You are on page 1of 10

หลักการในการพู ด การ

ฟังเเละการดู เเละหลัก
การ พู ดสรุปใจความ
เรื่องที่ฟังเเละดู

การฟังคืออะไร
การฟัง คือการรับสารจากการได้ยินทางหู
มารยาทในการฟัง
- ฟังด้วยความสุภาพเรียบร้อยและตั้งใจฟัง
- การฟังในที่ประชุม ควรเข้าไปนั่งก่อนผู้พูด
เริ่มพูด
- ไม่ทำอย่างอื่นขณะที่ฟัง เช่น อ่านหนังสือ
หรือทานอาหาร เป็นต้น
- ปิดเสียงเครื่องมือสื่อสาร
- ไม่พูดแทรกขณะที่ฟัง
- ฟังเรื่องให้จบก่อนแล้วค่อยพูดซักถามหรือ
แสดงความคิดเห็น
- ไม่ส่งเสียงดังรบกวนขณะฟัง
- ให้เกียรติผู้พูดด้วยการปรบมือ
การดูคืออะไร

การดู คือการรับสารผ่านทางสายตา
หรือการมองเห็น
มารยาทในการดู
ดู - ไม่พูดหรือเล่าเรื่องราวแทรกขณะที่ผู้อื่นกำลังดูอยู่
- ตั้งใจดูด้วยความตั้งใจ - ไม่แอบดูของของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต
- ปิดเสียงเครื่องมือสื่อสาร
- นั่งหรือยืนดูในท่าที่เรียบร้อย
- ไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น
- เมื่อต้องเดินผ่านผู้ที่กำลังดู ควรเดินอย่าง
ระมัดระวัง
-
มารยาทในการ
พู ด
มารยาทในการพูดหมายถึง ผู้
พูดที่มีกิริยาวาจาเรียบร้อย
ท่าทางสง่างาม อ่อนโยนสุภาพ
หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ไมใช้
ท่าทางประกอบคำพูดให้มาก
จนเกินไป ย่อมช่วยเสริมสร้าง
ให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือเลื่อมใส
ผู้พูดได้เป็นอันมาก
มารยาทในการพู ด
- แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยเหมาะสม
- มาถึงสถานที่พูดให้ตรงเวลาหรือก่อนเวลาเล็กน้อย
- หากพูดแบบเป็นทางการ ควรเตรียมตัวให้พร้อม เช่น มีการเตรียมเรื่องที่ใช้พูด มีการซักซ้อมการพูด
- ใช้คำทักทายผู้ฟังให้ถูกต้อง เหมาะสม
- ใช้คำพูดที่สุภาพไม่หยาบคาย
- ใช้น้ำเสียงให้เหมาะสมกับเรื่องที่พูด
- ไม่พูดข่มขู่หรือโอ้อวดตน
- ไม่พูดแทรกขณะที่ผู้อื่นกำลังพูดอยู่
- ไม่พูดยืดยาวนอกประเด็นหรือวกวน
- มีสติ คิดก่อนพูด
- ไม่โต้เถียง คัดค้านอย่างไม่มีเหตุผล
- ขณะที่พูดควรมองหน้าสบตาผู้พูดอีกฝ่ายหนึ่ง และต้องตั้งใจฟังคำพูดของผู้อื่น
หลักการพู ดสรุปใจความ
สำคัญของการฟังเเละการดู
เป็นการถ่ายทอดใจความสำคัญจากสื่อที่ได้ฟังเเละดู เเละ
อธิบายได้ง่าใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เพื่อให้ผู้รับสาร
เข้าใจ โดยใช้ถ้อยคำเเละกิริยาท่าทางให้ผู้ฟังสามารถ
เข้าใจได้
หลักการพู ดสรุปใจความสำคัญของ
การฟังเเละการดู
หลักการ/วิธีการพูด
1 ฟังเเละกูสื่อให้ตลอด เเละพยายามจับใจความสำคัญให้ได้ ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหนอย่างไร เกิดผลอย่างไร
2 เรียบเรียงออกมาเป็นภาษาพูดที่เข้าใจได้ง่าย เรียงลำดับตามเหตุการณ์ที่ได้ดู
3บอกที่มาของเรื่องให้ชัดเจน
4เลือกภาษาที่ใช้คำให้ ให้เหมาะสมกับกาลเทศะและวัยของผู้ฟัง
5มีน้ำเสียงที่เหมาะกับเรื่องที่พูดมีท่าทางประกอบการพูด
6เปิดโอกาสให้ผู้ฟังชักถาม
7หมั่นสังเกตปฏิกิริยาจากผู้ฟัง
8หมั่นฝึกฝนเพื่อสร้างทักษะอยู่เสมอ
ขอบคุณที่รับฟัง
(และรับชม)!
ด.ช.พีรวัศ บุตดา เลขที่18 ม.1/1

You might also like