You are on page 1of 3

ใบงานการศึกษาวิจัยทางจิตวิทยา

ชื่อเรื่องที่ศึกษา
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการจำระหว่างการอ่านหนังสือหลายรอบกับการอ่านแบบทบทวน

ที่มาของปัญหา
การจดจำเนื้อหาในหนังสือนั้นเป็นเรื่องยากสำหรับใครหลายคน ไม่ว่าจะเป็นการอ่านเพื่อทบทวนบทเรียน
หรือการอ่านเพื่อเตรียมสอบ แต่ทำไมบางคนถึงสามารถอ่านหนังสือเพียงครั้งเดียว และ สามารถจดจำทุก
รายละเอียดของหนังสือได้อย่างแม่นยำ ในขณะที่คนอื่น ๆ ไม่สามารถจำได้แม้กระทั่งชื่อหนังสือหลังจากที่อ่านไป
แล้วเพียงไม่กี่วัน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้วิจัยอยากทราบถึงวิธีการที่ใช้อ่านหนังสือว่าแบบไหนมีประสิทธิภาพมากกว่า
กัน
Keywords: อ่านหลายรอบ หมายถึง อ่านบทความ 2 รอบ
อ่านแบบทบทวน หมายถึง อ่านไปแล้วทำความเข้าใจไปด้วย

ความรู้ แนวคิด ทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษา


1.ทฤษฎีความจำสองกระบวนการ (Two – Process Theory of Memory) ของแอตคินสัน และชิฟฟริน
(Atkinson and Shiffrin,1968) กล่าวถึงความจำระยะสั้นและความจำระยะยาวว่า ข้อมูลหรือความจำที่อยู่ใน
ความจำระยะสั้นจะต้องได้รับการทบทวนอยู่ตลอดเวลา ไม่อย่างนั้นเราจะลืมได้ การทบทวนนั้นทำให้ข้อมูลที่อยู่ใน
ความจำระยะสั้นเข้าสู่ความจำระยะยาวได้

2.การวัดความจำ ในการศึกษาเกี่ยวกับความจำ บุคคลมีความจำมากน้อยเพียงใด มีวิธีการทดสอบ 3 วิธี


ดังนี้(ชัยพร วิชชาวุธ, 2520 : 13 - 29)
1. การจำได้ (Recognition) ในการวัดความจำด้วยวิธีนี้เราต้องแสดงสิ่งของ หรือ เหตุการณ์ ซึ่ง
เป็นสิ่งเร้าที่เคยประสบมาแล้วในอดีตปะปนกับสิ่งใหม่ ๆ ต่อหน้าผู้ทดสอบ ผู้ทดสอบจะเปรียบเทียบและอ่าน
ความรู้สึกของตนเองว่าจำสิ่งที่ปรากฏตรงหน้าได้หรือไม่เท่านั้น เช่น การชี้ตัวผู้ร้าย เจ้าทุกข์จะต้องเห็นผู้ร้ายมา
ก่อน แล้วให้ผู้ร้ายปรากฏตัวอีกครั้งโดยร่วมอยู่กับผู้อื่น วิธีเสนอสิ่งเร้าและทดสอบคือ
1.1 แบบจำ – สอบ (Study - Test)
1.2 แบบจำต่อเนื่อง (Continuous Recognition Test)
2. การระลึก (Recalling) การระลึกต่างจากการจำได้ตรงที่ในการระลึกนั้น ผู้ระลึกจะต้องสร้าง
เหตุการณ์ต่าง ๆ จากการจำโดยไม่มีเหตุการณ์หรือสิ่งเร้าที่ได้จำนั้นอยู่ต่อหน้า เช่น การระลึกหมายเลขโทรศัพท์
ของเพื่อนที่รู้จัก
3. การเรียนซ้ำ (Relearning) หมายถึง การทำซ้ำ ๆ หรือการเสนอสิ่งเร้าซ้ำ ๆ ในการเรียนรู้ การ
เรียนแบบนี้มักใช้วัดด้วยเวลาหรือจำนวนครั้งที่ใช้ในการเรียนซ้ำครั้งที่ 2 และที่ใช้ในการเรียนครั้งแรก แล้วคิดเป็น
เปอร์เซ็นต์ของเวลา และจำนวนครั้งที่ลดลง
วัตถุประสงค์
1.เพื่อหาวิธีการอ่านหนังสือที่มีประสิทธิภาพ
2.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำ
3.เพื่อนำวิธีการอ่านหนังสือไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
สมมุติฐานของการศึกษา
การทบทวนเนื้อหาระหว่างอ่านหนังสือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำเนื้อหา ได้ดีกว่าการอ่านหนังสือ
ซ้ำหลายๆรอบ

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา
นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่1 คณะมนุษยศาสตร์จำนวน 4 คน
โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ใช้วิธีการอ่านซ้ำหลายรอบ 2 คนและกลุ่มที่ใช้วิธีการอ่านแบบทบทวน 2 คน

วิธีการทดลอง
การวิจัยใช้แบบแผนการทดลองแบบ Static Group Comparison โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างจากสมาชิกกลุ่ม
มาจำนวน 4 คน จากนั้นจึงเลือกกลุ่มตัวอย่างมาแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 2 คน แล้วจึง
ให้กลุ่มตัวอย่างทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ให้กลุ่มตัวอย่างอ่านบทความที่กำหนดไว้ โดยจะมีรูปแบบการอ่านที่แตกต่างกันดังนี้
1.1 กลุ่มทดลอง อ่านบทความโดยมีการทบทวน
1.2 กลุ่มควบคุม อ่านบทความ 2 รอบ
2. ให้สมาชิกกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมทำแบบทดสอบความจำทั้งหมด 12 ข้อผ่าน Google Form ที่
สมาชิกกลุ่มที่ไม่ได้เข้าร่วมการทดลองจัดเตรียมไว้
โดยมีเวลาทำแบบทดสอบทั้งหมด 5 นาที
3. นำผลการทดลองมาเปรียบเทียบว่าสมาชิกกลุ่มใดได้คะแนนมากกว่ากัน
4. อภิปรายและสรุปผลการทดลอง
ผลการทดลอง
จากการทดลองพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่อ่านบทความแบบทบทวนได้คะแนนเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่อ่าน
บทความซ้ำ 2 รอบ โดยกลุ่มที่อ่านทบทวนได้คะแนนเฉลี่ย 11.5 คะแนน จากทั้งหมด 12 คะแนน ส่วนกลุ่มที่อ่าน
ซ้ำ 2 รอบได้คะแนนเฉลี่ย 10.5 คะแนน จากทั้งหมด 12 คะแนน

อภิปรายและสรุปผล
จากผลการทดลองพบว่าทั้งกลุ่มที่อ่านหนังสือซ้ำ 2 รอบ และ กลุ่มที่อ่านหนังสือแบบทบทวนมีคะแนน
เฉลี่ยใกล้เคียงกัน จึงทำให้ไม่สามารถสรุปได้ว่าการใช้วิธีการอ่านแบบใดสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำ
เนื้อหาได้ดีกว่า ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าบทความที่ผู้วิจัยเลือกมามีความยาวไม่มาก ทั้งยังเป็นเรื่องที่คนส่วนมากมี
ความรู้เดิมอยู่ก่อนแล้ว ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะว่า ในการทดลองควรใช้กลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและ
แบบทดสอบที่มีความละเอียดมากกว่าเดิม รวมถึงการเลือกบทความที่กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ในเรื่องนั้นน้อยที่สุด
หรือไม่มีอยู่เลย

เอกสารอ้างอิง
Eryn J. Adams, Anh T. Nguyen, & Nelson Cowan. (2018). Theories of Working Memory:
Differences in Definition, Degree of Modularity, Role of Attention, and Purpose.
Retrieved. November 19, 2021, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6105130/

ราตรี พุทธทอง. (2543). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถด้านความจำกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของ


นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2564,
จาก https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/6707?mode=full

รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม
นายกฤษฎีพัชร์ ฐิติกรโยธิน รหัสนิสิต 64101010215
นายณภัทร ชัยชนะ รหัสนิสิต 64101010222
นางสาวนุชนารถ เพ็ชรหลำ รหัสนิสิต 64101010228
นายณฐาภพ เหมชะญาติ รหัสนิสิต 64101010623
นางสาวณัชชา คล้ายกระโทก รหัสนิสิต 64101010624
นายอนพัช ดีนาน รหัสนิสิต 64101010652

You might also like