You are on page 1of 18

ความปลอดภัยในงานเชื่อม

ดร.สาลินี สันติธีรากุล
งานเชื่อมโลหะ

➤ งานเชื่อมหรือตัดโลหะด้วยอุณหภูมิสูง เป็นส่วนหนึ่งของงานผลิตและซ่อม
สร้างเกี่ยวกับงานโลหะทั่วไป
➤ มีอันตรายหลายประเภทแฝงอยู่
➤ ผู้ปฏิบัติงานจํานวนมากขาดความรู้ที่ถูกต้องในการจัดการอันตรายที่เกิด
จากงานเชื่อมโลหะ
อันตรายจากงานเชื่อม
1. อันตรายจากการอาร์ค
➤ งานเชื่อมทําให้เกิดแสงจ้า และเกิดรังสีอัลตร้าไวโอเลต รังสีอินฟาเรดเป็นจํานวน
มาก ซึ่งเป็นอันตรายต่อสายตา และผิวหนัง
➤ แสงอาร์คจากการเชื่อมจะทําให้ปวดตา และทําให้เรติน่าของดวงตาเกิดอาการ
เมื่อยล้าเพิ่มมากขึ้น อาการนี้อาจไม่ได้แสดงทันที
➤ การบรรเทาอาการเจ็บตาให้ใช้ยาหยอดตา หรือใช้ผ้าเย็นประคบ
➤ ผิวหนังที่ได้รับรังสีจะเกิดอาการอักเสบ ปวดแสบปวดร้อน หรืออาจทําให้ผิวหนัง
ไหม้
➤ ควรสวมเสื้อหนังเพื่อป้องกัน ควรเป็นเสื้อหนังอย่างดี ไม่ติดไฟง่าย และควรสวม
อุปกรณ์ป้องกัน เช่น ปลอกแขน ถุงมือ อุปกรณ์ป้องกันไหล่ หน้าอก และท้อง
อันตรายจากงานเชื่อม

2. อันตรายจากไฟดูด
➤ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต้องอยู่ในสภาพที่ดี เรียบร้อย พร้อมใช้งาน
➤ อุปกรณ์ที่จะใช้ในการเชื่อมต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
➤ ก่อนใช้งานควรต้องมีการสํารวจความพร้อมของอุปกรณ์ ตรวจสอบ
ขั้วต่อสายตําแหน่งต่าง ๆ
➤ สาเหตุของการเกิดไฟดูดจากงานเชื่อม ส่วนใหญ่เกิดจากเครื่องมือ
อุปกรณ์ชํารุดเสียหาย และบริเวณที่ทํางานเชื่อมอยู่ในสภาพที่ไม่
เหมาะสม (บริเวณที่ทํางานไม่เป็นที่แห้ง ทําให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร)
สาเหตุที่ทําให้เกิดไฟดูดระหว่างการเชื่อมไฟฟ้าเกิดจาก
➤ สัมผัสกับชิ้นโลหะหรือตัวนําไฟฟ้าโดยไม่ได้ตั้งใจ เป็นผลทําให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่ร่างกาย
➤ ปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมที่ชื้นหรือเปียกนํ้า ทําให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านนํ้าซึ่งเป็นตัวนํา
ไฟฟ้า
➤ ไม่ได้ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลไม่เหมาะสม
➤ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน หรือใช้อุปกรณ์การเชื่อมไม่ถูกวิธี
อันตรายจากงานเชื่อม

3. อันตรายจากการระบายอากาศที่ไม่เหมาะสม
➤ ขณะที่ทําการเชื่อมจะมีควันเกิดขึ้นเรียกว่า ฟูม (Fume) เกิดจากโลหะที่
หลอมเหลวกลายเป็นไอ และเย็นตัวอย่างรวดเร็ว ทําให้เกิดเป็นอนุภาค
ขนาดเล็กมาก หากเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจแล้วจะเป็นอันตราย
➤ ควรหลีกเลี่ยงการสูดดมควันโดยตรง และควรหาผ้ามาปิดจมูกไว้
➤ หากทําการเชื่อมในพื้นที่ปิด ควรจัดให้มีระบบระบายอากาศที่ดี เพื่อให้
อากาศภายนอกหมุนเวียนเข้ามาสมํ่าเสมอ
➤ หากจําเป็นต้องมีการเชื่อมโลหะประเภทตะกั่ว ทองแดง แคดเมี่ยม และ
สังกะสี ควรมีเครื่องดูดควันอยู่ในบริเวณพื้นที่ทํางาน
อันตรายจากงานเชื่อม
3. อันตรายจากการระบายอากาศที่ไม่เหมาะสม
➤ ชนิดและปริมาณสารพิษที่ก่อให้เกิด fume ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้
➤ ชนิดของโลหะที่ต้องการเชื่อม ถ้าโลหะนั้นมีองค์ประกอบที่มีอันตรายต่อ
ร่างกายสูง เช่น แคดเมียม โคบอลต์ ตะกั่ว นิกเกิล ก็จะทําอันตรายต่อ
ร่างกายได้สุง
➤ ชนิดของลวดเชื่อม ชนิดของสารที่เป็นองค์ประกอบของลวดเชื่อมจะส่งผล
ต่อชนิดของ fume และก๊าซอันตรายที่เกิดขึ้น
➤ ก๊าซที่ใช้ในการเชื่อม เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน อาร์กอน อะเซทิลีน
ก๊าซเหล่านี้ไม่ใช่ก๊าซพิษ แต่ทําอันตรายต่อร่างกายได้ หากทํางานในที่อับ
ระบบระบายอากาศไม่ดีพอ อาจทําให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนได้
อันตรายจากงานเชื่อม

4. อันตรายจากการลุกไหม้และการระเบิด
➤ การเชื่อมแบบต่าง ๆ ย่อมทําให้เกิดประกายไฟ และสะเก็ดไฟ ซึ่งเป็น
ปัจจัยที่ทําให้เกิดไฟไหม้และการระเบิดได้หากไม่มีการป้องกัน
➤ ประกายไฟที่เกิดจากงานเชื่อมโลหะมีอุณหภูมิประมาณ 1,200-1,600
องศาเซลเซียส
➤ ประกายไฟจากการเชื่อมสามารถกระเด็นได้ไกลถึง 35 ฟุต หากมีเชื้อ
เพลิงอยู่ใกล้บริเวณที่ทํางาน ย่อมมีความเสี่ยงที่ทําให้เกิดเพลิงไหม้ได้
➤ ควรเตรียมอุปกรณ์ในการดับเพลิง ซึ่งได้แก่ นํ้ายาเคมีดับเพลิง (Dry
Chemical Type) ที่บริเวณพื้นที่ทํางาน และมีการตรวจสอบให้มีสภาพ
พร้อมใช้งานอย่างสมํ่าเสมอ
สาเหตุที่ทําให้เกิดไฟไหม้หรือการระเบิดระหว่างการเชื่อม
➤ พื้นที่ปฏิบัติงานมีละอองนํ้ามันระเหยอยู่ เมื่อความร้อนจากประกายไฟสัมผัสกับละอองนํ้ามัน
ทําให้เกิดการระเบิดและเกิดเพลิงไหม้ได้
➤ จัดเก็บวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงอยู่ในบริเวณที่ทํางาน
➤ ทําการเชื่อมถังหรืออุปกรณ์ที่เคยบรรจุเชื้อเพลิง
อันตรายจากงานเชื่อม

5. อันตรายจากความเมื่อยล้า
➤ เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานในท่วงท่าที่ไม่เหมาะสม และการจัดพื้นที่
ทํางานที่ไม่เหมาะสม
➤ การนั่งหรือก้มหลังเชื่อมเป็นระยะเวลาติดต่อกันนาน ๆ อาจทําให้เกิด
ความล้าสะสม ระบบไหลเวียนของโลหิตไม่ดี

การบาดเจ็บของคนงานที่ทํางานเชื่อม
แยกตามบริเวณที่เกิดการบาดเจ็บ
อันตรายจากงานเชื่อม

5. อันตรายจากความเมื่อยล้า
➤ อาการบาดเจ็บของคนงานที่ทํางานเชื่อม: ปวดหลัง ปวดไหล่ กล้าม
เนื้อตึง(สูญเสียความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ) ปวดเข่า
อันตรายจากงานเชื่อม

6. อันตรายที่เกิดภายหลังการทําความสะอาดงานเชื่อมและอื่น ๆ
➤ อันตรายจากการทําความสะอาดแนวเชื่อม ผู้ปฏิบัติงานจึงควร
ป้องกันผิวหนัง และตา โดยใช้อุปกรณ์ป้องกันเช่น หน้ากาก ถุงมือ
เสื้อหนัง แว่นตา ระหว่างการเจียระไน หลังจากทําความสะอาดแนว
เชื่อม
การป้องกันอันตรายจากการเชื่อมโลหะ

➤ ตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ก่อนและหลังการใช้งาน
➤ จัดระบบระบายอากาศภายในโรงงาน และมีระบบดูดอากาศเฉพาะที่ ณ จุดเชื่อม
➤ จัดสภาพการทํางานเพื่อลดความเมื่อยล้าจากการทํางาน เช่น ยกระดับวัสดุที่
ต้องการเชื่อมให้สูงจากพื้น ให้ได้ระดับที่สามารถทํางานได้สะดวก สบายมาก
ขึ้น
➤ สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันขณะทํางาน
➤ จัดให้มีการอบรมและจัดทํามาตรฐานการทํางานที่เหมาะสมและปลอดภัย โดยนํา
เสนอวิธีการทํางานที่เหมาะสมในบริเวณพื้นที่ทํางาน (เช่น การติดป้าย หรือจัด
ทําคู่มือไว้ในบริเวณพื้นที่ทํางาน)
การป้องกันอันตรายจากการเชื่อมโลหะ

➤ ความปลอดภัยเกี่ยวกับข้อปฏิบัติและข้อควรระวัง
➤ จัดให้มีใบอนุญาตทํางานที่มีความร้อน
➤ เฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่จะทําการซ่อมแซมอุปกรณืไฟฟ้าได้
➤ อุปกรณ์ไฟฟ้าต้องมีสายดิน ตัวรัด ตัวต่ออย่างถูกต้อง
➤ ห้ามใช้สายเชื่อมและหัวลวดที่มีลวดเชื่อมติดอยู่
➤ ปิดเครื่องเชื่อมทุกครั้งหลังจากเสร็จงานแต่ละช่วง
➤ จัดให้พื้นที่ทํางานมีความปลอดภัย เช่น ทํางานในพื้นที่ที่แห้ง เรียบร้อย
ไม่มีเชื้อเพลิงอยู่ในบริเวณที่ทํางาน
การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายในงานเชื่อม

➤ ควรสวมหน้ากากที่ติดกระจกกรองแสง ผ้าปิดจมูก ถุงมือ ผ้ากันเปื้อนที่


ทําจากวัสดุป้องกันความร้อนและประกายไฟ รองเท้า Safety
➤ กระจกกรองแสงต้องได้มาตรฐาน มีเครื่องหมายรับประกันคุณภาพติด
แสดงไว้
➤ กระจกกรองแสงที่เหมาะสําหรับงานเชื่อม คือ หมายเลข 6, 7, 8, 9, 10, 11
➤ หมายเลข 7 เหมาะสําหรับการเชื่อมที่ใช้ลวดเชื่อมเส้นผ่านศูนย์กลางไม่
เกิน 2.5 mm
➤ หมายเลข 10 เหมาะสําหรับการเชื่อมที่ใช้ลวดเชื่อมเส้นผ่านศูนย์กลาง
3.25 - 6 mm

You might also like