You are on page 1of 1

แบบทดสอบ

วิชา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 1 (1603302)


คำถาม
คดีแพ่งเรื่องหนึ่ง นายเหลืองเป็นโจทก์ฟ้องนายเขียวเป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดนครสวรรค์ว่า จำเลยตกลง
ว่าจ้างโจทก์ด้วยวาจาที่จังหวัดนครสวรรค์ ให้โจทก์ทำการต่อเติมบ้านของจำเลยที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ โดย
มิได้ทำสัญญาว่าจ้างกันเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมาเมื่อโจทก์ต่อเติมบ้านให้แก่จำเลยเสร็จแล้ว จำเลยผิดสัญญาไม่
ชำระเงินค่าจ้างต่อเติมบ้านให้แก่โจทก์ ขอให้จำเลยชำระค่าจ้างต่อเติมบ้านให้แก่โจทก์ เป็นเงินจำนวน 350,000
บาท โดยข้อเท็จจริงปรากฏว่าในขณะยื่นคำฟ้องคดีนี้ นายเหลืองมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดพิจิตร ส่วนนายเขียวมี
ภูมิลำเนาอยู่จังหวัดนครสวรรค์
ให้วินิจฉัยว่า ศาลจังหวัดนครสวรรค์มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่

แนวคำตอบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 (1)
การเสนอคำฟ้องเกี่ยวด้วยหนี้เหนือบุคคล โจทก์อาจเสนอคำฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล
หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล ไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ ทั้งนี้ ตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 (1) โดยคำว่า มูลคดี หมายถึง ต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอัน
จะทำให้เกิดอำนาจฟ้องร้อง กรณีตามปัญหา นายเขียวตกลงว่าจ้างนายเหลืองด้วยวาจาที่จังหวัดนครสวรรค์ ให้
นายเหลืองทำการต่อเติมบ้านของนายเขียวที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ นั้น ข้อตกลงในการว่าจ้างต่อเติมบ้านนี้เป็น
สัญญาจ้างทำของ แม้มิได้ทำสัญญากันเป็นลายลักษณ์อักษรก็ มีผลสมบูรณ์ การที่นายเขียวกับนายเหลืองตกลงทำ
สัญญากันด้วยวาจาที่จังหวัดอ
-

นครสวรรค์ สัญญาย่อมเกิดขึ้นที่จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อมีการผิดสัญญาดังกล่าว จึงถือ


ว่ามู ลคดี นี้เกิด ขึ้ น ที่ จังหวัด นครสวรรค์ อี กทั้ ง ข้ อ เท็ จจริง ก็ ป รากฏว่า นายเขีย วจำเลยมี ภู มิล ำเนาอยู่ ที่ จัง หวั ด
นครสวรรค์ เช่นนี้ นายเหลืองโจทก์จึงต้องฟ้องนายเขียวเป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดนครสวรรค์ อันเป็นศาลที่ มูลคดี
เกิดขึ้นในเขตศาล และศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลตามมาตรา 4 (1) ดังนั้น ศาลจังหวัดนครสวรรค์จึงมี
อำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 4687/2553)

You might also like