You are on page 1of 126

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

รายวิชา ฟิสกิ ส์ 5 (ว 33201)


มัธยมศึกษาปีที่ 6
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564

อาจารย์อริยพล จิวาลักษณ์
คำนำ

หนังสือเรียนวิชาฟิสิกส์ที่นักเรียนกำลังอ่านอยู่นี้เป็นความพยายามของอาจารย์ที่ได้ขัดเกลาเนื้อหาให้
เหมาะสมกับนักเรียน อาจารย์ได้แบ่งเนื้อหาในแต่ละบทออกเป็นเป็นหัวข้อย่อยๆ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความ
เข้าใจ ในส่วนของแบบฝึกหัด อาจารย์ได้นำข้อสอบ entrance ย้อนหลัง 40 ปี มาคัดเลือกโดยจัดเรียงตาม
หัวข้อและเรียงลำดับใหม่จากง่ายไปยาก อย่างไรก็ดียังคงมีข้อผิดพลาดในหนังสือเล่มนี้ อาจารย์คงต้องฝากให้
นักเรียนช่วยกันเรียน ช่วยกัน ทำความเข้าใจ และอาจารย์ยินดีรับ ข้อเสนอแนะจากนักเรียนเพื่อ ให้เอกสาร
ประกอบการเรียนเล่มนี้ดีขึ้นสำหรับรุ่นน้องของนักเรียนต่อไป
อาจารย์อยากให้นักเรียนตระหนักว่าวิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่สร้างความเข้า ใจพื้นฐานให้กับศาสตร์แขนง
ต่างๆ ฟิสิกส์อธิบายธรรมชาติ โดยสอนให้เราคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ เป็นขั้น เป็นตอน และมีเหตุมีผล
อาจารย์คิดว่าสิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับนักเรียนทุกคนที่เรียนในสายวิทยาศาสตร์ การเข้าใจฟิสิกส์
เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา อาจารย์เขียนหนังสือ สอนหนังสือ
วิชาฟิสิกส์ ไม่ได้เพื่อให้ทุกคนมาเรียนฟิสิกส์หรือกลายมาเป็นนักฟิสิกส์ แต่อาจารย์เขียนเพื่อให้พวกเราทุกคนที่
เรีย นวิช านี้ ได้ มีความเข้าใจในฟิส ิกส์มากขึ้น และเมื่อเรียนจบแล้ว จะได้มีฟิส ิกส์ติดตัว ไปบ้าง รวมทั้ง มี
ประสบการณ์และความทรงจำที่ดีเกี่ยวกับฟิสิกส์
สุดท้ายนี้อาจารย์ขออวยพรให้นักเรียนทุกคนประสบความสำเร็จในการเรียนตามที่หวังไว้ทุกประการ

อ.อริยพล จิวาลักษณ์
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำเตือน: อาจารย์ตั้งใจทำหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาเพื่อ ใช้เป็นเอกสารประกอบการเรียนในห้องเรียนเท่านั้น การทำความเข้าใจบทเรียนต่างๆ จำเป็นต้องอาศัย


คำอธิบายในห้องเรียนควบคู่ไปด้วย หนังสือเล่มนี้จึงไม่เหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้ศึกษาด้วยตัวเอง ดังนั้นนักเรียนควรเข้าเรียนทุกครั้งนะครับ :)
สารบัญ
หน้า
บทที่ 1: คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 1
1. ทฤษฎีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของแมกซ์เวลล์ 1
2. สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 4
- คลื่นวิทยุ 5
FM 5
AM 5
- ไมโครเวฟ 5
- รังสีอินฟราเรด 6
- แสงที่ตามองเห็น 6
- รังสีอัลตราไวโอเลต 6
- รังสีเอกซ์ 6
- รังสีแกมมา 6
3. โพลาไรเซชั่น 7
- แผ่นโพลารอยด์ 7
กั้นแสงไม่โพลาไรซ์ 7
กั้นแสงโพลาไรซ์ 7
- การสะท้อน 8
กฎของบรูสเตอร์ 8
- การกระเจิง 9
แบบฝึกหัด บทที่ 1 10
บทที่ 2: ของแข็งและของไหล 19
1. สภาพยืดหยุ่นและสภาพพลาสติก 21
- สภาพยืดหยุ่น 21
- สภาพพลาสติก 21
2. ความเค้น ความเครียด และมอดุลัสของยัง 22
- ความเค้น 22
- ความเครียด 22
- มอดุลัสของยัง 22
หน้า
3. แรงตึงผิว การโค้งของผิวของเหลว และการซึมตามรูเล็ก 23
- ความตึงผิว 23
- การโค้งของผิวของเหลว 24
- การซึมตามรูเล็ก 24
4. แรงหนืด 25
- กฎของสโตกส์ 25
5. ความดัน 27
- ความดันเกจ ความดันบรรยากาศ และความดันสัมบูรณ์ 28
ความดันเกจ 28
ความดันบรรยากาศ 28
ความดันสัมบูรณ์ 28
- เครื่องมือวัดความดัน 30
แมนอมิเตอร์ 30
บารอมิเตอร์ 31
6. กฎของพาสคัล 32
7. แรงลอยตัวและหลักของอาร์คิมีดิส 33
- แรงลอยตัว 33
- หลักของอาร์คิมีดิส 35
8. สมการความต่อเนื่อง 37
9. สมการแบร์นูลลี 39
- กฎของตอร์รีเชลลี 41
แบบฝึกหัด บทที่ 2 42
บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส 68
1. พลังงานความร้อน 69
- เปลี่ยนอุณหภูมิ 69
- เปลี่ยนสถานะ 69
- สมดุลความร้อน 71
2. การถ่ายโอนความร้อน 72
- การนำความร้อน 72
- การพาความร้อน 72
- การแผ่รังสีความร้อน 72
หน้า
3. การขยายตัวเชิงความร้อน 72
4. แก๊สอุดมคติ 73
- แบบจำลองของแก๊สอุดมคติ 73
- กฎของบอยล์ กฎของชาร์ล กฎของเกย์ลูสแซก และกฎของอโวกาโดร 74
- กฎของแก๊สอุดมคติ 76
5. ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส 77
- พลังงานจลน์ 77
พลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุล 77
พลังงานจลน์ของโมเลกุลทั้งหมด 77
- อัตราเร็ว 77
อัตราเร็ว rms 77
6. พลังงานภายในระบบ 80
7. งานที่ทำโดยแก๊ส 81
8. กฎของเทอร์โมไดนามิกส์ 82
- กฎข้อที่ 0 82
- กฎข้อที่ 1 82
9. P-V diagram และกระบวนการทางเทอร์โมไดนามิกส์ 83
- Isobaric 83
- Isochoric / Isovolumetric 83
- Isothermal 83
- Adiabatic 83
แบบฝึกหัด บทที่ 3 84
ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 1: คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Waves)
___________________________________________________________________________________________
บทที่ 1: คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Waves)

1. ทฤษฎีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของแมกซ์เวลล์
- สมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
2. สเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
- คลื่นวิทยุ
FM
AM
- ไมโครเวฟ
- รังสีอินฟราเรด
- แสงที่ตามองเห็น
- รังสีอัลตราไวโอเลต
- รังสีเอกซ์
- รังสีแกมมา
3. โพลาไรเซชั่น
- แผ่นโพลารอยด์
กั้นแสงไม่โพลาไรซ์
กั้นแสงโพลาไรซ์
- การสะท้อน
กฎของบรูสเตอร์
- การกระเจิง

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 1


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 1: คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Waves)
___________________________________________________________________________________________
1. ทฤษฎีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของแมกซ์เวลล์ (Maxwell’s electromagnetic theory).

นิวโป้งมือขวา 4 นิ้วที่เหลือ
สนามไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงตามเวลาจะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็ก ⃗
∆E → ⃗⃗
B

นิ้วโป้งมือซ้าย 4 นิ้วที่เหลือ
สนามแม่เหล็กที่เปลี่ยนแปลงตามเวลาทำให้เกิดสนามไฟฟ้า ⃗⃗
∆B → ⃗E

- สนามไฟฟ้า E ⃗ และสนามแม่เหล็ก B ⃗⃗ มีทิศ__________ซึ่งกันและกัน


- แมกซ์เวลล์ได้ทำนายว่าการเหนี่ยวนำอย่างต่อเนื่องระหว่างสนามไฟฟ้า E⃗ และสนามแม่เหล็ก B
⃗⃗ ทำให้เกิดเป็นคลื่น
แม่เหล็กไฟฟ้าแผ่ออกไปด้วยอัตราเร็วในสุญญากาศประมาณ c = _____ m/s เมื่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเคลื่อนที่ใน
ตัวกลางอื่นๆ อัตราเร็วจะมีค่าลดลง

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 2


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 1: คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Waves)
___________________________________________________________________________________________
- ตัวอย่างการเกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับที่ต่อเข้ากับสายอากาศ ท่อนโลหะของ
สายอากาศที่วางตัวอยู่ในแนวดิ่งจะมี อิเล็กตรอนในสายอากาศเคลื่อนที่กลับไปมาด้วยความเร่งในแนวดิ่ง ทำให้เกิด
สนามไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงตามเวลาและแผ่ออกไปจากสายอากาศ (คล้ายกับการแผ่ของคลื่นในเส้นเชือก) ซึ่ง
เหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็กที่เปลี่ยนแปลงตามเวลาด้วย เกิดเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแผ่ออกรอบสายอากาศทุก
ทิศทางในแนวรัศมี ยกเว้นในแนวดิ่งซึ่งเป็นแนวเส้นตรงเดียวกับสายอากาศ

- การเปลี่ยนแปลงสนามทั้งสองมี__________ กล่าวคือ มีค่าเป็นศูนย์พร้อมกัน และมีค่าสูงสุดพร้อมกัน


- ทิศทางความเร็วในการเคลื่อนที่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หาได้โดยใช้มือขวาชี้นิ้วทั้งสี่ไปตามทิศทางของสนามไฟฟ้า E ⃗
จากนั้นพับนิ้วทั้งสี่ไปหาทิศทางของสนามแม่เหล็ก B ⃗⃗ นิ้วหัวแม่มือจะชี้ทิศทางของความเร็ว c จะเห็นว่าทิศทางของ
สนามทั ้ ง สองตั ้ ง ฉากกั บ ทิ ศ ทางของความเร็ ว ในการเคลื ่ อ นที ่ ข องคลื ่ น ด้ ว ย ดั ง นั ้ น คลื ่ น แม่ เ หล็ ก ไฟฟ้ า จึ ง
เป็น__________
- คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถส่งผ่านพลังงานพลังงานออกไปได้โดย____________________

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 3


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 1: คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Waves)
___________________________________________________________________________________________
2. สเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic spectrum).

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีความถี่ต่อเนื่องกันเป็นช่วงกว้าง เรียกว่า ‘สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า’ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแต่


ละชนิดมีชื่อเรียกที่ต่างกันขึ้นกับแหล่งกำเนิดและการนำไปใช้งาน เมื่อพิจารณาสเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะเห็นว่าคลื่น
แม่เหล็กไฟฟ้าบางชนิดมีความถี่บางช่วงคาบเกี่ยวกัน

ชวนคิด ดาวฤกษ์สีน้ำเงินกับดาวฤกษ์สีเหลือง ดาวฤกษ์ดวงใดมีอุณหภูมสิ ูงกว่ากัน?

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 4


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 1: คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Waves)
___________________________________________________________________________________________
คลื่นวิทยุ (radio waves).

• การรวมสัญญาไฟฟ้าของเสียงเข้ากับคลื่นวิทยุ

คลื่นสัญญาณไฟฟ้าของเสียง

คลื่นวิทยุทำหน้าที่เป็นคลื่นพาหะ (carrier wave)

- AM (Amplitude Modulation)
f ≈ 1 MHz
แอมพลิจูดของคลื่นวิทยุเปลี่ยนแปลง

- FM (Frequency Modulation)
f ≈ 100 MHz
ความถีข่ องคลื่นวิทยุเปลี่ยนแปลง

• การกระจายเสียง
- คลื่นดิน (ground wave): ส่งตรงๆ ไปถึงผู้รับ จึงไปได้แค่ใกล้ๆ
- คลื่นฟ้า (sky wave): ส่งไปสะท้อนกับบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ก่อนไปถึงผูร้ ับ จึงไปได้ไกลกว่า
AM (ความถี่ต่ำ) สะท้อนกับไอโอโนสเฟียร์ได้ดี จึงใช้ทั้งคลื่นฟ้าและคลื่นดิน → ส่งได้ไกล
FM (ความถีส่ ูง) สะท้อนกับไอโอโนสเฟียร์ได้น้อย จึงใช้แต่คลื่นดิน → ส่งใกล้ๆ ต้องมีสถานีถ่ายทอดเป็นระยะๆ

• การรับเสียง
เมื่อคลื่นวิทยุที่ผสมคลื่นสัญญาณไฟฟ้าของเสียงไปถึงผู้รับ เครื่องรับจะแยกสัญญาณไฟฟ้าของเสียงออกจาก
คลื่นวิทยุ แล้วขยายให้มีแอมพลิจูดสูงขึ้น จากนั้นจึงส่งให้ลำโพงแปลงสัญญาณไฟฟ้านี้ให้ออกมาเป็นเสียงที่หูรับฟังได้

ไมโครเวฟ (microwaves).

- ทะลุผ่านชั้นบรรยากาศได้ดีกว่าคลื่นวิทยุ จึงใช้ส่งสัญญาณระยะไกลจากเครือ่ งส่งไปยังดาวเทียม จากนั้นดาวเทียมจะ


ส่งสัญญาณต่อไปยังเครื่องรับที่อยู่ไกลออกไป
- สะท้อนกับผิวโลหะได้ดี จึงใช้ในเรดาร์ (RADAR: radio detection and ranging) ซึ่งเป็นระบบที่นำไปใช้
ระบุตำแหน่งและอัตราเร็วของวัตถุ เช่น พายุ เครื่องบิน หรือการตรวจจับความเร็วรถบนท้องถนน

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 5


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 1: คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Waves)
___________________________________________________________________________________________
รังสีอินฟราเรด (infrared): คลื่นความร้อน.

- ผ่านชั้นบรรยากาศได้ดี และยังสามารถทะลุผ่านเมฆหมอกได้ดีกว่าแสง จึงใช้ในการถ่ายภาพพื้นโลกจากดาวเทียม


- ประสาทสัมผัสทางผิวหนังของมนุษย์ สามารถรับรู้รังสีอินฟราเรดได้
- โดยปกติวัตถุต่างๆ จะแผ่รังสีอินฟราเรดตลอดเวลา จึงมีการพัฒนากล้องที่อาศัยรังสีอินฟราเรดในการถ่ายภาพ
- ใช้งานในระบบควบคุมการทำงานของรีโมทคอนโทรล

แสงที่ตามองเห็น (visible light).

- ความยาวคลื่นในสุญญากาศอยู่ในช่วง _____ nm (สี_____) ถึง _____ nm (สี_____)


- ความถีป่ ระมาณ _____ Hz
- การผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ (solar cell)
- แหล่งกำเนิดแสงโดยทั่วไปจะให้แสงหลายความถี่ แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่องกำเนิดแสงความถี่เดียวที่มีความ
เข้มสูง เรียกว่า เลเซอร์ (LASER: light amplification by stimulated emission of radiation)

รังสีอัลตราไวโอเลต (ultraviolet: UV).

- การแผ่รังสีของดวงอาทิตย์จะมีรังสีอัลตราไวโอเลตแผ่มาด้วย เมื่อผ่านชั้นบรรยากาศของโลกรังสีอัลตราไวโอเลต
บางส่วนจะถูกชั้นบรรยากาศดูดกลืนก่อนกระทบผิวโลก
- ถ้าได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตในปริมาณที่มากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อผิวหนัง
- สามารถนำไปฆ่าเชื้อแบคทีเรียในอาหารและในเครื่องมือต่างๆ ได้

รังสีเอกซ์ (x-rays).

- สามารถทะลุผ่านสิ่งกีดขวางหนาๆ และจะถูกขวางกั้นโดยอะตอมของธาตุหนัก จึงถูกใช้ในการตรวจหาวัตถุอันตราย


ในกระเป๋าเดินทางโดยไม่ต้องเปิดกระเป๋า
- ใช้รังสีเอกซ์ผ่านร่างกายมนุษย์และสร้างภาพประกอบการวินิจฉัยความผิดปกติของอวัยวะ
- เนื่องจากรังสีเอกซ์มีความยาวคลื่นใกล้เคียงกับขนาดของอะตอม เมื่อฉายรังสีเอกซ์ผ่านผลึกจึงเกิดการเลี้ยวเบนได้ดี
ซึ่งจะทำให้สามารถคำนวณหาระยะห่างระหว่างอะตอมและการจัดเรียงตัวของอะตอมได้

รังสีแกมมา (gamma rays).

- รังสีคอสมิก (cosmic rays) ที่มาจากนอกโลก


- พบได้จากการสลายตัวของธาตุกมั มันตรังสี หรืออาจเกิดจากการชนกันของอนุภาคในเครื่องเร่งอนุภาค
- สามารถเคลื่อนที่ผ่านสิ่งกีดขวางได้ดี มีอำนาจทะลุทะลวงสูง และอาจทำให้ตัวกลางที่รังสีแกมม่าผ่านแตกตัวเป็น
ไอออนได้

คำถาม: คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงได้ที่ประสาทสัมผัสของมนุษย์รับรูไ้ ด้? _____________________________________?

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 6


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 1: คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Waves)
___________________________________________________________________________________________
3. โพลาไรเซชัน (polarization).

โพลาไรเซชันเป็นปรากฎการณ์ที่ แสดงให้เห็นว่า ____________________ แสงจากแหล่งกำเนิดทั่วไป เช่น ดวง


อาทิตย์ หลอดไฟ จะมีสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กวางตัวในแนวต่างๆ กัน
- แสงไม่โพลาไรส์ (unpolarized light): สนามไฟฟ้าวางตัวในแนวต่างๆ กัน
- แสงโพลาไรส์ (polarized light): สนามไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงในระนาบเดียว
การทำให้แสงไม่โพลาไรซ์เป็นแสงโพลาไรซ์

แผ่นโพลารอยด์ (polarization by selective absorption).

แผ่นโพลารอยด์เป็นแผ่นพลาสติกที่มีโมเลกุลของพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ (polyvinyl alcohol) ฝั่งอยู่ในพลาสติก


และแผ่นพลาสติกถูกยืดให้โมเลกุลของพอลิไวนิลแอลกอฮอล์เรียงตัวในแนวขนานกัน
เมื่อแสงผ่านแผ่นโพลารอยด์ องค์ประของสนามไฟฟ้าในแนวขนานกับแนวการเรียงตัวของโมเลกุลจะถูกโมเลกุล
ดูดกลืน ส่วนองค์ประกอบของสนามไฟฟ้าในแนวตั้งฉากกกับแนวการเรียงตัวของโมเลกุลจะผ่านแผ่นโพลารอยด์ออกไปได้
ต่อไป เรียกแนวที่ตั้งฉากกับแนวการเรียงตัวของโมเลกุลนี้ว่าแนวโพลาไรส์ของแผ่นโพลารอยด์ ดังนั้น องค์ประกอบของ
สนามไฟฟ้าของแสงในแนวขนานกับแนวโพลาไรส์ของแผ่นโพลารอยด์จะสามารถผ่านแผ่นโพลารอยด์ได้ ส่วนองค์ประกอบของ
สนามไฟฟ้าของแสงในแนวตั้งฉากกกับแนวโพลาไรส์จะถูกแผ่นโพลารอยด์ดูดกลืน
• กั้นแสงไม่โพลาไรซ์

• กั้นแสงโพลาไรซ์
ถ้าแกนของแผ่นโพลารอยด์ไม่ขนานกับทิศทางการสั่นของสนามไฟฟ้าจะมีแสงผ่านได้บางส่วน แสงที่ผ่านไปจะ
มีแกนของสนามไฟฟ้าขนานกับแกนของแผ่นโพลารอยด์ แต่มีความเข้มของสนามไฟฟ้าและความเข้มแสงลดลง

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 7


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 1: คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Waves)
___________________________________________________________________________________________
การสะท้อน (polarization by reflection).

เมื่อมุมตกกระทบมีค่าพอเหมาะทำให้รังสีสะท้อนตั้งฉากกับรังสีหักเห (θB + θ2 = 90°) จะทำให้แสงสะท้อนเป็น


แสงโพลาไรซ์ เรียกมุมตกกระทบนี้ว่า ‘มุมโพลาไรซ์ (polarizing angle)’ หรือ ‘มุมบรูวสเตอร์ (Brewster’s angle)’
• กฎของบรูสเตอร์ (Brewster’s law)
n
“ถ้าแสงตกกระทบด้วยมุมตกระทบ θB = tan-1 (n2 ) แสงสะท้อนจะเป็นแสงโพลาไรซ์”
1

n2
tan θB =
n1

θB θB n1

n2
θ2

n2
พิสูจน์ กฎของบรูสเตอร์ tanθB = n1

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 8


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 1: คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Waves)
___________________________________________________________________________________________
การกระเจิง (polarization by scattering).

เมื่อแสงอาทิตย์เคลื่อนที่ไปกระทบกับโมเลกุลของอากาศหรืออนุภาคในชั้นบรรยากาศ สนามไฟฟ้าของแสงจะถูก
ดูดกลืนโดยอิเล็กตรอนในโมเลกุลของอากาศ ทำให้อิเล็กตรอนสั่นกลับไปกลับมาในแนวเดียวกับสนามไฟฟ้า และปลดปล่อย
แสงที่มีสนามไฟฟ้าในทิศทางเดียวกับการสั่นออกมา แต่เนื่องจากแสงอาทิตย์ที่มาตกกระทบเป็นแสงไม่โพลาไรซ์ กล่าวคือ
ประกอบด้วยสนามไฟฟ้าที่สั่นในทุกทิศทาง ทำให้อิเล็กตรอนปลดปล่อยแสงออกมาในทุกทิศทาง เรียกว่า ‘การกระเจิง’

z
v⃗

x y

แสงที่มีความยาวคลื่นสั้น (แสงสีม่วง) จะกระเจิงได้ดีกว่าแสงที่มีความยาวคลื่นยาว (แสงสีแดง)


- ท้องฟ้าในตอนกลางวันเป็นสีฟ้า เพราะแสงเดินทางในอากาศเป็นระยะทางสั้นๆ แสงสีฟ้าซึ่งกระเจิงได้ดีกว่าจึง
ถูกกระเจิงมาเข้าตาเรา
- ท้องฟ้าในตอนรุ่งสางและตอนพลบค่ำเป็นสีแดง เพราะแสงเดินทางในอากาศเป็นระยะทางไกล ทำให้แสงสีฟ้า
ถูกกระเจิงทิ้งไปมาก จึงเหลือแต่แสงสีแดงมาเข้าตาเรา

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 9


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 1: คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Waves)
___________________________________________________________________________________________
แบบฝึกหัด บทที่ 1: คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Waves)

1. ทฤษฎีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของแมกซ์เวลล์ (Maxwell’s electromagnetic theory).

1.1. การเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กรูปใดที่เหนี่ยวนำให้เกิดสนามไฟฟ้าได้ถูกต้อง

1. ข้อ ก, ข
2. ข้อ ค, ง
3. ข้อ ก, ข, ค
4. ข้อ ก, ง
___________________________________________________________________________________________
1.2. กำหนดให้สนามแม่เหล็กมีทิศทางตามแนวระดับ ดังรูป

ถ้าสนามแม่เหล็ก B เปลี่ยนแปลงในทางลดน้อยลง สนามไฟฟ้าเหนี่ยวนำจะมีทิศอย่างไร

___________________________________________________________________________________________
1.3. กำหนดให้สนามไฟฟ้ามีทิศทางพุ่งขึ้น ในขณะที่สนามไฟฟ้า E มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น ทิศทางของสนามแม่เหล็ก
เหนี่ยวนำจะเป็นตามข้อใด

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 10


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 1: คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Waves)
___________________________________________________________________________________________
1.4. ถ้าสนามไฟฟ้า E1 กำลังเปลี่ยนแปลงในทางมากขึ้น มีทิศทางตามที่กำหนดให้ตามรูป อยากทราบว่าสนามแม่เหล็กและ
สนามไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะเป็นไปตามรูปใด

___________________________________________________________________________________________
1.5. (สสวท’60-6-12-2) ชายคนหนึ่งอยู่ที่เส้นศูนย์สูตรของโลก ทำให้เกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แผ่ขนานกับพื้นไปทางทิศเหนือ
และตรวจพบว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกไปนั้นมีการเปลี่ยนแปลงสนามไฟฟ้าอยู่ในแนวทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก
การเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กจะอยู่ในแนวใด

___________________________________________________________________________________________
1.6. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเคลื่อนไปทางแกน Z ความสัมพันธ์ของสนามแม่เหล็ก B กับสนามไฟฟ้า E เป็นไปตามรูปใด

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 11


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 1: คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Waves)
___________________________________________________________________________________________
1.7. (สสวท’60-6-49-3) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าขณะหนึ่ง ณ ตำแหน่ง O มีสนามไฟฟ้าขนานกับพื้นโลกชี้ไปทางทิศตะวันตก และ
สนามแม่เหล็กมีทิศตั้งฉากกับพื้นโลก ดังรูป

แหล่งกำเนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้อยู่ทางทิศใดของตำแหน่ง O

___________________________________________________________________________________________
1.8. (ENT’31) ข้อความต่อไปนี้ข้อใดกล่าวถูกต้องตามทฤษฎีเกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ก. ขณะประจุเคลื่อนที่ด้วยความเร่งหรือความหน่วงจะแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ข. เมื่อสนามแม่เหล็กเปลี่ยนแปลงจะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามไฟฟ้าโดยรอบยกเว้นบริเวณนั้นเป็นฉนวน
ค. บริเวณรอบตัวนำที่มีกระแสไฟฟ้าจะเกิดสนามแม่เหล็ก
1. ก, ข และ ค
2. ก และ ค
3. ค เท่านั้น
4. คำตอบเป็นอย่างอื่น
___________________________________________________________________________________________
1.9. (ENT’41 เม.ย.) ข้อความต่อไปนี้ ข้อใดผิดตามทฤษฎีเกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
1. เมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านลวดตัวนำ จะมีสนามแม่เหล็กเกิดขึ้นรอบๆ ตัวนำนั้น
2. เมื่อประจุมีการเคลื่อนที่ด้วยความเร่งหรือความหน่วง จะแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมา
3. ขณะที่มีฟลักซ์แม่เหล็กเปลี่ยนแปลงผ่านวงลวดตัวนำ จะมีกระแสไฟฟ้าในตัวนำนั้น
4. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็ก จะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามไฟฟ้าในบริเวณนั้น ยกเว้นบริเวณนั้นจะเป็นฉนวน
___________________________________________________________________________________________
1.10. (ENT’32) ข้อใดต่อไปนี้ผิด
1. สนามไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงจะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้นรอบๆ ไม่ว่าบริเวณนั้นจะเป็นที่ว่างหรือฉนวน
2. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะไม่เคลื่อนที่ออกไปในแนวที่ขนานกับสายอากาศ
3. เฟสของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่จุดใดจุดหนึ่งเป็นอย่างเดียวกัน
4. ประจุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่จะแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาอย่างคงที่

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 12


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 1: คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Waves)
___________________________________________________________________________________________
1.11. (ENT’33) จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
ก. อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง
ข. กลุ่มอิเล็กตรอนเคลื่อนที่ในตัวนำ
ค. อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ด้วยความหน่วง
เหตุการณ์ที่จะทำให้เกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คือ
1. ก และ ข
2. ข และ ค
3. ข
4. ค
___________________________________________________________________________________________
1.12. (สสวท’60-6-49-1) จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้ข้อใดไม่ถูกต้อง
1. การเปลี่ยนแปลงสนามไฟฟ้าทำให้เกิดสนามแม่เหล็กและการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กทำให้เกิดสนามไฟฟ้า
2. สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีเฟสต่างกัน 90 องศา
3. สำหรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กมีทิศทางตั้งฉากซึ่งกันและกันและตั้งฉากกับทิศทางการ
เคลื่อนที่ของคลื่นด้วย
4. ในตัวกลางเดียวกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกความถี่มีความเร็วเท่ากัน
___________________________________________________________________________________________
1.13. (สสวท’60-6-49-1) ใช้ลวดตัวนำต่อกับแบตเตอรี่และหลอดไฟจนครบวงจร ขณะกระแสไฟฟ้าสม่ ำเสมอ ลวดตัวนำนี้
ปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

___________________________________________________________________________________________
1.14. (สสวท’60-6-49-2) “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกชนิดมีอัตราเร็วเท่ากันในทุกตัวกลาง เท่ากับอัตราเร็วแสง” คำกล่าว
ข้างต้นนี้ถูกต้องหรือไม่ จงอธิบาย

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 13


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 1: คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Waves)
___________________________________________________________________________________________
1.15. ดาวเทียมไทยคมโคจรด้วยอัตราเร็วเชิงมุมเท่าโลกที่ตำแหน่งซึ่งสูงจากผิวโลก 36,000 กิโลเมตร สัญญาณคลื่นโทรทัศน์
ที่ส่งจากดาวเทียมไทยคมมายังผิวโลกจะใช้เวลาในการเดินทางกี่มิลลิวินาที
1. 120
2. 12
3. 1.2
4. 0.12

___________________________________________________________________________________________
1.16. (ENT’27) สมมติว่าโลกมีผิวเกลี้ยงกลมดิกและมีรัศมี R หน่วย และเสาอากาศส่งสัญญาณโทรทัศน์อันหนึ่งมีความสูง h
หน่วย อยากทราบว่าสัญญาณโทรทัศน์จากเสาอากาศนี้ที่ไปถึงเครื่องรับบนพื้นดินโดยตรง (โดยไม่ต้องมีสถานีถ่ายทอด
เป็นระยะๆ) นั้น ไปได้ไกลที่สุดประมาณเท่าไร
1. √Rh

2. √2Rh
h2
3.
R
R2
4.
h

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 14


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 1: คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Waves)
___________________________________________________________________________________________
2. สเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic spectrum).

2.1. (ENT’42 มี.ค. & A-NET’49) คลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ และแสงเลเซอร์ มีความถี่อยู่ในช่วง 104 - 109 เฮิรตซ์, 108 - 1012
เฮิรตซ์ และ 1014 เฮิรตซ์ ตามลำดับ ถ้าส่งคลื่นเหล่านี้จากโลกไปยังดาวเทียมดวงหนึ่ง ข้อต่อไปนี้ข้อใดถูกต้องมากที่สุด
1. คลื่นวิทยุจะใช้เวลาในการเคลื่อนที่ไปถึงดาวเทียมน้อยที่สุด
2. แสงเลเซอร์จะใช้เวลาในการเคลื่อนที่ไปถึงดาวเทียมน้อยที่สุด
3. คลื่นทั้งสามใช้เวลาเดินทางไปถึงดาวเทียมเท่ากัน
4. หาคำตอบไม่ได้ เพราะไม่ได้กำหนดค่าความยาวคลื่นของคลื่นเหล่านี้

___________________________________________________________________________________________
2.2. (ENT’30) กำหนดให้ t1, t2 และ t3 เป็นเวลาที่คลื่นเสียง (ความถี่ 20 – 2 × 104 Hz) คลื่นวิทยุ (ความถี่ 104 – 109 Hz)
และคลื่นไมโครเวฟ (ความถี่ 108 - 1012 Hz) เดินทางในระยะทางที่เท่ากันตามลำดับ ข้อใดที่ถูกต้อง
1. t1 > t2 > t3
2. t1 < t2 < t3
3. t1 = t2 = t3
4. คำตอบเป็นอย่างอื่น

___________________________________________________________________________________________
2.3. (ENT’33) รังสีอินฟราเรดและคลื่นไมโครเวฟ มีสิ่งที่เหมือนกันในข้อใดบ้าง
ก. เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ข. ประโยชน์ในการสื่อสารดาวเทียม
ค. ตรวจรับได้ด้วยฟิล์มถ่ายรูป
คำตอบข้อใดถูก
1. ก และ ข
2. ก และ ค
3. ข และ ค
4. คำตอบเป็นอย่างอื่น

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 15


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 1: คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Waves)
___________________________________________________________________________________________
2.4. (ENT’34) คำกล่าวต่อไปนี้ข้อใดบ้างที่ถูก
ก. คลื่นไมโครเวฟสะท้อนจากผิวโลหะได้ดี
ข. คลื่นโทรทัศน์เลี้ยวเบนอ้อมสิ่งกีดขวางเช่นรถยนต์ได้
ค. รังสีอัลตราไวโอเลตทะลุผ่านแก้วได้ดี
ง. คลื่นวิทยุเอเอ็ม (530 kHz – 1.6 MHz) สะท้อนได้ดีที่บรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์
1. ก, ข และ ค
2. ก และ ค
3. ง เท่านัน้
4. คำตอบเป็นอย่างอื่น
___________________________________________________________________________________________
2.5. (ENT’31) รังสีเอกซ์เมื่อถูกยิงผ่านก้อนผลึก ซึ่งอะตอมมีการจัดเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบ ทำให้เกิดการเลี้ยวเบนของรังสี
เอกซ์ขึ้นอย่างมีระเบียบ และนำมาถึงการคำนวณหาระยะระหว่างอะตอมได้ ทั้งนี้เนื่องจาก
1. รังสีเอกซ์เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงในช่วง 1016-1022 เฮิรตซ์ จึงมีพลังงานสูงพอทำให้เกิดการเลี้ยวเบน
2. รังสีเอกซ์มีความยาวคลื่นประมาณ 10-10 เมตร ซึ่งใกล้เคียงกับขนาดระยะห่างระหว่างแถวอะตอมในผลึก
3. รังสีเอกซ์ถูกสร้างขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงความเร็วของอิเล็กตรอนเมื่อผ่านอะตอมของเป้าโลหะ
4. รังสีเอกซ์สามารถเคลื่อนที่ทะลุผ่านสิ่งกีดขวางไม่ว่าจะหนาหรือบางได้
___________________________________________________________________________________________
2.6. (สสวท’60-6-50-2) แสงที่คนเรามองเห็นมีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 400 นาโนเมตร ถึง 700 นาโนเมตร จงหาช่วง
ความถี่ของแสงที่ตามองเห็น

___________________________________________________________________________________________
2.7. (สสวท’60-6-50-3) ถ้าดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทาง 384000 กิโลเมตร จงหาระยะเวลาที่แสงเคลื่อนที่จาก
ดวงจันทร์ถึงโลก

___________________________________________________________________________________________
2.8. (สสวท’60-6-50-4) แสงเคลื่อนที่จากดวงอาทิตย์ถึงโลกใช้เวลา 8 นาที 19 วินาที จงหาระยะทางจากดวงอาทิตย์ถึงโลก
ในหน่วยกิโลเมตร

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 16


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 1: คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Waves)
___________________________________________________________________________________________
3. โพลาไรเซชั่น (polarization).

3.1. (ENT’27) จากการทดลองของแสง การทดลองใดบ้างที่จำเป็นในการแสดงว่า แสงเป็นคลื่นตามขวาง


ก. การหักเห
ข. การเลี้ยวเบน
ค. โพลาไรเซชั่น
1. ทั้ง ก, ข และ ค
2. ก และ ข
3. ข และ ค
4. ค เท่านั้น
___________________________________________________________________________________________
แผ่นโพลารอยด์ (polarization by selective absorption).

3.2. ให้ความสว่างของแสงก่อนผ่านแผ่นโพลารอยด์เป็น I ถ้าความสว่างของแสงที่ผ่านแผ่นโพลารอยด์ 2 แผ่นประกบกันขณะ


แกนของแผ่นโพลารอยด์ขนานกันเป็น I1 และขณะแกนแผ่นโพลารอยด์ตั้งฉากกันเป็น I2 ข้อใดต่อไปนี้ถูก
I I
1. I1 = และ I2 =
2 2
I
2. I1 = I และ I2 =
2
I
3. I1 = และ I2 = 0
2
4. I1 = 0 และ I2 = 0

___________________________________________________________________________________________
3.3. (ENT’39) เมื่อนำโพลารอยด์ 2 แผ่นวางซ้อนกันโดยให้แกนของแผ่นทั้งสองตั้งฉากกัน ส่องดูแสงไม่โพลาไรซ์หลังแผ่นที่ 2
พบว่าไม่มีแสงผ่านออกมาเลย ถ้าต้องการให้มีแสงบางส่วนลอดออกมาได้ควรนำแผ่นโพลารอยด์แผ่นที่ 3 ไว้ที่ใด
1. หน้าแผ่นที่ 1 โดยที่แกนไม่ขนานกับแกนของแผ่นที่ 1 หรือแผ่นที่ 2
2. ระหว่างแผ่นทั้งสอง โดยที่แกนไม่ขนานกับแกนของแผ่นที่ 1 หรือแผ่นที่ 2
3. ระหว่างแผ่นทั้งสอง โดยที่แกนทำมุมใดๆ ก็ได้กับแผ่นที่ 1
4. หลังแผ่นที่ 2 โดยที่แกนทำมุมใดๆ ก็ได้กับแผ่นที่ 2

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 17


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 1: คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Waves)
___________________________________________________________________________________________
การสะท้อน (polarization by reflection).

3.4. เมื่อฉายแสงจากแก้วไปกระทบน้ำจะมีมุมบรูวสเตอร์เป็นเท่าไร กำหนดดรรชนีหักเหของน้ำและแก้วเป็น 1.3 และ 1.5


ตามลำดับ
1. tan-1 (0.87)
2. tan-1 (0.75)
3. tan-1 (1.15)
4. tan-1 (1.95)

___________________________________________________________________________________________
3.5. (A-NET’50) ถ้าให้แสงตกกระทบตัวกลางหนึ่งเป็นมุมตกกระทบ 45o พบว่ามุมหักเหเป็น 30o ถ้าต้องการให้แสงสะท้อน
จากตัวกลางนั้นเป็นแสงโพลาไรซ์ ต้องให้แสงตกกระทบด้วยมุมตกกระทบเท่าใด
1
1. sin-1 ( )
√2
-1
2. sin (√2)
3. tan-1 (√2)
1
4. tan-1 ( )
√2

___________________________________________________________________________________________
การกระเจิง (polarization by scattering).

3.6. (ENT’42 มี.ค.) แสงจากดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นแสงไม่โพลาไรซ์ เมื่อเดินทางกระทบโมเลกุลของอากาศในท้องฟ้า จะเกิดการ


กระเจิงออกรอบทิศทางดังรูป แสงกระเจิงทิศใดที่เป็นแสงที่โพลาไรซ์มากที่สุด

1. 0o
2. 45o
3. 90o
4. 135o

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 18


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)

1. สภาพยืดหยุ่นและสภาพพลาสติก
- สภาพยืดหยุ่น
- สภาพพลาสติก
2. ความเค้น ความเครียด และมอดุลัสของยัง
- ความเค้น
- ความเครียด
- มอดุลัสของยัง
3. แรงตึงผิว การโค้งของผิวของเหลว และการซึมตามรูเล็ก
- ความตึงผิว
- การโค้งของผิวของเหลว
- การซึมตามรูเล็ก
4. แรงหนืด
- กฎของสโตกส์
5. ความดัน
- ความดันเกจ ความดันบรรยากาศ และความดันสัมบูรณ์
ความดันเกจ
ความดันบรรยากาศ
ความดันสัมบูรณ์
- เครื่องมือวัดความดัน
แมนอมิเตอร์
บารอมิเตอร์
6. กฎของพาสคัล
7. แรงลอยตัวและหลักของอาร์คิมีดิส
- แรงลอยตัว
- หลักของอาร์คิมีดิส
8. สมการความต่อเนื่อง
9. สมการแบร์นูลลี
- กฎของตอร์รีเชลลี

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 19


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
สถานะและการเปลี่ยนสถานะของสสาร (states of matter and changes of state)ๆ

ของแข็ง ของเหลว แก๊ส

ดูดความร้อน

__________ __________
(fusion or melting) (vaporisation)

__________ __________
(solidification) (condensation)

__________
(sublimation)

คายความร้อน

ความหนาแน่น (density, ρ).


ความหนาแน่น คือ มวลของสารต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร มีหน่วยเป็นกิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (kg/m3)

m
ρ≡
V

เช่น ความหนาแน่นของน้ำ (ที่อุณหภูมิ 4.0 oC) เท่ากับ _____ kg/m3

ความถ่วงจำเพาะ (specific gravity: SG) หรือความหนาแน่นสัมพัทธ์.

ความถ่วงจำเพาะ คือ อัตราส่วนของความหนาแน่นของสารต่อความหนาแน่นของสารมาตรฐานชนิดหนึ่ง จึงไม่มี


หน่วย
สำหรับของแข็งและของเหลว โดยทั่วไปนิยมใช้น้ำเป็นสารมาตรฐาน ดังนั้นอาจพูดง่ายๆ ว่า ความถ่วงจำเพาะ
สำหรับของแข็งและของเหลวเป็นตัวเลขที่บอกว่าสารนั้นมีความหนาแน่นเป็นกี่เท่าของความหนาแน่นของน้ำ เช่น ปรอทมี
ความหนาแน่น 13.6 × 103 kg/m3 จะมีความถ่วงจำเพาะเป็น 13.6

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 20


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
ของแข็ง (Solid)

1. สภาพยืดหยุ่นและสภาพพลาสติก.

สภาพยืดหยุ่น (elasticity).

สภาพยืดหยุ่น คือ สมบัติของวัตถุที่มีการเปลี่ยนรูปร่างเมื่อ ถูกแรงกระทำ และกลับสู่รูปร่างเดิมเมื่อหยุดออกแรง


กระทำ เช่น ฟองน้ำ ยางรัดของ ยางลบ สปริง

สภาพพลาสติก (plasticity).

สภาพพลาสติก คือ สมบัติของวัตถุที่มีการเปลี่ยนรูปร่างไปอย่างถาวรเมื่อ ถูกแรงกระทำ โดยไม่มีการฉีกขาดหรือ


แตกหัก เช่น กระป๋องน้ำอัดลม ดินน้ำมัน
อย่างไรก็ตามวัตถุแต่ละชนิดจะอยู่ในสภาพยืดหยุ่นได้ที่แรงกระทำมีค่าน้อยๆ แต่จะอยู่ในสภาพพลาสติก (เสียรูป
อย่างถาวร) เมื่อได้รับแรงกระทำมากเกินค่าหนึ่ง

กราฟระหว่างขนาดของแรงทีม่ ือดึงสปริง (F) กับระยะยืดของสปริง (∆x)

F (N) ob: สภาพยืดหยุ่น


c
bc: สภาพพลาสติก
b
a

o ∆x (m)

oa: ระยะยืดของสปริงแปรผันตรงกับขนาดของแรงที่มือดึงสปริง (F ∝ ∆x) ตามกฎของฮุก


a: เป็นจุดสุดท้ายที่ระยะยืดของสปริงแปรผันตรงกับขนาดของแรงที่มือดึงสปริง
เรียกว่า ‘____________________ (proportional limit)’
ab: ระยะยืดของสปริงไม่แปรผันตรงกับขนาดของแรงที่มือดึงสปริง
แต่สปริงยังสามารถคืนตัวกลับสู่สภาพเดิมได้เมื่อหยุดออกแรงกระทำ
b: เป็นจุดสุดท้ายที่สปริงจะคืนตัวกลับสู่สภาพเดิมเมื่อหยุดออกแรงกระทำ
เรียกว่า ‘‘____________________ (elastic limit)’
bc: ระยะยืดของสปริงไม่แปรผันตรงกับขนาดของแรงที่ใช้ดึงสปริง
และสปริงไม่สามารถคืนตัวกลับสู่สภาพเดิมเมื่อหยุดออกแรงกระทำ
c: จุดแตกหัก (breaking point) วัตถุเริ่มขาดออกจากกัน

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 21


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
2. ความเค้น ความเครียด และมอดุลัสของยัง.

L0 ∆L

ሬFԦ F⊥ F⊥ ሬFԦ

ความเค้นตามยาว (longitudinal stress, σ).

ความเค้นตามยาว คือ อัตราส่วนระหว่างแรงที่กระทำในแนวตั้งฉากกับพื้นที่หน้าตัด F⊥ ต่อพื้นที่หน้าตัด A มีหน่วย


เป็นนิวตันต่อตารางเมตร (N/m2)

F⊥
σ≡
A

ความเครียดตามยาว (longitudinal strain, ε).

ความเครียดตามยาว คือ อัตราส่วนระหว่างความยาวที่เปลี่ยนไป ∆L ต่อความยาวเดิม L0 ของเส้นลวด ไม่มีหน่วย

∆L
ε≡
L0

มอดุลัสของยัง (Young’s modulus, Y).

มอดุลัสของยัง คือ อัตราส่วนระหว่างความเค้นตามยาว σ ต่อความเครียดตามยาว ε มีหน่วยเป็นนิวตันต่อตาราง


เมตร (N/m2)

σ
Y≡
ε
F/A
Y=
∆L/L0

มอดุลัสของยังเป็นค่าเฉพาะตัวขึ้นกับชนิดของวัสดุ
- วัตถุที่มีค่ามอดุลัสของยังสูง จะสามารถทนต่อแรงภายนอกได้มาก และเปลี่ยนรูปร่างได้ยาก
- วัตถุที่มีค่ามอดุลัสของยังต่ำ จะสามารถทนต่อแรงภายนอกได้น้อย และเปลี่ยนรูปร่างได้ง่าย

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 22


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
ของเหลว (Liquid)

3. แรงตึงผิว.

แรงตึงผิวเป็นแรงที่เกิดจากโมเลกุลของของเหลวที่บ ริเวณผิวหน้ายึดกันไว้ โดยที่บริเวณผิวของของเหลวแรงดึงดูด


ระหว่างโมเลกุลจะทำให้โมเลกุลที่ผิวของเหลวถูกโมเลกุลข้างเคียงดึงดูดมีทิศทางเข้าหาของเหลวและทิศทางในแนวสัมผัสผิว
ของของเหลว แรงในแนวสัมผัสนี้คือแรงตึงผิว ทำให้ผิวของของเหลวมีลักษณะเหมือนแผ่นฟิล์มที่ขึงตึง ดังนั้นแรงตึงผิวจึงมีทิศ
ขนานกับผิวของเหลวและตั้งฉากกับขอบผิวของเหลวที่สัมผัสกับวัตถุ

F F

ความตึงผิว (surface tension, γ).

ความตึงผิว คือ อัตราส่วนระหว่างขนาดของแรงตึงผิว (F) ต่อความยาว (L) ที่ตั้งฉากกับแรงตลอดแนวที่แรง


กระทำ มีหน่วยเป็นนิวตันต่อเมตร (N/m)

F
γ≡
L

∴ F = γL

ความตึงผิวเป็นค่าเฉพาะตัวขึ้นกับชนิดของของเหลว โดยความตึงผิวจะมีค่าลดลงเมื่อของเหลวมีอุณหภูมิสูงขึ้นและ
อาจมีค่าเปลี่ยนไปเมื่อของเหลวมีสารเจือปน เช่น น้ำสบู่มีความตึงผิวน้อยกว่าน้ำบริสุทธิ์

เส้นลวดตรงยาว l l F = γ(2l)

วงลวดรัศมี R R F = γ(2 × 2πR)

ฟิล์มสบู่ F = γ(2l)

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 23


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
การโค้งของผิวของเหลว (meniscus effect).

การโค้งของผิวของเหลว คือ ปรากฎการณ์ที่ผิวของเหลวบริเวณที่สัมผัสกับผิวภาชนะมีลักษณะโค้งเมื่อของเหลวอยู่


นิ่งในภาชนะ ซึ่งเกิดจากแรงระหว่างโมเลกุล (intermolecular force) 2 ชนิด
- แรงเชื่อมแน่น (cohesive force): แรงระหว่างโมเลกุลของ_______________
- แรงยึดติด (adhesive force): แรงระหว่างโมเลกุลของ_______________

ปรอท น้ำ

แรงเชื่อมแน่น _______ แรงยึดติด แรงเชื่อมแน่น _______ แรงยึดติด

การซึมตามรูเล็ก (capillary action).

การซึมตามรูเล็ก คือ ปรากฎการณ์ที่เมื่อจุ่มปลายข้างหนึ่งของหลอดรูเล็ก (capillary tube) (ซึ่งเป็นหลอดแก้วที่


มีปลายเปิดทั้งสองข้างและมีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยมาก) ลงในของเหลว จะพบว่าระดับของเหลวในหลอดสูงหรือต่ำกว่าระดับ
ของเหลวภายนอกหลอด

ปรอท น้ำ

ระดับปรอทในหลอด _______ ระดับปรอทภายนอกหลอด ระดับน้ำในหลอด _______ ระดับน้ำภายนอกหลอด

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 24


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
4. แรงหนืด (viscous force, Ԧf).

แรงหนืด คือ แรงต้านการเคลื่อนที่เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ผ่านของเหลวที่มีความหนืด มีทิศตรงข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่


ของวั ต ถุ (เช่ น เดี ย วกั บ กรณี ท ั ่ ว ไปของแรงเสี ย ดทาน) โดยขนาดของแรงหนื ด ในของเหลว f จะแปรผั น ตรงกั บ ขนาด
ของ__________ ของวัตถุ นั่นคือยิ่งวัตถุมีความเร็วมาก ของเหลวก็จะยิ่งออกแรงหนืดต้านการเคลื่อนที่มาก

f∝v

กฎของสโตกส์ (Strokes’ law).

สำหรับวัตถุทรงกลมที่มีความเร็วน้อยๆ

f = 6πηrv

เมื่อ η คือ ความหนืด (viscosity)


r คือ รัศมีของทรงกลม
ความหนืดเป็นค่าเฉพาะตัวขึ้นกับชนิดของของไหล ของเหลวที่มีความหนืดมากกว่า จะมีแรงหนืดมากกว่า ทำให้วัตถุ
เคลื่อนที่ในของเหลวได้ช้ากว่าการที่ผ่านของเหลวที่มีความหนืดน้อยกว่า นอกจากนี้ค วามหนืดยังขึ้นกับอุณหภูมิของของไหล
ด้วย กล่าวคือ ความหนืดจะมีค่าลดลงเมื่อของไหลมีอุณหภูมิสูงขึ้น

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 25


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
การทดลอง เมื่อปล่อยให้ลูกเหล็กกลมเคลื่อนที่ในของเหลวพบว่าอัตราเร็ว_______ในช่วงแรกของการจม จนถึงระดับ
ความลึกหนึ่ง ลูกเหล็กจะจมต่อไปด้วยอัตราเร็ว_____

สมการการเคลื่อนที่: ሬԦy = maԦy


ΣF
m
mg - FB - 6πηrv = ma

กราฟความเร็วกับเวลา: v (m/s)

t (s)

1. เริ่มปล่อย: วัตถุมีความเร็วต้นเป็นศูนย์ มีแต่ mg และ FB ยังไม่มี f


วัตถุจึงมีความเร่งมากที่สุด
2. เวลาผ่านไป: วัตถุจะมีความเร็วเพิ่มขึ้น ทำให้มี f ต้านการเคลื่อนที่มากขึ้นด้วย
วัตถุจึงมีความเร่ง_____ (แต่ความเร็วยังคงเพิ่มขึ้น!)
3. เวลาผ่านไปนานมากๆ: วัตถุจะมีความเร็วคงที่ เรียกว่า ‘___________ (terminal velocity)’
และจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วนี้ต่อไปเรื่อยๆ วัตถุจึงมีความเร่งเป็นศูนย์

สมการการเคลื่อนที่จะเขียนได้เป็น

mg - FB - 6πηrvปลาย = m (0)
mg = FB + 6πηrvปลาย

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 26


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
ของไหลสถิต (Static Fluids)

5. ความดัน (pressure, P).

ความดัน คือ ขนาดของแรงที่ของเหลวกระทำในแนวตั้งฉากต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ มี หน่วยเป็นนิวตันต่อตารางเมตร


(N/m ) หรือ_______ (pascal, Pa)
2

F⊥
P≡
A

จงเขียนทิศทางของแรงที่ของเหลวกระทำต่อผนังภาชนะแต่ละด้าน และทิศทางของแรงที่ของเหลวกระทำต่อผิววัตถุแต่ละด้าน
เมื่อวัตถุจมในของเหลว

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 27


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
ความดันเกจ ความดันบรรยากาศ และความดันสัมบูรณ์.

• ความดันเกจ (gauge pressure, Pg)


ความดันเกจ คือ ความดันที่เกิดขึ้นเนื่องจากน้ำหนักของของเหลว ซึ่งเป็นความดันทีเ่ ครื่องมือวัดได้ ความดันใน
ของเหลวขึ้นกับความลึก โดยความดันเกจในของเหลวที่มีความหนาแน่น ρ ทีต่ ำแหน่งลึกลงไปจากผิวของเหลวเป็นระยะ
h มีค่าเป็น

Pg = ρgh

สมการนี้บอกว่าในของเหลวชนิดเดียวกันที่ระดับความลึกเดียวกัน จะมีความดันเกจเท่ากัน โดยไม่ขึ้นกับรูปทรง


ของของเหลวในภาชนะที่บรรจุ

• ความดันบรรยากาศ (atmospheric pressure, Pa)


ความดัน 1 บรรยากาศ (1 atm) มีค่าเท่ากับ __________ N/m2
ความดันบรรยากาศ ณ ตำแหน่งใด มีค่าขึ้นกับความสูงจากระดับน้ำทะเล ณ บริเวณนั้น นอกจากนี้ยังขึ้นกับ
สภาพอากาศด้วย เช่น อุณหภูมิ โดยอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำจะหดตัว ทำให้มีความหนาแน่นมาก ความดันบรรยากาศจึงสูง

• ความดันสัมบูรณ์ (absolute pressure, P)


ความดันสัมบูรณ์ คือ ผลรวมของความดันเกจและความดันบรรยากาศ

P = Pg + Pa

คำถามทดสอบความเข้าใจ
ภาชนะทั้งสามมีระดับน้ำสูงเท่ากันและพื้นที่ก้นภาชนะเท่ากัน ดังรูป จงตอบคำถามต่อไปนี้

a) ความดันเกจที่ก้นภาชนะทุกใบเท่ากันหรือไม่

b) ความดันสัมบูรณ์ที่ก้นภาชนะทุกใบเท่ากันหรือไม่

c) แรงที่น้ำกระทำต่อก้นภาชนะทั้งสาม เนื่องจากความดันของน้ำเท่ากันหรือไม่

d) น้ำในภาชนะทั้งสาม เมื่อนำไปชั่ง จะมีน้ำหนักเท่ากันหรือไม่

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 28


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________

พิสูจน์ ความดันเกจ Pg = ρgh

พิจารณาของเหลวความหนาแน่น ρ ที่อยู่นิ่งในภาชนะเปิด จากนั้นลองจินตนาการถึงของเหลวก้อน


หนึ่งที่มีพื้นที่หน้าตัดด้านบนและด้านล่างเป็น A

P0 A

mg h

PA

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 29


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
เครื่องมือวัดความดัน.

• แมนอมิเตอร์ (manometer)
ใช้วัด__________ของแก๊สในถังปิด ประกอบด้วยหลอดแก้วรูปตัวยูที่บรรจุของเหลวที่ทราบความหนาแน่น ρ
ปลายด้านหนึ่งเปิดสู่อากาศและปลายอีกด้านต่อเข้ากับถังแก๊สที่ต้องการวัดความดัน จะทำให้ของเหลวในหลอดรูปตัวยู
ด้านที่เปิดสู่บรรยากาศขยับสูงขึ้นกว่าอีกด้านหนึ่งเนื่องจากความดันที่ต่างกัน ผลต่างความสูงของเหลวในหลอดแก้วรูปตัว
ยูสามารถใช้ในการหาความดันเกจได้

Pa

Gas

h
A B
ρ

หลัก: ความดันในของเหลวชนิดเดียวกันที่ระดับความลึกเดียวกันจะมีค่าเท่ากัน

PA = PB
Pgas = Pa + ρgh
Pgas - Pa = ρgh
Pg, gas = ρgh

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 30


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
• บารอมิเตอร์ (barometer)
ใช้วัด_______________ ประกอบด้วยหลอดแก้วยาวขนาดเล็กปลายด้านหนึ่งปิดสนิท บรรจุปรอทเต็ม แล้ว
นำไปคว่ำในอ่างปรอท โดยไม่ให้อากาศเข้าไปภายในหลอดได้

P0

ρ h

A B

หลัก: ความดันในของเหลวชนิดเดียวกันที่ระดับความลึกเดียวกันจะมีค่าเท่ากัน

PA = PB
Pa = P0 + ρgh

ปรอทมีความหนาแน่น ρ = __________ kg/m3 และเมื่อใช้บารอมิเตอร์นี้ที่ระดับน้ำทะเลพบว่า


ลำปรอทขึ้นไปในหลอดแก้วได้สูงจากผิวปรอทในอ่าง h = _____ cm ดังนั้น

Pa = (13.6 × 103)(9.8)(760 × 10-3)


Pa = __________ N/m2

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 31


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
6. กฎของพาสคัล (Pascal’s law).

‘เครื่องอัดไฮดรอลิก (hydraulic press)’ ประกอบด้วยลูกสูบเล็กและลูกสูบใหญ่บรรจุของไหลที่อัดตัวไม่ได้


เริ่มต้นลูกสูบเล็กและลูกสูบใหญ่อยู่ในสมดุลโดยมีระดับของเหลวทั้งสองลูกสูบเท่ากัน เมื่อวางแท่งเหล็กบนลูกสูบใหญ่ ทำให้
ลูกสูบใหญ่เคลื่อนที่ลง ในขณะที่ลูกสูบเล็กเคลื่อนที่ขึ้น แต่ถ้าวางนอตทีละตัวลงบนลูกสูบเล็ก ทำให้ลูกสูบเล็กเคลื่อนที่ลง
ในขณะที่ลูกสูบใหญ่เคลื่อนที่ขึ้น จนกระทั่งทำให้ลูกสูบทั้งสองอยู่ในสมดุล และมีระดับของเหลวเท่ากันเหมือนเดิมได้ พบว่า
น้ำหนักรวมของน็อตบนลูกสูบเล็กมีค่าน้อยกว่าน้ำหนักรวมของแท่งเหล็กมาก
เมื่อหาอัตราส่วนระหว่างแรงกดกับพื้นที่หน้าตัดของลูกสูบแต่ละอัน จะพบว่าอัตราส่วนดังกล่าวมีค่าเท่ากัน กล่าวคือ
การเพิ่มความดันที่ลูกสูบหนึ่งจะทำให้ความดันที่อีกลูกสูบหนึ่งเพิ่มขึ้นเท่ากัน จึงสรุปเป็นกฎของพาสคั ลได้ว่า “เมื่อเพิ่มความ
ดันให้ของเหลวที่อยู่นิ่งในภาชนะปิด ความดันที่เพิ่มขึ้นจะส่งผ่านไปทุกๆ จุดในของเหลวนั้น”

รูปด้านล่างแสดงการออกแรง F1 กระทำกับลูกสูบเล็กที่มีพื้นที่หน้าตัด A1 ทำให้มีความดันเพิ่มขึ้น P1 ส่งผลให้เกิด


แรงส่งผ่านในของเหลวไปยังลูกสูบใหญ่ เกิดแรง F2 ที่ลูกสูบใหญ่พื้นที่หน้าตัด A2 และมีความดันเพิ่มขึ้น P2 โดยลูกสูบใหญ่
สามารถยกวัตถุหนัก W ที่มีขนาดเท่ากับ F2

F1

A1 A2

F2

ขณะระบบลูกสูบสมดุล จากกฎของพาสคัล ความดันที่เพิ่มขึ้นที่ลูกสูบทั้งสองด้านเท่ากัน

P1 = P2
F1 F2
=
A1 A2

จะเห็นว่า A2 > A1 ดังนั้น F2 > F1 เครื่องอัดไฮดรอลิกจึงเป็นเครื่องกลที่ช่วยผ่อนแรง

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 32


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
7. แรงลอยตัวและหลักของอาร์คิมีดิส.

แรงลอยตัว (buoyant force, FሬԦB ).

ชวนคิด นำวัตถุชิ้นหนึ่งมาชั่งด้วยตาชั่งสปริง พบว่าขณะที่วัตถุลอยอยู่ในอากาศตาชั่งสปริงอ่านค่าได้ 4 N


ถ้านำวัตถุชิ้นนี้ไปชั่งในน้ำ ตาชั่งสปริงควรจะอ่านค่าได้เพิ่มขึ้น เท่าเดิม หรือลดลง?

การทดลอง

จากการทดลองพบว่า น้ำหนักวัตถุที่ชั่งในอากาศไม่เท่ากับน้ำหนักวัตถุที่ชั่งในน้ำ โดยที่น้ำหนักวัตถุที่ชั่งในน้ำน้อย


กว่าน้ำหนักวัตถุที่ชั่งในอากาศ และน้ำหนักน้ำที่ล้นออกมาเท่ากับน้ำหนักวัตถุที่หายไปเมื่อชั่งในน้ำ แสดงว่าขณะวัตถุจมในน้ำมี
แรงที่น้ำกระทำต่อวัตถุในทิศขึ้น แรงนี้คือ ‘แรงลอยตัว’ ซึ่งมีขนาดเท่ากับน้ำหนักของน้ำที่ล้นออกไปจากถ้วยยูเรก้า

FB = Wน้ำที่ล้นออกไป

FB = mน้ำที่ล้นออกไป g

FB = ρน้ำ V g
น้ำที่ล้นออกไป

FB = ρน้ำ V g
วัตถุทแี่ ทนที่น้ำ

FB = ρของเหลว Vวัตถุส่วนทีจ่ ม g

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 33


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________

พิสูจน์ แรงลอยตัว FB = ρของเหลว Vวัตถุส่วนที่จม g โดยใช้กฎของนิวตัน

พิ จ ารณาแรงในแนวดิ ่ ง ที ่ ข องเหลวกระทำกั บ วั ต ถุ ส ู ง h พื ้ น ที ่ ห น้ า ตั ด A จมในของเหลวที ่ มี


ความหนาแน่น ρ ผลต่างของแรงเนื่องจากความดันของของเหลวในแนวดิ่งที่กระทำกับวัตถุ คือแรง
ลอยตัว มีทิศขึ้นและมีขนาดดังนี้

FB = F2 - F1

พื้นที่หน้าตัด A F1 h1 FB = P2 A - P1 A
h2 FB = (Pa + ρgh2 )A - (Pa + ρgh1 )A
h
FB = ρgA (h2 - h1 )
F2 FB = ρgAh
FB = ρของเหลว Vวัตถุส่วนที่จม g

สรุปได้ว่า แรงลอยตัวเท่ากับน้ำหนักของของเหลวที่มีปริมาตรเท่ากับปริมาตรของวัตถุส่วนที่จม

ถ้าวัตถุลอยในของเหลว
FB

mg

แสดงว่า FB = mg
ρเหลว Vจม g = (ρวัตถุ Vวัตถุ )g

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 34


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
หลักของอาร์คิมีดิส (Archimedes’ principle).

พิจารณาของเหลวที่อยู่นิ่งในภาชนะ แล้วลองจินตนาการถึงของเหลวก้อนหนึ่ง พบว่าของเหลวรอบๆ จะต้องออก


แรงกระทำต่อของเหลวก้อนนี้ในแนวตั้งฉากกับผิว และผลรวมของแรงที่ของเหลวรอบๆ กระทำจะต้องมีทิศขึ้นและมีขนาด
เท่ากับน้ำหนักของของเหลวก้อนนั้น หลังจากนั้นลองจินตนาการต่อไปว่า ถ้าก้อนของเหลวในจินตนาการนี้ถูกแทนที่ด้วยวัตถุที่
มีรูปร่างเดียวกัน จะได้ว่าความดันที่ตำแหน่งต่างๆ บนผิววัตถุควรมีค่าเท่าเดิม ดังนั้นผลรวมของแรงที่ของเหลวรอบๆ กระทำ
ต่อวัตถุจึงมีขนาดเท่าเดิม นั่นคือมีขนาดเท่ากับน้ำหนักของก้อนของเหลวที่ถูกแทนที่ด้วยวัตถุ จึงสรุปได้ว่า
“วัตถุที่อยู่ในของไหลทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน จะถูกแรงลอยตั วจากของไหลกระทำ โดยขนาดแรงลอยตัวเท่ากับ
ขนาดน้ำหนักของของไหลที่ถูกวัตถุแทนที่”

FB = Wของเหลวที่ถูกแทนทีด่ ้วยวัตถุ
FB = m ของเหลวที่ถูกแทนที่ดว้ ยวัตถุ g
FB = ρของเหลว Vของเหลวที่ถูกแทนที่ด้วยวัตถุ g
FB = ρของเหลว Vวัตถุส่วนทีจ่ ม g

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 35


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
พลศาสตร์ของของไหล (Fluid Dynamics)

ของไหลอุดมคติ (ideal fluid).

• มีการไหลอย่างสม่ำเสมอ (steady flow or laminar flow):


ที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งในของไหลความเร็วของของไหลมีค่าคงตัว แต่ความเร็วของของไหลที่แต่ละตำแหน่ง
อาจมีค่าแตกต่างกัน
สำหรับการไหลอย่างสม่ำเสมอ อนุภาคที่เคลื่อนที่ผ่านจุดใดจุดหนึ่งจะมีการเคลื่อนที่ไปตามแนวที่มีอนุภาคบาง
ตัวได้เคลื่อนที่ไปก่อนหน้านั้นแล้ว เรียกเส้นแทนแนวการเคลื่อนที่ของของไหลนี้ว่า ‘__________ (stream line)’ โดย
สายกระแสแต่ละสายจะไม่ตัดกัน และทิศทางความเร็วของการไหลที่จุดใดๆ จะอยู่ในแนวสัมผัสกับสายกระแส ณ จุดนั้น

Note: การไหลที่เร็วมากหรือไม่สม่ำเสมออาจทำให้เกิดการไหลวน ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งของการไหลปั่นป่วน


(turbulent flow)
• ไม่มีความหนืด (non-viscous flow):
ไม่มีแรงเสียดทานภายในระหว่างชั้นของของไหล บนพื้นที่หน้าตัดเดียวกัน ทุกอนุภาคจะมีอัตราเร็วเท่ากัน
• ไม่สามารถอัดตัวได้ (incompressible flow):
ความหนาแน่นของของไหลมีค่าคงตัว
• ไม่หมุน (irrotational flow)
ไม่มีการไหลเชี่ยวและไม่มีการไหลวน

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 36


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
8. สมการความต่อเนื่อง (continuity equation).

พิจารณาการไหลของของไหลในท่อในท่ออันหนึ่งลักษณะดังรูป ของไหลไหลผ่านท่อบริเวณที่มีพื้นที่หน้าตัด A1
ด้วยความเร็ว v1 และไหลผ่านท่อบริเวณที่มีพื้นที่หน้าตัด A2 ด้วยความเร็ว v2

v1 v2
A1 A2

ผลคูณของพื้นที่หน้าตัดของท่อกับอัตราเร็วของของไหล เรียกว่า __________ (flow rate) มีหน่วยเป็นลูกบาศก์


เมตรต่อวินาที (m3/s) ซึ่งมีค่าเท่ากับปริมาตรของไหลที่ผ่านพื้นที่หน้าตัดของท่อในหนึ่งหน่วยเวลา
สมการความต่อเนื่อง มีใจความว่า “ในท่ออันหนึ่ง อัตราการไหลมีค่าคงตัว” ซึ่งสามารถเขียนได้เป็น

Av = ค่าคงตัว

A1 v1 = A2 v2

สมการนี้บอกว่าอัตราเร็วจะแปรผกผันกับพื้นที่หน้าตัด
- พื้นที่หน้าตัดใหญ่ อัตราเร็วจะน้อย
- พื้นที่หน้าตัดเล็ก อัตราเร็วจะมาก

พิสูจน์ สมการความต่อเนื่อง A1 v1 = A2 v2

v1 v2
A1 A2

s1
s2

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 37


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
ชวนคิด จงเปรียบเทียบความดันระหว่างจุดที่ 1 กับจุดที่ 2

1 2

1 2

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 38


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
9. สมการแบร์นูลี (Bernoulli’s equation).

พิจารณาของไหลที่ไหลผ่านสองตำแหน่งในท่ออันหนึ่งที่มีระดับความสูงต่างกันและมีขนาดของท่อต่างกัน ดังรูป ของ


ไหลเริ่มต้นไหลจากตำแหน่งสูง h1 = 0 (ซึ่งเป็นระดับอ้างอิง) ซึ่งมีความดัน P1 ด้วยความเร็ว v1 ในช่วงเวลาเดียวกัน จะมี
ของไหลที่ตำแหน่งสูง h2 = h (จากระดับอ้างอิง) ซึ่งมีความดัน P2 ด้วยความเร็ว v2

v2
h2 = h

P2

v1
h1 = 0

P1

สมการแบร์นูลลี มีใจความว่า “ผลรวมของความดัน พลังงานจลน์ต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร และพลังงานศักย์โน้มถ่วง


ต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร ณ ตำแหน่งใดๆ ภายในท่อที่ของไหลผ่าน มีค่าคงตัวเสมอ”

1
P + 2 ρv2 + ρgh = ค่าคงตัว
1 1
P1 + 2 ρv21 + ρgh1 = P2 + 2 ρv22 + ρgh2

สมการนี้บอกว่าที่ระดับเดียวกัน ความดันจะแปรผกผันกับอัตราเร็ว
- อัตราเร็วมาก (พื้นที่หน้าตัดเล็ก) ความดันจะน้อย
- อัตราเร็วน้อย (พื้นที่หน้าตัดใหญ่) ความดันจะมาก

ข้อควรระวัง! ตำแหน่งที่ 1 และตำแหน่งที่ 2 ต้องอยู่บนเส้นกระแสเดียวกัน


ดังนั้นสมการแบร์นูลลีจึงไม่สามารถใช้อธิบายการยกตัว ของปีกเครื่องบินได้ เนื่องจากตำแหน่งที่ 1 และ
ตำแหน่งที่ 2 (ใต้ปีกและเหนือปีก) ไม่ได้อยู่บนเส้นกระแสเดียวกัน

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 39


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________

1 1
พิสูจน์ สมการแบร์นูลลี P1 + 2 ρv21 + ρgh1 = P2 + 2 ρv22 + ρgh2

v2
A2
F2 = P2 A2
v1
A1 s2
F1 = P1 A1 h2

h1
s1

พิจารณาของไหลที่ไหลผ่านสองตำแหน่งในท่ออันหนึ่งที่มีระดับความสูงต่างกันและมีขนาดของท่อ
ต่างกัน ดังรูป ของไหลเริ่มต้นไหลจากตำแหน่งสูง h1 = 0 (ซึ่งเป็นระดับอ้างอิง ) ในช่วงเวลาหนึ่ง
ผ่านพื้นที่หน้าตัด A1 ด้วยความเร็ว v1 ได้ระยะ s1 และมีปริมาตร V1 = A1 s1 ในช่วงเวลา
เดียวกัน จะมีของไหลที่ตำแหน่งสูง h2 (จากระดับอ้างอิง) ผ่านพื้นที่หน้าตัด A2 ด้วยความเร็ว v2
ได้ระยะ s2 และมีปริมาตร V2 = A2 s2

เนื่องจากของไหลที่พิจารณาเป็นของไหลอุดมคติซึ่งไม่สามารถบีบอัดได้ ดังนั้นของไหลที่เคลื่อนที่ผ่าน
ตำแหน่งทั้งสองจะมีปริมาตร V เท่ากัน และมวล m เท่ากันตามสมการ m = ρ V

จากทฤษฎีบทงาน-พลังงานจลน์

Wทั้งหมด = ∆Ek
WF1 + WF2 + Wmg = Ek2 - Ek1
1 1
(+F1 s1 ) + (- F2 s2 ) + [- mg(h2 - h1 ) ] = 2 mv22 - 2 mv21
1 1
(+P1 A1 s1 ) + (- P2 A2 s2 ) + [- mgh2 + mgh1 ] = 2 mv22 - 2 mv21
1 1
(+P1 V) + (- P2 V) - mgh2 + mgh1 = mv22 - mv21
2 2
1 1
P1 - P2 - ρgh2 + ρgh1 = 2 ρv22 - 2 ρv21
1 1
P1 + 2 ρv21 + ρgh1 = P2 + 2 ρv22 + ρgh2

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 40


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
กฎของตอร์รีเชลลี (Torricelli's theorem).

ตัวอย่าง จงหาอัตราเร็วของของเหลวที่พุ่งออกจากรูด้านข้างถัง กำหนดให้รูนี้มีพื้นที่หน้าตัดน้อยมากเมื่อเทียบกับ


พื้นที่หน้าตัดของถัง

จึงสรุปเป็นกฎของตอร์รีเชลลีได้ว่า
“อัตราเร็วของน้ำที่ไหลออกจากรูรั่วมีค่าเท่ากับอัตราเร็วของวัตถุที่ตกอย่างอิสระจากความสูง h”

ชวนคิด น้ำจากรูไหนพุ่งไปตกได้ไกลสุด

H h
2
H

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 41


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
แบบฝึกหัด บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)

ของแข็ง (Solid)

2. ความเค้น ความเครียด และมอดุลัสของยัง.

2.1. (สสวท’60-5-196-17.1) ลวดโลหะเส้นหนึ่งยาว 12.0 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.2 มิลลิเมตร ถูกดึงให้ยืดออกด้วยแรง


ขนาด 380 นิวตัน ทำให้ลวดโลหะมีความยาวเป็น 12.1 เมตร จงหาความเค้นและความเครียดในลวดโลหะ

___________________________________________________________________________________________
2.2. (สสวท’60-5-201-17.2) ลวดทำมาจากอะลูมิเนียมมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.0 มิลลิเมตร ยาว 2.00 เมตร ลวดถูกดึงด้วย
แรง 200 นิวตัน จงหาความยาวของลวดที่เปลี่ยนไป กำหนดให้ค่ามอดุลัสของยังเท่ากับ 7.0 × 1010 นิวตันต่อตารางเมตร

___________________________________________________________________________________________
2.3. (ENT’37) ลวดทองแดงเส้นหนึ่งยาว 4 เมตร มีพื้นที่ภาคตัดขวาง 1 × 10-8 ตารางเมตร มีค่ามอดูลัสของยังเป็น 1.1 ×
1011 นิวตัน/ตารางเมตร จะต้องออกแรงดึงเท่าใดจึงจะทำให้ลวดเส้นนี้ยืดออกอีก 1 มิลลิเมตร
1. 0.2 N
2. 0.3 N
3. 0.4 N
4. 0.5 N
HW-2.3 (ENT’46 ต.ค.) ลวดเส้นหนึ่งยาวเท่ากับ L มีพื้นที่ภาคตัดขวางเป็น A และมีค่ามอดูลัสของยังเป็น Y ถ้าต้องการ
ยืดลวดนี้ให้ยาวขึ้น 1% จะต้องใช้แรงดึงเท่าใด
Y
1.
A
YA
2.
100
100Y
3.
LA
YLA
4.
100

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 42


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
2.4. (ENT’42 ต.ค.) แขวนมวล 400 กิโลกรัม กับเส้นลวดโลหะชนิดหนึ่งยาว 10 เมตร มีพื้นที่หน้าตัด 2 × 10-4 เมตร2
เส้นลวดนี้จะยืดออกเป็นระยะเท่าใด ถ้ากำหนดให้ค่ายังมอดูลัสของเส้นลวดนี้เป็น 2 × 1011 นิวตัน/เมตร2 (g = 10 m/s2)
1. 0.1 cm
2. 0.2 cm
3. 1.0 cm
4. 2.0 cm

HW-2.4 (A-NET’50) ลวดโลหะมีพื้นที่หน้าตัด 1 ตารางมิลลิเมตร ความยาว 80 เซนติเมตร มีมอดูลัสของยังเท่ากับ


9 × 1010 นิวตัน/ตารางเมตร ถ้าใช้ลวดนี้รับน้ำหนัก 45 นิวตัน ลวดจะยืดออกกี่มิลลิเมตร
1. 0.04 mm
2. 0.4 mm
3. 4 mm
4. 40 mm
___________________________________________________________________________________________
2.5. (สสวท’60-5-249-10) ลวดโลหะซึ่งมีความยาวเดิมเท่ากับ 1.5 เมตร และมีพื้นที่หน้าตัด 0.05 ตารางมิลลิเมตร มีค่า
มอดุลัสของยังเท่ากับ 7.5 × 1010 นิวตันต่อตารางเมตร หากแขวนวัตถุมวล 5 กิโลกรัม จงหาความยาวของลวดโลหะ
หลังจากแขวนวัตถุแล้ว

___________________________________________________________________________________________
2.6. (ENT’35) เมื่อแขวนมวล M ไว้ที่ปลายเส้นลวดดังรูป จะทำให้เส้นลวดยืดออก 0.12% ของความยาวเดิม ถ้าพื้นที่หน้าตัด
ของมวลเท่ากับ 0.20 ตารางมิลลิเมตร และมีค่ามอดูลั สของยังเท่ากับ 2.0 × 1011 นิวตัน/ตารางเมตร มวล M จะมีค่า
เท่าใด (g = 10 m/s2)

1. 48 กิโลกรัม
2. 24 กิโลกรัม
3. 4.8 กิโลกรัม
4. 2.4 กิโลกรัม

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 43


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
2.7. (ENT’31) ลวดยาว 1 เมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.1 เซนติเมตร สร้างจากโลหะที่มีคุณสมบัติความยืดหยุ่นดังรูป จงหา
ว่าลวดนี้จะยืดออกเท่าไร ถ้าใช้ในการยกวัตถุมวล 100 กิโลกรัม (g = 10 m/s2)

1. 2.5 cm
2. 5 cm
3. 6 cm
4. 10 cm

___________________________________________________________________________________________
2.8. (ENT’32) เส้นลวดที่ทำจากอะลูมิเนียม และเส้นลวดที่ทำจากเหล็กกล้า มีเส้นผ่านศูนย์กลางและความยาวตั้งต้นเท่ากัน
โดยมีค่ามอดูลัสของยังของเหล็กกล้าสูงกว่าของอะลูมิ เนียม ถ้านำวัตถุ 2 ก้อน มวลเท่ากันมาแขวนติดกับปลายเส้นลวด
ทั้งสองนี้ จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
ก. ความเค้นของลวดทั้งสองเส้นมีค่าเท่ากัน
ข. ความเครียดตามยาวของเส้นลวดที่ทำจากอะลูมิเนียมจะมีค่ามากกว่าเส้นลวดที่ทำจากเหล็กกล้า
ค. เส้นลวดที่ทำจากอะลูมิเนียมจะยืดออกมากกว่าเส้นลวดที่ทำจากเหล็กกล้า
ง. เส้นลวดที่ทำจากเหล็กกล้าจะยืดออกมากกว่าเส้นลวดที่ทำจากอะลูมิเนียม
คำตอบที่ถูกต้องทีส่ ุดคือ
1. ก, ข และ ค
2. ก และ ค
3. ค เท่านั้น
4. คำตอบเป็นอย่างอื่น

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 44


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
2.9. ลวดทำด้วยโลหะต่างชนิดกันสองเส้นยาวเท่ากัน มีพื้นที่หน้าตัดเป็น 0.1 และ 0.18 ตารางเซนติเมตร เมื่อดึงลวดทั้งสองนี้
ด้วยแรงเท่ากัน มันจะยืดออกเท่ากับ 0.3 และ 0.2 เซนติเมตร ตามลำดับ จงหาอัตราส่วนของมอดูลัสของยังของลวดเส้น
ที่หนึ่งต่อมอดูลัสของยังของลวดเส้นที่สอง
27
1.
100
5
2.
6
6
3.
5
100
4.
27

HW-2.9 (ENT’47 ต.ค.) ลวด A กับลวด B ยาวเท่ากัน พื้นที่หน้าตัดของ B เป็นสองเท่าของ A ดึงลวด B ด้วยแรง 50 N
จะต้องดึงลวด A ด้วยแรงกี่นิวตัน จึงจะยาวเท่ากับ B กำหนดว่าค่ามอดูลัสของยังสำหรับ A เป็น 3 เท่าของ B
1. 8.3
2. 33
3. 75
4. 300

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 45


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
2.10. (ENT’44 ต.ค.) ลวดชนิดเดียวกัน 2 เส้นเดิมยาว L และ L/2 ถูกถ่วงด้วยมวลดังรูป จงหาอัตราส่วนของระยะยืดของ
ลวดในรูปที่ 1 กับระยะยืดของลวดในรูปที่ 2

1. 4 : 1
2. 2 : 1
3. 1 : 2
4. 1 : 1

HW-2.10 (ENT’38) นำทองแดงและโลหะไม่ทราบชนิดที่มีพื้นที่หน้าตัดและความยาวเท่ากันมาผูกวัตถุมวล 7,000


กิโลกรัม แขวนห้อยไว้ในแนวดิ่ง ปรากฏว่าทองแดงยืดออกจากเดิม 1.75 มิลลิเมตร ขณะที่โลหะไม่ทราบชนิดยืดออก
จากเดิม 1.43 มิลลิเมตร ถ้าทองแดงมีค่ามอดูลัสของยังเท่ากับ 1.1 × 1011 นิวตันต่อตารางเมตร โลหะนี้จะมีค่ามอดูลสั
ของยังเท่ากับเท่าใด
1. 1.15 × 1011 N/m2
2. 1.35 × 1011 N/m2
3. 1.65 × 1011 N/m2
4. 1.85 × 1011 N/m2

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 46


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
ของเหลว (Liquid)

3. แรงตึงผิว การโค้งของผิวของเหลว และการซึมตามรูเล็ก.

แรงตึงผิว (surface tension force).

3.1. (ENT’30) แผ่นโลหะบางมากรูปวงกลมมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 7 เซนติเมตร นำไปลอยอยู่บนผิวน้ำ ถ้าการที่แผ่นโลหะนี้


สามารถลอยน้ำอยู่ได้เป็นผลมาจากแรงตึงผิวเพียงอย่างเดียว จงหาว่าโลหะแผ่นนี้มีมวลอย่างมากที่สุดเท่าใด กำหนดให้
ความตึงผิวของน้ำมีค่า 0.072 N/m (g = 10 m/s2)
1. 1.58 กรัม
2. 2.26 กรัม
3. 3.16 กรัม
4. 4.52 กรัม
___________________________________________________________________________________________
3.2. (สสวท’51-5-27-17.8) ถ้าออกแรงดึงเส้นลวดตรง ดังรูป เมื่อเพิ่มแรงดึงจนมีค่า 2.1 × 10-3 นิวตัน พบว่าลวดตรงเริ่ม
หลุดจากฟิล์มน้ำสบู่พอดี ถ้าระยะห่างระหว่างขาของโครงลวดรูปตัวยูเท่ากับ 5.0 เซนติเมตร ความตึงผิวของฟิล์มสบู่เป็น
เท่าใด

___________________________________________________________________________________________
3.3. (สสวท’60-5-211-17.3) วงแหวนบางมากผูกด้วยเชือกวางอยู่บนผิวของเหลวชนิดหนึ่ง วงแหวนนี้มีขนาดเส้นผ่าน
ศูนย์กลาง 4.0 เซนติเมตร และมีมวล 1.0 กรัม พบว่า ถ้าต้องการดึงวงแหวนให้หลุดออกจากผิวของเหลวพอดีดังรูป ต้อง
ออกแรงดึงเชือก T เท่ากับ 3.3 × 10-2 นิวตัน จงหาความตึงผิวของของเหลวนี้ (g = 9.8 m/s2)

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 47


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
4. แรงหนืด (viscous force, Ԧf).

4.1. (ENT’40) เมื่อหย่อนลูกโลหะทรงกลมเล็กๆ ลงในทรงกระบอกที่ทำด้วยแก้ว โดยมีน้ำมันบรรจุอยู่ ถ้าระยะ ab = bc =


cd การเคลื่อนที่ของลูกโลหะเป็นไปตามข้อใด

1. ช่วง a ถึง b มีความเร่ง ต่อจากนั้นจะมีความเร็วคงตัว


2. ช่วง a ถึง b มีความหน่วง ต่อจากนั้นจะมีความเร็วคงตัว
3. จาก a ถึง d มีความเร่งคงตัวตลอด
4. ช่วง a ถึง d มีความเร็วคงตัวตลอด

___________________________________________________________________________________________
4.2. (ENT’26) ในการทดลองเกี่ยวกับวัตถุตก ได้กราฟระหว่างความเร็ว (v) และเวลา (t) ดังรูป การที่ความเร็วผิดไปจาก
แนวเส้นตรงแสดงถึงสาเหตุใดต่อไปนี้

1. แรงเสียดทานคงที่
2. แรงเสียดทานที่เพิ่มขึ้นเมื่อเวลาเพิ่ม
3. แรงเสียดทานที่เพิ่มขึ้นเมื่อความเร็วสูง
4. แรงเสียดทานที่ลดลงเมื่อความเร็วสูง

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 48


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
ของไหลสถิต (Static Fluids)

5. ความดัน (pressure, P).

ความดันเกจ ความดันบรรยากาศ และความดันสัมบูรณ์.

5.1. (ENT’33) จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้


ก. ความดันในของเหลวขึ้นกับความลึกของของเหลว
ข. ความดันของของเหลวที่ผิวภาชนะมีทิศตั้งฉากกับผิวภาชนะ
ค. ความดันของของเหลวขึ้นกับชนิดของของเหลว
ง. ความดันของของเหลวไม่ขึ้นกับรูปร่างของภาชนะ แต่ขึ้นกับปริมาตร
จ. ความดันเกจของของเหลวที่จุดๆ หนึ่ง ขึ้นกับความดันบรรยากาศ
ข้อความทีป่ รากฏข้างบนนี้ มีข้อใดบ้างที่ถูกต้อง
1. ก, ข และ ค
2. ก และ ค
3. จ เท่านั้น
4. คำตอบเป็นอย่างอื่น
___________________________________________________________________________________________
5.2. (ENT’28) ความดันอากาศที่ระดับน้ำทะเลสูงกว่าความดันอากาศบนยอดเขา เพราะ
1. เมื่อเทียบอากาศที่หุ้มห่อโลกเป็นทะเลอากาศ ที่สุดขอบเขตของบรรยากาศเป็นผิวทะเล มีแผ่นดินเป็นก้นท ะเล
ดังนั้นที่ก้นทะเลอากาศก็ย่อมมีความดันสูงกว่าที่ผิวทะเล
2. ความยาวของแท่งอากาศที่เราแบกไว้บนตัวเราที่ระดับน้ำทะเล ยาวกว่าความยาวของแท่งอากาศที่เราแบกไว้เมื่ออยู่
บนยอดเขา ดังนั้นความดันอากาศซึ่งมีค่าเท่ากับแรงหรือน้ำหนักต่อหน่วยพื้นที่ที่ระดับน้ำทะเลจึงสูงกว่าบนยอดเขา
3. ถ้าแบ่งอากาศที่หุ้มห่อโลกออกเป็นชั้นๆ หนาเท่ากัน จะวาดภาพได้ว่าเป็นทรงกลมหุ้มโลกเป็นชั้นๆ ออกไป ชั้นนอก
1
ย่อมมีปริมาตรมากกว่าชั้นใน และเมื่อพิจารณาจากกฎของบอยล์ ที่กล่าวว่า p ∝ แล้ว จะเห็นว่าที่ระดับสูงหรือ
V
ห่างโลก V มาก P หรือความดันย่อมต่ำกว่าที่ระดับน้ำทะเลที่มี V น้อยกว่า
4. ความหนาแน่นของอากาศบนยอดเขาน้อยกว่าความหนาแน่นของอากาศที่ระดับน้ำทะเล จำนวนโมเลกุลอากาศที่
ระดับน้ำทะเลมากกว่า เป็นเหตุให้จำนวนครั้งที่ โมเลกุลอากาศชนทุกสิ่งที่สัมผัสมากครั้งกว่าความดันอากาศที่ระดับ
น้ำในทะเลจึงสูงกว่า

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 49


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
5.3. (ENT’32) พิจารณาภาชนะบรรจุน้ำ 3 ใบ ปริมาตรไม่เท่ากัน ดังรูป ถ้าความสูงของระดับน้ำในภาชนะทั้งสามใบมีค่า
เท่ากัน จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดต่อไปนี้

1. ความดันที่ก้นภาชนะทั้งสามใบมีค่าเท่ากัน แต่น้ำหนักของน้ำในภาชนะแต่ละใบมีค่าไม่เท่ากัน
2. ความดันที่ก้นภาชนะทั้งสามใบมีค่าไม่เท่ากัน แต่น้ำหนักของน้ำในภาชนะแต่ละใบมีค่าเท่ากัน
3. ความดันที่ก้นภาชนะและน้ำหนักของน้ำในภาชนะแต่ละใบมีค่าไม่เท่ากัน
4. ความดันที่ก้นภาชนะและน้ำหนักของน้ำในภาชนะแต่ละใบมีค่าเท่ากัน
___________________________________________________________________________________________
5.4. (ENT’47 มี.ค.) นักดำน้ำผู้หนึ่งสามารถทนความดันเกจได้มากที่สุดไม่เกิน 1.5 × 105 ปาสคาล จงหาว่าในขณะดำน้ำลง
ไปในแม่น้ำแห่งหนึ่ง เขาสามารถดำน้ำได้ลึกมากที่ สุดเท่าใด (กำหนดให้ค่าความหนาแน่นของน้ำเป็น 1000 กิโลกรัมต่อ
ลูกบาศก์เมตร) (g = 10 m/s2)
1. 10 m
2. 15 m
3. 20 m
4. 25 m
___________________________________________________________________________________________
5.5. (A-NET’51) ความดันสัมบูรณ์ที่ก้นเขื่อนลึก 100 เมตร เป็นกี่บรรยากาศ (g = 9.8 m/s2)
1. 7.8
2. 8.7
3. 9.7
4. 10.7
___________________________________________________________________________________________
5.6. (ENT’45 มี.ค.) ถัง 2 ใบ ใบหนึ่งมีน้ำอย่างเดียว อีกใบหนึ่งมีน้ำและน้ำมัน โดยชั้นของน้ำมันสูง 0.08 เมตร ดังรูป ความ
หนาแน่นของน้ำและน้ำมันเป็น 1,000 และ 850 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ จงหาว่าความดันที่ก้นถังทั้งสองใบ
จะต่างกันเท่าใด (g = 10 m/s2)
1. 15 Pa
2. 80 Pa
3. 120 Pa
4. 150 Pa

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 50


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
5.7. (ENT’42 มี.ค.) ของเหลว 3 ชนิด มีความหนาแน่น D1, D2, D3 บรรจุอยู่ในภาชนะดังรูป ถ้า D2 = 2D1 จงหาว่า D3 เป็น
กี่เท่าของ D1

1. 4 เท่า

2. 2 เท่า
1
3. เท่า
2
1
4. เท่า
4

___________________________________________________________________________________________
5.8. หลอดแก้วตัวยู ตอนล่างมีปรอทความหนาแน่น 13.6 × 103 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร เทของเหลวอีกชนิดลงในขาข้างหนึ่ง
ปรากฏว่าระดับของเหลวที่เติมสูง 10 เซนติเมตร ส่วนปรอทขยับสูงกว่าเดิม 0.8 เซนติเมตร ความหนาแน่นของของเหลว
อีกชนิดที่เทลงมามีค่าเท่าไร

1. 1.09 × 103 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร


2. 2.18 × 103 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร
3. 3.27 × 103 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร
4. 4.36 × 103 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 51


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
5.9. (ENT’43 มี.ค.) หลอดแก้วรูปตัวยูบรรจุน้ำ ใส่น้ำมันชนิดหนึ่งซึ่งไม่ละลายในน้ำและมีความหนาแน่น 0.8 กรัมต่อ
ลูกบาศก์เซนติเมตร ที่ด้านขวาสูง 10 เซนติเมตร ระดับผิวของน้ำด้านซ้ายมือจะต่ำกว่าระดับผิวบนของน้ำมันด้านขวามือ
เท่าใด
1. 0.2 cm
2. 0.4 cm
3. 0.8 cm
4. 2 cm

HW-5.9 (ENT’31) หลอดแก้วรูปตัวยู ดังรูป หลอดด้านขวามีพื้นที่หน้าตัดเป็น 2 เท่าของด้านซ้าย ตอนเริ่มต้นบรรจุน้ำ


ความหนาแน่น 1 × 103 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เอาไว้ และระดับน้ำในหลอดทั้งสองข้างสูงเท่ากัน ต่อมาเติมน้ำมัน
ความหนาแน่น 0.9 × 103 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ลงไปในหลอดด้านซ้าย โดยลำน้ำมันยาวเท่ากับ 10 เซนติเมตร จง
หาว่าระดับน้ำในหลอดด้านขวาจะสูงกว่าระดับน้ำในหลอดด้านซ้ายเท่าใด

1. 10 cm
2. 9 cm
3. 5 cm
4. 4.5 cm

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 52


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
5.10. (สสวท’60-5-251-20) ถังรูปลูกบาศก์มีความยาวด้านละ 1 เมตร บรรจุน้ำที่มีความหนาแน่น 1.0 × 103 กิโลกรัมต่อ
ลูกบาศก์เมตร ไว้เต็มถัง ให้ใช้ g = 10 m/s2 จงหา
a) แรงเนื่องจากความดันสัมบูรณ์ที่น้ำกระทำที่ก้นถัง

b) แรงเฉลี่ยเนื่องจากความดันสัมบูรณ์ที่น้ำเกลือกระทำที่ด้านข้างของถังหนึ่งด้าน

___________________________________________________________________________________________
5.11. (ENT’34) ถ้าระดับน้ำในตู้ปลารูปสี่เหลี่ยมเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า แรงทั้งหมดที่น้ำกระทำต่อด้านข้างของตู้ปลาจะเพิ่มขึ้น
เป็นกี่เท่า
1. 2
2. 4
3. 6
4. 8

HW-5.11 (ENT’43 ต.ค.) เนื่องจากฝนตกทำให้ระดับน้ำเหนือเขื่อนเพิ่มขึ้นจาก 8 เมตร เป็น 10 เมตร แรงดันที่น้ำ


กระทำต่อเขื่อนจะเพิ่มขึ้นจากเดิมกี่เปอร์เซ็นต์ ถ้าความกว้างของเขื่อนคงตัว
1. 25%
2. 34%
3. 56%
4. 64%
___________________________________________________________________________________________
5.12. จากรูปแสดงอ่างเก็บน้ำซึ่งมีความกว้าง 6 เมตร ให้คำนวณหาแรงลัพธ์ที่กระทำกับผนังอ่างเก็บน้ำ กำหนดให้ความ
หนาแน่นของน้ำ 1,000 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร, g = 10 เมตร/วินาที2 (g = 10 m/s2)
1. 750 กิโลนิวตัน
2. 1,060 กิโลนิวตัน
3. 1,500 กิโลนิวตัน
4. 1,677 กิโลนิวตัน

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 53


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
เครื่องมือวัดความดัน.

• แมนอมิเตอร์ (manometer)

5.13. (สสวท’60-5-250-14) ขาข้างหนึ่งของแมนอมิเตอร์ที่มีปรอทบรรจุอยู่ ถูกต่อเข้ากับถังสี่เหลี่ยมบรรจุแก๊สชนิดหนึ่ง


ปรากฏว่าระดับปรอทในขาทั้งสองข้างสูง 5 เซนติเมตร และ 15 เซนติเมตร ดังรูป ถ้าความดันของอากาศขณะนั้น
เท่ากับ 105 พาสคัล แก๊สในถังมีความดันสัมบูรณ์เท่าใด (g = 10 m/s2)

___________________________________________________________________________________________
5.14. (สสวท’60-5-227-17.5) ในการวัดความดัน P ของแก๊ส ใช้หลอดรูปตัวยูบรรจุปรอทที่มีความหนาแน่น 13.6 × 103
กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร ปรอทในหลอดแก้วรูปตัวยูฝั่งขวาสูงกว่าฝั่งซ้า ย 20.5 เซนติเมตร ความดันเกจและความดัน
สัมบูรณ์ของแก๊สเป็นเท่าใด (g = 10 m/s2)

___________________________________________________________________________________________
5.15. (ENT’29) บรรจุปรอทลงในแมนอมิเตอร์แบบหลอดแก้วรูปตัวยู แล้วปรับระดับปรอททั้ง 2 ข้าง ให้อยู่ที่ขีดศูนย์ เรียก
ปลายทั้งสองว่าปลาย A และปลาย B เมื่อนำปลาย B ต่อเข้ากับภาชนะบรรจุก๊าซที่ไม่ทำปฏิกิริยากับปรอทและก๊าซใน
3
ภาชนะมีความดันเป็น เท่าของความดันบรรยากาศ ต้องการทราบว่า ผลต่างของระดับปรอทในปลาย A และ B
4
ต่างกันเท่าใด
1. ปลาย A สูงกว่าปลาย B = 76/3 เซนติเมตร
2. ปลาย B สูงกว่าปลาย A = 76/3 เซนติเมตร
3. ปลาย A สูงกว่าปลาย B = 76/4 เซนติเมตร
4. ปลาย B สูงกว่าปลาย A = 76/4 เซนติเมตร

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 54


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
• บารอมิเตอร์ (barometer)

5.16. (ENT’45 ต.ค.) ใช้บารอมิเตอร์ดังรูปวัดความดันบรรยากาศที่ระดับน้ำทะเล พบว่าสามารถวัดระยะทางของของเหลว


ตามแนวยาวของหลอดแก้วได้ xm ถ้าเปลี่ยนของเหลวจากปรอทเป็นน้ำโดยวางหลอดแก้วในลักษณะเดิม (แต่เป็น
หลอดแก้วอันใหม่) ระยะทางของน้ำวัดตามแนวยาวของหลอดแก้วมีค่าเท่าใด (กำหนดให้ความหนาแน่นของน้ำเป็น
ρw และความหนาแน่นของปรอทเป็น ρm )

ρw
1. 2 xm
ρm
ρw
2. x
ρm m
ρm
3. 2 x
ρw m
ρm
4. x
ρw m
___________________________________________________________________________________________
5.17. (ENT’48 มี.ค.) ดูดน้ำหวานความหนาแน่น 1,020 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร จนน้ำหวานไหลเข้าไปในหลอดเป็นระยะ
0.1 เมตร โดยหลอดเอียงทำมุม 60 องศากับแนวดิ่ง ความดันอากาศภายในหลอดเหนือน้ำหวานเป็นเท่าใด (กำหนดให้
ความดันบรรยากาศในขณะนั้นเท่ากับ 1.010 × 105 พาสคัล) (g = 9.8 m/s2)

1. 1.001 × 105 Pa
2. 1.005 × 105 Pa
3. 1.010 × 105 Pa
4. 1.015 × 105 Pa

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 55


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
6. กฎของพาสคัล (Pascal’s law).

6.1. (สสวท’60-5-230-17.6) เครื่องยกไฮดรอลิกอย่างง่ายในศูนย์บริการรถยนต์แห่งหนึ่ง ลูกสูบใหญ่มีพื้นที่หน้าตัด 500


ตารางเซนติเมตร และลูกสูบเล็กมีพื้นที่หน้าตัด 2.00 ตารางเซนติเมตร ถ้าต้องการยกรถยนต์ที่มีน้ำหนัก 12 กิโลนิวตัน
ต้องออกแรงที่ลูกสูบเล็กเท่าใดจึงสามารถยกรถได้

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 56


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
7. แรงลอยตัวและหลักของอาร์คิมีดิส.

7.1. (สสวท’60-5-248-6) เรือลำหนึ่งมวล 4000 กิโลกรัม ลอยในน้ำซึ่งมีความหนาแน่น 1.0 × 103 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์


เมตร ให้ใช้ g = 10 m/s2 จงหา
a) แรงพยุงของน้ำที่กระทำต่อเรือ

b) ปริมาตรของเรือส่วนที่จมอยู่ใต้ผิวน้ำ

___________________________________________________________________________________________
7.2. (สสวท’60-5-251-17) นำแท่งไม้รูปลูกบาศก์มีความยาวด้านละ 0.5 เมตร มีความหนาแน่น 800 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์
เมตร ไปลอยในน้ำที่มีความหนาแน่น 1000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จงหาว่าแท่งไม้จมน้ำลึกเท่าใด

___________________________________________________________________________________________
7.3. (ENT’41 เม.ย.) วัตถุทรงกลมตันลูกหนึ่งลอยอยู่ในของเหลวโดยจมไปครึ่งลูกพอดี กำหนดว่าของเหลวมีความหนาแน่น
1.2 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร จงหาว่าความหนาแน่นของวัตถุมีค่าเท่าใด
1. 0.6 g/cm3
2. 0.8 g/cm3
3. 0.9 g/cm3
4. 1.0 g/cm3

HW-7.3-1 (ENT’43 ต.ค.) ท่อนไม้ลอยในน้ำที่มีความหนาแน่น 1000 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร พบว่ามีส่วนลอยน้ำ 1


ส่วนและจมน้ำ 4 ส่วนโดยปริมาตร ความหนาแน่นของท่อนไม้นั้นเท่าใด ในหน่วยกิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร

HW-7.3-2 (ENT’48 มี.ค.) วัตถุตันชิ้นหนึ่งลอยน้ำโดยมีปริมาตร 12% โผล่พ้นน้ำ จงหาความหนาแน่นของวัตถุนี้ใน


หน่วยกิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 57


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
7.4. (ENT’33) น้ำแข็งมีความหนาแน่น 0.92 × 103 kg/m3 ลอยอยู่ในน้ำทะเลที่มีความหนาแน่น 1.04 × 103 kg/m3 จงหา
ว่าน้ำแข็งจมน้ำเป็นปริมาตรกี่เปอร์เซ็นต์
1. 86.9%
2. 87.7%
3. 88.5%
4. 89.0%

___________________________________________________________________________________________
7.5. (ENT’42 ต.ค.) ขวดใส่ลูกกวาดทรงกระบอกใบหนึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร ลอยอยู่ในน้ำดังรูป จงคำนวณว่า
ขวดและลูกกวาดมีมวลรวมกันเท่ากับเท่าไร

1. 780 g
2. 1,180 g
3. 1,570 g
4. 1,960 g
___________________________________________________________________________________________
5
7.6. (A-NET’52) แผ่นไม้หนาสม่ำเสมอ มีความหนาแน่น เท่าของความหนาแน่นน้ำ เมื่อนำไปลอยน้ำจะรับน้ำหนักได้สงู สุด
7
เป็นกี่เท่าของน้ำหนักของแผ่นไม้เองโดยไม่จม
2
1.
7
2
2.
5
5
3.
7
7
4.
5

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 58


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
7.7. (ENT’44 ต.ค.) ลังรูปลูกบาศก์มีฝาปิด วางอยู่บนพื้นลื่น แต่ละด้านยาว 0.5 เมตร หนัก 200 นิวตัน วันหนึ่งฝนตก
น้ำท่วม ระดับน้ำจะต้องขึ้นสูงจากพื้นเท่าใด ลังจึงเริ่มลอย (ให้ความหนาแน่นของน้ำเท่ากับ 1,000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์
เมตร) (g = 10 m/s2)
1. 0.01 m
2. 0.04 m
3. 0.08 m
4. 0.25 m
___________________________________________________________________________________________
7.8. (ENT’45 ต.ค.) ทรงกลมกลวงทำด้วยวัสดุชนิดหนึ่งมีรัศมีภายนอก 10.0 เซนติเมตร และรัศมีภายใน 5.0 เซนติเมตร
นำไปลอยในน้ำซึ่งมีความหนาแน่น 1000 กิโลกรัม/เมตร3 พบว่าทรงกลมจมไปครึ่งหนึ่ง จงหาความหนาแน่นของวัสดุ
ดังกล่าว
1. 210 kg/m3
2. 500 kg/m3
3. 570 kg/m3
4. 740 kg/m3
___________________________________________________________________________________________
7.9. (A-NET’51) นำวัตถุ A ที่มีความหนาแน่น ρ ไปลอยในของเหลว พบว่า A จมลงครึ่งหนึ่งของปริมาตร ถ้านำวัตถุ B ที่มี
ความหนาแน่น 2ρ ไปลอยในของเหลวเดียวกันจะเป็นอย่างไร
1
1. จมลงไป ของปริมาตร
4
1
2. จมลงไป ของปริมาตร
3
3
3. จมลงไป ของปริมาตร
4
4. จมพอดี

HW-7.9 (ENT’43 มี.ค.) พลาสติกสองชิ้น A และ B พลาสติก B มีความหนาแน่นเป็น 1.5 เท่าของพลาสติก A ทั้งสอง
ชิ้นมีรูปทรงเป็นทรงกระบอกกลม ถ้าชิ้น A มีพื้นที่ฐานเป็นสองเท่าของชิ้น B เมื่อนำชิ้น A มาลอยน้ำจะจมลงครึ่งหนึ่งของ
ความสูงทรงกระบอกพอดี จงวิเคราะห์ว่าถ้านำพลาสติกชิ้น B มาลอยน้ำ ชิ้น B จะจมกี่ส่วนของความสูงทรงกระบอก
1. จม 1/4 ของความสูงทรงกระบอก
2. จม 1/2 ของความสูงทรงกระบอก
3. จม 3/4 ของความสูงทรงกระบอก
4. จมทั้งชิ้น

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 59


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
7.10. (A-NET’50) กล่องขนาด 10 × 10 × 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร เมื่อลอยในน้ำทะเล (ความหนาแน่น 1,025 กิโลกรัม/
ลูกบาศก์เมตร) จะลอยปริ่มน้ำพอดี ถ้านำไปลอยในน้ำจืด (ความหนาแน่น 1,000 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร) จะเป็นตาม
ข้อใด
1. ลอยปริ่มน้ำเหมือนเดิม
2. ลอยพ้นน้ำ 0.25 cm
3. ลอยพ้นน้ำ 1.025 cm
4. จมน้ำ
___________________________________________________________________________________________
7.11. โลหะผสมมวล 2 กิโลกรัม มีความหนาแน่น 2.5 × 103 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร ผูกติดกับตาชั่งและจมอยู่ในน้ำ ดังรูป
(g = 10 m/s2)

a) ตาชั่ง A จะอ่านค่าได้กี่นิวตัน กำหนดให้ความหนาแน่นของน้ำ 103 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร

b) ถ้าเดิมน้ำและภาชนะหนัก 50 นิวตัน เมื่อหย่อนโลหะลงไป ตาชั่ง B ตัวล่างจะอ่านน้ำหนักได้เท่าใด

HW-7.11 (ENT’46 ต.ค.) วัตถุมวล 18 กิโลกรัม มีความหนาแน่น 3000 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร จงหาว่าเมื่อนำวัตถุ


นี้ไปชั่งหาน้ำหนักในน้ำที่มีความหนาแน่น 1000 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร จะอ่านน้ำหนักได้กี่นิวตัน (g = 10 m/s2)

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 60


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
7.12. (A-NET’52) วัตถุห้อยแขวนจมอยู่ในของเหลว แรงตึงในเส้นเชือกเท่ากับ F ความหนาแน่นของวัตถุเป็นเท่าใด

F
1. ρ +
Vg
F
2. ρ -
Vg
F
3.
Vg
4. ρ
___________________________________________________________________________________________
7.13. (ENT’47 ต.ค.) ก้อนวัสดุซึ่งภายในกลวง ชั่งในอากาศหนัก 0.98 N ชั่งในน้ำหนัก 0.49 N ปริมาตรของโพรงเป็นกี่
ลูกบาศก์เซนติเมตร กำหนดว่า เนื้อวัสดุมีความหนาแน่น 4000 kg/m3 (g = 9.8 m/s2)
1. 25
2. 50
3. 75
4. 100

___________________________________________________________________________________________
7.14. น้ำอยู่ในถัง 3 ถัง เหมือนกันทุกประการ เดิมตาชั่งอ่านค่า 100 นิวตันเท่ากัน ถ้าใส่วัตถุที่มีน้ำหนัก 100 นิวตัน แล้วจม,
100 นิวตันแล้วลอย, 100 นิวตันแล้วลอยแต่ใช้เชือกดึงให้จม จงหาว่าตาชั่งใดอ่านค่ามากที่สุดและน้อยที่สุด

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 61


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
7.15. (ENT’26) ถาดน้ำกับน้ำมันมีมวลรวมกั นเท่ากับ M วางอยู่แล้วบนตาชั่ง นำก้อนวัตถุมวล m ปริมาตร V มาใส่ลงใน
ถาดและจมลงในน้ำนั้น อยากทราบว่าตาชั่งจะชี้น้ำหนักเท่าไร กำหนดให้ว่าน้ำมีความหนาแน่น ρ และค่าความโน้ม
ถ่วงของโลกเป็น g
1. (M + m - ρV) g
2. (M + m + ρV) g
3. (M + m) g
4. (M + ρV) g

___________________________________________________________________________________________
7.16. (สสวท’51-5-20-17.5) บอลลูนที่ยังไม่บรรจุแก๊สลูกหนึ่งพร้อมกระเช้ามีมวลรวมกัน 500 กิโลกรัม จะต้องบรรจุแก๊ส
ฮีเลียมปริมาตรเท่าใด บอลลูนจึงสามารถลอยนิ่งในอากาศบริเวณผิวโลกได้พอดี ถ้าขณะนั้นอุณหภูมิของอากาศเท่ากับ
0 องศาเซลเซียส กำหนดให้ความหนาแน่นของอากาศและแก๊สฮีเลียมมีค่าเท่ากับ 1.29 kg/m3 และ 0.179 kg/m3
ตามลำดับ

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 62


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
พลศาสตร์ของของไหล (Fluid Dynamics)

8. สมการความต่อเนื่อง (equation of continuity).

8.1. (สสวท’60-5-245-1) เม็ดเลือดไหลด้วยอัตราเร็ว 10 เซนติเมตรต่อวินาที ในเส้นเลือดใหญ่รัศมี 0.3 เซนติเมตร ไปสู่เส้น


เลือดขนาดเล็กลง มีรัศมี 0.2 เซนติเมตร อัตราเร็วของเม็ดเลือดในเส้นเลือดเล็กเป็นเท่าใด

___________________________________________________________________________________________
8.2. (สสวท’60-5-252-24) ท่อ M มีพื้นที่หน้าตัด 3.0 × 10-3 ตารางเมตร ต่อกับท่อ N มีพื้นที่ตัดขวาง 1.0 × 10-3 ตาราง
เมตร ท่อทั้งสองวางตัวในแนวราบ ถ้าน้ำไหลเข้าท่อ M ด้วยอัตราเร็ว 0.3 เมตรต่อวินาที จงหา
a) อัตราการไหลของน้ำในท่อทั้งสอง

b) อัตราเร็วของน้ำในท่อ N

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 63


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
8.3. (A-NET’51) ท่อรัศมี R เซนติเมตร มีน้ำไหลผ่าน V ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อวินาที อัตราเร็วของน้ำเป็นกี่เซนติเมตร/วินาที
V
1. 2
R
V
2.
πR2
R2
3.
V
πR2
4.
V

___________________________________________________________________________________________
8.4. (ENT’46 มี.ค.) เปิดน้ำจากก๊อกให้ไหลลงในบีกเกอร์ความจุ 1 ลิตร จนเต็มภายในเวลา 10 วินาที ถ้าน้ำไหลออกจากก๊อก
เป็นลำด้วยอัตราเร็ว 0.5 เมตร/วินาที จงหารัศมีของปลายก๊อก
1. 0.4 cm
2. 0.6 cm
3. 0.8 cm
4. 1.3 cm

HW-8.4 (สสวท’60-5-240-17.8) เติมน้ำลงในถังขนาด 20 ลิตร ด้วยสายยางที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.0 เซนติเมตร น้ำ


เต็มถังในเวลา 2 นาที จงหาอัตราเร็วของน้ำที่ออกมาจากสายยาง

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 64


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
9. สมการแบร์นูลี (Bernoulli’s equation).

9.1. (A-NET’50) ท่อน้ำวางตัวในแนวระดับ ตรงบริเวณที่ท่อมีพื้นที่ภาคตัดขวาง A นั้น น้ำมีความเร็ว v และมีความดัน P จง


A
หาค่าความดันที่บริเวณที่ท่อมีพื้นที่ภาคตัดขวาง (น้ำมีความหนาแน่น ρ)
2

3
1. P - ρv2
2
1
2. P - ρv2
2
1 2
3. P + ρv
2
3
4. P + ρv2
2
___________________________________________________________________________________________
9.2. (สสวท’60-5-252-25) ถ้าน้ำพุ่งออกจากปลายท่อน้ำดับเพลิงด้วยอัตราเร็ว 20 เมตรต่อวินาที ดังรูป ความดันในท่อ A มี
ค่าเท่าใด กำหนดให้เส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ A และ B เท่ากับ 8 เซนติเมตร และ 4 เซนติเมตร ตามลำดับ

___________________________________________________________________________________________
9.3. สายยางรดน้ำต้นไม้มีพื้นที่หน้าตัดภายในของท่อ 3.5 ตารางเซนติเมตร ที่ปลายท่อข้างหนึ่งต่อกับหัวฉีดซึ่งมีพื้นที่หน้าตัด
0.25 ตารางเซนติเมตร เมื่อเปิดน้ำให้ไหลผ่านท่อ โดยคนสวนยกหัวฉีดสูงจากพื้น 1.50 เมตร น้ำที่ไหลผ่านท่อที่วางอยู่บน
พื้นมีความเร็ว 50 เซนติเมตร/วินาที อยากทราบว่าความดันในท่อส่วนที่วางอยู่บนพื้นมีค่าเป็นกี่เท่าของความดัน
บรรยากาศ กำหนดให้ความดันบรรยากาศเท่ากับ 1.00 × 105 พาสคัล

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 65


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
9.4. (ENT’47 มี.ค.) น้ำไหลลงในแนวดิ่งจากก๊อกน้ำซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.0 เซนติเมตร โดยมีความเร็วต้น 40 เซนติเมตร
ต่อวินาที น้ำจะต้องวิ่งลงมาเป็นระยะทางกี่เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางของลำน้ำจึงจะลดลงเหลือ 1.0 เซนติเมตร
(ความหนาแน่นของน้ำมีค่าคงที่) กำหนดให้ใช้ g = 10 m/s2

___________________________________________________________________________________________
9.5. พายุไซโคลนพัดผ่านบ้านหลังหนึ่งโดยมีอัตราเร็วลมเหนือหลังคาบ้านเป็น 40 เมตร/วินาที โดยพื้นที่ของหลังคาบ้านเป็น
200 ตารางเมตร และความหนาแน่นอากาศเป็น 0.3 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร จงหาผลต่างระหว่างความดันอากาศเหนือ
หลังคาบ้านกับใต้หลังคาบ้าน และแรงยกที่กระทำต่อหลังคาบ้านมีขนาดเท่าใด
1. 120 นิวตัน/ตารางเมตร, 24,000 นิวตัน
2. 200 นิวตัน/ตารางเมตร, 40,000 นิวตัน
3. 240 นิวตัน/ตารางเมตร, 48,000 นิวตัน
4. 275 นิวตัน/ตารางเมตร, 55,000 นิวตัน

HW-9.5 (ENT’46 ต.ค.) เครื่องบินขนาดเล็กมีมวล 1430 กิโลกรัม มีพื้นที่ปีก 10 ตารางเมตร ขณะที่เครื่องบินวิ่งด้วย


ความเร็ว v พบว่า ความเร็วลมใต้ปีกและเหนือปีกประมาณเท่ากับ v และ 1.2 v ตามลำดับ ถามว่าเรือบินนี้จะบินด้วย
ความเร็วต่ำสุดเท่าใดจึงจะบินในแนวระดับได้พอดี กำหนดให้ความหนาแน่นของอากาศ = 1.3 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
1. 60 m/s
2. 65 m/s
3. 71 m/s
4. 80 m/s

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 66


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 2: ของแข็งและของไหล (Solid and Fluid)
___________________________________________________________________________________________
9.6. (สสวท’60-5-253-31) น้ำมันความหนาแน่นเท่ากับ 600 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร บรรจุในถังปิดสนิดขนาดใหญ่ ที่ว่าง
เหนือผิวน้ำมันมีความดันเป็น 3 เท่าของความดันบรรยากาศ จงหาอัตราเร็วของน้ำมันที่พุ่งออกจากรูรั่วที่ระยะ 10 เมตร
จากผิวน้ำมัน ดังรูป (g = 10 m/s2)

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 67


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)

1. พลังงานความร้อน
- เปลี่ยนอุณหภูมิ
- เปลี่ยนสถานะ
- สมดุลความร้อน
2. การถ่ายโอนความร้อน
- การนำความร้อน
- การพาความร้อน
- การแผ่รังสีความร้อน
3. การขยายตัวเชิงความร้อน
4. แก๊สอุดมคติ
- แบบจำลองของแก๊สอุดมคติ
- กฎของบอยล์ กฎของชาร์ล กฎของเกย์ลูสแซก และกฎของอโวกาโดร
- กฎของแก๊สอุดมคติ
5. ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส
- พลังงานจลน์
พลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุล
พลังงานจลน์ของโมเลกุลทั้งหมด
- อัตราเร็ว
อัตราเร็ว rms
6. พลังงานภายในระบบ
7. งานที่ทำโดยแก๊ส
8. กฎของเทอร์โมไดนามิกส์
- กฎข้อที่ 0
- กฎข้อที่ 1
9. P-V diagram และกระบวนการทางเทอร์โมไดนามิกส์
- Isobaric
- Isochoric / Isovolumetric
- Isothermal
- Adiabatic

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 68


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
ความร้อน (Heat)

1. พลังงานความร้อน (thermal energy, Q).

พลังงานความร้อนที่ใช้ในการทำให้สารเปลี่ยนอุณหภูมิ.

Q = mc∆T
Q = C∆T

เมื่อ c คือ _______________ (specific heat) มีหน่วยเป็นจูลต่อกิโลกรัมเคลวิน (J/kg K)


คือ ความร้อนที่ทำให้สารมวล 1 กิโลกรัม มีอุณหภูมิเปลี่ยนไป 1 เคลวิน
ซึ่งเป็นสมบัติเฉพาะของสารแต่ละชนิด
เช่น cน้ำ = ___ cal/g K = ___ J/g K

C คือ _______________ (heat capacity) มีหน่วยเป็นจูลต่อเคลวิน (J/K)


คือ ความร้อนที่ทำให้วัตถุมีอุณหภูมิเปลี่ยนไป 1 เคลวิน
ดังนั้น สารชนิดเดียวกันอาจมีค่าความจุความร้อนต่างกันได้ถ้าสารนั้นมีมวลไม่เท่ากัน

ความสัมพันธ์ระหว่างความร้อนจำเพาะและความจุความร้อน

C = mc

พลังงานความร้อนที่ใช้ในการทำให้สารเปลี่ยนสถานะ.

Q = mL

เมื่อ L คือ _______________ (latent heat) มีหน่วยเป็นจูลต่อกิโลกรัม (J/kg)


คือ ความร้อนที่ทำให้สารมวล 1 กิโลกรัม เปลี่ยนสถานะ โดยอุณหภูมิไม่เปลี่ยน
ซึ่งเป็นสมบัติเฉพาะของสารแต่ละชนิดและมีค่าขึ้นกับการเปลี่ยนสถานะ
เช่น L หลอมเหลวของน้ำแข็ง = _____ cal/g = _____ J/g
L กลายเป็นไอของน้ำ = _____ cal/g = _____ J/g

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 69


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
แผนภาพแสดงการเปลี่ยนสถานะของน้ำแข็งจากอุณหภูมิต่ำกว่า 0 oC ให้เป็นไอน้ำที่อุณหภูมิสูงกว่า 100 oC

1 2 3 4 5

น้ำแข็ง ไอน้ำ
< 0 oC > 100 oC

กราฟแสดงการเปลีย่ นสถานะของน้ำแข็งจากอุณหภูมติ ่ำกว่า 0 oC ให้เป็นไอน้ำที่อุณหภูมสิ ูงกว่า 100 oC

T (oC)

100

0 Q (J)

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 70


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
สมดุลความร้อน (thermal equilibrium).

ความร้อนสามารถถ่ายโอนจากวัตถุหนึ่งไปยังอีกวัตถุหนึ่งได้ถ้าวัตถุทั้งสองที่มี _____ต่างกัน โดยจะถ่ายโอนจาก


วัตถุที่มีอุณหภูมิ _____ไปยังวัตถุที่มีอุณหภูมิ _____ จนกระทั่งวัตถุทั้งสองมีอุณหภูมิเท่ากัน เรียกว่าวัตถุทั้งสองอยู่ใน
‘__________’ โดยการถ่ายโอนความร้อนนี้เป็นไปตามกฎการอนุรักษ์พลังงาน ดังนั้นความร้อนที่วัตถุหนึ่งให้จะเท่ากับ
ความร้อนที่อีกวัตถุหนึ่งได้รับ เขียนแทนได้ด้วยสมการ

Qลด = Qเพิ่ม

ตัวอย่าง 1 เทน้ำ 2 ถังรวมกัน จะได้น้ำที่มีอุณหภูมิสุดท้ายเป็นเท่าไร

+
100 g 100 g
20 oC 80 oC
A B

+ 600 g
200 g 50 oC
10 oC
C D

500 g +
40 oC 250 g
100 oC
E F

ตัวอย่าง 2 น้ำแข็งละลายหมด
ใส่น้ำแข็ง 50 g อุณหภูมิ 0 oC ลงในน้ำ 200 g อุณหภูมิ 30 oC จะได้อุณหภูมิสุดท้ายเท่าใด

ตัวอย่าง 3 น้ำแข็งละลายไม่หมด
ใส่ น ้ ำ แข็ ง 100 g อุ ณ หภู ม ิ 0 oC ลงในน้ ำ 200 g อุ ณ หภู ม ิ 30 oC จะได้ อ ุ ณหภู มิ สุ ดท้ ายเท่าใด
ถ้าน้ำแข็งละลายไม่หมด จงหาด้วยว่ามีน้ำแข็งเหลืออยู่กี่กรัม

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 71


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
2. การถ่ายโอนความร้อน (heat transfer).

การนำความร้อน (heat conduction).

เป็นการถ่ายโอนความร้อนผ่านตัวนำความร้อน โดยทีแ่ ต่ละโมเลกุลของตัวนำไม่ได้เคลื่อนที่ตามไปด้วย เช่น ถ้าเราใช้


มือจับช้อนโลหะ โดยให้ปลายข้างหนึ่งของช้อนอยู่ในเปลวไฟ โมเลกุลของช้อนบริเวณที่ถูกเผาจะสั่นเร็วขึ้น (พลังงานจลน์มาก
ขึ้น) จึงเกิดการชนและถ่ายเทพลังงานให้กับโมเลกุลที่อยู่ติดกัน ทำให้โมเลกุลเหล่านั้นสั่นเร็วขึ้นด้วย การชนและถ่ายเทพลังงาน
นี้เกิดขึ้นต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ จนถึงปลายอีกข้างหนึ่งของช้อนที่มือจับอยู่ เราจึงรู้สึกว่าช้อนโลหะบริเวณที่จับร้อน
การพาความร้อน (heat convection).

เป็นการถ่ายโอนความร้อนโดยอาศัยการเคลื่อนที่ของโมเลกุลของสสารในการพาความร้อนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
การปิ้งย่าง: เมื่ออากาศที่อยู่เหนือเตาไฟได้รับความร้อนจนมีอุณหภูมิสูงขึ้นจะเกิดการขยายตัว (ความหนาแน่น
ลดลง) และลอยตัวสูงขึ้น พาความร้อนจากเตาไฟไปกระทบหมูและถ่ายเทความร้อนให้กับหมูกลายเป็นหมูย่าง
การต้มน้ำในกา: เมื่อน้ำที่ก้นกาได้รับความร้อนจะขยายตัว ทำให้มีความหนาแน่นน้อยลงและเคลื่อนที่ขึ้นไปอยู่
ส่วนบน ส่วนน้ำที่อยู่ส่วนบนก็จะเคลื่อนที่ลงมาแทนที่ การหมุนวนของน้ำทำให้เกิดการพาความร้อนขึ้น
การแผ่รังสีความร้อน (heat radiation).

เป็นการถ่ายโอนความร้อนโดย _______________ เช่น โลกได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ผ่านสุญญากาศ


การก่อกองไฟ เป็นต้น
โดยปกติแล้ววัตถุทุกชนิดที่มีอุณหภูมิสูงกว่า _____ จะคายพลังงานในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาในทุกช่วง
ความยาวคลื่นมากน้อยต่างกัน

___________________________________________________________________________________________
3. การขยายตัวเชิงความร้อน (thermal expansion).

เมื่อวัตถุได้รับความร้อนจะขยายตัว และเมื่อวัตถุคายความร้อนจะหดตัว สำหรับการขยายตัวในหนึ่งมิติ ความยาวที่


เพิ่มขึ้นของวัตถุ ∆L จะแปรผันตรงกับความยาวเดิม L0 และอุณหภูมิที่เปลี่ยนไป ∆T ของวัตถุ

∆L ∝ L0 ∆T
∆L = αL0 ∆T

เมื่อ α คือ สัมประสิทธิ์การขยายตัว (เชิงเส้น) มีหน่วยเป็น 1/K


สัมประสิทธิ์การขยายตัวเป็นค่าเฉพาะตัวขึ้นกับชนิดของวัสดุ

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 72


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
แก๊ส (Gas)

4. แก๊สอุดมคติ (ideal gas).

แบบจำลองของแก๊สอุดมคติ (ideal gas model).

แก๊สอุดมคติ คือ แก๊สที่มีสมบัติดังต่อไปนี้


- มีโมเลกุลขนาด_____ จนถือได้ว่าปริมาตรแต่ละโมเลกุลน้อยจนเกือบเป็นศูนย์เมื่อเทียบปริมาตรของภาชนะที่บรรจุ
- ไม่มี____________________ แต่จะมีแรงกระทำต่อโมเลกุลของแก๊สเมื่อมีการชนกันเองหนีชนกับผนังภาชนะ
- มีการเคลื่อนที่แบบ_____ กล่าวคือ การเคลื่อนที่ของโมเลกุลของแก๊สมีขนาดและทิศทางของความเร็วไม่แน่นอน
โดยทุกโมเลกุลของแก๊สจะมีโอกาสในการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วขนาดใด ๆ และทิศทางใด ๆ ตัวความน่ าจะเป็นที่
เท่ากันทุกโมเลกุล
- มีการชนแบบ_____ กล่าวคือ โมเลกุลของแก๊สจะไม่มีการสูญเสียพลังงานจลน์ระหว่างการชนไม่ว่าจะเป็นการชนกัน
ระหว่างโมเลกุลของแก๊ส หรือการชนกับผนังภาชนะ

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 73


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
จากการทดลองเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความดัน ปริมาตร และอุณหภูมิของแก๊สในภาชนะปิด สรุปเป็นกฎได้
ดังนี้

กฎของบอยล์ (Boyle’s law).


1
___ คงที่ → P∝ หรือ PV = ค่าคงที่
V

P P

1
V
V

กฎของชาร์ล (Charles’s law).


V
___ คงที่ → V ∝ T หรือ = ค่าคงที่
T

V V

T (℃) T (K)

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 74


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
กฎของเกย์ลูสแซก (Gay-Lussac’s law).
P
V คงที่ → P∝T หรือ = ค่าคงที่
T

กฎของอโวกาโดร (Avogadro’s law).


V
P และ T คงที่ → V∝n หรือ = ค่าคงที่
n

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 75


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
กฎของแก๊สอุดมคติ (Ideal gas law).

จากกฎของบอยล์ กฎของชาร์ล กฎของเกย์ลูสแซก กฎของอโวกาโดร สรุปรวมเป็นกฎของแก๊สอุดมคติได้ว่า

PV = nRT

เมื่อ R คือ ค่าคงตัวแก๊ส (gas constant) เท่ากับ _____ J/mol K

PV = NkB T

เมื่อ kB คือ ค่าคงที่ของโบลต์ซมันน์ (Boltzmann constant) เท่ากับ __________ J/K

*** กฎของแก๊สอุดมคติใช้ได้ดเี มื่อแก๊สมีอุณหภูมสิ ูงและความดัน (และความหนาแน่น) ต่ำ ***

ข้อควรระวัง! P = P สัมบูรณ์

พิสูจน์ ค่าคงที่ของแก๊ส R = 8.31 J/mol Kx

V1 V2
ความดันคงที่ =
T1 T2
P1 V1 P2 V2 P1 P2
• จำนวนโมล/โมเลกุลคงที่ = ปริมาตรคงที่ =
T1 T2 T1 T2

อุณหภูมิคงที่ P1 V1 = P2 V2

P1 V1 P2 V2 P1 V1 P2 V2
• จำนวนโมล/โมเลกุลแก๊สไม่คงที่ = → แก๊สชนิดเดิม =
n 1 T1 n 2 T2 m 1 T1 m 2 T2

P1 V1 P2 V2 P1 P2
= =
N1 T 1 N2 T 2 ρ1 T ρ2 T
1 2

• แก๊สผสม Pรวม Vรวม = P1 V1 + P2 V2 + ... + PN VN

nรวม Tรวม = n1 T1 + n2 T2 + ... + nN TN

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 76


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
5. ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส (kinetic theory of gases).

พิจารณาแก๊สในถังปิดซึ่งประกอบด้วยโมเลกุลแก๊สทั้งหมด ___ โมเลกุล โดยทีแ่ ต่ละโมเลกุลมีมวล ___ โมเลกุลของ


แก๊สแต่ละโมเลกุลอาจมีความเร็วไม่เท่ากัน แต่ความเร็วของแต่ละโมเลกุลมีค่าคงตัว

พลังงานจลน์.

• พลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุล

̅k = 3 kB T
E 2

สมการนี้บอกว่าพลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุลของแก๊สแปรผันตรงกับ_______________ของแก๊ส
• พลังงานจลน์ของโมเลกุลทั้งหมด
พลังงานจลน์ของโมเลกุลทั้งหมดหาได้จากผลบวกของพลังงานจลน์ของแต่ละโมเลกุล
Ek ทั้งหมด = Ek1 + Ek2 +…+ EkN

หรือสามารถหาได้จากพลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุลคูณด้วยจำนวนโมเลกุลทั้งหมด
̅k
Ek ทั้งหมด = NE
3
= N (2 k T)
B
3
= 2 NkB T
3
= 2 nRT
3
= 2 PV

อัตราเร็ว.

• อัตราเร็วอาร์เอ็มเอสหรืออัตราเร็วเฉลี่ยแบบรากที่สองของกำลังสองเฉลี่ย (root-mean-square speed)


2 2
v + v + ... + vN 2
vrms =√ 1 2 N

3RT 3kB T 3P
vrms =√ =√ =√ ρ
M m

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 77


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________

3
พิสูจน์ พลังงานจลน์เฉลี่ย ̅ k = kB T
E
2

3RT 3kB T 3P
อัตราเร็วรากที่สองของกำลังสองเฉลี่ย vrms =√ M =√ m
=√ ρ

พิจารณาแก๊ส 1 โมเลกุล ที่กำลังเคลื่อนที่ในแนวแกน x อยู่ในกล่องรูปลูกบาศก์ยาวด้านละ l


z

l
vx
m
x
l
l
y

แรงเฉลี่ยที่ผนังกระทำต่อแก๊ส 1 โมเลกุล:


∆P m(-vx ) - m(+vx ) - mv2x
⃗F = = 2l =
∆t ( ) l
vx

แรงเฉลี่ยที่แก๊ส 1 โมเลกุลกระทำต่อผนัง:

2
⃗ = +mvx
F (กฎข้อที่ 3 ของนิวตัน)
l

แรงเฉลี่ยที่โมเลกุลแก๊สทั้งหมด N โมเลกุล กระทำต่อผนัง:

m
⃗ =
F (v2x1 + v2x2 + … + v2xN ) v2x + v2x2 + … + v2xN
v̅2x = 1
l

=
m
(Nv̅2x ) N
l

v̅2 = v̅2x + v̅2y + v̅2z


m ̅̅̅
v2
= (N )
l 3
v̅2 = 3v̅2x
v̅2 ̅2
= vx
3

(มีต่อหน้าถัดไป…)

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 78


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________

ความดันที่เกิดขึ้นที่ผนัง:

F
P= A
m ̅̅̅
v2
(N )
l 3
P= A

1 Nmv̅̅̅2
P= 3 Al

PV = 3 Nmv̅2
1

PV = 3 N (2 mv̅2 )
2 1

2
̅k )
NkB T = 3 N(E

̅k = 3 kB T
E 2

PV = 3 Nmv̅2
1
จาก

nRT = 3 Nmv̅2 NkB T = 3 Nmv̅2


1 1

v̅2 = v̅2 =
n 3kB T
3RT
Nm m
Nm
n=
v̅2 =
3RT M √v̅2 =√3kBT
M m

√v̅2 =√3RT vrms =√


3kB T
M m
PV = NkB T
3RT 3PV
vrms =√ vrms =√ Nm
M
Nm
3P ρ=
vrms =√ V
ρ

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 79


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
6. พลังงานภายในระบบ (internal energy of system, U).

พลังงานภายในระบบ คือ พลังงานทั้งหมดของโมเลกุลของแก๊สที่บรรจุอยู่ในระบบนั้น สำหรับแก๊สในธรรมชาติ


โมเลกุลของแก๊สมีแรงกระทำต่อกัน พลังงานของโมเลกุลของแก๊สจึงมีทั้งพลังงานจลน์และพลังงานศักย์ แต่สำหรับแก๊สอุดมคติ
ที่ถือว่าไม่มีแรงใดๆ กระทำต่อโมเลกุล พลังงานทั้งหมดของแก๊สอุดมคติจึงมีเฉพาะพลังงานจลน์เพียงอย่างเดียว พลังงาน
ภายในของแก๊สอุดมคติจึงเท่ากับผลรวมของ____________________ ตามสมการ

U = Ek ทั้งหมด
̅k
= NE
3
= N (2 k T)
B
3
U = 2 NkB T (1)
3
U = 2 nRT (2)
3
U = 2 PV (3)

สมการนี้บอกว่าพลังงานภายในระบบแปรผันตรงกับจำนวนโมเลกุล (หรือจำนวนโมล) และอุณหภูมิสัมบูรณ์ของแก๊ส

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 80


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
7. งานที่ทำโดยแก๊ส (work done by gas).

พิจารณาแก๊สในกระบอกสูบเดิมมีปริมาตร V1 และความดัน P ถ้าแก๊สในกระบอกสูบเกิดการขยายตัวดันลูกสูบให้


เคลื่อนที่ออกในขณะทีค่ วามดันมีค่าคงตัว ทำให้แก๊สมีปริมาตรเพิ่มขึ้นเป็น V2 แสดงว่าแก๊สทำงาน

แก๊สดันลูกสูบออก

⃗ by gas
F
A
l1
s

⃗ by gas
F

l2

ถ้าความดันคงที่ งานเนื่องจากแรงที่แก๊สดันลูกสูบ

Wby gas = P∆V

ถ้าความดันไม่คงที่ ต้องใช้เป็นความดันเฉลี่ย

P1 + P2
Wby gas = ( ) ∆V
2

พิสูจน์ งานเนื่องจากแรงที่แก๊สดันลูกสูบ Wby gas = P∆V

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 81


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
8. กฎของเทอร์โมไดนามิกส์ (laws of thermodynamics).

กฎข้อที่ 0 ของเทอร์โมไดนามิกส์ (zeroth law of thermodynamics).

“ถ้าวัตถุ A และวัตถุ B ต่างอยู่ในสมดุลความร้อนกับวัตถุ C แล้ว วัตถุ A และวัตถุ B จะอยู่ในสมดุลความร้อนซึ่ง


กันและกันด้วย”

กฎข้อที่ 1 ของเทอร์โมไดนามิกส์ (first law of thermodynamics).

สำหรับแก๊สที่บรรจุในภาชนะที่ปริมาตรเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อแก๊สได้รับหรือคายความร้อน Q อาจทำให้อุณหภูมิหรือ


ปริมาตรเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงพลังงานภายในของแก๊ส (∆U) และการ
เปลี่ยนแปลงปริมาตรทำให้เกิดงานที่ทำโดยแก๊ส W ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นไปตามกฎการอนุรักษ์พลังงาน เขียนเป็น
ความสัมพันธ์ได้ดังนี้

Q = ∆U + Wby gas

แสดงว่า เมื่อมีการถ่ายโอนความร้อนในระบบปิดที่ไม่มีการสูญเสียความร้อนให้กับสิ่งแวดล้อม ผลของการถ่ายโอน


ความร้อนนี้จะเท่ากับผลรวมของพลังงานภายในระบบที่เปลี่ยนแปลงกับงานที่ทำโดยแก๊ส

เครื่องหมายของแต่ละปริมาณ

ปริมาณ เครื่องหมาย Keyword


+
Q
-
+
∆U
-
+
Wby gas
-

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 82


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
9. P-V diagram และกระบวนการทางเทอร์โมไดนามิกส์ (thermodynamic processes).

Isobaric

Isochoric
TH

Isothermal
Adiabatic

TL
V

Isobaric. __________คงที่
จะได้ Q = ∆U + P∆V

Isochoric / Isovolumetric. __________คงที่ เช่น การให้ความร้อนแก่แก๊สในถังปิด


จะได้ Q = ∆U + 0

Isothermal. __________คงที่
จะได้ Q = 0 + Wby gas

Adiabatic. ไม่มีความร้อนไหลเข้าหรือออกจากระบบ (_____)


เช่น การหุ้มฉนวนความร้อนหรืออัดลูกสูบอย่างรวดเร็ว
จะได้ 0 = ∆U + Wby gas

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 83


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
แบบฝึกหัด บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)

ความร้อน

1. พลังงานความร้อน (thermal energy, Q).

พลังงานความร้อนที่ใช้ในการทำให้สารเปลี่ยนอุณหภูมิและเปลีย่ นสถานะ.

1.1. (สสวท’60-5-132-16.1) จงหาความร้อนที่ทำให้เหล็กมวล 200 กรัม ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส มีอุณหภูมิเป็น 60


องศาเซลเซียส กำหนดให้ความร้อนจำเพาะของเหล็กมีค่าเท่ากับ 450 จูลต่อกิโลกรัม เคลวิน

___________________________________________________________________________________________
1.2. (ENT’29) นำกระดาษมาพับเป็นรูปถ้วย เติมน้ำเย็น 4 องศาเซลเซียส ลงไป 100 มิลลิลิตร แล้วใช้เปลวเทียนลนก้นถ้วย
กระดาษนั้น จนกระทั่งอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเป็น 9 องศาเซลเซียส พลังงานความร้อนที่เปลวเทียนถ่ายเทให้มีค่าเท่าใด กำหนด
ความจุความร้อนจำเพาะของน้ำ = 4.18 กิโลจูลต่อน้ำ 1 กิโลกรัมต่อ 1 เคลวิน
1. 2.09 จูล
2. 2.09 × 103 จูล
3. 2.09 × 106 จูล
4. คำนวณไม่ได้เพราะถ้วยกระดาษไหม้ไฟเสียก่อน
___________________________________________________________________________________________
1.3. (สสวท’60-5-132-16.2) ก้อนโลหะชนิดหนึ่งมีมวล 2 กิโลกรัม ได้รับความร้อน 10 กิโลจูล ปรากฏว่าอุณหภูมิของก้อน
โลหะเพิ่มขึ้น 10 องศาเซลเซียส จงหาความร้อนจำเพาะของก้อนโลหะ

1.4. (สสวท’60-5-183-2) เมื่อให้ความร้อนกับตะกั่ว 1500 จูล พบว่า อุณหภูมิของตะกั่วสูงขึ้น 12 องศาเซลเซียส ความจุ


ความร้อนของตะกั่วก้อนนี้เป็นเท่าใด

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 84


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
1.5. (สสวท’60-5-144-3) จงหาความร้อนที่ทำให้น้ำแข็งมวล 2 กิโลกรัม อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส หลอมเหลวเป็นน้ำ
อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส กำหนดให้ ความร้อนแฝงของการหลอมเหลวของน้ำแข็ง (Lf) เท่ากับ 3.33 × 105 จูลต่อ
กิโลกรัม

1.6. (สสวท’60-5-181-8) ในการทำให้น้ำ 100 องศาเซลเซียส มวล 1 กิโลกรัม กลายเป็นไอหมดที่อุณหภูมิเดิม ต้องใช้ความ


ร้อนเท่าใด กำหนดให้ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอของน้ำเท่ากับ 2256 จูลต่อกรัม

___________________________________________________________________________________________
1.7. (ENT’44 ต.ค.) จงหาปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำแข็งมวล 100 กรัม อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส กลายเป็นน้ำมวล 100
กรัม อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส กำหนดให้ ความจุความร้อนจำเพาะของน้ำเท่ากับ 4200 จูลต่อกิโลกรัม เคลวิน และ
ความร้อนแฝงจำเพาะของการหลอมเหลวของน้ำแข็งเท่ากับ 333 กิโลจูลต่อกิโลกรัม
1. 33.7 kJ
2. 37.5 kJ
3. 75.3 kJ
4. 4233 kJ
___________________________________________________________________________________________
1.8. (สสวท’60-5-144-4) การทำให้น้ำมวล 0.5 กิโลกรัม 0 องศาเซลเซียส เป็นไอน้ำ 100 องศาเซลเซียส ต้องใช้ความร้อน
เท่าใด กำหนดให้ความร้อนจำเพาะของน้ำ (cWater) เท่ากับ 4186 จูลต่อกิโลกรัม เคลวิน และความร้อนแฝงของการ
กลายเป็นไอ (Lv) เท่ากับ 22.56 × 105 จูลต่อกิโลกรัม

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 85


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
1.9. (สสวท’60-5-183-7) ในการทำให้น้ำแข็ง มวล 2.0 กิโลกรัม อุณหภูมิ -5 องศาเซลเซียส เป็นไอน้ำเดือดหมดที่ 100
องศาเซลเซียส ต้องใช้ความร้อนทั้งหมดเท่าใด
ถ้ากำหนดให้ ความร้อนจำเพาะของน้ำแข็ง เท่ากับ 2100 จูลต่อกิโลกรัม เคลวิน
ความร้อนจำเพาะของน้ำ เท่ากับ 4186 จูลต่อกิโลกรัม เคลวิน
ความร้อนแฝงของการหลอมเหลวของน้ำแข็ง เท่ากับ 3.33 × 105 จูลต่อกิโลกรัม
ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอของน้ำ เท่ากับ 22.56 × 105 จูลต่อกิโลกรัม

___________________________________________________________________________________________
1.10. (สสวท’60-5-136-16.3) จงหาความร้อนที่ทำให้น้ำแข็งมวล 1 กิโลกรัม อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส เปลี่ยนเป็นไอ
น้ำที่อุณหภูมิ 110 องศาเซลเซียส
ถ้ากำหนดให้ ความร้อนจำเพาะของน้ำแข็ง เท่ากับ 2100 จูลต่อกิโลกรัม เคลวิน
ความร้อนจำเพาะของน้ำ เท่ากับ 4186 จูลต่อกิโลกรัม เคลวิน
ความร้อนจำเพาะของไอน้ำ เท่ากับ 2010 จูลต่อกิโลกรัม เคลวิน
ความร้อนแฝงของการหลอมเหลวของน้ำแข็ง เท่ากับ 3.33 × 105 จูลต่อกิโลกรัม
ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอของน้ำ เท่ากับ 22.56 × 105 จูลต่อกิโลกรัม

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 86


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
1.11. ให้พลังงานความร้อน 30,000 จูล แก่น้ำแข็งมวล 30 กรัม อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร ถ้า
กำหนดให้ความร้อนแฝงจำเพาะของการหลอมเหลวของน้ำแข็งเท่ากับ 333 จูล/กรัม และความจุความร้อนจำเพาะของ
น้ำเท่ากับ 4.2 จูล/กรัม.องศาเซลเซียส
1. ได้น้ำร้อนอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส
2. ได้น้ำเย็นอุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส
3. ได้น้ำร้อนอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส
4. ได้น้ำเย็นผสมน้ำแข็งอุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส

___________________________________________________________________________________________
1.12. นำกาน้ำทำด้วยอลูมิเนียมมวล 500 กรัม บรรจุน้ำมวล 1,000 กรัม อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส มาตั้งบนเตาแก๊สจนน้ำ
เดือดพอดีใช้เวลา 10 นาที ถ้าใช้พลังงานความร้อนในอัตราเดิมต้มต่อไปอีก 20 นาที จะเหลือน้ำในกาเท่าใด กำหนดให้
ความจุความร้อนจำเพาะของน้ำและอลูมิเนียมมีค่าเท่ากับ 4 และ 1 กิโลจูล/กิโลกรัม.เคลวิน ตามลำดับ และความร้อน
แฝงจำเพาะของการกลายเป็นไอของน้ำมีค่า 2,000 กิโลจูล/กิโลกรัม
1. 320 กรัม
2. 360 กรัม
3. 640 กรัม
4. 680 กรัม

___________________________________________________________________________________________
1.13. (ENT’28) ปริมาณความร้อนที่ทำให้กาน้ำใบหนึ่งมีอุณหภูมิเพิ่ม 1 K เท่ากับปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 128 กรัม มี
อุณหภูมิเพิ่ม 1 K ถ้าใช้กาน้ำใบนั้นบรรจุน้ำ 1 kg ที่ 30 oC ตั้งบนเตาแก๊สจนเดือดใช้เวลา 7 นาที แล้วทิ้งไว้ให้เดือด
ต่อไปอีกเป็นเวลา 20 นาที จะเหลือน้ำในกาเท่าใด
กำหนดให้ ความจุความร้อนจำเพาะของน้ำ = 4.18 kJ/kg K
ความร้อนแฝงจำเพาะของการกลายเป็นไอ = 2,256 kJ/kg
1. 0.370 kg
2. 0.418 kg
3. 0.582 kg
4. 0.630 kg

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 87


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
1.14. (ENT’45 มี.ค.) จงหาว่าต้องให้ความร้อนด้วยกำลังเฉลี่ยกี่วัตต์ จึงจะทำให้โลหะมวล 1 กิโลกรัม มีอุณหภูมิสูงขึ้น 60
องศาเซลเซียส ในเวลา 5 นาที กำหนดให้ความจุความร้อนจำเพาะของโลหะนั้นเท่ากับ 400 จูลต่อกิโลกรัม เคลวิน

HW-1.14 (ENT’30) วัตถุชิ้นหนึ่งมีมวล 1 กิโลกรัม เมื่อให้ความร้อนกับวัตถุนี้ด้วยอัตราคงที่ 1 กิโลจูลต่อวินาที เป็น


เวลา 5 นาที พบว่าอุณหภูมิของวัตถุเปลี่ยนจากตอนเริ่มต้น 100 องศาเซลเซียส ไปเป็น 200 องศาเซลเซียส จงหาว่า
ความจุความร้อนจำเพาะของวัตถุมีค่าเท่าใดในหน่วยกิโลจูล/กิโลกรัม∙เคลวิน
1. 0.01
2. 0.02
3. 1.5
4. 3

___________________________________________________________________________________________
1.15. (ENT’39) จากการทดลองวัดค่าความจุความร้อนของระบบที่ประกอบด้วยคาลอริมิเตอร์บรรจุน้ำที่มีเทอร์โมมิเตอร์
และแท่งแก้วคนอยู่มีมวลรวม 0.5 กิโลกรัม ให้ความร้อนแก่ระบบ โดยการผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในขดลวดต้านทาน
ดังรูป ก. เมื่อวัดและเขียนกราฟระหว่างอุณหภูมิของระบบกับเวลาได้กราฟดังรูป ข. ถ้าขดลวดให้ความร้อน 50 วัตต์
ระบบมีค่าความร้อนจำเพาะเท่ากับเท่าไร

1. 9 × 102 J/(kg.K)
2. 3 × 103 J/(kg.K)
3. 6 × 103 J/(kg.K)
4. 9 × 103 J/(kg.K)

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 88


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
1.16. (ENT’45 ต.ค.) นำลวดทำความร้อนมีกำลัง 1000 วัตต์ จุ่มลงในน้ำมวล 500 กรัม อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ถ้ามี
การสูญเสียความร้อนไป 30% อีกนานเท่าใดน้ำจึงจะเริ่มเดือด (กำหนดความจุความร้อนจำเพาะของน้ำเท่ากับ 4.2
กิโลจูล/กิโลกรัม เคลวิน)
1. 2 นาที
2. 3 นาที
3. 3.5 นาที
4. 8 นาที

___________________________________________________________________________________________
1.17. (ENT’41 ต.ค. & A-NET’49) บรรจุน้ำแข็งบดที่ 0 oC ไว้บนกระดาษกรองที่อยู่ภายในกรวย เมื่อเวลาผ่านไป 5 นาที
พบว่าน้ำแข็งละลายไป 50 กรัม ถ้านำน้ำแข็งบดมวลเท่ากับตอนต้นบรรจุไว้ในกรวยที่เหมือนกันอีกอันหนึ่ง แต่ใช้ตัวทำ
ความร้อนจุ่มในน้ำแข็ง พบว่าเมื่อเวลาผ่านไป 5 นาที น้ำแข็งละลายไป 200 กรัม ถ้าความร้อนแฝงจำเพาะของการ
หลอมเหลวของน้ำเท่ากับ 336 กิโลจูล/กิโลกรัม ตัวทำความร้อนมีกำลังประมาณเท่าใด
1. 56 W
2. 112 W
3. 140 W
4. 168 W

___________________________________________________________________________________________
1.18. (ENT’47 ต.ค.) ความร้อนที่ทำให้น้ำปริมาณหนึ่งมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 3 oC สามารถทำให้ก้อนโลหะก้อนหนึ่งซึ่งมีมวล
kJ
เป็นสองเท่าของน้ำ มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 15 oC โลหะก้อนนั้นมีความจุความร้อนจำเพาะเท่าใดในหน่วย (ความจุ
kg.K
kJ
ความร้อนจำเพาะของน้ำ = 4.18 )
kg.K
1. 0.418
2. 0.836
3. 1.07
4. 2.09

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 89


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
สมดุลความร้อน (thermal equilibrium).

1.19. (A-NET’52) วัตถุสองก้อนอยู่ในสมดุลเชิงความร้อนซึ่งกันและกัน ปริมาณใดของวัตถุทั้งสองมีค่าเท่ากัน


1. พลังงานภายใน
2. มวล
3. อุณหภูมิ
4. ประจุไฟฟ้า
___________________________________________________________________________________________
1.20. (สสวท’60-5-186-32) นำก้อนอะลูมิเนียมมวล 80 กรัม อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ใส่ลงไปในภาชนะที่เป็นฉนวน
และมีน้ำมวล 200 กรัม อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เมื่อถึงสมดุลความร้อน อุณหภูมิของสารทั้งสองจะเป็นเท่าใด
กำหนดให้ความร้อนจำเพาะของอลูมิเนียมเท่ากับ 910 จูล/กิโลกรัม เคลวิน

HW-1.20 (สสวท’60-5-141-16.5) ในการทดลองเมื่อจุ่มแท่งอะลูมิเนียมมวล 50 กรัม ที่มีอุณหภูมิ 100 องศา


เซลเซียส ลงไปในน้ำมวล 100 กรัม ที่มีอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เมื่อเกิดการถ่ายโอนความร้อนจนเกิดสมดุลความ
ร้อน พบว่าน้ำมีอุณหภูมิ 32 องศาเซลเซียส ความร้อนจำเพาะของอะลูมิเนียม (cAl) มีค่าเท่าใด กำหนดให้ความร้อน
จำเพาะของน้ำเท่ากับ 4,186 จูลต่อกิโลกรัมเคลวิน

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 90


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
1.21. (สสวท’60-5-140-16.4) เหล็กมวล 0.4 กิโลกรัม เผาให้ร้อนจนมีอุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส หย่อนลงไปในภาชนะ
ที่เป็นฉนวนความร้อน ภายในบรรจุน้ำมวล 20 กิโลกรัม อุณหภูมิ 22 องศาเซลเซียส ตั้งทิ้งไว้ สุดท้ายอุณหภูมิของ
เหล็กและน้ำมีค่าเป็นเท่าใด กำหนดให้ความร้อนจำเพาะของน้ำและเหล็กเท่ากับ 4.18 กิโลจูลต่อกิโลกรัม เคลวิน และ
0.450 กิโลจูลต่อกิโลกรัม เคลวิน ตามลำดับ

HW-1.21 (ENT’46 มี.ค.) ลูกเหล็กมวล 50 กรัม อุณหภูมิ 300 องศาเซลเซียส ถูกหย่อนลงในน้ำมวล 100 กรัม ซึ่ง
บรรจุอยู่ในกระป๋องมวล 70 กรัมและมีโฟมหุ้มกระป๋องอยู่ ทำให้น้ำมีอุณหภูมิเปลี่ยนจาก 6 องศาเซลเซียส ไปเป็น 20
องศาเซลเซียส จงหาความจุความร้อนจำเพาะของกระป๋อง (กำหนด ความจุความร้อนจำเพาะของเหล็กเท่ากับ 0.45
กิโลจูล/กิโลกรัม เคลวิน ความจุความร้อนจำเพาะของน้ำเท่ากับ 4.20 กิโลจูล/กิโลกรัม เคลวิน)
1. 0.13 kJ/kg K
2. 0.23 kJ/kg K
3. 0.43 kJ/kg K
4. 0.70 kJ/kg K
___________________________________________________________________________________________
1.22. (สสวท’60-5-186-33) นำอัลลอยมวล 120 กรัม อุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส ใส่ลงในภาชนะที่เป็นฉนวนและบรรจุ
น้ำมวล 250 กรัม อุณหภูมิ 98 องศาเซลเซียส การผสมนี้จะทำให้น้ำกลายเป็นไอน้ำกี่กรัม กำหนดให้ความร้อนจำเพาะ
ของอัลลอยเท่ากับ 500 จูลต่อกิโลกรัม เคลวิน

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 91


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
1.23. (ENT’40) ใส่น้ำแข็ง 50 กรัม อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส ลงในน้ำ 200 กรัม ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส จะได้
อุณหภูมิสุดท้ายเท่าใด (ความร้อนแฝงของการหลอมเหลวของน้ำแข็งเท่ากับ 80 แคลอรี/กรัม และความจุความร้อน
จำเพาะของน้ำเท่ากับ 1 แคลอรี่ต่อกรัม.เคลวิน)
1. 0 องศาเซลเซียส
2. 4 องศาเซลเซียส
3. 8 องศาเซลเซียส
4. 10 องศาเซลเซียส

___________________________________________________________________________________________
1.24. (สสวท’51-5-64-18.6 & สสวท’60-5-186-34) ก้อนอะลูมิเนียมมวล 200 กรัม อุณหภูมิ 300 องศาเซลเซียส อยู่ใน
ภาชนะที่เป็นฉนวนความร้อน เมื่อเทน้ำแข็งมวล 70 กรัม อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส ลงในภาชนะ จากนั้นปิดภาชนะ
ด้วยฝาฉนวน อุณหภูมิสุดท้ายภายในภาชนะเป็นเท่าใด กำหนดให้ความจุความร้อนจำเพาะของอลูมิเนียมเท่ากับ 0.9
จูล/กรัม องศาเซลเซียส

HW-1.24 (สสวท’60-5-144-5) นำก้อนโลหะมวล 300 กรัม ที่มีอุณหภูมิ 400 องศาเซลเซียส ใส่ลงในน้ำแข็งที่มีมวล


300 กรัม อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส ซึ่งอยู่ในภาชนะที่ถูกหุ้มรอบด้วยฉนวนความร้อน ในที่สุดน้ำแข็งหลอมเหลวหมด
กลายเป็นน้ำที่มีอุณหภูมิ 5.0 องศาเซลเซียส จงหาความร้อนจำเพาะของโลหะที่ได้จากการทดลองนี้

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 92


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
แก๊ส

4. แก๊สอุดมคติ (ideal gas).

กฎของแก๊สอุดมคติ (Ideal gas law).

4.1. (สสวท’60-5-184-17) แก๊สชนิดหนึ่งมีปริมาตร 2 × 10-3 ลูกบาศก์เมตร อุณหภูมิ 17 องศาเซลเซียส ความดัน 2


บรรยากาศ แก๊สนี้มีกี่โมล

HW-4.1 (สสวท’60-5-184-18) ถังบรรจุแก๊สใบหนึ่งมีปริมาตร 10 ลิตร ถ้าบรรจุแก๊สไฮโดรเจนซึ่งมีอุณหภูมิ 27 องศา


เซลเซียส ลงในถังจนมีความดัน 2.5 × 105 นิวตันต่อตารางเมตร แก๊สไฮโดรเจนมีจำนวนกี่กรัม กำหนดให้มวลโมเลกุล
ของแก๊สไฮโดรเจนเท่ากับ 2 กรัมต่อโมล

___________________________________________________________________________________________
4.2. (สสวท’60-5-187-37) จงหามวลและจำนวนโมเลกุลของออกซิเจน 0.1 กิโลโมล และถ้าแก๊สนี้มีอุณหภูมิ 27 องศา
เซลเซียส ความดัน 1.0 บรรยากาศ จะมีปริมาตรเท่าใด กำหนดให้มวลโมเลกุลของออกซิเจนเท่ากับ 32

___________________________________________________________________________________________
4.3. (สสวท’51-5-77-18.10 & สสวท’60-5-153-16.8) แก๊ ส ปริมาตร 1 ลู ก บาศก์เ มตร ที่ STP แก๊ ส ดังกล่า วมีจำนวน
โมเลกุลเท่าใด

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 93


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
• จำนวนโมล/โมเลกุลคงที่

4.4. (สสวท’60-5-16.6-151) แก๊สชนิดหนึ่งมีปริมาตร 1.00 ลูกบาศก์เมตร อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส ความดัน 1.00


บรรยากาศ จงหาปริมาตรของแก๊สจำนวนนี้ที่อุณหภูมิ 127 องศาเซลเซียส และความดัน 2.00 บรรยากาศ

___________________________________________________________________________________________
4.5. (สสวท’60-5-184-16) แก๊สจำนวนหนึ่งอยู่ในกระบอกสูบ เมื่อความดันของแก๊สเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า ปริมาตรของแก๊สจะ
ลดลงเหลือครึ่งหนึ่งของเดิม อัตราส่วนระหว่างอุณหภูมิสัมบูรณ์ของแก๊สครั้งหลังกับครั้งแรกมีค่าเท่าใด

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 94


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
4.6. (ENT’37) ฟองอากาศปริมาตร 1 × 10-2 ลิตร ลอยขึ้นจากพื้นผิวดินใต้ท้องทะเลซึ่งมีอุณหภูมิ 7 องศาเซลเซียส เมื่อลอย
ถึงผิวน้ำซึ่งมีอุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส ปรากฏว่ามีปริมาตร 3 × 10-2 ลิตร ถ้าน้ำทะเลมีความหนาแน่น 1,030 กิโลกรัม/
ลูกบาศก์เมตร และความดันบรรยากาศขณะนั้นมีค่า 1 × 105 พาสคัล จงหาความลึกของน้ำทะเล ณ จุดนั้น
1. 27.5 m
2. 17.5 m
3. 14.8 m
4. 9.8

HW-4.6 (ENT’28) คว่ำถังทรงกระบอกสูง 50 เซนติเมตรใบหนึ่ง แล้วกดลงไปในสระน้ำ ขณะนั้นอุณหภูมิที่ผิวน้ำเป็น


27 oC เมื่อปากถังแตะก้นสระ น้ำถูกอัดเข้าไปทางปากถังสูง 20 เซนติเมตร เมื่ออุณหภูมิที่ก้นสระเป็น 22 oC ความลึกที่
แท้จริงของน้ำในสระเป็นเท่าไร (ดูรูปประกอบ)
กำหนดให้ ความดันของบรรยากาศ = 105 N/m2
ความหนาแน่นของน้ำ (ρ) = 103 kg/m3
ความโน้มถ่วง (g) = 10 m/sec2

115
1. m
18
115
2. + 0.2 m
18
175
3. m
12
175
4. + 0.2 m
12

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 95


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
4.7. (สสวท’60-5-183-11) ภายใต้ความดันคงตัวที่อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส แก๊สชนิดหนึ่งมีปริมาตร 60 ลูกบาศก์เมตร
ถ้าลดอุณหภูมิของแก๊สลงจนถึง -73 องศาเซลเซียส จงหาปริมาตรของแก๊ส

___________________________________________________________________________________________
4.8. (ENT’42 ต.ค.) ถ้าให้ความดันของก๊าซในกระบอกสูบหนึ่งคงที่ และให้อุณหภูมิของก๊าซภายในกระบอกสูบเปลี่ยนจาก27
o
C เป็น 77 oC อัตราส่วนของปริมาตรใหม่ต่อปริมาตรเดิมเป็นเท่าใด
1. 0.3
2. 0.9
3. 1.2
4. 3.5
___________________________________________________________________________________________
4.9. (ENT’27) ถ้าความดันบรรยากาศเท่ากับ 105 นิวตันต่อตารางเมตรตลอดเวลา เมื่อสูบอากาศเข้าไปในยางรถยนต์คันหนึ่ง
พบว่า มิเตอร์วัดความดันเกจอ่านได้ 2 × 105 นิวตันต่อตารางเมตร อุณหภูมิของอากาศในยางขณะนั้นเท่ากับ 27 องศา
เซลเซียส ถ้าอุณหภูมิของอากาศในยางเปลี่ยนไปเป็น 87 องศาเซลเซียส อยากทราบว่ามิเตอร์วัดความดันเกจจะอ่านค่าได้
เท่าใด ถ้าถือว่าปริมาตรของยางรถยนต์เปลี่ยนไปน้อยมาก
1. 3.6 × 105 N/m2
2. 3.4 × 105 N/m2
3. 2.6 × 105 N/m2
4. 2.4 × 105 N/m2

HW-4.9 (ENT’28) รถโดยสารคันหนึ่งจุผู้โดยสารได้ 60 ที่นั่ง เริ่มออกเดินทางตอนเช้าขณะที่อุณหภูมิของอากาศและผิว


ถนนเป็น 27 oC ก่อนออกเดินทางตรวจสอบยางทุกเส้น มีความดันเกจ 2.5 × 105 N/m2 เมื่อถึงปลายทางเป็นเวลาบ่าย
อุณหภูมิของผิวถนนเป็น 57 oC คนขับรถทราบว่ายางทุกเส้นซึมเล็กน้อย แต่ยังคงถือได้ว่าปริมาตรไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อถึง
ปลายทางจะคำนวณความดันเกจของยางรถยนต์ได้เท่าไร (กำหนดความดันบรรยากาศ = 105 N/m2)
1. 2.75 × 105 N/m2
2. 3.85 × 105 N/m2
3. 7.40 × 105 N/m2
4. ไม่สามารถคำนวณได้

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 96


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
4.10. (ENT’41 เม.ย.) ยางรถยนต์มีความดันเกจ 2.0 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ที่อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส ถ้าขณะที่
รถวิ่งทางไกลยางรถมีอุณหภูมิ 57 องศาเซลเซียส ความดันเกจของยางจะเป็นเท่าใด กำหนดให้ความดันบรรยากาศเป็น
1.0 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร
1. 2.1 kg/cm2
2. 2.2 kg/cm2
3. 2.3 kg/cm2
4. 2.4 kg/cm2

___________________________________________________________________________________________
4.11. (สสวท’60-5-183-10) บอลลูนมีปริมาตร 4 ลิตร ความดัน 300 กิโลพาสคัล ปล่อยให้บอลลูนลอยสูงขึ้น จนความดัน
แก๊สลดลงเหลือ 200 กิโลพาสคัล โดยอุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลง จงหาปริมาตรของแก๊สในบอลลูน

___________________________________________________________________________________________
4.12. (ENT’46 มี.ค.) ฟองอากาศปุดขึ้นมาจากก้นสระ ปริมาตรของฟองอากาศที่ลอยขึ้นไป ณ ตำแหน่งที่ใกล้ผิวน้ำเป็นสอง
เท่าของปริมาตรฟองอากาศที ่ก้ นสระ จงหาความลึกของสระ (สมมติให้อุณหภูมิของฟองอากาศคงที ่ ความดัน
บรรยากาศที่ผิวน้ำเป็น Pa และความหนาแน่นของน้ำเป็น ρ)
2Pa
1.
ρg
Pa
2.
ρg
2 Pa
3.
3 ρg
Pa
4.
2ρg

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 97


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
• จำนวนโมล/โมเลกุลแก๊สไม่คงที่

4.13. (ENT’43 มี.ค.) ถ้าอุณหภูมิภายในห้องเพิ่มขึ้นจาก 27 oC เป็น 37 oC และความดันในห้องไม่เปลี่ยนแปลง จะมีอากาศ


ไหลออกจากห้องกี่โมล หากเดิมมีอากาศอยู่ในห้องจำนวน 2,000 โมล
1. 65
2. 940
3. 1620
4. 1940

HW-4.13 (ENT’34) ภาชนะเปิดใบหนึ่งมีปริมาตร 25 ลบ.เซนติเมตร เริ่มต้นมีอากาศอยู่ในนั้นจำนวนหนึ่งที่อุณหภูมิ


27 oC ซึ่งเป็นอุณหภูมิและความดันเดียวกับสภาพแวดล้อม จะต้องทำให้อุณหภูมิของภาชนะและอากาศในนั้นร้อนถึง
3
อุณหภูมิเท่าใด จำนวนโมลของอากาศในภาชนะจึงจะเหลือ ของจำนวนโมลเดิม (ตอบในหน่วย oC)
4

___________________________________________________________________________________________
4.14. (ENT’35) ระบบหนึ่งบรรจุแก๊สไว้ 2 โมล โดยมีปริมาตร V0 ความดัน P0 และอุณหภูมิ T0 ถ้าแก๊สรั่วออกไปอย่างช้าๆ
โดยที่อุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลง เมื่ออุดรอยรั่วแล้วปรากฏว่าเหลือแก๊สอยู่เพียง 0.5 โมล ความดันภายในจะเป็นเท่าใด
ถ้าถือว่าแก๊สเป็นแก๊สอุดมคติ
1. P0
P0
2.
2
P0
3.
3
P0
4.
4

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 98


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
4.15. (ENT’36) ภาชนะปิดที่มีปริมาตร 4.15 ลูกบาศก์เมตร บรรจุก๊าซที่มีความดัน 6 x 104 นิวตัน/ตารางเมตร ที่อุณหภูมิ
1
27 oC ถ้าปล่อยให้แก๊สนี้รั่วออกจากภาชนะจนความดันเหลือ ของความดันเดิม และอุณหภูมิเท่าเดิม จงหาจำนวน
4
โมลของแก๊สที่รั่วออกไป (กำหนดให้ R = 8.3 J/mol K)

HW-4.15 (สสวท’51-5-76-18.9 & สสวท’60-5-152-16.7) แก๊สออกซิเจนในถังที่มีปริมาตร 40 ลูกบาศก์เดซิเมตร


เดิมมีความดัน 20 บรรยากาศ และมีอุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส ต่อมาแก๊สรั่วไปบางส่วนจนมีความดัน 4.0 บรรยากาศ
และมีอุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส จงหาว่าแก๊สรั่วไปกี่กิโลกรัม กำหนดให้ออกซิเจน 1 โมล มีมวลเท่ากับ 32 กรัม

___________________________________________________________________________________________
4.16. (ENT’48 มี.ค.) รถยนต์จอดในที่ร่ม อุณหภูมิอากาศภายในรถเป็น 27 องศาเซลเซียส แต่เมื่อจอดกลางแดด อุณหภูมิ
อากาศภายในรถเป็น 77 องศาเซลเซียส มวลอากาศแทรกออกจากรถไปกี่เปอร์เซ็นต์เทียบกับมวลเดิม ให้ถือว่าความ
ดันอากาศภายในรถคงเดิม
1. 14.3
2. 16.7
3. 83.3
4. 85.7

HW-4.16 (ENT’32) ถ้าอุณหภูมิของอากาศในห้องที่มีขนาด 40 ลูกบาศก์เมตร มีค่าเพิ่มขึ้นจาก 27 oC เป็น 63 oC


จงคำนวณหาอัตราส่วนมวลของอากาศที่ขยายตัวหนีออกจากห้องเทียบกับมวลตั้งต้นของอากาศ (ให้ตอบค่าที่ได้เป็น
ทศนิยม 2 ตำแหน่ง)

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 99


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
4.17. (ENT’45 ต.ค.) แก๊สออกซิเจน (O2) บรรจุในภาชนะโดยมวลของแก๊สออกซิเจนเท่ากับ 12.0 กิโลกรัม อ่านความดัน
เกจที่ภาชนะได้ 9.0 บรรยากาศ ถ้าออกซิเจนรั่วออกจากภาชนะไป คิดเป็นมวลเท่ากับ 3.0 กิโลกรัม จงหาความดัน
เกจของออกซิเจนที่เหลืออยู่ (ตอบในหน่วยบรรยากาศ ถ้ากำหนดให้ ความดันบรรยากาศภายนอกเป็น 1 บรรยากาศ
และอุณหภูมิของแก๊สคงที่)

___________________________________________________________________________________________
4.18. (ENT’40) จากรูป กราฟ A แทนความสัมพันธ์ระหว่างความดันกับอุณหภูมิของแก๊สอุดมคติมวล m เมื่อปริมาตรคงที่
กราฟเส้นใดแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความดันกับอุณหภูมิของแก๊สอุดมคติมวล 2m เมื่อปริมาตรคงที่และเท่าเดิม
1. กราฟ ก
2. กราฟ ข
3. กราฟ ค
4. กราฟ ง

___________________________________________________________________________________________
4.19. (A-NET’51) แก๊สออกซิเจนบรรจุในถังมีความดัน 1.2 บรรยากาศ แก๊สโอโซนมวลเท่ากันบรรจุอยู่ในถังขนาดเท่ากัน
อุณหภูมิเท่ากัน จะมีความดันกี่บรรยากาศ
1. 0.4
2. 0.8
3. 1.8
4. 3.6
___________________________________________________________________________________________
4.20. (ENT’32) ถ้าความหนาแน่นของแก๊สที่อุณหภูมิ 27 oC ความดัน 1 บรรยากาศ มีค่าเท่ากับ 1.3 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์
เมตร จงคำนวณหาความหนาแน่นของแก๊สนี้ที่อุณหภูมิ 127 oC และความดัน 2 บรรยากาศ
1. 0.55 kg/m3
2. 0.81 kg/m3
3. 1.95 kg/m3
4. 2.35 kg/m3

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 100


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
• แก๊สผสม

4.21. (ENT’37) ถ้าผสมแก๊สฮีเลียม 3 ลูกบาศก์เมตร ความดัน 1 บรรยากาศ กับแก๊สอาร์กอน 2 ลูกบาศก์เมตร ความดัน 3


บรรยากาศ ความดันของแก๊สผสมในถัง 5 ลูกบาศก์เมตร เป็นกี่บรรยากาศ
1. 1.2 บรรยากาศ
2. 1.8 บรรยากาศ
3. 2.0 บรรยากาศ
4. 4.0 บรรยากาศ

HW-4.21 (ENT’42 มี.ค.) แก๊สฮีเลียมบรรจุในถังสองใบซึ่งเชื่อมต่อกันผ่านวาล์ว ถังแรกมีความดัน 2 บรรยากาศ


ปริมาตร 10 ลิตร ถังที่สองมีความดัน 3 บรรยากาศ ปริมาตร 15 ลิตร ถ้าเปิดวาล์วให้แก๊สรวมกันโดยไม่มีการถ่ายเท
ความร้อนจากนอกระบบ ความดันของแก๊สผสมเป็นกี่บรรยากาศ

___________________________________________________________________________________________
4.22. (ENT’33) แก๊สฮีเลียม 1 โมล ที่อุณหภูมิ 300 เคลวิน ผสมกับแก๊สอาร์กอน 3 โมล ที่อุณหภูมิ 400 เคลวิน แก๊สผสม
จะมีอุณหภูมิเท่าใดในหน่วยเคลวิน

HW-4.22 (สสวท’60-5-188-44) ถ้าผสมแก๊สฮีเลียม 1 โมล ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส กับแก๊สอาร์กอน 2 โมล ที่


อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส จงหาว่าอุณหภูมิผสมเป็นเท่าใด

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 101


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
5. ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส (kinetic theory of gases).

พลังงานจลน์.

5.1. (ENT’38) คำกล่าวต่อไปนี้ ข้อใดผิด


1. การทำนายความดัน ปริมาตร อุณหภูมิของแก๊ส เป็นไปตามกฎของแก๊สเสมอ
2. การชนของโมเลกุลของแก๊สเป็นการชนแบบยืดหยุ่น
3. ความร้อนจะถ่ายโอนจากระบบที่มีอุณหภูมิสูงกว่าไปยังระบบที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า
4. พลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุลแก๊สขึ้นอยู่กับอุณหภูมิสัมบูรณ์ของแก๊สอย่างเดียว
___________________________________________________________________________________________
5.2. (ENT’47 มี.ค.) จงหาค่าพลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุลของแก๊สฮีเลียมที่อุณหภูมิ T เคลวิน กำหนดให้มวลโมเลกุลของ
แก๊สฮีเลียมเท่ากับ 4 กรัมต่อโมล
1. 4kB (T - 273)
2. kB T
3
3. kB T
2
4. 4kB T
___________________________________________________________________________________________
5.3. (สสวท’60-5-164-1) แก๊สฮีเลียมจำนวน 1.00 โมล บรรจุในลูกโป่ง ซึ่งมีอุณหภูมิ 400 เคลวิน จงหา
a) พลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุลของแก๊สฮีเลียม

b) พลังงานจลน์รวมของโมเลกุลทั้งหมดของแก๊สฮีเลียม

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 102


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
5.4. แก๊สฮีเลียม 2.0 โมล มีปริมาตร 30 ลิตร ที่ความดัน 16.62 บรรยากาศ (ความดัน 1 บรรยากาศ เท่ากับ 105 นิวตัน/
ตารางเมตร) ถ้าแก๊สฮีเลียมมีมวลโมเลกุลเท่ากับ 4 อยากทราบว่า แต่ละโมเลกุลของแก๊สจะมีพลังงานจลน์เฉลี่ยกี่จูล
1. 3.74 × 104 จูล
2. 6.21 × 10-17 จูล
3. 3.74 × 107 จูล
4. 6.21 × 10-20 จูล

___________________________________________________________________________________________
5.5. (สสวท.60-5-185-22) แก๊สชนิดหนึ่งบรรจุในภาชนะปิดที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส จะต้องทำให้แก๊สนี้มีอุณหภูมิเป็น
เท่าใด จึงมีพลังงานจลน์เฉลี่ยต่อโมเลกุลเป็น 2 เท่าของค่าเดิม

___________________________________________________________________________________________
5.6. (ENT’44 ต.ค.) แก๊สอุดมคติจำนวนหนึ่ง ได้รับความร้อนจนมีความดันเป็น 1.5 เท่าของความดันเดิม และมีปริมาตรเป็น
1.2 เท่าของปริมาตรเดิม พลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุลแก๊สเพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์
1. 30%
2. 40%
3. 70%
4. 80%

___________________________________________________________________________________________
5.7. (ENT’31) แก๊สอะตอมเดี่ยวมีความดัน P0 จะมีพลังงานจลน์ของโมเลกุลต่อหนึ่งหน่วยปริมาตรเท่าใด
1
1. P0
3
2
2. P0
3
3
3. P0
2
5
4. P0
2

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 103


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
อัตราเร็ว.

5.8. (ENT’39) สมมติว่าสามารถทดลองวัดค่าอัตราเร็วของโมเลกุลแต่ละตัวได้ทั้งหมด 5 โมเลกุล ได้การกระจายอัตราเร็ว


โมเลกุลดังตาราง จงหาค่ารากที่สองเฉลี่ยของอัตราเร็ว

1. 3.5 m/s
2. 3.9 m/s
3. 4.2 m/s
4. 4.5 m/s

HW-5.8 (ENT’33) ถ้ามีโมเลกุลของก๊าซมีอัตราเร็ว v หนึ่งโมเลกุล 2v สองโมเลกุล และ 3v หนึ่งโมเลกุล อัตราเร็วรากที่


สองของกำลังสองเฉลี่ยของโมเลกุลของก๊าซทั้งหมดมีค่าเท่าใด
1. 2.1 v
2. 2.2 v
3. 2.4 v
4. 3.0 v
___________________________________________________________________________________________
5.9. (สสวท’60-5-162-16.10) ฮีเลียมเป็นแก๊สเฉื่อยที่เป็นกลางทางไฟฟ้า มีสมบัติที่ใกล้เคียงกับแก๊สในอุดมคติ มวลของ
ฮีเลียม 1 โมเลกุล ซึ่งประกอบด้วยอะตอมของฮีเลียมเพียงอะตอมเดียว มีค่าประมาณ 6.65 × 10-27 กิโลกรัม จงคำนวณ
อัตราเร็วอาร์เอ็มเอสของแก๊สฮีเลียมที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส

5.10. (สสวท’60-5-185-23) จงหาอัตราเร็วอาร์เอ็มเอสของอะตอมนีออนที่อุณหภูมิ 450 เคลวิน

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 104


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
5.11. (ENT’46 ต.ค.) ในบรรยากาศมีแก๊สไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ มีแก๊สไฮโดรเจนปนอยู่บ้างแต่สัดส่วนน้อย
มาก ถามว่า อัตราเร็ว vrms ของโมเลกุลไฮโดรเจนเป็นกี่เท่าของ vrms ของโมเลกุลออกซิเจน กำหนดให้มวลโมเลกุลของ
ไฮโดรเจนและออกซิเจนเป็น 2 และ 32 กรัมต่อโมลตามลำดับ
1. 1
2. 2
3. 3
4. 4

HW-5.11 (สสวท’60-5-164-2) ภาชนะใบหนึ่ง มีอุณหภูมิคงตัว บรรจุแก๊สผสมระหว่างนีออนกับอาร์กอน ซึ่งมวล


อะตอมของอาร์กอนมีค่าเป็น 2 เท่าของนีออน ถ้าอัตราเร็วอาร์เอ็มเอส (vrms) ของแก๊สนีออนมีค่า 300 เมตรต่อวินาที
จงหาอัตราเร็วอาร์เอ็มเอสของอาร์กอน

___________________________________________________________________________________________
5.12. (ENT’42 ต.ค.) จงหาว่าก๊าซไนโตรเจนที่อุณหภูมิเท่าใดที่มีค่าเฉลี่ยของกำลังสองของอัตราเร็วโมเลกุลเท่ากับของก๊าซ
ออกซิเจนที่อุณหภูมิ 47 oC (กำหนดน้ำหนักโมเลกุลของไนโตรเจนและออกซิเจนเท่ากับ 28 และ 32 ตามลำดับ)
1. -28 oC
2. 7 oC
3. 42 oC
4. 47 oC

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 105


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
5.13. (ENT’34) แก๊สชนิดหนึ่งบรรจุในกระบอกสูบที่มีลูกสูบเลื่อนได้โดยแก๊สไม่รั่ว เมื่อทำให้ความหนาแน่นของแก๊สเพิ่มจาก
เดิมเป็นสองเท่า โดยความดันของแก๊สคงที่ อัตราเร็วเฉลี่ยของอนุภาคแก๊สจะต้องเปลี่ยนไปเป็นกี่เท่าของค่าเดิม
1
1.
√2
1
2.
2
3
3. √
2
3
4.
2

___________________________________________________________________________________________
5.14. (ENT’26) ในปริมาตรอันหนึ่ง อัตราเร็วเฉลี่ยของแก๊สเพิ่มเป็น 2 เท่า ความดันของแก๊สในปริมาตรนั้นจะเพิ่มเป็นกี่เท่า
1. 3/2 เท่า
2. 2 เท่า
3. 5/2 เท่า
4. 4 เท่า

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 106


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
6. พลังงานภายในระบบ (internal energy, u).

6.1. (ENT’39) พลังงานภายใน (U) ของแก๊ส หรือนั้นคือพลังงานจลน์ของโมเลกุลของแก๊สทั้งหมด มีความสัมพันธ์กับความดัน


(P) และปริมาตร (V) ของแก๊สอย่างไร
3
1. U = PV
2
2
2. U = PV
3
1
3. U = PV2
2
1
4. U = PV2
3
___________________________________________________________________________________________
6.2. (ENT’42 มี.ค. & A-NET’49) ถ้าแก๊สอุดมคติมีปริมาตรคงที่ ข้อความใดต่อไปนี้เป็นจริง
ก. โมเลกุลของแก๊สทุกโมเลกุลมีอัตราเร็วเท่ากันที่อุณหภูมิที่กำหนด
ข. พลังงานจลน์ทั้งหมดของโมเลกุลแปรผันโดยตรงกับความดันคูณปริมาตรของแก๊สนั้น
ค. พลังงานภายในของแก๊สเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น
ง. ความดันแปรผันโดยตรงกับอุณหภูมิสัมบูรณ์
คำตอบที่ถูกคือ
1. ก, ข และ ค
2. ข, ค และ ง
3. ง เท่านั้น
4. คำตอบเป็นอย่างอื่น
___________________________________________________________________________________________
6.3. (ENT’46 ต.ค.) ออกแรงกดลูกสูบของกระบอกสูบซึ่งบรรจุแก๊สชนิดหนึ่ง ทำให้ปริมาตรของแก๊สลดลงโดยอุณหภูมิคงที่
และแก๊สไม่รั่วออกมา จงพิจารณาว่าข้อใดถูกต้อง
ก. ความดันเพิ่มขึ้น
ข. อัตราเร็ว vrms ของโมเลกุลแก๊สลดลง
ค. พลังงานภายในเพิ่มขึ้น
ง. พลังงานภายในคงที่
1. ก และ ง
2. ก และ ค
3. ข และ ง
4. ก, ข และ ง

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 107


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
6.4. (ENT’31) เมื่ออุณหภูมิของแก๊สในอุดมคติเพิ่มขึ้น โดยปริมาตรของแก๊สในภาชนะปิดคงที่ อยากทราบว่าปริมาณต่อไปนี้
อะไรที่ไม่เปลี่ยนแปลง
1. จำนวนครั้งที่โมเลกุลของแก๊สชนกับผนังของภาชนะ
2. โมเมนตัมเฉลี่ยของแก๊ส
3. พลังงานจลน์เฉลี่ยของแก๊ส
4. พลังงานภายในระบบของแก๊ส
___________________________________________________________________________________________
6.5. (ENT’36) เมื่ออุณหภูมิของแก๊สอุดมคติแบบอะตอมเดี่ยว ลดลงจากอุณหภูมิ 273 oC เป็น 0 oC แล้วข้อใดบ้างถูกต้อง
ก. อัตราเร็วรากที่สองของกำลังสองเฉลี่ยลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง
ข. ค่าพลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุลแก๊สลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง
ค. ค่าพลังงานภายในของแก๊สในระบบลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง
คำตอบที่ถูกคือ
1. ก, ข และ ค
2. ก กับ ค
3. ข กับ ค
4. ข เท่านั้น
___________________________________________________________________________________________
6.6. (สสวท’60-5-185-25) พลังงานภายในของแก๊สอาร์กอนจำนวน 1 โมล ที่ 27 องศาเซลเซียส มีค่าเท่าใด

___________________________________________________________________________________________
6.7. (ENT’47 มี.ค.) ถ้าทำให้แก๊สฮีเลียม 1 โมล ร้อนขึ้นจาก 0 องศาเซลเซียส เป็น 100 องศาเซลเซียส ภายใต้ความดันคงตัว
1.0 × 105 นิวตันต่อตารางเมตร พลังงานภายในของแก๊สฮีเลียมนี้ จะเพิ่มขึ้นเท่าใด
1. 415 J
2. 830 J
3. 1245 J
4. 2075 J

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 108


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
7. งานที่ทำโดยแก๊ส (work done by gas).

7.1. (สสวท’60 -5-167-16.11) ทรงกระบอกที่มีลูกสูบเคลื่อนที่ได้คล่อง ภายในบรรจุแก๊สจำนวนหนึ่งมีปริมาตร 1.50 × 10-3


ลูกบาศก์เมตร ที่ความดันคงตัวเท่ากับ 1.00 × 105 พาสคัล จงหางานที่ทำโดยแก๊สเมื่อลูกสูบเคลื่อนที่จนแก๊สในกระบอก
สูบมีปริมาตร 1.65 × 10-3 ลูกบาศก์เมตร

___________________________________________________________________________________________
7.2. (สสวท’51-5-84-18.13) กระบอกสูบที่มีลูกสูบเคลื่อนที่ได้คล่อง ภายในบรรจุแก๊สจำนวนหนึ่งมีปริมาตร 1.5 × 10-3
ลูกบาศก์เมตร ความดัน 1.0 × 105 พาสคัล และอุณหภูมิ 300 เคลวิน ถ้าแก๊สได้รับความร้อนจนมีอุณหภูมิเป็น 330
เคลวิน โดยความดันไม่เปลี่ยนแปลง จงหางานที่แก๊สทำ

___________________________________________________________________________________________
7.3. (ENT’47 ต.ค.) ในการอัดแก๊สอุดมคติจากจุด A ไป B เราต้องทำงานกลเป็นปริมาณกี่กิโลจูล

___________________________________________________________________________________________
7.4. (ENT’43 มี.ค.) ระบบหนึ่งประกอบด้วยกระบอกสูบบรรจุแก๊สอุดมคติ ถ้าแก๊สภายในกระบอกสูบมีการเปลี่ยนแปลง
ความดันและปริมาตร ดังกราฟจาก A → B → C จงหางานที่แก๊สทำในขบวนการนี้ในหน่วยกิโลจูล

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 109


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
8. กฎของเทอร์โมไดนามิกส์ (laws of thermodynamics).

กฎข้อที่ 1 ของเทอร์โมไดนามิกส์ (first law of thermodynamics).

8.1. (A-NET’50) ถ้าแก๊สอุดมคติในภาชนะปิดได้รับความร้อน 350 จูล และได้รับงาน 148 จูล พลังงานภายในแก๊สจะ


เปลี่ยนไปเท่าใด
1. เพิ่มขึ้น 202 J
2. ลดลง 202 J
3. เพิ่มขึ้น 498 J
4. ลดลง 498 J

HW-8.1 (สสวท’51-5-87-18.14 & สสวท.60-5-170-16.12) จงหาพลังงานภายในที่เปลี่ยนไปของแก๊สจำนวนหนึ่งที่


บรรจุภายในกระบอกสูบ เมื่อแก๊สในกระบอกสูบได้รับความร้อน 2,000 จูล ในขณะเดียวกัน แก๊สทำงาน 300 จูล

___________________________________________________________________________________________
8.2. (สสวท’60-5-188-45) แก๊สในกระบอกสูบคายความร้อน 240 จูล ขณะที่พลังงานภายในเพิ่มขึ้น 50 จูล ปริมาตรของ
แก๊สจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่าใด ถ้าแก๊สในกระบอกสูบมีความดันคงที่เท่ากับความดันบรรยากาศ

___________________________________________________________________________________________
8.3. (ENT’30 & สสวท’60-5-185-29) แก๊สฮีเลียม 1 โมล บรรจุอยู่ในคนโทแก้วที่ปิดผนึกไว้อย่างดีและถือว่าปริมาตรคงที่
ตลอดเวลา เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไป ถ้าต้องการทำให้อุณหภูมิของแก๊สเปลี่ยนจาก 27 องศาเซลเซียส ไปเป็น 67 องศา
เซลเซียส จะต้องให้ความร้อนเข้าไปเท่าใด
1. 830 จูล
2. 498 จูล
3. 332 จูล
4. 276 จูล

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 110


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
8.4. (ENT’45 มี.ค.) ต้องให้ความร้อนเท่าใดแก่แก๊สฮีเลียมในภาชนะปิด ซึ่งมีปริมาตร 1 ลูกบาศก์เมตร ความดันของแก๊สจึง
จะเพิ่มขึ้น 0.4 × 105 พาสคัล ให้ถือว่าปริมาตรของภาชนะไม่เปลี่ยนแปลง
1. 6 × 104 J
2. 6 × 105 J
3. 8 × 104 J
4. 8 × 105 J
___________________________________________________________________________________________
8.5. (ENT’33) ก๊าซฮีเลียมจำนวนหนึ่งมี N โมเลกุล ในปริมาตรหนึ่งที่อุณหภูมิ T เคลวิน ถ้าต้องการลดอุณหภูมิของก๊าซให้
เหลือครึ่งหนึ่ง จะต้องเอาพลังงานความร้อนออกจากก๊าซนี้เป็นปริมาณเท่าไร (kB คือค่าคงที่ของโบลด์มานน์)
1
1. NkB T
2
3
2. NkB T
2
3
3. NkB T
4
4. 2 NkB T

HW-8.5 (ENT’35) ก๊าซฮีเลียมจำนวนหนึ่งมีโมเลกุล N โมเลกุล ในปริมาตรหนึ่ง ที่อุณหภูมิ T เคลวิน ถ้าต้องการลด


T
อุณหภูมิของก๊าซนั้นเป็น เคลวิน จะต้องเอาพลังงานความร้อนออกจากก๊าซนั้นเป็นปริมาณเท่าใด
2
1
1. NkB T
2
3
2. NkB T
2
3
3. NkB T
4
4. 2 NkB T
___________________________________________________________________________________________
8.6. (ENT’42 ต.ค.) จะต้องให้ความร้อนเท่าใดแก่ก๊าซฮีเลียมจำนวน 1 โมล ที่บรรจุอยู่ในกระบอกสูบ แล้วทำให้ก๊าซนั้นดันให้
ลูกสูบทำงาน 20 จูล และอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 10 เคลวิน
1. 72.5 J
2. 124.5 J
3. 144.5 J
4. 249.5

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 111


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
8.7. (ENT’34) เมื่อให้ความร้อน 69.9 จูล แก่แก๊ส 1 โมล ที่บรรจุในกระบอกสูบ แก๊สจะทำงาน 20 จูล ดันลูกสูบให้เคลื่อนที่
อุณหภูมิของแก๊สจะเพิ่มขึ้นกี่เคลวิน
1. 2.4
2. 4.0
3. 5.6
4. 7.0

___________________________________________________________________________________________
8.8. (ENT’27) กระบอกสูบอันหนึ่งบรรจุแก๊สฮีเลียม 2 กิโลโมล และความดันของแก๊สเท่ากับ 1.05 × 105 นิวตันต่อตาราง
เมตร ปรากฏว่าเมื่อให้ความร้อนกับแก๊สเท่ากับ 105 จูล ปริมาตรของแก๊สในกระบอกสูบเพิ่มขึ้น 0.4 ลูกบาศก์เมตร โดย
ความดันของแก๊สคงที่ อยากทราบว่าอุณหภูมิของแก๊สจะเพิ่มขึ้นเท่าใด ให้ค่านิจแก๊สเท่ากับ 8.3 จูล/โมล∙เคลวิน
1. 1.40 K
2. 2.33 K
3. 4.01 K
4. 5.70 K
___________________________________________________________________________________________
8.9. (ENT’26) ที่ความดัน 105 Nm-2 น้ำมวล 1 g ปริมาตร 1 cm3 ได้รับความร้อนกลายเป็นไอน้ำจนหมด มีปริมาตร 1.5
ลิตร พลังงานในระบบที่เพิ่มขึ้นมีค่าเท่ากับ (กำหนดให้ความร้อนแฝงจำเพาะของน้ำที่ 100 oC = 2.256 × 106 J/kg)
1. 2.106 × 103 J
2. 2.256 × 103 J
3. 2.106 × 106 J
4. 2.256 × 106 J

___________________________________________________________________________________________
8.10. (ENT’44 มี.ค.) ให้ความร้อนจำนวนหนึ่งแก่แก๊สฮีเลียมที่บรรจุในกระบอกสูบ เมื่อแก๊สขยายตัวภายใต้กระบวนการ
ความดันคงที่ จงหาว่าแก๊สใช้ความร้อนในการเพิ่มพลังงานภายในร้อยละเท่าใดของปริมาณความร้อนที่ได้รับ

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 112


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
8.11. (ENT’46 มี.ค.) แก๊สอุดมคติเช่นแก๊สฮีเลียมบรรจุอยู่ในกระบอกสูบที่มีลูกสูบที่เคลื่อนที่ได้โดยอิสระ โดยมีอุณหภูมิ
364 เคลวิน ปริมาตร 2.0 ลิตร และมีความดัน 1 บรรยากาศเท่ากับความดันภายนอก ถ้านำกระบอกสูบนี้ไปแช่น้ำแข็ง
พบว่าสุดท้ายแก๊สมีอุณหภูมิ 273 เคลวิน และปริมาตรลดลงเหลือ 1.5 ลิตร ความร้อนทั้งหมดที่ออกจากแก๊สใน
กระบอกสูบเป็นกี่จูล (กำหนดให้ความดัน 1 บรรยากาศเท่ากับ 105 ปาสคาล)

___________________________________________________________________________________________
8.12. (สสวท’51-5-87-18.15 & สสวท’60-5-170-16.13) แก๊สอุดมคติจำนวน 0.05 โมล ความดัน 100 กิโลพาสคัล อยู่
ในกระบอกสูบที่มีลูกสูบที่เคลื่อนที่ได้คล่อง เมื่อให้ความร้อนจนแก๊สมีอุณหภูมิเพิ่มจาก 300 เคลวิน เป็น 350 เคลวิน
โดยมีความดันคงตัว จงหา
a) พลังงานภายในของแก๊สที่เพิ่มขึ้น

b) งานทีท่ ำโดยแก๊ส

c) ความร้อนที่ใช้

d) ถ้าลูกสูบถูกตรึงไม่ให้เคลื่อนที่จะต้องใช้ความร้อนเท่าใด จึงจะทำให้แก๊สมีอุณหภูมิเพิ่มจาก 300 เคลวิน เป็น 350


เคลวิน

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 113


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
HW-8.12 (สสวท’60-5-188-46) ในการอัดแก๊สอาร์กอน 1 กิโลโมล จากปริมาตร 22.4 ลูกบาศก์เมตร ที่ 0 องศา
เซลเซียส ความดัน 1.01 × 105 พาสคัล ให้มีปริมาตรเป็น 14.0 ลูกบาศก์เมตร ที่ความดันเดียวกัน จงหา
a) งานที่ใช้ในการอัดแก๊ส

b) อุณหภูมิของแก๊สหลังการอัด

c) พลังงานภายในของแก๊สที่เปลี่ยนไป

d) ความร้อนที่แก๊สปลดปล่อยออกมา

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 114


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
9. P-V diagram และกระบวนการทางเทอร์โมไดนามิกส์ (thermodynamic processes).

9.1. (ENT’29) เมื่อสูบลมยางรถจักรยาน โดยการชักลูกสูบอย่างเร็ว 10 ครั้ง ช่วงเลื่อนของลูกสูบในการชักแต่ละครั้งยาว 0.2


เมตร สัมผัสดูพบว่ากระบอกสูบร้อนขึ้น ในสถานการณ์ดังกล่าวนี้ สามารถอ่านค่า ∆Q (ความร้อนที่ให้แก่ระบบ) ∆U
(พลังงานภายในระบบ) และ ∆W (งานที่ระบบทำ) จากสมการ ∆Q = ∆U + ∆W ได้ดังนี้
1. ∆Q = 0 ∆U ≠ 0 ∆W ≠ 0 มีค่าเป็นลบ
2. ∆Q = 0 ∆U ≠ 0 ∆W ≠ 0 มีค่าเป็นบวก
3. ∆Q ≠ 0 ∆U ≠ 0 ∆W ≠ 0 มีค่าเป็นลบ
4. ∆Q ≠ 0 ∆U ≠ 0 ∆W ≠ 0 มีค่าเป็นบวก
___________________________________________________________________________________________
9.2. (ENT’29) เมื่ออัดลูกสูบลงในกระบอกสูบอย่างรวดเร็ว ปริมาตรแก๊สภายในกระบอกสูบลดลง
ก. พบว่า ความดันแก๊สสูงขึ้น เพราะความหนาแน่นของแก๊สเพิ่มขึ้น
ข. จำนวนครั้งของโมเลกุลแก๊สชนผนังถี่ขึ้น เพราะพื้นที่ที่ถูกชนน้อยลง
ค. อุณหภูมิแก๊สสูงขึ้น
คำตอบที่ถูกต้อง คือ
1. ก, ข ถูก
2. ข, ค ถูก
3. ก, ค ถูก
4. ถูกทั้ง ก, ข และ ค
___________________________________________________________________________________________
9.3. (ENT’31 & สสวท’60-5-185-29) จากกราฟความสัมพันธ์ระหว่างความดันกับปริมาตร ระบบซึ่งประกอบด้วยก๊าซ
ฮีเลียม 1 โมล มีการเปลี่ยนแปลงสถานะจาก a ไป b จงหาค่าการเปลี่ยนแปลงพลังงานภายในของระบบ กำหนดให้ค่านิจ
ของก๊าซเท่ากับ 8.31 จูลต่อโมลเคลวิน
1. เพิ่มขึ้น 6.23 × 104 J
2. ลดลง 6.23 × 104 J
3. เพิ่มขึ้น 7.5 × 103 J
4. ลดลง 7.5 × 103 J

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 115


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
9.4. (A-NET’52) แก๊สอุดมคติในระบบปิดมีการเปลี่ยนแปลงจาก A → B → C ดังกราฟ ระบบได้รับหรือคายความร้อน
เท่าใด

1. คายความร้อน 3 จูล
2. รับความร้อน 3 จูล
3. คายความร้อน 2 จูล
4. รับความร้อน 2 จูล

___________________________________________________________________________________________
9.5. (ENT’44 ต.ค.) ถ้าแก๊สในกระบอกมีการเปลี่ยนแปลงแบบอุณหภูมิคงตัว (isothermal) จากตำแหน่ง ก. ไปยังตำแหน่ง
ข. ดังรูป ในการเปลี่ยนแปลงนี้ ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง

1. แก๊สคายความร้อน โดยงานที่ให้กับแก๊สเท่ากับความร้อนที่แก๊สคายออก
2. แก๊สรับความร้อน โดยพลังงานภายในเพิ่มขึ้น
3. แก๊สคายความร้อน โดยพลังงานภายในเพิ่มขึ้น
4. แก๊สรับความร้อน โดยมีการทำงานให้กับแก๊ส

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 116


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
9.6. แก๊สจำนวนหนึ่งบรรจุในกระบอกสูบ โดยมีปริมาตรและความดันเปลี่ยนไป ซึ่งสามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง
ปริมาตรและความดันได้ดังกราฟในรูป ช่วง A → B มี ∆U เป็นบวก ช่วง C → D มี ∆U เป็นลบ Q และ W ในแต่ละ
ช่วงเป็นตามข้อใด

Q W Q W
1. A → B + + C→D - -
2. A → B - + C→D - +
3. A → B + - C→D + -
4. A → B - - C→D + +

___________________________________________________________________________________________
9.7. (ENT’45 ต.ค.) กราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงของความดันและปริมาตรของระบบแก๊สให้ข้อมูลดังนี้ ตามเส้นทาง acb มี
พลังงานความร้อนที่ให้แก่ระบบเท่ากับ 500 จูล และงานที่ทำโดยระบบเป็น 200 จูล ส่วนตามเส้นทาง adb งานที่ทำโดย
ระบบเป็น 100 จูล จงหาพลังงานความร้อนที่ให้แก่ระบบ ตามเส้นทาง adb นี้

1. 300 J
2. 400 J
3. 500 J
4. 600 J

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 117


ฟิสิกส์ 5 (ว 33201) บทที่ 3: ความร้อนและแก๊ส (Heat and Gas)
___________________________________________________________________________________________
9.8. อากาศอยู่ภายในกระบอกสูบภายใต้ลูกสูบซึ่งเคลื่อนที่ได้โดยไม่มีแรงเสียดทานระหว่างลูกสูบและกระบอกสูบ กำหนดให้
อากาศมีการเปลี่ยนแปลงความดันและปริมาตรตามแผนภาพที่กำหนดให้

จงหากระบวนการทีเ่ ป็นจริงตามข้อความต่อไปนี้ทั้ง 2 กรณี


ก. พลังงานภายในระบบเพิ่มขึ้น
ข. งานกระทำโดยระบบ
1. กระบวนการ A-B
2. กระบวนการ B-C
3. กระบวนการ C-D
4. กระบวนการ D-A

กระบวนการ A-B: อุณหภูมิลดลง ดังนั้น ∆U มีเครื่องหมายเป็น ____


ปริมาตรเพิ่มขึ้น ดังนั้น W มีเครื่องหมายเป็น ____

กระบวนการ B-C: อุณหภูมิเพิ่มขึ้น ดังนั้น ∆U มีเครื่องหมายเป็น ____


ปริมาตรเพิ่มขึ้น ดังนั้น W มีเครื่องหมายเป็น ____

กระบวนการ C-D: อุณหภูมิเพิ่มขึ้น ดังนั้น ∆U มีเครื่องหมายเป็น ____


ปริมาตรเท่าเดิม ดังนั้น W มีเครื่องหมายเป็น ____

กระบวนการ D-A: อุณหภูมิลดลง ดังนั้น ∆U มีเครื่องหมายเป็น ____


ปริมาตรลดลง ดังนั้น W มีเครื่องหมายเป็น ____

สอนโดย: อ.อริยพล จิวาลักษณ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) © 2021 118


บรรณานุกรม

1. สถาบั น ส่ ง เสริ ม การสอนวิท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี. (2563). หนั ง สื อ เรี ย นรายวิ ช าเพิ ่ ม เติ ม
วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เล่ม 5. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
2. สถาบั น ส่ ง เสริ ม การสอนวิท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี. (2563). หนั ง สื อ เรี ย นรายวิ ช าเพิ ่ ม เติ ม
วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เล่ม 6. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
3. ขวัญ อารยะธนิตกุล, นฤมล เอมะรัตต์, รัชภาคย์ จิตต์อารี และ เชิญโชค ศรขวัญ. (2558). ฟิสิกส์ 1.
(ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 9). ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
4. ขวัญ อารยะธนิตกุล, นฤมล เอมะรัตต์, รัชภาคย์ จิตต์อารี และ เชิญโชค ศรขวัญ. (2558). ฟิสิกส์ 2.
(ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 9). ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
5. Young, H. D., Freedman, R. A. (2016). Sears and Zemansky’s University Physics with
Modern Physics. (14th ed). Pearson.
6. Serway, R. A., Jewett, Jr., J. W. (2018). Physics for Scientists and Engineers with
Modern Physics. (10th ed). Cengage learning.
เกี่ยวกับผู้เขียน

ชื่อ-สกุล อริยพล จิวาลักษณ์


วันเกิด 4 กรกฎาคม 2535
ภูมิลำเนา จังหวัดจันทบุรี
ประวัติการศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย – โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จ.จันทบุรี
ปริญญาตรี – วิทยาศาสตร์บัณฑิต (ฟิสิกส์) ม.มหิดล
ปริญญาโท – วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (ฟิสิกส์ หลักสูตรนานาชาติ) ม.มหิดล
นักเรียนทุนรัฐบาลโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทาง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.)
สถานที่ติดต่อ 5/371 Ideo Mobi Bangsue Grand Interchange
ถนนประชาชื่น แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
โทรศัพท์ 089-7525223
E-mail: ariyaphol@ssru.ac.th
ผลงานตีพิมพ์
Jiwalak A., Emarat N. and Arayathanitkul K., Students' physics laboratory skill in
measurement and uncertainty. Siam Physics Congress, 20-22 May 2015, Krabi,
Thailand.
Jiwalak A., Emarat N. and Arayathanitkul K., An activity sheet for teaching double-slit
interference. Siam Physics Congress, 21-23 May 2018, Phitsanulok, Thailand.
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
เลขที่ 1 ถนนอูทองนอก แขวงดุสิต เขตดุสิต
กรุงเทพมหานคร 10300

You might also like