” ใช้นําหน้าคําที่เรียกอวัยวะ
เครื่องใช้ หรือนําหน้าคํานามสามัญบางคําที่ไม่มีคําราชาศัพท์ ใช้ เช่น
พระหัตถ์ พระกร พระบาท
๒.๑๐.๓.๒ การใช้คํา “พระบรม” “พระราช” “พระ”
๒.๑๐.๓.๓ การใช้คําราชาศัพท์ในคําขึน
้ ต้นและคําลงท้าย ถ้าเป็ นคํากราบ
บังคมทูล ธรรมดาก็ไม่ต้องใช้คําขึน
้ ต้นและคําลงท้าย เช่น ถ้ามีกระแสพระรา
ชดํารัสถามว่า “ชื่ออะไร” จะกราบทูลได้ดังนี ้ “ข้าพระพุทธเจ้าชื่อ วิภา วิริ
ยานนท์ พระพุทธเจ้าข้า” เช่น คําว่า “เฝ้ าฯ รับเสด็จ” ไม่ใช้ว่า ถวายการ
ต้อนรับ
๒.๑๐.๓.๔ การใช้คําราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามสํานวนไทย
“มีความจงรักภักดี” ไม่ใช้ว่า ถวายความจงรักภักดี
๒.๑๐.๓.๕ การใช้คําราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามเหตุผล เช่น แขกที่มาเยือนเป็ น
แขกของพระมหากษัตริย์ “ราช” นําหน้า เป็ น “ราชอาคันตุกะ” หรือ “พระ
ราชอาคันตุกะ” ในการถวายของเล็กใช้ว่า “ทูลเกล้าฯ ถวาย” ในการถวาย
ของใหญ่ ใช้ว่า “น้อมเกล้าฯ ถวาย” คําราชาศัพท์ เป็ นสิ่งที่มีระเบียบ
แบบแผนแน่นอน ผู้ใช้จะใช้ได้ถูกต้องก็ต่อเมื่อมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนัน

โดยถ่องแท้และจะต้องเอาใจใส่ ระมัดระวังเป็ นอย่างยิ่ง อย่าใช้คําราชาศัพท์
24

โดยไม่แน่ใจเป็ นอันขาด จากหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่นักเรียนเคยศึกษามาแล้วใน


ภาคหลักภาษาจะช่วยให้เราเกิดความมั่นใจและใช้คําราชาศัพท์ได้ถูกต้อง
และคล่องแคล่วยิ่งขึน

๒.๑๐.๔ ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษา เรื่องคําสุภาพและคําราชาศัพท์
๒.๑๐.๔.๑ ทําให้สามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับชัน

ของบุคคล
๒.๑๐.๔.๒ ทําให้สามารถอ่านและฟั งข้อความที่ใช้ราชาศัพท์ได้เข้าใจและถูก
ต้อง
๒.๑๐.๔.๓ เป็ นเครื่องฝึ กอบรมจิตใจ ผู้ใช้และผู้ศึกษา ให้เป็ นคนประณีตใน
การ ใช้ภาษาและเป็ นผลให้เป็ นคนมีนส
ิ ัยรักสวยรักงามมีความสุขุมรอบคอบ
๒.๑๐.๔.๔ ทําให้คนไทยรู้สึกภูมิใจว่า การที่เรามีราชาศัพท์ใช้นน
ั ้ เป็ นเครื่อง
แสดงถึงภูมิธรรมอันสูงส่งของบรรพบุรุษของเราที่มีความเคารพนอบน้อมต่อ
กัน ระหว่างผู้ที่ต่างวุฒิกัน ไม่ตีตนเสมอกัน เป็ นเครื่องเชิดชูเกียรติของคน
ไทย การมีราชาศัพท์ในภาษานัน
้ อุปมาเหมือนมีเครื่องลายครามไว้ในบ้านแม้
จะมีโอกาสใช้ในชีวิตประจําวันน้อย
้ มีกําพืดเป็ นผู้มีศักดิเ์ ป็ นเครื่องยึดเห
แต่เป็ นเครื่องบ่งบอกว่า เจ้าของบ้านนัน
นี่ยวน้ําใจให้ภาคภูมิใจในเกียรติของตน
ไม่คิดหรือทําในสิ่งที่ไม่ดีงามได้ง่าย ๆ นับว่าเป็ นผู้มีทักษะทางภาษาและได้
ชื่อว่า “เป็ นผู้ร้ภ
ู าษาไทยดี” การที่ภาษาไทยมีราชาศัพท์และคําสุภาพใช้มาก
พอ ย่อมแสดงว่าคนไทยมีนิสัยรักสวยรักงาม มีความประณีตในการใช้ภาษา
ประณีตตลอดไปจนถึงความคิดและอารมณ์ เหตุนค
ี ้ นไทยจึงควรตระหนักถึง
25

คุณค่าของราชาศัพท์ และควรศึกษารักษาไว้เพื่อจะได้เป็ นเครื่องเชิดชู


เกียรติของคนไทยและชาติไทย
๒.๑๐.๔.๕ การศึกษาคําราชาศัพท์นน
ั ้ ทําให้ผู้นน
ั ้ รู้วงศัพท์กว้างขวางลึกซึง้
ส่วนในล้านนานัน
้ ได้มีภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การประดิษฐ์ อักษรธรรม
ล้านนา
26

อักษรธรรมล้านนา
อักษรธรรมล้านนา

ปี ที่ขน
ึ ้ ทะเบียนยังไม่ได้ขน
ึ ้ ทะเบียนภูมิภาคภาคเหนือจังหวัดน่าน | พะเยา |
ลำปาง | ลำพูน | เชียงราย | เชียงใหม่ | แพร่ | แม่ฮ่องสอน

สาระสำคัญโดยรวม

ภาษาล้านนาเป็ นภาษาถิ่นที่มีเอกลักษณ์ทงั ้ ภาษาพูดและภาษาเขียน


คนท้องถิ่น เรียกว่า ตั๋วเมือง เพราะเป็ นภาษาของคนพื้นเมือง เป็ นภาษาที่
ใช้กันอย่างแพร่หลายในอดีตโดยเฉพาะกลุ่มพระสงฆ์ ในล้านนานิยมใช้ใน
การเขียนคัมภีร์หรือธรรม ที่ใช้เทศนาสั่งสอนญาติโยม โดยเขียนร้อยเรียง
เป็ นผูกๆ เป็ นเรื่องราว ตั๋วเมืองจึงเรียกอีกอย่างว่า ตัวธรรม นอกจากนีย
้ ังใช้
ในการจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ทัง้ ตำรายาเวทย์มนต์คาถา องค์ความรู้ต่างๆ
ในอดีตมักจดบันทึกด้วยภาษาล้านนา ดังนัน
้ ภาษาล้านนาจึงเป็ นภาษาที่
สำคัญที่จะนำไปสู่การปริวรรตติองค์ความรู้ต่างๆ ของชาวล้านนาออกจาก
ตำราและคัมภีร์ต่างๆ

ความสำคัญ/หลักการเหตุผล
27

ภาษาล้านนาเป็ นภาษาถิ่นที่มีเอกลักษณ์ทงั ้ ภาษาพูดและภาษาเขียน


คนท้องถิ่น เรียกว่า ตั๋วเมือง เพราะเป็ นภาษาของคนพื้นเมือง เป็ นภาษาที่ใช้
กันอย่างแพร่หลายในอดีตโดยเฉพาะกลุ่มพระสงฆ์ ในล้านนานิยมใช้ในการ
เขียนคัมภีร์หรือธรรม ที่ใช้เทศนาสั่งสอนญาติโยม โดยเขียนร้อยเรียงเป็ น
ผูกๆ เป็ นเรื่องราว ตั๋วเมืองจึงเรียกอีกอย่างว่า ตัวธรรม นอกจากนีย
้ ังใช้ใน
การจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ทัง้ ตำรายาเวทย์มนต์คาถา องค์ความรู้ต่างๆ ใน
อดีตมักจดบันทึกด้วยภาษาล้านนา ดังนัน
้ ภาษาล้านนาจึงเป็ นภาษาที่สำคัญ
ที่จะนำไปสู่การปริวรรตติองค์ความรู้ต่างๆ ของชาวล้านนาออกจากตำรา
และคัมภีร์ต่างๆ

ประวัติความเป็ นมา

ภาษาล้านนา หรือ ตั๋วเมือง แต่เดิมใช้เป็ นภาษาสื่ออสารของชาวล้าน


นา ใช้เป็ นภาษาที่เขียน ในหนังสือทางราชการของอาณาจักรล้านนาในช่วง
ประมาณ ๗๐๐ ปี ที่ผ่านมา ดังที่ปรากฏในหลักฐานต่างๆ ทัง้ ศิลาจารึก ปั๊ บ
สา และคัมภีร์ใบลานต่างๆ

ภาษาล้านนา หรือ ตั๋วเมือง สันนิษฐานว่า มีต้นกำเนิดมาจากอักษร


มอญ ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ผู้เชี่ยวชาญอักษรไทยโบราณ ได้เขียนไว้
ในหนังสือชื่อ “ตำนานอักษรไทย” ว่า อักษรล้านนามาจากอักษรมอญ ข้อ
เสนอนี ้ เป็ นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เพราะอักษรมอญเป็ นต้นแบบของอักษร
ในภูมิภาคนี ้ เช่น อักษรพม่า อักษรไทใหญ่ อักษรไทอาหม อักษรไทลื้อ
อักษรไทเขิน และอักษรไทอีสาน แต่ว่าอักษรมอญไม่มีรูปและเสียง
วรรณยุกต์ ดังนัน
้ เมื่อชาวล้านนานำมาใช้ จึงไม่มีรูปวรรณยุกต์ตามภาษา
28

มอญ ทัง้ ๆ ที่ภาษาล้านนามีเสียงวรรณยุกต์ แต่ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่


๒๑ ได้ปรับปรุงให้มีรูปวรรณยุกต์ใช้ แต่กไ็ ม่ได้เคร่งครัดกับการใช้รูป
วรรณยุกต์ เวลาอ่าน ผู้อ่านต้องเพิ่มเติมเอาเองจึงจะได้ความ ตัวอย่างเช่นที่
พบใน จารึกลานทองสมเด็จพระมหาเถรจุฑามุณิ สุโขทัย พ.ศ.1918

จากการศึกษาอักษรที่ใช้ในจารึก เอกสารประเภทจารึกที่พบในประเทศไทย
มีรูปแบบอักษรต่างๆ ตามอิทธิพลวัฒนธรรม ที่หลัง่ ไหลเข้ามาสู่ดินแดน
บริเวณแถบนีใ้ นอดีต หรือที่เรียกว่า ดินแดนของประเทศไทย ในปั จจุบันเมื่อ
แบ่งเป็ นกลุ่มประเภทอักษรตามอายุสมัยได้หลายยุคสมัย ที่สำคัญๆ คือ

๑. อักษรปั ลลวะ

๒. อักษรหลังปั ลลวะ (ปั ลลวะที่เปลี่ยนรูป)

๓. อักษรมอญโบราณ

๔. อักษรขอมโบราณ

๕. อักษรขอม

๖. อักษรมอญ

๗. อักษรไทยสุโขทัย

๘. อักษรธรรมล้านนา

๙. อักษรไทยล้านนา

๑๐. อักษรไทยอยุธยา
29

๑๑. อักษรธรรมอีสาน

๑๒. อักษรไทยอีสาน

๑๓. อักษรไทยใหญ๋

๑๔. อักษรไทยย่อ

๑๕. อักษรขอมย่อ เป็ นต้น

ส่วนอักษรจารึกที่พบในประเทศไทย เฉพาะที่สำคัญซึง่ มีอายุเก่าแก่ตามยุค


สมัยที่พัฒนามาโดยลำดับ คือ

๑. อักษรปั ลลวะ จากจารึกบ้านวังไผ่ เพชรบูรณ์ สันนิษฐานว่า พ.ศ.๑๐๙๓


อักษรปั ลลวะ จากจารึกปราสาทเขาน้อย ปราจีนบุรี พ.ศ.๑๑๘๐

๒. อักษรหลังปั ลลวะ จากจารึกเนินสระบัว ปราจีนบุรี พ.ศ.๑๓๐๔

๓. อักษรมอญโบราณ จากจารึกเสาแปดเหลี่ยม ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่


๑๔

๔. อักษรขอมโบราณ จากจารึกปราสาทตาเมืองธม พ.ศ.๑๔๒๑

๕. อักษรไทยสุโขทัย จากจารึกพ่อขุนรามคาแหง พ.ศ.๑๘๓๕

๖. อักษรไทยสมัยอยุธยา จากจารึกแผ่นดินดีบุก พ.ศ.๑๙๑๗

๗. อักษรธรรมล้านนา จากจารึกลานทองคำ พ.ศ.๑๙๑๙

๘. อักษรไทยล้านนา จากจารึกลำพูน ๙ พ.ศ.๑๙๕๔


30

๙. อักษรไทยอีสาน จากจารึกหนองคาย ๑ พ.ศ.๒๐๑๕

หลักฐานอักษรล้านนาที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในปั จจุบัน คือ จารึกลานทองพบที่


สุโขทัย จารึกได้ระบุศักราชตรงกับ พ.ศ.๑๙๑๙ ข้อความจารึกมี ๔ บรรทัด
๓ บรรทัดแรกเป็ นอักษรไทยสุโขทัย บรรทัดที่ ๔ เป็ นอักษรล้านนา ซึ่งเขียน
เป็ นภาษาบาลี ดังนัน
้ จึงสันนิษฐานว่าอักษรล้านนาน่าจะเกิดก่อน พ.ศ.
๑๙๑๙ หลายสิบปี และเผยแพร่เข้าสู่สุโขทัย

อักษรล้านนาใช้เขียนคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเป็ นหลัก ดังนัน


้ ชาวล้านนา
จึงเรียกว่า อักษรธรรม ตั๋วธรรม หรือตั๋วหนังสือวัด และถือว่าเป็ นอักษรที่
ศักดิส์ ิทธิ ์ แต่ต่อมาได้ใช้อักษรล้านนาเขียนเรื่องราวอื่นๆ ด้วย เช่น ตำรายา
โหราศาสตร์ และประวัติศาสตร์ เป็ นต้น

การกระจายตัว

ภาษาล้านนาเป็ นภาษาถิ่นที่กลุ่มคนในภาคเหนือตอนบน หรือเรียกอีกอย่าง


หนึ่งว่ากลุ่ม ชาวล้านนา อันประกอบด้วย ๘ จังหวัดภาคเหนือ คือ เชียงราย
พะเยา แพร่ น่าน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน ปั จจุบันยังคงใช้
ภาษาพูดเป็ นภาษาสื่อสารในกลุ่มของคนพื้นเมืองทัง้ ๘ จังหวัด แต่ภาษา
เขียนเริ่มที่จะหายไปจากสังคมคนเมือง จะมีเพียงกลุ่มคนที่ให้ความสนใจ
เรียนเท่านัน
้ ที่สามารถอ่านออกเขียนได้ เช่น กลุ่มพระภิกษุสงฆ์สามเณร ผู้ที่
เคยบวชเรียนในช่วงประมาณ ๔๐ – ๕๐ ปี ที่ผ่านมา และกลุ่มนักเรียน
นักศึกษาบ้างกลุ่มที่สนใจเท่านัน
้ ที่ยังพอจะอ่านออกเขียนได้
31

แต่นอกจากในภาคเหนือตอนบนแล้วยังมีกลุ่มคนในบางจังหวัดที่ถูก
กวาดต้อนไปใน ช่วงสงคราม เช่น กลุ่มคนเมืองใน จังหวัดนครปฐม จังหวัด
ราชบุรี และกาญจนบุรี บางแห่งยังคงใช้ส่ อ
ื สารอยู่ ส่วนในต่างประเทศ
ปรากฏว่ามีการใช้ภาษาล้านนาหรืออักษรธรรมล้านนาอยู่บ้างในภูมิภาคนี ้
เช่น เมืองสิบสองปั นนา ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน และในเมืองหลวง
พระบาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึง่ ในอดีตมีความ
เชื่อมโยงกับทางล้านนาอยู่ถ้าหากศึกษาในแง่ของประวัติศาสตร์ก็จะเห็นถึง
ความสัมพันธ์กันในฐานะที่ล้านนาเป็ นศูนย์กลางทางการปกครอง

วัดศรีโคมคำ (พระอารามหลวง) ตำบลเวียง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัด


พะเยา ในฐานะที่เป็ น วัดเก่าแก่เป็ นสถานที่ประดิษฐานของพระเจ้าตนหลวง
ซึ่งเป็ นพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยา จากหลักฐานที่ปรากฏในหลักศิลาจารึก
ระบุไว้ว่าสร้างมาตัง้ แต่ปี พ.ศ.๒๐๓๔ ปั จจุบันวัดศรีโคมคำได้เป็ นแหล่งเก็บ
รวบรวมทัง้ เอกสาร และหลักฐานทางโบราณวัตถุ ต่างๆ ของเมืองพะเยาและ
ของชาวล้านนา เช่น หลักศิลาจารึก คัมภีร์ใบลาน และปั๊ บสา ซึ่งเป็ นหลัก
ฐานที่แสดงทัง้ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และเป็ นหลักฐานทางด้านการใช้
ภาษาที่จารึกลงในหลักศิลา ซึง่ มีอายุเก่าแก่หลายร้อยปี ดังนัน
้ จึงกลายเป็ น
แหล่งศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางโบราณคดี และเป็ นแหล่งเรียนรู้ทางด้านภาษา
ล้านนาของเด็กเยาวชน นิสิตนักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจศึกษา

ชื่อที่ปรากฎในท้องถิ่น

ตั๋วเมือง
32

สาขา/ประเภท

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา

ลักษณะเด่นของแต่ละสำนวน

ภาษาล้านนา มีลักษณะที่โดดเด่นเป็ นเอกลักษณ์ที่แสดงออกถึงความเป็ น


มรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมในด้านต่างๆ ดังนี ้

6.1 รูปแบบอักษร ความเป็ นเอกลักษณ์ในรูปของอักษรต่างๆ ที่สามารถ


เขียนได้ทงั ้ เต็มรูป และลดรูป หรือแม้แต่ใช้สัญลักษณ์แทน ซึ่งผู้ที่มีความ
ชำนาญด้านภาษาล้านนามักจะมีรูปแบบการเขียนอักษรล้านนาที่เป็ น
เอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง ในอดีตอักขระภาษาล้านนา แบ่งเป็ น สระ และ
พยัญชนะ คล้ายกับภาษาบาลี โดยพยัญชนะ มีทงั ้ วรรค และเศษวรรค
เหมือนภาษาบาลี แต่ปัจจุบันมีการประยุกต์เทียบกับภาษาไทยกลาง จึง
ทำให้มีพยัญชนะเพิ่มขึน
้ ส่วนสระ มีทงั ้ สระลอย ๘ ตัง้ ที่สามารถออกเสียง
เองได้ และสระอาศัยที่ต้องอาศัยพยัญชนะจึงออกเสียงได้

อักษรไทยที่ปรากฏเป็ นการถ่ายอักษรเท่านัน
้ เสียงจริงของอักษรแสดงไว้ใน
สัทอักษรสากลซึ่งอาจจะออกเสียงต่างไปจากอักษรไทย

6.2 ภาษาพูด หรือ การอ่านออกเสียง ภาษาล้านนาก็มีเอกลักษณ์ที่แตกต่าง


กันออกไปจากท้องถิ่นอื่นๆ ซึ่งถือได้ว่าเป็ นความงดงามด้านภาษา สำเนียง
การพูดของชาว เชียงใหม่ ลำพูน และลำปางบางส่วน มีสำเนียงคล้ายกัน คือ
พูดช้าๆ ลากเสียง ส่วน เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ และแม่ฮ่องสอนบาง
ส่วน มีสำเนียงคล้ายกัน คือ พูดออกเสียงสัน
้ ๆ
33

6.3 การผสมอักษร ภาษาล้านนามีรูปแบบการผสมคำที่เป็ นเอกลักษณ์


เฉพาะ ที่ต้องอาศัย ความเชียวชาญและการสังเกต เพราะบางครัง้ ผู้เขียนๆ
เพียงสัน
้ ๆ แต่ใช้การซ้อนสระและพยัญชนะไว้ในตัวเดียวกันกับสามารถอ่าน
ได้ยาว หรือบางครัง้ สามารถผสมกับอักษรที่อยู่ถัดไปได้ เรียกว่าตั๋วข่ม ตั๋ว
ไหล ดังนัน
้ ผู้ที่จะสามารถอ่านภาษาล้านนาได้ต้องอาศัยการสังเกตและ
อาศัยความชำนาญพอสมควรจึงจะสามารถอ่านได้ถูกต้อง และสื่อความ
หมายได้ตรงตามที่ผู้เขียนต้องการ บางครัง้ ในการเขียนเอกสารสำคัญที่ไม่
ต้องการให้ผู้อ่ น
ื รู้ความหมาย ผูเ้ ขียนก็จะใช้การใส่รหัสที่ร้เู ฉพาะตน หรือ
กลุ่มของตนเท่านัน
้ จึงจะสามารถเข้าใจความหมายได้ โดยเฉพาะตำรายา
และตำรายันต์ต่างๆ

ความสัมพันธ์และบทบาทในวิถีชีวิต

บทบาทของชุมชนในปั จจุบันโดยเฉพาะวัดวาอารามต่างๆ มีบทบาทเป็ นผู้


เก็บรักษาไว้มากกว่า โดยจัดทำเป็ นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบ้าง จัดเก็บไว้ในตู้บ้าง
แต่ยังขาดการศึกษาภาษาล้านนาอย่างจริงจัง จึงทำให้ภาษาล้านนาค่อยๆ
หายไปจากชุมชน

ดังนัน
้ วัดในฐานะที่เป็ นศูนย์กลางของชุมชน เป็ นที่พึ่งของชุมชนมาตัง้ แต่ใน
อดีต และเป็ นที่ เก็บรวบรวมเอกสารหลักฐานที่สำคัญๆ ของชุมชน ควรให้
ความสำคัญและแสดงบทบาททัง้ ด้านการอนุรักษ์และถ่ายทอดองค์ความรู้
ด้านภาษาล้านนาสู่เด็กเยาวชน และชุมชนที่อยู่รอบๆ วัดให้เกิดการรักและ
ห่วงแหนมรดก ภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง เพื่อให้เกิดการศึกษาค้นคว้า
สืบไป
34

คุณค่า

ภาษาล้านนาเป็ นภาษาท้องถิ่นของชาวล้านนาที่สืบทอดติดต่อกันมาหลาย
ร้อยปี ดังนัน
้ มรดก ภูมิปัญญาต่างๆ ของชาวล้านนาจึงถูกบันทึกไว้ด้วย
ภาษาล้านนา ซึ่งยังคงหลงเหลือและตกทอดมาถึงในยุคปั จจุบันที่ยังคงรอ
คอยการอ่าน การปริวรรตออกสู่ภาษาปั จจุบัน โดยเฉพาะองค์ความรู้ด้าน
ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ วิถีชีวิต และตำรายาต่างๆ ซึ่ง
ล้วนแต่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม

ในอดีตชาวล้านนามักจะจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้ในปั๊ บสา หรือจารไว้ใน


ใบลาน ด้วยภาษาล้านนา เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวและองค์ความรู้เอาไว้ ดัง
ปรากฏให้เห็นอยู่ตามวัดต่างๆ ในล้านนา ซึง่ ส่วนใหญ่ จะเก็บไว้ในหีบ หรือตู้
พระธรรม หลายฉบับได้เขียนบันทึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึน
้ ในล้านนา เช่น
บันทึกของ ครูบาศรีวิราช วชิรปั ญญา เจ้าคณะแขวงเมืองพะเยาในอดีต ที่
จดบันทึกเรื่องราวที่เกิดขึน
้ ในเมืองพะเยาในแต่ละวันเมื่อร้อยกว่ามีที่ผ่านมา
ว่ามีอะไรเกิดขึน
้ บาง ซึ่งกลายเป็ นเอกสารสำคัญที่จดบันทึกเหตุการณ์
สำคัญๆ เช่น เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมืองพะเยา เหตุการณ์เงีย
้ วก่อการ
จลาจลในมณฑลพายัพ และเรื่องราวการเดินทางมาบูรณปฏิสังขรณ์พระ
วิหารหลวงวัดศรีโคมคำ ของครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ซึ่งเรื่องราว
ต่างๆ ที่กล่าวมาล้วนถูกบันทึกด้วยภาษาล้านนา

ดังนัน
้ ภาษาล้านนาจึงเป็ นภาษาที่มีคุณค่าอย่างยิ่งของชาวล้านนา ที่บันทึก
เรื่องราวต่างๆ เอาไว้ ซึ่งเรื่องราวต่างๆ ล้วนเป็ นสิ่งที่มีคณ
ุ ค่าทางมรดก
ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมทัง้ สิน

35

การถ่ายทอดและการสืบทอด

- โรงเรียนพระปริยัติธรรมสามัญ ในจังหวัดพะเยา ได้มีการจัดให้มีการเรียน


การสอนอักษรธรรมล้านนาแก่สามเณร เพื่อส่งเสริมให้สามารถอ่านออก
เขียนได้

- หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ ได้จัดให้มีการเรียนการสอนอักษรธรรม


ล้านนาแก่เด็กนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๕ ในช่วงบ่ายของวันศุกร์ เพื่อให้
เด็กนักเรียนได้ซึมซับวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเอง

- โรงเรียนพญาลอวิทยาคม อำเภอจุน ได้ส่งเสริมให้มีการเรียนการสอน


อักษรธรรมล้านนาในโรงเรียน โดยมีครูอ้วน ขันทะวงศ์ ซึ่งเคยบวชเรียนและ
มีความเชียวชาญภาษาล้านนาเป็ นผู้สอน

สภาพปั จจุบัน

1. สถานการณ์คงอยู่ของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

- เสี่ยงต่อการสูญหายต้องได้รับการส่งเสริมและรักษาอย่างเร่งด่วน

2. สถานภาพปั จจุบันของการถ่ายทอดความรู้และปั จจัยคุกคาม

- การถ่ายทอดความรู้ยังไม่เป็ นระบบ การขยายตัวของวัฒนธรรมต่างถิ่น


ทำให้เด็กเยาวชนไม่ค่อยให้ความสนใจวัฒนธรรมของตนเอง

3. รายชื่อผู้สืบทอดหลัก

- พระครูปลัดสุวัฒนจริยคุณ,ดร. ประธานเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นล้าน
นา, ประธาน ที่ปรึกษาชมรมศาสตร์ล้านนา
36

แนวทางการส่งเสริม

๑.โครงการ กิจกรรมที่มีการดำเนินงานของรายการมรดกภูมิปัญญาทาง
วัฒนธรรม

๑.๑ การศึกษาวิจัย

ปั จจุบันคณาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ในภาคเหนือได้ให้ความสนใจ
และเสนอขอทุนวิจัย เพื่อทำการศึกษาและถอดองค์ความรู้จากคัมภีร์ต่างๆ
อย่างต่อเนื่อง โดยในปี งบประมาณ ๒๕๖๐ ทางมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกร
ณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ เพื่อให้ทำการศึกษาวิจัยปริวรรตคัมภีร์ตำนานฟื้ น
เมืองพะเยา ชื่อโครงการวิจัย : การปริวรรตและ วิเคราะห์รูปแบบการ
ปกครองบ้านเมืองจากคัมภีร์ตำนานเมืองพะเยา ฉบับวัดศรีโคมคำ (The
transliteration and analysis principles of Phayao legend) โดยมี
วัตถุประสงค์ เพื่อปริวรรตและวิเคราะห์รูปแบบและหลักการปกครองบ้าน
เมืองที่ปรากฏในคัมภีร์ตำนานเมืองพะเยา, เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธ
ธรรมด้านการปกครองบ้านเมืองที่ปรากฏในคัมภีร์ตำนานเมืองพะเยา, และ
เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบและหลักการปกครองบ้านเมืองเชิงบูรณาการ

๑.๒การอนุรักษ์ ฟื้ นฟู

ปั จจุบันมีการเก็บรักษาเอกสาร คัมภีร์ใบลาน และปั๊ บสาต่างๆ ของวัดไว้ในตู้


พระธรรม หลายวัดมีหน่วยงานของสถาบันการศึกษาเข้ามาช่วยในการ
อนุรักษ์ จัดเก็บรวบรวมไว้เป็ นหมวดหมู่ เช่น วัดศรีโคมคำ วัดลี และ
37

วัดหลวงราชสัณฐาน เป็ นต้น ซึ่งลักษณะดังกล่าวเป็ นเพียงการเก็บอนุรักษ์


เท่านัน
้ แต่ยังขาดการฟื้ นฟู ดังนัน
้ เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์สืบทอดไปสู่ร่น
ุ ต่อ
ไป ความมีการจัดทำโครงการฟื้ นฟู โดยจัดให้มีการฝึ กอบรมวิธีการจารคัมภีร์
ขึน
้ มาใหม่ เริ่มตัง้ แต่ขบวนการขึน
้ ตอนการเลือกใช้ใบลาน การต้มใบลาน
การตาก การจาร จนนำไปสู่การประกอบพิธีถวายและให้พระสงฆ์อ่าน โดย
การจารก็ให้คัดลอกมาจากฉบับเก่าที่มีอยู่ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะทำให้
เด็กเยาวชนและประชาชนได้เห็นกระบวนการทัง้ หมดตัง้ แต่การเริ่มทำและ
การนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งก็เป็ นการอนุรักษ์และฟื้ นฟูประเพณีตานธรรมของ
ชาวล้านนาที่มีมาตัง้ แต่ในอดีต นอกจากจะเป็ นการอนุรักษ์ประเพณีดงั ้ เดิม
แล้วยังได้คัมภีร์ฉบับใหม่ซึ่งจะทำให้มีความคงทนสืบทอดต่อไปยังรุ่นหลังอีก
ด้วย

๑.๓ การสืบสานและการถ่ายทอด

ปั จจุบันการเรียนการสอนภาษาล้านนาพบเห็นน้อยมาก มีเพียงไม่กี่แห่งที่ยัง
เปิ ดสอนอยู่ การเรียนการสอนมีลักษณะเพียงแค่สอนเสริม หรือสอนแก่ผู้ที่
สนใจเฉพาะเท่านัน
้ ไม่มีหลักสูตรจริงจัง ดังนัน
้ ควรมีการทำเป็ นหลักสูตรที่มี
มาตรฐาน และมีการวัดผลการเรียนการสอนได้ เพื่อใช้ในการสอนแก่เด็ก
เยาวชน และผู้ที่สนใจ โดยในปั จจุบันทางหอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ
ร่วมกับทางโรงเรียน เทศบาล ๕ ได้จัดให้มีการเรียนการสอนแก่เด็กนักเรียน
ระดับชัน
้ ประถมศึกษาปี ที่ ๕ และปี ที่ ๖ ณ หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคม
คำ ทุกวันศุกร์ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาล้านนา สามารถอ่านออกเขียนได้
ถูกต้อง นอกจากนีย
้ ังได้มีการบรรยายให้กับนักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษา
38

เช่น มหาวิทยาลัยพะเยา และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


วิทยาเขตพะเยา เพื่อเป็ นการสืบสานและถ่ายทอดมรดกภูมิปัญญาทาง
วัฒนธรรม

๑.๔ การพัฒนาต่อยอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

ปั จจุบันมีสถาบันทางการศึกษาโดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษาในเขตภาค
เหนือ เช่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
มหาวิทยาลัยพะเยา และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็ นต้น ได้ให้ความสนใจใน
การทำวิจัยเพื่อถอดองค์ความรู้ที่อยู่ในคัมภีร์ หรือตำราต่างๆ นำออกมาเผย
แพร่ในรูปของเอกสารทางวิชาการ หรือแม้กระทัง้ การผลิตสมุนไพรจากตำรา
ยาต่างๆ ทัง้ นี ้ เพื่อเป็ นการต่อยอดมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

๑.๕ การดำเนินงานด้านอื่นๆ

พบว่าในจังหวัดพะเยาได้มีการรณรงค์ให้เขียนชื่อวัด และสถานศึกษา ด้วย


ภาษาล้านนาควบคู่ไปกับภาษาไทยกลาง โดยเป็ นนโยบายของทางคณะสงฆ์
ซึ่งนำโดยพระเทพญาณเวที ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดพะเยา เมื่อครัง้ ดำรง
ตำแหน่งเป็ นเจ้าคณะจังหวัดพะเยา ได้มีนโยบายให้ทุกวัดเขียนชื่อวัดด้วย
ภาษาล้านนาคู่กับภาษาไทย

๒ มาตรการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอื่นๆ ที่คาดว่า
จะดำเนินการในอนาคต

๒.๑ มาตรการด้านวิชาการ
39

ในอนาคตควรมีการส่งเสริมให้มีการพูด การเขียนภาษาล้านนา สอดแทรก


ในหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อให้เด็กได้สัมผัสและเรียนรู้ภาษาท้องถิ่นของตนเอง
ในปั จจุบันมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา ได้จัด
ตัง้ ชมรมศาสตร์ล้านนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค้นคว้า สืบทอดมรดก
วัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นของล้านนา ตลอดถึงการส่งเสริม สนับสนุนให้มี
การเรียนการสอนภาษาล้านนาให้แก่พระนิสิต และนักศึกษาที่สนใจ

๒.๒ มาตรการด้านการพัฒนาบุคลากรและกำลังคน

ควรมีการจัดตัง้ ศูนย์ศึกษาค้นคว้าด้านภาษาล้านนา เพื่อใช้เป็ นแหล่งศึกษา


ค้นคว้าภาษาล้านนาอย่างเป็ นระบบ พร้อมทัง้ จัดอบรมให้ความรู้แก่บุคลากร
เพื่อให้สามารถถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับอักษรธรรมล้านนาได้อย่างเป็ นระบบ

๒.๓ มาตรการด้านนโยบาย

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น วัฒนธรรมจังหวัด สภาวัฒนธรรมจังหวัด สถาน


ศึกษา ควรมีนโยบายสนับสนุนให้มีการใช้ภาษาล้านนา และอักษรธรรมล้าน
นาในสถานศึกษาอย่างน้อยในทุกวันศุกร์ ให้สอดคล้องกับการแต่งกายพื้น
เมืองที่ทำอยู่แล้ว

๒.๔ มาตรการด้านงบประมาณ

สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ควรจัดสรรงบประมาณในการศึกษา
วิจัยเอกสารตำราภาษาล้านนา เพื่อเก็บรวบรวมองค์ความรู้ไว้อย่างเป็ น
ระบบ ให้ง่ายต่อการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับล้านนา
40

วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในล้านนา
41

วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในล้านนา

ล้านนาเป็ นอาณาจักรที่เก่าแก่และยิ่งใหญ่มาแต่โบราณกาล จากหลัก


ฐานข้อมูลในตำนานล้านนาพบว่า มีการรวมตัวของชนเผ่าไทยวน เมื่อปี กัด
ไก๊ (ปี กุน) ตรงกับพ.ศ.๑๑๘๑ ที่บริเวณเมืองเชียงลาว-เชียงแสน โดยมีลวจัง
กราชเป็ นผู้นำคนแรก และสืบเชื่อสายต่อๆกันมา จนถึงสมัยพญาเม็งราย
กษัตริย์ลำดับที่ ๒๕ แห่งราชวงศ์ลาว ( พ.ศ.๑๘๐๕-๑๘๕๔ ) จากนัน
้ ชนเผ่า
ไทยวน ก็ได้ขยายอาณาเขตลงมายังเมืองลำพูน ตามมาด้วยการสร้างเมือง
เชียงใหม่ในปี พ.ศ.๑๘๓๙ นับตัง้ แต่นน
ั ้ เป็ นต้นมา ราชวงศ์เม็งรายก็ได้
ปกครองเชียงใหม่มาโดยตลอดเป็ นระยะเวลา ๒๐๐ ปี เศษ ในช่วงนีเ้ ชียงใหม่
มีความเจริญแทบทุกด้านและเป็ นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา จนถึง
พ.ศ.๒๑๐๑ เมื่ออาณาจักรล้านนาตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า บ้าน
เมืองมีแต่ความวุ่นวายระส่ำระสาย จนกระทัง้ พ.ศ.๒๓๑๗ พระเจ้าตากสิน
แห่งกรุงธนบุรี โดยความร่วมมือของพญากาวิละและพญาจ่าบ้าน แห่ง
เชียงใหม่ สามารถขับไล่พม่าออกไปจากล้านนาได้ทำให้มีการฟื้ นฟูบูรณะ
เมืองเชียงใหม่ขน
ึ ้ มาอีกครัง้ หนึง่ ความสงบสุขและความเป็ นปึ กแผ่นกลับมาสู่
ดินแดนล้านาดัง้ เดิม โดยเฉพาะเมืองเชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง ซึง่ มีความ
สัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้ นโดยสายเลือด กลายเป็ นเมืองสำคัญของล้านนามีผู้
ปกครองนครปกตรองสืบทอดกันเรื่อยมา ในฐานะเป็ นเมืองประเทศของกรุง
รัตนโกสินทร์ จนกระทัง้ มีการรวมอาณาจักรล้านนาเข้ามาเป็ นส่วนหนึ่งของ
อาณาจักรไทยในปี พ.ศ.๒๔๗๖
42

ประวัติพระพุทธศาสนาในล้านนา

เป็ นที่ทราบกันแล้วว่า อาณาจักรล้านาเป็ นอาณาจักรที่อุดมรุ่งเรืองไป


ด้วยธารน้ำและทิวเขาสูง มีแม่น้ำปิ ง วัง ยม น่าน เป็ นแหล่งในการทำการ
เกษตรกรรม จึงมีชนพื้นเมืองอยู่มากมาย ความเป็ นมาของพระพุทธศาสนา
ในล้านนานัน
้ ก็มีประวัติความเป็ นมาที่ยาวนานควบคู่กับการเปลี่ยนแปลง
ของทหารอาณาจักรในแต่ละยุคสมัย ดังนัน
้ เพื่อความเข้าใจ จะได้ลำดับ
ความเป็ นมาของพระพุทธศาสนาในล้านนา ดังต่อไปนี ้
43

พระพุทธศาสนาในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ในรัชสมัยของพระจามเทวี
พระราชธิดาของกษัตริย์มอญในอาณาจักรทวาราวดี เมืองลวปุระ (ลพบุรีใน
ปั จจุบัน) ได้เสด็จมาครองราชย์สมบัตินครหริภุญชัย (ลำพูนปั จจุบัน) ตามคำ
เชื้อเชิญของวาสุเทพฤาษี ที่ออกบวชเป็ นฤาษีแล้วได้จัดสถานที่ในการสร้าง
เมืองขึน
้ มา ขณะที่พระนางเสด็จมาได้ทรงนำพาอารยธรรมแบบทวารวดีขน
ึ้
มาด้วย ในจำนวนนัน
้ มีการนำพาพระพุทธศาสนามีทงั ้ พระพุทธศาสนาแบบ
มหายานและแบบเถรวาท โดยเฉพาะพระพุทธศาสนาแบบหีนยานหรือ
เถรวาทได้นำพระเถระผู้ทรงพระไตรปิ ฎกจำนวน ๕๐๐ รูปมาด้วย พระนาง
จามเทวีได้สร้างวัดไว้ ๔ มุมเมือง ทำให้เมืองนีเ้ ป็ นจตุรปราการของพระพุทธ
ศาสนา พระพุทธศาสนาจึงประดิษฐานรุ่งเรือง ตัง้ แต่สมัยนัน
้ เป็ นต้นมา

พระพุทธศาสนาในสมัยราชวงศ์เม็งราย พญาเม็งรายนัน
้ เป็ นปฐม
กษัตริย์แห่งราชวงศ์เม็งราย (ครองราชย์ พ.ศ.๑๓๓๙-๑๘๕๔) พระพุทธ
ศาสนาในสมัยนัน
้ เป็ นแบบเถรวาทที่รับมาจากมอญศิลปกรรมและปฏิมากร
รมทางพระพุทธศาสนาได้รับอิทธิพลแบบทวารวดี มีการสร้างพระพุทธรูปที่
เรียกว่า สมัยเมืองเชียงแสน

พระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพญาติโลกราช หรือพระเจ้าติโลกราช
พระองค์ทรงเป็ นกษัตริย์ลำดับที่ ๙ ครองราชย์ พ.ศ.๑๙๘๔-๒๐๓๐ ทรงเป็ น
โอรสพญาสามฝั่ งแกน ในสมัยของพระองค์ถือว่าเป็ นยุคทองของล้านนา
เพราะบ้านเมืองมีความเจริญสูงสุดทุกด้าน โดยเฉพาะด้านศาสนาทรงจัดให้
มีการสังคายนาพระไตรปิ ฎก ครัง้ ที่ ๘ ของโลก ที่วัดเจ็ดยอด (มหาโพธาราม)
เมื่อพ.ศ.๒๐๒๐ รวมเวลาในการทำสังคายนา ๑ ปี โดยมีพระธรรมทินนิเถระ
44

เป็ นประธานนับตัง้ แต่นน


ั ้ มา การศึกษาของพระสงฆ์ในล้านนาก็มีความเจริญ
รุ่งเรืองกว่าทางอยุธยา ได้มพ
ี ระเถระหลายรูปที่มีความรู้และแตกฉานในพระ
ไตรปิ ฎกได้รจนาคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ทัง้ เป็ นแบบภาษาบาลีและภาษา
ล้านนาก่อให้เกิดประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่พระพุทธศาสนาในล้านนาและ
ประเทศไทยสืบต่อกันมา

ประวัติและผลงานพระเถระในล้านา

พระเถระที่เป็ นนักปราชญ์ในล้านนา มีหลายรูปด้วยกัน มีความรู้ความ


สามารถในการแตกฉานและมีความรู้ความเช้าใจในพระไตรปิ ฎกและได้รจนา
คัมภีร์เอกสารทางพระพุทธศาสนามากมาย พอสรุปได้ดังนี ้

1. พระโพธิรังสีเถระ
45

ในบรรดานักปราชญ์ชาวล้านนาที่เป็ นพระเถระนัน
้ พระโพธิรังสีเถระ
เป็ นผู้ที่อาวุโสที่สุด เป็ นชาวเชียงใหม่ ผลงานของท่านปรากฏอยู่คู่กับ
วรรณคดีล้านนาเล่มอื่นๆ ที่มีผู้คนอ้างอิงและศึกษาทัง้ ทางศาสนาและ
ประวัติศาสตร์ คือ จามเทวีวงศ์ และ สิหิงคนิทาน

จามเทวีวงศ์ จัดเป็ นหนังสือพงศาวดาร รจนาเป็ นภาษาบาลี มี 15


ปริเฉท ปรากฏตอนท้ายทุกปริเฉทว่า อันมหาเถรมีนามว่า โพธิรังสี ได้แต่ง
ตามคำมหาจารึก สันนิษฐานว่ารจนาราว พ.ศ. 1950-2060 กรรมการหอ
พระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร ให้พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละ
ลักษณ์) เปรียญ ร่วมกับ พระญาณวิจิตร (สิทธิ โลจนานนท์) เปรียญ ช่วยกัน
แปลเป็ นภาษาไทยในสมัยรัชกาลที่ 6 และพิมพ์เผยแพร่ครัง้ แรก พ.ศ. 2463

เนื้อเรื่องในจามเทวีวงศ์ ว่าด้วยวงศ์ของพระนางจามเมวีที่ได้ครองเมือง
หริภุญชัยและประวัติพระศาสนาในล้านนา กล่าวถึงการสร้างเมืองหริภุญชัย
ลำปางและการสร้างวัดบรรจุพระธาตุคือ พระบรมธาตุหริภุญชัยในสมัย
ราชวงศ์ของพระนางจามเทวี กล่าวถึงธรรมะของกษัตริย์และความที่ไม่
สมควร อันเป็ นเหตุให้บ้านเมืองเดือดร้อนล่มจม นับว่าพระโพธิรังสีเถระ
สามารถนำเอาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มาสัมพันธ์กับเรื่องราวทางพุทธ
ศาสนาได้เป็ นอย่างดี จึงนับว่าหนังสือ จามเทวีวงศ์ เป็ นหนังสือที่ทรงคุณค่า
เล่มหนึง่ (ลิขิต ลิขิตานนท์, 2523: 103 และประคอง นิมมานเหมินท์,
2517: 42)

สิหงิ คนิทาน หรือประวัติพระพุทธสิหิงค์ แม้มิได้ระบุปีที่รจนา แต่


สันนิษฐานว่าเป็ นระหว่างปี พ.ศ. 1985-2068 เพราะเป็ นระยะที่วรรณกรรม
46

บาลีกำลังเฟื่ องฟู เนื้อเรื่องใน สิหิงคนิทาน ว่าด้วยประวัติความเป็ นมาของ


พระพุทธรูปสำคัญ ซึ่งหล่อในประเทศลังกาด้วย เงิน ตะกั่ว และทองเหลือง
ประวัติการเดินทางมาสู่ประเทศไทยและจังหวัดต่างๆ รวมทัง้ เชียงใหม่
ปั จจุบันได้มีผู้แปลเป็ นภาษาไทยกลางและพิมพ์เผยแพร่แล้ว (ลิขิต ลิขิตา
นนท์, 2523: 104)

2. พระญาณกิตติเถระ

พระญาณกิตติเถระ เป็ นชาวเชียงใหม่ มีอาวุโสกว่าพระสิริมังคลาจารย์


จำพรรษาอยู่วัดปนสาราม (สวนต้นขนุน) ซึ่งตัง้ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียง
เหนือของนครเชียงใหม่ จากผลงานของท่านที่รจนาไว้ ทำให้ทราบว่าท่าน
เป็ นพระอาจารย์ของพระเจ้าติโลกราชเชื่อว่าท่านเคยไปศึกษาที่ประเทศ
ลังกา ในรัชกาลกษัตริย์กรุงลังกาปรักกรมพาหุที่ 6 และพระเจ้าภูวเนกพาหุ
ที่ 6 (พ.ศ. 1955-2024) ครัง้ นัน
้ ศาสนสัมพันธ์ระหว่างเชียงใหม่ อยุธยา
ลังกา และพม่า ดำเนินไปด้วยดี พระสงฆ์ล้านนาเดินทางไปประเทศเหล่านี ้
ได้อย่างเสรี (ลิขิต ลิขิตานนท์, 2523 : 10) ท่านมีชีวิตอยู่ในสมัยพระเจ้าติ
โลกราชและพระเจ้ายอดเชียงราย งานที่ท่านรจนาขึน
้ หลังจากสังคายนาพระ
ไตรปิ ฎกครัง้ ที่ 8 พ.ศ. 2020 ล้วนแต่เป็ นภาษาบาลีทงั ้ สิน
้ (ประคอง นิมมาน
เหมินท์, 2517 : 31)

ผลงานของพระญาณกิตติเถระรจนาคัมภีร์อธิบายเรื่องเกี่ยวกับพระ
วินัย และพระอภิธรรมและบาลีไวยากรณ์ อันมีช่ อ
ื ตามลำดับนี ้
47

พระวินัย

1. สมันตปาสาทิกา อัตถโยชนา อธิบายศัพท์ คำ ข้อความยากในอรรถกถา


วินัยปิ ฎกชื่อ สมันตปาสาทิกา ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับบทบัญญัติ ข้อแนะนำตัก
เตือนและบทลงโทษ สำหรับพระภิกษุผู้ผิดวินัย เป็ นต้น

2. ภิกขุปาฎิโมกขคัณฐีทีปนี มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระปาฏิโมกข์ หรือศีลของ


พระภิกษุโดยเฉพาะ เช่น สงฆ์ควรปฏิบัติอย่างไรก่อนพิธีสวดปาฎิโมกข์ และ
อธิบายขยายความในประปาฏิโมกข์ รจนาเมื่อ พ.ศ. 2035

3. สีมาสังกรวินิจฉัย วินัยปิ ฎกกล่าวถึงสถานที่ศักดิส์ ิทธิ ์ และสำคัญที่สุดของ


พระสงฆ์ คือ สีมา ซึ่งคูก
่ ับพระอุโบสถ หรือโบสถ์เป็ นที่ทำสังฆกรรม
กิจกรรมที่ต้องทำโดยความสามัคคีเป็ นเอกฉันท์ มีเสียงคัดค้านเพียงเสียง
เดียว สังฆกรรมนัน
้ ย่อมเป็ นโมฆะ

พระอภิธรรม

4. อัฏฐสาลินีอัตถโยชนา คัมภีร์อธิบายอัฏฐสาลินี อรรถกถาอภิธรรมธัมม


สังคณีโดยพระพุทธโฆสาจารย์

5. สัมโมหวิโนทนี อัตถโยชนา คัมภีร์อธิบายอรรถกถาอภิธรรมวิภังค์ โดย


พระพุทธโฆสาจารย์

6. ปั ญจกรณัฏฐกถา อัตถโยชนา และเชื่อว่าท่านญาณกิตติเถระคงรจนา


คู่มืออธิบายอภิธรรมที่เหลืออีก 5 คัมภีร์ คือ ธาตุกถา ปุคคลปั ญญัติ กถา
48

วัตถุ ยมก และปั ฏฐาน รวมเรียกว่า ปั ญจปกรณัฏฐกถา ที่ท่านพุทธโฆสาจาร


ย์รจนาไว้

ท่านพุทธทัตต์เถระชาวลังกาได้กล่าวว่า คัมภีร์เหล่านีแ
้ ละคัมภีร์อ่ น
ื ๆ อีก
หลายคัมภีร์จารด้วยอักษรขอม ส่งจากประเทศไทยไปถวายเป็ นบรรณาการ
แก่พระมหาเถรปุรัตคามธัมมลังสิริกาสุมนติสส แห่งปรมานันทวิหาร เมืองก
อลเล ประเทศลังกาโดยผ่านราชทูตไทย

7. อภิธัมมัตถวิภาวินี ปั ญจิกา อัตถโยชนา คัมภีร์อธิบายอภิธัมมัตถวิภาวินี


ซึ่งรจนาโดยพระสุมังคล ชาวลังกา ท่านรจนาเรื่องนีท
้ ี่วัดปนสาราม เมื่อ พ.ศ.
2045

ไวยากรณ์

8. มูลกัจจายนอัตถโยชนา คู่มืออธิบายบาลีไวยากรณ์สายกัจจนะ ซึ่งพระกัจ


จายนเถระ ภิกษุร่น

หลังท่านพุทธโฆสาจารย์ (พุทธศตวรรษที่ 11-12) รจนามูลกัจจายนวยากรณ


(ลิขิต ลิขิตา นนท์, 2527 : 478-480)

วรรณกรรมทัง้ หมดที่กล่าวมานี ้ ท่านญาณกิตติเถระได้รจนาระหว่างปี พ.ศ.


2028-2043 ท่านเป็ นนักปราชญ์ล้านนาที่รจนาวรรณกรรมไว้มากกว่าผู้อ่ น

(ลิขิต ลิขิตานนท์, 2523: 106)

3. พระสิริมังคลาจารย์
49

เป็ นที่น่าเสียใจอย่างยิ่งที่ไม่อาจทราบแน่ชัดว่า พระสิริมังคลาจารย์มี


ประวัติความเป็ นมาอย่างไร เพราะไม่มีหลักฐานปรากฏเช่นเดียวกับพระ
เถระองค์อ่ น
ื ๆ นอกจากสันนิษฐานจากผลงานของท่าน ท่านเป็ นชาว
เชียงใหม่มีชีวิตอยู่ราว พ.ศ. 2020-2100 ประจำอยู่วัดสวนขวัญ (วัดตำหนัก
ในปั จจุบัน) ซึง่ ตัง้ อยู่ทางทิศใต้จากตัวเมืองเชียงใหม่ไปประมาณ 4 กิโลเมตร
ท่านเคยไปศึกษาที่ลังกา และเคยเป็ นอาจารย์ของพระเมืองเกษเกล้า (อุดม
รุ่งเรืองศรี, 2528: 116)

สิงฆะ วรรณสัย, (2523: 18) กล่าวว่าผลงานของพระสิริมังคลาจารย์


คงเป็ นช่วงที่ท่านจำพรรษาที่วัดตำหนังสวนขวัญ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง
เชียงใหม่ และคงใช้เวลาค้นคว้ารจนาคัมภีร์ต่างๆ จากหอธรรมที่ท่าน
รวบรวมไว้ เพราะว่าปรากฏว่าผลงานของท่านมีการอ้างอิง บอกถึงที่มาโดย
ละเอียด นับว่าท่านเป็ นนักปราชญ์ที่มีผลงานอ้างอิงที่ก้าวหน้าเกินยุคสมัย
ของท่านมากอุดม รุ่งเรืองศรี และ สดุภณ จังกาจิตต์ ศึกษาผลงานของท่าน
และได้แบ่งผลงานของท่าน สรุปได้ ดังนี ้

พระสิริมังคลาจารย์รจนาผลงานไว้ 4 เรื่องซึ่งอาจจะแบ่งออกเป็ น 2
ประเภทคือ

การอธิบายคัมภีร์ที่มีมาแต่เดิม ผลงานประเภทนีม
้ ีด้วยกัน 3 เรื่อง ดังนี ้

1. เวสสันตรทีปนี รจนาสำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2060 ในรัชกาลพระเมืองแก้ว


อธิบายอรรถกถาเวสสันดรชาดก เกี่ยวกับความเบ็ดเตล็ดเกร็ดเล็กน้อยต่างๆ
50

ที่น่าสนใจ ตลอดจนวิธีแบ่งคาถาในเวสสันดรชาดกอีกด้วย คัมภีร์นม


ี ้ ีความ
ยาวบัน
้ ต้น 40 ผูก บัน
้ ปลาย 10 ผูก

2. สัขยาปกาสกฎีกา เป็ นหนังสืออธิบายคัมภีร์สังขยาปกาสกะ ที่พระญาณ


วิลาสเถระชาวเชียงใหม่รจนาเมื่อ พ.ศ. 2059 เพื่อให้เข้าใจง่ายยิ่งขึน
้ รจนา
เมื่อ พ.ศ. 2063 จำนวน 2 ผูก

3. มังคลัตถทีปนี หรือ มงคลทีปนี เป็ นวรรณกรรมเรื่องเอกที่มีช่ อ


ื เสียงยิ่ง
ของพระสิริมังคลาจารย์ รจนาขึน
้ เมื่อ พ.ศ. 2067 เพื่อเป็ นการอธิบายความ
ในมงคลสูตร ที่ปรากฏในพระไตรปิ ฎก 2 แห่ง คือ ในขุททกปาฐะและสุตตนิ
บาต ซึ่งทัง้ สองนีอ
้ ยู่ในพระสุตตันตปิ ฎก ขุททกนิกาย มีอรรถกถาชื่อ ปรมัตถ
โชติกา ซึ่งพระพุทธโฆสะเป็ นผู้รจนาไว้อันเป็ นพระสูตรที่แสดงถึงการปฏิบัติ
ที่เป็ นมงคลรวม 38 ประการ เช่น การไม่คบคนพาล การคบบัณฑิต ฯลฯ
ท่านได้อธิบายถึงความหมายของพระสูตรนีโ้ ดยละเอียดด้วยภาษาบาลีอัน
ไพเราะและสละสลวย และนำเรื่องจากคัมภีร์และชาดกอื่นๆ มาอธิบายประ
กอบมังคลัตถทีปนี นีไ้ ด้แปลเป็ นภาษาไทยความยาว 893 หน้า และพิมพ์
เผยแพร่หลายครัง้ แล้ว เพราะเป็ นหลักสูตรที่ผู้เรียนปริยัติธรรมจะต้องศึกษา
ส่วนคัมภีร์ที่รจนาขึน
้ ใหม่ มีเพียงเรื่องเดียว คือ

4. จักกวาฬทีปนี ซึ่งเรื่องนีท
้ ่านได้ผูกโครงเรื่องขึน
้ ก่อน โดยแบ่งเรื่องราว
ต่างๆ ที่เกี่ยวกับจักรวาลออกเป็ นตอนๆ จากนัน
้ ก็อธิบายเรื่องราวตอนนัน
้ ๆ
อย่างละเอียดลออ โดยอ้างหลักฐานจากพระไตรปิ ฎกและคัมภีร์ต่างๆ มา
51

ประกอบ รจนาเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2063 กล่าวถึงเรื่องราวในจักรวาลหรือโลก


ธาตุ พรรณนาถึงภูมิที่เกิดของสัตว์ทงั ้ หลาย อาหารของสัตว์ ภูเขา แม่น้ำ
เทวดา อสูร ฯลฯ ดังนี ้

-ภูเขา พรรณนาถึงเขาพระสุเมรุ เขาสัตตบริภัณฑ์และเขาต่างๆ ในป่ า


หิมพานต์

-สระ พรรณนาถึงสระอโนดาต กัญญมุณฑก รถกรก ฉัททันต์ กุนาล ฯลฯ

-นที พรรณนาแม่น้ำต่างๆ เช่น คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหิ ฯลฯ

-ทวีป พรรณนาชมพูทวีป อุตตรกุรุทวีป บุพพวิเทห และอมรโคยาน เป็ นต้น

-ภูมิของสัตว์ต่างๆ เช่น อบายภูมิ คือ นิรยะ ติรัจฉานโยนิ เปตวิสัย อสุรกาย


และ มหานรก 8 ขุม เช่น สัญชีวะ กาลสุตตะ สังฆาตะ ปตาปนะ เป็ นต้น

-อสูร พรรณนา เวปจิตต สัมพร อสุโรช ปหารท ราหุ เป็ นต้น

ั ดิส์ ิทธิ ์ หรือทรงคุณ


-ภุมมเทวดา คือ เทวดาที่อยู่บนพื้นดินและสถานที่ศก
ประโยชน์ต่างๆ

-อากาศเทวดา กล่าวถึงเทพที่สถิตอยู่ในอากาศ แต่อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าชัน



จตุมหาราชิก

์ ่างๆ ในฉกามาวจรเทวโล
-มเหสักขเทวดา กล่าวถึง เทวดาที่สูงศักดิต

-พรหม กล่าวถึง พรหมต่างๆ ในพรหมโลก


52

นอกจากนีย
้ ังได้พรรณนา หรือวินิจฉัยเบ็ดเตล็ด ประกอบด้วย เรื่องอายุ
อาหาร การคำนวณภูมิเรื่องต้นไม้ เรื่องโลก โลกธาตุ และเรื่องความไม่มีที่สน
ิ้
สุด ตลอดจนคำศัพท์ต่างๆ ก็ได้อธิบายไว้เช่น ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก
วิบัติภวโลก ฯลฯ

เมื่อพิจารณาวิธีการรจนาคัมภีร์ทงั ้ 4 เรื่องแล้ว จะเห็นว่าพระสิริมังคลาจารย์


รจนาคัมภีร์แต่ละเรื่องขึน
้ เพื่ออธิบายขยายความที่ยากหรือค่อนข้างยากให้
คนทั่วไปเข้าใจรู้เรื่องอย่างแจ่มแจ้ง อันเป็ นจุดประสงค์สำคัญของผลงาน
กลุ่มแรก ส่วนผลงานที่รจนาใหม่คือ การอธิยายเรื่องจักรวาลนัน
้ ก็เพื่อ
ต้องการให้ชาวล้านนาที่สนใจและมิได้เป็ นนักปราชญ์ที่ต้องการจะทราบเรื่อง
จักรวาลอย่างถ่องแท้ละเอียดพิสดาร ตามแนวของพุทธศาสนาได้สามารถ
เข้าใจเรื่องราวได้อย่างชัดเจนขึน
้ โดยไม่ต้องค้นคว้าหาอ่านมากมาย

นอกจากนีผ
้ ลงานของพระสิริมังคลาจารย์ยังสะท้อนให้เห็นความสนใจและ
การใฝ่ หาความรู้ด้านพุทธศาสนาและวิชาการแขนงต่างๆ ของชาวล้านนาใน
ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20-21 มีมากเพียงใด ทัง้ ยังเป็ นความสนใจที่จะใฝ่
หาความรู้นน
ั ้ ๆ อย่างแตกฉานอีกด้วย (อุดม รุ่งเรืองศรี, 2528: 116-117
และ สดุภณ จังกาจิตต์, 2521: 142-155)

4. พระรัตนปั ญญาเถระ หรือพระสิริรัตนปั ญญาเถระ

พรเถระชาวเชียงรายรูปนี ้ เป็ นพระภิกษุร่น


ุ เดียวกันกับพระสิริมังคลา
จารย์ เป็ นเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์มังราย อุปสมบทและพำนักอยู่ที่วัดป่ าแก้ว
53

เชียงราย ต่อมาได้มาศึกษาต่อที่เชียงใหม่ และพำนักอยู่วัดสีหลาราม หรือวัด


เจ็ดยอดในปั จจุบัน มณี พะยอมยงค์ กล่าวว่าท่านเคยพำนักที่วัดฟ่ อนสร้อย
(เดินอยู่ใกล้ตลาดประตูเชียงใหม่) ก่อนจนได้เป็ นเจ้าอาวาส จากนัน
้ จึงย้าย
ไปเป็ นเจ้าอาวาสวัดเจ็ดยอดในสมัยพระเมืองแก้ว ซึ่งเป็ นพระอารามหลวง

ผลงานของพระรัตนปั ญญาเถระมีดังนี ้

1. มาติกัตถสรูปอภิธัมมสังคณี เป็ นคัมภีร์อธิบายพระอภิธรรม ไม่ปรากฏปี ที่


รจนา

2. วชิรสารัตถสังคหะ รจนาเมื่อ พ.ศ. 2078 ที่วัดมหาวนาราม เชียงใหม่


เป็ นเรื่องศัพท์ย่อๆ ซึง่ เมื่อขยายใจความออกมาแล้วจะทำให้ร้ค
ู วามหมายได้
แจ่มชัด หรืออาจเรียกว่าเป็ นหัวใจของธรรมะต่างๆ

3. ชินกาลมาลี หือ ชินกาลมาลีปกรณ์ คัมภีร์นเี ้ ริ่มรจนาเมื่อ พ.ศ. 2060 ใน


พรรษาที่ 23 ของพระรัตนปั ญญา รัชสมัยพระเมืองแก้ว เนื้อเรื่องกล่าวถึง
กาลของพระพุทธเจ้า โดยเรียบเรียงอย่างมีระเบียบ จึงได้ช่ อ
ื ว่า ชินกาลมาลี
ปกรณ์ รจนาถึงกาลก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้โดยพิสดาร ว่าด้วยพุทธกิจ
ว่าทรงทำอะไร ประทับอยู่ที่ไหน จนกระทั่งดับขันธ์ปรินิพพาน กาทำ
สังคายนาครัง้ ต่างๆ การจำแนกพระบรมธาตุ การเผยแพร่พุทธศาสนาไปยัง
ประเทศต่างๆ ให้เวลาและสถานที่อย่างชัดเจน บอกกำหนดปี โดยครบถ้วน
นอกจากนีย
้ ังกล่าวถึงประวัติของบุคคลและสถานที่ของเมืองสำคัญ คือ
เชียงแสน เชียงราย ลำพูน และเชียงใหม่ รจนาเสร็จสมบูรณ์ เมื่อ พ.ศ.
54

2071 มีความยาว 14 ผูก กับ 14 ลาน วรรณกรรมบาลีเล่มนีถ


้ ือได้ว่าเป็ น
วรรณกรรมประวัติศาสตร์ล้านนาที่ใช้เป็ นหลักฐานอ้างอิงได้เป็ นอย่างดี และ
เป็ นที่เชื่อถือตลอดมาจนถึงปั จจุบันนี ้ ทัง้ ผู้รจนาก็ได้แสดงความมุ่งหมายใน
การแต่งไว้อย่างละเอียด สมกับที่เป็ นผลงานชิน
้ สำคัญ

ชินกาลมาลีปกรณ์ นับเป็ นผลงานชิน


้ เอกของนักปราชญ์ชาวล้านนา ที่ได้รับ
การแปลเป็ นภาษาอื่นๆ มากมายหลายภาษา รัชกาลที่ 1 แห่งกรุง
รัตนโกสินทร์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ราชบัณฑิตถึง 5 ท่าน ช่วยกัน
แปลเป็ นภาษาไทยกลาง ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์แจก
เป็ นครัง้ แรกในงานพระศพของพระราชวงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2451 ต่อมา เสฐียร
พันธรังษี ได้แปลเป็ นภาษาไทยเป็ นครัง้ ที่ 2 ใน พ.ศ. 2474 ใช้ช่ อ
ื ว่า ชินกาล
มาลินี และในราว พ.ศ. 2500 แสง มนวิทูร ได้แปลเป็ นภาษาไทยขึน
้ อีกเป็ น
ครัง้ ที่ 3 มีเชิงอรรถ อธิบายความให้เข้าใจง่ายยิ่งขึน

การแปลเป็ นภาษาต่างประเทศเริ่มด้วย ยอร์ช เซเดส์ แปลเป็ นภาษาฝรั่งเศส


โดยตีพิมพ์คู่กับภาษาบาลี ลงในวารสารวิชาการของฝรั่งเศสติดต่อกัน 6
ฉบับ เมื่อ พ.ศ. 2468 สมาคมบาลีปกรณ์ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้พิมพ์
เป็ นภาษาบาลีด้วยอักษรโรมัน ต่อมาก็ได้พิมพ์เป็ นภาษาอังกฤษด้วย ใน
ประเทศลังกา พระภิกษุช่ อ
ื พุทธทัตก็ได้แปลเป็ นภาษาสิงหล พิมพ์คก
ู่ ับภาษา
บาลี เมื่อ พ.ศ. 2498 จึงนับได้ว่าเป็ นวรรณคดีล้านนาที่ได้รับการแปลและ
พิมพ์เผยแพร่มากที่สุด ชินกาลมาลีปกรณ์ จึงเสมือนเป็ นคู่มือที่นักศึกษาชาว
ต่างประเทศได้ใช้เป็ นหลักในการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีของไทย
55

มานานแล้ว (อุดม รุ่งเรืองศรี, 2528 : 118, ลิขิต ลิขิตานนท์, 2523 : 110


และประคอง นิมมานเหมินท์ 2517 : 46)

5. พระพุทธพุกาม และพระพุทธญานเจ้า

เราไม่ทราบประวัติของพระเถระทัง้ สองท่านนี ้ แต่ผลงานของท่านที่


ปรากฏคือ มูลศาสนา ได้ระบุช่ อ
ื ผู้รจนาไว้ในตอนท้ายของเรื่องนี ้ ระยะเวลา
ที่รจนาก็ไม่ทราบแน่นอน เป็ นหนังสือที่เก็บความรู้ ประวัติทางศาสนาจาก
ที่มาหลายคัมภีร์ นำมารจนาไว้โดยละเอียด รวมทัง้ แทรกเรื่องราว
ประวัติศาสตร์ และความเป็ นไปของประชาชนในแหลมสุวรรณภูมิสมัย
โบราณด้วย นับเป็ นหนังสือคู่กับ จามเทวีวงศ์ และ ชินกาลมาลีปกรณ์
(ประคอง นิมมานเหมินท์, 2517: 52-56) หนังสือเล่มนีร้ จนาเป็ นภาษาล้าน
นา

6. พระสุวณ
ั ณรังสีเถระ

พระภิกษุชาวเชียงใหม่รูปนี ้ ต่อมาได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดวิชยาราม
นครเวียงจันทน์ประเทศลาว และได้รับแต่งตัง้ เป็ นพระสังฆราช ท่านได้รจนา
คัมภีร์ 2 เรื่อง คือ คันถาภรณฎีกา ซึง่ เป็ นหนังสืออธิบายคัมภีร์ช่ อ
ื คันถาภ
รณะ ของชาวพม่า อันว่าด้วยหลักเกณฑ์ทางภาษาบาลี รจนาขึน
้ เมื่อ พ.ศ.
2128 หลังจากนัน
้ ท่านได้รจนาเรื่อง ปฐมสัมโพธิกถา ซึ่งต่อมาใน พ.ศ.
2388 สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส ได้ทรงนิพนธ์เรื่อง
56

ปฐมสมโพธิกถา โดยถือเอาปฐมสัมโพธิกถาเป็ นฉบับภาษาบาลีของพระสุวัณ


ณรังสี เป็ นหลักในการเรียบเรียง (ลิขิต ลิขิตานนท์, 2523: 116)

7. พระพรหมราชปั ญญา

ท่านได้รจนาคัมภีร์ช่ อ
ื รัตนพิมพวงศ์ อันเป็ นตำนานในการสร้างพระแก้ว
มรกต

8. พระอุตตรารามเถระ

ได้รจนาคัมภีร์ช่ อ
ื วิสุทธิมัคคทีปนี อันเป็ นการอธิบายความในวิสุทธิ
มรรคของพระพุทธโฆสาจารย์ แต่ต้นฉบับยังค้นหาไม่พบ (อุดม รุ่งเรืองศรี,
2528: 116)

รายนามของกวีล้านนาที่กล่าวมาแล้วทัง้ หมดนัน
้ เป็ นยุคของวรรณกรรมบาลี
ที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับพุทธศาสนาและพระไตรปิ ฎกทัง้ สิน
้ และเป็ นช่วงที่กล่าว
ได้ว่าเป็ นยุคทองของวรรณกรรมล้านนาคือรัชกาลของพระเจ้าติโลกราช และ
พระเมืองแก้ว นับเป็ นเวลาภายหลังที่ได้มีการกระทำสังคายนาพระไตรปิ ฎก
ครัง้ ที่ 8 ของโลก ที่วัดเจ็ดยอดเสร็จสิน
้ ลงเมื่อ พ.ศ. 2020 ทำให้มีนักปราชญ์
ทางวรรณกรรมบาลีเกิดขึน
้ มากมาย จนอาจกล่าวได้ว่าล้านนานัน
้ เป็ นผู้นำใน
57

ด้านวรรณกรรมบาลีของไทยมาจนปั จจุบันนี ้ ทัง้ นีเ้ พราะคณะสงฆ์ไทยยังได้


ใช้ตำราคัมภีร์อันเป็ นผลงานของนักปราชญ์ดังกล่าวเป็ นหนังสือเรียนในการ
สอบบาลีสนามหลวงของพระภิกษุมาจนถึงปั จจุบัน

ในช่วงที่เชียงใหม่หรือล้านนาตกเป็ นเมืองขึน
้ ของพม่านัน
้ นับว่าเป็ นช่วงที่
เสื่อมทางด้านการศึกษาหาความรู้และการรจนาคัมภีร์เพราะบ้านเมืองไม่
สงบ จนกระทั่งเชียงใหม่ได้รับการฟื้ นฟูอีกครัง้ หนึง่ ในสมัยราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน
จึงปรากฏผลงานของกวีล้านนาอีก ส่วนใหญ่ก็มักจะเป็ นกวีที่ประจำราช
สำนักเจ้าหลวงผู้ครองเมืองต่างๆ เช่น เชียงใหม่ ลำปาง เป็ นต้น ส่วนมาก
เป็ นวรรณกรรมที่เป็ นไปเพื่อความบันเทิง และกวีก็มักเป็ นฆราวาสที่เคยบวช
เรียนมาก่อน เช่น พระยาพรหมโวหาร เป็ นต้น

9. พระยาโลมาวิสัย

เป็ นกวีในราชสำนักเจ้าหลวงลำปาง เดิมเป็ นชาวจังหวัดเชียงราย เป็ น


ผู้ที่มีความเปรื่องปราดสามารถยิ่งผู้หนึ่ง สันนิษฐานว่าน่าจะมีชีวิตอยู่ราว
พ.ศ. 2330 ในสมัยที่เจ้าคำสม เจ้าดวงทิพย์ เจ้าหนานไชยวงศ์ เจ้านันทิยะ
และเจ้าอินทร์ เป็ นผูค
้ รองนครลำปาง ตามลำดับ พระยาโลมาวิสัยน่าจะรับ
ราชการเป็ นอาลักษณ์ในคุ้มหลวงลำปาง และต่อมาในสมัยเจ้าหลวงวรญาณ
รังสี ท่านก็คงยังรับราชการอยู่อีกหลายปี มณี พะยอมยงค์ สืบค้นทราบว่าผู้
สืบเชื้อสายของพระยาโลมาวิสัย ปั จจุบันใช้นามสกุล “ไสยวงศ์” และได้
อพยพจากลำปางมาตัง้ รกรากที่บ้านท่าวังพร้าว ใกล้กับสะพานแม่ขาน
58

อำเภอสันป่ าตอง เชียงใหม่ พระยาโลมาวิสัยมีความสามารถทัง้ การประพันธ์


โคลงและค่าว ผลงานเท่าที่ทราบมีดังนี ้

1. โคลงหงส์ผาคำ ประพันธ์ด้วยโคลงสี่สุภาพสลับกับโคลงสาม และโคลง


สอง จำนวน 907 บท ประพันธ์ในปี พ.ศ. 2395

2. ค่าวซอหงส์ผาคำ เนื้อเรื่องเหมือนโคลงหงส์ผาคำ แต่ประพันธ์ด้วย


ฉันทลักษณ์ค่าว ซึ่งเป็ นฉันทลักษณ์ที่ได้รับความสนใจมากในระยะนัน
้ นับ
เป็ นกวีล้านนาคนแรกที่ใช้คำประพันธ์ค่าวเขียนวรรณกรรมเรื่องยาวเพื่อ
ความบันเทิง

3. ค่าวซอเรื่องเจ้าสุวัตร นางบัวคำ เมื่อเรื่องค่าวซอหงส์ผาคำประสบความ


สำเร็จได้รับความสนใจจากมหาชน จึงได้ประพันธ์ค่าวซอเรื่องเจ้าสุวัตร นาง
บัวคำ ในเวลาต่อมา (มณี พะยอมยงค์, 2516: 90)

10. พระยาพรหมโวหาร

พระยาพรหมโวหารนับเป็ นกวีที่เลิศในทางการประพันธ์ค่าว เป็ นศิษย์


พระยาโลมาวิสัย เป็ นบุตรของแสนเมืองมา ผู้ดูแลคลังของเจ้าหลวงลำปาง
พระยาพรหมเดิมชื่อ พรหมินทร์ เกิดเมื่อ 2345 ได้เล่าเรียนเบื้องต้นจาก
ครูบาอุปนันทะ เจ้าอาวาสวัดสิงห์ชัย เมื่ออุปสมบทแล้วได้เดินทางมาศึกษา
กับครูบาปิ นตาเจ้าอาวาสวัดสุขเข้าหมิน

59

คัมภีร์มังคลัตถทีปนี
60

พระสิริมังคลาจารย์ได้รจนามังคลัตถทีปนีเมื่อประมาณ พ.ศ.
๒๐๖๐-๒๐๖๗ ในขณะที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดสวนขวัญ ท่านใช้เวลาในการ
ค้นคว้ารจนาจากคัมภีร์ต่างๆ จากหอธรรมที่ท่านได้รวบรวมไว้ จะเห็นได้ว่า
คัมภีร์ของท่านมีการอ้างอิงบอกถึงที่มาอย่างชัดเจน สภาพบรรยากาศในการ
รจนาคัมภีร์ท่านอยู่ที่วัดนีเ้ ป็ นสถานที่สงบสงัด ห่างจากตัวเมืองออกไปซึ่งเดิม
ที่ก่อนที่ท่านจะได้รจนาคัมภีร์ต่างๆ นัน
้ ท่านเป็ นเจ้าอาวาสวัดเจ็ดยอด เป็ นที่
ผู้คนพลุกพล่านมีผค
ู้ นมากมายจึงทำให้ไม่เหมาะสมกับการรจนาคัมภีร์ ท่าน
จึงย้ายไปสร้างวัดสวนขวัญอันเป็ นสถานที่สงบ เพื่อจะได้รจนาคัมภีร์

แรงดลใจ

คัมภีร์มังคลัตถทีปนี ที่พระสิริมังคลาจารย์ได้รจนาขึน
้ ซึ่งท่านนัน
้ มีชีวิต
อยู่ในช่วงประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๒๐ ท่านเกิดมาในท่ามกลางในยุคสมัยที่
พระพุทธศาสนาในล้านนามีความเจริญรุ่งเรื่องขีดสุด มีพระสงฆ์ผู้แตกฉานใน
พระไตรปิ ฎกจำนวนมาก พระสิริมังคลาจารย์มีความเสื่อมใส่ในพระพุทธ
ศาสนา และศึกษาพระธรรมวินัยอย่างแตกฉาน ประกอบกับท่านได้ศึกษา
วิชาการในสำนักของพระพุทธวีระซึ่งเป็ นนิกายสิงหลและอยู่ในต่างประเทศ
เมื่อกลับมาอยู่เมืองไทยต้องการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในลักษณะของคัมภีร์
เพื่อให้เข้าถึงผู้ที่ต้องการศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนามากที่สุด ซึ่ง
ก่อนที่ท่านจะรจนาคัมภีร์มังคลัตถทีปนีฉบับนี ้ ท่านรจนาคัมภีร์ทางพระพุทธ
ศาสนามาก่อนแล้ว เช่น เวสสันตรทีปนี จักวาฬทีปนีและสังขยาปกาลกฏีกา
เป็ นต้น
61

สิ่งเหล่านีอ
้ าจจะเป็ นแรงดลใจให้ท่านได้รจนาคัมภีร์มังคลัตถทีปนีขน
ึ้
ซึ่งถือว่าเป็ นคัมภีร์ที่มีคุณค่าและก่อประโยชน์ให้กับพระพุทธศาสนานัปการ

คัมภีร์มังคลัตถทีปนี ที่ท่านพระสิริมังคลาจารย์ ได้รจนาขึน


้ มาได้นน
ั ้ มี
ความเกี่ยวข้องกับสิ่งหลายประการด้วยกัน พอสรุปได้ ๓ ประการ กล่าวคือ

๑. คัมภีร์มูลฐาน คือคัมภีร์ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการรจนามังคลัตถทีป


นี เรียกอีกอย่างว่ามงคลทีปนี เป็ นการอธิบายความในมงคลสูตร

๒. บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการรจนาคัมภีร์มังคลัตถทีปนี ของพระสิริมังคลาจาร
ย์ มีอยู่ ๒ ส่วน คือ พระมหากษัตริย์และพระเถระ

๓. สถานที่ ที่เกี่ยวข้องกับการรจนาคัมภีร์มังคลัตถทีปนี ถ้าหากกล่าวถึง


สถานที่ ที่เกี่ยวกับการรจนาคัมภีร์มังคลัตถทีปนีแล้วก็มีสถานที่ คือ วัดสวน
ขวัญ ซึ่งเป็ นสถานที่สงบเงียบ และเหมาะสำหรับรจนาคัมภีร์ ท่านเริ่มต้น
รจนาคัมภีร์ที่นั่นเอง

ประวัติผู้แต่ง

พระศิริมังคลาจารย์ จอมปราชญ์แห่งล้านนา เดิมชื่อ ศรีปิงเมือง ต่อมา


เมื่อบรรพชาเป็ นสามเณรมีฉายาว่า สิริมังคละ บิดามีอาชีพ ค้าช้าง ท่านเกิด
ในสมัยราชวงศ์มังรายปกครองอาณาจักรล้านนาตรงกับราชกาลพระเจ้าติ
โลกราช ระหว่าง พ.ศ.๒๐๑๐ - ๑๐๒๐ มรณภาพในรัชกาลพระเจ้าเมกุฏิ
62

สุทธิวงศ์ (พ.ศ.๒๐๙๔-๒๑๑๗) ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดสวนขวัญ ปั จจุบัน ชื่อ


วัดตำหนัก ซึ่งตัง้ อยู่ทางทิศ ตะวันตกเฉียงใต้ของนครเชียงใหม่ ประมาณ ๔
กิโลเมตร เป็ นปราชญ์ทางด้านภาษาบาลี ผูแ
้ ตกฉานในอักขรวิธี วจีวิพาก
วากยสัมพันธ์ และฉันทลักษณ์อย่างยากจะหาผู้เสมอเหมือนได้ ซึ่งเป็ น
หลักสูตรบาลีชน
ั ้ ประโยค ปธ.๔ ปธ.๕ และ ปธ.๗ ในปั จจุบัน

ผลงานของท่าน พระสิริมังคลาจารย์รจนาไว้ทงั ้ หมด ๔ เรื่อง แต่ละ


เรื่องมีแนวการรจนาไปในทางอธิบาย คือ ประเภทแรกอธิบาย คัมภีร์ที่มีมา
แต่เดิม มีเวสสันตรทีปนี สังขยายปกาสฏีกา และมังคลัตทีปนี โดยเฉ
พาะมังคลัตทีปนีเป็ นหลักสูตรที่ผู้เรียนพระปริยัติธรรม ต้องศึกษา ส่วน
ประเภทที่สอง เป็ นการอธิบายเรื่องราวที่มิได้เป็ นคัมภีร์เรื่องใดเรื่องหนึ่งโดย
เฉพาะ ได้แก่ เรื่อง จักรวาฬทีปนี เป็ นเรื่องที่ค้นคว้ามีหลักฐานอ้างอิง คือ
พระไตรปิ ฎกและคัมภีร์ต่างๆ เรื่องนีว้ ่าด้วยจักรวาล คือ โลกและสรรพสิ่งที่มี
อยู่ในโลกจักรวาล คือ สัณฐานของโลก

พระสิริมังคลาจารย์ ได้รับเกียรติคุณเป็ นพระอาจารย์ของพระมหา


กษัตริย์แห่งล้านนาถึงสองพระองค์ คือ พระอาจารย์ ของพระเมืองแก้ว และ
พระเมืองแก้วทรงแต่งตัง้ ท่านเป็ นเจ้าอาวาสวัดเจ็ดยอดพร้อมถวายสมณศักดิ ์
ให้เป็ นพระสิริมังคลาจารย์ตามฉายาเดิม เคยเดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาใน
ลังกา ต่อมาได้เป็ นเจ้าอาวาสวัดสวนดอกจนถึงมรณภาพ

พระสิริมังคลาจารย์เป็ นพระสงฆ์ที่ทรงภูมิปัญญา ท่านเป็ นพระสงฆ์รูป


หนึ่งที่ทำให้อาณาจักรข้างเคียงรู้จักและยอมรับ ความเจริญรุ่งเรืองของยุค
63

ทองพุทธศาสนา และยุคทองของวรรณกรรมพุทธศาสนาของอาณาจักรล้าน
นา

เนื้อเรื่องย่อของคัมภีร์มังคลัตถทีปนี

คัมภีร์มังคลัตถทีปนี เป็ นเรื่องราวที่ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับมงคล


๓๘ ประการโดยแต่ละมงคลนัน
้ นอกจากจะอธิบายคาถาแล้ว ยังมีชาดก
ประกอบเนื้อเรื่องอีกด้วย เนื้อหาของคัมภีร์มังคลัตถทีปนี เป็ นเรื่องราวเกิด
ขึน
้ เมื่อประมาณ ๒๖ ศตวรรษมาแล้ว ประชาชนชาวชมพูทวีปโต้เถียงและ
อภิปรายถึงเรื่องราวต่างๆ มีเรื่องนางสีดา เป็ นต้น เรื่องหนึง่ ๆกว่าจะจบใช้
เวลาเถียงกันถึง ๖ เดือน ต่อมาวันหนึ่งได้มีความตื่นตัวที่จะศึกษาค้นคว้า
เรื่องราวของชีวิต หลายคนตัง้ คำถามขึน
้ ว่า อะไรคือมงคลของชีวิต รูปที่ได้
เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบเป็ นมงคล และใครเป็ นผู้ร้ม
ู งคล นาย
ทิฏฐมังคลิกะกล่าวว่า ข้าพเจ้ารู้มงคล รูปที่เราเห็นเป็ นมงคล นายสุตมังคลิก
ะกล่าวค้านว่า รูปที่เราเห็นไม่เป็ นมงคลเลย เสียงที่เราได้ยินต่างหากที่เป็ น
มงคล นายมุตมงคลกล่าวค้านอีกว่า เสียงที่เราได้ฟังนัน
้ ไม่เป็ นมงคลเลย สิ่งที่
เป็ นมงคลนัน
้ คืออารมณ์ที่เราทราบต่างหาก เมื่อนักโต้วาที ๓ คน กล่าวอย่าง
นัน
้ ผูฟ
้ ั งทัง้ หลายก็มค
ี วามคิดเห็นแตกต่างกันไป คือบางคนก็มีความเห็นด้วย
กับแนวคิดของนักโต้วาทีทงั ้ ๓ คน บางพวกก็ไม่เห็นด้วย ต่างก็โต้เถียงเรื่อง
มงคลกัน ปั ญหาเรื่องมงคลตกค้างยึดเยื้อมาถึง ๑๒ ปี ก็ยังหาข้อหยุดติไม่ได้
เมื่อเวลา ๑๒ ปี ผ่านไปได้มีเสียงพูดกันว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จักตรัส
มงคล คราวนีไ้ ด้มีเทพบุตรนำปั ญหาเรื่องมงคลเข้าเผ้าทูลถามพระพุทธเจ้า
64

ในขณะที่ประทับอยู่ที่พระเชตะวัน มหาวิหารใกล้เมืองสาวัตถี พระพุทธองค์


จึงตรัสว่า “สิง่ ที่เป็ นมงคลนัน
้ มี ๓๘ ประการ” ดังนี ้

๑ อเสวนา จ พาลานํ การไม่คบคนพาล๑

๒ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา การคบบัณฑิต๑

๓ ปูชา จ ปูชะนียานํ การบูชาบุคคลที่ควรบูชา๑นีเ้ ป็ นอุดมมงคล

๔ ปฏิรูปเทสวาโส จ การอยู่ในประเทศอันสมควร๑

๕ ปุพเฺ พ จ กตปุญญ
ฺ ตา ความเป็ นผู้มีบุญอันกระทำแล้วในกาลก่อน๑

๖ อตฺตสมฺมาปณิธิ จ การตัง้ ตนไว้ชอบ๑นีเ้ ป็ นอุดมมงคล

๗ พาหุสจฺจญฺจ การสดับตรับฟั งมากพาหุสัจจะ๑

๘. สิปฺปญฺจ การศึกษาศิลปะศิลปะ๑

๙. วินโย จ สุสิกฺขิโต วินัยที่ศึกษาดีแล้ว๑

๑๐. สุภาสิตา จ ยา วาจา วาจาสุภาษิต๑

๑๑. มาตาอุปฏฺฐานํ การบำรุงมารดา

๑๒. ปิ ตุอุปฏฺฐานํ การบำรุงบิดา

๑๓. ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห การสงเคราะห์บุตรและภรรยา

๑๔. อนากุลา จ กมฺมนฺตา การงานไม่อากูลคั่งค้าง

๑๕. ทานญฺจ ทานการให้


65

๑๖. ธมฺมจริยา การประพฤติธรรม

๑๗. ญาตกานญฺจ สงฺคโห การสงเคราะห์ญาติ

๑๘. อนวขฺขานิ กมฺมานิ การกระทำการงานที่ไม่มีโทษ

๑๙. อารตี วีรตี ปาปา การงดการเว้นจากบาป

๒๐. มฺชชปานา จ สญฺญโม การสำรวมจากน้ำเมา

๒๑. อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ ความไม่ประมาทในธรรมทัง้ หลาย

๒๒. คารโว จ ความเคารพ

๒๓. นิวาโต จ การอ่อนน้อมถ่อมตน

๒๔. สนฺตุฏฺฐี จ ความสันโดษ

๒๕. กตญฺญุตา ความกตัญญูร้ค


ู ณ

๒๖. กาเลน ธมฺมสฺสวนํ การฟั งธรรมตามกาล

๒๗. ขนฺตี จ ความอดทน

๒๘. โสวจสฺสตา ความเป็ นผู้ว่าง่าย

๒๙. สมณานญฺจ ทสฺสนํ การเห็นสมณะ

๓๐. กาเลน ธมฺมสากจฺฉา การสนทนาธรรมตามกาล

๓๑. ตโป จ ความเพียรเผากิเลส

๓๒. พฺรหฺมจริยญฺ จ การประพฤติพรหมจรรย์


66

๓๓. อริยสจฺจานทสฺสนํ การเห็นอริยสัจ

๓๔. นิพพ
ฺ านสจฺฉิกิริยา จ การทำนิพพานให้แจ้ง

๓๕.ผุฏฺฐสฺสโลกธมฺเมหิจิตฺตํยสฺสนกมฺปติ จิตของผู้ใดถูกโลกธรรมกระทบแล้ว
ไม่หวั่นไหว

๓๖. อโสกํ ความไม่เศร้าโศก๑

๓๗. วิรชํ จิตที่ปราศจากธุลี๑

๓๘. เขมํ เป็ นจิตเกษม ๑

คุณค่าของวรรณกรรม

คัมภีร์มังคลัตถทีปนี เป็ นวรรณกรรมชิน


้ เอกที่มีช่ อ
ื เสียงยิ่งของพระสิริมั
งคลาจารย์ ท่านได้อธิบายถึงความหมายชองมงคลที่มาจากพระสูตรโดย
ละเอียด ด้วยภาษาบาลีอันไพเราะสละสลวย และนำเรื่องคัมภีร์และชาดก
อื่นๆ มาอธิบายประกอบมังคลัตถทีปนี คัมภีร์นไี ้ ด้มีการแปลภาษาไทยความ
67

ยาวถึง ๘๙๓ หน้า และมีการพิมพ์เผยแผ่ครัง้ แล้วครัง้ เล่า คัมภีร์นก


ี ้ ่อให้เกิด
คุณค่าหลายๆประการด้วยกัน พอสรุปคุณค่าของมังคลัตถทีปนี ได้ดังนี ้

คุณค่าทางศาสนา

คัมภีร์มังคลัตถทีปนี เป็ นคัมภีร์ที่สำคัญของพระพุทธศาสนาที่สืบทอด


กันมา ถึงปั จจุบัน การอธิบายความในมงคลสูตร โดยมีที่มาปรากฏอยู่ในพระ
ไตรปิ ฎกอยู่ ๒ แห่ง ด้วยกันคือ ในขุททกปาฐะ ขุททกนิกายและทุติยวรรค
สุตตนิกาย ในพระสุตตันปิ ฎก ขุททกนิกาย มีอรรถกถา ชื่อปรมัตถโชติกา ซึง่
พระพุทธโฆสะเป็ นผู้รจนาไว้ อันเป็ นพระสูตรที่แสดงถึงการปฏิบัติที่เป็ น
มงคล ๓๘ ประการ คัมภีร์มังคลัตถทีปนีรจนาด้วยภาษาบาลีล้วน ปั จจุบัน
คัมภีร์นเี ้ ป็ นภาษาบาลีพิมพ์ด้วยอักษรไทย แบ่งออกเป็ น ๒ ภาค คือปฐโม
ภาโค (ภาคที่ ๑) และทุติโย ภาโค (ภาคที่ ๒) โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงชำระและสมเด็จพระพุทธโฆสาจารย์ (เจริญ
ญาณวรเถระ)วัดเทพศิรินทราวาสชำระอีกำ

คุณค่าทางวรรณคดี

คัมภีร์มังคลัตถทีปนีถือว่าเป็ นวรรณกรรมหรือวรรณคดีชน
ั ้ ยอดที่พระสิริมัง
คลาจารย์ ได้รจนาขึน
้ ลักษณะการแต่งคัมภีร์ เป็ นแบบร้อยแก้วผสมด้วย
คาถา สำหรับร้อยแก้วนัน
้ เป็ นการอธิบายความหมายของศัพท์ในคาถาหนึ่งๆ
ให้เข้าใจง่าย เช่น อเสวนาติ อภิชนา แปลความว่า คำว่า อเสวนา ได้แก่การ
ไม่คบ เป็ นต้น แล้วอธิบายความหมายของมงคลแต่ละข้ออย่างละเอียด
68

พร้อมยกอุทาหรณ์มีนิทานประกอบ มีนิทานที่ผู้รจนานำมาประกอบได้
เหมาะสมกลมกลืนกับหัวข้อธรรมนัน
้ ๆ คัมภีร์เล่มนีน
้ ับว่าเป็ นวิทยานิพนธ์ชน
ั้
บรมครูถือว่ามีคุณค่าทางวรรณกรรมสูง ซึ่งนักศึกษาที่เรียนรู้ประวัติวรรณคดี
โดยเฉพาะวรรณคดีบาลีจะต้องและเข้าใจ

คุณค่าต่อทางวิถีชีวิต

เรื่องราวหรือว่าเนื้อหาสาระของคัมภีร์มังคลัตถทีปนี เป็ นเรื่องของแนวทาง


การดำเนินชีวิตของผู้คนที่ต้องการความเป็ นมงคล ดำเนินชีวิตอย่างมีความ
สุข ซึง่ ประกอบด้วยมงคล ๓๘ ประการ เป็ นขอบเขตของการดำเนินชีวิตมิให้
ผิดพลาด ถ้าหากบุคคลในชุมชน สังคม และประเทศชาติ ต่างก็ปฏิบัติตาม
หลักมงคลสูตรนี ้ สังคม ชุมชนก็เป็ นสุข ประเทศก็จะเจริญเต็มไปด้วยผู้คนที่
มี

คุณธรรมและจริยธรรม การคบคนพาล มีโทษดังนี ้

๑. ทำให้ขาดจากประโยชน์ตน ประโยชน์คนอื่น ขาดจากประโยชน์ในโลกนี ้


และโลกหน้า

๒. ทำให้ประพฤติชั่วทางกาย วาจา และ ใจ

๓. ทำให้เสียชื่อเสียง

๔. ไม่มีใครนับถือ
69

๕. ทำให้คนเกลียดชัง

๖. ทำให้หมดความงามภายใน หมดความเป็ นสิริมงคล

๗. ทำลายวงศ์ตระกูลตนเอง

๘. ไปอบายภูมิ

คุณค่าทางภาษา

คัมภีร์มังคลัตถทีปนี ถือว่าเป็ นคัมภีร์ที่มีคุณค่าทางภาษาอย่างสูง โดย


เฉพาะภาษาบาลี พระสิริมังคลาจารย์ ได้รจนาคัมภีร์นี ้ เป็ นแบบร้อยแก้ว
ผสมคาถา การแต่งประโยคก็ใช้ประโยคง่ายๆไม่ยากจนเกินไป ทำให้ผู้ที่
ต้องการศึกษาแล้วเข้าใจในประโยคนัน

หลักสูตรในการจัดการศึกษาภาษาบาลีของคณะสงฆ์ไทย ให้พระภิกษุ
สามเณรได้ใช้เรียนขัน
้ เปรียญธรรม๕ และ ๕ ประโยค อีกด้วย ภาษาที่ท่าน
ใช้และลักษณะการแต่งคัมภีร์ เป็ นการอธิบายธรรมะให้เข้าใจง่าย คนอ่านได้
เพลินเพลิดสนุกสนานไปกับเนื้อเรื่องและธรรมแต่ละข้อ นิทานชาดกที่ยกมา
ก็ สอดคล้องกับธรรม คัมภีร์มังคลัตถทีปนี มีคุณค่าทางภาษา นานัปการ จึง
ถือว่าเป็ นแบบอย่างสำหรับการศึกษา การเรียบเรียงข้อมูลและการแต่ง
หนังสือโดยเฉพาะภาษาบาลีได้เป็ นออย่างดี
70

อิทธิพลของคัมภีร์มังคลัตถทีปนี

ด้านเศรษฐกิจ

คัมภีร์มังคลัตถทีปนี ตามที่ทราบแล้ว่าเป็ นคัมภีร์ที่อธิบายความของ


มงคลสูตร ๓๘ ประการ ถ้าหากจะกล่าวถึงคัมภีร์นเี ้ กี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ
โดยตรงแล้ว คัมภีร์นไี ้ ม่เกี่ยวข้องโดยตรงที่เดียว แต่เกี่ยวข้องทางอ้อม เพราะ
เศรษฐกิจนัน
้ คือการกินดี อยู่ดีของคนในสังคม และประเทศชาติ ประเทศ
ชาติจะเจริญก็เพราะมีเศรษฐกิจเป็ นเครื่องชีว้ ัด ความเจริญของประเทศ จึง
จะทำให้คนในสังคมนัน
้ มีการกินดี อยู่ดี ประกอยสัมมาชีพ ไม่เบียดเบียนผู้
อื่น ทำงานสุจริต เศรษฐกิจก็ดี ประเทศชาติก็เจริญ

ด้านการเมืองการปกครอง

อิทธิพลของคัมภีร์มังคลัตถทีปนี ที่มีต่อการเมืองการปกครอง ก็คงเป็ น


เช่นเดียวกันที่มีต่อเศรษฐกิจเพราะไม่ผลทางตรงเลยเดียว แต่มีในทางอ้อม
เพราะไม่ใช่หลักในการบริหารประเทศ แต่เป็ นหลักในการประพฤติปฏิบัติ
71

ของคนในชุมชน สังคม ประเทศชาติ ดังเช่นมงคลข้อที่ ๖ ตัง้ ตนไว้ที่ชอบ คำ


ว่าตนนี ้ หมายถึงร่างกายและจิตใจ คำว่าตัง้ ตนไว้ที่ชอบนัน
้ หมายถึงบุคคลผู้
นัน
้ มีความดำริชอบ มีความคิดที่ถูกต้องเป็ นสัมมาทิฎฐิ หรือถูกต้องตาม
ทำนองครองธรรม บ้านเมืองก็มีความเจริญ การบริหารประเทศก็จะไปด้วยดี
เพราะมีผู้นำตัง้ ตนไว้ชอบ

ด้านการศึกษา

คัมภีร์มังคลัตถทีปนี ที่มีอิทธิพลต่อการศึกษามีอิทธิพลทีเดียว ดังจะ


มองเห็นได้อยู่ ๒ ประการด้วยกัน คือ ประการแรก มีผลต่อการจัดการศึกษา
คัมภีร์มังคลัตถทีปนี ที่พระสิริมังคลาจารย์ ได้รจนาขึน
้ ถือว่าเป็ นคัมภีร์ชน
ั้
ยอดในทางพระพุทธศาสนาที่พระสงฆ์ไทยได้แต่งตัง้ ขึน
้ มา มีคุณค่าต่อพระ
ศาสนา โดยคณะสงฆ์ของไทยได้นำมาเป็ นหลักสูตรการศึกษาภาษาบาลีแก่
พระภิกษุสามเณรที่ศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีได้ศึกษาและจัดการ
พิมพ์เป็ นหลักสูตรการศึกษาของคณะสงฆ์แผนกบาลีใช้เรียนชัน
้ เปรียบธรรม
๔ ประโยค และหลักสูตรเปรียบธรรม ๕ ประโยค คัมภีร์นจ
ี ้ ึงมีคุณค่าทาง
ศาสนาให้คณะสงฆ์ได้เรียนรู้และนำไปเผยแผ่แก่ศรัทธาประชาชนอีก
มากมาย

ด้านสังคม
72

คัมภีร์มังคลัตถทีปนี มีอิทธิพลต่อสังคมโดยตรง เพราะเนื้อหาสาระเป็ น


เรื่องราวที่เกี่ยวกับสิ่งที่เป็ นมงคล บุคคลที่อยู่บนโลกนีไ้ ม่สามารถอยู่คนเดียว
ได้ เพราะมนุษย์เป็ นสัตว์สังคมที่มีความเกี่ยวข้องกันให้ความช่วยเหลือซึ่งกัน
และกันโดยบุคคลเริ่มมาจากครอบครัว ชุมชน และสังคม ในการอยู่ร่วมกัน
ก็มีกฎระเบียบในการควบคุมความประพฤติให้แต่ละบุคคลอยู่ในสังคมใน
ระเบียบเพื่อให้สังคมมีความสุข แต่บางครัง้ ผูค
้ นก็ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎ ตาม
ระเบียบต่างๆอิทธิพลของคัมภีร์มังคลัตถทีปนี มีต่อสังคมไทย พอสรุปได้ดังนี ้

๑. ด้านคติธรรมคำสอนในสังคม เช่นมงคลข้อที่ ๑๑ การเลีย


้ งดูบิดามารดา

๒. ด้านค่านิยมทางสังคม เช่นมงคลข้อที่ ๑๓ บำเพ็ญทาน

๓. ด้านวัฒนธรรมประเพณี เช่น มงคลข้อที่ ๑ ไม่คบคนพาล เป็ นต้น

จุดเด่นของคัมภีร์มังคลัตถทีปนี

คัมภีร์มังคลัตถทีปนีมีจุดเด่นในเรื่องลักษณะชองการแต่ง โดยมีการ
แต่งที่เป็ นทัง้ ร้อยแก้วผสมด้วยคาถา และอธิบายความหมายของข้อความใน
มงคลสูตรแต่ละข้ออย่างละเอียด ชัดเจน มีการยกนิทานชาดกมาประกอบ
ทำให้อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที นอกจากนัน
้ ท่านยังได้แสดงหลักฐาน อ้างอิง
หรือเชิงอรรถ แต่ละข้อความที่ท่านอ้างอิง ท่านจะบอกที่มาทุกเรื่อง ว่ามา
จากคัมภีร์เล่มไหน จากพระสูตรอะไร ว่าอย่างไร ทำให้คนอ่านได้รับรู้ และ
เข้าใจความเป็ นมาข้อความนัน
้ ๆ ได้เป็ นอย่างดี
73

การออิบายมงคลสูตรแต่ละข้อของพระสิริมังคลาจารย์ได้พบว่าพระสิ
ริมังคลาจารย์ใช้หลักการที่พระโบราณาจารย์ได้ใช้สืบๆต่อกันมา คือ หลัก ๕
ประการ ได้แก่

๑. สุตตะ หัวข้อหลักธรรมที่มาในพระไตรปิ ฎก นำมาตัง้ เป็ นบทอุทเทสเพื่อ


อธิบาย

๒. สุตตานุโลม ข้อมูลที่ปรากฏในพระไตรปิ ฎกเช่น คล้อยตามหัวข้อที่ตงั ้ ไว้


ใช้เป็ นข้อมูลสนับสนุนสุตตะ

๓. อาจริยวาท เป็ นคำอธิบายของอาจารย์ หมายถึงคำอธิบายของอรรถกถา


ที่อธิบายหัวข้อธรรมที่นำมาตัง้ เป็ นสุตตะ

๔. อัตโนมัติ เป็ นความเห็นส่วนตัวของแต่ละท่านแต่ละคน หมายเอาข้อมูลที่


ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษาค้านคว้าเรียบเรียงไว้

รูปแบบของคัมภีร์มังคลัตถทีปนี
74

โครงสร้างและการจัดลำดับของเนื้อหา

มังคลัตถทีปนี ที่ท่านพระสิริมังคลาจารย์ได้รจนาขึน
้ นัน
้ เป็ นการ
อธิบายมงคลแต่ละข้ออย่างละเอียด โดยยกหัวข้อธรรมที่มีในพระไตรปิ ฎก
มาตัง้ เพื่ออธิบาย นำข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง มีทงั ้ นิทาน และนิทานชาดก
อธิบายประกอบ ใช้คำง่ายๆที่จะทำให้คนทั่วไปเข้าใจได้ หลักฐานการอ้างอิง
ท่านบอกที่มา ว่ามาจากคัมภีร์ไหน พระสูตรอะไร พร้อมทัง้ ยกข้อความนัน

มาด้วย เป็ นลักษณะของการรจนาที่ให้ความสำคัญต่อเนื้อหาสาระมีการเรียง
ลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึน
้ ในเรื่องราวของชาดกต่างๆ ทัง้ คาถา และชาดกมี
ความสอดคล้องกัน เป็ นเหตุเป็ นผล

วิธีเขียน และภาษาที่ใช้เขียน

พระสิริมังคลาจารย์มีกลวิธีในการเขียนหรือกลวิธีในการใช้รูปแบบที่
หลากหลาย มีทงั ้ การอ้างอิงที่มา มีการเลือกใช้รูปแบบและลักษณะเนื้อหาให้
มีความเหมาะสมกัน เช่น มงคลข้อที่ ๓ การบูชาผู้ที่ควรบูชา (ปูชา จ ปู
ชนียนํ) คาถากล่าวถึงการบูชาผู้ที่ควรบูชา

นอกจากนัน
้ ท่านยังใช้กลวิธีอ่ น
ื อีกด้วย ดังเช่น มีการใช้กลวิธีการ
ชีแ
้ นะแนวคิดห้ามไม่ให้กระทำสิ่งที่ไม่ดี เช่น มงคลข้อที่ ๑๙ การางดเว้นจาก
บาป (อารตี วิรตี ปาปา) การงดเว้นจากบาป มีการยกนิทานประกอบด้วย
เป็ นต้น
75

การวิเคราะห์เปรียบเทียบมงคลในมังคลัตถทีปนีกับมงคลในพระไตรปิ ฎก

การวิเคราะห์เปรียบเทียบมงคลในมังคลัตถทีปนีกับมงคลในพระ
ไตรปิ ฎก จะมาเปรียบเทียบเฉพาะมงคลข้อที่ ๑ คือ อเสวนา จ พาลานํ (การ
ไม่คบคนพาล) เท่านัน
้ พอเป็ นแนวทางในการศึกษาและค้นคว้าเพิ่มเติมให้
เกิดความรู้อย่างกว้างขวางอีกต่อไป

มงคลที่ ๑ ที่มาในพระไตรปิ ฎกนัน


้ กล่าวเฉพาะในส่วนของเนื้อของคาถา
เท่านัน
้ คือ

อเสวนา จ พาลนํ ปณฺฑิตานญฺ จ เสวนา

ปูชา จ ปูชนียนํ เอตมฺมฺงฺคลมุตตฺมํ

แปลตามพระไตรปิ ฎกภาไทยใจความว่า

การไม่คบพาล การคบแต่บัณฑิต

การบูชาคนที่ควรบูชา นี่เป็ นมงคลอันสูงสุด

เนื้อหาสาระทัง้ หมดนีม
้ ีที่มาในพะไตรปิ ฎก ซึ่งแตกต่างจากที่มาใน
มังคลัตถทีปนี ที่ท่านพระสิริมังคลาจารย์ได้รจนาไว้ ส่วนที่แตกต่างนัน
้ พระสิ
ริมังคลาจารย์ ไม่ได้แปลความหมายหรือแก้ไขข้อความที่มาในพะไตรปิ ฎก
แต่ท่านได้วิเคราะห์เนื้อหาสาระ และเพิ่มเติมในส่วนของนิทานชาดกเข้ามา
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาของคาถาบทนีเ้ พิ่มมากขึน

การประยุกต์ใช้คัมภีร์มังคลัตถทีปนี
76

การประยุกต์ใช้คัมภีร์มังคลัตถทีปนี ถือว่ามีความสำคัญต่อสังคมไทย
ในยุคปั จจุบัน การนำเนื้อหาสาระของคัมภีร์มังคลัตถทีปนี มาประยุกต์ใช้จะ
ทำให้เกิดประโยชน์แก่สังคมอย่างมากในทุกๆด้าน ทัง้ ด้านเศรษฐกิจ สังคม
การเมืองการปกครอง ตลอดถึงการศึกษาคัมภีร์มังคลัตถทีปนี จะก่อให้เกิด
ประโยชน์ทงั ้ ในทางตรงและทางอ้อม เพราะรากฐานของการพัฒนาที่ถูกที่
ควรสังคมการเมืองการปกครอง มาจากตัวตนของคน ฉะนัน
้ หากคนได้รับ
การพัฒนาสังคมชุมชนก็มีความเจริญ คือหลักการปฏิบัติในมงคล ถ้าหากทุก
คนนำมงคลทัง้ ๓๘ ประการ มาประพฤติปฏิบัติก็จะเกิดผลดีต่อตนเองและผู้
อื่น เช่นการคบบัณฑิตที่จัดว่าเป็ นมงคล เป็ นความดี และความเจริญ

เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว หากคนมีการพัฒนาตามหลักที่ถูกที่ควร ก็จะ


ทำให้เป็ นคนที่มีสติ สัมปชัญญะ อยู่ในความไม่ประมาท อกุศลคือความชั่ว ที่
ยังไม่เกิดก็จะยังไม่เกิดขึน
้ ที่เกิดแล้วก็จะเสื่อมไป กุศลที่ยังไม่เกิดก็จะเกิดขึน

ที่เกิดแล้วก็จะเจริญงอกงามมากยิ่งขึน
้ เป็ นคัมภีร์ที่ประยุกต์ใช้ได้กับทุก
เหตุการณ์ ซึ่งใช้ได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย

สรุป

วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาสมัยล้านนามีอยู่หลายเรื่อง และมีพระ
เถระหลายรูปที่มีความรู้ความสามารถและได้รจนาคัมภีร์เอกสารทาง
พระพุทธศาสนามากมาย วรรณกรรม ที่สำคัญและรู้จักแพร่หลาย คือคัมภีร์
มังคลัตถทีปนี รจนาโดยพระสิริมังคลาจารย์ เมื่อ พ.ศ.๒๐๖๗ นับเป็ น
วรรณกรรมที่มีช่ อ
ื เสียงในการอธิบายความในมงคลสูตรมีเรื่องราวที่ประกอบ
ด้วยเนื้อหาสาระเกี่ยวกับมงคล ๓๘ ประการ ในแต่ละมงคลจะอธิบายคาถา
77

แล้ว ยังมีชาดกประกอบด้วยเนื้อเรื่องเนื้อหาของ มังคลัตถทีปนี เป็ นเรื่อง


ราวที่เกิดขึน
้ เมื่อประมาณ ๒๖ ศตวรรษ มาแล้ว

คัมภีร์มังคลัตถทีปนี เป็ นวรรณกรรมที่อธิบายความหมายมากมายของ


มงคลที่มาจากพระสูตรโดยละเอียดด้วยภาษาที่อันไพเราะสละสลวย ก่อให้
เกิดคุณค่าทางศาสนาทางวรรณคดีทางวิถีชีวิตและคุณค่าต่อภาษา มีการยก
หัวข้อธรรมที่มีในพระไตรปิ ฎกมาตัง้ เพื่ออธิบาย มีการนำเอานิทาน และ
นิทานชาดกมาอธิบายประกอบใช้คำง่ายๆ ที่ทำให้คนทั่วไปได้เข้าใจ สามารถ
นำมาประยุกต์ใช้ในสังคมปั จจุบันอย่างมากทัง้ ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
การปกครอง ตลอดถึงการศึกษา

บรรณนุกรม
ตาราเรียนอักษรไทยยวน ฉบับวัดศรีโคมคำ (คัมภีร์ใบลาน)

บุญคิด วัชรศาสตร์ . ภาษาเมืองล้านนา ฉบับเรียนด้วยตนเอง, ธาราทองการ


พิมพ์ : เชียงใหม่ , ๒๕๔๘.

บุญคิด วัชรศาสตร์. ภาษิตเมืองเหนือ. ธาราทองการพิมพ์ : เชียงใหม่ ,


๒๕๔ 3.
78

อ้วน ขันทะวงศ์ . หนังสือเรียนภาษาล้านนา , เอกสารแจกเนื่องในงาน


ทำบุญอายุวัฒนมงคล ครบ ๙๐ ปี พระธรรมวิมลโมลี วัดพระเจ้าตนหลวง
๑๑ กรกฎาคม ๒๕๔๙

จีรพันธ์ ปั ญญานนท์. ภาษาล้านนา. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขต


เชียงใหม่, 2542.

พระธรรมราชานุวัตร (ฟู อตฺตชีโว) หลักภาษาไทยพายัพ. เชียงใหม่, 2534.

มณี พยอมยงค์. ตำราเรียนหนังสือล้านนาไทย. เชียงใหม่, 2526.

พระธรรมวิมลโมลี (ปวง วงค์เรือง). แบบเรียนหนังสือไทยเหนือ. ธารทอง


การพิมพ์.เชียงใหม่.2547.

พระครูสุวรรณเจติยารักษ์. คติธรรมจากตุ๊ปู่. วัดบ้านปุ อำเภอเชียงคำ


จังหวัดพะเยา. 2546.

นันท์ นันท์ชัยศักดิ ์ . วรรณกรรมล้านนา. ณัฐพลการพิมพ์, ลำพูน , 2546.

เกษม ขนาบแก้ว แง่คิดจากวรรณคดีและวรรณกรรม, กรุงเทพฯ: โอเดียน


สโตร์ , ๒๕๕๐

บุญมา จิตจรัส. มงคล ๓๘ ประการ. กรุงเทพ ฯ : การศาสนา, ๒๕๓๓

บุณย์ นิลเกษ, ดร.คัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์สำหรับประชาชน เล่นที่ ๒ .เขียง


ใหม่: บุณยนิธิ, ๒๕๔๓
79

พรรณเพ็ญ เครือไทย. วรรณกรรมพุทธศาสนาในล้านนา. เชียงใหม่ :


สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับสำนักกองทุนสนับสนุนการ
วิจัย, ๒๕๔๐

http://www.lampang108.com

http://learners.in.th

http://www.geocities.com

You might also like