You are on page 1of 5

ธรรม

นิยาม
นิยาม
ความเป็นไปอันมีระเบียบแน่นอนของธรรมชาติ หรือกฏธรรมชาติ มี 5 ประการ
1. อุตุนิยาม : กฏธรรมชาติเกี่ยวกับอุณหภูมิ หรือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ โดยเฉพาะ
ดิน น้ำ อากาศ และฤดูกาล
2. พีชนิยาม : กฏธรรมชาติเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ มีพันธุกรรมเป็นต้น
3. จิตตนิยาม : กฏธรรมชาติเกี่ยวกับการทำงานของจิต
4. กรรมนิยาม : กฏธรรมชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ คือกระบวนการให้ผลการกระทำ
5. ธรรมนิยาม : กฏธรรมชาติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ***ถือเป็นกฏใหญ่ที่
ครอบคลุมทุกกฏ
ธรรมชาติ นิยามหรือกฏธรรมขาติ 4 ข้อ
ข้างต้นจึงรวมอยู่ในธรรมนิยาม

ธรรมนิยามมีกฏอยู่ว่า “ทุกสิ่งอ้างอิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้น โยสิ่ง


หนึ่งเป็นเหตุ อีกสิ่งหนึ่งเป็นผล” กฏนี้ก็คือกฏแห่งความเป็นเหตุ
เป็นผลกันและกันนั่นเอง คือ ผลทั้งหลายย่อมมาจจากเหตุทั้งสิ้น
หลักธรรมหมวดหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในรูปธรรมนิยาม
ปฏิจจสมุปบาท ซึ่งมีหลักทั่วไปว่า “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี
สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้ก็ดับไปด้วย” ดรียกอีกอย่างหนึ่งว่า หลักอิทัปปัจจยตา
ดังพระพุทธดำรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภาวะที่เป็นอย่างนั้น (ตถตา) ภาวะที่ไม่คลาดเคลื่อนไป
ได้ (อวิตถตา) และภาวะที่ไม่เป็นอย่างอื่น (อนัญญตา) คือ หลักอิทัปปัจจยตา
ซึ่งเรียกว่า "ปฏิจจสมุปบาท”
ปฏิจจสมุปบาท
องค์ประกอบ 12 ประการ แยกออกเป็น 3 กลุ่มตามหน้าที่ในวงจรที่เรียกว่า วัฏฏะ 3 หรือไตรวัฏ

1.อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นกิเลส : ตัวสาเหตุที่ผลักดันให้คิดปรุงแต่งกระทำการต่าง ๆ เรียกว่า กิเลส


วัฏ
2.สังขาร ภพ เป็นกรรม : กระบวนการกระทำหรือกรรมทั้งหลายที่ปรุงแต่งชีวิตให้เป็นไปต่าง ๆ เรียกว่า
กรรมวัฏ
3.วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะ เป็นวิบาก : สภาพชีวิตจากผลของกรรม เป็น
ปัจจัยที่เสริมสร้างกิเลสต่อไป เรียกว่า วิปากวัฏ
วัฏฏะทั้ง

"3 หมุนเวียนต่อเนื่องให้วงจรชีวิตกำเนินไปอย่างไม่ขาดสาย"

You might also like