You are on page 1of 19

116

บทที่ 7
แรงเฉือน และโมเมนต์ดัดในคาน

7.1 ความนา
ในการออกแบบโครงสร้างใดๆ นั้นจาเป็นต้องทราบขนาดของคานเสียก่อน ซึ่งการหาขนาด
ของคานนั้น อาจจะพิจารณาได้จากค่าของโมเมนต์ดัดและแรงเฉือนสูงสุดที่กระทาต่อคานตามจุดต่างๆ
ตลอดความยาวของคาน และจะต้องเขียนแบบภาพของแรงเฉือนและโมเมนต์ดัดให้ได้เพื่อใช้ในการ
วิเคราะห์โครงสร้างต่อไป

7.2 แรงเฉือนในคาน
แรงเฉือน ( Shearing Force) คือแรงที่พยายามจะเฉือนส่วนของโครงสร้างในลักษณะที่จะทาให้
ขาดออกจากกัน แรงเฉือนในหน้าตัดใดหน้าตัดหนึ่งบนส่วนของโครงสร้างสามารถหาได้จากผลรวม
พีชคณิตของแรง หรือน้าหนักจากภายนอกที่กระทาในแนวตั้งฉากกับส่วนของโครงสร้างทางด้านใด
ด้านหนึ่งของหน้าตัดนั้น
แรงเฉือนสามารถพิจารณาจากรูปที่ 7.1 ซึ่งแสดงถึงคานอย่างง่ายที่อยู่ภายใต้แรง P1, P2 และ P3
และมีแรงปฏิกิริยาที่จุดรองรับ คือ RA และ RB จุด Q เป็นจุดที่จะหาขนาดของแรงเฉือนกระทา

P1 P2 P3

A B
Q

RA RB
รูปที่ 7.1

แรงเฉือนที่ทาให้ด้าน QB ของหน้าตัดที่ Q สมดุล คือ RB - P3


แรงที่ทาให้ด้าน QA ของหน้าตัดที่ Q สมดุล คือ P1 + P2 - RA
ระบบสมดุล จะได้ว่า แรงเฉือนทางซ้ายมือ = แรงเฉือนทางขวามือ
 R B - P3 = P 1 + P2 - R A
ดังนั้นที่จุด Q สมดุลอยู่ได้ด้วยแรงขนานที่มีขนาดเท่ากันสองแรงแต่ทิศทางตรงกันข้าม ซึ่ง
พยายามจะเฉือนวัตถุให้ขาดจากกันที่จุด Q ดังแสดงในรูปที่ 7.1 (b) และจะได้ว่า
117

ด้านขวามือ VR = RB - P3 ……………………… 7.1


ด้านซ้ายมือ VL = P1 + P2 - RA ……………………... 7.2
นั่นคือ การที่จะหาแรงเฉือนเกิดขึ้นในคาน จะต้องทราบแรงภายนอกและแรงปฏิกิริยาทั้งหมดที่
เกิดขึ้นต่อคาน จึงจะหาแรงเฉือนต่อไป แรงเฉือนในคานจะเกิดขึ้นทุกๆ หน้าตัด
7.2.1 เครื่องหมายของแรงเฉือน
แรงเฉือนในคานเกิดจากผลรวมทางพีชคณิตของแรงภายนอกในแนวดิ่งจึงกาหนด
เครื่องหมายของแรงภายนอก ดังนี้
แรงที่กระทาในแนวดิ่งมีทิศทางขึ้น มีเครื่องหมายเป็นบวก และมีทิศทางลงเป็นลบ ฉะนั้น
เครื่องหมายของแรงเฉือนก็ควรจะมีทั้งบวกและลบด้วย จึงกาหนดได้ว่า แรงเฉือนที่พยายาม ทาให้คาน
ทางด้านซ้ายเคลื่อนที่ขึ้นให้เป็นบวก และลงให้เป็นลบ ดังแสดงในรูปที่ 7.2

(a) บวก (b) บวก


รูปที่ 7.2 แรงเฉือน

7.2.2 แผนภาพแรงเฉือน (Shearing Force Diagram : SFD)


การวิเคราะห์และการออกแบบโครงสร้าง จาเป็นต้องทราบค่าของแรงเฉือนตรงบริเวณ
หน้าตัดตลอดความยาวของโครงสร้างส่วนนั้น ว่ามีการเปลี่ยนแปลงค่าแรงเฉือน เป็นอย่างไร และตรง
บริเวณหน้าตัดใดมีค่าของแรงเฉือนมากที่สุด ดังนั้น การเขียนแผนภาพ ( Diagram) ของค่าแรงเฉือน จึง
ช่วยในการพิจารณาได้เป็นอย่างดี แผนภาพที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าแรงเฉือนและความยาวของ
โครงสร้าง (คาน) เรียกว่า แผนภาพแรงเฉือน มักนิยมเรียกย่อ ๆ ว่า SFD
การเขียนแผนภาพแรงเฉือน ปกติแล้วจะให้จุดซ้ายมือสุดของส่วนของโครงสร้าง (คาน)
เป็นจุดเริ่มต้น โดยให้แนวแกนของคานตลอดความยาวเป็นแกนนอน (Base Line) ส่วนค่าของแรงเฉือน
ตลอดความยาว ให้เขียนเป็นแกนตั้งในแต่ละหน้าตัดของคาน สาหรับเครื่องหมายให้คิดว่า ถ้าเป็นแรง
เฉือนที่มีค่าเป็นบวกให้วัดค่าขึ้นเหนือแกนนอนและค่าที่เป็นลบให้วัดลงใต้เส้นแกนนอนดังแสดงใน
ตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ 7.1 AB เป็นคานแบบง่าย ซึ่งพาดอยู่ระหว่างฐานรองรับ A และ B รับน้าหนักบรรทุกต่างๆ ดัง


แสดงในรูปที่ 7.3 จงหาแรงเฉือนในคาน และเขียนแผนภาพแรงเฉือน
118

20 N 10 N
Y 2 N/m
RAX A B
C D E
X
0 RAY RBY
2m 1m 1m 1m

รูปที่ 7.3
วิธีทา 1) คานวณหาแรงปฏิกิริยา ซึ่งโครงสร้างนี้อยู่ในสมดุล จึงใช้สมการของการสมดุลได้ดังนี้
1.1 ผลรวมของแรงตามแนวแกน X เท่ากับ ศูนย์ คือ
Fx = 0
จะได้ RAX – 10 cos 60 = 0
RAX = 5N
1.2 ผลรวมของโมเมนต์รอบจุด A เท่ากับศูนย์ คือ
MA = 0
จะได้ ( 2 x 2) (1) + (20)(3) + (10 Sin 60)(4) – (RBY)(5) = 0
RBY = 19.73 N
1.3 ผลรวมของแรงตามแนวแกน Y เท่ากับศูนย์ คือ
จะได้ RAY – (2 x 2) – 20 – (10) Sin 60+ 19.73 = 0
RAY = 12.93 N
2) การเขียนภาพแรงเฉือน
2.1 คานวณแรงเฉือนที่จุดต่าง ๆ ได้
- ให้ที่ฐานรองรับ A ซึ่งตรงกับจุด A เป็นจุดเริ่มต้น ดังนั้นแรงเฉือนที่สุด A ได้
VAY = +12.93 N
- ที่จุด C เนื่องจากช่วง AC มีแรงกระทาอย่างสม่าเสมอด้วยขนาด 2 ตันต่อเมตรและให้
แกน X อยู่บนความยาวของคาน ดังนั้นแรงเฉือนในช่วง AC นี้ จะเป็นไปตาม VAY – 2X เพราะฉะนั้นจะ
ได้แรงเฉือนที่จุด C เป็น
VCY = +12.93 – (2) (2) = + 8.93 N
119

ดังนั้น จะเห็นว่าแรงเฉือนในช่วงนี้จะลดลงอย่างสม่าเสมอจาก + 12.93 ตัน จนถึง +


8.93 ตัน
- ที่จุด D มีแรงภายนอกขนาด 20 ตัน กระทา แต่ก่อนจะถึงจุด D เพียงเล็กน้อยนั้น คือ
ช่วง CD ช่วงนี้ไม่มีแรงกระทา ดังนั้นขนาดของแรงเฉือนตลอดความยาวของช่วงนี้จึงมีค่าคงที่เท่ากับ
แรงเฉือนที่จุด C แต่ ณ ที่จุด D ทางด้านขวามือ จะมีแรงเฉือนขนาด
VDY = +8.93 – 20 = - 11.07 N
- ที่จุด E มีแรงภายนอกขนาด 10 ตัน กระทาในแนวที่ทามุม 60 กับแกน X (แนวของ
คาน) จึงสามารถแยกแรงกระทานี้ตามแนวแกน Y (แนวดิ่ง) ได้ว่า 10 sin 60 และก่อนจะถึงจุด E เพียง
เล็กน้อย (ด้านซ้ายมือของจุด E) คือช่วง DE ช่วงนี้ ไม่มีแรงกระทา ดังนั้น ขนาดของแรงเฉือนในช่วงนี้
จึงมีค่าคงที่เท่ากับแรงเฉือนที่จุด D แต่ ณ ที่จุด E ด้านขวามือ จะได้แรงเฉือนมีขนาด
VEY = - 11.07 – 10 sin 60
= - 19.73 N
- ที่จุด B พิจารณาในช่วง EB ซึ่งช่วงนี้ไม่มีแรงจากภายนอกอื่นมากระทาเลย ดังนั้น
ช่วงนี้จึงมีแรงเฉือนขนาดคงที่เท่ากับจุด E เพราะฉะนั้นแรงเฉือน ณ จุดนี้ จึงมีค่า
VBY = - 19.73 N
2.2 จากขั้นตอนการพิจารณาหาช่วงแรงเฉือนในข้อ (2.1) ดังกล่าวแล้วก็สามารถเขียน
แผนภาพแรงเฉือนได้ดังรูปที่ 7.4
20 N 10 N
2 N/m
RAX A B
C D E
RAY RBY
(a)
Y (T)

12.93 8.93

x (m)
0
-11.07
(b) -19.73
รูปที่ 7.4 แผนภาพแรงเฉือน
120

ข้อสังเกต 1) แผนภาพแรงเฉือนที่เกิดจากแรงกระทาเป็นจุด (Concentrated Load) จะได้รูปภาพ


ของแรงเฉือนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ดังเช่น ในช่วง C ถึง B ในรูปที่ 7.4 (b)
2) แผนภาพแรงเฉือนที่เกิดจากแรงกระทาแบบแผ่เฉลี่ยสม่าเสมอ (Uniformly
Distributed Load) จะได้รูปภาพเป็นรูปแบบเฉียงคล้ายรูปสามเหลี่ยม ดังเช่น ช่วง A ถึง Cในรูปที่ 7.4 (b)

7.3 โมเมนต์ดัดในคาน (Bending Moment)


เมื่อมีแรงกระทาต่อคานจะเกิดการแอ่นตัว หรือโก่งงอ ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของ
แรง ขนาดของคาน และชนิดของวัสดุที่ใช้ทาคานนั้นๆ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดการสมดุลของหน้าตัด
หรือให้คานนั้นอยู่ในภาวะสมดุล จึงเกิดโมเมนต์ต้านทานต่อการแอ่นตัว หรือการโก่งงอ ดังกล่าวนั้นไว้
หรืออาจกล่าวได้ว่า โมเมนต์ดัด หมายถึง โมเมนต์ที่พยายามจะต้านทานการดัด หรือหมุนส่วนของ
โครงสร้างให้โก่งงอ ซึ่งโมเมนต์ดัด ณ ที่หน้าตัดส่วนใดส่วนหนึ่งบนคาน สามารถหาได้จาก ผลรวม
ของพีชคณิตของโมเมนต์ที่ได้จากการกระทาของแรงซึ่งผ่านจุดศูนย์ถ่วงของหน้าตัดนั้น

M M

(a)

M M
(b)
รูปที่ 7.5 แสดงโมเมนต์ดัดที่จุด C

7.3.1 การกาหนดเครื่องหมายสาหรับโมเมนต์ดัดในคาน
โมเมนต์ใดที่พยายามทาให้คานแอ่นหรือโก่งงอ ตามรูปที่ 7.5 (a)ให้ค่าโมเมนต์ดัด (BM)
เป็นค่าบวก และถ้าโมเมนต์ดัด (M) ทาให้คานแอ่นหรือโก่งงอ ตามรูปที่ 7.5 (b) ให้ค่าเป็นค่าลบ
7.3.2 แผนภาพโมเมนต์ดัด ( Bending Moment Diagram : BMD )
ความจาเป็นอีกอันหนึ่งที่จาเป็นต้องทราบเพื่อประกอบในการวิเคราะห์ หรือออกแบบ
โครงสร้าง นอกจากแรงเฉือนในคานแล้ว คือ โมเมนต์ดัดในคาน และแผนภาพที่แสดงความสัมพันธ์
ระหว่างโมเมนต์ดัดกับความยาวของคาน เรียกว่า ภาพโมเมนต์ดัด มักนิยมเขียนย่อๆ ว่า BMD สุดของ
คานเป็นจุดเริ่มต้น ให้แกน X เป็นแกนสะเทินอยู่บนแนวตามยาวของคาน และค่าของโมเมนต์ดัด ณ ที่
หน้าตัดส่วนใดๆ ที่ระยะ x จะเขียนตามแนวแกน Y
121

ตัวอย่างที่ 7.2 จงหาโมเมนต์ดัดที่จุด A, B และ C ของคานอย่างง่าย ตามรูปที่ 7.6 และเขียนแผนภาพ


โมเมนต์ดัดด้วย
4000 N
Y 1m 1m
RAX A B
D C E
X
0 RAY RBY
2m 2m

รูปที่ 7.6 แสดงเครื่องหมายโมเมนต์ดัด

วิธีทา 1) คานวณหาแรงปฏิกิริยาที่ฐานรองรับ A และ B ได้จาก


Fx = 0
ได้ RAX = 0
MA = 0 (ผลรวมทางพีชคณิตของโมเมนต์ของแรงรอบจุด A)
ได้ (4000) (2) – (RBY) (4) = 0
RBY = 2000 N
และ Fy = 0
ได้ RAY + RBY – 4000 = 0
RAY + 2000 – 4000 = 0
RAY = 2000 N
2) คานวณหาโมเมนต์ดัดที่จุดต่าง ๆ ได้
ที่จุด A: M A = 0
ที่จุด D : M D = (RAY)(1)
= (2000)(1)
= + 2000 N.m
ที่จุด C : M C = (RAY)(2)
= (2000)(2)
= + 4000 N.m
ที่จุด E : M E = (RAY)(3) – (4000)(1)
= (2000)(3) – (4000)(1)
122

= + 2000 N.m
ที่จุด B : M B = 0

3) นาค่าที่คานวณได้ในข้อ 2) มาเขียนแผนภาพ จะได้ดังแสดงในรูปที่ 7.7

4000 N
1m 1m 1m 1m
RAX A
B
D C E
RAY RBY
Y

4000
2000 2000

0 x (m)

รูปที่ 7.7

ตัวอย่างที่ 7.3 รูปที่ 7.8 แสดงคานอย่างง่าย ซึ่งมีน้าหนักแผ่เฉลี่ยอย่างสม่าเสมอขนาด 2000 N/m กระทา


ตลอดความยาวของคาน AB จงหาค่าโมเมนต์ดัดในคาน และเขียนภาพโมเมนต์ดัดด้วย

2000 N/m
Y
RAX A B
D C E
X
0 RAY RBY
1m 1m 1m 1m
รูปที่ 7.8
123

วิธีทา 1) คานวณหาแรงปฏิกิริยาที่ฐานรองรับ A และ B ได้


R = R = 20004 = 4000 N
AY BY
2
2) คานวณหาโมเมนต์ที่จุดต่างๆ ได้
M A = 0
M C = (+RAY)(1) – (2000)(1)  1 
2
= + 3000 N.m
MD = (+RA)(2) – (2000)(2)  2 
2
= + 4000 N.m
ME = (+RA)(3) – (2000)(3)  3 
2
= + 3000 N.m
และ MB = 0
3) เขียนภาพโมเมนต์ดัด จะได้ดังแสดงในรูปที่ 7.9

2000 N/m
RAX A
B
D C E
RAY RBY
Y

+4000
+3000 +3000

0 x (m)

รูปที่ 7.9 แสดงภาพโมเมนต์ดัดของแรงแผ่อย่างสม่าเสมอ

ข้อสังเกต 1) ถ้าน้าหนักกระทาต่อคานเป็นแบบจุด (Concentrated Load) ภาพโมเมนต์ จะได้เป็นรูป


สามเหลี่ยม
2) ถ้าน้าหนักกระทาต่อคานเป็นแบบแผ่สม่าเสมอ ภาพของโมเมนต์ดัด จะได้รูปเส้นโค้ง
กาลังสองขึ้นไป
124

ตัวอย่างที่ 7.4 รูปที่ 7.10 แสดงน้าหนักบรรทุกเป็นจุดกระทาที่ปลายคานแบบยื่น จงหาค่าของแรง


เฉือน โมเมนต์ดัด เขียนภาพแรงเฉือน และเขียนภาพโมเมนต์ดัด

4000 N

2.0 m

รูปที่ 7.10

วิธีทา 1) คานวณแรงปฏิกิริยาที่ฐานรองรับ A ได้


RAY = 4000 N
2) คานวณแรงเฉือนที่จุด A, B และ C ได้
+ VAY = + RAY = + 4000 N
+ VCY = + RAY = + 4000 N
+ VBY = + RA = 0

3) คานวณหาโมเมนต์ดัดที่จุด A, B และ C ให้ B เป็นจุดเริ่มต้น


MA = - (4000)(2) = - 8000 N.m

MC = (+ RAY)(1) – 8000 = - 4000 N.m

และ MB = (+ RAY)(2) – 8000 = 0

4) เขียนภาพแรงเฉือนและโมเมนต์ดัด ได้ดังแสดงในรูปที่ 7.11


125

4000 N

SFD

BMD

รูปที่ 7.11

ตัวอย่างที่ 7.5 รูปที่ 7.12 แสดงน้าหนักบรรทุกที่แผ่เฉลี่ยสม่าเสมอกระทาตลอดช่วงความยาวของ


คานยื่น จงหาแรงเฉือน โมเมนต์ดัด เขียนภาพแรงเฉือน และภาพโมเมนต์ดัด

200 N/m

M
3.0 m

รูปที่ 7.12

วิธีทา 1) คานวณหาแรงปฏิกิริยา จะได้


RAY = (200) (3) = 600 N
2) โมเมนต์ดัดรอบจุด A ได้
MA = - (200) (3)  3  = - 900 N.m
2
126

3) ให้จุด B เป็นจุดเริ่มต้น
4) หาแรงปฏิกิริยาที่จุดต่างๆ ได้
ที่จุด B : VBY = + RAY – (200)(3) = 0
ที่จุด D: VDY = + RAY – (200)(2) = + 200 N
ที่จุด C: VCY = + RAY – (200)(1) = + 400 N
ที่จุด A: VAY = + RAY = 600 N
5) หาโมเมนต์ดัดที่จุดต่าง ๆ
ที่จุด B : MB = - 900 + (RAY)(3) – (200)(2)  3 
2
= 0
ที่จุด D: MD = - 900 (+RAY)(2) – (200)(2)  2 
2
= - 100 N.m
ที่จุด C: MC = - 900 (+RAY)(1) – (200)(1)  1 
2
= - 400 N.m
ที่จุด A : MC = - 900 N.m
6) จากข้อ (4) และ (5) เขียนรูป SFD และ BMD จะได้ดังแสดงในรูปที่ 7.13

SFD

BMD

รูปที่ 7.13
127

ตัวอย่างที่ 7.6 จงหาค่าของแรงเฉือนและโมเมนต์ดัดที่จุด A, B, C, D และ E ของคานอย่างง่ายใน

50 N 100 N 40 N
Y
RAX A B
D C E
X
0 RAY RBY
1m 1m 1m 1m
รูปที่ 7.14

วิธีทา 1) หาแรงปฏิกิริยาที่จุด A และ E ได้จาก


ME = 0
(+RAY) (4) – (50) (3) – (100) (2) – (40) (1) = 0
RAY = 97.5 N
Fy = 0
+ RAY + REY – 50 – 100 – 40 = 0
REY = 92.5 N
2) หาแรงเฉือนที่จุด A, B, C, D, และ E ให้จุด A เป็นจุดเริ่มต้น
ที่จุด A : VAY = RAY = +97.5 N
ในช่วง AB : VAB = RAY = +97.5 N
ที่จุด B : VBY = 97.5 – 50 = 47.5 N
ในช่วง BC : VBC = + 47.5 N
ที่จุด C : VCY = +47.5 – 100 = - 52.5 N
ในช่วง CD : VCD = - 52.5 N
ที่จุด D VDY = - 52.5 – 40 = -92.5 N
ในช่วง DE : VDE = - 92.5 N
ที่จุด E : VEY = - 92.5 N
3) หาโมเมนต์ดัดที่จุดต่าง ๆ ได้ โดยที่ A เป็นจุดเริ่มต้น
128

ที่จุด A: MA = 0
ที่จุด B: MB = (+ RAY)(1) = 97.5 N.m
ที่จุด C: MC = (+ RAY) (2) – (50) (1) = 145 N.m
ที่จุด D: MD = (+ RAY) (3) – (50) (2) – (100) (1) = 92.5 N.m
ที่จุด E: ME = (+ RAY)(4) – (50)(3) – (100) (2) –(40)(1) = 0
4) เขียนรูป SFD และ BMD โดยอาศัยข้อมูลจากข้อ 2) และ 3) ได้ดังแสดงในรูปที่ 7.16

รูปที่ 7.15
129

แบบฝึกหัดบทที่ 7

จงหาค่าแรงเฉือนโมเมนต์ดัด และเขียนรูปภาพแรงเฉือน ( Shearing Force Diagram) และภาพ


โมเมนต์ดัด (Bending Moment Diagram) ต่อไปนี้ และให้บอกค่าแรงเฉือนและโมเมนต์มากที่สุด
รูปที่ 7.16 – 7.33

1.
P

รูปที่ 7.16

2.
1400 N

รูปที่ 7.17

3.
400 N 500 N

รูปที่ 7.18
130

4.
600 N 200 N 100 N

1.00

รูปที่ 7.19

5.
w N/m

รูปที่ 7.20

6.
w N/m

รูปที่ 7.21

7.
400 N/m

6.00

รูปที่ 7.22
131

8.
400 N/m

รูปที่ 7.23

9.

รูปที่ 7.24

10.
P

รูปที่ 7.25

11.
w N/m

รูปที่ 7.26
132

12.

รูปที่ 7.27

13.

รูปที่ 7.28

14.

รูปที่ 7.29
133

15.

รูปที่ 7.30

16.

รูปที่ 7.31

17.

รูปที่ 7.32
134

18.

รูปที่ 7.33

You might also like